SlideShare a Scribd company logo
1 of 306
ประวั ต
ิ (ศาสตร์)
อันแสนส
ุ ขของ
แถมส
ุ ข
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
ศาสตราจารย์์เกี
ี ยรติ
ิ คุ
ุ ณ ดร.แถมสุ
ุ ข นุ่
่� มนนท์์ ป.ช., ป.ม.
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2565
ศาลาเตชะอ
ิ ทธ
ิ พร วัดเทพศ
ิ ร
ิ นทราวาส
ศาสตราจารย์เก
ี ยรต
ิ ค
ุ ณ ดร.แถมส
ุ ข น
ุ่ มนนท์
ชาตะ 21 มิถุนายน 2478
มรณะ 1 กุมภาพันธ์ 2565
สิริอายุรวม 86 ปี
8
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
สำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ ได้กราบถวายบังคมลา
ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2565 เมื่อความทราบ
ถึงฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่ กลองชนะ
ประโคมเวลาพระราชทานน้ำ�หลวงอาบศพ และมีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม
เวลากลางคืน กำ�หนด 3 คืน และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทรา-
วาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในวันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม
พุทธศักราช 2565
การนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน
รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด
กระหม่อมพระราชทานพวงมาลาวางที่หน้าโกศศพ และทรงพระกรุณาเสด็จ
พระราชดำ�เนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ
หากความทราบโดยญาณวิถีถึงดวงวิญญาณของศาสตราจารย์
เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ ได้ด้วยประการใดในสัมปรายภพ ก็จะมี
ความปลาบปลื้มซาบซึ้งเป็นล้นพ้นในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับพระราชทาน
เกียรติอันสูงยิ่งในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
9
สำ �น
ึ กในพระมหากร
ุ ณาธ
ิ ค
ุ ณ
ข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นบุตร และหลาน ๆ ขอพระราชทานพระบรม-
ราชวโรกาสกราบถวายบังคมแทบเบื้องพระยุคลบาท ด้วยความสำ�นึกใน
พระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และขอเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือ
กระหม่อม เป็นสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่ข้าพระพุทธเจ้าและวงศ์ตระกูล
สืบไป
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
นายรณดล นางปาลีรัฐ นุ่มนนท์
นายธนชาติ นางธนิศา นุ่มนนท์
นายปารณ นุ่มนนท์
นายปาณัท นุ่มนนท์
นายนิธิรันดร์ นุ่มนนท์
เด็กชายธีรธรรม นุ่มนนท์
10
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
ประวัติ
ศาสตราจารย์เก
ี ยรต
ิ ค
ุ ณ ดร.แถมส
ุ ข น
ุ่ มนนท์
ครอบครัว
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 21
มิถุนายน 2478 เป็นบุตรคนที่ 3 ของ ร.ต. ถัด และนางแส (สกุลเดิม ณ พัทลุง)
รัตนพันธุ์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา
4 คน คือ
1. นายแถมสิน รัตนพันธุ์ (ถึงแก่อนิจกรรม)
2. นางแถมศรี รัตนพันธุ์
3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์
4. นางแถมสร้อย รัตนพันธุ์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ สมรสกับ นายสุรัตน์
นุ่มนนท์ บุตรคนเดียวของนายจำ�รัส และนางสง่า นุ่มนนท์ เมื่อปี 2506 มีบุตร
2 คน คือ
1.	นายรณดล นุ่มนนท์ สมรสกับ นางสาวปาลีรัฐ ศิลปพันธุ์
มีบุตร 2 คน คือ
นายปารณ นุ่มนนท์
นายปาณัท นุ่มนนท์
ประวั ต
ิ
11
2.	นายธนชาติ นุ่มนนท์ สมรสกับ นางสาวสุวรรณี โสภณธรรมกิจ
มีบุตร 1 คน คือ
นายนิธิรันดร์ นุ่มนนท์
และสมรสกับ นางสาวธนิศา เครือไวศยวรรณ มีบุตร 1 คน คือ
เด็กชายธีรธรรม นุ่มนนท์
การศึกษา
•	 จบชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนโสภณพัทลุงกุล (2488)
•	 จบชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนสตรีพัทลุง (2493)
•	 จบชั้นมัธยมปีที่ 8 แผนกอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย
(2495)
•	 อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2499)
•	 ประกาศนียบัตรครูมัธยม กระทรวงศึกษาธิการ (2501)
•	 ปริญญาโท (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยฮ่องกง ฮ่องกง (2504)
•	 ปริญญาเอก (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
(2509)
การทำ�งาน : ภาคการสอน
•	 อาจารย์ประจำ�แผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2501-2514)
•	 อาจารย์ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2514-2518)
•	 อาจารย์ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม (2518-2538)
•	 อาจารย์พิเศษคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2501-2514)
12
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
•	 อาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(2501-2514)
•	 อาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(2512-2514)
•	 อาจารย์พิเศษคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(2519-2521)
•	 นักวิชาการรับเชิญประจำ�สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Institute
of Southeast Asian Studies) สิงคโปร์ (2519)
•	 นักวิชาการรับเชิญประจำ�สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัย
คอร์แนล สหรัฐอเมริกา (2522-2523)
•	 ศาสตราจารย์รับเชิญประจำ�มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
สหรัฐอเมริกา (2524-2525)
•	 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยนเรศวร (2543-2546)
•	 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2543-2546)
การทำ�งาน : ภาคบริหารและงานวิชาการของมหาวิทยาลัย
•	 หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ (2514-2518)
•	 หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศิลปากร (2518-2522)
•	 คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2526-2530)
•	 กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร (2526-2530)
•	 ประธานโครงการตำ�รามหาวิทยาลัยศิลปากร (2519-2522)
•	 ประธานหลักสูตรวิชาพื้นฐานมหาวิทยาลัยศิลปากร (2527-2530)
•	 กรรมการกลั่นกรองหลักสูตรกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร (2538-2546)
ประวั ต
ิ
13
•	 กรรมการพิจารณาหลักสูตรสายสังคมศาสตร์ของทบวงมหาวิทยาลัย
(2527-2537)
•	 อนุกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับตำ�แหน่งทางวิชาการของทบวงมหา-
วิทยาลัย
•	 ประธานจัดทำ�โครงการและดำ�เนินการสอนเรื่องเมืองไทยให้แก่
นักศึกษาวิทยาลัยเซนต์โอลาฟ วิทยาลัยลูวิส แอนด์ คลาร์ก วิทยาลัย
เวสลีย์ จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้ามาศึกษาที่คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(2516-2531)
การทำ�งาน : งานวิชาการของสถาบัน / สมาคม
•	 กรรมการชำ�ระประวัติศาสตร์ไทย สำ�นักนายกรัฐมนตรี (2516-2532)
•	 คณะกรรมการก่อตั้ง และอุปนายกสมาคมประวัติศาสตร์ ในพระ-
ราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2521-
2530)
•	 กรรมการดำ�เนินงานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรม
ยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด (2529-2537)
•	 กรรมการอำ�นวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สำ�นักนายกรัฐมนตรี (2535-2536)
•	 กรรมการวิจัยและพัฒนา สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
(2536-2542)
•	 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2536-2545)
•	 กรรมการคณะบรรณาธิการ สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ราชบัณฑิตย-
สถาน (2534-2546)
•	 กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา (2534-2545)
14
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
•	 กรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบัน
พระปกเกล้า (2543-2546)
รางวัล / ทุนการศึกษา
•	 ทุนมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ระดับเตรียมอุดมศึกษา
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (2494-2495)
•	 รางวัลทุนสุภาส จันทรโบส คะแนนยอดเยี่ยมหมวดประวัติศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2500)
•	 รางวัลรันซีแมน ชนะประกวดเรียงความประวัติศาสตร์ คณะอักษร-
ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2500)
•	 ทุนมูลนิธิเอเชีย ศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยฮ่องกง (2502-
2504)
•	 ทุนบริติช เคานซิล ศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยลอนดอน
(2505-2509)
•	 ทุนซีโต้ เพื่อทำ�วิจัยเรื่อง ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกันในประเทศไทย
ที่สหรัฐอเมริกา (2516)
•	 ทุนมูลนิธิฟอร์ด เพื่อทำ�วิจัยเรื่อง เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
ที่สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ (2518)
•	 ทุน American Council of Learned Societies เพื่อทำ�วิจัยเรื่อง
เมืองไทยสมัยสงครามเวียดนาม ที่สหรัฐอเมริกา (2522-2523)
•	 ได้รับเชิญจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รัฐบาลญี่ปุ่น และรัฐบาลเยอรมัน
ไปปาฐกถาในวาระฉลองครบรอบ 200 ปี อิสรภาพอเมริกา ฉลอง
ครบรอบ 100 ปี สัมพันธภาพไทย-ญี่ปุ่น และการฉลองครบรอบ 50 ปี
สงครามโลกครั้งที่สอง ที่มลรัฐฮาวาย (2519) กรุงโตเกียว (2530)
และนครเบอร์ลิน (2538)
ประวั ต
ิ
15
•	 ได้รับทุนมูลนิธิโตโยต้า มูลนิธิเอเชีย มูลนิธิฟอร์ด และอื่น ๆ เข้าร่วม
ประชุมสัมมนาทางวิชาการ และนำ�เสนอบทความในประเทศออสเตรเลีย
มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมนี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
5 ธันวาคม 2510	 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
5 ธันวาคม 2512	 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
5 ธันวาคม 2517	 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
5 ธันวาคม 2520	 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
5 ธันวาคม 2524	 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
5 ธันวาคม 2532	 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
5 ธันวาคม 2535	 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
เกียรติคุณ
•	 ศาสตราจารย์ ระดับ 10 มหาวิทยาลัยศิลปากร (2531)
•	 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2540)
•	 นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ดีเด่นประจำ�ปี พ.ศ. 2544 จากสมาคม
นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตน-
ราชสุดาฯ
•	 ประกาศนียบัตรชั้นสูงกิตติมศักดิ์ จากสถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่
16 กรกฎาคม 2545
16
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
สารบัญ
ประวััติิ 	 10
คำำ�นำำ� 	 18
แถมส
ุ ขวั ยร
ุ่น
ท่่าโรงยาเก่่าถึึงสี่่�กั๊๊�ก 	 23
สตรีีพััทลุุง 	 32
วััฒนาวิิทยาลััย 	 45
อัักษรศาสตร์์ จุุฬาฯ 	 55
แถมส
ุ ขวั ยสาว
บััณฑิิตสองพัันห้้าร้้อย 	 79
ฮ่่องกงเดีียวดาย 	 86
ลอนดอนครองรััก 	 94
จามจุุรีี 	 113
แถมส
ุ ขวั ยโรจน์ -วั ยโรย
มหาวิิทยาลััยเชีียงใหม่่ 	 130
ค้้นหาอดีีตในต่่างแดน 	 149
ศิิลปากร พระราชวัังสนามจัันทร์์ 	 182
แถมสุุขวััยโรย 	 199
ผมรัักแม่่แถมสุุขครัับ 	 214
คำ �ไว้อาลั ย
แพทย์์หญิิงนงเยาว์์ จุุลชาต (โชติินุุกููล) 	 222
กััลยา เมืืองตั้้�ง	 224
สารบั ญ
17
อุุชา สวิินทร 	 225
ทััศนีีย์์ บุุนนาค 	 227
ศาสตราจารย์์เกีียรติิคุุณ ดร.นัันทวรรณ ภู่่�สว่่าง 	 230
Rosemary Marshall	 233
แถมสร้้อย รััตนพัันธุ์์�	 236
ธนาลััย ลิิมปรััตนคีีรีี 	 239
ดร.เตช บุุนนาค	 242
ศาสตราจารย์์พิิเศษ ศรีีศัักร วััลลิิโภดม 	 244	
ผะอบ นะมาตร์์ 	 246
ศาสตราจารย์์ ดร.สุุเนตร ชุุติินธรานนท์์	 248
พิิมพ์์ประไพ พิิศาลบุุตร 	 250
ดร.มานะ มหาสุุวีีระชััย	 252
ผู้้�ช่่วยศาสตราจารย์์มนััส เกีียรติิธารััย 	 254
สารููป ฤทธิ์์�ชูู	 255
ธนชาติิ นุ่่�มนนท์์	 257
ปารณ, ปาณััท, นิิธิิรัันดร์์ และธีีรธรรม นุ่่�มนนท์์	 260
ณ กาฬ เลาหะวิิไลย	 262
นพ.สุุริิยััน, พญ.กิิตติิยา, พญ.แทนตวััน	 265
และ พญ.กตััญญูู มหามงคล 	
ปาจรีีย์์ สงวนศรีี	 268
สมทรง แก้้วจาระนััย และชุุติิมา โชติิสวััสดิ์์�	 270
งานว
ิ ชาการ
ศาสตราจารย์์เกีียรติิคุุณ ดร.แถมสุุข นุ่่�มนนท์์	 274
กัับวิิชาการประวััติิศาสตร์์ในประเทศไทย
โดย รองศาสตราจารย์์พรเพ็็ญ ฮั่่�นตระกููล
ผลงานทางวิิชาการ 	 294
18
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
คำ�นำ�
แม่
เขียนอัตชีวประวัติจากที่พ่อและลูกทั้งสองรบเร้าอยากให้แม่ได้
ถ่ายทอดลงเป็นตัวอักษร เพื่อให้ญาติและมิตรสหายได้รับรู้เรื่องราว
ที่แม่เล่าให้ฟังมาตลอด เพราะแม่สามารถจดจำ�รายละเอียดทุกอย่างได้อย่าง
น่าอัศจรรย์ แม้กระทั่งรายชื่ออาจารย์ทุกคน รวมทั้งเพื่อน ๆ ตั้งแต่ชั้นประถมจน
เรียนมหาวิทยาลัย (รวมถึงนามสกุลทั้งเก่าและใหม่) ที่สำ�คัญ ยังบรรยายสถานที่
และบรรยากาศในยุคสมัยนั้น ๆ ราวกับว่าเรื่องราวเหล่านั้นเพิ่งผ่านพ้นไปไม่นาน
ในที่สุด แม่ตัดสินใจที่จะเขียนประวัติตนเอง แต่ขอแบ่งการเขียน
เป็น 3 ช่วงชีวิต ช่วงแรกเป็นช่วงชีวิตวัยเด็กจนถึงวัยสาว ใช้ชีวิตที่สี่กั๊ก เรียน
หนังสือที่โรงเรียนสตรีพัทลุง โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และสานฝันให้เป็นจริง
ด้วยการศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้ชื่อหนังสือ
ว่า แถมสุขวัยรุ่น เขียนแล้วเสร็จเมื่ออายุ 60 ปี ในปี 2538 จากนั้นทิ้งเวลา
จนอายุครบ 6 รอบในปี 2550 จึงเขียนต่อถึงชีวิตในช่วงหลังจากเรียนจบ
ปริญญาตรี ด้วยวิชาเอกประวัติศาสตร์ พร้อมเข้าทำ�งานที่คณะอักษรศาสตร์
จุฬาฯ ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยฮ่องกง และพบรักกับคุณพ่อ
ที่กรุงลอนดอน ที่ไขว่คว้าแสวงหาปริญญาเอกให้กับตัวเอง โดยจบถึงช่วงเป็น
อาจารย์ประจำ�ที่จุฬาฯ ซึ่งแม่ใช้ชื่อหนังสือช่วงนี้ว่า แถมสุขวัยสาว
สำ�หรับช่วงชีวิตหลังจากย้ายครอบครัวจากกรุงเทพฯ ไปอยู่ที่
เชียงใหม่ แม่ตั้งใจจะเขียนแจกในช่วงวันคล้ายวันเกิดครบ 7 รอบ 84 ปี แต่ด้วย
ปัญหาสุขภาพที่เริ่มตั้งเค้า โดยที่พ่อมักจะคอยเตือนให้เขียนก่อนหมดสภาพ
แม่จึงตัดสินใจเลื่อนมาเขียนตอนวัย 75 ปี โดยเล่าถึงชีวิตช่วงที่เป็นอาจารย์
ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การค้นอดีตในต่างแดน และชีวิตในมหาวิทยาลัย
คำ �นำ �
19
ศิลปากร ซึ่งถือเป็นช่วงที่สดใสและสนุกสนานทางปัญญา โดยใช้ชื่อว่า แถมสุข
วัยโรจน์-วัยโรย ซึ่งพ่อได้ช่วยปรับปรุงข้อเขียนให้อย่างงดงาม พร้อมทั้งเขียน
คำ�นำ�เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2554 ก่อนถึงแก่กรรมเพียง 9 วัน ซึ่งนับว่าโชคดีมาก
ที่แม่และพ่อได้มีส่วนร่วมกันเขียนประวัติของแม่ทั้ง 3 ช่วงชีวิตตามที่ตั้งใจไว้
อย่างไรก็ดี เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบถึงชีวิตแม่อย่างสมบูรณ์แบบ
จึงได้เขียนประวัติของแม่เพิ่มเติมในช่วงบั้นปลายของชีวิต ที่แม่มักบอกเสมอ
ว่า “ชีวิตนี้มีกำ�ไร” พร้อมทั้งคัดคำ�ไว้อาลัยของแต่ละท่านในหนังสือมาวางให้
สอดรับกับช่วงชีวิตที่แม่เกี่ยวข้องกับท่านเหล่านี้ นอกจากนั้น ได้นำ�บทความของ
รองศาสตราจารย์พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล ลูกศิษย์อักษรศาสตร์ จุฬาฯ รุ่นที่ 35 ที่ได้
มีโอกาสสัมภาษณ์แม่ในเรื่อง “ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ กับ
วิชาการประวัติศาสตร์ในประเทศไทย” เพื่อเติมเต็มชีวิตแม่ ทั้งชีวิตส่วนตัวที่ให้
