SlideShare a Scribd company logo
หมวดคู่ - THE PAIRS
1. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฎฺฌฐน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ
จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ 2 ฯ
ใจเป็นผู้นําสรรพสิ่ง
ใจเป็นใหญ่(กว่าสรรพสิ่ง)
สรรพสิ่งสําเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าพูดหรือทําสิ่งใดด้วยใจชั่ว
ความทุกข์ย่อมติดตามตัวเขา
เหมือนล้อหมุนเต้าตามเท้าโค
Mind foreruns all mental conditions,
Mind is chief, mind-made are they;
If one speak or acts with a wicked mind,
Then suffering follows him
Even as the wheel the hoof of the ox.
2. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ
ฉายาว อนปายินี ฯ 2 ฯ
ใจเป็นผู้นําสรรพสิ่ง
ใจเป็นใหญ่(กว่าสรรพสิ่ง)
ถ้าพูดหรือทําสิ่งใดด้วยใจบริสุทธิ์
ความสุขย่อมติดตามเขา
เหมือนเงาติดตามตน
Mind forerunr all mental conditions,
Mind is chief,mind-made are they;
If one speaks or acts with a pure mind,
Then happiness follows him
Even as the shadow that never leaves.
3. อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ เม
เข จ ตํ อุปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสํ น สมฺมติ ฯ 3 ฯ
ใครมัวคิดอาฆาตว่า
"มันด่าเรา มันทําร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา"
เวรของเขาไม่มีทางระงับ
'He abused me, he beat me,
He defeated me, he robbed me;
In those who harbour such thoughts
Hatred never ceases.
4. อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ มํ
เข จ ตํ นูปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสูปสมฺมติ ฯ 4 ฯ
ใครไม่คิดอาฆาตว่า
"มันด่าเรา มันทําร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา"
เวรของเขาย่อมระงับ
'Heabused me, he beat me,
He defeated me, he robbed me'
In those who harbour not such thoughts
Hatred finds its end.
5. น หิ เวเรน เวรานิ
สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ
อเวเรน จ สมฺมนฺติ
เอส ธมฺโม สนนฺตโน ฯ 5 ฯ
แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้
เวรไม่มีระงับด้วยการจองเวร
มีแต่ระงับด้วยการไม่จองเวร
นี้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว
At any time in this world,
Hatred never ceases by haterd,
But through non-hatred it ceases,
This is an eternal law.
6. ปเร จ น วิชานนฺติ
มยเมตฺถ ยมามเส
เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ
ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ฯ 6 ฯ
คนทั่วไปมักนึกไม่ถึงว่า ตนกําลังพินาศ
เพราะวิวาททุ่มเถึยงกัน
ส่วนผ้ร้ความจริงเช่นนั้น
ย่อมไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป
The common people know not
That in this Quarrel they will perish,
But those who realize this truth
Have their Quarrels calmed thereby.
7. สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ
กุสีตํ หีนวีริยํ
ตํ เว ปสหตี มาโร
วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ ฯ 7 ฯ
มารย่อมสามารถทําลายบุคคล
ผ้ตกดป็นทาสของความสวยงาม
ไม่ควบคุมการแสดงออก
ไม่ร้ประมาณในโภชนาหาร
เกียจคร้านและอ่อนแอ
เหมือนลมแรงพัดโค่นต้นไม้ที่ไม่แข็งแรง
As the wind overthrows a weak tree,
So does Mara overpower him
Who lives attached to sense pleasures
Who lives with his senses uncontrolled,
Who knows not moderation in his food,
And who is indolent and inactive.
8. อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุํ
สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
ตํ เว นปฺปสหตี มาโร
วาโต เสสํว ปพฺพตํ ฯ 8 ฯ
มารย่อมไม่สามารถทําลายบุคคล
ผู้ไม่ตกเป็นทาสของความสวยงาม
รูจักควบคุมการแสดงออก
รู้ประมาณในโภชนาหาร
มีศรัทธา และมีความขยันหมั่นเพียร
เหมือนลมไม่สามารถพัดโค่นภูเขา
As the wind does not overthrow a rocky mount,
So Mara indeed does not overpower him
Who lives unattached to sense pleasures,
Who lives with his senses well-controlled,
Who knows moderation in his food,
And who is full of faith and high vitality.
9. อนิกฺกสาโว กาสาวํ
โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต ทมสจฺเจน
น โส กาสาวมรหติ ฯ 9 ฯ
คนที่กิเลสครอบงําใจ
ไร้การบังคับตนเองและไร้สัตย์
ถึงจะครองผ้ากาสาวพัสตร์
ก็หาคู่ควรไม่
whosoever, not freed from defilements,
Without self-control and truthfulness,
Should put on the yellow robe-
He is not worthy of it.
10. โย จ วนฺตกสาวสฺส
สีเลสุ สุสมาหิโต
อุเปโต ทมสจฺเจน
ส เว กาสาวมรหติ ฯ 10 ฯ
ผู้หมดกิเลสแล้ว มั่นคงในศีล
รู้จักบังคับตนเอง และมีสัตย์
ควรครองผ้ากาสาวพัสตร์แท้จริง
But he who discared defilements,
Firmly established in moral precepts,
Possessed of self-control and truth,
Is indeed worthy of the yellow robe.
11. อสาเร สารมติโน
สาเร จ อสารททสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจํฉนฺติ
มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา ฯ 11 น
ผู้ใดเห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
เห็นสิ่งที่เป็นสาระ ว่าไร้สาระ
ผู้นั้นมีความคิดผิดเสียแล้ว
ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
In the unessential they imagine the essential,
In the essential they see the unessential;
They who feed on wrong thoughts as such
Never achieve the essential.
12. สารญฺจ สารโต ญตฺวา
อาสารญฺจ อสารโต
เต สารํ อธิคจฺฉนฺติ
สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา ฯ 12 ฯ
ผู้ที่เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
และสิ่งที่ไร้สาระว่าไร้สาระ
มีความคิดเห็นชอบ
ย่อมประสบสิ่งที่เป็นสาระ
Knowing the essential as the essential,
And the unessential as the unessential,
They who feed on right thoughts as such
Achieve the essential.
13. ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ
วุฎฺฐิ สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิคํ จิตฺตํ
ราโค สมติวิชฺฌติ ฯ 13 ฯ
เรือนที่มุงไม่เรียบร้อย
ฝนย่อมไหลย้อยเข้าได้
ใจที่ไม่อบรมฝึกหัด
ราคะกําหนัดย่อมครอบงํา
Even as rain into an ill-thatched house,
Even so lust penetrates an undeveloped mind.
14. ยถา อคารํ สุจฺฉนฺนํ
วุฎฺฐิ น สมติวิชฺฌติ
เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ
ราโค น สมติวิชฺฌติ ฯ 14 ฯ
เรือนที่มุงเรียบร้อย
ฝนย่อมไหลย้อยเข้าไม่ได้
ใจที่อบรมเป็นอย่างดี
ราคะไม่มีวันเข้าครอบงํา
Even as rain gets not into a well -thatched house,
Even so lust penetrates not a well-developed mind.
15. อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ
ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
โส โสจติ โส วิหญฺญติ
ทิสิวา กมฺมกิลิฎฺฐมตฺตโน ฯ 15 ฯ
คนทําชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกนี้
คนทําชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกหน้า
คนทําชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
คนทําชั่วย่อมเศร้าโศกเดือดร้อนยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมชั่วของตน
Here he grieves, hereaafter he grieves,
In both worlds the evil-doer grieves;
He mourns, he is afflicted,
Beholding his own impure deeds.
16. อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ
กตปุญฺโญ อุภยตฺถ โมทติ
โส โมทติ ดส ปโมทติ
ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน ฯ 16 ฯ
คนทําดีย่อมร่าเริงในโลกนี้
คนทําดีย่อมร่าเริงในโลกหน้า
คนทําดีย่อมร่าเริงในโลกทั้งสอง
คนทําดีย่อมร่าเริง เบิกบานใจยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมบริสุทธิ์ของตน
Here he rejoices, hereafter he rejoices,
In both worlds the well-doer rejoices;
He rejoices, exceedingly rejoices,
Seeing his own pure deeds.
17. อิธ ตปฺปติ เปจิจ ตปฺปติ
ปาปการี อุภยตฺถ ตปฺปติ
ปาปํ เม กตนิติ ตปฺปติ
ภิยฺโย ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโต ฯ 17 ฯ
คนทําชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
คนทําชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
คนทําชั่ว ย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง
เมื่อคิดได้ว่า ตนทําแต่กรรมชั่ว
ตายไปเกิดในทุคติ ยี่งเดือดร้อนหนักขึ้น
Here he laments, hereafter he laments,
In both worlds the evil-doer laments;
Thinking; 'Evil have I done', thus he laments,
Furthermore he laments,
When gone to a state of woe.
18. อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ
กตปุญฺโญ อุภยตฺถ นนฺทติ
ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนิทติ
ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโต ฯ 18 ฯ
คนทําดีย่อมสุขใจในโลกนี้
คนทําดีย่อมสุขใจในโลกหน้า
คนทําดีย่อมสุขใจในโลกทั้งสอง
เมื่อคิดว่าตนได้ทําแต่บุยกุศล ย่อมสุขใจ
ตายไปเกิดในสุคติ ยิ่งสุขใจยิ่งขึ้น
Here he is happy, hereafter he is happy,
In both worlds the well-doer is happy;
Thinking; 'Good have I done', thus he is happy,
When gone to the state of bliss.
19. พหุมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน
น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
น ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ 19 ฯ
คนที่ท่องจําตําราได้มาก
แต่มัวประมาทเสีย ไม่ทําตามคําสอน
ย่อมไม่ได้รับผลที่พึงได้จากการบวช
เหมือนเด็กเลี้ยงโค นับโคให้คนอื่นเขา
Though much he recites the Sacred Texts,
But acts not accordingly, the heedless man
is like the cowherd who counts others'kine;
He has no share in religious life.
20. อปฺปมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน
ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ 20 ฯ
ถึงจะท่องจําตําราได้น้อย
แต่ประพฤติชอบธรรม
ละราคะ โทสะ และโมหะได้
รู้แจ้งเห็นจริง มีจิตหลุดพ้น
ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ทั้งปัจจุบันและอนาคต
เขาย่อมได้รับผลที่พึงได้จากการบวช
Though little he recites the Sacred Texts,
But puts the precepts into practice,
Forsaking lust, hatred and delusion,
With rigth knowledge, with mind well freed,
Cling to nothing here or hereafter,
He has a share in religious life.
หมวดไม่ประมาท - HEEDFULNESS
1. อปฺปมาโท อมตํปทํ
ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
เย ปมตฺตา ยถา มตา ฯ 21 ฯ
ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
ผู้ไม่ประมาท ไม่มีวันตาย
ผู้ประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว
Heedfulness is the way to the Deathless;
Heedlessness is the way to death.
The heedful do not die;
The heedless are like unto the dead.
2. เอตํ วิเสสโต ญตฺวา
อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ
อริยานํ โคจเร รตา ฯ 22 ฯ
บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง
ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท
จึงยินดีในความไม่ประมาท
อันเป็นแนวทางของพระอริยะ
Realzing this distinction,
The wise rejoice in heedfulness,
Which is the way of the Noble.
3. เต ฌายิโน สาตติกา
นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ
โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ ฯ 23 ฯ
ท่านผู้ฉลาดเหล่านั้น หมั่นเจริญกรรมฐาน
มีความเพียรมั่นอยู่เป็นนิจศีล
บรรลุพระนิพพานอันเป็นสภาวะที่สูงส่ง
อิสระจากกิเลสเครื่องผูกมัด
These wise, constantly meditative,
Ever earnestly persevering,
Attain the bond-free, supreme Nibbana.
4. อุฎฺฐานวโต สติมโต
สุจิกมฺมสฺส นิสสมฺมการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน
อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ ฯ 24 ฯ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน
มีสติ มีการงานสะอาด
ทํางานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
เป็นอยู่โดยชอบธรรม ไม่ประมาท
Of him who is energetic, mindeful,
Pure in deed, considerate, self -restrained,
Who lives the Dhamma and who is heedful,
Reputation steadily increases.
5. อุฎฺฐาเนนปฺปมาเทน
สญฺญเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี
ยํ โอโฆ นาภิกีรติ ฯ 25 ฯ
ด้วยความขยัน ด้วยความไม่ประมาท
ด้วยความสํารวมระวัง และด้วยการข่มใจตนเอง
ผู้มีปัญญาควรสร้างเกาะ(ที่พึ่ง)แก่ตนเอง
ที่ห้วงนํ้า(กิเลส) ไม่สามารถท่วมได้
By diligence, vigilance,
Restraint and self-mastery,
Let the wise make for himself an island
That no flood can overwhelm.
6. ปมาทมนุยุญฺชนติ
พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี
ธนํ เสฎฺฐํว รกฺขติ ฯ 26 ฯ
คนพาล ทรามปัญญา
มักมัวประมาทเสีย
ส่วนคนฉลาด ย่อมรักษาความไม่ประมาท
เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ
The ignorant, foolish folk
Induge in heedlessness,
But the wise preserve heedfulness
As their greatest treasure.
7. มา ปมาทมนุยุญฺเชถ
มา กามรติสนฺถวํ
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต
ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ ฯ 27 ฯ
พวกเธออย่ามัวประมาท
อย่ามัวเอาแต่สนุกยินดีในกามคุณอยู่เลย
ผู้ไม่ประมาท เพ่งพินิจตามความเป็นจริงเท่านั้น
จึงจะบรรลุถึงความสุขอันไพบูลย์ได้
Devote not yourselves to negligence;
Have no intimacy with sensuous delights.
The vigilant, meditative person
Attains sublime bliss.
8. ปมาทํ อปฺปมาเทน
ยถา นุทติ ปณฺฑิโต
ปญฺญาปาสาทมารุยฺห
อโสโก โสกินี ปชํ
ปพฺพตฎฺโฐว ภุมฺมฎฺเฐ
ธีโร พาเล อเวกฺขติ ฯ 28 ฯ
เมื่อใดบัณฑิตกําจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อนั้นเขานับว่าได้ขึ้นสู่"ปราสาทคือปัญญา"
ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชน ผู้โง่เขลา
ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่ เหมือนคนยืนบนยอดภูเขา
มองลงมาเห็นฝูงชนที่ยืนอยู่บนพื้นดิน ฉะนั้น
When banishing carelessness by carefulness,
The sorrowless, wise one ascends the terrace of wisdom
And surveys the ignorant, sorrowing folk
As one standing on a mountain the groundlings.
9. อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ
สุตฺเตสุ พหุชาคโร
อพลสฺสํว สีฆสฺโส
หิตฺวา ยาติ สุเมธโส ฯ 29 ฯ
ผู้มีปัญญามักไม่ประมาท เมื่อคนอื่นพากันประมาท
และตื่น เมื่อคนอื่นหลับอยู่
เขาจึงละทิ้งคนเหล่านั้นไปไกล
เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว วิ่งเลยม้าแกลบ ฉะนั้น
Heedful among the heedless,
Wide-awake among those asleep,
The wise man advances
As a swift horse leaving a weak nag behind.
10. อปฺปมาเทน มฆวา
เทวานํ เสฎฺฐตํ คโต
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
ปมาโท ครหิดต สทา ฯ 30 ฯ
ท้าวมฆวานได้เป็นใหญ่กว่าทวยเทพ
เพราะผลของความไม่ประมาท
บัณฑิตจึงสรรเสริญความไม่ประมาท
และติเตียนความประมาททุกเมื่อ
By vigilance it was that
Indra attained the lordship of the gods.
Earnestness is ever praised,
Carelessness is ever despised.
11. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ
ปมาเท ภยทสิสิ วา
สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ
ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ ฯ 31 ฯ
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
เห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผากิเลสเครื่องผูกมัดได้
เหมือนไฟเผาเชื้อทุกชนิด
The bhikkhu who delights in earnesstness
And discerns dangers in negligence,
Advances, consuming all fetters,
Like fire burning fuel, both small and great.
12. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ
ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย
นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก ฯ 32 ฯ
ภิกษุผู้ไม่ประมาท
เห็นภัยในความประมาท
ไม่ม่ทางเสื่อม
ย่อมอยู่ใกล้นิพพานเป็นแน่แท้
The bhikkhu who delights in earnestness,
And discerns dangers in negligence,
Is not lisble to fall away;
He is certainly in the presence of Nibbana.
หมวดจิต - The MIND
1. ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ
ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุํ กโรติ เมธาวี
อุชุกาโรว เตชนํ ฯ 33 ฯ
จิตดิ้นรน กลับกลอก
ป้องกันยาก ห้ามยาก
คนมีปัญญาสามารถดีดให้ตรงได้
เหมือนช่างศรดัดลูกศร
The flickering , fickle mind,
Difficult to guard, difficult to control,
The wise man straightens,
As a fletcher straightens an arrow.
2. วาริโชว ถเล ขิตฺโต
โอกโมกต อุพฺภโต
ปริผนํทติทํ จิตฺตํ
มารเธยฺยํ ปหาตเว ฯ 34 ฯ
มัสยาถูกเขาจับโยนไปบนบก ย่อมดิ้นรน
เพื่อจะกลับไปยังแหล่งนํ้าที่เคยอาศัย
จิตใจเราก็เช่นเดียวกัน ดิ้นรนไปหากามคุณ
เพราะฉะนั้น จึงควรละเว้นกามคุณเสีย
Like a fish drawn its watery abode
And thrown upon land,
Even so does the mind flutter,
Hence should the realm of passions be shunned.
3. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน
ยตฺถกามนิปาติโน
จิติตสิส ทมโถ สาธุ
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ฯ 35 ฯ
จิตควบคุมยาก เปลี่ยนแปลงเร็ว
ใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่
ฝึกจิตเช่นนั้นได้เป็นการดี
เพราะจิตที่ฝึกดีแล้ว นําความสุขมาให้
Good is it to control the mind
Which is hard to check and swift
And flits wherever it desires.
A subdued mind is conducive to happiness.
4. สุทุทฺทสั สุนิปุณํ
ยตฺถกามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกิเขถ เมธาวี
จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ ฯ 36 ฯ
จิตเห็นได้ยาก ละเอียดยิ่งนัก
มักใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่
ผู้มีปัญญาจึงควรควบคุมจิตไว้ให้ดี
เพราะจิตที่ควบคุมได้แล้ว นําสุขมาให้
Hard to perceive and extremely subtle is this mind,
It roams wherever it desires.
Let the wise man guard it;
A guarded mind is conducive to happiness.
5. ทูรงฺคมํ เอกจรํ
อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ
โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ 37 ฯ
จิตท่องเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว
ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้
ใครควบคุมจิตนี้ได้
ย่อมพ้นจากบ่วงมาร
Faring afar, solitary, incorporeal
Lying in the body, is the mind.
Those who subdue it are freed
From the bond od Mara.
6. อนวฎฺฐิตจิตฺตสิส
สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปุลวปสาทสฺส
ปญฺญา น ปริปูรติ ฯ 38 ฯ
ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง
ไม่รู้พระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสไม่จริงจัง
He whose mind is inconstant,
He who knows not the true doctrine,
He whose confidence wavers -
The wisdom of such a one is never fulfilled.
7. อนวสฺสุตจิตฺตสฺส
อนนุวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส
นตฺถิ ชาครโต ภยํ ฯ 40 ฯ
ผู้มีสติตื่นตัวอยู่เนืองนิตย์
มีจิตเป็นอิสระจากราคะและโทสะ
ละบุญและบาปได้
ย่อมไม่กลัวอะไร
He who is vigilant,
He whose mind is not overcome by lust and hatred,
He who has discarded both good and evil -
For such a one there is no fear.
8. กุมภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเชถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา ฯ 41 ฯ
เมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกดับง่ายเหมือนหม้อนํ้า
พึงป้องกันจิตให้มั่นเหมือนป้องกันเมืองหลวง
แล้วพึงรบกับพญามารด้วยอาวุธคือปัญญา
เมื่อรบชนะแล้วพึงรักษาชัยชนะนั้นไว้
ระวังอย่าตกอยุ่ในอํานาจมารอีก
Realizing that body is fragile as a pot,
Establishing one's mind as firm as a fortified city,
Let one attack let one guard one's conqust
And afford no rest to Mara.
9. อจิรํ วตยํ กาโย
ปฐวึ อธิเสสฺสติ
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ
นิรตฺถํว กลิงฺครํ ฯ 41 ฯ
อีกไม่นาน ร่างกายนี้
จักปราศจากวิญญาณ
ถูกทอดทิ้ง ทับถมแผ่นดิน
เหมือนท่อนไม้อันหาประโยชน์มิได้
Soon, alas! will this body lie
Upon the ground, unheeded,
Devoid of consciousness,
Even as useless log.
10. ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา
เวรี วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ
ปาปิดย น ตโต กเร ฯ 42 ฯ
จิตที่ฝึกฝนผิดทาง
ย่อมทําความเสียหายได้
ยิ่งกว่าศัตรูทําต่อศัตรู
หรือคนจองเวรทําต่อคนจองเวร
Whatever harm a foe may do to a foe,
Or a hater to a hater,
An ill-directed mind
Can harm one even more.
11. น ตํ มาตา ปิตา กยิรา
อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ
เสยฺยโส นํ ตโต กเร ฯ 43 ฯ
มารดาก็ทําให้ไม่ได้
บิดาก็ให้ไม่ได้
ญาติพี่น้องก็ทําให้ไม่ได้
แต่จิตที่ฝึกฝนไว้ชอบย่อมทําสิ่งนั้นให้ได้
และทําให้ได้อย่างประเสริฐด้วย
What neither mother ,nor father,
Nor any other relative can do,
A well-directed mind does
And thereby elevates one.
หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS
1. โก อิมํ ปฐวึ วิเชสฺสติ
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ
โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ
กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ ฯ 44 ฯ
ใครจักครองแผ่นดินนี้
พร้อมทั้งยมโลก และเทวโลก
