SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Creative Common License  เป็นสัญญาอนุญาตอีกแบบที่เห็นบ่อยครั้งขึ้นในระยะหลังๆ นอกเหนือจาก  GPL, BSD, MIT, ฯลฯ  ..  มักจะปรากฏกับงานสร้างสรรค์ทางศิลปะเช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ดนตรี ภาพยนตร์ ที่เผยแพร่บนเว็บ เหตุก็เเพราะมันช่วยให้เจ้าของงานสามารถเผยแพร่งานได้ ให้โอกาสผู้อื่นเผยแพร่งาน ใช้ประโยชน์จากงานตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยยังคงรักษาสิทธิ์ในผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลังไว้กับเจ้าของงาน ได้ อาจจะพอเรียกได้ว่ามันอยู่ตรงกลางระหว่าง ลิขสิทธิ์ทั่วไปไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของงานมีสิทธิ์ใช้หรือเผยแพร่ งานโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์ก็ให้อิสระมากเกินไปจนเจ้าของงานอาจเสียผล ประโยชน์ที่ควรจะได้  Key Features
กลไกของ  Creative Common License  ก็คือการแบ่งสิทธิออกเป็นข้อๆ และให้เจ้าของงานเลือกได้ว่าจะคุ้มครองสิทธิ์แต่ละข้ออย่างไร ช่วยให้เจ้าของงานสามารถเผยแพร่งานได้สะดวกขึ้น เป็นไปอย่างที่ตัวเองต้องการมากขึ้น  ..  Creative Common License  ระบุเงื่อนไขได้ทั้งหมดสี่อย่าง ประกอบด้วย
Attribution :  ผู้ใช้จะต้องระบุที่มาของงานว่าต้นฉบับเป็นของใคร  Noncommercial :  ห้ามใช้ทางการค้า  No Derivative works :  ห้ามแก้ไขต้นฉบับ  Share Alike :  ถ้ามีการแก้ไขต้นฉบับ  ( a . k . a  สร้าง  derivative works )  ต้องเผยแพร่ด้วยสัญญาอนุญาตเดิม  เงื่อนไข สี่ข้อนี้ผสมสัญญาอนุญาตที่สมเหตุสมผลได้ทั้งหมด  11   แบบ เพราะเจ้าของงานเลือกการคุ้มครองได้นี่เอง  Creative Common License  จึงมักจะใช้คำว่า  " Some rights reserved "  ซึ่งหมายถึงสิทธิบางอย่างได้รับการคุ้มครองด้วยสัญญาอนุญาตนี้ แทนที่จะเป็น  All rights reserved  เหมือนการระบุลิขสิทธิ์ทั่วไปที่สิทธิ์ทุกอย่างอยู่ที่เจ้าของงานเป็นหลัก
ที่เจ๋งก็คือสัญญาอนุญาตของ  Creative Common License  เขียนออกมาได้สามแบบที่มีความหมายเทียบเท่ากันกัน คือ  Human - Readable Common Deed  ภาษาสำหรับคนทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าให้และห้ามอะไร  Lawyer - Readable Legal Code  ภาษาสำหรับนักกฏหมายอ่านแล้วเข้าใจข้อตกลง มีผลและนำไปใช้ทางกฏหมายได้  Machine - Readable Digital Code  รหัสสำหรับคอมพิวเตอร์  i . e . , search engin
ทีนี้เวลาเผยแพร่งานบนเว็บ  search engine  ก็จะรู้จาก  digital code  ได้ว่าเราเผยแพร่งานแบบไหน ผู้ใช้ก็ค้นหาได้ง่ายขึ้น เมื่อเห็นตัวงานแล้วก็สามารถดูจาก  common deeds  ได้ว่าเราให้และห้ามอะไร และในทางกฏหมายก็สามารถนำ  legal code  ไปใช้งานได้ด้วย  ..  ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่าง  digital code  หลังจากเลือกสัญญาอนุญาตแล้ว
การเลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบใดแบบนึงขึ้นกับเจตนาว่าเราต้องการเผยแพร่งานของ เราอย่างไร ลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองงานโดยผูกขาดสิทธิ์ทุกอย่างกับเจ้าของงานเพียงผู้ เดียว ส่วนสัญญาอนุญาตที่นิยมใช้หลายๆ ตัวจะเน้นเรื่องการเผยแพร่ซอฟต์แวร์  Creative Common License  มีความยืดหยุ่น อีกทั้งมีกลไกที่ช่วยให้เข้าใจและเข้าถึงงานได้ง่ายขึ้น จึงเป็นอีกทางเลือกนึงที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่อยากจะเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อออนไลน์

More Related Content

Similar to Creative Common

Similar to Creative Common (7)

CC
CCCC
CC
 
Cc
CcCc
Cc
 
CC
CCCC
CC
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
Creative common
Creative commonCreative common
Creative common
 
