SlideShare a Scribd company logo
กฎหมายครอบครัว
การหมั้น
       หลังจากชายและหญิงเจริญวัยพอสมควร มนุษย์เราก็จะก้าวเข้าสู่วย     ั
หนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่เป็นธรรมดาของมนุษยชาติ ที่ต้องการมีคู่ครอง มี
ครอบครัว ก่อนที่จะมาอยู่รวมกันเป็นครอบครัวนั้น ชายอาจจะใช้เวลา
                             ่
ศึกษาอุปนิสัยใจคอ ความประพฤติของหญิงคู่รัก ว่าเหมาะสมที่จะเป็นแม่
บ้านของตนหรือไม่ ส่วนหญิงนั้นอาจต้องศึกษาอุปนิสัยใจคอของชายที่ตน
จะทำาการสมรสด้วยว่าเป็นอย่างไร ถ้าหากทำาการสมรสแล้วจะเป็นพ่อบ้าน
ที่ดีและจะเป็นพ่อที่เป็นแบบอย่างที่ดีของลูกได้หรือไม่
       เมื่อทั้งชายและหญิงมีความเชื่อมั่นว่า ต่างคนต่างต้องการครองชีวิต
ร่วมกัน ทังคู่อาจเดินทางไปยังทีว่าการอำาเภอ เพื่อจดทะเบียนสมรสกัน
            ้                      ่
หรือจะหมั้นกันไว้ก่อนแล้ว ค่อยสมรสกันในภายหลัง เพื่อให้โอกาสแต่ละ
ฝ่ายได้เตรียมเนื้อเตรียมตัว และจะเป็นการขยายระยะเวลาในการศึกษา
อุปนิสัยกัน ให้นานยิ่งขึ้น
๑. หลักเกณฑ์ในเรื่องการหมั้น
       การหมั้น เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงตกลงกันว่า
ชายและหญิงคู่หมั้นจะทำาการสมรสกันในอนาคต กฎหมายต้องการให้เป็น
เจตนาอันบริสุทธิ์ของชายและหญิงคู่หมั้นในการที่จะกำาหนดวิถีชีวิตของ
ตนเองกฎหมายไม่ประสงค์ให้มีการคลุมถุงชน ไม่ต้องการให้มีการบังคับ
ให้ทำาการสมรส เราจึงเห็นได้ว่าสัญญาหมั้นมีลักษณะแปลกจากสัญญาอื่น
ๆ ตรงที่ว่าไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งทำาการสมรสได้ แต่
ถึงแม้วาจะมีข้อตกลงในเรื่องเบียปรับกันเอาไว้ ข้อตกลงนั้นก็เป็นอันใช้
        ่                        ้
บังคับไม่ได้
       ตัวอย่าง นายแดง และนางสาวสร้อยศรีได้ทำาการหมั้นกัน ต่อมา
นางสาวสร้อยศรีเห็นว่านายแงยากจนไม่อยากจะสมรสด้วย ที่ตกลงรับหมั้น
ในตอนแรกนั้นเพราะคิดว่านายแดงเป็นคนมีฐานะดี นายแดงจะมาขอ
อำานาจศาลบังคับให้นางสาวสร้อยศรีทำาการสมรสกับตนไม่ได้ เพราะใน
เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สมัครใจที่จะเป็นสามีภริยากันแล้ว หากว่าบังคับให้
ทำาการสมรสกันก็จะก่อให้เกิดปัญหาในครอบครัวอย่างแน่นอน
       บุคคลที่จะหมั้นกันได้นั้น ทังชายและหญิงจะต้องมีอายุอย่างน้อยสิบ
                                     ้
เจ็ดปีบริบรณ์ กฎหมายกำาหนดอายุของทั้ง ๒ คน ว่าแต่ละคนต้องมีอายุขั้น
              ู
ตำ่า ๑๗ ปีบริบูรณ์ ดังนั้นหากชายอายุ ๑๗ ปี หมั้นกับหญิงอายุ ๑๕ การ
หมั้นย่อมเป็นโมฆะ
       เราคงได้ยินกันเสมอว่า บางคนเกิดมาก็มีคู่หมั้นอยู่แล้ว พ่อแม่เป็นคน
หมั้นไว้ให้ตั้งแต่บุตรยังอยู่ในท้องเพื่อไม่ให้เงินทองรั่วไหลไปไหน แต่ใน
แง่กฎหมายแล้ว การหมั้นยังไม่ได้เกิดขึ้นเพราะในขณะทำาการหมั้นนั้นชาย
และหญิงอายุไม่ครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์
        มีบุคคลบางประเภทแม้มีอายุครบสิบเจ็ดปีบริบรณ์แล้วแต่ทำาการหมั้น
                                                      ู
กันไม่ได้เลย บุคคลประเภทนี้ได้แก่
        (๑) คนวิกลจริต คนบ้า หรือคนทีถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความ
                                           ่
สามารถ
        (๒) บุคคลผู้เป็นบุพการี (พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด) จะหมันกับผู้
                                                                   ้
สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน ลือ) ไม่ได้
                                  ้
        (๓) บุคคลที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมแต่มารดา
หรือบิดาเพียงอย่างเดียว
        (๔) บุคคลที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว
        แต่มีบุคคลประเภทหนึง สามารถทำาการหมันได้แต่ต้องขอความ
                               ่                    ้
ยินยอมจากบุคคลอื่น บุคคลประเภทนี้คือผู้เยาว์ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๗ ปีขึ้น
ไป แต่ยงไม่บรรลุนิติภาวะ (การบรรลุนิติภาวะทำาได้ ๒ ทาง คือ มีอายุยี่สิบ
           ั
ปีบริบูรณ์ หรือได้สมรสแล้วตามกฎหมาย)
บุคคลที่จะให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำาการหมั้นได้แก่
