SlideShare a Scribd company logo
หนังสือส่งเสริมการอ่าน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
กระปุกออมสิน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้เรียบเรียง นายธนิต ศรีสังข์ พิสูจน์อักษร นายวิวรรธน์ วงศ์ชัยเมธาพร
ภาพประกอบ นางสาวชรินรัตน์ ไชยเมือง ออกแบบศิลป์ นางสาวสุรีพร อย่างสวย
สำนักพิมพ์ผกำแก้ว
กระปุกออมสิน. ชรินรัตน์ ไชยเมือง, ธนิต ศรีสังข์,
วิวรรธน์ วงศ์ชัยเมธาพร และสุรีพร อย่างสวย. พิมพ์ครั้งแรก:
สานักพิมพ์ผกาแก้ว, มีนาคม ๒๕๕๙
ราคา ๑๖๐ บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรม
ชรินรัตน์ ไชยเมือง, ธนิต ศรีสังข์, วิวรรธน์ วงศ์ชัยเมธาพร และสุรีพร
อย่างสวย. (๒๕๕๙). กระปุกออมสิน. กรุงเทพมหานคร:
สานักพิมพ์ผกาแก้ว.
ที่ปรึกษา : ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์
ผู้เรียบเรียง : นายธนิต ศรีสังข์
พิสูจน์อักษร : นายวิวรรธน์ วงศ์ชัยเมธาพร
ภาพประกอบ : นางสาวชรินรัตน์ ไชยเมือง
ออกแบบศิลป์ : นางสาวสุรีพร อย่างสวย
PG
คำนำ
หนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง กระปุกออมสิน เป็นแบบเรียนที่
จัดทาขึ้น เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ เสริมทักษะการอ่านจับใจความสาคัญ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑
แนวการนาเสนอเนื้อหา คณะผู้จัดทานาเสนอเนื้อหาในรูปแบบร้อย
แก้ว โดยคัดจากเรื่องสั้น กระปุกออมสิน ของรศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์
หนังสือส่งเสริมการอ่านเล่มนี้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถจับใจความสาคัญ
จากเรื่องที่อ่าน ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ และลักษณะอันพึงประสงค์
ในส่วนประกอบตอนท้าย คือ คาศัพท์ และกิจกรรม ทั้งนี้ยังทาให้ได้รับ
ความรู้เพลิดเพลิน และจรรโลงใจจากการอ่าน
คณะผู้จัดทาขอขอบพระคุณ อาจารย์ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์ ที่แนะนา
การจัดทาหนังสือส่งเสริมการอ่าน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทยนี้ให้สาเร็จ
ลุล่วงด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้ และหวังว่าหนังสือส่งเสริมการอ่านเล่มนี้จะเป็น
ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาตามหลักสูตร
คณะผู้จัดทา
สำรบัญ
หน้า
คาแนะนาการใช้หนังสือ ก
จุดประสงค์การเรียนรู้ ข
เนื้อเรื่อง ๑
คาศัพท์ ๓๔
กิจกรรม ออมสินมีคาถาม ๓๖
บรรณานุกรม ๔๑
ภาคผนวก ๔๒
เฉลยกิจกรรม ๔๓
ประวัติผู้แต่ง ๔๗
ก
คาแนะนาในการใช้หนังสือ
หนังสือส่งเสริมการอ่าน เพื่อฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
สาคัญที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และปฏิบัติตาม
ข้อตกลง ดังนี้
๑. อ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
๒. อ่านเนื้อเรื่องให้เข้าใจ
๓. หากไม่เข้าใจความหมายของคา สามารถเปิด
คาศัพท์ท้ายเรื่องได้
๔. ทากิจกรรม.....
๕. ตรวจคาตอบ
ข
จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนอ่านหนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อฝึกทักษะการ
อ่านจับใจความสาคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ เรื่อง กระปุกออมสิน นักเรียนสามารถ
๑. นักเรียนบอกความหมายของคาได้
๒. นักเรียนตอบคาถามจากเรื่องที่อ่านได้
๓. นักเรียนบอกสาระสาคัญจากเรื่องที่อ่านได้
๔. นักเรียนสามารถสรุปใจความสาคัญจากเรื่องที่
อ่านได้
๕. นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่
อ่านได้
กระปุกออมสิน
วันที่เขาหอบหิ้วของสิ่งนี้มาให้นั้น ลูกสาวตื่นเต้นเสียยก
ใหญ่ นัยน์ตาของเธอเปล่งประกายแวววามขณะรับของไปกอดไว้
แนบอก เคล้าแก้มอิ่มกับมันอย่างแสนรักแสนใคร่และเมื่อเขาบอก