ใครจักเลือกเฟ้นพระธรรมบท
ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว
เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาด
เลือกเก็บดอกไม้
Who will conquer this earth(life)
With Yama's realm and with celestial world?
Who will investigate the well-taught Dhamma-Verses
As a skilful garland-maker plucks flowers?
2. เสโข ปฐวึ วิเชสฺสติ
ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ
เสโข ธมฺมปทํ สุเทสิตํ
กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ ฯ 45 ฯ
พระเสขะจักครองแผ่นดินนี้
พร้อมทั้งยมดลกและเทวโลก
พระเสขะจักเลือกเฟ้นพระธรรมบท
ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว
เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาด
เลือกเก็บดอกไม้
A learner(sekha) will conquer this earth
With Yama's realm and with celestial world.
He will investigate the well-taught Dhamma-Verses
As a skilful garland-maker plucks flower.
3. เผณูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา
มรีจิกมฺมํ อภิสมฺพุธาโน
เฉตฺวาน มารสฺส ปปุปฺผกานิ
อทสฺสนํ มจฺจุราชสฺส คจฺเฉ ฯ 46 ฯ
เมี่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกสลายง่าย และว่างเปล่า
เช่นเดียวกับฟองนํ้า และพยับแดด
ก็ควรทําลายบุษปศรของกามเทพ
ไปให้พ้นทัศนวิสัยของมัจจุราชเสีย
Perciving this body to be similar unto foam
And comprehending its mirage-nature,
One should destroy the flower-tipped arrows of Love
And pass beyond the sight of the King of Death.
4. ปุปฺผานิ เหว ปจนนฺตํ
พิยาสตฺตมนสํ นรํ
สุตฺตํ คามํ มโหโฆว
มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ ฯ 47 ฯ
มฤตยูฉุดคร่าคนผู้มัวเก็บดอกไม้(กามคุณ)
มีใจเกี่ยวข้องอยู่ในกามคุณไป
เหมือนห้วงนํ้าใหญ่หลากมา
พัดพาเอาชาวบ้านผู้หลับไหลไป
He who gathers flowers of sensual pleasure,
Whose mind is distracted-
Death carries him off
As the great flood a sleeping village.
5. ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ
พฺยาสตฺตมนสํ นรํ
อติตฺตํเยว กาเมสุ
อนฺตโก กุรุเต วสํ ฯ 48 ฯ
ผู้ที่มัวเก็บดอกไม้(กามคุณ)เพลินอยู่
มีจิตใจข้องอยู่แต่ในกามคุณไม่รู้จักอิ่ม
มักตกอยู่ในอํานาจมฤตยู
He who gathers flowers of sensual pleasures,
Whose mind is distracted
And who is insatiate in desire-
Him death brings under its sway.
6. ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ
วณฺณคนฺธํ อเหฐยํ
ปเลติ รสมาทาย
เอวํ คาเม มุนี จเร ฯ 49 ฯ
มุนีพึงจาริกไปในเขตคาม
ไม่ทําลายศรัทธาและโภตะของชาวบ้าน
ดุจภมรดูดรสหวานของบุปผชาติแล้วจากไป
ไม่ให้สีและกลิ่นชอกชํ้า
As a bee takes honey from the flowers,
Leaving it colour and fragrance unharmed,
So should the sage wander in the village.
7. น ปเรสํ วิโลมานิ
น ปเรสํ กตากตํ
อตฺตนาว อเวกฺเขยฺย
กตานิ อกตานิ จ ฯ 50 ฯ
ไม่ควรแส่หาความผิดผู้อื่น
หรือธุระที่เขาทําแล้วหรือยังไม่ทํา
ควรตรวจดูเฉพาะกิจ
ที่ตนทําหรือยังไม่ทําเท่านั้น
Pay not attention to the faults of others,
Things done or left undone by others,
Consider only what by oneself
Is done or left undone.
8. ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ
วณฺณวนิตํ อคนฺธกํ
เอวํ สุภาสิตา วาจา
อผลา โหติ อกุพฺพโต ฯ 51 ฯ
วาจาสุภาสิต
ของผู้ทําไม่ได้ตามพูด
ย่อมไม่มีประโยขน์อะไร
ดุจดอกไม้สีสวย แต่ไร้กลิ่น
As a flower that is lovely
And colourful,but scentless,
Even so fruitless is the well-spoken word
Of one who follows it not.
9. ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ
วณฺณวนฺตํ สคนฺธกํ
เอวํ สุภาสิตา วาจา
สผลา โหติ สุกุพฺพโต ฯ 52 ฯ
วาจาสุภาษิต
ของผู้ทําได้ตามพูด
ย่อมอํานวยผลดี
ดุจดอกไม้สีสวยและมีกลิ่นหอม
As a flower that is lovely,
Colourful and fragrant,
Even so fruitful is the well-spoken word
Of one who practises it.
10. ยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา
กยิรา มาลาคุเณ พหู
เอวํ ชาเตน มจฺเจน
กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ ฯ 53 ฯ
เมื่อเกิดมาแล้วจะต้องตาย
ก็ควรสร้างบุญกุศลไว้ให้มาก
เหมือนนายมาลาการร้อยพวงมาลัย
เป็นจํานวนมากจากกองดอกไม้
As from a heap of flowers
Many kinds of garlands can be made,
So many good deeds should be done
By one born a mortal.
11. น ปุปฺผคนโธ ปฏิวาตเมติ
น จนฺทนํ ตครมลฺลิกา วา
สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ
สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ ฯ 54 ฯ
กลิ่นปุปผชาติ ก้หอมทวนลมไม่ได้
กลิ่นจันทน์ กฤษณา หรือดอกมะลิ
ก็หอมทวนลมไม่ได้
แต่กลิ่นสัตบุรุษ หอมทวนลมไม่ได้
สัตบุรุษ ย่อมหอมฟุ้งขจรไปทั่วทุกทิศ
The perfume of flower blows not againts the wind,
Nor does the fragrance of sandal-wood, Tagara andjasmine,
But the fragrance of the virtuous blows against the wind
The virtuous man pervades all directions.
12. จนฺทนํ ตครํ วาปิ
อุปฺปลํ อถ วสฺสิกี
เอเตสํ คนฺธชาตานํ
สีลคนฺดธ อนุตฺตโร ฯ 55 ฯ
กลิ่นศีล หอมยิ่งกว่า
ของหอมเหล่านี้ คือ
จันทน์ กฤษณา
ดอกอุบล และ กะลําพัก
Sandal -wood, Tagara,
lotus and wild jasmine-
Of all these kinds of fragrance,
The fragrance of virtue is by far the best.
13. อปฺปมตฺโต อยํ คนฺโธ
ยายํ ตครจนฺทนี
โย จ สีลวตํ คนฺโธ
วาติ เทเวสุ อุตฺตโม ฯ 56 ฯ
กฤษณา หรือจันทน์ มีกลิ่นหอมน้อยนัก
แต่กลิ่นหอมของท่านผู้ทรงศีลประเสริฐนัก
หอมฟุ้งกระทั่งถึงทวยเทพยดา
Little is the fragrance of Tagara
And that of sandal-wood,
But the fragrance of virtue is excellent
And blows even among the devas.
14. เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ
อปฺปมาทวิหารินี
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ
มาโร มคฺคํ น วินฺทติ ฯ 57 ฯ
มารย่อมค้นไม่พบวิถีทาง
ของผู้ทรงศีลผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท
ผู้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส เพราะรู้ชอบ
Of those who possess these virtues,
Who live without negligence,
Who are freed by perfect knowledge-
Mara finds not their way.
15. ยถา สงฺการธานสฺมึ
อุชุฌิตสฺมึ มหาปเถ
ปทุมํ ตตฺถ ชาเยถ
สุจิคนฺธํ มโนรมํ ฯ 58 ฯ
ดอกบัว มีกลิ่นหอม รื่นรมย์ใจ
เกิดบนสิ่งปฏิกูล
ที่เขาทิ้งไว้ไกล้ทางใหญ่ ฉ้นใด
Just as on a heap of rubbish
Thrown u[on the highway
Grows the lotus sweetly fragrant
And delighting the heart.
16. เอวํ สงฺการภูเตสุ
อนฺธภูเต ปุถุชฺชเน
อติดรจติ ปญฺญาย
สมฺมาสมิพุทฺธสาวโก ฯ 59 ฯ
ท่ามกลางหมู่ปุถุชน ผู้โง่เขลา
ผู้เป็นเสมือนสิ่งปฏิกูล
พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ย่อมรุ่งเรืองด้วยปัญญา ฉันนั้น
Even so among those blinded mortals
Who are like rubbish,
The disciple or the Fully Enligtened one
Shines with exceeding glory by his wisdom.
หมวดคนพาล - THE FOOL
1. ทีฆา ชาครโต รตฺติ
ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ
ทีโฆ พาลาน สํสาโร
สทฺธมฺมํ อวิชานตํ ฯ 60 ฯ
ราตรีนาน สําหรับคนนอนไม่หลับ
ระยะทางโยชน์หนึ่งไกล สําหรับผู้ล้าแล้ว
สังสารวัฎยาวนาน สําหรับคนพาล
ผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม
Long is the night to the wakeful,
Long is the Yojana to the weary,
Long is Samsara to the foolish
Who know not the true doctrine.
2. จรญฺเจ นาะคจฺเฉยฺย
เสยฺยํ สทิสมตฺตโน
เอกจริยํ ทฬฺหํ กยิรา
นตฺถิ พาเล สหายตา ฯ 61 ฯ
หากแสวงหาไม่พบเพื่อนที่ดีกว่าตน
หรือเพื่อนที่เสมอกับตน
ก็พึงเที่ยวไปคนเดียว
เพราะมิตรภาพ ไม่มีในหมู่คนพาล
If, as he fares, he finds no companion
Who is better or equal,
Let him firmly pursue his solitary course;
There is no fellowship with the foot.
3. ปุตฺตา นตฺถิ ธน มตฺถิ
อิติ พาโล วิหญฺญติ
อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ
กุโต ปุตฺตา กุโต ธนํ ฯ 62 ฯ
คนโง่มัวคิดวุ่นวายว่า
เรามีบุตร เรามีทรัพย์
เมื่อตัวเขาเองก็ไม่ใช่ของเขา
บุตรและทรัพย์จะเป็นของเขาได้อย่างไร
'I have some, I have wealth';
So thinks the food and is troubled.
He himeself is not his own.
How then are sons,how wealth?
4. โย พาดล มญฺญติ พาลยฺยํ
ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส
พาโล จ ปณฺฑิตามานี
ส เว พาโลติ วุจฺจติ ฯ 63 ฯ
คนโง่ รุ้ตัวว่าโง่
ยังมีทางเป็นบัณฑิตได้บ้าง
แต่โง่แล้ว อวดฉลาด
นั่นแหละเรียกว่าคนโง่แท้
A fool aware of his stupidity
Is in so far wise,
But the fool thinking himself wise
Is called a fool indeed.
5. ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล
ปณฺฑิตํ ปฏิรุปาสติ
น โส ธมฺมํ วิชานาติ
ทพฺพิ สูปรสํ ยถา ฯ 64 ฯ
ถึงจะอยุ่ใกล้บัณฑิต
เป็นเวลานานชั่วชีวิต
คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่
เหมือนจวักไม่รู้รสแกง
Though through all his life
A fool associates with a wise man,
He yet understands not the Dhamma,
As the spoon the flavour of soup.
6. มุหุตฺตมฺปิ เจ วิญฺญู
ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ
ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ
ชิวหา สูปรสํ ยถา ฯ 65 ฯ
ปัญญาชน คบบัณฑิต
แม้เพียงครู่เดียว
ก็พลันรู้แจ้งพระธรรม
เหมือนลิ้นรู้รสแกง
Though,for a moment only,
An intelligent man associates with a wise man,
Quickly he understands the Dhamma,
As the tougue the flavour of soup.
7. จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธา
อมิตฺเตเนว อติตนา
กโรนฺตา ปาปกํ กมฺมํ
ยํ โหติ กฎุกปฺผลํ ฯ 66 ฯ
เหล่าคนพาล ปัญญาทราม
ทําตัวเองให้เป็นศัตรูของตัวเอง
เที่ยวก่อแต่บาปกรรรมที่มีผลเผ็ดร้อน
Fools of little wit
Behave to themselves as enemies,
Doing evil deeds
The fruits wherof are bitter.
8. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ
วิปากํ ปฏิเสวติ ฯ 67 ฯ
กรรมใดทําแล้วทําให้เดือดร้อนภายหลัง
อีกทั้งทําให้ร้องไห้นํ้าตานอง
รับสนองผลของการกระทํา
กรรมนั้นไม่ดี
That deed is not well done,
After doing which one feels remorse
And the fruit whereof is received
With tears and lamentations.
9. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ
ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ยส์ส ปตีดต สุมโน
วิปากํ ปฏิเสวติ ฯ 68 ฯ
กรรมใดทําแล้ว ไม่เดือดร้อนภายหลัง
ทั้งผู้กระทําก้เบิกบานสําราญใจ
ได้เสวยผลของการกระทํา
กรรมนั้นดี
Well done is thst deed
which, done, brings no regret;
The fruit whereof is received
The fruit whereof is received
With delight and satisfaction.
10. มธุวา มญฺญตี พาดล
ยาว ปาปํ น ปจฺจติ
ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ
อถ พาโล ทุกฺขํ นิคจฺฉติ ฯ 69 ฯ
ตลอดระยะเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล
คนพาลสําคัญบาปหวานปานนํ้าผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล
เมื่อนั้นเขาย่อมได้รับทุกข์
An evil deed seems sweet to the fool
so long as it does not bear fruit;
but when it ripens,
The fool comes to grief.
11. มาเส มาเส กุสคฺเคน
พาโล ภุญฺเชถ โภชนํ
น โส สงฺขาตธมฺมานํ
กลํ อคฺฆติ โสฬสึ ฯ 70 ฯ
คนพาล ถึงจะบําเพ็ญตบะ
โดยเอาปลายหญ้าคาจิ้มอาหารกิน ทุกเดืน
การปฏิบัติของเขาไม่เท่าหนึ่งในสิบหกส่วน
ของการปฏิบัติของท่านผู้บรรลุธรรม
Month after month the fool may eat his food
With the tip of Kusa srass;
Nonetheless he is not worth the sixteenth part
Of those who have well understoood the Truth.
12. น หิ ปาปํ กตํ กมฺมํ
สชฺชุ ขีรํว มุจฺจติ
ฑหนฺติ พาลมเนฺวติ
ภสฺมาจฺฉนฺโนว ปาวโก ฯ 71 ฯ
กรรมชั่วที่ทําแล้ว ยังไม่ให้ผลทันทีทันใด
เหมือนนมรีดใหม่ ๆ ไม่กลายเป็นนมเปรี้ยวในทันที
แต่มันจะค่อย ๆ เผาผลาญผู้กระทําในภายหลัง
หมือนไฟไหม้แกลบ
An evil deed committed
Does not immediately bear fruit,
Just as milk curdles not at once;
Smouldering life covered by ashes,
It follows the fool.
13. ยาวเทว อนติถาย
ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ
หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ
มุทฺธมสฺส วิปาตยํ ฯ 72 ฯ
คนพาลได้ความรู้มา
เพื่อการทําลายถ่ายเดียว
ความรู้นั้น ทําลายคุณความดีเขาสิ้น
ทําให้มันสมองของเขาตกตํ่าไป
The fool gains knowledge
Only for his ruin;
It destroys his good actions
And cleaves his head.
14. อสนฺตํ ภาวมิจฺเฉยฺย
ปุเรกฺขารญฺจ ภิกฺขุสุ
อาวาเสสุ จ อิสฺสริยํ
ปูชา ปรกุเลสุ จ ฯ 73 ฯ
ภิกษุพาล ปรารถนาชื่อเสียงเกียรติยศที่ไม่เหมาะ
อยากเป็นใหญ่กว่าพระภิกษุทั้งหมด
อยากเป็นเจ้าอาวาส
อยากได้รับบูชาสักการะจากชาวบ้านทั้งหลาย
A foolish monk desires undue reputation,
Precedence among monks,
Authority in the monasterics,
Honour among other families.
15. มเมว กต มญฺญนฺตุ
คิหี ปพฺพชิตา อุโภ
มเมว อติวสา อสฺสุ
กิจฺจาจฺเจส กิสฺมิจิ
อิติ พาลสฺส สงฺกปฺโป
อิจฺฉา มาโน จ วฑฺฒติ ฯ 74 ฯ
"ขอให้คฤหัสถ์ และบรรพชิต
จงสําคัญว่า เราเท่านั้นทํากิจนี้
ขอให้เขาเหล่านั้นอยู่ในบังคับบัญชาของเรา
ไม่ว่ากิจการใหญ่หรือเล้ก"
ภิกษุพาล มักจะคิดใฝ่ฝันเช่นนี้
ความทะเยอทะยาน และวามหยิ่งก้พลอยเพิ่มขึ้น
'Let both laymen and monks think,
By me only was this done;
In every work,great or small,
Let them refer to me .'
Such is the ambitin of the fool;
His desire and pride increase.
16. อญฺญา หิ ลาภูปนิสา
อญฺญา นิพฺพานคามินี
เอวเมตํ อภิญฺญาย
ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก
สกฺการํ นาภนนฺเทยฺย
วิเวกมนุพฺรูหเย ฯ 75 ฯ
ทางหนึ่งแสวงหาลาภ
ทางหนึ่งไปนิพพาน
รู้อย่างนี้แล้ว ภิกษุพุทธสาวก
ไม่ควรไยดีลาภสักการะ
ควรอยู่อย่างสงบ
One is the way to worldly gain;
To Nibbana another leads.
Clearly realizing this,
The bhikkh,disciple of the Buddha,
Should not delight in worldly favour,
But devote himself to solitude.
หมวดบัณฑิต - The Wise
๑. ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม
กาเม ปนูท พฺราหฺมณ
สงฺขารานํ ขยํ ญตฺวา
อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณ ฯ ๓๘๓ ฯ
พราหมณ์เอย ท่านจงพยายามหยุดกระแส (ตัณหา)
และบรรเทากามทั้งหลายเสีย พราหมณ์เอย
เมื่อท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย
ท่านก็จะรู้สิ่งที่ไม่ปรุงแต่ง (นิพพาน)
Strive and stop the stream of craving,
Discrad, O brahmana, sense-desires.
Knowing conditioned things, brahmana,
You will know the Unconditioned.
๒. ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ
ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ
อภสฺส สพฺเพ สํโยคา
อฏฺฐํ คจฺฉนฺติ ชานโต ฯ ๓๘๔ ฯ
เมื่อใดพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งโน้น (นิพพาน)
ด้วยการปฏิบัติธรรมทั้งสอง (สมถะและวิปัสนา)
เมื่อนั้นเครื่องผูกพันทั้งปวง
ของเขาผู้รู้จริงย่อมสิ้นไป
When depending on the twofold means,
A brahmana has reached the Other Shore,
Then of that one who knows,
All fetters remain no more.
๓. ยสฺส ปารํ อปารํ วา
ปาราปารํ น วิชฺชติ
วีตทฺทรฺ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ณ ๓๘๕ ฯ
ผู้ใดไม่มีฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น
หรือไม่มีทั้งสองฝั่ง
ไม่มีความกระวนกระวายใจ เป็นอิสระ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
For whom there exists
Neither the Hither nor the Father Shore,
Nor both the Hither and the Farther Shore,
He who is undistressed and unbound-
Him do I call a brahmana.
๔. ฌายึ วิรชมาสีนํ
กตกิจฺจํ อนาสวํ
อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๘๖ ฯ
ผู้ใดบําเพ็ญฌาน ปราศจากกิเลส
อยู่คนเดียว หมดกิจที่จะพึงทํา
หมดอาสวะ ลุถึงจุดหมายปลายทางแล้ว
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
Meditative, dwelling alone,
Free from passion taint,
Having done what should be done,
Devoid of all corruptions,
And having reached the Highest Goal-
Him do I call a brahmana
๕. ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ
รตฺติมาภาติ จนฺทิมา
สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
ฌายี ตปติ พฺราหฺมโณ
อถ สพฺพมโหรตฺตึ
พุทฺโธ ตปติ เตชสา ฯ ๓๘๗ ฯ
พระอาทิตย์ สว่างกลางวัน
พระจันทร์ สว่างกลางคืน
นักรบสง่างามเมื่อสวมเกราะเตรียมรบ
พราหมณ์ สง่างามเมื่อเข้าฌาน
แต่พระพุทธเจ้าสง่างามทั้งกลางวันกลางคืน
By day the sun shines.
By night the moon is bright.
Armoured shines the warrior.
In meditation the brahmana glows.
But all day and all night,
The Buddha shines in splendour.
๖. พาหิตปาโป หิ พฺราหฺมโณ
สมจริยา สมโณติ วุจฺจติ
ปพฺพาชยมตฺตโน มลํ
ตสฺมา ปพฺพชิโตติ วุจฺจติ ฯ ๓๘๘ ฯ
ผู้ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะละบาปได้
ชื่อว่าสมณะ เพราะมีจรรยาสงบ
ชื่อว่าบรรพชิต เพราะละมลทินได้
Without evil he is called a brahmana.
He who lives in peace is called a samana.
With all impurities gone,
A pabbajita is he called.
๗. น พฺราหฺมณสฺส ปหเรยฺย
นาสฺส มุญฺเจถ พฺราหฺมโณ
ธิ พฺราหฺมณสฺส หนฺตารํ
ตโต ธิ ยสฺส มุญฺจติ ฯ ๓๘๙ ฯ
ไม่ควรรังแกพราหมณ์ (นักบวช)
และพราหมณ์ก็ไม่ควรแสดงความโกรธตอบ
คนที่รังแกพราหมณ์ เป็นคนน่าตําหนิ
แต่พราหมณ์ผู้โกรธตอบ น่าตําหนิกว่า
One should not strike a brahmana,
Nor such a brahmana vent his wrath on him.
Woe to him who strikes a brahamana.
More woe to him who gives way to his wrath.
๘. น พฺราหฺมณสฺเสตทกิญฺจิ เสยฺโย
ยทา นิเสโธ มนโส ปิเยหิ
ยโต ยโต หึสมโน นิวตฺตติ
ตโต ตโต สมฺมติเมว ทุกฺขํ ฯ ๓๙๐ ฯ
ไม่มีอะไรจะดีสําหรับพราหมณ์
เท่ากับหักห้ามใจจากปิยารมณ์
เมื่อใดเขาไม่เบียดเบียนคนอื่น
เมื่อนั้น ความทุกข์ก็สงบ
Naught is better for a brahmana.
Than restraint of mind from what is dear.
Whenever his ill will has been put aside,
Then and then only his sorrow subsides.
๙. ยสฺส กาเยน วาจาย
มนสา นตฺถิ ทุกฺกฏํ
สํวุตํ ตีหิ ฐาเนหิ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๑ ฯ
ผู้ใดไม่มีความชั่วทางกาย วาจา ใจ
สํารวมระวังทั้งสามทวาร
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He in whom there is no evil done,
Through body speech or mind,
He who is restrained in the three ways-
Him do I call a brahmana.
๑๐. ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย
สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
สกฺกจฺจํ ตํ นมสฺเสยฺย
อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณ ฯ ๓๙๒ ฯ
เมื่อรู้ธรรมที่พุทธเจ้าทรงแสดง
จากบุคคลใด
ควรเคารพนอบน้อมบุคคลนั้น
เหมือนพราหมณ์บูชาไฟ
From whom one knows the Truth Sublime
Which the Awakened One proclaimed,
Devotedly should one revere him,
As a brahmana tends the sacrificial fire.
๑๑. น ชฏาหิ น โคตฺเตน
น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ
โส สุจี โส จ พฺราหฺมโณ ฯ ๓๙๓ ฯ
มิใช่เพราะมุ่นชฏา มิใช่เพราะโคตร
มิใช่เพราะกําเนิด (ที่ดี) ที่ทําคนให้เป็นพราหมณ์
ใครก็ตามมีสัจจะและทรงธรรม
ย่อมจะบริสุทธิ์ลํ้าและเป็นพราหมณ์
Not by matted hair, nor by clan, nor by birth,
Does one become a brahmana.
In whom there are truth and righteouseness,
Pure is he, a brahmana is he.
๑๒. กึ เต ชฏาหิ ทุมฺเมธ
กึ เต อชินสาฏิยา
อพฺภนฺตรํ เต คหณํ
พาหิรํ ปริมชฺชสิ ฯ ๓๙๔ ฯ
เจ้าโง่เอ๋ย ผมยาว หนังสัตว์
จะมีประโยชน์อะไรสําหรับเจ้า
ภายนอกเจ้าสะอาดสดใส
แต่ภายในเจ้ารกรุงรัง
What use of your matted hair, O foolish one?
And what of your entelope-garment?
Full of impurities is your mind,
You embellish only the outside.
๑๓. ปํสุกูลธรํ ชนฺตุํ
กิสํ ธมนิสนฺถตํ
เอกํ วนสฺมึ ฌายนฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๕ ฯ
ผู้ทรงผ้าบังสุกุล
ผอมจนเห็นแต่เส้นเอ็น
บําเพ็ญฌานในป่าเปลี่ยวคนเดียว
เราเรียกว่า พราหมณ์
Clad in rag-robes and lean,
With body overspread by veins,
Meditationg in the forest alone-
Him do I call a brahmana.
๑๔. น จาหํ พฺราหฺมณํ พฺรูมิ
โยนิชํ มตฺติสมฺภวํ
โภวาที นาม โส โหติ
ส เว โหติ สกิญฺจโน
อกิญฺจนฺ อนาทานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๖ ฯ
เพียงเกิดในตระกูลพราหมณ์
หรือมีมารดาเป็นพราหมณ์
เราไม่เรียกเขาว่า พราหมณ์
หากเขายังมีกิเลสอยู่
เขาก็เป็นพราหมณ์แต่ชื่อ
ผู้ใดหมดกิเลสไม่ยึดมั่นถือมั่น
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
I do not call him a brahmana
Merely because he is born of a womb
Or sprung from a brahmani.
If he is full of impediments,
He is merely a brahmana by name.
He who is free from impediments and clinging-
Him do I call a brahmana.
๑๕. สพฺพสญฺโญชนํ เฉตฺวา
โย เว น ปริตสฺสติ
สงฺคาติคํ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๗ ฯ
ผู้ใดตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้หมดสิ้น
ไม่หวาดกลัว หมดพันธะ
เป็นอิสระจากเครื่องจองจําคือกิเลส
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who has cut off all bonds,
He who trembles not,
He who is free and unbound-
Him do I call a brahmana.
๑๖. เฉตฺวา นทฺธึ วรตฺตญฺจ
สนฺทานํ สหนุกฺกมํ
อุกฺขิตฺตปลิฆํ พุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๘ ฯ
ผู้ที่ตัดชะเนาะ (ความโกรธ) เชือกหนัง (ตัณหา)
เชือกป่าน (ความเห็นผิด) พร้อมทั้งอนุสัยกิเลส
ถอดลิ่มสลัก (อวิชชา) รู้แจ้งอริยสัจแล้ว
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has cut off the strap (of hatred),
