SlideShare a Scribd company logo
1 of 126
Download to read offline
ผู้เขียน:	 สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน
	 	 เขมรัฐ เถลิงศรี
	 จำ�นวน:	 1,000 เล่ม
	 พิมพ์ครั้งที่ 1:	 เมษายน 2558
		เอกสารวิชาการหมายเลข 7
	 จัดพิมพ์โดย:	 สถาบันคลังสมองของชาติ
		ชั้น 22B อาคารมหานครยิบซั่ม
	 	 เลขที่ 539/2 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี
	 	 กรุงเทพฯ 10400
		สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
		ชั้น 14 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์
	 	 เลขที่ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน
	 	 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
	 	 กรุงเทพฯ 10400
	 ออกแบบและจัดพิมพ์:	 บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง จำ�กัด
	 	 เลขที่ 28 ซอยลาดพร้าว 35 ถนนลาดพร้าว
	 	 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10310
	 	 โทรศัพท์: 0 2938-3306-8 โทรสาร: 0 2938-0188
เอกสารเผยแพร่สำ�นักประสานงานชุดโครงการ
“งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัยเชิงนโยบาย”
สถาบันคลังสมองของชาติร่วมกับสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
เอกสารเล่มนี้เป็นการสังเคราะห์จากงานวิจัยเรื่อง
“การศึกษามาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน:
กรณีศึกษา จังหวัดน่าน”
ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ภายใต้สัญญาเลขที่ RDG5620035
ภาพปก ทิวเขาถ่ายโดย คุณธนัสธรณ์ กังวาลสงค์วงษ์
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ
National Library of Thailand Cataloging in Publication Data
สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน.
    ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก.--  กรุงเทพฯ :   
สถาบันคลังสมองของชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, 2558.
    114 หน้า.  
    1. ข้าวโพด--การปลูก.  2. อาหารสัตว์.  I. เขมรัฐ เถลิงศรี, ผู้แต่งร่วม.   I. ชื่อเรื่อง.
633.15
ISBN 978-616-372-339-0
ค�ำนิยม
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)มีพันธกิจในการสนับสนุนทุนวิจัย  การพัฒนานักวิจัย
การบริหารงานวิจัยและพัฒนาระบบวิจัยของประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมฐาน
ความรู้ (Knowledge Based Society)  ในทิศทางที่จะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ
เป้าหมายส�ำคัญของ สกว. ในระยะต่อไป คือการพัฒนาการบริหารจัดการการวิจัยที่ก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในระบบวิจัยได้อย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตและความแข็งแรงของระบบวิจัย
โดยใช้ทักษะการบริหารจัดการเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง  น�ำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและสามารถ
ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
ส�ำหรับทศวรรษต่อไปของ สกว. การสังเคราะห์ความรู้จากผลงานวิจัยเป็นการบริหารจัดการ
ความรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่ สกว. ให้ความส�ำคัญอย่างยิ่ง  เนื่องจากการสังเคราะห์ความรู้เป็นทั้งกลไก
บูรณาการระหว่างงานวิจัยเรื่องต่างๆ สาขาต่างๆ และเป็นการยกระดับข้อค้นพบจากงานวิจัยภายใต้
ประเด็นวิจัยที่ให้ทุนสนับสนุน ให้เกิดความชัดเจนเพียงพอทั้งเพื่อการน�ำไปใช้ต่อยอดงานวิจัยและการ
น�ำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ รวมถึงการจัดท�ำข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ ตลอดจนการสร้าง
ผลกระทบให้เกิดขึ้นกับสังคมในแง่มุมที่หลากหลาย
เอกสารวิชาการเรื่อง “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก” เล่มนี้
เป็นผลงานของ ผศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน และ ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี จากคณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้น�ำข้อความรู้จากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษามาตรการสร้างแรงจูงใจ
เพื่อลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน” มาสังเคราะห์และเรียบเรียง
ขึ้นใหม่ โดยมีส�ำนักงานประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่าย
งานวิจัยเชิงนโยบาย” สถาบันคลังสมองของชาติ เป็นบรรณาธิการให้กับเอกสารวิชาการนี้ ซึ่ง สกว.
ขอแสดงความชื่นชมและขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
สกว. หวังว่าเนื้อหาจากงานสังเคราะห์ความรู้ “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า:
ปัญหาและทางออก” เล่มนี้จะน�ำไปสู่การศึกษาต่อยอดการวิจัยและการใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้
เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ป่าของชุมชนรวมถึงการสร้างมาตรการการจัดการทรัพยากรเชิงพื้นที่เพื่อลดปัญหา
ความขัดแย้งจากการบุกรุกพื้นที่ป่า พร้อมทั้งมีการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่เป็นธรรม
อันจะน�ำไปสู่ความส�ำเร็จของการอนุรักษ์ทรัพยากรเชิงพื้นที่ของชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ
ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ค�ำน�ำผู้เขียน
เมื่อประมาณ5ปีก่อนผู้เขียนได้รับโอกาสให้ศึกษาวิจัยในหัวข้อเรื่อง“ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กลไก
สู่ความเหลื่อมล�้ำในระดับท้องถิ่น กรณีศึกษา: ห่วงโซ่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ.เวียงสา จ.น่าน” เป็น
ส่วนหนึ่งของโครงการ“สู่สังคมเสมอหน้าการศึกษาโครงสร้างความมั่งคั่งและโครงสร้างอ�ำนาจเพื่อการ
ปฏิรูป”(ได้รับการสนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยโดยมีศ.ดร.ผาสุกพงษ์ไพจิตรเป็น
หัวหน้าโครงการ)โดยงานวิจัยดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์กลไกในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สร้างความ
เหลื่อมล�้ำในพื้นที่ ในช่วง 2 ปีที่ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลโดยการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ประชาชน
และองค์กรต่างๆ ที่เข้าไปท�ำงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดน่าน ท�ำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงความซับซ้อน
และรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
โดยความจริงนั้น หลังจากจบโครงการวิจัยดังกล่าว ผู้เขียนรู้สึกท้อแท้และหมดหวังกับความ
พยายามในการหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากขนาดของพื้นที่ปัญหาที่ใหญ่โตและลุกลามไปมาก
เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องก็มีจ�ำนวนมากมายประกอบกับกระแสจากธุรกิจปลายน�้ำที่พยายามผลักดัน
ให้มีการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นตามความต้องการที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเพิ่มความ
ซับซ้อนและรุนแรงของปัญหาดังกล่าว ทางออกในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่ดูมืดมนจนถึงขั้นเป็นไปไม่ได้
ในเวลาต่อมาผู้เขียนได้มีโอกาสได้เข้าร่วมงานสัมมนาและไปศึกษาดูงานในด้านการอนุรักษ์ที่
หน่วยจัดการต้นน�้ำมีด อ.เชียงกลาง จ.น่าน จุดนี้เองที่ท�ำให้ผู้เขียนได้เห็นถึงความพยายามในการแก้
ปัญหาจากจุดเล็กๆ และรับรู้ถึงความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากการอนุรักษ์พื้นที่ป่าของชาว
บ้านอย่างไรก็ตามเมื่อผู้เขียนได้พยายามถ่ายทอดเรื่องราวการด�ำเนินงานที่ประสบความส�ำเร็จในพื้นที่
ดังที่ได้พบเห็นมา ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่กลับมองไม่เห็นถึงคุณค่าของการด�ำเนินงานดังกล่าวนัก โดย
ส่วนใหญ่มองว่าเป็นความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นจากความบังเอิญและมีความจ�ำเพาะเจาะจงในพื้นที่เท่านั้นแม้
กระทั่งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงหลายหน่วยงานก็ไม่ได้พยายามที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์
และความส�ำเร็จนั้นเลย
นอกจากนี้ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันผู้เขียนก็ได้มีโอกาสศึกษาพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ในการด�ำเนินงานภายใต้โครงการปิดทองหลังพระฯเพิ่มมากขึ้นก็ยิ่งได้เห็นถึงความตั้งใจในการแก้ปัญหา
ในพื้นที่จากความร่วมมือกันของคนหลายฝ่าย แม้ว่าการด�ำเนินงานในทั้ง 2พื้นที่จะเป็นไปตามแนวทาง
ที่แตกต่างกันบ้างแต่ต่างก็มีจุดหมายหลักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเช่นเดียวกัน
ในฐานะที่เป็นนักวิชาการผู้เขียนจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษาบทเรียนการด�ำเนินงานในทั้ง
2พื้นที่เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่จะสามารถน�ำไปใช้ในการแก้ปัญหาการบุกรุกท�ำลายพื้นที่ป่าไม้ที่เกิดขึ้น
ในพื้นที่อื่นๆ ได้ และนับเป็นความโชคดีที่ผู้เขียนได้รับโอกาสและการสนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัยและสถาบันคลังสมองของชาติให้ศึกษาเรื่อง “การศึกษามาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อ
ลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน:กรณีศึกษาจังหวัดน่าน”และได้รับโอกาสให้เผยแพร่องค์
ความรู้ที่เกิดขึ้นในเอกสารเล่มนี้
ผู้เขียนขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการท�ำงานวิจัยและเรียนรู้ตลอด
ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยขอแสดงความขอบคุณเป็นพิเศษต่อ
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ที่สนับสนุนงบประมาณในการท�ำวิจัยและเผยแพร่
สถาบันคลังสมองของชาติที่ช่วยประสานงานโครงการและช่วยผลักดันให้เกิดโครงการวิจัยขึ้นได้
รศ.สมพร อิศวิลานนท์ และดร.ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ ที่ให้โอกาสและข้อแนะน�ำอันมีประโยชน์ยิ่ง
และรศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ ที่ให้ค�ำปรึกษา ข้อแนะน�ำและก�ำลังใจในการศึกษา
นางสาวชนัญชิดา สิงคมณี ส�ำหรับการประสานงานและค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ
นายรัตน์ ครุฑนา ที่สละเวลาหลายต่อหลายครั้งในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างไม่มีเหน็ดเหนื่อยเพื่อให้ผู้เขียนเข้าใจถึงความซับซ้อน
ของปัญหาและกรุณาประสานงานในพื้นที่หลายๆ ต�ำบลตั้งแต่เริ่มงานวิจัยโครงการแรก
นายบัณฑิตฉิมชาติ(หัวหน้าฉิม)และทีมงานหน่วยจัดการต้นน�้ำมีดที่ช่วยติดต่อประสานงาน
และอ�ำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่ลุ่มน�้ำมีดและร่วมแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งตลอด
จนเป็นแรงบันดาลใจที่ส�ำคัญที่ท�ำให้คณะผู้วิจัยมีก�ำลังใจในการท�ำงาน
ผอ.การัณย์ ศุภกิจวิเลขการ นายธนกร รัชตานนท์ และ นายพิชิต ยาละ และทีมงานโครงการ
ปิดทองหลังพระฯที่ช่วยอ�ำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่ลุ่มน�้ำสบสายและอนุเคราะห์ข้อมูลและเล่า
เรื่องราวในพื้นที่
ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน และชาวบ้านทุกท่าน ที่ช่วยกันให้ข้อมูลกับทีมวิจัยด้วยความเต็มใจ
ส�ำนักเกษตรอ�ำเภอเวียงสา เชียงกลาง และท่าวังผา ที่ช่วยอนุเคราะห์ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้อง
ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นทุกท่านส�ำหรับความเห็นและข้อเสนอแนะที่
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัย
นายวศิน โรจยารุณ และนายวิธวิทย์ ฟูจิตนิรันดร์ ส�ำหรับความช่วยเหลือในการเก็บข้อมูล
จัดข้อมูล และประมวลผลเบื้องต้น และนายวศิน โชคชนะชัยสกุล นางสาวพิมพ์ชนก โชติกมาศ
นายรัฐศิริวชิรปัญญานนท์นายวทัญญูคุณาพรสุจริตนายวัชรพงศ์ชื่นเมืองนายศรัณย์กฤชธนพัฒน์กิติโรจน์
และนายธันวา แผนสท้าน ส�ำหรับความช่วยเหลือในการเก็บข้อมูลและลงพื้นที่
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาในเอกสารเล่มนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะน�ำไปสู่การ
เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคตหรือแม้กระทั่งจะช่วยจุดประกายในการศึกษาในเรื่องเกี่ยวเนื่องต่อไปและ
หากมีข้อผิดพลาดประการใดที่เกิดขึ้น ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงฝ่ายเดียว
ผศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน
	 	 	 	 	 	 ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี
บทบรรณาธิการ
ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และท�ำการเกษตรบนพื้นที่ลาดชันนั้น
ในด้านหนึ่งกล่าวกันว่าเป็นแรงกดดันจากภาวะความยากจนและความเดือดร้อนจากการไม่มีที่ดินท�ำกิน
ของครัวเรือนเกษตร ในอีกด้านหนึ่งก็ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควัน จากการเผาป่าและไร่ข้าวโพด อีกทั้ง
เป็นที่หวั่นเกรงกันว่าการสูญเสียพื้นที่ป่าอนุรักษ์ต้นน�้ำเป็นสาเหตุส�ำคัญอันน�ำไปสู่การเกิดภัยธรรมชาติ
ต่างๆ ทั้งจากการเกิดโคลนถล่ม การไหล่บ่าของน�้ำป่า และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดล้อม
ซึ่งสร้างผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมและเกรงว่าหากปล่อยให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไปมากกว่าสภาพ
ที่เป็นอยู่ จะน�ำมาซึ่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมในวงกว้าง
ท่ามกลางของภาวะวิกฤตที่เกิดจากการรุกพื้นที่ป่าต้นน�้ำในจังหวัดน่าน ไปพร้อมๆ กับการ
ขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  การศึกษาวิจัยของ ผศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน และ
ผศ.ดร.เขมรัฐเถลิงศรีในเอกสารเล่มนี้ได้พบว่ายังมีพื้นที่ชุมชนส่วนหนึ่งในจังหวัดน่านได้พัฒนาเปลี่ยนแปลง
พื้นที่ของชุมชนสู่แนวทางของการอนุรักษ์พื้นที่ป่าอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ได้พบว่าเกษตรกรในชุมชน
ได้พร้อมใจรวมตัวกันในการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนที่ลาดชัน รวมถึงการคืนพื้นที่ที่เคยปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชันให้กลับเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นได้ ซึ่งเป็นแนวตัวอย่างที่น่าสนใจ
และควรแก่การบันทึกให้สังคมได้รับรู้
ส�ำนักประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัย
เชิงนโยบาย”  เห็นว่าการเผยแพร่ข้อมูลและข้อความรู้ที่สะท้อนถึงความส�ำเร็จของชุมชนในการร่วมแรง
ร่วมใจกันในการพลิกฟื้นท�ำให้พื้นที่ลาดชันได้กลับมาเป็นพื้นที่ป่าที่อนุรักษ์จะเป็นประโยชน์และเป็นบท
เรียนรู้ที่ดีให้กับสังคมได้เห็นแนวทางการแก้ปัญหาและเป็นทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อลดปัญหาความขัด
แย้งและน�ำไปสู่การร่วมมือกันเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ป่าให้เกิดขึ้นกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งส�ำนักงาน
ประสานชุดโครงการฯ ใคร่ขอขอบคุณ ผศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน และ ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี ที่ได้
เป็นผู้จัดท�ำสังเคราะห์ข้อความรู้จากรายงานวิจัยขึ้นเป็นเอกสารวิชาการเล่มนี้ มา ณ โอกาสนี้
						