        (๑) บิดาและมารดา ในกรณีทมีทั้งบิดาและมารดา
                                        ี่
        (๒) บิดาหรือมารดาเพียงคนใดคนหนึ่ง ในกรณีที่อีกคนหนึ่งถึงแก่
กรรม หรือถูกถอนอำานาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้
ความยินยอมหรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา
หรือบิดาได้
        (๓) ผู้รับบุตรบุญธรรมให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรม
        (๔) มารดา ในกรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
        (๕) ผู้ปกครองในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมได้ตามข้อ
(๑), (๒), และ หรือมีบุคคลดังกล่าวแต่ถูกถอนอำานาจปกครอง
การหมั้นที่ปราศจากการให้ความยินยอมในกรณีที่ต้องให้ความยินยอมนั้น
เป็นการหมั้นที่ไม่สมบูรณ์อาจถูกเพิกถอนได้
๒. ของหมั้น
        ของหมั้น คือ ทรัพย์สินที่ฝายชายได้ให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงในขณะทำาการ
                                    ่
หมั้น เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับหญิง
ตามประเพณีของไทยเรานั้น ฝ่ายชายเป็นฝ่ายที่นำาของหมั้นไปให้แก่ฝ่าย
หญิง ที่กล่าวว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงนั้นไม่ได้หมายความเฉพาะชายหญิง
คู่หมั้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงบุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชายหรือ
หญิงคู่หมั้นด้วย เช่น บิดามารดา ผูปกครอง หากบุคคลเหล่านี้ทำาการหมั้น
                                      ้
แทนชายหรือหญิง การหมั้นจะผูกพันชายหรือหญิงต่อเมื่อชายหรือหญิงคู่
หมั้นตกลงยินยอมในการหมั้นนั้นด้วย
ตัวอย่าง นายแดงอายุ ๒๒ ปี รักนางสาวสุชาดา ซึ่งมีอายุ ๑๙ ปี เป็น
อันมาก แต่เนื่องจากนางสาวสุชาดา ไม่ชอบตน นายแดงจึงไปขอหมั้น
นางสาวสุชาดากับนางสร้อย มารดาของนางสาวสุชาดา โดยทีนางสาว        ่
สุชาดาไม่ได้รู้เห็นยินยอมแต่อย่างใด นางสร้อยได้ตกลงรับหมั้นนายแดง
และนายแดงได้ส่งมอบแหวนเพชรให้เป็นของหมั้นในวันนั้น หากนางสาว
สุชาดาไม่ยอมทำาการสมรสกับนายแดงไม่วาเพราะเหตุใด ๆ นายแดงจะ
                                             ่
ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนางสาวสุชาดาไม่ได้ เพราะสัญญาหมั้นนี้นางสาว
สุชาดาไม่ได้เป็นคู่สัญญาแต่อย่างใด ของหมั้นนั้น จะต้องมีของหมั้นและ
ส่งมอบของหมั้นในขณะทำาการหมั้น
       คำาพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๕๒/๒๕๐๖ จำาเลยขอหมั้นน้องสาวโจทก์เพื่อ
ให้แต่งงานกับบุตรจำาเลยแต่จำาเลยไม่มีเงิน จึงทำาสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือ
ไว้ต่อมาบุตรจำาเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียก
เงินตามสัญญากู้
       ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญากู้ดังกล่าวนี่ เป็นเพียงสัญญาที่จะให้
ทรัพย์สินในวันข้างหน้า ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินกันอย่างแท้จริง
เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็น ของอีก
ฝ่ายหนึงในสภาพของหมั้น และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิของหญิง
          ่
เมื่อได้ทำาการสมรสแล้ว ในกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้วาได้มีการให้ของหมั้นกัน
                                                  ่
ตามกฎหมายแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ไม่ได้ เพราะสัญญากู้
รายนี้ไม่มีหนี้เดิมต่อกัน
       ในกรณีเช่นนี้ถือว่าสัญญากู้เป็นเพียงสัญญาที่จะให้ทรัพย์สินเป็นของ
หมั้นในอนาคต ยังไม่มีการ ส่งมอบทรัพย์สินกันอย่างแท้จริง ฉะนั้นสัญญา
กู้จึงไม่เป็นของหมั้น สิ่งที่จะให้เป็นของหมั้นนั้นกฎหมายกำาหนดแต่เพียง
ว่าเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้กับฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้น
และประกันว่าจะสมรสกับหญิงนั้นเท่านั้น ไม่ได้กำาหนดไว้วาของหมั้นนั้น
                                                            ่
ต้องมีราคาเท่าใด ซึ่งศาลฎีกาได้ตัดสินมาแล้วว่าแม้เป็นเพียงผ้าขาวก็
สามารถ เป็นของหมั้นได้
