SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
PLOIID’’BOX P l o y c h a n o k  L i m s a t h a p o r n p o n g present
Creative Commons  CC C r e a t i v e  C o m m o n s  C r e a t i v e  C o m m o n s  C r e a t i v e  C o m m o n s  :)
•  ครีเอทีฟคอมมอนส์  คือ สัญญาอนุญาตเผยแพร่ที่เกิดขึ้นเป็นทางเลือก ให้แก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน  และอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปดัดแปลง ทำซ้ำได้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ระบบเปิดที่กำลังฮิตมาก บนโลกอินเตอร์เน็ต เพราะมันคือการให้คนได้แบ่งปันความคิดและวัตถุดิบที่มี  สู่ผู้คนอื่นๆ ในวงกว้าง ให้ข้อมูลได้ไหลเวียนในสังคม ซึ่งครอบคลุมไปถึง งานเพลง  งานภาพเคลื่อนไหว งานเขียน หรือภาพถ่าย  CC – Creative Commons
“ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การนำ  CC  มาใช้  ลิขสิทธิ์ยังเป็นของเจ้าของ หรือผู้สร้างสรรค์อยู่  คนที่นำไปใช้ ต้องให้เครดิตกับเจ้าของงานด้วย  ถือเป็นเรื่องความชอบธรรม ที่ควรทำ และต้องยอมรับ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ”  -- ข้อคิดจาก เครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย
เป้าหมายของครีเอทีฟคอมมอนส์คือ การอนุญาตให้คนทั่วโลกสามารถเผยแพร่  จัดแสดง ทำซ้ำ และโพสงานต่าง ๆ ลงในเว็บไซต์ได้  ตราบใดที่พวกเขาปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้กำหนด ดังตัวอย่างข้างต้น
ครีเอทีฟคอมมอนส์พยายามสร้าง  “ พื้นที่ตรงกลาง ”  ที่อยู่ระหว่างโลกสองขั้ว คือโลกแห่งการควบคุมที่สงวนลิขสิทธิ์  100%   อย่างเคร่งครัดจนบั่นทอนแรงจูงใจที่จะรังสรรค์งานใหม่ ๆ  ( ซึ่งเป็นปัญหาของอเมริกาในปัจจุบัน )  และโลกแบบอนาธิปไตยที่คนไร้จรรยาบรรณและความรับผิดชอบ  ไม่มีใครเคารพในลิขสิทธิ์ซึ่งกันและกัน  ( ซึ่งเป็นปัญหาที่เมืองไทยเราอาจกำลังประสบอยู่ )
พูดอีกนัยหนึ่งคือ สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของคนทุกคนที่เข้าใจว่านวัตกรรมและไอเดียใหม่ ๆ เกิดจากการต่อยอดไอเดียที่มีอยู่เดิม รูปแบบสัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ช่วยให้ผู้สร้างงานสามารถรักษา ลิขสิทธิ์ไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็อนุญาตให้คนอื่นใช้งานชิ้นนั้นภายใต้เงื่อนไขที่ผู้สร้างเป็นคนกำหนดเอง
กล่าวโดยสรุป สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ ช่วยให้ผู้สร้างสามารถเผยแพร่งานในลักษณะ  “ สงวนลิขสิทธิ์บางประการ ”  ได้ไม่ต้องสงวนสิทธิ์ทั้ง 100%   หรืออุทิศงานให้เป็นสมบัติสาธารณะ
ถึงแม้ว่าจะเป็น  “ สัญญา ”  ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในทุกประเทศที่มีกฎหมายลิขสิทธิ์  ( เพราะเป็นเงื่อนไขที่เจ้าของลิขสิทธิ์กำหนดเอง )  สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ก็เป็นสัญญาที่เข้าใจง่าย สำหรับทุกคนที่ไม่ใช่นักกฎหมาย เพราะแต่ละรูปแบบมีถึงสามฉบับ  ได้แก่ สัญญาฉบับอ่านง่าย  ( สำหรับคนทั่วไป ) ,  สัญญาฉบับกฎหมาย  ( สำหรับการนำไปใช้ในกระบวนการยุติธรรม เช่น เมื่อเกิดคดีฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ ) ,  และสัญญาฉบับภาษาคอมพิวเตอร์  ( สำหรับให้โปรแกรมท่องเว็บต่าง ๆ เช่น เสิร์ชเอ็นจิ้นของกูเกิ้ล  “ อ่าน ”  ออกโดยอัตโนมัติ )
สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์มีเงื่อนไขหลักสี่ข้อ ผู้สร้างงานสามารถเลือกใช้ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อรวมกันก็ได้ ได้แก่  “ ยอมรับสิทธิของผู้สร้าง ”  ( Attribution ) , “ ไม่ใช้เพื่อการค้า ”  ( Noncommercial ) ,  “ ไม่แก้ไขต้นฉบับ ”  ( No Derivative Works ) ,  “ ใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน ”  ( Share Alike )  ต่อไปนี้ผู้เขียนจะลองอธิบายความหมายของเงื่อนไขหลักสี่ข้อดังกล่าว โดยใช้กรณีสมมุติว่าคุณเป็นคนถ่ายรูปตึกช้างในกรุงเทพฯ ที่สวยมากรูปหนึ่ง และอยากเผยแพร่งานนี้ในเว็บไซต์ของคุณโดยใช้สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์
ถ้าคุณอยากให้ใครก็ตามที่นำรูปตึกช้างของคุณไปใช้  ( เช่น โพสในเว็บของเขา )  ให้เครดิตว่าคุณเป็นคนถ่าย  และอ้างอิงที่มาว่ามาจากเว็บของคุณ คุณก็ควรเลือกใช้เงื่อนไขแบบ  “ ยอมรับสิทธิของผู้สร้าง ”  ( Attribution )  หลังจากที่คุณโพสรูปบนเว็บของคุณและแปะป้ายสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์แบบนี้ไว้ข้าง ๆ แล้ว  ใครก็ตามที่อ่านสัญญาอนุญาตในเว็บของคุณก็จะรู้ว่า  เขาไม่จำเป็นต้องติดต่อคุณก่อนที่จะนำรูปไปใช้  เขาเพียงแต่ต้องระบุชื่อของคุณอย่างชัดเจน  และลิ้งก์กลับไปหาสัญญาอนุญาตของคุณเท่านั้น
ถ้าคุณไม่อยากให้คนอื่นเอางานของคุณไปขาย คุณก็สามารถเลือกใส่เงื่อนไข  “ ไม่ใช้เพื่อการค้า ”  ( Noncommercial )  เข้าไปในสัญญาอนุญาต เงื่อนไขนี้แปลว่าใครก็ตามที่ต้องการใช้รูปถ่ายตึกช้างของคุณเพื่อการค้า เช่น เป็นรูปประกอบในหนังสือเรื่องตึกระฟ้าที่จะพิมพ์ขาย จะต้องมาขออนุญาตคุณก่อน  ( ซึ่งในกรณีนั้นคุณก็จะมีโอกาสต่อรองเรื่องส่วนแบ่งกำไรหรือค่าตอบแทน ถ้าคุณสนใจจะหารายได้จากรูปของคุณ )
เงื่อนไขหลักอีกข้อที่ครีเอทีฟคอมมอนส์มีให้เลือกใช้คือ  “ ไม่แก้ไขต้นฉบับ ”  ( No Derivative Works )  เงื่อนไขนี้อนุญาตให้ทุกคนทำซ้ำ และเผยแพร่รูปถ่ายของคุณได้ ตราบใดที่พวกเขาไม่ดัดแปลงหรือตัดต่อรูปดังกล่าว คุณอาจเลือกใช้เงื่อนไขนี้ถ้าต้องการเผยแพร่รูปที่เป็น  “ ต้นฉบับ ”  จริง ๆ เท่านั้น ดังนั้น สมมุติว่ามีคนต้องการตัดต่อรูปถ่ายตึกช้างเพื่อเอาไปใช้ในงานคอลลาจ  ( collage )  ที่กำลังทำอยู่ คนนั้นก็จะต้องขออนุญาตคุณก่อนที่จะเอารูปไปตัดต่อได้  ( แต่ถ้าอยากทำซ้ำและเผยแพร่ต้นฉบับดั้งเดิมของรูปนี้ก็ไม่ต้องขอ )
เงื่อนไขหลักทั้งสามประการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ใช่เงื่อนไขเฉพาะที่ต้องคุณเลือกแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่เป็น  “ เมนู ”  ที่คุณสามารถเลือกมากกว่าหนึ่งข้อ หรือนำทั้งสามข้อมาผสมผสานกันเพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์มากที่สุด เช่น ถ้าคุณอยากให้คนอื่นนำงานของคุณไปตัดต่อหรือดัดแปลงได้ ตราบใดที่ไม่ใช้เพื่อการค้า และให้เครดิตคุณ คุณก็สามารถระบุเงื่อนไขทั้ง  “ Attribution”  และ  “ Noncommercial”  ในสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ หรือถ้าคุณอยากให้คนอื่นนำรูปตึกช้างของคุณไปขายต่อได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบใดที่ให้เครดิตและไม่ตัดต่อดัดแปลงรูปนั้น คุณก็สามารถระบุ  “ Attribution”  และ  No Derivative Works”  ในสัญญาอนุญาตที่แปะไว้ข้างรูป