Creativecommons
CreativecommonsCreativecommons
Creativecommons
 

Creative Common

  • 1. Creative Common License เป็นสัญญาอนุญาตอีกแบบที่เห็นบ่อยครั้งขึ้นในระยะหลังๆ นอกเหนือจาก GPL, BSD, MIT, ฯลฯ .. มักจะปรากฏกับงานสร้างสรรค์ทางศิลปะเช่น ภาพวาด ภาพถ่าย ดนตรี ภาพยนตร์ ที่เผยแพร่บนเว็บ เหตุก็เเพราะมันช่วยให้เจ้าของงานสามารถเผยแพร่งานได้ ให้โอกาสผู้อื่นเผยแพร่งาน ใช้ประโยชน์จากงานตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยยังคงรักษาสิทธิ์ในผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลังไว้กับเจ้าของงาน ได้ อาจจะพอเรียกได้ว่ามันอยู่ตรงกลางระหว่าง ลิขสิทธิ์ทั่วไปไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของงานมีสิทธิ์ใช้หรือเผยแพร่ งานโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์ก็ให้อิสระมากเกินไปจนเจ้าของงานอาจเสียผล ประโยชน์ที่ควรจะได้ Key Features
  • 2. กลไกของ Creative Common License ก็คือการแบ่งสิทธิออกเป็นข้อๆ และให้เจ้าของงานเลือกได้ว่าจะคุ้มครองสิทธิ์แต่ละข้ออย่างไร ช่วยให้เจ้าของงานสามารถเผยแพร่งานได้สะดวกขึ้น เป็นไปอย่างที่ตัวเองต้องการมากขึ้น .. Creative Common License ระบุเงื่อนไขได้ทั้งหมดสี่อย่าง ประกอบด้วย
  • 3. Attribution : ผู้ใช้จะต้องระบุที่มาของงานว่าต้นฉบับเป็นของใคร Noncommercial : ห้ามใช้ทางการค้า No Derivative works : ห้ามแก้ไขต้นฉบับ Share Alike : ถ้ามีการแก้ไขต้นฉบับ ( a . k . a สร้าง derivative works ) ต้องเผยแพร่ด้วยสัญญาอนุญาตเดิม เงื่อนไข สี่ข้อนี้ผสมสัญญาอนุญาตที่สมเหตุสมผลได้ทั้งหมด 11 แบบ เพราะเจ้าของงานเลือกการคุ้มครองได้นี่เอง Creative Common License จึงมักจะใช้คำว่า " Some rights reserved " ซึ่งหมายถึงสิทธิบางอย่างได้รับการคุ้มครองด้วยสัญญาอนุญาตนี้ แทนที่จะเป็น All rights reserved เหมือนการระบุลิขสิทธิ์ทั่วไปที่สิทธิ์ทุกอย่างอยู่ที่เจ้าของงานเป็นหลัก
  • 4. ที่เจ๋งก็คือสัญญาอนุญาตของ Creative Common License เขียนออกมาได้สามแบบที่มีความหมายเทียบเท่ากันกัน คือ Human - Readable Common Deed ภาษาสำหรับคนทั่วไปอ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าให้และห้ามอะไร Lawyer - Readable Legal Code ภาษาสำหรับนักกฏหมายอ่านแล้วเข้าใจข้อตกลง มีผลและนำไปใช้ทางกฏหมายได้ Machine - Readable Digital Code รหัสสำหรับคอมพิวเตอร์ i . e . , search engin
  • 5. ทีนี้เวลาเผยแพร่งานบนเว็บ search engine ก็จะรู้จาก digital code ได้ว่าเราเผยแพร่งานแบบไหน ผู้ใช้ก็ค้นหาได้ง่ายขึ้น เมื่อเห็นตัวงานแล้วก็สามารถดูจาก common deeds ได้ว่าเราให้และห้ามอะไร และในทางกฏหมายก็สามารถนำ legal code ไปใช้งานได้ด้วย .. ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่าง digital code หลังจากเลือกสัญญาอนุญาตแล้ว
  • 6. การเลือกใช้สัญญาอนุญาตแบบใดแบบนึงขึ้นกับเจตนาว่าเราต้องการเผยแพร่งานของ เราอย่างไร ลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองงานโดยผูกขาดสิทธิ์ทุกอย่างกับเจ้าของงานเพียงผู้ เดียว ส่วนสัญญาอนุญาตที่นิยมใช้หลายๆ ตัวจะเน้นเรื่องการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ Creative Common License มีความยืดหยุ่น อีกทั้งมีกลไกที่ช่วยให้เข้าใจและเข้าถึงงานได้ง่ายขึ้น จึงเป็นอีกทางเลือกนึงที่น่าสนใจ สำหรับผู้ที่อยากจะเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อออนไลน์