SlideShare a Scribd company logo
การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
สภาการศึกษาจังหวัดกระบี่
มติสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ ในการประชุมเมื่อ 

๖ เมษายน ๒๕๕๕ เห็นว่า สภาควรทำหนังสือให้เป็น
ประโยชน์และเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ในโอกาส ๑๔๐ ปี
กระบี่ โดยตั้งเจตนารมณ์ว่า จะให้เป็นหนังสือสำคัญอีกเล่มหนึ่ง

ของจังหวัดกระบี่ ที่จัดทำในโอกาสดังกล่าว
	 เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ หลากหลายในประเด็นหลักๆ
เช่น การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดม
สมบูรณ์ของธรรมชาติ เป็นต้น... รูปแบบการเขียน 

เป็นทั้งสรุปเนื้อหาที่มีอยู่เดิมให้ง่ายต่อการศึกษายิ่งขึ้น 

การเสนอข้อมูลที่ค้นพบใหม่ ตลอดถึงกรณีศึกษาในเชิง
วิเคราะห์ โดยหลอมรวมข้อมูลเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน...และ
ที่สำคัญยิ่งก็คือ การโยงอดีตให้เป็นบทเรียนของปัจจุบัน
เพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน
	 ขอบคุณคณะกรรมการ ที่ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะ
ขอบคุณนักคิด นักเขียนที่พยายามค้นคว้ารวบรวม และ
ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุนในทุกกรณี
	 หวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะเป็นคุณูปการต่อการศึกษา
ของท้องถิ่นและของประเทศชาติสืบไป

สารนายกสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่
นายชวน ภูเก้าล้วน
พิมพ์ครั้งที่	 	 	 ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕) จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์เผยแพร่โดย	 	 สภาการศึกษาจังหวัดกระบี่
สงวนลิขสิทธิ์	 	 	 สภาการศึกษาจังหวัดกระบี่
ที่ปรึกษา	 	 	 ดร.ชวน ภูเก้าล้วน
	 	 	 นางประหยัด ศรีบุญชู
			 คณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่
บรรณาธิการ	 	 	 รศ.มัณฑนา นวลเจริญ
กองบรรณาธิการ		 	 ว่าที่ร้อยตรีอนุวัตร ไทรทอง
	 	 	 นางจรีรัตน์ ปานพรหมมินทร์
ผู้เรียบเรียง	 	 	 นายพญอม จันนิ่ม
	 	 	 นายกลิ่น คงเหมือนเพชร
	 	 	 รศ.มัณฑนา นวลเจริญ
	 	 	 ว่าที่ร้อยตรีอนุวัตร ไทรทอง
ภาพประกอบ	 	 	 อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี
	 	 	 รศ.มัณฑนา นวลเจริญ
	 	 	 นายประทีป นวลเจริญ
	 	 	 ว่าที่ร้อยตรีอนุวัตร ไทรทอง
	 	 	 นายสุเทพ จันทระ    
	 	 	 นายพิเชษฐ์ คงมานะเกียรติคุณ
	 	 	 นายกิตติวุฒิ จิววุฒิพงค์    
	 	 	 นายนิวัติ วัฒนยมนาพร
	 	 	 นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร   
	 	 	 นายกลิ่น คงเหมือนเพชร
	 	 	 ร้านเจ้าพระยาคัลเลอร์แลบ	 	 	 
(นายชวน ภูเก้าล้วน)
นายกสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่
๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕
Contents
สารบัญ
บทนำ
หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์
ขอบเขตการวิจัย
พื้นที่ในการวิจัย
นิยามศัพท์เฉพาะ
วิธีดำเนินการวิจัย
ประโยชน์ที่จะได้รับ
บทองค์ความรู้การพัฒนาการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
การท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
บทสรุป
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
รายชื่อชุดโครงการวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยว ปี 2547-2552
แบบสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยว
ประวัตินักวิจัย

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 
กระบี่
การศึกษากระบี่…
การวางพื้นฐานอุปนิสัยแห่งกระบี่
เริ่มรุ่ง รัตน-โกสินทร์
ถึงถิ่น น้ำฟ้า ปกาไส
สู่แดน ดาบคม พนมไพร
นานใน น่านฟ้า อันดามัน
	 ๑๔๐ ปี-กระบี่ ...
	 ในร่ม จักรี จรุงขวัญ
	 จากองค์ ปิยะ ราชัน 
	 จวบองค์ จักรพรรดิ์ ภูมิพล
ฟ้าอุ้ม ชุ่มน้ำ ฉ่ำหล้า
ชุ่มฟ้า ชื่นสุข ทุกหน
สืบสาน อารยะ ประชาชน
สืบผล เพิ่มค่า ฟ้าดิน ฯ
“ฟ้าอุ้ม ชุ่มน้ำ ฉ่ำหล้า”
“พญอม”
	 ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕
พญอม จันนิ่ม
การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
Kra
กระบี่
 การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 
กระบี่
	 “การดำเนินนโยบายสร้างที่ทำการกำนันขึ้นทุกตำบลหรือสโมสรเสือป่า แล้ว


กลายมาเป็นที่เล่าเรียนของเด็กในตำบล หมู่บ้าน ก่อนออกใช้พระราชบัญญัติ
ประถมศึกษา ซึ่งจังหวัดกระบี่ดำเนินการได้ครบทุกตำบล ก่อนจังหวัดอื่นๆ ใน
มณฑลภูเก็ต”
	 และเมื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม พบว่า คุณครูที่สอนเด็กคือ “ครูภูมิปัญญาชาวบ้าน” 

ที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นหลัก… วิชาที่สอนเป็นการสอนหนังสือควบคู่กับวิชา

ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เน้นการประกอบอาชีพเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับบันทึก

ความทรงจำอีกตอนหนึ่งที่บ่งว่า “กระบี่ในยุคนั้น ทางบ้านเมืองมีนโยบายให้พัฒนา
อาชีพ พร้อมบุกเบิกที่ทำกินแก่ราษฎร”
	 การศึกษาของกระบี่ในยุคสมัยดังกล่าว จึงดูแตกต่างไปจากจังหวัดอื่นๆ ใน
ยุคเดียวกัน ที่ส่วนใหญ่แล้วจะเรียนหรือสอนหนังสือกันในวัด ที่เรียกกันว่า
“หนังสือวัด” โดยมีพระเป็นครู และเน้น “การสอนหนังสือ” เป็นหลัก
	 การเปิดการเรียนการสอนใน “ที่ทำการกำนัน” ซึ่งปรับสภาพให้เป็น
โรงเรียนไปโดยปริยายนั้น ทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้มีระบบขึ้น ประกอบกับ
ครูที่สอนเป็นฆราวาสที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน วิชาที่สอนหลากหลายขึ้น ผลิตผลจาก
ระบบการศึกษาดังกล่าวที่ลงสู่ประชาชน จึงแปรเป็นพื้นฐานการศึกษาที่หลาย
ประเด็นเป็น “ลักษณะอันพึงประสงค์” แล้วตกผลึกเป็น “อุปนิสัยแห่งกระบี่” 

	 “คุณครูสมบูรณ์ เรืองศรี” อายุ ๑๐๐ ปีเศษ…
คุณครูถือกำเนิดใกล้เคียงกับยุคตั้งเมืองกระบี่
ใหม่ๆ ได้เขียน “บันทึกความทรงจำ” เกี่ยวกับ


การศึกษากระบี่สมัยบุกเบิกไว้ว่า
ที่สืบสานกันมา…แม้บางอุปนิสัยจะเสื่อมถอยลงไปบ้างก็ตาม แต่ก็ยังคงมีร่องรอย
ให้ศึกษาสืบทอดกันได้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีประเด็นที่เป็นกรณีศึกษาดังต่อไปนี้
วิชาอื่นถึงจะรู้อยู่เจนจิต
เมื่อมีกิจตัวสบายก็ง่ายหา
ถ้าตัวไข้แล้วก็ใช่ว่าวิชา
จะไปหามาให้มันไข้กัน
วิชาทำสวนนี้ดีไม่หย่อน
แม้นเรานอนไข้ป่วยม้วยอาสัญ
มันก็ไม่ไข้ป่วยม้วยชีวัน
ผลของมันออกเพ้อเสมอไป
	 นับเป็นปรัชญาหรือแนวคิดทางการศึกษาที่ถือว่าล้ำสมัยมากในยุคนั้น ที่

ค่านิยม “สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง” กำลังเบ่งบาน แต่ปรัชญาการศึกษากระบี่
กลับสวนทางว่า…วิชาการทำสวน (วิชาการสร้างงาน) ดีกว่า “วิชาอื่น” ที่คงหมายถึง

วิชาการหรือวิชาหนังสือ ที่นำไปใช้เป็นเสมียน หรือรับราชการ โดยให้เหตุผลว่า
วิชาหนังสือนั้น ถ้าเราเจ็บไข้ล้มตายจะไม่มีอะไรเหลืออยู่ แต่วิชาการทำสวน หรือ
วิชาการทำงาน วิชาการสร้างงาน จะคงอยู่ “เพ้อ” หรือตลอดไป ไม่เจ็บไข้ล้มตาย
ไปกับเรา
การศึกษากระบี่
	 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ หลักสูตรที่ใช้
อยู่ในปัจจุบัน กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ตอนหนึ่งว่า
	 “มีความรู้และทักษะพื้นฐาน…การประกอบอาชีพ”
	 และกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในข้อที่ ๖ ว่า “มุ่งมั่นใน


การทำงาน” 
	 ซึ่งการเรียนเพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ หรือให้เกิด

