SlideShare a Scribd company logo
1 of 7
Download to read offline
เรื่องเล่าของพ่อเรื่องเล่าของพ่อ
ประวัติสกุลประวัติสกุล ““พูสิทธิ์พูสิทธิ์””
- ลุงเล่าให้ฟัง -- ลุงเล่าให้ฟัง -
ตอนที่ ๑ตอนที่ ๑
โ ล ก ห มุ น ว น ค น ห มุ น เ วี ย นโ ล ก ห มุ น ว น ค น ห มุ น เ วี ย น
ท้องฟ้าอันสูงลิบกว้างไกล โอบกอดทั้งผืนดิน แผ่นน้ํา ที่กระแสชีวิตนับพันพันล้านต่าง
เวียนวนต่อสู้ เกิดตํานานเล่าขานมานมนานนับชั่วอายุคน บางครั้ง ชีวิตเต็มเปี่ยมไปด้วย
ความสุขลิงโลด ความสุขสมหวังอย่างปลาบปลื้มประดามี เกิดเรี่ยวแรงและกําลังใจที่ฮึกเหิมบาก
บั่น ท้องฟ้าที่ดูว่ากว้างแล้ว กลับยิ่งกว้างกระจ่างใสเต็มอิ่มในดวงตา แล้วทันทีทันใดในอีกช่วง
ชีวิต ความทุกข์หม่นหมองก็เวียนผ่านมาเยือน มืดครึ้มอึมครึมดั่งเคว้งคว้างงุนงงอยู่ในอยู่
ท่ามกลางพายัพฝน เฝ้าคอยภาวนาให้เรื่องราวทั้งหลายทั้งมวลมันจบผ่านไปเสียที สุดท้ายที่วัน
เวลาได้ผ่านลับล่วงไป ประสบการณ์เท่านั้นที่ได้หล่อหลอมให้ชีวิตสามารถต่อสู้ดิ้นรนเช่นนี้
เรื่อยไปเฉกเช่นสายน้ําที่ไหลหล่อเลี้ยงชีวิตอันมีขึ้นมีลง ผ่านทั้งอดีตอันอบอุ่นคุ้นเคย ผ่าน
ปัจจุบันที่ต้องตั้งหน้าตั้งตาสู้ต่อไป และสู่อนาคตที่มิมีใครมองเห็นคาดหมายได้
ชีวิตทุกผู้ทุกคนย่อมสืบเสาะแสวงหาความสุขตามหนทางและวิถีแห่งตน ต่างผ่านทั้ง
ร้อน ทั้งฝน ทั้งหนาว ในหนทางที่แตกต่างกันตาม “กรรม” อันเป็นตัวกําหนด หากใครสามารถ
ใคร่ครวญในวิถีอันหลายหลากเหล่านั้นมาแปรเปลี่ยนให้เป็นคติธรรมสอนใจได้ การเดินทางผ่าน
ชั่วอายุขัยของตนก็จะราบรื่นไปด้วย “ปัญญา” เป็นผู้นําทาง
“ลุงอําไพ” เป็นพี่คนโตในครอบครัวของพ่อ ลุงเป็นคนที่รักษาอดีตความทรงจําไว้ในใจ
อย่างมั่นคง และคอยหาโอกาสที่จะเล่าขานให้ลูกหลานฟังในทุกครั้งที่มีโอกาสแวะเวียนได้มาพบ
กัน ความเป็นจริงก็คือ เรื่องราวเก่าแก่เหล่านั้น ยากยิ่งที่จะหาใครสนใจฟัง เป็นเรื่องของ
ความสุข และที่สําคัญคือความทุกข์ยากกับพี่น้องในวัยเยาว์ของลุง ลุงดีใจมากที่ได้รําลึกและเล่า
ถึงเรื่องราวต่าง ๆ ของชีวิตในอดีตให้ผมฟัง
ต้นปีสองพันห้าร้อยสามสิบ ขณะที่ผมรอติดยศเรืออากาศตรีอยู่นั้น ได้มีโอกาสไปพัก
อาศัยอยู่กับลุงอําไพที่บ้านของลุงเป็นเวลา ๔ วัน ทุกคืนก่อนนอน หลังจากลุงสวดมนต์ด้วยบท
คาถาอันยาวนานหน้าตั่งพระข้างเตียง แล้วขึ้นมาว่าคาถาพร้อมเอามือวนกล่อมหมอนก่อนทิ้ง
ศีรษะลงนอน หลังจากนั้น อดีตต่าง ๆ ของลุงก็จะผุดขึ้นมาอย่างแจ่มใสในความทรงจํา แม้บาง
เรื่องราวจะเป็นความหลังอันขมขื่น แต่ในความขมขื่นนั้นมันช่างเป็นบทเรียนที่วาดเส้นทาง
“สกุล” ของเราด้วยคุณค่าแห่งชีวิตล้วน ๆ ลุงเล่าเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเจี๊ยบก็จําได้บ้าง
ไม่ได้บ้าง เพราะทุกคําพูดของลุง “ทุกประโยค” ล้วนเต็มไปด้วยรายละเอียดอันน่าทึ่ง ความทรง
๒
จําในอดีตของลุงมิได้ขาดตกบกพร่องตามกาลเวลาไปเลยแม้สักน้อยนิด ลุงจะเล่าเรื่องราวไป
เรื่อย ๆ ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าจะจดจําได้ถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ แต่ก็จะขอนําเรื่องราวที่ลุงเล่ามา
เขียนไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนความทรงจําให้แก่ลูก ๆ หลาน ๆ รุ่นหลัง ได้รําลึกถึงความผูกพันที่
ต่อสายสืบเนื่องมาจนถึงตัวเราทุกคนในวันนี้
ตอนที่ ๒ตอนที่ ๒
ต้ น ส กุ ลต้ น ส กุ ล ““ พู สิ ท ธิ์พู สิ ท ธิ์ ””
ต้นสกุล “พูสิทธิ์” ย้อนได้ถึงปู่ทวด ด้วย “ย่าก้าน” และผู้ใหญ่ในครอบครัวได้เล่าให้ลุง
ฟังด้วยเห็นว่าลุงเป็นพี่ใหญ่และโตแล้ว สมควรที่จะได้รับรู้เรื่องราวของครอบครัวบ้าง
“ปู่ทวดย้อน” เป็นนายอากรบ่อนเบี้ยชาวมอญสามโคก ด้วยตําแหน่งนี้น่าจะระบุได้ว่า
ท่านรับราชการในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงช่วงสมัยของ รัชการที่ ๕ ก่อนที่บ่อนเบี้ยจะถูก
ยกเลิกไป แต่จะเป็นด้วยเหตุอันใดก็แสนสุดวิสัยที่ทราบถึงประวัติของท่านโดยละเอียด โดยว่า
“ย่าทวดทองคํา ” ท่านมิเคยกล่าวถึงปู่ทวด ด้วยว่าท่านมีเรื่องเคืองใจกับปู่ทวดหรือกระไร
กาลเวลานับเหนือจากนั้นจึงจมอยู่ในก้นบึ้งแห่งความมืดมิดดึกดําบรรพ์ ลุงเล่าไว้เพียงเลา ๆ ว่า
เป็นเพราะปู่ทวดย้อนท่านมีภรรยาหลายคน และเรื่องราวเช่นดั่งนี้ ในสมัยก่อนผู้ใหญ่ก็จะไม่เล่า
ให้เด็กฟัง ตรงนี้ผมขอวิเคราะห์ไว้ว่าในยุคสมัยที่ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้หลายคน “ย่าทวด
ทองคํา” คงเป็นสตรีหัวสมัยในยุคแรก ๆ ของสยามซึ่งยึดมั่นถือมั่นในหลักแห่งความเป็น “ผัว
เดียวเมียเดียว” อย่างแน่แท้
นับเริ่มที่ย่าทวดทองคําได้สิ้นชีวิตลง “ปู่พร” ได้อยู่ใต้ใบบุญของ “หลวงปู่แพ ” อัน
นับเป็นผู้ประสาทสถิตย์สกุล “พูสิทธิ์” ตามนามสกุลดั้งเดิมของท่านตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในสายของ “ย่าก้าน” ลุงได้เล่าพอแยกสายได้ดังนี้ ย่าก้านเป็นบุตรีของ “ตาทวดเฉื่อย”
เป็นหัวหน้าคณะละครชาตรี สมรสกับ “ยายทวดกิ่ง” มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน แต่ต่างมารดา
สาย “ยายทวดเปลี่ยน” คือ นิลิศฎา, ลุงเวียน, ลุงวาด และป้าบาง ญาติสายนี้ปัจจุบันจะแยก
ย้ายไปหนทางใดบ้าง มิอาจทราบได้อีกแล้ว
๓
ปู่ทวดย้อน + ย่าทวดทองคํา ตาทวดเฉื่อย + ยายทวดกิ่ง
ปู่พร + ย่าก้าน
ลุงอําไพ พูสิทธิ์
ป้าทองใบ แก้วมณี
พ่ออํานวย พูสิทธิ์
อาจําเนียร คุณะดิลก
ปู่พรสิ้นชีวิตเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขณะนั้นพ่ออายุได้ ๔ ขวบ ย่าก้านเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.