เมื่อทำาการหมั้นแล้วของหมั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที
       สรุปได้วา สาระสำาคัญของของหมั้นได้แก่
                ่
       (๑) ต้องมีการส่งมอบให้แก่กันในขณะทำาการหมั้น
       (๒) จะมีราคามากน้อยแค่ไหนไม่สำาคัญ
๓. สินสอด
       สินสอด เป็นทรัพย์สิ น ซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รบบุตร
                                                              ั
บุญธรรม หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการทียอมสมรส   ่
       บุคคลที่อยู่ในฐานะจะรับสินสอดได้คือ
       (๑) บิดามารดาของหญิง
(๒) ผู้ปกครองของหญิง
ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำาคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่ง
ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ชายสามารถเรียกสินสอดคืนได้ แต่ถาเหตุที่ไม่มี
                                                             ้
การสมรสนั้นเกิดจากความผิดของฝ่ายชายแล้ว ชายไม่มีสิทธิเรียกคืน
สินสอดมีลักษณะแตกต่างจากของหมั้นทีว่า ของหมั้นต้องมีการส่งมอบให้
                                          ่
แก่ฝ่ายหญิงในขณะที่ทำาการหมั้นแต่สินสอดนั้นจะส่งมอบให้แก่บุคคลที่มี
สิทธิจะรับเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอม
ทำาการสมรสกับตน หากว่าได้ให้ทรัพย์สินเป็นเพียงเพื่อแก้หน้าบิดามารดา
ของฝ่ายหญิงที่ตนพาลูกสาวของเขาหนีแล้ว ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่สินสอด
แม้ต่อมาภายหลังไม่มีการสมรสชายจะเรียกคืนไม่ได้เพราะสิ่งของที่ให้กัน
นั้นกฎหมายไม่ถือว่าเป็นสินสอด
คำาพิพากษาฎีกา ๑๒๖/๒๕๑๘ เงินที่ชายให้แก่มารดาหญิงเพื่อขอขมาใน
การที่หญิงตามไป อยู่กินกับชายโดยชายหญิงไม่มีเจตนาจะสมรสกันตาม
กฎหมาย ไม่ใช่สินสอดหรือของหมั้น เมื่อต่อมาหญิงไม่ยอมอยู่กินกับชาย
ชายเรียกคืนไม่ได้
๔. การผิดสัญญาหมั้น
       ถ้าชายหรือหญิงคู่หมั้น ไม่ยอมทำาการสมรสกับคู่หมั้นของตนโดย
ปราศจากมูลเหตุอันจะอ้าง กฎหมายได้ถือว่าคู่หมั้นฝ่ายนั้นผิดสัญญาหมั้น
เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้น เช่นหญิงมีคู่หมั้นอยู่แล้วไปทำาการ
สมรสกับชายอื่นทีไม่ใช่คู่หมั้นของตนหรือหนีตามชายอื่นไป ชายคู่หมั้นจะ
                    ่
ฟ้องร้องต่อศาลให้ศาลบังคับให้หญิงทำาการสมรสกับตนไม่ได้ เพราะการ
สมรสนั้นต้องเกิดจากความสมัครใจ ศาลจะใช้อำานาจไปบังคับให้ชายและ
หญิงทำาการสมรสกันไม่ได้ แม้ว่าจะมีการตกลงกันว่าถ้าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด
สัญญาหมั้นจะให้ปรับเป็นจำานวนเท่าใด ข้อตกลงนั้นก็ใช้บังคับกันไม่ได้
แต่คู่หมั้นซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ต้องรับผิดจ่ายค่าทดแทนดังต่อไปนี้
       (๑) ค่าทดแทนความเสียหาย ต่อกาย หรือชื่อเสียง
       (๒) ทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากคู่หมั้น บิดามารดาหรือ
บุคคลผู้กระทำาการในฐานะ เช่น บิดามารดาได้ใช้จ่าย หรือตกเป็นลูกหนี้
เนื่องจากการเตรียมการสมรสโดยสุจริต และตามสมควร เช่น ฝ่ายหญิงได้
ซื้อเครื่องนอน เครื่องครัวไว้แล้ว ชายไปแต่งงานกับหญิงอื่น ชายต้องรับ
ผิดในค่าใช้จ่ายเหล่านี้
       (๓) ค่าทดแทนความเสียหาย เนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการ
ทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวกับอาชีพหรือทางทำามาหาได้ของตนไปโดย
สมควรด้วยการคาดหมายว่าจะมีการสมรส
ตัวอย่าง สำาหรับทดแทนที่ ๓ นายแดงอยู่กรุงเทพฯ หมั้นกับนางสาวนุสรา
ซึ่งมีอาชีพเป็นพยาบาลอยู่ต่างจังหวัด มีการกำาหนดวันที่จะทำาการสมรส
นางสาวนุสราจึงลาออกจากการเป็นพยาบาลเพื่อที่จะเป็นแม่บาน เมื่อนาง
                                                         ้
สาวนุสราได้ลาออกจากการเป็นพยาบาลแล้ว นายแดงไม่ยอมทำาการสมรส
ด้วย เนื่องจากตนได้ไปสมรสกับผู้หญิงอื่น เช่นนี้นายแดงต้องรับผิดใช้ค่า
ทดแทน
ความเสียหายอันเกิดจากการที่นางสาวนุสราลาออกจากงาน (สิทธิเรียก
ร้องค่าทดแทนนี้ มีอายุความ ๖ เดือน นับแต่วันผิดสัญญาหมั้น)
ในกรณีที่หญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชาย
ถ้าชายเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นแล้วฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้น