ความมุ่งมั่นในการทำงานนั้น การศึกษาของกระบี่เมื่อยุคแรกเริ่มตั้งเมืองกระบี่ ได้
วางพื้นฐานไว้แล้ว ก่อนจะมี พ.ร.บ.ประถมศึกษาด้วยซ้ำ แล้วกลายเป็นปรัชญา

การศึกษาของกระบี่ในช่วงเวลาถัดมา อันปรากฏชัดอยู่ใน “นิราศเมืองกระบี่” ของ
“ขุนสมาน นุกรกิต” ที่เชื่อกันว่าเป็นนักการศึกษาในยุคต้นๆ หลังตั้งเมืองกระบี่แล้ว
ความว่า…
๑. อุปนิสัยการสร้างงาน
การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
Kra
กระบี่
10 การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 11
กระบี่
	 เป็นที่น่าเสียดายว่า อุปนิสัยการทำงานและการสร้างงานที่สร้างสมมาเป็น
อุปนิสัย กำลังจะเหือดหายไป… การใช้แรงงานในกระบี่ปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็น
แรงงานนำเข้าจากต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ คนกระบี่ส่วนใหญ่กลับทำงานไม่เป็น
	 จึงควรกอบกู้อุปนิสัยการทำงานและการสร้างงานให้กลับมาโดยเร่งด่วน  



	 แล้วช่วยกันสืบสานให้ยั่งยืนต่อไป
	 นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง ที่บรรพบุรุษของกระบี่ เมื่อประมาณ
๑๔๐ ปีที่ผ่านมา มีความเชื่อที่กลายมาเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านว่า…
	 การสร้างถานหรือส้วมถวายพระสงฆ์ หรือการปลูกไม้ร่มรื่นไว้ในบริเวณวัด
จะได้บุญกุศลมากกว่าการสร้างพระพุทธรูป
	 ความเชื่อดังกล่าว ปรากฏอยู่ใน “สมุดข่อย” เรื่อง “ไตรภูมิฉบับบ้านกระบี่น้อย” 

ที่แต่งโดยชาวกระบี่ในยุคที่ใกล้เคียงกับการตั้งเมืองกระบี่ที่ “หินขวาง” ซึ่งมี
ข้อความตอนหนึ่งเขียนว่า
	 “ผู้ใดสร้างส้วม ทำการฉลองแล้วถวายสงฆ์จะได้อานิสงส์ ๕ กัป ผู้ใดปลูก
ประดู่ โพธิ์ ไทร ไว้ในอาราม จะได้อานิสงส์ ๔ กัป ผู้ใดสร้างพระปฏิมากร จะได้
อานิสงส์ ๓ กัป” (“กัป” คือ มาตรานับเวลาที่ยาวนานมาก)
	 ข้อความนี้ ได้ปริวรรตเป็นภาษาปัจจุบันแล้ว เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารที่จะ
นำไปสู่การวิเคราะห์ในประเด็นต่อไป
	 ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจว่า สมุดข่อยเล่มนี้ แม้จะแต่งตามรูปแบบไตรภูมิ
พระร่วงของพระยาลิไทในสมัยสุโขทัย แต่เนื้อหาที่ยกมาอ้างอิง หรือสารัตถะที่มุ่ง
ปลูกฝังสั่งสอนจะเชื่อมโยงร่วมสมัยกับชาวกระบี่ในยุคนั้นเป็นประเด็นสำคัญ
	 ข้อความนี้จึงบ่งบอกว่า คนกระบี่ยุคตั้งเมืองกระบี่ที่หินขวาง จนกระทั่งย้ายมา

ปากน้ำในยุคต้นๆ นั้น หวังผลจากการกระทำที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และมุ่งเน้น
สร้างสุขภาวะให้เป็นอุปนิสัย …จะเห็นชัดจากการให้ความสำคัญกับการสร้างส้วมที่
ถูกสุขลักษณะ เพราะสร้างเสร็จ… “ทำการฉลองแล้วถวายสงฆ์”…ที่ว่า “ทำการฉลอง”


ก็คือการนัดหมายทายกทายิกาตลอดถึงพระสงฆ์องค์เณรมาร่วมชื่นชม เพื่อให้
ตระหนักในความสำคัญของส้วมหรือสถานที่ขับถ่าย พร้อมจะดูแลรักษาและพัฒนา
ให้ดียิ่งขึ้น
	 การ “ปลูกประดู่ โพธิ์ ไทร ไว้ในอาราม” เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่แสดงว่า

คนกระบี่มีอุปนิสัยสร้างสรรค์ ส่งเสริมสุขภาวะให้บ้านเมืองร่มรื่น มีอากาศที่ดี 

โดยเฉพาะในสถานที่สาธารณะดังเช่นวัดวาอาราม เป็นต้น
	 อุปนิสัยคนกระบี่ยุค ๑๔๐ ปี ที่ยกมา เป็นสารัตถะที่แทรกแฝงอยู่ใน
วรรณกรรม ซึ่งต้องถอดความออกมาวิเคราะห์จึงจะมองเห็นได้
	 แต่ที่เป็น “ของจริง” มาสนับสนุนแนวคิดข้างต้น คือ ข้อมูลจากหนังสือ
“นิราศเมืองกระบี่” ที่แต่งโดย “ขุนสมานนุกรกิต” ซึ่งผู้แต่งมีอายุอยู่ในยุคเริ่มตั้ง

เมืองกระบี่เช่นเดียวกัน
	 การปลูกไม้ร่มรื่น และการจัดตกแต่งบ้านเรือนของชาวกระบี่ที่ปากน้ำในยุค
ต้นๆ ที่แสดงว่ามีอุปนิสัยรักความสะอาด ร่มรื่น และความเป็นระเบียบเรียบร้อย…

ปรากฏอยู่ในนิราศดังกล่าวชัดเจน เช่น
	 	 มาถึงสวนหวนหายคลายละห้อย
	 	 อารมณ์ค่อยเพลินเพลิดระเหิดเห็น
	 	 ล้วนพืชพรรณสรรสร้างทุกอย่างเป็น
		 แผ่นดินเย็นเขียวชะอุ่มทุกขุมกอ
	 	 	 เมื่อดูสวนล้วนสรรเลือกพรรณสร้าง
	 	 	 มีทุกอย่างส้มสุกปลูกทุกสิ่ง
	 	 	 แล้วแผ้วถางปลุกปล้ำทำจริงจริง
		 	 มิได้ทิ้งที่ทางให้ร้างรก
	 	 เมื่อดูเรือนเรือนนั้นก็เรียบร้อย
	 	 ล้วนชดช้อยเอี่ยมโอไม่โกหก
		 สะอาดดีมิได้มีสกปรก
		 มิให้รกขยะเหลือเป็นเชื้อไฟ
๒. อุปนิสัยรักความสะอาด 
ความร่มรื่น และความเป็น
ระเบียบเรียบร้อย
การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
Kra
กระบี่
12 การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 13
กระบี่
	 และนี่คือ…อุปนิสัยสร้างสรรค์ของบรรพชนกระบี่ที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
	 อุปนิสัยสร้างสรรค์สุขภาวะดังที่วิเคราะห์มา โดยเฉพาะการปลูกไม้ร่มรื่น
หลากชนิดนั้น เป็นเหตุให้ชาวกระบี่ในสมัยต่อมา มีอุปนิสัยอนุรักษ์ธรรมชาติ 

โดยเฉพาะการอนุรักษ์ป่าไม้ เพราะแลเห็นประโยชน์และสุนทรีย์ที่เกิดจากป่าไม้ 

ดังบทกวีของ “หนังกราย พัฒน์จันทร์” ที่ใช้ขับบทหนังลุงหรือโนราเมื่อประมาณ
๘๐ ปีที่ผ่านมา ดังเช่น

	 เข้าในไพรพนมชมพันธุ์ไม้	 ตามเชิงชายบรรพตาภูผาผัน
	 ไม้สักสอมพะยอมสนปนเข้ากัน	 ในเชิงชั้นเชิงชะง่อนสิงขรเนิน
	 ไม้อินทนิลนุ่มเนียนไม้เคียนเหรียง	 ไม้ยุงเหียงยางหอมพะยอมเหิน
	 ไม้แกไกรอยู่กลางหว่างพะเนิน	 ชมเพลินริมทางไม้ซางไทร
	 ทุกพันธุ์ครันครบไม้ขรบขรี	 นนทรีพิกุลไม้หนุนไหน
	 ไม้พอมีพอนไม้หงอนไก่	 พ้นไปแต่นั้นไม้มันตาล
	 ไม้เนียงไม้นนดูต้นซับ	 ไม้พลับทับทิมงอกริมหาน
	 ไม้กอไม้กุนไม้หนุนปาน	 ไม้ส้านไม้แซกไม้แบกเบา
	 ไม้ทังดังข้าวเปล้าเดือยปล้อง	 ไม้พลองกำชำไม้ตำเสา
	 ไม้ท่มไม้โศกไม้โมกเมา	 ไม้เท่าไม้ทงไม้หงแดง
	 ชมชั้นพันธุ์ไม้หลายประเภท	 ไม้เกดไม้ทุ่มไม้ชุมแสง
	 ชมไม้หลายชั้นฉันชี้แจง	 ตามแขวงมรคาสาเพลิดเพลิน
	
