SlideShare a Scribd company logo
1 of 83
ศีลศักดิ์สิทธิ์7 ประการ 1
2
[object Object]
จากรากศัพท์ภาษาละติน “sacramentum”
ซึ่งตรงกับคำภาษากรีกในพระคัมภีร์ว่า “mysterion” หรือ “ธรรมล้ำลึก”
ได้แก่การที่พระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้า ทรงรับสภาพมนุษย์ ทรงรับทรมาน สิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพ
ดังนั้น “ศีลศักดิ์สิทธิ์” จึงเป็นการมีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้านั่นเอง3 ความหมาย
ศีลศักดิ์สิทธิ์จึงเป็น “เครื่องหมาย” ของธรรมล้ำลึกที่เราแลเห็นไม่ได้ และทำให้ธรรมล้ำลึกนี้เป็นจริงขึ้นมา นั่นคือการร่วมส่วนในชีวิตของพระเจ้าที่เราเรียกว่า “พระหรรษทาน” 4
1. ศีลล้างบาป 5
พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลล้างบาป เมื่อพระองค์ตรัสกับบรรดาสาวกของพระองค์ว่า  " ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ทำพิธีล้างบาปให้เขา  เดชะพระนาม  พระบิดา พระบุตร และพระจิต ( มธ.28 : 19 ) 1. ศีลล้างบาป 6
เราต้องรับศีลล้างบาปเพื่อเราจะได้รอด  พระเยซูเจ้าตรัสว่า " เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า  ไม่มีใครเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า  ถ้าเขาไม่เกิดจากน้ำและพระจิตเจ้า "  7
การล้างบาปตามพิธีการของศีลล้างบาปโดยตรง   การล้างบาปด้วยเลือด ซึ่งหมายถึงการยอมตายเป็นมรณสักขีเพราะเห็นแก่พระเยซูคริสตเจ้า  ก่อนที่จะได้รับพิธีศีลล้างบาป  การรับศีลล้างบาปด้วยความปรารถนา  ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า แต่ไม่มีโอกาสรู้จักพระศาสนจักรและไม่ได้รับศีลล้างบาป การล้างบาป มีอยู่ 3  ประเภท  9
ผลของศีลล้างบาป   ลบล้างบาปกำเนิด เรากลายเป็นบุตรของพระเจ้า เราเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร เราได้รับตราประทับชีวิตนิรันดร 10
11
ศาสนบริกร ศาสนบริกรตามปกติของศีลล้างบาป ได้แก่ พระสังฆราช  พระสงฆ์ และสังฆานุกร  ศาสนบริกรฉุกเฉินรีบด่วน ได้แก่ทุกคน   มีความตั้งใจที่จะกระทำพิธีศีลล้างบาป   ตามเจตนาของพระศาสนจักร และล้างบาปด้วยน้ำ ในพระนามของพระบิดา พระบุตร  และพระจิต 12
ทุกคนที่เชื่อในพระคริสตเจ้า  รู้จักข้อความเชื่อของอัครสาวก บัญญัติ  10  ประการ  ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7  ประการ  และบทข้าแต่พระบิดา  สามารถเข้ารับศีลล้างบาปได้ สำหรับผู้ใหญ่  ก่อนที่จะรับศีลล้างบาปจะต้องเข้าเป็นคริสตชนสำรอง   คือเข้าสู่กระบวนการเตรียมตัวสำหรับการเข้าเป็นคริสตชน   เพื่อจะได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติตามความเชื่อ ศีลศักดิ์สิทธิ์  และพิธีกรรมต่าง ๆ ตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้ ใครสามารถรับศีลล้างบาปได้ 13
