SlideShare a Scribd company logo
1 of 20
9. หลักการและทฤษฏี<br />    หลักการและทฤษฏี  เป็นการอธิบายถึงหลักการและทษฤฏีที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งจะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน  ผู้เรียนควรระบุแหล่งอ้างอิงของหลักการและทฤษฏีเหล่านั้น  ส่วนในการทำโครงงานที่เกี่ยวกับการทดลอง   มักมีการเดาคำตอบล่วงหน้า  หรือการตั้งสมมติฐานนั่นเอง   สมมติฐานเป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดเดาไว้ล่วงหน้า   ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ การเขียน  สมมติฐานควรมีเหตุผล   คือ   มีทฤษฏี   หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับและที่สำคัญ   คือ   เป็นข้อความที่มองเห็นแนวทางทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนั้นได้<br />10. วิธีดำเนินงาน<br />     ในการดำเนินงานโครงงาน    ผู้เรียนจะต้องระบุความต้องการ   แนวทางในการศึกษาค้นคว้า   และงบประมาณที่ใช้ในโครงงาน  โดยมีรายละเอียด  ดังนี้<br />วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้   ระบุชนิด  คุณสมบัติ  และจำนวนของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงงาน   แหล่งที่มาของวัสดุ  ทีวัสดุที่ต้องจัดซื้อมูลค่าเท่าไร  วัสดุที่ต้องหยิบยืมหน่วยงานอื่นหรือวัสดุบางอย่างอาจต้องจัดทำขึ้นเอง<br />แนวทางการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา  อธิบายกระบวนการแก้ปัญหา  ซึงประกอบด้วย การเก็บข้อมูล  การวิเคราะห์  การวางแผน  การพัฒนา  การทดสอบ  แก้ไข  และการนำเสนอผลงาน  รวมทั้งระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน<br />งบประมาณ  ในการจัดทำโครงงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการทำโครงงานในการดำเนินงานจะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือกันเป็นระยะๆ  มีการประเมินผลงานในการปฏิบัติงานและประเมินหลังสิ้นสุดโครงงาน  ซึ่งจะต้องมีการแตรียมรูปแบบการประเมินไว้ล่วงหน้า<br />11.แผนปฏิบัติงาน<br />   ระบุกิจกรรมต่างๆ  ที่ติองปฏิบัติในการพัฒนาโครงงาน   ลำดับขั้นตอนก่อน-หลังของแต่ละกิจกรรม  ระบุเวลาที่คาดว่าจะต้องใช้ในการปฏิบัติของแต่ละขั้นตอน  พร้อมผู้รับผิดชอบในกิจกรรมนั้นๆ  ซึ่งส่วนนี้จะใช้ในการควบคุมพัฒนาโครงงานให้สำเร็จลุล่วงในช่วงเวลาที่กำหนด<br />12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ<br />      ผลที่คาดว่าจะได้รับในการทำโครงงานนี้จะต้องมีการเขียนไว้ให้ชัดเจน   ว่าเมื่อทำโครงงานเรื่องดังกล่าวแล้ว  จะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง  ทั้งในส่วนที่จะได้กับตนเองหรือบุคคลอื่น<br />13. เอกสารอ้างอิง<br />      เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมเป็นการบอกให้ผู้อื่นได้ทราบว่าผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งใดหากผู้อื่นสนใจที่จะทำโครงงานดังกล่าวในมุมมองอื่นๆ  ก็สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแหล่งความรู้เหล่านั้น<br />โดยสรุปแล้วข้อเสนอโครงงานควรจะประกอบด้วย<br />             หัวข้อ/รายงาน             รายละเอียดที่ติ้งระบุ1.ชื่อโครงงานชื่อเรื่อง  หรือปัญหาที่สนใจ2.ประเภทของโครงงานโครงงานจัดอยู่ในประเภทใด3.ชื่อผู้ทำโครงงานผู้รับผิดชอบโครงงาน  อาจเป็นรายบุคคลหรือรายงานกลุ่มก็ได้4.ชื่อที่ปรึกษาโครงงานครูอาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาควบคุมการทำโครงงานของผู้เรียน5.ระยะเวลาดำเนินงานระยะเวลาการดำเนินงานโครงงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด6.ที่มา  แนวคิด  และประโยชน์เหตุจูงใจในการทำ หลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน7.วัตถุประสงค์สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเทื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพ8.ขอบเขตปริมาณเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของโครงงาน9.หลักการและทฤษฏีหลักการและทฤษฏีที่นำมาใช้พัฒนาโครงงาน10.วิธีดำเนินงานเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์  กิจกรรม  ขั้นตอนการดำเนินงานและงบประมาณ11.ขั้นตอนการปฏิบัติวัน  เวลา  และกิจกรรมต่างๆ  ตามที่ระบุในข้อ10ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด12.ผลที่คาดว่า จะได้รับสภาพของผลที่ต้องการให้เกิดทั้งที่เป็นผลผลิตกระบวนการ  และผลกระทบ13.เอกสารอ้างอิงชื่อเอกสาร  ข้อมูลที่ได้จากเอกสารต่างๆที่นำมาใช้ดำเนินงาน<br />4. การลงมือทำโครงงาน<br />     เมื่อข้อเสนอโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่า 50% ขั้นต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้  ดังนี้<br />4.1  การเตรียมการ  ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์  ซอฟแวร์  และวัสดุอื่นๆ  ที่จะใช้ในการทดลอง  พร้อมทั้งจัดเตรียมสถานที่สำหรับใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย  และควรเตรียมสมุดบันทึก  หรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์  สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ  ระหว่างทำโครงงาน  ได้แก่  ได้ปฏิบัติอย่างไร  ได้ผลอย่างไร  มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่  อย่างไร  รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ  ที่พบ<br />4.2  การลงมือพัฒนา<br />      4.2.1  ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง  แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น<br />      4.2.2  จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญให้แล้วเสร็จก่อน  จึงค่อยทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้นและถ้ามีการแบ่งงานกันทำ  ให้ทำการความตกลงในการเชื่อมต่อชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย<br />      4.2.3  พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบและบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน<br />      4.2.4  คำนึงถึงความประหยัด  ความปลอดภัย  และระยะในการทำงาน<br />4.3  การตรวจสอบผลงานและแก้ไข  การตรวจสอบความถูกต้องของผลงานเป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย<br />4.4  การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ  เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว  ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุมเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงานและทำการอภิปรายผลด้วย  เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้พร้อมกับนำไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ  ทฤษฎี  หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว  ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักทฤษฎี  หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย<br />4.5  แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ  เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้วผู้เรียนอาจพบข้อสังเกต  ประเด็นที่สำคัญหรือปัญหา  ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้<br />5.  การเขียนรายงาน<br />     เมื่อทำโครงงานจนได้ข้อมูลอย่างเพียงพอและทำการวิเคราะห์ผล  และสรุปผลแล้ว  ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำคือการจัดทำรายงาน  ซึ่งจะรวมถึงรายละเอียดต่างๆ  ในการพัฒนา  และคู่มือการใช้งาน<br />  รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ  เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจแนวคิด  วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า  ข้อมูลที่ได้  ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอต่างๆ  เกี่ยวกับโครงงาน  ในการเขียนรายงานนั้น  ผู้เรียนควรใช้ภาษาที่อ่านและเข้าใจได้ง่าย  ชัดเจน  กระชับ  และตรงไปตรงมา  ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ  ดังต่อไปนี้<br /> ส่วนนำ  เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน  ซึ่งประกอบด้วย<br />ชื่อโครงงาน<br />ประเภทของโครงงาน<br />ชื่อผู้ทำโครงงาน<br />ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา<br />กิตติกรรมประกาศโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ได้รับความช่วยเหลือและร่วมมือจากหลายฝ่าย  จึงควรกล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่ายงานต่างๆ  