More Related Content

What's hot

บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วบุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วอ.เป้ สิททิกรณ์ สมาร์ทลอว์ติวเตอร์
 
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้ว
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้วกฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้ว
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้ว
Yosiri
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดก
Yosiri
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดก
Yosiri
 
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาbilly ratchadamri
 
การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์
การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์
การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์
อ.เป้ สิททิกรณ์ สมาร์ทลอว์ติวเตอร์
 
มรดก 1
มรดก 1มรดก 1
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...อ.เป้ สิททิกรณ์ สมาร์ทลอว์ติวเตอร์
 
หลักกฎหมายอาญาทั่วไป
หลักกฎหมายอาญาทั่วไปหลักกฎหมายอาญาทั่วไป
หลักกฎหมายอาญาทั่วไป
ทิวากร ธนะมูล
 
ครอบครัว
ครอบครัวครอบครัว
ครอบครัวYosiri
 
บุคคล 17
บุคคล 17บุคคล 17
บุคคล 17Yosiri
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันEyezz Alazy
 
กฎหมายลักษณะมรดกครั้งที่๑
กฎหมายลักษณะมรดกครั้งที่๑กฎหมายลักษณะมรดกครั้งที่๑
กฎหมายลักษณะมรดกครั้งที่๑
สุกิจ อยู่ในธรรม
 

What's hot (16)

บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วบุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
บุตรที่บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร กับ บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
 
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้ว
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้วกฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้ว
กฎหมายครอบครัว กลุ่มแต้ว
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดก
 
มรดก
มรดกมรดก
มรดก
 
กฎหมายมรดก
กฎหมายมรดกกฎหมายมรดก
กฎหมายมรดก
 
ผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตาย
ผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตายผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตาย
ผู้เสียหายในคดีอาญาถึงแก่ความตาย
 
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
 
การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์
การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์
การดำเนินคดีอาญาของผู้เยาว์
 
มรดก 1
มรดก 1มรดก 1
มรดก 1
 
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...
ผู้มีอำนาจจัดการแทนยื่นฟ้องคดีอาญาแล้วตายลง จะขอดำเนินคดีอาญาต่างผู้ตายได้หรื...
 
