SlideShare a Scribd company logo
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
การปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
(1) เหตุแห่งความเสื่อมโทรมของประเทศชาติ
และความทุกข์ยากของประชาชน
ประเทศไทย เป็นประเทศที่อุดมด้วย
ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ เพราะตั้งอยู่ใน
ชัยภูมิทางภูมิศาสตร์อันดีเลิศและคนไทยมีลักษณะพิเศษ
ประจำาชาติอันสูงส่ง ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงเป็นประเทศ
รุ่งเรื่องในประวัติศาสตร์อันยาวนาน และด้วยเหตุนี้ เมื่อมา
อยู่ในท่ามกลางความก้าวหน้าของโลกปัจจุบันจึงไม่มี
เหตุผลที่ประเทศไทยจะเป็นประเทศยากจน และไม่มี
เหตุผลที่คนไทยจะตกอยู่ในความทุกข์ยาก ดังที่ปรากฏอยู่
ในขณะนี้
รัฐบาลทุกชุดมีความตั้งใจจะแก้ปัญหาของ
ประเทศชาติ ต้องการจะพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติไปสู่
ความมั่งคั่ง ต้องการจะแก้ไขความยากจนของประชาชน
พยายามกันมานานแล้วแต่ก็ไม่สำาเร็จ ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง บ้าน
เมืองยิ่งทรุดโทรม ประชาชนยิ่งเดือดร้อน โดยเฉพาะ
รัฐบาลชุดนี้มีทีมเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง (ของพรรคกิจสังคม)
มีมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากมายทำางานกันอย่าง
หนัก ก็ไปไม่รอดเช่นเดียวกัน
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คน ผู้ที่เข้ามาแก้ปัญหามีคน
ซื่อสัตย์สุจริตมีความสามารถ แต่ถึงแม้ว่าจะมีความซื่อสัตย์
สุจริตและมีความสามารถสักเพียงใดถ้าแก้ปัญหาทั้งหลาย
ภายในกรอบของระบอบการปกครองในปัจจุบัน ก็ไม่มีทาง
ที่จะแก้ปัญหาได้ เพราะปัญหาสำาคัญอยู่ที่หลักการ ก่อนอื่น
คืออยู่ที่ระบอบการปกครองซึ่งยังไม่เป็นประชาธิปไตย
ไม่ว่าประเทศใด ๆ การที่จะพัฒนาจากภาวะล้า
หลังไปสู่ภาวะก้าวหน้าได้นั้น จะต้องพัฒนาการเมืองให้
สำาเร็จก่อน จึงจะพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้สำาเร็จได้
การพัฒนาการเมืองให้สำาเร็จก็คือ การทำาให้การปกครอง
เป็นระบอบประชาธิปไตยสำาเร็จ ซึ่งเรียกตามภาษาวิชาการ
ว่า “ ทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยให้สำาเร็จ ”
เมื่อทำาให้การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
สำาเร็จแล้วก็ใช้ระบอบประชาธิปไตย แก้ปัญหาเศรษฐกิจ
อื่น ๆ ก็จะแก้ปัญหาได้ตามความต้องการของประเทศชาติ
และประชาชน
การที่จะทำาให้การปกครองเป็นระบอบ
ประชาธิปไตยสำาเร็จ หรือทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยให้
สำาเร็จนั้น ต้องอาศัยขบวนการประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง
การที่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยล้มเหลวมาโดย
ตลอด ก็เพราะขบวนการประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง
ขบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยเกิดขึ้น
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงเวลานี้แม้ว่าจะขยายตัวกว้าง
ขวางมากแล้ว แก่ก็ยังกระจัดกระจาย ถ้ารวมตัวกันเข้าเป็น
เอกภาพกันได้ก็จะมีความเข้มแข็ง และทำาการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยสำาเร็จ
บัดนี้กลุ่มบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ที่มีความต้องการ
ประชาธิปไตยร่วมกัน ได้รวมตัวกันเป็นขบวนการ และ
ตกลงตั้งชื่อกันว่า “ ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
” ด้วยความมุ่งหมายที่จะสร้างเอกภาพของขบวนการ
ประชาธิปไตยในประเทศไทย เพื่อความสำาเร็จของการ
ปฏิวัติประชาธิปไตย
ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ จึงขอ
ความร่วมมือมายังพี่น้องชาวไทยทั้งหลาย ตั้งต้นรวมพลัง
เพื่อให้การปฏิวัติประชาธิปไตยสำาเร็จตามความมุ่งหมาย
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
(2) อุดมคติ ความมุ่งหมาย ภารกิจและวิธีการ
ของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
การประชุมขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2524 ได้ลงมติกำาหนดอุดมคติ ความ
มุ่งหมาย ภารกิจและวิธีการของขบวนการประชาธิปไตแห่ง
ชาติดังนี้
อุดมคติ ขบวนการประชาธิปไตยในประเทศทั้ง
หลายทั่วโลก ย่อมมีอุดมคติอย่างเดียวกัน คือ สังคมอัน
ประกอบด้วยความไพบูลย์ ความสันติสุข อิสรภาพ เสรีภาพ
สมภาพ และภารดรภาพ เรียกว่าสังคมประชาธิปไตย
(DEMODRATIC SOCIETY) สังคมดังกล่าวนี้เป็นความ
ใฝ่ฝันอันสูงสุดของมนุษยชาติที่จะไปบรรลุถึง และ
ประชาชนชาวไทยก็มีความใฝ่ฝันเช่นนี้ ฉะนั้น สังคม
ประชาธิปไตย จึงเป็นอุดมคติของขบวนการ
ประชาธิปไตยแห่งชาติ
ความมุ่งหมาย ไม่ว่าประเทศใด ๆ การที่บรรลุ
ถึงซึ่งอุดมคติของขบวนการประชาธิปไตยนั้น ย่อมต้อง
ดำาเนินไปภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ถ้า
ปราศจากการปกครอบระบอบประชาธิปไตยแล้วก็จะไม่
สามารถดำาเนินการเพื่อบรรลุอุดมคติของขบวนการ
ประชาธิปไตยได้ แต่ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น การสถาปนาการ
ปกครองประชาธิปไตย จึงเป็นความมุ่งหมายของ
ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
ภารกิจ การปกครองระบอบประชาธิปไตยไม่
สามารถจะสถาปนาขึ้นภายใต้ระบอบเผด็จการ จะต้อง
ยกเลิกการปกครองระบอบเผด็จการไม่ว่ารูปใด ๆ เสียก่อน
จึงสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นได้ การ
ยกเลิกการปกครองระบอบเผด็จการ และการสถาปนาการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตย เรียกตามภาษาวิชาการว่า
การปฏิวัติประชาธิปไตย ขบวนการประชาธิปไตยใน
ประเทศไทยได้ดำาเนินความพยายามที่จะทำาการปฎิวัติ
ประชาธิปไตยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ยังไม่สำาเร็จ และ
การสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น จะ
กระทำาได้ก็แต่ด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตยนั้น ไม่มีหนทาง
อื่นเลย ฉะนั้น การปฏิวัติประชาธิปไตย จึงเป็นภารกิจ
ของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
วิธีการ เมื่อพูดถึงการปฏิวัติ ในประเทศไทยมัก
จะรู้จักกันแต่การปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งแท้จริง คือการ
รัฐประหารนั่นเอง หาใช่การปฏิวัติแต่อย่างใดไม่ และการ
ปฏิวัติรัฐประหารย่อมไม่ใช่วิธีการตามวิถีทาง
ประชาธิปไตย แต่การปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศทั้ง
ปวงนั้น มีทั้งวิธีการตามหลักวิถีทางประชาธิปไตยและวิธี
การที่ไม่ใช่ตามวิถีทางประชาธิปไตยตามสภาวการณ์ของ
แต่ละประเทศ แต่วิธีการตามวิถีทางประชาธิปไตยนั้น
เหมาะสมกับประเทศไทย ฉะนั้น การปฏิวัติตามวิถีทาง
ประชาธิปไตย จึงเป็นวิธีการของขบวนการ
ประชาธิปไตยแห่งชาติ
จึงขอชี้แจงมติว่าด้วยอุดมคติ ความมุ่งหมาย
ภารกิจและวิธีการของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ
มายังพี่น้องชาวไทยทั้งหลาย ให้เป็นที่แจ่มชัดโดยทั่วกัน
(3) ทำาไมต้องทำาการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยให้สำาเร็จ
คนไทยได้มีการปรารภกันมาเกือบ 100 ปี แล้ว
ว่าประเทศไทยซึ่งเคยรุ่งเรืองและก้าวหน้ากว่าญี่ปุ่น ทำาไม
จึงล้าหลังห่างไกลจากญี่ปุ่น และก็มีการพูดกันตลอดว่า ทำา
อย่างไรประเทศไทยจึงจะเจริญทัดเทียมกับอารยประเทศ
ทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ไม่รู้ว่าจะทำาอย่างไร ก็มีการเสนอ
เป็นเชิงประชดว่า การที่จะทำาให้ประเทศไทยมีความเจริญ
ก้าวหน้านั้น ควรให้ประเทศไทยเป็นเมืองขึ้นของ
มหาอำานาจเสียสักระยะหนึ่ง เพราะในครั้งนั้นเมืองขึ้นที่อยู่
ติดกับประเทศไทยมีความเจริญกว่าประเทศไทย เช่นเมื่อ
เดินทางเข้าไปในเขตมลายูซึ่งเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ จะเห็น
ได้ทันทีว่า ในเขตมลายูนั้น การพัฒนาการปลูกสวนยาง
และสวนปาล์มนำ้ามันดำาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่
ว่ากิจการใด ๆ ในมลายูล้วนแต่เจริญก้าวหน้ากว่าใน
ประเทศไทยทั้งสิ้น ดังนี้เป็นต้น ถึงกับในการอภิปรายใน
สภาผู้แทนราษฎรครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.2490 มีบุคคลชั้นนำา
ของพรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่งเสนอขึ้นว่า วิธีการแก้
ปัญหาของประเทศไทยคือ ให้ฝรั่งปกครองสักระยะหนึ่ง
แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะได้พัฒนาการ
ในด้านต่าง ๆ ไปมากมายไม่แพ้ประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้น
แล้วก็ตาม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังยากจน ฉะนั้น
นอกจากปัญหาความยากจนและปัญหาที่ต้องทำาให้
ประเทศไทยก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศเหมือนที่เคย
พูดกันมาในอดีตแล้ว เรายังจะต้องวิตกกังวลอย่างยิ่งถึง
ความอยู่รอดของประเทศชาติอีกด้วย ซึ่งมีการอภิปรายและ
สัมมนาเรื่องทางรอดของชาติกันนับครั้งไม่ถ้วน ทว่าก็ยัง
ไม่มีผู้ใดหาทางออกที่มีประสิทธิผลได้
สิ่งที่เราภาคภูมิใจคือเอกราชของชาติ
ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชมาได้ในขณะที่เพื่อน
บ้านตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำานาจไปหมด แต่เอกราชก็
ช่วยอะไรไม่ได้ในเมื่อประเทศเรายังตกอยู่ในความล้าหลัง
และยากจน และต้องเผชิญกับปัญหาความอยู่รอดของชาติ
ยิ่งกว่าประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้น
ความจริงคือ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกับประเทศ
อื่น คือการที่จะหลุดพ้นจากความล้าหลังและความยากจน
เจริญห้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ และปลอดภัยจากภัย
แห่งความสิ้นชาติ คือความมีเอกราชอย่างเดียวไม่เพียงพอ
แต่จะต้องมีระบอบประชาธิปไตยด้วย เมื่อมีเอกราชแล้ว
ปัจจัยชี้ขาดของประเทศชาติคือระบอบประชาธิปไตย
เมื่อคนไทยรู้ความจริงข้อนี้แล้ว ก็ได้ดำาเนิน
ความพยายามเพื่อทำาให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย โดยใช้วิธีการต่าง ๆ มากกมาย เช่นการ
ปฏิรูปประชาธิปไตย การจัดให้มีรัฐธรรมนูญ การแก้ไข
รัฐธรรมนูญ การเผยแพร่ประชาธิปไตย โครงการอบรม
ประชาธิปไตย การพัฒนาชนบท การสร้างประชาธิปไตย
มาจากรากฐาน เช่นการสร้างความเข้มแข็งของสภาตำาบล
ฯลฯ แต่ก็ไม่สามารถทำาให้มีระบอบประชาธิปไตยขึ้นได้
เพราะว่าระบอบประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ด้วย
วิธีการเดียวเท่านั้น คือ การปฏิวัติประชาธิปไตย ไม่มี
ประเทศใดในโลกที่จะมีระบอบประชาธิปไตยได้โดยไม่
ทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย
และคนไทยก็เคยทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยมาบ้าง
แล้วเหมือนกัน แต่ไม่สำาเร็จ ดังนั้น ถ้าจะให้ประเทศไทยมี
การปกครองระบอบประชาธิปไตย ก็จะต้องทำาการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยให้สำาเร็จเท่านั้น ไม่มีทางอื่นใดอีกเลย จง
อย่าได้คิดว่าประเทศไทยจะมีการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยได้ โดยไม่ต้องทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย
ต้องทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย
(4) ประชาธิปไตยคืออะไร
การปฏิวัติประชาธิปไตย คือการเปลี่ยนแลง
ระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือยกเลิก
ระบอบเผด็จการและสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นแทน
หลายคนกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นระบอบ
ประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ต้องปฏิวัติประชาธิปไตย บาง
คนกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ไม่
สมบูรณ์ จึงเพียงแต่พัฒนาระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นไม่
ต้องปฏิวัติประชาธิปไตย
จริงทีเดียว ถ้าประเทศไทยเป็นระบอบ
ประชาธิปไตยอยู่แล้ว ไม่ว่าจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์
ก็ตาม ก็ไม่ต้องปฏิวัติประชาธิปไตย แต่ประเทศไทยเป็น
ระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้วจริงหรือ ?
ระบอบประชาธิปไตยนั้นแสดงออกโดยการ
ปกครองประชาธิปไตยหรือรัฐบาลประชาธิปไตย
(Democratic Government) และการปกครอง
ประชาธิปไตยนั้น จะต้องเป็นไปตามหลักของการปกครอง
ประชาธิปไตย ดังต่อไปนี้
1. อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
(Popular Sovereignty) หมายความว่า ประชาชนเป็นเป็น
เจ้าของอำานาจสูงสุดของประเทศร่วมกัน มิใช่คนส่วนใด
ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนน้อยผูกขาดอำานาจไว้ ดังที่พระบาท
สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคัดค้านคณะราษฎร์ว่า “
ข้าพเจ้าสมัครใจจะสละอำานาจของข้าพเจ้าให้แก่ราษฎรทั้ง
หลาย แต่ไม่ยินยอมยกอำานาจของข้าพเจ้าให้แก่บุคคลใด
บุคคลหนึ่ง หรือคณะหนึ่งคณะใด ” และหลักการอำานาจ
อธิปไตยปวงชนนั้น แสดงออกด้วยนโยบายบริหารประเทศ
ซึ่งรักษาผลประโยชน์ของประชาชน มิใช่รักษาผล
ประโยชน์ของคนส่วนน้อย
2. เสรีภาพ (Freedom) หมายความว่า บุคคลมี
เสรีภาพบริบูรณ์ในการใช้สิทธิต่าง ๆ ทั้งในทางส่วนตัว ใน
ทางสังคมและในทางการเมือง เช่น ในร่างกาย ใน
ทรัพย์สิน ในการศึกษา ในการนับถือศาสนา ในการชุมนุม
ในการตั้งสมาคม ในการตั้งพรรคการเมือง และในการ
เปลี่ยนรัฐบาล เป็นต้น
3. ความเสมอภาค (Equality) หมายความว่า
บุคคลมีความเท่าเทียมกันในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะถือ
ความเท่าเทียมกัน ทั้งในทางกฎหมาย และในทางโอกาส
4. หลักกฎหมาย (Rule of Law) คือหลัก
นิติธรรม ซึ่งใช้เป็นเป็นมาตรฐานของการออกกฎหมาย
เช่น หลักที่ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำาผิดให้สันนิษฐานก่อน
ว่า เป็นผู้สุจริต ศาลเท่านั้นเป็นผู้พิพากษาตัดสินกฎหมาย
ฯลฯ กฎหมายใดซึ่งขัดกับหลักกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ
5. รัฐบาลจากการเลือกตั้ง (Elected
Government) หมายความว่า ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่า
บริหารต้องมาจากการเลือกตั้งทั่วไป
เหล่านี้ คือหลักการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย การปกครองซึ่งเป็นไปตามหลักการเหล่านี้
ก็เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย และหลักการที่เป็น
หัวใจ คือ อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ถ้ามีหลัก
การข้อนี้แล้ว ถึงจะยังขาดข้ออื่น ๆ อยู่บ้างก็เป็นระบอบ
ประชาธิปไตย แต่ถ้าไม่มีข้อนี้ ถึงจะมีข้ออื่น ๆ ก็เป็นระบอบ
เผด็จการ เช่นประเทศไทยในปัจจุบันเป็นระบอเผด็จการที่
มีเสรีภาพพอสมควร ที่เรียกว่า ประชาธิปไตยครึ่งใบ เพราะ
ว่าถึงจะมีเสรีภาพ มีความเสมอภาค มีหลักกฎหมายอยู่บ้าง
และมีการเลือกตั้งแต่อำานาจอธิปไตยมิได้เป็นของปวงชน
ฉะนั้น การปกครองของประเทศไทย จึงไม่เป็นระบอบ
ประชาธิปไตย แต่เป็นระบอบเผด็จการ
(5) อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นหลักการ
ปกครองหลักที่ 1 ของระบอบประชาธิปไตย และเป็นหัวใจ
ของระบอบประชาธิปไตย แต่ในประเทศไทย มีการอธิบาย
กันอย่างกว้างขวางว่าหัวใจของระบอบประชาธิปไตย คือ
เสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นการชักจูงประชาชนให้
เข้าใจผิดต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง จนไม่รู้ว่า
ระบอบประชาธิปไตยคืออะไร
การปกครองทั้งหลายย่อมมีอำานาจ การ
ปกครองบ้านย่อมมีอำานาจของบ้าน การปกครองของวัด
ย่อมมีอำานาจของวัด การปกครองย่อมมีอำานาจของ
โรงเรียน ไปจนถึงการปกครองประเทศ ย่อมมีอำานาจของ
ประเทศ
ในบรรดาอำานาจทั้งหลายเหล่านั้น อำานาจของ
ประเทศเป็นอำานาจสูงสุดคือสูงถึงขนาดฆ่าคนได้ และสิทธิ์
ขาดโต้แย้งมิได้ จึงนิยมเรียกกันว่าอำานาจสูงสุดของ
ประเทศ ดังที่ใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรก และต่อมาเรียกให้
เป็นศัพท์ว่าอำานาจอธิปไตย ซึ่งใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อ ๆ
มา จนถึงปัจจุบัน
อำานาจของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยนั้น มี
อำานาจเดียวแต่แสดงออกเป็น 3 ด้าน คือ (1) อำานาจ
นิติบัญญัติ (2) อำานาจบริหาร (3) อำานาจตุลการ
อำานาจในการปกครองย่อมมีเจ้าของ และ
เจ้าของอำานาจก็คือผู้ปกครอง นัยหนึ่ง อำานาจย่อมเป็นของ
ผู้ปกครอง อำานาจของบ้านเป็นของเจ้าบ้าน อำานาจของวัด
เป็นของสมภาร อำานาจของโรงเรียนเป็นของครูใหญ่
จนถึงอำานาจของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยเป็นของผู้
ปกครองประเทศ
ผู้ปกครองประเทศนั้นกล่าวอย่างกว้างมี 2 ชนิด
คือ ชนส่วนน้อยและปวงชน (ประชาชน) ถ้าชนส่วนน้อย
เป็นผู้ปกครองประเทศ อำานาจของประเทศหรืออำานาจ
อธิปไตยก็เป็นของชนส่วนน้อย ถ้าปวงชนเป็นผู้ปกครอง
ประเทศ อำานาจของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยเป็นของ
ปวงชน
ถ้าอำานาจของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยเป็น
ของชนส่วนน้อย ก็เป็นระบอบเผด็จการ ถ้าอำานาจของ
ประเทศหรืออำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็เป็นระบอบ
ประชาธิปไตย และแต่ละระบอบต่างก็มีหลายรูป โดยสาระ
สำาคัญแล้วระบอบเผด็จการหรือระบอบประชาธิปไตยนั้น
ได้ได้หมายความอย่างอื่น แต่หมายความว่า อำานาจหรือ
อำานาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยหรือเป็นของปวงชน
เท่านั้น
แต่ชนส่วนน้อยหรือปวงชน ซึ่งเป็นเจ้าของ
อำานาจของประเทศหรืออำานาจประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้เป็น
ผู้กุมอำานาจโดยตรง แต่มีผู้แทนเป็นผู้กุมอำานาจ และผู้แทน
ก็คือคณะการเมือง กลุ่มการเมือง หรือพรรคการเมือง ซึ่ง
เข้าไปกุมองค์กรแห่งอำานาจของประเทศหรืออำานาจ
อธิปไตย อันได้แก่ รัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล เพื่อใช้
องค์กรทั้ง 3 นี้รักษาผลประโยชน์ของผู้ที่ตนแทน ถ้าแทน
ชนส่วนน้อยก็ใช้องค์กรเหล่านี้รักษาผลประโยชน์ของชน
ส่วนน้อย ถ้าแทนปวงชนก็ใช้องค์กรเหล่านี้รักษาผล
ประโยชน์ของปวงชน
ทั้งนี้จะรู้ได้ด้วยนโยบายของรัฐบาลเป็นสำาคัญ
ถ้านโยบายของรัฐบาลรักษาผลประโยชน์ของชนส่วนน้อย
ก็แสดงว่าอำานาจของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยเป็นของ
ชนส่วนน้อย ถ้านโยบายของรัฐบาลรักษาผลประโยชน์
ของปวงชน ก็แสดงว่าอำานาจของประเทศหรืออำานาจ
อธิปไตยเป็นของปวงชน
ในปัจจุบันอำานาจของประเทศหรืออำานาจ
อธิปไตยเป็นของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาด ซึ่งเป็นชนส่วน
น้อย ฉะนั้น ไม่ว่านโยบายใด ๆ ล้วนแต่มุ่งรักษาผล
ประโยชน์ของชนส่วนน้อย โดยไม่คำานึงถึงความเดือดร้อน
ของประชาชน
ฉะนั้น จึงต้องเปลี่ยนมืออำานาจของประเทศหรือ
อำานาจอธิปไตยจากของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาด มาเป็น
ของปวงชน เพื่อให้มีรัฐบาลที่ดำาเนินนโยบายรักษาผล
ประโยชน์ของประชาชน
การเปลี่ยนมืออำานาจของประเทศหรืออำานาจ
อธิปไตยเช่นนี้ คือหัวใจของการเปลี่ยนระบอบเผด็จการ
เป็นระบอบประชาธิปไตย คือหัวใจของการปฏิวัติ
ประชาธิปไตย
(6) บุคคลมีเสรีภาพสมบูรณ์
บุคคลมีเสรีภาพสมบูรณ์ เป็นหลักการปกครอง
หลักที่ 2 ของระบอประชาธิปไตย เป็นเป็นหลักคู่กับอำานาจ
อธิปไตยของปวงชน ซึ่งเป็นหลักการปกครองที่ 1 ของ
ระบอบประชาธิปไตย
เสรีภาพ คือสิทธิ คือสิทธิในการคิดและใน
การกระทำาที่ปราศจากกาพันธนาการไม่ว่าจะเป็นสิทธิทาง
ส่วนตัว หรือทางการเมือง สิทธิทางส่วนตัว เช่น สิทธิใน
ชีวิต สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในการแสวงหาความสุข ฯลฯ
สิทธิทางการเมือง เช่น สิทธิในการเลือกลัทธิทางการเมือง
สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการเปลี่ยนรัฐบาล ฯลฯ การที่
บุคคลใช้สิทธิโดยปราศจากพันธนาการ คือการที่บุคคลมี
เสรีภาพ
บุคคลย่อมมีเสรีภาพไม่ว่าภายใต้ระบอบใด ๆ
เพราะบุคคลไม่สามารถดำารงอยู่ได้โดยปราศจากเสรีภาพ
อย่างสิ้นเชิง ต่างแต่ว่าเสรีภาพในกระบอบประชาธิปไตย
ไม่ว่าในรูปใด ๆ เป็นเสรีภาพบริบูรณ์ เสรีภาพในระบอบ
เผด็จการไม่ว่ารูปใด ๆ เป็นเสรีภาพไม่บริบูรณ์ เช่น ใน
ประเทศสวีเดนเป็นเสรีภาพบริบูรณ์ ในประเทศไทยเป็น
เสรีภาพไม่บริบูรณ์ เพราะ สวีเดนเป็นระบอบประชาธิปไตย
ไทยเป็นระบอบเผด็จการ
เสรีภาพบริบูรณ์นั้น ไม่ใช่บริบูรณ์อย่างไม่มี
ขอบเขต แต่บริบูรณ์ภายในขอบเขต ถ้าเลยขอบเขตก็
กลายเป็นไม่มีเสรีภาพ เช่น ผู้ขับรถยนต์มีเสรีภาพสมบูรณ์
ในการขับรถยนต์ตามถนนแลพะตามกฎจราจร ถ้าขับ
รถยนต์ออกนอกถนนหรือไม่ถือกฎจราจรก็ไม่มีเสรีภาพใน
การขับรถยนต์ เสรีภาพบริบูรณ์ภายในขอบเขตคือหลัก
ธรรมชาติของเสรีภาพ และขอบเขตของเสรีภาพบริบูรณ์
คือ การไม่ล่วงลำ้าเสรีภาพของบุคคลอื่นและไม่เป็นปรปักษ์
ต่อส่วนรวม ฉะนั้น คติที่ถือว่าเสรีภาพบริบูรณ์ คือเสรีภาพ
ไม่มีขอบเขตจึงเป็นคติที่ผิดธรรมชาติ จึงไม่ใช่คติของลัทธิ
ประชาธิปไตย แต่เป็นคติของลัทธิอนาธิปไตย การปฏิบัติ
ตามคติของลัทธิอนาธิปไตย คือการทำาลายเสรีภาพนั่นเอง
ในบรรดาเสรีภาพทั้งปวงนั้น เสรีภาพทาง
ความคิดเป็นรากฐาน คนเราถ้าไม่มีเสรีภาพทางความคิด ก็
เท่ากับไม่มีเสรีภาพและเท่ากับหมาดความเป็นคน ฉะนั้น
ระบอบประชาธิปไตยซึ่งยึดถือหลักธรรมชาติของเสรีภาพ
จึงทำาให้เสรีภาพบริบูรณ์แก่บุคคลในการนับถือศาสนา และ
เชื่อถือลัทธิการเมือง ในขอบเขตที่ไม่กระทำาการอันขัดต่อ
กฎหมายและศีลธรรม
ในระบอบประชาธิปไตย การที่บุคคลได้แสดง
ความคิดเห็นอย่างเสรีย่อมทำาให้ได้มาซึ่งแนวความคิดที่ดี
ที่สุด อันจะส่งผลให้ได้มาซึ่งนโยบายที่ดีและนำาความผาสุก
มาสู่คนส่วนรวม และการให้บุคคลมีเสรีภาพทำาให้บุคคล
เกิดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ฉะนั้นในระบอบ
ประชาธิปไตยซึ่งบุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์ ประชาชนจึงมี
จิตสำานึกในการรักษาระเบียบวินัยด้วยความสมัครใจ
อำานาจอธิปไตย เป็นหลักคู่กับเสรีภาพใน
ฐานะที่เสรีภาพขึ้นต่ออำานาจอธิปไตย เพราะผู้ปกครอง
ย่อมให้เสรีภาพย่างเต็มที่แก่ตนเองเสมอไป ดังนั้น ใน
ระบอบเผด็จการซึ่งอำานาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย
ชนส่วนน้อยจึงมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ และในระบอบ
ประชาธิปไตยซึ่งอำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน บุคคล
ทั่วไปจึงมีเสรีภาบริบูรณ์
ในประเทศปัจจุบัน อำานาจอธิปไตยเป็นของกลุ่ม
ผลประโยชน์ผูกขาดซึ่งเป็นชนส่วนน้อย เสรีภาพอย่างเต็ม
ที่จึงมีแก่เฉพาะบุคคลในกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดเท่านั้น
บุคคลทั่วไปขาดเสรีภาพอย่างมากมาย ดังนั้น จึงต้อง
ทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย เปลี่ยนอำานาจอธิปไตยจากคน
ส่วนน้อยมาเป็นของปวงชน เพื่อเสรีภาพบริบูรณ์จะได้มีแก่
บุคคลทั่วไปอย่างเสมอหน้ากัน
(7) ความเสมอภาค
ความเสมอภาค เป็นหลักการปกครองอีกหลักหนึ่ง
ของระบอบประชาธิปไตยต่อจากอำานาจอธิปไตเป็น
ของปวงชนและบคคุลมีเสรีภาพบริบูรณ์
ความเสมอภาค คือว่าเท่าเทียมกันของคนทุกคน ลัทธิ
ประชาธิปไตยยึดหลักธรรมชาติของมนุษย์ว่า มนุษย์ทุกคน
เมื่อเกิดมาแล้วย่อมมีความทียมกันในความเป็นมนุษย์ แต่
มนุษย์แต่ละคนเมื่อเกิดมาแล้วไม่เหมือนกัน บางคนแข็งแรง
บางคนอ่อนแอ บางคนฉลาดมาก บางคนฉลาดน้อย บาง
คนมีความสามารถมาก บางคนมีความสามารถน้อย บางคน
มีความทะเยอทะยานมาก บางคนมีความทะเยอทะยานน้อย
ดังนั้น การที่จะกำาหนดให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในทุก
สิ่งทุกอย่างจึงหขัดกับหลักธรรมชาติของมนุษย์และดังนั้น
เพื่อนุวัติตามธรรมชาติของมนุษย์ ระบอบประชาธิปไตยจึง
กำาหนดว่าเมื่อประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำานาจสูงสุด
ของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยแล้ว ประชาชนทุกคนจึงมี
ความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน ในการแสดงออกซึ่ง
ความเป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตยนั้น ความหมายโดยสาระ
สำาคัญของความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยคือคน
ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการแสดงออกซึ่งความเป็น
เจ้าของอำานาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ
1. ความเสมอภาคในกฎหมาย (Equality before the law)
หมายความว่า คนทุกคนไม่ว่ากำาเนิดใด ศาสนาใด มีฐานะ
ทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง ทางสังคม สูงหรือตำ่าอย่างใด
ย่อมอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน อยู่ภายใต้ระบบศาล
เดียวกัน ได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน และได้รับความ
คุ้มครองจากองค์กรกฎหมายเท่าเทียมกัน ความแตกต่างใน
กรณีใด ๆ ระหว่างบุคคลไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใด
2. ความเสมอภาคในการออกเสียง (Equality in vote)
หมายความว่า บุคคลแต่ละคนมีสิทธิในการออกเสียงลง
คะแนนในการเลือกตั้งหรือในการแสดงประชามติใด ๆ ได้
เพียงคะแนนเดียว (One man, One vote) และหมายความ
ว่า คะแนนเสียงของแต่ละคนจะต้องมีนำ้าหนัก หรือคุณค่า
ในการตัดสินผลการเลือกตั้งหรือการแสดงประชามติเท่า
เทียมกัน ตัวอย่างเช่น การแบ่งเขตเลือกตั้งที่ถือเอาเนื้อที่
ของเขตเป็นเกณฑ์ ไม่ถือเอาจำานวนประชากรเป็นเกณฑ์
ทำาให้เขตการเลือกตั้งซึ่งอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีประชากร
มากกว่า 500,000 คน เยเปรียบเขตเลือกตั้งในชนบทที่มี
ประชากรเพียง 50,000 คน และคะแนนเสียงของคนใน
เมืองใหญ่มีผลในการตัดสินการเลือกน้อยกว่าคะแนนเสียง
ของคนในชนบทถึง 10 เท่า เหตุนี้ศาลจึงตัดสินว่า การแบ่ง
เขตเลือกตั้งเช่นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
3. ความเสมอภาคในโอกาส (Equality in Opportunity )
หมายความว่า คนทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการใช้
พลังสมองและความสามารถ เพื่อเสริมสร้างและยกฐานะ
ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคมของตน เช่น ให้
โอกาสเท่าเทียมกันแก่ทุกคนที่จะได้รับการศึกษา ที่จะได้
รับการประกันสังคม ที่จะได้ประกอบกิจกรรมในด้าน
เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่จะได้มีงานทำาและได้รับการ
คุ้มครองแรงงาน และจะต้องขจัดระบบผูกขาดซึ่งเป็นการ
ทำาลายความเสมอภาคในโอกาสของบุคคล เป็นต้น
ในปัจจุบัน ประชาชน ประชาชนชาวไทยไม่มี
ความเสมอภาคกัน ทั้งในฐานะเป็นคนไทยและในฐานะเป็น
มนุษย์ เพราะลักษณะการปกครองของไทยและเป็นระบอบ
เผด็จการ จึงจำาเป็นจะต้องทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยให้
สำาเร็จโดยเร็วเพื่อเปลี่ยนระบอบเผด็จการเป็นระบอบ
ประชาธิปไตย เมื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นแล้ว
ประชาชนชาวไทยก็จะมีความเสมอภาคกันในความเป็น
เจ้าของอำานาจอธิปไตย ซึ่งจะยังผลให้มีความเสมอภาคกัน
ในกฎหมาย ในการออกเสียง ในโอกาส สมกับที่เป็นคน
ไทยและเป็นมนุษย์
(8) หลักกฎหมาย
หลักกฎหมาย เป็นหลักการปกครองอีกหลัก
หนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ต่อจากหลักอำานาจอธิปไตย
เป็นของปวงชน บุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์ และความเสมอ
ภาค
มีผู้เข้าใจผิดว่า การปฏิบัติตามกฎหมายคือ
เครื่องหมายของระบอบประชาธิปไตย และการไม่ปฏิบัติ
ตามกฎหมายเป็นการทำาลายระบอบประชาธิปไตย
ความจริง ไม่ว่าในระบอบประชาธิปไตย
หรือระบอบเผด็จการ ล้วนแต่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ไม่มีระบอบใด ๆ จะอนุญาตให้ละเมิดกฎหมาย การปฏิบัติ
ตามกฎหมายเป็นเรื่องของทุก ๆ ระบอบ หาใช่เป็นเรื่องของ
ระบอบประชาธิปไตยแต่เพียงระบอบเดียวไม่ ฉะนั้น การ
ปฏิบัติตามกฎหมายจึงหาใช่เครื่องวัดความเป็นระบอบ
ประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่
กฎหมายย่อมแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
ตามวิถีทางนิติบัญญัติที่ได้กำาหนดไว้ในระบอบนั้น ๆ
กฎหมายฉบับใดถ้ารัฐบาลไม่ต้องการจะปฏิบัติตามก็ยกเลิก
หรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับนั้นเสีย เช่น รัฐบาล
ต้องการจะต่ออายุ ผบ.ทบ. ครั้งที่แล้ว แต่กฎหมายห้ามไว้
ก็แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนั้นเสีย การกระทำาเช่นนี้หาใช่เป็น
เครื่องวัดของความเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือของ
ความเป็นระบอบเผด็จการ แต่อย่างใดไม่
หรือกฎหมายฉบับใดไม่เป็นธรรมแก่
ประชาชน และมีการแสดงประชามติคัดค้านกฎหมายฉบับ
นั้น หรือเรียกร้องให้ยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย
ฉบับนั้น ก็เป็นการปฏิบัติตามวิถีทางประชาธิปไตยอย่าง
หนึ่ง หาใช่เป็น “ กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ” แต่อย่างใดไม่
การโฆษณาว่า การปฏิบัติตามกฎหมาย คือ
เครื่องหมายของระบอบประชาธิปไตย และว่าการไม่ปฏิบัติ
ตามกฎหมายคือการทำาลายระบอบประชาธิปไตย และเห็น
การแสดงประชามติเป็น “ กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ” ไปนั้น
คือความพยายามของระบอบเผด็จการที่จะให้ประชาชนยิน
ยอมอยุ่ใต้ความกดขี่ตลอดไป
การปฏิบัติตามกฎหมายไม่ใช่เครื่องหมาย
ไม่ใช่เครื่องหมายของความเป็นระบอบประชาธิปไตย
เพราะระบอบเผด็จการก็ใช้กฎหมายเช่นกัน และระบอบ
เผด็จการมักจะเน้นหนักให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่กดขี่
ประชาชน เครื่องหมายของความเป็นรบอบประชาธิปไตย
คือ การปฏิบัติตามหลักกฎหมาย จะต้องไม่เอากฎหมาย
(Law) ไปปะปนกับหลักกฎหมาย (Rule of Law)
หลักกฎหมาย คือหลักนิติธรรมที่ได้รับรอง
แล้วว่าถูกต้อง เป็นกลักที่ผุ้ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของ
ประชาชนต้องยึดถือปฏิบัติตาม แม้ว่าองค์กรนิติบัญญัติ
เช่น สภาผู้แทนราษฎร จะมีอำานาจออกกฎหมายมาจำากัด
เสรีภาพของบุคคลได้ก็ตาม แต่กฎหมายนั้นต้องสอดคล้อง
กับหลักกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎรจะออกกฎหมายขัดต่อ
หลักกฎหมายมิได้
ในประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์
อักษร เช่น อังกฤษ ศาลมีอำานาจพิจารณาว่า กฎหมายใด
ขัดกับหลักกฎหมายและเป็นโมฆะ ในประเทศที่มี
รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สหรัฐ มีการบัญญัติ
หลักกฎหมายไว้ในรัฐธรรมนูญ หลักกฎหมายที่สำาคัญ ๆ
เช่น
(1) ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำาความผิด ให้สันนิษฐานไว้ก่อน
ว่าเป็นผู้สุจริตบุคคลจะถูกล่าวหาว่ากระทำาความผิดได้ก็ต่อ
เมื่อการกระทำานั้นมีบัญญัติไว้ในกฎหมายแห่งชาติว่าเป็น
ความผิด
(2) กฎหมายจะมีผลย้อนหลังไปลงโทษบุคคลมิได้
(3) ศาลเท่านั้นเป็นผู้มีอำานาจพิจารณาว่า การกระทำาใด
เป็นการละเมิดกฎหมายและเป็นความผิดต้องได้รับโทษ
ฯลฯ
ระบอบใดสามารถออกกฎหมายละเมิดหลัก
กฎหมายได้ สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกทำาลาย
เช่น กฎหมาย ปร.42 เป็นต้น นั่นคือ เครื่องหมายอย่างหนึ่ง
ของระบอบเผด็จการ ระบอบประชาธิปไตยย่อมยึดถือหลัก
กฎหมายอย่างเคร่งครัด องค์กรนิติบัญญัติของระบอบ
ประชาธิปไตยจะออกกฎหมายโดยละเมิดหลักฎหมายมิได้
(9) การปกครองจากการเลือกตั้ง
การปกครองจากการเลือกตั้ง (Election
Government) เป็นหลักการปกครองหลักสุดท้ายของ
ระบอบประชาธิปไตย
มีนักวิชาการบางคน เรียกการปกครองจาก
การเลือกตั้งว่าการปกครองทางผู้แทน โดยถือว่าการ
ปกครองทางผู้แทนเป็นวิธีการปกครองของประบอบ
ประชาธิปไตยในปัจจุบัน เพราะไม่สามารถจะใช้การ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยตรงได้ แต่ประชาชนจะ
ต้องเลือกผู้แทนขึ้นมาทำาการปกครองแทนตน
นักวิชาการเหล่านั้น เอาประชาธิปไตยทางผู้
แทน (Representative Democracy ) กล่าวคือ
ประชาธิปไตยทางตรงหมายความถึงระบอบประชาธิปไตย
ที่ประชาชนเข้าไปทำาหน้าที่ออกกฎหมาย หรือระเบียบข้อ
บังคับของรัฐด้วยตนเอง ดังเช่นที่ปรากฏในบางรัฐของ
สวิสเซอร์แลนด์ในปัจจุบัน และในนครรัฐสมัยกรีกโรมัน
ส่วนประชาธิปไตยทางผู้แทน หมายความถึงระบอบ
ประชาธิปไตยที่เลือกผู้แทนโดยการเลือกตั้งทั่วไปให้
เข้าไปใช้อำานาจอธิปไตย คืออกกฎหมาย บริหาร และ
ตัดสินคดี ดังที่ใช้อยู่ในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายใน
ปัจจุบัน เช่น อังกฤษ อเมริกา อินเดีย ฯลฯ
แต่การปกครองทางผู้แทนนั้น เป็นอีกเรื่อหงนึ่ง
เพราะในยุคปัจจุบันไม่ว่าระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบ
เผด็จการ ต้องใช้การปกครองทางผู้แทน
(Representative Government) ด้วยกันทั้งนั้น เราะไม่ว่า
อำานาจอธิปไตยจะเป็นของคนส่วนน้อย (ระบอบเผด็จการ)
หรืออำานาจอธิปไตยจะเป็นของปวงชน (ระบอบ
ประชาธิปไตย) ก็ตาม คนส่วนน้อยและปวงชนต่างก็ไม่
สามารถจะเข้าไปใช้อำานาจอธิปไตยโดยตรงได้ เพราะคน
ส่วนน้อยผู้เป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตยนั้นก็มจำานวนเป็น
พันเป็นหมื่นหรือเป็นแสนเป็นล้านจึงไม่สามารถเข้าไปใช้
อำานาจอธิปไตยโดยตรง แต่ต้องมีคณะปกครองเป็นผู้ใช้
อำานาจอธิปไตยแทนตน ซึ่งโดยทั่วไปก็ได้แก่รัฐสภาและ
คณะรัฐมนตรี ยิ่งปวงชนด้วยแล้วยิ่งมีจำานวนเป็นล้าน ๆ สิบ
ๆ ล้าน หรือ ร้อย ๆ ล้าน จึงยิ่งไม่สามารถเข้าไปใช้อำานาจ
อธิปไตยโดยตรง จึงต้องมีคณะปกครอง ซึ่งได้แก่ รัฐสภา
และคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตยแทนตนเช่น
เดียวกัน
เช่นการปกครองของกลุ่มผลประโยชน์ชั้นสูง
ของเยอรมัน เมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งส่วนสำาคัญ
ได้แก่เจ้าที่ดินใหญ่ นายทุนใหญ่ และนายธนาคารใหญ่
ไม่สามารถใช้อำานาจอธิปไตยโดยตรง จึงมอบหมายให้
รัฐบาลนาซีเป็นผู้ใช้อำานาจแทน การปกครองของนาซีก็คือ
การปกครองทางผู้แทนในระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ ซึ่ง
รัฐบาลนานซีเป็นผู้แทนของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดสูงสุด
ของเยอรมัน ทั้งนี้ก็เช่นเดียวกับรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาล
ฝรั่งเศส รัฐบาลสวีเดน ฯลฯ ซึ่งใช้อำานาจอธิปไตยแทนปวง
ชนจึงเป็นรัฐบาลที่เป็นผู้แทนปวงชน เป็นการปกครองทาง
ผู้แทนของระบอบประชาธิปไตย
และการปกครองทางผู้แทนหรือรัฐบาลทางผู้
แทนนั้น ไม่หมายความว่าการเลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้ง แต่
หมายความว่าใช้อำานาจอธิปไตยรักษาผลประโยชน์ของ
ใครถึงจะเลือกตั้งแต่ถ้ารักษาผลประโยชน์ของกลุ่มผูกขาด
ก็เป็นผู้แทนของกลุ่มผูกขาด ไม่ได้เป็นผู้แทนของปวงชน
จึงเป็นการปกครองระบอบเผด็จการ แต่ถึงจะไม่เลือกตั้งแต่
รักษาผลประโยชน์ของปวงชน ก็เป็นผู้แทนของปวงจนจึง
เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย
เมื่อประเทศไทยมีการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยจากการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ไม่มี
รัฐบาลจากการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรครั้งนั้นเป็นสภา
แต่งตั้ง และคณะรัฐมนตรีครั้งนั้นประกอบด้วยรัฐมนตรีที่ไม่
ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลครั้งนั้นเป็นรัฐบาล
ประชาธิปไตยหรือการปกครองระบอบประชาธิปไตย
(Democratic Government) เพราะว่ารัฐบาลครั้งนั้นเป็นผู้
แทนปวงชน เป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย
หลังจากนั้นไม่นาน ระบอบประชาธิปไตยก็
เปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการและเป็นระบอบเผด็จการมา
จนถึงปัจจุบัน ทั้ง ๆ ที่มีการเลือกตั้ง และทั้ง ๆ ที่มีรัฐบาล
ทางผู้แทน แต่เป็นผู้แทนของคนส่วนน้อย เป็นผู้แทนของ
กลุ่มผลประโยชน์ผูกขาด ไม่ใช่ผู้แทนปวงชน
จึงเห็นได้ว่าประชาธิปไตยทางผู้แทน
(Representative Democracy) เท่านั้น เป็นคู่กับ
ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) การปกครอง
ทางผู้แทนหรือรัฐบาลทางผู้แทน (Representative
Government) ไม่ได้เป็นคู่กับประชาธิปไตยทางตรง และ
การปกครองทางผู้แทนหรือรัฐบาลทางผู้แทนก็ไม่ใช่สิ่ง
เดียวกับการปกครองจากการเลือกตั้งหรือรัฐบาลจากการ
เลือกตั้ง (Election Government) ตามที่นักวิชาการมักจะ
เอาไปปะปนกัน
ระบอบประชาธิปไตย ถือเอาการปกครองจาก
การเลือกตั้งเป็นกลักการปกครองหลักหนึ่ง แต่จัดเป็นหลัก
สุดท้าย เพราะการปกครองจากการเลือกตั้งนั้นเป็นของ
กลาง ซึ่งระบอบใด ๆ จะนำาไปใช้ก็ได้ และระบอบ
ประชาธิปไตยนั้นในบางกรณีก็ไม่มีการเลือกตั้ง โดย
เฉพาะในระยะเริ่มแรกขชองระบอบประชาธิปไตยไม่สาม
รถจะมีการเลือกตั้ง ดังเช่นระยะแรกของระบอบ
ประชาธิปไตยในประเทศไทย ภายหลังการปฏิวัติ 24
มิถุนายน 2475 ไม่มีการเลือกตั้ง ต่อเมื่อเข้ารูปเข้ารอยแล้ว
จึงมีการเลือกตั้ง
นอกจากนั้นยังมีการปะปนหลัก อำานาจ
อธิปไตยเป็นของปวงชน กับ หลักการปกครองจาก
การเลือกตั้ง โดยเถือว่าเมื่อมีการเลือกตั้ง ส.ส. เข้าสภา
และสภาเป็นผู้ตั้งคณะรัฐมนตรีและควบคุมคณะรัฐมนตรี ก็
คือสภาและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตยแทนปวง
ชนแล้ว จึงเปลี่ยนคำาว่า “ อำานาจอธิปไตย เป็นของ ปวง
ชน ” เป็น “ อำานาจอธิปไตย มาจาก ปวงชน ” ดังที่ปรากฏ
ในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับของประเทศเรา ซึ่งเป็นการ
ทำาลายหลักอันเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย
ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการปกครองจาก
การเลือกตั้ง แต่อำานาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของปวงชน แต่
เป็นของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาด ฉะนั้น จึงต้องเปลี่ยน
อำานาจอธิปไตยของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดมาเป็น
อำานาจอธิปไตยของปวงชนเสียก่อน การปกครองมากจาก
การเลือกตั้ง จึงเป็นหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ได้
หลักการปกครองของระบอบประชาธิปไตย มี
5 ประการ คือ 1. อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน 2
เสรีภาพบริบูรณ์ของบุคคล 3. ความเสมอภาค 4. หลัก
กฎหมาย 5. การปกครองจากการเลือกตั้ง
แต่หลักที่เป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย
คืออำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แม้ว่าจะมีหลักอื่น ๆ แต่
ไม่มีหลักอำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็ไม่ใช่ระบอบ
ประชาธิปไตย ฉะนั้นจะดูว่าระบอบใดเป็นระบอบ
ประชาธิปไตยหรือไม่ ก่อนอื่นก็ต้องดูที่ว่าอำานาจอธิปไตย
เป็นของปวงชนหรือเป็นของคนส่วนน้อย
(10) หลักการปกครองกับรูปการปกครอง
หลักการปกครอง (Principle of
Government) กับรูปแบบการปกครอง (Form of
Government) เป็นสิ่งที่จะต้องอยู่คู่กัน แยกออกจากกันไม่
ได้หลักการปกครองจะต้องอยู่ในรูปการปกครองในรูปใด
รูปหนึ่งเสมอไป และรูปการปกครองจะต้องมีหลักการ
ปกครองของระบอบเผด็จการหรือระบอบประชาธิปไตย
ระบอบใดระบอบหนึ่งเสมอไป
หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยกับ
ของระบอบเผด็จการ และโดยเฉพาะคือ หลักการปกครอง
ในข้อที่เป็นหัวใจของระบอบทั้งสองระบอบนั้นแตกต่างกัน
อย่างตรงกันข้าม กล่าวคือ หลักการปกครองซึ่งเป็นหัวใจ
ของระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ อำานาจอธิปไตยเห็น
ของปวงชน หลักการปกครองของระบอบเผด็จการ ได้แก่
อำานาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย
แต่หลักการปกครองซึ่งแตกต่างอย่างตรงกัน
ข้ามนี้ อาจอยู่ในรูปการปกครองอันเดียวกัน เช่นระบอบ
เผด็จการอยู่ในรูปการปกครองโดยทหาร และระบอบ
ประชาธิปไตยก็อาจอยู่ในรูปการปกครองโดยทหารเช่น
เดียวกัน ตัวอย่างเช่น
การปกครองของพวกเผด็จการในระยะแรกที่
ทำารัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 และ 20 ตุลาคม 2501
เป็นต้น อยู่ในรูปการปกครองโดยทหาร การปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย ในระยะแรกของคณะราษฎร์ ซึ่งยึด
อำานาจเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ก็อยู่ในรูปการปกครองโดย
ทหารเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ไม่ว่าในประเทศไทยหรือในนานา
ประเทศ
รูปการปกครองนั้น นอกจากรูปการปกครอง
โดยทหาร ซึ่งมักจะใช้ในระยะแรกของระบอบเผด็จการ
และของระบอบประชาธิปไตยแล้ว ในระยะต่อมามักจะ
เปลี่ยนไปใช้รูปการปกครองตามประเพณีนิยม อันมี 3 รูป
คือ 1) ระบบรัฐสภา 2) ระบบประธานาธิบดี 3) ระบบกึ่ง
ประธานาธิบดี
ในประเทศไทยมีความเข้าใจผิดที่สำาคัญ
อย่างหนึ่ง คือเข้าใจว่า ระบอบรัฐสมภาก็ดี ระบบ
ประธานาธิบดีก็ดี และระบบกึ่งประธานาธิบดีก็ดี เป็นรูปการ
ปกครองของระบอบประชาธิปไตยแต่ระบอบเดียวเท่านั้น
จึงมักจะสั่งสอนกันว่า ระบอบประชาธิปไตยมีการปกครอง
3 รูป คือ ระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี และระบบกึ่ง
ประธานาธิบดี
แต่ความจริงแล้ว 3 ระบบนี้เป็นได้ทั้งรูปการ
ปกครองของระบอบเผด็จการและของระบอบประชาธิปไตย
เช่น รัฐสภาไทยสมัยพระยาพหลฯ เป็นรูปการปกครองของ
ระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภาในสมัยหลวงพิบูลฯและ
ในสมัยปัจจุบัน เป็นการปกครองของระบอบเผด็จการ
ระบบประธานาธิบดีในเวียดนามใต้ สมัยโงดินเดียม เหงีย
นวันเทียว เป็นรูปการปกครองของระบบเผด็จการ เป็นต้น
การสั่งสอนที่ผิดพลาดมาเป็นระยะเวลา
ยาวนานเช่นนี้ ทำาให้คนไทยเอาระบบรัฐสภากับระบอบ
ประชาธิปไตยไปปะปนกัน เห็นระบบรัฐสภาเป็นระบอบ
ประชาธิปไตย จึงเข้าใจว่าเวลานี้ประเทศไทยมีการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยเพราะมีระบบรัฐสภา แต่
ความจริงแล้ว ระบบรัฐสภาในประเทศไทยปัจจุบัน เป็น
ระบบรัฐสภาในระบอบเผด็จการ หาใช่ระบบรัฐสภาใน
ระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่
(11) ปัญหาประมุขของประเทศในการปฏิวัติ
ประชาธิปไตย
รูปการปกครอง 3 รูป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นของ
ระบอบประชาธิปไตยหรือของระบอบเผด็จการก็ตาม ใน
ประเทศไทยนอกจากมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นรูปการปกครอง
ของระบอบประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียว ดังที่กล่าวแล้ว
ในตอนก่อน ยังมักจะเข้าใจผิดว่าหมายถึงประมุขของ
ประเทศอีกด้วย แต่ความจริงแล้ว ระบบรัฐสภาหรือระบบ
ประธานาธิบดีหรือระบบกึ่งประธานาธิบดีไม่ได้หมายถึง
ประมุขของประเทศ แต่หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
อำานาจนิติบัญญัติกับอำานาจบริหาร ซึ่งจะได้กล่าวในตอน
ต่อไป จึงขอกล่าวในตอนต่อไป แต่เนื่องจากมักเข้าใจผิด
ดังกล่าว จึงขอกล่าวถึงปัญหาประมุขของประเทศในตอนนี้
ก่อน
ในโลกยุคปัจจุบัน รูปของประเทศอันเนื่อง
ด้วยประของประเทศนั้นโดยทั่วไปแล้วมี 2 รูปคือราช
อาณาจักร (Kingdom) และสาธารณรัฐ (Republic) ราช
อาณาจักรคือประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
สาธารณรัฐคือประเทศที่มีประธานาธิบดีหรือสถาบันอื่นที่
ไม่ใช่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งนี้ไม่ว่า
ประเทศนั้น ๆ จะมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือ
ระบอบเผด็จการก็ตาม และประเทศใดจะเป็นราช
อาณาจักรหรือสาธารณรัฐนั้น มิใช่ว่าบุคคลใดหรือคณะ
บุคคลใดจะกำาหนดเอาได้ แต่ขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการทาง
ประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศนั้น ๆ
วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และทางสังคม
ของประเทศไทย กำาหนดให้ประเทศไทยเป็นราช
อาณาจักร ประเทศไทยจึงมีพระมหากษัตริย์เป็นยประมุข
มาแต่โบราณกาลและตลอดไปในอนาคต ไม่มีใครจะ
เปลี่ยนแปลงได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ
จึงได้มีการบัญญัติรับรองและบังคับไว้ในรัฐธรรมนูญว่า
ประเทศไทยต้องเป็นราชอาณาจักรและมีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุขของประเทศ คือ
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2475) มาตรา 1
บัญญัติว่า “ กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ” รัฐธรรมนูญ
ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2475) มาตรา 1 บัญญัติว่า “ ประเทศไทย
เป็นราชอาณาจักร ” รัฐธรรมนูญฉบับอื่นนอกจาก 2 ฉบับนี้
นอกจากบัญญัติว่า “ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร ” แล้ว
ยังบัญญัติว่า “ ประเทศไทย มีการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ” อีกด้วย ซึ่ง
หมายความว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร และสถาบัน
พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศไทยตรงกันทุฉบับ
แต่มีการพูดกันอย่างกว้างขวางให้ผิดไปจาก
รัฐธรรมนูญว่า “ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ” เป็นการ
ลดฐานะของพระมหากษัตริย์จากประมุขของประเทศ มา
เป็นประมุขของระบอบ ซึ่งผิดจากเจตนารมณ์ของ
รัฐธรรมนูญ จากหลักวิชาการและจากข้อเท็จจริง ซึ่งถ้า
คณะปกครองละเมิดรัฐธรรมนูญ โดยทำาให้ระบอบ
ประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการแล้ว ก็อาจกระทบ
กระเทือนถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะในยุคปัจจุบัน
ระบอบประชาธิปไตยเป็นปัจจัยของความมั่นคงของสถาบัน
พระมหากษัตริย์ ระบอบเผด็จการบั่นทอนความมั่นคงของ
สถาบันพระมหากษัตริย์
การปฏิวัติประชาธิปไตย คือการเปลี่ยน
ระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยในประเทศไทย จึงเป็นการกระทำาเพื่อความ
มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์
ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ นอกจากมี
ภารกิจในการปฏิวัติประชาธิปไตยแล้ว ยังมีความมุ่งหมาย
เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยให้สำาเร็จและมีอุดมคติเพื่อ
สร้างสังคมประชาธิปไตยให้สำาเร็จด้วย ฉะนั้น ขบวนการ
ประชาธิปไตยแห่งชาติในประเทศไทย จึงเป็นผุ้ส่งเสริม
ที่แท้จริงให้สถาบันพรมหากษัตริย์เป็นประมุขของ
ประเทศไทยตลอดไป
(12) ระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี
โดยทั่วไป รูปการปกครองของระบอบ
ประชาธิปไตยมี 3 รูป คือระบบรัฐสภา (Parliamentary
System) แบะระบบประธานาธิบดี (Presidential System)
ส่วนระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System)
นั้นอยู่ในฝ่ายระบบประธานาธิบดี
ในประเทศไทย เมื่อกล่าวถึงระบบรัฐสภาและ
ระบบประธานาธิบดี มีปัญหาสับสนซึ่งจำาเป็นต้องทำาความ
กระจ่างอยู่ 2 ปัญหา คือ
1. มักจะเข้าใจกันว่า ระบบรัฐสภาและระบบ
ประธานาธิบดีเป็นรูปการปกครองแต่เฉพาะของระบอบ
ประชาธิปไตยระบอบเดียว ฉะนั้น เมื่อเห็นว่าประเทศใดมี
รูปการปกครองเป็นระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี ก็
ถือว่าประเทศนั้นมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย นัย
หนึ่งถือว่าระบบรัฐสภานั่นเองคือระบอบประชาธิปไตย ส่วน
ในประเทศที่มีรูปการปกครองเป็นระบบประธานาธิบดีก็
ถือว่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยถือว่าระบบ
ประธานาธิบดีคือระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน
แต่ความจริงแล้ว ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา
หรือระบบประธานาธิบดีเป็นรูปการปกครอง อาจมีการ
ปกครองระบอบเผด็จการก็ได้ เช่นระบบประธานาธิบดีใน
คิวบาสมัยบาติสตา ระบบประธานาธิบดีในนิการากัวสมัย
โซโมซา เป็นระบอบเผด็จการ ในทำานองเดียวกัน ระบบ
รัฐสภาสมัยพระยาพหลพยุหเสนาเป็นระบอบประชาธิปไตย
ระบบรัฐสภาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม และต่อ ๆ มาเป็น
ระบบเผด็จการ
ฉะนั้นพึงเข้าใจว่า ระบบรัฐสภาและระบบ
ประธานาธิบดี อาจเป็นระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบ
เผด็จการก็ได้ ไม่ควรคิดว่าเมื่อเป็นระบบรัฐสภาหรือระบบ
ประธานาธิบดีแล้ว จะเป็นระบอบประชาธิปไตยเสมอไป แต่
ในที่นี้เราพูดกันถึงระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีที่
เป็นระบอบประชาธิปไตย
2. มักจะเข้าใจกันว่า ระบบรัฐสภาและระบบ
ประธานาธิบดีเป็นปัญหาประมุขของประเทศ เพราะมีคำาว่า
“ ประธานาธิบดี ” จึงคิดว่าระบบนี้หมายถึงประธานาธิบดี
เป็นประมุขของประเทศ ไม่ใช่พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ของประเทศ
แต่ความจริงแล้ว ระบบรัฐสภาและระบบ
ประธานาธิบดีไม่ได้เกี่ยวกับประมุขของประเทศ ระบบ
รัฐสภาอาจมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศก็ได้
อาจมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศก็ได้ เช่นระบบ
รัฐสภาของอังกฤษ มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของ
ประเทศ ระบบรัฐสภาของอินเดียมีประธานาธิบดีเป็น
ประมุขของประเทศ เป็นต้น ส่วนระบบประธานาธิบดีเท่าที่
ปรากฏ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ แต่อาจมี
พระมาหกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศก็ได้ เช่นใน
ประเทศไทยเคยใช้ระบบกึ่งประธานาธิบดีโดยมีพระมหา
กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.
2511 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญกึ่งระบบประธานาธิบดี และมีพระ
มหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ก็เหมาะสมกับ
ประเทศไทยเป็นอย่างดี การที่รัฐธรรมนูญฉบับนั้นก็ถูก
ยกเลิกก็เพราะจอมพลถนอม กิตติขจร ทำารัฐประหารตัวเอง
มิฉะนั้นแล้ว รัฐธรรมนูญกึ่งประธานาธิบดีฉบับนั้นก็จะ
ดำาเนินไปได้โดยเรียบร้อย
ฉะนั้น พึงเข้าใจว่า ระบบรัฐสภาและระบบ
ประธานาธิบดีไม่เกี่ยวกับปัญหาประมุขของประเทศแต่
อย่างใด ถ้าเช่นนั้น ระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี
เป็นปัญหาอะไร
ระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี เป็น
ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอำานาจนิติบัญญัติกับอำานาจ
บริหารซึ่ง มี 2 ลักษณะ ลักษณะหนึ่ง รวมกัน อีกลักษณะ
หนึ่ง แยกกัน ความสัมพันธ์รวมกันเรียกว่า รวมอำานาจ
(Fusion of Power) ความสัมพันธ์แยกกันเกรียกว่า แยก
อำานาจ (Separation of Power)
ความสัมพันธ์รวมอำานาจหรือ ระบบรวม
อำานาจ คือระบบรัฐสภา ความสัมพันธ์แยกอำานาจหรือ
ระบบแยกอำานาจ คือระบบประธานาธิบดี ซึ่งจะได้กล่าว
ต่อไป
(13) ระบบรวมอำานาจ และระบบแยกอำานาจ
ดังได้กล่าวแล้วว่า ระบบรัฐสภา
(Parliamentary System) และระบบประธานาธิบดี
(Presidential System) นั้น ไม่ได้เกี่ยวกับปัญหาประมุข
ของประเทศ แต่เกี่ยวกับปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าอำานาจ
นิติบัญญัติกับอำานาจบริหาร กล่าวคือถ้าอำานาจนิติบัญญัติ
กับอำานาจบริหาร รวมกัน ก็เป็นระบบรัฐสภา ถ้าอำานาจ
นิติบัญญัติกับอำานาจบริหาร แยกกัน ก็เป็นระบบ
ประธานาธิบดี ทั้งนี้ไม่ว่าประมุขของจะเป็นพระมหากษัตริย์
หรือสามัญชนก็ตาม
ฉะนั้น ระบบรัฐสภาจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
ระบบรวมอำานาจ (Fusion of Powers) และระบบ
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย
สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย

More Related Content

Viewers also liked

Ws2011 sessione4 masi_siciliani
Ws2011 sessione4 masi_sicilianiWs2011 sessione4 masi_siciliani
Ws2011 sessione4 masi_siciliani
Gruppo Valorizzazione delle Statistiche Pubbliche
 
10 consigli per dormire meglio
10 consigli per dormire meglio10 consigli per dormire meglio
10 consigli per dormire meglio
Alessandra Cescut
 
High school stereotypes
High school stereotypesHigh school stereotypes
High school stereotypes
Myeres97
 
Time line
Time lineTime line
Time line
George Streather
 
Survivors
SurvivorsSurvivors
Survivors
Myeres97
 
Szerelem
SzerelemSzerelem
Szerelem
FORLONG Bt.
 
OSCAR TAPIA PUJADAS DIBUJOS ESTORCO D
OSCAR TAPIA PUJADAS DIBUJOS ESTORCO DOSCAR TAPIA PUJADAS DIBUJOS ESTORCO D
OSCAR TAPIA PUJADAS DIBUJOS ESTORCO D
Racso Aipat Sadajup
 
Humaskbzolevelspresentation2
Humaskbzolevelspresentation2Humaskbzolevelspresentation2
Humaskbzolevelspresentation2
Huma Syed
 
OSCAR TAPIA PUJADAS CUARTO TABLERO APU B
OSCAR TAPIA PUJADAS CUARTO TABLERO APU BOSCAR TAPIA PUJADAS CUARTO TABLERO APU B
OSCAR TAPIA PUJADAS CUARTO TABLERO APU B
Racso Aipat Sadajup
 
Mas forges
Mas forgesMas forges
Mas forges
pilarvegas
 
Role inkluzivního vzdělávání v MAP_Karvina
Role inkluzivního vzdělávání v MAP_KarvinaRole inkluzivního vzdělávání v MAP_Karvina
Role inkluzivního vzdělávání v MAP_Karvina
BeePartner
 
OSCAR TAPIA PUJADAS SEGUNDO JUEGO ESTORCO A
OSCAR TAPIA PUJADAS SEGUNDO JUEGO ESTORCO AOSCAR TAPIA PUJADAS SEGUNDO JUEGO ESTORCO A
OSCAR TAPIA PUJADAS SEGUNDO JUEGO ESTORCO A
Racso Aipat Sadajup
 
Phishing en moviles (Segu-Info)
Phishing en moviles (Segu-Info)Phishing en moviles (Segu-Info)
Phishing en moviles (Segu-Info)
Cristian Borghello
 
Performance Management Review & Skills
Performance Management Review & SkillsPerformance Management Review & Skills
Performance Management Review & Skills
fatima923
 
Réussir la transformation de votre organisation avec sharepoint
Réussir la transformation de votre organisation avec sharepoint Réussir la transformation de votre organisation avec sharepoint
Réussir la transformation de votre organisation avec sharepoint
NURUNconseils
 
Skills review
Skills reviewSkills review
Skills review
PatriceEtienne23
 
Rspamd — высокопроизводительная система фильтрации спама / Стахов Всеволод (U...
Rspamd — высокопроизводительная система фильтрации спама / Стахов Всеволод (U...Rspamd — высокопроизводительная система фильтрации спама / Стахов Всеволод (U...
Rspamd — высокопроизводительная система фильтрации спама / Стахов Всеволод (U...
Ontico
 
Buenosdassemana2125deseptiembre
Buenosdassemana2125deseptiembreBuenosdassemana2125deseptiembre
Buenosdassemana2125deseptiembre
pastoralcord
 
CSA Sant Ferran - maig 2005
CSA Sant Ferran - maig 2005CSA Sant Ferran - maig 2005
CSA Sant Ferran - maig 2005frtarrago
 

Viewers also liked (20)

Ws2011 sessione4 masi_siciliani
Ws2011 sessione4 masi_sicilianiWs2011 sessione4 masi_siciliani
Ws2011 sessione4 masi_siciliani
 
10 consigli per dormire meglio
10 consigli per dormire meglio10 consigli per dormire meglio
10 consigli per dormire meglio
 
High school stereotypes
High school stereotypesHigh school stereotypes
High school stereotypes
 
Time line
Time lineTime line
Time line
 
Survivors
SurvivorsSurvivors
Survivors
 
Szerelem
SzerelemSzerelem
Szerelem
 
OSCAR TAPIA PUJADAS DIBUJOS ESTORCO D
OSCAR TAPIA PUJADAS DIBUJOS ESTORCO DOSCAR TAPIA PUJADAS DIBUJOS ESTORCO D
OSCAR TAPIA PUJADAS DIBUJOS ESTORCO D
 
Humaskbzolevelspresentation2
Humaskbzolevelspresentation2Humaskbzolevelspresentation2
Humaskbzolevelspresentation2
 
OSCAR TAPIA PUJADAS CUARTO TABLERO APU B
OSCAR TAPIA PUJADAS CUARTO TABLERO APU BOSCAR TAPIA PUJADAS CUARTO TABLERO APU B
OSCAR TAPIA PUJADAS CUARTO TABLERO APU B
 
Mas forges
Mas forgesMas forges
Mas forges
 
Role inkluzivního vzdělávání v MAP_Karvina
Role inkluzivního vzdělávání v MAP_KarvinaRole inkluzivního vzdělávání v MAP_Karvina
Role inkluzivního vzdělávání v MAP_Karvina
 
OSCAR TAPIA PUJADAS SEGUNDO JUEGO ESTORCO A
OSCAR TAPIA PUJADAS SEGUNDO JUEGO ESTORCO AOSCAR TAPIA PUJADAS SEGUNDO JUEGO ESTORCO A
OSCAR TAPIA PUJADAS SEGUNDO JUEGO ESTORCO A
 
Phishing en moviles (Segu-Info)
Phishing en moviles (Segu-Info)Phishing en moviles (Segu-Info)
Phishing en moviles (Segu-Info)
 
Performance Management Review & Skills
Performance Management Review & SkillsPerformance Management Review & Skills
Performance Management Review & Skills
 
Réussir la transformation de votre organisation avec sharepoint
Réussir la transformation de votre organisation avec sharepoint Réussir la transformation de votre organisation avec sharepoint
Réussir la transformation de votre organisation avec sharepoint
 
Skills review
Skills reviewSkills review
Skills review
 
Rspamd — высокопроизводительная система фильтрации спама / Стахов Всеволод (U...
Rspamd — высокопроизводительная система фильтрации спама / Стахов Всеволод (U...Rspamd — высокопроизводительная система фильтрации спама / Стахов Всеволод (U...
Rspamd — высокопроизводительная система фильтрации спама / Стахов Всеволод (U...
 