	 เป็นบทกวีที่ถ้าไม่มีแรงบันดาลใจจากธรรมชาติป่าไม้อันสวยสดงดงามและ
หลากหลายแล้ว ไม่น่าจะแต่งได้ไพเราะวิจิตรพิสดารถึงปานนี้... เป็นที่น่าเสียดายว่า
สุนทรีย์แห่งป่าเขาลำเนาไพรดังบทกวีนี้ กำลังจะเหือดแห้งหล่นหายไปจากกระบี่
บ้านเรา
	 	 	 ใช้เสาแก่นปลูกกั้นปูกระดาน
	 	 	 จะทนทานนานข้างหน้าเป็นไหนไหน
		 	 สะอาดสะอ้านลานตาข้างหน้าใน
	 	 	 มีครัวไฟแต่งตั้งถึงหลังคา
	 	 ที่หน้าเรือนมีร้านปลูกเถาวัลย์
	 	 ขึ้นพาดพันร่มในใบปกหนา
	 	 ภายใต้มีที่ตั้งกระดานม้า
	 	 ผู้ใดมานั่งสบายคลายรำคาญ
โมกเมา
ยางนา
โมกบ้าน
สนทะเล
สัก
อินทนิลน้ำ
ตะแบก
ทับทิม
ไทรย้อยใบทู่
นนทรี
เนียง
เนียน
เปล้าใหญ่
พลอง
พลับ
พะยอม
พิกุล
มังตาน
เหรียง
การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
Kra
กระบี่
14 การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 15
กระบี่
	 คุณครูสมบูรณ์ เรืองศรี บันทึกความทรงจำ
ไว้อีกตอนหนึ่งว่า...
	 มองย้อนหลังจาก พ.ศ. ๒๔๕๐ ไปสัก
๕๐-๖๐ ปี จะพบว่า สังคมไทยทั่วๆ ไปมิใช่สังคม
แห่งการแข่งขัน แต่เป็นสังคมแห่งการเอื้อเฟื้อ

เผื่อแผ่กัน อาทิ
	 จากอุปนิสัยตระหนักต่อสุขภาวะรักความสะอาด ร่มรื่น ความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย จึงไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ช่วงใดๆ ว่ากระบี่เคยเกิดอหิวาตกโรค
หรือ “ไข้ห่า” ที่ทำให้ล้มตายกันจำนวนมากๆ เพราะปล่อยให้บ้านเรือนเป็น

แหล่งเพาะเชื้อโรคเหมือนกับหลายๆ เมืองในทุกภาคของประเทศไทย ที่เกิดขึ้นเป็น
ส่วนใหญ่ ไม่เว้นแม้แต่กรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองหลวง
	 อุปนิสัยอันพึงประสงค์ดังกล่าว ชาวกระบี่ควรตระหนักและจำเป็นต้อง
“สืบชะตา” หรือ สืบสาน ปลุกวิญญาณอุปนิสัยของบรรพชนให้หวนคืนมา ก่อน
ที่ไม่สามารถจะกู้กลับมาได้อีกต่อไป
	 วัฒนธรรมแห่งความสันโดษ ถือความพอเพียง ไม่โลภมากอยากได้ ปิด
ประตูเก็บไว้จนเหลือเฟือ
	 	 -	แต่ละครัวเรือนถือครองที่ดินอยู่อาศัยครอบครัวละ ๔ ไร่
	 	 -	พื้นบ้าน ๔ ไร่ มีรั้วล้อมรอบขอบชิด จะเป็นรั้วชั่วคราว หรือ ไม้แก่น
ถาวรแล้วแต่ฐานะ
	 	 -	มีประตู (ฉนวน) ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ประตูหลอน” ปิดเปิดได้ตาม
เวลาที่ต้องการ
	 	 -	ภายในรั้วบ้านจะมีคอกสัตว์เลี้ยง (หมู-ควาย) ไว้เป็นสัดส่วน ควาย เมื่อ
เลิกการทำนาจะไล่ต้อนมาขังคอกในบริเวณบ้าน ถึงฤดูทำนาจึงนำไปขังคอกไว้ใน
บริเวณนา เช้าไส่ไปทุ่งหญ้า เย็นกลับมาคอก
	 	 -	ปุ๋ยคอก ใช้เป็นอุปกรณ์ปลูกไม้ยืนต้น ล้มลุก พืชผักที่มีกินมีใช้ครบครัน
อาจพูดกันว่า “มีผักบุ้งใต้บ่อ ลอกอชายไฟ ตอเบาหัวได ลูกเขือชายคา หน่อไม้
ชายดม หอยขมในนา ผักหวายชายป่า หน่อข่าชายรั้ว ฯลฯ” ครบครัน ไม่ต้องซื้อ
มาจากภายนอก หากไม่จำเป็นจริงๆ 
๓. อุปนิสัยสันโดษ...พอเพียง
ตำเสา
กำชำ
ไกร
ขนุนปาน
ซาง
แซะ
ทัง
นน
โศก
ส้าน
ดังข้าว
เดือยปล้อง
ตะเคียนทอง
ก่อ
การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
Kra
กระบี่
16 การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 17
กระบี่
	 	 -	บ้านอื่นที่อยู่ร่วม ก็อยู่เป็นหมู่บ้านใกล้ชิดกัน เหมือนกัน พื้นที่เท่าๆ กัน
หากแต่
	 	 -	เว้นช่องทางพลี เป็นทางสาธารณะ อเนกประสงค์ ใช้เป็นทางสัญจร
ลากเข็น แม้กระทั่งทางหามโลงผีไปป่าช้า ความกว้างมากน้อยตามความจำเป็นของ
การใช้ (ประมาณ ๒-๓ เมตร)
	 	 -	ทุกบ้านปลูกสร้างแบบเรือนไทยภาคใต้
		 -	บ้านชิดใกล้กัน อยู่อย่างสามัคคี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และการป้องกันภัย

ภายนอก
	 	 -	ช่วยเหลือแรงงานในการสร้างบ้านเรือน
	 	 -	ช่วยเหลือกันจัดงานแต่งงาน ทำบุญทางศาสนา
	 	 -	ต่อเรือนชาน ศาลาชั่วคราว เพื่อรับแขกเมื่อมีการจัดงาน	 
	 	 -	การเยี่ยมไข้ด้วยของกินของใช้ที่ควรแก่คนไข้
	 	 -	ช่วยกันตามหาหมอ หาหยูกยา
	 	 -	ช่วยเหลือการงานที่จำเป็นของครอบครัวคนไข้
	 เมื่อมีการตายขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อนบ้านช่วยกัน ในเรื่องต่อไปนี้
	 	 -	ข้าวสาร ๑ ขัน ประมาณ ๑ ลิตร พร้อม เคย เกลือ พริก ตามมีตามเกิด
	 	 -	ช่วยกันจัดหาและต่อโลงศพ
	 	 -	ร่วมกันจัดงานฌาปนกิจ ไม่ทอดทิ้งตั้งต้นจนเสร็จ
	 	 	 ทุกอย่างที่เคยพบเห็น ไม่เคยมีการจ้างงานด้วยเงินทอง
	 บันทึกตอนนี้ บ่งถึงนิสัยพอเพียงที่ชัดเจนมาก... แต่ถ้าดูปี พ.ศ. แล้ว จะเห็นว่า

เป็นอุปนิสัยกระบี่ ที่มีมาตั้งแต่เมืองกระบี่อยู่ที่เมืองปกาไส ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่

หินขวางด้วยซ้ำ ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลพวงจากการศึกษาในยุค ๑๔๐ ปีกระบี่ ซึ่งควร
จะเป็นเช่นนั้น แต่จากข้อมูลที่ศึกษาจากการทำสวนทั่วๆ ไปในสมัยตั้งเมืองกระบี่ที่
หินขวางแล้ว หรือแม้จนถึงย้ายมาอยู่ปากน้ำแล้วก็ตาม การทำสวนแบบ “สมรม”
เหมือนดังที่เคยมีมาตั้งแต่สมัยปกาไส ยังคงมีให้เห็นชัดเจนอยู่ ดังข้อความใน
“นิราศเมืองกระบี่” ที่กล่าวถึงการทำสวนที่ปากน้ำสมัยต้นๆ ว่า

	 	 เมื่อดูสวนล้วนสรรเลือกพรรณสร้าง
	 	 มีทุกอย่างส้มสุกปลูกทุกสิ่ง

	 ซึ่งคือรูปแบบของ “ไร่นาสวนผสม” ที่เป็นลักษณะหนึ่งของการกินอยู่อย่าง
พอเพียงนั่นเอง... อันแสดงว่า เนื้อหาการสร้างอุปนิสัยพอเพียงจากปกาไส ได้รับ
	 การปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาของไทย
ครั้งแรก ก็ใกล้เคียงกับยุคตั้งเมืองกระบี่ใหม่ๆ ที่หินขวาง จุดมุ่งหมายการปฏิรูป

ก็คือมุ่งสร้างความทันสมัยให้กับประชาชนชาวสยาม และที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง

ก็คือ มุ่งหวังจะธำรงไว้ซึ่งเอกราชของแผ่นดินสยาม เพราะเป็นยุคที่สุ่มเสี่ยงต่อ

การตกเป็นอาณานิคมของประเทศจักรวรรดินิยม
	 ฉะนั้น การปลูกฝังความตระหนักต่อความมั่นคงของประเทศจึงเป็นเนื้อหาที่
จะต้องแทรกเข้าไปในกระบวนการเรียนรู้... ตัวอย่าง วีรบุรุษ วีรสตรี ที่เสียสละ
เพื่อชาติในประวัติศาสตร์ก็ถูกยกมาอ้างอิง
	 “ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร” ที่ป้องกันเมืองถลาง จะเป็นกรณีตัวอย่างหนึ่ง

ที่ต้องเล่าสู่กันฟัง พร้อมทั้งแทรกเสริมเข้าไปในบทเรียนเพื่อปลุกใจให้รักและ
หวงแหนเอกราช... กวีในยุคนั้นจะคอยเขียนบทกวีแทรกเสริมการศึกษาให้เป็นไป
ตามนโยบายดังกล่าว เช่น