ที่ส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จ<br />บทคัดย่อ  อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน  วัตถุประสงค์  วิธีดำเนินการ  และผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่างๆ  อย่างย่อ  (ประมาณ 250-400)<br />บทนำ  เป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย<br />ที่มาและความสำคัญของโครงงาน<br />วัตถุประสงค์<br />ขอบเขตของโครงงาน<br /> หลักการและทฤษฎี  เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการทฤษฎี  หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน  ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่ผู้เรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย<br />วิธีดำเนินการ  อธิบายขั้นตอนการดำเนินการโดยละเอียด  ระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบ  วิธีการที่ใช้แก้ไข  พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน<br />  ผลการศึกษา  นำเสนอข้อมูล  หรือระบบที่พัฒนาได้  โดยอาจแสดงเป็นตาราง  หรือกราฟหรือข้อความ  ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อื่นเป็นหลัก<br />สรุปผลหรือข้อเสนอแนะ  การสรุปผลการดำเนินงานเป็นการอธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำงาน  ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้  นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำผลการทดลอง  หรือพัฒนา  <br />ไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงาน ส่วนข้อเสนอแนะในโครงงานควรมีเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงงาน หากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย นอกจากนี้ควรกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ผู้เรียนที่ได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย<br />7) บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารวาร เอกสาร และ/หรือเว็บไซต์ต่างๆ ที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานนี้ การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย<br />8) คู่มือการใช้งาน หากโครงงานที่ผู้เรียนจัดทำเป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาให้ผู้เรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้งานผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย<br />- ชื่อผลงาน<br />- ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ (ถ้ามี) ระบุรายละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้<br />- ความต้องการของซอฟต์แวร์ (ถ้ามี) ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์<br />- คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลเข้าและส่งอะไรออกมาเป็นข้อมูลออก<br />- วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องเลือกคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด<br />-ข้อแนะนำในการใช้งาน เพื่อให้ผลงานนั้นสามารถทำงานได้ดีที่สุด<br /> คู่มือการใช้งาน สามารถแยกออกจากรายงานฉบับสมบูรณ์ หรือใส่ไว้เป็นภาคผนวกของรายงานฉบับสมบูรณ์ก็ได้ แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จัดทำ ที่กล่าวมานี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการเขียนรายงานซึ่งเป็นการเขียนรายงานในลักษณะทั่วๆไป รูปแบบดังกล่าวนี้อาจไม่เหมาะสมกับโครงงานบางประเภทก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้เขียนรายงานควรตระหนักไว้อยู่เสมอคือควรเขียนรายงานให้ชัดเจน ใช้ศัพท์เทคนิคที่ถูกต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา และครอบคลุมประเด็นสำคัญๆทั้งหมดของโครงงาน<br />6.การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน<br />     การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงานเพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น<br />     การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆกัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบ การรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์ และอธิบายด้วยคำพูด โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้<br />ชื่อโครงงาน<br />ชื่อผู้จัดทำโครงงาน<br />ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา<br />คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน<br />วิธีการดำเนินงานที่สำคัญ<br />การสาธิตผลงาน<br />ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน<br />ถ้าเป็นการรายงานด้วยคำพูดต่อที่ประชุม ควรมีการเตรีมการในประเด็นต่อไปนี้<br />จัดลำดับความคิดในการนำเสนออย่างเป็นระเบียบและนำเสนออย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย<br />ทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบายให้ดี รวมถึงเตรีมข้อมูลที่อาจต้องใช้ในการตอบคำถาม<br />หลีกเลี่ยงการนำเสนอด้วยวิธีอ่านรายงาน<br />ควรมองไปยังผู้ฟังขณะรายงาน<br />ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา<br />รายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด<br />ควรใช้โปรแกรมนำเสนอประกอบการรายงาน<br />ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อผู้ฟัง<br />ถ้าเป็นโครงงานพัฒนาผลงาน ผลงานนั้นควรจะอยู่ในสภาพที่ทำงานได้เป็นอย่างดี<br />รูปที่ 22.7 การแสดงผลงานในรูปแบบของนิทรรศการ<br />            <br />               การทำโครงงานคอมพิวเตอร์  นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ทางคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา  พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะทำงานวิจัยและประกอบอาชีพทางคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้นด้วย  ซึ่งในปัจจุบันนี้หลายประเทศทั่วโลกขาดแคลนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมากดังนั้นจึงน่าที่จะจัดให้การทำโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมในทุกระดับชั้น  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต<br />โครงร่างการเขียนรายงานโครงงาน<br />ชื่อโครงงาน(ภาษาไทย).......................................................................................................................<br />       (ภาษาอังกฤษ).................................................................................................................<br />ประเภทของโครงงาน..........................................................................................................................<br />ชื่อผู้ทำโครงงาน<br />......................................................................................................................................................<br />......................................................................................................................................................<br />ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา.............................................................................................................................<br />ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม.......................................................................................................................<br />กิตติกรรมประกาศ...............................................................................................................................<br />.............................................................................................................................................................<br />สารบัญ................................................................................................................................................<br />บทคัดย่อ..............................................................................................................................................<br />.............................................................................................................................................................