SlideShare a Scribd company logo
1 of 121
Download to read offline
คำนำ 
หนังสือบาลีไวยากรณ์ เป็นหลักสำคัญในการศึกษามคธภาษา 
ท่านจัดเป็นหลักสูตร ของเปรียญธรรมตรีอย่างหนึ่ง นักศึกษาบาลี 
ชั้นต้น ต้องเรียนบาลีไวยากรณ์ให้ได้หลักก่อน จึงจะเรียนแปลคัมภีร์ 
อื่นๆ ต่อไปได้ ผู้รู้หลักบาลีไวยากรณ์ดี ย่อมเบาใจในการแปล 
คัมภีร์ต่าง ๆ เข้าใจความได้เร็วและเรียนได้ดีกว่าผู้อ่อนไวยากรณ์ 
แต่การเรียนนั้น ถ้าขาดหนังสืออุปกรณ์แล้ว แม้ท่องแบบได้แม่นยำ 
ก็เข้าใจยาก ทำให้เรียนช้า ทั้งเป็นการหนักใจของครูสอนไม่น้อย. 
กองตำรามหากุฏราชวิทยาลัย ได้คำนึงถึงเหตุนี้ จึงได้คิดสร้าง 
เครื่องอุปกรณ์บาลีทุก ๆ อย่างให้ครบบริบูรณ์ เพื่อเป็นเครื่องช่วย 
นักศึกษาให้ได้รับความสะดวกในการศึกษา และช่วยครูผู้สอนให้เบา 
ใจ ได้จัดพิมพ์เสร็จไปแล้วหลายเรื่อง อุปกรณ์บาลีไวยากรณ์ ก็เป็น 
เรื่องหนึ่งที่จะต้องจัดพิมพ์ขึ้นในเสร็จครบบริบูรณ์โดยเร็ว ได้ขอให้ 
พระเปรียญที่ทรงความรู้หลายท่านช่วยรวบรวมและเรียบเรียง เฉพาะ 
ในเล่มนี้ อธิบายนามกิตก์ พระมหานาค อุปนาโค ป. ๙ วัดบรม- 
นิวาส เป็นผู้เรียบเรียง อธิบายกิริยากิตก์ พระมหาลัภ ปิยทสฺสี ป/ ๘ 
วัดบรมนิวาส เป็นผู้เรียบเรียง และมอบลิขสิทธิ์ที่เรียบเรียงใน 
หนังสือเล่มนี้ ให้เป็นสมบัติของมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรม- 
ราชูถัมภ์ต่อไป. 
กองตำรา ๆ ขอแสดงความขอบใจท่านผู้รวบรวมและเรียบเรียง 
หนังสือเล่มนี้จนเป็นผลสำเร็จไว้ในที่นี้ด้วย. 
กองตำรา 
มหามกุฏราชวิทยาลัย 
๒๕ เมษายน ๒๔๘๑
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 1 
อธิบายนามกิตก์ 
พระมหานาค อุปนาโค ป. ๙ วัดบรมนิวาส 
เรียงเรียง 
คำ กิตก์ นี้ เป็นชื่อของศัพท์ที่ท่านประกอบปัจจัยหมู่หนึ่ง 
ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดหมายเนื้อความ ของนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ที่ 
ต่าง ๆ กัน. คำว่าศัพท์ในที่นี้ หมายความถึงกิริยาศัพท์ที่เป็นมูลราก 
คือธาตุ เช่นเดียวกับธาตุในอาขยาต กิริยาศัพท์ที่เป็นมูลรากคือธาตุ 
เหล่านั้นแหละ ท่านนำมาประกอบกับปัจจัย ซึ่งจัดไว้เป็นหมู่ ๆ เมื่อ 
ปัจจัยเหล่านั้นเข้าประกอบแล้ว ย่อมเป็นเครื่องกำหนดหมายให้ทราบ 
เนื้อความได้ว่า ศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัยเหล่านี้เป็นนามศัพท์และ 
เป็นกิริยาศัพท์ อันเป็นต่าง ๆ กันด้วยอำนาจปัจจัยนั้น ๆ ศัพท์ต่าง ๆ 
ที่เป็นธาตุ ซึ่งปัจจัยในกิตก์ปรุงแต่งแล้ว ย่อมสำเร็จรูปเป็น ๒ คือ 
ศัพท์ที่ปัจจัยอาขยาตปรุงแล้ว ย่อมใช้เป็นกิริยาศัพท์อย่างเดียว และ 
ใช้ได้เฉพาะเป็นกิริยาหมายพากย์เท่านั้น ส่วนศัพท์ที่ปัจจัยกิตก์ปรุง 
แล้ว ย่อมใช้เป็นนามศัพท์ คือเป็นนามนามก็ได้ คุณนามก็ได้ และ 
ใช้เป็นกิริยาศัพท์ คือเป็นกิริยาหมายพากย์ก็ได้ เป็นกิริยาในระหว่าง 
พากย์ก็ได้.
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 2 
คำว่ากิตก์นี้มีมูลเดิมมาจาก กิร ธาตุ ในความเรี่ยราย, กระจาย 
กัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิเคราะห์ว่า กิตปจฺจเยน กิรตีติ กิตโก (ศัพท์ใด) 
ย่อมเรี่ยราย ด้วยปัจจัยกิตก์ เหตุนั้น (ศัพท์นั้น) ชื่อว่ากิตก์. 
ศัพท์ที่ปัจจัยปรุงแต่งเป็นนามศัพท์ 
ศัพท์ต่าง ๆ ที่ปัจจัยในกิตก์ปรุงให้สำเร็จรูปเป็นนามศัพท์แล้ว 
นามศัพท์นั้น ๆ ย่อมมีความหมาย แตกต่างกันออกไปตามปัจจัยที่ 
ประกอบนั้น ๆ ไม่ต้องกล่าวถึงศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน 
ย่อมมีความหมายผิดแผกแตกต่างกันออกไป แม้ศัพท์เดียวกัน และ 
ประกอบปัจจัยตัวเดียวกันนั่นเอง ยังมีความหมายแตกต่างออกไป 
ได้หลายอย่าง แล้วแต่ความมุ่งหมายของปัจจัยที่ประกอบเข้ากับศัพท์ 
จะใช้ความหมายว่ากระไรได้บ้าง ในส่วนรูปที่เป็นนามศัพท์ ดังที่ท่าน 
ยกศัพท์ว่า ทาน ขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์ในแบบนั้น ศัพท์นี้มูลเดิมมาจาก 
ทา ธาตุ ในความให้ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลง ยุ เป็น อน ได้รูปเป็น 
ทาน ถ้าจะให้เป็นรูปศัพท์เดิม ต้องลง สิ ปฐมาวิภัตติ นปุํสกลิงค์ 
ได้รูป ทานํ ศัพท์นี้แหละอาจแปลได้ถึง ๔ นัย คือ :- 
๑. ถ้าเป็นชื่อของสิ่งของที่จะพึงสละเป็นต้นว่า ข้าว น้ำ เงิน ทอง 
ก็ต้องแปลเป็นรูปกัมมสาธนะว่า " วัตถุอันเขาพึงให้" แยกรูปออก 
ตั้งวิเคราะห์ว่า ทาตพฺพนฺติ ทานํ. [ ยํ วตฺถุ สิ่งใด เตน อันเขา ] พึงให้ 
เหตุนั้น [ ตํ วตฺถุ สิ่งนั้น ] ชื่อว่า ทานํ [ อันเขาพึงให้ ]. เช่นสนคำว่า 
ทานวตฺถุ สิ่งของอันเขาพึงให้. 
๒. ถ้าเป็นชื่อของการให้ คือเพ่งถึงกิริยาอาการของผู้ให้ แสดง
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 3 
ให้เห็นว่า ผู้ให้ ๆ ด้วยอาการอย่างไร เป็นต้นว่าอาการชื่นชมยินดี 
อาการหยิบยกให้ เช่นนี้ต้องแปลเป็นภาวสาธนะว่า " ความให้ การ 
ให้" แยกรูปออกตั้งวิเคราะห์ว่า ทิยฺยเตติ ทานํ. (เตน อันเขา) 
ย่อให้ เหตุนั้น ชื่อว่า ทานํ. (การให้) รูปนี้ไม่ต้องมีตัวประธาน 
เพราะเป็นรูปภาววาจก. เช่นในคำว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ. 
การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง. 
๓. ถ้าเป็นชื่อของเจตนา คือเพ่งถึงความคิดก่อน หรือความจง 
ใจให้ทาน หมายความว่าเขาให้ด้วยเจตนาใด เจตนานั้นได้ชื่อว่า เป็น 
เหตุให้เขาสละสิ่งของ คือยกเจตนาขึ้นพูดเป็นตัวตั้ง เช่นนี้ต้องแปล 
เป็นรูปกรณสาธนะว่า "เจตนาเป็นเหตุให้แห่งชน" แยกรูปออก 
ตั้งวิเคราะห์ว่า เทติ เตนาติ ทานํ. (ชโน ชน) ย่อมให้ ด้วย 
เจตนากรรมนั้น เหตุนั้น (ตํ เจตนากมฺมํ เจตนากรรมนั้น ) ชื่อว่า 
ทานํ (เจตนากรรมเป็นเหตุให้แห่งชน). เช่นในคำว่า ทานเจตนา 
เจตนาเป็นเครื่องให้. 
๔. เป็นชื่อของสถานที่ คือเพ่งถึงที่ ๆ เขาให้ มีโรง เรือน 
ศาลา หรือ บ้าน เป็นต้น หมายความว่า เขาให้ในสถานที่ใด สถานที่ 
นั้นได้ชื่อว่า เป็นที่ให้ของเขา คือยกสถานที่ขึ้นพูดเป็นตัวตั้ง เช่นนี้ 
ต้องแปลเป็นรูปอธิกรณสาธนะว่า "ที่เป็นที่ให้แห่งชน" แยกรูป 
ออกตั้งวิเคราะห์ว่า เทติ เอตฺถาติ ทานํ. (ชโน ชน) ย่อมให้ใน 
ที่นั่น เหตุนั้น (เอตํ ฐานํ ที่นั่น) ชื่อว่า ทานํ(ที่เป็นที่ให้แห่งชน). 
เช่นในคำว่า ทานสาลา โรงเป็นที่ให้ (โรงทาน)
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 4 
ดังตัวอย่างนี้ เราจะเห็นได้แล้วว่า คำว่า ทานํ คำเดียว อาจ 
แปลความหมายได้หลายนัย ดังแสดงมาฉะนี้. 
ศัพท์ที่ปัจจัยปรุงแต่งเป็นกิริยากิตก์ 
ศัพท์ต่าง ๆ ที่ปัจจัยในกิตก์ปรุงให้สำเร็จรูปเป็นกิริยาศัพท์แล้ว 
กิริยาศัพท์นั้น ๆ ก็ย่อมมีความหมายแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยนั้นๆ 
เช่นเดียวกับศัพท์ที่ปัจจัยปรุงให้สำเร็จรูปเป็นนามศัพท์ ในส่วนกิริยา 
ศัพท์นี้ ดังที่ทานยกคำว่า "ทำ" ขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์ ย่อมอาจหมาย 
ความไปได้ต่าง ๆ ด้วยอำนาจปัจจัย ดังจะแสดงให้เห็นต่อไป คำว่า 
" ทำ " ออกมาจากศัพท์ธาตุ "กรฺ" ถ้าใช้เป็นศัพท์บอกผู้ทำ ก็ 
เป็นกัตตุวาจก, บอกสิ่งที่เขาทำ ก็เป็นกัมมวาจก, บอกอาการที่ทำ ก็ 
เป็นภาววาจก (ไม่กล่าวถึงกัตตา และ กัมม). บอกผู้ใช้ให้ทำ ก็เป็น 
เหตุกัตตุวาจก, บอกสิ่งที่เขาใช้ให้ทำ ก็เป็นเหตุกัมมวาจก. 
๑. บอกผู้ทำที่เป็นกัตตุวาจกนั้น คือเมื่อนำปัจจัยปรุงธาตุแผนก 
กัตตุวาจกมาประกอบเข้า เช่น อนฺต หรือ มาน ปัจจัยเป็นต้น ก็ได้รูป 
เป็นกัตตุวาจก เช่น กรฺ ธาตุ ลง อนฺต ปัจจัย ได้รูปเป็น กโรนฺโต, 
กโรนฺตา, กโรนฺตํ. แปลว่า "ทำอยู่ เมื่อทำ " ตามรูปลิงค์ของตัว 
ประธาน เมื่อต้องการจะแต่งให้เป็นประโยคตามในแบบ ก็ต้องหาตัว 
กัตตาผู้ทำ ในที่นี้บ่งถึงนายช่าง ก็ต้องใช้ศัพท์ว่า "วฑฺฒกี" ตัว 
กรรมบ่งถึงเรือน ก็ต้องให้คำว่า " ฆรํ" ตัวคุณนามที่เพิ่มเข้ามาแสดง 
ถึงอาการที่นายช่างทำ คือ งามจริง ก็ใช้คำว่า "อติวิยโสภํ" ซึ่ง 
แสดงความวิเศษของการกระทำว่า ทำได้งามจริง ท่านเรียกว่ากิริยา-
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 5 
วิเสสนะ เมื่อประกอบให้เป็นประโยคก็ต้องว่า วฑฺฒกี อติวิยโสภํ ฆรํ 
กโรนฺโต นายช่าง ทำอยู่ ซึ่งเรือน งามจริง นี้เป็นรูปกัตตุวาจก 
เพราะยกผู้ทำขึ้นเป็นประธาน คือบอกผู้ทำนั่นเอง. 
๒. บอกสิ่งที่เขาทำ เป็นกัมมวาจก เมื่อจะให้เป็นรูปนี้ ก็นำ 
ปัจจัยที่ปรุงกิริยาศัพท์ให้เป็นกัมมวาจามาประกอบ เช่น ต อนีย ตพฺพ 
ปัจจัยเป็นต้น เช่น กรฺ ธาตุ นำ ต ปัจจัย มาประกอบก็ได้รูปเป็น 
กโต, กตา, กตํ. ตามรูปลิงค์ของนามศัพท์ที่เป็นประธานในประโยค 
ในที่นี้ยกคำว่า "เรือนนี้นายช่างทำงามจริง" ขึ้นเป็นอุทาหรณ์ ถ้า 
จะประกอบให้เป็นประโยคก็ต้องว่า อิทํ ฆรํ วฑฺฒกิยา อติวิยโสภํ 
กตํ. เรือนนี้ อันนายช่าง ทำแล้ว งามจริง นี้เป็นรูปกัมมวาจก เพราะ 
ยกคำว่า " ฆรํ" (เรือน) ขึ้นเป็นประธาน คือบอกสิ่งที่เขาทำนั่นเอง. 
๓. บอกแต่อาการที่ทำ ไม่ยกกัตตา (ผู้ทำ) ซึ่งเป็นตัวประธาน 
และกรรม (ผู้ถูกทำ) ขึ้นพูด กล่าวขึ้นมาลอย ๆ เมื่อจะให้เป็นรูปนี้ 
ก็นำปัจจัยที่ปรุงกิริยาศัพท์ให้เป็นภาววาจก มี ตพฺพ ปัจจัยเป็นต้นมา 
ประกอบ เช่น ภู ธาตุ นำ ตพฺพ ปัจจัยมาประกอบ ก็ได้รูปเป็น 
ภวิตพฺพํ (พฤทธิ์ อู ที่ ภู เป็น โอ แล้วเอาเป็น อว ลง อิ อาคม 
ภาววาจกนี้ใช้เป็นรูปนปสํุกลิงค์เสมอไป ) ประกอบให้เป็นประโยคเช่น 
การเณเนตฺถ (การเณน+เอตฺถ) ภวิตพฺพํ. อันเหตุ ในสิ่งนั้น พึงมี. 
ในที่นี้ การที่มิได้ยก กรฺ ธาตุเป็นตัวอย่าง ก็เพราะ กรฺ ธาตุ 
เป็นธาตุมีกรรมจะใช้ในภาววาจกไม่เหมาะ จึงได้ยกเอา ภู ธาตุซึ่งเป็น 
ธาตุไม่มีกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์แทน.
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 6 
๔. บอกผู้ใช้ให้เขาทำ เป็นเหตุกัตตุวาจก เมื่อจะให้เป็นรูปนี้ 
ก็ต้องนำปัจจัยที่ใช้ในเหตุกัตตุวาจกมาประกอบ เช่น อนฺต ปัจจัย 
เป็นต้น เมื่อนำมาประกอบกับ กรฺ ธาตุก็จะได้รูปเป็น การาเปนฺโต, 
การาเปนฺตา, การาเปนฺตํ.(ยืม ณาเป ปัจจัยในอาขยาตมาใช้ด้วย) 
ตามลิงค์ของตัวประธาน ประกอบเป็นประโยคว่า วฑฺฒกี ปุริเส อิมํ 
ฆรํ การาเปนฺโต. นายช่าง ยังบุรุษทั้งหลาย ให้ทำอยู่ ซึ่งเรือนนี้. 
๕. บอกสิ่งที่เขาใช้ให้คนอื่นทำ เป็นเหตุกัมมวาจก เมื่อจะให้ 
เป็นรูปนี้ ก็ต้องนำปัจจัยที่ใช้ในเหตุกัมมวาจกมาประกอบ เช่น มาน 
ปัจจัยเป็นต้น ปัจจัยนี้เมื่อนำมาประกอบกับ กรฺ ธาตุ ก็จะได้รูปเป็น 
การาปิยมาโน, การาปิยมานา, การาปิยมานํ. (ยืม ณาเป และ ย ปัจจัย 
อิ อาคมในอาขยาตมาใช้ด้วย) ตามลิงค์ของตัวประธาน ประกอบ 
ให้เป็นประโยคว่า อิทํ ฆรํ วฑฺฒกินา ปุริเสหิ การาปิยามานํ. เรือนนี้ 
อันนายช่าง ยังบุรุษทั้งหลาย ให้ทำอยู่. 
ดังตัวอย่างที่แสดงมานี้ เราจะเห็นได้แล้ว กรฺ ธาตุตัวเดียว 
เมื่อนำปัจจัยในฝ่ายกิริยากิตก์มาประกอบแล้ว อาจหมายเนื้อความได้เป็น 
อเนก ตามปัจจัยที่นำมาประกอบนั้น ๆ แม้ปัจจัยตัวเดียวกันนั่นเอง 
ก็ยังอาจแปลงเนื้อความได้มากเช่นเดียวกัน แล้วแต่ปัจจัยนั้น ๆ จะ 
ใช้หมายวาจกอะไรได้บ้าง. 
กิตก์ ๒ อย่าง 
กิตก์เมื่อสำเร็จรูปแล้ว เป็นนามศัพท์อย่าง ๑ เป็นกิริยาศัพท์
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 7 
อย่าง ๑ คำว่า นามศัพท์นั้นหมายความกว้าง อาจหมายถึงนามศัพท์ 
ที่เป็นนามนามทั้งหมดซึ่งเป็นนามโดยกำเนิดก็ได้, นามศัพท์ที่ปรุงขึ้น 
จากธาตุและใช้เป็นบทนามก็ได้, คุณนามโดยกำเนิด และคุณนามที่ 
ปรุงขึ้นจากธาตุก็ได้, และสัพพนามด้วยก็ได้. คำว่า กิริยาศัพท์ ก็เช่น 
เดียวกัน อาจหมายถึงศัพท์ที่กล่าวกิริยาทั้งสิ้นเช่นกิริยาอาขยาตก็ได้, 
หมายถึงกิริยาที่ใช้ในกิตก์ก็ได้, ฉะนั้นเพื่อจำกัดความให้สั้นและแคบ 
เข้า เพื่อให้หมายความเฉพาะในเรื่องกิตก์ คำว่า นามศัพท์ในที่นี้ ท่าน 
หมายเฉพาะนามศัพท์ที่สำเร็จรูปมาจากธาตุอย่างเดียว ไม่ใช่นาม- 
ศัพท์โดยกำเนิด และนามศัพท์ในกิตก์นี้เป็นได้เฉพาะนามนามอย่าง ๑ 
คุณนามอย่าง ๑ เท่านั้น รวมเรียกชื่อว่า "นามกิตก์" หมายถึงกิตก์ 
ที่ใช้เป็นนาม และคำว่า กิริยาศัพท์ ก็หมายเฉพาะกิริยาที่ใช้ประกอบ 
ปัจจัยในกิตก์อย่างเดียวเท่านั้น ไม่หมายถึงกิริยาอาขยาตด้วย รวม 
เรียกชื่อว่า "กิริยากิตก์" หมายความว่า กิตก์ที่ใช้เป็นกิริยา. 
ธาตุกิตก์ 
ในกิตก์ทั้ง ๒ นี้ คือ ทั้งนามกิตก์และกิริยากิตก์ ล้วนมีธาตุเป็นที่ 
ตั้ง คือสำเร็จมาจากธาตุทั้งสิ้น แต่ธาตุใช้อย่างเดียวกับอาขยาต 
หาแปลกกันไม่ จะต่างรูปกันก็ในเมื่อใช้เครื่องปรุงต่างฝ่ายเข้าประกอบ 
เท่านั้น คือถ้าใช้เครื่องปรุงฝ่ายอาขยาต ธาตุนั้นเมื่อสำเร็จรูปก็กลาย 
เป็นอาขยาตไป แต่ถ้าใช้เครื่องปรุงฝ่ายกิตก์ ธาตุนั้นก็มีรูปสำเร็จ 
เป็นกิตก์ไปเท่านั้น เพราะฉะนั้น ธาตุเป็นตัวกลาง อาจปรุงเป็น
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 8 
อาขยาตก็ได้ กิตก์ก็ได้ เช่น ภุญฺช, กรฺ ธาตุ ถ้าเป็นอาขยาตก็เป็น 
ภุญฺชติ, กโรติ. เป็นนามกิตก์ก็เป็น โภชนํ, โภชโก, กรณํ, การโก, 
เป็นกิริยากิตก์เป็น ภุญฺชนฺโต, ภุญฺชิตฺวา, ภุตฺโต, กโรนฺโต, กตฺวา, 
กโต. เป็นต้น. 
อนึ่ง บางคราวก็ใช้นามศัพท์มาปรุงเป็นกิริยากิตก์ก็ได้เช่นเดียว 
กับอาขยาต เช่น :- 
อาขยาต กิริยากิตก์ 
ศัพท์นามนามว่า ปพฺพ (ภูเขา) ปพฺพตายติ ปพฺพตายนฺโต 
ศัพท์คุณนามว่า จิร (นาม, ชักช้า) จิรายติ จิรายนฺโต 
ฉะนั้น จึงรวมความว่า อาขยาต ใช้ธาตุและนามศัพท์เป็นตัวตั้ง 
สำหรับปรุงได้ฉันใด กิตก์ก็ใช้ได้ฉันนั้น แต่ต้องยืมปัจจัยในอาขยาต 
มาลงด้วยในที่บางแห่ง เช่น อาย, อิย ปัจจัยในอุทาหรณ์นี้เป็นต้น. 
นามกิตก์ 
คำว่า นามกิตก์ ในที่นี้ ท่านหมายถึงกิตก์ที่ใช้เป็นนาม และ 
คำว่า นาม ก็หมายเฉพาะถึงศัพท์ธาตุที่นำมาประกอบปัจจัยในกิตก์นี้ 
เมื่อสำเร็จรูปแล้วใช้ได้ ๒ อย่าง คือ ใช้เป็นนามนาม ๑ คุณนาม ๑ 
มิได้หมายถึงศัพท์ที่เป็นนามนามและคุณนามโดยกำเนิด เช่น รุกฺข 
(ต้นไม้) จมู (เสนา) ทกฺข (ขยัน) นีล (เขียว) เป็นต้น. กิตก์ที่ 
สำเร็จรูปเป็นนามนาม หมายถึงธาตุคือกิริยาศัพท์ที่เป็นมูลรากซึ่งนำ 
มาประกอบปัจจัยในนามกิตก์แล้ว ใช้ได้ตามลำพังตัวเอง ไม่ต้องหา
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 9 
บทอื่นมาเป็นประธาน กล่าวอย่างง่ายอื่น ใช้กิริยาเป็นนามนั่นเอง 
เช่น กรณํ (ความทำ) ฐานํ (ความยืน) นิสชฺชา (ความนั่ง) 
เป็นต้น. ส่วนกิตก์ที่สำเร็จรูปเป็นคุณนาม จะใช้ตามลำพังตัวเองไม่ได้ 
อย่างเดียวกับคุณนามโดยกำเนิดเหมือนกัน ต้องอาศัยมีตัวนามอื่น 
เป็นตัวประธาน เช่น การโก (ผู้ทำ) ปาปการี (ผู้ทำซึ่งบาปโดยปกติ) 
อนุสาสโก (ผู้ตามสอน) เป็นต้น. ศัพท์เหล่านี้ ล้วนต้องมีนามนาม 
บทอื่นเป็นประธานสิ้น เช่น ชโน (ชน) ปุคฺคโล (บุคคล) เป็นต้น 
จะยกขึ้นแปลลอย ๆ หาได้ไม่. ในนามกิกต์นี้ท่านจัดเป็นสาธนะ และ 
สาธนะนั้น ล้วนหมายรู้ด้วยปัจจัย เพื่อให้มีเนื้อความแปลกกัน ดัง 
จะได้อธิบายต่อไป. 
สาธนะ 
คำว่า สาธนะ นี้ ท่านแปลว่า "ศัพท์ที่ท่านให้เสร็จมาแต่รูป 
วิเคราะห์" หมายความว่า รูปสำเร็จมาจากการตั้งวิเคราะห์ คำ 
ว่า วิเคราะห์ ก็หมายความว่า การแยกหรือกระจายศัพท์ออกให้เห็น 
ส่วนต่าง ๆ ของศัพท์ที่เป็นสาธนะ เช่นศัพท์ว่า คติ (ภูมิเป็นที่ไป) 
ย่อมสำเร็จมาจากรูปวิเคราะห์ว่า " คจฺฉาติ เอตฺถา-ติ" เพราะฉะนั้น 
คติ จึงเป็นตัวสาธนะ และคจฺฉนฺติ เอตฺถา-ติ เป็นรูปวิเคราะห์ เมื่อจะ 