	 	 	 เมื่อพม่าราวีตีถลาง
	 	 	 เขาล้อมล้างชาวป่าน่าสงสาร
	 	 	 ว่างเจ้าเมืองยังแต่เมียแทบเสียการ
	 	 	 แต่นางท่านใจกล้ายิ่งกว่าชาย
	 	 	 ตั้งประจญรณรบไม่หลบหนี
	 	 	 อุบายตีพม่าแตกวิ่งแหกหาย
	 	 	 อัปยศปลดปลิดชีวิตวาย
	 	 	 ที่เหลือตายล่าทัพหนีกลับไป
การถ่ายทอดผ่านจาก “ที่ทำการกำนัน” ในยุคตั้งเมืองกระบี่แน่นอน
	 อ่านบันทึกความทรงจำของคุณครูสมบูรณ์โดยตลอด นอกเหนือจากมองเห็น
อุปนิสัยพอเพียงของบรรพบุรุษกระบี่แล้ว ยังเห็นอุปนิสัยอันงดงามสร้างสรรค์

อีกหลายประการ ดังเช่น ความมีน้ำใจ ความเสียสละ ความเอื้ออาทรต่อกัน 

การช่วยเหลือกันในยามยาก เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง
เป็นภราดรภาพ ที่ยากจะหาได้จากผืนแผ่นดินใด
	 ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว ก็คืออุปนิสัยของชนชาติไทยนั่นเอง
๔. อุปนิสัยเคารพสิทธิสตรี
การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
Kra
กระบี่
18 การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
 19
กระบี่
	 	 	 ควรยกอย่างอ้างอวดเพราะยวดยิ่ง
	 	 	 ถึงเป็นหญิงสามารถไม่หวาดไหว
	 	 	 โปรดประทานให้เป็นท้าวเจ้าเวียงชัย
	 	 	 ปรากฏในเมืองถลางอ้างตำนาน
	 	 	 จงตั้งจิตคิดดูแต่ผู้หญิง
	 	 	 ยังยงยิ่งยุทธนาแกล้วกล้าหาญ
	 	 	 เพราะรักเจ้าเท่าชีวิตบิตุมารดร์
	 	 	 ออกรอนรานมิได้คิดชีวิตตน
	 	 	 เทพจะช่วยอวยชัยสวัสดี
	 	 	 จึงไม่มีอันตรายเท่าปลายขน
	 	 	 ไม่ใช่ชายแต่ไว้ลายให้โลกยล
	 	 	 ได้ดำกลเถลิงเกียรติกัลป์ปา
“นิราศเมืองกระบี่” ของ “ขุนสมานนุกรกิต”
	 บทกวีนี้มีอรรถรส สามารถจะใช้ปลุกใจได้ดีทีเดียว ทั้งมีลักษณะสร้างสรรค์
ตรงกับความหมายของคำว่า “ดำกล” ที่ปรากฏอยู่ในวรรคสุดท้าย ซึ่งมีความหมาย
โดยนัยว่า งดงามสร้างสรรค์ เพราะการยกย่องความสามารถและสิทธิของสตรีนั้น
เป็นสิ่งที่โลกชื่นชม
	 วิเคราะห์ว่า บทกวีนี้คงได้นำไปถ่ายทอดที่สถานศึกษาในยุคเปิดทำการสอน
อยู่ “ที่ทำการกำนัน” ค่อนข้างแน่นอน พร้อมทั้งเผยแพร่สู่ประชาชนในรูปแบบอื่นๆ
ด้วย จึงทำให้ชาวกระบี่ในยุคนั้นมองเห็นความสำคัญของสุภาพสตรี แล้วนำไปสู่

การส่งเสริมสิทธิสตรีที่ชัดเจนมากในสมัยต่อมาไม่นานนัก ซึ่งปรากฏอยู่ในบันทึก
ความทรงจำของคุณครูสมบูรณ์ เรืองศรี อีกตอนหนึ่งว่า
	 เมื่อมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านขึ้นทุกตำบล (ที่เป็นฝ่ายชาย) แล้ว ฝ่ายหญิงจึงควร
มีสิทธิส่วนบุคคลที่เสมอกันด้วย จึงจัดให้มีการเลือกตั้ง “แม่เฒ่าบ้าน-ฝ่ายหญิง”
ขึ้นมาบ้าง
	 เท่าที่จำได้ บ้านเรา (บางผึ้ง) เลือกผู้หญิงที่เป็นที่เคารพเชื่อถือของหมู่บ้าน
คือ “แม่เฒ่าเกษ เหมือนกุล” และคนต่อมาคือ “แม่เฒ่ากิ้ม บุญเกื้อ” ต่อจากนั้น
ไม่มีการเลือกอีก
	 จะเห็นว่านอกเหนือจากส่งเสริมสิทธิสตรีอย่างสูงสุดถึงปานนั้นแล้ว ยังแสดงถึง

รูปแบบของประชาธิปไตยที่ชัดเจนอีกด้วย
	 และถ้ายิ่งวิเคราะห์ให้ลงลึกไปอีก คำว่า “แม่เฒ่าบ้าน” นั้น คงไม่ได้หมายถึง

อายุ แต่น่าจะหมายถึง “สถานะ” หรือ “ตำแหน่ง” ที่เทียบกับคำว่า “ผู้ใหญ่บ้าน”
ซึ่งเมื่อก่อนเป็นได้แต่ผู้ชาย
	 การใช้คำอันเป็นตำแหน่งว่า “เฒ่า” มาเทียบกับ “ใหญ่” นั้น ถ้าเอาภาษา
ถิ่นใต้บ้านเรามาจับ แสดงว่าเรายกย่องให้เกียรติผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
	 ถ้าดูจากบันทึกนี้แล้ว ความยิ่งใหญ่ของสตรีที่เป็นรูปธรรมชัดเจน จะมีอยู่
เพียง ๒ ชั่วอายุคน แล้วหล่นหายไป
	 เมื่อเมืองกระบี่หมุนมาครบ ๑๔๐ ปี ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีหญิง

คนแรก แถมยังตั้งกองทุนพัฒนาสตรีดูเหมือนจะเป็นจังหวัดละ ๑๐๐ ล้าน
	 สิทธิสตรีกำลังเบ่งบาน... หวังว่า กระบี่บ้านเรา จะเป็นจังหวัดที่ใช้สิทธิ
สตรีอย่างสร้างสรรค์ที่สุด เพราะการยกย่องให้เกียรติสตรีนั้น เป็นอุปนิสัยของ
กระบี่มาร่วม ๑๔๐ ปีแล้ว
การศึกษา	 ประวัติศาสตร์	 โบราณคดี	 ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
Kra
กระบี่
20
กรมศิลปากร. ๒๕๔๒. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และ


	 ภูมิปัญญาจังหวัดกระบี่. คุรุสภา, กรุงเทพฯ.
โครงการภูมิปัญญาทักษิณจากวรรณกรรมและพฤติกรรม. ๒๕๔๔–๒๕๔๗.

	 ไตรภูมิฉบับบ้านกระบี่น้อย. (กลิ่น คงเหมือนเพ็ชร-ปริวรรต). 
พญอม จันนิ่ม. มปป. บทวิทยุกระจายเสียงรายการพูดจาประสาลุงนิ่ม. สถานีวิทยุ

	 กระจายเสียงแห่งประเทศไทย.
สมบูรณ์ เรืองศรี, (อายุ ๑๐๑ ปี) มปป. บันทึกความทรงจำ. 
สมานนุกรกิต. นิราศกระบี่. ๒๕๔๖. (กลิ่น คงเหมือนเพ็ชร, นิวัฒน์ วัฒนยมนาพร.

	 รวบรวม).
เอกสารอ้างอิง

More Related Content

Similar to Part1 140final[1]

03 modelof integration+188
03 modelof integration+18803 modelof integration+188
03 modelof integration+188
Prachoom Rangkasikorn
 
การเขียนบทสารคดี-01
การเขียนบทสารคดี-01การเขียนบทสารคดี-01
การเขียนบทสารคดี-01Apida Runvat
 
วิทยาศาสตร์ศึกษาแบบองค์รวม
วิทยาศาสตร์ศึกษาแบบองค์รวมวิทยาศาสตร์ศึกษาแบบองค์รวม
วิทยาศาสตร์ศึกษาแบบองค์รวมPrachoom Rangkasikorn
 
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิแบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
Surapong Klamboot
 
หนังสืออ้างอิง...
หนังสืออ้างอิง...หนังสืออ้างอิง...
หนังสืออ้างอิง...krujee
 
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
Prachoom Rangkasikorn
 
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-hisแผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
Prachoom Rangkasikorn
 
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
Prachoom Rangkasikorn
 
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-hisแผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-his
Prachoom Rangkasikorn
 
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-hisแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-his
Prachoom Rangkasikorn
 
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
Prachoom Rangkasikorn
 
ห้องสมุด 3 ดี
ห้องสมุด 3 ดีห้องสมุด 3 ดี
ห้องสมุด 3 ดี
teerasak04
 
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญ
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญเล่มที่ 8 บุคคลสำคัญ
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญ
หรร 'ษๅ
 
เล่มที่ 10ภูมิปัญหาท้องถิ่น
เล่มที่ 10ภูมิปัญหาท้องถิ่นเล่มที่ 10ภูมิปัญหาท้องถิ่น
เล่มที่ 10ภูมิปัญหาท้องถิ่น
หรร 'ษๅ
 
วิชางานห้องสมุด
วิชางานห้องสมุดวิชางานห้องสมุด
วิชางานห้องสมุด25462554
 
The evolution of science curriculum in the United States (Thai Version) โดย ก...
The evolution of science curriculum in the United States (Thai Version) โดย ก...The evolution of science curriculum in the United States (Thai Version) โดย ก...
The evolution of science curriculum in the United States (Thai Version) โดย ก...
Kobwit Piriyawat
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
Praew Pizz
 

Similar to Part1 140final[1] (20)

03 modelof integration+188
03 modelof integration+18803 modelof integration+188
03 modelof integration+188
 
การเขียนบทสารคดี-01
การเขียนบทสารคดี-01การเขียนบทสารคดี-01
การเขียนบทสารคดี-01
 
วิทยาศาสตร์ศึกษาแบบองค์รวม
วิทยาศาสตร์ศึกษาแบบองค์รวมวิทยาศาสตร์ศึกษาแบบองค์รวม
วิทยาศาสตร์ศึกษาแบบองค์รวม
 
Pdf
PdfPdf
Pdf
 
03chap1
03chap103chap1
03chap1
 
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิแบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
 
หนังสืออ้างอิง...
หนังสืออ้างอิง...หนังสืออ้างอิง...
หนังสืออ้างอิง...
 