2. ศีลกำลัง 14
พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลกำลัง เมื่อพระองค์ทรงเป่าลมเหนือศีรษะของบรรดาอัครสาวกและตรัสว่า  " พระบิดาส่งเรามาฉันใด  เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น….จงรับพระจิตเจ้า "   ศีลกำลัง 15
ศีลกำลังในพระจิตเจ้าเริ่มต้นครั้งแรกในวันฉลองพระจิตเจ้าเสด็จลงมา พระจิตเสด็จมาในรูปลักษณ์คล้าย ๆกับลิ้นไฟ มาอยู่เหนืออัครสาวก  และพระแม่มารีย์ ขณะที่ชุมนุมสวดภาวนาอย ู่ในห้องชั้นบน  16
ต่อจากนั้นบรรดาอัครสาวกได้ประกอบพิธีศีลกำลังโดยการปกมือเหนือบรรดาสานุศิษย์  ตามที่พระคัมภีร์กล่าวว่า  " พวกเขาได้รับศีลล้างบาป  เดชะพระนามของพระเยซู  พระผู้เป็นเจ้า  เปาโลปกมือเหนือเขา  พระจิตเจ้าก็เสด็จมาประทับอยู่ด้วย 17
[object Object]
เราเป็นทหารของพระคริสตเจ้า  เรายืนยันความเชื่อ  และกลับเป็นประจักษ์พยานของพระคริสต์จนวันตายผลของศีลกำลัง 18
พระดำริ หรือปรีชาญาน ให้เราได้สามารถเข้าใจถึงน้ำพระทัยของพระที่มีต่อเราอย่างผู้ที่ฉลาด  สติปัญญา ให้เราได้สามารถเข้าใจถึงความลึกลับ และความจริงของข้อคำสอน  ความคิดอ่าน ให้เรารู้จักแยกแยะ วิเคราะห์ ตัดสิน และปฏิบัติอย่างเหมาะสมถูกต้อง  พละกำลัง ให้เรามีพลังที่จะต่อสู้กับความยากลำบาก และการถูกประจญ  ความรู้ ให้เราสามารถมีความเข้าใจในคำสอนและข้อความเชื่อทั้งทางโลกและทางธรรม  ความศรัทธา ให้เรามีความรัก เลื่อมใสศรัทธา ผูกพัน และวางใจในพระเสมอ  ความยำเกรงพระเจ้า ให้เรามีความเคารพ ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อหน้าพระเสมอ  19 พระคุณของพระจิต 7 ประการ ได้แก่
ศาสนบริกร ศาสนบริกรของศีลกำลังคือพระสังฆราช   พระสงฆ์สามารถประกอบพิธีศีลกำลังได้ในกรณีที่มีอันตรายถึงขั้นตาย  หรือในกรณีพิเศษ 20
[object Object]
ก่อนที่จะเข้ารับพิธี เราต้องพิสูจน์ตนเองว่าเรารู้จักข้อความเชื่อของอัครสาวก  พระบัญญัติ 10 ประการ ศีลศักดิ์สิทธิ์  7 ประการ และบทข้าแต่พระบิดา
และสามารถรับศีลกำลังได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะในศีลกำลัง  เราได้รับตราประทับนิรันดร
เราโปรดศีลกำลังให้กับบุคคลที่สามารถใช้เหตุผลได้เท่านั้น 
ในกรณีถึงแก่ความตาย เราสามารถโปรดศีลกำลังนี้ให้กับเด็ก ๆ ได้ 