เรียงให้เต็มทั้งรูปวิเคราะห์และสาธนะก็ต้องว่า คจฺฉนฺติ เอตฺถา-ติ คติ 
ในรูปวิเคราะห์นั่นเอง ย่อมเป็นเครื่องส่องให้ทราบสาธนะไปในตัว เช่น 
ในที่นี้ คำว่า เอตฺถ (ในภูมินั่น) เป็นสัตตมีวิภัตติ บ่งถึงสถานที่ ก็
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 10 
ส่องให้ทราบว่ารูปที่สำเร็จไปจากคำนี้ ต้องเป็นอธิกรณสาธนะ เพราะ 
สาธนะนี้ ท่านบัญญัติให้ใช้คำว่า "เอตฺถ" ในเวลาตั้งรูปวิเคราะห์ 
ส่วนกิริยาที่อยู่ข้างหน้านั้นแสดงถึงรูป ในที่นี้ คจฺฉนฺติ เป็นกัตตุวาจก 
จึงต้องเป็นกัตตุรูป ฉะนั้นจึงรวมความว่า คติ เป็นกัตตุรูป อธิกรณ- 
สาธน. สาธนะนั้นท่านแบ่งไว้ ๗ อย่าง คือ :- 
๑. กัตตุสาธนะ 
๒. กัมมสาธนะ 
๓. ภาวสาธนะ 
๔. กรณสาธนะ 
๕. สัมปทานสาธนะ 
๖. อปาทานสาธนะ 
๗. อธิกรณสาธนะ 
และในสาธนะเหล่านี้ ท่านยังจัดรูปวิเคราะห์ไว้ประจำอีก ๓ คือ :- 
กัตตุรูป ๑ กัมมรูป ๑ ภาวรูป ๑. 
กัตตุสาธนะ 
สาธนะนี้ เป็นชื่อของผู้ทำ คือผู้ประกอบกิริยานั้น ได้แก่ผู้ใดเป็น 
ผู้ทำ ก็เป็นชื่อของผู้นั้น กล่าวอย่างง่ายก็คือเป็นชื่อของคนหรือสัตว์ 
เช่น อุ. ว่า กุมฺภกาโร (ผู้ทำซึ่งหม้อ). ทายโก (ผู้ให้), โอวาทโก 
(ผู้กล่าวสอน), สาวโก (ผู้ฟัง), เหล่านี้เป็นกัตตุสาธนะทั้งนั้น เพราะ 
ล้นเป็นชื่อของผู้ทำ คือต้องมี ชน หรือ บุคคล เป็นต้นเป็นเจ้าของผู้
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 11 
ทำกำกับอยู่ด้วย เวลาแปลจะขาดเสียมิได้ เช่น กุมฺภกาโร เวลาแยก 
ตั้งวิเคราะห์ก็จะต้องตั้งว่า กุมฺภํ กโรตี-ติ กุมฺภกาโร แปลว่า (โย 
ชโน ชนใด) ย่อมทำ ซึ่งหม้อ เหตุนั้น (โส ชโน ชนนั้น ) ชื่อว่า 
กุมฺภกาโร (ผู้ทำซึ่งหม้อ). สำหรับกัตตุสาธนะเวลาตั้งวิเคราะห์ กิริยา 
จะต้องเป็นกัตตุวาจกเสมอ, วิธีแปลกัตตุสาธนะ ท่านให้แปลได้ ๒ นัย 
คือ "ผู้-" ถ้าลงในอรรถคือตัสสีละ แปลว่า "ผู้...โดยปกติ" 
คำว่า "ตัสสีละ " ในที่นี้ หมายความว่า สิ่งที่บุคคลทำเป็นปกติ 
คือบุคคลทำสิ่งใดเป็นปกติ สาธนะนี้กล่าวถึงการทำที่เป็นปกติของ 
บุคคลนั้นด้วย เช่น อุ. ว่า ธมฺมจารี (ผู้ประพฤติซึ่งธรรมโดยปกติ) 
เวลาตั้งวิเคราะห์จะต้องเติมคำว่า "สีเลน" เข้ามาด้วยว่า ธมฺมํ จรติ 
สีเลนา-ติ ธมฺมจารี แปลว่า (โย ชโน ชนใด) ย่อมประพฤติ 
ซึ่งธรรม โดยปกติ เหตุนั้น (โส ชโน ชนนั้น ) ชื่อว่า ธมฺมจารี 
(ผู้ประพฤติซึ่งธรรมโดยปกติ). 
อีกอย่างหนึ่ง ในสาธนะนี้ท่านเพิ่ม สมาสรูป ตัสสีลสาธนะ 
เข้ามาอีก ที่เรียกเช่นนั้น ก็เพราะสาธนะนี้กล่าวถึงความทำเป็นปกติ 
ของบุคคล เวลาตั้งวิเคราะห์มีรูปวิเคราะห์คล้ายสมาส เวลาแปลท่าน 
ให้แปลว่า "ผู้มี-" เช่น อุ. ธมฺมจารี นั้น ถ้าตั้งวิเคราะห์เป็น สมาสรูป 
ตัสสีลสาธนะ ก็ต้องตั้งว่า ธมฺมํ จริตุํ สีลมสฺสา-ติ [ สลีํ+อสฺส+อิติ] 
ธมฺมจารี. การประพฤติ ซึ่งธรรม เป็นปกติ ของชนนั้น เหตุนั้น 
(ชนนั้น) ชื่อว่า ธมฺมาจารี (ผู้มีการประพฤติซึ่งธรรมเป็นปกติ) กิริยา 
ในรูปนี้ ต้องประกอบด้วย ตุํ ปัจจัยเสมอ.
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 12 
กัมมสาธนะ 
สาธนะนี้ เป็นชื่อของสิ่งที่ถูกทำ คือสิ่งใดถูกเขาทำ ก็เป็นชื่อ 
ของสิ่งนั้น กล่าวอย่างง่ายก็คือเป็นชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีผู้ทำขึ้น ใน 
สาธนะนี้กล่าวถึงสิ่งที่สำเร็จขึ้นโดยอาการ ๒ อย่างคือ ตามธรรมชาติ 
อย่าง ๑ บุคคลทำขึ้นอย่าง ๑ ที่สำเร็จตามธรรมชาตินั้น คือมิได้มีใคร 
เป็นผู้ทำขึ้น เช่น อุ. ว่า ปิโย (เป็นที่รัก) ก็หมายถึงว่าใครคนใด 
คนหนึ่งถูกอีกคนหนึ่งรัก เช่น บุตรธิดาถูกมารดาบิดารัก หรือมารดา 
บิดาถูกบุตรธิดารัก ฉะนั้นบุตรธิดาจึงได้ชื่อว่าเป็นที่รักของมารดาบิดา 
หรือมารดาบิดาได้ชื่อว่าเป็นที่รักของบุตรธิดา. รโส (วิสัยที่เป็นที่มา 
ยินดี) ก็เช่นเดียวกัน, วิสัยในที่นี้หมายถึงอารมณ์. คำว่า ปิโย เป็น 
ปิย ธาตุ ลง อ ปัจจัย แยกรูปออกตั้งวิเคราะห์ว่า (ปิตา) ปิเยติ 
ตนฺ-ติ [ ตํ+อิติ] ปิโย (ปุตฺโต). (บิดา) ย่อมรัก ซึ่งบุตรนั้น 
เหตุนั้น (บุตรนั้น) ชื่อว่า ปิโย เป็นที่รักของ (บิดา). 
อีก อุ. หนึ่ง คือ รโส เป็น รสฺ ธาตุ ลง อ ปัจจัย ตั้ง วิ. ว่า 
(ชโน) รสติ ตนฺ-ติ รโส (วิสโย). (ชน) ย่อมยินดี ซึ่งวิสัยนั้น 
เหตุนั้น (วิสัยนั้น) ชื่อว่า รโส เป็นที่ยินดี (ของชน). ทั้ง ๒ อุ. นี้ 
เป็นกัตตุรูป กัมมสาธนะ คือตัวสาธนะเป็นกรรม ส่วนรูปตั้งวิเคราะห์ 
เป็นกัตตุวาจก ท่านบัญญัติให้แปลว่า "เป็นที่-" 
ส่วนกรรมที่สำเร็จขึ้นโดยถูกบุคคลทำนั้น เช่น อุ. ว่า กิจฺจํ 
(กรรมอันเขาพึงทำ), ทานํ (สิ่งของอันเขาพึงให้), คำว่า กิจฺจํ เป็น
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 13 
กรฺ ธาตุ ลง ริจฺจ ปัจจัย แยกรูปออกตั้ง วิ.ว่า กาตพฺพนฺ-ติ 
[ กาตพฺพํ+อิติ] กิจฺจํ ( ยํ กมฺมํ กรรมใด ) (เตน อันเขา) พึงทำ 
เหตุนั้น ( ตํ กมฺมํ กรรมนั้น) ชื่อว่า กิจฺจํ (อันเขาพึงทำ). 
อีก อุ. หนึ่งว่า ทานํ เป็น ทา ธาตุ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลง 
เป็น อน แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า ทาตพฺพนฺ-ติ ทานํ. (ยํ วตฺถุ สิ่งของ 
ใด) (เตน อันเขา) พึงให้ เหตุนั้น (ตํ วตฺถุ สิ่งของนั้น) ชื่อว่า 
ทานํ (อันเขาพึงให้) ทั้ง ๒ อุ. นี้ เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ลงรอยกัน 
คือรูปวิเคราะห์ก็เป็นกัมมวาจก และสาธนะก็เป็นกัมมสาธนะ ท่าน 
บัญญัติให้แปลว่า "อันเขา-" 
ภาวสาธนะ 
สาธนะนี้ กล่าวถึงอาการคือความมีความเป็นเท่านั้น ไม่กล่าว 
ถึง กัตตา (ผู้ทำ) หรือ กัมม (ผู้ถูกทำ) กิริยาอาการเหล่านั้นก็ 
เกิดมาจากความทำของนามนามนั่นเอง กล่าวอย่างง่าย ก็คือ กล่าวถึง 
เฉพาะกิริยาอาการมีการ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น ที่ปรากฏมา 
จากนามนาม ไม่กล่าวผู้ทำ หรือผู้ถูกทำ เช่น อุ. ว่า คมนํ (ความ 
ไป), ฐานํ (ความยืน), นิสชฺชา (ความนั่ง). สยนํ (ความนอน) 
คำว่า คมนํ เป็น คมฺ ธาตุ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลงเป็น อน แยกรูป 
ออกตั้ง วิ. ว่า คจฺฉิยเต-ติ คมนํ (ตน อันเขา) ย่อมไป เหตุนั้น 
ชื่อว่า ความไป. 
ฐานํ เป็น ฐา ธาตุ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลงเป็น อน แยก
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 14 
รูปออกตั้ง วิ. ว่า ติฏฺฐยเต-ติ ฐานํ, (เตน อันเขา) ย่อมยืน เหตุนั้น 
ชื่อว่า ความยืน. 
นิสชฺชา เป็น นิ บทหน้า สิทฺ ธาตุ ในความจม ลง ณฺย ปัจจัย 
ลบ ณ แห่ง ณฺย เสียแล้วแปลงที่สุดธาตุคือ ทฺ กับ ย เป็น ชฺช เป็น 
รูปอิตถีลิงค์ แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า นิสีทยเต-ติ นิสชฺชา, (เตน อัน 
เขา) ย่อมนั่ง เหตุนั้น ชื่อว่า ความนั่ง. 
สยนํ เป็น สี ธาตุ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลง ยุ เป็น อน พฤทธิ์ 
อี ที่ สี เป็น เอ แล้วเอาเป็น อย แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า สยเต-ติ สยนํ 
(เตน อันเขา) ย่อมนอน เหตุนั้น ชื่อว่า ความนอน. 
สำหรับรูปวิเคราะห์ในภาวสาธนะนี้ ตั้งได้ ๓ วิธี คือ :- 
ใช้ประกอบเป็นกิริยาอาขยาต เป็นรูปภาววาจก ๑ 
ใช้ปรกอบเป็นนามกิตก์ เป็นรูปภาวสาธนะ ๑ 
ใช้ประกอบเป็นกิริยากิตก์ เป็นรูปภาววาจก ๑ 
สำหรับรูปวิเคราะห์ ที่เป็นกิริยาอาขยาต พึงดูตัวอย่างข้างต้น 
ส่วนรูปวิเคราะห์ที่ใช้ประกอบเป็นนามกิตก์ มักใช้คงรูปตามเดิม เช่น 
คมนํ ตั้ง วิ. ว่า คมนํ คมนํ. ความไป ชื่อว่า คมนํ (ความไป). 
ฐานํ ตั้ง วิ. ว่า ฐานํ ฐานํ. ความยืน ชื่อว่า ฐานํ (ความยืน). 
นิสชฺชา ตั้ง วิ. ว่า นิสชฺชา นิสชฺชา. ความนั่ง ชื่อว่า นิสชฺชา 
(ความนั่ง) หรือจะให้ประกอบ ยุ ปัจจัย ตั้ง วิ. ว่า นิสีทนํ นิสชฺชา 
ดังนี้ก็ได้ แล้วแต่จะเห็นควร.
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 15 
สยนํ ตั้ง วิ. ว่า สยนํ สยนํ. ความนอน ชื่อว่า สยนํ (ความนอน). 
รูปวิเคราะห์ที่ใช้เป็นกิริยากิตก์ ก็ใช้ประกอบปัจจัยที่เป็นภาว- 
วาจก เช่น คมนํ ประกอบ ตพฺพ ตั้ง วิ. ว่า คนฺคพฺพน-ติ คมนํ. 
(เตน อันเขา) พึงไป เหตุนั้น ชื่อว่า คมนํ (ความไป). 
ฐานํ ตั้ง วิ. ว่า ฐาตพฺพนฺ-ติ ฐานํ (เตน อันเขา) พึงยิน 
เหตุนั้น ชื่อว่า ฐานํ (ความยืน). 
สยนํ ตั้ง วิ. ว่า นิสีทิตพฺพนฺ-ติ นิสชฺชา-(เตน อันเขา) 
พึงนั่ง เหตุนั้น ชื่อว่า นิสชฺชา (ความนั่ง). 
สยนํ ตั้ง วิ. ว่า สยิตพฺพนฺ-ติ สยนํ (เตน อันเขา) พึงนอน 
เหตุนั้น ชื่อว่า สยนํ (ความนอน). 
รูปวิเคราะห์ที่ใช้กิริยากิตก์นั้น มักใช้ประกอบกับ ตพฺพ ปัจจัยเป็น 
พื้น รูปอื่นไม่มีใช้. ในสาธนะนี้รูปและสาธนะลงเป็นอันเดียวกัน คือ 
รูปวิเคราะห์กับสาธนะต่างก็เป็นภาววาจก ท่านบัญญัติให้แปลว่า 
"ความ"ก็ได้ "การ" ก็ได้ (เตน อันเขา) ที่เติมมาในรูปวิเคราะห์ 
ที่เป็นกิริยาอาขยาตและกิริยากิตก์ในเวลาแปลนั้น เพื่อให้ถูกต้องและ 
ครบตามรูปประโยค เพราะกิริยาภาววาจกจะขาด กัตตา ที่เป็นตติยา- 
วิภัตติ ซึ่งแปลว่า "อัน" หาได้ไม่. 
กรณสาธานะ 
สาธนะนี้ หมายถึงสิ่งที่เป็นเครื่องมือให้สำเร็จทำของบุคคล 
คำผู้ทำ ๆ ด้วยสิ่งใด ยกสิ่งนั้นขึ้นกล่าว เช่น ผูกด้วยเชือก ประหาร
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 16 
ด้วยดาบ หรือไชด้วยสว่านเป็นต้น คำว่า เชือก ดาบ และ สว่าน 
เป็นเครื่องมือให้บุคคลทำกิจมีการผูกเป็นต้นสำเร็จ เพราะเหตุนั้น จึง 
ชื่อว่ากรณะ เพราะเป็นเครื่องมือยังการทำของบุคคลให้สำเร็จ ดัง อุ. 
ว่า พนฺธนํ (วัตถุเป็นเครื่องผูก) , ปหรณํ (วัตถุเป็นเครื่องประหาร), 
วิชฺฌฺนํ (วัตถุเป็นเครื่องไช) เป็นต้น ล้วนเป็นกรณสาธนะ. 
พนฺธนํ เป็น พนฺธ ธาตุ ลง ยุ ปัจจัยแล้ว แปลงเป็น อน แยก 
รูปออกตั้ง วิ. ว่า พนฺธติ เตนา-ติ พนฺธนํ (ชโน ชน) ย่อมผูก 
ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น (ตํ วตฺถุ วัตถุนั้น) ชื่อว่า พนฺธนํ (เป็น 
เครื่องผูกแห่งชน). 
ปหรณํ เป็น ป บทหน้า หรฺ ธาตุ ในความนำไป ลง ยุ ปัจจัย 
แล้วแปลงเป็น อณ (เพราะเป็นธาตุมี ณ เป็นที่สุด จึงมิได้แปลเป็น 
อน) แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า ปหรติ เตนา-ติ ปหรณํ. (ชโน ชน) 
ย่อมประหาร ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น (ตํ วตฺถุ วัตถุนั้น) ชื่อว่า ปหรณํ 
(เป็นเครื่องประหารแห่งชน). 
วิชฺฌนํ เป็น วิธฺ ธาตุ ในความแทง ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลง 
เป็น อน แต่ธาตุตัวนี้ยังลง ย ปัจจัยในอาขยาตติดมาด้วย คือเมื่อลง 
ย ปัจจัยแล้วแปลง ย กับ ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ชฺฌ แล้วลง ยุ ปัจจัยใน 
นามกิตก์ซ้ำอีก จึงได้รูปเป็นเช่นนั้น แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า วิชฺฌติ 
เตนา-ติ วิชฺฌนํ. (ชโน ชน) ย่อมไช ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น (ตํ วตฺถุ 
วัตถุนั้น) ชื่อว่า วิชฺฌนํ (เป็นเครื่องไชแห่งชน).
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 17 
รูปวิเคราะห์ที่แสดงมาเหล่านี้ กิริยาเป็นกัตตุวาจก จึงเรียกว่า 
กัตตุรูป กรณสาธนะ เมื่อสำเร็จเป็นสาธนะแล้วแปลว่า "เป็น 
เครื่อง-" หรือ "เป็นเหตุ-" 
แต่ในสาธนะนี้ยังเป็นได้รูปหนึ่ง คือ กัมมรูป กิริยาต้อง 
ประกอบให้เป็นกัมมวาจก ดังตัวอย่างต่อไปนี้ :- 
พนฺธนํ ตั้ง พนฺธ ธาตุ แล้วลง ย ปัจจัย อิ อาคม สำหรับ 
กัมมวาจกในอาขยาต ตั้ง วิ. ว่า พนฺธิยติ เตนา-ติ พนฺธนํ. (ชโน ชน) 
(เตน อันเขา) ย่อมผูก ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น (ตํ วตฺถุ วัตถุนั้น) 
ชื่อว่า พนฺธนํ (เป็นเครื่องอันเขาผูก). 
ปหรณํ ตั้ง ป บทหน้า หรฺ ธาตุ ลงเครื่องปรุงกัมมวาจก ตั้ง 
วิ. ว่า ปหริยติ เตนา-ติ ปหรณํ. [ ชโน ชน ] [ เตน อันเขา ] 
ย่อมประหาร ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น [ ตํ วตฺถุ วตถุนั้น ] ชื่อว่า 
ปหรณํ [ เป็นเครื่องอันเขาประหาร ]. 
วิชฺฌนํ ตั้ง วิธฺ ธาตุ ลง ย ปัจจัยในหมวด ทิวฺ ธาตุ ได้รูปเป็น 
วิชฺฌ แล้วลงเครื่องปรุงกัมมวาจก ตั้ง วิ. ว่า วิชฺฌิยติ เตนา-ติ 
วิชฺฌนํ [ชโน ชน ] [ เตน อันเขา ] ย่อมไข ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น 
[ ตํ วตฺถุ วัตถุนั้น ] ชื่อว่า วิชฺฌนํ [ เป็นเครื่องอันเขาไช ]. 
รูปวิเคราะห์ดังที่แสดงมาเหล่านี้ กิริยาเป็นกัมมวาจก จึงเรียก 
ว่า กัมมรูป กรณสาธนะ เมื่อสำเร็จเป็นสาธนะแล้ว ท่านบัญญัติให้ 
แปลว่า "เป็นเครื่องอันเขา -" หรือ " เป็นเหตุอันเขา-" 
พึงสังเกตในสาธนะนี้ จำต้องมีคำว่า "เตน" ซึ่งเป็นตติยา-
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 18 
วิภัตติ แปลว่า "ด้วย" ติดอยู่ข้างท้ายของกิริยาเสมอ ทั้งใน กัตตุรูป 
และกัมมรูป เพื่อเป็นเครื่องแสดงรูปของสาธนะ จะขาดเสียหาได้ไม่. 
สัมปทานสาธนะ 
สาธนะนี้กล่าวถึงผู้รับ ผู้รับนี้จะเป็นบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ 
ก็ได้ คือผู้ทำหยิบยกสิ่งของให้แก่ผู้ใด หรือแก่สิ่งใด ก็กล่าวถึงผู้นั้น 
หรือสิ่งนั้น เช่นคำว่า ให้ทานแก่ยาจก, ยาจก จัดว่าเป็นผู้รับ คือผู้ที่ 
เขาให้ สาธนะที่กล่าวถึงผูรับเช่นนี้แหละ เรียกว่า สัมปทานสาธนะ 
เช่น อุ. ว่า สมฺปทานํ [วัตถุเป็นที่มอบให้] ศัพท์นี้มูลเดิมมาจาก 
สํ+ป บทหน้า ทา ธาตุในความให้ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลงเป็น อน 
และแปลงนิคคหิตที่ สํ เป็น ม ในที่นี้เป็นชื่อของผู้รับ จึงเป็น 
สัมปทานสาธนะ ส่วนรูปอาจเป็นได้ทั้งกัตตุรูป และ กัมมรูป. 
กัตตุรูป สัมปทานสาธนะ ตั้ง วิ. ว่า สมฺปเทติ เอตสฺสา-ติ 
สมฺปทานํ. [ ชโน ชน ] ย่อมมอบให้ แก่วัตถุนั่น เหตุนั้น [ เอตํ 
วตฺถุ วัตถุนั่น ] ชื่อว่า สมฺปทานํ. [ เป็นที่มอบให้แห่งชน ]. 
ที่เป็นกัมมรูป สัมปทานสาธนะ แปลกแต่เปลี่ยนกิริยาเป็น 
กัมมวาจก ตั้ง วิ. ว่า สมฺปทิยเต เอตสฺสา- ติ สมฺปทานํ [ สกฺกาโร 
สักการะ ] [ เตน อันเขา] ย่อมมอบให้ แก่วัตถุนั้น เหตุนั้น [ เอตํ 
วตฺถุ วัตถุนั่น ] ชื่อ สมฺปทานํ [ เป็นที่อันเขามอบให้ ]. 
อุทาหรณ์เหล่านี้สำเร็จรูปเป็นนปุํสกลิงค์ เพราะหมายถึงวัตถุเป็น 
ผู้รับมีเจดีย์เป็นต้น ถ้าผู้รับเป็นปุํลิงค์ ก็ต้องเปลี่ยนบททั้งปวงเป็นรูป
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 19 
ปุํลิงค์ เป็น สมฺปทาโน เช่น ภิกฺขุ (ภิกษุ) หรือ ยาจโก (ยาจก) 
เป็นต้น ส่วนรูปวิเคราะห์คงตามรูปเดิม สาธนะนี้ ถ้าเป็นกัตตรูป 
ท่านบัญญัติให้แปลว่า "เป็นที่-" ถ้าเป็นกัมมรูปแปลว่า "เป็นที่ 
อันเขา-" และพึงสังเกตในสาธนะนี้จะต้องมีสัพพนามคือ "เอตสฺส" 
ซึ่งมีรูปเป็นจตุตถีวิภัตติ ที่แปลว่า "แก่" ตามหลังกิริยาในรูป 
วิเคราะห์เสมอไป ซึ่งจะขาดเสียมิได้. 
อปาทานสาธนะ 
สาธนะนี้เป็นสาธนะที่กล่าวถึงสิ่งที่ปราศจากไป คือผู้ทำปราศจาก 
สิ่งใดไป กล่าวถึงสิ่งนั้น เช่นคำว่าไปจากบ้านสู่วัด หรือไปจากวัด 
สู่บ้าน คำว่า จากบ้าย หรือจากวัด หมายถึงสิ่งที่เขาปราศจากไป 
สาธนะที่กล่าวถึงสิ่งที่เขาปราศไปเช่นนี้แหละ เรียกว่า อปาทานสาธนะ 
เช่น อุ. ในแบบว่า ปภสฺสโร (แดนซ่านออกแห่งรัศมี) หมายถึงกาย 
ของเทวดาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีรัศมีซ่านออก, ปภโว (แดนเกิดก่อน) 
หมายถึงน้ำตก ซึ่งเป็นต้นเดิมของแม่น้ำ คือ แม่น้ำย่อมเกิดจากน้ำตก 