The thong (of craving),
The rope (of heresies),
Together with all tendencies:
He who has thrown up the cross-bar
(ignorance)
And has realized the Truth-
Him do I call a brahmana.
๑๗. อกฺโกสํ วธพนฺธญฺจ
อทุฏฺโฐ โย ติติกฺขติ
ขนฺติพลํ พลานีกํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๙ ฯ
ผู้ใดไม่โกรธ ทนต่อการด่า
และการลงโทษจองจํา
มีขันติเป็นกําลังทัพ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who is not wrathful
Bears reviling, blows and bonds,
Whose power, the potent army, is patience-
Him do I call a brahmana.
๑๘. อกฺโกธนํ วตวนฺตํ
สีลวนฺตํ อนุสฺสทํ
ทนฺตํ อนฺติมสารีรํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๐ ฯ
ผู้ใดไม่มักโกรธ ทรงศีลพรต
หมดกิเลสฝึกฝนตน
มีชีวิตอยู่ในโลกนี้เป็นครั้งสุดท้าย
ผู้นั้น เราเรียกว่า พราหมณ์
He who is free from anger,
He who is dutiful and righteous,
He who is without craving, and controlled;
And he who bears his final body-
Him do I call a brahmana.
๑๙. วาริ โปกฺขรปตฺเตว
อารคฺเคริว สาสโป
โย น ลิปฺปติ กาเมสุ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๑ ฯ
ผู้ใดไม่ติดในกาม
เหมือนหยาดนํ้าไม่ติดใบบัว
และเมล็ดผักกาดไม่ติดปลายเข็ม
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
Like water on a lotusleaf,
Like a mustard seed on a needle's point,
He who clings not to sensual pleasures-
Him do I call a brahmana.
๒๐. โย ทุกฺขสฺส ปชานาติ
อิเธว ขยมตฺตโน
ปนฺนภารํ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๒ ฯ
ผู้รู้วิธีดับทุกข์ของตนได้ในโลกนี้
หมดภาระแบกหามกิเลส
เป็นอิสระจากกิเลส
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has realized in this world
The destruction of his own ill,
Who has put aside the burden and is freed-
Him do I call a brahmana.
๒๑. คมฺภีรปญฺญํ เมธาวึ
มคฺคามคฺคสฺส โกวิทํ
อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๓ ฯ
ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง หลักแหลม
ฉลาดเลือกทางผิดทางชอบ
บรรลุถึงจุดหมายปลาทางอันอุดม
เราเรียกว่า พราหมณ์
He whose wisdom is deep,
Who is wise and skilled
In the right and wrong means,
Who has reached the Highest Goal-
Him do I call a brahmana.
๒๒. อสํสฏฺฐํ คหฏฺเฐหิ
อนาคาเรหิ จูภยํ
อโนกสารึ อปฺปิจฺฉํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๔ ฯ
ผู้ไม่คลุกคลีกับบุคคลทั้งสองฝ่าย
คือคฤหัสถ์และบรรพชิต
จรไปคนเดียว ไม่ติดถิ่น มักน้อย
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who is not intimate
With both householder and homeless,
Who with no fixed abode
Wanders, wanting but little-
Him do I call a brahmana.
๒๓. นิธาย ทณฺฑํ ภูเตสุ
ตเสสุ ถาวเรสุ จ
โย น หนฺติ น ฆาเตติ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๕ ฯ
ผู้งดเบียดเบียนสัตว์อื่น
ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
ไม่ฆ่าเอง ไม่สั่งให้คนอื่นฆ่า
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has given up harming creatures,
Whether feeble or strong,
Who neither kills nor causes to kill-
Him do I call a brahmana.
๒๔. อวิรุทฺธํ วิรุทฺเธสุ
อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตํ
สาทาเนสุ อนาทานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๖ ฯ
ผู้ไม่ดุร้าย กลางกลุ่มชนผู้ดุร้าย
สงบ กลางกลุ่มชนผู้ทารุณ
ไม่ยึดมั่นกลางกลุ่มผู้ยึดมั่น
เราเรียกว่า พราหมณ์
Friendly among the hostile,
Peaceful among the violent,
Ungrasping among the grasping-
Him do I call a brahmana.
๒๕. ยสฺส ราโค จ โทโส จ
มาโน มกฺโข จ ปาติโต
สาสโปริว อารคฺคา
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหมณํ ฯ ๔๐๗ ฯ
ความกําหนัด ความขัดเคือง ความหยิ่ง
ความดูถูกบุญคุณคนอื่น หมดไปจากผู้ใด
เหมือนเมล็ดผักกาด ตกไปจากปลายเข็ม
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
In whom lust, hatred, pride
And detraction are fallen off,
As a mustard seed from the needle's point-
Him do I call a brahmana.
๒๖. อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ
คิรํ สจฺจํ อุทีรเย
ยาย นาภิสเช กญฺจิ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๘ ฯ
ผู้พูดถ้อยคํานิ่มนวล
แจ่มกระจ่าง สัตย์จริง
ไม่กระทบกระทั่งใคร
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who utters words
Gentle, instructive and true,
He who gives offence to none
Him do I call a brahmana.
๒๗. โยธ ทีฆํ วา รสฺสํ วา
อณุํ ถูลํ สุภาสุภํ
โลเก อทินฺนํ นาทิยติ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๙ ฯ
ผู้ใดไม่ขโมยของคนอื่น
ไม่ว่าสั้นหรือยาว
เล็กหรือใหญ่ ดีหรือไม่ดี
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who in this world
Takes not what is not given,
Be it long or short,
Small or great, fair or foul-
Him do I call a brahmana.
๒๘. อาสา ยสฺส น วิชฺชนฺติ
อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
นิราสยํ วิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๐ ฯ
ผู้ใดไม่มีความอยาก
ในโลกนี้และโลกหน้า
หมดกิเลส เป็นอิสระ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who has no longing
Either for this world or nexto world,
Who is detached and emancipated-
Him do I call a brahmana.
๒๙. ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺติ
อญฺญาย อกถํกถี
อมโตคธํ อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๑ ฯ
ผู้ใดหมดตัณหา
หมดสงสัย เพราะรู้แจ้งจริง
ลุถึงอมตนิพพานแล้ว
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He who has no more longing,
Who through knowledge is free from doubts,
Who has plunged deep into the Deathless-
Him do I call a brahmana.
๓๐. โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ
อุโภ สงฺคํ อุปจฺจคา
อโสกํ วิรชํ สุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๒ ฯ
ผู้ละบุญละบาปได้
พ้นกิเลสผูกพัน
ไม่โศก ไม่มีกิเลส บริสุทธิ์
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has passed beyond
Good and bad and attachment,
Who is sorrowless, stainless and pure-
Him do I call a brahmana.
๓๑. จนฺท ว วิมลํ สุทฺธํ
วิปฺปสนฺนํ อนาวิลํ
นนฺทิภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๓ ฯ
ผู้บริสุทธิ์ เหมือนจันทร์แจ่ม สงบ
ผ่องใส หมดความพอใจในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who is pure as the spotless moon,
He who is serene and clear,
He who has ended delight in existence-
Him do I call a brahmana.
๓๒. โย อิมํ ปลิปถํ ทุคฺคํ
สํสารํ โมหมจฺจคา
ติณฺโณ ปารคโต ฌายี
อเนโช อกถํกถี
อนุปาทาย นิพฺพุโต
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๔ ฯ
ผู้ข้ามสงสารวัฏ และโมหะ
อันเป็นทางหล่มที่ข้ามได้แสนยากนี้
ลุถึงฝั่งโน้น เป็นนักกรรมฐาน
หมดตัณหา หมดความสงสัย
หมดความยึดมั่น บรรลุนิพพาน
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has passed beyond
This quagmire, this difficult path,
The ocean (of life) and delusion,
Who has crossed and gone beyond,
Who is meditative, desireless and doubtless,
Who, clinging to nought, has attained Nibbana-
Him do I call a brahmana.
๓๓. โยธ กาเม ปหตฺวาน
อนาคาโร ปริพฺพเช
กามภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๕ ฯ
ผู้ละกามารมณ์
ออกบวชไม่มีเรือน
หมดความใคร่ในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, giving up sensual pleasures,
Would renounce and become a homeless one,
Who has removed the lust of becoming-
Him do I call a brahmana.
๓๔. โยธ ตณฺหํ ปหตฺวาน
อนาคาโร ปริพฺพเช
ตณฺหาภวปริกฺขีณํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๖ ฯ
ผู้ละตัณหา
ออกบวชไม่มีเรือน
หมดความอยากในภพ
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, giving up craving,
Would renounce and become a homeless one,
Who has destroyed the craving for existence-
Him do I call a brahmana.
๓๕. หิตฺวา มานุสกํ โยคํ
ทิพฺพํ โยคํ อุปจฺจคา
สพฺพโยควิสํยุตฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๗ ฯ
ผู้ละเครื่องผูกพัน
ทั้งของมนุษย์และเทวดา
หมดเครื่องผูกพันทุกชนิด
คนเช่นนี้เราเรียกว่า พราหมณ์
He who, discarding human ties,
And transcending celestial ties,
Is completely freed from all ties-
Him do I call a brahmana.
๓๖. หิตฺวา รติญฺจ อรติญฺจ
สีติภูตํ นิรูปธึ
สพฺพโลกาภิภุํ วีรํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๘ ฯ
ผู้ละความยินดีและความไม่ยินดี
เย็นสนิท หมดอุปธิ (กิเลส)
อาจหาญ ชนะโลกทั้งมวล
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who has given up delight and aversion,
Who is cooled and without attachments,
Strenous and victorious over the world-
Him do I call a brahmana.
๓๗. จุตึ โย เวทิ สตฺตานํ
อุปปตฺติญฺจ สพฺพโส
อสตฺตํ สุคตํ พุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๙ ฯ
ผู้รู้จุติ และปฏิสนธิ
ของสัตว์ทั้งหลายโดยละเอียด
ผู้ไม่ขัดข้อง ไปดี ตรัสรู้ธรรม
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who perfectly understands
The rise and fall of all beings,
Who is detached, well-hone and enlightened-
Him do I call a brahmana.
๓๘. ยสฺส คตึ น ชานนฺติ
เทวา คนฺธพฺพมานุสา
ขีณาสวํ อรหนฺตํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๐ ฯ
เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ทั้งหลาย
ไม่ทราบทางไปของผู้ใด
ผู้เป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ
ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
He whose way is unknown
To hods, gandharvas and men,
Who has destroyed all defilements
And who has become enlightened-
Him do I call a brahmana.
๓๙. ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ
มชุเฌ จ นตฺถิ กิญฺจนํ
อกิญฺจนํ อนาทานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๑ ฯ
ผู้ไม่มีความยึดถือทั้งเบื้องต้น (อดีต)
ท่ามกลาง (ปัจจุบัน) ่่ที่สุด (อนาคต)
ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น
เราเรียกว่า พราหมณ์
He who clings not to the past,
The present and the future, too,
Who has no clinging and grasping-
Him do I call a brahmana.
๔๐. อุสภํ ปวรํ วีรํ
มเหสึ วิชิตาวินํ
อเนชํ นหาตกํ พุทฺธํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๒ ฯ
มหาฤาษีผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า
ชํานะ ปราศจากตัณหา
บริสุทธิ์ ตรัสรู้ธรรม
เราเรียกว่า พราหมณ์
The fearless, the noble, the hero,
The great sage, the conqueror,
The desireless, the pure, the enlightened-
Him do I call a brahmana.
๔๑. ปุพฺเพนิวาสํ โย เวทิ
สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ
อโถ ชาติกฺขยํ ปตฺโต
อภิญฺญาโวสิโต มุนิ
สพฺพโวสิตโวสานํ
ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๓ ฯ
มุนี ผู้รู้อดีตชาติของตน
เห็นสวรรค์และอบาย
ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป
รู้แจ้งเห็นจริง
บําเพ็ญหน้าที่บริบูรณ์แล้ว
เราเรียกว่า พราหมณ์
The sage who knows his previous births,
Who sees heaven and hell,
Who has reached the end of births,
Who has attained to insight-wisdom,
Who has completed his holy life-
Him do I call a brahmana. .
หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY
1. คตทฺธิโน วิโสกสฺส
วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส
ปริฬาโห น วิชฺชติ ฯ 90 ฯ
ผู้เดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้ว
วิมุติหลุดพ้นโดยประการทั้งปวง
หมดโศก หมดเครื่องพัวพันแล้ว
ความร้อนใจก็หมดไป
For him who has completed his journey,
For him who is whooly free from all,
For him who has destroyed all bonds,
The fever of passion exists not.
2. อุยฺยุญฺชนติ สติมนฺโต
น นิเกเต รมนฺติ เต
หํสาว ปลฺลวํ หิตฺวา
โอกโมกํ ชหนฺติ เต ฯ 91 ฯ
ผู้มีสติย่อมขยันขันแข็ง
ไม่ยึดติดแหล่งที่อาศัย
ละทิ้งไปตามลําดับ
เหมือนกับพญาหงส์ทิ้งสระนํ้า
The mindeful ones exert themselves,
To no abode are they attached;
Like swans that quit their pools,
Home after home they leave behind.
3.. เยสํ สนฺนิจฺจดย นตฺถิ
เย ปริญฺญาตดภชนา
สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ
วิโมกฺโข เยส โคจโร
อากาเสว สกุนฺตานํ
คติ เตสํ ทุรนฺวยา ฯ 92 ฯ
ท่านที่หมดการสะสม(ปัจจัยหรือกรรมดีกรรรมชั่ว)
พิจารณาโภชนะก่อนบริโภค เข้าถึงความหลุดพ้น
อันว่างจากกิเลสและไร้นิมิตหมายคือกิเลส
บุคคลเช่นนี้ ยากที่สามัญชนขะตามทัน
เหมือนนกบินบนท้องฟ้า ตามทันยาก
Those for whom there is no accumulation,
Who reflect well over their food,
Who have perceived void and unconditioned
freedom-
Their path is hard to trase,
Like that of birds in the air.
4. ยสฺสาสวา ปริกฺขีณา
อาหาเร จ อนิสฺสิดต
สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ
วิโมกฺโข ยสฺส โคจโร
อากาเสว สกุนฺตานํ
ปทํ ตสฺส ทุรนฺวยํ ฯ 93 ฯ
ผู้หมดกิเลส ไม่เห็นแก่กิน เข้าถึงความหลุดพ้น
อันว่างจากกิเลสและไร้นิมิตหมายคือกิเลส
บุคคลเช่นนี้มิได้ทิ้งร่องรอยอะไรไว้เลย
เหมือนนกบินบนท้องฟ้า หารอยอันใดมิได้.
He whose corruptions are destroyed,
He who is not attached to food
He who has perceived void and unconditioned freedom-
His track cannot be traced,
Like that of birds in the air.
5. ยสฺสินฺทริยานิ สมถงฺคตานิ
อสฺสา ยถา สารถินา สุทนฺตา
ปหีนมานสฺส อนาสวสฺส
เทวาปิ ตสฺส ปิหยนฺติ ตาทิโน ฯ 94 ฯ
ท่านผู้ใดควบคุมอินทรีย์คือ
ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ได้
เหมือนม้าที่สารถีควบคุมได้อย่างดี
ท่านผู้นี้หมดความไว้ตัว หมดกิเลส มั่นคง
ย่อมเป็นที่โปรดปราน แม้กระทั่งของเทวดาทั้งหลาย
He whose senes are subdued,
Like steeds well-trained by a charioteer;
He who is free from pride and corruption-
Such a steadfast one even the gods hold dear.
6. ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ
อินฺทขีลูปดม ตาทิ สุพฺพโต
รหโทว อเปตกทฺทดม
สํสารา น ภวนฺติ ตาทิโน ฯ 95 ฯ
พระอรหันตฺเปรียบได้กับแผ่นดิน ไม่เคยโกรธขึ้งใคร
มีจิตคงที่ เหมือนหลักเมือง
มีจรรยาสะอาด เหมือนสระนํ้าที่ใสไร้เปลือกตม
ผู้มีคุณสมบัติเห็นปานนี้ ย่อมไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก
Like the earth the Worthy One resents not;
Like the chief post is he a firm mind;
Like an unsullied pool is he of pure conduct;
To such a one life's wanderings are no more.
7. สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ
สนฺตา วาจา จ กมฺม จ
สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส
อุปสนฺตสฺส ตาทิโน ฯ 96 ฯ
พระอรหันตฺผู้เป็นอิสระเพราะรู้แจ้ง
ผู้สงบระงับ และมีจิตมั่นคง
ใจของท่าน ย่อมสงบ
วาจาก็สงบ
การกระทําทางกายก็สงบ
Calm is his mind;
Calm is his speech;
Calm is his bodily action;
Perfectly peaceful and equipoised.
8. อสทฺโธ อกตญฺญู จ
สนฺธิจฺเฉโท จ โย นโร
หตาวกาโส วนฺตาโส
ส เว อุตฺตมโปริโส ฯ 97 ฯ
ผู้ไม่เชื่อใครง่ายตนกว่าจะพิสูจน์ด้วยตนเอง ๑
ผู้รู้แจ้งพระนิพพาน ๑
ผู้หมดการเวียนว่ายตายเกิด ๑
ผู้หมดโอกาสที่จะทําดีหรือชั่ว ๑
ผู้หมดกิเลสที่ทําให้หวัง ๑
ห้าประเภทนี้แล เรียกว่า "ยอดคน"
He who is not credulous,
He who has realized Nibbana,
He who has severed all ties,
He who has put an end to opportunity,
He who has removed all desires
He,indeed,is the greatest of men.
9. คาเม วา ยทิวารญฺเญ
นินฺเน วา ยิทวา ถเล
ยตฺถารหนฺโต วิหรนฺติ
ตํ ภูมิ รามเณยฺยกํ ฯ 99 ฯ
ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือป่า
ไม่ว่าจะเป็นที่ลุ่ม หรือที่ดอน
พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด
ที่นั้น เป็นที่น่ารื่นรมย์
Whether in village or in forest,
Whether in vale or on hill'
Wherever the Worthy Ones dwell-
Delightful,indeed, is that spot.
10. รมณียานิ อรญฺญานิ
ยตฺถ น รมตี ชดน
วีตราคา รเมสฺสนฺติ
น เต กามคเวสิโน ฯ 99 ฯ
ป่าที่คนทั่วไปไม่ชื่นชม
เป็นรมณียสถาน
สําหรับท่านผู้มหมดราคะ
เพราะพระท่านมิได้ใฝ่กามคุณ
Delightful are the forests
Where worldings find no joy,
There the passionless rejoice
For they seek no sensual pleasures.
หมวดพัน - THE THOUSANDS
1. สหสฺสํ อปิ เจ วาจา
อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ 100 ฯ
คําพูดที่เหลวไหลไร้ประโยชน์ตั้งพันคํา
ก็สู้คําพูดที่มีประโยชน์คําเดียวไม่ได้
เพราะฟังแล้วทําให้จิตใจสงบ
Better than a thounsand useless words
Is one beneficial single word,
Hearing which one is pacified.
2. สหสฺสํ อปิ เจ คาถา
อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ 101 ฯ
บทกวีตั้งพันโศลก
แต่ไร้ประโยชน์
ไม่เท่าบทกวีบรรทัดเดียว
ที่ทําให้ผู้ฟังได้รับความสงบ
Better than a thounsand verses,
Comprising useless words,
Is one beneficial single line,
Hearing which one is pacified.
3. โย จ คาถาสตํ ภาเส
อนตฺถปทสญฺหิตา
เอกํ ธมฺมปทํ เสยฺโย
ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ 102 ฯ
บทกวีบรรยายธรรมบทเดียว
ที่ทําให้ผู้ฟังได้รับความสงบ
ประเสริฐกว่าบทกวีที่ท่องจําได้ตั้งร้อยโศลก
แต่ไม่มีประโยชน์แม้แต่บทเดียว
Should one recite a hundred verses,
Comprising useless words,
Better is one single word of the Dhamma,
Hearing which one is pacified.
4. โย สหสฺสํ สหสฺเสน
สงฺคาเม มานุเส ชิเน
เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ
ส เว สงฺคามชุตฺตโม ฯ 103 ฯ
ถึงจะรบชนะข้าศึกเป็นพัน ๆ ราย
ก็ไม่นับเป็นยอดขุนพล
แต่ผู้ที่เอาชนะจิตใจตน
จึงเรียก "ยอดขุนพล" แท้จริง
Though one should conquer in battle
A thounsand times a thounsand men,
Yet should one conquer just oneself
One is indeed the greatest victor.
5. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
ยาจายํ อิตรา ปชา
อตฺตทนฺตสฺส โปสสฺส
นิจฺจํ สญฺญตจาริโน
เนว เทโว น คนฺธพฺโพ
น มาโร สห พฺรหฺมุนา
ชิตํ อปชิตํ กยิรา
ตถารูปสฺส ชนฺตุโน ฯ 104-5 ฯ
เอาชนะตนได้นั้นแล ประเสริฐ
ผู้ที่ฝึกตนได้ ระวังระไวตลอดเวลา
ถึงเทวดา คนธรรพ์ และพระพรหม
ก็เอาชนะไม่ได้
Better indeed is it to conquer oneself,
Neither a god nor a Gandharva
Neither Mara nor Brahma
Could turn into defeat the victory of one
Who is self-madtered and self-controlled.
6. มาเส มาเส สหสฺเสน
โย ยเชถ สตํ สมํ
เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ
มุหุตฺตมฺปิ ปูชเย
ยญฺเจว วสฺสตํ หุตํ ฯ 106 ฯ
การบูชาท่านผู้ฝึกตน แม้เพียงหนึ่งครั้ง
บังเกิดผลมหาศาล
ยิ่งกว่าสละทรัพย์บูชายัญเดือนละพัน
เป็นเวลาติดต่อกันถึงร้อยปี
Though, month after month with a thousand,
One should sacrifice for a hundred years,
Yet,if, only for a moment,
One should honour the self-restrained,
That honour, indeed, is better
Than a century of sacrifice.
7. โย จ วสฺสสตํ ชนฺตุ
อคฺคึ ปริจเร วเน
เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ
มุหุตฺจมฺปิ ปูชเย
สา เยว ปูชนา เสยฺโย
ยญฺเจ วสฺสสตํ หุตํ ฯ 107 ฯ
การบูชาท่านผู้ฝึกตนแม้เพียงครู่เดียว
บังเกิดผลมหาศาล
ยิ่งกว่าการบูชาไฟในป่า
เป็นเวลาตั้งร้อยปี
Though one , for a century,
Should tend the fire in the forest,
Yet, if ,only for a moment,
He should honour the self-restrained,
Thai honour,indeed,is better
Than a century of sacrifice.
8. ยงฺกิญฺจิ ยิฎฺฐํ ว หุตํ ว โลเก
สํวจฺฉรํ ยเชถ ปุญฺญเปกฺโข
สพฺพมฺปิ ตํ น จตุภาคเมติ
อภิวาทนา อุชุคเตสุ เสยฺโย ฯ 108 ฯ
ไม่ว่ายัญชนิดไหน ที่ผู้ใคร่บุญพึงบูชาตลอดปี
การบูชายัญนั้นมีค่าไม่เท่าหนึ่งในส่ของการยกมือไหว้
ท่านผู้ปฏิบัติตรงตามอริยมาาคแม้เพียงครั้งเดียว
การไหว้บุคคลเช่นนั้นประเสริฐกว่าเป็นไหน ๆ
Whatever oblationnns and sacrifices
One might offer for a year,
Seeking merit thereby,
All that is not worth a single quarter
Of homage towards the upright
Which is far more excellent.
9. อภิวาทนสีลิสฺส
นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน
จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ
อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ฯ 109 ฯ
ผู้กราบไหว้ อ่อนน้อมถ่อมตัว
ต่อผู้ใหญ่เป็นนิจศีล
ย่อมเจริญด้วยคุณธรรมสี่ประการคือ
อายุ ชื่อเสียง สุข และกําลัง
For one who is in the habit of
Ever honouring and respecting the elders,
Four qualities increase;
Loong life,Fame, happiness and strength.
10. โย จ วสฺสสตํ ชีเว
ทุสฺสีโล อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
สีลวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ 110 ฯ
ผู้มีศีล มีสมาธิ
ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี
ของคนทุศีล ไร้สมาธิ
Though one should live a hundred years,
Without conduct and concentration,
Yet,better is a single day's life
Of one who is moral and meditative.
11. โย จ วสฺสสตํ ชีเว
ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต
เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย
ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ 111 ฯ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ
คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ

More Related Content

Similar to คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ

สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญาTongsamut vorasan
 
สังคหวัตถุ
สังคหวัตถุสังคหวัตถุ
สังคหวัตถุ
niralai
 
แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย Maha Duangthip Dhamma
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
Theeraphisith Candasaro
 
คำนำทำ1
คำนำทำ1คำนำทำ1
คำนำทำ1
Songsarid Ruecha
 

Similar to คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ (7)

สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญาสุภีร์ ทุมทอง   สติปัญญา
สุภีร์ ทุมทอง สติปัญญา
 
กลอน
กลอนกลอน
กลอน
 
สังคหวัตถุ
สังคหวัตถุสังคหวัตถุ
สังคหวัตถุ
 
Jitpontook
JitpontookJitpontook
Jitpontook
 
แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย
 
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรีรวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
รวมหลักธรรมสำหรับท่องจำแบบย่อ ธศ ตรี
 
คำนำทำ1
คำนำทำ1คำนำทำ1
คำนำทำ1
 

More from Tongsamut vorasan

หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
Tongsamut vorasan
 
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษ
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษFood reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษ
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษ
Tongsamut vorasan
 
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการะเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
Tongsamut vorasan
 
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์
Tongsamut vorasan
 
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์
Tongsamut vorasan
 
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติ
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติเจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติ
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติ
Tongsamut vorasan
 