เงื่อนไขหลักข้อสุดท้ายที่ครีเอทีฟคอมมอนส์มีให้เลือก คือ  “ ใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน ”  ( Share Alike )  เงื่อนไขนี้หมายความว่า ทุกคนที่นำรูปถ่ายของคุณไปใช้ในการสร้างงานใหม่ จะต้องเผยแพร่งานชิ้นใหม่ของพวกเขาที่มีรูปนั้นเป็นส่วนประกอบภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับที่คุณเลือกใช้ เช่น สมมุติว่าคุณเลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบ  “ Share Alike,” “Attribution”  และ  “ Noncommercial”  ดังนั้น คนที่นำรูปตึกช้างของคุณไปตัดต่อและใช้ในงานคอลลาจจะต้องเผยแพร่งานคอลลาจชิ้นนั้นภายใต้เงื่อนไข  “ Share Alike,” “Attribution”  และ  “ Noncommercial”  ในสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ด้วย นอกจากนี้ ผู้สร้างคอลลาจยังต้องปฏิบัติตามสัญญาอนุญาตดั้งเดิมของคุณ นั่นคือ ให้เครดิตกับคุณในฐานะผู้ถ่ายรูปตึกช้าง และไม่นำคอลลาจนั้นไปขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุณก่อน
ความยืดหยุ่นของเงื่อนไขครีเอทีฟคอมมอนส์ที่สามารถนำมาผสมผสานกันได้ แปลว่ามีสัญญาทั้งหมด  11   รูปแบบด้วยกัน นอกจากนี้ หากผู้สร้างงานไม่ต้องการสงวนลิขสิทธิ์เลย แต่ต้องการมอบงานชิ้นนั้นให้ใครก็ได้ไปใช้ต่อ โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ก็สามารถอุทิศงานชิ้นนั้นให้เป็น  “ สมบัติสาธารณะ ”  ( public domain )  ผ่านเว็บไซต์ครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเท่ากับเป็นการประกาศว่า  “ ไม่ขอสงวนลิขสิทธิ์ใด ๆ ทั้งสิ้น ”
ในโลกที่อุดมการณ์ ความเชื่อ และจุดยืนในประเด็นต่าง ๆ ดูเหมือนจะถูกบีบให้อยู่  “ ขั้ว ”  ใดขั้วหนึ่งเท่านั้น  ( polarized )  โดยมี  “ พื้นที่ตรงกลาง ”  เหลืออยู่น้อยมาก ครีเอทีฟคอมมอนส์เป็นความพยายามที่น่าสรรเสริญ เพราะเป็น  “ ทางออก ”  จากปัญหาลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน โดยส่งเสริมทั้งการสร้างสรรค์โดยต่อยอดงานเก่า และคุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ อันเป็นเจตนารมณ์ดั้งเดิมของผู้ร่างกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ในอดีต อย่างน้อยก็ในอเมริกา ก่อนที่กฎหมายจะถูกบิดเบือนไปอยู่ข้าง  “ คุ้มครอง ”  สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์มากเกินไป  จนบั่นทอนแรงจูงใจที่จะใช้งานในอดีตเพื่อสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ  สำหรับอนาคต
ปัจจุบัน มีงานสร้างสรรค์นับล้าน ๆ ชิ้นที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ และนับวันก็มีแต่จะยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ เพราะครีเอทีฟคอมมอนส์มีประโยชน์ชัดเจนสำหรับผู้สร้างงานที่เชื่อมั่นในพลังของการร่วมมือกัน และ  “ ต่อยอด ”  ความคิดสร้างสรรค์ในอดีตออกไปเป็นงานใหม่ ๆ มูลนิธิครีเอทีฟคอมมอนส์เองก็มุ่งพัฒนาสัญญาอนุญาตอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของผู้สร้างงาน เช่น เมื่อไม่นานมานี้มีการสร้างเงื่อนไข  “ ใช้ในประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น ”  สำหรับผู้สร้างงานในประเทศพัฒนาแล้วที่ปรารถนาจะให้ทุกคนในประเทศกำลังพัฒนานำงานของตนไปใช้ได้ฟรี แต่สงวนสิทธิที่จะเก็บค่าลิขสิทธิ์จากผู้ใช้ที่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว  ( เพราะมีฐานะดีกว่า จึงสมควรจะจ่ายค่าลิขสิทธิ์มากกว่า )
ประเทศไทย เองก็เริ่มมีเว็บไซต์ที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์แล้ว เช่น  Fuse.in.th   นอกจากนั้นก็มีการรวมตัวกันในหมู่ผู้สนใจเป็นทีมงาน เพื่อแปลงสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์เป็นภาษาไทย และให้ใช้บังคับได้ภายใต้ระบบกฎหมายไทย โดยมีสำนักกฎหมายธรรมนิติเป็น  “ เจ้าภาพ ”  ในการแปลงสัญญา ขอเชิญทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างสัญญาฉบับภาษาไทย และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับครีเอทีฟคอมมอนส์ได้ที่  http://cc.in.th/