นั้น ภีโม (แดนกลัว) หมายถึงยักษ์ ซึ่งเป็นแดนให้เกิดความกลัว 
ของมนุษย์ผู้เห็น. 
ปภสฺสโร มูลเดิมมาจาก ปภา (รัศมี) บทหน้า สรฺ ธาตุในความ 
ซ่าน อ ปัจจัย ลบ อา ที่ ปภา เสีย แล้วซ้อน สฺ เพราะมี ส อยู่หลัง 
แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า ปภา สรติ เอตสฺมา-ติ ปภสฺสโร (เทวกาโย) 
รัศมีย่อมซ่านออก จากกายแห่งเทวดานั้น เหตุนั้น (เอโส เทวกาโย)
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 20 
กายแห่เทวดานั้น) ชื่อ ปภสฺสโร (เป็นแดนซ่านออกแห่งรัศมี). 
ปภโว มูลเดิมมาจาก ป บทหน้า ภู ธาตุ อ ปัจจัย พฤทธิ์ อู ที่ 
ภู เป็น โอ แล้วเอาเป็น อว และ ป บทหน้าตัวนั้น ศัพท์เต็มรูป คือ 
ปฐมํ (ก่อน) ท่านลบอักษรสองตัวหลังเสียเหลือไว้แต่ ป ในเมื่อ 
สำเร็จรูปเป็นสาธนะแล้วแยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า ปฐมํ ภวติ เอตสฺมา-ติ 
ปภโว (ปเทโส). (นที แม่น้ำ) ย่อมเกิดมีก่อน แต่ประเทศนั่น 
เหตุนั้น (เอโส ปเทโส ประเทศนั่น) ชื่อว่า ปภโว (เป็นคน 
เกิดก่อนแห่งแม่น้ำ). 
ภีโม มูลเดิมมาจาก ภี ธาตุ ในความกลัว ลง ม ปัจจัย แยก 
รูปออกตั้ง วิ. ว่า ภายติ เอตสฺมา-ติ ภีโม (ยกฺโข). ชโน (ชน) 
ย่อมกลัว แต่ยักษ์นั่น เหตุนั้น (เอโส ยกฺโข ยักษ์นั่น) ชื่อว่า ภีโม 
(เป็นแดนกลัวแห่งชน). 
สาธนะนี้ เป็นกัตตุรูปอย่างเดียว เมื่อสำเร็จเป็นสาธนะแล้ว 
ท่านบัญญัติให้แปลว่า "เป็นแดน-" และพึงสังเกตในสาธนะนี้ต้อง 
มี ต หรือ เอต สัพพนาม ซึ่งประกอบด้วยปัญจมีวิภัตติ แปลว่า แต่, 
จาก ตามหลังกิริยา และต่อสนธิกับ อิติ ศัพท์ ในเวลาแยกรูปออก 
ตั้งวิเคราะห์เสมอไป จะขาดเสียมิได้. 
อธิกรณสาธนะ 
สาธนะนี้หมายความว่า สาธนะที่กล่าวถึงสถานที่เป็นที่ทำการคือ 
บุคคลทำการในสถานที่ใด สาธนะนี้กล่าวถึงสถานที่นั้น เช่น โรงเรียน
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 21 
เป็นสถานที่เล่าเรียนวิชาความรู้ หรือโรงงานเป็นสถานที่ทำวายเป็นต้น 
กล่าวสั้นก็คือ ยกสถานที่นั้นขึ้นกล่าว เช่น อุ. ว่า ฐานํ (ที่ตั้ง, ที่ยืน), 
อาสนํ (ที่นั่ง), สยนํ (ที่นอน). 
ฐานํ มูลเดิมมาจาก ฐา ธาตุ ในความยืน ลง ยุ ปัจจัย แล้ว 
แปลงเป็น อน แยกรุปออกตั้ง วิ. ว่า ติฏฺฐติ เอตฺถา-ติ ฐานํ (ชโน 
ชน) ย่อมยืน ในที่นั้น เหตุนั้น (เอตํ ฐานํ ที่นั่น) ชื่อว่า ฐานํ 
(เป็นที่ยืนแห่งชน). 
อาสนํ มูลเดิมมาจาก อาสฺ ธาตุในความนั่ง ลง ยุ ปัจจัย แล้ว 
แปลงเป็น อน แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า อาสติ เอตฺถาติ-อาสนํ 
(ชโน ชน) ย่อมนั่ง ในที่นั่น เหตุนั้น (เอตํ ฐาน ที่นั่น) ชื่อว่า 
อาสนํ (เป็นที่นั่งแห่งชน). 
สยนํ มูลเดิมมาจาก สี ธาตุในความนอน แปลง อี ที สี่ เป็น 
เอ แล้วเอาเป็น อย ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลงเป็น อน แยกรูปออก 
ตั้ง วิ. ว่า สยติ เอตฺถา-ติ สยนํ (ชโน ชน) ย่อมนอน ในที่นั่น 
เหตุนั้น (เอตํ ฐานํ ที่นั่น) ชื่อว่า สยนํ (เป็นที่นอนแห่งชน). 
รูปวิเคราะห์เหล่านั้นเป็นกัตตุรูป เพราะใช้กิริยาเป็นกัตตุวาจก 
ถ้าต้องการให้เป็นกัมมรูป ก็ต้องแปลงกิริยาให้เป็นกัมมวาจก แต่ศัพท์ 
ทั้ง ๓ นี้เป็นอกัมมธาตุ (ธาตุไม่มีกรรม) ถึงจะตั้งรูปวิเคราะห์เป็น 
กัมมรูปก็ไม่เหมาะ. 
ในสาธนะนี้ที่เป็นกัมมรูป ท่านบัญญัติให้แปลว่า "เป็นที่-" 
ถ้าเป็นกัมมรูปแปลว่า " เป็นที่อันเขา-"
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 22 
วิเคราะห์แห่งสาธนะ 
รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะนี้ หมายความว่า ตัวที่แยกออกตั้ง 
วิเคราะห์ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้สำเร็จรูปเป็นสาธนะ ๆ ที่จะสำเร็จเป็น 
รูปขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยรูปวิเคราะห์ เช่น ทายโก (ผู้ให้) เป็นสาธนะ 
ก่อนที่จะสำเร็จรูปเป็นเช่นนั้น ต้องมาจากรูปวิเคราะห์ เทตี+ติ 
ฉะนั้น เทตี-ติ จึงเป็นรูปวิเคราะห์ ทายโก เป็นตัวสาธนะ. 
ก็รูปวิเคราะห์นั้น มีอยู่ ๓ รูป คือ กัตตุรูป ๑ กัมมรูป ๑ 
ภาวรูป ๑ ที่เรียกชื่อเช่นนี้ ก็ด้วยอำนาจวาจกในอาขยาต เพราะการ 
ตั้งวิเคราะห์ต้องใช้วาจกทั้งนั้น และวาจกโดยมากก็มักใช้ในอาขยาต 
ในกิริยากิตก์ก็มีใช้บ้าง แต่เป็นส่วนน้อย บางคราวก็ใช้นามกิตก์นั้นเอง 
ก็มี ที่กล่าวนี้มีเฉพาะกัมมรูปและภาวรูปเท่านั้น ส่วนกัตตุรูปใช้ 
กิริยาอาขยาตโดยส่วนเดียว. รูปวิเคราะห์นี้เมื่อจักตามวาจกย่อมได้ 
ดังนี้คือ :- รูปวิเคราะห์ที่เป็นกัตตุวาจกและเหตุกัตตุวาจก จัดเป็น 
กัตตุรูป ๑ รูปวิเคราะห์ที่เป็นภาววาจกและเหตุกัมมวาจา จัดเป็น 
กัมมรูป ๑ รูปวิเคราะห์เป็นภาววาจก จัดเป็นภาวรูป ๑. 
วิธีปรุงรูปวิเคราะห์ 
เป็นธรรมดาของการตั้งวิเคราะห์ ก่อนอื่นเมื่อเห็นศัพท์แล้วจะ 
ต้องแยกรูปว่า เป็นธาตุอะไร มีกรรมหรือไม่ ถ้าเป็นสกัมมธาตุ ก็ใช้ 
ได้เฉพาะกัตตุรูป กัมมรูป, ถ้าเป็นอกัมมธาตุ ก็ใช้ได้เฉพาะกัตตรูป 
ภาวรูป, เมื่อเราค้นตัวธาตุได้แล้ว ก็นำธาตุตัวนั้นมาปรุงด้วยเครื่อง
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 23 
ปรุงอาขยาต คือ วิภัตติ วาจก และปัจจัย ถ้าจะต้องการเป็นกัตตุรูป 
ก็ต้องใช้เครื่องปรุงของกัตตุวาจก หรือเหตุกัตตุวาจก, กัมมรูปก็ใช้ 
เครื่องปรุงของกัมมวาจก หรือเหตุกัมมวาจก, ภาวรูปก็ใช้เครื่องปรุง 
ของภาววาจก, เช่นเห็นศัพท์ว่า สิกฺขโก (ผู้ศึกษา) ถ้าค้นดูธาตุก็จะเห็น 
ว่าเป็น สิกฺข ธาตุ และเป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ เพราะบ่งผู้ทำเอง ฉะนั้น 
เวลาตั้งวิเคราะห์ก็ต้องตั้งเป็นกัตตุวาจก ได้รูปเป็น สิกฺขติ แล้วเติม 
อิติ (เพราะเหตุนั้น) มาต่อเข้าสนธิกับ สิกฺขติ ได้รูปเป็น สิกฺขตี-ติ 
บทแปลงซึ่งเป็นตัวสาธนะก็คือ สิกฺขโก ส่วนรูปวิเคราะห์อื่น ก็พึงสังเกต 
ตามนัยที่ได้อธิบายมาแล้วในสาธนะนั้น ๆ เถิด แต่มีข้อแปลกอีกอย่าง 
หนึ่ง คือ สำหรับรูปวิเคราะห์ ที่เป็นเหตุกัตตุวาจก ซึ่งท่านรวมเข้ากับ 
กัตตุวาจกเรียงว่ากัตตุรูปนั้น มีที่ใช้บ้างห่าง ๆ ต้องสังเกตตามคำแปล 
จึงจะรู้ได้ เช่นศัพท์ว่า อาตาโป (ความเพียรซึ่งยังกิเลสให้ร้อนทั่ว) 
หตฺถิมารโก (นายพรานผู้ยังช้างให้ตาย) เป็นต้น ตามคำแปลก็บ่งว่า 
เป็นรูปเหตุกัตตุวาจก เพราะมีคำว่า "ยัง" ซึ่งหมายถึงตัวการัต 
(ตัวที่ถูกใช้ให้ทำ) บ่งปรากฏอยู่ ฉะนั้นเวลาจะตั้งวิเคราะห์ ต้องนำ 
ธาตุไปปรุงให้เป็นเหตุกัตตุวาจก เช่น อาตาโป เป็น อา บทหน้า 
ตปฺ ธาตุ นำไปประกอบเป็นเหตุกัตตุวาจก ได้รูปเป็น อาตาเปติ 
(ยัง-ให้ร้อนทั่ว) ตั้งเป็นรูป วิ. ว่า อาตาเปตี-ติ อาตาโป 
(วายาโม ความเพียร) (กิเลสํ ยังกิเลส) ย่อมให้ร้อนทั่ว เหตุนั้น 
(โส วายาโม ความเพียรนั้น) ชื่อว่า อาตาโป (ยังกิเลสให้ร้อนทั่ว).
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 24 
หตฺถิมารโก เป็น หตฺถี (ช้าง) บทหน้า มรฺ ธาตุ ประกอบเป็น 
เหตุกัตตุวาจก ได้รูปเป็น มาเรติ (ยัง....ให้ตาย) ตั้งเป็นรูป วิ. ว่า 
หตฺถี มาเรตี-ติ หตฺถิมารโก (ลุทฺทโก นายพราน) ยังช้าง ย่อม 
ให้ตาย เหตุนั้น (โส ลุทฺทโก นายพรานนั้น ) ชื่อว่า หตฺถิมารโก 
(ผู้ยังช้างให้ตาย) หมายความว่า ผู้ฆ่าช้าง, ในที่นี้ท่านได้ตัดตัวการีต 
คือ หตฺถี ออก แต่ยังคงไว้. ส่วนรูปวิเคราะห์ที่เป็นเหตุกัมมวาจานั้น 
ยังไม่ปรากฏว่ามีที่ใช้. 
ปัจจัยแห่งนามกิตก์ 
ในนามกิตก์ก็มีปัจจัยสำหรับลงที่ธาตุเช่นเดียวกับอาขยาตเหมือน 
กัน แต่ในนามกิตก์นี้เมื่อลงที่ธาตุแล้ว ย่อมปรุงธาตุให้เป็นนามศัพท์ 
คือ นามนาม ๑ คุณนาม ๑ ท่านจัดไว้เป็น ๓ พวก คือ กิตปัจจัย ๑ 
กิจจปัจจัย ๑ กิตกิจจปัจจัย ๑ ที่ท่านจัดไว้เป็น ๓ พวก คือ กิตปัจจัย ๑ 
และจัดไว้เป็นหมู่เหล่า ด้วยอำนาจรูปและสาธนะ เพราะปัจจัยเหล่านี้ 
ใช้ลงในรูปและสาธนะหาเสมอกันไม่ คือ บางตัวก็ลงได้รูปเดียวและ 
สาธนะเดียว บางตัวก็ลงได้ ๒ รูปและ ๒ สาธนะ บางตัวก็ลงได้ทั้ง 
๓ รูปและทุกสาธนะ. 
ปัจจัยพวกกิตปัจจัย ลงได้เฉพาะกัตตุรูปอย่างเดียว หรือที่นับ 
เนื่องในกัตตุรูปเช่นสมาสรูปเท่านั้น จะนำไปประกอบศัพท์ที่เป็นรูปอื่น 
นอกจากนี้หาได้ไม่ และเป็นได้เฉพาะกัตตุสาธนะอย่างเดียว. 
ปัจจัยพวกกิจปัจจัย ลงได้เฉพาะกัมมรูปและภาวรูปเท่านั้น
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 25 
และสาธนะก็เป็นได้เฉพาะกัมมสาธนะและภาวสาธนะเท่านั้น จะลงใน 
รูปและสาธนะอื่นหาได้ไม่. 
ปัจจัยพวกกิตกิจจปัจจัย ใช้ประกอบศัพท์ลงได้ทุกรูปและทุก 
สาธนะไม่มีจำกัด แต่ก็ยังมีบ้างที่ปัจจัยบางตัวหาลงในรูปและสาธนะไม่ 
กลับไปลงใช้แทนวิภัตตินาม เช่น ตุํ และ เตฺว ปจัจัย และมี ๒ ตัวนี้ 
เท่านั้นที่แปลกจากปัจจัยทั้งหลาย. 
ปัจจัยแห่งนามกิตก์ในบาลีไวยากรณ์ ท่านจำแนกไว้มีเพียง ๑๔ 
ตัว จัดเป็น ๓ พวก คือ :- 
กิตปัจจัย มี ๕ ตัว คือ กฺวิ, ณี, ณฺวุ, ตุ, รู. 
กิจจปัจจัย มี ๒ ตัว คือ ข, ณฺย. 
กิตกิจจปัจจัย มี ๗ ตัว อ, อิ, ณ, เตฺว, ติ, ตุํ, ยุ. 
ปัจจัยที่กล่าวยกมากล่าวไว้ในบาลีไวยากรณ์เพียงเท่านี้ ก็โดยยก 
เอาเฉพาะปัจจัยที่ใช้มากในปกรณ์ทั้งหลาย และใช้สาธนทั่วไปแก่ธาตุ 
ทั้งปวง แต่เมื่อจะกล่าวให้ครบปัจจัยในแผนกนี้ ยังมีอยู่อีกมาก 
แต่โดยมากมักใช้ลงได้เฉพาะในธาตุบางตัว หรือถึงจะลงในธาตุอื่นได้ 
บ้าง ก็ยากแก่การที่จะจัดเข้าเป็นหมวดหมู่ให้ลงรอยกันในรูปสาธนะ 
เหตุนั้น ท่านจึงยกเว้นเสียมิได้นำมากล่าวไว้ ผู้ศึกษาผู้ต้องการความรู้ 
กว้างขวาง จะต้องค้นคว้าหาด้วยตนเอง. 
วิเคราะห์แห่งนามกิตก์ 
ศัพท์ทุกตัวที่จะสำเร็จรูปเป็นนามกิตก์ได้ ย่อมต้องมีการตั้ง
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 26 
วิเคราะห์ คือแยกให้เห็นรูปเดิมของศัพท์นั้น ๆ เสียก่อน จึงจะ 
สำเร็จรูปเป็นสาธนะได้ ทั้งที่เป็นนามนามและคุณนาม เพราะฉะนั้น 
ปัจจัยทั้ง ๓ พวกดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งทานจัดไว้เป็นเครื่องหมายรูป 
และสาธนะนั้น จึงจำต้องมีการตั้งวิเคราะห์ด้วยกันทุกตัว ตามหน้าที่ 
และอำนาจที่ปัจจัยนั้น ๆ จะพึงมีได้อย่างไร ซึ่งจะได้แสดงดังต่อไป 
นี้:- 
วิเคราะห์ในเกิดปัจจัย 
กฺวิ ปัจจัย 
ปัจจัยตัวนี้ เมื่อลงประกอบกับธาตุแล้ว โดยมากมักลงทิ้งเสีย 
ไม่ปรากฏรูปให้เห็น จึงเป็นการยากที่จะสังเกตได้ แต่ก็มีหลักพอที่ 
จะกำหนดรู้ได้บ้าง คือ :- 
๑. ใช้ลงในธาตุที่มีบทอื่นนำหน้าเสมอ. 
๒. ถ้าลงในธาตุตัวเดียวคงไว้ ไม่ลบธาตุ. 
๓. ถ้าลงในธาตุสองตัวขึ้นไป ลบที่สุดธาตุ. 
๔. เฉพาะ วิทฺ ธาตุ ไม่ลบที่สุดธาตุ แต่ต้องลง อู อาคม 
๑. ที่ว่า ใช้ลงในธาตุที่มีบทอื่นนำหน้าเสมอ นั้น หมายความ 
ว่า ธาตุที่จะใช้ลงปัจจัยนี้ ต้องมีศัพท์อื่นเป็นบทหน้าของธาตุ คือเป็น 
นามนามบ้าง คุณนามบ้าง สัพพนามบ้าง อุปสัคบ้าง นิบาตบ้าง. 
ก. นามนามเป็นบทหน้า เช่น ภุชโค สัตว์ไปด้วยขนด 
(พญานาค ) ภุช บทหน้า คมฺ ธาตุ ลง กฺวิ และลบที่สุดธาตุเสีย
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 27 
ิตั้ง วิ. ว่า ภุเชน คจฺฉตี-ติ ภุชโค. (สัตว์ใด ) ย่อมไป ด้วย 
ขนด เหตุนั้น (สัตว์นั้น ) ชื่อว่า ภุชโค (ผู้ไปด้วยขนด) หรือ 
เช่น อุรโค ดังที่ท่านยก อุ. ไว้ในแบบ. 
ข. คุณนามเป็นบทหน้า เช่น ตุรโค สัตว์ไปเร็ว (ม้า ) ตรุ 
บทหน้า คมฺ ธาตุ ลบ กฺวิ และลบที่สุดธาตุเสีย ตั้ง วิ. ว่า ตุรํ 
คจฺฉตี-ติ ตุรโค. (สัตว์ใด) ย่อมไปเร็ว เหตุนั้น (สัตว์นั้น) 
ชื่อว่า ตุรโค (ผู้ไปเร็ว). 
ค. สัพพนามเป็นบทหน้า เช่น สพฺพาภิภู ผู้ครอบงำซึ่งธรรม 
ทั้งปวง สพฺพ+อภิ บทหน้า ภู ธาตุ ลบ กฺวิ คงธาตุไว้ตามรูปเดิม 
ตั้ง วิ. ว่า สพฺพํ อภิภวตี-ติ สพฺพอภิภู แล้วเข้าสนธิเป็น สพฺพาภิภู. 
(พระผู้มีพระภาคเจ้าใด) ย่อมทรงครอบงำ ซึ่งธรรมทั้งปวง เหตุนั้น 
(พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ชื่อว่า สพฺพาภิภู (ผู้ทรงครอบงำซึ่งธรรม 
ทั้งปวง). 
ง. อุปสัคเป็นบทหน้า เช่น อภิภู (ผู้เป็นยิ่ง) อภิ บทหน้า 
ภู ธาตุ ลบ กฺวิ คงธาตุไว้ตามรูปเดิม ตั้ง วิ. ว่า อภิ วิสิฏฺเฐน 
ภวตี-ติ อภิภู. (พระผู้มีพระภาคเจ้าใด) ย่อมเป็นยิ่ง คือว่า โดย 
ยิ่ง เหตุนั้น (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ชื่อว่า อภิภู (ผู้เป็นยิ่ง) 
ในที่นี้ อภิ ไขความออก เป็น วิสิฏฺเฐน ตามลักษณะการตั้ง 
วิเคราะห์ 
จ. นิบาตเป็นบทหน้า เช่น สยมฺภู (ผู้เป็นเอง) สยํ (เอง)
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 28 
เป็นบทหน้า ภู ธาตุ ลบ กฺวิ และคงธาตุไว้ตามรูปเดิม พึงดูวิเคราะห์ 
ในแบบ. 
๒. ลงในธาตุตัวเดียวคงไว้ ไม่ลบธาตุ หมายความว่าถ้า 
ธาตุที่ลงปัจจัยนี้เป็นธาตุตัวเดียว ให้คงธาตุตัวนั้นไว้ ไม่ลบ เช่น 
อภิภู สยมฺภู. ดังที่ตั้ง วิ. ให้ดูแล้วข้างต้น. หรือเช่นคำว่า มารชิ 
(ผู้ชนะมาร) มาร บทหน้า ชิ ธาตุในความชนะ วิ. ว่า มารํ 
ชินาตี-ติ มารชิ (พระผู้มีพระภาคเจ้าใด) ย่อมชนะ ซึ่งมาร 
เหตุนั้น (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ชื่อว่า มารชิ (ผู้ชนะซึ่งมาร). 
๓. ลงในธาตุสองตัวขึ้นไป ต้องลบที่สุดธาตุ หมายความ 
ว่า ถ้าธาตุที่จะลงปัจจัยนี้มีสองตัวขึ้นไป ให้ลบเสียตัวหนึ่ง และตัว 
ที่ถูกลบนั้นต้องเป็นตัวอยู่ข้างหลัง เช่น อุรโค, ตุรโค, ภุชโค ดัง 
ที่ตั้ง วิ. ให้ดูแล้วข้างต้น. 
๔. เฉพาะ วิทฺ ธาตุ ไม่ลบที่สุดธาตุ แต่ต้องลง อู อาคม 
เช่น สพฺพวิทู (ผู้รู้ซึ่งสิ่งทั้งปวง), โลกวิทู (ผู้รู้ซึ่งโลก) เป็นต้น 
สพฺพวิทู เป็น สพฺพ บทหน้า วิทฺ ธานุในความรู้ ตั้ง วิ. ว่า สพฺพํ 
วิทตี-ติ สพฺพวิทู. (พระผู้มีพระภาคเจ้าใด) ย่อมทางรู้ ซึ่งธรรม 
ทั้งปวง เหตุนั้น (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ชื่อว่า สพฺพวิทู (ผู้รู้ 
ซึ่งธรรมทั้งปวง). 
โลกวิทู เป็น โลก บทหน้า วิทฺ ธาตุ วิ. ว่า โลกํ 
วิทตี-ติ โลกวิทู (พระผู้มีพระภาคเจ้าใด) ย่อมทรงรู้ ซึ่งโลก 
เหตุนั้น (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ชื่อว่า โลกวิทู (ผู้ทรงรู้ซึ่งโลก).
ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 29 
พึงสังเกตในบทนี้สำหรับ วิทฺ ธาตุ ในเวลาตั้งวิเคราะห์ ท่านมัก 
ใช้ ญา ธาตุ มี วิ เป็นบทหน้าแทน ซึ่งแปลว่า รู้แจ้ง เหมือนกัน. 
ปัจจัยนี้เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ และใช้เป็นคุณนามอย่างเดียว 
นำไปแจกในวิภัตตินามได้ทั้ง ๒ ลิงค์ เปลี่ยนแปลงไปตามตัวนาม 
นามนั้น ๆ. 
ณี ปัจจัย 
ปัจจัยนี้ลงประกอบกับธาตุแล้ว ลบ ณ เสีย เหลือไว้แต่ 
สระ ี และมีอำนาจให้ทีฆะและพฤทธิ์ต้นธาตุที่เป็นรัสสะ เพราะเป็น 
ปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ เมื่อจะกล่าวตามหลักเกณฑ์ของปัจจัยนี้ ก็อาจ 
จะย่อมกล่าวได้ดังนี้ คือ :- 
๑. ต้นธาตุเป็นรัสสะ มีอำนาจพฤทธิ์ต้นธาตุได้. 
๒. ต้นธาตุเป็นทีฆะ หรือ มีตัวสะกด ห้ามมิให้พฤทธิ์. 
๓. มีอำนาจให้แปลงตัวธาตุ หรือ พยัญชนะที่สุดธาตุได้. 
๔. ถ้าธาตุมี อา เป็นที่สุด ต้องแปลงเป็น อาย. 
อนึ่ง ปัจจัยนี้โดยมากใช้ลงในตัสสีลสาธนะ และเป็นสมาสรูป 
ตัสสีลสาธนะได้ด้วย. 
๑. พฤทธิ์ต้นธาตุที่เป็นรัสสะ นั้น คือ ถ้าธาตุเป็นรัสสะ เช่น 
วทฺ, กรฺ, จรฺ เป็นต้น เมื่อลง ณี ปัจจัยแล้ว ต้องพฤทธิ์ต้นธาตุ เช่น 
พฤทธิ์ อ เป็น อา, อิ เป็น เอ, อุ เป็น อุ หรือเป็น โอ. 
ก. พฤทธิ์ อ เป็น อา เช่น ปุญฺญการี ปุญฺญ (บุญ) บทหน้า 
กรฺ ธาตุ ลง ณี ลบ ณ เสียคงไว้แตี่ แล้วพฤทธิ์ อ เป็น อา ตั้ง
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์