ความสุขกับตนเองและคนรอบข้าง และการเป็นนักประวัติศาสตร์ที่ทำ�ให้วิชา
ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่สนุกและน่าเรียน
ท้ายสุด ขอขอบคุณ อาจารย์ชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ
สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2557 ที่ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ให้ และขอบคุณคณะผู้จัดทำ�
หนังสือเล่มนี้ทุกท่านที่ช่วยกันจัดทำ�หนังสือจนแล้วเสร็จ หากแม่รับรู้ได้คง
พึงพอใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งขอกราบขอบพระคุณแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ที่ให้เกียรติมาร่วมฟังสวดอภิธรรมบำ�เพ็ญกุศล นำ�พวงหรีดมาเคารพศพ ร่วม
เป็นเจ้าภาพและร่วมทำ�บุญ ตลอดจนร่วมงานในวันพระราชทานเพลิงศพแม่
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ และขอให้อานิสงส์ผลบุญที่ท่าน
ได้ร่วมทำ�บำ�เพ็ญกุศล โปรดอภิบาลรักษาให้ท่านประสบแต่สิ่งอันเป็นมงคล
พร้อมด้วยจตุรพิธพรชัยทุกประการ
รณดล นุ่มนนท์
ธนชาติ นุ่มนนท์
29 พฤษภาคม 2565
แถมส
ุ ข
วั ยร
ุ่น
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
22
คำ�นำ�
ด้ วย
วัย 60 ปี พวกเราสามคน ทั้งพ่อและลูก ๆ ไม่อยากเห็นแม่
อยู่ในวัยนี้ เราผ่านและพบเห็นแม่จากวัยสาวจนถึงวัยปัจจุบัน
ไม่มีใครเห็นและทราบถึงวัยเด็กและวัยรุ่นของแม่ จึงเคี่ยวเข็ญให้แม่เขียนถึง
ตั้งชื่อหนังสือว่า แถมสุขวัยรุ่น เดิมตั้งใจจะนำ�รูปวาดแม่ ที่ท่านอาจารย์
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช วาดให้หลายปีก่อนมาทำ�หน้าปก แต่เพ่งพิศดูแล้ว
ใบหน้าที่ท่านอาจารย์วาดให้แม่ ไกลจากความเป็นวัยรุ่นอยู่มาก จึงตัดสินใจ
นำ�ภาพวาดที่ช่างวาดในนครซิดนีย์วาดให้ครั้งแม่ไปประชุมที่ออสเตรเลียเมื่อ
24 ปีก่อน ซึ่งใกล้กับความเป็นวัยรุ่น มาพิมพ์ปก
แถมสุข นุ่มนนท์ เขียนเรื่องท่าโรงยาเก่าถึงสี่กั๊ก สตรีพัทลุง วัฒนา-
วิทยาลัย และอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชีวิตของแถมสุขมีเรื่องน่าติดตามอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริญญาโท
ฮ่องกง ปริญญาเอกลอนดอน อาจารย์ประจำ�จุฬาฯ เชียงใหม่ ศิลปากร อาจารย์
สอนพิเศษธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
การเผชิญกับเรื่องราวต่าง ๆ และกว่าข้อเขียนเหล่านั้นจะปรากฏคงต้องรอถึง
โอกาสอันควร เพื่อพบกับ แถมสุขวัยสาว และแถมสุขเกินวัย
ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับช่วงชีวิตที่ผ่านมา แถมสุขบอกสั้น ๆ ว่า “ชีวิตนี้
มีกำ�ไร” และชีวิตสุขสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเมื่อมีชีวิตใหม่ติดตามมาในสกุลของเรา มีทั้ง
สุวรรณีของธนชาติ ปาลีรัฐของรณดล พร้อมกับเด็กชายน้อยอีกคนหนึ่ง ปารณ
นุ่มนนท์ (บอนด์)
สุรัตน์ นุ่มนนท์
21 มิถุนายน 2538
ท่ าโรงยาเก่ าถ
ึ งส
ี ่ กั๊ก
23
ท่าโรงยาเก่าถึงสี่กั๊ก
21 มิถุนายน 2478 ตรงกับวันศุกร์ เดือน 7 แรม 5 ค่ำ� เวลา 22.59
นาฬิกา ณ บ้านตึกแถวริมแม่น้ำ�เจ้าพระยาตรงท่าโรงยาเก่า ใกล้ปากคลอง-
ตลาด ชีวิตหนึ่งได้เกิดมาเนื้อตัวเขียว ปากเขียว ไม่มีลมหายใจ และด้วยการดูแล
ของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุล หมอหนุ่มจากศิริราชที่ช้อนทารกในครรภ์ 7 เดือน
จับแช่ลงอ่างน้ำ�เย็น ชีวิตกลับฟื้ นขึ้นทันทีด้วยเสียงร้องไห้จ้า เป็นภาพอันชุลมุน
เมื่อ 60 ปีก่อน สำ�หรับเด็กแรกเกิดก่อนกำ�หนดชื่อว่า แถมสุข
สภาพภายในบ้านเต็มไปด้วยหนุ่มสาวนับสิบ ล้วนเป็นเครือญาติ
และคนรู้จักจากพัทลุงที่มาเรียนหนังสือต่อ และยังมียายเอียด ณ พัทลุง ช่วย
โอบอุ้มเลี้ยงดูดิฉัน วันที่ดิฉันถือกำ�เนิด คุณพ่อ (ร.ต. ถัด รัตนพันธุ์) ผู้แทน-
ราษฎรจังหวัดพัทลุง กำ�ลังเดินทางดูงานใน 7 ประเทศแถบเอเชีย และอยู่ที่
เซี่ยงไฮ้
คุณพ่อเป็นกำ�ลังหลักของครอบครัว ไม่ได้มีฐานะร่ำ�รวย อาศัยเงินเดือน
จากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 350 บาท และจากการเขียนหนังสือให้กับ
หนังสือพิมพ์ได้เงินอีกเล็กน้อย แต่ชีวิตของทุกคนไม่ได้ยากลำ�บากแสนเข็ญ
ก่อนที่คุณพ่อจะก้าวมาสู่จุดของการเป็นผู้แทนราษฎรต้องผ่านความทุกข์ยาก
มานาน ต้องโทษถูกคุมขังในเรือนจำ�ถึง 12 ปี 6 เดือน กับ 6 วัน ในฐานะนักโทษ
การเมือง ร่วมก่อการ ร.ศ. 130 ผู้หนึ่ง ขณะอยู่ในวัย 24 ปี
ภายในคุก คุณพ่อใช้เวลาที่มีอยู่ศึกษาวิชาการต่าง ๆ เขียนเรื่องแต่ง
นวนิยายเรื่อง เด็กกำ�พร้า ในนามปากกา ไทยใต้ จากเค้าโครงเรื่องของชาร์ลส์
ดิกเกนส์ ทำ�ให้ผู้อ่านต้องร้องไห้ ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ เคยรื้อฟื้ น
ความหลังครั้งอ่านเรื่อง เด็กกำ�พร้า ให้ดิฉันฟังว่า “ผู้คนติดตามอ่านเรื่อง อ่าน
แล้วร้องไห้ไปตาม ๆ กัน”
24
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
ค
ุ ณพ่ อ (ร.ต. ถั ด รัตนพั นธุ์)
ท่ าโรงยาเก่ าถ
ึ งส
ี ่ กั๊ก
25
คุณพ่อพ้นโทษแล้วต้องปกปิดตัวเอง เขียนหนังสือและทำ�งานให้กับ
หนังสือพิมพ์ บางกอกการเมือง และแต่งงานกับคุณแม่ (แส ณ พัทลุง) ที่จังหวัด
พัทลุงในปี พ.ศ. 2470 ก่อนย้ายมาทำ�งานหนังสือพิมพ์ ศรีกรุง และหนังสือพิมพ์
สยามราษฎร์ ตามลำ�ดับ การงานที่ทำ�เป็นไปด้วยความยากลำ�บาก ถูกจำ�กัดสิทธิ
การทำ�งานหนังสือพิมพ์ ยศร้อยตรีที่ได้รับพระราชทานจากการสำ�เร็จโรงเรียน
นายร้อยถูกถอดไปตั้งแต่ต้องโทษ
พี่น้องพัทลุงของคุณพ่อและคุณแม่เต็มเมือง โยงใยมานานเป็นร้อยปี
มีตั้งแต่เจ้าเมืองลงมาถึงพัศดีเรือนจำ�และเกษตรกรผู้ยากจน ทำ�ให้ได้รับเลือกตั้ง
เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทางอ้อมครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2476 โดย
ให้ราษฎรเลือกผู้แทนตำ�บล แล้วให้ผู้แทนตำ�บลเลือกผู้แทนราษฎรอีกชั้นหนึ่ง
พอเลือกผู้แทนราษฎรครั้งที่ 2 หลังจากอยู่จนครบวาระ 4 ปี คุณพ่อแพ้ครูถัด
พรหมาณพ ไป 227 คะแนน แต่สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้อยู่ได้เพียง 10 เดือน
ก็ถูกยุบ การเลือกตั้งครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2481 คุณพ่อได้รับเลือกตั้งด้วยคำ�ขวัญ
ที่ยังเป็นอมตะของชาวบ้านที่ว่า “กินเลี้ยงครูถัด ใส่บัตรนายร้อย” การใช้จ่าย
หาเสียงใช้เงินไม่ถึง 1,000 บาท พระยาพหลพลพยุหเสนา และหลวงธำ�รง-
นาวาสวัสดิ์ ให้เงินช่วยเหลือคนละ 100 บาท หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ
นายปรีดี พนมยงค์ ให้ 40 บาท
คุณพ่อย้ายบ้านมาอยู่ที่ถนนพะเนียง นางเลิ้ง เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น
บันไดขึ้นชั้นบนยื่นออกมาจากตัวเรือนอยู่ด้านหลัง ห้องรับแขกเป็นมุขอยู่ริม
ซ้ายมือของตัวบ้าน มีรูปถ่ายคนสำ�คัญของบ้านเมืองประดับ เช่น พระยาพหล-
พลพยุหเสนา หลวงศุภชลาศัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม หลวงธำ�รงนาวาสวัสดิ์
มอบให้เป็นที่ระลึกติดเต็มผนังบ้าน รูปหมู่คณะ ร.ศ. 130 และกระบี่นายทหาร
มหาดเล็กรักษาพระองค์ ติดไว้อย่างโอ่อ่า
งานการเมืองเป็นงานหนัก แต่คุณพ่อกลับมีชีวิตสดใสขึ้น คืนสู่สภาพ
พลเมืองไทยโดยสมบูรณ์เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แล้วสามารถ
เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ สยามราษฎร์ ได้ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และ
ได้ยศทหารคืน คุณแม่ทำ�งานในฐานะแม่บ้านดูแลผู้คนในบ้านและเลี้ยงดูลูก
26
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
เล็ก ๆ สำ�หรับดิฉันจำ�ความได้ถึงชีวิตหรูหราในชุดกระโปรงบาน เสื้อติดโบว์
สวมหมวกชุดเขียวทั้งตัวตัดรับกับผิวเนื้อดำ�ของตัวเอง ในงานวันเกิดจอมพล
ป. พิบูลสงคราม วันที่ 14 กรกฎาคม 2484 ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำ�เนียบสามัคคีชัย
การแต่งชุดเขียวเป็นความหมายของสีวันเกิดในวันพุธของท่านผู้นำ�ในยุคนั้น
ปี 2485 สนุกสนานกับน้ำ�ท่วมใหญ่กรุงเทพฯ แอบลงเรือพายเล่นกับ
พี่ไสว แก้วสม ไปไกลถึงคลองหน้าทำ�เนียบรัฐบาล น่ากลัวเรือล่ม ในวัย 6 หรือ
7 ขวบ เป็นวัยซุกซน แต่อ่านหนังสือออกก่อนเข้าเรียนชั้นประถมด้วยซ้ำ� วิธีการ
อ่านหนังสืออ่านแบบเป็นคำ�ไป ไม่มีการสะกดตัวหนังสือ ไม่มีใครสอน ใช้การ
สังเกต ช่างรู้ของตนเอง ผ่านกระทรวงใดก็อ่านได้ทันที เช่น คําว่า “กระทรวง
มหาดไทย”
หนังสือ พล นิกร กิมหงวน ของ ป. อินทรปาลิต เป็นแรงส่งให้อ่าน
หนังสือออกได้อย่างรวดเร็ว เริ่มแต่ชอบให้คนอ่านให้ฟังแล้วหัวเราะชอบใจ
จนผู้คนเอือมระอาไม่มีใครอ่านให้ฟัง หยิบหนังสือที่วางกองระเกะระกะมา
ค่อย ๆ แกะอ่านเองด้วยความขบขัน สร้างความประหลาดใจให้คนในบ้าน
นั่งเรียนหนังสือของ ป. อินทรปาลิต อยู่จนเกือบ 7 ขวบ จึงเข้าเรียน
ที่โรงเรียนสตรีจุลนาค ในชั้นประถมปีที่ 1 ตรงแถบหลานหลวงใกล้บ้าน ที่
โรงเรียนนี้ไม่มีความจดจำ�ใดเหลืออยู่ เพราะเรียนได้ปีเดียวสงครามโลก
ครั้งที่ 2 รุนแรงขึ้น กรุงเทพฯ ถูกระเบิด ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ คุณพ่อ
พาครอบครัวกลับมาอยู่ที่ตลาดพัทลุง หรือที่เรียกว่า “สี่กั๊ก” เช่าบ้านเรือนแถว
ตั้งเป็นสำ�นักงานผู้แทนด้วย เป็นบ้านไม้ห้องแถว 2 ชั้น หลังริมสุด บนถนน
โพธิ์สะอาด ติดกับบ่อโพธิ์ซึ่งเป็นบ่อน้ำ�สาธารณะ ทั้งหญิงและชายไปอาบน้ำ�
ตอนเช้าและตอนเย็น
ท่ าโรงยาเก่ าถ
ึ งส
ี ่ กั๊ก
27
จดหมายจากค
ุ ณพ่ อถ
ึ งล
ู ก ๆ
ดิฉันชอบเดินไปอาบน้ำ�คลองริมสถานีรถไฟกับบุญชอบ อ่อนเปี่ ยม
ญาติกัน ในตอนเย็น ๆ ขากลับหิ้วถังใส่ผ้าถุงซักแล้วกลับบ้าน บุญชอบหลอกว่า
“แม่ (ป้าเอียด) ห้ามถือถัง” ดิฉันต้องทำ�หน้าที่ถือถังให้บุญชอบทุกวัน บุญชอบ
มาสารภาพภายหลังว่า “นั่นเป็นกลเม็ดต้องการเดินสบาย ๆ ไม่ต้องถือถัง”
ตลาดสี่กั๊กเล็กมาก มีถนนราเมศวร์อยู่สายเดียว ไม่มีไฟฟ้า น้ำ�ประปา
ที่บ้านมีบ่อน้ำ�ขุดลึกต้องใช้เชือกผูกถังชักรอกน้ำ�ขึ้นมา น้ำ�สีแดงจัดต้องกรอง
ก่อน แต่ใช้ดื่มไม่ได้ และมีห้องน้ำ�เล็กในบ้าน แต่ห้องส้วมอยู่นอกบ้านตาม
ความเชื่อโบราณ
28
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
ชีวิตวนเวียนอยู่ในหมู่ญาติ ไปหาญาติต่างตำ�บลต้องเดินไปไม่ต่ำ�กว่า
8 กิโลเมตร ไม่ว่านาท่อมไปทางจังหวัดตรัง หรือลำ�ปำ�ตรงบริเวณจวนเจ้าเมือง
เก่า และห่างออกไปมีทะเลสาบป่าขวางกั้น ที่สนุกมากเมื่อได้ไปบ้านคุณตาปั้ น
ณ พัทลุง ที่ท่ามะเดื่อ เขาไชยสน ขึ้นรถไฟไปลงสถานีเขาไชยสน แล้วเดินตาม
ทางคันนาไปอีก 8 กิโลเมตร ระหว่างทางมีงูเลื้อยผ่าน เผชิญกับทากเกาะติดเนื้อ
ดูดเลือด บ้านคุณตาหลังใหญ่ มีอาณาเขตกว้าง เต็มไปด้วยผลหมากรากไม้
มีผลไม้ให้เลือกเก็บกิน และสนุกสนานกับการเล่นน้ำ�ในคลองไหลผ่านหน้าบ้าน
แม้จะลงเล่นอยู่ตามลำ�คลองมาตลอด แต่ดิฉันกลับว่ายน้ำ�ไม่เป็น
ตอนย้ายไปพัทลุงเข้าเรียนชั้น ป. 2 ที่โรงเรียนโสภณพัทลุงกุล ตั้งอยู่ใน
วัดภูผาภิมุข (วัดต่ำ�) เป็นนักเรียนพิเศษย้ายมาจากเมืองหลวง เป็นลูกนายร้อยถัด
ผู้แทน เพื่อนล้อว่า “แหลงภาษาใต้ไม่เป็น” พูดได้แต่ภาษากลาง หรือตามศัพท์
ชาวบ้านว่า “ภาษาข้าหลวง” ความไม่เอาไหนในภาษาพูดปักษ์ใต้ยังเป็นอยู่ถึง
ทุกวันนี้ เพื่อนร่วมโรงเรียนเดิม ทั้งประถมและมัธยม ยอมยกให้คนหนึ่งที่จะ
เจรจากันด้วยภาษาภาคกลาง
เพื่อนร่วมชั้นประถมส่วนใหญ่เป็นญาติ หลายคนตามมาเรียนชั้นมัธยม
ด้วยกัน ครูสอนแต่ละชั้นมีคนเดียว มีหนังสือเรียนคนละแค่ 2-3 เล่ม ใช้กระดาน
ชนวนและดินสอชนวนเขียนจนจบชั้นประถม ไม่มีกระดาษสมุดและดินสอดำ�
เลิกจากพักเรียนจะเล่นมอญซ่อนผ้า หรือวิ่งเล่นซ่อนหา
ชีวิตบันเทิงในยามกลางคืนมีลิเก มโนราห์ และหนังตะลุงให้ดู เวลามี
งานวัด งานแก้บน หรืองานศพ ชาวบ้านจะหลั่งไหลมาดูกันอย่างพร้อมเพรียง
เด็ก ๆ จะจับจองที่นั่ง รีบนำ�เสื่อไปตั้งแต่หัววัน และนั่งดูจนครึ่งค่อนคืน บางคน
นั่งถ่างตาดูหนังตะลุงกว่าจะเลิกจนถึงตีสี่
ความสุขที่พัทลุงที่ได้อยู่กันอย่างพร้อมหน้า มีทั้งคุณพ่อและคุณแม่
เป็นไปเพียงปีเดียว คุณพ่อเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตก
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2487 ขณะที่ยังเป็นผู้แทนราษฎร เพราะได้รับการต่ออายุ
อีก 4 ปี โดยไม่มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อหมดวาระในปี พ.ศ. 2485 เนื่องจากประเทศ
ท่ าโรงยาเก่ าถ
ึ งส
ี ่ กั๊ก
29
อยู่ในภาวะสงคราม ตอนนั้นดิฉันเพิ่งสอบไล่ ป. 2 เสร็จใหม่ ๆ อยู่ในระหว่าง
ปิดเทอม
งานศพคุณพ่อมีมหรสพต่าง ๆ ชาวบ้านจัดมาช่วยแสดงในช่วง 7 วัน
แรกของงานศพ และ 7 วันก่อนวันเผา จดหมายและโทรเลขจากบุคคลสำ�คัญ
ทั้งในวงการเมืองและเพื่อน ๆ ร.ศ. 130 แสดงความไว้อาลัยส่งไปถึงพัทลุง
มากมาย ข้อความที่ส่งเป็นไปตามอักษรในยุค “เชื่อผู้นำ� ชาติพ้นภัย” มีของ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พระยาพหลพลพยุหเสนา
จอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายปรีดี พนมยงค์
แต่ไม่มีจดหมายฉบับใดจะสะท้อนบุคลิกภาพของคุณพ่อได้ดีเท่ากับ
ข้อเขียนไว้อาลัยของคุณอาเนตร ความว่า
ถัด
ถััดกัับฉัันมีีอะไรมัักเปนคู่่�หููกัันเสมอ จนหลายคนพููดว่่า
ถ้้าพบถััดก็็พบฉััน ถ้้าพบฉัันก็็พบถััด แต่่บััดนี้้�ถััดตาย ฉัันยััง
ไม่่ตาย ก็็เปนของคู่่�กัันอีีก คืือ ได้้พบพร้้อมกัันทั้้�งตายและ
ไม่่ตาย
ถััดเปนคนรัักชาติิยิ่่�งชีีพ ชาติิจะล่่มถััดคิิดกู้้� จนถึึงพลีี
ชีีวิิต สาสนาถััดรัักยิ่่�งชีีวิิตเหมืือนกััน พบพระสงฆ์์องค์์เจ้้าที่่�
เปนอลััชชีี ถััดเปนต้้องกะหนาบทัันได แม้้จะมีีศััตรููรอบด้้าน
ก็็ต้้องทำำ�
ถััดเปนคนเจ้้าระเบีียบ แต่่ไม่่เจ้้าอุุบาย (โปลิิซีี) เว้้าซื่่�อ ๆ
ตรง ๆ ปากกัับไจตรงกััน 99% จะเห็็นได้้หย่่างง่่าย ๆ ก็็เช่่น
เวลาคำำ�นัับไคร ถ้้าผู้้�รัับคำำ�นัับทำำ�เมิินเฉยเสีีย ถััดเปนต้้อง
เข้้าไปคำำ�นัับไหม่่อีีกครั้้�งหนึ่่�ง พร้้อมกัับต่่อว่่าต่่อขานว่่า “ทำำ�ไม
คุุณไม่่รัับคำำ�นัับฉััน”
30
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
ถััดเปนคนกล้้าหานและอดทนเหลืือหลาย ผู้้�ที่่�มีีร่่างกาย
ล่ำำ�สัันทมััดทแมง ไม่่สามารถจะเดิินบุุกป่่าฝ่่าหนามและข้้าม
ห้้วยข้้ามเขาไนเวลาจำำ�เปน เช่่น ไปโปรประกัันดาการเลืือกตั้้�ง
ได้้ แต่่ถััดไม่่เคยย่่อท้้อเลย เวลาไปซ้้อมรบในสนาม บางคน
ไม่่สามารถจะทนแดดทนฝนได้้นาน ๆ แต่่ถััดทนได้้วัันยัังค่ำำ�
แต่่เวลาถึึงคราวเดิินข้้ามสะพานรถไฟที่่�มีีกระดานทอด
ถััดข้้ามไม่่ได้้เพราะไจหวิิว ต้้องกระโจนน้ำำ�ข้้ามไปทุุกทีี แม้้
เพื่่�อนฝููงจะพููดให้้ข้้ามหย่่างไรก็็ไม่่ข้้าม เมื่่�อไจไม่่ยอมแล้้ว
ปากก็็ไม่่อำำ�พรางเหมืือนกััน
ถััดเข้้าผู้้�ไหย่่ผู้้�น้้อยได้้ทุุกคน เพราะมีีความน่่ารัักหลาย
หย่่าง ขอให้้สวรรคจงรัักถััดและรัับถััดไว้้ด้้วยเถิิด เพื่่�อเปน
ตััวหย่่างของคนดีีสืืบไป
ร.ต. เนตร พููนวิิวััธน์์ ส.ส.
การรักความยุติธรรมของคุณพ่อเรื่องพระสงฆ์องค์เจ้าที่เป็นอลัชชีนั้น
มีเรื่องเล่าว่าคุณพ่อได้ไปกราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า เจ้าอาวาสวัดทางฝั่ งธนเป็นพระผู้ใหญ่ชั้นธรรม
มาหาผู้หญิงซึ่งเป็นเจ้าของท่าเรือจ้างทุกคืน ตรงตึกแถวใกล้กับที่เราอยู่ สมเด็จ
พระสังฆราชทรงสอบสวนแล้วพบความจริง รับสั่งให้สึกทันที ไม่มีการพิจารณา
อธิกรณ์ชั้นต้นไปจนถึงอุทธรณ์และฎีกา
คุณแม่รับภาระหนักจากการจากไปของคุณพ่อ เลี้ยงดูลูก ๆ และญาติ
จากต่างตำ�บลและต่างอำ�เภอที่มาเรียนหนังสือร่วมอยู่ด้วย รวมทั้งน้าบุญเพิ่ม
ณ พัทลุง น้องสาวคุณแม่ที่สอนอยู่โรงเรียนการช่างสตรี อาหารการกินไม่เป็นที่
เดือดร้อน ญาติจะแบกข้าวสาร กุ้ง ปลาสด และปลาแห้ง มาให้เป็นประจำ� ทุกคน
จะต้องช่วยกันทำ�งานบ้าน การทำ�กับข้าวบางครั้งยุ่งยาก อย่างแกงเขียวหวานไก่
เริ่มตั้งแต่เก็บมะพร้าว ปอกมะพร้าว ขูดมะพร้าวด้วยกระต่ายขูดมะพร้าว
ท่ าโรงยาเก่ าถ
ึ งส
ี ่ กั๊ก
31