บุคคลที่จะเข้ารับศีลกำลังจะต้องมีพ่อหรือแม่ทูนหัวเป็นพยาน โดยควรที่จะเป็นคน ๆเดียวกับศีลล้างบาป ผู้เข้ารับศีลกำลัง 21
การปกมือ ตามที่พระคัมภีร์ได้กล่าว " เปโตรและยอห์นปกมือเหนือเขาทั้งหลาย เขาเหล่านั้นก็ได้รับพระจิตเจ้า “ สิ่งสำคัญ 22
[object Object]
" คริสตชน "  มาจากคำว่า "  คริสมา "  ซึ่งหมายความถึง   " การ เจิม  "
น้ำมันคริสมาที่ศักดิ์สิทธิ์คือน้ำมันมะกอกที่ผสมกับน้ำหอม ได้รับการเสกจากพระสังฆราชในวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ 
น้ำหอมหมายถึงบุคคลที่รับศีลกำลังจะต้องนำกลิ่นหอมของพระคริสต์ไปสู่โลก 
ในบางกรณีพระสังฆราชตบแก้มของผู้รับศีลกำลังเบา ๆ  เพื่อแสดงถึงความเป็นผู้กล้าหาญที่จะเอาชนะการทดลองต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นทหารของพระคริสตเจ้าสิ่งสำคัญ 23
3. ศีลอภัยบาป 24
พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลอภัยบาปเมื่อพระองค์ตรัสกับอัครสาวกว่า "  พระบิดาทรงส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น "…จงรับพระจิตเจ้าเถิด ท่านทั้งหลายอภัยบาปของผู้ใด  บาปของผู้นั้นก็ได้รับการอภัย  ท่านทั้งหลายไม่อภัยบาปของผู้ใด  บาปของผู้นั้นก็ไม่ได้รับการอภัยด้วย " 3. ศีลอภัยบาป 25
เราทุกคนจำเป็นต้องรับศีลอภัยบาป  เพราะเราทุกคนล้วนเป็นคนบาป  พระคัมภีร์   กล่าวว่า  " ถ้าเราพูดว่าเราไม่มีบาป  เรากำลังหลอกตนเอง และความจริงไม่อยู่ในเรา  พระองค์ทรงซื่อสัตย์และทรงเที่ยงธรรม ถ้าเราสารภาพบาป  พระองค์จะทรงอภัยบาปของเรา และจะทรงชำระเราให้สะอาดจากความอธรรมทั้งปวง " ความจำเป็น 26
เราไม่สามารถแก้บาปโดยตรงกับพระเจ้าโดยไม่ผ่านทางพระสงฆ์ เพราะพระเยซูเจ้าทรงมอบอำนาจการยกบาปให้แก่นักบุญเปโตร  และบรรดาอัครสาวก    ตลอดจนผู้ที่สืบต ำแหน่งจากท่าน  เมื่อพระเยซูเจ้าตรัสว่า " เราจะมอบกุญแจพระอาณาจักรสวรรค์ให้ ทุกส่งที่ท่านผูกบนแผ่นดินจะผูกไว้ในสวรรค์ด้วย ทุกสิ่งที่ท่านจะแก้ในแผ่นดินนี้  ก็จะแก้ในสวรรค์ด้วย  ศาสนบริกร 27
[object Object]
บุคคลที่ถูกขับออกจากพระศาสนจักร  เช่นผู้ที่ทำแท้ง  จะต้องได้รับการอภัยบาปจากพระสันตะปาปา พระสังฆราช หรือพระสงฆ์ที่ได้รับการแต่งตั้งเท่านั้น พระสงฆ์จะประกอบพิธีนี้ให้กับผู้ที่ถูกขับออกจากพระศาสนจักรในกรณีที่อยู่ในอันตรายใกล้ตายแล้วเท่านั้น
เราต้องเข้าไปรับศีลอภัยบาปทุกครั้งที่เราได้ทำบาปหนัก คริสตชนจะต้องไปสารภาพบาปอย่างน้อยปีละครั้ง แต่เป็นเรื่องที่ดีที่เราจะรับศีลนี้เดือนละครั้งผู้ที่สามารถเข้ารับศีลอภัยบาป 28
[object Object]