หลักกฎหมายอาญาทั่วไป
หลักกฎหมายอาญาทั่วไปหลักกฎหมายอาญาทั่วไป
หลักกฎหมายอาญาทั่วไป
 
ครอบครัว
ครอบครัวครอบครัว
ครอบครัว
 
บุคคล 17
บุคคล 17บุคคล 17
บุคคล 17
 
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวันกฎหมายในชีวิตประจำวัน
กฎหมายในชีวิตประจำวัน
 
กฎหมายลักษณะมรดกครั้งที่๑
กฎหมายลักษณะมรดกครั้งที่๑กฎหมายลักษณะมรดกครั้งที่๑
กฎหมายลักษณะมรดกครั้งที่๑
 
แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54
แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54
แนวข้อสอบตั๋วปี ครั้งที่ 1 ปี 54
 

More from billy ratchadamri

ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาbilly ratchadamri
 
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายbilly ratchadamri
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมbilly ratchadamri
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมbilly ratchadamri
 
คำมั่นจะให้เช่า
คำมั่นจะให้เช่าคำมั่นจะให้เช่า
คำมั่นจะให้เช่าbilly ratchadamri
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003billy ratchadamri
 

More from billy ratchadamri (7)

ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
 
การสมรส
การสมรสการสมรส
การสมรส
 
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายความหมายและลักษณะของกฎหมาย
ความหมายและลักษณะของกฎหมาย
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
 
การจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม
การจัดระเบียบทางสังคม
 
คำมั่นจะให้เช่า
คำมั่นจะให้เช่าคำมั่นจะให้เช่า
คำมั่นจะให้เช่า
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย2003
 

Recently uploaded

1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 

Recently uploaded (10)