จับไก่ ฆ่าไก่ หั่นไก่ ตำ�เครื่องแกง จุดฟืนก่อไฟ การร่วมมือทำ�งานทำ�ให้
ความเหนื่อยกลายเป็นความสนุก
คุณแม่แสวงหารายได้จากการเป็นนายหน้าขายประกันชีวิตของบริษัท
เมืองไทยประกันชีวิต และดิฉันช่วยหั่นหยวกกล้วย คลุกรำ�เลี้ยงแม่หมู ลูกออกมา
ครั้งละ 10 กว่าตัว ขายลูกหมูได้กำ�ไรดี
ยามว่างใกล้เวลารถไฟเข้าสถานีจะไปอยู่ตรงสถานีกับเพื่อน ๆ ดูทหาร
ญี่ปุ่นรูปร่างอ้วนป้อมเตี้ยเดินขวักไขว่เวลารถไฟจอด เด็ก ๆ จะเอากล้วยหอมไป
แลกกับดินสอดำ�กำ�ใหญ่จากทหารญี่ปุ่น
มรดกที่คุณพ่อเหลือไว้ให้ คือ หนังสือตู้ใหญ่ มีทั้งหนังสือ พงศาวดาร
นวนิยาย และหนังสือแปล ดิฉันหยิบคว้ามาอ่านเล่มแล้วเล่มเล่า ซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่า
จนจำ�ขึ้นใจ คุณพ่อสะสมหนังสือทุกประเภท รวมถึงตำ�ราโหราศาสตร์ต่าง ๆ
ดูฤกษ์ยาม ทำ�ให้คุณแม่เชื่อถือโชคลางมาก ย่างเท้าออกจากบ้านแต่ละครั้งต้อง
จับยามสามตา ก้าวเท้าซ้ายหรือขวาให้ถูกต้องตามตำ�รา
ช่วงเวลา 9 ปี ที่อยู่พัทลุง ได้มาเที่ยวกรุงเทพฯ ครั้งเดียว ตอนปิดเทอม-
ใหญ่ ม. 5 พักอยู่บ้านคุณอาเนตร 15 วัน เที่ยวชมเมืองหลวง และเริ่มรู้จัก
“โคคา โคล่า” ราคา 15 สตางค์ เพิ่งมีขายในเมืองไทย แต่กับเมืองใกล้ ไม่ว่าตรัง
หาดใหญ่ สงขลา ได้ไปเที่ยวอยู่บ่อย ๆ
บ้านสี่กั๊กเป็นบ้านแห่งความหลัง ให้ความสุขและความสมหวังมาตลอด
แต่ไม่มีโอกาสกลับไปอยู่กับความหลังเก่า ๆ
32
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
สตรีพัทลุง
ความ
จำ�ในอดีตถึงโรงเรียน ภาพบางภาพแจ่มใสชัดเจน ขณะที่
บางภาพกลับเลือนหายไปหมดสิ้น แต่จากเพื่อนหลาย ๆ
คนมาช่วยกันเล่าความหลัง ทำ�ให้เห็นภาพสมัยที่เคยเรียนร่วมกันมาแจ่มชัด
ยิ่งขึ้น และถ้าหากปราศจากเพื่อนคงไม่สามารถทำ�ให้เห็นอดีตได้ เพื่อนเหล่านี้
ได้แก่ นงเยาว์ บุญชอบ วรรณยิ่ง อนงค์ ฤดี และอรุณี ตลอดจนประณีต
กฤษณา อมร ปราณี และอีกหลาย ๆ คนที่อยู่ในความจำ�
ชีวิตโรงเรียนเริ่มต้นเมื่อใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียน
เปิดเรียนประจำ�ปี ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม 2488 มีนักเรียนที่เข้า ม. 1 รุ่นนั้น
จำ�นวน 41 คน เดิมทางโรงเรียนประกาศรับสมัครนักเรียน 40 คน มีผู้สมัคร
41 คน ถึงวันสอบคัดเลือกมีเพื่อนคนหนึ่งชื่อเชย ป่วยมาสอบไม่ได้ ทางโรงเรียน
จัดแจงให้ 40 คน เข้าเรียนโดยไม่ต้องสอบ แต่แล้ววันดีคืนดี หลังโรงเรียนเปิด
“ สุขในสมัยที่เรียนหนังสือมาด้วยกัน เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยดี
มีีอารมณ์์ขััน สนุุกสนานร่่าเริิง เรีียนเก่่ง ความจำำ�ดีีมาก
เป็็นที่่�รัักของเพื่่�อน ๆ สุุขคืือเพื่่�อนที่่�ดีีเสมอมา การที่่�ได้้เป็็นเพื่่�อน
กัับสุุขก็็เหมืือนกัับได้้กััลยาณมิิตรที่่�ดีี แถมยัังได้้รัับความสุุขดัังชื่่�อ
'แถมสุุข' เป็็นชื่่�อของสุุข ที่่�โดดเด่่นไม่่เหมืือนใคร 
”
แพทย์หญิงนงเยาว์ จุลชาติ (โชตินุกูล)
เพื่อนสตรีพัทลุง
สตร
ี พั ทล
ุ ง
33
ได้เดือนกว่า เชยในสภาพหัวโกร๋นติดต่อขอความเห็นใจขอเข้าเรียนกลางคัน ทาง
โรงเรียนไม่ขัดข้อง ทำ�ให้นักเรียนมีจำ�นวน 41 คน
สตรีพัทลุงออกจะเป็นความใฝ่ฝันของเด็กหญิงในช่วงวัย 10 ขวบ
ในขณะนั้นเป็นโรงเรียนสตรีแห่งเดียวในจังหวัด สอนชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึงมัธยม
ปีที่ 6 รับผู้จบจากชั้นประถมปีที่ 4 สมัยเรียนอยู่ชั้นประถมที่โรงเรียนโสภณ-
พัทลุงกุล ตั้งอยู่ที่วัดต่ำ� (วัดภูผาภิมุข) มองเห็นโรงเรียนสตรีแค่คลองข้าม ทำ�ให้
เกิดความมุ่งมั่นที่จะเรียนต่อที่นี่ และความฝันกลายเป็นความจริงเมื่อได้เข้ามา
เรียนและได้หมายเลขประจำ�ตัว 472
สมัยเข้าเรียน โรงเรียนมีอาคารไม้ 2 ชั้น เพียงหลังเดียว และมีปีกยื่น
2 ข้าง เป็นเรือนรูปตัวยู มีบันได 2 ข้าง ขึ้นห้องเรียนข้างบน ชั้น ม. 1 เรียนข้างล่าง
ส่วนที่เหลือเป็นห้องประชุม และมีเวทียกพื้นเตี้ย ๆ ใช้เป็นเวทีแสดงหรือกิจกรรม
ต่าง ๆ รวมทั้งวางโต๊ะปิงปอง ชั้นบนมีห้องเรียนของชั้น ม. 2 ถึง ม. 5 รวม 4 ห้อง
ตรงปีกข้างหนึ่งเป็นห้องครูใหญ่อยู่ชั้นบน ชั้นล่างเป็นห้องพักครู ปีกอีกด้านหนึ่ง
ชั้นบนเป็นห้อง ม. 6 ชั้นล่างเป็นห้องพยาบาล ทั้งโรงเรียนมีครูและนักเรียน
รวมกันประมาณ 200 คน พื้นที่ของโรงเรียนจำ�นวน 18 ไร่กว่า กว้างขวางแลดู
กว้างไกลสุดสายตา
หน้าอาคารเรียนมีเสาธงตั้งตระหง่าน มีกล้วยแพคล้ายหางนกยูงปลูก
อยู่ 2 ข้าง มีเข็มกอใหญ่ 2 กอ สลับกับต้นบานเช้าและบานบุรี จากหน้าอาคาร
เลี้ยวไปทางขวาเป็นถนนโรยกรวดแคบ ๆ ผ่านสระบัวไปยังโรงอาหาร มีร้านขาย
เต้าคั่ว (สลัดทะเลสาบ) ของน้าขวม และข้าวแกงของน้าเชื้อ อาหารตกจานละ
สลึง รสอร่อย กินอิ่ม นักเรียนได้เงินไปโรงเรียนคนละ 1 บาท ถือว่ามากแล้ว
หากวันไหนมีเงิน 2 บาท ก็ทำ�ตัวเกียจคร้านขี้เกียจเดิน นั่งสามล้อไปโรงเรียน
เสียเงิน 1 บาท เคยเผลอให้เงินสามล้อ 2 บาท สามล้อมีน้ำ�ใจ ตามกลับเอาเงิน
มาคืนให้ถึงโรงเรียน
บริเวณโรงเรียนยังมีบ้านพักครูใหญ่เรือนใต้ถุนสูงอยู่หลังหนึ่ง ส่วน
สนามใหญ่สำ�หรับเล่นกีฬามีสนามเน็ตบอลอยู่ด้วย อาศัยที่มีสนามเล่นกว้างขวาง
เป็นที่ชื่นชอบสำ�หรับพวกเราที่จะใช้ช่วงเวลาก่อนเข้าเรียนเช้า พักเที่ยง และหลัง
34
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
เลิกเรียน 3 โมงเย็น เล่นกีฬากลางแจ้ง หรือหลบมุมตามใต้ถุนโรงเรียน เล่นกีฬา
ในร่ม เล่นวิ่งเปี้ยว วิ่งผลัด ชักเย่อ ตีลูกลาวเด้อร์ เล่นตี่ งูกินหาง มอญซ่อนผ้า
เก้าอี้ดนตรี อีตัก หมากเก็บ ปิงปอง เน็ตบอล หมากขุม และอื่น ๆ
โต๊ะปิงปองมีอยู่โต๊ะเดียว จะต้องช่วงชิงกันด้วยการเอาไม้ปิงปอง
วางไว้บนโต๊ะก่อนพักเที่ยง มักจะใช้ช่วงเวลานั้นขออนุญาตครูเข้าห้องน้ำ� และ
ออกเป็นความถนัดที่ดิฉันประพฤติเป็นประจำ� รีบแอบนำ�ไม้ปิงปองวางที่โต๊ะ
ก่อนวิ่งไปยังห้องน้ำ� ห่างจากอาคาร อยู่ใกล้โรงอาหาร
หลักสูตรการเรียน ทางโรงเรียนเน้นการคิด อ่าน เขียน พูด เรียน
เลขคณิตวิธี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศีลธรรม หน้าที่
พลเมือง เป็นวิชาหลัก รวมถึงการฝีมือ วาดเขียน ขับร้อง การเรือน พลศึกษา
สุขศึกษา เป็นวิชาบังคับตั้งแต่ ม. 1 ถึง ม. 6 แต่พอขึ้น ม. 4 มีวิชาวิทยาศาสตร์
ทั่วไป เรขาคณิต พีชคณิตเพิ่มขึ้นมา
ครูมีหลายคน และพวกเราออกจะซึ้งต่อคำ�ที่เรียกขานว่า “ครู” ครู
ส่วนใหญ่เป็นชาวพัทลุง เรียนจบ ม. 6 ของโรงเรียนแล้วไปเรียนต่อวิชาครู
ได้ ป.ป. บ้าง ป.ม. บ้าง ความสนิทสนมระหว่างครูกับนักเรียนเปรียบเสมือนญาติ
โรงเร
ี ยนสตร
ี พั ทล
ุ ง
สตร
ี พั ทล
ุ ง
35
และครูหลายคนเป็นญาติจริง ๆ มีครูพิมประภา แกล้วทนงค์ สอนขับร้อง
ครูจินดารัตน์ วิมลจันทร์ สอนเลขคณิตและภาษาไทย ครูอัมพร ทองจำ�รัส
(พรพิมล นะมาตร์) สอนภาษาอังกฤษ ครูสงวน สินทรัพย์ สอนการฝีมือ
ครูเที่ยง (ยุทธนา) เทิดเกียรติกุล สอนวาดเขียน ครูอุทัย ทองคำ�ดี สอน
พลศึกษา ครูที่กล่าวมาสอนอยู่ในช่วง ม. 1 ถึง ม. 3 ต่อมามีครูสารภี
(เพ็ญสุวรรณ) คชภักดี สอนวิทยาศาสตร์ ครูอำ�นวย (ทองอุปการ) ธนสถิตย์
สอนการเรือน ครูพรรณี สถาพร สอนพีชคณิตและเรขาคณิต ครูสายพิณ
เวชรังษี สอนเลขคณิต ครูจำ�นรรจ์ เวชรังษี สอนประวัติศาสตร์ ครูจำ�ปี (อารยา)
ประณุทนรพาล สอนภูมิศาสตร์ ครูละแม้น (สกุลแพทย์) สุทธิวงศ์ สอน
ภาษาอังกฤษ ครูสุภาพ เทิดเกียรติกุล สอนภูมิศาสตร์ และเมื่ออยู่ ม. 6 มี
ครูอรุณ ดุลยนิษกะ มาสอนวาดเขียนแทนครูเที่ยงที่ย้ายไปกรุงเทพฯ
ครูที่มีความใกล้ชิดมากกับนักเรียน ได้แก่ ครูประจำ�ชั้น เริ่มแต่ชั้น ม. 1
มีครูพิมประภา ต่อด้วยครูอัมพรในชั้น ม. 2 ครูจินดารัตน์เป็นครูประจำ�ชั้น ม. 3
และ ม. 4 ครูสายพิณ ม. 5 และครูพรรณีในชั้น ม. 6 ซึ่งเป็นชั้นสุดท้าย ในช่วง
6 ปีมีครูใหญ่ผลัดเปลี่ยนกันมา 3 ท่าน คือ ครูเอื้องพันธ์ คุ้มหล้า ครูส่องแสง
หงศ์ประภัสสร และครูพูนพิศ พิตรสาธร
โรงเรียนเคร่งครัดในการเรียนการสอนและระเบียบวินัยต่าง ๆ ตอนเช้า
เข้าโรงเรียน 8 โมง นักเรียนทั้งหมดจะเข้าแถวร้องเพลงชาติ มีนักเรียนต้นเสียง
ร้อง ซึ่งดิฉันได้ทำ�หน้าที่นี้ตั้งแต่ ม. 2 จนจบ ม. 6 เสร็จจากร้องเพลงชาติแล้ว
นักเรียนจะฟังโอวาทจากครูใหญ่ มีทั้งการอบรมและเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่นักเรียน
ควรรู้ บ้านเมืองพัทลุงในยามนั้นห่างไกลจากข่าวสารทุกประเภท ไม่มีไฟฟ้า
น้ำ�ประปา โทรศัพท์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ การคมนาคมติดต่อกับกรุงเทพฯ เป็นไป
อย่างยากลำ�บาก นั่งรถไฟตู้หมูมากรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งต้องใช้เวลาถึง 8 วัน 9 คืน
การเล่าเรื่องต่าง ๆ ของบ้านเมืองจากครูใหญ่เป็นประโยชน์มากสำ�หรับนักเรียน
เหตุการณ์ควรแก่การจดจำ� ครั้งหนึ่งตรงหน้าเสาธงตอนเช้าวันที่ 9 มิถุนายน
2489 อุบล ลิ่มชัยพฤกษ์ มีวิทยุรับฟังที่บ้าน มากระซิบบอกก่อนเข้าแถวว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 สวรรคต และครูใหญ่
36
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
เอื้องพันธ์แจ้งให้นักเรียนทราบหลังเคารพธงชาติ ท่ามกลางเสียงร้องไห้ระงม
ไปทั้งโรงเรียน
นักเรียนในห้องเรียนต่างมีโต๊ะเดี่ยว จัดเป็นแถวห่างกันพอสมควร เมื่อ
เข้าห้องเรียนในตอนเช้า ก่อนเริ่มเรียนจะสวดมนต์สั้น ๆ 3 จบ ครูประจำ�ชั้นเดิน
เข้ามา หัวหน้าห้องได้แก่ นงเยาว์ ซึ่งเป็นหัวหน้าห้องตลอด 6 ปี เป็นผู้บอกให้
นักเรียนกราบ แล้วเริ่มขานชื่อ นักเรียนนั่งตัวตรง เวลาเรียนห้ามนั่งไขว่ห้าง ห้าม
พูดคุยกัน เวลาตอบคำ�ถามจะต้องยกมือให้ครูเรียกก่อนตอบ แย่งกันตอบไม่ได้
การส่งของให้ครู ต้องนั่งคุกเข่าส่งของ
การแต่งกายต้องเรียบร้อย สะอาด พอดีในช่วงแรกที่เข้าเรียนเป็นช่วง
ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 สินค้าต่าง ๆ ขาดแคลน เครื่องแต่งกายของนักเรียน
มีอย่างจำ�กัด ชุดแต่งกายมีอย่างมากคนหนึ่งไม่เกิน 2 ชุด ต้องซักทุกวันด้วย
สบู่กรดและรีดด้วยเตาถ่าน ตื่นกันตั้งแต่ตี 5 ติดเตาถ่านรีดผ้า ยิ่งถึงวันพุธ
ยิ่งวุ่นวายกับการเตรียมชุดอนุกาชาด กระโปรงสีน้ำ�ตาล เสื้อขาวปกสี่เหลี่ยม
หน้าหลัง ทางโรงเรียนเข้มงวดห้ามดัดผม นอกจากหยิกตามธรรมชาติ แต่มี
นักเรียนบางคนอยากสวย ยอมทนร้อนใช้คีมเผาเตาถ่านร้อน ม้วนผมหยิก
จนหนังศีรษะถลอก แต่ครูไม่ลงโทษ เพราะเห็นว่าโทษที่ได้รับจากความร้อน
ที่ศีรษะมีค่ามากพอแล้ว
ครูใช้วิธีการลงโทษนักเรียนที่กระทำ�ผิดระเบียบ ไม่ว่าจะลืมส่งการบ้าน
แต่งตัวไม่เรียบร้อย หรือคุยกันในห้องเรียนในหลายรูปแบบ เช่น ยืนกางแขนหน้า
ชั้น ยืนคาบไม้บรรทัด ยืนตรงขาเดียว หรือใช้ไม้ก้านมะยมตี ครูจะใช้ให้นักเรียน
คนหนึ่งไปเก็บก้านมะยมมาให้ครู เกียรติในการเก็บก้านมะยมนี้ ดิฉันได้รับอยู่
เป็นประจำ� และพยายามเลือกก้านมะยมที่เล็กที่สุดมาให้ครู เพื่อไม่ให้เพื่อนที่
ถูกตีเจ็บนัก และครูก็ไม่ว่าอะไร หนักที่สุดเห็นจะมีอยู่ครั้งเดียวตอน ม. 6 เมื่อถูก
ครูสุภาพลงโทษให้ยืนหน้าชั้นทั้งหมดโทษฐานกินถั่วลิสงที่เกษร ลิ่มชัยพฤกษ์
นำ�มาแจกให้เพื่อน ๆ ในชั่วโมงภูมิศาสตร์
หน้าที่ประจำ�สำ�หรับพวกนักเรียน ได้แก่ ช่วงตอนเลิกเรียนเย็น หัวหน้า
ห้องจะบอกให้ทุกคนยืนตรง กล่าวคำ�ลาครูด้วยถ้อยคำ�ว่า “สวัสดีคุณครู” แล้ว
สตร
ี พั ทล
ุ ง
37
ท่องสูตรคูณ อาขยาน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จบแล้วจึงจะกลับบ้าน ที่พิเศษ
ได้แก่ เย็นวันศุกร์ นักเรียนทั้งโรงเรียนจะเข้าห้องประชุมสวดมนต์ใหญ่ 1 จบ
ฟังโอวาทจากครูใหญ่และครูน้อย ภารกิจประจำ�วันของนักเรียนในตอนเย็น
ยังมีอีกสำ�หรับนักเรียนที่จะผลัดกันทำ�เวรก่อนกลับบ้าน มีหน้าที่กวาดถู ปิดประตู
หน้าต่างห้องเรียน และในแต่ละอาทิตย์ต้องทำ�ความสะอาดใหญ่ ลงพื้นห้องเรียน
ด้วยเทียนไขผสมน้ำ�มันก๊าด แข่งขันกันระหว่างห้องเรียนว่า ห้องใครจะขัดมัน
กว่ากัน และมีอีกหน้าที่หนึ่ง คือ การปลูกต้นตะแบกรอบสนามหน้าโรงเรียน
นักเรียนจะแบ่งกันดูแล 3 หรือ 4 คนต่อต้น เริ่มตั้งแต่ขุดหลุมปลูกต้นไม้ จากนั้น
คอยดูแลพรวนดินรดน้ำ�อยู่เป็นประจำ� ต้นตะแบกของกลุ่มใดออกดอกสีม่วง
งดงามจะได้คะแนนจากผลงานที่ดูแล ความผูกพันต่อต้นตะแบกที่ปลูกกันมายังมี
อยู่จนทุกวันนี้ หากใครมีโอกาสมาแวะเยี่ยมโรงเรียนอดไม่ได้ที่จะไปดูต้นตะแบก
ที่เคยได้ดูแล
หากย้อนระลึกถึงความหลังครั้งเรียนในวัยเด็ก ชีวิตเต็มไปด้วย
ความสนุกสนาน เรียนบ้างเล่นบ้างตามประสาเด็ก เพื่อนฝูงในแต่ละปีผลัดเปลี่ยน
กันไป เข้าใหม่บ้าง ออกไปบ้าง หรือบางคนไม่ยอมเลื่อนชั้นตามขึ้นไป ในขณะที่
รุ่นก่อนบางคนอยู่รอให้รุ่นใหม่ตามขึ้นไป จนไม่ทราบว่าเราจะนับรุ่นกันอย่างไร
ความผูกพันเป็นไปในลักษณะเพื่อนร่วมโรงเรียน ไม่ว่ารุ่นเล็กรุ่นใหญ่ อาจจะ
เดินไปและกลับจากโรงเรียนพร้อมกัน ทำ�กิจกรรมอย่างการปลูกต้นไม้ร่วมกัน
แต่สำ�หรับความหลังแล้วยังเล่ากันอย่างสนุกสนานอยู่จนทุกวันนี้ เช่น ในเรื่อง
ชั่วโมงภาษาอังกฤษของครูอัมพร เราจะได้เรียนรู้ถึงถ้อยคําในภาษาใหม่ ๆ เช่น
Stand Up, Sit Down, Come Here, Go Back แต่ครูอัมพรในสายตาของพวกเรา
เป็นครูดุ ใครตอบคำ�ถามไม่ได้ หรือลืมทำ�การบ้าน จะถูกครูสั่งให้งอมือ แล้วใช้
ไม้บรรทัดตีที่ตรงข้อมือ ยิ่งวันไหนครูใส่เสื้อสีครีม พวกเรายิ่งสั่นสะท้าน บางคน
ถึงกับลาเรียนชั่วโมงนั้น เพราะร่ำ�ลือกันว่า วันใดที่ครูใส่เสื้อสีครีมแล้วจะดุเป็น
พิเศษ
เรื่องที่เฮฮาก็ตอนครูอัมพรให้ฤดีออกไปหัดพูดภาษาอังกฤษหน้าชั้น
ว่า “โชว์ มี ยัวร์ แฮนด์” (Show me your hand) ฤดีออกเสียงว่า “โชว์ เมีย ยัวร์
38
ประวั ต
ิ (ศาสตร์) อันแสนส
ุ ขของแถมส
ุ ข
แฮนด์” ครูอัมพรพยายามแก้ให้ออกเสียงว่า “มี” เท่าไหร่ ๆ ก็ยังพูดว่า “เมีย”
อยู่อย่างนั้น จนครูอัมพรเป็นฝ่ายขอยอมแพ้ แต่พวกเรายอมรับว่า ครูอัมพร
เคี่ยวเข็ญภาษาอังกฤษให้เป็นพื้นฐานสำ�หรับอนาคต
วิชาการฝีมือเป็นวิชาหนึ่งที่ค่อนข้างเอาจริงเอาจัง ครูสงวนเกณฑ์
นักเรียนให้ปักผ้าปูโต๊ะและผ้าปูที่นอนเพื่อส่งประกวดงานแสดงศิลปหัตถกรรม
ประจำ�ปี ที่จัดงานขึ้นในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ งานการทำ�
ฝีมือดูจะต่อเนื่องอยู่เรื่อย ขณะอยู่ชั้น ม. 5 นักเรียนจะต้องปักหมอนอิงขนาด
กว้างยาว 20x20 นิ้ว ใช้ผ้าต่วนขึงกับสะดึงใหญ่ กว่าจะปักเสร็จต้องทำ�ไปจนถึง
ม. 6 สะดึงจึงเป็นของโก้เก๋สำ�หรับนักเรียนถือไปโรงเรียนทุกวันเพื่อโอ้อวดว่า
ตอนนี้กำ�ลังจะจบ ม. 6 แล้ว
วิชาที่ทำ�ให้พวกเรากลายเป็นคนกุเรื่องตรงข้ามกับวิชาว่าด้วยศีลธรรม
อย่างสิ้นเชิง คือ วิชาอนุกาชาดว่าด้วยเรื่อง “การบำ�เพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อ
ผู้อื่น” นักเรียนมีสมุดบาง ๆ มีช่องเขียนวันเดือนปี บันทึกการบำ�เพ็ญประโยชน์
และลงชื่อผู้รับรองว่าเป็นความจริง มีคะแนนให้ 10 คะแนน เมื่อถึงเวลาส่งสมุด
รายงาน ต่างคนต่างบันทึกข้อความการบำ�เพ็ญประโยชน์ที่ไม่เคยทำ�มาก่อน
เช่นว่า “จูงคุณป้าแดงข้ามถนน” ทั้งที่ตอนนั้นมีถนนราเมศวร์อยู่สายเดียว
แทบจะไม่มีรถยนต์แล่น อย่างเก่งก็มีสามล้อหรือจักรยาน 2 ล้อที่นาน ๆ
จะผ่านมาสักคัน นอกนั้นถนนในพัทลุงก็มีแต่ทางเนินดินแคบ ๆ บางครั้ง
ก็เขียนข้อความว่า “ช่วยคุณป้าขาวตักน้ำ�” สำ�หรับคนลงนามรับรองการบำ�เพ็ญ
ประโยชน์ก็หาง่าย ๆ จากมือซ้ายบ้าง ขวาบ้าง ตามถนัด ตวัดชื่อรับรองว่า
เป็นความจริงแล้วได้คะแนนเก็บมาคนละ 9 คะแนน 10 คะแนน สุดแล้วแต่
งานบำ�เพ็ญประโยชน์ใดยากหรือง่ายตามลำ�ดับ ครูผู้ให้คะแนนไม่ได้ว่าอะไร
ทั้งที่ทราบว่านักเรียนแต่งกันเอง
กิจกรรมเพิ่มสีสันให้กับชีวิตวัยเรียน คือ กิจกรรมนอกหลักสูตร มีการ
แสดงละคร รำ�ละคร ประกวดร้องเพลง โต้วาที มีการแสดงละครเวทีในแต่ละปี
แต่ละเรื่องไม่ซ้ำ�กัน ออกแสดงถึงต่างจังหวัด ในจังหวัดตรังและหาดใหญ่
ไม่เฉพาะแต่จะแสดงที่พัทลุงเท่านั้น ใช้นักเรียนร่วมกับครูแสดง ในปีหนึ่งจำ�ได้ว่า
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข
ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข

More Related Content

What's hot

สื่อการสอนวิชาทฤษฎีและหลักการบริหารการศึกษา
สื่อการสอนวิชาทฤษฎีและหลักการบริหารการศึกษาสื่อการสอนวิชาทฤษฎีและหลักการบริหารการศึกษา
สื่อการสอนวิชาทฤษฎีและหลักการบริหารการศึกษาRatchaphon Cherngchon
 
เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21
เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21
เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21Prachyanun Nilsook
 
แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1
แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1
แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1krupornpana55
 
เปรียบเทียบการศึกษาไทย ญี่ปุ่น
เปรียบเทียบการศึกษาไทย ญี่ปุ่นเปรียบเทียบการศึกษาไทย ญี่ปุ่น
เปรียบเทียบการศึกษาไทย ญี่ปุ่นKingkarn Saowalak
 
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชChoengchai Rattanachai
 
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1Prachyanun Nilsook
 
โครงงานโคมไฟไม้ไอติม
โครงงานโคมไฟไม้ไอติมโครงงานโคมไฟไม้ไอติม
โครงงานโคมไฟไม้ไอติมSupaluck
 
แนวข้อสอบทหารอากาศวิชาคณิตศาสตร์
แนวข้อสอบทหารอากาศวิชาคณิตศาสตร์แนวข้อสอบทหารอากาศวิชาคณิตศาสตร์
แนวข้อสอบทหารอากาศวิชาคณิตศาสตร์Kapong007
 
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศบท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศPa'rig Prig
 
การเขียนเอกสารประกอบการสอน
การเขียนเอกสารประกอบการสอนการเขียนเอกสารประกอบการสอน
การเขียนเอกสารประกอบการสอนPrachyanun Nilsook
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานRawinnipha Joy
 
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนaeimzaza aeimzaza
 
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำ
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำโครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำ
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำSuangsamon Pankaew
 
เรขาคณิตสามมิติ
เรขาคณิตสามมิติเรขาคณิตสามมิติ
เรขาคณิตสามมิติPalm Teenakul
 
คิดเลขเร็วโดยใช้ความสัมพันธ์ของ การบวก ลบ คูณ หาร ป2
คิดเลขเร็วโดยใช้ความสัมพันธ์ของ การบวก ลบ คูณ หาร ป2คิดเลขเร็วโดยใช้ความสัมพันธ์ของ การบวก ลบ คูณ หาร ป2
คิดเลขเร็วโดยใช้ความสัมพันธ์ของ การบวก ลบ คูณ หาร ป2ทับทิม เจริญตา
 
แนวข้อสอบอนุกรม
แนวข้อสอบอนุกรมแนวข้อสอบอนุกรม
แนวข้อสอบอนุกรมIceeci Flatron
 
ประชุมผู้ปกครอง
ประชุมผู้ปกครอง ประชุมผู้ปกครอง
ประชุมผู้ปกครอง AnontMungdee
 

What's hot (20)

สื่อการสอนวิชาทฤษฎีและหลักการบริหารการศึกษา
สื่อการสอนวิชาทฤษฎีและหลักการบริหารการศึกษาสื่อการสอนวิชาทฤษฎีและหลักการบริหารการศึกษา
สื่อการสอนวิชาทฤษฎีและหลักการบริหารการศึกษา
 
เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21
เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21
เทคนิคการสอนในศตวรรษที่21
 
แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1
แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1
แผ่นพับเสนอผลงานนวัตกรรม หน้า 1
 
โครงงาน 2
โครงงาน 2โครงงาน 2
โครงงาน 2
 
เปรียบเทียบการศึกษาไทย ญี่ปุ่น
เปรียบเทียบการศึกษาไทย ญี่ปุ่นเปรียบเทียบการศึกษาไทย ญี่ปุ่น
เปรียบเทียบการศึกษาไทย ญี่ปุ่น
 
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเล่มที่ 11  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
เล่มที่ 11 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
 
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1
การสร้างกรอบแนวคิดและการกำหนดตัวแปร#1
 
โครงงานโคมไฟไม้ไอติม
โครงงานโคมไฟไม้ไอติมโครงงานโคมไฟไม้ไอติม
โครงงานโคมไฟไม้ไอติม
 
69 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่4_ทฤษฎีบททวินาม
69 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่4_ทฤษฎีบททวินาม69 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่4_ทฤษฎีบททวินาม
69 การนับและความน่าจะเป็น ตอนที่4_ทฤษฎีบททวินาม
 
แนวข้อสอบทหารอากาศวิชาคณิตศาสตร์
แนวข้อสอบทหารอากาศวิชาคณิตศาสตร์แนวข้อสอบทหารอากาศวิชาคณิตศาสตร์
แนวข้อสอบทหารอากาศวิชาคณิตศาสตร์
 
89 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่2_ปัญหาการวางตัวเบี้ยบนตารางจัตุรัส
89 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่2_ปัญหาการวางตัวเบี้ยบนตารางจัตุรัส89 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่2_ปัญหาการวางตัวเบี้ยบนตารางจัตุรัส
89 โครงงานคณิตศาสตร์ ตอนที่2_ปัญหาการวางตัวเบี้ยบนตารางจัตุรัส
 
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศบท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
บท 1 แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ
 
การเขียนเอกสารประกอบการสอน
การเขียนเอกสารประกอบการสอนการเขียนเอกสารประกอบการสอน
การเขียนเอกสารประกอบการสอน
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
 
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
 
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำ
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำโครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำ
โครงร่างโครงงานเรื่อง มลพิษทางน้ำ
 
เรขาคณิตสามมิติ
เรขาคณิตสามมิติเรขาคณิตสามมิติ
เรขาคณิตสามมิติ
 
คิดเลขเร็วโดยใช้ความสัมพันธ์ของ การบวก ลบ คูณ หาร ป2
คิดเลขเร็วโดยใช้ความสัมพันธ์ของ การบวก ลบ คูณ หาร ป2คิดเลขเร็วโดยใช้ความสัมพันธ์ของ การบวก ลบ คูณ หาร ป2
คิดเลขเร็วโดยใช้ความสัมพันธ์ของ การบวก ลบ คูณ หาร ป2
 
แนวข้อสอบอนุกรม
แนวข้อสอบอนุกรมแนวข้อสอบอนุกรม
แนวข้อสอบอนุกรม
 
ประชุมผู้ปกครอง
ประชุมผู้ปกครอง ประชุมผู้ปกครอง
ประชุมผู้ปกครอง
 

Similar to ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข

Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj BowjaiHonorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj BowjaiDr Poonsri Vate-U-Lan
 
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)สุรพล ศรีบุญทรง
 
ประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทยประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทยpinyada
 
โรงเรียน สิริเทพ
โรงเรียน สิริเทพโรงเรียน สิริเทพ
โรงเรียน สิริเทพDmas Bhilabutra
 
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?Satapon Yosakonkun
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..Librru Phrisit
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..Librru Phrisit
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..Lib Rru
 
Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09Kasem S. Mcu
 
แผนปฏิบัติการประจำปี2555
แผนปฏิบัติการประจำปี2555แผนปฏิบัติการประจำปี2555
แผนปฏิบัติการประจำปี2555pentanino
 
Webpatomnitat55
Webpatomnitat55Webpatomnitat55
Webpatomnitat55wut_wss
 
ตารางเรียน 2 2557 -003
ตารางเรียน 2 2557  -003ตารางเรียน 2 2557  -003
ตารางเรียน 2 2557 -003Suriyawut Sisod
 

Similar to ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข (20)

Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj BowjaiHonorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
Honorable Life of Asst. Prof. Dr. Pairoj Bowjai
 
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
 
Bibliography language
Bibliography languageBibliography language
Bibliography language
 
Aksorn 1
Aksorn 1Aksorn 1
Aksorn 1
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
ประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทยประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทย
 
โรงเรียน สิริเทพ
โรงเรียน สิริเทพโรงเรียน สิริเทพ
โรงเรียน สิริเทพ
 
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
 
ทิพาพร บุญพา 5/4
ทิพาพร บุญพา 5/4ทิพาพร บุญพา 5/4
ทิพาพร บุญพา 5/4
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..
 
Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09
 
Sc
ScSc
Sc
 
แผนปฏิบัติการประจำปี2555
แผนปฏิบัติการประจำปี2555แผนปฏิบัติการประจำปี2555
แผนปฏิบัติการประจำปี2555
 
พจนานุกรมศัพท์เชิงอรรถพระไตรปิฎก-ผศ.ดร.วิโรจน์-คุ้มครอง-วข.บาฬีศึกษาพุทธโฆส-น...
พจนานุกรมศัพท์เชิงอรรถพระไตรปิฎก-ผศ.ดร.วิโรจน์-คุ้มครอง-วข.บาฬีศึกษาพุทธโฆส-น...พจนานุกรมศัพท์เชิงอรรถพระไตรปิฎก-ผศ.ดร.วิโรจน์-คุ้มครอง-วข.บาฬีศึกษาพุทธโฆส-น...
พจนานุกรมศัพท์เชิงอรรถพระไตรปิฎก-ผศ.ดร.วิโรจน์-คุ้มครอง-วข.บาฬีศึกษาพุทธโฆส-น...
 
Webpatomnitat55
Webpatomnitat55Webpatomnitat55
Webpatomnitat55
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
ตารางเรียน 2 2557 -003
ตารางเรียน 2 2557  -003ตารางเรียน 2 2557  -003
ตารางเรียน 2 2557 -003
 

More from Thanachart Numnonda

Thailand Digital Industry Survey Result 2021
Thailand Digital Industry Survey Result 2021Thailand Digital Industry Survey Result 2021
Thailand Digital Industry Survey Result 2021Thanachart Numnonda
 
ข้อบังคับ สมาคมสถาปนิกเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทย
ข้อบังคับ สมาคมสถาปนิกเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทยข้อบังคับ สมาคมสถาปนิกเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทย
ข้อบังคับ สมาคมสถาปนิกเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทยThanachart Numnonda
 
Software Trends Towards AEC 2015
Software Trends Towards AEC 2015Software Trends Towards AEC 2015
Software Trends Towards AEC 2015Thanachart Numnonda
 
How would cloud computing Effect to Software Industry?
How would cloud computing  Effect to Software Industry?How would cloud computing  Effect to Software Industry?
How would cloud computing Effect to Software Industry?Thanachart Numnonda
 
Impact of cloud computing to Asian IT Industry
Impact of cloud computing  to Asian IT IndustryImpact of cloud computing  to Asian IT Industry
Impact of cloud computing to Asian IT IndustryThanachart Numnonda
 
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่Thanachart Numnonda
 
รายชื่อผู้สมควรได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ]
รายชื่อผู้สมควรได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ]รายชื่อผู้สมควรได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ]
รายชื่อผู้สมควรได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ]Thanachart Numnonda
 
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่Thanachart Numnonda
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย Thanachart Numnonda
 
Cloud Computing กับการใช้งานในองค์กรต่างๆ
Cloud Computing กับการใช้งานในองค์กรต่างๆCloud Computing กับการใช้งานในองค์กรต่างๆ
Cloud Computing กับการใช้งานในองค์กรต่างๆThanachart Numnonda
 
3G กับอนาคต ธุรกิจแอพพลิเคชันในเมืองไทย
3G กับอนาคต ธุรกิจแอพพลิเคชันในเมืองไทย3G กับอนาคต ธุรกิจแอพพลิเคชันในเมืองไทย
3G กับอนาคต ธุรกิจแอพพลิเคชันในเมืองไทยThanachart Numnonda
 
บทความ Google vs. Android
บทความ Google vs. Android  บทความ Google vs. Android
บทความ Google vs. Android Thanachart Numnonda
 
Technology Trends & The Impact for Software Industry
Technology Trends & The Impact for Software IndustryTechnology Trends & The Impact for Software Industry
Technology Trends & The Impact for Software IndustryThanachart Numnonda
 
อยากอยู่ 110 ปี
อยากอยู่ 110 ปี อยากอยู่ 110 ปี
อยากอยู่ 110 ปี Thanachart Numnonda
 
Java Programming: คลาสอินพุตและเอาต์พุต
Java Programming: คลาสอินพุตและเอาต์พุตJava Programming: คลาสอินพุตและเอาต์พุต
Java Programming: คลาสอินพุตและเอาต์พุตThanachart Numnonda
 
Java Programming: การจัดการกับข้อผิดพลาด
Java Programming: การจัดการกับข้อผิดพลาดJava Programming: การจัดการกับข้อผิดพลาด
Java Programming: การจัดการกับข้อผิดพลาดThanachart Numnonda
 

More from Thanachart Numnonda (20)

Thailand Digital Industry Survey Result 2021
Thailand Digital Industry Survey Result 2021Thailand Digital Industry Survey Result 2021
Thailand Digital Industry Survey Result 2021
 
Planning on Mobile Strategy
Planning on Mobile StrategyPlanning on Mobile Strategy
Planning on Mobile Strategy
 
ข้อบังคับ สมาคมสถาปนิกเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทย
ข้อบังคับ สมาคมสถาปนิกเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทยข้อบังคับ สมาคมสถาปนิกเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทย
ข้อบังคับ สมาคมสถาปนิกเทคโนโลยีสารสนเทศประเทศไทย
 
Software Trends Towards AEC 2015
Software Trends Towards AEC 2015Software Trends Towards AEC 2015
Software Trends Towards AEC 2015
 
Personal Cloud
Personal CloudPersonal Cloud
Personal Cloud
 
How would cloud computing Effect to Software Industry?
How would cloud computing  Effect to Software Industry?How would cloud computing  Effect to Software Industry?
How would cloud computing Effect to Software Industry?
 
Impact of cloud computing to Asian IT Industry
Impact of cloud computing  to Asian IT IndustryImpact of cloud computing  to Asian IT Industry
Impact of cloud computing to Asian IT Industry
 
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
 
รายชื่อผู้สมควรได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ]
รายชื่อผู้สมควรได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ]รายชื่อผู้สมควรได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ]
รายชื่อผู้สมควรได้รับใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ]
 
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
พิชิตคู่แข่ง แซงหน้าด้วยไอที ยุคใหม่
 
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ไอซีทีกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
 
Cloud Computing กับการใช้งานในองค์กรต่างๆ
Cloud Computing กับการใช้งานในองค์กรต่างๆCloud Computing กับการใช้งานในองค์กรต่างๆ
Cloud Computing กับการใช้งานในองค์กรต่างๆ
 
3G กับอนาคต ธุรกิจแอพพลิเคชันในเมืองไทย
3G กับอนาคต ธุรกิจแอพพลิเคชันในเมืองไทย3G กับอนาคต ธุรกิจแอพพลิเคชันในเมืองไทย
3G กับอนาคต ธุรกิจแอพพลิเคชันในเมืองไทย
 
บทความ Google vs. Android
บทความ Google vs. Android  บทความ Google vs. Android
บทความ Google vs. Android
 
IT trends for co-creation
IT trends for co-creationIT trends for co-creation
IT trends for co-creation
 
Technology Trends & The Impact for Software Industry
Technology Trends & The Impact for Software IndustryTechnology Trends & The Impact for Software Industry
Technology Trends & The Impact for Software Industry
 
อยากอยู่ 110 ปี
อยากอยู่ 110 ปี อยากอยู่ 110 ปี
อยากอยู่ 110 ปี
 
Open
OpenOpen
Open
 
Java Programming: คลาสอินพุตและเอาต์พุต
Java Programming: คลาสอินพุตและเอาต์พุตJava Programming: คลาสอินพุตและเอาต์พุต
Java Programming: คลาสอินพุตและเอาต์พุต
 
Java Programming: การจัดการกับข้อผิดพลาด
Java Programming: การจัดการกับข้อผิดพลาดJava Programming: การจัดการกับข้อผิดพลาด
Java Programming: การจัดการกับข้อผิดพลาด
 