ว่าให้เก็บของสิ่งนี้ไว้ให้ดีพร้อมแนะนาวิธีใช้ เธอก็ยิ่งแสดงความ
แปลกใจอย่างล้นเหลือ ท่าทางของเธอคล้ายกับจะถามว่ายังมีของที่
น่ารักและแปลกประหลาดเช่นนี้อยู่ด้วยหรือ...
๒“กระปุกออมสิน” ลูกสาวของเขาอุทาน ขณะพินิจกระปุก
ออมสินรูปกระต่ายด้วยความดีใจ ริมฝีปากน้อย ๆ อ้าค้างอย่าง
เผลอไผล
“หนูจะเอากะตังค์ใส่ทุกวันเลย พอมีเงินมาก ๆ จะได้ขึ้นรถ
ไปหาแม่”
๓ฟังคาของลูกน้อย เขาแทบปล่อยน้าตาให้ไหลซึมในยามนั้น
ดูทีหรือช่างพูดและน่ารักก็ปานนั้น ใจของเธอคงเปี่ยมด้วยความฝัน
อันไร้เดียงสา เขาอดที่น้อยใจและอดสูไม่ได้ที่ไม่มีปัญญาซื้อของเล่น
สวยงามมีราคาให้แก่ลูก นี่หากแม่ของเด็กรู้ว่าเขามีของขวัญวันเกิด
สาหรับลูกสาวเพียงแค่กระปุกออมสินที่วางขายแบกะดิน
เธอคงหัวเราะเยาะอยู่นั่นแล้ว
๔มือข้างที่อุ้มกระปุกออมสินสั่นระริกขึ้นมาทันใด เสียง
เหรียญในกระปุกกระทบกันดังกรุ๊กกริ๊ก เขาค่อย ๆ วางมันลงที่
หัวเตียงตามเดิม ดูมันหนักกว่าวันที่ซื้อมาเป็นไหน ๆ
เขาถอนใจอย่างหม่นหมอง พร้อมกับชาเลืองไปยังกระปุก
ออมสินอย่างอาลัยอาวรณ์ มันเป็นกระต่ายสีขาว หูทั้งสองตั้งยาวชี้
ชัน และลูกตาสีแดงคู่เล็ก ๆ กาลังจ้องเขาเขม็ง เขารู้สึกว่าหน้าตา
ที่น่ารักของมันกลับบูดบึ้ง และแววตาคู่นั้นก็มีแววเยาะหยันชิงชัง
“ไงแก... หมดท่าแล้วรึ” ถ้าพูดได้มันคงว่าอย่างนี้
เขาพลันรู้สึกชิงชังตนเองและละอายแก่ใจขึ้นมาอย่างรุนแรง
รีบลุกจากห้องด้วยอาการโผเผเต็มประดา บ้านช่างเงียบเหงา เมื่อ
ลูกไม่อยู่บ้านก้เหมือนไม่มีชีวิตชีวา นี่ถ้าอยู่กันพร้อมหน้าพ่อ-แม่ลูก
มันจะวิเศษสักแค่ไหนนะ บางทีเขาเองก็คงไม่อับจนถึงกับต้องคิด
กระทาในสิ่งที่น่าอับอายเหมือนเมื่อสักครู่
๕แต่แล้วความหม่นหมองที่ครอบงาในจิตใจของเขาก็พลัน
มลายในทันที ความหงุดหงิดก่อตัวขึ้นแทนที่ ทาไมนะเขาถึงได้
คิดถึงหล่อนอีก เขาจะมีชีวิตอยู่โดยไม่มีความคิดดังกล่าวมาแผ้วพาน
ไม่ได้หรือไร เขาอยากลืมหล่อน และสลัดเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่าง
เขากับหล่อนให้พ้นไปจากการระลึกถึง แต่ไม่มีสักครั้งที่เขาทา
เช่นนั้นได้ ลูกสาวก็ยังไม่ลืมแม่ของเธอ อาจเป็นเพราะลูกเอ่ยถึง
หล่อนบ่อย ๆ กระมัง จึงทาให้เขาต้องนึกถึงอยู่ราไป
๖“มันไม่ใช่เสียทั้งหมด” เขาส่ายหน้าไปมาพร้อมกับเม้มปาก
จนเป็นเส้นตรง เขาไม่อาจแสร้งต่อตัวเองได้อีก การที่ลูกเอ่ยถึง
แม่บ่อย ๆ นั่นเป็นส่วนหนึ่งทีทาให้เขาต้องคิดถึงหล่อน แต่ยังมี
บางสิ่งที่มากกว่านี้ เขาเองต่างหากที่ลืมหล่อนไม่ได้ ต่อไปนี้... เขา
สัญญากับตัวเองว่าจะไม่ยอมใจอ่อนและหวั่นไหวอีกแล้ว เรื่อง
ทั้งหมดมันได้เกิดขึ้นและผ่านไป ไม่มีประโยคใด ๆ ที่จะต้องไป
คร่าครวญถึงมันอีก ถึงอย่างไรเขาก็ได้ตัดสินใจเด็ดขาดแล้วตั้งแต่
วันนั้น วันที่เขาหอบลูกจากเธอมา...
๗เขาเดินออกจากบ้าน จิตใจเลื่อนลอยสับสน ย่าไปบนถนน
สายเล็ก ๆ ที่เดินผ่านไปมาวันแล้ววันเล่า นาฬิกาข้อมือบอกเวลา
ว่าสามโมงเย็นแล้ว เขารีบเดินเร็วขึ้น ป่านนี้ลูกสาวคงรออยู่สาม
วันมานี่เขาไปรับลูกช้ากว่ากาหนด มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างโหดร้าย
จนเกินไป สาหรับการปล่อยให้ลูกสาวซึ่งเป็นเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ
ต้องคอยพ่ออย่างเดียวดาย
๘เด็กนักเรียนในชุดสีขาวกระโปรงสีน้าเงินเดินผ่านไปเป็น
กลุ่ม เสียงหัวร่อต่อกระซิกดังเริงร่ามาจากเด็กกลุ่มนั้น สักวัน
หนึ่งเถอะ... เขามาดมั่นอยู่ในใจ คงไม่นานหรอกที่ลูกสาวของเขา
จะได้สวมชุดที่น่ารักเช่นนี้บ้าง มันคงเป็นวันที่เขามีความสุขไม่น้อย
เลย
๙ที่บ้านของหญิงชราซึ่งเป็นสถานรับเลี้ยงเด็ก เหลือลูกสาว
ของเขานั่งหงอยเหงาอยู่หน้าบ้านเพียงคนเดียว ทันทีที่เห็นหน้าพ่อ
เด็กหญิงวัยสี่ขวบก็โผเข้าใส่ด้วยความดีใจ