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโตเจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
Tongsamut vorasan
 
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรมเพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม
Tongsamut vorasan
 
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔
Tongsamut vorasan
 
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)
Tongsamut vorasan
 
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการะเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
Tongsamut vorasan
 
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ
Tongsamut vorasan
 
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018
Tongsamut vorasan
 
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖
Tongsamut vorasan
 
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกา
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกากำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกา
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกา
Tongsamut vorasan
 
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ
Tongsamut vorasan
 
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้น
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้นหลักสูตรผู้บวชระยะสั้น
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้น
Tongsamut vorasan
 
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาท
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาทหนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาท
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาท
Tongsamut vorasan
 
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2
Tongsamut vorasan
 
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษ
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษ
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษ
Tongsamut vorasan
 

More from Tongsamut vorasan (20)

หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
หนังสืออนุสรณ์"งานพระราชทานเพลิงศพ" หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๒
 
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษ
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษFood reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษ
Food reflectionบทพิจารณาอาหารภาษาอังกฤษ
 
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการะเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบ รายนามวัด พระธรรมทูตจำพรรษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
 
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์
คติธรรมแห่งชีวิต . โดย..พระพรหมคุณาภรณ์
 
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์
เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม โดย.พระพรหมคุณาภรณ์
 
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติ
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติเจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติ
เจอวิกฤตจะเลือกเอาวิวัฒน์ รหือจะเอาวิบัติ
 
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโตเจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
เจอวิกฤต จิตไม่วิบัติ โดย..พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต
 
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรมเพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม
 
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔
พุทธศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ ๔๔
 
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)
ทำเนียบวัดไทยในสังกัดสมัชชาสหรัฐอเมริกา 2018 2561 (4)
 
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริการะเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
ระเบียบการขอพระไปปฏิบัติศาสนกิจชั่วคราวของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
 
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ
ระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐฯ
 
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018
ใบตอบรับเข้าร่วมประชุมครั้ง42 2018
 
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖
ทะเบียนประวัติพระมาร่วมประชุมสมัชชาฯ๒๕๖
 
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกา
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกากำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกา
กำหนดการการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในนสหรัฐอเมริกา
 
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ
154517 บทพิธีกรงานฌาปนกิจ
 
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้น
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้นหลักสูตรผู้บวชระยะสั้น
หลักสูตรผู้บวชระยะสั้น
 
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาท
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาทหนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาท
หนังสือสอนพระบวชใหม่ นวโกวาท
 
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2
เพลงชาติไทย แปลภาษาอังกฤษ2
 
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษ
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษ
ภพภูมิทั้ง 31ภูมิ ภาษาอังกฤษ
 