ถ้าการสารภาพไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง  เราจะต้องเข้าไปสารภาพบาปใหม่  รวมถึงบาปที่เราหลงลืมในการสารภาพบาปในครั้งก่อนด้วย 
ถ้าเราปกปิดไม่ยอมสารภาพบาปหนัก  ไม่ว่าด้วยความอายหรือความกลัว เราก็ทำบาปทุราจารต่อศีลอภัยบาป
การยกโทษบาป  พระสงฆ์จะเป็นผู้ยกบาปให้เรา ในนามของพระบิดา  พระบุตร และพระจิต  ถ้าผู้สารภาพบาปไม่ได้แสดงความเป็นทุกข์เสียใจ พระสงฆ์ก็ไม่สามารถยกโทษบาปสิ่งสำคัญ 29
4. ศีลบวช 30
พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลบวชระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ พระองค์ตรัสกับอัครสาวกว่า  " นี่เป็นกายของเราที่ถูกมอบเพื่อท่านทั้งหลาย ถ้วยนี้เป็นพันธสัญญาใหม่ ในโลหิตของเราที่สั่งเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด “ 4. ศีลบวช 31
[object Object]
พระเยซูเจ้าทรงสัญญาจะประทาน  3 สิ่ง ให้กับผู้ที่ละทิ้งทุกสิ่ง  เพื่อติดตามพระองค์คือ รางวัลร้อยเท่าในโลกนี้ กางเขนและชีวิตนิรันดร วันหนึ่งนักบุญเปโตรถามพระเยซูว่า " ข้าพเจ้าทั้งหลายได้สละทิ้งทุกสิ่ง และติดตามพระองค์แล้ว " พระเยซูเจ้าตรัสว่า  " เราบอกความจริงกับท่านว่าไม่มีใครละทิ้งบ้านเรือน พี่น้องชายหญิง บิดามารดา  บุตร  หรือไร่นา เพราะเห็นแก่เรา  และเพราะเห็นแก่ข่าวดี จะไม่ได้รับการตอบแทนร้อยเท่าในโลกนี้  เขาจะได้บ้านเรือน พี่น้อง  มารดา บุตร ไร่นา  พร้อมกับการเบียดเบียน ในโลกหน้าจะได้ชีวิตนิรันดร "ศีลบวช 32
33
[object Object]
ศีลบวชมีอยู่ 3  ระดับด้วยกัน  คือ
สังฆานุกร 
พระสงฆ์
พระสังฆราช 
" การบวช " เป็นกิจกรรมทางศาสนา  และพิธีกรรม ซึ่งประกอบด้วย การเจิม  การอวยพร  หรือการทำให้ศักดิ์สิทธิ์  มีความหมายมากกว่าการเลือกตั้งธรรมดา การให้อำนาจ  การเป็นตัวแทน หรือการแต่งตั้งจากชุมชน  เป็นการประทานพระพรของพระจิตเจ้าเพื่อให้ใช้  " อำนาจศักดิ์สิทธิ์ "ผลของศีลบวช 34
สังฆานุกร หมายถึงผู้รับใช้  เพราะว่าหน้าที่ประการแรกของสังฆานุกรคือ  การรับใช้พระศาสนจักร   สังฆานุกรสามารถช่วยพระสังฆราชและพระสงฆ์ในระหว่างการถวายบูชามิสซาฯ  การเทศนา  การแจกศีลมหาสนิท  การเป็นพยานในศีลแต่งงาน การอวยพร การเป็นประธานในงานศพ การโปรดศีลล้างบาป  การช่วยเหลือคนยากจนและขัดสนต่าง ๆ  สังฆานุกรมีอยู่  2 ประเภท คือ สังฆานุกรถาวร และ สังฆานุกรที่อยู่ในขั้นที่เตรียมตัวบวชเป็นพระสงฆ์ สังฆานุกรถาวรสามารถแต่งงานได้  และจะต้องเป็นสังฆานุกรตลอดชีวิต ส่วนสังฆานุกรที่เตรียมตัวบวชเป็นพระสงฆ์จะต้องถือความบริสุทธิ์   สังฆานุกร  35