๑๐“พ่อมาช้าอีกแล้ว” เธอตัดพ้อเมื่อจับมือข้างซ้ายที่ผูกนาฬิกา
ข้อมือของเขาขึ้นดู “ พ่อบอกจะมาสามโมงนี่สามโมงแล้วยังละพ่อ”
“ เพิ่งสามโมงกว่านิดเดียวเท่านั้นแหละจ๊ะ” เขาพูดแล้วยิ้ม
อย่างขบขันในอาการของลูกสาว “ใครสอนให้ลูกพ่อดูนาฬิกาเป็น
แต่เมื่อไหร่กันนี่”
“ ทีหลังพ่ออย่ามาช้าอีกนะ หนูกลัว หนูไม่อยากอยู่คน
เดียว”
“จ้ะ... พอให้สัญญา ทีหลังพอจะมาให้ไวกว่านี้” เขาหอม
แก้มเธอเบา ๆ เขาหันมายิ้มให้หญิงชราพร้อมแก้ตัวถึงสาเหตุที่มาช้า
๑๑“ ไม่เป็นไรหรอกคุณ” นางว่าอย่างอารมณ์ดี “แกก็ไม่โยเย
อะไรฉันก็นั่งเล่นอยู่กับแกไกล ๆ นี่แหละนี่ก็เพิ่งเข้าไปตั้งหม้อข้าว
แล้วออกมา แกน่ารักดีออก ว่าแต่คุณเถอะ... ดูสีหน้าไม่ดีเลย”
“ ก็อย่างงั้นแหละป้า” เขาก้มหน้า บอกให้ลูกสาวไปเล่น
ของเล่นที่วางอยู่บนโต๊ะตัวเตี้ย ๆ แล้วหันมาพูดกับเจ้าของบ้านต่อ
“ผมเดินมาเกือบสามอาทิตย์แล้วป้า แต่ไม่ได้เรื่องเลยงาน
เดี๋ยวนี้หายากจริง ๆ ”
“ทาไมไม่ลองไปต่างจังหวัดบ้างล่ะเผื่อจะได้ผล” หญิงชราให้
ความเห็น
“ ก็คิดเหมือนกันแต่ลูกสาวนี่สิจากฝากใครได้”
“ถึงว่าสิ” นางพยักหน้าหงึก ๆ “ก็น่าเห็นใจ”
๑๒เขาเงียบไปชั่วขณะ หันไปมองลูกสาวที่กาลังเล่นบล็อกไม้
อย่างเพลิดเพลิน เธอกาลังสร้างบ้านหลัง เล็ก ๆ
“ผม... เอ้อ...” เขาไม่ค่อยสะดวกใจนัก “ผมคงต้องขอผัด
ป้าอีกเดือนนะครับ ตอนนี้แย่ จริง ๆ”
“อ๋อ... เรื่องค่าจ้างรึคุณ” นางทาท่าครุ่นคิด “ไม่เป็นไร
หรอก ฉันเข้าใจ ให้คุณมีงานทาก่อนแล้วค่อยว่ากัน”
“ แต่ผมค้างมาสองเดือนแล้วนะป้า”
“เถอะน่า... อย่าคิดมากเลย มีเมื่อไหร่ค่อยมาว่ากันอีกทีก็
แล้วกัน” หญิงชราตัดบท
เขาไหว้นางด้วยสานึกในบุญคุณ ก่อนจะชวนลูกสาวเดิน
กลับบ้าน ปล่อยให้หญิงชราผู้อารีมองด้วยความเวทนา
๑๓สองพ่อลูกเดินย่ามาบนถนนสายเก่า ผ่านซอกซอยห้องแถว
กระทั่งมาถึงร้านขนมสาหรับเด็กที่มีขนมในซองสีบาดตาวางอยู่แน่น
ขนัดเด็กหญิงผละจากพ่อเข้าไปยืนเมียงมองอยู่หน้าร้านด้วยตาเป็น
ประกาย คนขายคืออาซิ้มแก่ ๆ กาลังหยิบขนมส่งให้เด็กหญิงชาย
คู่หนึ่งที่มากับรถเก๋งสีแดงเด็กชายคนนั้นรับซองขนมปังกรอบไป
ฉีกเขียวอย่างเอร็ดอร่อยน้องสาวของเธอก็ได้ข้าวเกรียบและ
ชอคโกแล็ตชนิดที่เคี้ยวแล้วได้ยินเสียงสะท้อนถึงหูคนข้างเคียง
เขาปล่อยให้ลูกสาวยืนจังงังกับภาพที่เห็นเบื้องหน้า เธอกลืน
น้าลายคงคอเฮือกใหญ่จ้องมองเด็กทั้งคู่และขนมในมือพร้อมกับหัน
มามองพ่อด้วยสายตาละห้อย
๑๔“หนูอยากได้ขนม” เธอร้องบอกอีกครั้ง
“เอ้อ... เอ้อ..” เขาพูดตะกุกตะกัก ขณะกรากเข้าไปตัวลูก
สาวแล้วจูงออกมา แต่เธอกลับขัดขืน
“ไม่เอาแล้ว ไม่เอา”
๑๕“แต่หนูจะเอา หนูอยากกินขนม” เด็กหญิงฮึดฮัด เสียงของ
เธอทาให้พ่อแม่เด็กคู่นั้น โผล่หน้าจากรถเก๋งมามองเขาพยายามกัน
ลูกสาวออกมา แต่ไม่รู้จะทาอย่างไรดี
“หนูอย่าดื้อซิจ๊ะ” พ่อ... เอ้อ.. ขนมนั้นไม่ดีหรอกลูก กิน
แล้วฟันผุ”
“แต่ทาไมเขากินได้ ทาไมหนูกินไม่ได้”
เขารู้สึกลาคอตีบตื้นไปหมด รีบอุ้มลูกสาวออกมาจาก
บริเวณนั้น ก้าวยาว ๆ ไปอย่างรวดเร็ว ลูกร้องไห้โฮดิ้นเร่า ด้วย
ความเสียใจ แต่นั่นยังน้อยกว่าเสียงร่าไห้ที่ดังอื้ออยู่ในใจของเขา
๑๖เขาพยายามจะไม่คิดถึงมันอีก ในวันอันเลวร้ายอย่างวันนี้
เขาไม่ควรแม้แต่จะคิดเพียงนิดเดียว แต่ใจเอ๋ยกระไรถึงได้หวั่นไหว
เสียเช่นนี้ เขาแอบกลืนน้าลายที่สอพล่านระหว่างซอกแก้มอย่าง
ยากเย็นเมื่อเดินผ่านร้านเหล้าหน้าปากซอย ชีวิตช่างทรมาน
เหลือเกิน... เขาคร่าครวญในใจ มือข้างที่ซุกอยู่ในกระเป๋ากางเกง
เกร็งเครียดจนอุ้มเหงื่อ นิ้วของเขาเผลอนับเศษเหรียญก้นกระเป๋า
อย่างลืมตัว ทั้งที่ได้นับมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบครั้งตลอดทางจาก
บ้านถึงปากซอยมันมีราคาเพียงเพื่อจะซื้อข้าวเปล่าสองถุงและกับข้าว
เพียงสองอย่างเท่านั้น
