SlideShare a Scribd company logo
1 of 2
Download to read offline
บทความรู้
เรื่อง บทบาทระหว่าง “ผู้ประเมิน” และ “ผู้รับการประเมิน”
ในการบริหารผลการทํางาน
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องมือที่มี
ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ การติดตามผลการทํางาน
ของบุคลากร การผลักดันให้บุคลากรทํางานอย่างมี
เป้าหมาย การพัฒนาบุคลากรบนพื้นฐานของผลงาน
รวมทั้งการให้คุณหรือให้โทษกับบุคลากรโดยยึดผลงาน
เป็นหลัก ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดผลได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่นําไปใช้ได้
ทําการศึกษาถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของตัวระบบ
รวมทั้งวางตนเองให้อยู่ในบทบาทได้อย่างถูกต้องและ
เหมาะสม ดังนั้น นอกจากความรู้ ความเข้าใจในองค์ประกอบของตัวระบบการบริหารผลการ
ปฏิบัติงานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ นั่นคือ บทบาทระหว่างผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน ที่ทั้ง
สองฝ่ายจะต้องเรียนรู้และทําความเข้าใจ เพื่อให้ทราบถึงสิทธิที่พึงกระทําต่ออีกฝ่ายหนึ่ง และสิ่งที่
ไม่พึงกระทําระหว่างที่ใช้ระบบนี้
บทบาทของผู้ประเมินที่ดี คือ ต้องมีการศึกษารายละเอียดของตัวระบบฯ ขั้นตอน
ระยะเวลา และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวิธีการการถ่ายทอดตัวชี้วัดที่ได้รับมาจาก
หน่วยงานที่อยู่เหนือขึ้นไป ซึ่งหลักการและแนวทางการถ่ายทอด หรือเรียกง่าย ๆ ว่า การกําหนด
ตัวชี้วัดให้กับบุคลากร มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การถ่ายทอดตามกิจกรรมการทํางาน โดยใคร
รับผิดชอบขั้นตอนไหนในงานนั้นให้วัดเฉพาะ
กิจกรรมนั้น ๆ การถ่ายทอดเฉพาะเป้าหมายงาน
โดยใช้ตัวชี้วัดเดียวกันแต่กระจายเป้าหมายให้
บุคลากรตามที่ได้มอบหมายไป และควรพิจารณา
ตําแหน่ง ระดับ ความอาวุโส และความเชี่ยวชาญ
ในงาน เพื่อให้การกําหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ให้เหมาะสมและเป็นธรรมกับตัวบุคลากรให้มาก
ที่สุด ทั้งนี้เมื่อได้มีการถ่ายทอดหรือกําหนดตัวชี้วัด
1
ให้กับบุคลากรเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะลืมไปไม่ได้นั่นก็คือ การตกลง หรือ การยืนยัน ระหว่างกันว่า
สิ่งนี้คือสิ่งที่จะเป็นตัวบ่งบอกว่าความสามารถของการทํางานว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด สร้าง
ปฏิทินการติดตามผลการทํางานตามตัวชี้วัดให้กับตนเองและบุคลากรเพื่อร่วมกันทบทวนและ
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และเป็นที่ปรึกษาเมื่อตัวชี้วัดของบุคลากรเกิดปัญหาขึ้น คอย
ส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นและพยายามทําให้ตัวชี้วัดประสบผลสําเร็จ
อีกด้านหนึ่ง บทบาทของผู้รับการประเมินที่
ถูกต้อง นอกจากที่จะต้องทําความเข้าใจในวิธีการ
และขั้นตอนต่าง ๆ ของตัวระบบแล้ว ควรนํา
ตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชาและตัวชี้วัดของตนเอง
มาทําความเข้าใจด้วยว่ามีการส่งเสริมและผลักดัน
กันอย่างไร ถ้าตัวชี้วัดของเราไม่สําเร็จจะส่งผล
กระทบกับผู้อื่นอย่างไร พยายามมุ่งมั่นที่จะทํางาน
ให้ตัวชี้วัดที่ได้รับมานั้นประสบผลสําเร็จให้ดีที่สุด
กรณีเกิดปัญหาหรืออุปสรรคก็ควรที่จะ
ปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข หรือวิธีการหลีกเลี่ยงเพื่อให้ตัวชี้วัดผ่านไป
ได้ด้วยดี เมื่อตัวชี้วัดที่ได้รับเป็นตัวชี้วัดในลักษณะของการกระจายเป้าหมายนั้นควรตกลงแบ่ง
เป้าหมายกันให้ชัดเจนทั้งระหว่างเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกันใน
การรับเป้าหมายการทํางาน
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เรามักมองข้าม และละเลยจนทําให้เกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็น การร้องเรียน
การกลั่นแกล้ง การเอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ ดังนั้นถ้าผู้ประเมิน และผู้รับการประเมินทําความเข้าใจ
และวางบทบาทของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมก็จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ที่
อาจเกิดขึ้นในหน่วยงานของท่านได้เป็นอย่างดี
----------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย นายพีรพัฒน์ พจน์สมพงษ์
กลุ่มพัฒนาบุคคล กองการเจ้าหน้าที่
สิงหาคม 2555
2