๒๔๘๕ พ่ออายุได้ ๕ ขวบ และในปีรุ่งขึ้นคือปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่แพก็มรณภาพ ลุงบอกว่าทั้ง
ครอบครัวพี่น้องยังเด็กกันเหลือเกิน ในช่วง ๔ ปีถัดมา คือตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๖ – ๒๔๙๐ ลุงต้อง
เข้าไปเป็นทหารเผชิญโชคในวัยหนุ่มเสียที่พระนคร (กรุงเทพฯ) ส่วนพ่อต้องอยู่โยงที่วัดด้วยฝาก
ไว้กับหลวงตาปลื้ม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ ไปแล้ว จึงได้รับพ่อเข้าไปพระนครด้วย
ตอนที่ ๓ตอนที่ ๓
เ ม ฆ เ วี ย น ท ะ เ ล ว นเ ม ฆ เ วี ย น ท ะ เ ล ว น
ลุงเล่าว่า บ้านของลุงกับพ่อที่อยู่อาศัยกันกับย่าก้าน ป้าทองใบและอาเนียรเป็นแพ
ลูกบวบ ปักหลักลอยอยู่ริมแม่น้ําป่าสักแถวท่าน้ําวัดแดง ตําบลปากท่า อําเภอท่าเรือ จังหวัดยุธ
ยา ฝาเรือนแพนั้นเป็นไม้ตะแบกกว้าง ๘ นิ้ว มีห่วงเหล็กใหญ่คล้องอยู่กับหลักไม้เต็ง ค่าจ้างช่าง
ในการสร้างแพทั้งหมดรวมเป็นราคา ๖ ชั่ง ส่วนลูกบวบที่ใส่เข้าไปไว้ใต้แพเพื่อให้แพลอยนั้น
จะต้องเปลี่ยนใหม่ทุก ๆ ๓ ปี เพราะผุพังบ้าง ลอยออกไปบ้าง รวมทั้งมีปลามาแทะเล็มด้วย แพ
ก็จะค่อย ๆ จมลง ต้องคอยซื้อลูกบวบที่ล่องมาจากทางเหนือคอยเติมใส่ในราคาแพละ ๖ บาท
ลุงอําไพเองที่เกิดจริง ๆ ที่บ้านท้ายตลาด (ฝั่งตรงข้ามวัดแดงจะเป็นบ้านตะเคียนด้วน
ต้องล่องลงไปตามแม่น้ําป่าสักอีกจึงจะถึงบ้านท้ายตลาด) ตอนที่ลุงอายุราว ๑๒ ขวบ พ่ออายุ
ประมาณ ๗ ขวบ สองพี่น้องจะพากันพายเรือขายข้าวหมาก โดยมีพ่อนอนบนเรือพายไปเป็น
เพื่อน หากพายในตอนมืด ๆ ที่ต้องผ่านต้นสะตือที่มืดครึ้มอยู่ริมตลิ่ง ลุงต้องคอยปลุกพ่อให้ลุก
ขึ้นมาเป็นเพื่อนอยู่เรื่อย ๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกลัวนั่นเอง
๔
ตอนที่ ๔ตอนที่ ๔
ด า ว เ ดื อ น ดั บ สู ญด า ว เ ดื อ น ดั บ สู ญ
สมัยที่ลุงยังเด็ก ครั้งยังอยู่กับย่าก้านนั้นชีวิตช่างมีความสุข พี่ ๆ น้อง ๆ ใครเลยจะคิดถึง
กาลในวันข้างหน้า ในคราวสงกรานต์ จะเป็นวันที่พี่น้องได้สุขสรรค์ร่วมกัน บ้านไม้สักบนแพ
ลูกบวบจะได้รับการขัดสีเสียจนดูเอี่ยม แล้ววันหนึ่งย่าก้านก็เริ่มป่วยทรุดลง ลุงบอกว่าเป็น
ช่วงเวลาที่แสนหดหู่สับสน ไปขายของทํางานกลับมาก็เหน็ดเหนื่อย เหลียวมองดูแม่ก็ทรุดหนัก
ลงทุกวัน ไอเป็นเลือด แล้วย่าก้านก็กระซิบกับลุงซึ่งเป็นลูกชายคนโตว่า “แม่คงอยู่กับพวกเองไป
ได้ไม่นาน” ลุงถึงกับนอนน้ําตาไหล ครั้นเหลียวดูน้อง ๆ ก็ยังเล็กไม่ประสีประสา คงสนุกกันไป
ตามประสาเด็ก จวบจนวัน สุดท้ายอันจะอ้อนวอนคุณพระอย่างไรก็หลีกหนีไม่พ้น ย่าก้าน
สิ้นชีวิตลงด้วยไอเป็นเลือด ซึ่งลุงก็ว่าปัจจุบันน่าจะเป็นวัณโรคหรือไม่หรือยังบอกไม่ได้ ด้วยไม่มี
การตรวจวินิจฉัยอย่างจริงจังในสมัยนั้น ลุงเฝ้าแต่พร่ําว่าถ้าเป็นการรักษาพยาบาลสมัยนี้คงจะ
รักษาแม่ได้
ส่วนปู่พรนั้นท่านได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว ประวัติช่วงนี้ลุงเล่าค่อนข้างกํากวม ฟัง
แล้วใจความยังไม่แน่ชัด ลุงว่าปู่พรท่านเป็น “ไทฟอยด์”คือท้องร่วง ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด
หรือเป็นเพราะท่านสูบฝิ่น เมื่อพยายามอดฝิ่น ร่างกายจึงต้านทานความต้องการที่เปลี่ยนไป
ไม่ได้และพ่ายแพ้ไปในที่สุด ซึ่งลุงก็ระบุความเท่าที่ลุงทราบได้เพียงเท่านี้
ตอนที่ ๕ตอนที่ ๕
นิ ท า น ข้ า ง ห ม อ นนิ ท า น ข้ า ง ห ม อ น
ลุงเล่าเรื่องราวต่อเนื่องมากมาย ทุกคําพูด ทุกประโยคมีรายละเอียดอันลึกซึ้ง ยากที่จะ
จดจํามาบรรยายได้ทั้งหมด มีทั้งสนุกสนาน ผจญภัย บางครั้งเสียงของลุงก็กังวานร่าเริงแจ่มใส
บางครั้งเสียงก็เครือแผ่วเบา แต่ลุงก็ดีใจที่หลานฟัง แล้วถามความต่อเสียจนดึกดื่น
ต่อไปนี้คือเรื่องราวในส่วนที่โลดโผน แม้อาจจะไม่ประติดประต่อ ก็จะขอเล่าถ่ายทอดต่อ
ให้พวกเราฟัง
ริมแม่น้ําป่าสัก
ย่าก้านนับได้ว่าเป็นผู้มีฝีมือในการทําขนมในย่านนั้น ส่วนคนขายก็คือพี่น้องสกุล “พู
สิทธิ์” โดยจะพายเรือแยกย้ายกันไป ป้าทองไปจะพายขึ้นไปทางเหนือ ส่วนลุงจะพายลงทางใต้
ขนมที่ขายมีขนมใส่ไส้ ขนมถ้วยฟู ขนมข้าวเหนียวตัด ซึ่งข้าวเหนียวที่ใช้ทําขนมต้องเป็นข้าว
เหนียวเสาไห้ ซื้อที่ปากเพรียงเท่านั้น มิฉะนั้นจะมิอร่อยถูกตํารับของย่าก้านเลย นอกจากนี้ยังมี
ไข่นําไปขายที่หนองต้นโพธิ์ อําเภอนครหลวง คุ้งน้ํานี้เคยเป็นเส้นทางเสด็จของในหลวง ซึ่งหาก
ท่านจะเสด็จไปพระพุทธบาทก็จะไปขึ้นที่ท่าเจ้าสนุก
๕
ในวัยเด็กอยู่แพ อาหารการกินก็สุดจะอุดมสมบูรณ์ ลุงบอกว่ามิได้อดอยากอะไรเลย
ชีวิตครอบครัวก็ดําเนินไปตามวิถีชนบทธรรมดา ๆ ปลาหมู ปลาบู่ ปลากระทิง ถึงกับล้วงเอาได้
จากใต้แพนั่นเอง เด็ก ๆ ก็เล่นสนุกกัน ช่วยกันทํางานบ้าน แล้วก็ช่วยแม่ขายขนม จนถึงที่สุดที่
ย่าก้านล้มป่วยลง สุดท้ายท่านก็ทําขนมต่อไปไม่ไหว ลุงจําเป็นต้องขายของเก่าที่พอมีอยู่กิน เมื่อ
ย่าก้านสิ้นลง ๔ พี่น้องก็พากันไปอยู่วัดแดง สมบัติแม่ที่เหลือลุงก็เก็บเป็นของเก่าไว้ดูต่างหน้า
และแบ่งให้น้อง ๆ เก็บไว้เป็นที่ระลึกบ้าง
ปลายปี ๒๔๘๔ ต่อต้นปี ๒๔๘๕ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ และเริ่มจะทวีความรุนแรงใน
สายตาของคนไทยที่คอยรับฟังข่าวอย่างไม่ประติดประต่อด้วยการสื่อสารในสมัยนั้นยังไม่
ทันสมัยเท่าในปัจจุบัน ข้างของเครื่องใช้ก็หาได้ยากยิ่ง เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง เย็นวันหนึ่ง
ราว ๆ สัก ๖ โมงเย็นเห็นจะได้ เครื่องบินทิ้งระเบิด B-26 ลําใหญ่ลําโตมโหฬารบินเตี้ยเลาะตาม