ประวัติ (ศาสตร์) อันแสนสุขของ แถมสุข

  • 1.
  • 2. ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของ แถมส ุ ข อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์์เกี ี ยรติ ิ คุ ุ ณ ดร.แถมสุ ุ ข นุ่ ่� มนนท์์ ป.ช., ป.ม. เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2565
  • 3. ศาลาเตชะอ ิ ทธ ิ พร วัดเทพศ ิ ร ิ นทราวาส
  • 4. ศาสตราจารย์เก ี ยรต ิ ค ุ ณ ดร.แถมส ุ ข น ุ่ มนนท์ ชาตะ 21 มิถุนายน 2478 มรณะ 1 กุมภาพันธ์ 2565 สิริอายุรวม 86 ปี
  • 5.
  • 6.
  • 7.
  • 8.
  • 9. 8 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข สำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ ได้กราบถวายบังคมลา ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2565 เมื่อความทราบ ถึงฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับ ปี่ กลองชนะ ประโคมเวลาพระราชทานน้ำ�หลวงอาบศพ และมีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม เวลากลางคืน กำ�หนด 3 คืน และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทรา- วาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในวันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2565 การนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด กระหม่อมพระราชทานพวงมาลาวางที่หน้าโกศศพ และทรงพระกรุณาเสด็จ พระราชดำ�เนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ หากความทราบโดยญาณวิถีถึงดวงวิญญาณของศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ ได้ด้วยประการใดในสัมปรายภพ ก็จะมี ความปลาบปลื้มซาบซึ้งเป็นล้นพ้นในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับพระราชทาน เกียรติอันสูงยิ่งในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต
  • 10. 9 สำ �น ึ กในพระมหากร ุ ณาธ ิ ค ุ ณ ข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นบุตร และหลาน ๆ ขอพระราชทานพระบรม- ราชวโรกาสกราบถวายบังคมแทบเบื้องพระยุคลบาท ด้วยความสำ�นึกใน พระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ และขอเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเหนือ กระหม่อม เป็นสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่ข้าพระพุทธเจ้าและวงศ์ตระกูล สืบไป ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นายรณดล นางปาลีรัฐ นุ่มนนท์ นายธนชาติ นางธนิศา นุ่มนนท์ นายปารณ นุ่มนนท์ นายปาณัท นุ่มนนท์ นายนิธิรันดร์ นุ่มนนท์ เด็กชายธีรธรรม นุ่มนนท์
  • 11. 10 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข ประวัติ ศาสตราจารย์เก ี ยรต ิ ค ุ ณ ดร.แถมส ุ ข น ุ่ มนนท์ ครอบครัว ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2478 เป็นบุตรคนที่ 3 ของ ร.ต. ถัด และนางแส (สกุลเดิม ณ พัทลุง) รัตนพันธุ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คือ 1. นายแถมสิน รัตนพันธุ์ (ถึงแก่อนิจกรรม) 2. นางแถมศรี รัตนพันธุ์ 3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ 4. นางแถมสร้อย รัตนพันธุ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ สมรสกับ นายสุรัตน์ นุ่มนนท์ บุตรคนเดียวของนายจำ�รัส และนางสง่า นุ่มนนท์ เมื่อปี 2506 มีบุตร 2 คน คือ 1. นายรณดล นุ่มนนท์ สมรสกับ นางสาวปาลีรัฐ ศิลปพันธุ์ มีบุตร 2 คน คือ นายปารณ นุ่มนนท์ นายปาณัท นุ่มนนท์
  • 12. ประวั ต ิ 11 2. นายธนชาติ นุ่มนนท์ สมรสกับ นางสาวสุวรรณี โสภณธรรมกิจ มีบุตร 1 คน คือ นายนิธิรันดร์ นุ่มนนท์ และสมรสกับ นางสาวธนิศา เครือไวศยวรรณ มีบุตร 1 คน คือ เด็กชายธีรธรรม นุ่มนนท์ การศึกษา • จบชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนโสภณพัทลุงกุล (2488) • จบชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนสตรีพัทลุง (2493) • จบชั้นมัธยมปีที่ 8 แผนกอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (2495) • อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2499) • ประกาศนียบัตรครูมัธยม กระทรวงศึกษาธิการ (2501) • ปริญญาโท (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยฮ่องกง ฮ่องกง (2504) • ปริญญาเอก (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ (2509) การทำ�งาน : ภาคการสอน • อาจารย์ประจำ�แผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2501-2514) • อาจารย์ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2514-2518) • อาจารย์ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม (2518-2538) • อาจารย์พิเศษคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2501-2514)
  • 13. 12 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข • อาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2501-2514) • อาจารย์พิเศษคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2512-2514) • อาจารย์พิเศษคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2519-2521) • นักวิชาการรับเชิญประจำ�สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Institute of Southeast Asian Studies) สิงคโปร์ (2519) • นักวิชาการรับเชิญประจำ�สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัย คอร์แนล สหรัฐอเมริกา (2522-2523) • ศาสตราจารย์รับเชิญประจำ�มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา (2524-2525) • อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยนเรศวร (2543-2546) • อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2543-2546) การทำ�งาน : ภาคบริหารและงานวิชาการของมหาวิทยาลัย • หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ (2514-2518) • หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร (2518-2522) • คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2526-2530) • กรรมการสภามหาวิทยาลัยศิลปากร (2526-2530) • ประธานโครงการตำ�รามหาวิทยาลัยศิลปากร (2519-2522) • ประธานหลักสูตรวิชาพื้นฐานมหาวิทยาลัยศิลปากร (2527-2530) • กรรมการกลั่นกรองหลักสูตรกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2538-2546)
  • 14. ประวั ต ิ 13 • กรรมการพิจารณาหลักสูตรสายสังคมศาสตร์ของทบวงมหาวิทยาลัย (2527-2537) • อนุกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับตำ�แหน่งทางวิชาการของทบวงมหา- วิทยาลัย • ประธานจัดทำ�โครงการและดำ�เนินการสอนเรื่องเมืองไทยให้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยเซนต์โอลาฟ วิทยาลัยลูวิส แอนด์ คลาร์ก วิทยาลัย เวสลีย์ จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเข้ามาศึกษาที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2516-2531) การทำ�งาน : งานวิชาการของสถาบัน / สมาคม • กรรมการชำ�ระประวัติศาสตร์ไทย สำ�นักนายกรัฐมนตรี (2516-2532) • คณะกรรมการก่อตั้ง และอุปนายกสมาคมประวัติศาสตร์ ในพระ- ราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2521- 2530) • กรรมการดำ�เนินงานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กรม ยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด (2529-2537) • กรรมการอำ�นวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สำ�นักนายกรัฐมนตรี (2535-2536) • กรรมการวิจัยและพัฒนา สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2536-2542) • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2536-2545) • กรรมการคณะบรรณาธิการ สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ราชบัณฑิตย- สถาน (2534-2546) • กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา (2534-2545)
  • 15. 14 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข • กรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบัน พระปกเกล้า (2543-2546) รางวัล / ทุนการศึกษา • ทุนมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ระดับเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (2494-2495) • รางวัลทุนสุภาส จันทรโบส คะแนนยอดเยี่ยมหมวดประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2500) • รางวัลรันซีแมน ชนะประกวดเรียงความประวัติศาสตร์ คณะอักษร- ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2500) • ทุนมูลนิธิเอเชีย ศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยฮ่องกง (2502- 2504) • ทุนบริติช เคานซิล ศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยลอนดอน (2505-2509) • ทุนซีโต้ เพื่อทำ�วิจัยเรื่อง ที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกันในประเทศไทย ที่สหรัฐอเมริกา (2516) • ทุนมูลนิธิฟอร์ด เพื่อทำ�วิจัยเรื่อง เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ (2518) • ทุน American Council of Learned Societies เพื่อทำ�วิจัยเรื่อง เมืองไทยสมัยสงครามเวียดนาม ที่สหรัฐอเมริกา (2522-2523) • ได้รับเชิญจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รัฐบาลญี่ปุ่น และรัฐบาลเยอรมัน ไปปาฐกถาในวาระฉลองครบรอบ 200 ปี อิสรภาพอเมริกา ฉลอง ครบรอบ 100 ปี สัมพันธภาพไทย-ญี่ปุ่น และการฉลองครบรอบ 50 ปี สงครามโลกครั้งที่สอง ที่มลรัฐฮาวาย (2519) กรุงโตเกียว (2530) และนครเบอร์ลิน (2538)
  • 16. ประวั ต ิ 15 • ได้รับทุนมูลนิธิโตโยต้า มูลนิธิเอเชีย มูลนิธิฟอร์ด และอื่น ๆ เข้าร่วม ประชุมสัมมนาทางวิชาการ และนำ�เสนอบทความในประเทศออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมนี เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 5 ธันวาคม 2510 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.) 5 ธันวาคม 2512 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) 5 ธันวาคม 2517 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) 5 ธันวาคม 2520 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) 5 ธันวาคม 2524 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) 5 ธันวาคม 2532 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) 5 ธันวาคม 2535 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) เกียรติคุณ • ศาสตราจารย์ ระดับ 10 มหาวิทยาลัยศิลปากร (2531) • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยศิลปากร (2540) • นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ดีเด่นประจำ�ปี พ.ศ. 2544 จากสมาคม นิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตน- ราชสุดาฯ • ประกาศนียบัตรชั้นสูงกิตติมศักดิ์ จากสถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2545
  • 17. 16 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข สารบัญ ประวััติิ 10 คำำ�นำำ� 18 แถมส ุ ขวั ยร ุ่น ท่่าโรงยาเก่่าถึึงสี่่�กั๊๊�ก 23 สตรีีพััทลุุง 32 วััฒนาวิิทยาลััย 45 อัักษรศาสตร์์ จุุฬาฯ 55 แถมส ุ ขวั ยสาว บััณฑิิตสองพัันห้้าร้้อย 79 ฮ่่องกงเดีียวดาย 86 ลอนดอนครองรััก 94 จามจุุรีี 113 แถมส ุ ขวั ยโรจน์ -วั ยโรย มหาวิิทยาลััยเชีียงใหม่่ 130 ค้้นหาอดีีตในต่่างแดน 149 ศิิลปากร พระราชวัังสนามจัันทร์์ 182 แถมสุุขวััยโรย 199 ผมรัักแม่่แถมสุุขครัับ 214 คำ �ไว้อาลั ย แพทย์์หญิิงนงเยาว์์ จุุลชาต (โชติินุุกููล) 222 กััลยา เมืืองตั้้�ง 224
  • 18. สารบั ญ 17 อุุชา สวิินทร 225 ทััศนีีย์์ บุุนนาค 227 ศาสตราจารย์์เกีียรติิคุุณ ดร.นัันทวรรณ ภู่่�สว่่าง 230 Rosemary Marshall 233 แถมสร้้อย รััตนพัันธุ์์� 236 ธนาลััย ลิิมปรััตนคีีรีี 239 ดร.เตช บุุนนาค 242 ศาสตราจารย์์พิิเศษ ศรีีศัักร วััลลิิโภดม 244 ผะอบ นะมาตร์์ 246 ศาสตราจารย์์ ดร.สุุเนตร ชุุติินธรานนท์์ 248 พิิมพ์์ประไพ พิิศาลบุุตร 250 ดร.มานะ มหาสุุวีีระชััย 252 ผู้้�ช่่วยศาสตราจารย์์มนััส เกีียรติิธารััย 254 สารููป ฤทธิ์์�ชูู 255 ธนชาติิ นุ่่�มนนท์์ 257 ปารณ, ปาณััท, นิิธิิรัันดร์์ และธีีรธรรม นุ่่�มนนท์์ 260 ณ กาฬ เลาหะวิิไลย 262 นพ.สุุริิยััน, พญ.กิิตติิยา, พญ.แทนตวััน 265 และ พญ.กตััญญูู มหามงคล ปาจรีีย์์ สงวนศรีี 268 สมทรง แก้้วจาระนััย และชุุติิมา โชติิสวััสดิ์์� 270 งานว ิ ชาการ ศาสตราจารย์์เกีียรติิคุุณ ดร.แถมสุุข นุ่่�มนนท์์ 274 กัับวิิชาการประวััติิศาสตร์์ในประเทศไทย โดย รองศาสตราจารย์์พรเพ็็ญ ฮั่่�นตระกููล ผลงานทางวิิชาการ 294
  • 19. 18 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข คำ�นำ� แม่ เขียนอัตชีวประวัติจากที่พ่อและลูกทั้งสองรบเร้าอยากให้แม่ได้ ถ่ายทอดลงเป็นตัวอักษร เพื่อให้ญาติและมิตรสหายได้รับรู้เรื่องราว ที่แม่เล่าให้ฟังมาตลอด เพราะแม่สามารถจดจำ�รายละเอียดทุกอย่างได้อย่าง น่าอัศจรรย์ แม้กระทั่งรายชื่ออาจารย์ทุกคน รวมทั้งเพื่อน ๆ ตั้งแต่ชั้นประถมจน เรียนมหาวิทยาลัย (รวมถึงนามสกุลทั้งเก่าและใหม่) ที่สำ�คัญ ยังบรรยายสถานที่ และบรรยากาศในยุคสมัยนั้น ๆ ราวกับว่าเรื่องราวเหล่านั้นเพิ่งผ่านพ้นไปไม่นาน ในที่สุด แม่ตัดสินใจที่จะเขียนประวัติตนเอง แต่ขอแบ่งการเขียน เป็น 3 ช่วงชีวิต ช่วงแรกเป็นช่วงชีวิตวัยเด็กจนถึงวัยสาว ใช้ชีวิตที่สี่กั๊ก เรียน หนังสือที่โรงเรียนสตรีพัทลุง โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และสานฝันให้เป็นจริง ด้วยการศึกษาต่อที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้ชื่อหนังสือ ว่า แถมสุขวัยรุ่น เขียนแล้วเสร็จเมื่ออายุ 60 ปี ในปี 2538 จากนั้นทิ้งเวลา จนอายุครบ 6 รอบในปี 2550 จึงเขียนต่อถึงชีวิตในช่วงหลังจากเรียนจบ ปริญญาตรี ด้วยวิชาเอกประวัติศาสตร์ พร้อมเข้าทำ�งานที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยฮ่องกง และพบรักกับคุณพ่อ ที่กรุงลอนดอน ที่ไขว่คว้าแสวงหาปริญญาเอกให้กับตัวเอง โดยจบถึงช่วงเป็น อาจารย์ประจำ�ที่จุฬาฯ ซึ่งแม่ใช้ชื่อหนังสือช่วงนี้ว่า แถมสุขวัยสาว สำ�หรับช่วงชีวิตหลังจากย้ายครอบครัวจากกรุงเทพฯ ไปอยู่ที่ เชียงใหม่ แม่ตั้งใจจะเขียนแจกในช่วงวันคล้ายวันเกิดครบ 7 รอบ 84 ปี แต่ด้วย ปัญหาสุขภาพที่เริ่มตั้งเค้า โดยที่พ่อมักจะคอยเตือนให้เขียนก่อนหมดสภาพ แม่จึงตัดสินใจเลื่อนมาเขียนตอนวัย 75 ปี โดยเล่าถึงชีวิตช่วงที่เป็นอาจารย์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การค้นอดีตในต่างแดน และชีวิตในมหาวิทยาลัย
  • 20. คำ �นำ � 19 ศิลปากร ซึ่งถือเป็นช่วงที่สดใสและสนุกสนานทางปัญญา โดยใช้ชื่อว่า แถมสุข วัยโรจน์-วัยโรย ซึ่งพ่อได้ช่วยปรับปรุงข้อเขียนให้อย่างงดงาม พร้อมทั้งเขียน คำ�นำ�เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2554 ก่อนถึงแก่กรรมเพียง 9 วัน ซึ่งนับว่าโชคดีมาก ที่แม่และพ่อได้มีส่วนร่วมกันเขียนประวัติของแม่ทั้ง 3 ช่วงชีวิตตามที่ตั้งใจไว้ อย่างไรก็ดี เพื่อให้ทุกท่านได้ทราบถึงชีวิตแม่อย่างสมบูรณ์แบบ จึงได้เขียนประวัติของแม่เพิ่มเติมในช่วงบั้นปลายของชีวิต ที่แม่มักบอกเสมอ ว่า “ชีวิตนี้มีกำ�ไร” พร้อมทั้งคัดคำ�ไว้อาลัยของแต่ละท่านในหนังสือมาวางให้ สอดรับกับช่วงชีวิตที่แม่เกี่ยวข้องกับท่านเหล่านี้ นอกจากนั้น ได้นำ�บทความของ รองศาสตราจารย์พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล ลูกศิษย์อักษรศาสตร์ จุฬาฯ รุ่นที่ 35 ที่ได้ มีโอกาสสัมภาษณ์แม่ในเรื่อง “ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ กับ วิชาการประวัติศาสตร์ในประเทศไทย” เพื่อเติมเต็มชีวิตแม่ ทั้งชีวิตส่วนตัวที่ให้ ความสุขกับตนเองและคนรอบข้าง และการเป็นนักประวัติศาสตร์ที่ทำ�ให้วิชา ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่สนุกและน่าเรียน ท้ายสุด ขอขอบคุณ อาจารย์ชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2557 ที่ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ให้ และขอบคุณคณะผู้จัดทำ� หนังสือเล่มนี้ทุกท่านที่ช่วยกันจัดทำ�หนังสือจนแล้วเสร็จ หากแม่รับรู้ได้คง พึงพอใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งขอกราบขอบพระคุณแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่ให้เกียรติมาร่วมฟังสวดอภิธรรมบำ�เพ็ญกุศล นำ�พวงหรีดมาเคารพศพ ร่วม เป็นเจ้าภาพและร่วมทำ�บุญ ตลอดจนร่วมงานในวันพระราชทานเพลิงศพแม่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ และขอให้อานิสงส์ผลบุญที่ท่าน ได้ร่วมทำ�บำ�เพ็ญกุศล โปรดอภิบาลรักษาให้ท่านประสบแต่สิ่งอันเป็นมงคล พร้อมด้วยจตุรพิธพรชัยทุกประการ รณดล นุ่มนนท์ ธนชาติ นุ่มนนท์ 29 พฤษภาคม 2565