<br />บทนำ<br />ที่มาและความสำคัญของโครงงาน<br />.............................................................................................................................................................<br />วัตถุประสงค์<br />.............................................................................................................................................................<br />ขอบเขตของโครงงาน                                                                                                                                             <br />.............................................................................................................................................................<br />หลักการและเทคโนโลยี<br />.............................................................................................................................................................<br />วิธีการดำเนินการ<br />.............................................................................................................................................................<br />ผลการศึกษา<br />.............................................................................................................................................................<br />สรุปผลและข้อเสนอแนะ<br />.............................................................................................................................................................<br />บรรณานุกรม<br />คู่มือการใช้งาน<br />ตัวอย่างบทคัดย่อ<br />ตัวอย่างที่ 1<br />โครงงาน       ระบบบ้านไฮเทคประหยัดพลังงานและรักษาความปลอกภัย<br />ผู้จัดทำ   นายธรรมนูญ    พานิชการ<br />อาจารย์ที่ปรึกษา นายอนุสรณ์     นาคะนิเวศน์<br />สถานศึกษา  โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย   จ.นครราชสีมา<br />บทคัดย่อ<br />เนื่องจากในปัจจุบันทรัพยากรพลังงานในโลกไม่เพียงพอต่อจำนวนความต้องการของมนุษย์  จึงต้องมีการคิดค้นอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ประหยัดพลังงานขึ้นมาใช้  เพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์  และช่วยลดความสิ้นเปลืองจากการสูญเสียทรัพยากรพลังงานในแต่ละปี  ซึ่งทำให้เราเสียเงินในการซื้อพลังงานจากต่างประเทศ  เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงานที่สูงกว่าที่จะสามารถผลิตได้<br />ผู้พัฒนาจึงได้คิดค้นระบบบ้านไฮเทคประหยัดพลังงานและรักษาความปลอดภัยขึ้นมาซึ่งในตอนแรก  จะพัฒนาระบบการเปิดปิดไฟโดยใช้การจับอุณหภูมิร่างกายมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว  แต่พบว่ายังไม่เพียงพอ  ในการดำเนินชีวิตประจำวัน  ซึ่งเสียงกับความไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติหรือกลุ่มมิจฉาชีพ  เพราะเหตุนี้จึงได้เพิ่มระบบความปลอดภัยด้วยโครงงานระบบบ้านไฮเทคประหยัดพลังงานและรักษาความปลอดภัยนี้  จะช่วยตรวจสอบระบบการทำงานของระบบไฟฟ้าภายในบ้าน  เมื่อไม่มีใครอยู่บ้าน  ระบบจะทำการตรวจจับคลื่นความร้อน  ถ้าอยู่ในระดับที่ไม่มีร้อนมาก(ตามที่กำหนด)ระบบจะทำการเปิดหน้าต่างและปิดเครื่องปรับอากาศ  ในเวลาที่มีลมแรงหรือฝนตก  หน้าต่างทุกบานภายในบ้านจะปิด  และจะมีการเตือนภัยหากมีผู้บุกรุก<br />โครงงานที่จะพัฒนาขึ้นนี้จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้  เพราะในปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน  ซึ่งพลังงานไฟฟ้าที่ประเทศผลิตได้มีเพียงแค่ 50% ที่เหลือเราต้องซื้อพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตมาจากต่างประเทศ<br />ตัวอย่างที่ 2<br />โครงงาน       ตู้ยาอัจฉริยะ<br />ผู้จัดทำ   นายสรุจเทพเผื่อนงูเหลือม<br />อาจารย์ที่ปรึกษา นายนิพนธ์สมัครค้า<br />สถานศึกษา  โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย   จ.นครราชสีมา<br />บทคัดย่อ<br />ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว  ประเทศต่างๆ  ก็ได้มีการพัฒนาคิดค้นผลิตสิ่งใหม่ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ  ให้กับประชากรของตน  บางประเทศผลิตเพื่อนำออกจำหน่ายเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ  ซึ่งสิ่งของเหล่านั้นมักมีราคาสูง  บางคนไม่สามารถซื้อได้ทั้งที่สิ่งนั้นจำเป็นต่อการดำรงชีวิต<br />ด้วยแนวคิดนี้จึงเป็นแรงจูงใจ  ทำให้ผู้พัฒนาได้คิดค้นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเตือนการรับประทานยาปฏิชีวนะโดยใช้ชื่อว่า  ตู้ยาอัจฉริยะ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับประทานยาและทำให้ลดหน้าที่ผู้ดูแลให้น้อยลง  โดยการทำงานจะมีช่องใส่ขวดยาชนิดต่างๆ  วางไว้ในตู้  โดยโปรแกรมจะถูกกำหนดโดยผู้ใช้ว่าจะให้รับประทานยาโดยมีไฟติดเกิดขึ้น  และถ้าหยิบขวดยาผิด  ซึ่งตู้ยาอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน  เพราะสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว  และด้วยจำนวนประชากรเป็นโรคต่างๆมากขึ้น  ทำให้ต้องมีการคิดค้นยาใหม่เพื่อรักษาผู้ป่วยด้วยอาทิเช่น  ยาปฏิชีวะขึ้นหลากหลายชนิด  ซึ่งในการรับประทานยาเหล่านี้อาจต้องการได้รับความใส่ใจเป็นพิเศษ  คือต้องรับประทานให้ตรงเวลามิฉะนั้นอาจมีผลข้างเคียงและการหยิบยาผิดก็ส่งผลต่อผู้ป่วยด้วยเช่นกัน<br />                                                                                                                                                                 229 <br />กิจกรรมที่<br />    23                                                              โครงงานคอมพิวเตอร์ [2]<br />คาบที่ 38                  1. จุดประสงค์ ผู้เรียนสามารถ<br />ทำงานร่วมกันและช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น<br />บันทึกการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง<br />ลงมือพัฒนาโครงงานตามแผนที่วางไว้<br />2. แนวคิด<br />         การลงมือพัฒนาโครงงาน  เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนต้องพัฒนาโครงงานของตนเองตามแผนงานที่วางไว้ข้อเสนอโครงงาน  แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น  นอกจากนั้นผู้เรียนควรพัฒนาโครงงานด้วยความละเอียดรอบคอบ  และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบครบถ้วน  โดยคำนึงถึงความประหยัด  ความปลอดภัย  และระยะเวลาในการทำงาน  และต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน ซึ่งเป็นความจำเป็น  เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย  และทำงานได้ด้วยประสิทธิภาพสูง<br />3. สื่อ-อุปกรณ์<br />    3.1 ใบงาน<br />           -<br />    3.2 ใบความรู้<br />         -<br />    3.3 อื่นๆ<br />          @ใบงานที่ 22.3 เรื่องข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์<br />  230<br />4. วิธีดำเนินการ<br />       4.1 การจัดเตรียม<br />             ใบงานที่  22.3 ที่ได้รับการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเรียบร้อยแล้ว<br />       4.2 ขั้นตอนดำเนินการ<br />            4.2.1  ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำโครงงานตามข้อเสนอโครงงานของกลุ่มตนเองและบันทึกการ<br />                       ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ<br />            4.2.2   ตลอดระยะเวลาที่ผู้ที่ผู้เรียนลงมือทำโครงงาน ให้ผู้สอนคอยดูแลและให้คำปรึกษาการพัฒนา<br />                       ทำให้เห็นหนทางที่เป็นไปได้ในการคิดหรือแก้ปัญหาได้เอง  หรือกระตุ้นผู้เรียนให้ดำเนินการ <br />                       พัฒนาโครงงานตามแผนที่กำหนดไว้<br />            4.2.3   ผู้สอนให้ผู้เรียนเตรียมนำเสนอโครงงานในกิจกรรมถัดไป<br /> 5 .การวัดและประเมินผล<br />     5.1  สังเกตการทำกิจกรรมร่วมกัน<br />      5.2  ตรวจคำตอบในใบงาน<br />6. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม  <br />     หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />7. ข้อเสนอแนะ<br />      ผู้เรียนจะพัฒนาโครงงานได้ประสบผลสำเร็จหรือไม่  ขึ้นอยู่กับการนิเทศ  ติดตามและประเมินความก้าวหน้าของผู้สอนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง<br />
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี
หลักการและทฤฏี