More Related Content

What's hot

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานAnchalee BuddhaBucha
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์Anchalee BuddhaBucha
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1saoBenz
 
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานpop Jaturong
 
หน่วยที่ 3 การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้
หน่วยที่ 3  การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้หน่วยที่ 3  การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้
หน่วยที่ 3 การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้ขนิษฐา ทวีศรี
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานPadvee Academy
 
๑๐. ฉันทลักษณ์และคำประพันธ์ประเภทกาพย์[1]
๑๐. ฉันทลักษณ์และคำประพันธ์ประเภทกาพย์[1]๑๐. ฉันทลักษณ์และคำประพันธ์ประเภทกาพย์[1]
๑๐. ฉันทลักษณ์และคำประพันธ์ประเภทกาพย์[1]นิตยา ทองดียิ่ง
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์chamaipornning
 
วิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียนวิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียนguestabb00
 
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปล
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปลรวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปล
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปลChavalit Deeudomwongsa
 

What's hot (20)

บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
 
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
วิชาบาลีเสริม ๑๑ ชื่อสัมพันธ์
 
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลีแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
แปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี
 
การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานการเขียนรายงาน
การเขียนรายงาน
 
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
 
กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์
กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์
กิริยาอาขยาต นามกิตก์ และกิริยากิตก์
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
หน่วยที่ 3 การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้
หน่วยที่ 3  การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้หน่วยที่ 3  การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้
หน่วยที่ 3 การเขียนเรื่องจากคำที่กำหนดให้
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
 
๑๐. ฉันทลักษณ์และคำประพันธ์ประเภทกาพย์[1]
๑๐. ฉันทลักษณ์และคำประพันธ์ประเภทกาพย์[1]๑๐. ฉันทลักษณ์และคำประพันธ์ประเภทกาพย์[1]
๑๐. ฉันทลักษณ์และคำประพันธ์ประเภทกาพย์[1]
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
 
วิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียนวิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียน
 
ชื่อสัมพันธ์
ชื่อสัมพันธ์ชื่อสัมพันธ์
ชื่อสัมพันธ์
 
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิตบาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
บาลีไวยากรณ์ ๔ สมาส,ตัทธิต
 
การสร้างคำ
การสร้างคำการสร้างคำ
การสร้างคำ
 
8 การเขียนเชิงวิชาการ(238 262)
8 การเขียนเชิงวิชาการ(238 262)8 การเขียนเชิงวิชาการ(238 262)
8 การเขียนเชิงวิชาการ(238 262)
 
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปล
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปลรวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปล
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปล
 

Viewers also liked

5 44++มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๓
5 44++มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๓5 44++มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๓
5 44++มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๓Tongsamut vorasan
 
8 71+วิสุทธิมรรคแปล+ภาค+๓+ตอน+๑
8 71+วิสุทธิมรรคแปล+ภาค+๓+ตอน+๑8 71+วิสุทธิมรรคแปล+ภาค+๓+ตอน+๑
8 71+วิสุทธิมรรคแปล+ภาค+๓+ตอน+๑Tongsamut vorasan
 
6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)Tongsamut vorasan
 
3 39อันตรคาถาธรรมบทแปล
3 39อันตรคาถาธรรมบทแปล3 39อันตรคาถาธรรมบทแปล
3 39อันตรคาถาธรรมบทแปลTongsamut vorasan
 
7 55+สมนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถา+(ปฐโม+ภาโค)
7 55+สมนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถา+(ปฐโม+ภาโค)7 55+สมนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถา+(ปฐโม+ภาโค)
7 55+สมนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถา+(ปฐโม+ภาโค)Tongsamut vorasan
 
ธรรมบทย่อ 01
ธรรมบทย่อ 01ธรรมบทย่อ 01
ธรรมบทย่อ 01Tongsamut vorasan
 
8 65+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ทุติโย+ภาโค)
8 65+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ทุติโย+ภาโค)8 65+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ทุติโย+ภาโค)
8 65+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ทุติโย+ภาโค)Tongsamut vorasan
 
2 23คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๑
2 23คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๑2 23คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๑
2 23คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๑Tongsamut vorasan
 
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิTongsamut vorasan
 
3 27+ธมฺมปทฏฐกถา+(ปญจโม+ภาโค)
3 27+ธมฺมปทฏฐกถา+(ปญจโม+ภาโค)3 27+ธมฺมปทฏฐกถา+(ปญจโม+ภาโค)
3 27+ธมฺมปทฏฐกถา+(ปญจโม+ภาโค)Tongsamut vorasan
 
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗Tongsamut vorasan
 
1 03+บาลีไวยกรณ์+วจีวิภาค+สมาสและตัทธิต
1 03+บาลีไวยกรณ์+วจีวิภาค+สมาสและตัทธิต1 03+บาลีไวยกรณ์+วจีวิภาค+สมาสและตัทธิต
1 03+บาลีไวยกรณ์+วจีวิภาค+สมาสและตัทธิตTongsamut vorasan
 
6 50+สารตฺถทีปนี+นาม+วินยฎีกา+สมนฺตปาสาทิกา+วณฺณนา+(จตุตฺโถ+ภาโค)
6 50+สารตฺถทีปนี+นาม+วินยฎีกา+สมนฺตปาสาทิกา+วณฺณนา+(จตุตฺโถ+ภาโค)6 50+สารตฺถทีปนี+นาม+วินยฎีกา+สมนฺตปาสาทิกา+วณฺณนา+(จตุตฺโถ+ภาโค)
6 50+สารตฺถทีปนี+นาม+วินยฎีกา+สมนฺตปาสาทิกา+วณฺณนา+(จตุตฺโถ+ภาโค)Tongsamut vorasan
 
ตอบปัญหาธรรมะรอบชิงชนะเลิศ
ตอบปัญหาธรรมะรอบชิงชนะเลิศตอบปัญหาธรรมะรอบชิงชนะเลิศ
ตอบปัญหาธรรมะรอบชิงชนะเลิศTongsamut vorasan
 
2 20+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๒
2 20+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๒2 20+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๒
2 20+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๒Tongsamut vorasan
 
9 77+อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา+ปญฺจิกา+นาม+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
9 77+อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา+ปญฺจิกา+นาม+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)9 77+อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา+ปญฺจิกา+นาม+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
9 77+อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา+ปญฺจิกา+นาม+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)Tongsamut vorasan
 
7 59+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๑
7 59+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๑7 59+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๑
7 59+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๑Tongsamut vorasan
 

Viewers also liked (18)

5 44++มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๓
5 44++มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๓5 44++มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๓
5 44++มังคลัตถทีปนีแปล+เล่ม+๓
 