More Related Content

What's hot (13)

Creative commons2 613 7
Creative commons2 613 7Creative commons2 613 7
Creative commons2 613 7
 
Creative commons1 613 7
Creative commons1 613 7Creative commons1 613 7
Creative commons1 613 7
 
CC
CCCC
CC
 
Cc
CcCc
Cc
 
Creative commons
Creative commonsCreative commons
Creative commons
 
Creative common ( cc )
Creative common ( cc )Creative common ( cc )
Creative common ( cc )
 
Creative commons
Creative commonsCreative commons
Creative commons
 
Creative common
Creative commonCreative common
Creative common
 
Creative Commons and Digital Media
Creative Commons and Digital MediaCreative Commons and Digital Media
Creative Commons and Digital Media
 
Creativecommons
CreativecommonsCreativecommons
Creativecommons
 
Cc
CcCc
Cc
 
Creative commons 24
Creative commons 24Creative commons 24
Creative commons 24
 
Creative Commons
Creative CommonsCreative Commons
Creative Commons
 

Viewers also liked

Anthropocene steampunk
Anthropocene steampunkAnthropocene steampunk
Anthropocene steampunkRoger Whitson
 
Understand Canada health act
Understand Canada health act Understand Canada health act
Understand Canada health act Shaza Ali Attwan
 
Arunan Skanthan - Roll Your own Style Guide
Arunan Skanthan - Roll Your own Style GuideArunan Skanthan - Roll Your own Style Guide
Arunan Skanthan - Roll Your own Style GuideWeb Directions
 
Muellbauer Eurobond Presentation
Muellbauer Eurobond PresentationMuellbauer Eurobond Presentation
Muellbauer Eurobond PresentationBjörn Brügemann
 
Explicativo en Power Point
Explicativo en Power PointExplicativo en Power Point
Explicativo en Power PointEduardo Paredes
 
''Lean'' for Internal Audit
''Lean'' for Internal Audit''Lean'' for Internal Audit
''Lean'' for Internal Auditfmi_igf
 
AD CC and Me: Lessons Learned in Video Accessibility
AD CC and Me: Lessons Learned in Video AccessibilityAD CC and Me: Lessons Learned in Video Accessibility
AD CC and Me: Lessons Learned in Video AccessibilityBilly Gregory
 
National curriculum 2006 classroom teaching
National curriculum 2006 classroom teachingNational curriculum 2006 classroom teaching
National curriculum 2006 classroom teachingNazia Goraya
 
Visita jardin infantil y Sala Cuna Naguilan
Visita jardin infantil y Sala Cuna NaguilanVisita jardin infantil y Sala Cuna Naguilan
Visita jardin infantil y Sala Cuna NaguilanMuseal3
 
Museo Escolar Hugo Gunckel
Museo Escolar Hugo GunckelMuseo Escolar Hugo Gunckel
Museo Escolar Hugo GunckelMuseal3
 

Viewers also liked (18)

Anthropocene steampunk
Anthropocene steampunkAnthropocene steampunk
Anthropocene steampunk
 
Understand Canada health act
Understand Canada health act Understand Canada health act
Understand Canada health act
 
Krugman powerpoint
Krugman powerpointKrugman powerpoint
Krugman powerpoint
 
Comunidad
ComunidadComunidad
Comunidad
 
Arunan Skanthan - Roll Your own Style Guide
Arunan Skanthan - Roll Your own Style GuideArunan Skanthan - Roll Your own Style Guide
Arunan Skanthan - Roll Your own Style Guide
 
Fotos árbol
Fotos árbolFotos árbol
Fotos árbol
 
Basso & costain
Basso & costainBasso & costain
Basso & costain
 
Muellbauer Eurobond Presentation
Muellbauer Eurobond PresentationMuellbauer Eurobond Presentation
Muellbauer Eurobond Presentation
 
Explicativo en Power Point
Explicativo en Power PointExplicativo en Power Point
Explicativo en Power Point
 
ARTA INTELEPCIUNII PART 2
ARTA INTELEPCIUNII PART 2ARTA INTELEPCIUNII PART 2
ARTA INTELEPCIUNII PART 2
 
''Lean'' for Internal Audit
''Lean'' for Internal Audit''Lean'' for Internal Audit
''Lean'' for Internal Audit
 
Soal pbb
Soal pbbSoal pbb
Soal pbb
 
AD CC and Me: Lessons Learned in Video Accessibility
AD CC and Me: Lessons Learned in Video AccessibilityAD CC and Me: Lessons Learned in Video Accessibility
AD CC and Me: Lessons Learned in Video Accessibility
 