พระสงฆ์ ภารกิจของพระสงฆ์ก็คือการสอน  การโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์  และการปกครองพระศาสนจักร พระสงฆ์แบ่งออกเป็นพระสงฆ์นักบว ชและพระสงฆ์อัครสังฆมณฑล  สงฆ์นักบวชเป็นสงฆ์ที่สังกัดคณะนักบวชต่าง ๆ  ถือศีลบน  หรือพยายามที่จะปฏิบัติตน  3 ประการคือ  ความยากจน ความบริสุทธิ์  ความนบนอบ มีการดำเนินชีวิตเป็นหมู่คณะ  และปกติจะทำงานเป็นธรรมทูตห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนของตน ส่วนพระสงฆ์สังฆมณฑลนั้น  ให้ความสัญญาว่าจะถือความบริสุทธิ์ และความนบนอบกับพระสังฆราชของตน พระสงฆ์ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า " ผู้อาวุโส " 36
พระสังฆราช พระสังฆราชคือผู้ที่สืบต่อมาจากบรรดาอัครสาวก  พวกท่านมีหน้าที่ในการนำสังฆมณฑล ( เขตปกครอง ) ในฐานะนายชุมพาบาลที่ศักดิ์สิทธิ์  พระสังฆราชที่มีพระพรพิเศษจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระคาร์ดินัล คาร์ดินัลมีหน้าที่เลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ 37
คือพระสังฆราชแห่งกรุงโรม เป็นหัวหน้าของพระศาสนจักร  และเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของนักบุญเปโตร พระ สันตะปาปาจะดำรงตำแหน่งจนกว่าจะสิ้นชีวิต  เราต้องนบนอบพระสันตะปาปาอย่างที่เรานบนอบพระเยซูเจ้าเอง พระสันตะปาปา 38
ศีลบวชเป็นการรับพระหรรษทานของพระจิต  พระจิตเจ้าทรงโปรดประทานพรให้พระสังฆานุกร  พระสงฆ์ พระสังฆราชได้ทำหน้าที่ทั้งสาม  คือการสอน การโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ การปกครอง  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การสอนคำสอน  เช่น การเทศนา  การโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ คือ การถวายบูชามิสซา  ฯลฯ  การปกครองหมายถึง การดูแลเอาใจใส่บรรดาสัตบุรุษในเขตการปกครองด้วยความรัก  ความเห็นอกเห็นใจ  และด้วยจิตตารมณ์แห่งการรับใช้ 39
ศีลบวชให้ตราประทับไม่ลบเลือน เป็นการเจิมเราให้ศักดิ์สิทธิ์และมอบถวายตัวแด่พระเจ้าตลอดไป นี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราไม่สามรถรับศีลบวชได้ซ้ำสอง  ตามที่พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่า " ท่านเป็นสมณะตลอดนิรันดรตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค "  พระสงฆ์ท่านใดที่จะทิ้งกระแสเรียกและไปแต่งงานจะต้องถูกพิพากษาในวันสุดท้าย  แต่อย่างไรก็ดี  พวกเขายังคงเป็นพระสงฆ์ตลอดไป 40
ศาสนบริกร ,[object Object]
พระสันตะปาปาหรือพระสังฆราชเป็นผู้ประกอบพิธีศีลบวช  ให้กับพระสงฆ์และสังฆานุกร