1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 

การหมั้น

  • 1. กฎหมายครอบครัว การหมั้น หลังจากชายและหญิงเจริญวัยพอสมควร มนุษย์เราก็จะก้าวเข้าสู่วย ั หนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่เป็นธรรมดาของมนุษยชาติ ที่ต้องการมีคู่ครอง มี ครอบครัว ก่อนที่จะมาอยู่รวมกันเป็นครอบครัวนั้น ชายอาจจะใช้เวลา ่ ศึกษาอุปนิสัยใจคอ ความประพฤติของหญิงคู่รัก ว่าเหมาะสมที่จะเป็นแม่ บ้านของตนหรือไม่ ส่วนหญิงนั้นอาจต้องศึกษาอุปนิสัยใจคอของชายที่ตน จะทำาการสมรสด้วยว่าเป็นอย่างไร ถ้าหากทำาการสมรสแล้วจะเป็นพ่อบ้าน ที่ดีและจะเป็นพ่อที่เป็นแบบอย่างที่ดีของลูกได้หรือไม่ เมื่อทั้งชายและหญิงมีความเชื่อมั่นว่า ต่างคนต่างต้องการครองชีวิต ร่วมกัน ทังคู่อาจเดินทางไปยังทีว่าการอำาเภอ เพื่อจดทะเบียนสมรสกัน ้ ่ หรือจะหมั้นกันไว้ก่อนแล้ว ค่อยสมรสกันในภายหลัง เพื่อให้โอกาสแต่ละ ฝ่ายได้เตรียมเนื้อเตรียมตัว และจะเป็นการขยายระยะเวลาในการศึกษา อุปนิสัยกัน ให้นานยิ่งขึ้น ๑. หลักเกณฑ์ในเรื่องการหมั้น การหมั้น เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงตกลงกันว่า ชายและหญิงคู่หมั้นจะทำาการสมรสกันในอนาคต กฎหมายต้องการให้เป็น เจตนาอันบริสุทธิ์ของชายและหญิงคู่หมั้นในการที่จะกำาหนดวิถีชีวิตของ ตนเองกฎหมายไม่ประสงค์ให้มีการคลุมถุงชน ไม่ต้องการให้มีการบังคับ ให้ทำาการสมรส เราจึงเห็นได้ว่าสัญญาหมั้นมีลักษณะแปลกจากสัญญาอื่น ๆ ตรงที่ว่าไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีให้อีกฝ่ายหนึ่งทำาการสมรสได้ แต่ ถึงแม้วาจะมีข้อตกลงในเรื่องเบียปรับกันเอาไว้ ข้อตกลงนั้นก็เป็นอันใช้ ่ ้ บังคับไม่ได้ ตัวอย่าง นายแดง และนางสาวสร้อยศรีได้ทำาการหมั้นกัน ต่อมา นางสาวสร้อยศรีเห็นว่านายแงยากจนไม่อยากจะสมรสด้วย ที่ตกลงรับหมั้น ในตอนแรกนั้นเพราะคิดว่านายแดงเป็นคนมีฐานะดี นายแดงจะมาขอ อำานาจศาลบังคับให้นางสาวสร้อยศรีทำาการสมรสกับตนไม่ได้ เพราะใน เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สมัครใจที่จะเป็นสามีภริยากันแล้ว หากว่าบังคับให้ ทำาการสมรสกันก็จะก่อให้เกิดปัญหาในครอบครัวอย่างแน่นอน บุคคลที่จะหมั้นกันได้นั้น ทังชายและหญิงจะต้องมีอายุอย่างน้อยสิบ ้ เจ็ดปีบริบรณ์ กฎหมายกำาหนดอายุของทั้ง ๒ คน ว่าแต่ละคนต้องมีอายุขั้น ู ตำ่า ๑๗ ปีบริบูรณ์ ดังนั้นหากชายอายุ ๑๗ ปี หมั้นกับหญิงอายุ ๑๕ การ หมั้นย่อมเป็นโมฆะ เราคงได้ยินกันเสมอว่า บางคนเกิดมาก็มีคู่หมั้นอยู่แล้ว พ่อแม่เป็นคน หมั้นไว้ให้ตั้งแต่บุตรยังอยู่ในท้องเพื่อไม่ให้เงินทองรั่วไหลไปไหน แต่ใน
  • 2. แง่กฎหมายแล้ว การหมั้นยังไม่ได้เกิดขึ้นเพราะในขณะทำาการหมั้นนั้นชาย และหญิงอายุไม่ครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ มีบุคคลบางประเภทแม้มีอายุครบสิบเจ็ดปีบริบรณ์แล้วแต่ทำาการหมั้น ู กันไม่ได้เลย บุคคลประเภทนี้ได้แก่ (๑) คนวิกลจริต คนบ้า หรือคนทีถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความ ่ สามารถ (๒) บุคคลผู้เป็นบุพการี (พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด) จะหมันกับผู้ ้ สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน ลือ) ไม่ได้ ้ (๓) บุคคลที่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมแต่มารดา หรือบิดาเพียงอย่างเดียว (๔) บุคคลที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว แต่มีบุคคลประเภทหนึง สามารถทำาการหมันได้แต่ต้องขอความ ่ ้ ยินยอมจากบุคคลอื่น บุคคลประเภทนี้คือผู้เยาว์ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๗ ปีขึ้น ไป แต่ยงไม่บรรลุนิติภาวะ (การบรรลุนิติภาวะทำาได้ ๒ ทาง คือ มีอายุยี่สิบ ั ปีบริบูรณ์ หรือได้สมรสแล้วตามกฎหมาย) บุคคลที่จะให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำาการหมั้นได้แก่ (๑) บิดาและมารดา