คาถาธรรมบท ไทย อังกฤษ

  • 1. หมวดคู่ - THE PAIRS 1. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา มนสา เจ ปทุฎฺฌฐน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ 2 ฯ ใจเป็นผู้นําสรรพสิ่ง ใจเป็นใหญ่(กว่าสรรพสิ่ง) สรรพสิ่งสําเร็จได้ด้วยใจ ถ้าพูดหรือทําสิ่งใดด้วยใจชั่ว ความทุกข์ย่อมติดตามตัวเขา เหมือนล้อหมุนเต้าตามเท้าโค Mind foreruns all mental conditions, Mind is chief, mind-made are they; If one speak or acts with a wicked mind, Then suffering follows him Even as the wheel the hoof of the ox. 2. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนปายินี ฯ 2 ฯ
  • 2. ใจเป็นผู้นําสรรพสิ่ง ใจเป็นใหญ่(กว่าสรรพสิ่ง) ถ้าพูดหรือทําสิ่งใดด้วยใจบริสุทธิ์ ความสุขย่อมติดตามเขา เหมือนเงาติดตามตน Mind forerunr all mental conditions, Mind is chief,mind-made are they; If one speaks or acts with a pure mind, Then happiness follows him Even as the shadow that never leaves. 3. อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม เข จ ตํ อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ ฯ 3 ฯ ใครมัวคิดอาฆาตว่า "มันด่าเรา มันทําร้ายเรา มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา" เวรของเขาไม่มีทางระงับ 'He abused me, he beat me, He defeated me, he robbed me; In those who harbour such thoughts Hatred never ceases. 4. อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ มํ
  • 3. เข จ ตํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺมติ ฯ 4 ฯ ใครไม่คิดอาฆาตว่า "มันด่าเรา มันทําร้ายเรา มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา" เวรของเขาย่อมระงับ 'Heabused me, he beat me, He defeated me, he robbed me' In those who harbour not such thoughts Hatred finds its end. 5. น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ อเวเรน จ สมฺมนฺติ เอส ธมฺโม สนนฺตโน ฯ 5 ฯ แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้ เวรไม่มีระงับด้วยการจองเวร มีแต่ระงับด้วยการไม่จองเวร นี้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว At any time in this world, Hatred never ceases by haterd, But through non-hatred it ceases, This is an eternal law. 6. ปเร จ น วิชานนฺติ มยเมตฺถ ยมามเส
  • 4. เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ฯ 6 ฯ คนทั่วไปมักนึกไม่ถึงว่า ตนกําลังพินาศ เพราะวิวาททุ่มเถึยงกัน ส่วนผ้ร้ความจริงเช่นนั้น ย่อมไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป The common people know not That in this Quarrel they will perish, But those who realize this truth Have their Quarrels calmed thereby. 7. สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุํ กุสีตํ หีนวีริยํ ตํ เว ปสหตี มาโร วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ ฯ 7 ฯ มารย่อมสามารถทําลายบุคคล ผ้ตกดป็นทาสของความสวยงาม ไม่ควบคุมการแสดงออก ไม่ร้ประมาณในโภชนาหาร เกียจคร้านและอ่อนแอ เหมือนลมแรงพัดโค่นต้นไม้ที่ไม่แข็งแรง As the wind overthrows a weak tree,
  • 5. So does Mara overpower him Who lives attached to sense pleasures Who lives with his senses uncontrolled, Who knows not moderation in his food, And who is indolent and inactive. 8. อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุํ สทฺธํ อารทฺธวีริยํ ตํ เว นปฺปสหตี มาโร วาโต เสสํว ปพฺพตํ ฯ 8 ฯ มารย่อมไม่สามารถทําลายบุคคล ผู้ไม่ตกเป็นทาสของความสวยงาม รูจักควบคุมการแสดงออก รู้ประมาณในโภชนาหาร มีศรัทธา และมีความขยันหมั่นเพียร เหมือนลมไม่สามารถพัดโค่นภูเขา As the wind does not overthrow a rocky mount, So Mara indeed does not overpower him Who lives unattached to sense pleasures, Who lives with his senses well-controlled, Who knows moderation in his food, And who is full of faith and high vitality. 9. อนิกฺกสาโว กาสาวํ โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ อเปโต ทมสจฺเจน น โส กาสาวมรหติ ฯ 9 ฯ
  • 6. คนที่กิเลสครอบงําใจ ไร้การบังคับตนเองและไร้สัตย์ ถึงจะครองผ้ากาสาวพัสตร์ ก็หาคู่ควรไม่ whosoever, not freed from defilements, Without self-control and truthfulness, Should put on the yellow robe- He is not worthy of it. 10. โย จ วนฺตกสาวสฺส สีเลสุ สุสมาหิโต อุเปโต ทมสจฺเจน ส เว กาสาวมรหติ ฯ 10 ฯ ผู้หมดกิเลสแล้ว มั่นคงในศีล รู้จักบังคับตนเอง และมีสัตย์ ควรครองผ้ากาสาวพัสตร์แท้จริง But he who discared defilements, Firmly established in moral precepts, Possessed of self-control and truth, Is indeed worthy of the yellow robe. 11. อสาเร สารมติโน สาเร จ อสารททสฺสิโน เต สารํ นาธิคจํฉนฺติ มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา ฯ 11 น ผู้ใดเห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
  • 7. เห็นสิ่งที่เป็นสาระ ว่าไร้สาระ ผู้นั้นมีความคิดผิดเสียแล้ว ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ In the unessential they imagine the essential, In the essential they see the unessential; They who feed on wrong thoughts as such Never achieve the essential. 12. สารญฺจ สารโต ญตฺวา อาสารญฺจ อสารโต เต สารํ อธิคจฺฉนฺติ สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา ฯ 12 ฯ ผู้ที่เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ และสิ่งที่ไร้สาระว่าไร้สาระ มีความคิดเห็นชอบ ย่อมประสบสิ่งที่เป็นสาระ Knowing the essential as the essential, And the unessential as the unessential, They who feed on right thoughts as such Achieve the essential. 13. ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ วุฎฺฐิ สมติวิชฺฌติ เอวํ อภาวิคํ จิตฺตํ ราโค สมติวิชฺฌติ ฯ 13 ฯ เรือนที่มุงไม่เรียบร้อย
  • 8. ฝนย่อมไหลย้อยเข้าได้ ใจที่ไม่อบรมฝึกหัด ราคะกําหนัดย่อมครอบงํา Even as rain into an ill-thatched house, Even so lust penetrates an undeveloped mind. 14. ยถา อคารํ สุจฺฉนฺนํ วุฎฺฐิ น สมติวิชฺฌติ เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ ราโค น สมติวิชฺฌติ ฯ 14 ฯ เรือนที่มุงเรียบร้อย ฝนย่อมไหลย้อยเข้าไม่ได้ ใจที่อบรมเป็นอย่างดี ราคะไม่มีวันเข้าครอบงํา Even as rain gets not into a well -thatched house, Even so lust penetrates not a well-developed mind. 15. อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ โส โสจติ โส วิหญฺญติ ทิสิวา กมฺมกิลิฎฺฐมตฺตโน ฯ 15 ฯ คนทําชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ คนทําชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกหน้า คนทําชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
  • 9. คนทําชั่วย่อมเศร้าโศกเดือดร้อนยิ่งนัก เมื่อมองเห็นแต่กรรมชั่วของตน Here he grieves, hereaafter he grieves, In both worlds the evil-doer grieves; He mourns, he is afflicted, Beholding his own impure deeds. 16. อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ กตปุญฺโญ อุภยตฺถ โมทติ โส โมทติ ดส ปโมทติ ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน ฯ 16 ฯ คนทําดีย่อมร่าเริงในโลกนี้ คนทําดีย่อมร่าเริงในโลกหน้า คนทําดีย่อมร่าเริงในโลกทั้งสอง คนทําดีย่อมร่าเริง เบิกบานใจยิ่งนัก เมื่อมองเห็นแต่กรรมบริสุทธิ์ของตน Here he rejoices, hereafter he rejoices, In both worlds the well-doer rejoices; He rejoices, exceedingly rejoices, Seeing his own pure deeds. 17. อิธ ตปฺปติ เปจิจ ตปฺปติ ปาปการี อุภยตฺถ ตปฺปติ ปาปํ เม กตนิติ ตปฺปติ ภิยฺโย ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโต ฯ 17 ฯ คนทําชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
  • 10. คนทําชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า คนทําชั่ว ย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง เมื่อคิดได้ว่า ตนทําแต่กรรมชั่ว ตายไปเกิดในทุคติ ยี่งเดือดร้อนหนักขึ้น Here he laments, hereafter he laments, In both worlds the evil-doer laments; Thinking; 'Evil have I done', thus he laments, Furthermore he laments, When gone to a state of woe. 18. อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ กตปุญฺโญ อุภยตฺถ นนฺทติ ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนิทติ ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโต ฯ 18 ฯ คนทําดีย่อมสุขใจในโลกนี้ คนทําดีย่อมสุขใจในโลกหน้า คนทําดีย่อมสุขใจในโลกทั้งสอง เมื่อคิดว่าตนได้ทําแต่บุยกุศล ย่อมสุขใจ ตายไปเกิดในสุคติ ยิ่งสุขใจยิ่งขึ้น Here he is happy, hereafter he is happy, In both worlds the well-doer is happy; Thinking; 'Good have I done', thus he is happy, When gone to the state of bliss. 19. พหุมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ น ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ 19 ฯ
  • 11. คนที่ท่องจําตําราได้มาก แต่มัวประมาทเสีย ไม่ทําตามคําสอน ย่อมไม่ได้รับผลที่พึงได้จากการบวช เหมือนเด็กเลี้ยงโค นับโคให้คนอื่นเขา Though much he recites the Sacred Texts, But acts not accordingly, the heedless man is like the cowherd who counts others'kine; He has no share in religious life. 20. อปฺปมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ 20 ฯ ถึงจะท่องจําตําราได้น้อย แต่ประพฤติชอบธรรม ละราคะ โทสะ และโมหะได้ รู้แจ้งเห็นจริง มีจิตหลุดพ้น ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ทั้งปัจจุบันและอนาคต เขาย่อมได้รับผลที่พึงได้จากการบวช Though little he recites the Sacred Texts, But puts the precepts into practice, Forsaking lust, hatred and delusion, With rigth knowledge, with mind well freed, Cling to nothing here or hereafter, He has a share in religious life.
  • 12. หมวดไม่ประมาท - HEEDFULNESS 1. อปฺปมาโท อมตํปทํ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา ฯ 21 ฯ ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาท ไม่มีวันตาย ผู้ประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว Heedfulness is the way to the Deathless; Heedlessness is the way to death. The heedful do not die; The heedless are like unto the dead. 2. เอตํ วิเสสโต ญตฺวา อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา อปฺปมาเท ปโมทนฺติ อริยานํ โคจเร รตา ฯ 22 ฯ บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท จึงยินดีในความไม่ประมาท อันเป็นแนวทางของพระอริยะ Realzing this distinction,
  • 13. The wise rejoice in heedfulness, Which is the way of the Noble. 3. เต ฌายิโน สาตติกา นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ ฯ 23 ฯ ท่านผู้ฉลาดเหล่านั้น หมั่นเจริญกรรมฐาน มีความเพียรมั่นอยู่เป็นนิจศีล บรรลุพระนิพพานอันเป็นสภาวะที่สูงส่ง อิสระจากกิเลสเครื่องผูกมัด These wise, constantly meditative, Ever earnestly persevering, Attain the bond-free, supreme Nibbana. 4. อุฎฺฐานวโต สติมโต สุจิกมฺมสฺส นิสสมฺมการิโน สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ ฯ 24 ฯ ยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน มีสติ มีการงานสะอาด ทํางานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง เป็นอยู่โดยชอบธรรม ไม่ประมาท Of him who is energetic, mindeful, Pure in deed, considerate, self -restrained,
  • 14. Who lives the Dhamma and who is heedful, Reputation steadily increases. 5. อุฎฺฐาเนนปฺปมาเทน สญฺญเมน ทเมน จ ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ ฯ 25 ฯ ด้วยความขยัน ด้วยความไม่ประมาท ด้วยความสํารวมระวัง และด้วยการข่มใจตนเอง ผู้มีปัญญาควรสร้างเกาะ(ที่พึ่ง)แก่ตนเอง ที่ห้วงนํ้า(กิเลส) ไม่สามารถท่วมได้ By diligence, vigilance, Restraint and self-mastery, Let the wise make for himself an island That no flood can overwhelm. 6. ปมาทมนุยุญฺชนติ พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฎฺฐํว รกฺขติ ฯ 26 ฯ คนพาล ทรามปัญญา มักมัวประมาทเสีย ส่วนคนฉลาด ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ
  • 15. The ignorant, foolish folk Induge in heedlessness, But the wise preserve heedfulness As their greatest treasure. 7. มา ปมาทมนุยุญฺเชถ มา กามรติสนฺถวํ อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ ฯ 27 ฯ พวกเธออย่ามัวประมาท อย่ามัวเอาแต่สนุกยินดีในกามคุณอยู่เลย ผู้ไม่ประมาท เพ่งพินิจตามความเป็นจริงเท่านั้น จึงจะบรรลุถึงความสุขอันไพบูลย์ได้ Devote not yourselves to negligence; Have no intimacy with sensuous delights. The vigilant, meditative person Attains sublime bliss. 8. ปมาทํ อปฺปมาเทน ยถา นุทติ ปณฺฑิโต ปญฺญาปาสาทมารุยฺห อโสโก โสกินี ปชํ ปพฺพตฎฺโฐว ภุมฺมฎฺเฐ ธีโร พาเล อเวกฺขติ ฯ 28 ฯ เมื่อใดบัณฑิตกําจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท
  • 16. เมื่อนั้นเขานับว่าได้ขึ้นสู่"ปราสาทคือปัญญา" ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชน ผู้โง่เขลา ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่ เหมือนคนยืนบนยอดภูเขา มองลงมาเห็นฝูงชนที่ยืนอยู่บนพื้นดิน ฉะนั้น When banishing carelessness by carefulness, The sorrowless, wise one ascends the terrace of wisdom And surveys the ignorant, sorrowing folk As one standing on a mountain the groundlings. 9. อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ สุตฺเตสุ พหุชาคโร อพลสฺสํว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส ฯ 29 ฯ ผู้มีปัญญามักไม่ประมาท เมื่อคนอื่นพากันประมาท และตื่น เมื่อคนอื่นหลับอยู่ เขาจึงละทิ้งคนเหล่านั้นไปไกล เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว วิ่งเลยม้าแกลบ ฉะนั้น Heedful among the heedless, Wide-awake among those asleep, The wise man advances As a swift horse leaving a weak nag behind. 10. อปฺปมาเทน มฆวา เทวานํ เสฎฺฐตํ คโต อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ ปมาโท ครหิดต สทา ฯ 30 ฯ
  • 17. ท้าวมฆวานได้เป็นใหญ่กว่าทวยเทพ เพราะผลของความไม่ประมาท บัณฑิตจึงสรรเสริญความไม่ประมาท และติเตียนความประมาททุกเมื่อ By vigilance it was that Indra attained the lordship of the gods. Earnestness is ever praised, Carelessness is ever despised. 11. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสิสิ วา สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ ฯ 31 ฯ ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผากิเลสเครื่องผูกมัดได้ เหมือนไฟเผาเชื้อทุกชนิด The bhikkhu who delights in earnesstness And discerns dangers in negligence, Advances, consuming all fetters, Like fire burning fuel, both small and great. 12. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
  • 18. อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก ฯ 32 ฯ ภิกษุผู้ไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท ไม่ม่ทางเสื่อม ย่อมอยู่ใกล้นิพพานเป็นแน่แท้ The bhikkhu who delights in earnestness, And discerns dangers in negligence, Is not lisble to fall away; He is certainly in the presence of Nibbana. หมวดจิต - The MIND 1. ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ อุชุํ กโรติ เมธาวี อุชุกาโรว เตชนํ ฯ 33 ฯ จิตดิ้นรน กลับกลอก ป้องกันยาก ห้ามยาก คนมีปัญญาสามารถดีดให้ตรงได้ เหมือนช่างศรดัดลูกศร The flickering , fickle mind, Difficult to guard, difficult to control, The wise man straightens, As a fletcher straightens an arrow.
  • 19. 2. วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกต อุพฺภโต ปริผนํทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว ฯ 34 ฯ มัสยาถูกเขาจับโยนไปบนบก ย่อมดิ้นรน เพื่อจะกลับไปยังแหล่งนํ้าที่เคยอาศัย จิตใจเราก็เช่นเดียวกัน ดิ้นรนไปหากามคุณ เพราะฉะนั้น จึงควรละเว้นกามคุณเสีย Like a fish drawn its watery abode And thrown upon land, Even so does the mind flutter, Hence should the realm of passions be shunned. 3. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถกามนิปาติโน จิติตสิส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ฯ 35 ฯ จิตควบคุมยาก เปลี่ยนแปลงเร็ว ใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่ ฝึกจิตเช่นนั้นได้เป็นการดี เพราะจิตที่ฝึกดีแล้ว นําความสุขมาให้ Good is it to control the mind Which is hard to check and swift
  • 20. And flits wherever it desires. A subdued mind is conducive to happiness. 4. สุทุทฺทสั สุนิปุณํ ยตฺถกามนิปาตินํ จิตฺตํ รกิเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ ฯ 36 ฯ จิตเห็นได้ยาก ละเอียดยิ่งนัก มักใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่ ผู้มีปัญญาจึงควรควบคุมจิตไว้ให้ดี เพราะจิตที่ควบคุมได้แล้ว นําสุขมาให้ Hard to perceive and extremely subtle is this mind, It roams wherever it desires. Let the wise man guard it; A guarded mind is conducive to happiness. 5. ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ 37 ฯ จิตท่องเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้ ใครควบคุมจิตนี้ได้ ย่อมพ้นจากบ่วงมาร Faring afar, solitary, incorporeal Lying in the body, is the mind.
  • 21. Those who subdue it are freed From the bond od Mara. 6. อนวฎฺฐิตจิตฺตสิส สทฺธมฺมํ อวิชานโต ปริปุลวปสาทสฺส ปญฺญา น ปริปูรติ ฯ 38 ฯ ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสไม่จริงจัง He whose mind is inconstant, He who knows not the true doctrine, He whose confidence wavers - The wisdom of such a one is never fulfilled. 7. อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนุวาหตเจตโส ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ ฯ 40 ฯ ผู้มีสติตื่นตัวอยู่เนืองนิตย์ มีจิตเป็นอิสระจากราคะและโทสะ ละบุญและบาปได้ ย่อมไม่กลัวอะไร
  • 22. He who is vigilant, He whose mind is not overcome by lust and hatred, He who has discarded both good and evil - For such a one there is no fear. 8. กุมภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา โยเชถ มารํ ปญฺญาวุเธน ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา ฯ 41 ฯ เมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกดับง่ายเหมือนหม้อนํ้า พึงป้องกันจิตให้มั่นเหมือนป้องกันเมืองหลวง แล้วพึงรบกับพญามารด้วยอาวุธคือปัญญา เมื่อรบชนะแล้วพึงรักษาชัยชนะนั้นไว้ ระวังอย่าตกอยุ่ในอํานาจมารอีก Realizing that body is fragile as a pot, Establishing one's mind as firm as a fortified city, Let one attack let one guard one's conqust And afford no rest to Mara. 9. อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ ฯ 41 ฯ อีกไม่นาน ร่างกายนี้ จักปราศจากวิญญาณ ถูกทอดทิ้ง ทับถมแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้อันหาประโยชน์มิได้
  • 23. Soon, alas! will this body lie Upon the ground, unheeded, Devoid of consciousness, Even as useless log. 10. ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา เวรี วา ปน เวรินํ มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ ปาปิดย น ตโต กเร ฯ 42 ฯ จิตที่ฝึกฝนผิดทาง ย่อมทําความเสียหายได้ ยิ่งกว่าศัตรูทําต่อศัตรู หรือคนจองเวรทําต่อคนจองเวร Whatever harm a foe may do to a foe, Or a hater to a hater, An ill-directed mind Can harm one even more. 11. น ตํ มาตา ปิตา กยิรา อญฺเญ วาปิจ ญาตกา สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร ฯ 43 ฯ มารดาก็ทําให้ไม่ได้ บิดาก็ให้ไม่ได้ ญาติพี่น้องก็ทําให้ไม่ได้
  • 24. แต่จิตที่ฝึกฝนไว้ชอบย่อมทําสิ่งนั้นให้ได้ และทําให้ได้อย่างประเสริฐด้วย What neither mother ,nor father, Nor any other relative can do, A well-directed mind does And thereby elevates one. หมวดดอกไม้ - THE FLOWERS 1. โก อิมํ ปฐวึ วิเชสฺสติ ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ โก ธมฺมปทํ สุเทสิตํ กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ ฯ 44 ฯ ใครจักครองแผ่นดินนี้ พร้อมทั้งยมโลก และเทวโลก ใครจักเลือกเฟ้นพระธรรมบท ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาด เลือกเก็บดอกไม้ Who will conquer this earth(life) With Yama's realm and with celestial world? Who will investigate the well-taught Dhamma-Verses As a skilful garland-maker plucks flowers? 2. เสโข ปฐวึ วิเชสฺสติ ยมโลกญฺจ อิมํ สเทวกํ