บรรณาธิการ
มกราคม 2558
สารบัญ หน้า
	1	 อารัมบท	 01
	 	 ที่มาของปัญหา	 02
	2	 การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน	 07
	 	 2.1 ข้อมูลเบื้องต้นการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน	 08	
	 	 2.2 ขั้นตอนและผู้เกี่ยวข้องในวงจรการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์	 11
	 	 2.3 ผลตอบแทนของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 	 13
	3	 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และตัวอย่างในการแก้ปัญหา	 21
	 	 3.1 แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม	 22	
	 	 3.2 มาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย	 26	
	 	 3.3 ตัวอย่างการใช้มาตรการอุดหนุนเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้	 28	
	 	 3.4 งานวิจัยอื่นๆ ในประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง	 33
	 	 3.5 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร	 34
	4	 ตัวอย่างความส�ำเร็จของการพัฒนาแบบ Win-Win 	 37	
	 	 และข้อมูลเบื้้องต้นของพื้นที่การศึกษา	
	 	 4.1 วิธีการศึกษาและการเก็บข้อมูล	 39
	 	 4.2 ข้อมูลเบื้องต้นของลุ่มน�้ำมีด	 40
	 	 4.3 ข้อมูลเบื้องต้นของลุ่มน�้ำสบสาย	 45
	5	 แนวทางการเปลี่ยนแปลงและผลตอบแทน	 49
	 	 5.1 แนวทางการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน	 50
	 	 5.2 การเปรียบเทียบผลตอบแทนของพืชทางเลือก	 51
	 	 5.3 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้แนวทางเลือกต่างๆ ตามความเหมาะสมของพื้นที่	 56
	 	 5.4 สรุป	 58
	6	 บทเรียนจากการเปลี่ยนแปลงในลุ่มน�้ำมีดและลุ่มน�้ำสบสาย	 61
	 	 6.1 บทเรียนจากการเปลี่ยนแปลงในลุ่มน�้ำมีด	 62
	 	 6.2 บทเรียนจากการเปลี่ยนแปลงในลุ่มน�้ำสบสาย	 68
	7	 ปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนสู่ความส�ำเร็จของชุมชน	 79
	 	 7.1 องค์ประกอบร่วมที่น�ำไปสู่ความส�ำเร็จในการเปลี่ยนแปลง	 80
	 	 7.2 ความแตกต่างของการด�ำเนินงานที่มีแนวทางต่างกัน	 82
	8	 สรุปและข้อเสนอแนะ	 85
	 	 8.1 สรุปผลการศึกษา	 86
	 	 8.2 ข้อเสนอแนะ	 90
เอกสารอ้างอิง	 97
ภาคผนวก	 100
สารบัญตาราง หน้า
ตารางที่ 2.1	 โครงสร้างต้นทุนการผลิตข้าวโพดต่อไร่ ปี พ.ศ. 2553	 14
ตารางที่ 5.1	 สรุปลักษณะ ผลตอบแทน และปัจจัยส�ำคัญในการปลูกพืชชนิดต่างๆ	 53
ตารางที่ 5.2 	 เปรียบเทียบรายได้สุทธิจากการปลูกพืชทางเลือกกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ชัน	 54
ตารางที่ 5.3 	 ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ในแบบต่าง	 59
ตารางที่ 6.1 	 ข้อมูลเบื้องต้นจากการส�ำรวจของลุ่มน�้ำมีดและลุ่มน�้ำสบสาย	 63
ตารางที่ 6.2 	 ผลของแบบจ�ำลอง OLS ที่อธิบายการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์	 64
	 	 ในที่ชัน กรณีลุ่มน�้ำมีด
ตารางที่ 6.3 	 พฤติกรรมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชัน กรณีลุ่มน�้ำมีด	 65
ตารางที่ 6.4 	 สาเหตุที่ท�ำให้เกษตรกรตัดสินใจลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน	 65
	 	 กรณีลุ่มน�้ำมีด
ตารางที่ 6.5 	 อุปสรรคในการลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน กรณีลุ่มน�้ำมีด	 66
ตารางที่ 6.6 	 กระบวนการที่ส�ำคัญในการลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน กรณีลุ่มน�้ำมีด	 67
ตารางที่ 6.7 	 การให้ความส�ำคัญกับประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงินจากการเปลี่ยนพฤติกรรม	 67
	 	 กรณีลุ่มน�้ำมีด
ตารางที่ 6.8 	 สรุปการให้ความส�ำคัญต่อมาตรการอุดหนุนต่างๆ ของเกษตรกร	 73
ตารางที่ 6.9 	 ผลของแบบจ�ำลอง OLS ที่อธิบายการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์	 74
	 	 ในพื้นที่ลาดชัน กรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ
ตารางที่ 6.10 	พฤติกรรมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชัน แบ่งตามขนาดพื้นที่ท�ำกิน	 75
	 	 ในอดีต ในกรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ
ตารางที่ 6.11	 สาเหตุที่ท�ำให้เกษตรกรตัดสินใจลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน 	 76
	 	 ในกรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ
ตารางที่ 6.12 	อุปสรรคในการลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน 	 76
	 	 ในกรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ
ตารางที่ 6.13 	กระบวนการที่ส�ำคัญในการลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในที่ชัน 	 77
	 	 ในกรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ
ตารางที่ 6.14 	การให้ความส�ำคัญกับประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงินจากการเปลี่ยนพฤติกรรม 	 78
	 	 ในกรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ
ตารางที่ 7.1 	 ล�ำดับความส�ำคัญของความเห็นในด้านต่างๆ ของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่	 82
ตารางที่ ก.1 	 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชัน	 101
ตารางที่ ก.2 	 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกข้าวเหนียวนาปี	 104
ตารางที่ ก.3 	 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกยาสูบ 	 107
ตารางที่ ก.4 	 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกผักกาดเขียวปลี	 109
ตารางที่ ก.5 	 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกพริก	 111
ตารางที่ ก.6 	 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ราบ	 112
ตารางที่ ก.7 	 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกถั่วลิสง	 114
สารบัญภาพ หน้า
ภาพที่ 2.1 	พื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่าน พ.ศ. 2547-2556 (ล้านไร่)	 9
ภาพที่ 2.2 	พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2548-2555 (ล้านไร่)	 10
ภาพที่ 2.3 	แผนผังขั้นตอนและผู้เกี่ยวข้องในวงจรการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน	 12
ภาพที่ 2.4 	ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และรายได้สุทธิของเกษตรกรในที่ราบ 	 15
	 แบ่งตามแหล่งเงินทุน (บาท/กก.)
ภาพที่ 2.5	 รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อปีของเกษตรกรในที่ราบ (บาท/ปี)	 15
ภาพที่ 2.6	 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และรายได้สุทธิของเกษตรกรในที่ชัน 	 16
	 แบ่งตามแหล่งเงินทุน (บาท/กก.)
ภาพที่ 2.7	 รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อปีของเกษตรกรในที่ชัน (บาท/ปี)	 17
ภาพที่ 2.8 	วงจรอุบาทว์ของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน	 20
	 (Vicious Cycle of Highland Maize Farming)
ภาพที่ 3.1 	แนวคิดความขัดแย้งระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม	 23
ภาพที่ 3.2 	การพัฒนาเศรษฐกิจโดยขาดการค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อม น�ำไปสู่ Loss-Loss Solution	 24
ภาพที่ 3.3	 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างขาดการค�ำนึงถึงความเป็นอยู่ของคน 	 25
	 น�ำไปสู่ Loss-Loss Solution
ภาพที่ 4.1 	แผนที่และสภาพภูมิประเทศพื้นที่บริเวณบ้านแคว้ง บ้านเด่นพัฒนา 	 39
	 และบ้านน�้ำมีด อ.เชียงกลาง จ.น่าน
ภาพที่ 4.2 	แผนที่และสภาพภูมิประเทศพื้นที่บริเวณบ้านเด่นพัฒนา อ.เชียงกลาง จ.น่าน	 41
ภาพที่ 4.3 	แผนที่และสภาพภูมิประเทศพื้นที่บริเวณบ้านแคว้ง อ.เชียงกลาง จ.น่าน	 42
ภาพที่ 4.4 	การแบ่งพื้นที่บริเวณหมู่บ้านน�้ำมีด	 43
ภาพที่ 4.5 	ที่นาและป่าในปัจจุบัน หมู่บ้านน�้ำมีด	 44
ภาพที่ 4.6 	ตัวอย่างความส�ำเร็จของโครงการนาแลกป่าของนายรัตน์ แปงอุด (หมู่บ้านน�้ำมีด) 	 44
	 มีพื้นที่นาแลกป่าจ�ำนวน 3 ไร่ และพื้นที่ป่าแลกนาจ�ำนวน 10 ไร่
ภาพที่ 4.7 	แผนที่และสภาพภูมิประเทศพื้นที่บริเวณบ้านน�้ำป้าก ห้วยธนู 	 46
	 และห้วยม่วง อ.ท่าวังผา จ.น่าน
ภาพที่ 6.1 	เปรียบเทียบการให้ความส�ำคัญกับมาตรการต่างๆ	 71
ภาพที่ 6.2 	เปรียบเทียบการให้ความส�ำคัญกับมาตรการต่างๆ แบ่งตามการปรับพฤติกรรม	 71
	 การปลูกพืชในพื้นที่ลาดชัน
ภาพที่ 7.1 	องค์ประกอบและการด�ำเนินงานไปสู่การลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชัน	 81
ภาพที่ ก.1 	ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน	 102
ภาพที่ ก.2 	ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกข้าวเหนียวนาปี	 105
ภาพที่ ก.3 	ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกยาสูบ	 108
ภาพที่ ก.4 	ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกผักกาดเขียวปลี	 110
ภาพที่ ก.5 	ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกพริก	 111
ภาพที่ ก.6 	ปัจจัยส�ำคัญในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ราบ	 113
ภาพที่ ก.7 	ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกถั่วลิสง	 114
อารัมภบท
บทที่ 1
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก2
อารัมภบท
ที่มาของปัญหา
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านได้ขยายตัวขึ้นอย่าง
รวดเร็ว ถึงเกือบ 3 เท่าในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 และในปี พ.ศ. 2557 จังหวัดน่านมีพื้นที่เพาะ
ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์803,050ไร่(ประมาณร้อยละ10ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย)
(ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) ในขณะเดียวกันก็พบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ป่าไม้ในจังหวัดน่าน
ถูกท�ำลายไปอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2556 จังหวัดน่านเหลือพื้นที่ป่าไม้เพียง 4.65 ล้านไร่ (ร้อยละ 61
ของพื้นที่จังหวัด) เท่านั้น (กรมป่าไม้, 2557)
การขยายตัวอย่างรวดเร็วของพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย โดยเฉพาะการ
ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน ส่งผลกระทบต่อทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนใน
พื้นที่เป็นอย่างมากจากข้อมูลระดับจังหวัดแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าในช่วง10ปีที่ผ่านมาปริมาณการปลูก
ข้าวโพดในจังหวัดน่านและราคาผลผลิตจะขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาความยากจนของ
คนในพื้นที่กลับทวีความรุนแรงขึ้นไปด้วยในปีพ.ศ.2547จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมาก
เป็นอันดับที่ 39 ของประเทศ แต่ในปี พ.ศ. 2554 ปัญหาความยากจนในจังหวัดน่านกลับเลวร้ายยิ่งขึ้น
โดยพบว่าจังหวัดน่านมีสัดส่วนคนจนสูงมากเป็นอันดับที่ 21 ของประเทศ (ส�ำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2556)
นอกจากปัญหาความยากจนแล้วการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชันยังก่อให้เกิดปัญหา
ทางสิ่งแวดล้อมตามมาอีกมากมายทั้งปัญหาด้านดินเช่นปัญหาการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรง
(ในเกือบทุกพื้นที่ของจังหวัด) ปัญหาคุณภาพดิน ปัญหาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม นอกจากนี้ยังมี
ปัญหาการปนเปื้อนของมลพิษในแหล่งน�้ำจากการใช้สารเคมีในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การปนเปื้อน
ในแม่น�้ำน่านซึ่งเป็นแหล่งต้นน�้ำที่ใหญ่ที่สุดของแม่น�้ำเจ้าพระยาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่
จะมีค่าสูงมากในฤดูหนาว โดยมีสาเหตุหลักจากการเผาไร่ของเกษตรกรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์1
1	
จากการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ณ เทศบาลเมืองน่าน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม พ.ศ. 2555 พบว่ามีปริมาณ
ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10
) เฉลี่ย 24 ชั่วโมงในบางวันสูงถึง 216.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่า
มาตรฐานไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
1
บทที่
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 3
แม้ว่าจะมีการรณรงค์ทั้งในระดับท้องถิ่นและจากนโยบายส่วนกลางที่สนับสนุนให้เกษตรกร
เปลี่ยนไปท�ำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการให้ความส�ำคัญกับการเกษตรผสมผสานและ
การรักษาพื้นที่ป่าต้นน�้ำ ผ่านการสนับสนุนในลักษณะของโครงการย่อยๆของหลากหลายหน่วยงานทั้ง
องค์กรภาครัฐและเอกชน แต่การรณรงค์และความพยายามดังกล่าวกลับไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าที่
ควร2  
เนื่องจากเหตุผลหลายด้าน เช่น 1) เกษตรกรจ�ำนวนมากยังไม่ตระหนักถึงปัญหาที่ตามมาจากการ
ท�ำลายพื้นที่ป่าต้นน�้ำหรือคุณภาพดินที่เสื่อมโทรม เกษตรกรไม่สามารถมองเห็นภาพต้นทุนที่แท้จริงที่
เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากต้นทุนเหล่านี้ไม่ได้ถูกสะท้อนอยู่ในระบบตลาด แต่กลับถูกกระตุ้นให้
ขยายพื้นที่ปลูกโดยราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการของอุตสาหกรรมผลิต
อาหารเลี้ยงสัตว์ 2) เกษตรกรพื้นที่สูงจ�ำนวนมากติดอยู่ในวงจรหนี้สินจากการกู้นอกระบบในรูปของ
วัตถุดิบเพื่อปลูกข้าวโพด ท�ำให้การหลุดพ้นจากวงจรการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นไปได้ยากมาก หาก
ขาดแรงจูงใจที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง(เขมรัฐเถลิงศรีและสิทธิเดชพงศ์กิจวรสิน,2555)3   
3)เกษตรกร
ได้รับสัญญาณที่สับสนจากนโยบายภาครัฐตลอดซึ่งด้านหนึ่งพยายามรณรงค์ให้เกษตรกรหันหาการปลูก
พืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่อีกด้านหนึ่งยังพยายามผลักดันนโยบายจ�ำน�ำ นโยบายประกันราคา/
รายได้ ซึ่งล้วนกระตุ้นให้เกษตรกรยังยึดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลักและเพิ่มการผลิตต่อ
ไป 4) เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้และความเข้าใจในการหาทางเลือกทางการเกษตรใหม่ที่ดีกว่าการ
ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5) ในหลายกรณี องค์กรภายนอกหรือภาครัฐด�ำเนินการช่วยเหลือโดยขาด
ความรู้ความเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร ไม่สามารถท�ำให้เกษตรกรสนใจอย่างต่อเนื่อง
และท�ำให้การเปลี่ยนแปลงไม่ประสบผลส�ำเร็จและ6)กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่สอดคล้องกับสภาพ
ในพื้นที่ ท�ำให้การบังคับใช้ไม่มีประสิทธิผล และในบางครั้ง ตัวกฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพนี้เอง
กลับเป็นตัวขัดขวางการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะน�ำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นในพื้นที่ได้
อย่างไรก็ดี ท่ามกลางสถานการณ์การรุกพื้นที่ป่าต้นน�้ำเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ด�ำเนินถึง
ขั้นวิกฤตในพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดน่าน และสภาพปัญหาที่ยิ่งดูเหมือนจะแย่ลงเรื่อยๆ โดยที่ยังมอง
ไม่เห็นทางออกที่เป็นรูปธรรมสร้างความวิตกกังวลแก่ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายในพื้นที่และในระดับนโยบาย
2
	จากแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมพ.ศ.2555-2558(รวมถึงแผนในอดีตช่วง2550-2554)ในยุทธศาสตร์การอนุรักษ์
และฟื้นฟูธรรมชาติอย่างยั่งยืน จะพบว่ามาตรการทั้งระยะเร่งด่วนและระยะปานกลางเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้จะเป็น
มาตรการเชิงอนุรักษ์(เช่นแก้ไขกฎหมายให้รุนแรงและเหมาะสมขึ้นหรือการก�ำหนดพื้นที่อนุรักษ์)มาตรการเชิงสนับสนุน
(เช่นศึกษาวิจัยเพิ่มเติมใช้สารสนเทศในการติดตาม)ขณะที่มาตรการเชิงรุกหรือการใช้เครื่องมือด้านแรงจูงใจมีเพียงการ
ใช้ในรูปแบบของป่าชุมชน หรือภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังภัย ส่วนการใช้เครื่องมือด้านแรงจูงใจโดยตรงเช่น กลไก PES
ยังคงเป็นมาตรการเชิงสนับสนุนในระยะปานกลาง ซึ่งยังไม่มีการน�ำไปปฏิบัติจริงในตอนนี้
3
	เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555) พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ลาดชันส่วนใหญ่ยังติด
อยู่ในวงจรหรือกับดักของการปลูกข้าวโพดเชิงพาณิชย์ เนื่องมาจากข้อจ�ำกัดและลักษณะเฉพาะของพื้นที่ การผูกขาดใน
ตลาดท้องถิ่น และต้นทุนของการปลูกเชิงพาณิชย์ ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ไม่สามารถสะสมรายได้เพื่อพัฒนา
ความเป็นอยู่ของตน ผลประโยชน์ของการปลูกข้าวโพดตกเป็นของผู้รวบรวมขายและบริษัทแปรรูปปลายน�้ำเป็นหลัก
แม้ว่าเกษตรกรจะตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องการจะเลิกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่กลับไม่สามารถถอนตัวออก
จากกับดักนี้ได้ด้วยภาระหนี้สินที่สะสมไว้ตั้งแต่เข้าสู่วงจรการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ท�ำให้จ�ำเป็นต้องท�ำการผลิตต่อไป
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก4