ในกรณีทมีทั้งบิดาและมารดา ี่ (๒) บิดาหรือมารดาเพียงคนใดคนหนึ่ง ในกรณีที่อีกคนหนึ่งถึงแก่ กรรม หรือถูกถอนอำานาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้ ความยินยอมหรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาได้ (๓) ผู้รับบุตรบุญธรรมให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรม (๔) มารดา ในกรณีที่บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน (๕) ผู้ปกครองในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมได้ตามข้อ (๑), (๒), และ หรือมีบุคคลดังกล่าวแต่ถูกถอนอำานาจปกครอง การหมั้นที่ปราศจากการให้ความยินยอมในกรณีที่ต้องให้ความยินยอมนั้น เป็นการหมั้นที่ไม่สมบูรณ์อาจถูกเพิกถอนได้ ๒. ของหมั้น ของหมั้น คือ ทรัพย์สินที่ฝายชายได้ให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงในขณะทำาการ ่ หมั้น เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับหญิง ตามประเพณีของไทยเรานั้น ฝ่ายชายเป็นฝ่ายที่นำาของหมั้นไปให้แก่ฝ่าย หญิง ที่กล่าวว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงนั้นไม่ได้หมายความเฉพาะชายหญิง คู่หมั้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงบุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชายหรือ หญิงคู่หมั้นด้วย เช่น บิดามารดา ผูปกครอง หากบุคคลเหล่านี้ทำาการหมั้น ้ แทนชายหรือหญิง การหมั้นจะผูกพันชายหรือหญิงต่อเมื่อชายหรือหญิงคู่ หมั้นตกลงยินยอมในการหมั้นนั้นด้วย
  • 3. ตัวอย่าง นายแดงอายุ ๒๒ ปี รักนางสาวสุชาดา ซึ่งมีอายุ ๑๙ ปี เป็น อันมาก แต่เนื่องจากนางสาวสุชาดา ไม่ชอบตน นายแดงจึงไปขอหมั้น นางสาวสุชาดากับนางสร้อย มารดาของนางสาวสุชาดา โดยทีนางสาว ่ สุชาดาไม่ได้รู้เห็นยินยอมแต่อย่างใด นางสร้อยได้ตกลงรับหมั้นนายแดง และนายแดงได้ส่งมอบแหวนเพชรให้เป็นของหมั้นในวันนั้น หากนางสาว สุชาดาไม่ยอมทำาการสมรสกับนายแดงไม่วาเพราะเหตุใด ๆ นายแดงจะ ่ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนางสาวสุชาดาไม่ได้ เพราะสัญญาหมั้นนี้นางสาว สุชาดาไม่ได้เป็นคู่สัญญาแต่อย่างใด ของหมั้นนั้น จะต้องมีของหมั้นและ ส่งมอบของหมั้นในขณะทำาการหมั้น คำาพิพากษาฎีกาที่ ๑๘๕๒/๒๕๐๖ จำาเลยขอหมั้นน้องสาวโจทก์เพื่อ ให้แต่งงานกับบุตรจำาเลยแต่จำาเลยไม่มีเงิน จึงทำาสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือ ไว้ต่อมาบุตรจำาเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียก เงินตามสัญญากู้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญากู้ดังกล่าวนี่ เป็นเพียงสัญญาที่จะให้ ทรัพย์สินในวันข้างหน้า ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินกันอย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็น ของอีก ฝ่ายหนึงในสภาพของหมั้น และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิของหญิง ่ เมื่อได้ทำาการสมรสแล้ว ในกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้วาได้มีการให้ของหมั้นกัน ่ ตามกฎหมายแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ไม่ได้ เพราะสัญญากู้ รายนี้ไม่มีหนี้เดิมต่อกัน ในกรณีเช่นนี้ถือว่าสัญญากู้เป็นเพียงสัญญาที่จะให้ทรัพย์สินเป็นของ หมั้นในอนาคต ยังไม่มีการ ส่งมอบทรัพย์สินกันอย่างแท้จริง ฉะนั้นสัญญา กู้จึงไม่เป็นของหมั้น สิ่งที่จะให้เป็นของหมั้นนั้นกฎหมายกำาหนดแต่เพียง ว่าเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ให้ไว้กับฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้น และประกันว่าจะสมรสกับหญิงนั้นเท่านั้น ไม่ได้กำาหนดไว้วาของหมั้นนั้น ่ ต้องมีราคาเท่าใด ซึ่งศาลฎีกาได้ตัดสินมาแล้วว่าแม้เป็นเพียงผ้าขาวก็ สามารถ เป็นของหมั้นได้ เมื่อทำาการหมั้นแล้วของหมั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที สรุปได้วา สาระสำาคัญของของหมั้นได้แก่ ่ (๑) ต้องมีการส่งมอบให้แก่กันในขณะทำาการหมั้น (๒) จะมีราคามากน้อยแค่ไหนไม่สำาคัญ ๓. สินสอด สินสอด เป็นทรัพย์สิ น ซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รบบุตร ั บุญธรรม หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการทียอมสมรส ่ บุคคลที่อยู่ในฐานะจะรับสินสอดได้คือ (๑) บิดามารดาของหญิง