Buenosdassemana2125deseptiembre
Buenosdassemana2125deseptiembreBuenosdassemana2125deseptiembre
Buenosdassemana2125deseptiembre
 
CSA Sant Ferran - maig 2005
CSA Sant Ferran - maig 2005CSA Sant Ferran - maig 2005
CSA Sant Ferran - maig 2005
 
sisvsp2012_sessione7_montella_righi
sisvsp2012_sessione7_montella_righisisvsp2012_sessione7_montella_righi
sisvsp2012_sessione7_montella_righi
 

Similar to สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย

ภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตย
ภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตยภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตย
ภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตย
weeraboon wisartsakul
 
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตยลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
Thongkum Virut
 
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนาบทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนาSaiiew
 
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจน
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจนอะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจน
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจน
rellik0
 
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจน
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจนอะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจน
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจนtthida
 
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าอะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
Poramate Minsiri
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานีTaraya Srivilas
 
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทรการสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
Thongkum Virut
 
Change your attitude. Change your life
Change your attitude. Change your lifeChange your attitude. Change your life
Change your attitude. Change your lifeMontita
 
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยการสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
Thongkum Virut
 
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงเว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงjo
 

Similar to สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย (14)

ภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตย
ภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตยภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตย
ภารกิจคนจนในการฟื้นฟูประชาธิปไตย
 
ลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตยลัทธิประชาธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตย
 
เบญจศีล
เบญจศีลเบญจศีล
เบญจศีล
 
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนาบทที่ 4   การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
บทที่ 4 การบริหารงานในประเทศที่กำลังพัฒนา
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจน
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจนอะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจน
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจน
 
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจน
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจนอะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจน
อะไรที่ทำให้ประเทศรวยหรือจน
 
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าอะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
อะไรที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
 
010
010010
010
 
สันติธานี
สันติธานีสันติธานี
สันติธานี
 
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทรการสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
 
Change your attitude. Change your life
Change your attitude. Change your lifeChange your attitude. Change your life
Change your attitude. Change your life
 
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยการสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
การสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
 
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียงเว็บเศรษฐกิจพอเพียง
เว็บเศรษฐกิจพอเพียง
 

More from Thongkum Virut

งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัย
Thongkum Virut
 
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
Thongkum Virut
 
All10
All10All10
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยบิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
Thongkum Virut
 
ข้าว
ข้าวข้าว
ข้าว
Thongkum Virut
 
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณการปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
Thongkum Virut
 
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
Thongkum Virut
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
Thongkum Virut
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
Thongkum Virut
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
Thongkum Virut
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
Thongkum Virut
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
Thongkum Virut
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
Thongkum Virut
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
Thongkum Virut
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวู
Thongkum Virut
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
Thongkum Virut
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
Thongkum Virut
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
Thongkum Virut
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
Thongkum Virut
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
Thongkum Virut
 

More from Thongkum Virut (20)

งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัย
 
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
 
All10
All10All10
All10
 
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยบิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
 
ข้าว
ข้าวข้าว
ข้าว
 
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณการปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
 
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวู
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
 

สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ว่าด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตย

  • 1. สารสัมพันธ์ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ การปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย (1) เหตุแห่งความเสื่อมโทรมของประเทศชาติ และความทุกข์ยากของประชาชน ประเทศไทย เป็นประเทศที่อุดมด้วย ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ เพราะตั้งอยู่ใน ชัยภูมิทางภูมิศาสตร์อันดีเลิศและคนไทยมีลักษณะพิเศษ ประจำาชาติอันสูงส่ง ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงเป็นประเทศ รุ่งเรื่องในประวัติศาสตร์อันยาวนาน และด้วยเหตุนี้ เมื่อมา อยู่ในท่ามกลางความก้าวหน้าของโลกปัจจุบันจึงไม่มี เหตุผลที่ประเทศไทยจะเป็นประเทศยากจน และไม่มี เหตุผลที่คนไทยจะตกอยู่ในความทุกข์ยาก ดังที่ปรากฏอยู่ ในขณะนี้ รัฐบาลทุกชุดมีความตั้งใจจะแก้ปัญหาของ ประเทศชาติ ต้องการจะพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติไปสู่ ความมั่งคั่ง ต้องการจะแก้ไขความยากจนของประชาชน พยายามกันมานานแล้วแต่ก็ไม่สำาเร็จ ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง บ้าน เมืองยิ่งทรุดโทรม ประชาชนยิ่งเดือดร้อน โดยเฉพาะ
  • 2. รัฐบาลชุดนี้มีทีมเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง (ของพรรคกิจสังคม) มีมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากมายทำางานกันอย่าง หนัก ก็ไปไม่รอดเช่นเดียวกัน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คน ผู้ที่เข้ามาแก้ปัญหามีคน ซื่อสัตย์สุจริตมีความสามารถ แต่ถึงแม้ว่าจะมีความซื่อสัตย์ สุจริตและมีความสามารถสักเพียงใดถ้าแก้ปัญหาทั้งหลาย ภายในกรอบของระบอบการปกครองในปัจจุบัน ก็ไม่มีทาง ที่จะแก้ปัญหาได้ เพราะปัญหาสำาคัญอยู่ที่หลักการ ก่อนอื่น คืออยู่ที่ระบอบการปกครองซึ่งยังไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ว่าประเทศใด ๆ การที่จะพัฒนาจากภาวะล้า หลังไปสู่ภาวะก้าวหน้าได้นั้น จะต้องพัฒนาการเมืองให้ สำาเร็จก่อน จึงจะพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้สำาเร็จได้ การพัฒนาการเมืองให้สำาเร็จก็คือ การทำาให้การปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตยสำาเร็จ ซึ่งเรียกตามภาษาวิชาการ ว่า “ ทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยให้สำาเร็จ ” เมื่อทำาให้การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย สำาเร็จแล้วก็ใช้ระบอบประชาธิปไตย แก้ปัญหาเศรษฐกิจ อื่น ๆ ก็จะแก้ปัญหาได้ตามความต้องการของประเทศชาติ และประชาชน การที่จะทำาให้การปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตยสำาเร็จ หรือทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยให้ สำาเร็จนั้น ต้องอาศัยขบวนการประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง การที่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยล้มเหลวมาโดย ตลอด ก็เพราะขบวนการประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง ขบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทยเกิดขึ้น ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงเวลานี้แม้ว่าจะขยายตัวกว้าง ขวางมากแล้ว แก่ก็ยังกระจัดกระจาย ถ้ารวมตัวกันเข้าเป็น เอกภาพกันได้ก็จะมีความเข้มแข็ง และทำาการปฏิวัติ ประชาธิปไตยสำาเร็จ
  • 3. บัดนี้กลุ่มบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ที่มีความต้องการ ประชาธิปไตยร่วมกัน ได้รวมตัวกันเป็นขบวนการ และ ตกลงตั้งชื่อกันว่า “ ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ” ด้วยความมุ่งหมายที่จะสร้างเอกภาพของขบวนการ ประชาธิปไตยในประเทศไทย เพื่อความสำาเร็จของการ ปฏิวัติประชาธิปไตย ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ จึงขอ ความร่วมมือมายังพี่น้องชาวไทยทั้งหลาย ตั้งต้นรวมพลัง เพื่อให้การปฏิวัติประชาธิปไตยสำาเร็จตามความมุ่งหมาย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (2) อุดมคติ ความมุ่งหมาย ภารกิจและวิธีการ ของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ การประชุมขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2524 ได้ลงมติกำาหนดอุดมคติ ความ มุ่งหมาย ภารกิจและวิธีการของขบวนการประชาธิปไตแห่ง ชาติดังนี้ อุดมคติ ขบวนการประชาธิปไตยในประเทศทั้ง หลายทั่วโลก ย่อมมีอุดมคติอย่างเดียวกัน คือ สังคมอัน ประกอบด้วยความไพบูลย์ ความสันติสุข อิสรภาพ เสรีภาพ สมภาพ และภารดรภาพ เรียกว่าสังคมประชาธิปไตย (DEMODRATIC SOCIETY) สังคมดังกล่าวนี้เป็นความ ใฝ่ฝันอันสูงสุดของมนุษยชาติที่จะไปบรรลุถึง และ ประชาชนชาวไทยก็มีความใฝ่ฝันเช่นนี้ ฉะนั้น สังคม ประชาธิปไตย จึงเป็นอุดมคติของขบวนการ ประชาธิปไตยแห่งชาติ ความมุ่งหมาย ไม่ว่าประเทศใด ๆ การที่บรรลุ ถึงซึ่งอุดมคติของขบวนการประชาธิปไตยนั้น ย่อมต้อง ดำาเนินไปภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ถ้า
  • 4. ปราศจากการปกครอบระบอบประชาธิปไตยแล้วก็จะไม่ สามารถดำาเนินการเพื่อบรรลุอุดมคติของขบวนการ ประชาธิปไตยได้ แต่ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น การสถาปนาการ ปกครองประชาธิปไตย จึงเป็นความมุ่งหมายของ ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ภารกิจ การปกครองระบอบประชาธิปไตยไม่ สามารถจะสถาปนาขึ้นภายใต้ระบอบเผด็จการ จะต้อง ยกเลิกการปกครองระบอบเผด็จการไม่ว่ารูปใด ๆ เสียก่อน จึงสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นได้ การ ยกเลิกการปกครองระบอบเผด็จการ และการสถาปนาการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย เรียกตามภาษาวิชาการว่า การปฏิวัติประชาธิปไตย ขบวนการประชาธิปไตยใน ประเทศไทยได้ดำาเนินความพยายามที่จะทำาการปฎิวัติ ประชาธิปไตยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ยังไม่สำาเร็จ และ การสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น จะ กระทำาได้ก็แต่ด้วยการปฏิวัติประชาธิปไตยนั้น ไม่มีหนทาง อื่นเลย ฉะนั้น การปฏิวัติประชาธิปไตย จึงเป็นภารกิจ ของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ วิธีการ เมื่อพูดถึงการปฏิวัติ ในประเทศไทยมัก จะรู้จักกันแต่การปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งแท้จริง คือการ รัฐประหารนั่นเอง หาใช่การปฏิวัติแต่อย่างใดไม่ และการ ปฏิวัติรัฐประหารย่อมไม่ใช่วิธีการตามวิถีทาง ประชาธิปไตย แต่การปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศทั้ง ปวงนั้น มีทั้งวิธีการตามหลักวิถีทางประชาธิปไตยและวิธี การที่ไม่ใช่ตามวิถีทางประชาธิปไตยตามสภาวการณ์ของ แต่ละประเทศ แต่วิธีการตามวิถีทางประชาธิปไตยนั้น เหมาะสมกับประเทศไทย ฉะนั้น การปฏิวัติตามวิถีทาง ประชาธิปไตย จึงเป็นวิธีการของขบวนการ ประชาธิปไตยแห่งชาติ
  • 5. จึงขอชี้แจงมติว่าด้วยอุดมคติ ความมุ่งหมาย ภารกิจและวิธีการของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ มายังพี่น้องชาวไทยทั้งหลาย ให้เป็นที่แจ่มชัดโดยทั่วกัน (3) ทำาไมต้องทำาการปฏิวัติ ประชาธิปไตยให้สำาเร็จ คนไทยได้มีการปรารภกันมาเกือบ 100 ปี แล้ว ว่าประเทศไทยซึ่งเคยรุ่งเรืองและก้าวหน้ากว่าญี่ปุ่น ทำาไม จึงล้าหลังห่างไกลจากญี่ปุ่น และก็มีการพูดกันตลอดว่า ทำา อย่างไรประเทศไทยจึงจะเจริญทัดเทียมกับอารยประเทศ ทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ไม่รู้ว่าจะทำาอย่างไร ก็มีการเสนอ เป็นเชิงประชดว่า การที่จะทำาให้ประเทศไทยมีความเจริญ ก้าวหน้านั้น ควรให้ประเทศไทยเป็นเมืองขึ้นของ มหาอำานาจเสียสักระยะหนึ่ง เพราะในครั้งนั้นเมืองขึ้นที่อยู่ ติดกับประเทศไทยมีความเจริญกว่าประเทศไทย เช่นเมื่อ เดินทางเข้าไปในเขตมลายูซึ่งเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ จะเห็น ได้ทันทีว่า ในเขตมลายูนั้น การพัฒนาการปลูกสวนยาง และสวนปาล์มนำ้ามันดำาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ ว่ากิจการใด ๆ ในมลายูล้วนแต่เจริญก้าวหน้ากว่าใน ประเทศไทยทั้งสิ้น ดังนี้เป็นต้น ถึงกับในการอภิปรายใน สภาผู้แทนราษฎรครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.2490 มีบุคคลชั้นนำา ของพรรคการเมืองใหญ่พรรคหนึ่งเสนอขึ้นว่า วิธีการแก้ ปัญหาของประเทศไทยคือ ให้ฝรั่งปกครองสักระยะหนึ่ง แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะได้พัฒนาการ ในด้านต่าง ๆ ไปมากมายไม่แพ้ประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้น แล้วก็ตาม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังยากจน ฉะนั้น นอกจากปัญหาความยากจนและปัญหาที่ต้องทำาให้ ประเทศไทยก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศเหมือนที่เคย พูดกันมาในอดีตแล้ว เรายังจะต้องวิตกกังวลอย่างยิ่งถึง ความอยู่รอดของประเทศชาติอีกด้วย ซึ่งมีการอภิปรายและ
  • 6. สัมมนาเรื่องทางรอดของชาติกันนับครั้งไม่ถ้วน ทว่าก็ยัง ไม่มีผู้ใดหาทางออกที่มีประสิทธิผลได้ สิ่งที่เราภาคภูมิใจคือเอกราชของชาติ ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชมาได้ในขณะที่เพื่อน บ้านตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำานาจไปหมด แต่เอกราชก็ ช่วยอะไรไม่ได้ในเมื่อประเทศเรายังตกอยู่ในความล้าหลัง และยากจน และต้องเผชิญกับปัญหาความอยู่รอดของชาติ ยิ่งกว่าประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้น ความจริงคือ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกับประเทศ อื่น คือการที่จะหลุดพ้นจากความล้าหลังและความยากจน เจริญห้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ และปลอดภัยจากภัย แห่งความสิ้นชาติ คือความมีเอกราชอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่จะต้องมีระบอบประชาธิปไตยด้วย เมื่อมีเอกราชแล้ว ปัจจัยชี้ขาดของประเทศชาติคือระบอบประชาธิปไตย เมื่อคนไทยรู้ความจริงข้อนี้แล้ว ก็ได้ดำาเนิน ความพยายามเพื่อทำาให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย โดยใช้วิธีการต่าง ๆ มากกมาย เช่นการ ปฏิรูปประชาธิปไตย การจัดให้มีรัฐธรรมนูญ การแก้ไข รัฐธรรมนูญ การเผยแพร่ประชาธิปไตย โครงการอบรม ประชาธิปไตย การพัฒนาชนบท การสร้างประชาธิปไตย มาจากรากฐาน เช่นการสร้างความเข้มแข็งของสภาตำาบล ฯลฯ แต่ก็ไม่สามารถทำาให้มีระบอบประชาธิปไตยขึ้นได้ เพราะว่าระบอบประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ด้วย วิธีการเดียวเท่านั้น คือ การปฏิวัติประชาธิปไตย ไม่มี ประเทศใดในโลกที่จะมีระบอบประชาธิปไตยได้โดยไม่ ทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย และคนไทยก็เคยทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยมาบ้าง แล้วเหมือนกัน แต่ไม่สำาเร็จ ดังนั้น ถ้าจะให้ประเทศไทยมี การปกครองระบอบประชาธิปไตย ก็จะต้องทำาการปฏิวัติ ประชาธิปไตยให้สำาเร็จเท่านั้น ไม่มีทางอื่นใดอีกเลย จง
  • 7. อย่าได้คิดว่าประเทศไทยจะมีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยได้ โดยไม่ต้องทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย ต้องทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย (4) ประชาธิปไตยคืออะไร การปฏิวัติประชาธิปไตย คือการเปลี่ยนแลง ระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือยกเลิก ระบอบเผด็จการและสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นแทน หลายคนกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอยู่แล้ว จึงไม่ต้องปฏิวัติประชาธิปไตย บาง คนกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ สมบูรณ์ จึงเพียงแต่พัฒนาระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นไม่ ต้องปฏิวัติประชาธิปไตย จริงทีเดียว ถ้าประเทศไทยเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอยู่แล้ว ไม่ว่าจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ ก็ตาม ก็ไม่ต้องปฏิวัติประชาธิปไตย แต่ประเทศไทยเป็น ระบอบประชาธิปไตยอยู่แล้วจริงหรือ ? ระบอบประชาธิปไตยนั้นแสดงออกโดยการ ปกครองประชาธิปไตยหรือรัฐบาลประชาธิปไตย (Democratic Government) และการปกครอง ประชาธิปไตยนั้น จะต้องเป็นไปตามหลักของการปกครอง ประชาธิปไตย ดังต่อไปนี้ 1. อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) หมายความว่า ประชาชนเป็นเป็น เจ้าของอำานาจสูงสุดของประเทศร่วมกัน มิใช่คนส่วนใด ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนน้อยผูกขาดอำานาจไว้ ดังที่พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคัดค้านคณะราษฎร์ว่า “ ข้าพเจ้าสมัครใจจะสละอำานาจของข้าพเจ้าให้แก่ราษฎรทั้ง
  • 8. หลาย แต่ไม่ยินยอมยกอำานาจของข้าพเจ้าให้แก่บุคคลใด บุคคลหนึ่ง หรือคณะหนึ่งคณะใด ” และหลักการอำานาจ อธิปไตยปวงชนนั้น แสดงออกด้วยนโยบายบริหารประเทศ ซึ่งรักษาผลประโยชน์ของประชาชน มิใช่รักษาผล ประโยชน์ของคนส่วนน้อย 2. เสรีภาพ (Freedom) หมายความว่า บุคคลมี เสรีภาพบริบูรณ์ในการใช้สิทธิต่าง ๆ ทั้งในทางส่วนตัว ใน ทางสังคมและในทางการเมือง เช่น ในร่างกาย ใน ทรัพย์สิน ในการศึกษา ในการนับถือศาสนา ในการชุมนุม ในการตั้งสมาคม ในการตั้งพรรคการเมือง และในการ เปลี่ยนรัฐบาล เป็นต้น 3. ความเสมอภาค (Equality) หมายความว่า บุคคลมีความเท่าเทียมกันในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะถือ ความเท่าเทียมกัน ทั้งในทางกฎหมาย และในทางโอกาส 4. หลักกฎหมาย (Rule of Law) คือหลัก นิติธรรม ซึ่งใช้เป็นเป็นมาตรฐานของการออกกฎหมาย เช่น หลักที่ว่าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำาผิดให้สันนิษฐานก่อน ว่า เป็นผู้สุจริต ศาลเท่านั้นเป็นผู้พิพากษาตัดสินกฎหมาย ฯลฯ กฎหมายใดซึ่งขัดกับหลักกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ 5. รัฐบาลจากการเลือกตั้ง (Elected Government) หมายความว่า ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่า บริหารต้องมาจากการเลือกตั้งทั่วไป เหล่านี้ คือหลักการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย การปกครองซึ่งเป็นไปตามหลักการเหล่านี้ ก็เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย และหลักการที่เป็น หัวใจ คือ อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ถ้ามีหลัก การข้อนี้แล้ว ถึงจะยังขาดข้ออื่น ๆ อยู่บ้างก็เป็นระบอบ ประชาธิปไตย แต่ถ้าไม่มีข้อนี้ ถึงจะมีข้ออื่น ๆ ก็เป็นระบอบ
  • 9. เผด็จการ เช่นประเทศไทยในปัจจุบันเป็นระบอเผด็จการที่ มีเสรีภาพพอสมควร ที่เรียกว่า ประชาธิปไตยครึ่งใบ เพราะ ว่าถึงจะมีเสรีภาพ มีความเสมอภาค มีหลักกฎหมายอยู่บ้าง และมีการเลือกตั้งแต่อำานาจอธิปไตยมิได้เป็นของปวงชน ฉะนั้น การปกครองของประเทศไทย จึงไม่เป็นระบอบ ประชาธิปไตย แต่เป็นระบอบเผด็จการ (5) อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นหลักการ ปกครองหลักที่ 1 ของระบอบประชาธิปไตย และเป็นหัวใจ ของระบอบประชาธิปไตย แต่ในประเทศไทย มีการอธิบาย กันอย่างกว้างขวางว่าหัวใจของระบอบประชาธิปไตย คือ เสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นการชักจูงประชาชนให้ เข้าใจผิดต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง จนไม่รู้ว่า ระบอบประชาธิปไตยคืออะไร การปกครองทั้งหลายย่อมมีอำานาจ การ ปกครองบ้านย่อมมีอำานาจของบ้าน การปกครองของวัด ย่อมมีอำานาจของวัด การปกครองย่อมมีอำานาจของ โรงเรียน ไปจนถึงการปกครองประเทศ ย่อมมีอำานาจของ ประเทศ ในบรรดาอำานาจทั้งหลายเหล่านั้น อำานาจของ ประเทศเป็นอำานาจสูงสุดคือสูงถึงขนาดฆ่าคนได้ และสิทธิ์ ขาดโต้แย้งมิได้ จึงนิยมเรียกกันว่าอำานาจสูงสุดของ ประเทศ ดังที่ใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรก และต่อมาเรียกให้ เป็นศัพท์ว่าอำานาจอธิปไตย ซึ่งใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อ ๆ มา จนถึงปัจจุบัน อำานาจของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยนั้น มี อำานาจเดียวแต่แสดงออกเป็น 3 ด้าน คือ (1) อำานาจ นิติบัญญัติ (2) อำานาจบริหาร (3) อำานาจตุลการ
