SlideShare a Scribd company logo
1 of 33
การเพาะพันธุ์ปลาสลิดสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสมุทรปราการ
ปลาสลิดหรือปลาใบไม้เป็นปลาพื้นเมืองของไทย  มีแหล่งกำเนิดอยู่ในที่ลุ่มภาคกลางของประเทศไทย และพบในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ปลาสลิดเดิมทีเลี้ยงกันบริเวณ  ดอนกำยาน   จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วมีการย้ายมาเลี้ยงกันมากในจังหวัดสมุทรปราการในเขตพื้นที่ อ.เมือง  อ.บางพลี และ อ.บางบ่อ เป็นเวลายาวนานกระทั่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้มีการขยายพื้นที่การเลี้ยงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งภายในจังหวัดและจังหวัดอื่นๆเช่น จ.สมุทรสาคร,                  จ. สมุทรสงคราม จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี จ.สุพรรณบุรี  และมีการแพร่กระจายไปแทบ ทุกภาคของประเทศไทย
ลักษณะทางชีววิทยาของปลาสลิด   ปลาสลิดหรือปลาใบไม้เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทย  ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า   Trichogaster   pecteralis ชื่อสามัญ    SNAKESKIN    GOURAMI   อยู่ในครอบครัว   Anabantidae ปลาสลิดมีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ   แต่ขนาดโตกว่า ลำตัวแบนข้าง    มีครีบท้องยาวครีบเดียว  สีของลำตัว  สีเขียวออกเทาหรือมีสีคล้ำ มีริ้วดำพาดขวางตามลำตัวจากหัวถึงหาง  อาหารปลาสลิด   ได้แก่  แมลงน้ำ ตัวอ่อนลูกน้ำ ตะไคร่น้ำ ผัก หญ้า                        แพลงตอนพืช แพลงตอนสัตว์ และสารอินทรีย์ต่างๆ
การแพร่ขยายพันธุ์ ปลาสลิดสามารถวางไข่ได้เมื่ออายุ   ประมาณ 6 - 7  เดือน  เริ่มวางไข่ในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือน เมษายน – กันยายน   วางไข่ชุกเดือนสิงหาคม - กันยายน  แม่ปลาตัวหนึ่งจะวางไข่ปีละหลายครั้งๆ ประมาณ  18,000 - 36,000 ฟอง  วางไข่ในน้ำนิ่ง   ตัวผู้จะก่อหวอดในบริเวณที่มีพรรณไม้น้ำไม่หนาแน่น โดยเพศผู้จะผสมกับเพศเมียในอัตรา 1 : 1   ไข่ปลาสลิดจะเริ่มฟักเป็นตัวภายในระยะ  24 - 36  ชม.  ไข่ปลาสลิดเป็นไข่ลอย   สีเหลือง   มีหยดน้ำมันขนาดใหญ่   ขนาด ø เฉลี่ย 1.5–2.0 ม.ม.
การเลี้ยงปลาสลิดในอดีตเป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ โดยอาศัยอาหารจากธรรมชาติ  ในบ่อเลี้ยง  ( แปลงนา )  และได้พัฒนาการเลี้ยงมาเป็นแบบกึ่งพัฒนา โดยมีการเพิ่มอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยง โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่  ปุ๋ยคอก   ปุ๋ยหมัก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการให้อาหาร สมทบได้แก่ รำละเอียด  ปลาป่น เศษอาหารและอาหารสำเร็จรูปเป็นต้น การเลี้ยงปลาสลิดในอดีต จะทำการเพาะพันธุ์ปลา อนุบาลลูกปลา และเลี้ยงปลาในบ่อเดียวกัน โดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลักทำให้ไม่สามารถคาดคะเนผลผลิตและผลผลิตไม่แน่นอน ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาวิธีการต่างๆ ขึ้นมาเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาสลิดให้ได้ผลผลิตสูงและมีความแน่นอนมากขึ้น
แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย ปลาสลิดมีแหล่งกำเนิดในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง ชอบอยู่ในบริเวณที่มีน้ำนิ่ง เช่น  หนอง  บึง  ตามบริเวณที่มีพรรณไม้น้ำ  ผักและ สาหร่ายเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยกำบังตัว ก่อหวอดวางไข่ เนื่องจากปลาชนิดนี้โตเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอาหารพวกพืช ได้แก่  สาหร่าย  ตะไคร่น้ำ พืชน้ำอื่นๆรวมทั้งสารอินทรีย์ และสัตว์เล็กๆ จึงสามารถนำปลาสลิดมาเลี้ยงในบ่อและนาข้าวได้เป็นอย่างดี
การสืบพันธุ์ ลักษณะเพศ  ปลาสลิดตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ  ปลาตัวผู้มีลำตัวยาวเรียว สันหลังและสันท้องเกือบเป็นเส้นตรงขนานกัน  มีครีบหลังยาวจรดหรือเลยโคนหาง มีสีลำตัวเข้มและสวยกว่าตัวเมีย  ส่วนตัวเมียมีสันท้องยาวมนไม่ขนานกับสันหลัง  และครีบหลังมนไม่ยาวจนถึงโคนหาง สีตัวจางกว่าตัวผู้ในฤดูวางไข่ท้องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง
การเพาะพันธุ์ ในปัจจุบันการเลี้ยงปลาสลิดสามารถแบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ๆ              ได้ 2 ลักษณะได้แก่                     1. การเลี้ยงปลาสลิด  โดยการเพาะพันธุ์ปลาในบ่อเลี้ยง ซึ่งสามารถดำเนินการได้ 2 วิธีคือ                       1.1 การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ โดยการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ผสมกันเองตามธรรมชาติ  ในอัตรา 50 – 100 กก./ ไร่ โดยไม่คำนึงถึงอัตราส่วนพ่อแม่พันธุ์โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ขนาด 8 – 10 ตัว / กก. ซึ่งจำนวนการวางไข่ของปลาจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติเป็นหลัก และปลายังมีการวางไข่หลายครั้งทำให้ได้ลูกปลาหลายรุ่น
1.2 การเพาะพันธุ์โดยวิธีฉีดฮอร์โมน โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์                ขนาด 8-10 ตัว/กก.ที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์              ในอัตรา 5-10 กก./ไร่ โดยมีอัตราส่วนพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 1:1 ซึ่งปลาจะวางไข่  ในระยะใกล้เคียงกันซึ่งทั้งวิธีที่ 1.1 และ 1.2 อาจปล่อยปลาในบ่อเลี้ยงขนาดใหญ่เลยหรือปล่อยลงบ่อขนาดเล็กก่อนเมื่อลูกปลาเกิดและเห็นตัวแล้วจึงปล่อยออกไปลงสู่บ่อใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ในการเพาะพันธุ์ปลาลักษณะดังกล่าว ไม่สามารถคาดคะเนอัตราการรอดตายของลูกปลาและจำนวนลูกปลาที่ได้  ขึ้นอยู่กับอาหารธรรมชาติคุณสมบัติของน้ำ และศัตรูของลูกปลา (นก,สุนัข,ฝน)
