SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
Download to read offline
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 1 / 25
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 2 / 25
บทนำ
ดร. นาชัย ชีววิวรรธน์
เมื่อราว 700 ปีก่อนซึ่งตรงกับรัชสมัยกรุงสุโขทัยของไทย เกิดมีโรคระบาดที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน
แพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรป โรคดังกล่าวคร่าชีวิตผู้คนในทวีปนั้นไปอย่างน้อย 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด
แต่บ้างก็ประเมินว่าอาจมากถึงครึ่งหนึ่งของชาวยุโรปทั้งหมดในขณะนั้นด้วยซ้าไป ต่อมาโรคนี้ยังกระจายไป
ทั่วโลกและอาจจะทาให้มีคนเสียชีวิตมากถึง 75 ล้านคนทั่วโลก
โรคนี้ได้รับชื่อในภายหลังว่า กำฬโรค (black death หรือ black plaque)
ความร้ายแรงของกาฬโรคในคราวนั้น และที่เกิดขึ้นอีกหลายครั้งในหลายแห่งทั่วโลกในเวลาต่อมา
ตลอดจนความหวาดกลัวของผู้คนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงการขาดความรู้และวิธีการที่มี
ประสิทธิภาพดีในการต่อสู้กับโรคนี้ อาจสะท้อนให้เห็นได้ดีที่สุดจากภาพ "หมอจงอยปำกนกจำกโรม
(Doktor Schnabel von Rom หรือ Doctor Beak of Rome) ที่แพทย์ใช้ชุดเยี่ยมไข้ผู้ป่วยกาฬโรครูปทรง
แปลกตา ประกอบด้วยเสื้อคลุมยาวเคลือบขี้ผึ้ง หน้ากากรูปนกที่ส่วนตามีคริสตัลติดไว้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ส่วนจงอยปากยาวที่เห็นก็เป็นส่วนกระเปาะสาหรับเก็บเครื่องเทศหอม และมีแท่งไม้ที่ใช้สัมผัสผู้ป่วย
Doktorschnabel.jpg
ภำพแกะสลัก Doktor Schnabel von Rom (พ.ศ. 2199) ฝีมือศิลปิ น Paul FÜrst
ที่มำ: http://www.sweetwaterlibraries.com/sclsblogs/backtoart/
โรคอุบัติใหม่ยุคโบราณอีกโรคหนึ่งที่ก่อความเสียหายแก่ผู้คนทั่วโลก รวมทั้งคนในแผ่นดินสุวรรณ
ภูมิเองก็มีบันทึกเกี่ยวกับโรคนี้ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาได้แก่ โรคฝีดำษหรือไข้ทรพิษ (smallpox)
ประเมินกันว่า โรคนี้น่าจะคร่าชีวิตชาวยุโรปไปราว 4 แสนคนต่อปีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเป็นสาเหตุ
ของอาการตาบอดมากถึง 1 ใน 3 ของสาเหตุการตาบอดทั้งหมด โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากถึงราว 20-
60% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด โดยมากกว่า 80% ของเด็กที่ติดเชื้อมักจะเสียชีวิต
แม้แต่ในโลกยุคใหม่อย่ำงในศตวรรษที่ผ่ำนมำนี้เอง โรคนี้ก็เป็นสำเหตุของกำรเสียชีวิตของ
ผู้คนมำกรวมกันถึงรำว 300-500 ล้ำนคน หรือเฉลี่ยแล้วมำกถึงรำว 3-5 ล้ำนคนต่อปีเลยทีเดียว !
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 3 / 25
แต่ด้วยโปรแกรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษขององค์การอนามัยโลกและนานาชาติที่ประสบ
ความสาเร็จเป็นอย่างมาก ในที่สุด องค์การอนามัยก็สามารถประกาศผลสาเร็จในการกาจัดโรคนี้ได้หมดในปี
พ.ศ. 2522 จนถึงปัจจุบัน โรคติดต่อชนิดนี้ก็ยังคงเป็นโรคเพียงโรคเดียวที่มนุษย์สามารถกาจัดให้หมดไปโดย
สิ้นเชิงจากธรรมชาติได้
Smallpox01.jpg
ภำพวำดบันทึกเหตุกำรณ์โรคฝีดำษที่ระบำดใหญ่ในยุโรป
ในภำพจะเห็นบำทหลวงทำพิธีปัดรังควำนด้วย
ที่มำ: http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Smallpox01.jpg
ในปี พ.ศ. 2461 ซึ่งเป็นช่วงปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เกิดการระบาดของ
เชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน เชื้อโรคดังกล่าวแพร่กระจายไปทั่วโลกในปีนั้นและปีถัดมา เป็น
สาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลกถึงราว 20 ล้านคน (บ้างก็ประเมินว่าอาจจะสูงถึง 50 ล้านคน) ซึ่งก็
มากกว่าจานวนทหารของทุกประเทศที่เสียชีวิต และสูญหายไปในสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมกันกว่าเท่าตัว
ในภายหลัง โรคดังกล่าวได้รับการขนานนามตามชื่อประเทศที่พบการติดเชื้อเป็นครั้งแรกว่า โรค
ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu)
1918_flu_in_Oakland.jpg
กำชำดอเมริกันกำลังดูแลพยำบำลผู้ป่วยในโรงละครเมืองโอ๊กแลนด์ เพรำะโรงพยำบำลมี
สถำนที่ไม่เพียงพอรับผู้ป่วย ระหว่ำงกำรระบำดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนในปี พ.ศ. 2461
นอกจากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนแล้ว ยังมีโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อโรคชนิดใหม่ๆ
ที่ไม่เคยพบมาก่อน ระบาดไปทั่วโลกอีกหลายครั้ง เช่น ในปี พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2520 แม้ว่าจะ
ไม่ได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากเท่ากับในกรณีของไข้หวัดใหญ่สเปนในปี พ.ศ. 2461 แต่ก็ทาให้มีผู้ป่วยนับล้านคน
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 4 / 25
และมีผู้เสียชีวิตนับหลายหมื่นหรือหลายแสนคนทุกครั้ง ส่งผลกระทบทางลบต่อคุณภาพชีวิตและทาให้
เศรษฐกิจของภูมิภาคหรือของโลก ถดถอยลงเป็นอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว
ในปี พ.ศ. 2519 บริเวณแม่น้าอีโบล่าในประเทศคองโก ซึ่งเดิมคือประเทศแซร์อีนั้น มีการระบาดของ
โรคไข้เลือดออกชนิดใหม่ไปทั่วบริเวณ โรคอุบัติใหม่ดังกล่าวก่อให้เกิดความสนใจในกลุ่มของสื่อสารมวลชน
ชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก จนต่อมาได้ลุกลามกลายเป็นกระแสความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เพราะธรรมชาติ
ของโรคนี้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งสามารถติดต่อได้ผ่านทางการหายใจ แม้ว่าอันที่จริงแล้ว การติดต่อโรค
ผ่านทางการหายใจของโรคนี้เกิดขึ้นอย่างจากัดมาก คือพบในกรณีผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยไม่มี
อุปกรณ์ป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม
ภายหลัง จึงพบว่าโรคดังกล่าวเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง และมีการตั้งชื่อไวรัสดังกล่าวตามสถานที่
ซึ่งพบการระบาดของโลกเป็นครั้งแรกว่า ไวรัสอีโบล่ำ (Ebola virus)
Ebola_virus.jpg
เชื้อไวรัสที่ก่อโรคอีโบล่ำ
ในปี พ.ศ. 2542 จู่ๆ ก็เกิดการกระจายของโรคไข้สมองอักเสบในนครนิวยอร์ก โรคดังกล่าว
แพร่กระจายต่อเนื่องไปถึงรัฐนิวเจอร์ซี และต่อเนื่องไปยังรัฐคอนเนกติกัทที่อยู่ใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว ภายหลัง
โรคดังกล่าวยังแพร่กระจายข้ามต่อไปยังประเทศใกล้เคียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศแคนาดา เม็กซิโก และ
ประเทศอื่นๆ ในแถบแคริบเบียนและอเมริกากลางอีกด้วย
ข้อมูลทางการแพทย์ยังระบุข้อมูลย้อนหลังกลับไปอีกด้วยว่า ก่อนหน้าที่เกิดการระบาดของโรค
ดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีการระบาดของโรคที่มีลักษณะอาการของโรคคล้ายคลึงมากกับโรค
ดังกล่าวในประเทศอียิปต์ซึ่งอยู่ในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ ก็ยังมีประเทศอิสราเอลและประเทศอินเดียซึ่งอยู่
ในทวีปเอเชียอีกด้วย
ในระยะแรกไม่มีใครสามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่า พาหะของระบาดของโรคดังกล่าวคืออะไรกันแน่
แต่นักวิชาการส่วนใหญ่คาดว่าน่าจะเป็นยุงหรือนก เนื่องจากพบว่ามีจานวนสัตว์ปีกติดเชื้อและตายเป็น
จานวนมากผิดปกติ ภายในบริเวณที่มีการแพร่กระจายของโรคคือประเทศสหรัฐอเมริกาเอง และในประเทศ
อิสราเอลที่เคยพบการกระจายของโรคนี้ก่อนหน้านั้นหนึ่งปี
ต่อมา จึงทราบว่าเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบดังกล่าวคือ ไวรัสเวสต์ไนล์ (West
Nile virus) ซึ่งเรียกขานตามชื่อของพื้นที่อาศัยของผู้ป่วยรายแรกนั่นก็คือ แถบเวสต์ไนล์ (West Nile District)
ในประเทศยูกันดานั่นเอง
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว หากย้อนไปดูตามประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติแล้ว ยังมีตัวอย่างของโรคอีก
จานวนมากที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ ดังตัวอย่างเพิ่มเติมในตารางต่อไปนี้ หลายโรค
เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เคยสูญเหายไปจากสังคมมนุษย์อีกเลย เช่น เอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค เป็นต้น
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 5 / 25
ตัวอย่ำงโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในอดีตและปัจจุบัน
โรคระบำดใหญ่ทั่วโลกใน
ประวัติศำสตร์
เชื้อโรคสำเหตุ จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต
กาฬโรคจัสทิเนียน (Justinian Plague)
ราวคริสต์ศตวรรษที่ 6
แบคทีเรีย เยอสิเนีย เพสทิส
(Yersinia pestis)
142 ล้านคน ~ 100 ล้านคน
(อัตราการตาย ~ 70%)
กาฬโรค (Black Death) แบคทีเรีย เยอสิเนีย เพสทิส
(Yersinia pestis)
ไม่มีข้อมูล ~ 25 ล้านคน
กาฬโรคจีน (China Plaque)
พ.ศ. 2439-2473
แบคทีเรีย เยอสิเนีย เพสทิส
(Yersinia pestis)
30 ล้านคน ~ 12 ล้านคน
ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu)
พ.ศ. 2461-2462
ไวรัสไข้หวัดใหญ่
(Influenza A virus)
200 ล้านคน ~ 20-50 ล้านคน
โรคระบำดใหญ่ทั่วโลกใน
ปัจจุบัน
เชื้อโรคสำเหตุ จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต
มาลาเรีย
(Malaria)
ปรสิตชนิด พลาสโมเดียม
(Plasmodium parasites)
300-500 ล้านคน
ต่อปี
1.5-2.5 ล้านคน
ต่อปี
วัณโรค
(Tuberculosis)
เชื้อแบคทีเรียชนิด
ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส
(Mycobacterium tuberculosis)
8-10 ล้านคน
ต่อปี
2 ล้านคน
ต่อปี
โรคตับอักเสบชนิดซี
(Hepatitis C)
ไวรัสตับอักเสบชนิดซี
(Hepatitis C Virus, HCV)
~ 170 ล้านคน
(จานวนรวมทั่วโลก)
1 หมื่นคนต่อปี
(เฉพาะในสหรัฐฯ)
เอชไอวี/เอดส์
(HIV/AIDS)
ไวรัสชนิดเอชไอวี
(Human Immunodeficiency
Virus-1, HIV-1)
มากกว่า 60 ล้านคน
(จานวนรวมทั่วโลก)
มากกว่า 20 ล้านคน
(จานวนรวมทั่วโลก)
โรคระบำดใหญ่ทั่วโลกใน
ช่วงทศวรรษที่ผ่ำนมำ
เชื้อโรคสำเหตุ จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต
โรคไข้เลือดออกมาร์เบิร์ก
(Marburg hemorrhagic fever) ใน
แองโกลา (ยอดรวมถึง 17 พ.ค. 2548)
ไวรัสมาร์เบิร์ก
(Marburg virus)
337 311
ไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ปีกหรือไข้หวัดนก
(Avian influenza)
ม.ค. 2546-18 เม.ย. 2549
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด
H5N1
194 109
ไข้กาฬนกนางแอ่นหรือไข้กาฬหลังแอ่น
(Meningococcal disease) ใน
เบอร์กินาฟาโซ 1 ม.ค.-20 เม.ย. 2546
N. meningitidis 7,146 1,058
ซาร์ส (SARS,
Severe Acute Respiratory Syndrome)
1 พ.ย. 2545-31 ก.ค. 2546
เชื้อไวรัสชนิด ซาร์ส-โควี
(SARS-CoV, SARS-
associated coronavirus)
8,096 774
ที่มำ: หนังสือ Globalization, Biosecurity, and the Future of the Life Sciences (2006)
เชื้อสาเหตุของโรคเหล่านี้ครอบคลุมจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิตต่างๆ แต่
สิ่งที่เหมือนกันของโรคเหล่านี้ทุกโรคก็คือ ต่างก็ดูคล้ายกับว่าจู่ๆ ก็เหมือนเกิดขึ้นเองในบริเวณต่างๆ ของโลก
โรคเหล่านี้มีชื่อเรียกโดยรวมว่าเป็น โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) หรืออาจเรียก
สั้นๆ ว่า “โรคอุบัติใหม่”
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 6 / 25
โรคอีกกลุ่มหนึ่ง แม้ว่าจะเป็นที่รู้จักกันในวงการแพทย์มาเป็นเวลานานแล้ว และดูเหมือนจะเป็นโรค
ที่มนุษย์จะสามารถเอาชนะหรือควบคุมได้เป็นบ้างแล้ว เพราะมีจานวนผู้ป่วยลดน้อยลงหรือคงที่มาอย่าง
ต่อเนื่อง แต่แล้วอย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อน โรคในกลุ่มหลังนี้กลับปรากฏให้เห็นอย่างกว้างขวางอีกครั้งหนึ่ง
โรคในกลุ่มหลังนี้เรียกโดยรวมว่าเป็น โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infectious diseases
หรือ Reemerging infectious diseases หรือ Resurgent infectious diseases) หรือนิยมเรียกย่อว่า
“โรคอุบัติซ้ำ”
หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าเรื่องราวของโรคอุบัติใหม่ที่น่าสนใจ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของโรคอุบัติ
ใหม่บางโรคด้วยในฐานะต้นแบบ (model) ของโรคอุบัติใหม่ในอดีต โรคต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่มี
ความแปลกประหลาด น่าสนใจ และมีลักษณะเฉพาะตัวเป็นอย่างยิ่ง บางโรคทาให้นักวิทยาศาสตร์ถึงกับต้อง
ล้มล้างทฤษฎีหรือความเชื่อเดิมๆ บางอย่างแล้วตั้งทฤษฎีใหม่ๆ ที่ดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้ขึ้นมา เพื่ออธิบาย
กลไลการเกิดโรคใหม่ๆ เหล่านี้
econimpact.gif
ผลกระทบเชิงเศรษฐศำสตร์ของโรคติดต่อสำคัญบำงชนิดในช่วงสองสำมทศวรรษที่ผ่ำนมำ
ที่มำ: PRWeb http://www.prweb.com/
โรคต่างๆ เหล่านี้มีส่วนสาคัญในการกาหนดคุณภาพชีวิตของประชากรโลกในอดีตจนถึงปัจจุบัน โรค
อุบัติใหม่เพียงโรคใดโรคหนึ่งก็เพียงพอแล้ว ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์ได้มากมายมหาศาล
อย่างไม่น่าเชื่อ โรคเหล่านี้บางโรคอาจจะสาคัญมากในระดับที่นักวิทยาศาสตร์บางท่าน ถึงกับตั้งสมมติฐานว่า
โรคเหล่านี้เองที่เป็นหนึ่งในปัจจัยหรือตัวแปร ที่จะเป็นตัวกาหนดอนาคตของประชาชนในประเทศบางประเทศ
รวมทั้งเป็นตัวชี้ถึงควำมอยู่รอดหรือล่มสลำยของอำรยธรรมของสังคมหนึ่งๆ ในยุคหรือ
สมัยหนึ่ง หรือชี้ควำมเป็นควำมตำยของมนุษยชำติโดยรวมได้เลยทีเดียว!