ก็ยังมีพื้นที่เล็กๆ ส่วนหนึ่งในจังหวัดน่านที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางบวกอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถ
จุดประกายให้ความหวังว่ายังคงมีทางออกที่เป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ ดังเช่น พื้นที่ลุ่มน�้ำมีดใน
ต.พระพุทธบาทและต.เปืออ.เชียงกลางซึ่งเกษตรกรในพื้นที่สูงเหล่านี้ไม่เพียงจะสามารถต้านกระแส
การขยายพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนที่ชันได้ กลับยังสามารถลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนที่
ชันและคืนพื้นที่ที่เคยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชันให้กลับเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ได้ โดยคนในชุมชน
ร่วมกันสร้างข้อตกลงและกฎระเบียบเพื่อการรักษาความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีความรักและ
หวงแหนในผืนป่า ที่ส�ำคัญคือ บทบาทของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ด�ำเนินไปอย่างเหมาะสม ถูกจังหวะ
และมีความโดดเด่นในแง่ของการยอมรับสิทธิ์ของชุมชนในการร่วมบริหารจัดการป่าและใช้ประโยชน์จาก
ป่าอย่างสมดุล
นอกจากนี้ยังมีบางพื้นที่ของจังหวัดซึ่งชาวบ้านได้เข้าร่วมกับโครงการปิดทองหลังพระสืบสาน
แนวทางพระราชด�ำริในการแก้ไขปัญหาความยากจนและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเช่นพื้นที่บางส่วนใน
อ. ท่าวังผา ซึ่งหนึ่งในวัตถุประสงค์ของโครงการคือ การลดการแผ้วถางท�ำลายพื้นที่ต้นน�้ำ ในการกระตุ้น
ความสนใจและการมีส่วนร่วมโครงการปิดทองหลังพระฯด�ำเนินการโดยใช้มาตรการอุดหนุนหลายรูปแบบ
ด้วยกัน ทั้งในรูปแบบเงินอุดหนุนตรง กองทุนช่วยลดค่าใช้จ่าย และการให้ความรู้และสิ่งอ�ำนวยความ
สะดวกด้านอื่นๆซึ่งในช่วงระยะเวลา5ปีภายใต้โครงการก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีเกิดขึ้นแล้ว
ความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.เชียงกลาง และ อ.ท่าวังผา ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่มี
โอกาสสัมผัสและเปิดพื้นที่การเรียนรู้องค์ประกอบที่สร้างความส�ำเร็จเหล่านี้ออกมาได้รวมถึงจุดประเด็น
ว่าจะท�ำอย่างไรจึงจะสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากพื้นที่เหล่านี้ในพื้นที่อื่นของจังหวัดน่านที่ก�ำลัง
ประสบปัญหาพื้นที่ป่าต้นน�้ำถูกท�ำลายอย่างหนัก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์ไปสู่การฟื้นฟูพื้นที่ป่าให้กลับคืนมาได้อย่างประสบผลส�ำเร็จและยั่งยืน
จุดมุ่งหมายหลักของเอกสารเล่มนี้คือการถ่ายทอดบทเรียนที่ได้จากการศึกษาพื้นที่ที่สามารถ
เปลี่ยนแปลงจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชันไปสู่การสร้างและอนุรักษ์ผืนป่าได้ โดยเปรียบเทียบ
สิ่งที่พบจากทั้งพื้นที่ที่ไม่ได้รับมาตรการอุดหนุนอย่างเป็นระบบจากภาครัฐอย่างลุ่มน�้ำมีด และในพื้นที่
มีโอกาสรับการผลักดันผ่านมาตรการอุดหนุนต่างๆจากองค์กรภายนอกอย่างพื้นที่ลุ่มน�้ำสบสายเพื่อให้
เข้าใจถึงกลไกของการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถลดการปลูกข้าวโพด
ได้ รวมถึงการตอบสนองของเกษตรกรต่อมาตรการอุดหนุนเป็นอย่างไร ข้อจ�ำกัดของเกษตรกรแต่ละ
กลุ่มจะมีผลการออกแบบมาตรการอุดหนุนอย่างไรมุมมองของเกษตรกรที่ได้รับการอุดหนุนต่อเรื่องการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากปลูกข้าวโพดสู่การปลูกป่าจะแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับการอุดหนุนอย่างไร
ในการตอบค�ำถามข้างต้นผู้เขียนน�ำเสนอตัวอย่างของแนวทางการพัฒนาที่ให้ความส�ำคัญกับ
รายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรไปพร้อมๆกับการฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพป่าซึ่งเป็นแนวคิดที่มอง
เรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในลักษณะ Win-Winนั่นคือการอนุรักษ์ป่าจะเกิดขึ้นไม่ได้
ถ้าคนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตหรือได้รับได้ผลตอบแทนจากการอนุรักษ์ป่าไปด้วย
แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับและน�ำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในหลายพื้นที่ทั่วโลกในรูปแบบ
ที่ต่างกันไปตามลักษณะพื้นที่และภูมิเศรษฐกิจและสังคม แต่โดยรวมแล้ว ผู้ด�ำเนินงานด้านการอนุรักษ์
ในพื้นที่ต้องสามารถได้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของป่า พึ่งพิงป่าเพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 5
มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการสร้างกฎกติกาในการดูแล มีจิตใจที่รักและหวงแหนในผืนป่า ซึ่งทั้งหมดนี้
ก็จะเข้ามาประกอบให้เกิดการหมุนของวงล้ออนุรักษ์ผลที่ได้จากการศึกษารายละเอียดการเปลี่ยนแปลง
และเกษตรกรทั้งในพื้นที่ลุ่มน�้ำมีดและลุ่มน�้ำสบสาย ท�ำให้ผู้เขียนสามารถเสนอทางเลือกต่างๆ เพื่อเป็น
ทางออกจากปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชันในจังหวัดน่าน
ส�ำหรับโครงสร้างของการน�ำเสนอนั้นในบทถัดไปผู้เขียนอธิบายข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านผู้ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในวงจรการปลูกและผลตอบแทนที่เกษตรกร
ได้จากอาชีพนี้
บทที่3น�ำเสนอทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่สามารถอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นที่น่านและใช้แนวคิด
ดังกล่าวเสนอแนะทางออกเพื่อให้เห็นตัวอย่างประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการแก้ปัญหา ในบทนี้ผู้เขียนยก
ตัวอย่างกรณีศึกษาโครงการ Sloping land conversion program ในจีน  โครงการ PSA ในคอสตา
ริก้าโดยผลการด�ำเนินงาน อุปสรรค และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในโครงการเหล่านี้ สามารถสรุปเป็นบท
เรียนที่น่าสนใจและน่าเรียนรู้นอกจากนี้ยังได้สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมของเกษตรกรไว้ในบทที่ 3 นี้เช่นกัน
ในบทที่4ผู้เขียนถ่ายทอดลักษณะของพื้นที่ศึกษาทั้งลุ่มน�้ำมีดและลุ่มน�้ำสบสายในจังหวัดน่าน
รวมถึงวิธีการศึกษาและเก็บข้อมูล พื้นที่ทั้ง 2 ที่เป็นพื้นที่ศึกษาในงานชิ้นนี้เป็นพื้นที่ตัวอย่างของการน�ำ
แนวทางพัฒนาแบบ Win-Win มาใช้ในการแก้ปัญหา ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ลุ่มน�้ำมีดนั้นจะไม่
ได้เกิดจากการแทรกแซงหรือพยายามเข้าไปแก้ไขปัญหาจากองค์ภายนอกหรือจากภาครัฐแต่ปฏิเสธไม่
ได้เลยว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายในพื้นที่สะท้อนให้เห็นแก่นของการพัฒนาแบบ Win-Win
อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด
บทที่5แสดงรายละเอียดของทางเลือกต่างๆที่มีการด�ำเนินการอยู่ในพื้นที่ทั้ง2ลุ่มน�้ำ ผู้เขียน
เปรียบเทียบผลตอบแทนจากทางเลือกเหล่านี้กับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อแสดงความเป็นไปได้ใน
ทางเศรษฐศาสตร์ของการลดการปลูกข้าวโพดในพื้นที่ชันและน�ำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ทางเลือก
เหล่านี้ในพื้นที่อื่น
ในบทที่ 6 ผู้เขียนสรุปบทเรียนที่ได้จากการศึกษาพื้นที่ทั้ง 2 ลุ่มน�้ำ และสะท้อนมุมมองที่
เกษตรกรมีต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้งปัญหา อุปสรรค รวมถึงตัวแปรส�ำคัญของการ
เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในลุ่มน�้ำทั้ง 2 มีความแตกต่างกัน โดยจะ
เห็นได้ว่าบทเรียนจากลุ่มน�้ำมีดได้ชูประเด็นความส�ำคัญของการมีพื้นที่ราบและใช้ที่ราบที่มีให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดเป็นปัจจัยสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ ในขณะที่บทเรียนจากลุ่มน�้ำสบสายได้สะท้อน
ความส�ำคัญของการใช้มาตรการอุดหนุนในการผลักดันการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้การตอบสนองต่อ
มาตรการอุดหนุนของเกษตรกรที่มีข้อจ�ำกัดต่างกันไป ผลการศึกษาเหล่านี้ล้วนเป็นจุดตั้งต้นส�ำคัญใน
การออกแบบมาตรการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
บทที่ 7 เป็นการสังเคราะห์ผลการวิจัยทั้งหมดรวมกัน เพื่อน�ำเสนอกลไกหลักที่น�ำไปสู่การ
เปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน แล้วจึงน�ำสู่บทสรุปสุดท้ายในบทที่ 8 ที่ผู้เขียนตั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อมา
เสริมองค์ประกอบต่างๆ ที่จ�ำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก6
บทที่ 2
การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ในจังหวัดน่าน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก8
ข้าวโพด(Maize)เป็นพืชที่มีการปลูกในเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลกเนื่องจากเป็นพืชที่ขึ้นได้ในหลาย
สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ และเป็นพืชอาหารที่ส�ำคัญมากที่สุดชนิดหนึ่งในโลกในปัจจุบัน โดยมี
ทั้งพันธุ์ที่ใช้บริโภคโดยคน (เช่น ข้าวโพดหวาน) และพันธุ์ที่น�ำไปใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์ (ข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์) และในปัจจุบันมีการน�ำผลผลิตข้าวโพดไปใช้ในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น ยา สารเคมี เอทานอล
เป็นต้น
ส�ำหรับในประเทศไทยกว่าร้อยละ90ของการปลูกข้าวโพดในประเทศไทยเป็นการปลูกข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์ เพื่อน�ำไปผลิตอาหารสัตว์ และส่วนใหญ่เป็นการปลูกพันธุ์ลูกผสมซึ่งให้ผลผลิตสูง จากสถิติ
การปลูกข้าวโพดของไทยพบว่ามีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากประมาณ 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2513 เป็น
ถึง 5.1 ล้านตันในปี พ.ศ. 2557 โดยในปี พ.ศ. 2557 คาดว่ามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดในประเทศไทย
ประมาณ 7.5 ล้านไร่ (ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557)
ในส่วนของราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศพบว่า ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศจะ
เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก โดยในช่วงปี พ.ศ.
2548-2551ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หน้าฟาร์มในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากประมาณเกือบ
5 บาทเป็น 8 บาทต่อกิโลกรัม แต่นับจากปี พ.ศ. 2552 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศเริ่มอยู่ในแนว
โน้มทรงตัว
2.1 ข้อมูลเบื้องต้นการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน
จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่อยู่ติดชายแดนไทย-ลาวในภาคเหนือของประเทศไทยและเป็นจังหวัด
ที่มีความส�ำคัญในเชิงนิเวศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นแหล่งต้นน�้ำที่ส�ำคัญของประเทศ คือ ต้นน�้ำน่าน
ซึ่งเป็นต้นน�้ำสายหนึ่งของแม่น�้ำเจ้าพระยาและปริมาณน�้ำกว่าร้อยละ 40 ของแม่น�้ำเจ้าพระยาก็มาจาก
แม่น�้ำน่านนี้
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ป่าไม้ในจังหวัดน่านถูกท�ำลายไปเป็นจ�ำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2547 จังหวัด
น่านมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดกว่า 5.3 ล้านไร่ คิดเป็นกว่าร้อยละ 74 ของพื้นที่จังหวัด อย่างไรก็ตาม ข้อมูล
ล่าสุดในปี พ.ศ. 2556 จังหวัดน่านเหลือพื้นที่ป่าไม้เพียง 4.65 ล้านไร่ (ร้อยละ 61 ของพื้นที่จังหวัด)
เท่านั้น (ภาพที่ 2.1) แสดงให้เห็นถึงปัญหาการตัดไม้ท�ำลายป่าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีสาเหตุส�ำคัญ
ประการหนึ่งจากการขยายตัวของพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ในจังหวัดน่าน2
บทที่
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 9
ในช่วง10ปีที่ผ่านมาพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
โดยในปี 2548 จังหวัดน่านมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดไม่ถึง 3 แสนไร่แต่ในปี 2552 พื้นที่เพาะปลูกได้เพิ่ม
ขึ้นเป็นเกือบ 9 แสนไร่ หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ในช่วง 4 ปีดังกล่าว (ภาพที่ 2.2) และล่าสุดในปี พ.ศ.
2557 จังหวัดน่านมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 803,050 ไร่ (ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ) คาดว่าจะมีผลผลิตเกือบ 0.5 ล้านตัน และเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ (รองจากจังหวัดเพชรบูรณ์) (ส�ำนักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร 2557)4
จากลักษณะทางกายภาพของจังหวัดน่านที่พื้นที่ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 85 เป็นที่ลาดชัน มีฝน
ตกในช่วงกลางปีเท่านั้น รวมทั้งมีระบบชลประทานจ�ำกัด ท�ำให้เกษตรกรในจังหวัดน่าน (โดยเฉพาะที่
อยู่ในพื้นที่ลาดชัน)ไม่มีทางเลือกในการท�ำการเกษตรมากนักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จึงเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก
ของจังหวัดน่านมากว่า 30 ปี เนื่องจากเป็นพืชที่สามารถปลูกในพื้นที่ลาดชันได้ดี ต้องการน�้ำน้อย และ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังเป็นพืชที่ตอบโจทย์ความต้องการและผลประโยชน์ของผู้เล่นที่เกี่ยวข้อง โดย
เกษตรกรนิยมปลูกเพราะปลูกได้ง่าย มีคนรับซื้อแน่นอน ส่วนพ่อค้าคนกลางและผู้รวบรวมก็ได้ก�ำไรดี
สามารถขยายฐานลูกค้าเกษตรกรผ่านการให้สินเชื่อเป็นวัตถุดิบได้ง่ายและท�ำให้ได้ประโยชน์จากการ
ขายวัตถุดิบได้มากขึ้นพร้อมๆ กับการเก็บดอกเบี้ยจากการให้เชื่อวัตถุดิบ ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรฯ
(ธกส.)ในฐานะผู้ให้สินเชื่อในระบบก็ไม่ต้องกังวลมากเรื่องความเสี่ยงของการค้างช�ำระหนี้เพราะเกษตรกร
ภาพที่ 2.1 พื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่าน พ.ศ. 2547-2556 (ล้านไร่)
ที่มา: กรมป่าไม้ (2557)
4	
เป็นข้อมูลการขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร โดยคาดว่าพื้นที่เพาะปลูกจริงจะมากกว่านี้มาก
เนื่องจากมีเกษตรกรหลายรายที่ไม่มาขึ้นทะเบียนการปลูก
5.40
5.20
5.00
4.80
4.60
4.40
4.20
	 2547	2548	2549	2550	2551	2552	2553	2554	2555	2556
5.31
5.16
5.06
5.10
5.8
5.05
4.95
4.85
4.75
4.65
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก10
ปลูกตามฤดูกาลแน่นอนและสามารถใช้ระบบค�้ำประกันกลุ่มได้เนื่องจากเกษตรกรปลูกกันหลายราย
นอกจากนี้เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่มีเกษตรกรปลูกกันหลายรายท�ำให้นโยบายเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์มีความเชื่อมโยงกับฐานเสียงทางการเมืองไปด้วย
เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านเกือบทั้งหมดเป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่เพาะ
ปลูก 10-100 ไร่ต่อครัวเรือน โดยปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยว ส่วนใหญ่ปลูกตามพื้นที่ลาดชัน ไม่มีการใช้
เครื่องจักรมากนัก มีผลผลิตต่อไร่อยู่ระหว่าง 400-1,200 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ในแต่ละพื้นที่พันธุ์ที่ใช้ปลูกและกรรมวิธีการปลูกในภาพรวมแล้วการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัด
น่านมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีการใช้สารเคมีในการผลิต
ในระดับที่ค่อนข้างสูง
การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านมีทั้งการปลูกในพื้นที่ราบและพื้นที่ลาดชัน การปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ราบเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้ระบบขายสด โดยเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดทันที
ที่สามารถเก็บผลผลิตได้ ข้าวโพดที่ได้จะมีความชื้นสูง (สูงกว่าร้อยละ 30) ท�ำให้มีราคาต่อหน่วยที่ต�่ำ 
แต่จะได้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรที่ปลูกในที่ราบจะได้ผลผลิต950กิโลกรัมต่อไร่5
และ
เกษตรกรบางรายสามารถสามารถปลูกได้ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งสามารถท�ำนาหรือท�ำไร่พืชชนิดอื่นได้หลังจาก
เก็บเกี่ยวข้าวโพด ท�ำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อปีสูงกว่าเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ลาดชัน ข้าวโพด
ที่ปลูกในที่ราบจะแบ่งออกเป็นสองรุ่นคือข้าวโพดรุ่นหนึ่งซึ่งจะเริ่มปลูกในเดือนพฤษภาคมและเก็บเกี่ยว
ผลผลิตได้ตั้งแต่เดือนกันยายนไปจนถึงเดือนธันวาคมและข้าวโพดรุ่นสองซึ่งจะเริ่มปลูกหลังจากรุ่นหนึ่ง
เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมจะสามารถเก็บเดี่ยวได้อีกครั้งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ภาพที่ 2.2 พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2548-2555 (ล้านไร่)
ที่มา: ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2557)
1.0
0.8
0.6
0.4
0.2
0.0
	2548	2549	2550	2551	2552	2553	2554	2555
0.29
0.36 0.38
0.58
0.85
0.80
0.84
0.88
5
	ข้อมูลจากการส�ำรวจเกษตรกรใน อ.เวียงสา จ.น่าน ใน เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555)
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58