พระสังฆราชจะได้รับศีลบวชจากพระสันตะปาปาและพระสังฆราชอื่น ๆ โดยการรับรองจากสมเด็จพระสันตะปาปา
ถ้าพระสังฆราชทำพิธีบวชพระสังฆราช โดยไม่ได้รับอนุญาต จากพระสันตะปาปา  ทั้งพระสังฆราชและผู้ประกอบพิธีและผู้รับพิธีจะต้องถูกขับหรือตัดขาดจากพระศาสนจักร41
ผู้ที่สมัครเข้ารับศีลบวชจะต้องเป็นผู้ชายคาทอลิก  ถือความบริสุทธิ์และมั่นใจว่าได้รับการเรียกจากพระเจ้า  ได้รับการศึกษาปรัชญ าและเทววิทยาอย่างพอเพียง และได้รับการรับรองจากพระศาสนจักร ประเทศไทยมีสถาบันฝึกอบรมผู้ที่เตรียมตัวเข้ารับศีลบวชที่วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน  นครปฐม ผู้ที่สามารถเข้ารับศีลบวชได้ 42
[object Object],43
พระสงฆ์ทุกคนจะต้องปฏิญาณถือศีลบนความบริสุทธิ์  และไม่แต่งงาน  เหตุผลประการแรกคือ พระเยซูเจ้ามิได้ทรงแต่งงานเหตุ และพระสงฆ์ทุกคนจะต้องเป็นพระเยซูคริสต์อีกองค์หนึ่ง  ประการที่สองพระเยซูเจ้าทรงขอให้บรรดาอัครสาวกสละทิ้งครอบครัวและออกติดตามพระองค์ นักบุญเปโตรเคยแต่งงาน  แต่หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงเรียกให้มาเป็นศิษย์  ท่านได้สละจากครอบครัวและภรรยา อย่างที่ท่านนักบุญได้กล่าวว่า " ข้าพเจ้าทั้งหลายได้สละทุกสิ่ง  และติดตามพระองค์แล้ว " 44
การปกมือและคำภาวนา พิธีสำคัญของศีลบวชทั้งสามขั้นประกอบด้วย การปกมือของพระสันตะปาปา หรือพระสังฆราชบนศีรษะของผู้รับศีล พร้อมกับคำอธิษฐานเพื่อการบวชโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการวอนขอพระเจ้าให้ส่งพระจิตเจ้าและพระพรต่าง ๆ  ของพระองค์ลงมายังผู้สมัครเข้ารับศีลบวชนี้  สิ่งสำคัญในพิธี  45
[object Object],46
สังฆานุกรได้รับพระวรสาร  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งงานพันธกิจในด้านการเทศน์สอนข่าวดีของพระเจ้า   พระสงฆ์ได้รับจานรองศีลและถ้วยกาลิกส์  เป็นสัญลักษณ์ของงานถวายบูชามิสซาฯ  พระสังฆราชได้รับแหวน สัญลักษณ์หมายถึง ความซื่อสัตย์ต่อพระศาสนจักรในฐานะที่เป็นภรรยาฝ่ายจิตของตน  หมวกและไม้เท้า  เป็นสัญลักษณ์ของภารกิจในฐานะที่เป็นนายชุมพาบาลของพระศาสนจักร 47
5. ศีลสมรส 48
พระเยซูเจ้าทรงตั้งศีลสมรสเมื่อพระองค์ตรัสว่า "ชายจะละบิดามารดาไปสนิทอยู่กับภรรยาของตน และชายหญิงจะเป็นเนื้อเดียวกัน" (มัทธิว 19:5) ศีลสมรส 49
การแต่งงานเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ เพราะว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความรักระหว่างพระคริสต์และพระศาสนจักร พระคัมภีร์กล่าวว่า "ชายจะละบิดามารดาไปผูกพันอยู่กับภรรยา และทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน  ธรรมล้ำลึกประการนี้ยิ่งใหญ่นัก ข้าพเจ้าหมายถึงพระคริสตเจ้ากับพระศาสนจักร" (เอเฟซัส 5:31-32) ศีลสมรส 50