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 7 / 25
บทที่ 1
ประวัติศำสตร์ย่อของโรคติดต่อ
ดร. นาชัย ชีววิวรรธน์
โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ทั้งหมดเป็น “โรคติดต่อ (Infectious disease)” ประเภทใดประเภทหนึ่ง
ดังนั้น การจะเรียนรู้ธรรมชาติของโรคอุบัติใหม่และสามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องศึกษาธรรมชาติของ “โรคติดต่อ” ด้วยอย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
คาถามที่ว่า “โรคติดต่อ (infectious diseases) เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดกันแน่” นั้น ยังคงเป็นปริศนาอยู่
แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเชื่อกันว่า โรคติดต่อน่าจะมีความเก่าแก่มาก อาจเป็นไปได้ว่าอาจจะอยู่คู่มากับ
อารยธรรมของมนุษย์เองเลยทีเดียว
ต้นกาเนิดของมนุษยชาตินั้น จากหลักฐานแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงกระดูก ข้าวของเครื่องใช้
ศิลปะรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงดีเอ็นเอ ต่างก็ชี้ไปในทิศทางที่ว่า ต้นตระกูลมนุษย์ปัจจุบันน่าจะถือกาเนิดขึ้นใน
พื้นที่แถบทวีปแอฟริกา จากนั้นจึงแพร่กระจายเป็นระลอกๆ ไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก จากความคล้ายคลึงกัน
ของโครงสร้าง และพันธุกรรมของมนุษย์โบราณกับสัตว์ตระกูลไพรเมท (ลิงไร้หาง) จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลก
ประหลาดแต่อย่างใด หากมนุษย์จะโดนรังควาญจากโรคจากเชื้อปรสิตต่างๆ ในแบบเดียวกับไพรเมทชนิด
ต่างๆ ที่พบว่า เป็นเหยื่อสาคัญของเชื้อปรสิตก่อโรคชนิดต่างๆ
โรคติดต่อของมนุษย์ยุคหิน
โครงสร้างของสังคมมนุษย์ในยุคหินต้นๆ คือ ราว 5-7 แสนปีก่อน เชื่อกันว่าเป็นสังคมแบบกลุ่ม
ขนาดเล็กที่ร่อนเร่พเนจรล่าสัตว์และหาของป่าในเขตทุ่งหญ้า ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ไม่เหมาะกับการแพร่กระจาย
ของเชื้อโรคติดต่อร้ายแรง เพราะหากเกิดขึ้นก็อาจจะทาให้สมาชิกในกลุ่มเสียชีวิตหมด ทาให้โรคนั้นไม่
สามารถแพร่กระจายต่อไปอีกได้
ดังนั้น โรคติดต่อร้ายแรงอย่างเช่น โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ (smallpox) และโรคหัดเยอรมันหรือ
เหือด (measles) จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบมากนักกับมนุษย์ยุคหิน แต่น่าจะส่งผลกระทบอย่างมากในช่วงที่มี
การลงหลักปักฐานอยู่กันเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ และมีความหนาแน่นของประชากรสูงมากขึ้นแล้ว ในทาง
ตรงกันข้าม โรคติดต่อที่มีระยะพักตัวนานหรือมีความรุนแรงไม่สูงมากนัก เช่น โรคอีสุกอีใส (chickenpox)
และโรคเริม (herpes simplex) ที่เกิดจากไวรัส ก็อาจจะเป็นโรคที่ทาความเดือดร้อนราคาญใจให้กับมนุษย์ยุค
หินมากกว่า
มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า เชื้อโรคบางอย่างซึ่งมีวิธีการส่งผ่านไปยังสัตว์ชนิดต่างๆ และความรุนแรงในการ
ก่อโรคที่เข้าคู่ได้กับรูปแบบสังคม และการใช้ชีวิตของมนุษย์โบราณ ก็อาจจะมีวิวัฒนาการร่วมกันกับมนุษย์มา
อย่างยาวนานนับแสนปี
ตัวอย่างของปรสิตที่นักวิทยาศาสตร์พบอยู่กับมนุษย์ยุคหินก็เช่น พยาธิเข็มหมุดชนิด เอ็นเทอโร
เบียส เวอร์มิคูลาริส (Enterobius vermicularis) ซึ่งยังคงก่อโรคอยู่ในมนุษย์ยุคปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อ
กันว่า ปรสิตดังกล่าวอาจเริ่มติดต่อในมนุษย์เนื่องจากพฤติกรรมการเข้ากลุ่ม การใช้มือสัมผัสกับข้าวของ
เครื่องใช้ต่างๆ และการใช้มือสัมผัสกับปาก ปรสิตอีกสองชนิดในกลุ่มนี้ได้แก่ เหาชนิด เพดิคูลัส ฮิวเมนัส
(Pediculus humanus) และเชื้อ แซลโมเนลลา (Salmonella) ที่เป็นต้นเหตุของโรคในระบบทางเดินอาหาร
เชื้อโรคต่างๆ ที่เอ่ยมาแล้วนี้ นักวิทยาศาสตร์บางคนเรียกขานกันว่าเป็น “สปีชีส์มรดก (heirloom
species)” ที่มนุษย์ได้รับถ่ายทอดต่อๆ กันมาจากบรรพบุรุษที่เกิดมาก่อนหน้า
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 8 / 25
pin worm eggs.jpg pediculus_humanus.jpg
ไข่พยำธิเข็มหมุด
ที่มำของภำพ: มหำวิทยำลัยแพทย์ฟูจิตะเฮลท์
เหำ เพดิคูลัส ฮิวเมนัส
ที่มำของภำพ: มหำวิทยำลัยแพทย์ยูทำห์
สปีชีส์มรดกอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งต่างจากสปีชีส์มรดกในกลุ่มแรก เพราะอาจไม่ได้อาศัยในร่างกายมนุษย์
อย่างยาวนาน แต่เชื้อโรคกลุ่มหลังนี้มนุษย์ยุคหินอาจบังเอิญได้รับมาผ่านกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจาวัน
เช่น การเก็บ จัดเตรียม หรือกินอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชผักสดๆ แมลง เนื้อ และปลา
สาหรับเชื้อโรคต่างๆ ในกลุ่มหลังนี้ เรียกกันว่าเป็น “พยำธิของกำนัล (souvenir parasites)”
ตัวอย่างของ “พยาธิของกานัล” ได้แก่ โรคหลับ (sleeping sickness) ที่เกิดจากเชื้อทริพาโนโซม
(trypanosome) ซึ่งอาศัยแมลงวันเซทซี (tsetse fly) เป็นพาหะ โรคนี้อาจจะหันมาเล่นงานมนุษย์เนื่องจาก
สัตว์ที่เป็นเหยื่อหรือสัตว์เป้าหมายเดิม โดนมนุษย์ล่าจนมีจานวนลดน้อยลงไป เหตุผลสาคัญข้อหนึ่งที่ทาให้
นักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งเชื่อในสมมติฐานดังกล่าวก็คือ มนุษย์ปัจจุบันไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ ซึ่งแสดงว่า
โรคนี้น่าจะไม่ได้มี “วิวัฒนำกำรร่วม (coevolution)” มากับมนุษย์อย่างยาวนานแต่อย่างใด เหตุผลเดียวกัน
ยังใช้ได้กับโรคอีกหลายชนิดด้วย
trypanosome.gif tsetse.jpg
ปรสิตทริพำโนโซม (ลักษณะตัวเป็นเกลียว) ท่ำมกลำงเม็ดเลือดแดงรูปจำนกลม (รูปซ้ำย)
และแมลงวันเซทซีที่เป็นพำหะของโรค