More Related Content

Viewers also liked

Mengenal al qur'an
Mengenal al qur'anMengenal al qur'an
Mengenal al qur'anMul Yadi
 
LifeGuard safety hose high pressure and cryogenic hose specification sheets
LifeGuard safety hose high pressure and cryogenic hose specification sheetsLifeGuard safety hose high pressure and cryogenic hose specification sheets
LifeGuard safety hose high pressure and cryogenic hose specification sheetsAndy Abrams
 
Sedsad no. 46ม.ค. ก.พ 2558
Sedsad no. 46ม.ค. ก.พ 2558Sedsad no. 46ม.ค. ก.พ 2558
Sedsad no. 46ม.ค. ก.พ 2558somporn Isvilanonda
 
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...Catalogic Software
 
Physiclo slide deck
Physiclo slide deckPhysiclo slide deck
Physiclo slide deckFrank Yao
 
ทำไมข้าวหอมมะลิราคาตก
ทำไมข้าวหอมมะลิราคาตกทำไมข้าวหอมมะลิราคาตก
ทำไมข้าวหอมมะลิราคาตกsomporn Isvilanonda
 
Itil implementation and usages seminar
Itil implementation and usages seminarItil implementation and usages seminar
Itil implementation and usages seminarrsaebi
 
Proyecto final de español 1!
Proyecto final de español 1!Proyecto final de español 1!
Proyecto final de español 1!diannejennifer
 
ตลาดข้าวนึ่งโลกและการส่งออกของไทย เศรษฐศาสตร์ตลาดข้าว ข้าวไทย_ปีที่9_ฉบับที่5...
ตลาดข้าวนึ่งโลกและการส่งออกของไทย เศรษฐศาสตร์ตลาดข้าว ข้าวไทย_ปีที่9_ฉบับที่5...ตลาดข้าวนึ่งโลกและการส่งออกของไทย เศรษฐศาสตร์ตลาดข้าว ข้าวไทย_ปีที่9_ฉบับที่5...
ตลาดข้าวนึ่งโลกและการส่งออกของไทย เศรษฐศาสตร์ตลาดข้าว ข้าวไทย_ปีที่9_ฉบับที่5...somporn Isvilanonda
 
Garcinia cambogia: nuovo estratto miracolose per perdere peso velocemente. Tu...
Garcinia cambogia: nuovo estratto miracolose per perdere peso velocemente. Tu...Garcinia cambogia: nuovo estratto miracolose per perdere peso velocemente. Tu...
Garcinia cambogia: nuovo estratto miracolose per perdere peso velocemente. Tu...muddledreferee887
 

Viewers also liked (15)

Mengenal al qur'an
Mengenal al qur'anMengenal al qur'an
Mengenal al qur'an
 
Ela mod1 lssn7
Ela mod1 lssn7Ela mod1 lssn7
Ela mod1 lssn7
 
LifeGuard safety hose high pressure and cryogenic hose specification sheets
LifeGuard safety hose high pressure and cryogenic hose specification sheetsLifeGuard safety hose high pressure and cryogenic hose specification sheets
LifeGuard safety hose high pressure and cryogenic hose specification sheets
 
Sedsad no. 46ม.ค. ก.พ 2558
Sedsad no. 46ม.ค. ก.พ 2558Sedsad no. 46ม.ค. ก.พ 2558
Sedsad no. 46ม.ค. ก.พ 2558
 
My Life My Plans
My Life My PlansMy Life My Plans
My Life My Plans
 
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...
Modernize and Transform your IT with NetApp Storage and Catalogic Copy Data M...
 
Physiclo slide deck
Physiclo slide deckPhysiclo slide deck
Physiclo slide deck
 
AIET-INNOVATION CENTER
AIET-INNOVATION CENTER AIET-INNOVATION CENTER
AIET-INNOVATION CENTER
 
ทำไมข้าวหอมมะลิราคาตก
ทำไมข้าวหอมมะลิราคาตกทำไมข้าวหอมมะลิราคาตก
ทำไมข้าวหอมมะลิราคาตก
 
Itil implementation and usages seminar
Itil implementation and usages seminarItil implementation and usages seminar
Itil implementation and usages seminar
 
Proyecto final de español 1!
Proyecto final de español 1!Proyecto final de español 1!
Proyecto final de español 1!
 
ตลาดข้าวนึ่งโลกและการส่งออกของไทย เศรษฐศาสตร์ตลาดข้าว ข้าวไทย_ปีที่9_ฉบับที่5...
ตลาดข้าวนึ่งโลกและการส่งออกของไทย เศรษฐศาสตร์ตลาดข้าว ข้าวไทย_ปีที่9_ฉบับที่5...ตลาดข้าวนึ่งโลกและการส่งออกของไทย เศรษฐศาสตร์ตลาดข้าว ข้าวไทย_ปีที่9_ฉบับที่5...
ตลาดข้าวนึ่งโลกและการส่งออกของไทย เศรษฐศาสตร์ตลาดข้าว ข้าวไทย_ปีที่9_ฉบับที่5...
 
