SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
สุนัขเป็นสัตว์ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากที่สุด          
ชนิดหนึ่งในโลก ปัจจุบันมีสุนัขทั่วโลกมากกว่า 400 สายพันธุ์ โดยสุนัข
มีจ�ำนวนโครโมโซม 39 คู่ ซึ่งท�ำให้มีความหลากหลายของสายพันธุ์        
รวมถึงท�ำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมได้มากด้วยเช่นกัน[1] นอกเหนือ       
จากการที่มีจ�ำนวนสายพันธุ์สุนัขมากแล้วยังพบว่า ความแตกต่าง
ระหว่างสายพันธุ์ก็มีมากเช่นกันเช่นรูป1-1ที่แสดงความแตกต่างขนาด
ของร่างกายระหว่างสุนัขพันธุ์ชิวาวาและพันธุ์เกรดเดน ซึ่งเห็นว่าเป็น
สุนัขที่โตเต็มที่เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างของขนาดร่างกายสูงมาก
แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสุนัข
	 ในการเจริญเติบโตของลูกสุนัขตั้งแต่แรกเกิดพบว่ามีปัจจัย          
ต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย เช่น ยีนหรือพันธุกรรม ระบบฮอร์โมน                
และเมแทบอลิซึม (metabolism) ของร่างกายลูกสุนัข คุณภาพ             
และปริมาณน�้ำนมที่ได้รับจากแม่ รวมถึงอาหารที่ได้รับหลังหย่านม
สภาพแวดล้อมที่เลี้ยงดู เช่น อุณหภูมิหรือความชื้น จากการศึกษา         
พบว่า การควบคุมการเจริญเติบโตของลูกสุนัขถูกควบคุมด้วยสาร          
ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินซูลินไลท์โกรทแฟกเตอร์-1 (insulin          
like growth factor-1)[2, 3] ที่มีผลต่อโครงสร้างของร่างกาย
การพัฒนาโครงสร้าง
ร่างกายของลูกสุนัข
2
รูปที่ 1-1 ไม่บ่อยครั้งที่รูปภาพของสุนัขจะได้มีโอกาสขึ้นปกนิตยสารชั้นน�ำ
อย่าง Science ในภาพเป็นหน้าปกนิตยสาร Science ฉบับ Friday,
April 06, 2007 โดยเป็นการแสดงให้เห็นว่า สุนัขเป็นสัตว์ที่มีความหลากหลาย
ทางพันธุกรรมสูง มีขนาดเล็ก เช่น พันธุ์ชิวาวา ซึ่งมีน�้ำหนักเพียง 1 กิโลกรัม
จนถึงขนาดยักษ์ เช่น พันธุ์เกรดเดน ซึ่งมีน�้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัม
	 ในการศึกษาของ Hawthorne และคณะ ใน พ.ศ. 2547[4]           
ที่เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของลูกสุนัขจ�ำนวน 12 พันธุ์         
(รูปที่ 1-2) พบว่า ในสุนัขพันธุ์ใหญ่ (large breed) และพันธุ์ยักษ์           
(giant breed) มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 17 ต่อสัปดาห์ สูงกว่า
สุนัขพันธุ์เล็กซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 13 ต่อสัปดาห์ นอกจาก
นั้น ในสุนัขพันธุ์เล็กจะเริ่มหยุดการเจริญเติบโตในระยะเวลาประมาณ
3
9-10 เดือน เป็นระยะเวลาที่สั้นกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่และยักษ์ ซึ่งจะเริ่ม
หยุดการเจริญเติบโตเมื่ออายุ 11-15 เดือน
รูปที่ 1-2 ค่าเฉลี่ยกราฟแสดงอัตราการเจริญเติบโตสุนัขจ�ำนวน 5 สายพันธุ์
(ดัดแปลงจาก Hawthorne et al., 2004[4])
	 การศึกษาของ Booles และคณะ ใน พ.ศ. 2537[5] ที่เปรียบ
เทียบอัตราการเจริญเติบโตของลูกสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์
ระหว่างเพศผู้จ�ำนวน 9 ตัว และเพศเมียจ�ำนวน 9 ตัว พบว่า ลูกสุนัข
เพศผู้มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงกว่าเพศเมียทั้งน�้ำหนักร่างกาย (รูปที่