[object Object],ความเป็นหนึ่งเดียว  หย่าร้างไม่ได้  การให้กำเนิดบุตร 51
ความเป็นหนึ่งเดียว หมายความว่า เราไม่สามารถแต่งงานกับคนอื่นๆ ในเวลาเดียวกันได้ ตามที่พระเจ้าตรัสว่า "ชายจึงจากบิดามารดาของตน ไปผูกพันอยู่กับภรรยา และเขาทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน" (ปฐมกาล 2:24) ความเป็นหนึ่งเดียว 52
หย่าร้างไม่ได้ หมายความว่า เราไม่สามารถหย่าร้างจากคู่ครองของเรา ตามที่พระเยซูเจ้าตรัสว่า "เราบอกท่านทั้งหลายว่า ผู้ใด หย่าร้างภรรยาและแต่งงานกับอีกคนหนึ่ง เขาก็ทำผิดประเวณี"  (มัทธิว 19:9) พระศาสนจักรไม่สามารถลบล้างการแต่งงานที่ถูกต้องได้ แต่สามารถประกาศว่าการแต่งงานนั้นไม่สมบูรณ์ตั้งแต่เริ่มแรก การแต่งงานที่ถูกต้องจะยุติลงต่อเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตาย คาทอลิกไม่มีอนุญาตให้มีการหย่าร้าง แต่อนุญาตให้แยกกันอยู่ชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุผลร้ายแรง และเมื่อปัญหาได้ยุติลงให้ทั้งสองกลับมาคืนดีกันอีก บุ คคลที่จำเป็นต้องหย่าร้างหรือแยกกันอยู่จะต้องอยู่คนเดียว ถ้าอยู่กับคนอื่นแบบสามีภรรยา หรือไปแต่งงานใหม่ตามกฎหมายบ้านเมืองจะถือว่าทำบาปผิดประเวณี ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นเข้ามารับศีลมหาสนิท หรือรับการอภัยบาปไม่ได้ จนกว่าจะแยกออกจากคู่ใหม่ของตนเอง หย่าร้างไม่ได้ 53
การให้กำเนิดบุตร หมายความว่าเราต้องยินดีรับบุตรที่จะเกิดขึ้น เราต้องยอมรับบุตรทุกคนที่จะเกิดมา เพราะพระเจ้าทรงประทานให้เรา และนำพวกเขาให้มีความเชื่อตามแบบของคริสตชน ถ้าเราจำกัดจำนวนบุตรด้วยการคุมกำเนินแบอื่นๆ ที่ไม่ใช่วิธีธรรมชาติ เราก็ขัดขวางจุดประสงค์ของการแต่งงาน ตามที่พระเจ้าตรัสว่า "จงมีลูกดกทวีมากขึ้น จนเต็มแผ่นดิน จงมีอำนาจเหนือแผ่นดิน" (ปฐมกาล 1:28) ลูกเป็นของขวัญจากพระเจ้า ที่จะให้ความยินดีและความสุขแก่เรา ตามที่พระคัมภีร์กล่าวว่า "บุตรทั้งหลายเป็นมรดกจากพระเจ้า ผลิตผลของครรภ์เป็นรางวัล" (สดุดี 127:3) การให้กำเนิดบุตร 54
เกิดพันธะที่ถาวรและเฉพาะบุคคล สามีและภรรยาจะเป็นหนึ่งเดียวกันตลอดไป ไม่สามารถหย่าร้างไม่ว่าด้วยเหตุผลใด การแต่งงานจะถือว่าสิ้นสุดก็ต่อเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายจากไป การแต่งงานยังมีพันธะเฉพาะบุคคลเพราะเราไม่สามารถแต่งงานกับคนอื่นๆ อีกได้ในเวลาเดียวกัน ศีลสมรส ทำให้... 55