Garcinia cambogia: nuovo estratto miracolose per perdere peso velocemente. Tu...
Garcinia cambogia: nuovo estratto miracolose per perdere peso velocemente. Tu...Garcinia cambogia: nuovo estratto miracolose per perdere peso velocemente. Tu...
Garcinia cambogia: nuovo estratto miracolose per perdere peso velocemente. Tu...
 
Photocontest 07
Photocontest 07Photocontest 07
Photocontest 07
 
Ela mod1 lssn4
Ela mod1 lssn4Ela mod1 lssn4
Ela mod1 lssn4
 

Similar to ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58

ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยsomporn Isvilanonda
 
Kick off nrct
Kick off nrctKick off nrct
Kick off nrctrattapol
 
Stks Opac Presentation
Stks Opac PresentationStks Opac Presentation
Stks Opac PresentationDMS Library
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2559 (ฉบับที่ 21)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2559 (ฉบับที่ 21)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2559 (ฉบับที่ 21)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2559 (ฉบับที่ 21)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
Assignment 4-การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
Assignment 4-การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้Assignment 4-การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
Assignment 4-การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้Jintana Deenang
 
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาเมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาFURD_RSU
 
การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุน#1
การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุน#1การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุน#1
การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุน#1Prachyanun Nilsook
 

Similar to ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58 (20)

ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
ห้าทศวรรษการพัฒนาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
 
V 282
V 282V 282
V 282
 
Kick off nrct
Kick off nrctKick off nrct
Kick off nrct
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
 
V 293
V 293V 293
V 293
 
Herp congress-v
Herp congress-vHerp congress-v
Herp congress-v
 
Tsmt vol16
Tsmt vol16Tsmt vol16
Tsmt vol16
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559
 
Stks Opac Presentation
Stks Opac PresentationStks Opac Presentation
Stks Opac Presentation
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2559 (ฉบับที่ 21)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2559 (ฉบับที่ 21)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2559 (ฉบับที่ 21)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2559 (ฉบับที่ 21)
 
V 251
V 251V 251
V 251
 
V 300
V 300V 300
V 300
 
Assignment 4-การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
Assignment 4-การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้Assignment 4-การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
Assignment 4-การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
 
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาเมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
 
Varasan
VarasanVarasan
Varasan
 
V 278
V 278V 278
V 278
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563
 
การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุน#1
การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุน#1การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุน#1
การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุน#1
 
Stem workshop summary
Stem workshop summaryStem workshop summary
Stem workshop summary
 

More from somporn Isvilanonda

การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19somporn Isvilanonda
 
Thailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agricultureThailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agriculturesomporn Isvilanonda
 
Factor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price riseFactor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price risesomporn Isvilanonda
 
Somporn reearch management 19 07-2019
Somporn reearch management  19 07-2019Somporn reearch management  19 07-2019
Somporn reearch management 19 07-2019somporn Isvilanonda
 
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19
Durian production and consumption and thailand export  7.06.19Durian production and consumption and thailand export  7.06.19
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19somporn Isvilanonda
 
Planting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial assetPlanting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial assetsomporn Isvilanonda
 
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบการจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบsomporn Isvilanonda
 
Thailand rice production reform
Thailand rice production reform Thailand rice production reform
Thailand rice production reform somporn Isvilanonda
 
Driving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward researchDriving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward researchsomporn Isvilanonda
 
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้somporn Isvilanonda
 
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืนsomporn Isvilanonda
 
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทยเกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทยsomporn Isvilanonda
 
The future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economyThe future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economysomporn Isvilanonda
 
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555somporn Isvilanonda
 
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017somporn Isvilanonda
 
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯsomporn Isvilanonda
 
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทยความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทยsomporn Isvilanonda
 
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทายอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทายsomporn Isvilanonda
 

More from somporn Isvilanonda (20)

การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
การปรับตัวของภาคเกษตรและอาหารไทยจากการระบาดโควิด 19
 
World rice market and covid 19
World rice market and covid 19World rice market and covid 19
World rice market and covid 19
 
Thailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agricultureThailand economic depression and role of agriculture
Thailand economic depression and role of agriculture
 
Factor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price riseFactor influencing glutinous price rise
Factor influencing glutinous price rise
 
Somporn reearch management 19 07-2019
Somporn reearch management  19 07-2019Somporn reearch management  19 07-2019
Somporn reearch management 19 07-2019
 
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19
Durian production and consumption and thailand export  7.06.19Durian production and consumption and thailand export  7.06.19
Durian production and consumption and thailand export 7.06.19
 
Planting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial assetPlanting forest tree for financial asset
Planting forest tree for financial asset
 
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบการจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
 
Thailand rice production reform
Thailand rice production reform Thailand rice production reform
Thailand rice production reform
 
Driving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward researchDriving thailand rice economy toward research
Driving thailand rice economy toward research
 
Agricultural product innovation
Agricultural product innovationAgricultural product innovation
Agricultural product innovation
 
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
การพึ่งพิงตนเองเรื่องข้าวของประเทศในเอเชียใต้
 
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
13 02-18 การปรับตัวของชาวนาบนเส้นทางที่ยั่งยืน
 
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทยเกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
เกษตรไทย 4.0 เปลี่ยนแนคิดเปลี่ยนวิถีเกษตรไทย
 
The future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economyThe future of Thailand's rice economy
The future of Thailand's rice economy
 
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด  เมษายน 2555
ข้าวไทยกับอำนาจเหนือตลาด เมษายน 2555
 
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
Rice policy in thailand production and economic issues (1), june 20, 2017
 
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
ทิศทางการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ฯ
 
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทยความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
ความต้องการและสถานการณืพืชสวนไทย
 
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทายอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
อุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ สถานภาพและความท้าทาย
 

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า เอกสารวิชาการ Knit 27 4-58