  • 21.
  • 23. ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข 22 คำ�นำ� ด้ วย วัย 60 ปี พวกเราสามคน ทั้งพ่อและลูก ๆ ไม่อยากเห็นแม่ อยู่ในวัยนี้ เราผ่านและพบเห็นแม่จากวัยสาวจนถึงวัยปัจจุบัน ไม่มีใครเห็นและทราบถึงวัยเด็กและวัยรุ่นของแม่ จึงเคี่ยวเข็ญให้แม่เขียนถึง ตั้งชื่อหนังสือว่า แถมสุขวัยรุ่น เดิมตั้งใจจะนำ�รูปวาดแม่ ที่ท่านอาจารย์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช วาดให้หลายปีก่อนมาทำ�หน้าปก แต่เพ่งพิศดูแล้ว ใบหน้าที่ท่านอาจารย์วาดให้แม่ ไกลจากความเป็นวัยรุ่นอยู่มาก จึงตัดสินใจ นำ�ภาพวาดที่ช่างวาดในนครซิดนีย์วาดให้ครั้งแม่ไปประชุมที่ออสเตรเลียเมื่อ 24 ปีก่อน ซึ่งใกล้กับความเป็นวัยรุ่น มาพิมพ์ปก แถมสุข นุ่มนนท์ เขียนเรื่องท่าโรงยาเก่าถึงสี่กั๊ก สตรีพัทลุง วัฒนา- วิทยาลัย และอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชีวิตของแถมสุขมีเรื่องน่าติดตามอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปริญญาโท ฮ่องกง ปริญญาเอกลอนดอน อาจารย์ประจำ�จุฬาฯ เชียงใหม่ ศิลปากร อาจารย์ สอนพิเศษธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ การเผชิญกับเรื่องราวต่าง ๆ และกว่าข้อเขียนเหล่านั้นจะปรากฏคงต้องรอถึง โอกาสอันควร เพื่อพบกับ แถมสุขวัยสาว และแถมสุขเกินวัย ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับช่วงชีวิตที่ผ่านมา แถมสุขบอกสั้น ๆ ว่า “ชีวิตนี้ มีกำ�ไร” และชีวิตสุขสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเมื่อมีชีวิตใหม่ติดตามมาในสกุลของเรา มีทั้ง สุวรรณีของธนชาติ ปาลีรัฐของรณดล พร้อมกับเด็กชายน้อยอีกคนหนึ่ง ปารณ นุ่มนนท์ (บอนด์) สุรัตน์ นุ่มนนท์ 21 มิถุนายน 2538
  • 24. ท่ าโรงยาเก่ าถ ึ งส ี ่ กั๊ก 23 ท่าโรงยาเก่าถึงสี่กั๊ก 21 มิถุนายน 2478 ตรงกับวันศุกร์ เดือน 7 แรม 5 ค่ำ� เวลา 22.59 นาฬิกา ณ บ้านตึกแถวริมแม่น้ำ�เจ้าพระยาตรงท่าโรงยาเก่า ใกล้ปากคลอง- ตลาด ชีวิตหนึ่งได้เกิดมาเนื้อตัวเขียว ปากเขียว ไม่มีลมหายใจ และด้วยการดูแล ของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุล หมอหนุ่มจากศิริราชที่ช้อนทารกในครรภ์ 7 เดือน จับแช่ลงอ่างน้ำ�เย็น ชีวิตกลับฟื้ นขึ้นทันทีด้วยเสียงร้องไห้จ้า เป็นภาพอันชุลมุน เมื่อ 60 ปีก่อน สำ�หรับเด็กแรกเกิดก่อนกำ�หนดชื่อว่า แถมสุข สภาพภายในบ้านเต็มไปด้วยหนุ่มสาวนับสิบ ล้วนเป็นเครือญาติ และคนรู้จักจากพัทลุงที่มาเรียนหนังสือต่อ และยังมียายเอียด ณ พัทลุง ช่วย โอบอุ้มเลี้ยงดูดิฉัน วันที่ดิฉันถือกำ�เนิด คุณพ่อ (ร.ต. ถัด รัตนพันธุ์) ผู้แทน- ราษฎรจังหวัดพัทลุง กำ�ลังเดินทางดูงานใน 7 ประเทศแถบเอเชีย และอยู่ที่ เซี่ยงไฮ้ คุณพ่อเป็นกำ�ลังหลักของครอบครัว ไม่ได้มีฐานะร่ำ�รวย อาศัยเงินเดือน จากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 350 บาท และจากการเขียนหนังสือให้กับ หนังสือพิมพ์ได้เงินอีกเล็กน้อย แต่ชีวิตของทุกคนไม่ได้ยากลำ�บากแสนเข็ญ ก่อนที่คุณพ่อจะก้าวมาสู่จุดของการเป็นผู้แทนราษฎรต้องผ่านความทุกข์ยาก มานาน ต้องโทษถูกคุมขังในเรือนจำ�ถึง 12 ปี 6 เดือน กับ 6 วัน ในฐานะนักโทษ การเมือง ร่วมก่อการ ร.ศ. 130 ผู้หนึ่ง ขณะอยู่ในวัย 24 ปี ภายในคุก คุณพ่อใช้เวลาที่มีอยู่ศึกษาวิชาการต่าง ๆ เขียนเรื่องแต่ง นวนิยายเรื่อง เด็กกำ�พร้า ในนามปากกา ไทยใต้ จากเค้าโครงเรื่องของชาร์ลส์ ดิกเกนส์ ทำ�ให้ผู้อ่านต้องร้องไห้ ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ เคยรื้อฟื้ น ความหลังครั้งอ่านเรื่อง เด็กกำ�พร้า ให้ดิฉันฟังว่า “ผู้คนติดตามอ่านเรื่อง อ่าน แล้วร้องไห้ไปตาม ๆ กัน”
  • 25. 24 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข ค ุ ณพ่ อ (ร.ต. ถั ด รัตนพั นธุ์)
  • 26. ท่ าโรงยาเก่ าถ ึ งส ี ่ กั๊ก 25 คุณพ่อพ้นโทษแล้วต้องปกปิดตัวเอง เขียนหนังสือและทำ�งานให้กับ หนังสือพิมพ์ บางกอกการเมือง และแต่งงานกับคุณแม่ (แส ณ พัทลุง) ที่จังหวัด พัทลุงในปี พ.ศ. 2470 ก่อนย้ายมาทำ�งานหนังสือพิมพ์ ศรีกรุง และหนังสือพิมพ์ สยามราษฎร์ ตามลำ�ดับ การงานที่ทำ�เป็นไปด้วยความยากลำ�บาก ถูกจำ�กัดสิทธิ การทำ�งานหนังสือพิมพ์ ยศร้อยตรีที่ได้รับพระราชทานจากการสำ�เร็จโรงเรียน นายร้อยถูกถอดไปตั้งแต่ต้องโทษ พี่น้องพัทลุงของคุณพ่อและคุณแม่เต็มเมือง โยงใยมานานเป็นร้อยปี มีตั้งแต่เจ้าเมืองลงมาถึงพัศดีเรือนจำ�และเกษตรกรผู้ยากจน ทำ�ให้ได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทางอ้อมครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน 2476 โดย ให้ราษฎรเลือกผู้แทนตำ�บล แล้วให้ผู้แทนตำ�บลเลือกผู้แทนราษฎรอีกชั้นหนึ่ง พอเลือกผู้แทนราษฎรครั้งที่ 2 หลังจากอยู่จนครบวาระ 4 ปี คุณพ่อแพ้ครูถัด พรหมาณพ ไป 227 คะแนน แต่สภาผู้แทนราษฎรชุดนี้อยู่ได้เพียง 10 เดือน ก็ถูกยุบ การเลือกตั้งครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2481 คุณพ่อได้รับเลือกตั้งด้วยคำ�ขวัญ ที่ยังเป็นอมตะของชาวบ้านที่ว่า “กินเลี้ยงครูถัด ใส่บัตรนายร้อย” การใช้จ่าย หาเสียงใช้เงินไม่ถึง 1,000 บาท พระยาพหลพลพยุหเสนา และหลวงธำ�รง- นาวาสวัสดิ์ ให้เงินช่วยเหลือคนละ 100 บาท หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ นายปรีดี พนมยงค์ ให้ 40 บาท คุณพ่อย้ายบ้านมาอยู่ที่ถนนพะเนียง นางเลิ้ง เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น บันไดขึ้นชั้นบนยื่นออกมาจากตัวเรือนอยู่ด้านหลัง ห้องรับแขกเป็นมุขอยู่ริม ซ้ายมือของตัวบ้าน มีรูปถ่ายคนสำ�คัญของบ้านเมืองประดับ เช่น พระยาพหล- พลพยุหเสนา หลวงศุภชลาศัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม หลวงธำ�รงนาวาสวัสดิ์ มอบให้เป็นที่ระลึกติดเต็มผนังบ้าน รูปหมู่คณะ ร.ศ. 130 และกระบี่นายทหาร มหาดเล็กรักษาพระองค์ ติดไว้อย่างโอ่อ่า งานการเมืองเป็นงานหนัก แต่คุณพ่อกลับมีชีวิตสดใสขึ้น คืนสู่สภาพ พลเมืองไทยโดยสมบูรณ์เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แล้วสามารถ เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ สยามราษฎร์ ได้ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย และ ได้ยศทหารคืน คุณแม่ทำ�งานในฐานะแม่บ้านดูแลผู้คนในบ้านและเลี้ยงดูลูก
  • 27. 26 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข เล็ก ๆ สำ�หรับดิฉันจำ�ความได้ถึงชีวิตหรูหราในชุดกระโปรงบาน เสื้อติดโบว์ สวมหมวกชุดเขียวทั้งตัวตัดรับกับผิวเนื้อดำ�ของตัวเอง ในงานวันเกิดจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันที่ 14 กรกฎาคม 2484 ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำ�เนียบสามัคคีชัย การแต่งชุดเขียวเป็นความหมายของสีวันเกิดในวันพุธของท่านผู้นำ�ในยุคนั้น ปี 2485 สนุกสนานกับน้ำ�ท่วมใหญ่กรุงเทพฯ แอบลงเรือพายเล่นกับ พี่ไสว แก้วสม ไปไกลถึงคลองหน้าทำ�เนียบรัฐบาล น่ากลัวเรือล่ม ในวัย 6 หรือ 7 ขวบ เป็นวัยซุกซน แต่อ่านหนังสือออกก่อนเข้าเรียนชั้นประถมด้วยซ้ำ� วิธีการ อ่านหนังสืออ่านแบบเป็นคำ�ไป ไม่มีการสะกดตัวหนังสือ ไม่มีใครสอน ใช้การ สังเกต ช่างรู้ของตนเอง ผ่านกระทรวงใดก็อ่านได้ทันที เช่น คําว่า “กระทรวง มหาดไทย” หนังสือ พล นิกร กิมหงวน ของ ป. อินทรปาลิต เป็นแรงส่งให้อ่าน หนังสือออกได้อย่างรวดเร็ว เริ่มแต่ชอบให้คนอ่านให้ฟังแล้วหัวเราะชอบใจ จนผู้คนเอือมระอาไม่มีใครอ่านให้ฟัง หยิบหนังสือที่วางกองระเกะระกะมา ค่อย ๆ แกะอ่านเองด้วยความขบขัน สร้างความประหลาดใจให้คนในบ้าน นั่งเรียนหนังสือของ ป. อินทรปาลิต อยู่จนเกือบ 7 ขวบ จึงเข้าเรียน ที่โรงเรียนสตรีจุลนาค ในชั้นประถมปีที่ 1 ตรงแถบหลานหลวงใกล้บ้าน ที่ โรงเรียนนี้ไม่มีความจดจำ�ใดเหลืออยู่ เพราะเรียนได้ปีเดียวสงครามโลก ครั้งที่ 2 รุนแรงขึ้น กรุงเทพฯ ถูกระเบิด ไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ คุณพ่อ พาครอบครัวกลับมาอยู่ที่ตลาดพัทลุง หรือที่เรียกว่า “สี่กั๊ก” เช่าบ้านเรือนแถว ตั้งเป็นสำ�นักงานผู้แทนด้วย เป็นบ้านไม้ห้องแถว 2 ชั้น หลังริมสุด บนถนน โพธิ์สะอาด ติดกับบ่อโพธิ์ซึ่งเป็นบ่อน้ำ�สาธารณะ ทั้งหญิงและชายไปอาบน้ำ� ตอนเช้าและตอนเย็น
  • 28. ท่ าโรงยาเก่ าถ ึ งส ี ่ กั๊ก 27 จดหมายจากค ุ ณพ่ อถ ึ งล ู ก ๆ ดิฉันชอบเดินไปอาบน้ำ�คลองริมสถานีรถไฟกับบุญชอบ อ่อนเปี่ ยม ญาติกัน ในตอนเย็น ๆ ขากลับหิ้วถังใส่ผ้าถุงซักแล้วกลับบ้าน บุญชอบหลอกว่า “แม่ (ป้าเอียด) ห้ามถือถัง” ดิฉันต้องทำ�หน้าที่ถือถังให้บุญชอบทุกวัน บุญชอบ มาสารภาพภายหลังว่า “นั่นเป็นกลเม็ดต้องการเดินสบาย ๆ ไม่ต้องถือถัง” ตลาดสี่กั๊กเล็กมาก มีถนนราเมศวร์อยู่สายเดียว ไม่มีไฟฟ้า น้ำ�ประปา ที่บ้านมีบ่อน้ำ�ขุดลึกต้องใช้เชือกผูกถังชักรอกน้ำ�ขึ้นมา น้ำ�สีแดงจัดต้องกรอง ก่อน แต่ใช้ดื่มไม่ได้ และมีห้องน้ำ�เล็กในบ้าน แต่ห้องส้วมอยู่นอกบ้านตาม ความเชื่อโบราณ
  • 29. 28 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข ชีวิตวนเวียนอยู่ในหมู่ญาติ ไปหาญาติต่างตำ�บลต้องเดินไปไม่ต่ำ�กว่า 8 กิโลเมตร ไม่ว่านาท่อมไปทางจังหวัดตรัง หรือลำ�ปำ�ตรงบริเวณจวนเจ้าเมือง เก่า และห่างออกไปมีทะเลสาบป่าขวางกั้น ที่สนุกมากเมื่อได้ไปบ้านคุณตาปั้ น ณ พัทลุง ที่ท่ามะเดื่อ เขาไชยสน ขึ้นรถไฟไปลงสถานีเขาไชยสน แล้วเดินตาม ทางคันนาไปอีก 8 กิโลเมตร ระหว่างทางมีงูเลื้อยผ่าน เผชิญกับทากเกาะติดเนื้อ ดูดเลือด บ้านคุณตาหลังใหญ่ มีอาณาเขตกว้าง เต็มไปด้วยผลหมากรากไม้ มีผลไม้ให้เลือกเก็บกิน และสนุกสนานกับการเล่นน้ำ�ในคลองไหลผ่านหน้าบ้าน แม้จะลงเล่นอยู่ตามลำ�คลองมาตลอด แต่ดิฉันกลับว่ายน้ำ�ไม่เป็น ตอนย้ายไปพัทลุงเข้าเรียนชั้น ป. 2 ที่โรงเรียนโสภณพัทลุงกุล ตั้งอยู่ใน วัดภูผาภิมุข (วัดต่ำ�) เป็นนักเรียนพิเศษย้ายมาจากเมืองหลวง เป็นลูกนายร้อยถัด ผู้แทน เพื่อนล้อว่า “แหลงภาษาใต้ไม่เป็น” พูดได้แต่ภาษากลาง หรือตามศัพท์ ชาวบ้านว่า “ภาษาข้าหลวง” ความไม่เอาไหนในภาษาพูดปักษ์ใต้ยังเป็นอยู่ถึง ทุกวันนี้ เพื่อนร่วมโรงเรียนเดิม ทั้งประถมและมัธยม ยอมยกให้คนหนึ่งที่จะ เจรจากันด้วยภาษาภาคกลาง เพื่อนร่วมชั้นประถมส่วนใหญ่เป็นญาติ หลายคนตามมาเรียนชั้นมัธยม ด้วยกัน ครูสอนแต่ละชั้นมีคนเดียว มีหนังสือเรียนคนละแค่ 2-3 เล่ม ใช้กระดาน ชนวนและดินสอชนวนเขียนจนจบชั้นประถม ไม่มีกระดาษสมุดและดินสอดำ� เลิกจากพักเรียนจะเล่นมอญซ่อนผ้า หรือวิ่งเล่นซ่อนหา ชีวิตบันเทิงในยามกลางคืนมีลิเก มโนราห์ และหนังตะลุงให้ดู เวลามี งานวัด งานแก้บน หรืองานศพ ชาวบ้านจะหลั่งไหลมาดูกันอย่างพร้อมเพรียง เด็ก ๆ จะจับจองที่นั่ง รีบนำ�เสื่อไปตั้งแต่หัววัน และนั่งดูจนครึ่งค่อนคืน บางคน นั่งถ่างตาดูหนังตะลุงกว่าจะเลิกจนถึงตีสี่ ความสุขที่พัทลุงที่ได้อยู่กันอย่างพร้อมหน้า มีทั้งคุณพ่อและคุณแม่ เป็นไปเพียงปีเดียว คุณพ่อเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2487 ขณะที่ยังเป็นผู้แทนราษฎร เพราะได้รับการต่ออายุ อีก 4 ปี โดยไม่มีการเลือกตั้งใหม่ เมื่อหมดวาระในปี พ.ศ. 2485 เนื่องจากประเทศ
  • 30. ท่ าโรงยาเก่ าถ ึ งส ี ่ กั๊ก 29 อยู่ในภาวะสงคราม ตอนนั้นดิฉันเพิ่งสอบไล่ ป. 2 เสร็จใหม่ ๆ อยู่ในระหว่าง ปิดเทอม งานศพคุณพ่อมีมหรสพต่าง ๆ ชาวบ้านจัดมาช่วยแสดงในช่วง 7 วัน แรกของงานศพ และ 7 วันก่อนวันเผา จดหมายและโทรเลขจากบุคคลสำ�คัญ ทั้งในวงการเมืองและเพื่อน ๆ ร.ศ. 130 แสดงความไว้อาลัยส่งไปถึงพัทลุง มากมาย ข้อความที่ส่งเป็นไปตามอักษรในยุค “เชื่อผู้นำ� ชาติพ้นภัย” มีของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา พระยาพหลพลพยุหเสนา จอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายปรีดี พนมยงค์ แต่ไม่มีจดหมายฉบับใดจะสะท้อนบุคลิกภาพของคุณพ่อได้ดีเท่ากับ ข้อเขียนไว้อาลัยของคุณอาเนตร ความว่า ถัด ถััดกัับฉัันมีีอะไรมัักเปนคู่่�หููกัันเสมอ จนหลายคนพููดว่่า ถ้้าพบถััดก็็พบฉััน ถ้้าพบฉัันก็็พบถััด แต่่บััดนี้้�ถััดตาย ฉัันยััง ไม่่ตาย ก็็เปนของคู่่�กัันอีีก คืือ ได้้พบพร้้อมกัันทั้้�งตายและ ไม่่ตาย ถััดเปนคนรัักชาติิยิ่่�งชีีพ ชาติิจะล่่มถััดคิิดกู้้� จนถึึงพลีี ชีีวิิต สาสนาถััดรัักยิ่่�งชีีวิิตเหมืือนกััน พบพระสงฆ์์องค์์เจ้้าที่่� เปนอลััชชีี ถััดเปนต้้องกะหนาบทัันได แม้้จะมีีศััตรููรอบด้้าน ก็็ต้้องทำำ� ถััดเปนคนเจ้้าระเบีียบ แต่่ไม่่เจ้้าอุุบาย (โปลิิซีี) เว้้าซื่่�อ ๆ ตรง ๆ ปากกัับไจตรงกััน 99% จะเห็็นได้้หย่่างง่่าย ๆ ก็็เช่่น เวลาคำำ�นัับไคร ถ้้าผู้้�รัับคำำ�นัับทำำ�เมิินเฉยเสีีย ถััดเปนต้้อง เข้้าไปคำำ�นัับไหม่่อีีกครั้้�งหนึ่่�ง พร้้อมกัับต่่อว่่าต่่อขานว่่า “ทำำ�ไม คุุณไม่่รัับคำำ�นัับฉััน”
  • 31. 30 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข ถััดเปนคนกล้้าหานและอดทนเหลืือหลาย ผู้้�ที่่�มีีร่่างกาย ล่ำำ�สัันทมััดทแมง ไม่่สามารถจะเดิินบุุกป่่าฝ่่าหนามและข้้าม ห้้วยข้้ามเขาไนเวลาจำำ�เปน เช่่น ไปโปรประกัันดาการเลืือกตั้้�ง ได้้ แต่่ถััดไม่่เคยย่่อท้้อเลย เวลาไปซ้้อมรบในสนาม บางคน ไม่่สามารถจะทนแดดทนฝนได้้นาน ๆ แต่่ถััดทนได้้วัันยัังค่ำำ� แต่่เวลาถึึงคราวเดิินข้้ามสะพานรถไฟที่่�มีีกระดานทอด ถััดข้้ามไม่่ได้้เพราะไจหวิิว ต้้องกระโจนน้ำำ�ข้้ามไปทุุกทีี แม้้ เพื่่�อนฝููงจะพููดให้้ข้้ามหย่่างไรก็็ไม่่ข้้าม เมื่่�อไจไม่่ยอมแล้้ว ปากก็็ไม่่อำำ�พรางเหมืือนกััน ถััดเข้้าผู้้�ไหย่่ผู้้�น้้อยได้้ทุุกคน เพราะมีีความน่่ารัักหลาย หย่่าง ขอให้้สวรรคจงรัักถััดและรัับถััดไว้้ด้้วยเถิิด เพื่่�อเปน ตััวหย่่างของคนดีีสืืบไป ร.ต. เนตร พููนวิิวััธน์์ ส.ส. การรักความยุติธรรมของคุณพ่อเรื่องพระสงฆ์องค์เจ้าที่เป็นอลัชชีนั้น มีเรื่องเล่าว่าคุณพ่อได้ไปกราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า เจ้าอาวาสวัดทางฝั่ งธนเป็นพระผู้ใหญ่ชั้นธรรม มาหาผู้หญิงซึ่งเป็นเจ้าของท่าเรือจ้างทุกคืน ตรงตึกแถวใกล้กับที่เราอยู่ สมเด็จ พระสังฆราชทรงสอบสวนแล้วพบความจริง รับสั่งให้สึกทันที ไม่มีการพิจารณา อธิกรณ์ชั้นต้นไปจนถึงอุทธรณ์และฎีกา คุณแม่รับภาระหนักจากการจากไปของคุณพ่อ เลี้ยงดูลูก ๆ และญาติ จากต่างตำ�บลและต่างอำ�เภอที่มาเรียนหนังสือร่วมอยู่ด้วย รวมทั้งน้าบุญเพิ่ม ณ พัทลุง น้องสาวคุณแม่ที่สอนอยู่โรงเรียนการช่างสตรี อาหารการกินไม่เป็นที่ เดือดร้อน ญาติจะแบกข้าวสาร กุ้ง ปลาสด และปลาแห้ง มาให้เป็นประจำ� ทุกคน จะต้องช่วยกันทำ�งานบ้าน การทำ�กับข้าวบางครั้งยุ่งยาก อย่างแกงเขียวหวานไก่ เริ่มตั้งแต่เก็บมะพร้าว ปอกมะพร้าว ขูดมะพร้าวด้วยกระต่ายขูดมะพร้าว
