SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
Download to read offline
“เมโสโปเตเมีย” เป็นชื่อเรียกดินแดนที่อยู่ระหว่างแม่นํ้า 2 สาย ใน
ตะวันออกกลาง คือ แม่นํ้าไทกริส(Tigris)และ
ยูเฟรทีส (Euphrates) ปัจจุบันคือ ดินแดนในประเทศอิรัก
ทําความรู้จักกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียมีความหมายครอบคลุมความ
เจริญรุ่งเรืองที่เกิดขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมียและบริเวณรอบๆ ซึ่งเริ่ม
ขึ้นเมื่อประมาณปี 3000 ก่อนคริสต์ศักราช หรือ 5000 ปีมาแล้ว กลุ่ม
ชนที่มีส่วนสร้างสรรค์อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ได้แก่ พวกสุเมเรียน
บาบิโลเนียน แอลซีเรียน แคลเดียน ฮิตไทต์ ฟิ นีเชียน เปอร์เซีย และ
ฮิบรู ซึ่งได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาปกครองดินแดนนี้ พวกเขารับความ
เจริญเดิมที่สืบทอดมาและพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าขึ้นพร้อมๆ กับ
คิดค้นความเจริญใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย อารยธรรมเมโสโปเตเมียจึง
เจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องและเป็นแบบอย่างที่ดินแดนอื่นๆนําไปใช้สืบต่อมา
ทําความรู้จักกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย(ต่อ)
1.ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
1.1 สภาพภูมิศาสตร์ของดินแดนเมโสโปเตเมีย
1.2 ภูมิปัญญาของกลุ่มชน
สภาพภูมิศาสตร์ของดินแดนเมโสโปเตเมีย
ลักษณะที่ตั้งของดินแดนเมโสโปเตเมียและบริเวณใกล้เคียง มี
ภูมิอากาศร้อนแห้งแล้งและมีปริมาณนํ้าฝนน้อย แต่พอมีเขตที่อุดม
สมบูรณ์อยู่บ้างเรียกว่า “ดินแดนรูปดวงจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ซึ่ง
ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่นํ้าไทกริสและยูเฟรทีสและนํ้าจากหิมะ
ละลายบนเทือกเขาในเขตอาร์เมเนียทางตอนเหนือ ซึ่งพัดพาโคลนตมมา
ทับถมบริเวณสองฝั่งแม่นํ้ากลายเป็นปุ๋ ยในการเพาะปลูก
สภาพภูมิศาสตร์ของดินแดนเมโสโปเตเมีย
กลุ่มชนอื่นที่อยู่ใกล้เคียงจึงพยายามขยายอํานาจเข้ามา
ครอบครองดินแดนแห่งนี้ขณะเดียวกันผู้ที่อยู่เดิมก็ต้องสร้างความมั่ง
คงและแข็งแกร่งเพื่อต่อต้านศัตรูที่มารุกรานจึงมีการสร้างกําแพงเมือง
และคิดค้นอาวุธยุทโธปกรณ์ในการทําศึกสงครามเช่น อาวุธ รถม้าศึก
ฯลฯ
ที่ตั้งของดินแดนเมโสโปเตเมียสามารถติดต่อกับดินแดนอื่นได้
สะดวกทั้งทางด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอ่าวเปอร์เซีย จึงมีการ
ติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนความเจริญกับดินแดนอื่นอยู่เสมอ ทําให้
เกิดการผสมผสานและสืบทอดอารยธรรม
ภูมิปัญญาของกลุ่มชน
อารยธรรมเมโสโปเตเมียเกิดจากภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยใน
ดินแดนแห่งนี้การคิดค้นและพัฒนาความเจริญเกิดจากความจําเป็นที่ต้อง
เอาชนะธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดการจัดระเบียบในสังคมและความต้อง