More Related Content

What's hot

Computer project
Computer project Computer project
Computer project PondPoPZa
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8noeypornnutcha
 
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์Koraklit Jindadang
 
ใบ6 (1)
ใบ6 (1)ใบ6 (1)
ใบ6 (1)Milk MK
 
กิจกรรมที่ 4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่ 4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์komsan saithep
 
วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย
วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยวิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย
วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยChamada Rinzine
 
ใบงานที่ 6 โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”ใบงานที่ 6 โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”Chayanis
 
ขั้นตอนโครงงาน
ขั้นตอนโครงงานขั้นตอนโครงงาน
ขั้นตอนโครงงานAom Nachanok
 
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงานใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงานChayanis
 
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือpatmalya
 
ขั้นตอนการทำโครงงาคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงาคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการทำโครงงาคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงาคอมพิวเตอร์Nattaphong Kaewtathip
 
การรวบรวมความต้องการ
การรวบรวมความต้องการการรวบรวมความต้องการ
การรวบรวมความต้องการskiats
 

What's hot (18)

Computer project
Computer project Computer project
Computer project
 
K6
K6K6
K6
 
ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8ใบงานที่2-8
ใบงานที่2-8
 
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
 
ใบ6 (1)
ใบ6 (1)ใบ6 (1)
ใบ6 (1)
 
กิจกรรมที่ 4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่ 4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ 4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
 
วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย
วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยวิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย
วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย
 
ใบงานที่ 6 โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”ใบงานที่ 6 โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”
ใบงานที่ 6 โครงงานประเภท “การทดลองทฤษฎี”
 
การวิเคราะห์ระบบ 2
การวิเคราะห์ระบบ 2การวิเคราะห์ระบบ 2
การวิเคราะห์ระบบ 2
 
ขั้นตอนโครงงาน
ขั้นตอนโครงงานขั้นตอนโครงงาน
ขั้นตอนโครงงาน
 
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงานใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน
ใบงานที่ 3 เรื่อง ขอบข่ายและประเภทของโครงงาน
 
การวิเคราะห์ระบบ 1
การวิเคราะห์ระบบ 1การวิเคราะห์ระบบ 1
การวิเคราะห์ระบบ 1
 
บทเรียน ประกอบแผนที่ 9
บทเรียน ประกอบแผนที่ 9บทเรียน ประกอบแผนที่ 9
บทเรียน ประกอบแผนที่ 9
 
Week 7 conceptual_framework
Week 7 conceptual_frameworkWeek 7 conceptual_framework
Week 7 conceptual_framework
 
ใบงาน 6
ใบงาน 6ใบงาน 6
ใบงาน 6
 
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ
6 2-1-ออกแบบเครื่องมือ
 
ขั้นตอนการทำโครงงาคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงาคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการทำโครงงาคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงาคอมพิวเตอร์
 