๑๗กลิ่นอาหารจากตู้กระจกโชยเข้าจมูกเมื่อยื่นหน้าเข้าไปชี้แกงที่
ต้องการจากคนขาย รับของและจ่ายเงินเสร็จเขาก็รีบผละมาจาก
สถานที่อันเย้ายวนนั้น ป่านนี้ลูกสาวคงหิวและรอเขาอยู่
๑๘“วันนี้ไม่เอาเสียหน่อยหรือ” คนขายเหล้าร้องถาม เมื่อเขา
หวนผ่านมาทางนั้นอีกที แทนคาตอบเขาส่ายหน้าและแกล้งมองเลย
ไปทางอื่น กระนั้นยังไม่ได้ยินเสียงไล่หลังมาว่า จะเป็นคนดีแล้วรึ
ไง ถึงไม่ชายตามองของรักของชอบ
“ทาไมหนูกินขนมนั้นไม่ได้ แต่เด็กคนนั้นกินได้” ในหูของ
เขายังได้ยินเสียงประท้วงของลูกสาวอยู่
“เพราะกินเหล้าแล้วจะทาให้ฟันผุนะซี...” เขานึกตลกอย่าง
ขื่น ๆ เมื่อคิดได้ถึงคาพูดที่ควรจะตอบคนขายเหล้า
๑๙หลายวันผ่านไปโดยที่เขายังหางานใหม่ไม่ได้ ในระหว่างนั้น
คือช่วงเวลาที่เขาทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส พยายามอย่างแรง
กล้าที่จะกักกันตัวเองมิให้ออกไปนั่งร้านเหล้าหน้าปากซอย สาม
วันที่เขาทนอยู่ด้วยความหงุดหงิดงุ่นง่าน แต่นั่นใช่ว่าเขาตัดสินใจ
เลิกได้แล้ว เขายังพร้อมที่จะทาเช่นนั้น แม้ว่าเป็นของไม่ดีใน
ความรู้สึกทั่วไป แต่มันก็เป็นสิ่งเดียวที่ทาให้เขายืนหยัดอยู่ได้จนถึง
ทุกวันนี้ มันทั้งปลุกปลอบย้อมใจและปลอบประโลมให้เขาลืมเรื่อง
ทั้งหลายแหล่ที่ผ่านมาและที่จะเริ่มต้นต่อไป สามวันที่เขาห่างเหินกับ
มัน เป็นเพราะเขาไม่มีเงินต่างหาก เงินก้อนสุดท้ายเหลืออยู่เพียง
น้อยนิดพอเป็นค่ากับข้าวระหว่างเขากับลูกเพียงไม่กี่วันเท่านั้นเอง
เงินก้อนนี้แหละที่เขาแข็งใจกันเอาไว้อย่างเลือดตาแทบกระเด็น
๒๐ทุกวันหลังจากกลับจากการลาดตระเวนหางาน เขารีบไป
รับลูกสาวกลับบ้าน แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ร้านขนมของอาซิ้ม
เมื่อวันก่อนแล้ว เขาตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางใหม่ โชคดีท้ายซอยที่
เขาอยู่มีตรอกเล็ก ๆ คดเคี้ยวไปจนถึงบ้านเลี้ยงเด็ก แม้ว่าทางใหม่
จะเต็มไปด้วยน้าคราและย่านที่อยู่ของคนจนก็ตาม แต่เขาคิดว่า
เส้นทางนี้เหมาะกันแล้วกับสภาพของเขา
๒๑หลายครั้งเหลือเกินในวันอันทุรนร้าว เขาอดที่จะนึกถึงวันเก่า ๆ
ไม่ได้ และเมื่อคิดถึงเขาก็ยิ่งไม่แน่ใจว่าการตัดสินใจของตัวเองใน
ครั้งนั้นถูกหรือผิดกันแน่
“น้าหน้าอย่างเธอนั้นหรือจะเลี้ยงลูกได้ เอาตัวเองให้รอด
ก่อนเถอะ...” เขายังจาคาพูดนี้ของหล่อนได้ดี เพราะคาพูดนี้แหละ
ที่ทาให้ชีวิตสมรสระหว่างเขาและหล่อนต้องพังทลายลงทันที
เขายักไหล่ให้กับความคิดอันหวั่นไหวนั้นหลายครั้งหลาย
คราว แต่ก็ไม่มีสักครั้งเดียวที่จะสลัดมันพ้น ยิ่งเห็นหน้าลูกยิ่งเห็น
สภาพความเป็นอยู่ของลูกน้อย เขาก้ยิ่งปวดร้าวจนบอกไม่ถูก เมื่อ
ความวุ่นวายในใจมีมากขึ้น ความต้องการน้าอย่างว่ามันก็มากขึ้นไป
อีก จนดูเหมือนว่าชีวิตของเขาถูกมันครอบงาเอาไว้แล้วอย่างสิ้นเชิง
และในที่สุดเขาก็ตะเกียกตะกายไปหามันจนได้...
๒๒คืนหนึ่ง ลูกสาววิ่งหน้าตาตื่นออกมาจากห้องนอนในมือ
ของเธออุ้มเอากระปุกออมสินออกมาด้วย เขานั่งสะลึมสะลืออยู่บน
ม้ายาวหน้าระเบียง เด็กหญิงวางกระปุกออมสินลงบนพื้น แล้วหัน
มาเขย่าร่างของพ่ออย่างร้อนรน
“มันหายไปแล้วพ่อ กะตังค์หายไปแล้ว” น้าเสียงนั้นแตกตื่น
ตกใจ “เมื่อก่อนมันหนักเดี๋ยวนี้เบาเสียแล้ว” เธอเขย่ากระปุกออม
สินแรง ๆ มันเบาหวิวและไม่มีเสียงกระทบของเศษเหรียญสักกริ๊ก
เดียว
“พ่อโกหก” เธอเริ่มร้องไห้ “พ่อบอกว่าเอากะตังค์ใส่ทุกวัน
แล้วมันจะเต็ม แต่ทาไมมันไม่เห็นเต็มเลยพ่อ”
๒๓เขาผุดลุกขึ้นมาโอบร่างลูกสาว ไม่กล้าแม้ชายตามองกระปุกออมสิน
นั้น เด็กหญิงสะอื้นอักอยู่ในวงแขนของพ่อ
“นิ่งซะลูก... นิ่งนะ มันหายไปแล้วก็แล้วกันไป ของมันหาย
ได้นี่นะ”
“แต่มันไปไหน... ใครเอามันไป”
เขาอึ้งไปเหมือนมีมือมาอุดปากสะท้านแปลบในใจ “เอ้อ
เอ้อ.. ”เขาอ้าอึ้ง ”กระต่าย... มันคงกินหมดมั้งลูก”