More Related Content

Viewers also liked

Inside the Mind Handout
Inside the Mind HandoutInside the Mind Handout
Inside the Mind HandoutJohn Fichera
 
Chronic Myelogenous Leukemia
Chronic Myelogenous LeukemiaChronic Myelogenous Leukemia
Chronic Myelogenous LeukemiaAneesh Bhandary
 
Content Marketing: Useful First, Viral Second - Figaro Digital Marketing Conf...
Content Marketing: Useful First, Viral Second - Figaro Digital Marketing Conf...Content Marketing: Useful First, Viral Second - Figaro Digital Marketing Conf...
Content Marketing: Useful First, Viral Second - Figaro Digital Marketing Conf...timgrice
 
Estudo Aprofundado Da Doutrina Espírita - Livro I - Cristianismo e Espiritismo
Estudo Aprofundado Da Doutrina Espírita - Livro I - Cristianismo e EspiritismoEstudo Aprofundado Da Doutrina Espírita - Livro I - Cristianismo e Espiritismo
Estudo Aprofundado Da Doutrina Espírita - Livro I - Cristianismo e Espiritismo. Sobrenome
 

Viewers also liked (6)

Inside the Mind Handout
Inside the Mind HandoutInside the Mind Handout
Inside the Mind Handout
 
Chronic Myelogenous Leukemia
Chronic Myelogenous LeukemiaChronic Myelogenous Leukemia
Chronic Myelogenous Leukemia
 
Content Marketing: Useful First, Viral Second - Figaro Digital Marketing Conf...
Content Marketing: Useful First, Viral Second - Figaro Digital Marketing Conf...Content Marketing: Useful First, Viral Second - Figaro Digital Marketing Conf...
Content Marketing: Useful First, Viral Second - Figaro Digital Marketing Conf...
 
The Paradigm Shift at NCAT pdf
The Paradigm Shift at NCAT pdfThe Paradigm Shift at NCAT pdf
The Paradigm Shift at NCAT pdf
 
Estudo Aprofundado Da Doutrina Espírita - Livro I - Cristianismo e Espiritismo
Estudo Aprofundado Da Doutrina Espírita - Livro I - Cristianismo e EspiritismoEstudo Aprofundado Da Doutrina Espírita - Livro I - Cristianismo e Espiritismo
Estudo Aprofundado Da Doutrina Espírita - Livro I - Cristianismo e Espiritismo
 
Types of fluid flow best ppt
Types of fluid flow best pptTypes of fluid flow best ppt
Types of fluid flow best ppt
 

Similar to บทความ1

การพัฒนาคู่มือจากการปฏิบัติงาน
การพัฒนาคู่มือจากการปฏิบัติงานการพัฒนาคู่มือจากการปฏิบัติงาน
การพัฒนาคู่มือจากการปฏิบัติงานSiriporn Tiwasing
 
Organization and Management: การจัดบุคคลเข้าทำงาน
Organization and Management: การจัดบุคคลเข้าทำงานOrganization and Management: การจัดบุคคลเข้าทำงาน
Organization and Management: การจัดบุคคลเข้าทำงานTK Tof
 
การพัฒนาระบบงาน Managing+Work+Flows
การพัฒนาระบบงาน Managing+Work+Flowsการพัฒนาระบบงาน Managing+Work+Flows
การพัฒนาระบบงาน Managing+Work+Flowsearthpetch
 
บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่
บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่
บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่Aj.Mallika Phongphaew
 
นักทรัพยากรบุคคล(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักทรัพยากรบุคคล(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักทรัพยากรบุคคล(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักทรัพยากรบุคคล(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)ประพันธ์ เวารัมย์
 
การออกแบบระบบสารสนเทศในสถานศึกษา
การออกแบบระบบสารสนเทศในสถานศึกษาการออกแบบระบบสารสนเทศในสถานศึกษา
การออกแบบระบบสารสนเทศในสถานศึกษาteacher253
 
บทที่6
บทที่6บทที่6
บทที่6somjit003
 
บทที่3
บทที่3บทที่3
บทที่3praphol
 
บริหารราชการไทย 1
บริหารราชการไทย 1บริหารราชการไทย 1
บริหารราชการไทย 1Saiiew
 
Developing high professional
Developing high professionalDeveloping high professional
Developing high professional1clickidea
 

Similar to บทความ1 (20)

Ois lc1 2
Ois lc1 2Ois lc1 2
Ois lc1 2
 
%Ba%b
%Ba%b%Ba%b
%Ba%b
 
Handbook Development
Handbook DevelopmentHandbook Development
Handbook Development
 
การพัฒนาคู่มือจากการปฏิบัติงาน
การพัฒนาคู่มือจากการปฏิบัติงานการพัฒนาคู่มือจากการปฏิบัติงาน
การพัฒนาคู่มือจากการปฏิบัติงาน
 
Organization and Management: การจัดบุคคลเข้าทำงาน
Organization and Management: การจัดบุคคลเข้าทำงานOrganization and Management: การจัดบุคคลเข้าทำงาน
Organization and Management: การจัดบุคคลเข้าทำงาน
 
การพัฒนาระบบงาน Managing+Work+Flows
การพัฒนาระบบงาน Managing+Work+Flowsการพัฒนาระบบงาน Managing+Work+Flows
การพัฒนาระบบงาน Managing+Work+Flows
 
บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่
บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่
บทที่ 4 การจัดการองค์การสมัยใหม่
 
วุฒิสมัครนักทรัพยากรบุคคล
วุฒิสมัครนักทรัพยากรบุคคลวุฒิสมัครนักทรัพยากรบุคคล
วุฒิสมัครนักทรัพยากรบุคคล
 
นักทรัพยากรบุคคล(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักทรัพยากรบุคคล(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักทรัพยากรบุคคล(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักทรัพยากรบุคคล(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
 
Tqm1
Tqm1Tqm1
Tqm1
 
M
MM
M
 
M
MM
M
 
การออกแบบระบบสารสนเทศในสถานศึกษา
การออกแบบระบบสารสนเทศในสถานศึกษาการออกแบบระบบสารสนเทศในสถานศึกษา
การออกแบบระบบสารสนเทศในสถานศึกษา
 
บทที่6
บทที่6บทที่6
บทที่6
 
บทที่3
บทที่3บทที่3
บทที่3
 
บริหารราชการไทย 1
บริหารราชการไทย 1บริหารราชการไทย 1
บริหารราชการไทย 1
 
Design6
Design6Design6
Design6
 
Developing high professional
Developing high professionalDeveloping high professional
Developing high professional
 