1-3) เส้นรอบวงขาก็มากกว่า (รูปที่ 1-4) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า      
ลูกสุนัขเพศผู้มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงกว่าเพศเมีย ซึ่งส่งผลให้            
ลูกสุนัขเพศผู้มีโอกาสเกิดความผิดปกติของระบบโครงสร้างของร่างกาย
ได้มากกว่าเพศเมีย
4
รูปที่ 1-3 เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของลูกสุนัขเพศผู้และเมีย
ในช่วงอายุ 8-20 สัปดาห์
(ดัดแปลงจาก Booles et al., 1994[5])
รูปที่ 1-4 เปรียบเทียบขนาดเส้นรอบวงขาของลูกสุนัขเพศผู้และเมีย
ในช่วงอายุ 8-18 สัปดาห์
(ดัดแปลงจาก Booles et al., 1994[5])
5
การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย (Body change)
	 สุนัขเมื่อแรกเกิด (รูปที่ 1-5) จะมีอุณหภูมิร่างกายที่ค่อนข้างต�่ำ 
ดังนั้นในช่วงนี้ลูกสุนัขจึงมีความจ�ำเป็นต้องอยู่ในที่อบอุ่น(ตารางที่1-1)
เนื่องมาจากภาวะอุณหภูมิร่างกายที่ต�่ำเป็นสาเหตุการตายที่ส�ำคัญเป็น
อันดับต้น ๆ ของลูกสุนัขแรกเกิด ระบบย่อยอาหารลูกสุนัขในช่วงแรก
เกิดยังไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถย่อยอาหารได้ ดังนั้น ในช่วงนี้จึงต้องกิน
นมเท่านั้น นอกจากนั้น ระบบย่อยอาหารยังง่ายต่อการติดเชื้อด้วย
รูปที่ 1-5 ลูกสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียนแรกเกิด
มีขนาดตัวใกล้เคียงกัน ต้องได้รับความอบอุ่นตลอดเวลา
โดยในภาพลูกสุนัขนอนบนผ้าที่รองบนถุงน�้ำร้อน
(ภาพถ่ายโดย กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์)
6
	 น�้ำหนักสุนัขแรกเกิดมีความแตกต่างกันขึ้นกับสายพันธุ์ ค่าเฉลี่ย
ในสุนัขขนาดเล็ก 120 กรัม ในสุนัขขนาดกลาง 250 กรัม สุนัขขนาด
ใหญ่ 490 กรัม และสุนัขขนาดยักษ์ 625 กรัม และพบว่า ถ้าสุนัข               
ได้รับน�้ำนมอย่างเต็มที่ (รูปที่ 1-6) พบว่า น�้ำหนักร่างกายของลูกสุนัข
ควรเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่สม�่ำเสมอคือจะเพิ่มร้อยละ 5-10 ของ       
น�้ำหนักตัวในแต่ละวัน และจะมีน�้ำหนักตัวเพิ่มเป็น 2 เท่า ประมาณ        
วันที่ 10 แต่พบว่า ในลูกสุนัขที่เกิดมาเพียง 1 ตัว (ลูกโทน) มักจะมี      
อัตราการเจริญเติบโตมากกว่านี้
รูปที่ 1-6 ลูกสุนัขพันธ์ุปอมเมอเรเนียนแรกเกิด จ�ำนวน 2 ตัว
มีขนาดตัวใกล้เคียงกันแข่งกันดูดนม โดยในภาพลูกสุนัขได้รับน�้ำนมเต็มที่
เนื่องมาจากแม่ค่อนข้างสมบูรณ์และมีลูกเพียง 2 ตัว
ต่อมาพบว่า 1 ใน 2 ตัว แสดงอาการของกลุ่มอาการขากาง
(ภาพถ่ายโดย กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์)
7
	 นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่ส�ำคัญในลูกสุนัข ได้แก่  
สะดือจะหลุดเมื่ออายุ 2-3 วัน เริ่มลืมตาเมื่ออายุ 5-14 วัน หูเปิดเมื่อ
อายุ 6-14 วัน เริ่มหัดยืน เดิน ขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระเมื่ออายุ
ประมาณ 1-4 สัปดาห์ เป็นต้น
ตารางที่ 1-1 อุณหภูมิร่างกายลูกสุนัข
	 สัปดาห์ที่	 อุณหภูมิร่างกายวัดทางทวาร	 อุณหภูมิแวดล้อมที่ควรเป็น
	 1	 95-99°ฟ [35-37°ซ]	 86-90°ฟ [30-32.2°ซ]
	 2-3	 97-100°ฟ [36.1-37.8°ซ]	 80-85°ฟ [26.7-29.4°ซ]
	 4	 99-101°ฟ [37.2-38.3°ซ]	 70-75°ฟ [21.1-23.9°ซ]
(ดัดแปลงจาก Rickard, 2011 [6])
โครงสร้างของร่างกาย (Body structure)
	