  • 32. ท่ าโรงยาเก่ าถ ึ งส ี ่ กั๊ก 31 จับไก่ ฆ่าไก่ หั่นไก่ ตำ�เครื่องแกง จุดฟืนก่อไฟ การร่วมมือทำ�งานทำ�ให้ ความเหนื่อยกลายเป็นความสนุก คุณแม่แสวงหารายได้จากการเป็นนายหน้าขายประกันชีวิตของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต และดิฉันช่วยหั่นหยวกกล้วย คลุกรำ�เลี้ยงแม่หมู ลูกออกมา ครั้งละ 10 กว่าตัว ขายลูกหมูได้กำ�ไรดี ยามว่างใกล้เวลารถไฟเข้าสถานีจะไปอยู่ตรงสถานีกับเพื่อน ๆ ดูทหาร ญี่ปุ่นรูปร่างอ้วนป้อมเตี้ยเดินขวักไขว่เวลารถไฟจอด เด็ก ๆ จะเอากล้วยหอมไป แลกกับดินสอดำ�กำ�ใหญ่จากทหารญี่ปุ่น มรดกที่คุณพ่อเหลือไว้ให้ คือ หนังสือตู้ใหญ่ มีทั้งหนังสือ พงศาวดาร นวนิยาย และหนังสือแปล ดิฉันหยิบคว้ามาอ่านเล่มแล้วเล่มเล่า ซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่า จนจำ�ขึ้นใจ คุณพ่อสะสมหนังสือทุกประเภท รวมถึงตำ�ราโหราศาสตร์ต่าง ๆ ดูฤกษ์ยาม ทำ�ให้คุณแม่เชื่อถือโชคลางมาก ย่างเท้าออกจากบ้านแต่ละครั้งต้อง จับยามสามตา ก้าวเท้าซ้ายหรือขวาให้ถูกต้องตามตำ�รา ช่วงเวลา 9 ปี ที่อยู่พัทลุง ได้มาเที่ยวกรุงเทพฯ ครั้งเดียว ตอนปิดเทอม- ใหญ่ ม. 5 พักอยู่บ้านคุณอาเนตร 15 วัน เที่ยวชมเมืองหลวง และเริ่มรู้จัก “โคคา โคล่า” ราคา 15 สตางค์ เพิ่งมีขายในเมืองไทย แต่กับเมืองใกล้ ไม่ว่าตรัง หาดใหญ่ สงขลา ได้ไปเที่ยวอยู่บ่อย ๆ บ้านสี่กั๊กเป็นบ้านแห่งความหลัง ให้ความสุขและความสมหวังมาตลอด แต่ไม่มีโอกาสกลับไปอยู่กับความหลังเก่า ๆ
  • 33. 32 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข สตรีพัทลุง ความ จำ�ในอดีตถึงโรงเรียน ภาพบางภาพแจ่มใสชัดเจน ขณะที่ บางภาพกลับเลือนหายไปหมดสิ้น แต่จากเพื่อนหลาย ๆ คนมาช่วยกันเล่าความหลัง ทำ�ให้เห็นภาพสมัยที่เคยเรียนร่วมกันมาแจ่มชัด ยิ่งขึ้น และถ้าหากปราศจากเพื่อนคงไม่สามารถทำ�ให้เห็นอดีตได้ เพื่อนเหล่านี้ ได้แก่ นงเยาว์ บุญชอบ วรรณยิ่ง อนงค์ ฤดี และอรุณี ตลอดจนประณีต กฤษณา อมร ปราณี และอีกหลาย ๆ คนที่อยู่ในความจำ� ชีวิตโรงเรียนเริ่มต้นเมื่อใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรียน เปิดเรียนประจำ�ปี ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม 2488 มีนักเรียนที่เข้า ม. 1 รุ่นนั้น จำ�นวน 41 คน เดิมทางโรงเรียนประกาศรับสมัครนักเรียน 40 คน มีผู้สมัคร 41 คน ถึงวันสอบคัดเลือกมีเพื่อนคนหนึ่งชื่อเชย ป่วยมาสอบไม่ได้ ทางโรงเรียน จัดแจงให้ 40 คน เข้าเรียนโดยไม่ต้องสอบ แต่แล้ววันดีคืนดี หลังโรงเรียนเปิด “ สุขในสมัยที่เรียนหนังสือมาด้วยกัน เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยดี มีีอารมณ์์ขััน สนุุกสนานร่่าเริิง เรีียนเก่่ง ความจำำ�ดีีมาก เป็็นที่่�รัักของเพื่่�อน ๆ สุุขคืือเพื่่�อนที่่�ดีีเสมอมา การที่่�ได้้เป็็นเพื่่�อน กัับสุุขก็็เหมืือนกัับได้้กััลยาณมิิตรที่่�ดีี แถมยัังได้้รัับความสุุขดัังชื่่�อ 'แถมสุุข' เป็็นชื่่�อของสุุข ที่่�โดดเด่่นไม่่เหมืือนใคร  ” แพทย์หญิงนงเยาว์ จุลชาติ (โชตินุกูล) เพื่อนสตรีพัทลุง
  • 34. สตร ี พั ทล ุ ง 33 ได้เดือนกว่า เชยในสภาพหัวโกร๋นติดต่อขอความเห็นใจขอเข้าเรียนกลางคัน ทาง โรงเรียนไม่ขัดข้อง ทำ�ให้นักเรียนมีจำ�นวน 41 คน สตรีพัทลุงออกจะเป็นความใฝ่ฝันของเด็กหญิงในช่วงวัย 10 ขวบ ในขณะนั้นเป็นโรงเรียนสตรีแห่งเดียวในจังหวัด สอนชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึงมัธยม ปีที่ 6 รับผู้จบจากชั้นประถมปีที่ 4 สมัยเรียนอยู่ชั้นประถมที่โรงเรียนโสภณ- พัทลุงกุล ตั้งอยู่ที่วัดต่ำ� (วัดภูผาภิมุข) มองเห็นโรงเรียนสตรีแค่คลองข้าม ทำ�ให้ เกิดความมุ่งมั่นที่จะเรียนต่อที่นี่ และความฝันกลายเป็นความจริงเมื่อได้เข้ามา เรียนและได้หมายเลขประจำ�ตัว 472 สมัยเข้าเรียน โรงเรียนมีอาคารไม้ 2 ชั้น เพียงหลังเดียว และมีปีกยื่น 2 ข้าง เป็นเรือนรูปตัวยู มีบันได 2 ข้าง ขึ้นห้องเรียนข้างบน ชั้น ม. 1 เรียนข้างล่าง ส่วนที่เหลือเป็นห้องประชุม และมีเวทียกพื้นเตี้ย ๆ ใช้เป็นเวทีแสดงหรือกิจกรรม ต่าง ๆ รวมทั้งวางโต๊ะปิงปอง ชั้นบนมีห้องเรียนของชั้น ม. 2 ถึง ม. 5 รวม 4 ห้อง ตรงปีกข้างหนึ่งเป็นห้องครูใหญ่อยู่ชั้นบน ชั้นล่างเป็นห้องพักครู ปีกอีกด้านหนึ่ง ชั้นบนเป็นห้อง ม. 6 ชั้นล่างเป็นห้องพยาบาล ทั้งโรงเรียนมีครูและนักเรียน รวมกันประมาณ 200 คน พื้นที่ของโรงเรียนจำ�นวน 18 ไร่กว่า กว้างขวางแลดู กว้างไกลสุดสายตา หน้าอาคารเรียนมีเสาธงตั้งตระหง่าน มีกล้วยแพคล้ายหางนกยูงปลูก อยู่ 2 ข้าง มีเข็มกอใหญ่ 2 กอ สลับกับต้นบานเช้าและบานบุรี จากหน้าอาคาร เลี้ยวไปทางขวาเป็นถนนโรยกรวดแคบ ๆ ผ่านสระบัวไปยังโรงอาหาร มีร้านขาย เต้าคั่ว (สลัดทะเลสาบ) ของน้าขวม และข้าวแกงของน้าเชื้อ อาหารตกจานละ สลึง รสอร่อย กินอิ่ม นักเรียนได้เงินไปโรงเรียนคนละ 1 บาท ถือว่ามากแล้ว หากวันไหนมีเงิน 2 บาท ก็ทำ�ตัวเกียจคร้านขี้เกียจเดิน นั่งสามล้อไปโรงเรียน เสียเงิน 1 บาท เคยเผลอให้เงินสามล้อ 2 บาท สามล้อมีน้ำ�ใจ ตามกลับเอาเงิน มาคืนให้ถึงโรงเรียน บริเวณโรงเรียนยังมีบ้านพักครูใหญ่เรือนใต้ถุนสูงอยู่หลังหนึ่ง ส่วน สนามใหญ่สำ�หรับเล่นกีฬามีสนามเน็ตบอลอยู่ด้วย อาศัยที่มีสนามเล่นกว้างขวาง เป็นที่ชื่นชอบสำ�หรับพวกเราที่จะใช้ช่วงเวลาก่อนเข้าเรียนเช้า พักเที่ยง และหลัง
  • 35. 34 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข เลิกเรียน 3 โมงเย็น เล่นกีฬากลางแจ้ง หรือหลบมุมตามใต้ถุนโรงเรียน เล่นกีฬา ในร่ม เล่นวิ่งเปี้ยว วิ่งผลัด ชักเย่อ ตีลูกลาวเด้อร์ เล่นตี่ งูกินหาง มอญซ่อนผ้า เก้าอี้ดนตรี อีตัก หมากเก็บ ปิงปอง เน็ตบอล หมากขุม และอื่น ๆ โต๊ะปิงปองมีอยู่โต๊ะเดียว จะต้องช่วงชิงกันด้วยการเอาไม้ปิงปอง วางไว้บนโต๊ะก่อนพักเที่ยง มักจะใช้ช่วงเวลานั้นขออนุญาตครูเข้าห้องน้ำ� และ ออกเป็นความถนัดที่ดิฉันประพฤติเป็นประจำ� รีบแอบนำ�ไม้ปิงปองวางที่โต๊ะ ก่อนวิ่งไปยังห้องน้ำ� ห่างจากอาคาร อยู่ใกล้โรงอาหาร หลักสูตรการเรียน ทางโรงเรียนเน้นการคิด อ่าน เขียน พูด เรียน เลขคณิตวิธี ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศีลธรรม หน้าที่ พลเมือง เป็นวิชาหลัก รวมถึงการฝีมือ วาดเขียน ขับร้อง การเรือน พลศึกษา สุขศึกษา เป็นวิชาบังคับตั้งแต่ ม. 1 ถึง ม. 6 แต่พอขึ้น ม. 4 มีวิชาวิทยาศาสตร์ ทั่วไป เรขาคณิต พีชคณิตเพิ่มขึ้นมา ครูมีหลายคน และพวกเราออกจะซึ้งต่อคำ�ที่เรียกขานว่า “ครู” ครู ส่วนใหญ่เป็นชาวพัทลุง เรียนจบ ม. 6 ของโรงเรียนแล้วไปเรียนต่อวิชาครู ได้ ป.ป. บ้าง ป.ม. บ้าง ความสนิทสนมระหว่างครูกับนักเรียนเปรียบเสมือนญาติ โรงเร ี ยนสตร ี พั ทล ุ ง
  • 36. สตร ี พั ทล ุ ง 35 และครูหลายคนเป็นญาติจริง ๆ มีครูพิมประภา แกล้วทนงค์ สอนขับร้อง ครูจินดารัตน์ วิมลจันทร์ สอนเลขคณิตและภาษาไทย ครูอัมพร ทองจำ�รัส (พรพิมล นะมาตร์) สอนภาษาอังกฤษ ครูสงวน สินทรัพย์ สอนการฝีมือ ครูเที่ยง (ยุทธนา) เทิดเกียรติกุล สอนวาดเขียน ครูอุทัย ทองคำ�ดี สอน พลศึกษา ครูที่กล่าวมาสอนอยู่ในช่วง ม. 1 ถึง ม. 3 ต่อมามีครูสารภี (เพ็ญสุวรรณ) คชภักดี สอนวิทยาศาสตร์ ครูอำ�นวย (ทองอุปการ) ธนสถิตย์ สอนการเรือน ครูพรรณี สถาพร สอนพีชคณิตและเรขาคณิต ครูสายพิณ เวชรังษี สอนเลขคณิต ครูจำ�นรรจ์ เวชรังษี สอนประวัติศาสตร์ ครูจำ�ปี (อารยา) ประณุทนรพาล สอนภูมิศาสตร์ ครูละแม้น (สกุลแพทย์) สุทธิวงศ์ สอน ภาษาอังกฤษ ครูสุภาพ เทิดเกียรติกุล สอนภูมิศาสตร์ และเมื่ออยู่ ม. 6 มี ครูอรุณ ดุลยนิษกะ มาสอนวาดเขียนแทนครูเที่ยงที่ย้ายไปกรุงเทพฯ ครูที่มีความใกล้ชิดมากกับนักเรียน ได้แก่ ครูประจำ�ชั้น เริ่มแต่ชั้น ม. 1 มีครูพิมประภา ต่อด้วยครูอัมพรในชั้น ม. 2 ครูจินดารัตน์เป็นครูประจำ�ชั้น ม. 3 และ ม. 4 ครูสายพิณ ม. 5 และครูพรรณีในชั้น ม. 6 ซึ่งเป็นชั้นสุดท้าย ในช่วง 6 ปีมีครูใหญ่ผลัดเปลี่ยนกันมา 3 ท่าน คือ ครูเอื้องพันธ์ คุ้มหล้า ครูส่องแสง หงศ์ประภัสสร และครูพูนพิศ พิตรสาธร โรงเรียนเคร่งครัดในการเรียนการสอนและระเบียบวินัยต่าง ๆ ตอนเช้า เข้าโรงเรียน 8 โมง นักเรียนทั้งหมดจะเข้าแถวร้องเพลงชาติ มีนักเรียนต้นเสียง ร้อง ซึ่งดิฉันได้ทำ�หน้าที่นี้ตั้งแต่ ม. 2 จนจบ ม. 6 เสร็จจากร้องเพลงชาติแล้ว นักเรียนจะฟังโอวาทจากครูใหญ่ มีทั้งการอบรมและเล่าเรื่องต่าง ๆ ที่นักเรียน ควรรู้ บ้านเมืองพัทลุงในยามนั้นห่างไกลจากข่าวสารทุกประเภท ไม่มีไฟฟ้า น้ำ�ประปา โทรศัพท์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ การคมนาคมติดต่อกับกรุงเทพฯ เป็นไป อย่างยากลำ�บาก นั่งรถไฟตู้หมูมากรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งต้องใช้เวลาถึง 8 วัน 9 คืน การเล่าเรื่องต่าง ๆ ของบ้านเมืองจากครูใหญ่เป็นประโยชน์มากสำ�หรับนักเรียน เหตุการณ์ควรแก่การจดจำ� ครั้งหนึ่งตรงหน้าเสาธงตอนเช้าวันที่ 9 มิถุนายน 2489 อุบล ลิ่มชัยพฤกษ์ มีวิทยุรับฟังที่บ้าน มากระซิบบอกก่อนเข้าแถวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 สวรรคต และครูใหญ่
  • 37. 36 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข เอื้องพันธ์แจ้งให้นักเรียนทราบหลังเคารพธงชาติ ท่ามกลางเสียงร้องไห้ระงม ไปทั้งโรงเรียน นักเรียนในห้องเรียนต่างมีโต๊ะเดี่ยว จัดเป็นแถวห่างกันพอสมควร เมื่อ เข้าห้องเรียนในตอนเช้า ก่อนเริ่มเรียนจะสวดมนต์สั้น ๆ 3 จบ ครูประจำ�ชั้นเดิน เข้ามา หัวหน้าห้องได้แก่ นงเยาว์ ซึ่งเป็นหัวหน้าห้องตลอด 6 ปี เป็นผู้บอกให้ นักเรียนกราบ แล้วเริ่มขานชื่อ นักเรียนนั่งตัวตรง เวลาเรียนห้ามนั่งไขว่ห้าง ห้าม พูดคุยกัน เวลาตอบคำ�ถามจะต้องยกมือให้ครูเรียกก่อนตอบ แย่งกันตอบไม่ได้ การส่งของให้ครู ต้องนั่งคุกเข่าส่งของ การแต่งกายต้องเรียบร้อย สะอาด พอดีในช่วงแรกที่เข้าเรียนเป็นช่วง ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 สินค้าต่าง ๆ ขาดแคลน เครื่องแต่งกายของนักเรียน มีอย่างจำ�กัด ชุดแต่งกายมีอย่างมากคนหนึ่งไม่เกิน 2 ชุด ต้องซักทุกวันด้วย สบู่กรดและรีดด้วยเตาถ่าน ตื่นกันตั้งแต่ตี 5 ติดเตาถ่านรีดผ้า ยิ่งถึงวันพุธ ยิ่งวุ่นวายกับการเตรียมชุดอนุกาชาด กระโปรงสีน้ำ�ตาล เสื้อขาวปกสี่เหลี่ยม หน้าหลัง ทางโรงเรียนเข้มงวดห้ามดัดผม นอกจากหยิกตามธรรมชาติ แต่มี นักเรียนบางคนอยากสวย ยอมทนร้อนใช้คีมเผาเตาถ่านร้อน ม้วนผมหยิก จนหนังศีรษะถลอก แต่ครูไม่ลงโทษ เพราะเห็นว่าโทษที่ได้รับจากความร้อน ที่ศีรษะมีค่ามากพอแล้ว ครูใช้วิธีการลงโทษนักเรียนที่กระทำ�ผิดระเบียบ ไม่ว่าจะลืมส่งการบ้าน แต่งตัวไม่เรียบร้อย หรือคุยกันในห้องเรียนในหลายรูปแบบ เช่น ยืนกางแขนหน้า ชั้น ยืนคาบไม้บรรทัด ยืนตรงขาเดียว หรือใช้ไม้ก้านมะยมตี ครูจะใช้ให้นักเรียน คนหนึ่งไปเก็บก้านมะยมมาให้ครู เกียรติในการเก็บก้านมะยมนี้ ดิฉันได้รับอยู่ เป็นประจำ� และพยายามเลือกก้านมะยมที่เล็กที่สุดมาให้ครู เพื่อไม่ให้เพื่อนที่ ถูกตีเจ็บนัก และครูก็ไม่ว่าอะไร หนักที่สุดเห็นจะมีอยู่ครั้งเดียวตอน ม. 6 เมื่อถูก ครูสุภาพลงโทษให้ยืนหน้าชั้นทั้งหมดโทษฐานกินถั่วลิสงที่เกษร ลิ่มชัยพฤกษ์ นำ�มาแจกให้เพื่อน ๆ ในชั่วโมงภูมิศาสตร์ หน้าที่ประจำ�สำ�หรับพวกนักเรียน ได้แก่ ช่วงตอนเลิกเรียนเย็น หัวหน้า ห้องจะบอกให้ทุกคนยืนตรง กล่าวคำ�ลาครูด้วยถ้อยคำ�ว่า “สวัสดีคุณครู” แล้ว
  • 38. สตร ี พั ทล ุ ง 37 ท่องสูตรคูณ อาขยาน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จบแล้วจึงจะกลับบ้าน ที่พิเศษ ได้แก่ เย็นวันศุกร์ นักเรียนทั้งโรงเรียนจะเข้าห้องประชุมสวดมนต์ใหญ่ 1 จบ ฟังโอวาทจากครูใหญ่และครูน้อย ภารกิจประจำ�วันของนักเรียนในตอนเย็น ยังมีอีกสำ�หรับนักเรียนที่จะผลัดกันทำ�เวรก่อนกลับบ้าน มีหน้าที่กวาดถู ปิดประตู หน้าต่างห้องเรียน และในแต่ละอาทิตย์ต้องทำ�ความสะอาดใหญ่ ลงพื้นห้องเรียน ด้วยเทียนไขผสมน้ำ�มันก๊าด แข่งขันกันระหว่างห้องเรียนว่า ห้องใครจะขัดมัน กว่ากัน และมีอีกหน้าที่หนึ่ง คือ การปลูกต้นตะแบกรอบสนามหน้าโรงเรียน นักเรียนจะแบ่งกันดูแล 3 หรือ 4 คนต่อต้น เริ่มตั้งแต่ขุดหลุมปลูกต้นไม้ จากนั้น คอยดูแลพรวนดินรดน้ำ�อยู่เป็นประจำ� ต้นตะแบกของกลุ่มใดออกดอกสีม่วง งดงามจะได้คะแนนจากผลงานที่ดูแล ความผูกพันต่อต้นตะแบกที่ปลูกกันมายังมี อยู่จนทุกวันนี้ หากใครมีโอกาสมาแวะเยี่ยมโรงเรียนอดไม่ได้ที่จะไปดูต้นตะแบก ที่เคยได้ดูแล หากย้อนระลึกถึงความหลังครั้งเรียนในวัยเด็ก ชีวิตเต็มไปด้วย ความสนุกสนาน เรียนบ้างเล่นบ้างตามประสาเด็ก เพื่อนฝูงในแต่ละปีผลัดเปลี่ยน กันไป เข้าใหม่บ้าง ออกไปบ้าง หรือบางคนไม่ยอมเลื่อนชั้นตามขึ้นไป ในขณะที่ รุ่นก่อนบางคนอยู่รอให้รุ่นใหม่ตามขึ้นไป จนไม่ทราบว่าเราจะนับรุ่นกันอย่างไร ความผูกพันเป็นไปในลักษณะเพื่อนร่วมโรงเรียน ไม่ว่ารุ่นเล็กรุ่นใหญ่ อาจจะ เดินไปและกลับจากโรงเรียนพร้อมกัน ทำ�กิจกรรมอย่างการปลูกต้นไม้ร่วมกัน แต่สำ�หรับความหลังแล้วยังเล่ากันอย่างสนุกสนานอยู่จนทุกวันนี้ เช่น ในเรื่อง ชั่วโมงภาษาอังกฤษของครูอัมพร เราจะได้เรียนรู้ถึงถ้อยคําในภาษาใหม่ ๆ เช่น Stand Up, Sit Down, Come Here, Go Back แต่ครูอัมพรในสายตาของพวกเรา เป็นครูดุ ใครตอบคำ�ถามไม่ได้ หรือลืมทำ�การบ้าน จะถูกครูสั่งให้งอมือ แล้วใช้ ไม้บรรทัดตีที่ตรงข้อมือ ยิ่งวันไหนครูใส่เสื้อสีครีม พวกเรายิ่งสั่นสะท้าน บางคน ถึงกับลาเรียนชั่วโมงนั้น เพราะร่ำ�ลือกันว่า วันใดที่ครูใส่เสื้อสีครีมแล้วจะดุเป็น พิเศษ เรื่องที่เฮฮาก็ตอนครูอัมพรให้ฤดีออกไปหัดพูดภาษาอังกฤษหน้าชั้น ว่า “โชว์ มี ยัวร์ แฮนด์” (Show me your hand) ฤดีออกเสียงว่า “โชว์ เมีย ยัวร์
  • 39. 38 ประวั ต ิ (ศาสตร์) อันแสนส ุ ขของแถมส ุ ข แฮนด์” ครูอัมพรพยายามแก้ให้ออกเสียงว่า “มี” เท่าไหร่ ๆ ก็ยังพูดว่า “เมีย” อยู่อย่างนั้น จนครูอัมพรเป็นฝ่ายขอยอมแพ้ แต่พวกเรายอมรับว่า ครูอัมพร เคี่ยวเข็ญภาษาอังกฤษให้เป็นพื้นฐานสำ�หรับอนาคต วิชาการฝีมือเป็นวิชาหนึ่งที่ค่อนข้างเอาจริงเอาจัง ครูสงวนเกณฑ์ นักเรียนให้ปักผ้าปูโต๊ะและผ้าปูที่นอนเพื่อส่งประกวดงานแสดงศิลปหัตถกรรม ประจำ�ปี ที่จัดงานขึ้นในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ งานการทำ� ฝีมือดูจะต่อเนื่องอยู่เรื่อย ขณะอยู่ชั้น ม. 5 นักเรียนจะต้องปักหมอนอิงขนาด กว้างยาว 20x20 นิ้ว ใช้ผ้าต่วนขึงกับสะดึงใหญ่ กว่าจะปักเสร็จต้องทำ�ไปจนถึง ม. 6 สะดึงจึงเป็นของโก้เก๋สำ�หรับนักเรียนถือไปโรงเรียนทุกวันเพื่อโอ้อวดว่า ตอนนี้กำ�ลังจะจบ ม. 6 แล้ว วิชาที่ทำ�ให้พวกเรากลายเป็นคนกุเรื่องตรงข้ามกับวิชาว่าด้วยศีลธรรม อย่างสิ้นเชิง คือ วิชาอนุกาชาดว่าด้วยเรื่อง “การบำ�เพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อ ผู้อื่น” นักเรียนมีสมุดบาง ๆ มีช่องเขียนวันเดือนปี บันทึกการบำ�เพ็ญประโยชน์ และลงชื่อผู้รับรองว่าเป็นความจริง มีคะแนนให้ 10 คะแนน เมื่อถึงเวลาส่งสมุด รายงาน ต่างคนต่างบันทึกข้อความการบำ�เพ็ญประโยชน์ที่ไม่เคยทำ�มาก่อน เช่นว่า “จูงคุณป้าแดงข้ามถนน” ทั้งที่ตอนนั้นมีถนนราเมศวร์อยู่สายเดียว แทบจะไม่มีรถยนต์แล่น อย่างเก่งก็มีสามล้อหรือจักรยาน 2 ล้อที่นาน ๆ จะผ่านมาสักคัน นอกนั้นถนนในพัทลุงก็มีแต่ทางเนินดินแคบ ๆ บางครั้ง ก็เขียนข้อความว่า “ช่วยคุณป้าขาวตักน้ำ�” สำ�หรับคนลงนามรับรองการบำ�เพ็ญ ประโยชน์ก็หาง่าย ๆ จากมือซ้ายบ้าง ขวาบ้าง ตามถนัด ตวัดชื่อรับรองว่า เป็นความจริงแล้วได้คะแนนเก็บมาคนละ 9 คะแนน 10 คะแนน สุดแล้วแต่ งานบำ�เพ็ญประโยชน์ใดยากหรือง่ายตามลำ�ดับ ครูผู้ให้คะแนนไม่ได้ว่าอะไร ทั้งที่ทราบว่านักเรียนแต่งกันเอง กิจกรรมเพิ่มสีสันให้กับชีวิตวัยเรียน คือ กิจกรรมนอกหลักสูตร มีการ แสดงละคร รำ�ละคร ประกวดร้องเพลง โต้วาที มีการแสดงละครเวทีในแต่ละปี แต่ละเรื่องไม่ซ้ำ�กัน ออกแสดงถึงต่างจังหวัด ในจังหวัดตรังและหาดใหญ่ ไม่เฉพาะแต่จะแสดงที่พัทลุงเท่านั้น ใช้นักเรียนร่วมกับครูแสดง ในปีหนึ่งจำ�ได้ว่า