Md selim reza
Md selim rezaMd selim reza
Md selim reza
 
Overview of Genotypes and Phenotypes of Thalassemia in Asia
Overview of Genotypes and Phenotypes of Thalassemia in AsiaOverview of Genotypes and Phenotypes of Thalassemia in Asia
Overview of Genotypes and Phenotypes of Thalassemia in Asia
 
National curriculum 2006 classroom teaching
National curriculum 2006 classroom teachingNational curriculum 2006 classroom teaching
National curriculum 2006 classroom teaching
 
Visita jardin infantil y Sala Cuna Naguilan
Visita jardin infantil y Sala Cuna NaguilanVisita jardin infantil y Sala Cuna Naguilan
Visita jardin infantil y Sala Cuna Naguilan
 
Museo Escolar Hugo Gunckel
Museo Escolar Hugo GunckelMuseo Escolar Hugo Gunckel
Museo Escolar Hugo Gunckel
 

Similar to Ploiid wordpress

งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอมkai11211
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1chatchanun
 
Creative common ( cc )
Creative common ( cc )Creative common ( cc )
Creative common ( cc )puriizz
 
แนะนำ ครีเอทีฟคอมมอนส์ [มัณฑนศิลป์ ศิลปากร]
แนะนำ ครีเอทีฟคอมมอนส์ [มัณฑนศิลป์ ศิลปากร]แนะนำ ครีเอทีฟคอมมอนส์ [มัณฑนศิลป์ ศิลปากร]
แนะนำ ครีเอทีฟคอมมอนส์ [มัณฑนศิลป์ ศิลปากร]Arthit Suriyawongkul
 
Creative commons2 613 7
Creative commons2 613 7Creative commons2 613 7
Creative commons2 613 7ayye12345
 
Creative commons2 613 7
Creative commons2 613 7Creative commons2 613 7
Creative commons2 613 7ayye12345
 
Creative common
Creative commonCreative common
Creative commonprimitim
 
Creative Commons: New alternative to copy right media publishing
Creative Commons: New alternative to copy right media publishingCreative Commons: New alternative to copy right media publishing
Creative Commons: New alternative to copy right media publishingBoonlert Aroonpiboon
 
งานคอมCc
งานคอมCcงานคอมCc
งานคอมCcmewaja
 
งานคอมCc
งานคอมCcงานคอมCc
งานคอมCcmewaja
 
งานคอมCc
งานคอมCcงานคอมCc
งานคอมCcmewaja
 
Creative commons
Creative commonsCreative commons
Creative commonspointear
 
C:\documents and settings\hp tablet\desktop\cc13 612
C:\documents and settings\hp tablet\desktop\cc13 612C:\documents and settings\hp tablet\desktop\cc13 612
C:\documents and settings\hp tablet\desktop\cc13 612arpa mo
 

Similar to Ploiid wordpress (20)

Cc
CcCc
Cc
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
Creative common ( cc )
Creative common ( cc )Creative common ( cc )
Creative common ( cc )
 
แนะนำ ครีเอทีฟคอมมอนส์ [มัณฑนศิลป์ ศิลปากร]
แนะนำ ครีเอทีฟคอมมอนส์ [มัณฑนศิลป์ ศิลปากร]แนะนำ ครีเอทีฟคอมมอนส์ [มัณฑนศิลป์ ศิลปากร]
แนะนำ ครีเอทีฟคอมมอนส์ [มัณฑนศิลป์ ศิลปากร]
 
Creative Commons
Creative CommonsCreative Commons
Creative Commons
 
Creative common2
Creative common2Creative common2
Creative common2
 
CC
CCCC
CC
 
Creative common
Creative common Creative common
Creative common
 
Creative
CreativeCreative
Creative
 
Creative commons2 613 7
Creative commons2 613 7Creative commons2 613 7
Creative commons2 613 7
 
Creative commons2 613 7
Creative commons2 613 7Creative commons2 613 7
Creative commons2 613 7
 
Creative common
Creative commonCreative common
Creative common
 
Creative Commons: New alternative to copy right media publishing
Creative Commons: New alternative to copy right media publishingCreative Commons: New alternative to copy right media publishing
Creative Commons: New alternative to copy right media publishing
 
งานคอมCc
งานคอมCcงานคอมCc
งานคอมCc
 
งานคอมCc
งานคอมCcงานคอมCc
งานคอมCc
 
งานคอมCc
งานคอมCcงานคอมCc
งานคอมCc
 
Creative commons
Creative commonsCreative commons
Creative commons
 
C:\documents and settings\hp tablet\desktop\cc13 612
C:\documents and settings\hp tablet\desktop\cc13 612C:\documents and settings\hp tablet\desktop\cc13 612
C:\documents and settings\hp tablet\desktop\cc13 612
 