การรวบรวมความต้องการ
การรวบรวมความต้องการการรวบรวมความต้องการ
การรวบรวมความต้องการ
 

Similar to หลักการและทฤฏี

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์Mon Tanawat
 
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนของการทำโครงงาน
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนของการทำโครงงาน กิจกรรมที่4 ขั้นตอนของการทำโครงงาน
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนของการทำโครงงาน omaha123
 
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนการทำโครงงาน
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนการทำโครงงานกิจกรรมที่4 ขั้นตอนการทำโครงงาน
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนการทำโครงงาน0910797083
 
โครงงานคอมพิวเตอร์1
โครงงานคอมพิวเตอร์1โครงงานคอมพิวเตอร์1
โครงงานคอมพิวเตอร์1Assumption Rayong
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Assumption Rayong
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Suchada Maksiri
 
ใบความรู้ 2.1วิธีการดำเนินการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 2.1วิธีการดำเนินการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ใบความรู้ 2.1วิธีการดำเนินการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 2.1วิธีการดำเนินการทำโครงงานคอมพิวเตอร์sa_jaimun
 
อริสราแซนนี่
อริสราแซนนี่อริสราแซนนี่
อริสราแซนนี่Nattaporn Bunmak
 
ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3Rattana Wongphu-nga
 
ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3Rattana Wongphu-nga
 
ตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslideตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำsliderubtumproject.com
 
กิจกรรมที่ 4
กิจกรรมที่ 4กิจกรรมที่ 4
กิจกรรมที่ 4thunnattapat
 
Num
NumNum
Numnpyp
 
โครงงานของปณิต
โครงงานของปณิตโครงงานของปณิต
โครงงานของปณิตmaddemon madden
 

Similar to หลักการและทฤฏี (20)

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
 
001
001001
001
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนของการทำโครงงาน
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนของการทำโครงงาน กิจกรรมที่4 ขั้นตอนของการทำโครงงาน
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนของการทำโครงงาน
 
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนการทำโครงงาน
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนการทำโครงงานกิจกรรมที่4 ขั้นตอนการทำโครงงาน
กิจกรรมที่4 ขั้นตอนการทำโครงงาน
 
โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทยโครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย
 
โครงงานคอมพิวเตอร์1
โครงงานคอมพิวเตอร์1โครงงานคอมพิวเตอร์1
โครงงานคอมพิวเตอร์1
 
โครงงานคอมพิวเตอร์1
โครงงานคอมพิวเตอร์1โครงงานคอมพิวเตอร์1
โครงงานคอมพิวเตอร์1
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
Computer
ComputerComputer
Computer
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
ใบความรู้ 2.1วิธีการดำเนินการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 2.1วิธีการดำเนินการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ใบความรู้ 2.1วิธีการดำเนินการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 2.1วิธีการดำเนินการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
 
อริสราแซนนี่
อริสราแซนนี่อริสราแซนนี่
อริสราแซนนี่
 
ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3
 
ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3
 
ตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslideตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslide
 