	 โครงสร้างของร่างกายลูกสุนัขมีบางส่วนที่คล้ายกับโครงสร้าง
สุนัขที่โตเต็มวัย แต่โครงสร้างบางส่วนไม่เป็นเช่นนั้น โครงสร้างของ        
ช่องอกและช่องท้องในลูกสุนัขและสุนัขที่โตเต็มที่จะมีลักษณะคล้าย      
กันส�ำหรับโครงกระดูกพบว่าจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากในลูกสุนัข
กระดูกยังไม่เจริญสมบูรณ์ ยังไม่เกิดการเชื่อมกันของแผ่นอิพิไฟเซียล
(epiphyseal plate) ท�ำให้ดูเหมือนกระดูกหัก (รูปที่ 1-7) ซึ่งการเชื่อม
ของแผ่นอิพิไฟเซียลในแต่ละต�ำแหน่งก็จะแตกต่างกันไป ดังแสดงใน
ตารางที่ 1-2 ซึ่งการเข้าใจและทราบถึงอายุการปิดของแผ่นอิพิไฟเซียล
8
ในลูกสุนัขนี้มีประโยชน์ในการประเมินอายุของลูกสุนัขได้ นอกจากนั้น
ยังช่วยลดโอกาสในการวินิจฉัยผิดพลาดโดยเฉพาะการวินิจฉัยแยก
ระหว่างการไม่ปิดของแผ่นอิพิไฟเซียล และการหักของกระดูก ซึ่งพบ      
ว่ามีการวินิจฉัยที่ผิดพลาดบ่อยครั้งในคลินิก
	 นอกจากนั้นพบว่ามีสาเหตุหลายประการที่ส่งผลให้การเจริญ
เติบโตของลูกสุนัขไม่เป็นไปตามปกติ[7] เช่น การได้รับอาหารที่ไม่มี
คุณค่าทางโภชนาการ การได้รับอาหารในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ร่างกาย
มีความผิดปกติ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบฮอร์โมน หรือ
ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของโครงสร้าง  
รูปที่ 1-7 ลักษณะของกระดูกในลูกสุนัขที่ยังไม่เกิดการเชื่อมกัน
ของแผ่นอิพิไฟเซียลในต�ำแหน่งต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
(ภาพถ่ายโดย กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์)
1 2
9
ดังนั้น การพิจารณาลักษณะโครงสร้าง ความสมบูรณ์ของร่างกาย            
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของน�้ำหนักร่างกายในแต่ละวันหรือแต่ละ
สัปดาห์จึงมีความส�ำคัญเป็นอย่างมากในการประเมินการเจริญเติบโต
ของลูกสุนัข
ตารางที่ 1-2 อายุที่มีการปิดของแผ่นอิพิไฟเซียล
	 ต�ำแหน่ง		 อายุที่มีการปิด (เดือน)
			 เร็วที่สุด	 ช้าที่สุด
กระดูกสะบัก
	 Supraglenoid tubercle	 5	 6
กระดูกต้นขาหน้า
	 Proximal epiphysis	 10	 12
	 Distal epiphysis		 5	 6.5
กระดูกปลายขาหน้าท่อนหลัง
	 Tuber olecrani	 	 6.5	 9.5
      	Anconeal process	 4	 5
     	 Distal epiphysis		 9	 11
กระดูกปลายขาหน้าท่อนหน้า
	 Proximal epiphysis	 9	 11
	 Distal epiphysis		 9	 11
กระดูกข้อเท้าหน้า
	 Accessory bone		 4	 5
กระดูกส่วนเท้าหน้าไม่รวมนิ้ว	 5.5	 6.5
10
ตารางที่ 1-2 (ต่อ)
	 ต�ำแหน่ง		 อายุที่มีการปิด (เดือน)
			 เร็วที่สุด	 ช้าที่สุด
กระดูกต้นขาหลัง
	 Greater trochanter	 11	 11
	 Femoral capital epiphysis	 11	 12
	 Lesser trochanter, Distal epiphysis	 11	 12
กระดูกหน้าแข้ง
	 Proximal epiphysis	 11	 12
	 Tibial tuberosity apophysis	 11	 12
     	 Distal epiphysis		 8.5	 11
     	 Medial malleolus	 4	 5
กระดูกน่อง
	 Proximal epiphysis	 10	 12
       	Distal epiphysis		 10	 11
กระดูกส้นเท้า
	 Tuber calcanei		 6.5	 7.5
กระดูกส่วนเท้าหลังไม่รวมนิ้ว	 7	 8
กระดูกนิ้วเท้า	 	 5.5-6.5	 6.5-7.5
(ที่มา : กรกฎ พ.ศ. 2550[8])