ที่มำของภำพ: http://www.sciencemadecool.com/2007/12/friday-parasite.html และ
http://patriciaholdenmd.wordpress.com/2008/02/26/the-easiest-way-to-prevent-travelers-
diseases/
ในทางตรงกันข้าม เมื่อมนุษย์ยุคหินบุกเบิกเข้าไปสู่ดินแดนเขตอบอุ่น ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากความ
ฝืดเคืองของแหล่งอาหารเดิมในเขตร้อน แต่โดยธรรมชาติของพื้นที่ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็น
อย่างมากระหว่างปี ดินแดนหรือพื้นที่ในเขตอบอุ่นและเขตหนาวก็มักจะมีเชื้อโรคน้อยกว่าในเขตร้อนอยู่แล้ว
ตามธรรมชาติ และแม้ว่าในขบวนของนักบุกเบิกเหล่านี้อาจจะมีคนที่เป็น “พาหะ (carrier)” ของโรคบางอย่าง
ที่ติดตามไปในขบวนด้วย แต่หากที่อยู่อาศัยใหม่ ไม่มีสัตว์อื่นที่เป็นพาหะของโรคได้ (โรคหลายชนิดต้องการ
พาหะนาโรคชนิดอื่นๆ ในวงจรชีวิตด้วยนอกเหนือจากมนุษย์ เช่น โรคมาลาเรียต้องการยุง ซึ่งมีวงจรชีวิตที่
เกิดและเติบโตได้ไม่ดีนักในเขตอบอุ่นและเขตหนาว)
ผลลัพธ์ก็คือ โรคเหล่ำนั้นอำจจะลดลงหรือหมดไปได้เช่นกัน
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 9 / 25
ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงอาจอนุมานได้ว่าในยุคแรกๆ ของอารยธรรมมนุษย์นั้น ปัจจัยสาคัญๆ ของการ
ติดโรคติดเชื้อจึงขึ้นอยู่กับโครงสร้างประชากรและพฤติกรรมของมนุษย์เองเป็นหลัก แต่ส่วนหนึ่งอาจจะขึ้นกับ
สภาวะแวดล้อมของระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น อาจจะไม่พบโรคอุบัติใหม่หลายชนิดหรือ
แม้ว่าจะพบก็พบได้น้อยมาก เนื่องจากเหตุปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี่เอง
โรคระบำดยุคแรก
แอบเดล ออมแรน (Abdel Omran) ได้เสนอทฤษฎี “กำรเปลี่ยนผ่ำนทำงระบำดวิทยำ (The
epidemiologic transition)” ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ว่า อาจแบ่งยุคของโรคระบาดออกได้เป็น 3 ยุคโดยเรียง
ตามลาดับเวลาคือ ยุคแรกเป็นยุคที่มนุษยชาติตกอยู่ในภาวะอดอยากยากแค้น และโรคระบาดมีความรุนแรง
น่าสะพรึงกลัว จากนั้นจึงเข้าสู่ยุคที่ 2 ที่มีการระบาดของโรคร้ายแรงแพร่กระจายไปทั่วโลก (pandemic)
ก่อให้เกิดความถดถอยแก่มนุษย์ในทุกด้าน จากนั้นจึงเข้าสู่ยุคที่ 3 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโรค
ระบาดชนิดต่างๆ ไปเป็นอย่างมาก
โรคระบาดในยุคสุดท้ายนี้เป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับกับความถดถอยของสุขภาพอย่างต่อเนื่องยาวนาน
และมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป มากกว่าจะเป็นโรคติดต่อแบบฉับพลันและรุนแรง โดยที่ส่วนหนึ่งจะเป็นโรคที่
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกิจกรรมใหม่ของมนุษย์เอง หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่าเป็น “โรคที่มนุษย์ก่อขึ้น
เอง (man-made diseases)”
ต่อมา จอร์จ อาร์เมลากอส (George Armelagos) และคณะนักวิจัยของเขา ได้เสนอทฤษฎีการ
เปลี่ยนผ่านทางระบาดวิทยาในรูปแบบที่ดัดแปลงมาจากแนวคิดเดิมของออมแรม แม้ว่าอาร์เมลากอสแบ่งยุค
ของออกเป็น 3 ยุคเช่นเดียวกับออมแรม แต่เขาเน้นถึง “สถำนะของกำรเปลี่ยนผ่ำน (transition stage)”
ของโรคในแต่ละยุคมากกว่า การเปลี่ยนผ่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีสาเหตุเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงไปของ
ปัจจัยแวดล้อม โดยปัจจัยเหล่านั้น อาจเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรืออาจเป็นปัจจัยที่เกิดจาก
กิจกรรมใหม่ๆ ของมนุษย์เอง
ในมุมมองของอาร์เมลากอส โรคระบาดในหมู่มนุษย์ยุคแรกมีลักษณะคล้ายคลึงกับเราได้กล่าวไป
แล้วตอนต้นของบทนี้ จากนั้นจึงเข้าสู่ “กำรเปลี่ยนผ่ำนทำงระบำดวิทยำครั้งแรก (The first
epidemiologic transition)” ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและโครงสร้างของสังคมมนุษย์ในยุคนั้น
จากการอยู่รวมเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ที่ออกล่าสัตว์และหาของป่าเป็นหลัก กลายมาเป็น “สังคมเกษตรกรรม” ที่
ลงหลักปักฐานเป็นที่เป็นทาง และเริ่มมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อประโยชน์ต่างๆ เช่น ใช้แรงงาน ช่วยล่าสัตว์ ให้นม
ให้เนื้อ เป็นเพื่อนเล่น ฯลฯ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
กำรเปลี่ยนผ่ำนดังกล่ำวนี้น่ำจะเกิดขึ้นในยุครำว 10,000-13,000 ปีก่อน และเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน
ในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมและกิจกรรมดังกล่าว ทาให้มนุษย์มีโอกาสสัมผัส
กับสัตว์ต่างๆ มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องอย่างลึกซึ้งต่อมนุษยชาติเองคือ ทาให้มีการรับเอา
เชื้อโรคหลายชนิดที่เดิมเคยอาศัยอยู่แต่ในร่างกายของสัตว์ป่า แต่ตอนนี้ได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์
เสียแล้ว จนทาให้เข้ามาแพร่กระจายอยู่ในสังคมมนุษย์ในที่สุด
นอกจากนี้ ยังอาจทาให้เชื้อโรคเดิมที่เคยอยู่แต่ในมนุษย์ มีวิวัฒนาการแบบก้าวกระโดด เนื่องจากมี
โอกาสสัมผัสและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใหม่สาคัญๆ ที่ไม่เคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาก่อน นั่นก็คือ เชื้อ
โรคชนิดต่างๆ จากสัตว์เลี้ยง
การสัมผัสใกล้ชิดกันอาจจะเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยน “สารพันธุกรรม” ในกรณีของเชื้อโรคที่มี
ลักษณะใกล้เคียงกันมากได้ง่ายขึ้น นี่เองที่อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุสาคัญที่เชื้อโรคในสัตว์ซึ่งมนุษย์ไม่เคยมีภูมิ
ต้านทานมาก่อนเลย เกิดการพัฒนาจนกลายเป็นเชื้อก่อโรครุนแรงในมนุษย์!