เส้นแม่น้ําป่าสักผ่านเหนือวัดแดง เสียงเครื่องยนต์ของเครื่องบินดังกระหึ่ม ครืมครามระทึกขวัญ
พ่อเห็นเครื่องบินลําใหญ่น่ากลัวจึงเอาหนังสะติ๊กไล่ยิงเสียเป็นการใหญ่ รุ่งเช้า ลุงวิ่งติดตามข่าว
ได้ความว่าเครื่องบินไปทิ้งระเบิดที่สะพานท่าเรือ กลายเป็นเรื่องเล่าขานที่ต่างคนต่างคุยว่ารู้
เรื่องเสียอย่างละเอียดกว่าใคร เป็นที่ฮือฮาสนุกสนานกันไป บ้างก็ถึงกับว่าหลวงพ่อโตช่วยปัดลูก
ระเบิดให้ถึงกระนั้น
คราวปี พ.ศ.๒๔๘๕ เกิดน้ําท่วมใหญ่ แม่น้ําป่าสักขึ้นท่วมท้นมากจนถึงองค์หลวงพ่อโต
วัดแดง พ่อไปตัดเอาต้นกล้วยมาเรียงต่อกันแล้วใช้ไม้เสียบยึดเป็นแพมาล่องเล่นน้ํากันเป็นที่
สนุกสนาน และปีนั้นนั่นเอง เป็นปีที่ย่าก้านเสีย สําหรับลุงแล้ว ลุงยังจําได้ถึงความสุขรื่นเริงของ
น้อง และความจริงแห่งความการสูญเสียอันแสนหดหู่
ลุงมีความหลังมากมายในฐานะพี่คนโตที่ต้องดูแลเป็นห่วงน้อง ๆ ยากที่ใครจะเข้าใจ
ความรู้สึกที่ฝังลึกมาจนบัดนี้ ลุงบอกว่าแม้กระทั่งจนทุกวันนี้ คราวใดที่เมฆฝนมาครึ้มเขียว ลุง
จะนึกถึงคราวที่อยู่กันครบ ๔ พี่น้องกับแม่ที่ในแพแถวท่าวัดแดง ยามฝนตก พายุซัดกระหน่ํา
แม่น้ําป่าสักไหลแรง ลุงต้องเป็นคนว่ายน้ําเข้าฝั่งไปผูกแพ ลุงบอกว่าน่ากลัวจับใจ ทั้งพายุ ทั้งฝน
ทั้งกลัวจระเข้
วัดแดงครั้งกระโน้น นกเหยี่ยว นกกา ยังคงบินเที่ยวเวียนวน ส่งเสียงร้องแว่วกังวานไป
ตลอดคุ้งน้ําป่าสัก สองฝั่งแม่น้ําเป็นต้นไม้ใหญ่ร่มครึ้ม ครั้นยามหน้าร้อนน้ําลด ฝูงปลาถูกใบจักร
เรือพัดฟันตาย เหล่านกเหยี่ยว นกกาจะบินแบลงมากินโดยจะเลือกกินแต่ไส้พุง ส่วนตัวปลาเนื้อ
ปลาเหล่าเด็กลูกแม่น้ําจะจับมาปิ้งกินกัน ตัวตะกวดก็เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่เด็ก ๆ ชอบวิ่งไล่จับ
กันเป็นหนักหนา ครั้นพอพระใช้ให้ขัดฝาบาตร ก็เอามะกรูด มะนาว ขี้เถ้า ไปนั่งขัดกันเช่นนี้
เป็นคืนวันอันแสนสุขตามประสาเด็ก
อ้ายหล่อ
ลุงกับพากันไปรับขนมหม้อแกงมาขาย รับมาถาดละ ๑๐ สตางค์ เอาไปขายถาดละ ๑๒
สตางค์ ลูกค้าที่ลุงหมายตาไว้ก็คือ “อ้ายหล่อ” อ้ายหล่อคนนี้ชอบแอบขโมยข้าวบ้านผู้ใหญ่ไป
๖
ขาย จึงเป็นคนค่อนข้างมีเงิน เมื่อเห็นลุงพายเรือผ่านมาก็จะเรียกไปซื้อที่ละ ๔ – ๕ ถาด แต่
นายหล่อคนนี้มีนิสัยชอบหลอกพ่อ เมื่อลุงกับพ่อพายวาดหัวเรือเข้าฝั่ง นายหล่อจะดึงหัวเรือจน
เกยปลัก แล้วทําท่าทําทางเอามีดลับฟันหัวเรือซ้ายที ขวาทีแล้วก็จะหลอกพ่อ “ฮื่อ ฮื่อ เดี๋ยวจะ
ฟันอ้ายหน่วยจมูกแด่น” ซึ่งพ่อก็จะด่าว่านายหล่อคนนี้ แล้วก็ไม่ยอมให้ลุงขายขนมให้นายหล่อ
ดังนั้น เมื่อเจอนายหล่อเรียกเรือจะซื้อขนม พ่อจึงคอยวาดหัวเรือหนี พร้อมกับร้องว่า “อย่าไป
ขายให้มัน อย่าไปขายให้มัน ” ซึ่งลุงก็บ่นเสียดายลูกค้ารายใหญ่คนนี้เสียจริง ในตอนนั้นลุงอายุ
ประมาณ ๑๓ – ๑๔ ปี ส่วนนายหล่อเป็นพี่ลุงประมาณ ๒ ปี ก็ตกอายุราว ๑๖ ปี แต่นายหล่อ
คนนี้อายุแกก็ไม่ยืน ในปีสองปีต่อมา แกก็ไปตายเสียในคราวที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเกณฑ์
คนสร้างถนนไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เพชรบูรณ์
ลุงสามารถไล่ราคาข้าวของในสมัยนั้นทุกชนิดได้อย่างแม่นยํา ข้าวเปลือกราคาถังละ
สตางค์ ไข่ราคา ๖ ใบ ๑ เฟื้อง และอีกมายมายจนจดจําตามคําบอกเล่าของลุงมิได้
เสียงรถไฟที่ลุงเรียกว่ารถหลวงตอนออกจากสถานีจะดังเช่นนี้
ฮุก – ฮุก – แช – ฉุ๊ – แฉ่ก ฮุก – ฮุก – แช – ฉุ๊ – แฉ่ก !!!
ส่วนเสียงรถไฟตอนที่วิ่งไปบนราง มีเสียงดังนี้
ตุ๊ก – กะ – ต๊ะ – ตุ๊ง – เท่ง ตุ๊ก – กะ – ต๊ะ – ตุ๊ง – เท่ง !!!
“อ้ายหน่วยจมูกแด่น ” เป็นชื่อที่เขาตั้งล้อพ่อ เพราะสมัยพ่อเด็ก ๆ ๔ – ๕ ขวบ
น้ํามูกไหลแล้วชอบเสยจมูก น้ํามูกก็เลยขึ้นไปแห้งกรังดําอยู่เหนือจมูก ตกเย็น ป้าทองใบจะเป็น
คนเอาผ้าชุบน้ําเปียก ๆ มาเช็ดให้น้ํามูกอ่อนน่ายอยู่เป็นเวลานานจึงจะเช็ดออกได้ จึงทําให้จมูก
ของพ่อแดงเป็นจมูกฝรั่งนั่นเอง
ตอนที่ ๖ตอนที่ ๖
ส า ย น้ํา ไ ม่ ไ ห ล ก ลั บส า ย น้ํา ไ ม่ ไ ห ล ก ลั บ
โลกยังคงหมุนวนต่อไปอยู่เช่นนี้มิเคยหยุดหย่อน เป็นเช่นนี้มานับล้านล้านปี พระ
อาทิตย์ขึ้นส่งแสงสว่างในทุก ๆ เช้า ปลุกให้ชีวิตลุกขึ้นมาต่อสู้ แล้วก็ตกลาลับไปในตอนเย็น
เพื่อให้ผู้คนที่อ่อนล้าได้เอนตัวพักผ่อน ต้นไม้เติบโตจากต้นอ่อนเล็ก ๆ ผลิดอกออกใบ แล้วแห้ง
เหี่ยวเฉาโดยราไปตามวัฏสงสาร สายลมและก้อนเมฆพัดผ่านมาลูกแล้วลูกเล่า แล้วก็ลอยลับ
ละลายไปจากสายตา ไม่หวนกลับมาอีก
หลวงปู่แพที่เคยอุปถัมภ์ค้ําชูประสิทธิ์ประสาทสกุล “พูสิทธิ์”ได้มรณภาพลง หลวงตา
ปลื้มก็รับเป็นธุระดูแลพ่อให้ โดยลุงเป็นคนพาไปฝากไว้กับท่านด้วยหมดที่พึ่ง หลวงตาปลื้มท่าน
ก็รับปากกับลุงอย่างมั่นหมาย เรื่องกินเรื่องอยู่จะดูแลให้ไม่เป็นปัญหา เนื่องจากพ่อยังเด็กอยู่ จะ
มีก็แต่เสื้อผ้าที่หลวงตาท่านบอกว่าจนใจ ด้วยเวลานั้นข้าวของหายากเต็มทน
๗
แม่น้ําป่าสักผ่านพ้นกาลเวลามาหลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่สมัยเรือไอรับจ้างที่ใช้
เครื่องยนต์เสียงดัง ตั๊ก ตั๊ก ตั๊ก มาถึงยุคเรือเมล์ เรือแดง เรือเขียว ล่วงมาจนถึงยุคเรือหางยาว
จนในที่สุดถนนก็มาแทนที่ บรรดาหมู่เรือก็ลดน้อยถอยลงไป แล้วหายลับไปจากม่น้ํา พร้อมกับ
เสียงนกกาที่เคยกู่ร้องก้องกังวานก็จืดจางหายไป คงทิ้งไว้เพียงคุ้งแม่น้ําที่ตื้นเขินขุ่นข้นและเงียบ
เหงา ชีวิตริมฝั่งแม่น้ําที่เคยรุ่งเรือง ผู้คนเวียนผ่านทักทายไปมา เคยรื่นเริงพายเรือคราวงานบุญ
รวมถึงบ้านเรือนแพอันสุขเย็นก็ถูกปล่อยให้เป็นตํานานขานเล่าอย่างไม่มีวันหวนกลับคืนมาอีก
ต่อไป