More Related Content

What's hot

Developmental biology sp2
Developmental biology sp2Developmental biology sp2
Developmental biology sp2Wan Ngamwongwan
 
ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์Lilrat Witsawachatkun
 
ระบบสืบพันธุ์พศหญิง
ระบบสืบพันธุ์พศหญิงระบบสืบพันธุ์พศหญิง
ระบบสืบพันธุ์พศหญิงJanejira Meezong
 
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011Namthip Theangtrong
 
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชายระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชายJanejira Meezong
 
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชายระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชายNokko Bio
 
Development of flog embryo.
Development of flog embryo.Development of flog embryo.
Development of flog embryo.napolkowpanich1
 
Development of flog embryo
Development of flog embryoDevelopment of flog embryo
Development of flog embryonapolkowpanich1
 
กระบวนการปฏิสนธิ
กระบวนการปฏิสนธิกระบวนการปฏิสนธิ
กระบวนการปฏิสนธิThanadolBunnag
 

What's hot (12)

Developmental biology sp2
Developmental biology sp2Developmental biology sp2
Developmental biology sp2
 
การสืบพันธ์
การสืบพันธ์การสืบพันธ์
การสืบพันธ์
 
ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์ระบบสืบพันธุ์
ระบบสืบพันธุ์
 
ระบบสืบพันธุ์พศหญิง
ระบบสืบพันธุ์พศหญิงระบบสืบพันธุ์พศหญิง
ระบบสืบพันธุ์พศหญิง
 
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
 
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชายระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
 
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชายระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
 
กลุ่ม 1
กลุ่ม 1กลุ่ม 1
กลุ่ม 1
 
Development of flog embryo.
Development of flog embryo.Development of flog embryo.
Development of flog embryo.
 
Development of flog embryo
Development of flog embryoDevelopment of flog embryo
Development of flog embryo
 
กลุ่ม 3
กลุ่ม 3กลุ่ม 3
กลุ่ม 3
 
กระบวนการปฏิสนธิ
กระบวนการปฏิสนธิกระบวนการปฏิสนธิ
กระบวนการปฏิสนธิ
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740332640