  • 10. อำานาจในการปกครองย่อมมีเจ้าของ และ เจ้าของอำานาจก็คือผู้ปกครอง นัยหนึ่ง อำานาจย่อมเป็นของ ผู้ปกครอง อำานาจของบ้านเป็นของเจ้าบ้าน อำานาจของวัด เป็นของสมภาร อำานาจของโรงเรียนเป็นของครูใหญ่ จนถึงอำานาจของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยเป็นของผู้ ปกครองประเทศ ผู้ปกครองประเทศนั้นกล่าวอย่างกว้างมี 2 ชนิด คือ ชนส่วนน้อยและปวงชน (ประชาชน) ถ้าชนส่วนน้อย เป็นผู้ปกครองประเทศ อำานาจของประเทศหรืออำานาจ อธิปไตยก็เป็นของชนส่วนน้อย ถ้าปวงชนเป็นผู้ปกครอง ประเทศ อำานาจของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยเป็นของ ปวงชน ถ้าอำานาจของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยเป็น ของชนส่วนน้อย ก็เป็นระบอบเผด็จการ ถ้าอำานาจของ ประเทศหรืออำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็เป็นระบอบ ประชาธิปไตย และแต่ละระบอบต่างก็มีหลายรูป โดยสาระ สำาคัญแล้วระบอบเผด็จการหรือระบอบประชาธิปไตยนั้น ได้ได้หมายความอย่างอื่น แต่หมายความว่า อำานาจหรือ อำานาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อยหรือเป็นของปวงชน เท่านั้น แต่ชนส่วนน้อยหรือปวงชน ซึ่งเป็นเจ้าของ อำานาจของประเทศหรืออำานาจประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้เป็น ผู้กุมอำานาจโดยตรง แต่มีผู้แทนเป็นผู้กุมอำานาจ และผู้แทน ก็คือคณะการเมือง กลุ่มการเมือง หรือพรรคการเมือง ซึ่ง เข้าไปกุมองค์กรแห่งอำานาจของประเทศหรืออำานาจ อธิปไตย อันได้แก่ รัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล เพื่อใช้ องค์กรทั้ง 3 นี้รักษาผลประโยชน์ของผู้ที่ตนแทน ถ้าแทน ชนส่วนน้อยก็ใช้องค์กรเหล่านี้รักษาผลประโยชน์ของชน ส่วนน้อย ถ้าแทนปวงชนก็ใช้องค์กรเหล่านี้รักษาผล ประโยชน์ของปวงชน
  • 11. ทั้งนี้จะรู้ได้ด้วยนโยบายของรัฐบาลเป็นสำาคัญ ถ้านโยบายของรัฐบาลรักษาผลประโยชน์ของชนส่วนน้อย ก็แสดงว่าอำานาจของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยเป็นของ ชนส่วนน้อย ถ้านโยบายของรัฐบาลรักษาผลประโยชน์ ของปวงชน ก็แสดงว่าอำานาจของประเทศหรืออำานาจ อธิปไตยเป็นของปวงชน ในปัจจุบันอำานาจของประเทศหรืออำานาจ อธิปไตยเป็นของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาด ซึ่งเป็นชนส่วน น้อย ฉะนั้น ไม่ว่านโยบายใด ๆ ล้วนแต่มุ่งรักษาผล ประโยชน์ของชนส่วนน้อย โดยไม่คำานึงถึงความเดือดร้อน ของประชาชน ฉะนั้น จึงต้องเปลี่ยนมืออำานาจของประเทศหรือ อำานาจอธิปไตยจากของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาด มาเป็น ของปวงชน เพื่อให้มีรัฐบาลที่ดำาเนินนโยบายรักษาผล ประโยชน์ของประชาชน การเปลี่ยนมืออำานาจของประเทศหรืออำานาจ อธิปไตยเช่นนี้ คือหัวใจของการเปลี่ยนระบอบเผด็จการ เป็นระบอบประชาธิปไตย คือหัวใจของการปฏิวัติ ประชาธิปไตย (6) บุคคลมีเสรีภาพสมบูรณ์ บุคคลมีเสรีภาพสมบูรณ์ เป็นหลักการปกครอง หลักที่ 2 ของระบอประชาธิปไตย เป็นเป็นหลักคู่กับอำานาจ อธิปไตยของปวงชน ซึ่งเป็นหลักการปกครองที่ 1 ของ ระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพ คือสิทธิ คือสิทธิในการคิดและใน การกระทำาที่ปราศจากกาพันธนาการไม่ว่าจะเป็นสิทธิทาง ส่วนตัว หรือทางการเมือง สิทธิทางส่วนตัว เช่น สิทธิใน ชีวิต สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในการแสวงหาความสุข ฯลฯ
  • 12. สิทธิทางการเมือง เช่น สิทธิในการเลือกลัทธิทางการเมือง สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการเปลี่ยนรัฐบาล ฯลฯ การที่ บุคคลใช้สิทธิโดยปราศจากพันธนาการ คือการที่บุคคลมี เสรีภาพ บุคคลย่อมมีเสรีภาพไม่ว่าภายใต้ระบอบใด ๆ เพราะบุคคลไม่สามารถดำารงอยู่ได้โดยปราศจากเสรีภาพ อย่างสิ้นเชิง ต่างแต่ว่าเสรีภาพในกระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าในรูปใด ๆ เป็นเสรีภาพบริบูรณ์ เสรีภาพในระบอบ เผด็จการไม่ว่ารูปใด ๆ เป็นเสรีภาพไม่บริบูรณ์ เช่น ใน ประเทศสวีเดนเป็นเสรีภาพบริบูรณ์ ในประเทศไทยเป็น เสรีภาพไม่บริบูรณ์ เพราะ สวีเดนเป็นระบอบประชาธิปไตย ไทยเป็นระบอบเผด็จการ เสรีภาพบริบูรณ์นั้น ไม่ใช่บริบูรณ์อย่างไม่มี ขอบเขต แต่บริบูรณ์ภายในขอบเขต ถ้าเลยขอบเขตก็ กลายเป็นไม่มีเสรีภาพ เช่น ผู้ขับรถยนต์มีเสรีภาพสมบูรณ์ ในการขับรถยนต์ตามถนนแลพะตามกฎจราจร ถ้าขับ รถยนต์ออกนอกถนนหรือไม่ถือกฎจราจรก็ไม่มีเสรีภาพใน การขับรถยนต์ เสรีภาพบริบูรณ์ภายในขอบเขตคือหลัก ธรรมชาติของเสรีภาพ และขอบเขตของเสรีภาพบริบูรณ์ คือ การไม่ล่วงลำ้าเสรีภาพของบุคคลอื่นและไม่เป็นปรปักษ์ ต่อส่วนรวม ฉะนั้น คติที่ถือว่าเสรีภาพบริบูรณ์ คือเสรีภาพ ไม่มีขอบเขตจึงเป็นคติที่ผิดธรรมชาติ จึงไม่ใช่คติของลัทธิ ประชาธิปไตย แต่เป็นคติของลัทธิอนาธิปไตย การปฏิบัติ ตามคติของลัทธิอนาธิปไตย คือการทำาลายเสรีภาพนั่นเอง ในบรรดาเสรีภาพทั้งปวงนั้น เสรีภาพทาง ความคิดเป็นรากฐาน คนเราถ้าไม่มีเสรีภาพทางความคิด ก็ เท่ากับไม่มีเสรีภาพและเท่ากับหมาดความเป็นคน ฉะนั้น ระบอบประชาธิปไตยซึ่งยึดถือหลักธรรมชาติของเสรีภาพ จึงทำาให้เสรีภาพบริบูรณ์แก่บุคคลในการนับถือศาสนา และ เชื่อถือลัทธิการเมือง ในขอบเขตที่ไม่กระทำาการอันขัดต่อ กฎหมายและศีลธรรม
  • 13. ในระบอบประชาธิปไตย การที่บุคคลได้แสดง ความคิดเห็นอย่างเสรีย่อมทำาให้ได้มาซึ่งแนวความคิดที่ดี ที่สุด อันจะส่งผลให้ได้มาซึ่งนโยบายที่ดีและนำาความผาสุก มาสู่คนส่วนรวม และการให้บุคคลมีเสรีภาพทำาให้บุคคล เกิดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ฉะนั้นในระบอบ ประชาธิปไตยซึ่งบุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์ ประชาชนจึงมี จิตสำานึกในการรักษาระเบียบวินัยด้วยความสมัครใจ อำานาจอธิปไตย เป็นหลักคู่กับเสรีภาพใน ฐานะที่เสรีภาพขึ้นต่ออำานาจอธิปไตย เพราะผู้ปกครอง ย่อมให้เสรีภาพย่างเต็มที่แก่ตนเองเสมอไป ดังนั้น ใน ระบอบเผด็จการซึ่งอำานาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย ชนส่วนน้อยจึงมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ และในระบอบ ประชาธิปไตยซึ่งอำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน บุคคล ทั่วไปจึงมีเสรีภาบริบูรณ์ ในประเทศปัจจุบัน อำานาจอธิปไตยเป็นของกลุ่ม ผลประโยชน์ผูกขาดซึ่งเป็นชนส่วนน้อย เสรีภาพอย่างเต็ม ที่จึงมีแก่เฉพาะบุคคลในกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดเท่านั้น บุคคลทั่วไปขาดเสรีภาพอย่างมากมาย ดังนั้น จึงต้อง ทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย เปลี่ยนอำานาจอธิปไตยจากคน ส่วนน้อยมาเป็นของปวงชน เพื่อเสรีภาพบริบูรณ์จะได้มีแก่ บุคคลทั่วไปอย่างเสมอหน้ากัน (7) ความเสมอภาค ความเสมอภาค เป็นหลักการปกครองอีกหลักหนึ่ง ของระบอบประชาธิปไตยต่อจากอำานาจอธิปไตเป็น ของปวงชนและบคคุลมีเสรีภาพบริบูรณ์ ความเสมอภาค คือว่าเท่าเทียมกันของคนทุกคน ลัทธิ ประชาธิปไตยยึดหลักธรรมชาติของมนุษย์ว่า มนุษย์ทุกคน เมื่อเกิดมาแล้วย่อมมีความทียมกันในความเป็นมนุษย์ แต่ มนุษย์แต่ละคนเมื่อเกิดมาแล้วไม่เหมือนกัน บางคนแข็งแรง
  • 14. บางคนอ่อนแอ บางคนฉลาดมาก บางคนฉลาดน้อย บาง คนมีความสามารถมาก บางคนมีความสามารถน้อย บางคน มีความทะเยอทะยานมาก บางคนมีความทะเยอทะยานน้อย ดังนั้น การที่จะกำาหนดให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในทุก สิ่งทุกอย่างจึงหขัดกับหลักธรรมชาติของมนุษย์และดังนั้น เพื่อนุวัติตามธรรมชาติของมนุษย์ ระบอบประชาธิปไตยจึง กำาหนดว่าเมื่อประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำานาจสูงสุด ของประเทศหรืออำานาจอธิปไตยแล้ว ประชาชนทุกคนจึงมี ความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน ในการแสดงออกซึ่ง ความเป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตยนั้น ความหมายโดยสาระ สำาคัญของความเสมอภาคในระบอบประชาธิปไตยคือคน ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในการแสดงออกซึ่งความเป็น เจ้าของอำานาจอธิปไตย แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ 1. ความเสมอภาคในกฎหมาย (Equality before the law) หมายความว่า คนทุกคนไม่ว่ากำาเนิดใด ศาสนาใด มีฐานะ ทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง ทางสังคม สูงหรือตำ่าอย่างใด ย่อมอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน อยู่ภายใต้ระบบศาล เดียวกัน ได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน และได้รับความ คุ้มครองจากองค์กรกฎหมายเท่าเทียมกัน ความแตกต่างใน กรณีใด ๆ ระหว่างบุคคลไม่ก่อให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใด 2. ความเสมอภาคในการออกเสียง (Equality in vote) หมายความว่า บุคคลแต่ละคนมีสิทธิในการออกเสียงลง คะแนนในการเลือกตั้งหรือในการแสดงประชามติใด ๆ ได้ เพียงคะแนนเดียว (One man, One vote) และหมายความ ว่า คะแนนเสียงของแต่ละคนจะต้องมีนำ้าหนัก หรือคุณค่า ในการตัดสินผลการเลือกตั้งหรือการแสดงประชามติเท่า เทียมกัน ตัวอย่างเช่น การแบ่งเขตเลือกตั้งที่ถือเอาเนื้อที่ ของเขตเป็นเกณฑ์ ไม่ถือเอาจำานวนประชากรเป็นเกณฑ์ ทำาให้เขตการเลือกตั้งซึ่งอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีประชากร มากกว่า 500,000 คน เยเปรียบเขตเลือกตั้งในชนบทที่มี
  • 15. ประชากรเพียง 50,000 คน และคะแนนเสียงของคนใน เมืองใหญ่มีผลในการตัดสินการเลือกน้อยกว่าคะแนนเสียง ของคนในชนบทถึง 10 เท่า เหตุนี้ศาลจึงตัดสินว่า การแบ่ง เขตเลือกตั้งเช่นนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 3. ความเสมอภาคในโอกาส (Equality in Opportunity ) หมายความว่า คนทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการใช้ พลังสมองและความสามารถ เพื่อเสริมสร้างและยกฐานะ ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางสังคมของตน เช่น ให้ โอกาสเท่าเทียมกันแก่ทุกคนที่จะได้รับการศึกษา ที่จะได้ รับการประกันสังคม ที่จะได้ประกอบกิจกรรมในด้าน เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่จะได้มีงานทำาและได้รับการ คุ้มครองแรงงาน และจะต้องขจัดระบบผูกขาดซึ่งเป็นการ ทำาลายความเสมอภาคในโอกาสของบุคคล เป็นต้น ในปัจจุบัน ประชาชน ประชาชนชาวไทยไม่มี ความเสมอภาคกัน ทั้งในฐานะเป็นคนไทยและในฐานะเป็น มนุษย์ เพราะลักษณะการปกครองของไทยและเป็นระบอบ เผด็จการ จึงจำาเป็นจะต้องทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยให้ สำาเร็จโดยเร็วเพื่อเปลี่ยนระบอบเผด็จการเป็นระบอบ ประชาธิปไตย เมื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นแล้ว ประชาชนชาวไทยก็จะมีความเสมอภาคกันในความเป็น เจ้าของอำานาจอธิปไตย ซึ่งจะยังผลให้มีความเสมอภาคกัน ในกฎหมาย ในการออกเสียง ในโอกาส สมกับที่เป็นคน ไทยและเป็นมนุษย์ (8) หลักกฎหมาย หลักกฎหมาย เป็นหลักการปกครองอีกหลัก หนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ต่อจากหลักอำานาจอธิปไตย เป็นของปวงชน บุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์ และความเสมอ ภาค
  • 16. มีผู้เข้าใจผิดว่า การปฏิบัติตามกฎหมายคือ เครื่องหมายของระบอบประชาธิปไตย และการไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมายเป็นการทำาลายระบอบประชาธิปไตย ความจริง ไม่ว่าในระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบเผด็จการ ล้วนแต่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่มีระบอบใด ๆ จะอนุญาตให้ละเมิดกฎหมาย การปฏิบัติ ตามกฎหมายเป็นเรื่องของทุก ๆ ระบอบ หาใช่เป็นเรื่องของ ระบอบประชาธิปไตยแต่เพียงระบอบเดียวไม่ ฉะนั้น การ ปฏิบัติตามกฎหมายจึงหาใช่เครื่องวัดความเป็นระบอบ ประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่ กฎหมายย่อมแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ตามวิถีทางนิติบัญญัติที่ได้กำาหนดไว้ในระบอบนั้น ๆ กฎหมายฉบับใดถ้ารัฐบาลไม่ต้องการจะปฏิบัติตามก็ยกเลิก หรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับนั้นเสีย เช่น รัฐบาล ต้องการจะต่ออายุ ผบ.ทบ. ครั้งที่แล้ว แต่กฎหมายห้ามไว้ ก็แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนั้นเสีย การกระทำาเช่นนี้หาใช่เป็น เครื่องวัดของความเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือของ ความเป็นระบอบเผด็จการ แต่อย่างใดไม่ หรือกฎหมายฉบับใดไม่เป็นธรรมแก่ ประชาชน และมีการแสดงประชามติคัดค้านกฎหมายฉบับ นั้น หรือเรียกร้องให้ยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ฉบับนั้น ก็เป็นการปฏิบัติตามวิถีทางประชาธิปไตยอย่าง หนึ่ง หาใช่เป็น “ กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ” แต่อย่างใดไม่ การโฆษณาว่า การปฏิบัติตามกฎหมาย คือ เครื่องหมายของระบอบประชาธิปไตย และว่าการไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมายคือการทำาลายระบอบประชาธิปไตย และเห็น การแสดงประชามติเป็น “ กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ” ไปนั้น คือความพยายามของระบอบเผด็จการที่จะให้ประชาชนยิน ยอมอยุ่ใต้ความกดขี่ตลอดไป
  • 17. การปฏิบัติตามกฎหมายไม่ใช่เครื่องหมาย ไม่ใช่เครื่องหมายของความเป็นระบอบประชาธิปไตย เพราะระบอบเผด็จการก็ใช้กฎหมายเช่นกัน และระบอบ เผด็จการมักจะเน้นหนักให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่กดขี่ ประชาชน เครื่องหมายของความเป็นรบอบประชาธิปไตย คือ การปฏิบัติตามหลักกฎหมาย จะต้องไม่เอากฎหมาย (Law) ไปปะปนกับหลักกฎหมาย (Rule of Law) หลักกฎหมาย คือหลักนิติธรรมที่ได้รับรอง แล้วว่าถูกต้อง เป็นกลักที่ผุ้ออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของ ประชาชนต้องยึดถือปฏิบัติตาม แม้ว่าองค์กรนิติบัญญัติ เช่น สภาผู้แทนราษฎร จะมีอำานาจออกกฎหมายมาจำากัด เสรีภาพของบุคคลได้ก็ตาม แต่กฎหมายนั้นต้องสอดคล้อง กับหลักกฎหมาย สภาผู้แทนราษฎรจะออกกฎหมายขัดต่อ หลักกฎหมายมิได้ ในประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น อังกฤษ ศาลมีอำานาจพิจารณาว่า กฎหมายใด ขัดกับหลักกฎหมายและเป็นโมฆะ ในประเทศที่มี รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น สหรัฐ มีการบัญญัติ หลักกฎหมายไว้ในรัฐธรรมนูญ หลักกฎหมายที่สำาคัญ ๆ เช่น (1) ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำาความผิด ให้สันนิษฐานไว้ก่อน ว่าเป็นผู้สุจริตบุคคลจะถูกล่าวหาว่ากระทำาความผิดได้ก็ต่อ เมื่อการกระทำานั้นมีบัญญัติไว้ในกฎหมายแห่งชาติว่าเป็น ความผิด (2) กฎหมายจะมีผลย้อนหลังไปลงโทษบุคคลมิได้ (3) ศาลเท่านั้นเป็นผู้มีอำานาจพิจารณาว่า การกระทำาใด เป็นการละเมิดกฎหมายและเป็นความผิดต้องได้รับโทษ ฯลฯ
  • 18. ระบอบใดสามารถออกกฎหมายละเมิดหลัก กฎหมายได้ สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกทำาลาย เช่น กฎหมาย ปร.42 เป็นต้น นั่นคือ เครื่องหมายอย่างหนึ่ง ของระบอบเผด็จการ ระบอบประชาธิปไตยย่อมยึดถือหลัก กฎหมายอย่างเคร่งครัด องค์กรนิติบัญญัติของระบอบ ประชาธิปไตยจะออกกฎหมายโดยละเมิดหลักฎหมายมิได้ (9) การปกครองจากการเลือกตั้ง การปกครองจากการเลือกตั้ง (Election Government) เป็นหลักการปกครองหลักสุดท้ายของ ระบอบประชาธิปไตย มีนักวิชาการบางคน เรียกการปกครองจาก การเลือกตั้งว่าการปกครองทางผู้แทน โดยถือว่าการ ปกครองทางผู้แทนเป็นวิธีการปกครองของประบอบ ประชาธิปไตยในปัจจุบัน เพราะไม่สามารถจะใช้การ ปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยตรงได้ แต่ประชาชนจะ ต้องเลือกผู้แทนขึ้นมาทำาการปกครองแทนตน นักวิชาการเหล่านั้น เอาประชาธิปไตยทางผู้ แทน (Representative Democracy ) กล่าวคือ ประชาธิปไตยทางตรงหมายความถึงระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนเข้าไปทำาหน้าที่ออกกฎหมาย หรือระเบียบข้อ บังคับของรัฐด้วยตนเอง ดังเช่นที่ปรากฏในบางรัฐของ สวิสเซอร์แลนด์ในปัจจุบัน และในนครรัฐสมัยกรีกโรมัน ส่วนประชาธิปไตยทางผู้แทน หมายความถึงระบอบ ประชาธิปไตยที่เลือกผู้แทนโดยการเลือกตั้งทั่วไปให้ เข้าไปใช้อำานาจอธิปไตย คืออกกฎหมาย บริหาร และ ตัดสินคดี ดังที่ใช้อยู่ในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายใน ปัจจุบัน เช่น อังกฤษ อเมริกา อินเดีย ฯลฯ
  • 19. แต่การปกครองทางผู้แทนนั้น เป็นอีกเรื่อหงนึ่ง เพราะในยุคปัจจุบันไม่ว่าระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบ เผด็จการ ต้องใช้การปกครองทางผู้แทน (Representative Government) ด้วยกันทั้งนั้น เราะไม่ว่า อำานาจอธิปไตยจะเป็นของคนส่วนน้อย (ระบอบเผด็จการ) หรืออำานาจอธิปไตยจะเป็นของปวงชน (ระบอบ ประชาธิปไตย) ก็ตาม คนส่วนน้อยและปวงชนต่างก็ไม่ สามารถจะเข้าไปใช้อำานาจอธิปไตยโดยตรงได้ เพราะคน ส่วนน้อยผู้เป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตยนั้นก็มจำานวนเป็น พันเป็นหมื่นหรือเป็นแสนเป็นล้านจึงไม่สามารถเข้าไปใช้ อำานาจอธิปไตยโดยตรง แต่ต้องมีคณะปกครองเป็นผู้ใช้ อำานาจอธิปไตยแทนตน ซึ่งโดยทั่วไปก็ได้แก่รัฐสภาและ คณะรัฐมนตรี ยิ่งปวงชนด้วยแล้วยิ่งมีจำานวนเป็นล้าน ๆ สิบ ๆ ล้าน หรือ ร้อย ๆ ล้าน จึงยิ่งไม่สามารถเข้าไปใช้อำานาจ อธิปไตยโดยตรง จึงต้องมีคณะปกครอง ซึ่งได้แก่ รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตยแทนตนเช่น เดียวกัน เช่นการปกครองของกลุ่มผลประโยชน์ชั้นสูง ของเยอรมัน เมื่อก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งส่วนสำาคัญ ได้แก่เจ้าที่ดินใหญ่ นายทุนใหญ่ และนายธนาคารใหญ่ ไม่สามารถใช้อำานาจอธิปไตยโดยตรง จึงมอบหมายให้ รัฐบาลนาซีเป็นผู้ใช้อำานาจแทน การปกครองของนาซีก็คือ การปกครองทางผู้แทนในระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ ซึ่ง รัฐบาลนานซีเป็นผู้แทนของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดสูงสุด ของเยอรมัน ทั้งนี้ก็เช่นเดียวกับรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาล ฝรั่งเศส รัฐบาลสวีเดน ฯลฯ ซึ่งใช้อำานาจอธิปไตยแทนปวง ชนจึงเป็นรัฐบาลที่เป็นผู้แทนปวงชน เป็นการปกครองทาง ผู้แทนของระบอบประชาธิปไตย และการปกครองทางผู้แทนหรือรัฐบาลทางผู้ แทนนั้น ไม่หมายความว่าการเลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้ง แต่ หมายความว่าใช้อำานาจอธิปไตยรักษาผลประโยชน์ของ ใครถึงจะเลือกตั้งแต่ถ้ารักษาผลประโยชน์ของกลุ่มผูกขาด