2.  การเลี้ยงปลาสลิดโดยการปล่อยลูกปลาสลิดขนาด 2-3 ซม.           ในอัตราส่วน 10,000 ตัว/ไร่ ลูกปลาที่นำมาปล่อยได้จากการเพาะพันธุ์โดยวิธีการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์และอนุบาลในบ่อดินจนได้ขนาดที่ต้องการโดยลูกปลาที่นำมาปล่อยอาจจะปล่อยในบ่อเลี้ยงเลย หรืออนุบาลต่อในบ่อเล็กก่อน แล้วจึงปล่อยออกบ่อใหญ่นอกจากนี้  เกษตรกรที่เลี้ยงปลาสลิดบางราย ยังมีการปล่อยปลาขนาดเล็ก 15-20 ตัว/กก. ที่ไม่ได้จำหน่ายปล่อยเสริม ซึ่งการปล่อยเสริมแบบนี้สำหรับวิธีการเพาะ 1.1 และ 1.2 ไม่ควรปล่อยในช่วงที่ทำการเพาะพันธุ์เนื่องจากปลาที่ปล่อยจะกินลูกปลาที่เกิดใหม่ได้
การเพาะพันธุ์ปลาสลิดโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์        ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์
ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ 1. เตรียมบ่อเพาะพันธุ์ บ่อเพาะพันธุ์ เติมน้ำให้มีระดับความลึก15 - 20 ซม.โดยผ่านถุงกรองน้ำ ตัดหญ้าใส่ให้ทั่วบ่อ  เพื่อให้ปลาก่อหวอดวางไข่ ใช้ตาข่ายพรางแสง ปิดบริเวณเหนือบ่อเพื่อป้องกันการรบกวน
เตรียมกระชังแยกเพศ นำกระชังแยกเพศใส่ในบ่อเพาะพันธุ์ เพื่อใส่พ่อ- แม่พันธุ์ปลาสลิด สำหรับรอฉีดฮอร์โมน ลักษณะกระชังแยกเพศ
2. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด อายุ 6- 7  เดือนขึ้นไปหรือมีขนาดความยาวประมาณ   15 – 20 ซม.   น้ำหนักตัว  100 - 130 กรัม
ลักษณะปลาสลิดเพศผู้และเพศเมีย  ปลาสลิดเพศผู้จะมีลักษณะลำตัวเรียวยาว สันหลังและสันท้องเกือบเป็นเส้นตรงขนานกันและมีครีบหลังยาวจรดโคนหาง 	ปลาสลิดเพศเมียจะมีลักษณะสันท้องโค้งมนและครีบหลังมนไม่ยาวจนถึงโคนหาง สีของลำตัวจางกว่าเพศผู้
3.  เตรียมอุปกรณ์ การฉีดฮอร์โมน 1. ฮอร์โมนสังเคราะห์(ซุพรีแฟค) 2. ยาเสริมฤทธิ์(โมทีเลียม) 3. ครกบดยา 4. หลอดฉีดยาขนาด 1 ซีซี  5. เข็มฉีดยาเบอร์ 24  ยาว 1.25 นิ้ว 6. น้ำกลั่น หรือน้ำสะอาด 7. เครื่องชั่งน้ำหนัก
ฮอร์โมนสังเคราะห์(ซุพรีแฟค) , ยาเสริมฤทธิ์ (โมทีเลียม) ทำการเจือจางฮอร์โมน     ฮอร์โมน 1 ขวด บรรจุ 10 ซีซี มีตัวยา 10,000 ไมโครกรัม             ใช้หลอดฉีดยาดูดฮอร์โมนมา 1 ซีซี (มีฮอร์โมน1,000 ไมโครกรัม)   ผสมกับน้ำกลั่น 9 ซีซี รวมเป็น 10 ซีซี (ใน10ซีซี มีฮอร์โมน     1,000 ไมโครกรัม) (ดังนั้นถ้าดูดสารละลายฮอร์โมนขวดที่ผสมใหม่นี้มา 1 ซีซี จะมีฮอร์โมน = 100 ไมโครกรัม)
การคำนวณยาเสริมฤทธิ์ ( 1 เม็ด มีตัวยา 10 มิลลิกรัม )      น้ำหนักปลา*ยาเสริมฤทธิ์ (ความเข้มข้นที่ใช้ 5,10 มิลลิกรัม / กิโลกรัม ) = มิลลิกรัมของยาเสริมฤทธิ์ที่ได้ / 10 มิลลิกรัม = จำนวนเม็ดของยาเสริมฤทธิ์ที่ใช้ การคำนวณน้ำกลั่น       โดยปกติแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม สามารถรับสารละลายได้ 1 ซีซี    ดังนั้นปริมาตรน้ำกลั่นที่ใช้ = น้ำหนักปลาทั้งหมด–ปริมาตรฮอร์โมนที่ใช้    (= ปริมาตรน้ำกลั่นที่ใช้)
ชั่งน้ำหนักปลาที่จะฉีดฮอร์โมน 1. ชั่งน้ำหนักรวม ( กิโลกรัม )     2. นับจำนวนตัวทั้งหมดแล้วสุ่มชั่งน้ำหนัก 1 กก.(ได้เท่ากับกี่ตัว)นำจำนวนปลาทั้งหมดตั้ง / จำนวนตัวต่อกิโลกรัม (น้ำหนักปลารวม)     3. คำนวณฮอร์โมน นำน้ำหนักปลา * ความเข้มข้นของฮอร์โมน (ที่กำหนด) = ฮอร์โมนที่ต้องใช้ = กี่ไมโครกรัม / 100 = จำนวนซีซี (ปริมาตรสารละลายฮอร์โมนที่ต้องใช้)      4. คำนวณน้ำกลั่น      นำน้ำหนักปลาทั้งหมด ลบ ปริมาตรฮอร์โมนที่ใช้ = ปริมาตรน้ำกลั่น   ที่ใช้