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 10 / 25
สัตว์ชนิดแรกๆ ที่มนุษย์นามาเลี้ยงได้สาเร็จมีหลายชนิด คือ แพะ แกะ วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ และ
สุนัข ล้วนแล้วแต่เป็น สัตว์รังโรค (reservoir) ของเชื้อโรคจานวนมาก เช่น เชื้อแบคทีเรียที่ก่อวัณโรค โรค
แอนแทร็กซ์ โรคไข้คิว (Q fever) และโรคบรูเซลโลซิส (brucellosis) เป็นต้น มีการตั้งสมมติฐานว่ามนุษย์
น่าจะรับเชื้อโรคเหล่านี้ผ่านทางการสัมผัสกับขน ผิวหนัง น้านม หรือละอองฝุ่นที่มาจากสัตว์ เป็นหลัก
โรคที่มนุษย์อำจได้รับมำจำกสัตว์เลี้ยง
โรคที่เกิดกับมนุษย์ สัตว์ที่มีจุลินทรีย์ซึ่งก่อให้เกิดโรคใกล้เคียงกับ
โรคของมนุษย์มำกที่สุด
หัด วัว ควาย (รินเดอร์เปสต์หรือโรคลงแดง)
วัณโรค วัว ควาย
ไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาษ วัว ควาย หรือสัตว์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัส
ที่ทาให้เกิดโรคแผลพุพองหรือฝีดาษ
ไข้หวัดใหญ่ สุกร เป็ด
ไอกรน สุกร สุนัข
มาลาเรีย นก (ไก่และเป็ด?)
ที่มำ: หนังสือ “ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้ำ กับชะตำกรรมของสังคมมนุษย์”, จำเร็ด ไดมอนด์ เขียน,
อรวรรณ คูหำเจริญ นำวำยุทธ แปล, โครงกำรจัดพิมพ์คบไฟ
โรคระบำดยุคที่สอง
การเปลี่ยนเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ลงหลักปักฐานอยู่กับที่ และมีประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นมาก
ขึ้น นอกจากจะเพิ่มโอกาสในการสัมผัสและส่งถ่ายเชื้อโรคระหว่างกันของสมาชิกในชุมชนแล้ว การที่ขาด
ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบาบัดของเสีย ยังเป็นปัจจัยเร่งที่เพิ่มโอกาสในการ
แพร่กระจายเชื้อปรสิตขนาดใหญ่ (สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า) และจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดิน
อาหารได้อย่างง่ายดาย
ร่องรอยที่ยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ตามซากโครงกระดูกของมนุษย์ในยุคดังกล่าว แสดงหลักฐาน
สนับสนุนสมมติฐานดังกล่าวข้างต้นเป็นอย่างดี
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมก็น่าจะเป็นปัจจัยสาคัญ ที่เพิ่มโอกาสในการสัมผัสกับปรสิตต่างๆ
เช่น พยาธิชนิดต่างๆ รวมถึงพาหะของโรคอย่างแมลงชนิดต่างๆ รวมทั้งยุงที่เป็นสัตว์นาโรคไข้สมองอักเสบ
โรคไข้เหลือง และโรคมาลาเรีย เป็นต้น
ข้อแตกต่างสาคัญของโรคติดต่อในยุคที่สองนี้ที่แตกต่างจากโรคติดต่อในยุคแรก ได้แก่ เป้าหมาย
ของโรคได้เปลี่ยนมาเป็นผู้ใหญ่ทั่วไป ซึ่งมีสภาพร่างกายแข็งแรงกว่า ไม่ใช่เด็กเล็กและคนแก่ที่มีภูมิต้านทาน
ต่า ดังที่เกิดขึ้นในสังคมผู้ล่าสัตว์และหาของป่าอีกต่อไป
ดังนั้น การระบาดใหญ่ของโรคติดต่อเหล่านี้แต่ละครั้ง จึงทาให้สังคมนั้นถึงกับง่อยเปลี้ยหรือเป็น
อัมพาตไปทั้งสังคม และทาให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่เป็นเวลานานได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่าง
หนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนมากได้แก่ กรณีของวัณโรคซึ่งระบาดเป็นระยะๆ อยู่ตลอดในทวีปยุโรป โดยแต่ละครั้งที่
เกิดการระบาดก็ทาให้ชาวยุโรปเสียชีวิตไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด
มีผู้ประเมินว่าเมื่อถึงสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 วัณโรคสังหารเฉพาะชาวยุโรปไปรวมแล้วไม่น่าจะน้อย
กว่า 350 ล้านคน หรือกว่า 5 เท่าของจานวนประชากรไทยในปัจจุบันเสียอีก!
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 11 / 25
ในหนังสือ “วัณโรค: เรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดที่ไม่เคยมีใครเล่า” ของแฟรงค์ ไรอัน (Frank Ryan) ถึงกับระบุ
ว่า วัณโรคน่าจะเป็นโรคติดต่อที่เป็นฆาตกรร้ายกาจที่สุดที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เนื่องจากแม้แต่
หำกนับเฉพำะช่วงสองศตวรรษที่ผ่ำนมำ วัณโรคก็สังหำรผู้คนไปแล้วกว่ำ 1,000 ล้ำนคน ซึ่งน่ำจะ
มำกกว่ำโรคติดต่ออื่นใดในประวัติศำสตร์ของมนุษยชำติ!
uberculosis_FrankRyan.jpg
หนังสือ “วัณโรค: เรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดที่ไม่เคยมีใครเล่ำ”
ปัจจัยร่วมสาคัญอีก 2 ปัจจัยที่มีผู้กล่าวถึงเสมอได้แก่ การเพิ่มการอพยพย้ายถิ่นฐานและการค้า
ระหว่างประเทศที่อยู่ห่างไกลกัน ร่วมกับการบุกเบิกและสารวจโลกใหม่มากขึ้น ซึ่งคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเวลา
เดียวกัน อันที่จริงแล้ว การยึดครองโลกใหม่ของชาวยุโรปอาจจะเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายดายนัก ดังที่มีบันทึกไว้ใน
หน้าประวัติศาสตร์โลก หากปราศจากความช่วยเหลือของโรคฝีดาษ (หรือไข้ทรพิษ) และโรคไทฟอยด์
(typhoid) ที่คร่าชีวิตชาวพื้นเมืองในแผ่นดินใหม่นับล้านๆ คน
บางครั้งเมื่อกองทัพเรือและทัพม้าของชาวยุโรปไปถึงก็พบว่า แทบไม่ต้องใช้กาลังในต่อสู้เพื่อยึด
ครองเลย เพราะนอกจากจะมีอาวุธที่เหนือกว่าเป็นอย่างมากแล้ว นักรบชาวพื้นเมืองจานวนมากหรือเกือบ
ทั้งหมดในบางกรณี ต่างเสียชีวิตไปมากแล้ว (บางครั้งก็เสียชีวิตแทบทั้งหมด) จากเชื้อโรคใหม่ที่พวกเขาไม่
เคยพบมาก่อน ซึ่งติดต่อมาจากชาวยุโรปคนแรกๆ ที่ขึ้นเกาะและได้นาติดตัวไปแพร่สู่ชาวพื้นเมืองโดยไม่
ตั้งใจ ตัวอย่างจริงในกรณีนี้ก็คือ อารยธรรมแอซเทค (Aztec) ของทวีปอเมริกาใต้
การล่มสลายของหลายอาณาจักรของคนพื้นเมืองในหลายทวีป จึงมีปัจจัยสาคัญที่เกิดจากโรคติดต่อ
ที่เปรียบประดุจ “โรคอุบัติใหม่” ของคนพื้นเมืองเหล่านั้นร่วมด้วยเป็นอย่างมาก!!!