  • 1. สุนัขเป็นสัตว์ที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากที่สุด ชนิดหนึ่งในโลก ปัจจุบันมีสุนัขทั่วโลกมากกว่า 400 สายพันธุ์ โดยสุนัข มีจ�ำนวนโครโมโซม 39 คู่ ซึ่งท�ำให้มีความหลากหลายของสายพันธุ์ รวมถึงท�ำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมได้มากด้วยเช่นกัน[1] นอกเหนือ จากการที่มีจ�ำนวนสายพันธุ์สุนัขมากแล้วยังพบว่า ความแตกต่าง ระหว่างสายพันธุ์ก็มีมากเช่นกันเช่นรูป1-1ที่แสดงความแตกต่างขนาด ของร่างกายระหว่างสุนัขพันธุ์ชิวาวาและพันธุ์เกรดเดน ซึ่งเห็นว่าเป็น สุนัขที่โตเต็มที่เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างของขนาดร่างกายสูงมาก แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสุนัข ในการเจริญเติบโตของลูกสุนัขตั้งแต่แรกเกิดพบว่ามีปัจจัย ต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย เช่น ยีนหรือพันธุกรรม ระบบฮอร์โมน และเมแทบอลิซึม (metabolism) ของร่างกายลูกสุนัข คุณภาพ และปริมาณน�้ำนมที่ได้รับจากแม่ รวมถึงอาหารที่ได้รับหลังหย่านม สภาพแวดล้อมที่เลี้ยงดู เช่น อุณหภูมิหรือความชื้น จากการศึกษา พบว่า การควบคุมการเจริญเติบโตของลูกสุนัขถูกควบคุมด้วยสาร ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินซูลินไลท์โกรทแฟกเตอร์-1 (insulin like growth factor-1)[2, 3] ที่มีผลต่อโครงสร้างของร่างกาย การพัฒนาโครงสร้าง ร่างกายของลูกสุนัข
  • 2. 2 รูปที่ 1-1 ไม่บ่อยครั้งที่รูปภาพของสุนัขจะได้มีโอกาสขึ้นปกนิตยสารชั้นน�ำ อย่าง Science ในภาพเป็นหน้าปกนิตยสาร Science ฉบับ Friday, April 06, 2007 โดยเป็นการแสดงให้เห็นว่า สุนัขเป็นสัตว์ที่มีความหลากหลาย ทางพันธุกรรมสูง มีขนาดเล็ก เช่น พันธุ์ชิวาวา ซึ่งมีน�้ำหนักเพียง 1 กิโลกรัม จนถึงขนาดยักษ์ เช่น พันธุ์เกรดเดน ซึ่งมีน�้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัม ในการศึกษาของ Hawthorne และคณะ ใน พ.ศ. 2547[4] ที่เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของลูกสุนัขจ�ำนวน 12 พันธุ์ (รูปที่ 1-2) พบว่า ในสุนัขพันธุ์ใหญ่ (large breed) และพันธุ์ยักษ์ (giant breed) มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 17 ต่อสัปดาห์ สูงกว่า สุนัขพันธุ์เล็กซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 13 ต่อสัปดาห์ นอกจาก นั้น ในสุนัขพันธุ์เล็กจะเริ่มหยุดการเจริญเติบโตในระยะเวลาประมาณ
  • 3. 3 9-10 เดือน เป็นระยะเวลาที่สั้นกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่และยักษ์ ซึ่งจะเริ่ม หยุดการเจริญเติบโตเมื่ออายุ 11-15 เดือน รูปที่ 1-2 ค่าเฉลี่ยกราฟแสดงอัตราการเจริญเติบโตสุนัขจ�ำนวน 5 สายพันธุ์ (ดัดแปลงจาก Hawthorne et al., 2004[4]) การศึกษาของ Booles และคณะ ใน พ.ศ. 2537[5] ที่เปรียบ เทียบอัตราการเจริญเติบโตของลูกสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ ระหว่างเพศผู้จ�ำนวน 9 ตัว และเพศเมียจ�ำนวน 9 ตัว พบว่า ลูกสุนัข เพศผู้มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงกว่าเพศเมียทั้งน�้ำหนักร่างกาย (รูปที่ 1-3) เส้นรอบวงขาก็มากกว่า (รูปที่ 1-4) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ลูกสุนัขเพศผู้มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงกว่าเพศเมีย ซึ่งส่งผลให้ ลูกสุนัขเพศผู้มีโอกาสเกิดความผิดปกติของระบบโครงสร้างของร่างกาย ได้มากกว่าเพศเมีย