  • 4. (๒) ผู้ปกครองของหญิง ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำาคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่ง ฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ชายสามารถเรียกสินสอดคืนได้ แต่ถาเหตุที่ไม่มี ้ การสมรสนั้นเกิดจากความผิดของฝ่ายชายแล้ว ชายไม่มีสิทธิเรียกคืน สินสอดมีลักษณะแตกต่างจากของหมั้นทีว่า ของหมั้นต้องมีการส่งมอบให้ ่ แก่ฝ่ายหญิงในขณะที่ทำาการหมั้นแต่สินสอดนั้นจะส่งมอบให้แก่บุคคลที่มี สิทธิจะรับเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอม ทำาการสมรสกับตน หากว่าได้ให้ทรัพย์สินเป็นเพียงเพื่อแก้หน้าบิดามารดา ของฝ่ายหญิงที่ตนพาลูกสาวของเขาหนีแล้ว ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่สินสอด แม้ต่อมาภายหลังไม่มีการสมรสชายจะเรียกคืนไม่ได้เพราะสิ่งของที่ให้กัน นั้นกฎหมายไม่ถือว่าเป็นสินสอด คำาพิพากษาฎีกา ๑๒๖/๒๕๑๘ เงินที่ชายให้แก่มารดาหญิงเพื่อขอขมาใน การที่หญิงตามไป อยู่กินกับชายโดยชายหญิงไม่มีเจตนาจะสมรสกันตาม กฎหมาย ไม่ใช่สินสอดหรือของหมั้น เมื่อต่อมาหญิงไม่ยอมอยู่กินกับชาย ชายเรียกคืนไม่ได้ ๔. การผิดสัญญาหมั้น ถ้าชายหรือหญิงคู่หมั้น ไม่ยอมทำาการสมรสกับคู่หมั้นของตนโดย ปราศจากมูลเหตุอันจะอ้าง กฎหมายได้ถือว่าคู่หมั้นฝ่ายนั้นผิดสัญญาหมั้น เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้น เช่นหญิงมีคู่หมั้นอยู่แล้วไปทำาการ สมรสกับชายอื่นทีไม่ใช่คู่หมั้นของตนหรือหนีตามชายอื่นไป ชายคู่หมั้นจะ ่ ฟ้องร้องต่อศาลให้ศาลบังคับให้หญิงทำาการสมรสกับตนไม่ได้ เพราะการ สมรสนั้นต้องเกิดจากความสมัครใจ ศาลจะใช้อำานาจไปบังคับให้ชายและ หญิงทำาการสมรสกันไม่ได้ แม้ว่าจะมีการตกลงกันว่าถ้าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด สัญญาหมั้นจะให้ปรับเป็นจำานวนเท่าใด ข้อตกลงนั้นก็ใช้บังคับกันไม่ได้ แต่คู่หมั้นซึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ต้องรับผิดจ่ายค่าทดแทนดังต่อไปนี้ (๑) ค่าทดแทนความเสียหาย ต่อกาย หรือชื่อเสียง (๒) ทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากคู่หมั้น บิดามารดาหรือ บุคคลผู้กระทำาการในฐานะ เช่น บิดามารดาได้ใช้จ่าย หรือตกเป็นลูกหนี้ เนื่องจากการเตรียมการสมรสโดยสุจริต และตามสมควร เช่น ฝ่ายหญิงได้ ซื้อเครื่องนอน เครื่องครัวไว้แล้ว ชายไปแต่งงานกับหญิงอื่น ชายต้องรับ ผิดในค่าใช้จ่ายเหล่านี้ (๓) ค่าทดแทนความเสียหาย เนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการ ทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวกับอาชีพหรือทางทำามาหาได้ของตนไปโดย สมควรด้วยการคาดหมายว่าจะมีการสมรส ตัวอย่าง สำาหรับทดแทนที่ ๓ นายแดงอยู่กรุงเทพฯ หมั้นกับนางสาวนุสรา ซึ่งมีอาชีพเป็นพยาบาลอยู่ต่างจังหวัด มีการกำาหนดวันที่จะทำาการสมรส
  • 5. นางสาวนุสราจึงลาออกจากการเป็นพยาบาลเพื่อที่จะเป็นแม่บาน เมื่อนาง ้ สาวนุสราได้ลาออกจากการเป็นพยาบาลแล้ว นายแดงไม่ยอมทำาการสมรส ด้วย เนื่องจากตนได้ไปสมรสกับผู้หญิงอื่น เช่นนี้นายแดงต้องรับผิดใช้ค่า ทดแทน ความเสียหายอันเกิดจากการที่นางสาวนุสราลาออกจากงาน (สิทธิเรียก ร้องค่าทดแทนนี้ มีอายุความ ๖ เดือน นับแต่วันผิดสัญญาหมั้น) ในกรณีที่หญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชาย ถ้าชายเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นแล้วฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้น