โรคระบำดยุคที่สำม
การเปลี่ยนผ่านทางระบาดวิทยาเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง (อาจนับเป็นครั้งที่ 2) ในราวช่วงเวลาคาบ
เกี่ยวกับ กำรปฏิวัติอุตสำหกรรม (The Industrial Revolution) ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือหรืออยู่
ในช่วงราว 150 ปีที่แล้ว จุดแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนของการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ก็คือ การลดลงอย่างเห็นได้
ชัดเจน (ในประเทศพัฒนาแล้ว) ของอัตราการตายเนื่องจากโรคติดเชื้อต่างๆ
มีสมมติฐานในเรื่องนี้อยู่หลายประเด็นด้วยกัน แต่โดยหลักๆ แล้วนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นผลจาก
ความก้าวหน้าและการค้นพบใหม่ๆ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ในประเทศอุตสาหกรรม เช่น การค้นพบยา
ปฏิชีวนะ ฯลฯ ซึ่งต่อมา ก็แพร่กระจายลักษณะดังกล่าวไปยังประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าด้วย
การกาจัดโรคโปลิโอและไข้ทรพิษได้อย่างสิ้นซาก ทาให้การแพทย์แผนตะวันตกได้รับการยอมรับไป
ทั่วโลกถึงกับมีการคาดหมายว่า น่าจะมีการลดลงของโรคติดต่ออย่างเห็นได้ชัดเจน ก่อนจะสิ้นสุด
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 12 / 25
คริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่จากสถิติที่รวบรวมโดยหลายองค์กรทั่วโลก กลับไม่แสดงว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทาง
ที่ดีในลักษณะดังกล่าวมากเท่าที่คาดการณ์กันไว้แต่อย่างใด
penicillin_g_link.jpg penicillin_WWII.jpg
เชื้อรำที่ผลิตสำรเพนิซิลลินกับสูตรเคมีของสำรเพนิซิลลินจี (ซ้ำย) และ
โปสเตอร์โฆษณำสรรพคุณวิเศษของเพนิซิลลินในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2
ที่มำของภำพ: http://www.pharma.unibas.ch/bio/4_0_Research.php และ
นอกจากนี้ยังพบอีกด้วยว่า มีการเพิ่มขึ้นของความเจ็บป่วยจากโรคอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกาลังจะแซงหน้า
หรือในบางประเทศก็แซงหน้าโรคติดต่อสาคัญๆ ก่อนหน้านั้นไปแล้ว ในการเป็นปัจจัยหลักที่ทาให้ประชากร
ในประเทศพัฒนาแล้วเสียชีวิต ซึ่งอาจพิจารณาโดยรวมว่าเป็นโรคจากกิจกรรมของมนุษย์เอง
ดังที่มีผู้ขนำนนำมว่ำเป็น “โรคเนื่องจำกอำรยธรรม (diseases of civilization)”
ตัวอย่างของโรคในกลุ่มนี้ก็คือ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเรื้อรังของ
ระบบหายใจบางโรค เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่านี่คือ “ราคาที่ต้องจ่าย” สาหรับความก้าวหน้าและอารยธรรม
รูปแบบใหม่ๆ ที่มีผลไปทาให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อโรคเหล่านี้ โดยเฉพาะในชุมชนเมืองที่มีมลพิษของ
น้าและอากาศสูง มีความกดดันและมีความเครียดจากการทางานสูงและต่อเนื่อง และจากการที่ต้องอาศัยกัน
อยู่อย่างหนาแน่น
มีหลักฐานว่าภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีอัตราผู้ป่วยจากโรคมะเร็ง ภูมิแพ้ ความเครียด และ
ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงความผิดปกติเมื่อแรกเกิด เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างเด่นชัด ที่น่าประหลาดใจยิ่งไปกว่า
นั้นก็คือ วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทาให้ทราบว่า โรคหลายๆ โรคที่เคยคิดว่าไม่ได้เป็นโรคติดต่อ
กลับเป็นโรคติดต่อ และมีเชื้อโรคสาเหตุที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก
ชนิดที่เกิดจากไวรัสชื่อ เอชพีวี (HPV, Human Papilloma Virus) และโรคกระเพาะอักเสบแบบหนึ่งที่เกิดจาก
เชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบกเตอร์ ไพลอไร (Helicobacter pylori) เป็นต้น
HPV_small.jpg
แบบจำลองคอมพิวเตอร์ของไวรัสเอชพีวี สำเหตุของโรคมะเร็งปำกมดลูก
ที่มำของภำพ: http://whyfiles.org/coolimages/index.html%3Fid=1038952611.html
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 13 / 25
สาหรับประเทศกาลังพัฒนา ผลกระทบจากโรคระบาดยุคที่ 3 นี้เห็นผลช้ากว่าในประเทศพัฒนาแล้ว
คือเห็นผลชัดเจนขึ้นบ้างหลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ดังจะเห็นได้จากสถิติการรอดชีวิตของ
เด็กแรกเกิด และค่าอายุคาดหมาย (life expectancy) เมื่อแรกเกิดที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
คาว่า “ค่าอายุคาดหมาย” ก็คือ ค่าอายุเฉลี่ยของประชากรที่คาดว่า บุคคลนั้นจะมีอายุยืนยาวถึงก่อน
เสียชีวิต
แต่นอกจากจะเห็นผลช้ากว่าแล้ว ผลที่ได้ก็ยังไม่ชัดเจนมากนักอีกด้วย เนื่องจากในหลายประเทศ
กว่าจะเห็นผลกระทบในเชิงบวก จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ดังกล่าว ผู้คนใน
ประเทศนั้นก็เริ่มได้รับผลกระทบในทางลบอย่างชัดเจนมากขึ้นแล้ว จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจาก
ประเทศ จากเดิมที่เป็นประเทศเกษตรกรรมกลายไปเป็นประเทศอุตสาหกรรม
hpylori-16.png
แบคทีเรีย เฮลิโคแบกเตอร์ ไพลอไร สำเหตุของโรคกระเพำะอักเสบแบบหนึ่ง
ที่มำของภำพ: http://www.hpylori.com.au/
โรคระบำดยุคล่ำสุด
ปรากฏการณ์เกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ในปัจจุบันนั้น อาร์เมลากอสจัดไว้ว่าเป็น “กำรเปลี่ยนผ่ำนครั้ง
ที่ 3” โดยอ้างอิงจากแนวโน้มหลัก 3 ประการได้แก่ ประการแรกคือ การที่มีโรคใหม่ๆ ที่ไม่เคยพบมาก่อนที่
เกิดขึ้นในระยะ 2-3 ทศวรรษหลัง ซึ่งกลายมาเป็นสาเหตุสาคัญในการทาให้ “ผู้ใหญ่” เสียชีวิตบ่อยมากขึ้น ดัง
จะเห็นได้จากตารางแสดงตัวอย่างของโรคอุบัติใหม่ที่พบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516-2537
อย่างไรก็ตามอาจเป็นไปได้เช่นกันว่า จานวนของเชื้อและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้
อาจจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นผลมาจากพัฒนาการของวิธีการตรวจสอบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จึงทาให้
นักวิทยาศาสตร์และแพทย์สามารถตรวจพบเชื้อและโรคได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทาให้ตรวจพบเชื้อที่มี
อยู่แล้วแต่ตรวจไม่พบก่อนหน้านี้ หรืออาจเกิดจากความสามารถในการตรวจสอบเชื้อที่มีจานวนน้อยมากๆ
ซึ่งเดิมไม่สามารถทาได้ เป็นต้น
ประการที่สองคือ มีจานวนผู้ป่วยที่ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนจากโรคติดเชื้อเดิมๆ (โรคอุบัติซ้า)
หลายโรคที่เคยเชื่อกันว่า สามารถการาบให้อยู่หมัดหรือควบคุมได้แล้ว และประการสุดท้าย เชื้อสาเหตุของ
โรคอุบัติซ้าเหล่านี้จานวนมากเป็นสายพันธุ์ดื้อยาปฏิชีวนะ
โดยช่วงระยะเวลำที่เกิดวิวัฒนำกำรจนเกิดเป็นสำยพันธุ์ดื้อยำใหม่ๆ เหล่ำนี้เกิดขึ้นด้วย
อัตรำเร็วที่เร็วมำกกว่ำอัตรำเร็วที่มนุษย์ใช้คิดค้นยำชนิดใหม่ๆ ที่ปลอดภัยเสียอีก!