More Related Content

More from Washirasak Poosit

เรื่องเล่าของพ่อท่องป่า
เรื่องเล่าของพ่อท่องป่าเรื่องเล่าของพ่อท่องป่า
เรื่องเล่าของพ่อท่องป่าWashirasak Poosit
 
บทกวีและบทรำพึง
บทกวีและบทรำพึงบทกวีและบทรำพึง
บทกวีและบทรำพึงWashirasak Poosit
 
The infinite journey kobenhavn
The infinite journey kobenhavnThe infinite journey kobenhavn
The infinite journey kobenhavnWashirasak Poosit
 
An Essay on, The Expansion of ASEAN: Implications for Regional Securityt
An Essay on, The Expansion of  ASEAN: Implications for Regional SecuritytAn Essay on, The Expansion of  ASEAN: Implications for Regional Securityt
An Essay on, The Expansion of ASEAN: Implications for Regional SecuritytWashirasak Poosit
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า2
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า2โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า2
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า2Washirasak Poosit
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า3
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า3โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า3
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า3Washirasak Poosit
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า4
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า4โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า4
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า4Washirasak Poosit
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า5
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า5โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า5
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า5Washirasak Poosit
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า6
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า6โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า6
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า6Washirasak Poosit
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า7
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า7โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า7
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า7Washirasak Poosit
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า8
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า8โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า8
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า8Washirasak Poosit
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า1
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า1โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า1
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า1Washirasak Poosit
 
อบรมข้าราชการ ๘ (เรียนอังกฤษจากโคลงโลกนิติ)
อบรมข้าราชการ ๘ (เรียนอังกฤษจากโคลงโลกนิติ)อบรมข้าราชการ ๘ (เรียนอังกฤษจากโคลงโลกนิติ)
อบรมข้าราชการ ๘ (เรียนอังกฤษจากโคลงโลกนิติ)Washirasak Poosit
 
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (1)
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (1)เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (1)
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (1)Washirasak Poosit
 
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (2)
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (2)เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (2)
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (2)Washirasak Poosit
 
ปฐมนิเทศอนุบาล ศาสตร์และศิลป์ในการดูแลลูกรัก โดย น.อ.วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์
ปฐมนิเทศอนุบาล ศาสตร์และศิลป์ในการดูแลลูกรัก โดย น.อ.วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์ปฐมนิเทศอนุบาล ศาสตร์และศิลป์ในการดูแลลูกรัก โดย น.อ.วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์
ปฐมนิเทศอนุบาล ศาสตร์และศิลป์ในการดูแลลูกรัก โดย น.อ.วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์Washirasak Poosit
 
เรียนรู้นอกห้องอนุบาล
เรียนรู้นอกห้องอนุบาลเรียนรู้นอกห้องอนุบาล
เรียนรู้นอกห้องอนุบาลWashirasak Poosit
 
กิจกรรมการเรียนรู้เด็ก ศูนย์การเรียนรู้กองบิน ๗
กิจกรรมการเรียนรู้เด็ก ศูนย์การเรียนรู้กองบิน ๗กิจกรรมการเรียนรู้เด็ก ศูนย์การเรียนรู้กองบิน ๗
กิจกรรมการเรียนรู้เด็ก ศูนย์การเรียนรู้กองบิน ๗Washirasak Poosit
 
บรรยายเปรียบเทียบสมรรถนะ Gripen,F-16 CD,SU-30M
บรรยายเปรียบเทียบสมรรถนะ Gripen,F-16 CD,SU-30Mบรรยายเปรียบเทียบสมรรถนะ Gripen,F-16 CD,SU-30M
บรรยายเปรียบเทียบสมรรถนะ Gripen,F-16 CD,SU-30MWashirasak Poosit
 