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp5+dltv54+ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
 
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-hisแผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
แผนการสอนประวัติศาสตร์ป.4-6+562+T1 p4 6-u01-his
 
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp4+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
 
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-hisแผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้สังคม ป.5+579+T1 p4 6-u01-his
 
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-hisแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-his
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์+579+dltvhisp5+T1 p4 6-u01-his
 
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
01+hisp6+dltv54+แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้
 
ห้องสมุด 3 ดี
ห้องสมุด 3 ดีห้องสมุด 3 ดี
ห้องสมุด 3 ดี
 
แผน
แผนแผน
แผน
 
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญ
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญเล่มที่ 8 บุคคลสำคัญ
เล่มที่ 8 บุคคลสำคัญ
 
เล่มที่ 10ภูมิปัญหาท้องถิ่น
เล่มที่ 10ภูมิปัญหาท้องถิ่นเล่มที่ 10ภูมิปัญหาท้องถิ่น
เล่มที่ 10ภูมิปัญหาท้องถิ่น
 
วิชางานห้องสมุด
วิชางานห้องสมุดวิชางานห้องสมุด
วิชางานห้องสมุด
 
The evolution of science curriculum in the United States (Thai Version) โดย ก...
The evolution of science curriculum in the United States (Thai Version) โดย ก...The evolution of science curriculum in the United States (Thai Version) โดย ก...
The evolution of science curriculum in the United States (Thai Version) โดย ก...
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
 

More from krabi Primary Educational Service Area Office

Part6 140 final[2]
Part6 140 final[2]Part6 140 final[2]
Part4 140 final[1]
Part4 140 final[1]Part4 140 final[1]
Part2 140 final[2]
Part2 140 final[2]Part2 140 final[2]
Cove r[1] 140Yrs Krabi
Cove r[1] 140Yrs KrabiCove r[1] 140Yrs Krabi
ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2
ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2
ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2
krabi Primary Educational Service Area Office
 
CoralLec01
CoralLec01CoralLec01
Coral lec02
Coral lec02Coral lec02
Moon@night
Moon@nightMoon@night
หินบ่อม่วง
หินบ่อม่วงหินบ่อม่วง
หินบ่อม่วง
krabi Primary Educational Service Area Office
 
ดอกตอนที่ 3
ดอกตอนที่ 3ดอกตอนที่ 3
ดอกตอนที่ 3
krabi Primary Educational Service Area Office
 
ดอกตอนที่2
ดอกตอนที่2ดอกตอนที่2
ดอกตอนที่2
krabi Primary Educational Service Area Office
 
ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1
krabi Primary Educational Service Area Office
 

More from krabi Primary Educational Service Area Office (14)

Part6 140 final[2]
Part6 140 final[2]Part6 140 final[2]
Part6 140 final[2]
 
Part4 140 final[1]
Part4 140 final[1]Part4 140 final[1]
Part4 140 final[1]
 
Part2 140 final[2]
Part2 140 final[2]Part2 140 final[2]
Part2 140 final[2]
 
Cove r[1] 140Yrs Krabi
Cove r[1] 140Yrs KrabiCove r[1] 140Yrs Krabi
Cove r[1] 140Yrs Krabi
 
ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2
ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2
ตามรอยหอยชักตีน เล่ม2
 
CoralLec01
CoralLec01CoralLec01
CoralLec01
 
Coral lec02
Coral lec02Coral lec02
Coral lec02
 
Moon@night
Moon@nightMoon@night
Moon@night
 
หินบ่อม่วง
หินบ่อม่วงหินบ่อม่วง
หินบ่อม่วง
 
ดอกตอนที่2
ดอกตอนที่2ดอกตอนที่2
ดอกตอนที่2
 
ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1
 
ดอกตอนที่ 3
ดอกตอนที่ 3ดอกตอนที่ 3
ดอกตอนที่ 3
 
ดอกตอนที่2
ดอกตอนที่2ดอกตอนที่2
ดอกตอนที่2
 
ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1ดอกตอนที่1
ดอกตอนที่1
 

Part1 140final[1]