  • 20. ก็เป็นผู้แทนของกลุ่มผูกขาด ไม่ได้เป็นผู้แทนของปวงชน จึงเป็นการปกครองระบอบเผด็จการ แต่ถึงจะไม่เลือกตั้งแต่ รักษาผลประโยชน์ของปวงชน ก็เป็นผู้แทนของปวงจนจึง เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อประเทศไทยมีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยจากการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ไม่มี รัฐบาลจากการเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฎรครั้งนั้นเป็นสภา แต่งตั้ง และคณะรัฐมนตรีครั้งนั้นประกอบด้วยรัฐมนตรีที่ไม่ ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลครั้งนั้นเป็นรัฐบาล ประชาธิปไตยหรือการปกครองระบอบประชาธิปไตย (Democratic Government) เพราะว่ารัฐบาลครั้งนั้นเป็นผู้ แทนปวงชน เป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย หลังจากนั้นไม่นาน ระบอบประชาธิปไตยก็ เปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการและเป็นระบอบเผด็จการมา จนถึงปัจจุบัน ทั้ง ๆ ที่มีการเลือกตั้ง และทั้ง ๆ ที่มีรัฐบาล ทางผู้แทน แต่เป็นผู้แทนของคนส่วนน้อย เป็นผู้แทนของ กลุ่มผลประโยชน์ผูกขาด ไม่ใช่ผู้แทนปวงชน จึงเห็นได้ว่าประชาธิปไตยทางผู้แทน (Representative Democracy) เท่านั้น เป็นคู่กับ ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) การปกครอง ทางผู้แทนหรือรัฐบาลทางผู้แทน (Representative Government) ไม่ได้เป็นคู่กับประชาธิปไตยทางตรง และ การปกครองทางผู้แทนหรือรัฐบาลทางผู้แทนก็ไม่ใช่สิ่ง เดียวกับการปกครองจากการเลือกตั้งหรือรัฐบาลจากการ เลือกตั้ง (Election Government) ตามที่นักวิชาการมักจะ เอาไปปะปนกัน ระบอบประชาธิปไตย ถือเอาการปกครองจาก การเลือกตั้งเป็นกลักการปกครองหลักหนึ่ง แต่จัดเป็นหลัก สุดท้าย เพราะการปกครองจากการเลือกตั้งนั้นเป็นของ กลาง ซึ่งระบอบใด ๆ จะนำาไปใช้ก็ได้ และระบอบ ประชาธิปไตยนั้นในบางกรณีก็ไม่มีการเลือกตั้ง โดย
  • 21. เฉพาะในระยะเริ่มแรกขชองระบอบประชาธิปไตยไม่สาม รถจะมีการเลือกตั้ง ดังเช่นระยะแรกของระบอบ ประชาธิปไตยในประเทศไทย ภายหลังการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ไม่มีการเลือกตั้ง ต่อเมื่อเข้ารูปเข้ารอยแล้ว จึงมีการเลือกตั้ง นอกจากนั้นยังมีการปะปนหลัก อำานาจ อธิปไตยเป็นของปวงชน กับ หลักการปกครองจาก การเลือกตั้ง โดยเถือว่าเมื่อมีการเลือกตั้ง ส.ส. เข้าสภา และสภาเป็นผู้ตั้งคณะรัฐมนตรีและควบคุมคณะรัฐมนตรี ก็ คือสภาและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตยแทนปวง ชนแล้ว จึงเปลี่ยนคำาว่า “ อำานาจอธิปไตย เป็นของ ปวง ชน ” เป็น “ อำานาจอธิปไตย มาจาก ปวงชน ” ดังที่ปรากฏ ในรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับของประเทศเรา ซึ่งเป็นการ ทำาลายหลักอันเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการปกครองจาก การเลือกตั้ง แต่อำานาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของปวงชน แต่ เป็นของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาด ฉะนั้น จึงต้องเปลี่ยน อำานาจอธิปไตยของกลุ่มผลประโยชน์ผูกขาดมาเป็น อำานาจอธิปไตยของปวงชนเสียก่อน การปกครองมากจาก การเลือกตั้ง จึงเป็นหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้ หลักการปกครองของระบอบประชาธิปไตย มี 5 ประการ คือ 1. อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน 2 เสรีภาพบริบูรณ์ของบุคคล 3. ความเสมอภาค 4. หลัก กฎหมาย 5. การปกครองจากการเลือกตั้ง แต่หลักที่เป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตย คืออำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แม้ว่าจะมีหลักอื่น ๆ แต่ ไม่มีหลักอำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็ไม่ใช่ระบอบ ประชาธิปไตย ฉะนั้นจะดูว่าระบอบใดเป็นระบอบ
  • 22. ประชาธิปไตยหรือไม่ ก่อนอื่นก็ต้องดูที่ว่าอำานาจอธิปไตย เป็นของปวงชนหรือเป็นของคนส่วนน้อย (10) หลักการปกครองกับรูปการปกครอง หลักการปกครอง (Principle of Government) กับรูปแบบการปกครอง (Form of Government) เป็นสิ่งที่จะต้องอยู่คู่กัน แยกออกจากกันไม่ ได้หลักการปกครองจะต้องอยู่ในรูปการปกครองในรูปใด รูปหนึ่งเสมอไป และรูปการปกครองจะต้องมีหลักการ ปกครองของระบอบเผด็จการหรือระบอบประชาธิปไตย ระบอบใดระบอบหนึ่งเสมอไป หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยกับ ของระบอบเผด็จการ และโดยเฉพาะคือ หลักการปกครอง ในข้อที่เป็นหัวใจของระบอบทั้งสองระบอบนั้นแตกต่างกัน อย่างตรงกันข้าม กล่าวคือ หลักการปกครองซึ่งเป็นหัวใจ ของระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ อำานาจอธิปไตยเห็น ของปวงชน หลักการปกครองของระบอบเผด็จการ ได้แก่ อำานาจอธิปไตยเป็นของชนส่วนน้อย แต่หลักการปกครองซึ่งแตกต่างอย่างตรงกัน ข้ามนี้ อาจอยู่ในรูปการปกครองอันเดียวกัน เช่นระบอบ เผด็จการอยู่ในรูปการปกครองโดยทหาร และระบอบ ประชาธิปไตยก็อาจอยู่ในรูปการปกครองโดยทหารเช่น เดียวกัน ตัวอย่างเช่น การปกครองของพวกเผด็จการในระยะแรกที่ ทำารัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 และ 20 ตุลาคม 2501 เป็นต้น อยู่ในรูปการปกครองโดยทหาร การปกครอง ระบอบประชาธิปไตย ในระยะแรกของคณะราษฎร์ ซึ่งยึด อำานาจเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ก็อยู่ในรูปการปกครองโดย
  • 23. ทหารเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ไม่ว่าในประเทศไทยหรือในนานา ประเทศ รูปการปกครองนั้น นอกจากรูปการปกครอง โดยทหาร ซึ่งมักจะใช้ในระยะแรกของระบอบเผด็จการ และของระบอบประชาธิปไตยแล้ว ในระยะต่อมามักจะ เปลี่ยนไปใช้รูปการปกครองตามประเพณีนิยม อันมี 3 รูป คือ 1) ระบบรัฐสภา 2) ระบบประธานาธิบดี 3) ระบบกึ่ง ประธานาธิบดี ในประเทศไทยมีความเข้าใจผิดที่สำาคัญ อย่างหนึ่ง คือเข้าใจว่า ระบอบรัฐสมภาก็ดี ระบบ ประธานาธิบดีก็ดี และระบบกึ่งประธานาธิบดีก็ดี เป็นรูปการ ปกครองของระบอบประชาธิปไตยแต่ระบอบเดียวเท่านั้น จึงมักจะสั่งสอนกันว่า ระบอบประชาธิปไตยมีการปกครอง 3 รูป คือ ระบบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดี และระบบกึ่ง ประธานาธิบดี แต่ความจริงแล้ว 3 ระบบนี้เป็นได้ทั้งรูปการ ปกครองของระบอบเผด็จการและของระบอบประชาธิปไตย เช่น รัฐสภาไทยสมัยพระยาพหลฯ เป็นรูปการปกครองของ ระบอบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภาในสมัยหลวงพิบูลฯและ ในสมัยปัจจุบัน เป็นการปกครองของระบอบเผด็จการ ระบบประธานาธิบดีในเวียดนามใต้ สมัยโงดินเดียม เหงีย นวันเทียว เป็นรูปการปกครองของระบบเผด็จการ เป็นต้น การสั่งสอนที่ผิดพลาดมาเป็นระยะเวลา ยาวนานเช่นนี้ ทำาให้คนไทยเอาระบบรัฐสภากับระบอบ ประชาธิปไตยไปปะปนกัน เห็นระบบรัฐสภาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย จึงเข้าใจว่าเวลานี้ประเทศไทยมีการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยเพราะมีระบบรัฐสภา แต่ ความจริงแล้ว ระบบรัฐสภาในประเทศไทยปัจจุบัน เป็น ระบบรัฐสภาในระบอบเผด็จการ หาใช่ระบบรัฐสภาใน ระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใดไม่
  • 24. (11) ปัญหาประมุขของประเทศในการปฏิวัติ ประชาธิปไตย รูปการปกครอง 3 รูป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นของ ระบอบประชาธิปไตยหรือของระบอบเผด็จการก็ตาม ใน ประเทศไทยนอกจากมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นรูปการปกครอง ของระบอบประชาธิปไตยเพียงอย่างเดียว ดังที่กล่าวแล้ว ในตอนก่อน ยังมักจะเข้าใจผิดว่าหมายถึงประมุขของ ประเทศอีกด้วย แต่ความจริงแล้ว ระบบรัฐสภาหรือระบบ ประธานาธิบดีหรือระบบกึ่งประธานาธิบดีไม่ได้หมายถึง ประมุขของประเทศ แต่หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง อำานาจนิติบัญญัติกับอำานาจบริหาร ซึ่งจะได้กล่าวในตอน ต่อไป จึงขอกล่าวในตอนต่อไป แต่เนื่องจากมักเข้าใจผิด ดังกล่าว จึงขอกล่าวถึงปัญหาประมุขของประเทศในตอนนี้ ก่อน ในโลกยุคปัจจุบัน รูปของประเทศอันเนื่อง ด้วยประของประเทศนั้นโดยทั่วไปแล้วมี 2 รูปคือราช อาณาจักร (Kingdom) และสาธารณรัฐ (Republic) ราช อาณาจักรคือประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สาธารณรัฐคือประเทศที่มีประธานาธิบดีหรือสถาบันอื่นที่ ไม่ใช่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งนี้ไม่ว่า ประเทศนั้น ๆ จะมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือ ระบอบเผด็จการก็ตาม และประเทศใดจะเป็นราช อาณาจักรหรือสาธารณรัฐนั้น มิใช่ว่าบุคคลใดหรือคณะ บุคคลใดจะกำาหนดเอาได้ แต่ขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศนั้น ๆ วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และทางสังคม ของประเทศไทย กำาหนดให้ประเทศไทยเป็นราช อาณาจักร ประเทศไทยจึงมีพระมหากษัตริย์เป็นยประมุข มาแต่โบราณกาลและตลอดไปในอนาคต ไม่มีใครจะ เปลี่ยนแปลงได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ
  • 25. จึงได้มีการบัญญัติรับรองและบังคับไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ประเทศไทยต้องเป็นราชอาณาจักรและมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2475) มาตรา 1 บัญญัติว่า “ กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ” รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2475) มาตรา 1 บัญญัติว่า “ ประเทศไทย เป็นราชอาณาจักร ” รัฐธรรมนูญฉบับอื่นนอกจาก 2 ฉบับนี้ นอกจากบัญญัติว่า “ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร ” แล้ว ยังบัญญัติว่า “ ประเทศไทย มีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ” อีกด้วย ซึ่ง หมายความว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักร และสถาบัน พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศไทยตรงกันทุฉบับ แต่มีการพูดกันอย่างกว้างขวางให้ผิดไปจาก รัฐธรรมนูญว่า “ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ” เป็นการ ลดฐานะของพระมหากษัตริย์จากประมุขของประเทศ มา เป็นประมุขของระบอบ ซึ่งผิดจากเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญ จากหลักวิชาการและจากข้อเท็จจริง ซึ่งถ้า คณะปกครองละเมิดรัฐธรรมนูญ โดยทำาให้ระบอบ ประชาธิปไตยเป็นระบอบเผด็จการแล้ว ก็อาจกระทบ กระเทือนถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะในยุคปัจจุบัน ระบอบประชาธิปไตยเป็นปัจจัยของความมั่นคงของสถาบัน พระมหากษัตริย์ ระบอบเผด็จการบั่นทอนความมั่นคงของ สถาบันพระมหากษัตริย์ การปฏิวัติประชาธิปไตย คือการเปลี่ยน ระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นการปฏิวัติ ประชาธิปไตยในประเทศไทย จึงเป็นการกระทำาเพื่อความ มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ นอกจากมี ภารกิจในการปฏิวัติประชาธิปไตยแล้ว ยังมีความมุ่งหมาย เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยให้สำาเร็จและมีอุดมคติเพื่อ
  • 26. สร้างสังคมประชาธิปไตยให้สำาเร็จด้วย ฉะนั้น ขบวนการ ประชาธิปไตยแห่งชาติในประเทศไทย จึงเป็นผุ้ส่งเสริม ที่แท้จริงให้สถาบันพรมหากษัตริย์เป็นประมุขของ ประเทศไทยตลอดไป (12) ระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี โดยทั่วไป รูปการปกครองของระบอบ ประชาธิปไตยมี 3 รูป คือระบบรัฐสภา (Parliamentary System) แบะระบบประธานาธิบดี (Presidential System) ส่วนระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) นั้นอยู่ในฝ่ายระบบประธานาธิบดี ในประเทศไทย เมื่อกล่าวถึงระบบรัฐสภาและ ระบบประธานาธิบดี มีปัญหาสับสนซึ่งจำาเป็นต้องทำาความ กระจ่างอยู่ 2 ปัญหา คือ 1. มักจะเข้าใจกันว่า ระบบรัฐสภาและระบบ ประธานาธิบดีเป็นรูปการปกครองแต่เฉพาะของระบอบ ประชาธิปไตยระบอบเดียว ฉะนั้น เมื่อเห็นว่าประเทศใดมี รูปการปกครองเป็นระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี ก็ ถือว่าประเทศนั้นมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย นัย หนึ่งถือว่าระบบรัฐสภานั่นเองคือระบอบประชาธิปไตย ส่วน ในประเทศที่มีรูปการปกครองเป็นระบบประธานาธิบดีก็ ถือว่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยถือว่าระบบ ประธานาธิบดีคือระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน แต่ความจริงแล้ว ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา หรือระบบประธานาธิบดีเป็นรูปการปกครอง อาจมีการ ปกครองระบอบเผด็จการก็ได้ เช่นระบบประธานาธิบดีใน คิวบาสมัยบาติสตา ระบบประธานาธิบดีในนิการากัวสมัย โซโมซา เป็นระบอบเผด็จการ ในทำานองเดียวกัน ระบบ รัฐสภาสมัยพระยาพหลพยุหเสนาเป็นระบอบประชาธิปไตย
  • 27. ระบบรัฐสภาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม และต่อ ๆ มาเป็น ระบบเผด็จการ ฉะนั้นพึงเข้าใจว่า ระบบรัฐสภาและระบบ ประธานาธิบดี อาจเป็นระบอบประชาธิปไตยหรือระบอบ เผด็จการก็ได้ ไม่ควรคิดว่าเมื่อเป็นระบบรัฐสภาหรือระบบ ประธานาธิบดีแล้ว จะเป็นระบอบประชาธิปไตยเสมอไป แต่ ในที่นี้เราพูดกันถึงระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีที่ เป็นระบอบประชาธิปไตย 2. มักจะเข้าใจกันว่า ระบบรัฐสภาและระบบ ประธานาธิบดีเป็นปัญหาประมุขของประเทศ เพราะมีคำาว่า “ ประธานาธิบดี ” จึงคิดว่าระบบนี้หมายถึงประธานาธิบดี เป็นประมุขของประเทศ ไม่ใช่พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ของประเทศ แต่ความจริงแล้ว ระบบรัฐสภาและระบบ ประธานาธิบดีไม่ได้เกี่ยวกับประมุขของประเทศ ระบบ รัฐสภาอาจมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศก็ได้ อาจมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศก็ได้ เช่นระบบ รัฐสภาของอังกฤษ มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของ ประเทศ ระบบรัฐสภาของอินเดียมีประธานาธิบดีเป็น ประมุขของประเทศ เป็นต้น ส่วนระบบประธานาธิบดีเท่าที่ ปรากฏ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ แต่อาจมี พระมาหกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศก็ได้ เช่นใน ประเทศไทยเคยใช้ระบบกึ่งประธานาธิบดีโดยมีพระมหา กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญกึ่งระบบประธานาธิบดี และมีพระ มหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ก็เหมาะสมกับ ประเทศไทยเป็นอย่างดี การที่รัฐธรรมนูญฉบับนั้นก็ถูก ยกเลิกก็เพราะจอมพลถนอม กิตติขจร ทำารัฐประหารตัวเอง มิฉะนั้นแล้ว รัฐธรรมนูญกึ่งประธานาธิบดีฉบับนั้นก็จะ ดำาเนินไปได้โดยเรียบร้อย
  • 28. ฉะนั้น พึงเข้าใจว่า ระบบรัฐสภาและระบบ ประธานาธิบดีไม่เกี่ยวกับปัญหาประมุขของประเทศแต่ อย่างใด ถ้าเช่นนั้น ระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี เป็นปัญหาอะไร ระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดี เป็น ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอำานาจนิติบัญญัติกับอำานาจ บริหารซึ่ง มี 2 ลักษณะ ลักษณะหนึ่ง รวมกัน อีกลักษณะ หนึ่ง แยกกัน ความสัมพันธ์รวมกันเรียกว่า รวมอำานาจ (Fusion of Power) ความสัมพันธ์แยกกันเกรียกว่า แยก อำานาจ (Separation of Power) ความสัมพันธ์รวมอำานาจหรือ ระบบรวม อำานาจ คือระบบรัฐสภา ความสัมพันธ์แยกอำานาจหรือ ระบบแยกอำานาจ คือระบบประธานาธิบดี ซึ่งจะได้กล่าว ต่อไป (13) ระบบรวมอำานาจ และระบบแยกอำานาจ ดังได้กล่าวแล้วว่า ระบบรัฐสภา (Parliamentary System) และระบบประธานาธิบดี (Presidential System) นั้น ไม่ได้เกี่ยวกับปัญหาประมุข ของประเทศ แต่เกี่ยวกับปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าอำานาจ นิติบัญญัติกับอำานาจบริหาร กล่าวคือถ้าอำานาจนิติบัญญัติ กับอำานาจบริหาร รวมกัน ก็เป็นระบบรัฐสภา ถ้าอำานาจ นิติบัญญัติกับอำานาจบริหาร แยกกัน ก็เป็นระบบ ประธานาธิบดี ทั้งนี้ไม่ว่าประมุขของจะเป็นพระมหากษัตริย์ หรือสามัญชนก็ตาม ฉะนั้น ระบบรัฐสภาจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบรวมอำานาจ (Fusion of Powers) และระบบ