การขยายอํานาจ แบ่งได้ดังนี้
1. การเอาชนะธรรมชาติ
2. การจัดระเบียบในสังคม
3. การขยายอํานาจ
ภูมิปัญญาของกลุ่มชน(ต่อ)
การเอาชนะธรรมชาติ
แม้ว่าดินแดนเมโสโปเตเมียจะได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่นํ้า
ไทกริสและยูเฟรติส แต่ก็มีนํ้าท่วมเป็นประจําทุกปี ส่วนบริเวณที่ห่างฝั่ง
แม่นํ้ามักแห้งแล้ง ชาวสุเรียนจึงคิดค้นระบบชนประทานเป็นครั้งแรก
ประกอบด้วยทํานบป้ องกันนํ้าท่วม คลองส่งนํ้า และอ่างเก็บนํ้า อนึ่ง ใน
เขตที่อยู่อาศัยของพวกสุเมเรียนไม่มีวัสดุก่อสร้างที่แข็งแรงคงทน
ชาวสุเมเรียนจึงคิดหาวิธีทําอิฐจากดินแดนและฟาง ใช้อิฐก่อสร้าง
สถานที่ต่างๆ รวมทั้งกําแพงเมือง นอกจากนี้ยังใช้ดินเหนียวเป็นวัสดุ
สําคัญในการประดิษฐ์อักษรรูปลิ่มด้วย
ภูมิปัญญาของกลุ่มชน(ต่อ)
การจัดระเบียบในสังคม
เมื่อมีความเจริญเติบโตและมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น การอยู่กันเป็น
ชุมชนจึงจําเป็ นต้องมีระเบียบและกฎเกณฑ์ของสังคม ได้แก่ การ
แบ่งกลุ่มชนชั้นในสังคมเพื่อกําหนดหน้าที่และสถานะ การจัดเก็บภาษี
เพื่อนํารายได้ไปใช้พัฒนาความเจริญให้แก่ชุมชน การออกกฎหมายเพื่อ
เป็นเครื่องมือในการปกครอง เช่น ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูรา
บีแห่งบาบิโลเนีย ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็ นกฎหมายแม่บทของโลก
ตะวันตก
ภูมิปัญญาของกลุ่มชน(ต่อ)
การขยายอํานาจ
ความยิ่งใหญ่ของชนชาติที่ปกครองดินแดนเมโสโปเตเมียส่วน
หนึ่งเกิดจากการขยายอํานาจเพื่อรุกรานและครอบครองดินแดนอื่น เช่น
พวกแอสซีเรียนสามารถสถาปนาจักรวรรดิแอสซีเรียนที่เข้มแข็งได้
เพราะมีเทคโนโลยีทางการทหารที่ก้าวหน้าและน่าเกรงขาม โดย
ประดิษฐ์คิดค้นอาวุธสงครามและเครื่องมือต่างๆ รวมทั้งยุทธวิธีในการ
ทําสงคราม เช่น ดาบเหล็ก หอกยาว ธนู ฯลฯ ซึ่งต่อมาถูกนําไปใช้
แพร่หลายในทวีปยุโรป
2. การหล่อหลอมอารยธรรมของชนชาติต่างๆในเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมในดินแดนเมโสโปเตเมียไม่ได้เกิดขึ้นโดยการ
สร้างสรรค์ของชนชาติใดชาติหนึ่ง โดยเฉพาะดังเช่นอารยธรรมอื่น
หากแต่มีชนชาติต่างๆ ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองและสร้างความ
เจริญ แล้วหล่อหลอมรวมเป็นอารญธรรมเมโสโปเตเมีย
2. การหล่อหลอมอารยธรรมของชนชาติต่างๆในเมโสโปเตเมีย(ต่อ)
สุเมเรียน (Sumerian)
สุเมเรียนเป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเขตซูเมอร์
หรือบริเวณตอนใต้สุดของแม่นํ้าไทกริสและยูเฟรทีส ซึ่งติดกับปากอ่าว
เปอร์เซียเมื่อประมาณ 5000 ปีมาแล้ว พวกสุเมเรียนได้พัฒนาความ
เจริญรุ่งเรืองที่ก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยธรรมอียิปต์
เช่น
- ประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์มหรืออักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียวแล้ว
นําไปเผาไฟ
- การคํานวณ
- การพัฒนามาตราชั่ง ตวง วัด