  • 4. 4 รูปที่ 1-3 เปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของลูกสุนัขเพศผู้และเมีย ในช่วงอายุ 8-20 สัปดาห์ (ดัดแปลงจาก Booles et al., 1994[5]) รูปที่ 1-4 เปรียบเทียบขนาดเส้นรอบวงขาของลูกสุนัขเพศผู้และเมีย ในช่วงอายุ 8-18 สัปดาห์ (ดัดแปลงจาก Booles et al., 1994[5])
  • 5. 5 การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย (Body change) สุนัขเมื่อแรกเกิด (รูปที่ 1-5) จะมีอุณหภูมิร่างกายที่ค่อนข้างต�่ำ ดังนั้นในช่วงนี้ลูกสุนัขจึงมีความจ�ำเป็นต้องอยู่ในที่อบอุ่น(ตารางที่1-1) เนื่องมาจากภาวะอุณหภูมิร่างกายที่ต�่ำเป็นสาเหตุการตายที่ส�ำคัญเป็น อันดับต้น ๆ ของลูกสุนัขแรกเกิด ระบบย่อยอาหารลูกสุนัขในช่วงแรก เกิดยังไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถย่อยอาหารได้ ดังนั้น ในช่วงนี้จึงต้องกิน นมเท่านั้น นอกจากนั้น ระบบย่อยอาหารยังง่ายต่อการติดเชื้อด้วย รูปที่ 1-5 ลูกสุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียนแรกเกิด มีขนาดตัวใกล้เคียงกัน ต้องได้รับความอบอุ่นตลอดเวลา โดยในภาพลูกสุนัขนอนบนผ้าที่รองบนถุงน�้ำร้อน (ภาพถ่ายโดย กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์)
  • 6. 6 น�้ำหนักสุนัขแรกเกิดมีความแตกต่างกันขึ้นกับสายพันธุ์ ค่าเฉลี่ย ในสุนัขขนาดเล็ก 120 กรัม ในสุนัขขนาดกลาง 250 กรัม สุนัขขนาด ใหญ่ 490 กรัม และสุนัขขนาดยักษ์ 625 กรัม และพบว่า ถ้าสุนัข ได้รับน�้ำนมอย่างเต็มที่ (รูปที่ 1-6) พบว่า น�้ำหนักร่างกายของลูกสุนัข ควรเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่สม�่ำเสมอคือจะเพิ่มร้อยละ 5-10 ของ น�้ำหนักตัวในแต่ละวัน และจะมีน�้ำหนักตัวเพิ่มเป็น 2 เท่า ประมาณ วันที่ 10 แต่พบว่า ในลูกสุนัขที่เกิดมาเพียง 1 ตัว (ลูกโทน) มักจะมี อัตราการเจริญเติบโตมากกว่านี้ รูปที่ 1-6 ลูกสุนัขพันธ์ุปอมเมอเรเนียนแรกเกิด จ�ำนวน 2 ตัว มีขนาดตัวใกล้เคียงกันแข่งกันดูดนม โดยในภาพลูกสุนัขได้รับน�้ำนมเต็มที่ เนื่องมาจากแม่ค่อนข้างสมบูรณ์และมีลูกเพียง 2 ตัว ต่อมาพบว่า 1 ใน 2 ตัว แสดงอาการของกลุ่มอาการขากาง (ภาพถ่ายโดย กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์)
  • 7. 7 นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ที่ส�ำคัญในลูกสุนัข ได้แก่ สะดือจะหลุดเมื่ออายุ 2-3 วัน เริ่มลืมตาเมื่ออายุ 5-14 วัน หูเปิดเมื่อ อายุ 6-14 วัน เริ่มหัดยืน เดิน ขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระเมื่ออายุ ประมาณ 1-4 สัปดาห์ เป็นต้น ตารางที่ 1-1 อุณหภูมิร่างกายลูกสุนัข สัปดาห์ที่ อุณหภูมิร่างกายวัดทางทวาร อุณหภูมิแวดล้อมที่ควรเป็น 1 95-99°ฟ [35-37°ซ] 86-90°ฟ [30-32.2°ซ] 2-3 97-100°ฟ [36.1-37.8°ซ] 80-85°ฟ [26.7-29.4°ซ] 4 99-101°ฟ [37.2-38.3°ซ] 70-75°ฟ [21.1-23.9°ซ] (ดัดแปลงจาก Rickard, 2011 [6]) โครงสร้างของร่างกาย (Body structure) โครงสร้างของร่างกายลูกสุนัขมีบางส่วนที่คล้ายกับโครงสร้าง สุนัขที่โตเต็มวัย แต่โครงสร้างบางส่วนไม่เป็นเช่นนั้น โครงสร้างของ ช่องอกและช่องท้องในลูกสุนัขและสุนัขที่โตเต็มที่จะมีลักษณะคล้าย กันส�ำหรับโครงกระดูกพบว่าจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากในลูกสุนัข กระดูกยังไม่เจริญสมบูรณ์ ยังไม่เกิดการเชื่อมกันของแผ่นอิพิไฟเซียล (epiphyseal plate) ท�ำให้ดูเหมือนกระดูกหัก (รูปที่ 1-7) ซึ่งการเชื่อม ของแผ่นอิพิไฟเซียลในแต่ละต�ำแหน่งก็จะแตกต่างกันไป ดังแสดงใน ตารางที่ 1-2 ซึ่งการเข้าใจและทราบถึงอายุการปิดของแผ่นอิพิไฟเซียล
  • 8. 8 ในลูกสุนัขนี้มีประโยชน์ในการประเมินอายุของลูกสุนัขได้ นอกจากนั้น ยังช่วยลดโอกาสในการวินิจฉัยผิดพลาดโดยเฉพาะการวินิจฉัยแยก ระหว่างการไม่ปิดของแผ่นอิพิไฟเซียล และการหักของกระดูก ซึ่งพบ ว่ามีการวินิจฉัยที่ผิดพลาดบ่อยครั้งในคลินิก นอกจากนั้นพบว่ามีสาเหตุหลายประการที่ส่งผลให้การเจริญ เติบโตของลูกสุนัขไม่เป็นไปตามปกติ[7] เช่น การได้รับอาหารที่ไม่มี คุณค่าทางโภชนาการ การได้รับอาหารในปริมาณที่ไม่เพียงพอ ร่างกาย มีความผิดปกติ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร โรคระบบฮอร์โมน หรือ ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของโครงสร้าง รูปที่ 1-7 ลักษณะของกระดูกในลูกสุนัขที่ยังไม่เกิดการเชื่อมกัน ของแผ่นอิพิไฟเซียลในต�ำแหน่งต่าง ๆ ทั่วร่างกาย (ภาพถ่ายโดย กรกฎ งานวงศ์พาณิชย์) 1 2
  • 9. 9 ดังนั้น การพิจารณาลักษณะโครงสร้าง ความสมบูรณ์ของร่างกาย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของน�้ำหนักร่างกายในแต่ละวันหรือแต่ละ สัปดาห์จึงมีความส�ำคัญเป็นอย่างมากในการประเมินการเจริญเติบโต ของลูกสุนัข ตารางที่ 1-2 อายุที่มีการปิดของแผ่นอิพิไฟเซียล ต�ำแหน่ง อายุที่มีการปิด (เดือน) เร็วที่สุด ช้าที่สุด กระดูกสะบัก Supraglenoid tubercle 5 6 กระดูกต้นขาหน้า Proximal epiphysis 10 12 Distal epiphysis 5 6.5 กระดูกปลายขาหน้าท่อนหลัง Tuber olecrani 6.5 9.5 Anconeal process 4 5 Distal epiphysis 9 11 กระดูกปลายขาหน้าท่อนหน้า Proximal epiphysis 9 11 Distal epiphysis 9 11 กระดูกข้อเท้าหน้า Accessory bone 4 5 กระดูกส่วนเท้าหน้าไม่รวมนิ้ว 5.5 6.5
  • 10. 10 ตารางที่ 1-2 (ต่อ) ต�ำแหน่ง อายุที่มีการปิด (เดือน) เร็วที่สุด ช้าที่สุด กระดูกต้นขาหลัง Greater trochanter 11 11 Femoral capital epiphysis 11 12 Lesser trochanter, Distal epiphysis 11 12 กระดูกหน้าแข้ง Proximal epiphysis 11 12 Tibial tuberosity apophysis 11 12 Distal epiphysis 8.5 11 Medial malleolus 4 5 กระดูกน่อง Proximal epiphysis 10 12 Distal epiphysis 10 11 กระดูกส้นเท้า Tuber calcanei 6.5 7.5 กระดูกส่วนเท้าหลังไม่รวมนิ้ว 7 8 กระดูกนิ้วเท้า 5.5-6.5 6.5-7.5 (ที่มา : กรกฎ พ.ศ. 2550[8])