SlideShare a Scribd company logo
เศรษฐกิจพอเพียงจัดทำโดยนางสาวธิดารัตน์  ช้างเอี่ยมชั้น ม.6/7 เลขที่19เสนออาจารย์อินทิรา  รัตนานนท์
เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมรา
ชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ
...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...                               หลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"
                         การนำเอาหลักเศรษฐพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว" ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท
แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญของไทย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ความว่า: "บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ"
  ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ ๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าใจถึงสภาพสังคมไทย ดังนั้น เมื่อได้พระราชทานแนวพระราชดำริ หรือพระบรมราโชวาทในด้านต่างๆ จะทรงคำนึงถึงวิถีชีวิต สภาพสังคมของประชาชนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในทางปฏิบัติได้              การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริพอเพียง
                           หลักการและแนวทางสำคัญ  ๑. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ “ลงแขก” แบบดั้งเดิมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานด้วย๒. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนาประมาณ ๕ ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
๓. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก ๑ ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา ๕ ไร่ ทำพืชไร่ หรือไม้ผลอีก ๕ ไร่ (รวมเป็น ๑๐ ไร่) จะต้องมีน้ำ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี
เกษตรตามแนว "ทฤษฎีใหม่ "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านช่วงวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก                 การดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้นตอน คือ1 ) การผลิต ให้พึ่งตนเองด้วยวิธีง่าย ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกิน2 ) การรวมพลังกันในรูปแบบ หรือ สหกรณ์ ร่วมแรงร่วมใจกัน ในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา3 ) การดำเนินธุรกิจโดยติดต่อ ประสานงาน จัดหาทุนหรือแหล่งเงิน          
ในขั้นแรกที่เป็นการผลิต ถือเป็นขั้นสำคัญที่สุด ให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 หมายถึงเกษตรตามแนว "ทฤษฎีใหม่"   "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบาก ให้สามารถผ่านช่วงวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
ทฤษฎีใหม่ทฤษฎีใหม่คือ ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงที่เด่นชัดที่สุด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่มักประสบปัญหาทั้งภัยธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการทำการเกษตร ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤต โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก              ความเสี่ยงที่เกษตรกร มักพบเป็นประจำ ประกอบด้วย ๑. ความเสี่ยงด้านราคาสินค้าเกษตร ๒. ความเสี่ยงในราคาและการพึ่งพาปัจจัยการผลิตสมัยใหม่จากต่างประเทศ
๓. ความเสี่ยงด้านน้ำ ฝนทิ้งช่วง ฝนแล้ง๔. ภัยธรรมชาติอื่นๆ และโรคระบาด๕. ความเสี่ยงด้านแบบแผนการผลิต - ความเสี่ยงด้านโรคและศัตรูพืช- ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนแรงงาน- ความเสี่ยงด้านหนี้สินและการสูญเสียที่ดิน ทฤษฎีใหม่ จึงเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์                    ทฤษฎีใหม่ที่ดำเนินการโดยอาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำฝน จะอยู่ในลักษณะ “หมิ่นเหม่” เพราะหากปีใดฝนน้อย น้ำอาจจะไม่เพียงพอ ฉะนั้น การที่จะทำให้ทฤษฎีใหม่สมบูรณ์ได้นั้น จำเป็นต้องมีสระเก็บกักน้ำที่มีประสิทธิภาพและเต็มความสามารถ โดยการมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถเพิ่มเติมน้ำในสระเก็บกักน้ำให้เต็มอยู่เสมอ ดังเช่น กรณีของการทดลองที่โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสระบุรี
ตัวอย่างพืชที่ควรปลูกและสัตว์ที่ควรเลี้ยง ไม้ผลและผักยืนต้น : มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กะท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน ฯลฯผักล้มลุกและดอกไม้ : มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้นเห็ด : เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้นสมุนไพรและเครื่องเทศ : หมาก พลู พริกไท บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กะเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้นไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง : ไผ่ มะพร้าว ตาล กระถินณรงค์ มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน และยางนา เป็นต้น
พืชไร่ : ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้ และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ ได้แก่ ข้าวโพด ถัวเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลังพืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน : ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนแอฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ขี้เหล็ก กระถิน รวมทั้งถั่วเขียวและถั่วพุ่ม เป็นต้น และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลงไปเพื่อบำรุงดินได้
หมายเหตุ : พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งชนิด และการเลือกปลูกพืชควรเน้นพืชยืนต้นด้วย เพราะการดูแลรักษาในระยะหลังจะลดน้อยลง มีผลผลิตทยอยออกตลอดปี ควรเลือกพืชยืนต้นชนิดต่างๆ กัน ให้ความร่มเย็นและชุ่มชื้นกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และควรเลือกต้นไม้ให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ เช่น ไม่ควรปลูกยูคาลิปตัสบริเวณขอบสระ ควรเป็นไม้ผลแทน เป็นต้น
สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ได้แก่   สัตว์น้ำ : ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาดุก เพื่อเป็นอาหารเสริมประเภทโปรตีน และยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย ในบางพื้นที่สามารถเลี้ยงกบได้  สุกร หรือ ไก่ เลี้ยงบนขอบสระน้ำ ทั้งนี้ มูลสุกรและไก่สามารถนำมาเป็นอาหารปลา บางแห่งอาจเลี้ยงเป็ดได้
1.การขายส้มตำก็คือการเอาผักปลาที่เราปลูก เลี้ยงมาทำเป็นอาหาร 2.การเอาผักที่ปลูกมาทำเป็นอาหาร 3.การใช้ของที่มีอยู่อย่างพอเพียงโดยไม่ต้องซื้ออะไรมากมาย 4.การนำของเก่ามาใช้ใหม่            เศรษฐกิจพอเพียงกับส้มตำ
ส่วนประกอบหลักของส้มตำส่วนมากมีดังต่อไปนี้ มะละกอดิบ 1 ลูก กระเทียม 5-6 กลีบ พริกขี้หนู 5-6 เม็ด มะเขือเทศผ่าครึ่ง 2 ลูก ถั่วลิสงคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
ถั่วฝักยาวหั่น 1 ฝัก น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ กุ้งแห้ง 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว 1/4 ถ้วย น้ำตาลปีป 1 ช้อนโต๊ะ นำมาตำรวมกันหรือคลุกรวมกันจนเป็นส้มตำ หากรสชาติยังไม่ถูกปากสามารถเพิ่ม น้ำมะนาว น้ำตาลปี น้ำปลา ตามชอบ
ส่วนผสมต่างๆก็มาจากสิ่งที่เราปลูกเองทำขึ้นมาเอง
จบการนำเสนอ