แนวโน้มทั้ง 3 แบบนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อิทธิพลของกระบวนการโลกาภิวัตน์
(globalization) นั้น ไม่ได้จากัดว่าเกี่ยวข้องเพียงแต่เรื่องของการค้าขายข้ามชาติ การอพยพย้ายถิ่นฐาน และ
โครงข่ายข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเกิด “โรคอุบัติใหม่” เนื่องจากสภาพนิเวศของโรคติดเชื้อของมนุษย์
ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 14 / 25
ตัวอย่ำงโรคอุบัติใหม่ที่พบตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2516-2537
พ.ศ. เชื้อหรือสำเหตุโรค โรค
2516 โรทาไวรัส (Rotavirus) สาเหตุหลักของการเสียชีวิตจาก
โรคท้องร่วงในทารกทั่วโลก
2518 พาร์โวไวรัส (Parvovirus) โรคโลหิตจางเรื้อรังชนิดเม็ดเลือดแดงถูกทาลาย
2519 คริปโทสปอริเดียม พาร์วัม
(Cryptosporidium parvum)
ลาไส้เล็กและใหญ่อักเสบแบบฉับพลัน
2520 ไวรัสอีโบล่า (Ebola virus) โรคไข้เลือดออกชนิดอีโบล่า
2520 เลจิโอเนลลา นิวโมฟิลา
(Legionella pneumophila)
โรคเลจิโอแนร์ (Legionnaires’ disease)
2520 ไวรัสฮันตา (Hantaan virus) โรคไข้เลือดออกที่มีอาการของไตด้วย
(Hemorrhagic fever with renal syndrome, HFRS)
2520 แคมไพโลแบคเทอร์ (Campylobacter sp.) โรคทางเดินอาหารอักเสบชนิดติดเชื้อ
2523 ไวรัสเอชทีแอลวัน (HTLV I,
Human T-cell lymphotropic virus-I)
มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งปุ่มน้าเหลือง
2524 ชีวพิษจากสแตฟิโลคอคคัส
(Staphylococcus toxin)
ช็อคจากชีวพิษที่เกิดจากการใช้
ผ้าอนามัยชนิดสอด
2525 เอสเชอริเชีย โคไล (อีโคไล) โอ157:เอช7
(Escherichia coli O157:H7)
ทางเดินอาหารอักเสบ ถ่ายเป็นเลือด ฯลฯ
2525 ไวรัสเอชทีแอลวีทู (HTLV II) มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบหนึ่ง
2525 บอร์เรเลีย เบอร์โกดอร์เฟอไร
(Borrelia burgodorferi)
โรคไลม์ (Lyme disease)
2526 ไวรัสเอชไอวี
(HIV, Human immunodeficiency virus)
เอดส์
(Acquired immunodeficiency syndrome, AIDS)
2526 เฮลิโคแบกเทอร์ ไพลอไร
(Helicobacter pylori)
แผลเปื่อยกระเพาะ
2532 ไวรัสโรคตับอักเสบชนิดซี (Hepatitis C) โรคตับอักเสบ
2534 ไวรัสกัวนาริโต (Guanarito virus) โรคไข้เลือดออกเวเนซูเอลา
(Venezuelan hemorrhagic fever)
2535 ไวบริโอ คอเลรา โอ139
(Vibrio cholerae O139)
อหิวาตกโรคจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่
2536 ไวรัสฮันตา (Hantavirus) โรคปอดติดเชื้อจากไวรัส
2537 ไวรัสซาเบีย (Sabiá virus) โรคไข้เลือดออกบราซิล
(Brazilian hemorrhagic fever)
ที่มำ: David Satcher (1995) Emerging Infections: Getting Ahead of the Curve. Emerging
Infectious Diseases, 1 (1), 1-6
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 15 / 25
สภาวะต่างๆ ของโลกยุคปัจจุบันนี้ดูเหมือนว่า มีปัจจัยสาคัญๆ ที่อาจส่งผลให้โรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น
และแพร่กระจายขยายขอบเขตออกไปได้ในเวลาเพียงสั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทาลายป่าที่ทาให้สัตว์ป่า
และแมลงชนิดต่างๆ ที่เดิมอยู่แต่ในป่า มีโอกาสใกล้ชิดกับมนุษย์มากยิ่งขึ้น พฤติกรรมเฉพาะของคนบางกลุ่ม
บางชาติก็มีส่วนสาคัญ เช่น การเชื่อว่าสัตว์ป่าหายากบางชนิดเป็นยาโป๊ ว รวมทั้งการมีพฤติกรรมกินเนื้อสัตว์
หรืออวัยวะอื่นๆ แบบสดๆ ทาให้เพิ่มโอกาสที่คนในกลุ่มดังกล่าวจะรับเชื้อโรคใหม่ๆ มาจากสัตว์ป่าเหล่านั้น
จานวนประชากรที่มากขึ้นทุกที นอกจากนี้ ในบางบริเวณก็อยู่กันอย่างแออัดและมีสุขอนามัยที่ไม่ดี
นัก ก็เป็นสภาวะที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสาหรับการฟักตัวของโรคใหม่ๆ
การเคลื่อนย้ายพื้นที่ของแรงงานจานวนมหาศาล จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง การอพยพ
ของประชาชนที่หนีภัยสงครามกลางเมืองหรือสงครามระหว่างประเทศ ต่างก็ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสาคัญ
เช่นเดียวกับการคมนาคมที่สะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น การตัดเส้นทางรถยนต์ใหม่ๆ เข้าไปในพื้นที่ซึ่งเคยเป็น
ป่าหรือคนยังไม่สามารถเข้าถึง ที่สาคัญอย่างยิ่งอีกปัจจัยหนึ่งก็คือ การเดินทางโดยเครื่องบินที่สามารถนาพา
ผู้ป่วยที่เป็นพาหะของโลก ข้ามลัดฟ้าไปยังอีกฟากหนึ่งของโลกในเวลาเพียงครึ่งค่อนวัน ดังที่เคยเกิดขึ้นแล้ว
ในกรณีของโรคซาร์ส
มนุษยชำติกำลังเผชิญหน้ำกับ “โรคอุบัติใหม่” ที่ไม่เคยรู้จักมำก่อน ซึ่งพร้อมจะเกิดขึ้นและ
กระจำยไปทั่วโลก โดยใช้เวลำเพียงพริบตำเดียวเมื่อเทียบกับกำรระบำดของโรคติดต่ออดีต กำร
เตรียมพร้อมเพื่อรับมือและแก้ไขปัญหำโรคอุบัติใหม่ จึงเป็นภำรกิจสำคัญของมนุษยชำติ!