2. การหล่อหลอมอารยธรรมของชนชาติต่างๆในเมโสโปเตเมีย(ต่อ)
สุเมเรียน (Sumerian)
1. - การทําปฏิทิน
- การใช้แร่โลหะ
- การคิดค้นระบบชลประทานเพื่อส่งเสริมการกสิกรรม
- การก่อสร้างสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นที่ประทับของเทพเจ้า
ฯลฯ
ทําให้นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่าอารยธรรมโลกเริ่มต้นที่เขตซู
เมอร์
2. การหล่อหลอมอารยธรรมของชนชาติต่างๆในเมโสโปเตเมีย(ต่อ)
สุเมเรียน (Sumerian)
ชาวสุเมเรียนอยู่รวมกันเป็นนครรัฐเล็กๆ หลายแห่ง เช่น เมือง
เออร์ เมืองอูรุก เมืองคิช และเมืองนิปเปอร์ แต่ละแห่งไม่มีกษัตริย์หรือ
เจ้าผู้ครองนคร เพราะพวกสุเมเรียนเชื่อว่าพวกเขามีเทพเจ้าคุ้มครอง จึง
มีเพียงพระหรือนักบวชเป็นผู้ทําพิธีบูชาเทพเจ้าและจัดการปกครองใน
เขตของตน อย่างไรก็ตาม การที่นครรัฐต่างๆ ล้วนเป็นอิสระต่อกันทําให้
ไม่สามารถรวมกันเป็ นปึ กแผ่นได้ ดินแดนของพวกสุเมเรียนจึงถูก
รุกรานจากชนกลุ่มอื่น คือพวกแอคคัดและอมอไรต์
อมอไรท์ (Amorties) พวกอมอไรท์หรือบาบิโลเนียน
เป็นชนเผ่าเซมิติกซึ่งมีถิ่นกําเนิดในแถบตะวันออกกลาง ผู้นําสําคัญ
คือ กษัติรย์ฮัมมูราบีผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งได้สร้างความเข้มแข็งให้แก่จักรวรรดิ
บาบิโลน โดยการทําสงครามขยายดินแดนและจัดทําประมวลกฎหมาย
ของพระเจ้าฮัมมูราบีเพื่อเป็น หลักฐานในการปกครองและจัดระเบียบ
สังคม นอกจากนี้ชาวบิโลเนียนยังสืบทอดความเจริญต่างๆ ของพวกสุ
เมเรียนไว้ เช่น ความเชื่อทางศาสนาซึ่งได้แก่การบูชาเทพเจ้า การ
แบ่งกลุ่มชนชั้นในสังคมเพื่อแบ่งแยกหน้าที่และความสะดวกในการ
ปกครอง
ฮิตไทต์ (Hittites) พวกฮิตไทต์เป็นพวกอินโด-ยูโรเปียน
ที่ อพยพมาจากทางเหนือของทะเลดําเมื่อประมาณปี 2300 ก่อน
คริสต์ศักราช ต่อมาได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในเขตจักรวรรดิบาบิโลน
และเข้าครอบครองดินแดน ซีเรียในปัจจุบันพวกฮิตไทต์สามารถนํา
เหล็กมาใช้ประดิษฐ์อาวุธแบบต่างๆ และจัดทําประมวลกฎหมายเพื่อ
ใช้ควบคุมสังคม โดยเน้นการใช้ความรุนแรงตอบโต้ผู้ที่กระทํา
ความผิด เช่น ให้จ่ายค่าปรับแทนการลงโทษที่รุงแรง อาณาจักรฮิต
ไทต์เสื่อมอํานาจลงในราวปี 1200 ก่อนคริสต์ศักราช
แอลซีเรียน (Assyrians) พวกแอลซีเรียนมีถิ่นฐานอยู่ทาง
ตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย เป็ นชนชาตินักรบที่มีความสารถและ
โหดร้าย จึงเป็ นที่คร้ามเกรงของชนชาติการที่แอลซีเรียนเป็ นชนชาติ
นักรบจึงได้มอบอารยธรรมสําคัญให้แก่ชาวโลกคือการ สร้างระบอบ
ปกครองจักวรรดิที่เข้มแข็ง มีการควบคุมดินแดนที่อยู่ใต้การปกครอง
อย่างใกล้ชิด โดยสร้างถนนเชื่อมติดต่อกับดินแดนเหล่านั้นจํานวนมาก
เพื่อความสะดวกในการเดิน ทัพและติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังมี
ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีทางการทหารและการรบ โดยเฉพาะการ
พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์และการใช้ทหารรับจ้างที่มีประสิทธิภาพสูง