More Related Content

What's hot

ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์Padvee Academy
 
พระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสารพระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสารJack Like
 
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4Sivagon Soontong
 
บทที่ 5 สรุปผล
บทที่ 5 สรุปผลบทที่ 5 สรุปผล
บทที่ 5 สรุปผลGuntima NaLove
 
ThailandPost Presentation
ThailandPost PresentationThailandPost Presentation
ThailandPost Presentationsuperkaew
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาPadvee Academy
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานChainarong Maharak
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูPadvee Academy
 
003 ใบความรู้ที่3.8-เมื่อฉันเป็นพิธีกร
003 ใบความรู้ที่3.8-เมื่อฉันเป็นพิธีกร003 ใบความรู้ที่3.8-เมื่อฉันเป็นพิธีกร
003 ใบความรู้ที่3.8-เมื่อฉันเป็นพิธีกรSamorn Tara
 
รวมข้อสอบ O-NETปี51-54 (คอมพิวเตอร์)
รวมข้อสอบ O-NETปี51-54 (คอมพิวเตอร์)รวมข้อสอบ O-NETปี51-54 (คอมพิวเตอร์)
รวมข้อสอบ O-NETปี51-54 (คอมพิวเตอร์)ภูเบศ เศรษฐบุตร
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานAjBenny Pong
 
คู่มือกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และบูรณาการ เล่มที่ 1 พหุปัญญา 9 ด้าน
คู่มือกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และบูรณาการ เล่มที่ 1 พหุปัญญา 9 ด้านคู่มือกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และบูรณาการ เล่มที่ 1 พหุปัญญา 9 ด้าน
คู่มือกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และบูรณาการ เล่มที่ 1 พหุปัญญา 9 ด้านInfluencer TH
 
พิธีมอบตัวเป็นศิษย์
พิธีมอบตัวเป็นศิษย์พิธีมอบตัวเป็นศิษย์
พิธีมอบตัวเป็นศิษย์niralai
 
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิแบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิSurapong Klamboot
 
บทที่ 5 การเขียนแผนธุรกิจ
บทที่ 5 การเขียนแผนธุรกิจบทที่ 5 การเขียนแผนธุรกิจ
บทที่ 5 การเขียนแผนธุรกิจThamonwan Theerabunchorn
 

What's hot (20)

ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
 
พระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสารพระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
พระพุทธศาสนากับการสื่อสาร
 
แบบทดสอบคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4
แบบทดสอบคอมพิวเตอร์  ชุดที่  4แบบทดสอบคอมพิวเตอร์  ชุดที่  4
แบบทดสอบคอมพิวเตอร์ ชุดที่ 4
 
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
 
บทที่ 5 สรุปผล
บทที่ 5 สรุปผลบทที่ 5 สรุปผล
บทที่ 5 สรุปผล
 
ThailandPost Presentation
ThailandPost PresentationThailandPost Presentation
ThailandPost Presentation
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยาปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๔ ญาณวิทยา
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายาน
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
003 ใบความรู้ที่3.8-เมื่อฉันเป็นพิธีกร
003 ใบความรู้ที่3.8-เมื่อฉันเป็นพิธีกร003 ใบความรู้ที่3.8-เมื่อฉันเป็นพิธีกร
003 ใบความรู้ที่3.8-เมื่อฉันเป็นพิธีกร
 
พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก
 
รวมข้อสอบ O-NETปี51-54 (คอมพิวเตอร์)
รวมข้อสอบ O-NETปี51-54 (คอมพิวเตอร์)รวมข้อสอบ O-NETปี51-54 (คอมพิวเตอร์)
รวมข้อสอบ O-NETปี51-54 (คอมพิวเตอร์)
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงาน
 
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
คู่มือกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และบูรณาการ เล่มที่ 1 พหุปัญญา 9 ด้าน
คู่มือกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และบูรณาการ เล่มที่ 1 พหุปัญญา 9 ด้านคู่มือกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และบูรณาการ เล่มที่ 1 พหุปัญญา 9 ด้าน
คู่มือกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และบูรณาการ เล่มที่ 1 พหุปัญญา 9 ด้าน
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
พิธีมอบตัวเป็นศิษย์
พิธีมอบตัวเป็นศิษย์พิธีมอบตัวเป็นศิษย์
พิธีมอบตัวเป็นศิษย์
 
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิแบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
 
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
 
บทที่ 5 การเขียนแผนธุรกิจ
บทที่ 5 การเขียนแผนธุรกิจบทที่ 5 การเขียนแผนธุรกิจ
บทที่ 5 การเขียนแผนธุรกิจ
 

ศีลศักดิ์สิทธิ์ Sacraments