“มันกินด้วยเหรอ... มันกินกะตังค์” ลูกสาวทวนคาอย่าง
แปลกใจ “ทีนี้หนูก็ไม่มีเงินขี่รถไปหาแม่นะซี”
๒๔เขาหลบสายตาลูกสาว มองเลยไปทางหน้าต่าง พยายามทา
สีหน้าให้ปกติ สักครู่จึงหันมาคว้ากระปุกออมสิน “มันกินกะตังค์
ของลูกอย่าเอาไว้อีกเลยนะ” พูดจบเขาก็เหวี่ยงมันออกไปทางช่อง
หน้าต่างสุดแรง เสียงแตกกระจายดังมาติด ๆ
“พ่อ” ลูกของเขาร้องขึ้นดัง ๆ ดวงตากลมดตเต็มไปด้วย
ความสับสนและไม่เข้าใจ
๒๕เป็นยามบ่ายที่อากาศปลอดโปร่ง และเป็นวันแรกในหลาย
อาทิตย์ที่ผ่านมาซึ่งเขารู้สึกว่าจิตใจของตนโปร่งโล่งอย่างไม่เคย
เป็นมาก่อน วันนี้เขาไม่ต้องใช้เส้นทางท้ายซอยเพื่อไปรับลูกสาวอีก
หากเดินอย่างมั่นใจมาทางถนนสายเดิม ผ่านร้านขายขนมของอาซิ้ม
ที่นั่นเขาแวะซื้อขนมปังกรอบและชอคโกแล็ตสองสามถุง ลูกสาวคง
ดีใจ เขายิ้มอย่างเป็นสุขขณะก้มลงมองขนมเหล่านั้นครั้งแล้วครั้ง
เล่า นานแล้วซินะที่ลูกไม่เคยได้ลิ้มรสขนมที่อร่อยเช่นนี้
๒๖เมื่อไปถึงบ้านหญิงชรา ลูกสาวโผเข้าหาด้วยความดีใจเช่น
เคย เขาส่งขนมให้แล้วรับขวัญเสียฟอดใหญ่ เด็กรับจนมไปถือไว้
อย่างงุนงงระคนดีใจ เธอพูดออกสักคาเดียว
๒๗“อยากกินมากมิใช่เหรอ... กินเสียซิลูก” จนเขาบอกย้าไป
อีกทีเธอจึงหายตะลึง
“แต่กินแล้วฟันผุนี่”
“จ้ะ... แต่นาน ๆ กินทีคงไม่เป็นไรหรอก” เขาพูดด้วย
ความขบขันในท่าทางของลูกสาว แล้วจัดการฉีกซองขนมปังกรอบ
ให้ ลูกรับเข้าปากพร้อมเขี้ยวแก้วตุ่ย เธอกินขนมไปตลอดทางจนถึง
บ้าน
๒๘“พ่อยังมีของให้ลูกอีกอย่าง” เขาบอกเมื่อมาถึงบ้านเรียบร้อย
แล้ว พร้อมเดินไปหยิบถุงสีน้าตาลบนโต๊ะ “นี่ไงลูก... รับรอง
ต้องชอบมากเลยหละ” เขาพูดขณะลวงของในถุงออกมา
“กระต่าย... ออมสิน” เธออุทานอย่างแปลกใจอีกครั้งสิ่ง
ที่อยู่เบื้องหน้าเธอขณะนี้คือกระปุกออมสินรูปกระต่ายตัวใหม่ที่
น่ารักไม่แพ้ตัวเดิม
๒๙เด็กหญิงจ้องมองอยู่ครู่หนึ่ง แต่แล้วก็เมินหน้าไปอีกทาง
อย่างไม่ไยดี เขาอดที่จะแปลกใจในอาการของลูกสาวไม่ได้
“ทาไมล่ะ... ไม่อยากได้หรือ”
ลูกสาวพยักหน้า “อีกหน่อยมันก็จะกินกะตังค์ของหนูไม่ได้
อีกแล้ว”
“อ๋อ... “ เขายิ้มเมื่อนึกได้ “พ่อรับรองตัวนี้มันจะไม่กิน
กะตังค์หรอกลูก แต่มันจะมีกะตังค์ให้ลูกด้วยนะ นี่ไงล่ะ... ตัวมัน
หนักอึ๊บทีเดียว” เขายกกระต่ายให้ดูแล้วเขย่าแรงๆ “ได้ยินไหม...
มีกะตังค์เต็มไปหมดเลย”
๓๐เขาส่งให้ลูกสาว เธอรับไปถือไว้ มันหนักจนต้องรีบปล่อย
วางลงกับพื้นในทันใด ท่าทางของลูกน้อยเปลี่ยนไปทันที
“ทีนี้หนูก็จะมีกะตังค์ไปหาแม่แล้วนะ” เธอพึมพาอย่างดีใจ
เขาพยักหน้าหงิกๆ มองดูด้วยความชื่นชมเป็นสุข ค่อยๆอุ้ม
ลูกขึ้นใส่ตัก ลูบหน้าลูบหลังด้วยความตื่นตันใจ ลูกสาวจับมือข้าง
ซ้ายของเขาขึ้นดู แล้วร้องโวยวาย
๓๑“นาฬิกาละพ่อ นาฬิกาของพ่อไปไปไหน” เธอถาม เมื่อไม่
เห็นนาฬิกาอย่างเคย
“เอ้า... ตายจริง มันไม่มีหรอ...” เขาแกล้งอุทานเสียงดัง
ทาหน้าแตกตื่น "มันคงหายไปแล้วมั้ง จริงด้วยสิ มันตกหายไป
แล้ว"
“ทีนี้พ่อก็ไม่มีอะไรดูเวลา”
“ช่างมันเถอะลูก... มันหายไปแล้วก็แล้วกันไป” เสียงของ
เขาสั่งเครือ แกล้งทาไม่สนใจ ทั้งที่รู้สึกผะผ่าวที่ขอบตาทั้งสอง
๓๒ลูกของเขาเงียบไปพักหนึ่ง ลูบข้อมือของพ่อไปมาแผ่วเบาและ
เหมือนจะนึกอะไรได้บางอย่าง เธอรีบบอกเขาอย่างตื่นเต้น
“พ่อ... พ่อค่อยซื้อใหม่ก็ได้นะพ่อ รอให้กระต่ายมันให้
กะตังค์หนูมาก ๆ แล้วหนูจะแคะเอามาให้พ่อซื้อนาฬิกาใหม่ เอ้อ...
หนู... หนูไม่ไปหาแม่ก็ได้นะ”
๓๓น้าเสียงและท่าทางของเธอจริงจังเสียจนเขาสะท้านสะเทือน
ถึงหัวใจ เขารีบรั้งลูกน้อยเข้าแนบตัว นึกถึงภาพที่ตัวเองตัดสินใจ
เข้าโรงจานาเมื่อตอนกลางวัน... นึกถึงท่าทางของลูกสาว...
แล้วเขาก็ไม่อาจกลั่นน้าตาไว้ได้อีก…
๓๔คาศัพท์
คาศัพท์ คาอ่าน ความหมาย
นัยน์ตา ไน – ตา น. ดวงตา
อดสู อด – สู ก. ละอายใจ, อับอาย
มาก
คร่าครวญ คร่า - คฺรวน ว. ร้องร่าราพัน