แคลเดียน (Chaldeans) พวกแคลเดียนได้ร่วมกับชน
ชาติอื่นทําลายอํานาจของแอลซีเรียน หลังจากนั้นก็ได้ครอบครอง
ดินแดนส่วนใหญ่ของจักรวรรดิแอสซีเรีย ผู้นําที่ยิ่งใหญ่ของแคลเดียน
คือกษัตริย์เนบูคัดเนซซาร์ ซึ่งสถาปนาจักรวรรดิบาบิโลนขึ้นใหม่และ
รื้อฟื้นความเจริญต่างๆ ในอดีต เช่น การก่อสร้างอาคารที่สวยงาม
โดยเฉพาะการสร้าง “สวนลอยแห่งบาบิโลน” การรื้อฟื้นประมวล
กฎหมายและวรรณกรรมของชาวบาบิโลเนียนรวมทั้งระบบเศรษฐกิจ
และการค้า ดังนั้นนักประวัติศาสตร์จึงเรียกจักวรรดิของพวก
แคลเดียนว่า “จักวรรดิบาบิโลนใหม่”
เปอร์เซีย (Persia) พวกเปอร์เซียเป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียนที่
อพยพมาจากทางเหนือของเทือกเขาคอเคซัส เมื่อราว 1800 ปี ก่อน
คริสต์ศักราชและตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนเปอร์เซียหรือประเทศอิหร่อน
ปัจจุบัน ต่อมาได้ร่วมมือกับพวกแคลเดียนโค่นล้มจักรวรรดิแอลซีเรียนและ
สถาปนา จักรวรรดิเปอร์เซียเมื่อประมาณ 550 ปีก่อนคริสต์ซักราช จากนั้น
ได้ขยายอํานาจเข้ายึดตครองจักรวรรดิบาบิโลนของพวกแคลเดียน ดินแดน
เมโสโปเตเมีย เอเชียไมเนอร์และอียิปต์
ฟีนิเชียน (Phoenicians) ระหว่างปี 1000-700 ปีก่อน
คริสต์ศักราช พวกฟีนิเชียนอาศัยอยู่ในดินแดนฟินิเชียซึ่งเป็นที่ตั้งของ
ประเทศเลบานอนปัจจุบัน และมีการปกครองแบบนครรัฐ พวกฟี นิ
เชียนไม่สามารถขยายดินแดนของตนออกไปได้ จึงดํารงชีวิตด้วยการ
เดินเรือและค้าขายทางทะเลนอกจากมีชื่อเสียงในด้านการค้าแล้ว ชาวฟี
นิเชียนยังมีชื่อเสียงในด้านอุตสาหกรรมต่อเรือชาวฟีนิเชียนจําเป็นต้อง
ใช้เอกสารและหลักฐานในการติดต่อค้าขายจึงได้พัฒนาตัว อักษรขึ้น
จากโบราณของอียิปต์จํานวนรวม 22 ตัว
ฮิบรู (Hebrews) ชาวฮิบรูหรือชาวยิว
เป็ นชนเผ่าเซมิติกที่เร่ร่อนอยู่ในดินแดนต่างๆ เคย
อาศัยอยู่ในเขตซูเมอร์ก่อนที่จะอพยพเข้าไปอยู่
ดินแดนคานาอัน หรือปาเลสไตน์ ในปัจจุบัน ชาวฮิบรู
เป็ นชนชาติที่เฉลียวฉลาดและบันทึกเรื่องราวของ
พวกตนในคัมภีร์ศาสนา ทําให้มีข้อมูลเกี่ยวกับบรรพ
บุรุษของชาวยิวอย่างละเอียด
ชาวยิวมีกฎหมาย วรรณกรรม และศานาของ
ตนเอง ประมวลกฎหมายเรียกว่า “กฎหมายโมเสส”
วรรณกรรมที่สําคัญคือคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งประมวล
กฎหมายเรื่องราวตั้งแต่การกําเนิดของโลกมนุษย์
ความเจริญรุ่งเรืองที่ชนชาติต่างๆ ในดินแดนเมโสโปเตเมีย
คิดค้น หล่อหลอม และสืบทอดต่อกันมา ส่วนใหญ่กลายเป็ น
รากฐานของอารยธรรมตะวันตกที่ชาวยุโรปรับและพัฒนา
ต่อเนื่องเป็นอารยธรรมของมนุษยชาติในปัจจุบัน
จัดทําโดย
1.นายครองบุญญ์ เดชรัตนวิไชย เลขที่ 2
2.นายณพชร เดชรัตนวิไชย เลขที่ 5
3.นางสาวฐิติกานต์ ไชยเดช เลขที่ 19
4.นางสาวณัฏฐา สุวัชรชัยติวงศ์ เลขที่ 20
5.นางสาวณัฐณิชา พูลช่วย เลขที่ 21
6.นางสาวประภัสสร เลิศวาสนา เลขที่ 26
7.นางสาวศศิโสม ผดุงกิ่งตระกูล เลขที่ 36
ม.5/2
เสนอ
คุณครูประยูรศักดิ์ ขวัญสง
ขอบคุณที่รับฟังค่ะ/ครับ