  • 1. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ สภาการศึกษาจังหวัดกระบี่
  • 2. มติสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ ในการประชุมเมื่อ ๖ เมษายน ๒๕๕๕ เห็นว่า สภาควรทำหนังสือให้เป็น ประโยชน์และเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ในโอกาส ๑๔๐ ปี กระบี่ โดยตั้งเจตนารมณ์ว่า จะให้เป็นหนังสือสำคัญอีกเล่มหนึ่ง ของจังหวัดกระบี่ ที่จัดทำในโอกาสดังกล่าว เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ หลากหลายในประเด็นหลักๆ เช่น การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดม สมบูรณ์ของธรรมชาติ เป็นต้น... รูปแบบการเขียน เป็นทั้งสรุปเนื้อหาที่มีอยู่เดิมให้ง่ายต่อการศึกษายิ่งขึ้น การเสนอข้อมูลที่ค้นพบใหม่ ตลอดถึงกรณีศึกษาในเชิง วิเคราะห์ โดยหลอมรวมข้อมูลเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน...และ ที่สำคัญยิ่งก็คือ การโยงอดีตให้เป็นบทเรียนของปัจจุบัน เพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ไปสู่อนาคตอย่างยั่งยืน ขอบคุณคณะกรรมการ ที่ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะ ขอบคุณนักคิด นักเขียนที่พยายามค้นคว้ารวบรวม และ ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ให้การสนับสนุนในทุกกรณี หวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะเป็นคุณูปการต่อการศึกษา ของท้องถิ่นและของประเทศชาติสืบไป สารนายกสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ นายชวน ภูเก้าล้วน พิมพ์ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕) จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม พิมพ์เผยแพร่โดย สภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ สงวนลิขสิทธิ์ สภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ ที่ปรึกษา ดร.ชวน ภูเก้าล้วน นางประหยัด ศรีบุญชู คณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ บรรณาธิการ รศ.มัณฑนา นวลเจริญ กองบรรณาธิการ ว่าที่ร้อยตรีอนุวัตร ไทรทอง นางจรีรัตน์ ปานพรหมมินทร์ ผู้เรียบเรียง นายพญอม จันนิ่ม นายกลิ่น คงเหมือนเพชร รศ.มัณฑนา นวลเจริญ ว่าที่ร้อยตรีอนุวัตร ไทรทอง ภาพประกอบ อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี รศ.มัณฑนา นวลเจริญ นายประทีป นวลเจริญ ว่าที่ร้อยตรีอนุวัตร ไทรทอง นายสุเทพ จันทระ นายพิเชษฐ์ คงมานะเกียรติคุณ นายกิตติวุฒิ จิววุฒิพงค์     นายนิวัติ วัฒนยมนาพร นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร    นายกลิ่น คงเหมือนเพชร ร้านเจ้าพระยาคัลเลอร์แลบ (นายชวน ภูเก้าล้วน) นายกสภาการศึกษาจังหวัดกระบี่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕
  • 3. Contents สารบัญ บทนำ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ขอบเขตการวิจัย พื้นที่ในการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ วิธีดำเนินการวิจัย ประโยชน์ที่จะได้รับ บทองค์ความรู้การพัฒนาการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน บทสรุป บรรณานุกรม ภาคผนวก รายชื่อชุดโครงการวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยว ปี 2547-2552 แบบสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยว ประวัตินักวิจัย 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18
  • 4. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ กระบี่ การศึกษากระบี่… การวางพื้นฐานอุปนิสัยแห่งกระบี่ เริ่มรุ่ง รัตน-โกสินทร์ ถึงถิ่น น้ำฟ้า ปกาไส สู่แดน ดาบคม พนมไพร นานใน น่านฟ้า อันดามัน ๑๔๐ ปี-กระบี่ ... ในร่ม จักรี จรุงขวัญ จากองค์ ปิยะ ราชัน จวบองค์ จักรพรรดิ์ ภูมิพล ฟ้าอุ้ม ชุ่มน้ำ ฉ่ำหล้า ชุ่มฟ้า ชื่นสุข ทุกหน สืบสาน อารยะ ประชาชน สืบผล เพิ่มค่า ฟ้าดิน ฯ “ฟ้าอุ้ม ชุ่มน้ำ ฉ่ำหล้า” “พญอม” ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕ พญอม จันนิ่ม
  • 5. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ Kra กระบี่ การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ กระบี่ “การดำเนินนโยบายสร้างที่ทำการกำนันขึ้นทุกตำบลหรือสโมสรเสือป่า แล้ว กลายมาเป็นที่เล่าเรียนของเด็กในตำบล หมู่บ้าน ก่อนออกใช้พระราชบัญญัติ ประถมศึกษา ซึ่งจังหวัดกระบี่ดำเนินการได้ครบทุกตำบล ก่อนจังหวัดอื่นๆ ใน มณฑลภูเก็ต” และเมื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม พบว่า คุณครูที่สอนเด็กคือ “ครูภูมิปัญญาชาวบ้าน” ที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นหลัก… วิชาที่สอนเป็นการสอนหนังสือควบคู่กับวิชา ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เน้นการประกอบอาชีพเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับบันทึก ความทรงจำอีกตอนหนึ่งที่บ่งว่า “กระบี่ในยุคนั้น ทางบ้านเมืองมีนโยบายให้พัฒนา อาชีพ พร้อมบุกเบิกที่ทำกินแก่ราษฎร” การศึกษาของกระบี่ในยุคสมัยดังกล่าว จึงดูแตกต่างไปจากจังหวัดอื่นๆ ใน ยุคเดียวกัน ที่ส่วนใหญ่แล้วจะเรียนหรือสอนหนังสือกันในวัด ที่เรียกกันว่า “หนังสือวัด” โดยมีพระเป็นครู และเน้น “การสอนหนังสือ” เป็นหลัก การเปิดการเรียนการสอนใน “ที่ทำการกำนัน” ซึ่งปรับสภาพให้เป็น โรงเรียนไปโดยปริยายนั้น ทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้มีระบบขึ้น ประกอบกับ ครูที่สอนเป็นฆราวาสที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน วิชาที่สอนหลากหลายขึ้น ผลิตผลจาก ระบบการศึกษาดังกล่าวที่ลงสู่ประชาชน จึงแปรเป็นพื้นฐานการศึกษาที่หลาย ประเด็นเป็น “ลักษณะอันพึงประสงค์” แล้วตกผลึกเป็น “อุปนิสัยแห่งกระบี่” “คุณครูสมบูรณ์ เรืองศรี” อายุ ๑๐๐ ปีเศษ… คุณครูถือกำเนิดใกล้เคียงกับยุคตั้งเมืองกระบี่ ใหม่ๆ ได้เขียน “บันทึกความทรงจำ” เกี่ยวกับ การศึกษากระบี่สมัยบุกเบิกไว้ว่า ที่สืบสานกันมา…แม้บางอุปนิสัยจะเสื่อมถอยลงไปบ้างก็ตาม แต่ก็ยังคงมีร่องรอย ให้ศึกษาสืบทอดกันได้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีประเด็นที่เป็นกรณีศึกษาดังต่อไปนี้ วิชาอื่นถึงจะรู้อยู่เจนจิต เมื่อมีกิจตัวสบายก็ง่ายหา ถ้าตัวไข้แล้วก็ใช่ว่าวิชา จะไปหามาให้มันไข้กัน วิชาทำสวนนี้ดีไม่หย่อน แม้นเรานอนไข้ป่วยม้วยอาสัญ มันก็ไม่ไข้ป่วยม้วยชีวัน ผลของมันออกเพ้อเสมอไป นับเป็นปรัชญาหรือแนวคิดทางการศึกษาที่ถือว่าล้ำสมัยมากในยุคนั้น ที่ ค่านิยม “สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง” กำลังเบ่งบาน แต่ปรัชญาการศึกษากระบี่ กลับสวนทางว่า…วิชาการทำสวน (วิชาการสร้างงาน) ดีกว่า “วิชาอื่น” ที่คงหมายถึง วิชาการหรือวิชาหนังสือ ที่นำไปใช้เป็นเสมียน หรือรับราชการ โดยให้เหตุผลว่า วิชาหนังสือนั้น ถ้าเราเจ็บไข้ล้มตายจะไม่มีอะไรเหลืออยู่ แต่วิชาการทำสวน หรือ วิชาการทำงาน วิชาการสร้างงาน จะคงอยู่ “เพ้อ” หรือตลอดไป ไม่เจ็บไข้ล้มตาย ไปกับเรา การศึกษากระบี่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ หลักสูตรที่ใช้ อยู่ในปัจจุบัน กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ตอนหนึ่งว่า “มีความรู้และทักษะพื้นฐาน…การประกอบอาชีพ” และกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในข้อที่ ๖ ว่า “มุ่งมั่นใน การทำงาน” ซึ่งการเรียนเพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ หรือให้เกิด ความมุ่งมั่นในการทำงานนั้น การศึกษาของกระบี่เมื่อยุคแรกเริ่มตั้งเมืองกระบี่ ได้ วางพื้นฐานไว้แล้ว ก่อนจะมี พ.ร.บ.ประถมศึกษาด้วยซ้ำ แล้วกลายเป็นปรัชญา การศึกษาของกระบี่ในช่วงเวลาถัดมา อันปรากฏชัดอยู่ใน “นิราศเมืองกระบี่” ของ “ขุนสมาน นุกรกิต” ที่เชื่อกันว่าเป็นนักการศึกษาในยุคต้นๆ หลังตั้งเมืองกระบี่แล้ว ความว่า… ๑. อุปนิสัยการสร้างงาน