ตัดพ้อ ตัด - พ้อ ก. พูดต่อว่าด้วยความ
น้อยใจ, พ้อ หรือตัดพ้อ
ต่อว่า ก็ใช้
ผัด ผัด ก. ขอเลื่อนเวลา เช่น
ผัดวัน ผัดหนี้
อารี อา - รี ว. เอื้อเฟื้อ, มีแก่ใจ,
มีใจเผื่อแผ่
เวทนา เว – ทะ – นา น. ความรู้สึก,
ความรู้สึกทุกข์สุข, เป็น
ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา
สัญญา สังขาร และ
วิญญาณ; ความเจ็บปวด,
ทุกข์ทรมาน
ตะกุกตะกัก ตะ - กุก - ตะ -
กัก
ว. ติดๆ ขัด ๆ,
ไม่ราบรื่น, (มักใช้แก่การ
อ่านหรือพูด)
หงุดหงิด หงุด - หงิด ว. มีอารมณ์เสียอยู่เสมอ
ๆ เช่น เขาเป็นคน
หงุดหงิด, มีอารมณ์เสีย
เพราะไม่ได้ดังใจหรือไม่
๓๕คาศัพท์ คาอ่าน ความหมาย
เป็นไปตามที่กาหนดเป็น
ต้น
งุ่นง่าน งุ่น - ง่าน ก. โกธรฮึดฮัด, กระวน
กระวายผุดลุกผุดนั่ง,
ง่าน
ประโลม ประ - โลม ก. ทาให้เป็นที่เบิกบาน
พึงอกพึงใจ
เลือดตากระเด็น เลือด - ตา -กระ -
เด็น
ว. ลาบากหรือยากแค้น
อย่างสาหัส เช่น กว่าจะ
หาเงินมาซื้อบ้านได้แทบ
เลือดตากระเด็นทีเดียว
อาลัยอาวรณ์ อา - ลัย - อา -
วอน
ก. ระลึกด้วยใจผูกพันไม่
อยากจากกัน
น. ความระลึกถึงด้วยใจ
ผูกพันไม่อยากจากกัน
เครือ เคฺรือ ว. ลักษณะของเสียงที่สั่น
พร่าไม่แจ่มใส เรียกว่า
เสียงเครือ
๓๖
กิจกรรม
ออมสิน
มีคำถำม
?
๓๗
กิจกรรม
คาชี้แจง ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
๑. ตัวละครในเรื่องมีใครบ้าง
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
๒. เหตุการณ์ที่สาคัญที่สุดในเรื่องคือ
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
๓๘๓. ฉากที่ปรากฏในเรื่องมีฉากใดบ้าง
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
๔. ๔. นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ที่พ่อนาเงินของลูกไปซื้อ
เหล้า เพราะเหตุใด
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
๕. กระปุกออมสินกระปุกแรกมีลักษณะอย่างไร
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
๓๙
๖. สรุปความจากเรื่องที่อ่าน
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
๗. ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
๘. ผู้แต่งคือใคร
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
๔๐
๙. พ่อนาเงินมาคือลูกด้วยวิธีใด
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
๑๐. ทาไมพ่อถึงเปลี่ยนเส้นทางเดินไปรับลูก
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
๔๑
ไพฑูรย์ ธัญญา. (๒๕๔๑). ถนนนี้...กลับบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ ๗).
ปทุมธานี: นาคร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๖). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ.๒๕๕๔. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊ค.
วิกิพีเดีย. (๒๕๕๘). ธัญญา สังขพันธานนท์. ค้นเมื่อ ๒๔ มีนาคม
๒๕๕๙, จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/ไพฑูรย์_ธัญญา
เนชั่นสุดสัปดาห์. (ม.ป.ป.). ธัญญา สังขพันธานนท์. ค้นเมื่อ
๒๔ มีนาคม ๒๕๕๙, จากwww.nationweekend.com
ภาคผนวก
เฉลยกิจกรรม
คาชี้แจง ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
๑. ตัวละครในเรื่องมีใครบ้าง
พ่อ, ลูก, หญิงชรา
๒. เหตุการณ์ที่สาคัญที่สุดในเรื่องคือ
พ่อนาเงินในกระปุกออมสินของลูกไปใช้
๓. ฉากที่ปรากฏในเรื่องมีฉากใดบ้าง
๑. บ้าน ๒. สถานรับเลี้ยงเด็ก
๓. ร้านขายขนม ๔. ร้านขายเหล้า
๕. ร้านขายข้าวแกง
๔. นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ที่พ่อนาเงินของลูกไปซื้อ
เหล้า เพราะเหตุใด
ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นเงินเก็บที่ลูกตั้งใจจะใช้
เดินทางไปหาแม่
๕. กระปุกออมสินกระปุกแรกมีลักษณะอย่างไร
เป็นกระต่าย สีขาว หูทั้งสองตั้งยาว ชี้ชัน
ลูกตาสีแดงคู่เล็ก
รศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์
๖. สรุปความจากเรื่องที่อ่าน
เป็นเรื่องราวของพ่อกับลูก เหตุเกิดจากที่พ่อกับแม่
แยกทางกัน พ่อเป็นคนเลี้ยงลูกซึ่งในขณะนั้นพ่อกาลังตก
งาน วันหนึ่งพ่อไม่มีเงินจึงนาเงินในกระปุกออมสินของลูก
ไปใช้ ลูกเสียใจไม่อยากจะออมเงินต่อไปอีกเพราะคิดว่า
กระปุกออมสินกินเงิน พ่อรู้สึกผิดนานาฬิกาไปจานาเพื่อนา
เงินมาคืนลูก
๗. ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
๑. การดูแลเอาใจใส่ลูกให้ดีคือหน้าที่ของพ่อกับแม่
๒. การขโมยเป็นสิ่งที่ไม่ดี
๓. การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้ที่เดือดร้อน
๘. ผู้แต่งคือใคร
๙. พ่อนาเงินมาคือลูกด้วยวิธีใด
นานาฬิกาไปจานา
๑๐. ทาไมพ่อถึงเปลี่ยนเส้นทางเดินไปรับลูก
เพื่อไม่ให้เดินผ่านร้านขายขนม เพราะไม่อยากให้ลูก
เห็นขนมแล้วอยากซื้อ
ประวัติผู้แต่ง
รองศาสตราจารย์ ดร. ธัญญา สังขพันธานนท์
เกิดเมื่อ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๙๙ ต.ท่ามะเดื่อ อ.เขาชัย
สน จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรคนที่ ๖ ในจานวน ๘ คน
ของนายชู และนางคลี่ สังขพันธานนท์ บิดาเป็นครู นามสกุล
เดิม คือ ชูแหละ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษมุสลิม
ปัจจุบันดารงตาแหน่ง เป็นรองศาสตราจารย์ สาขา
ภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เริ่มต้นงานเขียนทั้งบทกวีและเรื่องสั้น ใช้นามปากกา
"ไพฑูรย์ ธัญญา" มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ พร้อม ๆ กับเพื่อน
นักเขียนรุ่นใหม่ละแวกบ้านเกิด จนกลายมาเป็นที่มาของกลุ่ม
นาคร กลุ่มศิลปะ-วรรณกรรมสาคัญแห่งหัวเมืองปักษ์ใต้
เริ่มงานเขียนทั้งบทกวีและเรื่องสั้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑
พร้อมกับเพื่อนนักเขียนรุ่นใหม่ในเขตปริมณฑลรอบ ๆ บ้านเกิด
เป็นสมาชิกก่อตั้งของ "กลุ่มนาคร" กลุ่มศิลปวรรณกรรมที่สาคัญ
ของหัวเมืองปักษ์ใต้
๒๕๒๗ “สองร้อยปีฤๅสิ้นเสดสา” ผลงานเล่มแรกในชีวิต
วรรณกรรมกวีนิพนธ์เรื่องยาวที่เขียนร่วมกับเพื่อนใน กลุ่มนาคร
มีประมวล มณีโรจน์ สมใจ สมคิด รัตนธาดา แก้วพรหม และ
โอภาส สอดจิตต์
๒๕๒๘ รวมเรื่องสั้นเล่มแรก "ก่อกองทราย" ได้รับรางวัล
วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจาปี
พ.ศ. ๒๕๓๐
๒๕๓๐ รวมเรื่องสั้นเล่มที่สอง “ถนนนี้กลับบ้าน”
๒๕๓๒ นวนิยายเล่มแรก “ผีแห้งกับโลงผุ”
ผลงาน
๒๕๓๔ รวมเรื่องสั้นเล่มที่สาม “โบยบินไปจากวัยเยาว์”
ได้รับ รางวัลงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
๒๕๓๗ รวมเรื่องสั้นเล่มที่ ๔ “ตุลาคม” ได้รับรางวัลงาน
สัปดาห์หนังสือแห่งชาติและเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ ปี ๒๕๓๙
๒๕๓๘ รวมบทความวรรณกรรมศึกษา “ปรากฏการณ์แห่ง
วรรณกรรม” ในนามจริง ธัญญา สังขพันธานนท์
๒๕๓๙ หนังสือ “วรรณกรรมวิจารณ์”
๒๕๔๐ รวมบทความวรรณกรรม “นอกเหนือจินตนาการ”
รวมเรื่องสั้นคัดสรร แปล ไทย-อังกฤษ ‘At the Western
Battle Front : The so-sowar’ แปลโดย Tom Glass.
๒๕๔๔ รวมเรื่องสั้นคัดสรร แปล ไทย-อังกฤษ ในรอบ
๑๕ ปี ‘Paradise waves’แปลโดย Tom Glass
๒๕๔๕ รวมเรื่องสั้นเล่มที่ ๕ “โดยวิธีของเราเอง”
๒๕๔๖ สารคดีชีวประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ “เทพเจ้า
แห่งด่านขุนทด”
๒๕๔๗ นวนิยายขนาดสั้น “คืนฝนไฟ”
๒๕๔๘ หนังสือ “การเขียนสารคดีภาคปฏิบัติ”
ผลงาน
(ต่อ)
นายธนิต ศรีสังข์ ๕๖๑๓๑๑๐๙๐๐๓
นายวิวรรธน์ วงศ์ชัยเมธาพร ๕๖๑๓๑๑๐๙๐๐๔
นางสาวชรินรัตน์ ไชยเมือง ๕๖๑๓๑๑๐๙๐๑๒
นางสาวสุรีพร อย่างสวย ๕๖๑๓๑๑๐๙๐๕๔
หมู่เรียน ๐๑ ชั้นปีที่ ๓ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณะผู้จัดทา
กระปุกออกมสิน