กิจกรรมที่ 4
กิจกรรมที่ 4กิจกรรมที่ 4
กิจกรรมที่ 4
 
Num
NumNum
Num
 
โครงงานของปณิต
โครงงานของปณิตโครงงานของปณิต
โครงงานของปณิต
 

หลักการและทฤฏี

  • 1. 9. หลักการและทฤษฏี<br /> หลักการและทฤษฏี เป็นการอธิบายถึงหลักการและทษฤฏีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ผู้เรียนควรระบุแหล่งอ้างอิงของหลักการและทฤษฏีเหล่านั้น ส่วนในการทำโครงงานที่เกี่ยวกับการทดลอง มักมีการเดาคำตอบล่วงหน้า หรือการตั้งสมมติฐานนั่นเอง สมมติฐานเป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดเดาไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ การเขียน สมมติฐานควรมีเหตุผล คือ มีทฤษฏี หรือหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับและที่สำคัญ คือ เป็นข้อความที่มองเห็นแนวทางทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนั้นได้<br />10. วิธีดำเนินงาน<br /> ในการดำเนินงานโครงงาน ผู้เรียนจะต้องระบุความต้องการ แนวทางในการศึกษาค้นคว้า และงบประมาณที่ใช้ในโครงงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้<br />วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ระบุชนิด คุณสมบัติ และจำนวนของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงงาน แหล่งที่มาของวัสดุ ทีวัสดุที่ต้องจัดซื้อมูลค่าเท่าไร วัสดุที่ต้องหยิบยืมหน่วยงานอื่นหรือวัสดุบางอย่างอาจต้องจัดทำขึ้นเอง<br />แนวทางการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา อธิบายกระบวนการแก้ปัญหา ซึงประกอบด้วย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ การวางแผน การพัฒนา การทดสอบ แก้ไข และการนำเสนอผลงาน รวมทั้งระยะเวลาในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน<br />งบประมาณ ในการจัดทำโครงงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการทำโครงงานในการดำเนินงานจะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือกันเป็นระยะๆ มีการประเมินผลงานในการปฏิบัติงานและประเมินหลังสิ้นสุดโครงงาน ซึ่งจะต้องมีการแตรียมรูปแบบการประเมินไว้ล่วงหน้า<br />11.แผนปฏิบัติงาน<br /> ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่ติองปฏิบัติในการพัฒนาโครงงาน ลำดับขั้นตอนก่อน-หลังของแต่ละกิจกรรม ระบุเวลาที่คาดว่าจะต้องใช้ในการปฏิบัติของแต่ละขั้นตอน พร้อมผู้รับผิดชอบในกิจกรรมนั้นๆ ซึ่งส่วนนี้จะใช้ในการควบคุมพัฒนาโครงงานให้สำเร็จลุล่วงในช่วงเวลาที่กำหนด<br />12. ผลที่คาดว่าจะได้รับ<br /> ผลที่คาดว่าจะได้รับในการทำโครงงานนี้จะต้องมีการเขียนไว้ให้ชัดเจน ว่าเมื่อทำโครงงานเรื่องดังกล่าวแล้ว จะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง ทั้งในส่วนที่จะได้กับตนเองหรือบุคคลอื่น<br />13. เอกสารอ้างอิง<br /> เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรมเป็นการบอกให้ผู้อื่นได้ทราบว่าผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งใดหากผู้อื่นสนใจที่จะทำโครงงานดังกล่าวในมุมมองอื่นๆ ก็สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแหล่งความรู้เหล่านั้น<br />โดยสรุปแล้วข้อเสนอโครงงานควรจะประกอบด้วย<br /> หัวข้อ/รายงาน รายละเอียดที่ติ้งระบุ1.ชื่อโครงงานชื่อเรื่อง หรือปัญหาที่สนใจ2.ประเภทของโครงงานโครงงานจัดอยู่ในประเภทใด3.ชื่อผู้ทำโครงงานผู้รับผิดชอบโครงงาน อาจเป็นรายบุคคลหรือรายงานกลุ่มก็ได้4.ชื่อที่ปรึกษาโครงงานครูอาจารย์ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาควบคุมการทำโครงงานของผู้เรียน5.ระยะเวลาดำเนินงานระยะเวลาการดำเนินงานโครงงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด6.ที่มา แนวคิด และประโยชน์เหตุจูงใจในการทำ หลักการและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน7.วัตถุประสงค์สิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นเทื่อสิ้นสุดโครงงานทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพ8.ขอบเขตปริมาณเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของโครงงาน9.หลักการและทฤษฏีหลักการและทฤษฏีที่นำมาใช้พัฒนาโครงงาน10.วิธีดำเนินงานเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ กิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงานและงบประมาณ11.ขั้นตอนการปฏิบัติวัน เวลา และกิจกรรมต่างๆ ตามที่ระบุในข้อ10ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด12.ผลที่คาดว่า จะได้รับสภาพของผลที่ต้องการให้เกิดทั้งที่เป็นผลผลิตกระบวนการ และผลกระทบ13.เอกสารอ้างอิงชื่อเอกสาร ข้อมูลที่ได้จากเอกสารต่างๆที่นำมาใช้ดำเนินงาน<br />4. การลงมือทำโครงงาน<br /> เมื่อข้อเสนอโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่า 50% ขั้นต่อไปจะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้<br />4.1 การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ และวัสดุอื่นๆ ที่จะใช้ในการทดลอง พร้อมทั้งจัดเตรียมสถานที่สำหรับใช้ในการพัฒนาให้พร้อมด้วย และควรเตรียมสมุดบันทึก หรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างทำโครงงาน ได้แก่ ได้ปฏิบัติอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่างๆ ที่พบ<br />4.2 การลงมือพัฒนา<br /> 4.2.1 ปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้ในเค้าโครง แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น<br /> 4.2.2 จัดระบบการทำงานโดยทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญให้แล้วเสร็จก่อน จึงค่อยทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริมเพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้นและถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้ทำการความตกลงในการเชื่อมต่อชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย<br /> 4.2.3 พัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบและบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบและครบถ้วน<br /> 4.2.4 คำนึงถึงความประหยัด ความปลอดภัย และระยะในการทำงาน<br />4.3 การตรวจสอบผลงานและแก้ไข การตรวจสอบความถูกต้องของผลงานเป็นความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมายและทำด้วยประสิทธิภาพสูงด้วย<br />4.4 การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัดอย่างครอบคลุมเพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงานและทำการอภิปรายผลด้วย เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้พร้อมกับนำไปหาความสัมพันธ์กับหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำหลักทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลที่ได้ด้วย<br />4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้วผู้เรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญหรือปัญหา ซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะและสิ่งที่ควรจะศึกษาหรือใช้ประโยชน์ต่อไปได้<br />5. การเขียนรายงาน<br /> เมื่อทำโครงงานจนได้ข้อมูลอย่างเพียงพอและทำการวิเคราะห์ผล และสรุปผลแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำคือการจัดทำรายงาน ซึ่งจะรวมถึงรายละเอียดต่างๆ ในการพัฒนา และคู่มือการใช้งาน<br /> รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอต่างๆ เกี่ยวกับโครงงาน ในการเขียนรายงานนั้น ผู้เรียนควรใช้ภาษาที่อ่านและเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา ให้ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้<br /> ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน ซึ่งประกอบด้วย<br />ชื่อโครงงาน<br />ประเภทของโครงงาน<br />ชื่อผู้ทำโครงงาน<br />ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา<br />กิตติกรรมประกาศโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมที่ได้รับความช่วยเหลือและร่วมมือจากหลายฝ่าย จึงควรกล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่ายงานต่างๆ ที่ส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จ<br />บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่างๆ อย่างย่อ (ประมาณ 250-400)<br />บทนำ เป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย<br />ที่มาและความสำคัญของโครงงาน<br />วัตถุประสงค์<br />ขอบเขตของโครงงาน<br /> หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่นที่ผู้เรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย<br />วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินการโดยละเอียด ระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบ วิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน<br /> ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูล หรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตาราง หรือกราฟหรือข้อความ ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อื่นเป็นหลัก<br />สรุปผลหรือข้อเสนอแนะ การสรุปผลการดำเนินงานเป็นการอธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐานควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำผลการทดลอง หรือพัฒนา <br />ไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงาน ส่วนข้อเสนอแนะในโครงงานควรมีเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงงาน หากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย นอกจากนี้ควรกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน ระบุประโยชน์ผู้เรียนที่ได้รับจากการพัฒนาโครงงานนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงงานไปใช้ด้วย<br />7) บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารวาร เอกสาร และ/หรือเว็บไซต์ต่างๆ ที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานนี้ การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย<br />8) คู่มือการใช้งาน หากโครงงานที่ผู้เรียนจัดทำเป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาให้ผู้เรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้งานผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย<br />- ชื่อผลงาน<br />- ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ (ถ้ามี) ระบุรายละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีเพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้<br />- ความต้องการของซอฟต์แวร์ (ถ้ามี) ระบุรายชื่อซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อจะให้ผลงานนั้นทำงานได้อย่างสมบูรณ์<br />- คุณลักษณะของผลงาน อธิบายว่าผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลเข้าและส่งอะไรออกมาเป็นข้อมูลออก<br />- วิธีการใช้งานของแต่ละฟังก์ชัน อธิบายว่าจะต้องเลือกคำสั่งใด หรือกดปุ่มใด<br />-ข้อแนะนำในการใช้งาน เพื่อให้ผลงานนั้นสามารถทำงานได้ดีที่สุด<br /> คู่มือการใช้งาน สามารถแยกออกจากรายงานฉบับสมบูรณ์ หรือใส่ไว้เป็นภาคผนวกของรายงานฉบับสมบูรณ์ก็ได้ แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จัดทำ ที่กล่าวมานี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการเขียนรายงานซึ่งเป็นการเขียนรายงานในลักษณะทั่วๆไป รูปแบบดังกล่าวนี้อาจไม่เหมาะสมกับโครงงานบางประเภทก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้เขียนรายงานควรตระหนักไว้อยู่เสมอคือควรเขียนรายงานให้ชัดเจน ใช้ศัพท์เทคนิคที่ถูกต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา และครอบคลุมประเด็นสำคัญๆทั้งหมดของโครงงาน<br />6.การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน<br /> การนำเสนอและการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทำโครงงานเพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้น<br /> การเสนอผลงานอาจทำได้ในหลายรูปแบบต่างๆกัน เช่น การแสดงผลงานโดยไม่มีการอธิบายประกอบ การรายงานด้วยคำพูดในที่ประชุม การจัดนิทรรศการโดยโปสเตอร์ และอธิบายด้วยคำพูด โดยผลงานที่นำมาเสนอหรือจัดแสดงควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้<br />ชื่อโครงงาน<br />ชื่อผู้จัดทำโครงงาน<br />ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา<br />คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน<br />วิธีการดำเนินงานที่สำคัญ<br />การสาธิตผลงาน<br />ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน<br />ถ้าเป็นการรายงานด้วยคำพูดต่อที่ประชุม ควรมีการเตรีมการในประเด็นต่อไปนี้<br />จัดลำดับความคิดในการนำเสนออย่างเป็นระเบียบและนำเสนออย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย<br />ทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบายให้ดี รวมถึงเตรีมข้อมูลที่อาจต้องใช้ในการตอบคำถาม<br />หลีกเลี่ยงการนำเสนอด้วยวิธีอ่านรายงาน<br />ควรมองไปยังผู้ฟังขณะรายงาน<br />ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา<br />รายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด<br />ควรใช้โปรแกรมนำเสนอประกอบการรายงาน<br />ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อผู้ฟัง<br />ถ้าเป็นโครงงานพัฒนาผลงาน ผลงานนั้นควรจะอยู่ในสภาพที่ทำงานได้เป็นอย่างดี<br />รูปที่ 22.7 การแสดงผลงานในรูปแบบของนิทรรศการ<br /> <br /> การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ทางคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะทำงานวิจัยและประกอบอาชีพทางคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งในปัจจุบันนี้หลายประเทศทั่วโลกขาดแคลนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมากดังนั้นจึงน่าที่จะจัดให้การทำโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมในทุกระดับชั้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต<br />โครงร่างการเขียนรายงานโครงงาน<br />ชื่อโครงงาน(ภาษาไทย).......................................................................................................................<br /> (ภาษาอังกฤษ).................................................................................................................<br />ประเภทของโครงงาน..........................................................................................................................<br />ชื่อผู้ทำโครงงาน<br />......................................................................................................................................................<br />......................................................................................................................................................<br />ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา.............................................................................................................................<br />ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วม.......................................................................................................................<br />กิตติกรรมประกาศ...............................................................................................................................<br />.............................................................................................................................................................<br />สารบัญ................................................................................................................................................<br />บทคัดย่อ..............................................................................................................................................