การเตรียมฮอร์โมนเพื่อฉีดพ่อแม่พันธุ์ เข็มแรก
ตัวอย่างการคำนวณฮอร์โมน เพาะพันธุ์ปลาสลิด น้ำหนัก 10 กิโลกรัม เป็นพ่อปลา 5 กก. แม่ปลา 5 กก. พ่อแม่พันธุ์ปลาขนาด 10 ตัว/กก.( อัตราส่วนพ่อแม่พันธุ์ = 1:1 ) เข็มที่ 1. กำหนดให้ใช้ฮอร์โมน = 10 ไมโครกรัม / นน.ปลา 1 กก. ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์     5 มิลลิกรัม / นน.ปลา 1 กก. วิธีคิด    เข็มที่ 1 ฉีดพร้อมกัน    1.  ฮอร์โมน    นำน้ำหนักปลา 10 กก. คูณ 10 ไมโครกรัม = 100 ไมโครกรัม                     หารด้วย 100  ( ของสารละลายฮอร์โมนเจือจาง )  = 1 มิลลิลิตร    2. ยาเสริมฤทธิ์   นำน้ำหนักปลา 10 กก. คูณ  5 มิลลิกรัม  =  50  มิลลิกรัม                         หารด้วย   10  ( 5 เม็ด  )    3. น้ำกลั่น   นำน้ำหนักปลา 10 กก. ลบด้วยฮอร์โมน  1  มิลลิลิตร = 9 มิลลิลิตร
4.   บดยาเสริมฤทธิ์ให้ละเอียด ดูดฮอร์โมนและน้ำกลั่นตามจำนวนที่คิดไว้ ผสมกัน  คนให้ เข้ากัน   5.  ใช้หลอดฉีดยาดูดฮอร์โมนมา 1 มิลลิลิตร ฉีดพ่อและแม่ปลาได้ครั้งละ 10 ตัว เข็มที่ 2  เว้นระยะเวลาห่างกัน 14-16 ชั่วโมง      ใช้ฮอร์โมน 15 - 20 ไมโครกรัม/กก. ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์  5 - 10 มิลลิกรัม/1กก. วิธีคิด   ฮอร์โมน  = 5*(15-20) = 75-100 ไมโครกรัม(0.75,1.0 มิลลิลิตร)             ยาเสริมฤทธิ์ = 5*(5-10) = 25-50  มิลลิกรัม (2.5,5 เม็ด )             น้ำกลั่น    =5 - 0.75 , 1   = 4.25  , 4  มิลลิลิตร          ทำการผสมฮอร์โมนแล้วนำไปฉีดให้กับแม่ปลา
วิธีการฉีด ฉีดตรงโคนครีบหลัง โดยเข็มแรก  ฉีดฮอร์โมนทั้งปลาเพศผู้และเพศเมีย
ปล่อยพ่อพันธุ์ปลาลงบ่อเพาะพันธุ์                                         แม่พันธุ์ปลาปล่อยลงกระชังแยกเพศ      ทิ้งไว้  14 - 16 ชม. ฉีดฮอร์โมนแม่ปลาเข็มที่สอง ใช้ซุพรีแฟค 15-20 ไมโครกรัม ผสมกับโมทีเลี่ยม 5-10 มิลลิกรัม  / น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม
4. ปล่อยแม่ปลาลงบ่อเพาะพันธุ์ อัตราปล่อย   เพศผู้  :  เพศเมีย 1 : 1                            ความหนาแน่น  100-200  คู่/    พื้นที่ 50 ตารางเมตร
5. ช้อนหวอดไข่ปลาไปฟัก หลังจากปล่อยแม่ปลาลงบ่อเพาะพันธุ์ประมาณ 24 ชั่วโมง จึงทำการช้อนหวอด      ไปฟักในถังฟักไข่
ทำความสะอาดไข่ปลา ย้ายไข่ปลาลงถังฟัก
ลักษณะของไข่ปลาสลิด ไข่ปลาสลิดเป็นไข่ลอย
[object Object],ลูกปลาจะเริ่มกินอาหารเมื่ออายุ  3  วัน โดยกินโรติเฟอร์/ลูกไรแดง (เสริมไข่ต้ม 3-5 วัน)
ลูกปลาอายุ 8 วัน   เริ่มกินอาหารผสม (รำกับปลาป่น)อัตราส่วน 2:1  เลี้ยงจนได้ขนาด 2-3 ซม. ลักษณะของลูกปลาอายุ 8 วัน
ลูกปลาอายุ 25 วัน
การรวบรวมลูกปลา ใช้อวนตาถี่ลาก ให้ลากครึ่งบ่อก่อน  แล้วลากเต็มบ่อ เพื่อไม่ให้ลูกปลาช้ำ
ขอบคุณค่ะ