  • 25. เสโข ธมฺมปทํ สุเทสิตํ กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ ฯ 45 ฯ พระเสขะจักครองแผ่นดินนี้ พร้อมทั้งยมดลกและเทวโลก พระเสขะจักเลือกเฟ้นพระธรรมบท ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาด เลือกเก็บดอกไม้ A learner(sekha) will conquer this earth With Yama's realm and with celestial world. He will investigate the well-taught Dhamma-Verses As a skilful garland-maker plucks flower. 3. เผณูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา มรีจิกมฺมํ อภิสมฺพุธาโน เฉตฺวาน มารสฺส ปปุปฺผกานิ อทสฺสนํ มจฺจุราชสฺส คจฺเฉ ฯ 46 ฯ เมี่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกสลายง่าย และว่างเปล่า เช่นเดียวกับฟองนํ้า และพยับแดด ก็ควรทําลายบุษปศรของกามเทพ ไปให้พ้นทัศนวิสัยของมัจจุราชเสีย Perciving this body to be similar unto foam And comprehending its mirage-nature,
  • 26. One should destroy the flower-tipped arrows of Love And pass beyond the sight of the King of Death. 4. ปุปฺผานิ เหว ปจนนฺตํ พิยาสตฺตมนสํ นรํ สุตฺตํ คามํ มโหโฆว มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ ฯ 47 ฯ มฤตยูฉุดคร่าคนผู้มัวเก็บดอกไม้(กามคุณ) มีใจเกี่ยวข้องอยู่ในกามคุณไป เหมือนห้วงนํ้าใหญ่หลากมา พัดพาเอาชาวบ้านผู้หลับไหลไป He who gathers flowers of sensual pleasure, Whose mind is distracted- Death carries him off As the great flood a sleeping village. 5. ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺตํ พฺยาสตฺตมนสํ นรํ อติตฺตํเยว กาเมสุ อนฺตโก กุรุเต วสํ ฯ 48 ฯ ผู้ที่มัวเก็บดอกไม้(กามคุณ)เพลินอยู่ มีจิตใจข้องอยู่แต่ในกามคุณไม่รู้จักอิ่ม มักตกอยู่ในอํานาจมฤตยู He who gathers flowers of sensual pleasures, Whose mind is distracted
  • 27. And who is insatiate in desire- Him death brings under its sway. 6. ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ วณฺณคนฺธํ อเหฐยํ ปเลติ รสมาทาย เอวํ คาเม มุนี จเร ฯ 49 ฯ มุนีพึงจาริกไปในเขตคาม ไม่ทําลายศรัทธาและโภตะของชาวบ้าน ดุจภมรดูดรสหวานของบุปผชาติแล้วจากไป ไม่ให้สีและกลิ่นชอกชํ้า As a bee takes honey from the flowers, Leaving it colour and fragrance unharmed, So should the sage wander in the village. 7. น ปเรสํ วิโลมานิ น ปเรสํ กตากตํ อตฺตนาว อเวกฺเขยฺย กตานิ อกตานิ จ ฯ 50 ฯ ไม่ควรแส่หาความผิดผู้อื่น หรือธุระที่เขาทําแล้วหรือยังไม่ทํา ควรตรวจดูเฉพาะกิจ ที่ตนทําหรือยังไม่ทําเท่านั้น Pay not attention to the faults of others,
  • 28. Things done or left undone by others, Consider only what by oneself Is done or left undone. 8. ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนิตํ อคนฺธกํ เอวํ สุภาสิตา วาจา อผลา โหติ อกุพฺพโต ฯ 51 ฯ วาจาสุภาสิต ของผู้ทําไม่ได้ตามพูด ย่อมไม่มีประโยขน์อะไร ดุจดอกไม้สีสวย แต่ไร้กลิ่น As a flower that is lovely And colourful,but scentless, Even so fruitless is the well-spoken word Of one who follows it not. 9. ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ สคนฺธกํ เอวํ สุภาสิตา วาจา สผลา โหติ สุกุพฺพโต ฯ 52 ฯ วาจาสุภาษิต ของผู้ทําได้ตามพูด ย่อมอํานวยผลดี ดุจดอกไม้สีสวยและมีกลิ่นหอม
  • 29. As a flower that is lovely, Colourful and fragrant, Even so fruitful is the well-spoken word Of one who practises it. 10. ยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา กยิรา มาลาคุเณ พหู เอวํ ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพํ กุสลํ พหุํ ฯ 53 ฯ เมื่อเกิดมาแล้วจะต้องตาย ก็ควรสร้างบุญกุศลไว้ให้มาก เหมือนนายมาลาการร้อยพวงมาลัย เป็นจํานวนมากจากกองดอกไม้ As from a heap of flowers Many kinds of garlands can be made, So many good deeds should be done By one born a mortal. 11. น ปุปฺผคนโธ ปฏิวาตเมติ น จนฺทนํ ตครมลฺลิกา วา สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ ฯ 54 ฯ กลิ่นปุปผชาติ ก้หอมทวนลมไม่ได้ กลิ่นจันทน์ กฤษณา หรือดอกมะลิ ก็หอมทวนลมไม่ได้
  • 30. แต่กลิ่นสัตบุรุษ หอมทวนลมไม่ได้ สัตบุรุษ ย่อมหอมฟุ้งขจรไปทั่วทุกทิศ The perfume of flower blows not againts the wind, Nor does the fragrance of sandal-wood, Tagara andjasmine, But the fragrance of the virtuous blows against the wind The virtuous man pervades all directions. 12. จนฺทนํ ตครํ วาปิ อุปฺปลํ อถ วสฺสิกี เอเตสํ คนฺธชาตานํ สีลคนฺดธ อนุตฺตโร ฯ 55 ฯ กลิ่นศีล หอมยิ่งกว่า ของหอมเหล่านี้ คือ จันทน์ กฤษณา ดอกอุบล และ กะลําพัก Sandal -wood, Tagara, lotus and wild jasmine- Of all these kinds of fragrance, The fragrance of virtue is by far the best. 13. อปฺปมตฺโต อยํ คนฺโธ ยายํ ตครจนฺทนี โย จ สีลวตํ คนฺโธ วาติ เทเวสุ อุตฺตโม ฯ 56 ฯ กฤษณา หรือจันทน์ มีกลิ่นหอมน้อยนัก
  • 31. แต่กลิ่นหอมของท่านผู้ทรงศีลประเสริฐนัก หอมฟุ้งกระทั่งถึงทวยเทพยดา Little is the fragrance of Tagara And that of sandal-wood, But the fragrance of virtue is excellent And blows even among the devas. 14. เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ อปฺปมาทวิหารินี สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ มาโร มคฺคํ น วินฺทติ ฯ 57 ฯ มารย่อมค้นไม่พบวิถีทาง ของผู้ทรงศีลผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ผู้หลุดพ้นจากอาสวกิเลส เพราะรู้ชอบ Of those who possess these virtues, Who live without negligence, Who are freed by perfect knowledge- Mara finds not their way. 15. ยถา สงฺการธานสฺมึ อุชุฌิตสฺมึ มหาปเถ ปทุมํ ตตฺถ ชาเยถ สุจิคนฺธํ มโนรมํ ฯ 58 ฯ ดอกบัว มีกลิ่นหอม รื่นรมย์ใจ
  • 32. เกิดบนสิ่งปฏิกูล ที่เขาทิ้งไว้ไกล้ทางใหญ่ ฉ้นใด Just as on a heap of rubbish Thrown u[on the highway Grows the lotus sweetly fragrant And delighting the heart. 16. เอวํ สงฺการภูเตสุ อนฺธภูเต ปุถุชฺชเน อติดรจติ ปญฺญาย สมฺมาสมิพุทฺธสาวโก ฯ 59 ฯ ท่ามกลางหมู่ปุถุชน ผู้โง่เขลา ผู้เป็นเสมือนสิ่งปฏิกูล พระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรืองด้วยปัญญา ฉันนั้น Even so among those blinded mortals Who are like rubbish, The disciple or the Fully Enligtened one Shines with exceeding glory by his wisdom. หมวดคนพาล - THE FOOL 1. ทีฆา ชาครโต รตฺติ ทีฆํ สนฺตสฺส โยชนํ ทีโฆ พาลาน สํสาโร สทฺธมฺมํ อวิชานตํ ฯ 60 ฯ
  • 33. ราตรีนาน สําหรับคนนอนไม่หลับ ระยะทางโยชน์หนึ่งไกล สําหรับผู้ล้าแล้ว สังสารวัฎยาวนาน สําหรับคนพาล ผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม Long is the night to the wakeful, Long is the Yojana to the weary, Long is Samsara to the foolish Who know not the true doctrine. 2. จรญฺเจ นาะคจฺเฉยฺย เสยฺยํ สทิสมตฺตโน เอกจริยํ ทฬฺหํ กยิรา นตฺถิ พาเล สหายตา ฯ 61 ฯ หากแสวงหาไม่พบเพื่อนที่ดีกว่าตน หรือเพื่อนที่เสมอกับตน ก็พึงเที่ยวไปคนเดียว เพราะมิตรภาพ ไม่มีในหมู่คนพาล If, as he fares, he finds no companion Who is better or equal, Let him firmly pursue his solitary course; There is no fellowship with the foot. 3. ปุตฺตา นตฺถิ ธน มตฺถิ อิติ พาโล วิหญฺญติ อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ กุโต ปุตฺตา กุโต ธนํ ฯ 62 ฯ
  • 34. คนโง่มัวคิดวุ่นวายว่า เรามีบุตร เรามีทรัพย์ เมื่อตัวเขาเองก็ไม่ใช่ของเขา บุตรและทรัพย์จะเป็นของเขาได้อย่างไร 'I have some, I have wealth'; So thinks the food and is troubled. He himeself is not his own. How then are sons,how wealth? 4. โย พาดล มญฺญติ พาลยฺยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส พาโล จ ปณฺฑิตามานี ส เว พาโลติ วุจฺจติ ฯ 63 ฯ คนโง่ รุ้ตัวว่าโง่ ยังมีทางเป็นบัณฑิตได้บ้าง แต่โง่แล้ว อวดฉลาด นั่นแหละเรียกว่าคนโง่แท้ A fool aware of his stupidity Is in so far wise, But the fool thinking himself wise Is called a fool indeed. 5. ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล ปณฺฑิตํ ปฏิรุปาสติ น โส ธมฺมํ วิชานาติ ทพฺพิ สูปรสํ ยถา ฯ 64 ฯ
  • 35. ถึงจะอยุ่ใกล้บัณฑิต เป็นเวลานานชั่วชีวิต คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่ เหมือนจวักไม่รู้รสแกง Though through all his life A fool associates with a wise man, He yet understands not the Dhamma, As the spoon the flavour of soup. 6. มุหุตฺตมฺปิ เจ วิญฺญู ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ ชิวหา สูปรสํ ยถา ฯ 65 ฯ ปัญญาชน คบบัณฑิต แม้เพียงครู่เดียว ก็พลันรู้แจ้งพระธรรม เหมือนลิ้นรู้รสแกง Though,for a moment only, An intelligent man associates with a wise man, Quickly he understands the Dhamma, As the tougue the flavour of soup. 7. จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธา อมิตฺเตเนว อติตนา กโรนฺตา ปาปกํ กมฺมํ ยํ โหติ กฎุกปฺผลํ ฯ 66 ฯ
  • 36. เหล่าคนพาล ปัญญาทราม ทําตัวเองให้เป็นศัตรูของตัวเอง เที่ยวก่อแต่บาปกรรรมที่มีผลเผ็ดร้อน Fools of little wit Behave to themselves as enemies, Doing evil deeds The fruits wherof are bitter. 8. น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ ยสฺส อสฺสุมุโข โรทํ วิปากํ ปฏิเสวติ ฯ 67 ฯ กรรมใดทําแล้วทําให้เดือดร้อนภายหลัง อีกทั้งทําให้ร้องไห้นํ้าตานอง รับสนองผลของการกระทํา กรรมนั้นไม่ดี That deed is not well done, After doing which one feels remorse And the fruit whereof is received With tears and lamentations. 9. ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ ยส์ส ปตีดต สุมโน วิปากํ ปฏิเสวติ ฯ 68 ฯ
  • 37. กรรมใดทําแล้ว ไม่เดือดร้อนภายหลัง ทั้งผู้กระทําก้เบิกบานสําราญใจ ได้เสวยผลของการกระทํา กรรมนั้นดี Well done is thst deed which, done, brings no regret; The fruit whereof is received The fruit whereof is received With delight and satisfaction. 10. มธุวา มญฺญตี พาดล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ พาโล ทุกฺขํ นิคจฺฉติ ฯ 69 ฯ ตลอดระยะเวลาที่บาปยังไม่ให้ผล คนพาลสําคัญบาปหวานปานนํ้าผึ้ง เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้นเขาย่อมได้รับทุกข์ An evil deed seems sweet to the fool so long as it does not bear fruit; but when it ripens, The fool comes to grief. 11. มาเส มาเส กุสคฺเคน พาโล ภุญฺเชถ โภชนํ
  • 38. น โส สงฺขาตธมฺมานํ กลํ อคฺฆติ โสฬสึ ฯ 70 ฯ คนพาล ถึงจะบําเพ็ญตบะ โดยเอาปลายหญ้าคาจิ้มอาหารกิน ทุกเดืน การปฏิบัติของเขาไม่เท่าหนึ่งในสิบหกส่วน ของการปฏิบัติของท่านผู้บรรลุธรรม Month after month the fool may eat his food With the tip of Kusa srass; Nonetheless he is not worth the sixteenth part Of those who have well understoood the Truth. 12. น หิ ปาปํ กตํ กมฺมํ สชฺชุ ขีรํว มุจฺจติ ฑหนฺติ พาลมเนฺวติ ภสฺมาจฺฉนฺโนว ปาวโก ฯ 71 ฯ กรรมชั่วที่ทําแล้ว ยังไม่ให้ผลทันทีทันใด เหมือนนมรีดใหม่ ๆ ไม่กลายเป็นนมเปรี้ยวในทันที แต่มันจะค่อย ๆ เผาผลาญผู้กระทําในภายหลัง หมือนไฟไหม้แกลบ An evil deed committed Does not immediately bear fruit, Just as milk curdles not at once; Smouldering life covered by ashes, It follows the fool.
  • 39. 13. ยาวเทว อนติถาย ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ มุทฺธมสฺส วิปาตยํ ฯ 72 ฯ คนพาลได้ความรู้มา เพื่อการทําลายถ่ายเดียว ความรู้นั้น ทําลายคุณความดีเขาสิ้น ทําให้มันสมองของเขาตกตํ่าไป The fool gains knowledge Only for his ruin; It destroys his good actions And cleaves his head. 14. อสนฺตํ ภาวมิจฺเฉยฺย ปุเรกฺขารญฺจ ภิกฺขุสุ อาวาเสสุ จ อิสฺสริยํ ปูชา ปรกุเลสุ จ ฯ 73 ฯ ภิกษุพาล ปรารถนาชื่อเสียงเกียรติยศที่ไม่เหมาะ อยากเป็นใหญ่กว่าพระภิกษุทั้งหมด อยากเป็นเจ้าอาวาส อยากได้รับบูชาสักการะจากชาวบ้านทั้งหลาย A foolish monk desires undue reputation, Precedence among monks, Authority in the monasterics, Honour among other families.
  • 40. 15. มเมว กต มญฺญนฺตุ คิหี ปพฺพชิตา อุโภ มเมว อติวสา อสฺสุ กิจฺจาจฺเจส กิสฺมิจิ อิติ พาลสฺส สงฺกปฺโป อิจฺฉา มาโน จ วฑฺฒติ ฯ 74 ฯ "ขอให้คฤหัสถ์ และบรรพชิต จงสําคัญว่า เราเท่านั้นทํากิจนี้ ขอให้เขาเหล่านั้นอยู่ในบังคับบัญชาของเรา ไม่ว่ากิจการใหญ่หรือเล้ก" ภิกษุพาล มักจะคิดใฝ่ฝันเช่นนี้ ความทะเยอทะยาน และวามหยิ่งก้พลอยเพิ่มขึ้น 'Let both laymen and monks think, By me only was this done; In every work,great or small, Let them refer to me .' Such is the ambitin of the fool; His desire and pride increase. 16. อญฺญา หิ ลาภูปนิสา อญฺญา นิพฺพานคามินี เอวเมตํ อภิญฺญาย ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก สกฺการํ นาภนนฺเทยฺย วิเวกมนุพฺรูหเย ฯ 75 ฯ ทางหนึ่งแสวงหาลาภ ทางหนึ่งไปนิพพาน
  • 41. รู้อย่างนี้แล้ว ภิกษุพุทธสาวก ไม่ควรไยดีลาภสักการะ ควรอยู่อย่างสงบ One is the way to worldly gain; To Nibbana another leads. Clearly realizing this, The bhikkh,disciple of the Buddha, Should not delight in worldly favour, But devote himself to solitude. หมวดบัณฑิต - The Wise ๑. ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม กาเม ปนูท พฺราหฺมณ สงฺขารานํ ขยํ ญตฺวา อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณ ฯ ๓๘๓ ฯ พราหมณ์เอย ท่านจงพยายามหยุดกระแส (ตัณหา) และบรรเทากามทั้งหลายเสีย พราหมณ์เอย เมื่อท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย ท่านก็จะรู้สิ่งที่ไม่ปรุงแต่ง (นิพพาน) Strive and stop the stream of craving, Discrad, O brahmana, sense-desires. Knowing conditioned things, brahmana, You will know the Unconditioned. ๒. ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ
  • 42. อภสฺส สพฺเพ สํโยคา อฏฺฐํ คจฺฉนฺติ ชานโต ฯ ๓๘๔ ฯ เมื่อใดพราหมณ์ข้ามถึงฝั่งโน้น (นิพพาน) ด้วยการปฏิบัติธรรมทั้งสอง (สมถะและวิปัสนา) เมื่อนั้นเครื่องผูกพันทั้งปวง ของเขาผู้รู้จริงย่อมสิ้นไป When depending on the twofold means, A brahmana has reached the Other Shore, Then of that one who knows, All fetters remain no more. ๓. ยสฺส ปารํ อปารํ วา ปาราปารํ น วิชฺชติ วีตทฺทรฺ วิสํยุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ณ ๓๘๕ ฯ ผู้ใดไม่มีฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น หรือไม่มีทั้งสองฝั่ง ไม่มีความกระวนกระวายใจ เป็นอิสระ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ For whom there exists Neither the Hither nor the Father Shore, Nor both the Hither and the Farther Shore, He who is undistressed and unbound- Him do I call a brahmana.
  • 43. ๔. ฌายึ วิรชมาสีนํ กตกิจฺจํ อนาสวํ อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๘๖ ฯ ผู้ใดบําเพ็ญฌาน ปราศจากกิเลส อยู่คนเดียว หมดกิจที่จะพึงทํา หมดอาสวะ ลุถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ Meditative, dwelling alone, Free from passion taint, Having done what should be done, Devoid of all corruptions, And having reached the Highest Goal- Him do I call a brahmana ๕. ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ รตฺติมาภาติ จนฺทิมา สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ ฌายี ตปติ พฺราหฺมโณ อถ สพฺพมโหรตฺตึ พุทฺโธ ตปติ เตชสา ฯ ๓๘๗ ฯ พระอาทิตย์ สว่างกลางวัน พระจันทร์ สว่างกลางคืน นักรบสง่างามเมื่อสวมเกราะเตรียมรบ พราหมณ์ สง่างามเมื่อเข้าฌาน แต่พระพุทธเจ้าสง่างามทั้งกลางวันกลางคืน
  • 44. By day the sun shines. By night the moon is bright. Armoured shines the warrior. In meditation the brahmana glows. But all day and all night, The Buddha shines in splendour. ๖. พาหิตปาโป หิ พฺราหฺมโณ สมจริยา สมโณติ วุจฺจติ ปพฺพาชยมตฺตโน มลํ ตสฺมา ปพฺพชิโตติ วุจฺจติ ฯ ๓๘๘ ฯ ผู้ที่ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะละบาปได้ ชื่อว่าสมณะ เพราะมีจรรยาสงบ ชื่อว่าบรรพชิต เพราะละมลทินได้ Without evil he is called a brahmana. He who lives in peace is called a samana. With all impurities gone, A pabbajita is he called. ๗. น พฺราหฺมณสฺส ปหเรยฺย นาสฺส มุญฺเจถ พฺราหฺมโณ ธิ พฺราหฺมณสฺส หนฺตารํ ตโต ธิ ยสฺส มุญฺจติ ฯ ๓๘๙ ฯ ไม่ควรรังแกพราหมณ์ (นักบวช) และพราหมณ์ก็ไม่ควรแสดงความโกรธตอบ คนที่รังแกพราหมณ์ เป็นคนน่าตําหนิ แต่พราหมณ์ผู้โกรธตอบ น่าตําหนิกว่า One should not strike a brahmana, Nor such a brahmana vent his wrath on him.
  • 45. Woe to him who strikes a brahamana. More woe to him who gives way to his wrath. ๘. น พฺราหฺมณสฺเสตทกิญฺจิ เสยฺโย ยทา นิเสโธ มนโส ปิเยหิ ยโต ยโต หึสมโน นิวตฺตติ ตโต ตโต สมฺมติเมว ทุกฺขํ ฯ ๓๙๐ ฯ ไม่มีอะไรจะดีสําหรับพราหมณ์ เท่ากับหักห้ามใจจากปิยารมณ์ เมื่อใดเขาไม่เบียดเบียนคนอื่น เมื่อนั้น ความทุกข์ก็สงบ Naught is better for a brahmana. Than restraint of mind from what is dear. Whenever his ill will has been put aside, Then and then only his sorrow subsides. ๙. ยสฺส กาเยน วาจาย มนสา นตฺถิ ทุกฺกฏํ สํวุตํ ตีหิ ฐาเนหิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๑ ฯ ผู้ใดไม่มีความชั่วทางกาย วาจา ใจ สํารวมระวังทั้งสามทวาร ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ He in whom there is no evil done, Through body speech or mind, He who is restrained in the three ways- Him do I call a brahmana. ๑๐. ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
  • 46. สกฺกจฺจํ ตํ นมสฺเสยฺย อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณ ฯ ๓๙๒ ฯ เมื่อรู้ธรรมที่พุทธเจ้าทรงแสดง จากบุคคลใด ควรเคารพนอบน้อมบุคคลนั้น เหมือนพราหมณ์บูชาไฟ From whom one knows the Truth Sublime Which the Awakened One proclaimed, Devotedly should one revere him, As a brahmana tends the sacrificial fire. ๑๑. น ชฏาหิ น โคตฺเตน น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ โส สุจี โส จ พฺราหฺมโณ ฯ ๓๙๓ ฯ มิใช่เพราะมุ่นชฏา มิใช่เพราะโคตร มิใช่เพราะกําเนิด (ที่ดี) ที่ทําคนให้เป็นพราหมณ์ ใครก็ตามมีสัจจะและทรงธรรม ย่อมจะบริสุทธิ์ลํ้าและเป็นพราหมณ์ Not by matted hair, nor by clan, nor by birth, Does one become a brahmana. In whom there are truth and righteouseness, Pure is he, a brahmana is he. ๑๒. กึ เต ชฏาหิ ทุมฺเมธ กึ เต อชินสาฏิยา อพฺภนฺตรํ เต คหณํ พาหิรํ ปริมชฺชสิ ฯ ๓๙๔ ฯ
  • 47. เจ้าโง่เอ๋ย ผมยาว หนังสัตว์ จะมีประโยชน์อะไรสําหรับเจ้า ภายนอกเจ้าสะอาดสดใส แต่ภายในเจ้ารกรุงรัง What use of your matted hair, O foolish one? And what of your entelope-garment? Full of impurities is your mind, You embellish only the outside. ๑๓. ปํสุกูลธรํ ชนฺตุํ กิสํ ธมนิสนฺถตํ เอกํ วนสฺมึ ฌายนฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๕ ฯ ผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผอมจนเห็นแต่เส้นเอ็น บําเพ็ญฌานในป่าเปลี่ยวคนเดียว เราเรียกว่า พราหมณ์ Clad in rag-robes and lean, With body overspread by veins, Meditationg in the forest alone- Him do I call a brahmana. ๑๔. น จาหํ พฺราหฺมณํ พฺรูมิ โยนิชํ มตฺติสมฺภวํ โภวาที นาม โส โหติ ส เว โหติ สกิญฺจโน อกิญฺจนฺ อนาทานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๖ ฯ
  • 48. เพียงเกิดในตระกูลพราหมณ์ หรือมีมารดาเป็นพราหมณ์ เราไม่เรียกเขาว่า พราหมณ์ หากเขายังมีกิเลสอยู่ เขาก็เป็นพราหมณ์แต่ชื่อ ผู้ใดหมดกิเลสไม่ยึดมั่นถือมั่น ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ I do not call him a brahmana Merely because he is born of a womb Or sprung from a brahmani. If he is full of impediments, He is merely a brahmana by name. He who is free from impediments and clinging- Him do I call a brahmana. ๑๕. สพฺพสญฺโญชนํ เฉตฺวา โย เว น ปริตสฺสติ สงฺคาติคํ วิสํยุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๗ ฯ ผู้ใดตัดกิเลสเครื่องผูกพันได้หมดสิ้น ไม่หวาดกลัว หมดพันธะ เป็นอิสระจากเครื่องจองจําคือกิเลส ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ He who has cut off all bonds, He who trembles not, He who is free and unbound- Him do I call a brahmana. ๑๖. เฉตฺวา นทฺธึ วรตฺตญฺจ