การกำหนดแผนแม่บทในการพัฒนากำลัง
การกำหนดแผนแม่บทในการพัฒนากำลังการกำหนดแผนแม่บทในการพัฒนากำลัง
การกำหนดแผนแม่บทในการพัฒนากำลังWashirasak Poosit
 

More from Washirasak Poosit (20)

เรื่องเล่าของพ่อท่องป่า
เรื่องเล่าของพ่อท่องป่าเรื่องเล่าของพ่อท่องป่า
เรื่องเล่าของพ่อท่องป่า
 
บทกวีและบทรำพึง
บทกวีและบทรำพึงบทกวีและบทรำพึง
บทกวีและบทรำพึง
 
The infinite journey kobenhavn
The infinite journey kobenhavnThe infinite journey kobenhavn
The infinite journey kobenhavn
 
An Essay on, The Expansion of ASEAN: Implications for Regional Securityt
An Essay on, The Expansion of  ASEAN: Implications for Regional SecuritytAn Essay on, The Expansion of  ASEAN: Implications for Regional Securityt
An Essay on, The Expansion of ASEAN: Implications for Regional Securityt
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า2
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า2โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า2
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า2
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า3
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า3โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า3
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า3
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า4
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า4โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า4
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า4
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า5
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า5โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า5
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า5
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า6
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า6โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า6
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า6
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า7
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า7โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า7
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า7
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า8
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า8โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า8
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า8
 
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า1
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า1โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า1
โรงเรียนที่บ้านอนุบาลจ๋าจ้า1
 
อบรมข้าราชการ ๘ (เรียนอังกฤษจากโคลงโลกนิติ)
อบรมข้าราชการ ๘ (เรียนอังกฤษจากโคลงโลกนิติ)อบรมข้าราชการ ๘ (เรียนอังกฤษจากโคลงโลกนิติ)
อบรมข้าราชการ ๘ (เรียนอังกฤษจากโคลงโลกนิติ)
 
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (1)
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (1)เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (1)
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (1)
 
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (2)
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (2)เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (2)
เสริมปัญญาอนุบาลจ๋าจ้า (2)
 
ปฐมนิเทศอนุบาล ศาสตร์และศิลป์ในการดูแลลูกรัก โดย น.อ.วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์
ปฐมนิเทศอนุบาล ศาสตร์และศิลป์ในการดูแลลูกรัก โดย น.อ.วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์ปฐมนิเทศอนุบาล ศาสตร์และศิลป์ในการดูแลลูกรัก โดย น.อ.วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์
ปฐมนิเทศอนุบาล ศาสตร์และศิลป์ในการดูแลลูกรัก โดย น.อ.วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์
 
เรียนรู้นอกห้องอนุบาล
เรียนรู้นอกห้องอนุบาลเรียนรู้นอกห้องอนุบาล
เรียนรู้นอกห้องอนุบาล
 
กิจกรรมการเรียนรู้เด็ก ศูนย์การเรียนรู้กองบิน ๗
กิจกรรมการเรียนรู้เด็ก ศูนย์การเรียนรู้กองบิน ๗กิจกรรมการเรียนรู้เด็ก ศูนย์การเรียนรู้กองบิน ๗
กิจกรรมการเรียนรู้เด็ก ศูนย์การเรียนรู้กองบิน ๗
 
บรรยายเปรียบเทียบสมรรถนะ Gripen,F-16 CD,SU-30M
บรรยายเปรียบเทียบสมรรถนะ Gripen,F-16 CD,SU-30Mบรรยายเปรียบเทียบสมรรถนะ Gripen,F-16 CD,SU-30M
บรรยายเปรียบเทียบสมรรถนะ Gripen,F-16 CD,SU-30M
 
การกำหนดแผนแม่บทในการพัฒนากำลัง
การกำหนดแผนแม่บทในการพัฒนากำลังการกำหนดแผนแม่บทในการพัฒนากำลัง
การกำหนดแผนแม่บทในการพัฒนากำลัง
 