More Related Content

Similar to การเลี้ยงปลา

E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...
E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...
E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...
MukMik Melody
 
ชีวิตของปลากัด
ชีวิตของปลากัดชีวิตของปลากัด
ชีวิตของปลากัด
Anuphong Sewrirut
 
พันธุกรรม
พันธุกรรมพันธุกรรม
พันธุกรรม
wijitcom
 
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจ
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจอาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจ
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจ
krunidhswk
 
วิจัยปลาดุกรมควัน
วิจัยปลาดุกรมควันวิจัยปลาดุกรมควัน
วิจัยปลาดุกรมควัน
Mett Raluekchat
 
เลี้ยงปลาแรด
เลี้ยงปลาแรดเลี้ยงปลาแรด
เลี้ยงปลาแรด
longkhao
 
เลี้ยงปลาแรด
เลี้ยงปลาแรดเลี้ยงปลาแรด
เลี้ยงปลาแรด
longkhao
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
Enormity_tung
 
โครงงานคอมพิวเตอร์610
โครงงานคอมพิวเตอร์610โครงงานคอมพิวเตอร์610
โครงงานคอมพิวเตอร์610
ppapad
 

Similar to การเลี้ยงปลา (20)

E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...
E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...
E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...
 
ชีวิตของปลากัด
ชีวิตของปลากัดชีวิตของปลากัด
ชีวิตของปลากัด
 
22092010-2
22092010-222092010-2
22092010-2
 
Final1 m6 51
Final1 m6 51Final1 m6 51
Final1 m6 51
 
คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง
คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่องคู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง
คู่มือการจำแนกชนิดแมงกระพรุนกล่อง
 
042147
042147042147
042147
 
พะยูน
พะยูนพะยูน
พะยูน
 
พันธุกรรม
พันธุกรรมพันธุกรรม
พันธุกรรม
 
53010812271
5301081227153010812271
53010812271
 
3
33
3
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
Onet science
Onet scienceOnet science
Onet science
 
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจ
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจอาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจ
อาณาจักรมอเนอรา โปรติสตา ฟังไจ
 
วิจัยปลาดุกรมควัน
วิจัยปลาดุกรมควันวิจัยปลาดุกรมควัน
วิจัยปลาดุกรมควัน
 
Ecology
EcologyEcology
Ecology
 
Ecology
EcologyEcology
Ecology
 
เลี้ยงปลาแรด
เลี้ยงปลาแรดเลี้ยงปลาแรด
เลี้ยงปลาแรด
 
เลี้ยงปลาแรด
เลี้ยงปลาแรดเลี้ยงปลาแรด
เลี้ยงปลาแรด
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
 
โครงงานคอมพิวเตอร์610
โครงงานคอมพิวเตอร์610โครงงานคอมพิวเตอร์610
โครงงานคอมพิวเตอร์610
 