  • 6. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ Kra กระบี่ 10 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 11 กระบี่ เป็นที่น่าเสียดายว่า อุปนิสัยการทำงานและการสร้างงานที่สร้างสมมาเป็น อุปนิสัย กำลังจะเหือดหายไป… การใช้แรงงานในกระบี่ปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็น แรงงานนำเข้าจากต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ คนกระบี่ส่วนใหญ่กลับทำงานไม่เป็น จึงควรกอบกู้อุปนิสัยการทำงานและการสร้างงานให้กลับมาโดยเร่งด่วน แล้วช่วยกันสืบสานให้ยั่งยืนต่อไป นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง ที่บรรพบุรุษของกระบี่ เมื่อประมาณ ๑๔๐ ปีที่ผ่านมา มีความเชื่อที่กลายมาเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านว่า… การสร้างถานหรือส้วมถวายพระสงฆ์ หรือการปลูกไม้ร่มรื่นไว้ในบริเวณวัด จะได้บุญกุศลมากกว่าการสร้างพระพุทธรูป ความเชื่อดังกล่าว ปรากฏอยู่ใน “สมุดข่อย” เรื่อง “ไตรภูมิฉบับบ้านกระบี่น้อย” ที่แต่งโดยชาวกระบี่ในยุคที่ใกล้เคียงกับการตั้งเมืองกระบี่ที่ “หินขวาง” ซึ่งมี ข้อความตอนหนึ่งเขียนว่า “ผู้ใดสร้างส้วม ทำการฉลองแล้วถวายสงฆ์จะได้อานิสงส์ ๕ กัป ผู้ใดปลูก ประดู่ โพธิ์ ไทร ไว้ในอาราม จะได้อานิสงส์ ๔ กัป ผู้ใดสร้างพระปฏิมากร จะได้ อานิสงส์ ๓ กัป” (“กัป” คือ มาตรานับเวลาที่ยาวนานมาก) ข้อความนี้ ได้ปริวรรตเป็นภาษาปัจจุบันแล้ว เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารที่จะ นำไปสู่การวิเคราะห์ในประเด็นต่อไป ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจว่า สมุดข่อยเล่มนี้ แม้จะแต่งตามรูปแบบไตรภูมิ พระร่วงของพระยาลิไทในสมัยสุโขทัย แต่เนื้อหาที่ยกมาอ้างอิง หรือสารัตถะที่มุ่ง ปลูกฝังสั่งสอนจะเชื่อมโยงร่วมสมัยกับชาวกระบี่ในยุคนั้นเป็นประเด็นสำคัญ ข้อความนี้จึงบ่งบอกว่า คนกระบี่ยุคตั้งเมืองกระบี่ที่หินขวาง จนกระทั่งย้ายมา ปากน้ำในยุคต้นๆ นั้น หวังผลจากการกระทำที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และมุ่งเน้น สร้างสุขภาวะให้เป็นอุปนิสัย …จะเห็นชัดจากการให้ความสำคัญกับการสร้างส้วมที่ ถูกสุขลักษณะ เพราะสร้างเสร็จ… “ทำการฉลองแล้วถวายสงฆ์”…ที่ว่า “ทำการฉลอง” ก็คือการนัดหมายทายกทายิกาตลอดถึงพระสงฆ์องค์เณรมาร่วมชื่นชม เพื่อให้ ตระหนักในความสำคัญของส้วมหรือสถานที่ขับถ่าย พร้อมจะดูแลรักษาและพัฒนา ให้ดียิ่งขึ้น การ “ปลูกประดู่ โพธิ์ ไทร ไว้ในอาราม” เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่แสดงว่า คนกระบี่มีอุปนิสัยสร้างสรรค์ ส่งเสริมสุขภาวะให้บ้านเมืองร่มรื่น มีอากาศที่ดี โดยเฉพาะในสถานที่สาธารณะดังเช่นวัดวาอาราม เป็นต้น อุปนิสัยคนกระบี่ยุค ๑๔๐ ปี ที่ยกมา เป็นสารัตถะที่แทรกแฝงอยู่ใน วรรณกรรม ซึ่งต้องถอดความออกมาวิเคราะห์จึงจะมองเห็นได้ แต่ที่เป็น “ของจริง” มาสนับสนุนแนวคิดข้างต้น คือ ข้อมูลจากหนังสือ “นิราศเมืองกระบี่” ที่แต่งโดย “ขุนสมานนุกรกิต” ซึ่งผู้แต่งมีอายุอยู่ในยุคเริ่มตั้ง เมืองกระบี่เช่นเดียวกัน การปลูกไม้ร่มรื่น และการจัดตกแต่งบ้านเรือนของชาวกระบี่ที่ปากน้ำในยุค ต้นๆ ที่แสดงว่ามีอุปนิสัยรักความสะอาด ร่มรื่น และความเป็นระเบียบเรียบร้อย… ปรากฏอยู่ในนิราศดังกล่าวชัดเจน เช่น มาถึงสวนหวนหายคลายละห้อย อารมณ์ค่อยเพลินเพลิดระเหิดเห็น ล้วนพืชพรรณสรรสร้างทุกอย่างเป็น แผ่นดินเย็นเขียวชะอุ่มทุกขุมกอ เมื่อดูสวนล้วนสรรเลือกพรรณสร้าง มีทุกอย่างส้มสุกปลูกทุกสิ่ง แล้วแผ้วถางปลุกปล้ำทำจริงจริง มิได้ทิ้งที่ทางให้ร้างรก เมื่อดูเรือนเรือนนั้นก็เรียบร้อย ล้วนชดช้อยเอี่ยมโอไม่โกหก สะอาดดีมิได้มีสกปรก มิให้รกขยะเหลือเป็นเชื้อไฟ ๒. อุปนิสัยรักความสะอาด ความร่มรื่น และความเป็น ระเบียบเรียบร้อย
  • 7. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ Kra กระบี่ 12 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 13 กระบี่ และนี่คือ…อุปนิสัยสร้างสรรค์ของบรรพชนกระบี่ที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง อุปนิสัยสร้างสรรค์สุขภาวะดังที่วิเคราะห์มา โดยเฉพาะการปลูกไม้ร่มรื่น หลากชนิดนั้น เป็นเหตุให้ชาวกระบี่ในสมัยต่อมา มีอุปนิสัยอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะการอนุรักษ์ป่าไม้ เพราะแลเห็นประโยชน์และสุนทรีย์ที่เกิดจากป่าไม้ ดังบทกวีของ “หนังกราย พัฒน์จันทร์” ที่ใช้ขับบทหนังลุงหรือโนราเมื่อประมาณ ๘๐ ปีที่ผ่านมา ดังเช่น เข้าในไพรพนมชมพันธุ์ไม้ ตามเชิงชายบรรพตาภูผาผัน ไม้สักสอมพะยอมสนปนเข้ากัน ในเชิงชั้นเชิงชะง่อนสิงขรเนิน ไม้อินทนิลนุ่มเนียนไม้เคียนเหรียง ไม้ยุงเหียงยางหอมพะยอมเหิน ไม้แกไกรอยู่กลางหว่างพะเนิน ชมเพลินริมทางไม้ซางไทร ทุกพันธุ์ครันครบไม้ขรบขรี นนทรีพิกุลไม้หนุนไหน ไม้พอมีพอนไม้หงอนไก่ พ้นไปแต่นั้นไม้มันตาล ไม้เนียงไม้นนดูต้นซับ ไม้พลับทับทิมงอกริมหาน ไม้กอไม้กุนไม้หนุนปาน ไม้ส้านไม้แซกไม้แบกเบา ไม้ทังดังข้าวเปล้าเดือยปล้อง ไม้พลองกำชำไม้ตำเสา ไม้ท่มไม้โศกไม้โมกเมา ไม้เท่าไม้ทงไม้หงแดง ชมชั้นพันธุ์ไม้หลายประเภท ไม้เกดไม้ทุ่มไม้ชุมแสง ชมไม้หลายชั้นฉันชี้แจง ตามแขวงมรคาสาเพลิดเพลิน เป็นบทกวีที่ถ้าไม่มีแรงบันดาลใจจากธรรมชาติป่าไม้อันสวยสดงดงามและ หลากหลายแล้ว ไม่น่าจะแต่งได้ไพเราะวิจิตรพิสดารถึงปานนี้... เป็นที่น่าเสียดายว่า สุนทรีย์แห่งป่าเขาลำเนาไพรดังบทกวีนี้ กำลังจะเหือดแห้งหล่นหายไปจากกระบี่ บ้านเรา ใช้เสาแก่นปลูกกั้นปูกระดาน จะทนทานนานข้างหน้าเป็นไหนไหน สะอาดสะอ้านลานตาข้างหน้าใน มีครัวไฟแต่งตั้งถึงหลังคา ที่หน้าเรือนมีร้านปลูกเถาวัลย์ ขึ้นพาดพันร่มในใบปกหนา ภายใต้มีที่ตั้งกระดานม้า ผู้ใดมานั่งสบายคลายรำคาญ โมกเมา ยางนา โมกบ้าน สนทะเล สัก อินทนิลน้ำ ตะแบก ทับทิม ไทรย้อยใบทู่ นนทรี เนียง เนียน เปล้าใหญ่ พลอง พลับ พะยอม พิกุล มังตาน เหรียง
  • 8. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ Kra กระบี่ 14 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 15 กระบี่ คุณครูสมบูรณ์ เรืองศรี บันทึกความทรงจำ ไว้อีกตอนหนึ่งว่า... มองย้อนหลังจาก พ.ศ. ๒๔๕๐ ไปสัก ๕๐-๖๐ ปี จะพบว่า สังคมไทยทั่วๆ ไปมิใช่สังคม แห่งการแข่งขัน แต่เป็นสังคมแห่งการเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่กัน อาทิ จากอุปนิสัยตระหนักต่อสุขภาวะรักความสะอาด ร่มรื่น ความเป็นระเบียบ เรียบร้อย จึงไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ช่วงใดๆ ว่ากระบี่เคยเกิดอหิวาตกโรค หรือ “ไข้ห่า” ที่ทำให้ล้มตายกันจำนวนมากๆ เพราะปล่อยให้บ้านเรือนเป็น แหล่งเพาะเชื้อโรคเหมือนกับหลายๆ เมืองในทุกภาคของประเทศไทย ที่เกิดขึ้นเป็น ส่วนใหญ่ ไม่เว้นแม้แต่กรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองหลวง อุปนิสัยอันพึงประสงค์ดังกล่าว ชาวกระบี่ควรตระหนักและจำเป็นต้อง “สืบชะตา” หรือ สืบสาน ปลุกวิญญาณอุปนิสัยของบรรพชนให้หวนคืนมา ก่อน ที่ไม่สามารถจะกู้กลับมาได้อีกต่อไป วัฒนธรรมแห่งความสันโดษ ถือความพอเพียง ไม่โลภมากอยากได้ ปิด ประตูเก็บไว้จนเหลือเฟือ - แต่ละครัวเรือนถือครองที่ดินอยู่อาศัยครอบครัวละ ๔ ไร่ - พื้นบ้าน ๔ ไร่ มีรั้วล้อมรอบขอบชิด จะเป็นรั้วชั่วคราว หรือ ไม้แก่น ถาวรแล้วแต่ฐานะ - มีประตู (ฉนวน) ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ประตูหลอน” ปิดเปิดได้ตาม เวลาที่ต้องการ - ภายในรั้วบ้านจะมีคอกสัตว์เลี้ยง (หมู-ควาย) ไว้เป็นสัดส่วน ควาย เมื่อ เลิกการทำนาจะไล่ต้อนมาขังคอกในบริเวณบ้าน ถึงฤดูทำนาจึงนำไปขังคอกไว้ใน บริเวณนา เช้าไส่ไปทุ่งหญ้า เย็นกลับมาคอก - ปุ๋ยคอก ใช้เป็นอุปกรณ์ปลูกไม้ยืนต้น ล้มลุก พืชผักที่มีกินมีใช้ครบครัน อาจพูดกันว่า “มีผักบุ้งใต้บ่อ ลอกอชายไฟ ตอเบาหัวได ลูกเขือชายคา หน่อไม้ ชายดม หอยขมในนา ผักหวายชายป่า หน่อข่าชายรั้ว ฯลฯ” ครบครัน ไม่ต้องซื้อ มาจากภายนอก หากไม่จำเป็นจริงๆ ๓. อุปนิสัยสันโดษ...พอเพียง ตำเสา กำชำ ไกร ขนุนปาน ซาง แซะ ทัง นน โศก ส้าน ดังข้าว เดือยปล้อง ตะเคียนทอง ก่อ