More Related Content

What's hot

เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
Pannatut Pakphichai
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงjo
 
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงเว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงjo
 
งานนำเสนอ..
งานนำเสนอ..งานนำเสนอ..
งานนำเสนอ..Pornthip Tanamai
 
เศรษฐกิจพอเพียง.Ppt2
เศรษฐกิจพอเพียง.Ppt2เศรษฐกิจพอเพียง.Ppt2
เศรษฐกิจพอเพียง.Ppt2
Vilaporn Khankasikam
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
กนกพิชญ์ วังวร
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงKruwaw-ru Kan
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงKowin Butdawong
 
โครงการ Is3
โครงการ Is3โครงการ Is3
โครงการ Is3Need2556
 

What's hot (11)

เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
 
Econ
EconEcon
Econ
 
Econ
EconEcon
Econ
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงเว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
 
งานนำเสนอ..
งานนำเสนอ..งานนำเสนอ..
งานนำเสนอ..
 
เศรษฐกิจพอเพียง.Ppt2
เศรษฐกิจพอเพียง.Ppt2เศรษฐกิจพอเพียง.Ppt2
เศรษฐกิจพอเพียง.Ppt2
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
โครงการ Is3
โครงการ Is3โครงการ Is3
โครงการ Is3
 

Similar to ไอติม

เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงเว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงjo
 
Random 100809002816-phpapp02
Random 100809002816-phpapp02Random 100809002816-phpapp02
Random 100809002816-phpapp02sapay
 
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงเว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงnarudon
 
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงเว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงsudza
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงsapay
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงsudza
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
narudon
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง sapay
 
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพัน พัน
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง  เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง jaebarae
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงyeen_28175
 
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงpatcharapornfilmmii
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
ธรรศณรรญ พ่อทอง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงKowin Butdawong
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
Proud N. Boonrak
 
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพัน พัน
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงWongduean Phumnoi
 
เกษตรตามแนว
เกษตรตามแนวเกษตรตามแนว
เกษตรตามแนวaemporn gaewkhiew
 

Similar to ไอติม (20)

เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงเว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
 
Random 100809002816-phpapp02
Random 100809002816-phpapp02Random 100809002816-phpapp02
Random 100809002816-phpapp02
 
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงเว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
 
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงเว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง  เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพ้าเวอร์พ้อยโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง
 
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
โรงเรียนบ้านสวนส้ม
โรงเรียนบ้านสวนส้มโรงเรียนบ้านสวนส้ม
โรงเรียนบ้านสวนส้ม
 
เกษตรตามแนว
เกษตรตามแนวเกษตรตามแนว
เกษตรตามแนว
 

ไอติม