8 71+วิสุทธิมรรคแปล+ภาค+๓+ตอน+๑
8 71+วิสุทธิมรรคแปล+ภาค+๓+ตอน+๑8 71+วิสุทธิมรรคแปล+ภาค+๓+ตอน+๑
8 71+วิสุทธิมรรคแปล+ภาค+๓+ตอน+๑
 
6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
6 48สมฺนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถาย+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
 
3 39อันตรคาถาธรรมบทแปล
3 39อันตรคาถาธรรมบทแปล3 39อันตรคาถาธรรมบทแปล
3 39อันตรคาถาธรรมบทแปล
 
7 55+สมนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถา+(ปฐโม+ภาโค)
7 55+สมนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถา+(ปฐโม+ภาโค)7 55+สมนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถา+(ปฐโม+ภาโค)
7 55+สมนฺตปาสาทิกา+นาม+วินยฏฐกถา+(ปฐโม+ภาโค)
 
ธรรมบทย่อ 01
ธรรมบทย่อ 01ธรรมบทย่อ 01
ธรรมบทย่อ 01
 
8 65+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ทุติโย+ภาโค)
8 65+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ทุติโย+ภาโค)8 65+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ทุติโย+ภาโค)
8 65+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ทุติโย+ภาโค)
 
2 23คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๑
2 23คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๑2 23คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๑
2 23คัณฐีพระธัมมปทัฏฐกถา+ยกศัพท์แปล+ภาค๑
 
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
 
3 27+ธมฺมปทฏฐกถา+(ปญจโม+ภาโค)
3 27+ธมฺมปทฏฐกถา+(ปญจโม+ภาโค)3 27+ธมฺมปทฏฐกถา+(ปญจโม+ภาโค)
3 27+ธมฺมปทฏฐกถา+(ปญจโม+ภาโค)
 
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗
3 33+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๗
 
1 03+บาลีไวยกรณ์+วจีวิภาค+สมาสและตัทธิต
1 03+บาลีไวยกรณ์+วจีวิภาค+สมาสและตัทธิต1 03+บาลีไวยกรณ์+วจีวิภาค+สมาสและตัทธิต
1 03+บาลีไวยกรณ์+วจีวิภาค+สมาสและตัทธิต
 
6 50+สารตฺถทีปนี+นาม+วินยฎีกา+สมนฺตปาสาทิกา+วณฺณนา+(จตุตฺโถ+ภาโค)
6 50+สารตฺถทีปนี+นาม+วินยฎีกา+สมนฺตปาสาทิกา+วณฺณนา+(จตุตฺโถ+ภาโค)6 50+สารตฺถทีปนี+นาม+วินยฎีกา+สมนฺตปาสาทิกา+วณฺณนา+(จตุตฺโถ+ภาโค)
6 50+สารตฺถทีปนี+นาม+วินยฎีกา+สมนฺตปาสาทิกา+วณฺณนา+(จตุตฺโถ+ภาโค)
 
ตอบปัญหาธรรมะรอบชิงชนะเลิศ
ตอบปัญหาธรรมะรอบชิงชนะเลิศตอบปัญหาธรรมะรอบชิงชนะเลิศ
ตอบปัญหาธรรมะรอบชิงชนะเลิศ
 
2 20+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๒
2 20+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๒2 20+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๒
2 20+พระธัมมปทัฏฐกถาแปล+ภาค+๒
 
9 77+อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา+ปญฺจิกา+นาม+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
9 77+อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา+ปญฺจิกา+นาม+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)9 77+อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา+ปญฺจิกา+นาม+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
9 77+อภิธมฺมตฺถวิภาวินิยา+ปญฺจิกา+นาม+อตฺถโยชนา+(ทุติโย+ภาโค)
 
7 59+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๑
7 59+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๑7 59+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๑
7 59+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๑
 
-------------- --- 4
 -------------- --- 4 -------------- --- 4
-------------- --- 4
 

Similar to 1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์

1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์Tongsamut vorasan
 
บาลี 11 80
บาลี 11 80บาลี 11 80
บาลี 11 80Rose Banioki
 
1 08+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามและอัพพยศัพท์
1 08+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามและอัพพยศัพท์1 08+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามและอัพพยศัพท์
1 08+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามและอัพพยศัพท์Tongsamut vorasan
 
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิตTongsamut vorasan
 
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยป6
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยป6บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยป6
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยป6thaneerat
 
(การทำข้อสอบ Reading passage)
(การทำข้อสอบ Reading passage)(การทำข้อสอบ Reading passage)
(การทำข้อสอบ Reading passage)pingpingmum
 
หลักภาษา
หลักภาษาหลักภาษา
หลักภาษาsukuman139
 
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยthaneerat
 
Parts of speech
Parts of speechParts of speech
Parts of speechkrupeatie
 
1 12+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+1
1 12+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+11 12+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+1
1 12+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+1Tongsamut vorasan
 
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์คุณานนต์ ทองกรด
 
แกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้าแกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้าbiew687
 
แกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้าแกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้าPoopaNg Suparida
 
แกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้าแกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้าTriwat Talbumrung
 
เอกสารประกอบวิชาอังกฤษ
เอกสารประกอบวิชาอังกฤษเอกสารประกอบวิชาอังกฤษ
เอกสารประกอบวิชาอังกฤษnaaikawaii
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยKittitus Sa-admoang
 
การสอบเปรียญชั้นสูง
การสอบเปรียญชั้นสูงการสอบเปรียญชั้นสูง
การสอบเปรียญชั้นสูงSatheinna Khetmanedaja
 
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+21 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2Tongsamut vorasan
 

Similar to 1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์ (20)

1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์
 
บาลี 11 80
บาลี 11 80บาลี 11 80
บาลี 11 80
 
1 08+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามและอัพพยศัพท์
1 08+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามและอัพพยศัพท์1 08+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามและอัพพยศัพท์
1 08+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามและอัพพยศัพท์
 
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต
1 09+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมาสและตัทธิต
 
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยป6
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยป6บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยป6
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยป6
 
(การทำข้อสอบ Reading passage)
(การทำข้อสอบ Reading passage)(การทำข้อสอบ Reading passage)
(การทำข้อสอบ Reading passage)
 
หลักภาษา
หลักภาษาหลักภาษา
หลักภาษา
 
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย
บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย
 
Parts of speech
Parts of speechParts of speech
Parts of speech
 
Unit 1
Unit 1Unit 1
Unit 1
 
1 12+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+1
1 12+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+11 12+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+1
1 12+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+1
 
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์
การร้อยเรียงประโยค ครูคุณานนต์
 
แกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้าแกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้า
 
แกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้าแกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้า
 
แกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้าแกรมม่า 33 หน้า
แกรมม่า 33 หน้า
 
เอกสารประกอบวิชาอังกฤษ
เอกสารประกอบวิชาอังกฤษเอกสารประกอบวิชาอังกฤษ
เอกสารประกอบวิชาอังกฤษ
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทย
 
Articles.
Articles.Articles.
Articles.
 
การสอบเปรียญชั้นสูง
การสอบเปรียญชั้นสูงการสอบเปรียญชั้นสูง
การสอบเปรียญชั้นสูง
 
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+21 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
1 13+อธิบายวากยสัมพันธ์+เล่ม+2
 

More from Tongsamut vorasan

หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒Tongsamut vorasan
 
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษ
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษFood reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษ
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษTongsamut vorasan
 
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการะเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาTongsamut vorasan
 
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์Tongsamut vorasan
 
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์Tongsamut vorasan
 
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติ
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติเจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติ
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติTongsamut vorasan
 
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโตเจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโตTongsamut vorasan
 
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรมเพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรมTongsamut vorasan
 
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔Tongsamut vorasan
 
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)Tongsamut vorasan
 
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการะเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาTongsamut vorasan
 
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯTongsamut vorasan
 
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018Tongsamut vorasan
 
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖Tongsamut vorasan
 
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกา
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกากำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกา
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกาTongsamut vorasan
 
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจTongsamut vorasan
 
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้น
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้นหลักสูตรผู้บวชระยะสั้น
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้นTongsamut vorasan
 
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาท
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาทหนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาท
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาทTongsamut vorasan
 
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2Tongsamut vorasan
 
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษ
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษ
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษTongsamut vorasan
 

More from Tongsamut vorasan (20)

หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
 
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษ
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษFood reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษ
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษ
 
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการะเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
 
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์
 
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์
 
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติ
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติเจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติ
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติ
 
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโตเจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
 
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรมเพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม
 
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔
 
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)
 
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการะเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
 
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ
 
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018
 
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖
 
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกา
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกากำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกา
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกา
 
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ
 
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้น
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้นหลักสูตรผู้บวชระยะสั้น
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้น
 
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาท
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาทหนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาท
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาท
 
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2
 
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษ
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษ
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษ
 