  • 49. สนฺทานํ สหนุกฺกมํ อุกฺขิตฺตปลิฆํ พุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๘ ฯ ผู้ที่ตัดชะเนาะ (ความโกรธ) เชือกหนัง (ตัณหา) เชือกป่าน (ความเห็นผิด) พร้อมทั้งอนุสัยกิเลส ถอดลิ่มสลัก (อวิชชา) รู้แจ้งอริยสัจแล้ว เราเรียกว่า พราหมณ์ He who has cut off the strap (of hatred), The thong (of craving), The rope (of heresies), Together with all tendencies: He who has thrown up the cross-bar (ignorance) And has realized the Truth- Him do I call a brahmana. ๑๗. อกฺโกสํ วธพนฺธญฺจ อทุฏฺโฐ โย ติติกฺขติ ขนฺติพลํ พลานีกํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๓๙๙ ฯ ผู้ใดไม่โกรธ ทนต่อการด่า และการลงโทษจองจํา มีขันติเป็นกําลังทัพ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ He who is not wrathful Bears reviling, blows and bonds, Whose power, the potent army, is patience- Him do I call a brahmana.
  • 50. ๑๘. อกฺโกธนํ วตวนฺตํ สีลวนฺตํ อนุสฺสทํ ทนฺตํ อนฺติมสารีรํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๐ ฯ ผู้ใดไม่มักโกรธ ทรงศีลพรต หมดกิเลสฝึกฝนตน มีชีวิตอยู่ในโลกนี้เป็นครั้งสุดท้าย ผู้นั้น เราเรียกว่า พราหมณ์ He who is free from anger, He who is dutiful and righteous, He who is without craving, and controlled; And he who bears his final body- Him do I call a brahmana. ๑๙. วาริ โปกฺขรปตฺเตว อารคฺเคริว สาสโป โย น ลิปฺปติ กาเมสุ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๑ ฯ ผู้ใดไม่ติดในกาม เหมือนหยาดนํ้าไม่ติดใบบัว และเมล็ดผักกาดไม่ติดปลายเข็ม ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ Like water on a lotusleaf, Like a mustard seed on a needle's point, He who clings not to sensual pleasures- Him do I call a brahmana.
  • 51. ๒๐. โย ทุกฺขสฺส ปชานาติ อิเธว ขยมตฺตโน ปนฺนภารํ วิสํยุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๒ ฯ ผู้รู้วิธีดับทุกข์ของตนได้ในโลกนี้ หมดภาระแบกหามกิเลส เป็นอิสระจากกิเลส เราเรียกว่า พราหมณ์ He who has realized in this world The destruction of his own ill, Who has put aside the burden and is freed- Him do I call a brahmana. ๒๑. คมฺภีรปญฺญํ เมธาวึ มคฺคามคฺคสฺส โกวิทํ อุตฺตมตฺถํ อนุปฺปตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๓ ฯ ผู้มีปัญญาลึกซึ้ง หลักแหลม ฉลาดเลือกทางผิดทางชอบ บรรลุถึงจุดหมายปลาทางอันอุดม เราเรียกว่า พราหมณ์ He whose wisdom is deep, Who is wise and skilled In the right and wrong means, Who has reached the Highest Goal- Him do I call a brahmana.
  • 52. ๒๒. อสํสฏฺฐํ คหฏฺเฐหิ อนาคาเรหิ จูภยํ อโนกสารึ อปฺปิจฺฉํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๔ ฯ ผู้ไม่คลุกคลีกับบุคคลทั้งสองฝ่าย คือคฤหัสถ์และบรรพชิต จรไปคนเดียว ไม่ติดถิ่น มักน้อย เราเรียกว่า พราหมณ์ He who is not intimate With both householder and homeless, Who with no fixed abode Wanders, wanting but little- Him do I call a brahmana. ๒๓. นิธาย ทณฺฑํ ภูเตสุ ตเสสุ ถาวเรสุ จ โย น หนฺติ น ฆาเตติ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๕ ฯ ผู้งดเบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ไม่ฆ่าเอง ไม่สั่งให้คนอื่นฆ่า เราเรียกว่า พราหมณ์ He who has given up harming creatures, Whether feeble or strong, Who neither kills nor causes to kill- Him do I call a brahmana. ๒๔. อวิรุทฺธํ วิรุทฺเธสุ อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุตํ
  • 53. สาทาเนสุ อนาทานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๖ ฯ ผู้ไม่ดุร้าย กลางกลุ่มชนผู้ดุร้าย สงบ กลางกลุ่มชนผู้ทารุณ ไม่ยึดมั่นกลางกลุ่มผู้ยึดมั่น เราเรียกว่า พราหมณ์ Friendly among the hostile, Peaceful among the violent, Ungrasping among the grasping- Him do I call a brahmana. ๒๕. ยสฺส ราโค จ โทโส จ มาโน มกฺโข จ ปาติโต สาสโปริว อารคฺคา ตมหํ พฺรูมิ พฺราหมณํ ฯ ๔๐๗ ฯ ความกําหนัด ความขัดเคือง ความหยิ่ง ความดูถูกบุญคุณคนอื่น หมดไปจากผู้ใด เหมือนเมล็ดผักกาด ตกไปจากปลายเข็ม ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ In whom lust, hatred, pride And detraction are fallen off, As a mustard seed from the needle's point- Him do I call a brahmana. ๒๖. อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ คิรํ สจฺจํ อุทีรเย ยาย นาภิสเช กญฺจิ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๘ ฯ
  • 54. ผู้พูดถ้อยคํานิ่มนวล แจ่มกระจ่าง สัตย์จริง ไม่กระทบกระทั่งใคร เราเรียกว่า พราหมณ์ He who utters words Gentle, instructive and true, He who gives offence to none Him do I call a brahmana. ๒๗. โยธ ทีฆํ วา รสฺสํ วา อณุํ ถูลํ สุภาสุภํ โลเก อทินฺนํ นาทิยติ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๐๙ ฯ ผู้ใดไม่ขโมยของคนอื่น ไม่ว่าสั้นหรือยาว เล็กหรือใหญ่ ดีหรือไม่ดี ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ He who in this world Takes not what is not given, Be it long or short, Small or great, fair or foul- Him do I call a brahmana. ๒๘. อาสา ยสฺส น วิชฺชนฺติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ นิราสยํ วิสํยุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๐ ฯ
  • 55. ผู้ใดไม่มีความอยาก ในโลกนี้และโลกหน้า หมดกิเลส เป็นอิสระ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ He who has no longing Either for this world or nexto world, Who is detached and emancipated- Him do I call a brahmana. ๒๙. ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺติ อญฺญาย อกถํกถี อมโตคธํ อนุปฺปตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๑ ฯ ผู้ใดหมดตัณหา หมดสงสัย เพราะรู้แจ้งจริง ลุถึงอมตนิพพานแล้ว ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์ He who has no more longing, Who through knowledge is free from doubts, Who has plunged deep into the Deathless- Him do I call a brahmana. ๓๐. โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ อุโภ สงฺคํ อุปจฺจคา อโสกํ วิรชํ สุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๒ ฯ ผู้ละบุญละบาปได้ พ้นกิเลสผูกพัน
  • 56. ไม่โศก ไม่มีกิเลส บริสุทธิ์ เราเรียกว่า พราหมณ์ He who has passed beyond Good and bad and attachment, Who is sorrowless, stainless and pure- Him do I call a brahmana. ๓๑. จนฺท ว วิมลํ สุทฺธํ วิปฺปสนฺนํ อนาวิลํ นนฺทิภวปริกฺขีณํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๓ ฯ ผู้บริสุทธิ์ เหมือนจันทร์แจ่ม สงบ ผ่องใส หมดความพอใจในภพ เราเรียกว่า พราหมณ์ He who is pure as the spotless moon, He who is serene and clear, He who has ended delight in existence- Him do I call a brahmana. ๓๒. โย อิมํ ปลิปถํ ทุคฺคํ สํสารํ โมหมจฺจคา ติณฺโณ ปารคโต ฌายี อเนโช อกถํกถี อนุปาทาย นิพฺพุโต ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๔ ฯ ผู้ข้ามสงสารวัฏ และโมหะ อันเป็นทางหล่มที่ข้ามได้แสนยากนี้ ลุถึงฝั่งโน้น เป็นนักกรรมฐาน
  • 57. หมดตัณหา หมดความสงสัย หมดความยึดมั่น บรรลุนิพพาน เราเรียกว่า พราหมณ์ He who has passed beyond This quagmire, this difficult path, The ocean (of life) and delusion, Who has crossed and gone beyond, Who is meditative, desireless and doubtless, Who, clinging to nought, has attained Nibbana- Him do I call a brahmana. ๓๓. โยธ กาเม ปหตฺวาน อนาคาโร ปริพฺพเช กามภวปริกฺขีณํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ๔๑๕ ฯ ผู้ละกามารมณ์ ออกบวชไม่มีเรือน หมดความใคร่ในภพ เราเรียกว่า พราหมณ์ He who, giving up sensual pleasures, Would renounce and become a homeless one, Who has removed the lust of becoming- Him do I call a brahmana. ๓๔. โยธ ตณฺหํ ปหตฺวาน อนาคาโร ปริพฺพเช ตณฺหาภวปริกฺขีณํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๖ ฯ
  • 58. ผู้ละตัณหา ออกบวชไม่มีเรือน หมดความอยากในภพ เราเรียกว่า พราหมณ์ He who, giving up craving, Would renounce and become a homeless one, Who has destroyed the craving for existence- Him do I call a brahmana. ๓๕. หิตฺวา มานุสกํ โยคํ ทิพฺพํ โยคํ อุปจฺจคา สพฺพโยควิสํยุตฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๗ ฯ ผู้ละเครื่องผูกพัน ทั้งของมนุษย์และเทวดา หมดเครื่องผูกพันทุกชนิด คนเช่นนี้เราเรียกว่า พราหมณ์ He who, discarding human ties, And transcending celestial ties, Is completely freed from all ties- Him do I call a brahmana. ๓๖. หิตฺวา รติญฺจ อรติญฺจ สีติภูตํ นิรูปธึ สพฺพโลกาภิภุํ วีรํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๘ ฯ ผู้ละความยินดีและความไม่ยินดี เย็นสนิท หมดอุปธิ (กิเลส)
  • 59. อาจหาญ ชนะโลกทั้งมวล เราเรียกว่า พราหมณ์ He who has given up delight and aversion, Who is cooled and without attachments, Strenous and victorious over the world- Him do I call a brahmana. ๓๗. จุตึ โย เวทิ สตฺตานํ อุปปตฺติญฺจ สพฺพโส อสตฺตํ สุคตํ พุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๙ ฯ ผู้รู้จุติ และปฏิสนธิ ของสัตว์ทั้งหลายโดยละเอียด ผู้ไม่ขัดข้อง ไปดี ตรัสรู้ธรรม เราเรียกว่า พราหมณ์ He who perfectly understands The rise and fall of all beings, Who is detached, well-hone and enlightened- Him do I call a brahmana. ๓๘. ยสฺส คตึ น ชานนฺติ เทวา คนฺธพฺพมานุสา ขีณาสวํ อรหนฺตํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๐ ฯ เทวดา คนธรรพ์ และมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ทราบทางไปของผู้ใด ผู้เป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ ผู้นั้นเราเรียกว่า พราหมณ์
  • 60. He whose way is unknown To hods, gandharvas and men, Who has destroyed all defilements And who has become enlightened- Him do I call a brahmana. ๓๙. ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ มชุเฌ จ นตฺถิ กิญฺจนํ อกิญฺจนํ อนาทานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๑ ฯ ผู้ไม่มีความยึดถือทั้งเบื้องต้น (อดีต) ท่ามกลาง (ปัจจุบัน) ่่ที่สุด (อนาคต) ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น เราเรียกว่า พราหมณ์ He who clings not to the past, The present and the future, too, Who has no clinging and grasping- Him do I call a brahmana. ๔๐. อุสภํ ปวรํ วีรํ มเหสึ วิชิตาวินํ อเนชํ นหาตกํ พุทฺธํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๑๒ ฯ มหาฤาษีผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า ชํานะ ปราศจากตัณหา บริสุทธิ์ ตรัสรู้ธรรม เราเรียกว่า พราหมณ์ The fearless, the noble, the hero, The great sage, the conqueror,
  • 61. The desireless, the pure, the enlightened- Him do I call a brahmana. ๔๑. ปุพฺเพนิวาสํ โย เวทิ สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ อโถ ชาติกฺขยํ ปตฺโต อภิญฺญาโวสิโต มุนิ สพฺพโวสิตโวสานํ ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ ๔๒๓ ฯ มุนี ผู้รู้อดีตชาติของตน เห็นสวรรค์และอบาย ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป รู้แจ้งเห็นจริง บําเพ็ญหน้าที่บริบูรณ์แล้ว เราเรียกว่า พราหมณ์ The sage who knows his previous births, Who sees heaven and hell, Who has reached the end of births, Who has attained to insight-wisdom, Who has completed his holy life- Him do I call a brahmana. . หมวดพระอรหันต์ - THE WORTHY 1. คตทฺธิโน วิโสกสฺส วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ
  • 62. สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส ปริฬาโห น วิชฺชติ ฯ 90 ฯ ผู้เดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้ว วิมุติหลุดพ้นโดยประการทั้งปวง หมดโศก หมดเครื่องพัวพันแล้ว ความร้อนใจก็หมดไป For him who has completed his journey, For him who is whooly free from all, For him who has destroyed all bonds, The fever of passion exists not. 2. อุยฺยุญฺชนติ สติมนฺโต น นิเกเต รมนฺติ เต หํสาว ปลฺลวํ หิตฺวา โอกโมกํ ชหนฺติ เต ฯ 91 ฯ ผู้มีสติย่อมขยันขันแข็ง ไม่ยึดติดแหล่งที่อาศัย ละทิ้งไปตามลําดับ เหมือนกับพญาหงส์ทิ้งสระนํ้า The mindeful ones exert themselves, To no abode are they attached; Like swans that quit their pools, Home after home they leave behind. 3.. เยสํ สนฺนิจฺจดย นตฺถิ เย ปริญฺญาตดภชนา สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ วิโมกฺโข เยส โคจโร อากาเสว สกุนฺตานํ คติ เตสํ ทุรนฺวยา ฯ 92 ฯ
  • 63. ท่านที่หมดการสะสม(ปัจจัยหรือกรรมดีกรรรมชั่ว) พิจารณาโภชนะก่อนบริโภค เข้าถึงความหลุดพ้น อันว่างจากกิเลสและไร้นิมิตหมายคือกิเลส บุคคลเช่นนี้ ยากที่สามัญชนขะตามทัน เหมือนนกบินบนท้องฟ้า ตามทันยาก Those for whom there is no accumulation, Who reflect well over their food, Who have perceived void and unconditioned freedom- Their path is hard to trase, Like that of birds in the air. 4. ยสฺสาสวา ปริกฺขีณา อาหาเร จ อนิสฺสิดต สุญฺญโต อนิมิตฺโต จ วิโมกฺโข ยสฺส โคจโร อากาเสว สกุนฺตานํ ปทํ ตสฺส ทุรนฺวยํ ฯ 93 ฯ ผู้หมดกิเลส ไม่เห็นแก่กิน เข้าถึงความหลุดพ้น อันว่างจากกิเลสและไร้นิมิตหมายคือกิเลส บุคคลเช่นนี้มิได้ทิ้งร่องรอยอะไรไว้เลย เหมือนนกบินบนท้องฟ้า หารอยอันใดมิได้. He whose corruptions are destroyed, He who is not attached to food He who has perceived void and unconditioned freedom-
  • 64. His track cannot be traced, Like that of birds in the air. 5. ยสฺสินฺทริยานิ สมถงฺคตานิ อสฺสา ยถา สารถินา สุทนฺตา ปหีนมานสฺส อนาสวสฺส เทวาปิ ตสฺส ปิหยนฺติ ตาทิโน ฯ 94 ฯ ท่านผู้ใดควบคุมอินทรีย์คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ได้ เหมือนม้าที่สารถีควบคุมได้อย่างดี ท่านผู้นี้หมดความไว้ตัว หมดกิเลส มั่นคง ย่อมเป็นที่โปรดปราน แม้กระทั่งของเทวดาทั้งหลาย He whose senes are subdued, Like steeds well-trained by a charioteer; He who is free from pride and corruption- Such a steadfast one even the gods hold dear. 6. ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ อินฺทขีลูปดม ตาทิ สุพฺพโต รหโทว อเปตกทฺทดม สํสารา น ภวนฺติ ตาทิโน ฯ 95 ฯ พระอรหันตฺเปรียบได้กับแผ่นดิน ไม่เคยโกรธขึ้งใคร มีจิตคงที่ เหมือนหลักเมือง มีจรรยาสะอาด เหมือนสระนํ้าที่ใสไร้เปลือกตม ผู้มีคุณสมบัติเห็นปานนี้ ย่อมไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก
  • 65. Like the earth the Worthy One resents not; Like the chief post is he a firm mind; Like an unsullied pool is he of pure conduct; To such a one life's wanderings are no more. 7. สนฺตํ ตสฺส มนํ โหติ สนฺตา วาจา จ กมฺม จ สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส อุปสนฺตสฺส ตาทิโน ฯ 96 ฯ พระอรหันตฺผู้เป็นอิสระเพราะรู้แจ้ง ผู้สงบระงับ และมีจิตมั่นคง ใจของท่าน ย่อมสงบ วาจาก็สงบ การกระทําทางกายก็สงบ Calm is his mind; Calm is his speech; Calm is his bodily action; Perfectly peaceful and equipoised. 8. อสทฺโธ อกตญฺญู จ สนฺธิจฺเฉโท จ โย นโร หตาวกาโส วนฺตาโส ส เว อุตฺตมโปริโส ฯ 97 ฯ ผู้ไม่เชื่อใครง่ายตนกว่าจะพิสูจน์ด้วยตนเอง ๑ ผู้รู้แจ้งพระนิพพาน ๑ ผู้หมดการเวียนว่ายตายเกิด ๑ ผู้หมดโอกาสที่จะทําดีหรือชั่ว ๑
  • 66. ผู้หมดกิเลสที่ทําให้หวัง ๑ ห้าประเภทนี้แล เรียกว่า "ยอดคน" He who is not credulous, He who has realized Nibbana, He who has severed all ties, He who has put an end to opportunity, He who has removed all desires He,indeed,is the greatest of men. 9. คาเม วา ยทิวารญฺเญ นินฺเน วา ยิทวา ถเล ยตฺถารหนฺโต วิหรนฺติ ตํ ภูมิ รามเณยฺยกํ ฯ 99 ฯ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือป่า ไม่ว่าจะเป็นที่ลุ่ม หรือที่ดอน พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด ที่นั้น เป็นที่น่ารื่นรมย์ Whether in village or in forest, Whether in vale or on hill' Wherever the Worthy Ones dwell- Delightful,indeed, is that spot. 10. รมณียานิ อรญฺญานิ ยตฺถ น รมตี ชดน วีตราคา รเมสฺสนฺติ น เต กามคเวสิโน ฯ 99 ฯ
  • 67. ป่าที่คนทั่วไปไม่ชื่นชม เป็นรมณียสถาน สําหรับท่านผู้มหมดราคะ เพราะพระท่านมิได้ใฝ่กามคุณ Delightful are the forests Where worldings find no joy, There the passionless rejoice For they seek no sensual pleasures. หมวดพัน - THE THOUSANDS 1. สหสฺสํ อปิ เจ วาจา อนตฺถปทสญฺหิตา เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ 100 ฯ คําพูดที่เหลวไหลไร้ประโยชน์ตั้งพันคํา ก็สู้คําพูดที่มีประโยชน์คําเดียวไม่ได้ เพราะฟังแล้วทําให้จิตใจสงบ Better than a thounsand useless words Is one beneficial single word, Hearing which one is pacified. 2. สหสฺสํ อปิ เจ คาถา อนตฺถปทสญฺหิตา
  • 68. เอกํ คาถาปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ 101 ฯ บทกวีตั้งพันโศลก แต่ไร้ประโยชน์ ไม่เท่าบทกวีบรรทัดเดียว ที่ทําให้ผู้ฟังได้รับความสงบ Better than a thounsand verses, Comprising useless words, Is one beneficial single line, Hearing which one is pacified. 3. โย จ คาถาสตํ ภาเส อนตฺถปทสญฺหิตา เอกํ ธมฺมปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯ 102 ฯ บทกวีบรรยายธรรมบทเดียว ที่ทําให้ผู้ฟังได้รับความสงบ ประเสริฐกว่าบทกวีที่ท่องจําได้ตั้งร้อยโศลก แต่ไม่มีประโยชน์แม้แต่บทเดียว Should one recite a hundred verses, Comprising useless words, Better is one single word of the Dhamma, Hearing which one is pacified. 4. โย สหสฺสํ สหสฺเสน สงฺคาเม มานุเส ชิเน เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ ส เว สงฺคามชุตฺตโม ฯ 103 ฯ
  • 69. ถึงจะรบชนะข้าศึกเป็นพัน ๆ ราย ก็ไม่นับเป็นยอดขุนพล แต่ผู้ที่เอาชนะจิตใจตน จึงเรียก "ยอดขุนพล" แท้จริง Though one should conquer in battle A thounsand times a thounsand men, Yet should one conquer just oneself One is indeed the greatest victor. 5. อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ยาจายํ อิตรา ปชา อตฺตทนฺตสฺส โปสสฺส นิจฺจํ สญฺญตจาริโน เนว เทโว น คนฺธพฺโพ น มาโร สห พฺรหฺมุนา ชิตํ อปชิตํ กยิรา ตถารูปสฺส ชนฺตุโน ฯ 104-5 ฯ เอาชนะตนได้นั้นแล ประเสริฐ ผู้ที่ฝึกตนได้ ระวังระไวตลอดเวลา ถึงเทวดา คนธรรพ์ และพระพรหม ก็เอาชนะไม่ได้ Better indeed is it to conquer oneself, Neither a god nor a Gandharva Neither Mara nor Brahma Could turn into defeat the victory of one Who is self-madtered and self-controlled.
  • 70. 6. มาเส มาเส สหสฺเสน โย ยเชถ สตํ สมํ เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ มุหุตฺตมฺปิ ปูชเย ยญฺเจว วสฺสตํ หุตํ ฯ 106 ฯ การบูชาท่านผู้ฝึกตน แม้เพียงหนึ่งครั้ง บังเกิดผลมหาศาล ยิ่งกว่าสละทรัพย์บูชายัญเดือนละพัน เป็นเวลาติดต่อกันถึงร้อยปี Though, month after month with a thousand, One should sacrifice for a hundred years, Yet,if, only for a moment, One should honour the self-restrained, That honour, indeed, is better Than a century of sacrifice. 7. โย จ วสฺสสตํ ชนฺตุ อคฺคึ ปริจเร วเน เอกญฺจ ภาวิตตฺตานํ มุหุตฺจมฺปิ ปูชเย สา เยว ปูชนา เสยฺโย ยญฺเจ วสฺสสตํ หุตํ ฯ 107 ฯ การบูชาท่านผู้ฝึกตนแม้เพียงครู่เดียว บังเกิดผลมหาศาล ยิ่งกว่าการบูชาไฟในป่า เป็นเวลาตั้งร้อยปี
  • 71. Though one , for a century, Should tend the fire in the forest, Yet, if ,only for a moment, He should honour the self-restrained, Thai honour,indeed,is better Than a century of sacrifice. 8. ยงฺกิญฺจิ ยิฎฺฐํ ว หุตํ ว โลเก สํวจฺฉรํ ยเชถ ปุญฺญเปกฺโข สพฺพมฺปิ ตํ น จตุภาคเมติ อภิวาทนา อุชุคเตสุ เสยฺโย ฯ 108 ฯ ไม่ว่ายัญชนิดไหน ที่ผู้ใคร่บุญพึงบูชาตลอดปี การบูชายัญนั้นมีค่าไม่เท่าหนึ่งในส่ของการยกมือไหว้ ท่านผู้ปฏิบัติตรงตามอริยมาาคแม้เพียงครั้งเดียว การไหว้บุคคลเช่นนั้นประเสริฐกว่าเป็นไหน ๆ Whatever oblationnns and sacrifices One might offer for a year, Seeking merit thereby, All that is not worth a single quarter Of homage towards the upright Which is far more excellent. 9. อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ฯ 109 ฯ
  • 72. ผู้กราบไหว้ อ่อนน้อมถ่อมตัว ต่อผู้ใหญ่เป็นนิจศีล ย่อมเจริญด้วยคุณธรรมสี่ประการคือ อายุ ชื่อเสียง สุข และกําลัง For one who is in the habit of Ever honouring and respecting the elders, Four qualities increase; Loong life,Fame, happiness and strength. 10. โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุสฺสีโล อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย สีลวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ 110 ฯ ผู้มีศีล มีสมาธิ ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี ของคนทุศีล ไร้สมาธิ Though one should live a hundred years, Without conduct and concentration, Yet,better is a single day's life Of one who is moral and meditative. 11. โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ 111 ฯ