  • 1.
  • 2.
  • 3. ผู้เขียน: สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน เขมรัฐ เถลิงศรี จำ�นวน: 1,000 เล่ม พิมพ์ครั้งที่ 1: เมษายน 2558 เอกสารวิชาการหมายเลข 7 จัดพิมพ์โดย: สถาบันคลังสมองของชาติ ชั้น 22B อาคารมหานครยิบซั่ม เลขที่ 539/2 ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ชั้น 14 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ เลขที่ 979/17-21 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 ออกแบบและจัดพิมพ์: บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง จำ�กัด เลขที่ 28 ซอยลาดพร้าว 35 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์: 0 2938-3306-8 โทรสาร: 0 2938-0188 เอกสารเผยแพร่สำ�นักประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัยเชิงนโยบาย” สถาบันคลังสมองของชาติร่วมกับสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย เอกสารเล่มนี้เป็นการสังเคราะห์จากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษามาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน: กรณีศึกษา จังหวัดน่าน” ได้รับทุนอุดหนุนวิจัยจากสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายใต้สัญญาเลขที่ RDG5620035 ภาพปก ทิวเขาถ่ายโดย คุณธนัสธรณ์ กังวาลสงค์วงษ์ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก.-- กรุงเทพฯ : สถาบันคลังสมองของชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, 2558. 114 หน้า. 1. ข้าวโพด--การปลูก. 2. อาหารสัตว์. I. เขมรัฐ เถลิงศรี, ผู้แต่งร่วม. I. ชื่อเรื่อง. 633.15 ISBN 978-616-372-339-0
  • 4. ค�ำนิยม ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)มีพันธกิจในการสนับสนุนทุนวิจัย การพัฒนานักวิจัย การบริหารงานวิจัยและพัฒนาระบบวิจัยของประเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่สังคมฐาน ความรู้ (Knowledge Based Society) ในทิศทางที่จะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ เป้าหมายส�ำคัญของ สกว. ในระยะต่อไป คือการพัฒนาการบริหารจัดการการวิจัยที่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในระบบวิจัยได้อย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตและความแข็งแรงของระบบวิจัย โดยใช้ทักษะการบริหารจัดการเพื่อสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง น�ำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและสามารถ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีคุณภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ ส�ำหรับทศวรรษต่อไปของ สกว. การสังเคราะห์ความรู้จากผลงานวิจัยเป็นการบริหารจัดการ ความรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่ สกว. ให้ความส�ำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการสังเคราะห์ความรู้เป็นทั้งกลไก บูรณาการระหว่างงานวิจัยเรื่องต่างๆ สาขาต่างๆ และเป็นการยกระดับข้อค้นพบจากงานวิจัยภายใต้ ประเด็นวิจัยที่ให้ทุนสนับสนุน ให้เกิดความชัดเจนเพียงพอทั้งเพื่อการน�ำไปใช้ต่อยอดงานวิจัยและการ น�ำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ รวมถึงการจัดท�ำข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ ตลอดจนการสร้าง ผลกระทบให้เกิดขึ้นกับสังคมในแง่มุมที่หลากหลาย เอกสารวิชาการเรื่อง “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก” เล่มนี้ เป็นผลงานของ ผศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน และ ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้น�ำข้อความรู้จากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษามาตรการสร้างแรงจูงใจ เพื่อลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน” มาสังเคราะห์และเรียบเรียง ขึ้นใหม่ โดยมีส�ำนักงานประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่าย งานวิจัยเชิงนโยบาย” สถาบันคลังสมองของชาติ เป็นบรรณาธิการให้กับเอกสารวิชาการนี้ ซึ่ง สกว. ขอแสดงความชื่นชมและขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ สกว. หวังว่าเนื้อหาจากงานสังเคราะห์ความรู้ “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก” เล่มนี้จะน�ำไปสู่การศึกษาต่อยอดการวิจัยและการใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ป่าของชุมชนรวมถึงการสร้างมาตรการการจัดการทรัพยากรเชิงพื้นที่เพื่อลดปัญหา ความขัดแย้งจากการบุกรุกพื้นที่ป่า พร้อมทั้งมีการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่เป็นธรรม อันจะน�ำไปสู่ความส�ำเร็จของการอนุรักษ์ทรัพยากรเชิงพื้นที่ของชุมชนได้อย่างยั่งยืน ศาสตราจารย์นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
  • 5. ค�ำน�ำผู้เขียน เมื่อประมาณ5ปีก่อนผู้เขียนได้รับโอกาสให้ศึกษาวิจัยในหัวข้อเรื่อง“ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กลไก สู่ความเหลื่อมล�้ำในระดับท้องถิ่น กรณีศึกษา: ห่วงโซ่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ.เวียงสา จ.น่าน” เป็น ส่วนหนึ่งของโครงการ“สู่สังคมเสมอหน้าการศึกษาโครงสร้างความมั่งคั่งและโครงสร้างอ�ำนาจเพื่อการ ปฏิรูป”(ได้รับการสนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยโดยมีศ.ดร.ผาสุกพงษ์ไพจิตรเป็น หัวหน้าโครงการ)โดยงานวิจัยดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์กลไกในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สร้างความ เหลื่อมล�้ำในพื้นที่ ในช่วง 2 ปีที่ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลโดยการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ประชาชน และองค์กรต่างๆ ที่เข้าไปท�ำงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดน่าน ท�ำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงความซับซ้อน และรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยความจริงนั้น หลังจากจบโครงการวิจัยดังกล่าว ผู้เขียนรู้สึกท้อแท้และหมดหวังกับความ พยายามในการหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากขนาดของพื้นที่ปัญหาที่ใหญ่โตและลุกลามไปมาก เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องก็มีจ�ำนวนมากมายประกอบกับกระแสจากธุรกิจปลายน�้ำที่พยายามผลักดัน ให้มีการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นตามความต้องการที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเพิ่มความ ซับซ้อนและรุนแรงของปัญหาดังกล่าว ทางออกในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งที่ดูมืดมนจนถึงขั้นเป็นไปไม่ได้ ในเวลาต่อมาผู้เขียนได้มีโอกาสได้เข้าร่วมงานสัมมนาและไปศึกษาดูงานในด้านการอนุรักษ์ที่ หน่วยจัดการต้นน�้ำมีด อ.เชียงกลาง จ.น่าน จุดนี้เองที่ท�ำให้ผู้เขียนได้เห็นถึงความพยายามในการแก้ ปัญหาจากจุดเล็กๆ และรับรู้ถึงความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากการอนุรักษ์พื้นที่ป่าของชาว บ้านอย่างไรก็ตามเมื่อผู้เขียนได้พยายามถ่ายทอดเรื่องราวการด�ำเนินงานที่ประสบความส�ำเร็จในพื้นที่ ดังที่ได้พบเห็นมา ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่กลับมองไม่เห็นถึงคุณค่าของการด�ำเนินงานดังกล่าวนัก โดย ส่วนใหญ่มองว่าเป็นความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นจากความบังเอิญและมีความจ�ำเพาะเจาะจงในพื้นที่เท่านั้นแม้ กระทั่งหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงหลายหน่วยงานก็ไม่ได้พยายามที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ และความส�ำเร็จนั้นเลย นอกจากนี้ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันผู้เขียนก็ได้มีโอกาสศึกษาพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการด�ำเนินงานภายใต้โครงการปิดทองหลังพระฯเพิ่มมากขึ้นก็ยิ่งได้เห็นถึงความตั้งใจในการแก้ปัญหา ในพื้นที่จากความร่วมมือกันของคนหลายฝ่าย แม้ว่าการด�ำเนินงานในทั้ง 2พื้นที่จะเป็นไปตามแนวทาง ที่แตกต่างกันบ้างแต่ต่างก็มีจุดหมายหลักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเช่นเดียวกัน ในฐานะที่เป็นนักวิชาการผู้เขียนจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะศึกษาบทเรียนการด�ำเนินงานในทั้ง 2พื้นที่เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่จะสามารถน�ำไปใช้ในการแก้ปัญหาการบุกรุกท�ำลายพื้นที่ป่าไม้ที่เกิดขึ้น ในพื้นที่อื่นๆ ได้ และนับเป็นความโชคดีที่ผู้เขียนได้รับโอกาสและการสนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัยและสถาบันคลังสมองของชาติให้ศึกษาเรื่อง “การศึกษามาตรการสร้างแรงจูงใจเพื่อ ลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน:กรณีศึกษาจังหวัดน่าน”และได้รับโอกาสให้เผยแพร่องค์ ความรู้ที่เกิดขึ้นในเอกสารเล่มนี้
  • 6. ผู้เขียนขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งต่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการท�ำงานวิจัยและเรียนรู้ตลอด ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยขอแสดงความขอบคุณเป็นพิเศษต่อ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ที่สนับสนุนงบประมาณในการท�ำวิจัยและเผยแพร่ สถาบันคลังสมองของชาติที่ช่วยประสานงานโครงการและช่วยผลักดันให้เกิดโครงการวิจัยขึ้นได้ รศ.สมพร อิศวิลานนท์ และดร.ปิยะทัศน์ พาฬอนุรักษ์ ที่ให้โอกาสและข้อแนะน�ำอันมีประโยชน์ยิ่ง และรศ.ดร.พอพันธ์ อุยยานนท์ ที่ให้ค�ำปรึกษา ข้อแนะน�ำและก�ำลังใจในการศึกษา นางสาวชนัญชิดา สิงคมณี ส�ำหรับการประสานงานและค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ นายรัตน์ ครุฑนา ที่สละเวลาหลายต่อหลายครั้งในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างไม่มีเหน็ดเหนื่อยเพื่อให้ผู้เขียนเข้าใจถึงความซับซ้อน ของปัญหาและกรุณาประสานงานในพื้นที่หลายๆ ต�ำบลตั้งแต่เริ่มงานวิจัยโครงการแรก นายบัณฑิตฉิมชาติ(หัวหน้าฉิม)และทีมงานหน่วยจัดการต้นน�้ำมีดที่ช่วยติดต่อประสานงาน และอ�ำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่ลุ่มน�้ำมีดและร่วมแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์ที่มีค่ายิ่งตลอด จนเป็นแรงบันดาลใจที่ส�ำคัญที่ท�ำให้คณะผู้วิจัยมีก�ำลังใจในการท�ำงาน ผอ.การัณย์ ศุภกิจวิเลขการ นายธนกร รัชตานนท์ และ นายพิชิต ยาละ และทีมงานโครงการ ปิดทองหลังพระฯที่ช่วยอ�ำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่ลุ่มน�้ำสบสายและอนุเคราะห์ข้อมูลและเล่า เรื่องราวในพื้นที่ ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน และชาวบ้านทุกท่าน ที่ช่วยกันให้ข้อมูลกับทีมวิจัยด้วยความเต็มใจ ส�ำนักเกษตรอ�ำเภอเวียงสา เชียงกลาง และท่าวังผา ที่ช่วยอนุเคราะห์ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้อง ผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นทุกท่านส�ำหรับความเห็นและข้อเสนอแนะที่ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัย นายวศิน โรจยารุณ และนายวิธวิทย์ ฟูจิตนิรันดร์ ส�ำหรับความช่วยเหลือในการเก็บข้อมูล จัดข้อมูล และประมวลผลเบื้องต้น และนายวศิน โชคชนะชัยสกุล นางสาวพิมพ์ชนก โชติกมาศ นายรัฐศิริวชิรปัญญานนท์นายวทัญญูคุณาพรสุจริตนายวัชรพงศ์ชื่นเมืองนายศรัณย์กฤชธนพัฒน์กิติโรจน์ และนายธันวา แผนสท้าน ส�ำหรับความช่วยเหลือในการเก็บข้อมูลและลงพื้นที่ สุดท้ายนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาในเอกสารเล่มนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะน�ำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคตหรือแม้กระทั่งจะช่วยจุดประกายในการศึกษาในเรื่องเกี่ยวเนื่องต่อไปและ หากมีข้อผิดพลาดประการใดที่เกิดขึ้น ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงฝ่ายเดียว ผศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี
  • 7. บทบรรณาธิการ ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และท�ำการเกษตรบนพื้นที่ลาดชันนั้น ในด้านหนึ่งกล่าวกันว่าเป็นแรงกดดันจากภาวะความยากจนและความเดือดร้อนจากการไม่มีที่ดินท�ำกิน ของครัวเรือนเกษตร ในอีกด้านหนึ่งก็ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควัน จากการเผาป่าและไร่ข้าวโพด อีกทั้ง เป็นที่หวั่นเกรงกันว่าการสูญเสียพื้นที่ป่าอนุรักษ์ต้นน�้ำเป็นสาเหตุส�ำคัญอันน�ำไปสู่การเกิดภัยธรรมชาติ ต่างๆ ทั้งจากการเกิดโคลนถล่ม การไหล่บ่าของน�้ำป่า และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดล้อม ซึ่งสร้างผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมและเกรงว่าหากปล่อยให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไปมากกว่าสภาพ ที่เป็นอยู่ จะน�ำมาซึ่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมในวงกว้าง ท่ามกลางของภาวะวิกฤตที่เกิดจากการรุกพื้นที่ป่าต้นน�้ำในจังหวัดน่าน ไปพร้อมๆ กับการ ขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การศึกษาวิจัยของ ผศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน และ ผศ.ดร.เขมรัฐเถลิงศรีในเอกสารเล่มนี้ได้พบว่ายังมีพื้นที่ชุมชนส่วนหนึ่งในจังหวัดน่านได้พัฒนาเปลี่ยนแปลง พื้นที่ของชุมชนสู่แนวทางของการอนุรักษ์พื้นที่ป่าอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ได้พบว่าเกษตรกรในชุมชน ได้พร้อมใจรวมตัวกันในการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนที่ลาดชัน รวมถึงการคืนพื้นที่ที่เคยปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชันให้กลับเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นได้ ซึ่งเป็นแนวตัวอย่างที่น่าสนใจ และควรแก่การบันทึกให้สังคมได้รับรู้ ส�ำนักประสานงานชุดโครงการ “งานวิจัยเชิงนโยบายเกษตรและเสริมสร้างเครือข่ายงานวิจัย เชิงนโยบาย” เห็นว่าการเผยแพร่ข้อมูลและข้อความรู้ที่สะท้อนถึงความส�ำเร็จของชุมชนในการร่วมแรง ร่วมใจกันในการพลิกฟื้นท�ำให้พื้นที่ลาดชันได้กลับมาเป็นพื้นที่ป่าที่อนุรักษ์จะเป็นประโยชน์และเป็นบท เรียนรู้ที่ดีให้กับสังคมได้เห็นแนวทางการแก้ปัญหาและเป็นทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อลดปัญหาความขัด แย้งและน�ำไปสู่การร่วมมือกันเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ป่าให้เกิดขึ้นกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งส�ำนักงาน ประสานชุดโครงการฯ ใคร่ขอขอบคุณ ผศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน และ ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี ที่ได้ เป็นผู้จัดท�ำสังเคราะห์ข้อความรู้จากรายงานวิจัยขึ้นเป็นเอกสารวิชาการเล่มนี้ มา ณ โอกาสนี้ บรรณาธิการ มกราคม 2558
  • 8. สารบัญ หน้า 1 อารัมบท 01 ที่มาของปัญหา 02 2 การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน 07 2.1 ข้อมูลเบื้องต้นการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน 08 2.2 ขั้นตอนและผู้เกี่ยวข้องในวงจรการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 11 2.3 ผลตอบแทนของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 13 3 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และตัวอย่างในการแก้ปัญหา 21 3.1 แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม 22 3.2 มาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย 26 3.3 ตัวอย่างการใช้มาตรการอุดหนุนเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ 28 3.4 งานวิจัยอื่นๆ ในประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง 33 3.5 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกร 34 4 ตัวอย่างความส�ำเร็จของการพัฒนาแบบ Win-Win 37 และข้อมูลเบื้้องต้นของพื้นที่การศึกษา 4.1 วิธีการศึกษาและการเก็บข้อมูล 39 4.2 ข้อมูลเบื้องต้นของลุ่มน�้ำมีด 40 4.3 ข้อมูลเบื้องต้นของลุ่มน�้ำสบสาย 45 5 แนวทางการเปลี่ยนแปลงและผลตอบแทน 49 5.1 แนวทางการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน 50 5.2 การเปรียบเทียบผลตอบแทนของพืชทางเลือก 51 5.3 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้แนวทางเลือกต่างๆ ตามความเหมาะสมของพื้นที่ 56 5.4 สรุป 58 6 บทเรียนจากการเปลี่ยนแปลงในลุ่มน�้ำมีดและลุ่มน�้ำสบสาย 61 6.1 บทเรียนจากการเปลี่ยนแปลงในลุ่มน�้ำมีด 62 6.2 บทเรียนจากการเปลี่ยนแปลงในลุ่มน�้ำสบสาย 68 7 ปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนสู่ความส�ำเร็จของชุมชน 79 7.1 องค์ประกอบร่วมที่น�ำไปสู่ความส�ำเร็จในการเปลี่ยนแปลง 80 7.2 ความแตกต่างของการด�ำเนินงานที่มีแนวทางต่างกัน 82 8 สรุปและข้อเสนอแนะ 85 8.1 สรุปผลการศึกษา 86 8.2 ข้อเสนอแนะ 90 เอกสารอ้างอิง 97 ภาคผนวก 100