Creative Commons
Creative CommonsCreative Commons
Creative Commons
 

Ploiid wordpress

  • 1. PLOIID’’BOX P l o y c h a n o k L i m s a t h a p o r n p o n g present
  • 2. Creative Commons CC C r e a t i v e C o m m o n s C r e a t i v e C o m m o n s C r e a t i v e C o m m o n s :)
  • 3. • ครีเอทีฟคอมมอนส์ คือ สัญญาอนุญาตเผยแพร่ที่เกิดขึ้นเป็นทางเลือก ให้แก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน และอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปดัดแปลง ทำซ้ำได้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ระบบเปิดที่กำลังฮิตมาก บนโลกอินเตอร์เน็ต เพราะมันคือการให้คนได้แบ่งปันความคิดและวัตถุดิบที่มี สู่ผู้คนอื่นๆ ในวงกว้าง ให้ข้อมูลได้ไหลเวียนในสังคม ซึ่งครอบคลุมไปถึง งานเพลง งานภาพเคลื่อนไหว งานเขียน หรือภาพถ่าย CC – Creative Commons
  • 4. “ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การนำ CC มาใช้ ลิขสิทธิ์ยังเป็นของเจ้าของ หรือผู้สร้างสรรค์อยู่ คนที่นำไปใช้ ต้องให้เครดิตกับเจ้าของงานด้วย ถือเป็นเรื่องความชอบธรรม ที่ควรทำ และต้องยอมรับ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ” -- ข้อคิดจาก เครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย
  • 5. เป้าหมายของครีเอทีฟคอมมอนส์คือ การอนุญาตให้คนทั่วโลกสามารถเผยแพร่ จัดแสดง ทำซ้ำ และโพสงานต่าง ๆ ลงในเว็บไซต์ได้ ตราบใดที่พวกเขาปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้กำหนด ดังตัวอย่างข้างต้น
  • 6. ครีเอทีฟคอมมอนส์พยายามสร้าง “ พื้นที่ตรงกลาง ” ที่อยู่ระหว่างโลกสองขั้ว คือโลกแห่งการควบคุมที่สงวนลิขสิทธิ์ 100% อย่างเคร่งครัดจนบั่นทอนแรงจูงใจที่จะรังสรรค์งานใหม่ ๆ ( ซึ่งเป็นปัญหาของอเมริกาในปัจจุบัน ) และโลกแบบอนาธิปไตยที่คนไร้จรรยาบรรณและความรับผิดชอบ ไม่มีใครเคารพในลิขสิทธิ์ซึ่งกันและกัน ( ซึ่งเป็นปัญหาที่เมืองไทยเราอาจกำลังประสบอยู่ )
  • 7. พูดอีกนัยหนึ่งคือ สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของคนทุกคนที่เข้าใจว่านวัตกรรมและไอเดียใหม่ ๆ เกิดจากการต่อยอดไอเดียที่มีอยู่เดิม รูปแบบสัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ช่วยให้ผู้สร้างงานสามารถรักษา ลิขสิทธิ์ไว้ แต่ในขณะเดียวกันก็อนุญาตให้คนอื่นใช้งานชิ้นนั้นภายใต้เงื่อนไขที่ผู้สร้างเป็นคนกำหนดเอง
  • 8. กล่าวโดยสรุป สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ ช่วยให้ผู้สร้างสามารถเผยแพร่งานในลักษณะ “ สงวนลิขสิทธิ์บางประการ ” ได้ไม่ต้องสงวนสิทธิ์ทั้ง 100% หรืออุทิศงานให้เป็นสมบัติสาธารณะ
  • 9. ถึงแม้ว่าจะเป็น “ สัญญา ” ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในทุกประเทศที่มีกฎหมายลิขสิทธิ์ ( เพราะเป็นเงื่อนไขที่เจ้าของลิขสิทธิ์กำหนดเอง ) สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ก็เป็นสัญญาที่เข้าใจง่าย สำหรับทุกคนที่ไม่ใช่นักกฎหมาย เพราะแต่ละรูปแบบมีถึงสามฉบับ ได้แก่ สัญญาฉบับอ่านง่าย ( สำหรับคนทั่วไป ) , สัญญาฉบับกฎหมาย ( สำหรับการนำไปใช้ในกระบวนการยุติธรรม เช่น เมื่อเกิดคดีฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ ) , และสัญญาฉบับภาษาคอมพิวเตอร์ ( สำหรับให้โปรแกรมท่องเว็บต่าง ๆ เช่น เสิร์ชเอ็นจิ้นของกูเกิ้ล “ อ่าน ” ออกโดยอัตโนมัติ )