  • 9. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ Kra กระบี่ 16 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 17 กระบี่ - บ้านอื่นที่อยู่ร่วม ก็อยู่เป็นหมู่บ้านใกล้ชิดกัน เหมือนกัน พื้นที่เท่าๆ กัน หากแต่ - เว้นช่องทางพลี เป็นทางสาธารณะ อเนกประสงค์ ใช้เป็นทางสัญจร ลากเข็น แม้กระทั่งทางหามโลงผีไปป่าช้า ความกว้างมากน้อยตามความจำเป็นของ การใช้ (ประมาณ ๒-๓ เมตร) - ทุกบ้านปลูกสร้างแบบเรือนไทยภาคใต้ - บ้านชิดใกล้กัน อยู่อย่างสามัคคี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน และการป้องกันภัย ภายนอก - ช่วยเหลือแรงงานในการสร้างบ้านเรือน - ช่วยเหลือกันจัดงานแต่งงาน ทำบุญทางศาสนา - ต่อเรือนชาน ศาลาชั่วคราว เพื่อรับแขกเมื่อมีการจัดงาน - การเยี่ยมไข้ด้วยของกินของใช้ที่ควรแก่คนไข้ - ช่วยกันตามหาหมอ หาหยูกยา - ช่วยเหลือการงานที่จำเป็นของครอบครัวคนไข้ เมื่อมีการตายขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อนบ้านช่วยกัน ในเรื่องต่อไปนี้ - ข้าวสาร ๑ ขัน ประมาณ ๑ ลิตร พร้อม เคย เกลือ พริก ตามมีตามเกิด - ช่วยกันจัดหาและต่อโลงศพ - ร่วมกันจัดงานฌาปนกิจ ไม่ทอดทิ้งตั้งต้นจนเสร็จ ทุกอย่างที่เคยพบเห็น ไม่เคยมีการจ้างงานด้วยเงินทอง บันทึกตอนนี้ บ่งถึงนิสัยพอเพียงที่ชัดเจนมาก... แต่ถ้าดูปี พ.ศ. แล้ว จะเห็นว่า เป็นอุปนิสัยกระบี่ ที่มีมาตั้งแต่เมืองกระบี่อยู่ที่เมืองปกาไส ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่ หินขวางด้วยซ้ำ ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลพวงจากการศึกษาในยุค ๑๔๐ ปีกระบี่ ซึ่งควร จะเป็นเช่นนั้น แต่จากข้อมูลที่ศึกษาจากการทำสวนทั่วๆ ไปในสมัยตั้งเมืองกระบี่ที่ หินขวางแล้ว หรือแม้จนถึงย้ายมาอยู่ปากน้ำแล้วก็ตาม การทำสวนแบบ “สมรม” เหมือนดังที่เคยมีมาตั้งแต่สมัยปกาไส ยังคงมีให้เห็นชัดเจนอยู่ ดังข้อความใน “นิราศเมืองกระบี่” ที่กล่าวถึงการทำสวนที่ปากน้ำสมัยต้นๆ ว่า เมื่อดูสวนล้วนสรรเลือกพรรณสร้าง มีทุกอย่างส้มสุกปลูกทุกสิ่ง ซึ่งคือรูปแบบของ “ไร่นาสวนผสม” ที่เป็นลักษณะหนึ่งของการกินอยู่อย่าง พอเพียงนั่นเอง... อันแสดงว่า เนื้อหาการสร้างอุปนิสัยพอเพียงจากปกาไส ได้รับ การปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาของไทย ครั้งแรก ก็ใกล้เคียงกับยุคตั้งเมืองกระบี่ใหม่ๆ ที่หินขวาง จุดมุ่งหมายการปฏิรูป ก็คือมุ่งสร้างความทันสมัยให้กับประชาชนชาวสยาม และที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่ง ก็คือ มุ่งหวังจะธำรงไว้ซึ่งเอกราชของแผ่นดินสยาม เพราะเป็นยุคที่สุ่มเสี่ยงต่อ การตกเป็นอาณานิคมของประเทศจักรวรรดินิยม ฉะนั้น การปลูกฝังความตระหนักต่อความมั่นคงของประเทศจึงเป็นเนื้อหาที่ จะต้องแทรกเข้าไปในกระบวนการเรียนรู้... ตัวอย่าง วีรบุรุษ วีรสตรี ที่เสียสละ เพื่อชาติในประวัติศาสตร์ก็ถูกยกมาอ้างอิง “ท้าวเทพกษัตรี ท้าวศรีสุนทร” ที่ป้องกันเมืองถลาง จะเป็นกรณีตัวอย่างหนึ่ง ที่ต้องเล่าสู่กันฟัง พร้อมทั้งแทรกเสริมเข้าไปในบทเรียนเพื่อปลุกใจให้รักและ หวงแหนเอกราช... กวีในยุคนั้นจะคอยเขียนบทกวีแทรกเสริมการศึกษาให้เป็นไป ตามนโยบายดังกล่าว เช่น เมื่อพม่าราวีตีถลาง เขาล้อมล้างชาวป่าน่าสงสาร ว่างเจ้าเมืองยังแต่เมียแทบเสียการ แต่นางท่านใจกล้ายิ่งกว่าชาย ตั้งประจญรณรบไม่หลบหนี อุบายตีพม่าแตกวิ่งแหกหาย อัปยศปลดปลิดชีวิตวาย ที่เหลือตายล่าทัพหนีกลับไป การถ่ายทอดผ่านจาก “ที่ทำการกำนัน” ในยุคตั้งเมืองกระบี่แน่นอน อ่านบันทึกความทรงจำของคุณครูสมบูรณ์โดยตลอด นอกเหนือจากมองเห็น อุปนิสัยพอเพียงของบรรพบุรุษกระบี่แล้ว ยังเห็นอุปนิสัยอันงดงามสร้างสรรค์ อีกหลายประการ ดังเช่น ความมีน้ำใจ ความเสียสละ ความเอื้ออาทรต่อกัน การช่วยเหลือกันในยามยาก เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง เป็นภราดรภาพ ที่ยากจะหาได้จากผืนแผ่นดินใด ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว ก็คืออุปนิสัยของชนชาติไทยนั่นเอง ๔. อุปนิสัยเคารพสิทธิสตรี
  • 10. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ Kra กระบี่ 18 การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ 19 กระบี่ ควรยกอย่างอ้างอวดเพราะยวดยิ่ง ถึงเป็นหญิงสามารถไม่หวาดไหว โปรดประทานให้เป็นท้าวเจ้าเวียงชัย ปรากฏในเมืองถลางอ้างตำนาน จงตั้งจิตคิดดูแต่ผู้หญิง ยังยงยิ่งยุทธนาแกล้วกล้าหาญ เพราะรักเจ้าเท่าชีวิตบิตุมารดร์ ออกรอนรานมิได้คิดชีวิตตน เทพจะช่วยอวยชัยสวัสดี จึงไม่มีอันตรายเท่าปลายขน ไม่ใช่ชายแต่ไว้ลายให้โลกยล ได้ดำกลเถลิงเกียรติกัลป์ปา “นิราศเมืองกระบี่” ของ “ขุนสมานนุกรกิต” บทกวีนี้มีอรรถรส สามารถจะใช้ปลุกใจได้ดีทีเดียว ทั้งมีลักษณะสร้างสรรค์ ตรงกับความหมายของคำว่า “ดำกล” ที่ปรากฏอยู่ในวรรคสุดท้าย ซึ่งมีความหมาย โดยนัยว่า งดงามสร้างสรรค์ เพราะการยกย่องความสามารถและสิทธิของสตรีนั้น เป็นสิ่งที่โลกชื่นชม วิเคราะห์ว่า บทกวีนี้คงได้นำไปถ่ายทอดที่สถานศึกษาในยุคเปิดทำการสอน อยู่ “ที่ทำการกำนัน” ค่อนข้างแน่นอน พร้อมทั้งเผยแพร่สู่ประชาชนในรูปแบบอื่นๆ ด้วย จึงทำให้ชาวกระบี่ในยุคนั้นมองเห็นความสำคัญของสุภาพสตรี แล้วนำไปสู่ การส่งเสริมสิทธิสตรีที่ชัดเจนมากในสมัยต่อมาไม่นานนัก ซึ่งปรากฏอยู่ในบันทึก ความทรงจำของคุณครูสมบูรณ์ เรืองศรี อีกตอนหนึ่งว่า เมื่อมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านขึ้นทุกตำบล (ที่เป็นฝ่ายชาย) แล้ว ฝ่ายหญิงจึงควร มีสิทธิส่วนบุคคลที่เสมอกันด้วย จึงจัดให้มีการเลือกตั้ง “แม่เฒ่าบ้าน-ฝ่ายหญิง” ขึ้นมาบ้าง เท่าที่จำได้ บ้านเรา (บางผึ้ง) เลือกผู้หญิงที่เป็นที่เคารพเชื่อถือของหมู่บ้าน คือ “แม่เฒ่าเกษ เหมือนกุล” และคนต่อมาคือ “แม่เฒ่ากิ้ม บุญเกื้อ” ต่อจากนั้น ไม่มีการเลือกอีก จะเห็นว่านอกเหนือจากส่งเสริมสิทธิสตรีอย่างสูงสุดถึงปานนั้นแล้ว ยังแสดงถึง รูปแบบของประชาธิปไตยที่ชัดเจนอีกด้วย และถ้ายิ่งวิเคราะห์ให้ลงลึกไปอีก คำว่า “แม่เฒ่าบ้าน” นั้น คงไม่ได้หมายถึง อายุ แต่น่าจะหมายถึง “สถานะ” หรือ “ตำแหน่ง” ที่เทียบกับคำว่า “ผู้ใหญ่บ้าน” ซึ่งเมื่อก่อนเป็นได้แต่ผู้ชาย การใช้คำอันเป็นตำแหน่งว่า “เฒ่า” มาเทียบกับ “ใหญ่” นั้น ถ้าเอาภาษา ถิ่นใต้บ้านเรามาจับ แสดงว่าเรายกย่องให้เกียรติผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ถ้าดูจากบันทึกนี้แล้ว ความยิ่งใหญ่ของสตรีที่เป็นรูปธรรมชัดเจน จะมีอยู่ เพียง ๒ ชั่วอายุคน แล้วหล่นหายไป เมื่อเมืองกระบี่หมุนมาครบ ๑๔๐ ปี ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีหญิง คนแรก แถมยังตั้งกองทุนพัฒนาสตรีดูเหมือนจะเป็นจังหวัดละ ๑๐๐ ล้าน สิทธิสตรีกำลังเบ่งบาน... หวังว่า กระบี่บ้านเรา จะเป็นจังหวัดที่ใช้สิทธิ สตรีอย่างสร้างสรรค์ที่สุด เพราะการยกย่องให้เกียรติสตรีนั้น เป็นอุปนิสัยของ กระบี่มาร่วม ๑๔๐ ปีแล้ว
  • 11. การศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความงดงามอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ Kra กระบี่ 20 กรมศิลปากร. ๒๕๔๒. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และ ภูมิปัญญาจังหวัดกระบี่. คุรุสภา, กรุงเทพฯ. โครงการภูมิปัญญาทักษิณจากวรรณกรรมและพฤติกรรม. ๒๕๔๔–๒๕๔๗. ไตรภูมิฉบับบ้านกระบี่น้อย. (กลิ่น คงเหมือนเพ็ชร-ปริวรรต). พญอม จันนิ่ม. มปป. บทวิทยุกระจายเสียงรายการพูดจาประสาลุงนิ่ม. สถานีวิทยุ กระจายเสียงแห่งประเทศไทย. สมบูรณ์ เรืองศรี, (อายุ ๑๐๑ ปี) มปป. บันทึกความทรงจำ. สมานนุกรกิต. นิราศกระบี่. ๒๕๔๖. (กลิ่น คงเหมือนเพ็ชร, นิวัฒน์ วัฒนยมนาพร. รวบรวม). เอกสารอ้างอิง