1 11+อธิบายบาลีไวยากรณ์+นามกิตก์+และกิริยากิตก์

  • 1. คำนำ หนังสือบาลีไวยากรณ์ เป็นหลักสำคัญในการศึกษามคธภาษา ท่านจัดเป็นหลักสูตร ของเปรียญธรรมตรีอย่างหนึ่ง นักศึกษาบาลี ชั้นต้น ต้องเรียนบาลีไวยากรณ์ให้ได้หลักก่อน จึงจะเรียนแปลคัมภีร์ อื่นๆ ต่อไปได้ ผู้รู้หลักบาลีไวยากรณ์ดี ย่อมเบาใจในการแปล คัมภีร์ต่าง ๆ เข้าใจความได้เร็วและเรียนได้ดีกว่าผู้อ่อนไวยากรณ์ แต่การเรียนนั้น ถ้าขาดหนังสืออุปกรณ์แล้ว แม้ท่องแบบได้แม่นยำ ก็เข้าใจยาก ทำให้เรียนช้า ทั้งเป็นการหนักใจของครูสอนไม่น้อย. กองตำรามหากุฏราชวิทยาลัย ได้คำนึงถึงเหตุนี้ จึงได้คิดสร้าง เครื่องอุปกรณ์บาลีทุก ๆ อย่างให้ครบบริบูรณ์ เพื่อเป็นเครื่องช่วย นักศึกษาให้ได้รับความสะดวกในการศึกษา และช่วยครูผู้สอนให้เบา ใจ ได้จัดพิมพ์เสร็จไปแล้วหลายเรื่อง อุปกรณ์บาลีไวยากรณ์ ก็เป็น เรื่องหนึ่งที่จะต้องจัดพิมพ์ขึ้นในเสร็จครบบริบูรณ์โดยเร็ว ได้ขอให้ พระเปรียญที่ทรงความรู้หลายท่านช่วยรวบรวมและเรียบเรียง เฉพาะ ในเล่มนี้ อธิบายนามกิตก์ พระมหานาค อุปนาโค ป. ๙ วัดบรม- นิวาส เป็นผู้เรียบเรียง อธิบายกิริยากิตก์ พระมหาลัภ ปิยทสฺสี ป/ ๘ วัดบรมนิวาส เป็นผู้เรียบเรียง และมอบลิขสิทธิ์ที่เรียบเรียงใน หนังสือเล่มนี้ ให้เป็นสมบัติของมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรม- ราชูถัมภ์ต่อไป. กองตำรา ๆ ขอแสดงความขอบใจท่านผู้รวบรวมและเรียบเรียง หนังสือเล่มนี้จนเป็นผลสำเร็จไว้ในที่นี้ด้วย. กองตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕ เมษายน ๒๔๘๑
  • 2. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 1 อธิบายนามกิตก์ พระมหานาค อุปนาโค ป. ๙ วัดบรมนิวาส เรียงเรียง คำ กิตก์ นี้ เป็นชื่อของศัพท์ที่ท่านประกอบปัจจัยหมู่หนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องกำหนดหมายเนื้อความ ของนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ที่ ต่าง ๆ กัน. คำว่าศัพท์ในที่นี้ หมายความถึงกิริยาศัพท์ที่เป็นมูลราก คือธาตุ เช่นเดียวกับธาตุในอาขยาต กิริยาศัพท์ที่เป็นมูลรากคือธาตุ เหล่านั้นแหละ ท่านนำมาประกอบกับปัจจัย ซึ่งจัดไว้เป็นหมู่ ๆ เมื่อ ปัจจัยเหล่านั้นเข้าประกอบแล้ว ย่อมเป็นเครื่องกำหนดหมายให้ทราบ เนื้อความได้ว่า ศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัยเหล่านี้เป็นนามศัพท์และ เป็นกิริยาศัพท์ อันเป็นต่าง ๆ กันด้วยอำนาจปัจจัยนั้น ๆ ศัพท์ต่าง ๆ ที่เป็นธาตุ ซึ่งปัจจัยในกิตก์ปรุงแต่งแล้ว ย่อมสำเร็จรูปเป็น ๒ คือ ศัพท์ที่ปัจจัยอาขยาตปรุงแล้ว ย่อมใช้เป็นกิริยาศัพท์อย่างเดียว และ ใช้ได้เฉพาะเป็นกิริยาหมายพากย์เท่านั้น ส่วนศัพท์ที่ปัจจัยกิตก์ปรุง แล้ว ย่อมใช้เป็นนามศัพท์ คือเป็นนามนามก็ได้ คุณนามก็ได้ และ ใช้เป็นกิริยาศัพท์ คือเป็นกิริยาหมายพากย์ก็ได้ เป็นกิริยาในระหว่าง พากย์ก็ได้.
  • 3. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 2 คำว่ากิตก์นี้มีมูลเดิมมาจาก กิร ธาตุ ในความเรี่ยราย, กระจาย กัตตุรูป กัตตุสาธนะ วิเคราะห์ว่า กิตปจฺจเยน กิรตีติ กิตโก (ศัพท์ใด) ย่อมเรี่ยราย ด้วยปัจจัยกิตก์ เหตุนั้น (ศัพท์นั้น) ชื่อว่ากิตก์. ศัพท์ที่ปัจจัยปรุงแต่งเป็นนามศัพท์ ศัพท์ต่าง ๆ ที่ปัจจัยในกิตก์ปรุงให้สำเร็จรูปเป็นนามศัพท์แล้ว นามศัพท์นั้น ๆ ย่อมมีความหมาย แตกต่างกันออกไปตามปัจจัยที่ ประกอบนั้น ๆ ไม่ต้องกล่าวถึงศัพท์ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน ย่อมมีความหมายผิดแผกแตกต่างกันออกไป แม้ศัพท์เดียวกัน และ ประกอบปัจจัยตัวเดียวกันนั่นเอง ยังมีความหมายแตกต่างออกไป ได้หลายอย่าง แล้วแต่ความมุ่งหมายของปัจจัยที่ประกอบเข้ากับศัพท์ จะใช้ความหมายว่ากระไรได้บ้าง ในส่วนรูปที่เป็นนามศัพท์ ดังที่ท่าน ยกศัพท์ว่า ทาน ขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์ในแบบนั้น ศัพท์นี้มูลเดิมมาจาก ทา ธาตุ ในความให้ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลง ยุ เป็น อน ได้รูปเป็น ทาน ถ้าจะให้เป็นรูปศัพท์เดิม ต้องลง สิ ปฐมาวิภัตติ นปุํสกลิงค์ ได้รูป ทานํ ศัพท์นี้แหละอาจแปลได้ถึง ๔ นัย คือ :- ๑. ถ้าเป็นชื่อของสิ่งของที่จะพึงสละเป็นต้นว่า ข้าว น้ำ เงิน ทอง ก็ต้องแปลเป็นรูปกัมมสาธนะว่า " วัตถุอันเขาพึงให้" แยกรูปออก ตั้งวิเคราะห์ว่า ทาตพฺพนฺติ ทานํ. [ ยํ วตฺถุ สิ่งใด เตน อันเขา ] พึงให้ เหตุนั้น [ ตํ วตฺถุ สิ่งนั้น ] ชื่อว่า ทานํ [ อันเขาพึงให้ ]. เช่นสนคำว่า ทานวตฺถุ สิ่งของอันเขาพึงให้. ๒. ถ้าเป็นชื่อของการให้ คือเพ่งถึงกิริยาอาการของผู้ให้ แสดง
  • 4. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 3 ให้เห็นว่า ผู้ให้ ๆ ด้วยอาการอย่างไร เป็นต้นว่าอาการชื่นชมยินดี อาการหยิบยกให้ เช่นนี้ต้องแปลเป็นภาวสาธนะว่า " ความให้ การ ให้" แยกรูปออกตั้งวิเคราะห์ว่า ทิยฺยเตติ ทานํ. (เตน อันเขา) ย่อให้ เหตุนั้น ชื่อว่า ทานํ. (การให้) รูปนี้ไม่ต้องมีตัวประธาน เพราะเป็นรูปภาววาจก. เช่นในคำว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ. การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง. ๓. ถ้าเป็นชื่อของเจตนา คือเพ่งถึงความคิดก่อน หรือความจง ใจให้ทาน หมายความว่าเขาให้ด้วยเจตนาใด เจตนานั้นได้ชื่อว่า เป็น เหตุให้เขาสละสิ่งของ คือยกเจตนาขึ้นพูดเป็นตัวตั้ง เช่นนี้ต้องแปล เป็นรูปกรณสาธนะว่า "เจตนาเป็นเหตุให้แห่งชน" แยกรูปออก ตั้งวิเคราะห์ว่า เทติ เตนาติ ทานํ. (ชโน ชน) ย่อมให้ ด้วย เจตนากรรมนั้น เหตุนั้น (ตํ เจตนากมฺมํ เจตนากรรมนั้น ) ชื่อว่า ทานํ (เจตนากรรมเป็นเหตุให้แห่งชน). เช่นในคำว่า ทานเจตนา เจตนาเป็นเครื่องให้. ๔. เป็นชื่อของสถานที่ คือเพ่งถึงที่ ๆ เขาให้ มีโรง เรือน ศาลา หรือ บ้าน เป็นต้น หมายความว่า เขาให้ในสถานที่ใด สถานที่ นั้นได้ชื่อว่า เป็นที่ให้ของเขา คือยกสถานที่ขึ้นพูดเป็นตัวตั้ง เช่นนี้ ต้องแปลเป็นรูปอธิกรณสาธนะว่า "ที่เป็นที่ให้แห่งชน" แยกรูป ออกตั้งวิเคราะห์ว่า เทติ เอตฺถาติ ทานํ. (ชโน ชน) ย่อมให้ใน ที่นั่น เหตุนั้น (เอตํ ฐานํ ที่นั่น) ชื่อว่า ทานํ(ที่เป็นที่ให้แห่งชน). เช่นในคำว่า ทานสาลา โรงเป็นที่ให้ (โรงทาน)
  • 5. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 4 ดังตัวอย่างนี้ เราจะเห็นได้แล้วว่า คำว่า ทานํ คำเดียว อาจ แปลความหมายได้หลายนัย ดังแสดงมาฉะนี้. ศัพท์ที่ปัจจัยปรุงแต่งเป็นกิริยากิตก์ ศัพท์ต่าง ๆ ที่ปัจจัยในกิตก์ปรุงให้สำเร็จรูปเป็นกิริยาศัพท์แล้ว กิริยาศัพท์นั้น ๆ ก็ย่อมมีความหมายแตกต่างกันออกไปตามปัจจัยนั้นๆ เช่นเดียวกับศัพท์ที่ปัจจัยปรุงให้สำเร็จรูปเป็นนามศัพท์ ในส่วนกิริยา ศัพท์นี้ ดังที่ทานยกคำว่า "ทำ" ขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์ ย่อมอาจหมาย ความไปได้ต่าง ๆ ด้วยอำนาจปัจจัย ดังจะแสดงให้เห็นต่อไป คำว่า " ทำ " ออกมาจากศัพท์ธาตุ "กรฺ" ถ้าใช้เป็นศัพท์บอกผู้ทำ ก็ เป็นกัตตุวาจก, บอกสิ่งที่เขาทำ ก็เป็นกัมมวาจก, บอกอาการที่ทำ ก็ เป็นภาววาจก (ไม่กล่าวถึงกัตตา และ กัมม). บอกผู้ใช้ให้ทำ ก็เป็น เหตุกัตตุวาจก, บอกสิ่งที่เขาใช้ให้ทำ ก็เป็นเหตุกัมมวาจก. ๑. บอกผู้ทำที่เป็นกัตตุวาจกนั้น คือเมื่อนำปัจจัยปรุงธาตุแผนก กัตตุวาจกมาประกอบเข้า เช่น อนฺต หรือ มาน ปัจจัยเป็นต้น ก็ได้รูป เป็นกัตตุวาจก เช่น กรฺ ธาตุ ลง อนฺต ปัจจัย ได้รูปเป็น กโรนฺโต, กโรนฺตา, กโรนฺตํ. แปลว่า "ทำอยู่ เมื่อทำ " ตามรูปลิงค์ของตัว ประธาน เมื่อต้องการจะแต่งให้เป็นประโยคตามในแบบ ก็ต้องหาตัว กัตตาผู้ทำ ในที่นี้บ่งถึงนายช่าง ก็ต้องใช้ศัพท์ว่า "วฑฺฒกี" ตัว กรรมบ่งถึงเรือน ก็ต้องให้คำว่า " ฆรํ" ตัวคุณนามที่เพิ่มเข้ามาแสดง ถึงอาการที่นายช่างทำ คือ งามจริง ก็ใช้คำว่า "อติวิยโสภํ" ซึ่ง แสดงความวิเศษของการกระทำว่า ทำได้งามจริง ท่านเรียกว่ากิริยา-
  • 6. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 5 วิเสสนะ เมื่อประกอบให้เป็นประโยคก็ต้องว่า วฑฺฒกี อติวิยโสภํ ฆรํ กโรนฺโต นายช่าง ทำอยู่ ซึ่งเรือน งามจริง นี้เป็นรูปกัตตุวาจก เพราะยกผู้ทำขึ้นเป็นประธาน คือบอกผู้ทำนั่นเอง. ๒. บอกสิ่งที่เขาทำ เป็นกัมมวาจก เมื่อจะให้เป็นรูปนี้ ก็นำ ปัจจัยที่ปรุงกิริยาศัพท์ให้เป็นกัมมวาจามาประกอบ เช่น ต อนีย ตพฺพ ปัจจัยเป็นต้น เช่น กรฺ ธาตุ นำ ต ปัจจัย มาประกอบก็ได้รูปเป็น กโต, กตา, กตํ. ตามรูปลิงค์ของนามศัพท์ที่เป็นประธานในประโยค ในที่นี้ยกคำว่า "เรือนนี้นายช่างทำงามจริง" ขึ้นเป็นอุทาหรณ์ ถ้า จะประกอบให้เป็นประโยคก็ต้องว่า อิทํ ฆรํ วฑฺฒกิยา อติวิยโสภํ กตํ. เรือนนี้ อันนายช่าง ทำแล้ว งามจริง นี้เป็นรูปกัมมวาจก เพราะ ยกคำว่า " ฆรํ" (เรือน) ขึ้นเป็นประธาน คือบอกสิ่งที่เขาทำนั่นเอง. ๓. บอกแต่อาการที่ทำ ไม่ยกกัตตา (ผู้ทำ) ซึ่งเป็นตัวประธาน และกรรม (ผู้ถูกทำ) ขึ้นพูด กล่าวขึ้นมาลอย ๆ เมื่อจะให้เป็นรูปนี้ ก็นำปัจจัยที่ปรุงกิริยาศัพท์ให้เป็นภาววาจก มี ตพฺพ ปัจจัยเป็นต้นมา ประกอบ เช่น ภู ธาตุ นำ ตพฺพ ปัจจัยมาประกอบ ก็ได้รูปเป็น ภวิตพฺพํ (พฤทธิ์ อู ที่ ภู เป็น โอ แล้วเอาเป็น อว ลง อิ อาคม ภาววาจกนี้ใช้เป็นรูปนปสํุกลิงค์เสมอไป ) ประกอบให้เป็นประโยคเช่น การเณเนตฺถ (การเณน+เอตฺถ) ภวิตพฺพํ. อันเหตุ ในสิ่งนั้น พึงมี. ในที่นี้ การที่มิได้ยก กรฺ ธาตุเป็นตัวอย่าง ก็เพราะ กรฺ ธาตุ เป็นธาตุมีกรรมจะใช้ในภาววาจกไม่เหมาะ จึงได้ยกเอา ภู ธาตุซึ่งเป็น ธาตุไม่มีกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์แทน.
  • 7. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 6 ๔. บอกผู้ใช้ให้เขาทำ เป็นเหตุกัตตุวาจก เมื่อจะให้เป็นรูปนี้ ก็ต้องนำปัจจัยที่ใช้ในเหตุกัตตุวาจกมาประกอบ เช่น อนฺต ปัจจัย เป็นต้น เมื่อนำมาประกอบกับ กรฺ ธาตุก็จะได้รูปเป็น การาเปนฺโต, การาเปนฺตา, การาเปนฺตํ.(ยืม ณาเป ปัจจัยในอาขยาตมาใช้ด้วย) ตามลิงค์ของตัวประธาน ประกอบเป็นประโยคว่า วฑฺฒกี ปุริเส อิมํ ฆรํ การาเปนฺโต. นายช่าง ยังบุรุษทั้งหลาย ให้ทำอยู่ ซึ่งเรือนนี้. ๕. บอกสิ่งที่เขาใช้ให้คนอื่นทำ เป็นเหตุกัมมวาจก เมื่อจะให้ เป็นรูปนี้ ก็ต้องนำปัจจัยที่ใช้ในเหตุกัมมวาจกมาประกอบ เช่น มาน ปัจจัยเป็นต้น ปัจจัยนี้เมื่อนำมาประกอบกับ กรฺ ธาตุ ก็จะได้รูปเป็น การาปิยมาโน, การาปิยมานา, การาปิยมานํ. (ยืม ณาเป และ ย ปัจจัย อิ อาคมในอาขยาตมาใช้ด้วย) ตามลิงค์ของตัวประธาน ประกอบ ให้เป็นประโยคว่า อิทํ ฆรํ วฑฺฒกินา ปุริเสหิ การาปิยามานํ. เรือนนี้ อันนายช่าง ยังบุรุษทั้งหลาย ให้ทำอยู่. ดังตัวอย่างที่แสดงมานี้ เราจะเห็นได้แล้ว กรฺ ธาตุตัวเดียว เมื่อนำปัจจัยในฝ่ายกิริยากิตก์มาประกอบแล้ว อาจหมายเนื้อความได้เป็น อเนก ตามปัจจัยที่นำมาประกอบนั้น ๆ แม้ปัจจัยตัวเดียวกันนั่นเอง ก็ยังอาจแปลงเนื้อความได้มากเช่นเดียวกัน แล้วแต่ปัจจัยนั้น ๆ จะ ใช้หมายวาจกอะไรได้บ้าง. กิตก์ ๒ อย่าง กิตก์เมื่อสำเร็จรูปแล้ว เป็นนามศัพท์อย่าง ๑ เป็นกิริยาศัพท์
  • 8. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 7 อย่าง ๑ คำว่า นามศัพท์นั้นหมายความกว้าง อาจหมายถึงนามศัพท์ ที่เป็นนามนามทั้งหมดซึ่งเป็นนามโดยกำเนิดก็ได้, นามศัพท์ที่ปรุงขึ้น จากธาตุและใช้เป็นบทนามก็ได้, คุณนามโดยกำเนิด และคุณนามที่ ปรุงขึ้นจากธาตุก็ได้, และสัพพนามด้วยก็ได้. คำว่า กิริยาศัพท์ ก็เช่น เดียวกัน อาจหมายถึงศัพท์ที่กล่าวกิริยาทั้งสิ้นเช่นกิริยาอาขยาตก็ได้, หมายถึงกิริยาที่ใช้ในกิตก์ก็ได้, ฉะนั้นเพื่อจำกัดความให้สั้นและแคบ เข้า เพื่อให้หมายความเฉพาะในเรื่องกิตก์ คำว่า นามศัพท์ในที่นี้ ท่าน หมายเฉพาะนามศัพท์ที่สำเร็จรูปมาจากธาตุอย่างเดียว ไม่ใช่นาม- ศัพท์โดยกำเนิด และนามศัพท์ในกิตก์นี้เป็นได้เฉพาะนามนามอย่าง ๑ คุณนามอย่าง ๑ เท่านั้น รวมเรียกชื่อว่า "นามกิตก์" หมายถึงกิตก์ ที่ใช้เป็นนาม และคำว่า กิริยาศัพท์ ก็หมายเฉพาะกิริยาที่ใช้ประกอบ ปัจจัยในกิตก์อย่างเดียวเท่านั้น ไม่หมายถึงกิริยาอาขยาตด้วย รวม เรียกชื่อว่า "กิริยากิตก์" หมายความว่า กิตก์ที่ใช้เป็นกิริยา. ธาตุกิตก์ ในกิตก์ทั้ง ๒ นี้ คือ ทั้งนามกิตก์และกิริยากิตก์ ล้วนมีธาตุเป็นที่ ตั้ง คือสำเร็จมาจากธาตุทั้งสิ้น แต่ธาตุใช้อย่างเดียวกับอาขยาต หาแปลกกันไม่ จะต่างรูปกันก็ในเมื่อใช้เครื่องปรุงต่างฝ่ายเข้าประกอบ เท่านั้น คือถ้าใช้เครื่องปรุงฝ่ายอาขยาต ธาตุนั้นเมื่อสำเร็จรูปก็กลาย เป็นอาขยาตไป แต่ถ้าใช้เครื่องปรุงฝ่ายกิตก์ ธาตุนั้นก็มีรูปสำเร็จ เป็นกิตก์ไปเท่านั้น เพราะฉะนั้น ธาตุเป็นตัวกลาง อาจปรุงเป็น
  • 9. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 8 อาขยาตก็ได้ กิตก์ก็ได้ เช่น ภุญฺช, กรฺ ธาตุ ถ้าเป็นอาขยาตก็เป็น ภุญฺชติ, กโรติ. เป็นนามกิตก์ก็เป็น โภชนํ, โภชโก, กรณํ, การโก, เป็นกิริยากิตก์เป็น ภุญฺชนฺโต, ภุญฺชิตฺวา, ภุตฺโต, กโรนฺโต, กตฺวา, กโต. เป็นต้น. อนึ่ง บางคราวก็ใช้นามศัพท์มาปรุงเป็นกิริยากิตก์ก็ได้เช่นเดียว กับอาขยาต เช่น :- อาขยาต กิริยากิตก์ ศัพท์นามนามว่า ปพฺพ (ภูเขา) ปพฺพตายติ ปพฺพตายนฺโต ศัพท์คุณนามว่า จิร (นาม, ชักช้า) จิรายติ จิรายนฺโต ฉะนั้น จึงรวมความว่า อาขยาต ใช้ธาตุและนามศัพท์เป็นตัวตั้ง สำหรับปรุงได้ฉันใด กิตก์ก็ใช้ได้ฉันนั้น แต่ต้องยืมปัจจัยในอาขยาต มาลงด้วยในที่บางแห่ง เช่น อาย, อิย ปัจจัยในอุทาหรณ์นี้เป็นต้น. นามกิตก์ คำว่า นามกิตก์ ในที่นี้ ท่านหมายถึงกิตก์ที่ใช้เป็นนาม และ คำว่า นาม ก็หมายเฉพาะถึงศัพท์ธาตุที่นำมาประกอบปัจจัยในกิตก์นี้ เมื่อสำเร็จรูปแล้วใช้ได้ ๒ อย่าง คือ ใช้เป็นนามนาม ๑ คุณนาม ๑ มิได้หมายถึงศัพท์ที่เป็นนามนามและคุณนามโดยกำเนิด เช่น รุกฺข (ต้นไม้) จมู (เสนา) ทกฺข (ขยัน) นีล (เขียว) เป็นต้น. กิตก์ที่ สำเร็จรูปเป็นนามนาม หมายถึงธาตุคือกิริยาศัพท์ที่เป็นมูลรากซึ่งนำ มาประกอบปัจจัยในนามกิตก์แล้ว ใช้ได้ตามลำพังตัวเอง ไม่ต้องหา
  • 10. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 9 บทอื่นมาเป็นประธาน กล่าวอย่างง่ายอื่น ใช้กิริยาเป็นนามนั่นเอง เช่น กรณํ (ความทำ) ฐานํ (ความยืน) นิสชฺชา (ความนั่ง) เป็นต้น. ส่วนกิตก์ที่สำเร็จรูปเป็นคุณนาม จะใช้ตามลำพังตัวเองไม่ได้ อย่างเดียวกับคุณนามโดยกำเนิดเหมือนกัน ต้องอาศัยมีตัวนามอื่น เป็นตัวประธาน เช่น การโก (ผู้ทำ) ปาปการี (ผู้ทำซึ่งบาปโดยปกติ) อนุสาสโก (ผู้ตามสอน) เป็นต้น. ศัพท์เหล่านี้ ล้วนต้องมีนามนาม บทอื่นเป็นประธานสิ้น เช่น ชโน (ชน) ปุคฺคโล (บุคคล) เป็นต้น จะยกขึ้นแปลลอย ๆ หาได้ไม่. ในนามกิกต์นี้ท่านจัดเป็นสาธนะ และ สาธนะนั้น ล้วนหมายรู้ด้วยปัจจัย เพื่อให้มีเนื้อความแปลกกัน ดัง จะได้อธิบายต่อไป. สาธนะ คำว่า สาธนะ นี้ ท่านแปลว่า "ศัพท์ที่ท่านให้เสร็จมาแต่รูป วิเคราะห์" หมายความว่า รูปสำเร็จมาจากการตั้งวิเคราะห์ คำ ว่า วิเคราะห์ ก็หมายความว่า การแยกหรือกระจายศัพท์ออกให้เห็น ส่วนต่าง ๆ ของศัพท์ที่เป็นสาธนะ เช่นศัพท์ว่า คติ (ภูมิเป็นที่ไป) ย่อมสำเร็จมาจากรูปวิเคราะห์ว่า " คจฺฉาติ เอตฺถา-ติ" เพราะฉะนั้น คติ จึงเป็นตัวสาธนะ และคจฺฉนฺติ เอตฺถา-ติ เป็นรูปวิเคราะห์ เมื่อจะ เรียงให้เต็มทั้งรูปวิเคราะห์และสาธนะก็ต้องว่า คจฺฉนฺติ เอตฺถา-ติ คติ ในรูปวิเคราะห์นั่นเอง ย่อมเป็นเครื่องส่องให้ทราบสาธนะไปในตัว เช่น ในที่นี้ คำว่า เอตฺถ (ในภูมินั่น) เป็นสัตตมีวิภัตติ บ่งถึงสถานที่ ก็