ลุงเล่าให้ฟัง

  • 1. เรื่องเล่าของพ่อเรื่องเล่าของพ่อ ประวัติสกุลประวัติสกุล ““พูสิทธิ์พูสิทธิ์”” - ลุงเล่าให้ฟัง -- ลุงเล่าให้ฟัง - ตอนที่ ๑ตอนที่ ๑ โ ล ก ห มุ น ว น ค น ห มุ น เ วี ย นโ ล ก ห มุ น ว น ค น ห มุ น เ วี ย น ท้องฟ้าอันสูงลิบกว้างไกล โอบกอดทั้งผืนดิน แผ่นน้ํา ที่กระแสชีวิตนับพันพันล้านต่าง เวียนวนต่อสู้ เกิดตํานานเล่าขานมานมนานนับชั่วอายุคน บางครั้ง ชีวิตเต็มเปี่ยมไปด้วย ความสุขลิงโลด ความสุขสมหวังอย่างปลาบปลื้มประดามี เกิดเรี่ยวแรงและกําลังใจที่ฮึกเหิมบาก บั่น ท้องฟ้าที่ดูว่ากว้างแล้ว กลับยิ่งกว้างกระจ่างใสเต็มอิ่มในดวงตา แล้วทันทีทันใดในอีกช่วง ชีวิต ความทุกข์หม่นหมองก็เวียนผ่านมาเยือน มืดครึ้มอึมครึมดั่งเคว้งคว้างงุนงงอยู่ในอยู่ ท่ามกลางพายัพฝน เฝ้าคอยภาวนาให้เรื่องราวทั้งหลายทั้งมวลมันจบผ่านไปเสียที สุดท้ายที่วัน เวลาได้ผ่านลับล่วงไป ประสบการณ์เท่านั้นที่ได้หล่อหลอมให้ชีวิตสามารถต่อสู้ดิ้นรนเช่นนี้ เรื่อยไปเฉกเช่นสายน้ําที่ไหลหล่อเลี้ยงชีวิตอันมีขึ้นมีลง ผ่านทั้งอดีตอันอบอุ่นคุ้นเคย ผ่าน ปัจจุบันที่ต้องตั้งหน้าตั้งตาสู้ต่อไป และสู่อนาคตที่มิมีใครมองเห็นคาดหมายได้ ชีวิตทุกผู้ทุกคนย่อมสืบเสาะแสวงหาความสุขตามหนทางและวิถีแห่งตน ต่างผ่านทั้ง ร้อน ทั้งฝน ทั้งหนาว ในหนทางที่แตกต่างกันตาม “กรรม” อันเป็นตัวกําหนด หากใครสามารถ ใคร่ครวญในวิถีอันหลายหลากเหล่านั้นมาแปรเปลี่ยนให้เป็นคติธรรมสอนใจได้ การเดินทางผ่าน ชั่วอายุขัยของตนก็จะราบรื่นไปด้วย “ปัญญา” เป็นผู้นําทาง “ลุงอําไพ” เป็นพี่คนโตในครอบครัวของพ่อ ลุงเป็นคนที่รักษาอดีตความทรงจําไว้ในใจ อย่างมั่นคง และคอยหาโอกาสที่จะเล่าขานให้ลูกหลานฟังในทุกครั้งที่มีโอกาสแวะเวียนได้มาพบ กัน ความเป็นจริงก็คือ เรื่องราวเก่าแก่เหล่านั้น ยากยิ่งที่จะหาใครสนใจฟัง เป็นเรื่องของ ความสุข และที่สําคัญคือความทุกข์ยากกับพี่น้องในวัยเยาว์ของลุง ลุงดีใจมากที่ได้รําลึกและเล่า ถึงเรื่องราวต่าง ๆ ของชีวิตในอดีตให้ผมฟัง ต้นปีสองพันห้าร้อยสามสิบ ขณะที่ผมรอติดยศเรืออากาศตรีอยู่นั้น ได้มีโอกาสไปพัก อาศัยอยู่กับลุงอําไพที่บ้านของลุงเป็นเวลา ๔ วัน ทุกคืนก่อนนอน หลังจากลุงสวดมนต์ด้วยบท คาถาอันยาวนานหน้าตั่งพระข้างเตียง แล้วขึ้นมาว่าคาถาพร้อมเอามือวนกล่อมหมอนก่อนทิ้ง ศีรษะลงนอน หลังจากนั้น อดีตต่าง ๆ ของลุงก็จะผุดขึ้นมาอย่างแจ่มใสในความทรงจํา แม้บาง เรื่องราวจะเป็นความหลังอันขมขื่น แต่ในความขมขื่นนั้นมันช่างเป็นบทเรียนที่วาดเส้นทาง “สกุล” ของเราด้วยคุณค่าแห่งชีวิตล้วน ๆ ลุงเล่าเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเจี๊ยบก็จําได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เพราะทุกคําพูดของลุง “ทุกประโยค” ล้วนเต็มไปด้วยรายละเอียดอันน่าทึ่ง ความทรง
  • 2. ๒ จําในอดีตของลุงมิได้ขาดตกบกพร่องตามกาลเวลาไปเลยแม้สักน้อยนิด ลุงจะเล่าเรื่องราวไป เรื่อย ๆ ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าจะจดจําได้ถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ แต่ก็จะขอนําเรื่องราวที่ลุงเล่ามา เขียนไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนความทรงจําให้แก่ลูก ๆ หลาน ๆ รุ่นหลัง ได้รําลึกถึงความผูกพันที่ ต่อสายสืบเนื่องมาจนถึงตัวเราทุกคนในวันนี้ ตอนที่ ๒ตอนที่ ๒ ต้ น ส กุ ลต้ น ส กุ ล ““ พู สิ ท ธิ์พู สิ ท ธิ์ ”” ต้นสกุล “พูสิทธิ์” ย้อนได้ถึงปู่ทวด ด้วย “ย่าก้าน” และผู้ใหญ่ในครอบครัวได้เล่าให้ลุง ฟังด้วยเห็นว่าลุงเป็นพี่ใหญ่และโตแล้ว สมควรที่จะได้รับรู้เรื่องราวของครอบครัวบ้าง “ปู่ทวดย้อน” เป็นนายอากรบ่อนเบี้ยชาวมอญสามโคก ด้วยตําแหน่งนี้น่าจะระบุได้ว่า ท่านรับราชการในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงช่วงสมัยของ รัชการที่ ๕ ก่อนที่บ่อนเบี้ยจะถูก ยกเลิกไป แต่จะเป็นด้วยเหตุอันใดก็แสนสุดวิสัยที่ทราบถึงประวัติของท่านโดยละเอียด โดยว่า “ย่าทวดทองคํา ” ท่านมิเคยกล่าวถึงปู่ทวด ด้วยว่าท่านมีเรื่องเคืองใจกับปู่ทวดหรือกระไร กาลเวลานับเหนือจากนั้นจึงจมอยู่ในก้นบึ้งแห่งความมืดมิดดึกดําบรรพ์ ลุงเล่าไว้เพียงเลา ๆ ว่า เป็นเพราะปู่ทวดย้อนท่านมีภรรยาหลายคน และเรื่องราวเช่นดั่งนี้ ในสมัยก่อนผู้ใหญ่ก็จะไม่เล่า ให้เด็กฟัง ตรงนี้ผมขอวิเคราะห์ไว้ว่าในยุคสมัยที่ผู้ชายสามารถมีภรรยาได้หลายคน “ย่าทวด ทองคํา” คงเป็นสตรีหัวสมัยในยุคแรก ๆ ของสยามซึ่งยึดมั่นถือมั่นในหลักแห่งความเป็น “ผัว เดียวเมียเดียว” อย่างแน่แท้ นับเริ่มที่ย่าทวดทองคําได้สิ้นชีวิตลง “ปู่พร” ได้อยู่ใต้ใบบุญของ “หลวงปู่แพ ” อัน นับเป็นผู้ประสาทสถิตย์สกุล “พูสิทธิ์” ตามนามสกุลดั้งเดิมของท่านตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในสายของ “ย่าก้าน” ลุงได้เล่าพอแยกสายได้ดังนี้ ย่าก้านเป็นบุตรีของ “ตาทวดเฉื่อย” เป็นหัวหน้าคณะละครชาตรี สมรสกับ “ยายทวดกิ่ง” มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน แต่ต่างมารดา สาย “ยายทวดเปลี่ยน” คือ นิลิศฎา, ลุงเวียน, ลุงวาด และป้าบาง ญาติสายนี้ปัจจุบันจะแยก ย้ายไปหนทางใดบ้าง มิอาจทราบได้อีกแล้ว