Individual behavior
Individual behaviorIndividual behavior
Individual behavior
 
Competency
CompetencyCompetency
Competency
 

บทความ1

  • 1. บทความรู้ เรื่อง บทบาทระหว่าง “ผู้ประเมิน” และ “ผู้รับการประเมิน” ในการบริหารผลการทํางาน ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องมือที่มี ประโยชน์ในหลายด้าน อาทิ การติดตามผลการทํางาน ของบุคลากร การผลักดันให้บุคลากรทํางานอย่างมี เป้าหมาย การพัฒนาบุคลากรบนพื้นฐานของผลงาน รวมทั้งการให้คุณหรือให้โทษกับบุคลากรโดยยึดผลงาน เป็นหลัก ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดผลได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่นําไปใช้ได้ ทําการศึกษาถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ของตัวระบบ รวมทั้งวางตนเองให้อยู่ในบทบาทได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสม ดังนั้น นอกจากความรู้ ความเข้าใจในองค์ประกอบของตัวระบบการบริหารผลการ ปฏิบัติงานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ นั่นคือ บทบาทระหว่างผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน ที่ทั้ง สองฝ่ายจะต้องเรียนรู้และทําความเข้าใจ เพื่อให้ทราบถึงสิทธิที่พึงกระทําต่ออีกฝ่ายหนึ่ง และสิ่งที่ ไม่พึงกระทําระหว่างที่ใช้ระบบนี้ บทบาทของผู้ประเมินที่ดี คือ ต้องมีการศึกษารายละเอียดของตัวระบบฯ ขั้นตอน ระยะเวลา และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวิธีการการถ่ายทอดตัวชี้วัดที่ได้รับมาจาก หน่วยงานที่อยู่เหนือขึ้นไป ซึ่งหลักการและแนวทางการถ่ายทอด หรือเรียกง่าย ๆ ว่า การกําหนด ตัวชี้วัดให้กับบุคลากร มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การถ่ายทอดตามกิจกรรมการทํางาน โดยใคร รับผิดชอบขั้นตอนไหนในงานนั้นให้วัดเฉพาะ กิจกรรมนั้น ๆ การถ่ายทอดเฉพาะเป้าหมายงาน โดยใช้ตัวชี้วัดเดียวกันแต่กระจายเป้าหมายให้ บุคลากรตามที่ได้มอบหมายไป และควรพิจารณา ตําแหน่ง ระดับ ความอาวุโส และความเชี่ยวชาญ ในงาน เพื่อให้การกําหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ให้เหมาะสมและเป็นธรรมกับตัวบุคลากรให้มาก ที่สุด ทั้งนี้เมื่อได้มีการถ่ายทอดหรือกําหนดตัวชี้วัด 1
  • 2. ให้กับบุคลากรเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะลืมไปไม่ได้นั่นก็คือ การตกลง หรือ การยืนยัน ระหว่างกันว่า สิ่งนี้คือสิ่งที่จะเป็นตัวบ่งบอกว่าความสามารถของการทํางานว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด สร้าง ปฏิทินการติดตามผลการทํางานตามตัวชี้วัดให้กับตนเองและบุคลากรเพื่อร่วมกันทบทวนและ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และเป็นที่ปรึกษาเมื่อตัวชี้วัดของบุคลากรเกิดปัญหาขึ้น คอย ส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากรเกิดความมุ่งมั่นและพยายามทําให้ตัวชี้วัดประสบผลสําเร็จ อีกด้านหนึ่ง บทบาทของผู้รับการประเมินที่ ถูกต้อง นอกจากที่จะต้องทําความเข้าใจในวิธีการ และขั้นตอนต่าง ๆ ของตัวระบบแล้ว ควรนํา ตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชาและตัวชี้วัดของตนเอง มาทําความเข้าใจด้วยว่ามีการส่งเสริมและผลักดัน กันอย่างไร ถ้าตัวชี้วัดของเราไม่สําเร็จจะส่งผล กระทบกับผู้อื่นอย่างไร พยายามมุ่งมั่นที่จะทํางาน ให้ตัวชี้วัดที่ได้รับมานั้นประสบผลสําเร็จให้ดีที่สุด กรณีเกิดปัญหาหรืออุปสรรคก็ควรที่จะ ปรึกษาหารือกับผู้บังคับบัญชา ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข หรือวิธีการหลีกเลี่ยงเพื่อให้ตัวชี้วัดผ่านไป ได้ด้วยดี เมื่อตัวชี้วัดที่ได้รับเป็นตัวชี้วัดในลักษณะของการกระจายเป้าหมายนั้นควรตกลงแบ่ง เป้าหมายกันให้ชัดเจนทั้งระหว่างเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกันใน การรับเป้าหมายการทํางาน ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เรามักมองข้าม และละเลยจนทําให้เกิดปัญหาไม่ว่าจะเป็น การร้องเรียน การกลั่นแกล้ง การเอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ ดังนั้นถ้าผู้ประเมิน และผู้รับการประเมินทําความเข้าใจ และวางบทบาทของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมก็จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ที่ อาจเกิดขึ้นในหน่วยงานของท่านได้เป็นอย่างดี ---------------------------------------------------- เรียบเรียงโดย นายพีรพัฒน์ พจน์สมพงษ์ กลุ่มพัฒนาบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ สิงหาคม 2555 2