  • 10. สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์มีเงื่อนไขหลักสี่ข้อ ผู้สร้างงานสามารถเลือกใช้ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อรวมกันก็ได้ ได้แก่ “ ยอมรับสิทธิของผู้สร้าง ” ( Attribution ) , “ ไม่ใช้เพื่อการค้า ” ( Noncommercial ) , “ ไม่แก้ไขต้นฉบับ ” ( No Derivative Works ) , “ ใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน ” ( Share Alike ) ต่อไปนี้ผู้เขียนจะลองอธิบายความหมายของเงื่อนไขหลักสี่ข้อดังกล่าว โดยใช้กรณีสมมุติว่าคุณเป็นคนถ่ายรูปตึกช้างในกรุงเทพฯ ที่สวยมากรูปหนึ่ง และอยากเผยแพร่งานนี้ในเว็บไซต์ของคุณโดยใช้สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์
  • 11. ถ้าคุณอยากให้ใครก็ตามที่นำรูปตึกช้างของคุณไปใช้ ( เช่น โพสในเว็บของเขา ) ให้เครดิตว่าคุณเป็นคนถ่าย และอ้างอิงที่มาว่ามาจากเว็บของคุณ คุณก็ควรเลือกใช้เงื่อนไขแบบ “ ยอมรับสิทธิของผู้สร้าง ” ( Attribution ) หลังจากที่คุณโพสรูปบนเว็บของคุณและแปะป้ายสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์แบบนี้ไว้ข้าง ๆ แล้ว ใครก็ตามที่อ่านสัญญาอนุญาตในเว็บของคุณก็จะรู้ว่า เขาไม่จำเป็นต้องติดต่อคุณก่อนที่จะนำรูปไปใช้ เขาเพียงแต่ต้องระบุชื่อของคุณอย่างชัดเจน และลิ้งก์กลับไปหาสัญญาอนุญาตของคุณเท่านั้น
  • 12. ถ้าคุณไม่อยากให้คนอื่นเอางานของคุณไปขาย คุณก็สามารถเลือกใส่เงื่อนไข “ ไม่ใช้เพื่อการค้า ” ( Noncommercial ) เข้าไปในสัญญาอนุญาต เงื่อนไขนี้แปลว่าใครก็ตามที่ต้องการใช้รูปถ่ายตึกช้างของคุณเพื่อการค้า เช่น เป็นรูปประกอบในหนังสือเรื่องตึกระฟ้าที่จะพิมพ์ขาย จะต้องมาขออนุญาตคุณก่อน ( ซึ่งในกรณีนั้นคุณก็จะมีโอกาสต่อรองเรื่องส่วนแบ่งกำไรหรือค่าตอบแทน ถ้าคุณสนใจจะหารายได้จากรูปของคุณ )
  • 13. เงื่อนไขหลักอีกข้อที่ครีเอทีฟคอมมอนส์มีให้เลือกใช้คือ “ ไม่แก้ไขต้นฉบับ ” ( No Derivative Works ) เงื่อนไขนี้อนุญาตให้ทุกคนทำซ้ำ และเผยแพร่รูปถ่ายของคุณได้ ตราบใดที่พวกเขาไม่ดัดแปลงหรือตัดต่อรูปดังกล่าว คุณอาจเลือกใช้เงื่อนไขนี้ถ้าต้องการเผยแพร่รูปที่เป็น “ ต้นฉบับ ” จริง ๆ เท่านั้น ดังนั้น สมมุติว่ามีคนต้องการตัดต่อรูปถ่ายตึกช้างเพื่อเอาไปใช้ในงานคอลลาจ ( collage ) ที่กำลังทำอยู่ คนนั้นก็จะต้องขออนุญาตคุณก่อนที่จะเอารูปไปตัดต่อได้ ( แต่ถ้าอยากทำซ้ำและเผยแพร่ต้นฉบับดั้งเดิมของรูปนี้ก็ไม่ต้องขอ )
  • 14. เงื่อนไขหลักทั้งสามประการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ใช่เงื่อนไขเฉพาะที่ต้องคุณเลือกแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น แต่เป็น “ เมนู ” ที่คุณสามารถเลือกมากกว่าหนึ่งข้อ หรือนำทั้งสามข้อมาผสมผสานกันเพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์มากที่สุด เช่น ถ้าคุณอยากให้คนอื่นนำงานของคุณไปตัดต่อหรือดัดแปลงได้ ตราบใดที่ไม่ใช้เพื่อการค้า และให้เครดิตคุณ คุณก็สามารถระบุเงื่อนไขทั้ง “ Attribution” และ “ Noncommercial” ในสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ หรือถ้าคุณอยากให้คนอื่นนำรูปตึกช้างของคุณไปขายต่อได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบใดที่ให้เครดิตและไม่ตัดต่อดัดแปลงรูปนั้น คุณก็สามารถระบุ “ Attribution” และ No Derivative Works” ในสัญญาอนุญาตที่แปะไว้ข้างรูป