  • 3. ๓ ปู่ทวดย้อน + ย่าทวดทองคํา ตาทวดเฉื่อย + ยายทวดกิ่ง ปู่พร + ย่าก้าน ลุงอําไพ พูสิทธิ์ ป้าทองใบ แก้วมณี พ่ออํานวย พูสิทธิ์ อาจําเนียร คุณะดิลก ปู่พรสิ้นชีวิตเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓ ขณะนั้นพ่ออายุได้ ๔ ขวบ ย่าก้านเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ พ่ออายุได้ ๕ ขวบ และในปีรุ่งขึ้นคือปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่แพก็มรณภาพ ลุงบอกว่าทั้ง ครอบครัวพี่น้องยังเด็กกันเหลือเกิน ในช่วง ๔ ปีถัดมา คือตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๖ – ๒๔๙๐ ลุงต้อง เข้าไปเป็นทหารเผชิญโชคในวัยหนุ่มเสียที่พระนคร (กรุงเทพฯ) ส่วนพ่อต้องอยู่โยงที่วัดด้วยฝาก ไว้กับหลวงตาปลื้ม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ ไปแล้ว จึงได้รับพ่อเข้าไปพระนครด้วย ตอนที่ ๓ตอนที่ ๓ เ ม ฆ เ วี ย น ท ะ เ ล ว นเ ม ฆ เ วี ย น ท ะ เ ล ว น ลุงเล่าว่า บ้านของลุงกับพ่อที่อยู่อาศัยกันกับย่าก้าน ป้าทองใบและอาเนียรเป็นแพ ลูกบวบ ปักหลักลอยอยู่ริมแม่น้ําป่าสักแถวท่าน้ําวัดแดง ตําบลปากท่า อําเภอท่าเรือ จังหวัดยุธ ยา ฝาเรือนแพนั้นเป็นไม้ตะแบกกว้าง ๘ นิ้ว มีห่วงเหล็กใหญ่คล้องอยู่กับหลักไม้เต็ง ค่าจ้างช่าง ในการสร้างแพทั้งหมดรวมเป็นราคา ๖ ชั่ง ส่วนลูกบวบที่ใส่เข้าไปไว้ใต้แพเพื่อให้แพลอยนั้น จะต้องเปลี่ยนใหม่ทุก ๆ ๓ ปี เพราะผุพังบ้าง ลอยออกไปบ้าง รวมทั้งมีปลามาแทะเล็มด้วย แพ ก็จะค่อย ๆ จมลง ต้องคอยซื้อลูกบวบที่ล่องมาจากทางเหนือคอยเติมใส่ในราคาแพละ ๖ บาท ลุงอําไพเองที่เกิดจริง ๆ ที่บ้านท้ายตลาด (ฝั่งตรงข้ามวัดแดงจะเป็นบ้านตะเคียนด้วน ต้องล่องลงไปตามแม่น้ําป่าสักอีกจึงจะถึงบ้านท้ายตลาด) ตอนที่ลุงอายุราว ๑๒ ขวบ พ่ออายุ ประมาณ ๗ ขวบ สองพี่น้องจะพากันพายเรือขายข้าวหมาก โดยมีพ่อนอนบนเรือพายไปเป็น เพื่อน หากพายในตอนมืด ๆ ที่ต้องผ่านต้นสะตือที่มืดครึ้มอยู่ริมตลิ่ง ลุงต้องคอยปลุกพ่อให้ลุก ขึ้นมาเป็นเพื่อนอยู่เรื่อย ๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกลัวนั่นเอง
  • 4. ๔ ตอนที่ ๔ตอนที่ ๔ ด า ว เ ดื อ น ดั บ สู ญด า ว เ ดื อ น ดั บ สู ญ สมัยที่ลุงยังเด็ก ครั้งยังอยู่กับย่าก้านนั้นชีวิตช่างมีความสุข พี่ ๆ น้อง ๆ ใครเลยจะคิดถึง กาลในวันข้างหน้า ในคราวสงกรานต์ จะเป็นวันที่พี่น้องได้สุขสรรค์ร่วมกัน บ้านไม้สักบนแพ ลูกบวบจะได้รับการขัดสีเสียจนดูเอี่ยม แล้ววันหนึ่งย่าก้านก็เริ่มป่วยทรุดลง ลุงบอกว่าเป็น ช่วงเวลาที่แสนหดหู่สับสน ไปขายของทํางานกลับมาก็เหน็ดเหนื่อย เหลียวมองดูแม่ก็ทรุดหนัก ลงทุกวัน ไอเป็นเลือด แล้วย่าก้านก็กระซิบกับลุงซึ่งเป็นลูกชายคนโตว่า “แม่คงอยู่กับพวกเองไป ได้ไม่นาน” ลุงถึงกับนอนน้ําตาไหล ครั้นเหลียวดูน้อง ๆ ก็ยังเล็กไม่ประสีประสา คงสนุกกันไป ตามประสาเด็ก จวบจนวัน สุดท้ายอันจะอ้อนวอนคุณพระอย่างไรก็หลีกหนีไม่พ้น ย่าก้าน สิ้นชีวิตลงด้วยไอเป็นเลือด ซึ่งลุงก็ว่าปัจจุบันน่าจะเป็นวัณโรคหรือไม่หรือยังบอกไม่ได้ ด้วยไม่มี การตรวจวินิจฉัยอย่างจริงจังในสมัยนั้น ลุงเฝ้าแต่พร่ําว่าถ้าเป็นการรักษาพยาบาลสมัยนี้คงจะ รักษาแม่ได้ ส่วนปู่พรนั้นท่านได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว ประวัติช่วงนี้ลุงเล่าค่อนข้างกํากวม ฟัง แล้วใจความยังไม่แน่ชัด ลุงว่าปู่พรท่านเป็น “ไทฟอยด์”คือท้องร่วง ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด หรือเป็นเพราะท่านสูบฝิ่น เมื่อพยายามอดฝิ่น ร่างกายจึงต้านทานความต้องการที่เปลี่ยนไป ไม่ได้และพ่ายแพ้ไปในที่สุด ซึ่งลุงก็ระบุความเท่าที่ลุงทราบได้เพียงเท่านี้ ตอนที่ ๕ตอนที่ ๕ นิ ท า น ข้ า ง ห ม อ นนิ ท า น ข้ า ง ห ม อ น ลุงเล่าเรื่องราวต่อเนื่องมากมาย ทุกคําพูด ทุกประโยคมีรายละเอียดอันลึกซึ้ง ยากที่จะ จดจํามาบรรยายได้ทั้งหมด มีทั้งสนุกสนาน ผจญภัย บางครั้งเสียงของลุงก็กังวานร่าเริงแจ่มใส บางครั้งเสียงก็เครือแผ่วเบา แต่ลุงก็ดีใจที่หลานฟัง แล้วถามความต่อเสียจนดึกดื่น ต่อไปนี้คือเรื่องราวในส่วนที่โลดโผน แม้อาจจะไม่ประติดประต่อ ก็จะขอเล่าถ่ายทอดต่อ ให้พวกเราฟัง ริมแม่น้ําป่าสัก ย่าก้านนับได้ว่าเป็นผู้มีฝีมือในการทําขนมในย่านนั้น ส่วนคนขายก็คือพี่น้องสกุล “พู สิทธิ์” โดยจะพายเรือแยกย้ายกันไป ป้าทองไปจะพายขึ้นไปทางเหนือ ส่วนลุงจะพายลงทางใต้ ขนมที่ขายมีขนมใส่ไส้ ขนมถ้วยฟู ขนมข้าวเหนียวตัด ซึ่งข้าวเหนียวที่ใช้ทําขนมต้องเป็นข้าว เหนียวเสาไห้ ซื้อที่ปากเพรียงเท่านั้น มิฉะนั้นจะมิอร่อยถูกตํารับของย่าก้านเลย นอกจากนี้ยังมี ไข่นําไปขายที่หนองต้นโพธิ์ อําเภอนครหลวง คุ้งน้ํานี้เคยเป็นเส้นทางเสด็จของในหลวง ซึ่งหาก ท่านจะเสด็จไปพระพุทธบาทก็จะไปขึ้นที่ท่าเจ้าสนุก
  • 5. ๕ ในวัยเด็กอยู่แพ อาหารการกินก็สุดจะอุดมสมบูรณ์ ลุงบอกว่ามิได้อดอยากอะไรเลย ชีวิตครอบครัวก็ดําเนินไปตามวิถีชนบทธรรมดา ๆ ปลาหมู ปลาบู่ ปลากระทิง ถึงกับล้วงเอาได้ จากใต้แพนั่นเอง เด็ก ๆ ก็เล่นสนุกกัน ช่วยกันทํางานบ้าน แล้วก็ช่วยแม่ขายขนม จนถึงที่สุดที่ ย่าก้านล้มป่วยลง สุดท้ายท่านก็ทําขนมต่อไปไม่ไหว ลุงจําเป็นต้องขายของเก่าที่พอมีอยู่กิน เมื่อ ย่าก้านสิ้นลง ๔ พี่น้องก็พากันไปอยู่วัดแดง สมบัติแม่ที่เหลือลุงก็เก็บเป็นของเก่าไว้ดูต่างหน้า และแบ่งให้น้อง ๆ เก็บไว้เป็นที่ระลึกบ้าง ปลายปี ๒๔๘๔ ต่อต้นปี ๒๔๘๕ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ และเริ่มจะทวีความรุนแรงใน สายตาของคนไทยที่คอยรับฟังข่าวอย่างไม่ประติดประต่อด้วยการสื่อสารในสมัยนั้นยังไม่ ทันสมัยเท่าในปัจจุบัน ข้างของเครื่องใช้ก็หาได้ยากยิ่ง เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง เย็นวันหนึ่ง ราว ๆ สัก ๖ โมงเย็นเห็นจะได้ เครื่องบินทิ้งระเบิด B-26 ลําใหญ่ลําโตมโหฬารบินเตี้ยเลาะตาม เส้นแม่น้ําป่าสักผ่านเหนือวัดแดง เสียงเครื่องยนต์ของเครื่องบินดังกระหึ่ม ครืมครามระทึกขวัญ พ่อเห็นเครื่องบินลําใหญ่น่ากลัวจึงเอาหนังสะติ๊กไล่ยิงเสียเป็นการใหญ่ รุ่งเช้า ลุงวิ่งติดตามข่าว ได้ความว่าเครื่องบินไปทิ้งระเบิดที่สะพานท่าเรือ กลายเป็นเรื่องเล่าขานที่ต่างคนต่างคุยว่ารู้ เรื่องเสียอย่างละเอียดกว่าใคร เป็นที่ฮือฮาสนุกสนานกันไป บ้างก็ถึงกับว่าหลวงพ่อโตช่วยปัดลูก ระเบิดให้ถึงกระนั้น คราวปี พ.