<br />.............................................................................................................................................................<br />บทนำ<br />ที่มาและความสำคัญของโครงงาน<br />.............................................................................................................................................................<br />วัตถุประสงค์<br />.............................................................................................................................................................<br />ขอบเขตของโครงงาน <br />.............................................................................................................................................................<br />หลักการและเทคโนโลยี<br />.............................................................................................................................................................<br />วิธีการดำเนินการ<br />.............................................................................................................................................................<br />ผลการศึกษา<br />.............................................................................................................................................................<br />สรุปผลและข้อเสนอแนะ<br />.............................................................................................................................................................<br />บรรณานุกรม<br />คู่มือการใช้งาน<br />ตัวอย่างบทคัดย่อ<br />ตัวอย่างที่ 1<br />โครงงาน ระบบบ้านไฮเทคประหยัดพลังงานและรักษาความปลอกภัย<br />ผู้จัดทำ นายธรรมนูญ พานิชการ<br />อาจารย์ที่ปรึกษา นายอนุสรณ์ นาคะนิเวศน์<br />สถานศึกษา โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา<br />บทคัดย่อ<br />เนื่องจากในปัจจุบันทรัพยากรพลังงานในโลกไม่เพียงพอต่อจำนวนความต้องการของมนุษย์ จึงต้องมีการคิดค้นอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ประหยัดพลังงานขึ้นมาใช้ เพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ และช่วยลดความสิ้นเปลืองจากการสูญเสียทรัพยากรพลังงานในแต่ละปี ซึ่งทำให้เราเสียเงินในการซื้อพลังงานจากต่างประเทศ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงานที่สูงกว่าที่จะสามารถผลิตได้<br />ผู้พัฒนาจึงได้คิดค้นระบบบ้านไฮเทคประหยัดพลังงานและรักษาความปลอดภัยขึ้นมาซึ่งในตอนแรก จะพัฒนาระบบการเปิดปิดไฟโดยใช้การจับอุณหภูมิร่างกายมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว แต่พบว่ายังไม่เพียงพอ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งเสียงกับความไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติหรือกลุ่มมิจฉาชีพ เพราะเหตุนี้จึงได้เพิ่มระบบความปลอดภัยด้วยโครงงานระบบบ้านไฮเทคประหยัดพลังงานและรักษาความปลอดภัยนี้ จะช่วยตรวจสอบระบบการทำงานของระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เมื่อไม่มีใครอยู่บ้าน ระบบจะทำการตรวจจับคลื่นความร้อน ถ้าอยู่ในระดับที่ไม่มีร้อนมาก(ตามที่กำหนด)ระบบจะทำการเปิดหน้าต่างและปิดเครื่องปรับอากาศ ในเวลาที่มีลมแรงหรือฝนตก หน้าต่างทุกบานภายในบ้านจะปิด และจะมีการเตือนภัยหากมีผู้บุกรุก<br />โครงงานที่จะพัฒนาขึ้นนี้จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ เพราะในปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งพลังงานไฟฟ้าที่ประเทศผลิตได้มีเพียงแค่ 50% ที่เหลือเราต้องซื้อพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตมาจากต่างประเทศ<br />ตัวอย่างที่ 2<br />โครงงาน ตู้ยาอัจฉริยะ<br />ผู้จัดทำ นายสรุจเทพเผื่อนงูเหลือม<br />อาจารย์ที่ปรึกษา นายนิพนธ์สมัครค้า<br />สถานศึกษา โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จ.นครราชสีมา<br />บทคัดย่อ<br />ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆ ก็ได้มีการพัฒนาคิดค้นผลิตสิ่งใหม่ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับประชากรของตน บางประเทศผลิตเพื่อนำออกจำหน่ายเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งของเหล่านั้นมักมีราคาสูง บางคนไม่สามารถซื้อได้ทั้งที่สิ่งนั้นจำเป็นต่อการดำรงชีวิต<br />ด้วยแนวคิดนี้จึงเป็นแรงจูงใจ ทำให้ผู้พัฒนาได้คิดค้นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเตือนการรับประทานยาปฏิชีวนะโดยใช้ชื่อว่า ตู้ยาอัจฉริยะ เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับประทานยาและทำให้ลดหน้าที่ผู้ดูแลให้น้อยลง โดยการทำงานจะมีช่องใส่ขวดยาชนิดต่างๆ วางไว้ในตู้ โดยโปรแกรมจะถูกกำหนดโดยผู้ใช้ว่าจะให้รับประทานยาโดยมีไฟติดเกิดขึ้น และถ้าหยิบขวดยาผิด ซึ่งตู้ยาอัจฉริยะที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน เพราะสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว และด้วยจำนวนประชากรเป็นโรคต่างๆมากขึ้น ทำให้ต้องมีการคิดค้นยาใหม่เพื่อรักษาผู้ป่วยด้วยอาทิเช่น ยาปฏิชีวะขึ้นหลากหลายชนิด ซึ่งในการรับประทานยาเหล่านี้อาจต้องการได้รับความใส่ใจเป็นพิเศษ คือต้องรับประทานให้ตรงเวลามิฉะนั้นอาจมีผลข้างเคียงและการหยิบยาผิดก็ส่งผลต่อผู้ป่วยด้วยเช่นกัน<br /> 229 <br />กิจกรรมที่<br /> 23 โครงงานคอมพิวเตอร์ [2]<br />คาบที่ 38 1. จุดประสงค์ ผู้เรียนสามารถ<br />ทำงานร่วมกันและช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น<br />บันทึกการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง<br />ลงมือพัฒนาโครงงานตามแผนที่วางไว้<br />2. แนวคิด<br /> การลงมือพัฒนาโครงงาน เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนต้องพัฒนาโครงงานของตนเองตามแผนงานที่วางไว้ข้อเสนอโครงงาน แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ถ้าพบว่าจะช่วยทำให้ผลงานดีขึ้น นอกจากนั้นผู้เรียนควรพัฒนาโครงงานด้วยความละเอียดรอบคอบ และบันทึกข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบครบถ้วน โดยคำนึงถึงความประหยัด ความปลอดภัย และระยะเวลาในการทำงาน และต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน ซึ่งเป็นความจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้นทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และทำงานได้ด้วยประสิทธิภาพสูง<br />3. สื่อ-อุปกรณ์<br /> 3.1 ใบงาน<br /> -<br /> 3.2 ใบความรู้<br /> -<br /> 3.3 อื่นๆ<br /> @ใบงานที่ 22.3 เรื่องข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์<br /> 230<br />4. วิธีดำเนินการ<br /> 4.1 การจัดเตรียม<br /> ใบงานที่ 22.3 ที่ได้รับการตรวจสอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเรียบร้อยแล้ว<br /> 4.2 ขั้นตอนดำเนินการ<br /> 4.2.1 ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มลงมือทำโครงงานตามข้อเสนอโครงงานของกลุ่มตนเองและบันทึกการ<br /> ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ<br /> 4.2.2 ตลอดระยะเวลาที่ผู้ที่ผู้เรียนลงมือทำโครงงาน ให้ผู้สอนคอยดูแลและให้คำปรึกษาการพัฒนา<br /> ทำให้เห็นหนทางที่เป็นไปได้ในการคิดหรือแก้ปัญหาได้เอง หรือกระตุ้นผู้เรียนให้ดำเนินการ <br /> พัฒนาโครงงานตามแผนที่กำหนดไว้<br /> 4.2.3 ผู้สอนให้ผู้เรียนเตรียมนำเสนอโครงงานในกิจกรรมถัดไป<br /> 5 .การวัดและประเมินผล<br /> 5.1 สังเกตการทำกิจกรรมร่วมกัน<br /> 5.2 ตรวจคำตอบในใบงาน<br />6. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม <br /> หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี<br />7. ข้อเสนอแนะ<br /> ผู้เรียนจะพัฒนาโครงงานได้ประสบผลสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการนิเทศ ติดตามและประเมินความก้าวหน้าของผู้สอนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง<br />