การเลี้ยงปลา

  • 2. ปลาสลิดหรือปลาใบไม้เป็นปลาพื้นเมืองของไทย มีแหล่งกำเนิดอยู่ในที่ลุ่มภาคกลางของประเทศไทย และพบในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลาสลิดเดิมทีเลี้ยงกันบริเวณ ดอนกำยาน จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วมีการย้ายมาเลี้ยงกันมากในจังหวัดสมุทรปราการในเขตพื้นที่ อ.เมือง อ.บางพลี และ อ.บางบ่อ เป็นเวลายาวนานกระทั่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้มีการขยายพื้นที่การเลี้ยงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งภายในจังหวัดและจังหวัดอื่นๆเช่น จ.สมุทรสาคร, จ. สมุทรสงคราม จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี จ.สุพรรณบุรี และมีการแพร่กระจายไปแทบ ทุกภาคของประเทศไทย
  • 3. ลักษณะทางชีววิทยาของปลาสลิด   ปลาสลิดหรือปลาใบไม้เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pecteralis ชื่อสามัญ SNAKESKIN GOURAMI อยู่ในครอบครัว Anabantidae ปลาสลิดมีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ แต่ขนาดโตกว่า ลำตัวแบนข้าง มีครีบท้องยาวครีบเดียว สีของลำตัว สีเขียวออกเทาหรือมีสีคล้ำ มีริ้วดำพาดขวางตามลำตัวจากหัวถึงหาง อาหารปลาสลิด ได้แก่ แมลงน้ำ ตัวอ่อนลูกน้ำ ตะไคร่น้ำ ผัก หญ้า แพลงตอนพืช แพลงตอนสัตว์ และสารอินทรีย์ต่างๆ
  • 4. การแพร่ขยายพันธุ์ ปลาสลิดสามารถวางไข่ได้เมื่ออายุ ประมาณ 6 - 7 เดือน เริ่มวางไข่ในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือน เมษายน – กันยายน วางไข่ชุกเดือนสิงหาคม - กันยายน  แม่ปลาตัวหนึ่งจะวางไข่ปีละหลายครั้งๆ ประมาณ 18,000 - 36,000 ฟอง วางไข่ในน้ำนิ่ง ตัวผู้จะก่อหวอดในบริเวณที่มีพรรณไม้น้ำไม่หนาแน่น โดยเพศผู้จะผสมกับเพศเมียในอัตรา 1 : 1  ไข่ปลาสลิดจะเริ่มฟักเป็นตัวภายในระยะ  24 - 36 ชม. ไข่ปลาสลิดเป็นไข่ลอย สีเหลือง มีหยดน้ำมันขนาดใหญ่ ขนาด ø เฉลี่ย 1.5–2.0 ม.ม.
  • 5. การเลี้ยงปลาสลิดในอดีตเป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ โดยอาศัยอาหารจากธรรมชาติ ในบ่อเลี้ยง ( แปลงนา ) และได้พัฒนาการเลี้ยงมาเป็นแบบกึ่งพัฒนา โดยมีการเพิ่มอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยง โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการให้อาหาร สมทบได้แก่ รำละเอียด ปลาป่น เศษอาหารและอาหารสำเร็จรูปเป็นต้น การเลี้ยงปลาสลิดในอดีต จะทำการเพาะพันธุ์ปลา อนุบาลลูกปลา และเลี้ยงปลาในบ่อเดียวกัน โดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลักทำให้ไม่สามารถคาดคะเนผลผลิตและผลผลิตไม่แน่นอน ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาวิธีการต่างๆ ขึ้นมาเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาสลิดให้ได้ผลผลิตสูงและมีความแน่นอนมากขึ้น
  • 6. แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย ปลาสลิดมีแหล่งกำเนิดในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง ชอบอยู่ในบริเวณที่มีน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง ตามบริเวณที่มีพรรณไม้น้ำ ผักและ สาหร่ายเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยกำบังตัว ก่อหวอดวางไข่ เนื่องจากปลาชนิดนี้โตเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอาหารพวกพืช ได้แก่ สาหร่าย ตะไคร่น้ำ พืชน้ำอื่นๆรวมทั้งสารอินทรีย์ และสัตว์เล็กๆ จึงสามารถนำปลาสลิดมาเลี้ยงในบ่อและนาข้าวได้เป็นอย่างดี