  • 9. สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 2.1 โครงสร้างต้นทุนการผลิตข้าวโพดต่อไร่ ปี พ.ศ. 2553 14 ตารางที่ 5.1 สรุปลักษณะ ผลตอบแทน และปัจจัยส�ำคัญในการปลูกพืชชนิดต่างๆ 53 ตารางที่ 5.2 เปรียบเทียบรายได้สุทธิจากการปลูกพืชทางเลือกกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ชัน 54 ตารางที่ 5.3 ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ในแบบต่าง 59 ตารางที่ 6.1 ข้อมูลเบื้องต้นจากการส�ำรวจของลุ่มน�้ำมีดและลุ่มน�้ำสบสาย 63 ตารางที่ 6.2 ผลของแบบจ�ำลอง OLS ที่อธิบายการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 64 ในที่ชัน กรณีลุ่มน�้ำมีด ตารางที่ 6.3 พฤติกรรมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชัน กรณีลุ่มน�้ำมีด 65 ตารางที่ 6.4 สาเหตุที่ท�ำให้เกษตรกรตัดสินใจลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน 65 กรณีลุ่มน�้ำมีด ตารางที่ 6.5 อุปสรรคในการลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน กรณีลุ่มน�้ำมีด 66 ตารางที่ 6.6 กระบวนการที่ส�ำคัญในการลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน กรณีลุ่มน�้ำมีด 67 ตารางที่ 6.7 การให้ความส�ำคัญกับประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงินจากการเปลี่ยนพฤติกรรม 67 กรณีลุ่มน�้ำมีด ตารางที่ 6.8 สรุปการให้ความส�ำคัญต่อมาตรการอุดหนุนต่างๆ ของเกษตรกร 73 ตารางที่ 6.9 ผลของแบบจ�ำลอง OLS ที่อธิบายการลดพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 74 ในพื้นที่ลาดชัน กรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ ตารางที่ 6.10 พฤติกรรมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชัน แบ่งตามขนาดพื้นที่ท�ำกิน 75 ในอดีต ในกรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ ตารางที่ 6.11 สาเหตุที่ท�ำให้เกษตรกรตัดสินใจลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน 76 ในกรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ ตารางที่ 6.12 อุปสรรคในการลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน 76 ในกรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ ตารางที่ 6.13 กระบวนการที่ส�ำคัญในการลดหรือเลิกปลูกข้าวโพดในที่ชัน 77 ในกรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ ตารางที่ 6.14 การให้ความส�ำคัญกับประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงินจากการเปลี่ยนพฤติกรรม 78 ในกรณีอยู่ในโครงการปิดทองหลังพระฯ ตารางที่ 7.1 ล�ำดับความส�ำคัญของความเห็นในด้านต่างๆ ของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ 82 ตารางที่ ก.1 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชัน 101 ตารางที่ ก.2 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกข้าวเหนียวนาปี 104 ตารางที่ ก.3 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกยาสูบ 107 ตารางที่ ก.4 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกผักกาดเขียวปลี 109 ตารางที่ ก.5 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกพริก 111 ตารางที่ ก.6 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ราบ 112 ตารางที่ ก.7 ต้นทุนและรายรับจากการปลูกถั่วลิสง 114
  • 10. สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 2.1 พื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่าน พ.ศ. 2547-2556 (ล้านไร่) 9 ภาพที่ 2.2 พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2548-2555 (ล้านไร่) 10 ภาพที่ 2.3 แผนผังขั้นตอนและผู้เกี่ยวข้องในวงจรการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน 12 ภาพที่ 2.4 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และรายได้สุทธิของเกษตรกรในที่ราบ 15 แบ่งตามแหล่งเงินทุน (บาท/กก.) ภาพที่ 2.5 รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อปีของเกษตรกรในที่ราบ (บาท/ปี) 15 ภาพที่ 2.6 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และรายได้สุทธิของเกษตรกรในที่ชัน 16 แบ่งตามแหล่งเงินทุน (บาท/กก.) ภาพที่ 2.7 รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อปีของเกษตรกรในที่ชัน (บาท/ปี) 17 ภาพที่ 2.8 วงจรอุบาทว์ของการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน 20 (Vicious Cycle of Highland Maize Farming) ภาพที่ 3.1 แนวคิดความขัดแย้งระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม 23 ภาพที่ 3.2 การพัฒนาเศรษฐกิจโดยขาดการค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อม น�ำไปสู่ Loss-Loss Solution 24 ภาพที่ 3.3 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างขาดการค�ำนึงถึงความเป็นอยู่ของคน 25 น�ำไปสู่ Loss-Loss Solution ภาพที่ 4.1 แผนที่และสภาพภูมิประเทศพื้นที่บริเวณบ้านแคว้ง บ้านเด่นพัฒนา 39 และบ้านน�้ำมีด อ.เชียงกลาง จ.น่าน ภาพที่ 4.2 แผนที่และสภาพภูมิประเทศพื้นที่บริเวณบ้านเด่นพัฒนา อ.เชียงกลาง จ.น่าน 41 ภาพที่ 4.3 แผนที่และสภาพภูมิประเทศพื้นที่บริเวณบ้านแคว้ง อ.เชียงกลาง จ.น่าน 42 ภาพที่ 4.4 การแบ่งพื้นที่บริเวณหมู่บ้านน�้ำมีด 43 ภาพที่ 4.5 ที่นาและป่าในปัจจุบัน หมู่บ้านน�้ำมีด 44 ภาพที่ 4.6 ตัวอย่างความส�ำเร็จของโครงการนาแลกป่าของนายรัตน์ แปงอุด (หมู่บ้านน�้ำมีด) 44 มีพื้นที่นาแลกป่าจ�ำนวน 3 ไร่ และพื้นที่ป่าแลกนาจ�ำนวน 10 ไร่ ภาพที่ 4.7 แผนที่และสภาพภูมิประเทศพื้นที่บริเวณบ้านน�้ำป้าก ห้วยธนู 46 และห้วยม่วง อ.ท่าวังผา จ.น่าน ภาพที่ 6.1 เปรียบเทียบการให้ความส�ำคัญกับมาตรการต่างๆ 71 ภาพที่ 6.2 เปรียบเทียบการให้ความส�ำคัญกับมาตรการต่างๆ แบ่งตามการปรับพฤติกรรม 71 การปลูกพืชในพื้นที่ลาดชัน ภาพที่ 7.1 องค์ประกอบและการด�ำเนินงานไปสู่การลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชัน 81 ภาพที่ ก.1 ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชัน 102 ภาพที่ ก.2 ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกข้าวเหนียวนาปี 105 ภาพที่ ก.3 ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกยาสูบ 108 ภาพที่ ก.4 ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกผักกาดเขียวปลี 110 ภาพที่ ก.5 ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกพริก 111 ภาพที่ ก.6 ปัจจัยส�ำคัญในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ราบ 113 ภาพที่ ก.7 ปัจจัยส�ำคัญต่อการปลูกถั่วลิสง 114
  • 11.
  • 13. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก2 อารัมภบท ที่มาของปัญหา ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านได้ขยายตัวขึ้นอย่าง รวดเร็ว ถึงเกือบ 3 เท่าในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 และในปี พ.ศ. 2557 จังหวัดน่านมีพื้นที่เพาะ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์803,050ไร่(ประมาณร้อยละ10ของพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย) (ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) ในขณะเดียวกันก็พบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว ป่าไม้ในจังหวัดน่าน ถูกท�ำลายไปอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2556 จังหวัดน่านเหลือพื้นที่ป่าไม้เพียง 4.65 ล้านไร่ (ร้อยละ 61 ของพื้นที่จังหวัด) เท่านั้น (กรมป่าไม้, 2557) การขยายตัวอย่างรวดเร็วของพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย โดยเฉพาะการ ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชัน ส่งผลกระทบต่อทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนใน พื้นที่เป็นอย่างมากจากข้อมูลระดับจังหวัดแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าในช่วง10ปีที่ผ่านมาปริมาณการปลูก ข้าวโพดในจังหวัดน่านและราคาผลผลิตจะขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก แต่ปัญหาความยากจนของ คนในพื้นที่กลับทวีความรุนแรงขึ้นไปด้วยในปีพ.ศ.2547จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมาก เป็นอันดับที่ 39 ของประเทศ แต่ในปี พ.ศ. 2554 ปัญหาความยากจนในจังหวัดน่านกลับเลวร้ายยิ่งขึ้น โดยพบว่าจังหวัดน่านมีสัดส่วนคนจนสูงมากเป็นอันดับที่ 21 ของประเทศ (ส�ำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2556) นอกจากปัญหาความยากจนแล้วการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ลาดชันยังก่อให้เกิดปัญหา ทางสิ่งแวดล้อมตามมาอีกมากมายทั้งปัญหาด้านดินเช่นปัญหาการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรง (ในเกือบทุกพื้นที่ของจังหวัด) ปัญหาคุณภาพดิน ปัญหาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม นอกจากนี้ยังมี ปัญหาการปนเปื้อนของมลพิษในแหล่งน�้ำจากการใช้สารเคมีในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การปนเปื้อน ในแม่น�้ำน่านซึ่งเป็นแหล่งต้นน�้ำที่ใหญ่ที่สุดของแม่น�้ำเจ้าพระยาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่ จะมีค่าสูงมากในฤดูหนาว โดยมีสาเหตุหลักจากการเผาไร่ของเกษตรกรเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์1 1 จากการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ณ เทศบาลเมืองน่าน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม พ.ศ. 2555 พบว่ามีปริมาณ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10 ) เฉลี่ย 24 ชั่วโมงในบางวันสูงถึง 216.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่า มาตรฐานไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) 1 บทที่
  • 14. Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 3 แม้ว่าจะมีการรณรงค์ทั้งในระดับท้องถิ่นและจากนโยบายส่วนกลางที่สนับสนุนให้เกษตรกร เปลี่ยนไปท�ำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการให้ความส�ำคัญกับการเกษตรผสมผสานและ การรักษาพื้นที่ป่าต้นน�้ำ ผ่านการสนับสนุนในลักษณะของโครงการย่อยๆของหลากหลายหน่วยงานทั้ง องค์กรภาครัฐและเอกชน แต่การรณรงค์และความพยายามดังกล่าวกลับไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าที่ ควร2 เนื่องจากเหตุผลหลายด้าน เช่น 1) เกษตรกรจ�ำนวนมากยังไม่ตระหนักถึงปัญหาที่ตามมาจากการ ท�ำลายพื้นที่ป่าต้นน�้ำหรือคุณภาพดินที่เสื่อมโทรม เกษตรกรไม่สามารถมองเห็นภาพต้นทุนที่แท้จริงที่ เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากต้นทุนเหล่านี้ไม่ได้ถูกสะท้อนอยู่ในระบบตลาด แต่กลับถูกกระตุ้นให้ ขยายพื้นที่ปลูกโดยราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ขยับสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการของอุตสาหกรรมผลิต อาหารเลี้ยงสัตว์ 2) เกษตรกรพื้นที่สูงจ�ำนวนมากติดอยู่ในวงจรหนี้สินจากการกู้นอกระบบในรูปของ วัตถุดิบเพื่อปลูกข้าวโพด ท�ำให้การหลุดพ้นจากวงจรการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นไปได้ยากมาก หาก ขาดแรงจูงใจที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง(เขมรัฐเถลิงศรีและสิทธิเดชพงศ์กิจวรสิน,2555)3 3)เกษตรกร ได้รับสัญญาณที่สับสนจากนโยบายภาครัฐตลอดซึ่งด้านหนึ่งพยายามรณรงค์ให้เกษตรกรหันหาการปลูก พืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่อีกด้านหนึ่งยังพยายามผลักดันนโยบายจ�ำน�ำ นโยบายประกันราคา/ รายได้ ซึ่งล้วนกระตุ้นให้เกษตรกรยังยึดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลักและเพิ่มการผลิตต่อ ไป 4) เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดความรู้และความเข้าใจในการหาทางเลือกทางการเกษตรใหม่ที่ดีกว่าการ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5) ในหลายกรณี องค์กรภายนอกหรือภาครัฐด�ำเนินการช่วยเหลือโดยขาด ความรู้ความเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของเกษตรกร ไม่สามารถท�ำให้เกษตรกรสนใจอย่างต่อเนื่อง และท�ำให้การเปลี่ยนแปลงไม่ประสบผลส�ำเร็จและ6)กฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่สอดคล้องกับสภาพ ในพื้นที่ ท�ำให้การบังคับใช้ไม่มีประสิทธิผล และในบางครั้ง ตัวกฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพนี้เอง กลับเป็นตัวขัดขวางการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะน�ำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นในพื้นที่ได้ อย่างไรก็ดี ท่ามกลางสถานการณ์การรุกพื้นที่ป่าต้นน�้ำเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ด�ำเนินถึง ขั้นวิกฤตในพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดน่าน และสภาพปัญหาที่ยิ่งดูเหมือนจะแย่ลงเรื่อยๆ โดยที่ยังมอง ไม่เห็นทางออกที่เป็นรูปธรรมสร้างความวิตกกังวลแก่ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายในพื้นที่และในระดับนโยบาย 2 จากแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมพ.ศ.2555-2558(รวมถึงแผนในอดีตช่วง2550-2554)ในยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ และฟื้นฟูธรรมชาติอย่างยั่งยืน จะพบว่ามาตรการทั้งระยะเร่งด่วนและระยะปานกลางเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้จะเป็น มาตรการเชิงอนุรักษ์(เช่นแก้ไขกฎหมายให้รุนแรงและเหมาะสมขึ้นหรือการก�ำหนดพื้นที่อนุรักษ์)มาตรการเชิงสนับสนุน (เช่นศึกษาวิจัยเพิ่มเติมใช้สารสนเทศในการติดตาม)ขณะที่มาตรการเชิงรุกหรือการใช้เครื่องมือด้านแรงจูงใจมีเพียงการ ใช้ในรูปแบบของป่าชุมชน หรือภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังภัย ส่วนการใช้เครื่องมือด้านแรงจูงใจโดยตรงเช่น กลไก PES ยังคงเป็นมาตรการเชิงสนับสนุนในระยะปานกลาง ซึ่งยังไม่มีการน�ำไปปฏิบัติจริงในตอนนี้ 3 เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555) พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ลาดชันส่วนใหญ่ยังติด อยู่ในวงจรหรือกับดักของการปลูกข้าวโพดเชิงพาณิชย์ เนื่องมาจากข้อจ�ำกัดและลักษณะเฉพาะของพื้นที่ การผูกขาดใน ตลาดท้องถิ่น และต้นทุนของการปลูกเชิงพาณิชย์ ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ไม่สามารถสะสมรายได้เพื่อพัฒนา ความเป็นอยู่ของตน ผลประโยชน์ของการปลูกข้าวโพดตกเป็นของผู้รวบรวมขายและบริษัทแปรรูปปลายน�้ำเป็นหลัก แม้ว่าเกษตรกรจะตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องการจะเลิกปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่กลับไม่สามารถถอนตัวออก จากกับดักนี้ได้ด้วยภาระหนี้สินที่สะสมไว้ตั้งแต่เข้าสู่วงจรการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ท�ำให้จ�ำเป็นต้องท�ำการผลิตต่อไป