  • 11. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 10 ส่องให้ทราบว่ารูปที่สำเร็จไปจากคำนี้ ต้องเป็นอธิกรณสาธนะ เพราะ สาธนะนี้ ท่านบัญญัติให้ใช้คำว่า "เอตฺถ" ในเวลาตั้งรูปวิเคราะห์ ส่วนกิริยาที่อยู่ข้างหน้านั้นแสดงถึงรูป ในที่นี้ คจฺฉนฺติ เป็นกัตตุวาจก จึงต้องเป็นกัตตุรูป ฉะนั้นจึงรวมความว่า คติ เป็นกัตตุรูป อธิกรณ- สาธน. สาธนะนั้นท่านแบ่งไว้ ๗ อย่าง คือ :- ๑. กัตตุสาธนะ ๒. กัมมสาธนะ ๓. ภาวสาธนะ ๔. กรณสาธนะ ๕. สัมปทานสาธนะ ๖. อปาทานสาธนะ ๗. อธิกรณสาธนะ และในสาธนะเหล่านี้ ท่านยังจัดรูปวิเคราะห์ไว้ประจำอีก ๓ คือ :- กัตตุรูป ๑ กัมมรูป ๑ ภาวรูป ๑. กัตตุสาธนะ สาธนะนี้ เป็นชื่อของผู้ทำ คือผู้ประกอบกิริยานั้น ได้แก่ผู้ใดเป็น ผู้ทำ ก็เป็นชื่อของผู้นั้น กล่าวอย่างง่ายก็คือเป็นชื่อของคนหรือสัตว์ เช่น อุ. ว่า กุมฺภกาโร (ผู้ทำซึ่งหม้อ). ทายโก (ผู้ให้), โอวาทโก (ผู้กล่าวสอน), สาวโก (ผู้ฟัง), เหล่านี้เป็นกัตตุสาธนะทั้งนั้น เพราะ ล้นเป็นชื่อของผู้ทำ คือต้องมี ชน หรือ บุคคล เป็นต้นเป็นเจ้าของผู้
  • 12. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 11 ทำกำกับอยู่ด้วย เวลาแปลจะขาดเสียมิได้ เช่น กุมฺภกาโร เวลาแยก ตั้งวิเคราะห์ก็จะต้องตั้งว่า กุมฺภํ กโรตี-ติ กุมฺภกาโร แปลว่า (โย ชโน ชนใด) ย่อมทำ ซึ่งหม้อ เหตุนั้น (โส ชโน ชนนั้น ) ชื่อว่า กุมฺภกาโร (ผู้ทำซึ่งหม้อ). สำหรับกัตตุสาธนะเวลาตั้งวิเคราะห์ กิริยา จะต้องเป็นกัตตุวาจกเสมอ, วิธีแปลกัตตุสาธนะ ท่านให้แปลได้ ๒ นัย คือ "ผู้-" ถ้าลงในอรรถคือตัสสีละ แปลว่า "ผู้...โดยปกติ" คำว่า "ตัสสีละ " ในที่นี้ หมายความว่า สิ่งที่บุคคลทำเป็นปกติ คือบุคคลทำสิ่งใดเป็นปกติ สาธนะนี้กล่าวถึงการทำที่เป็นปกติของ บุคคลนั้นด้วย เช่น อุ. ว่า ธมฺมจารี (ผู้ประพฤติซึ่งธรรมโดยปกติ) เวลาตั้งวิเคราะห์จะต้องเติมคำว่า "สีเลน" เข้ามาด้วยว่า ธมฺมํ จรติ สีเลนา-ติ ธมฺมจารี แปลว่า (โย ชโน ชนใด) ย่อมประพฤติ ซึ่งธรรม โดยปกติ เหตุนั้น (โส ชโน ชนนั้น ) ชื่อว่า ธมฺมจารี (ผู้ประพฤติซึ่งธรรมโดยปกติ). อีกอย่างหนึ่ง ในสาธนะนี้ท่านเพิ่ม สมาสรูป ตัสสีลสาธนะ เข้ามาอีก ที่เรียกเช่นนั้น ก็เพราะสาธนะนี้กล่าวถึงความทำเป็นปกติ ของบุคคล เวลาตั้งวิเคราะห์มีรูปวิเคราะห์คล้ายสมาส เวลาแปลท่าน ให้แปลว่า "ผู้มี-" เช่น อุ. ธมฺมจารี นั้น ถ้าตั้งวิเคราะห์เป็น สมาสรูป ตัสสีลสาธนะ ก็ต้องตั้งว่า ธมฺมํ จริตุํ สีลมสฺสา-ติ [ สลีํ+อสฺส+อิติ] ธมฺมจารี. การประพฤติ ซึ่งธรรม เป็นปกติ ของชนนั้น เหตุนั้น (ชนนั้น) ชื่อว่า ธมฺมาจารี (ผู้มีการประพฤติซึ่งธรรมเป็นปกติ) กิริยา ในรูปนี้ ต้องประกอบด้วย ตุํ ปัจจัยเสมอ.
  • 13. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 12 กัมมสาธนะ สาธนะนี้ เป็นชื่อของสิ่งที่ถูกทำ คือสิ่งใดถูกเขาทำ ก็เป็นชื่อ ของสิ่งนั้น กล่าวอย่างง่ายก็คือเป็นชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีผู้ทำขึ้น ใน สาธนะนี้กล่าวถึงสิ่งที่สำเร็จขึ้นโดยอาการ ๒ อย่างคือ ตามธรรมชาติ อย่าง ๑ บุคคลทำขึ้นอย่าง ๑ ที่สำเร็จตามธรรมชาตินั้น คือมิได้มีใคร เป็นผู้ทำขึ้น เช่น อุ. ว่า ปิโย (เป็นที่รัก) ก็หมายถึงว่าใครคนใด คนหนึ่งถูกอีกคนหนึ่งรัก เช่น บุตรธิดาถูกมารดาบิดารัก หรือมารดา บิดาถูกบุตรธิดารัก ฉะนั้นบุตรธิดาจึงได้ชื่อว่าเป็นที่รักของมารดาบิดา หรือมารดาบิดาได้ชื่อว่าเป็นที่รักของบุตรธิดา. รโส (วิสัยที่เป็นที่มา ยินดี) ก็เช่นเดียวกัน, วิสัยในที่นี้หมายถึงอารมณ์. คำว่า ปิโย เป็น ปิย ธาตุ ลง อ ปัจจัย แยกรูปออกตั้งวิเคราะห์ว่า (ปิตา) ปิเยติ ตนฺ-ติ [ ตํ+อิติ] ปิโย (ปุตฺโต). (บิดา) ย่อมรัก ซึ่งบุตรนั้น เหตุนั้น (บุตรนั้น) ชื่อว่า ปิโย เป็นที่รักของ (บิดา). อีก อุ. หนึ่ง คือ รโส เป็น รสฺ ธาตุ ลง อ ปัจจัย ตั้ง วิ. ว่า (ชโน) รสติ ตนฺ-ติ รโส (วิสโย). (ชน) ย่อมยินดี ซึ่งวิสัยนั้น เหตุนั้น (วิสัยนั้น) ชื่อว่า รโส เป็นที่ยินดี (ของชน). ทั้ง ๒ อุ. นี้ เป็นกัตตุรูป กัมมสาธนะ คือตัวสาธนะเป็นกรรม ส่วนรูปตั้งวิเคราะห์ เป็นกัตตุวาจก ท่านบัญญัติให้แปลว่า "เป็นที่-" ส่วนกรรมที่สำเร็จขึ้นโดยถูกบุคคลทำนั้น เช่น อุ. ว่า กิจฺจํ (กรรมอันเขาพึงทำ), ทานํ (สิ่งของอันเขาพึงให้), คำว่า กิจฺจํ เป็น
  • 14. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 13 กรฺ ธาตุ ลง ริจฺจ ปัจจัย แยกรูปออกตั้ง วิ.ว่า กาตพฺพนฺ-ติ [ กาตพฺพํ+อิติ] กิจฺจํ ( ยํ กมฺมํ กรรมใด ) (เตน อันเขา) พึงทำ เหตุนั้น ( ตํ กมฺมํ กรรมนั้น) ชื่อว่า กิจฺจํ (อันเขาพึงทำ). อีก อุ. หนึ่งว่า ทานํ เป็น ทา ธาตุ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลง เป็น อน แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า ทาตพฺพนฺ-ติ ทานํ. (ยํ วตฺถุ สิ่งของ ใด) (เตน อันเขา) พึงให้ เหตุนั้น (ตํ วตฺถุ สิ่งของนั้น) ชื่อว่า ทานํ (อันเขาพึงให้) ทั้ง ๒ อุ. นี้ เป็นกัมมรูป กัมมสาธนะ ลงรอยกัน คือรูปวิเคราะห์ก็เป็นกัมมวาจก และสาธนะก็เป็นกัมมสาธนะ ท่าน บัญญัติให้แปลว่า "อันเขา-" ภาวสาธนะ สาธนะนี้ กล่าวถึงอาการคือความมีความเป็นเท่านั้น ไม่กล่าว ถึง กัตตา (ผู้ทำ) หรือ กัมม (ผู้ถูกทำ) กิริยาอาการเหล่านั้นก็ เกิดมาจากความทำของนามนามนั่นเอง กล่าวอย่างง่าย ก็คือ กล่าวถึง เฉพาะกิริยาอาการมีการ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น ที่ปรากฏมา จากนามนาม ไม่กล่าวผู้ทำ หรือผู้ถูกทำ เช่น อุ. ว่า คมนํ (ความ ไป), ฐานํ (ความยืน), นิสชฺชา (ความนั่ง). สยนํ (ความนอน) คำว่า คมนํ เป็น คมฺ ธาตุ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลงเป็น อน แยกรูป ออกตั้ง วิ. ว่า คจฺฉิยเต-ติ คมนํ (ตน อันเขา) ย่อมไป เหตุนั้น ชื่อว่า ความไป. ฐานํ เป็น ฐา ธาตุ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลงเป็น อน แยก
  • 15. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 14 รูปออกตั้ง วิ. ว่า ติฏฺฐยเต-ติ ฐานํ, (เตน อันเขา) ย่อมยืน เหตุนั้น ชื่อว่า ความยืน. นิสชฺชา เป็น นิ บทหน้า สิทฺ ธาตุ ในความจม ลง ณฺย ปัจจัย ลบ ณ แห่ง ณฺย เสียแล้วแปลงที่สุดธาตุคือ ทฺ กับ ย เป็น ชฺช เป็น รูปอิตถีลิงค์ แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า นิสีทยเต-ติ นิสชฺชา, (เตน อัน เขา) ย่อมนั่ง เหตุนั้น ชื่อว่า ความนั่ง. สยนํ เป็น สี ธาตุ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลง ยุ เป็น อน พฤทธิ์ อี ที่ สี เป็น เอ แล้วเอาเป็น อย แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า สยเต-ติ สยนํ (เตน อันเขา) ย่อมนอน เหตุนั้น ชื่อว่า ความนอน. สำหรับรูปวิเคราะห์ในภาวสาธนะนี้ ตั้งได้ ๓ วิธี คือ :- ใช้ประกอบเป็นกิริยาอาขยาต เป็นรูปภาววาจก ๑ ใช้ปรกอบเป็นนามกิตก์ เป็นรูปภาวสาธนะ ๑ ใช้ประกอบเป็นกิริยากิตก์ เป็นรูปภาววาจก ๑ สำหรับรูปวิเคราะห์ ที่เป็นกิริยาอาขยาต พึงดูตัวอย่างข้างต้น ส่วนรูปวิเคราะห์ที่ใช้ประกอบเป็นนามกิตก์ มักใช้คงรูปตามเดิม เช่น คมนํ ตั้ง วิ. ว่า คมนํ คมนํ. ความไป ชื่อว่า คมนํ (ความไป). ฐานํ ตั้ง วิ. ว่า ฐานํ ฐานํ. ความยืน ชื่อว่า ฐานํ (ความยืน). นิสชฺชา ตั้ง วิ. ว่า นิสชฺชา นิสชฺชา. ความนั่ง ชื่อว่า นิสชฺชา (ความนั่ง) หรือจะให้ประกอบ ยุ ปัจจัย ตั้ง วิ. ว่า นิสีทนํ นิสชฺชา ดังนี้ก็ได้ แล้วแต่จะเห็นควร.
  • 16. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 15 สยนํ ตั้ง วิ. ว่า สยนํ สยนํ. ความนอน ชื่อว่า สยนํ (ความนอน). รูปวิเคราะห์ที่ใช้เป็นกิริยากิตก์ ก็ใช้ประกอบปัจจัยที่เป็นภาว- วาจก เช่น คมนํ ประกอบ ตพฺพ ตั้ง วิ. ว่า คนฺคพฺพน-ติ คมนํ. (เตน อันเขา) พึงไป เหตุนั้น ชื่อว่า คมนํ (ความไป). ฐานํ ตั้ง วิ. ว่า ฐาตพฺพนฺ-ติ ฐานํ (เตน อันเขา) พึงยิน เหตุนั้น ชื่อว่า ฐานํ (ความยืน). สยนํ ตั้ง วิ. ว่า นิสีทิตพฺพนฺ-ติ นิสชฺชา-(เตน อันเขา) พึงนั่ง เหตุนั้น ชื่อว่า นิสชฺชา (ความนั่ง). สยนํ ตั้ง วิ. ว่า สยิตพฺพนฺ-ติ สยนํ (เตน อันเขา) พึงนอน เหตุนั้น ชื่อว่า สยนํ (ความนอน). รูปวิเคราะห์ที่ใช้กิริยากิตก์นั้น มักใช้ประกอบกับ ตพฺพ ปัจจัยเป็น พื้น รูปอื่นไม่มีใช้. ในสาธนะนี้รูปและสาธนะลงเป็นอันเดียวกัน คือ รูปวิเคราะห์กับสาธนะต่างก็เป็นภาววาจก ท่านบัญญัติให้แปลว่า "ความ"ก็ได้ "การ" ก็ได้ (เตน อันเขา) ที่เติมมาในรูปวิเคราะห์ ที่เป็นกิริยาอาขยาตและกิริยากิตก์ในเวลาแปลนั้น เพื่อให้ถูกต้องและ ครบตามรูปประโยค เพราะกิริยาภาววาจกจะขาด กัตตา ที่เป็นตติยา- วิภัตติ ซึ่งแปลว่า "อัน" หาได้ไม่. กรณสาธานะ สาธนะนี้ หมายถึงสิ่งที่เป็นเครื่องมือให้สำเร็จทำของบุคคล คำผู้ทำ ๆ ด้วยสิ่งใด ยกสิ่งนั้นขึ้นกล่าว เช่น ผูกด้วยเชือก ประหาร
  • 17. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 16 ด้วยดาบ หรือไชด้วยสว่านเป็นต้น คำว่า เชือก ดาบ และ สว่าน เป็นเครื่องมือให้บุคคลทำกิจมีการผูกเป็นต้นสำเร็จ เพราะเหตุนั้น จึง ชื่อว่ากรณะ เพราะเป็นเครื่องมือยังการทำของบุคคลให้สำเร็จ ดัง อุ. ว่า พนฺธนํ (วัตถุเป็นเครื่องผูก) , ปหรณํ (วัตถุเป็นเครื่องประหาร), วิชฺฌฺนํ (วัตถุเป็นเครื่องไช) เป็นต้น ล้วนเป็นกรณสาธนะ. พนฺธนํ เป็น พนฺธ ธาตุ ลง ยุ ปัจจัยแล้ว แปลงเป็น อน แยก รูปออกตั้ง วิ. ว่า พนฺธติ เตนา-ติ พนฺธนํ (ชโน ชน) ย่อมผูก ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น (ตํ วตฺถุ วัตถุนั้น) ชื่อว่า พนฺธนํ (เป็น เครื่องผูกแห่งชน). ปหรณํ เป็น ป บทหน้า หรฺ ธาตุ ในความนำไป ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลงเป็น อณ (เพราะเป็นธาตุมี ณ เป็นที่สุด จึงมิได้แปลเป็น อน) แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า ปหรติ เตนา-ติ ปหรณํ. (ชโน ชน) ย่อมประหาร ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น (ตํ วตฺถุ วัตถุนั้น) ชื่อว่า ปหรณํ (เป็นเครื่องประหารแห่งชน). วิชฺฌนํ เป็น วิธฺ ธาตุ ในความแทง ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลง เป็น อน แต่ธาตุตัวนี้ยังลง ย ปัจจัยในอาขยาตติดมาด้วย คือเมื่อลง ย ปัจจัยแล้วแปลง ย กับ ธฺ ที่สุดธาตุเป็น ชฺฌ แล้วลง ยุ ปัจจัยใน นามกิตก์ซ้ำอีก จึงได้รูปเป็นเช่นนั้น แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า วิชฺฌติ เตนา-ติ วิชฺฌนํ. (ชโน ชน) ย่อมไช ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น (ตํ วตฺถุ วัตถุนั้น) ชื่อว่า วิชฺฌนํ (เป็นเครื่องไชแห่งชน).
  • 18. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 17 รูปวิเคราะห์ที่แสดงมาเหล่านี้ กิริยาเป็นกัตตุวาจก จึงเรียกว่า กัตตุรูป กรณสาธนะ เมื่อสำเร็จเป็นสาธนะแล้วแปลว่า "เป็น เครื่อง-" หรือ "เป็นเหตุ-" แต่ในสาธนะนี้ยังเป็นได้รูปหนึ่ง คือ กัมมรูป กิริยาต้อง ประกอบให้เป็นกัมมวาจก ดังตัวอย่างต่อไปนี้ :- พนฺธนํ ตั้ง พนฺธ ธาตุ แล้วลง ย ปัจจัย อิ อาคม สำหรับ กัมมวาจกในอาขยาต ตั้ง วิ. ว่า พนฺธิยติ เตนา-ติ พนฺธนํ. (ชโน ชน) (เตน อันเขา) ย่อมผูก ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น (ตํ วตฺถุ วัตถุนั้น) ชื่อว่า พนฺธนํ (เป็นเครื่องอันเขาผูก). ปหรณํ ตั้ง ป บทหน้า หรฺ ธาตุ ลงเครื่องปรุงกัมมวาจก ตั้ง วิ. ว่า ปหริยติ เตนา-ติ ปหรณํ. [ ชโน ชน ] [ เตน อันเขา ] ย่อมประหาร ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น [ ตํ วตฺถุ วตถุนั้น ] ชื่อว่า ปหรณํ [ เป็นเครื่องอันเขาประหาร ]. วิชฺฌนํ ตั้ง วิธฺ ธาตุ ลง ย ปัจจัยในหมวด ทิวฺ ธาตุ ได้รูปเป็น วิชฺฌ แล้วลงเครื่องปรุงกัมมวาจก ตั้ง วิ. ว่า วิชฺฌิยติ เตนา-ติ วิชฺฌนํ [ชโน ชน ] [ เตน อันเขา ] ย่อมไข ด้วยวัตถุนั้น เหตุนั้น [ ตํ วตฺถุ วัตถุนั้น ] ชื่อว่า วิชฺฌนํ [ เป็นเครื่องอันเขาไช ]. รูปวิเคราะห์ดังที่แสดงมาเหล่านี้ กิริยาเป็นกัมมวาจก จึงเรียก ว่า กัมมรูป กรณสาธนะ เมื่อสำเร็จเป็นสาธนะแล้ว ท่านบัญญัติให้ แปลว่า "เป็นเครื่องอันเขา -" หรือ " เป็นเหตุอันเขา-" พึงสังเกตในสาธนะนี้ จำต้องมีคำว่า "เตน" ซึ่งเป็นตติยา-
  • 19. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 18 วิภัตติ แปลว่า "ด้วย" ติดอยู่ข้างท้ายของกิริยาเสมอ ทั้งใน กัตตุรูป และกัมมรูป เพื่อเป็นเครื่องแสดงรูปของสาธนะ จะขาดเสียหาได้ไม่. สัมปทานสาธนะ สาธนะนี้กล่าวถึงผู้รับ ผู้รับนี้จะเป็นบุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ ก็ได้ คือผู้ทำหยิบยกสิ่งของให้แก่ผู้ใด หรือแก่สิ่งใด ก็กล่าวถึงผู้นั้น หรือสิ่งนั้น เช่นคำว่า ให้ทานแก่ยาจก, ยาจก จัดว่าเป็นผู้รับ คือผู้ที่ เขาให้ สาธนะที่กล่าวถึงผูรับเช่นนี้แหละ เรียกว่า สัมปทานสาธนะ เช่น อุ. ว่า สมฺปทานํ [วัตถุเป็นที่มอบให้] ศัพท์นี้มูลเดิมมาจาก สํ+ป บทหน้า ทา ธาตุในความให้ ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลงเป็น อน และแปลงนิคคหิตที่ สํ เป็น ม ในที่นี้เป็นชื่อของผู้รับ จึงเป็น สัมปทานสาธนะ ส่วนรูปอาจเป็นได้ทั้งกัตตุรูป และ กัมมรูป. กัตตุรูป สัมปทานสาธนะ ตั้ง วิ. ว่า สมฺปเทติ เอตสฺสา-ติ สมฺปทานํ. [ ชโน ชน ] ย่อมมอบให้ แก่วัตถุนั่น เหตุนั้น [ เอตํ วตฺถุ วัตถุนั่น ] ชื่อว่า สมฺปทานํ. [ เป็นที่มอบให้แห่งชน ]. ที่เป็นกัมมรูป สัมปทานสาธนะ แปลกแต่เปลี่ยนกิริยาเป็น กัมมวาจก ตั้ง วิ. ว่า สมฺปทิยเต เอตสฺสา- ติ สมฺปทานํ [ สกฺกาโร สักการะ ] [ เตน อันเขา] ย่อมมอบให้ แก่วัตถุนั้น เหตุนั้น [ เอตํ วตฺถุ วัตถุนั่น ] ชื่อ สมฺปทานํ [ เป็นที่อันเขามอบให้ ]. อุทาหรณ์เหล่านี้สำเร็จรูปเป็นนปุํสกลิงค์ เพราะหมายถึงวัตถุเป็น ผู้รับมีเจดีย์เป็นต้น ถ้าผู้รับเป็นปุํลิงค์ ก็ต้องเปลี่ยนบททั้งปวงเป็นรูป
  • 20. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 19 ปุํลิงค์ เป็น สมฺปทาโน เช่น ภิกฺขุ (ภิกษุ) หรือ ยาจโก (ยาจก) เป็นต้น ส่วนรูปวิเคราะห์คงตามรูปเดิม สาธนะนี้ ถ้าเป็นกัตตรูป ท่านบัญญัติให้แปลว่า "เป็นที่-" ถ้าเป็นกัมมรูปแปลว่า "เป็นที่ อันเขา-" และพึงสังเกตในสาธนะนี้จะต้องมีสัพพนามคือ "เอตสฺส" ซึ่งมีรูปเป็นจตุตถีวิภัตติ ที่แปลว่า "แก่" ตามหลังกิริยาในรูป วิเคราะห์เสมอไป ซึ่งจะขาดเสียมิได้. อปาทานสาธนะ สาธนะนี้เป็นสาธนะที่กล่าวถึงสิ่งที่ปราศจากไป คือผู้ทำปราศจาก สิ่งใดไป กล่าวถึงสิ่งนั้น เช่นคำว่าไปจากบ้านสู่วัด หรือไปจากวัด สู่บ้าน คำว่า จากบ้าย หรือจากวัด หมายถึงสิ่งที่เขาปราศจากไป สาธนะที่กล่าวถึงสิ่งที่เขาปราศไปเช่นนี้แหละ เรียกว่า อปาทานสาธนะ เช่น อุ. ในแบบว่า ปภสฺสโร (แดนซ่านออกแห่งรัศมี) หมายถึงกาย ของเทวดาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีรัศมีซ่านออก, ปภโว (แดนเกิดก่อน) หมายถึงน้ำตก ซึ่งเป็นต้นเดิมของแม่น้ำ คือ แม่น้ำย่อมเกิดจากน้ำตก นั้น ภีโม (แดนกลัว) หมายถึงยักษ์ ซึ่งเป็นแดนให้เกิดความกลัว ของมนุษย์ผู้เห็น. ปภสฺสโร มูลเดิมมาจาก ปภา (รัศมี) บทหน้า สรฺ ธาตุในความ ซ่าน อ ปัจจัย ลบ อา ที่ ปภา เสีย แล้วซ้อน สฺ เพราะมี ส อยู่หลัง แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า ปภา สรติ เอตสฺมา-ติ ปภสฺสโร (เทวกาโย) รัศมีย่อมซ่านออก จากกายแห่งเทวดานั้น เหตุนั้น (เอโส เทวกาโย)