  • 15. เงื่อนไขหลักข้อสุดท้ายที่ครีเอทีฟคอมมอนส์มีให้เลือก คือ “ ใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน ” ( Share Alike ) เงื่อนไขนี้หมายความว่า ทุกคนที่นำรูปถ่ายของคุณไปใช้ในการสร้างงานใหม่ จะต้องเผยแพร่งานชิ้นใหม่ของพวกเขาที่มีรูปนั้นเป็นส่วนประกอบภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับที่คุณเลือกใช้ เช่น สมมุติว่าคุณเลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบ “ Share Alike,” “Attribution” และ “ Noncommercial” ดังนั้น คนที่นำรูปตึกช้างของคุณไปตัดต่อและใช้ในงานคอลลาจจะต้องเผยแพร่งานคอลลาจชิ้นนั้นภายใต้เงื่อนไข “ Share Alike,” “Attribution” และ “ Noncommercial” ในสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ด้วย นอกจากนี้ ผู้สร้างคอลลาจยังต้องปฏิบัติตามสัญญาอนุญาตดั้งเดิมของคุณ นั่นคือ ให้เครดิตกับคุณในฐานะผู้ถ่ายรูปตึกช้าง และไม่นำคอลลาจนั้นไปขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุณก่อน
  • 16. ความยืดหยุ่นของเงื่อนไขครีเอทีฟคอมมอนส์ที่สามารถนำมาผสมผสานกันได้ แปลว่ามีสัญญาทั้งหมด 11 รูปแบบด้วยกัน นอกจากนี้ หากผู้สร้างงานไม่ต้องการสงวนลิขสิทธิ์เลย แต่ต้องการมอบงานชิ้นนั้นให้ใครก็ได้ไปใช้ต่อ โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ก็สามารถอุทิศงานชิ้นนั้นให้เป็น “ สมบัติสาธารณะ ” ( public domain ) ผ่านเว็บไซต์ครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเท่ากับเป็นการประกาศว่า “ ไม่ขอสงวนลิขสิทธิ์ใด ๆ ทั้งสิ้น ”
  • 17. ในโลกที่อุดมการณ์ ความเชื่อ และจุดยืนในประเด็นต่าง ๆ ดูเหมือนจะถูกบีบให้อยู่ “ ขั้ว ” ใดขั้วหนึ่งเท่านั้น ( polarized ) โดยมี “ พื้นที่ตรงกลาง ” เหลืออยู่น้อยมาก ครีเอทีฟคอมมอนส์เป็นความพยายามที่น่าสรรเสริญ เพราะเป็น “ ทางออก ” จากปัญหาลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน โดยส่งเสริมทั้งการสร้างสรรค์โดยต่อยอดงานเก่า และคุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ อันเป็นเจตนารมณ์ดั้งเดิมของผู้ร่างกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ในอดีต อย่างน้อยก็ในอเมริกา ก่อนที่กฎหมายจะถูกบิดเบือนไปอยู่ข้าง “ คุ้มครอง ” สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์มากเกินไป จนบั่นทอนแรงจูงใจที่จะใช้งานในอดีตเพื่อสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ สำหรับอนาคต
  • 18. ปัจจุบัน มีงานสร้างสรรค์นับล้าน ๆ ชิ้นที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ และนับวันก็มีแต่จะยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ เพราะครีเอทีฟคอมมอนส์มีประโยชน์ชัดเจนสำหรับผู้สร้างงานที่เชื่อมั่นในพลังของการร่วมมือกัน และ “ ต่อยอด ” ความคิดสร้างสรรค์ในอดีตออกไปเป็นงานใหม่ ๆ มูลนิธิครีเอทีฟคอมมอนส์เองก็มุ่งพัฒนาสัญญาอนุญาตอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการอันหลากหลายของผู้สร้างงาน เช่น เมื่อไม่นานมานี้มีการสร้างเงื่อนไข “ ใช้ในประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น ” สำหรับผู้สร้างงานในประเทศพัฒนาแล้วที่ปรารถนาจะให้ทุกคนในประเทศกำลังพัฒนานำงานของตนไปใช้ได้ฟรี แต่สงวนสิทธิที่จะเก็บค่าลิขสิทธิ์จากผู้ใช้ที่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว ( เพราะมีฐานะดีกว่า จึงสมควรจะจ่ายค่าลิขสิทธิ์มากกว่า )
  • 19. ประเทศไทย เองก็เริ่มมีเว็บไซต์ที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์แล้ว เช่น Fuse.in.th นอกจากนั้นก็มีการรวมตัวกันในหมู่ผู้สนใจเป็นทีมงาน เพื่อแปลงสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์เป็นภาษาไทย และให้ใช้บังคับได้ภายใต้ระบบกฎหมายไทย โดยมีสำนักกฎหมายธรรมนิติเป็น “ เจ้าภาพ ” ในการแปลงสัญญา ขอเชิญทุกท่านร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างสัญญาฉบับภาษาไทย และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับครีเอทีฟคอมมอนส์ได้ที่ http://cc.in.th/