  • 15. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก4 ก็ยังมีพื้นที่เล็กๆ ส่วนหนึ่งในจังหวัดน่านที่มีการเปลี่ยนแปลงในทางบวกอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถ จุดประกายให้ความหวังว่ายังคงมีทางออกที่เป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ ดังเช่น พื้นที่ลุ่มน�้ำมีดใน ต.พระพุทธบาทและต.เปืออ.เชียงกลางซึ่งเกษตรกรในพื้นที่สูงเหล่านี้ไม่เพียงจะสามารถต้านกระแส การขยายพื้นที่การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนที่ชันได้ กลับยังสามารถลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนที่ ชันและคืนพื้นที่ที่เคยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชันให้กลับเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ได้ โดยคนในชุมชน ร่วมกันสร้างข้อตกลงและกฎระเบียบเพื่อการรักษาความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีความรักและ หวงแหนในผืนป่า ที่ส�ำคัญคือ บทบาทของเจ้าหน้าที่ภาครัฐในพื้นที่ด�ำเนินไปอย่างเหมาะสม ถูกจังหวะ และมีความโดดเด่นในแง่ของการยอมรับสิทธิ์ของชุมชนในการร่วมบริหารจัดการป่าและใช้ประโยชน์จาก ป่าอย่างสมดุล นอกจากนี้ยังมีบางพื้นที่ของจังหวัดซึ่งชาวบ้านได้เข้าร่วมกับโครงการปิดทองหลังพระสืบสาน แนวทางพระราชด�ำริในการแก้ไขปัญหาความยากจนและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังเช่นพื้นที่บางส่วนใน อ. ท่าวังผา ซึ่งหนึ่งในวัตถุประสงค์ของโครงการคือ การลดการแผ้วถางท�ำลายพื้นที่ต้นน�้ำ ในการกระตุ้น ความสนใจและการมีส่วนร่วมโครงการปิดทองหลังพระฯด�ำเนินการโดยใช้มาตรการอุดหนุนหลายรูปแบบ ด้วยกัน ทั้งในรูปแบบเงินอุดหนุนตรง กองทุนช่วยลดค่าใช้จ่าย และการให้ความรู้และสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกด้านอื่นๆซึ่งในช่วงระยะเวลา5ปีภายใต้โครงการก็ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีเกิดขึ้นแล้ว ความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.เชียงกลาง และ อ.ท่าวังผา ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่มี โอกาสสัมผัสและเปิดพื้นที่การเรียนรู้องค์ประกอบที่สร้างความส�ำเร็จเหล่านี้ออกมาได้รวมถึงจุดประเด็น ว่าจะท�ำอย่างไรจึงจะสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากพื้นที่เหล่านี้ในพื้นที่อื่นของจังหวัดน่านที่ก�ำลัง ประสบปัญหาพื้นที่ป่าต้นน�้ำถูกท�ำลายอย่างหนัก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยง สัตว์ไปสู่การฟื้นฟูพื้นที่ป่าให้กลับคืนมาได้อย่างประสบผลส�ำเร็จและยั่งยืน จุดมุ่งหมายหลักของเอกสารเล่มนี้คือการถ่ายทอดบทเรียนที่ได้จากการศึกษาพื้นที่ที่สามารถ เปลี่ยนแปลงจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชันไปสู่การสร้างและอนุรักษ์ผืนป่าได้ โดยเปรียบเทียบ สิ่งที่พบจากทั้งพื้นที่ที่ไม่ได้รับมาตรการอุดหนุนอย่างเป็นระบบจากภาครัฐอย่างลุ่มน�้ำมีด และในพื้นที่ มีโอกาสรับการผลักดันผ่านมาตรการอุดหนุนต่างๆจากองค์กรภายนอกอย่างพื้นที่ลุ่มน�้ำสบสายเพื่อให้ เข้าใจถึงกลไกของการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถลดการปลูกข้าวโพด ได้ รวมถึงการตอบสนองของเกษตรกรต่อมาตรการอุดหนุนเป็นอย่างไร ข้อจ�ำกัดของเกษตรกรแต่ละ กลุ่มจะมีผลการออกแบบมาตรการอุดหนุนอย่างไรมุมมองของเกษตรกรที่ได้รับการอุดหนุนต่อเรื่องการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากปลูกข้าวโพดสู่การปลูกป่าจะแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับการอุดหนุนอย่างไร ในการตอบค�ำถามข้างต้นผู้เขียนน�ำเสนอตัวอย่างของแนวทางการพัฒนาที่ให้ความส�ำคัญกับ รายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรไปพร้อมๆกับการฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพป่าซึ่งเป็นแนวคิดที่มอง เรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในลักษณะ Win-Winนั่นคือการอนุรักษ์ป่าจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าคนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตหรือได้รับได้ผลตอบแทนจากการอนุรักษ์ป่าไปด้วย แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับและน�ำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในหลายพื้นที่ทั่วโลกในรูปแบบ ที่ต่างกันไปตามลักษณะพื้นที่และภูมิเศรษฐกิจและสังคม แต่โดยรวมแล้ว ผู้ด�ำเนินงานด้านการอนุรักษ์ ในพื้นที่ต้องสามารถได้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของป่า พึ่งพิงป่าเพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • 16. Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 5 มีโอกาสและมีส่วนร่วมในการสร้างกฎกติกาในการดูแล มีจิตใจที่รักและหวงแหนในผืนป่า ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็จะเข้ามาประกอบให้เกิดการหมุนของวงล้ออนุรักษ์ผลที่ได้จากการศึกษารายละเอียดการเปลี่ยนแปลง และเกษตรกรทั้งในพื้นที่ลุ่มน�้ำมีดและลุ่มน�้ำสบสาย ท�ำให้ผู้เขียนสามารถเสนอทางเลือกต่างๆ เพื่อเป็น ทางออกจากปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ชันในจังหวัดน่าน ส�ำหรับโครงสร้างของการน�ำเสนอนั้นในบทถัดไปผู้เขียนอธิบายข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านผู้ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในวงจรการปลูกและผลตอบแทนที่เกษตรกร ได้จากอาชีพนี้ บทที่3น�ำเสนอทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่สามารถอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นที่น่านและใช้แนวคิด ดังกล่าวเสนอแนะทางออกเพื่อให้เห็นตัวอย่างประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการแก้ปัญหา ในบทนี้ผู้เขียนยก ตัวอย่างกรณีศึกษาโครงการ Sloping land conversion program ในจีน โครงการ PSA ในคอสตา ริก้าโดยผลการด�ำเนินงาน อุปสรรค และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในโครงการเหล่านี้ สามารถสรุปเป็นบท เรียนที่น่าสนใจและน่าเรียนรู้นอกจากนี้ยังได้สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของเกษตรกรไว้ในบทที่ 3 นี้เช่นกัน ในบทที่4ผู้เขียนถ่ายทอดลักษณะของพื้นที่ศึกษาทั้งลุ่มน�้ำมีดและลุ่มน�้ำสบสายในจังหวัดน่าน รวมถึงวิธีการศึกษาและเก็บข้อมูล พื้นที่ทั้ง 2 ที่เป็นพื้นที่ศึกษาในงานชิ้นนี้เป็นพื้นที่ตัวอย่างของการน�ำ แนวทางพัฒนาแบบ Win-Win มาใช้ในการแก้ปัญหา ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ลุ่มน�้ำมีดนั้นจะไม่ ได้เกิดจากการแทรกแซงหรือพยายามเข้าไปแก้ไขปัญหาจากองค์ภายนอกหรือจากภาครัฐแต่ปฏิเสธไม่ ได้เลยว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายในพื้นที่สะท้อนให้เห็นแก่นของการพัฒนาแบบ Win-Win อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด บทที่5แสดงรายละเอียดของทางเลือกต่างๆที่มีการด�ำเนินการอยู่ในพื้นที่ทั้ง2ลุ่มน�้ำ ผู้เขียน เปรียบเทียบผลตอบแทนจากทางเลือกเหล่านี้กับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อแสดงความเป็นไปได้ใน ทางเศรษฐศาสตร์ของการลดการปลูกข้าวโพดในพื้นที่ชันและน�ำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้ทางเลือก เหล่านี้ในพื้นที่อื่น ในบทที่ 6 ผู้เขียนสรุปบทเรียนที่ได้จากการศึกษาพื้นที่ทั้ง 2 ลุ่มน�้ำ และสะท้อนมุมมองที่ เกษตรกรมีต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้งปัญหา อุปสรรค รวมถึงตัวแปรส�ำคัญของการ เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในลุ่มน�้ำทั้ง 2 มีความแตกต่างกัน โดยจะ เห็นได้ว่าบทเรียนจากลุ่มน�้ำมีดได้ชูประเด็นความส�ำคัญของการมีพื้นที่ราบและใช้ที่ราบที่มีให้เกิด ประโยชน์สูงสุดเป็นปัจจัยสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ ในขณะที่บทเรียนจากลุ่มน�้ำสบสายได้สะท้อน ความส�ำคัญของการใช้มาตรการอุดหนุนในการผลักดันการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้การตอบสนองต่อ มาตรการอุดหนุนของเกษตรกรที่มีข้อจ�ำกัดต่างกันไป ผลการศึกษาเหล่านี้ล้วนเป็นจุดตั้งต้นส�ำคัญใน การออกแบบมาตรการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป บทที่ 7 เป็นการสังเคราะห์ผลการวิจัยทั้งหมดรวมกัน เพื่อน�ำเสนอกลไกหลักที่น�ำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน แล้วจึงน�ำสู่บทสรุปสุดท้ายในบทที่ 8 ที่ผู้เขียนตั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อมา เสริมองค์ประกอบต่างๆ ที่จ�ำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
  • 19. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก8 ข้าวโพด(Maize)เป็นพืชที่มีการปลูกในเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลกเนื่องจากเป็นพืชที่ขึ้นได้ในหลาย สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ และเป็นพืชอาหารที่ส�ำคัญมากที่สุดชนิดหนึ่งในโลกในปัจจุบัน โดยมี ทั้งพันธุ์ที่ใช้บริโภคโดยคน (เช่น ข้าวโพดหวาน) และพันธุ์ที่น�ำไปใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์ (ข้าวโพดเลี้ยง สัตว์) และในปัจจุบันมีการน�ำผลผลิตข้าวโพดไปใช้ในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น ยา สารเคมี เอทานอล เป็นต้น ส�ำหรับในประเทศไทยกว่าร้อยละ90ของการปลูกข้าวโพดในประเทศไทยเป็นการปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ เพื่อน�ำไปผลิตอาหารสัตว์ และส่วนใหญ่เป็นการปลูกพันธุ์ลูกผสมซึ่งให้ผลผลิตสูง จากสถิติ การปลูกข้าวโพดของไทยพบว่ามีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากประมาณ 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2513 เป็น ถึง 5.1 ล้านตันในปี พ.ศ. 2557 โดยในปี พ.ศ. 2557 คาดว่ามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดในประเทศไทย ประมาณ 7.5 ล้านไร่ (ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) ในส่วนของราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศพบว่า ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศจะ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าชิคาโก โดยในช่วงปี พ.ศ. 2548-2551ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หน้าฟาร์มในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากประมาณเกือบ 5 บาทเป็น 8 บาทต่อกิโลกรัม แต่นับจากปี พ.ศ. 2552 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศเริ่มอยู่ในแนว โน้มทรงตัว 2.1 ข้อมูลเบื้องต้นการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่าน จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่อยู่ติดชายแดนไทย-ลาวในภาคเหนือของประเทศไทยและเป็นจังหวัด ที่มีความส�ำคัญในเชิงนิเวศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นแหล่งต้นน�้ำที่ส�ำคัญของประเทศ คือ ต้นน�้ำน่าน ซึ่งเป็นต้นน�้ำสายหนึ่งของแม่น�้ำเจ้าพระยาและปริมาณน�้ำกว่าร้อยละ 40 ของแม่น�้ำเจ้าพระยาก็มาจาก แม่น�้ำน่านนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ป่าไม้ในจังหวัดน่านถูกท�ำลายไปเป็นจ�ำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2547 จังหวัด น่านมีพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดกว่า 5.3 ล้านไร่ คิดเป็นกว่าร้อยละ 74 ของพื้นที่จังหวัด อย่างไรก็ตาม ข้อมูล ล่าสุดในปี พ.ศ. 2556 จังหวัดน่านเหลือพื้นที่ป่าไม้เพียง 4.65 ล้านไร่ (ร้อยละ 61 ของพื้นที่จังหวัด) เท่านั้น (ภาพที่ 2.1) แสดงให้เห็นถึงปัญหาการตัดไม้ท�ำลายป่าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยมีสาเหตุส�ำคัญ ประการหนึ่งจากการขยายตัวของพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในจังหวัดน่าน2 บทที่
  • 20. Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 9 ในช่วง10ปีที่ผ่านมาพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2548 จังหวัดน่านมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดไม่ถึง 3 แสนไร่แต่ในปี 2552 พื้นที่เพาะปลูกได้เพิ่ม ขึ้นเป็นเกือบ 9 แสนไร่ หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า ในช่วง 4 ปีดังกล่าว (ภาพที่ 2.2) และล่าสุดในปี พ.ศ. 2557 จังหวัดน่านมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 803,050 ไร่ (ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ) คาดว่าจะมีผลผลิตเกือบ 0.5 ล้านตัน และเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เพาะปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ (รองจากจังหวัดเพชรบูรณ์) (ส�ำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร 2557)4 จากลักษณะทางกายภาพของจังหวัดน่านที่พื้นที่ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 85 เป็นที่ลาดชัน มีฝน ตกในช่วงกลางปีเท่านั้น รวมทั้งมีระบบชลประทานจ�ำกัด ท�ำให้เกษตรกรในจังหวัดน่าน (โดยเฉพาะที่ อยู่ในพื้นที่ลาดชัน)ไม่มีทางเลือกในการท�ำการเกษตรมากนักข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จึงเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ของจังหวัดน่านมากว่า 30 ปี เนื่องจากเป็นพืชที่สามารถปลูกในพื้นที่ลาดชันได้ดี ต้องการน�้ำน้อย และ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังเป็นพืชที่ตอบโจทย์ความต้องการและผลประโยชน์ของผู้เล่นที่เกี่ยวข้อง โดย เกษตรกรนิยมปลูกเพราะปลูกได้ง่าย มีคนรับซื้อแน่นอน ส่วนพ่อค้าคนกลางและผู้รวบรวมก็ได้ก�ำไรดี สามารถขยายฐานลูกค้าเกษตรกรผ่านการให้สินเชื่อเป็นวัตถุดิบได้ง่ายและท�ำให้ได้ประโยชน์จากการ ขายวัตถุดิบได้มากขึ้นพร้อมๆ กับการเก็บดอกเบี้ยจากการให้เชื่อวัตถุดิบ ส่วนธนาคารเพื่อการเกษตรฯ (ธกส.)ในฐานะผู้ให้สินเชื่อในระบบก็ไม่ต้องกังวลมากเรื่องความเสี่ยงของการค้างช�ำระหนี้เพราะเกษตรกร ภาพที่ 2.1 พื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่าน พ.ศ. 2547-2556 (ล้านไร่) ที่มา: กรมป่าไม้ (2557) 4 เป็นข้อมูลการขึ้นทะเบียนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร โดยคาดว่าพื้นที่เพาะปลูกจริงจะมากกว่านี้มาก เนื่องจากมีเกษตรกรหลายรายที่ไม่มาขึ้นทะเบียนการปลูก 5.40 5.20 5.00 4.80 4.60 4.40 4.20 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 5.31 5.16 5.06 5.10 5.8 5.05 4.95 4.85 4.75 4.65
  • 21. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก10 ปลูกตามฤดูกาลแน่นอนและสามารถใช้ระบบค�้ำประกันกลุ่มได้เนื่องจากเกษตรกรปลูกกันหลายราย นอกจากนี้เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่มีเกษตรกรปลูกกันหลายรายท�ำให้นโยบายเกี่ยวกับข้าวโพดเลี้ยง สัตว์มีความเชื่อมโยงกับฐานเสียงทางการเมืองไปด้วย เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านเกือบทั้งหมดเป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่เพาะ ปลูก 10-100 ไร่ต่อครัวเรือน โดยปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยว ส่วนใหญ่ปลูกตามพื้นที่ลาดชัน ไม่มีการใช้ เครื่องจักรมากนัก มีผลผลิตต่อไร่อยู่ระหว่าง 400-1,200 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ในแต่ละพื้นที่พันธุ์ที่ใช้ปลูกและกรรมวิธีการปลูกในภาพรวมแล้วการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัด น่านมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีการใช้สารเคมีในการผลิต ในระดับที่ค่อนข้างสูง การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดน่านมีทั้งการปลูกในพื้นที่ราบและพื้นที่ลาดชัน การปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในที่ราบเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้ระบบขายสด โดยเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวข้าวโพดทันที ที่สามารถเก็บผลผลิตได้ ข้าวโพดที่ได้จะมีความชื้นสูง (สูงกว่าร้อยละ 30) ท�ำให้มีราคาต่อหน่วยที่ต�่ำ แต่จะได้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรที่ปลูกในที่ราบจะได้ผลผลิต950กิโลกรัมต่อไร่5 และ เกษตรกรบางรายสามารถสามารถปลูกได้ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งสามารถท�ำนาหรือท�ำไร่พืชชนิดอื่นได้หลังจาก เก็บเกี่ยวข้าวโพด ท�ำให้เกษตรกรมีรายได้ต่อปีสูงกว่าเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ลาดชัน ข้าวโพด ที่ปลูกในที่ราบจะแบ่งออกเป็นสองรุ่นคือข้าวโพดรุ่นหนึ่งซึ่งจะเริ่มปลูกในเดือนพฤษภาคมและเก็บเกี่ยว ผลผลิตได้ตั้งแต่เดือนกันยายนไปจนถึงเดือนธันวาคมและข้าวโพดรุ่นสองซึ่งจะเริ่มปลูกหลังจากรุ่นหนึ่ง เก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมจะสามารถเก็บเดี่ยวได้อีกครั้งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ภาพที่ 2.2 พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2548-2555 (ล้านไร่) ที่มา: ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2557) 1.0 0.8 0.6 0.4 0.2 0.0 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 0.29 0.36 0.38 0.58 0.85 0.80 0.84 0.88 5 ข้อมูลจากการส�ำรวจเกษตรกรใน อ.เวียงสา จ.น่าน ใน เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน (2555)