  • 21. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 20 กายแห่เทวดานั้น) ชื่อ ปภสฺสโร (เป็นแดนซ่านออกแห่งรัศมี). ปภโว มูลเดิมมาจาก ป บทหน้า ภู ธาตุ อ ปัจจัย พฤทธิ์ อู ที่ ภู เป็น โอ แล้วเอาเป็น อว และ ป บทหน้าตัวนั้น ศัพท์เต็มรูป คือ ปฐมํ (ก่อน) ท่านลบอักษรสองตัวหลังเสียเหลือไว้แต่ ป ในเมื่อ สำเร็จรูปเป็นสาธนะแล้วแยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า ปฐมํ ภวติ เอตสฺมา-ติ ปภโว (ปเทโส). (นที แม่น้ำ) ย่อมเกิดมีก่อน แต่ประเทศนั่น เหตุนั้น (เอโส ปเทโส ประเทศนั่น) ชื่อว่า ปภโว (เป็นคน เกิดก่อนแห่งแม่น้ำ). ภีโม มูลเดิมมาจาก ภี ธาตุ ในความกลัว ลง ม ปัจจัย แยก รูปออกตั้ง วิ. ว่า ภายติ เอตสฺมา-ติ ภีโม (ยกฺโข). ชโน (ชน) ย่อมกลัว แต่ยักษ์นั่น เหตุนั้น (เอโส ยกฺโข ยักษ์นั่น) ชื่อว่า ภีโม (เป็นแดนกลัวแห่งชน). สาธนะนี้ เป็นกัตตุรูปอย่างเดียว เมื่อสำเร็จเป็นสาธนะแล้ว ท่านบัญญัติให้แปลว่า "เป็นแดน-" และพึงสังเกตในสาธนะนี้ต้อง มี ต หรือ เอต สัพพนาม ซึ่งประกอบด้วยปัญจมีวิภัตติ แปลว่า แต่, จาก ตามหลังกิริยา และต่อสนธิกับ อิติ ศัพท์ ในเวลาแยกรูปออก ตั้งวิเคราะห์เสมอไป จะขาดเสียมิได้. อธิกรณสาธนะ สาธนะนี้หมายความว่า สาธนะที่กล่าวถึงสถานที่เป็นที่ทำการคือ บุคคลทำการในสถานที่ใด สาธนะนี้กล่าวถึงสถานที่นั้น เช่น โรงเรียน
  • 22. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 21 เป็นสถานที่เล่าเรียนวิชาความรู้ หรือโรงงานเป็นสถานที่ทำวายเป็นต้น กล่าวสั้นก็คือ ยกสถานที่นั้นขึ้นกล่าว เช่น อุ. ว่า ฐานํ (ที่ตั้ง, ที่ยืน), อาสนํ (ที่นั่ง), สยนํ (ที่นอน). ฐานํ มูลเดิมมาจาก ฐา ธาตุ ในความยืน ลง ยุ ปัจจัย แล้ว แปลงเป็น อน แยกรุปออกตั้ง วิ. ว่า ติฏฺฐติ เอตฺถา-ติ ฐานํ (ชโน ชน) ย่อมยืน ในที่นั้น เหตุนั้น (เอตํ ฐานํ ที่นั่น) ชื่อว่า ฐานํ (เป็นที่ยืนแห่งชน). อาสนํ มูลเดิมมาจาก อาสฺ ธาตุในความนั่ง ลง ยุ ปัจจัย แล้ว แปลงเป็น อน แยกรูปออกตั้ง วิ. ว่า อาสติ เอตฺถาติ-อาสนํ (ชโน ชน) ย่อมนั่ง ในที่นั่น เหตุนั้น (เอตํ ฐาน ที่นั่น) ชื่อว่า อาสนํ (เป็นที่นั่งแห่งชน). สยนํ มูลเดิมมาจาก สี ธาตุในความนอน แปลง อี ที สี่ เป็น เอ แล้วเอาเป็น อย ลง ยุ ปัจจัย แล้วแปลงเป็น อน แยกรูปออก ตั้ง วิ. ว่า สยติ เอตฺถา-ติ สยนํ (ชโน ชน) ย่อมนอน ในที่นั่น เหตุนั้น (เอตํ ฐานํ ที่นั่น) ชื่อว่า สยนํ (เป็นที่นอนแห่งชน). รูปวิเคราะห์เหล่านั้นเป็นกัตตุรูป เพราะใช้กิริยาเป็นกัตตุวาจก ถ้าต้องการให้เป็นกัมมรูป ก็ต้องแปลงกิริยาให้เป็นกัมมวาจก แต่ศัพท์ ทั้ง ๓ นี้เป็นอกัมมธาตุ (ธาตุไม่มีกรรม) ถึงจะตั้งรูปวิเคราะห์เป็น กัมมรูปก็ไม่เหมาะ. ในสาธนะนี้ที่เป็นกัมมรูป ท่านบัญญัติให้แปลว่า "เป็นที่-" ถ้าเป็นกัมมรูปแปลว่า " เป็นที่อันเขา-"
  • 23. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 22 วิเคราะห์แห่งสาธนะ รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะนี้ หมายความว่า ตัวที่แยกออกตั้ง วิเคราะห์ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้สำเร็จรูปเป็นสาธนะ ๆ ที่จะสำเร็จเป็น รูปขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยรูปวิเคราะห์ เช่น ทายโก (ผู้ให้) เป็นสาธนะ ก่อนที่จะสำเร็จรูปเป็นเช่นนั้น ต้องมาจากรูปวิเคราะห์ เทตี+ติ ฉะนั้น เทตี-ติ จึงเป็นรูปวิเคราะห์ ทายโก เป็นตัวสาธนะ. ก็รูปวิเคราะห์นั้น มีอยู่ ๓ รูป คือ กัตตุรูป ๑ กัมมรูป ๑ ภาวรูป ๑ ที่เรียกชื่อเช่นนี้ ก็ด้วยอำนาจวาจกในอาขยาต เพราะการ ตั้งวิเคราะห์ต้องใช้วาจกทั้งนั้น และวาจกโดยมากก็มักใช้ในอาขยาต ในกิริยากิตก์ก็มีใช้บ้าง แต่เป็นส่วนน้อย บางคราวก็ใช้นามกิตก์นั้นเอง ก็มี ที่กล่าวนี้มีเฉพาะกัมมรูปและภาวรูปเท่านั้น ส่วนกัตตุรูปใช้ กิริยาอาขยาตโดยส่วนเดียว. รูปวิเคราะห์นี้เมื่อจักตามวาจกย่อมได้ ดังนี้คือ :- รูปวิเคราะห์ที่เป็นกัตตุวาจกและเหตุกัตตุวาจก จัดเป็น กัตตุรูป ๑ รูปวิเคราะห์ที่เป็นภาววาจกและเหตุกัมมวาจา จัดเป็น กัมมรูป ๑ รูปวิเคราะห์เป็นภาววาจก จัดเป็นภาวรูป ๑. วิธีปรุงรูปวิเคราะห์ เป็นธรรมดาของการตั้งวิเคราะห์ ก่อนอื่นเมื่อเห็นศัพท์แล้วจะ ต้องแยกรูปว่า เป็นธาตุอะไร มีกรรมหรือไม่ ถ้าเป็นสกัมมธาตุ ก็ใช้ ได้เฉพาะกัตตุรูป กัมมรูป, ถ้าเป็นอกัมมธาตุ ก็ใช้ได้เฉพาะกัตตรูป ภาวรูป, เมื่อเราค้นตัวธาตุได้แล้ว ก็นำธาตุตัวนั้นมาปรุงด้วยเครื่อง
  • 24. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 23 ปรุงอาขยาต คือ วิภัตติ วาจก และปัจจัย ถ้าจะต้องการเป็นกัตตุรูป ก็ต้องใช้เครื่องปรุงของกัตตุวาจก หรือเหตุกัตตุวาจก, กัมมรูปก็ใช้ เครื่องปรุงของกัมมวาจก หรือเหตุกัมมวาจก, ภาวรูปก็ใช้เครื่องปรุง ของภาววาจก, เช่นเห็นศัพท์ว่า สิกฺขโก (ผู้ศึกษา) ถ้าค้นดูธาตุก็จะเห็น ว่าเป็น สิกฺข ธาตุ และเป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ เพราะบ่งผู้ทำเอง ฉะนั้น เวลาตั้งวิเคราะห์ก็ต้องตั้งเป็นกัตตุวาจก ได้รูปเป็น สิกฺขติ แล้วเติม อิติ (เพราะเหตุนั้น) มาต่อเข้าสนธิกับ สิกฺขติ ได้รูปเป็น สิกฺขตี-ติ บทแปลงซึ่งเป็นตัวสาธนะก็คือ สิกฺขโก ส่วนรูปวิเคราะห์อื่น ก็พึงสังเกต ตามนัยที่ได้อธิบายมาแล้วในสาธนะนั้น ๆ เถิด แต่มีข้อแปลกอีกอย่าง หนึ่ง คือ สำหรับรูปวิเคราะห์ ที่เป็นเหตุกัตตุวาจก ซึ่งท่านรวมเข้ากับ กัตตุวาจกเรียงว่ากัตตุรูปนั้น มีที่ใช้บ้างห่าง ๆ ต้องสังเกตตามคำแปล จึงจะรู้ได้ เช่นศัพท์ว่า อาตาโป (ความเพียรซึ่งยังกิเลสให้ร้อนทั่ว) หตฺถิมารโก (นายพรานผู้ยังช้างให้ตาย) เป็นต้น ตามคำแปลก็บ่งว่า เป็นรูปเหตุกัตตุวาจก เพราะมีคำว่า "ยัง" ซึ่งหมายถึงตัวการัต (ตัวที่ถูกใช้ให้ทำ) บ่งปรากฏอยู่ ฉะนั้นเวลาจะตั้งวิเคราะห์ ต้องนำ ธาตุไปปรุงให้เป็นเหตุกัตตุวาจก เช่น อาตาโป เป็น อา บทหน้า ตปฺ ธาตุ นำไปประกอบเป็นเหตุกัตตุวาจก ได้รูปเป็น อาตาเปติ (ยัง-ให้ร้อนทั่ว) ตั้งเป็นรูป วิ. ว่า อาตาเปตี-ติ อาตาโป (วายาโม ความเพียร) (กิเลสํ ยังกิเลส) ย่อมให้ร้อนทั่ว เหตุนั้น (โส วายาโม ความเพียรนั้น) ชื่อว่า อาตาโป (ยังกิเลสให้ร้อนทั่ว).
  • 25. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 24 หตฺถิมารโก เป็น หตฺถี (ช้าง) บทหน้า มรฺ ธาตุ ประกอบเป็น เหตุกัตตุวาจก ได้รูปเป็น มาเรติ (ยัง....ให้ตาย) ตั้งเป็นรูป วิ. ว่า หตฺถี มาเรตี-ติ หตฺถิมารโก (ลุทฺทโก นายพราน) ยังช้าง ย่อม ให้ตาย เหตุนั้น (โส ลุทฺทโก นายพรานนั้น ) ชื่อว่า หตฺถิมารโก (ผู้ยังช้างให้ตาย) หมายความว่า ผู้ฆ่าช้าง, ในที่นี้ท่านได้ตัดตัวการีต คือ หตฺถี ออก แต่ยังคงไว้. ส่วนรูปวิเคราะห์ที่เป็นเหตุกัมมวาจานั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีที่ใช้. ปัจจัยแห่งนามกิตก์ ในนามกิตก์ก็มีปัจจัยสำหรับลงที่ธาตุเช่นเดียวกับอาขยาตเหมือน กัน แต่ในนามกิตก์นี้เมื่อลงที่ธาตุแล้ว ย่อมปรุงธาตุให้เป็นนามศัพท์ คือ นามนาม ๑ คุณนาม ๑ ท่านจัดไว้เป็น ๓ พวก คือ กิตปัจจัย ๑ กิจจปัจจัย ๑ กิตกิจจปัจจัย ๑ ที่ท่านจัดไว้เป็น ๓ พวก คือ กิตปัจจัย ๑ และจัดไว้เป็นหมู่เหล่า ด้วยอำนาจรูปและสาธนะ เพราะปัจจัยเหล่านี้ ใช้ลงในรูปและสาธนะหาเสมอกันไม่ คือ บางตัวก็ลงได้รูปเดียวและ สาธนะเดียว บางตัวก็ลงได้ ๒ รูปและ ๒ สาธนะ บางตัวก็ลงได้ทั้ง ๓ รูปและทุกสาธนะ. ปัจจัยพวกกิตปัจจัย ลงได้เฉพาะกัตตุรูปอย่างเดียว หรือที่นับ เนื่องในกัตตุรูปเช่นสมาสรูปเท่านั้น จะนำไปประกอบศัพท์ที่เป็นรูปอื่น นอกจากนี้หาได้ไม่ และเป็นได้เฉพาะกัตตุสาธนะอย่างเดียว. ปัจจัยพวกกิจปัจจัย ลงได้เฉพาะกัมมรูปและภาวรูปเท่านั้น
  • 26. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 25 และสาธนะก็เป็นได้เฉพาะกัมมสาธนะและภาวสาธนะเท่านั้น จะลงใน รูปและสาธนะอื่นหาได้ไม่. ปัจจัยพวกกิตกิจจปัจจัย ใช้ประกอบศัพท์ลงได้ทุกรูปและทุก สาธนะไม่มีจำกัด แต่ก็ยังมีบ้างที่ปัจจัยบางตัวหาลงในรูปและสาธนะไม่ กลับไปลงใช้แทนวิภัตตินาม เช่น ตุํ และ เตฺว ปจัจัย และมี ๒ ตัวนี้ เท่านั้นที่แปลกจากปัจจัยทั้งหลาย. ปัจจัยแห่งนามกิตก์ในบาลีไวยากรณ์ ท่านจำแนกไว้มีเพียง ๑๔ ตัว จัดเป็น ๓ พวก คือ :- กิตปัจจัย มี ๕ ตัว คือ กฺวิ, ณี, ณฺวุ, ตุ, รู. กิจจปัจจัย มี ๒ ตัว คือ ข, ณฺย. กิตกิจจปัจจัย มี ๗ ตัว อ, อิ, ณ, เตฺว, ติ, ตุํ, ยุ. ปัจจัยที่กล่าวยกมากล่าวไว้ในบาลีไวยากรณ์เพียงเท่านี้ ก็โดยยก เอาเฉพาะปัจจัยที่ใช้มากในปกรณ์ทั้งหลาย และใช้สาธนทั่วไปแก่ธาตุ ทั้งปวง แต่เมื่อจะกล่าวให้ครบปัจจัยในแผนกนี้ ยังมีอยู่อีกมาก แต่โดยมากมักใช้ลงได้เฉพาะในธาตุบางตัว หรือถึงจะลงในธาตุอื่นได้ บ้าง ก็ยากแก่การที่จะจัดเข้าเป็นหมวดหมู่ให้ลงรอยกันในรูปสาธนะ เหตุนั้น ท่านจึงยกเว้นเสียมิได้นำมากล่าวไว้ ผู้ศึกษาผู้ต้องการความรู้ กว้างขวาง จะต้องค้นคว้าหาด้วยตนเอง. วิเคราะห์แห่งนามกิตก์ ศัพท์ทุกตัวที่จะสำเร็จรูปเป็นนามกิตก์ได้ ย่อมต้องมีการตั้ง
  • 27. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 26 วิเคราะห์ คือแยกให้เห็นรูปเดิมของศัพท์นั้น ๆ เสียก่อน จึงจะ สำเร็จรูปเป็นสาธนะได้ ทั้งที่เป็นนามนามและคุณนาม เพราะฉะนั้น ปัจจัยทั้ง ๓ พวกดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งทานจัดไว้เป็นเครื่องหมายรูป และสาธนะนั้น จึงจำต้องมีการตั้งวิเคราะห์ด้วยกันทุกตัว ตามหน้าที่ และอำนาจที่ปัจจัยนั้น ๆ จะพึงมีได้อย่างไร ซึ่งจะได้แสดงดังต่อไป นี้:- วิเคราะห์ในเกิดปัจจัย กฺวิ ปัจจัย ปัจจัยตัวนี้ เมื่อลงประกอบกับธาตุแล้ว โดยมากมักลงทิ้งเสีย ไม่ปรากฏรูปให้เห็น จึงเป็นการยากที่จะสังเกตได้ แต่ก็มีหลักพอที่ จะกำหนดรู้ได้บ้าง คือ :- ๑. ใช้ลงในธาตุที่มีบทอื่นนำหน้าเสมอ. ๒. ถ้าลงในธาตุตัวเดียวคงไว้ ไม่ลบธาตุ. ๓. ถ้าลงในธาตุสองตัวขึ้นไป ลบที่สุดธาตุ. ๔. เฉพาะ วิทฺ ธาตุ ไม่ลบที่สุดธาตุ แต่ต้องลง อู อาคม ๑. ที่ว่า ใช้ลงในธาตุที่มีบทอื่นนำหน้าเสมอ นั้น หมายความ ว่า ธาตุที่จะใช้ลงปัจจัยนี้ ต้องมีศัพท์อื่นเป็นบทหน้าของธาตุ คือเป็น นามนามบ้าง คุณนามบ้าง สัพพนามบ้าง อุปสัคบ้าง นิบาตบ้าง. ก. นามนามเป็นบทหน้า เช่น ภุชโค สัตว์ไปด้วยขนด (พญานาค ) ภุช บทหน้า คมฺ ธาตุ ลง กฺวิ และลบที่สุดธาตุเสีย
  • 28. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 27 ิตั้ง วิ. ว่า ภุเชน คจฺฉตี-ติ ภุชโค. (สัตว์ใด ) ย่อมไป ด้วย ขนด เหตุนั้น (สัตว์นั้น ) ชื่อว่า ภุชโค (ผู้ไปด้วยขนด) หรือ เช่น อุรโค ดังที่ท่านยก อุ. ไว้ในแบบ. ข. คุณนามเป็นบทหน้า เช่น ตุรโค สัตว์ไปเร็ว (ม้า ) ตรุ บทหน้า คมฺ ธาตุ ลบ กฺวิ และลบที่สุดธาตุเสีย ตั้ง วิ. ว่า ตุรํ คจฺฉตี-ติ ตุรโค. (สัตว์ใด) ย่อมไปเร็ว เหตุนั้น (สัตว์นั้น) ชื่อว่า ตุรโค (ผู้ไปเร็ว). ค. สัพพนามเป็นบทหน้า เช่น สพฺพาภิภู ผู้ครอบงำซึ่งธรรม ทั้งปวง สพฺพ+อภิ บทหน้า ภู ธาตุ ลบ กฺวิ คงธาตุไว้ตามรูปเดิม ตั้ง วิ. ว่า สพฺพํ อภิภวตี-ติ สพฺพอภิภู แล้วเข้าสนธิเป็น สพฺพาภิภู. (พระผู้มีพระภาคเจ้าใด) ย่อมทรงครอบงำ ซึ่งธรรมทั้งปวง เหตุนั้น (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ชื่อว่า สพฺพาภิภู (ผู้ทรงครอบงำซึ่งธรรม ทั้งปวง). ง. อุปสัคเป็นบทหน้า เช่น อภิภู (ผู้เป็นยิ่ง) อภิ บทหน้า ภู ธาตุ ลบ กฺวิ คงธาตุไว้ตามรูปเดิม ตั้ง วิ. ว่า อภิ วิสิฏฺเฐน ภวตี-ติ อภิภู. (พระผู้มีพระภาคเจ้าใด) ย่อมเป็นยิ่ง คือว่า โดย ยิ่ง เหตุนั้น (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ชื่อว่า อภิภู (ผู้เป็นยิ่ง) ในที่นี้ อภิ ไขความออก เป็น วิสิฏฺเฐน ตามลักษณะการตั้ง วิเคราะห์ จ. นิบาตเป็นบทหน้า เช่น สยมฺภู (ผู้เป็นเอง) สยํ (เอง)
  • 29. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 28 เป็นบทหน้า ภู ธาตุ ลบ กฺวิ และคงธาตุไว้ตามรูปเดิม พึงดูวิเคราะห์ ในแบบ. ๒. ลงในธาตุตัวเดียวคงไว้ ไม่ลบธาตุ หมายความว่าถ้า ธาตุที่ลงปัจจัยนี้เป็นธาตุตัวเดียว ให้คงธาตุตัวนั้นไว้ ไม่ลบ เช่น อภิภู สยมฺภู. ดังที่ตั้ง วิ. ให้ดูแล้วข้างต้น. หรือเช่นคำว่า มารชิ (ผู้ชนะมาร) มาร บทหน้า ชิ ธาตุในความชนะ วิ. ว่า มารํ ชินาตี-ติ มารชิ (พระผู้มีพระภาคเจ้าใด) ย่อมชนะ ซึ่งมาร เหตุนั้น (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ชื่อว่า มารชิ (ผู้ชนะซึ่งมาร). ๓. ลงในธาตุสองตัวขึ้นไป ต้องลบที่สุดธาตุ หมายความ ว่า ถ้าธาตุที่จะลงปัจจัยนี้มีสองตัวขึ้นไป ให้ลบเสียตัวหนึ่ง และตัว ที่ถูกลบนั้นต้องเป็นตัวอยู่ข้างหลัง เช่น อุรโค, ตุรโค, ภุชโค ดัง ที่ตั้ง วิ. ให้ดูแล้วข้างต้น. ๔. เฉพาะ วิทฺ ธาตุ ไม่ลบที่สุดธาตุ แต่ต้องลง อู อาคม เช่น สพฺพวิทู (ผู้รู้ซึ่งสิ่งทั้งปวง), โลกวิทู (ผู้รู้ซึ่งโลก) เป็นต้น สพฺพวิทู เป็น สพฺพ บทหน้า วิทฺ ธานุในความรู้ ตั้ง วิ. ว่า สพฺพํ วิทตี-ติ สพฺพวิทู. (พระผู้มีพระภาคเจ้าใด) ย่อมทางรู้ ซึ่งธรรม ทั้งปวง เหตุนั้น (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ชื่อว่า สพฺพวิทู (ผู้รู้ ซึ่งธรรมทั้งปวง). โลกวิทู เป็น โลก บทหน้า วิทฺ ธาตุ วิ. ว่า โลกํ วิทตี-ติ โลกวิทู (พระผู้มีพระภาคเจ้าใด) ย่อมทรงรู้ ซึ่งโลก เหตุนั้น (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) ชื่อว่า โลกวิทู (ผู้ทรงรู้ซึ่งโลก).
  • 30. ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ นามกิตก์ และกิริยากิตก์ - หน้าที่ 29 พึงสังเกตในบทนี้สำหรับ วิทฺ ธาตุ ในเวลาตั้งวิเคราะห์ ท่านมัก ใช้ ญา ธาตุ มี วิ เป็นบทหน้าแทน ซึ่งแปลว่า รู้แจ้ง เหมือนกัน. ปัจจัยนี้เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ และใช้เป็นคุณนามอย่างเดียว นำไปแจกในวิภัตตินามได้ทั้ง ๒ ลิงค์ เปลี่ยนแปลงไปตามตัวนาม นามนั้น ๆ. ณี ปัจจัย ปัจจัยนี้ลงประกอบกับธาตุแล้ว ลบ ณ เสีย เหลือไว้แต่ สระ ี และมีอำนาจให้ทีฆะและพฤทธิ์ต้นธาตุที่เป็นรัสสะ เพราะเป็น ปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ เมื่อจะกล่าวตามหลักเกณฑ์ของปัจจัยนี้ ก็อาจ จะย่อมกล่าวได้ดังนี้ คือ :- ๑. ต้นธาตุเป็นรัสสะ มีอำนาจพฤทธิ์ต้นธาตุได้. ๒. ต้นธาตุเป็นทีฆะ หรือ มีตัวสะกด ห้ามมิให้พฤทธิ์. ๓. มีอำนาจให้แปลงตัวธาตุ หรือ พยัญชนะที่สุดธาตุได้. ๔. ถ้าธาตุมี อา เป็นที่สุด ต้องแปลงเป็น อาย. อนึ่ง ปัจจัยนี้โดยมากใช้ลงในตัสสีลสาธนะ และเป็นสมาสรูป ตัสสีลสาธนะได้ด้วย. ๑. พฤทธิ์ต้นธาตุที่เป็นรัสสะ นั้น คือ ถ้าธาตุเป็นรัสสะ เช่น วทฺ, กรฺ, จรฺ เป็นต้น เมื่อลง ณี ปัจจัยแล้ว ต้องพฤทธิ์ต้นธาตุ เช่น พฤทธิ์ อ เป็น อา, อิ เป็น เอ, อุ เป็น อุ หรือเป็น โอ. ก. พฤทธิ์ อ เป็น อา เช่น ปุญฺญการี ปุญฺญ (บุญ) บทหน้า กรฺ ธาตุ ลง ณี ลบ ณ เสียคงไว้แตี่ แล้วพฤทธิ์ อ เป็น อา ตั้ง