More Related Content

What's hot

สาเหตุของสงครามครูเสด
สาเหตุของสงครามครูเสดสาเหตุของสงครามครูเสด
สาเหตุของสงครามครูเสด
ธนาภรณ์ กองวาจา
 
สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองkroobannakakok
 
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีPowerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีอาภัสรา ยิ่งคำแหง
 
บันทึกข้อความรายงานผลการอบรมหนาว
บันทึกข้อความรายงานผลการอบรมหนาวบันทึกข้อความรายงานผลการอบรมหนาว
บันทึกข้อความรายงานผลการอบรมหนาว
Manit Wongmool
 
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
Gawewat Dechaapinun
 
เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่THESKYsorha
 
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพสำเร็จ นางสีคุณ
 
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มรายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มGuntima NaLove
 
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
Parit_Blue
 
โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1Ocean'Funny Haha
 
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
Mine Pantip
 
หน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบาย
หน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบายหน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบาย
หน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบาย
ณรงค์ศักดิ์ กาหลง
 
ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์Princess Chulabhon's College Chonburi
 
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1Sivagon Soontong
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
chatsawat265
 
เกศสุดา2
เกศสุดา2เกศสุดา2
เกศสุดา2Kat Suksrikong
 

What's hot (20)

สาเหตุของสงครามครูเสด
สาเหตุของสงครามครูเสดสาเหตุของสงครามครูเสด
สาเหตุของสงครามครูเสด
 
สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมือง
 
ประวัติศาสตร์ไทย
ประวัติศาสตร์ไทยประวัติศาสตร์ไทย
ประวัติศาสตร์ไทย
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีPowerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 
บันทึกข้อความรายงานผลการอบรมหนาว
บันทึกข้อความรายงานผลการอบรมหนาวบันทึกข้อความรายงานผลการอบรมหนาว
บันทึกข้อความรายงานผลการอบรมหนาว
 
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
 
เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่เกษตรทฤษฎีใหม่
เกษตรทฤษฎีใหม่
 
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
 
งานนำเสนอ J
งานนำเสนอ Jงานนำเสนอ J
งานนำเสนอ J
 
Kingdom fungi
Kingdom fungiKingdom fungi
Kingdom fungi
 
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มรายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
 
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา โดยครูบลู ภาริทธิ์
 
โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1โครงงานไอเอส1
โครงงานไอเอส1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่นไทดำ
 
หน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบาย
หน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบายหน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบาย
หน่วยที่ 6 การเขียนสื่อสารสารในการอธิบาย
 
ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์
 
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 2 (ม.4).1
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
 
เกศสุดา2
เกศสุดา2เกศสุดา2
เกศสุดา2
 

Recently uploaded

โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
pakpoomounhalekjit
 
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
NuttavutThongjor1
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
NuttavutThongjor1
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
NuttavutThongjor1
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
SweetdelMelon
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
CholapruekSangkamane1
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
Postharvest Technology Innovation Center
 

Recently uploaded (7)

โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
 
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
 

กระปุกออกมสิน