  • 7. การสืบพันธุ์ ลักษณะเพศ ปลาสลิดตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสังเกตความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาตัวผู้มีลำตัวยาวเรียว สันหลังและสันท้องเกือบเป็นเส้นตรงขนานกัน มีครีบหลังยาวจรดหรือเลยโคนหาง มีสีลำตัวเข้มและสวยกว่าตัวเมีย ส่วนตัวเมียมีสันท้องยาวมนไม่ขนานกับสันหลัง และครีบหลังมนไม่ยาวจนถึงโคนหาง สีตัวจางกว่าตัวผู้ในฤดูวางไข่ท้องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง
  • 8. การเพาะพันธุ์ ในปัจจุบันการเลี้ยงปลาสลิดสามารถแบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ๆ ได้ 2 ลักษณะได้แก่ 1. การเลี้ยงปลาสลิด โดยการเพาะพันธุ์ปลาในบ่อเลี้ยง ซึ่งสามารถดำเนินการได้ 2 วิธีคือ 1.1 การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ โดยการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ผสมกันเองตามธรรมชาติ ในอัตรา 50 – 100 กก./ ไร่ โดยไม่คำนึงถึงอัตราส่วนพ่อแม่พันธุ์โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ขนาด 8 – 10 ตัว / กก. ซึ่งจำนวนการวางไข่ของปลาจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติเป็นหลัก และปลายังมีการวางไข่หลายครั้งทำให้ได้ลูกปลาหลายรุ่น
  • 9. 1.2 การเพาะพันธุ์โดยวิธีฉีดฮอร์โมน โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ ขนาด 8-10 ตัว/กก.ที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ ในอัตรา 5-10 กก./ไร่ โดยมีอัตราส่วนพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 1:1 ซึ่งปลาจะวางไข่ ในระยะใกล้เคียงกันซึ่งทั้งวิธีที่ 1.1 และ 1.2 อาจปล่อยปลาในบ่อเลี้ยงขนาดใหญ่เลยหรือปล่อยลงบ่อขนาดเล็กก่อนเมื่อลูกปลาเกิดและเห็นตัวแล้วจึงปล่อยออกไปลงสู่บ่อใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ในการเพาะพันธุ์ปลาลักษณะดังกล่าว ไม่สามารถคาดคะเนอัตราการรอดตายของลูกปลาและจำนวนลูกปลาที่ได้ ขึ้นอยู่กับอาหารธรรมชาติคุณสมบัติของน้ำ และศัตรูของลูกปลา (นก,สุนัข,ฝน)
  • 10. 2. การเลี้ยงปลาสลิดโดยการปล่อยลูกปลาสลิดขนาด 2-3 ซม. ในอัตราส่วน 10,000 ตัว/ไร่ ลูกปลาที่นำมาปล่อยได้จากการเพาะพันธุ์โดยวิธีการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์และอนุบาลในบ่อดินจนได้ขนาดที่ต้องการโดยลูกปลาที่นำมาปล่อยอาจจะปล่อยในบ่อเลี้ยงเลย หรืออนุบาลต่อในบ่อเล็กก่อน แล้วจึงปล่อยออกบ่อใหญ่นอกจากนี้ เกษตรกรที่เลี้ยงปลาสลิดบางราย ยังมีการปล่อยปลาขนาดเล็ก 15-20 ตัว/กก. ที่ไม่ได้จำหน่ายปล่อยเสริม ซึ่งการปล่อยเสริมแบบนี้สำหรับวิธีการเพาะ 1.1 และ 1.2 ไม่ควรปล่อยในช่วงที่ทำการเพาะพันธุ์เนื่องจากปลาที่ปล่อยจะกินลูกปลาที่เกิดใหม่ได้
  • 12. ขั้นตอนการเพาะพันธุ์ 1. เตรียมบ่อเพาะพันธุ์ บ่อเพาะพันธุ์ เติมน้ำให้มีระดับความลึก15 - 20 ซม.โดยผ่านถุงกรองน้ำ ตัดหญ้าใส่ให้ทั่วบ่อ เพื่อให้ปลาก่อหวอดวางไข่ ใช้ตาข่ายพรางแสง ปิดบริเวณเหนือบ่อเพื่อป้องกันการรบกวน
  • 13. เตรียมกระชังแยกเพศ นำกระชังแยกเพศใส่ในบ่อเพาะพันธุ์ เพื่อใส่พ่อ- แม่พันธุ์ปลาสลิด สำหรับรอฉีดฮอร์โมน ลักษณะกระชังแยกเพศ
  • 14. 2. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาสลิด อายุ 6- 7 เดือนขึ้นไปหรือมีขนาดความยาวประมาณ 15 – 20 ซม. น้ำหนักตัว 100 - 130 กรัม
  • 15. ลักษณะปลาสลิดเพศผู้และเพศเมีย ปลาสลิดเพศผู้จะมีลักษณะลำตัวเรียวยาว สันหลังและสันท้องเกือบเป็นเส้นตรงขนานกันและมีครีบหลังยาวจรดโคนหาง ปลาสลิดเพศเมียจะมีลักษณะสันท้องโค้งมนและครีบหลังมนไม่ยาวจนถึงโคนหาง สีของลำตัวจางกว่าเพศผู้
  • 16. 3. เตรียมอุปกรณ์ การฉีดฮอร์โมน 1. ฮอร์โมนสังเคราะห์(ซุพรีแฟค) 2. ยาเสริมฤทธิ์(โมทีเลียม) 3. ครกบดยา 4. หลอดฉีดยาขนาด 1 ซีซี 5. เข็มฉีดยาเบอร์ 24 ยาว 1.25 นิ้ว 6. น้ำกลั่น หรือน้ำสะอาด 7. เครื่องชั่งน้ำหนัก
  • 17. ฮอร์โมนสังเคราะห์(ซุพรีแฟค) , ยาเสริมฤทธิ์ (โมทีเลียม) ทำการเจือจางฮอร์โมน ฮอร์โมน 1 ขวด บรรจุ 10 ซีซี มีตัวยา 10,000 ไมโครกรัม ใช้หลอดฉีดยาดูดฮอร์โมนมา 1 ซีซี (มีฮอร์โมน1,000 ไมโครกรัม) ผสมกับน้ำกลั่น 9 ซีซี รวมเป็น 10 ซีซี (ใน10ซีซี มีฮอร์โมน 1,000 ไมโครกรัม) (ดังนั้นถ้าดูดสารละลายฮอร์โมนขวดที่ผสมใหม่นี้มา 1 ซีซี จะมีฮอร์โมน = 100 ไมโครกรัม)
  • 18. การคำนวณยาเสริมฤทธิ์ ( 1 เม็ด มีตัวยา 10 มิลลิกรัม ) น้ำหนักปลา*ยาเสริมฤทธิ์ (ความเข้มข้นที่ใช้ 5,10 มิลลิกรัม / กิโลกรัม ) = มิลลิกรัมของยาเสริมฤทธิ์ที่ได้ / 10 มิลลิกรัม = จำนวนเม็ดของยาเสริมฤทธิ์ที่ใช้ การคำนวณน้ำกลั่น โดยปกติแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม สามารถรับสารละลายได้ 1 ซีซี ดังนั้นปริมาตรน้ำกลั่นที่ใช้ = น้ำหนักปลาทั้งหมด–ปริมาตรฮอร์โมนที่ใช้ (= ปริมาตรน้ำกลั่นที่ใช้)
  • 19. ชั่งน้ำหนักปลาที่จะฉีดฮอร์โมน 1. ชั่งน้ำหนักรวม ( กิโลกรัม ) 2. นับจำนวนตัวทั้งหมดแล้วสุ่มชั่งน้ำหนัก 1 กก.(ได้เท่ากับกี่ตัว)นำจำนวนปลาทั้งหมดตั้ง / จำนวนตัวต่อกิโลกรัม (น้ำหนักปลารวม) 3. คำนวณฮอร์โมน นำน้ำหนักปลา * ความเข้มข้นของฮอร์โมน (ที่กำหนด) = ฮอร์โมนที่ต้องใช้ = กี่ไมโครกรัม / 100 = จำนวนซีซี (ปริมาตรสารละลายฮอร์โมนที่ต้องใช้) 4. คำนวณน้ำกลั่น นำน้ำหนักปลาทั้งหมด ลบ ปริมาตรฮอร์โมนที่ใช้ = ปริมาตรน้ำกลั่น ที่ใช้
  • 21. ตัวอย่างการคำนวณฮอร์โมน เพาะพันธุ์ปลาสลิด น้ำหนัก 10 กิโลกรัม เป็นพ่อปลา 5 กก. แม่ปลา 5 กก. พ่อแม่พันธุ์ปลาขนาด 10 ตัว/กก.( อัตราส่วนพ่อแม่พันธุ์ = 1:1 ) เข็มที่ 1. กำหนดให้ใช้ฮอร์โมน = 10 ไมโครกรัม / นน.ปลา 1 กก. ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม / นน.ปลา 1 กก. วิธีคิด เข็มที่ 1 ฉีดพร้อมกัน 1. ฮอร์โมน นำน้ำหนักปลา 10 กก. คูณ 10 ไมโครกรัม = 100 ไมโครกรัม หารด้วย 100 ( ของสารละลายฮอร์โมนเจือจาง ) = 1 มิลลิลิตร 2. ยาเสริมฤทธิ์ นำน้ำหนักปลา 10 กก. คูณ 5 มิลลิกรัม = 50 มิลลิกรัม หารด้วย 10 ( 5 เม็ด ) 3. น้ำกลั่น นำน้ำหนักปลา 10 กก. ลบด้วยฮอร์โมน 1 มิลลิลิตร = 9 มิลลิลิตร
  • 22. 4. บดยาเสริมฤทธิ์ให้ละเอียด ดูดฮอร์โมนและน้ำกลั่นตามจำนวนที่คิดไว้ ผสมกัน คนให้ เข้ากัน 5. ใช้หลอดฉีดยาดูดฮอร์โมนมา 1 มิลลิลิตร ฉีดพ่อและแม่ปลาได้ครั้งละ 10 ตัว เข็มที่ 2 เว้นระยะเวลาห่างกัน 14-16 ชั่วโมง ใช้ฮอร์โมน 15 - 20 ไมโครกรัม/กก. ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ 5 - 10 มิลลิกรัม/1กก. วิธีคิด ฮอร์โมน = 5*(15-20) = 75-100 ไมโครกรัม(0.75,1.0 มิลลิลิตร) ยาเสริมฤทธิ์ = 5*(5-10) = 25-50 มิลลิกรัม (2.5,5 เม็ด ) น้ำกลั่น =5 - 0.75 , 1 = 4.25 , 4 มิลลิลิตร ทำการผสมฮอร์โมนแล้วนำไปฉีดให้กับแม่ปลา
  • 23. วิธีการฉีด ฉีดตรงโคนครีบหลัง โดยเข็มแรก ฉีดฮอร์โมนทั้งปลาเพศผู้และเพศเมีย
  • 24. ปล่อยพ่อพันธุ์ปลาลงบ่อเพาะพันธุ์ แม่พันธุ์ปลาปล่อยลงกระชังแยกเพศ ทิ้งไว้ 14 - 16 ชม. ฉีดฮอร์โมนแม่ปลาเข็มที่สอง ใช้ซุพรีแฟค 15-20 ไมโครกรัม ผสมกับโมทีเลี่ยม 5-10 มิลลิกรัม / น้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม
  • 25. 4. ปล่อยแม่ปลาลงบ่อเพาะพันธุ์ อัตราปล่อย เพศผู้ : เพศเมีย 1 : 1 ความหนาแน่น 100-200 คู่/ พื้นที่ 50 ตารางเมตร
  • 26. 5. ช้อนหวอดไข่ปลาไปฟัก หลังจากปล่อยแม่ปลาลงบ่อเพาะพันธุ์ประมาณ 24 ชั่วโมง จึงทำการช้อนหวอด ไปฟักในถังฟักไข่
  • 29.
  • 30. ลูกปลาอายุ 8 วัน เริ่มกินอาหารผสม (รำกับปลาป่น)อัตราส่วน 2:1 เลี้ยงจนได้ขนาด 2-3 ซม. ลักษณะของลูกปลาอายุ 8 วัน
  • 32. การรวบรวมลูกปลา ใช้อวนตาถี่ลาก ให้ลากครึ่งบ่อก่อน แล้วลากเต็มบ่อ เพื่อไม่ให้ลูกปลาช้ำ