ศ.๒๔๘๕ เกิดน้ําท่วมใหญ่ แม่น้ําป่าสักขึ้นท่วมท้นมากจนถึงองค์หลวงพ่อโต วัดแดง พ่อไปตัดเอาต้นกล้วยมาเรียงต่อกันแล้วใช้ไม้เสียบยึดเป็นแพมาล่องเล่นน้ํากันเป็นที่ สนุกสนาน และปีนั้นนั่นเอง เป็นปีที่ย่าก้านเสีย สําหรับลุงแล้ว ลุงยังจําได้ถึงความสุขรื่นเริงของ น้อง และความจริงแห่งความการสูญเสียอันแสนหดหู่ ลุงมีความหลังมากมายในฐานะพี่คนโตที่ต้องดูแลเป็นห่วงน้อง ๆ ยากที่ใครจะเข้าใจ ความรู้สึกที่ฝังลึกมาจนบัดนี้ ลุงบอกว่าแม้กระทั่งจนทุกวันนี้ คราวใดที่เมฆฝนมาครึ้มเขียว ลุง จะนึกถึงคราวที่อยู่กันครบ ๔ พี่น้องกับแม่ที่ในแพแถวท่าวัดแดง ยามฝนตก พายุซัดกระหน่ํา แม่น้ําป่าสักไหลแรง ลุงต้องเป็นคนว่ายน้ําเข้าฝั่งไปผูกแพ ลุงบอกว่าน่ากลัวจับใจ ทั้งพายุ ทั้งฝน ทั้งกลัวจระเข้ วัดแดงครั้งกระโน้น นกเหยี่ยว นกกา ยังคงบินเที่ยวเวียนวน ส่งเสียงร้องแว่วกังวานไป ตลอดคุ้งน้ําป่าสัก สองฝั่งแม่น้ําเป็นต้นไม้ใหญ่ร่มครึ้ม ครั้นยามหน้าร้อนน้ําลด ฝูงปลาถูกใบจักร เรือพัดฟันตาย เหล่านกเหยี่ยว นกกาจะบินแบลงมากินโดยจะเลือกกินแต่ไส้พุง ส่วนตัวปลาเนื้อ ปลาเหล่าเด็กลูกแม่น้ําจะจับมาปิ้งกินกัน ตัวตะกวดก็เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่เด็ก ๆ ชอบวิ่งไล่จับ กันเป็นหนักหนา ครั้นพอพระใช้ให้ขัดฝาบาตร ก็เอามะกรูด มะนาว ขี้เถ้า ไปนั่งขัดกันเช่นนี้ เป็นคืนวันอันแสนสุขตามประสาเด็ก อ้ายหล่อ ลุงกับพากันไปรับขนมหม้อแกงมาขาย รับมาถาดละ ๑๐ สตางค์ เอาไปขายถาดละ ๑๒ สตางค์ ลูกค้าที่ลุงหมายตาไว้ก็คือ “อ้ายหล่อ” อ้ายหล่อคนนี้ชอบแอบขโมยข้าวบ้านผู้ใหญ่ไป
  • 6. ๖ ขาย จึงเป็นคนค่อนข้างมีเงิน เมื่อเห็นลุงพายเรือผ่านมาก็จะเรียกไปซื้อที่ละ ๔ – ๕ ถาด แต่ นายหล่อคนนี้มีนิสัยชอบหลอกพ่อ เมื่อลุงกับพ่อพายวาดหัวเรือเข้าฝั่ง นายหล่อจะดึงหัวเรือจน เกยปลัก แล้วทําท่าทําทางเอามีดลับฟันหัวเรือซ้ายที ขวาทีแล้วก็จะหลอกพ่อ “ฮื่อ ฮื่อ เดี๋ยวจะ ฟันอ้ายหน่วยจมูกแด่น” ซึ่งพ่อก็จะด่าว่านายหล่อคนนี้ แล้วก็ไม่ยอมให้ลุงขายขนมให้นายหล่อ ดังนั้น เมื่อเจอนายหล่อเรียกเรือจะซื้อขนม พ่อจึงคอยวาดหัวเรือหนี พร้อมกับร้องว่า “อย่าไป ขายให้มัน อย่าไปขายให้มัน ” ซึ่งลุงก็บ่นเสียดายลูกค้ารายใหญ่คนนี้เสียจริง ในตอนนั้นลุงอายุ ประมาณ ๑๓ – ๑๔ ปี ส่วนนายหล่อเป็นพี่ลุงประมาณ ๒ ปี ก็ตกอายุราว ๑๖ ปี แต่นายหล่อ คนนี้อายุแกก็ไม่ยืน ในปีสองปีต่อมา แกก็ไปตายเสียในคราวที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเกณฑ์ คนสร้างถนนไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เพชรบูรณ์ ลุงสามารถไล่ราคาข้าวของในสมัยนั้นทุกชนิดได้อย่างแม่นยํา ข้าวเปลือกราคาถังละ สตางค์ ไข่ราคา ๖ ใบ ๑ เฟื้อง และอีกมายมายจนจดจําตามคําบอกเล่าของลุงมิได้ เสียงรถไฟที่ลุงเรียกว่ารถหลวงตอนออกจากสถานีจะดังเช่นนี้ ฮุก – ฮุก – แช – ฉุ๊ – แฉ่ก ฮุก – ฮุก – แช – ฉุ๊ – แฉ่ก !!! ส่วนเสียงรถไฟตอนที่วิ่งไปบนราง มีเสียงดังนี้ ตุ๊ก – กะ – ต๊ะ – ตุ๊ง – เท่ง ตุ๊ก – กะ – ต๊ะ – ตุ๊ง – เท่ง !!! “อ้ายหน่วยจมูกแด่น ” เป็นชื่อที่เขาตั้งล้อพ่อ เพราะสมัยพ่อเด็ก ๆ ๔ – ๕ ขวบ น้ํามูกไหลแล้วชอบเสยจมูก น้ํามูกก็เลยขึ้นไปแห้งกรังดําอยู่เหนือจมูก ตกเย็น ป้าทองใบจะเป็น คนเอาผ้าชุบน้ําเปียก ๆ มาเช็ดให้น้ํามูกอ่อนน่ายอยู่เป็นเวลานานจึงจะเช็ดออกได้ จึงทําให้จมูก ของพ่อแดงเป็นจมูกฝรั่งนั่นเอง ตอนที่ ๖ตอนที่ ๖ ส า ย น้ํา ไ ม่ ไ ห ล ก ลั บส า ย น้ํา ไ ม่ ไ ห ล ก ลั บ โลกยังคงหมุนวนต่อไปอยู่เช่นนี้มิเคยหยุดหย่อน เป็นเช่นนี้มานับล้านล้านปี พระ อาทิตย์ขึ้นส่งแสงสว่างในทุก ๆ เช้า ปลุกให้ชีวิตลุกขึ้นมาต่อสู้ แล้วก็ตกลาลับไปในตอนเย็น เพื่อให้ผู้คนที่อ่อนล้าได้เอนตัวพักผ่อน ต้นไม้เติบโตจากต้นอ่อนเล็ก ๆ ผลิดอกออกใบ แล้วแห้ง เหี่ยวเฉาโดยราไปตามวัฏสงสาร สายลมและก้อนเมฆพัดผ่านมาลูกแล้วลูกเล่า แล้วก็ลอยลับ ละลายไปจากสายตา ไม่หวนกลับมาอีก หลวงปู่แพที่เคยอุปถัมภ์ค้ําชูประสิทธิ์ประสาทสกุล “พูสิทธิ์”ได้มรณภาพลง หลวงตา ปลื้มก็รับเป็นธุระดูแลพ่อให้ โดยลุงเป็นคนพาไปฝากไว้กับท่านด้วยหมดที่พึ่ง หลวงตาปลื้มท่าน ก็รับปากกับลุงอย่างมั่นหมาย เรื่องกินเรื่องอยู่จะดูแลให้ไม่เป็นปัญหา เนื่องจากพ่อยังเด็กอยู่ จะ มีก็แต่เสื้อผ้าที่หลวงตาท่านบอกว่าจนใจ ด้วยเวลานั้นข้าวของหายากเต็มทน
  • 7. ๗ แม่น้ําป่าสักผ่านพ้นกาลเวลามาหลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่สมัยเรือไอรับจ้างที่ใช้ เครื่องยนต์เสียงดัง ตั๊ก ตั๊ก ตั๊ก มาถึงยุคเรือเมล์ เรือแดง เรือเขียว ล่วงมาจนถึงยุคเรือหางยาว จนในที่สุดถนนก็มาแทนที่ บรรดาหมู่เรือก็ลดน้อยถอยลงไป แล้วหายลับไปจากม่น้ํา พร้อมกับ เสียงนกกาที่เคยกู่ร้องก้องกังวานก็จืดจางหายไป คงทิ้งไว้เพียงคุ้งแม่น้ําที่ตื้นเขินขุ่นข้นและเงียบ เหงา ชีวิตริมฝั่งแม่น้ําที่เคยรุ่งเรือง ผู้คนเวียนผ่านทักทายไปมา เคยรื่นเริงพายเรือคราวงานบุญ รวมถึงบ้านเรือนแพอันสุขเย็นก็ถูกปล่อยให้เป็นตํานานขานเล่าอย่างไม่มีวันหวนกลับคืนมาอีก ต่อไป