More Related Content

What's hot

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียKran Sirikran
 
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณ
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณบทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณ
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณSupicha Ploy
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4wittawat_name
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียtimtubtimmm
 
อารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตกอารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตกChanapa Youngmang
 
งานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธางานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธาSantichon Islamic School
 
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกพัน พัน
 
อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ Tha WaiHei
 
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)sudoooooo
 
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยาความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยาPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
อารายธรรมอียิปต์โบราญ
อารายธรรมอียิปต์โบราญอารายธรรมอียิปต์โบราญ
อารายธรรมอียิปต์โบราญSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากล
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากลเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากล
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากลSom Kamonwan
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติPatt Thank
 
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์Srinthip Chaiya
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย2
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย2อารยธรรมเมโสโปเตเมีย2
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย2Napatrapee Puttarat
 
พัฒนาการยุโรปสมัยกลาง
พัฒนาการยุโรปสมัยกลางพัฒนาการยุโรปสมัยกลาง
พัฒนาการยุโรปสมัยกลางPannaray Kaewmarueang
 
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนงานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียHercule Poirot
 

What's hot (20)

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
 
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณ
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณบทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณ
บทที่ 2 อารยธรรมของโลกตะวันตกในยุคโบราณ
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย4
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
 
อารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตกอารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตก
 
งานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธางานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธา
 
อารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีกอารยธรรมกรีก
อารยธรรมกรีก
 
อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์
อารยธรรมอียิปต์
 
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
 
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยาความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
 
อารายธรรมอียิปต์โบราญ
อารายธรรมอียิปต์โบราญอารายธรรมอียิปต์โบราญ
อารายธรรมอียิปต์โบราญ
 
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากล
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากลเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากล
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากล
 
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
 
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ
 
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
 
ทวีปยุโรป สังคมศึกษา ม.2
ทวีปยุโรป สังคมศึกษา ม.2 ทวีปยุโรป สังคมศึกษา ม.2
ทวีปยุโรป สังคมศึกษา ม.2
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย2
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย2อารยธรรมเมโสโปเตเมีย2
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย2
 
พัฒนาการยุโรปสมัยกลาง
พัฒนาการยุโรปสมัยกลางพัฒนาการยุโรปสมัยกลาง
พัฒนาการยุโรปสมัยกลาง
 
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนงานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 

Similar to เมโสโปเตเมีย

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย(Mesopotemia)2
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย(Mesopotemia)2อารยธรรมเมโสโปเตเมีย(Mesopotemia)2
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย(Mesopotemia)2itsadaphon
 
อารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตกอารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตกChanapa Youngmang
 
อารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตกอารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตกChanapa Youngmang
 
ต้นกำเนิดอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย
ต้นกำเนิดอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมียต้นกำเนิดอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย
ต้นกำเนิดอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมียhmiw
 
อารยธรรมของโลกยุคโบราณและยุคแบบแก้แล้ว
อารยธรรมของโลกยุคโบราณและยุคแบบแก้แล้วอารยธรรมของโลกยุคโบราณและยุคแบบแก้แล้ว
อารยธรรมของโลกยุคโบราณและยุคแบบแก้แล้วkittiyawir
 
Mesopotamia civilization
Mesopotamia civilizationMesopotamia civilization
Mesopotamia civilizationthan khan
 
ยุโรป วารสาร v1.2 [37 หน้า]
ยุโรป  วารสาร v1.2 [37 หน้า]ยุโรป  วารสาร v1.2 [37 หน้า]
ยุโรป วารสาร v1.2 [37 หน้า]ssuserd22157
 

Similar to เมโสโปเตเมีย (7)

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย(Mesopotemia)2
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย(Mesopotemia)2อารยธรรมเมโสโปเตเมีย(Mesopotemia)2
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย(Mesopotemia)2
 
อารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตกอารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตก
 
อารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตกอารยธรรมตะวันตก
อารยธรรมตะวันตก
 
ต้นกำเนิดอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย
ต้นกำเนิดอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมียต้นกำเนิดอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย
ต้นกำเนิดอารยธรรมสมัยเมโสโปเตเมีย
 
อารยธรรมของโลกยุคโบราณและยุคแบบแก้แล้ว
อารยธรรมของโลกยุคโบราณและยุคแบบแก้แล้วอารยธรรมของโลกยุคโบราณและยุคแบบแก้แล้ว
อารยธรรมของโลกยุคโบราณและยุคแบบแก้แล้ว
 
Mesopotamia civilization
Mesopotamia civilizationMesopotamia civilization
Mesopotamia civilization
 
ยุโรป วารสาร v1.2 [37 หน้า]
ยุโรป  วารสาร v1.2 [37 หน้า]ยุโรป  วารสาร v1.2 [37 หน้า]
ยุโรป วารสาร v1.2 [37 หน้า]
 

เมโสโปเตเมีย