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 16 / 25
บทที่ 2
กำเนิดโรคอุบัติใหม่
ดร. นาชัย ชีววิวรรธน์
โรคติดเชื้อนั้นเป็นที่ทราบกันมานานนับศตวรรษแล้วว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับลักษณะ
หรือภาวะสุขอนามัยที่ไม่ดีของชุมชน ซึ่งก็มักจะเกี่ยวข้องกับการขาดแคลนน้าดื่มที่สะอาดและปลอดภัย การ
พักอาศัยกันอย่างหนาแน่นมากๆ รวมไปถึงการเข้าไม่ถึงบริการทางสาธารณสุข หรือการรักษาทางการแพทย์
ที่ดี หรือเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้ยาก ผลเรื่องดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่เพิ่ง
ผ่านพ้นไป ที่ประชาชนในประเทศพัฒนาแล้วเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีระบบสาธารณสุขดีขึ้นเป็นอย่าง
มาก เช่นเดียวกับที่มีการปรับปรุงคุณภาพของน้าดื่มจนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือมีคุณภาพดีจนปลอดภัย
พอที่จะดื่มได้โดยตรงจากท่อประปา ทาให้สามารถลดจานวนผู้ป่วยจากโรคติดเชื้อได้อย่างมาก
เมื่อผนวกกับการนายาสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีมากมาใช้ เช่น ยาตระกูลซัลฟาในช่วงราว 70
กว่าปีก่อน และยาเพนิซิลลิน (penicillin) รวมไปถึงยาปฏิชีวนะ (antibiotics) ชนิดอื่นๆ ตั้งแต่ช่วง 60 ปีที่แล้ว
นอกจากนี้แล้ว ยังรวมถึงการมีวัคซีนที่มีประสิทธภาพดีของโรคสาคัญๆ ซึ่งก็มีส่วนสาคัญเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน
ที่ทาให้มีผู้ป่วยโรคสาคัญในอดีตหลายๆ โรคลดลง วัคซีนโรคโปลิโอที่เริ่มต้นใช้ในช่วงราว 50 กว่าปีก่อน ทา
ให้จานวนผู้ป่วยจากโรคนี้ลดลงเป็นอันมาก เช่นเดียวกับวัคซีนโรคไอกรน (pertussis) ที่เมื่อถึงปี พ.ศ. 2519
ก็พบว่ามีอัตราผู้ป่วยในประเทศสหรัฐอเมริกาลดลงถึง 99% จากจานวนผู้ป่วยเมื่อ 40 ปีก่อนหน้า ซึ่งเป็น
ช่วงเวลาที่มีการริเริ่มใช้วีคซีนชนิดนี้เป็นครั้งแรก ในทานองเดียวกัน วัคซีนโรคหัดช่วยทาให้ไม่มีผู้ป่วยโรคนี้
หลงเหลืออีกเลยในประเทศสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545
ควำมสำเร็จของกำรใช้วัคซีนเห็นได้ชัดเจนยิ่ง จำกกำรที่องค์กำรอนำมัยโลกประกำศกำร
หมดสิ้นไปของโรคฝีดำษ (smallpox) โดยพบผู้ป่วยรำยสุดท้ำยในปี พ.ศ. 2520
แต่แม้กระนั้น โรคติดต่อก็ไม่ได้หมดสิ้นไปแต่อย่างใด ในขณะที่โรคเก่าๆ บางโรคถูกกาจัดหรือทาให้
ลดน้อยลงไป แต่ก็มีโรคใหม่ๆ ปรากฏขึ้นตลอดเวลา ดังแสดงข้อมูลไว้ในบทนาและบทที่ 1 ที่ผ่านมา แม้แต่
เชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดื้อยาเพนิซิลลิน ก็พบครั้งแรกเมื่อราว 70 ปีที่แล้ว ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาแค่ภายหลังจาก
ที่ใช้ยานี้ไปได้เพียงไม่ถึงทศวรรษเดียวด้วยซ้าไป!
หนังสือรายงานสุขภาพโลกปี พ.ศ. 2550 (World Health Report 2007) ขององค์การอนามัยโลก
(WHO) ระบุว่า โรคระบาดในปัจจุบันแพร่กระจายอย่างกว้างขวางไปตามภูมิภาคต่างๆ มากเกินกว่ายุคใดๆ
ในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ โรคอุบัติใหม่ยังปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าที่เคยเป็น ซึ่งสวนทางกับความรู้
และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้นยิ่งกว่ายุคใดๆ ที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากสถิติ
ที่ว่าตั้งแต่ราว 40 ปีที่แล้วเป็นต้นมา มีโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนในอัตราเฉลี่ยปีละ 1 โรคหรือ
มากกว่านั้นเสียด้วยซ้า
มีโรคถึงเกือบ 40 โรคที่คนในรุ่นที่แล้วไม่เคยรู้จักมำก่อนเลยตลอดชั่วชีวิตของพวกเขำ!
นอกจากนี้แล้ว แค่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ก็พบการระบาดของโรคต่างๆ มากมายกว่า 1,100
ครั้งทั่วโลก หากพิจารณาจากตัวอย่างเฉพาะโรคสาคัญเพียง 6 โรคคือ โรคอาหารเป็นพิษจากแบคทีเรีย
อีโคไลโอ157 โรควัวบ้า โรคซาร์ส กาฬโรค อหิวาตกโรค และโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสนิพาห์ ก็
ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมแล้วมากมายมหาศาลถึง 7.37 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในชั่ว
ระยะเวลาเพียง 14 ปี คือจาก พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2546
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 17 / 25
ผู้คนจานวนมากจึงอดไม่ได้ที่จะเกิดความสงสัยว่า โรคติดเชื้อ “อุบัติใหม่” เหล่านี้มาจากไหนหรือโรค
อุบัติใหม่เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรกันแน่
เรื่องสาคัญคงไม่ได้จบแค่ที่ว่า สามารถรู้ได้ว่าโรคเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เรื่องที่สาคัญเท่าๆ กัน
หรืออาจจะสาคัญมากกว่าด้วยซ้าน่าจะได้แก่ การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถจนสามารถวางแผนเพื่อ
ป้องกันและรับมือกับโรคอุบัติใหม่ชนิดต่างๆ ที่แทบจะแน่นอนว่า ต้องปรากฏขึ้นอีกเรื่อยๆ ในอนาคต
ผลกระทบทำงเศรษฐกิจจำกโรคอุบัติใหม่และโรคติดต่อสำคัญบำงโรค
economic impact.tif
ผลกระทบทำงตรงด้ำนเศรษฐกิจของโรคสำคัญบำงโรคในช่วงปี ค.ศ. 1990-2003
ที่มำ: องค์กำรอนำมัยโลก
ในบทที่ 1 นั้น เราได้กล่าวถึงบ้างแล้วเกี่ยวกับปัจจัยบางอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับการถือกาเนิดขึ้นของ
โรคอุบัติใหม่ แต่เพื่อความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในบทนี้เราจะมาดู “กลไก” ที่อยู่เบื้องหลังการถือกาเนิดขึ้นของ
โรคอุบัติใหม่ชนิดต่างๆ ให้ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้นไปอีก
ปัจจัยหลักสำหรับกำรเกิดโรคอุบัติใหม่
มีปัจจัยจานวนมากที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอุบัติใหม่ ดังแสดงไว้ในแบบจาลองแสดงปัจจัยก่อโรค
อุบัติใหม่ว่า อาจแบ่งออกเป็นกว้างๆ คือ ประกอบไปด้วยการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของจุลินทรีย์ที่เป็น
ต้นเหตุของโรคชนิดต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาของมนุษย์เองเป็นหลักสาคัญ ซึ่งอาจกล่าวรวมๆ
ได้ว่าเป็นปัจจัยด้านชีววิทยาและพันธุศาสตร์
นอกจากนี้ ปัจจัยทางกายภาพซึ่งครอบคลุมเรื่องของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย
ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสาคัญที่ส่งผลทาให้ระบบนิเวศ (ecosystem) ของสิ่งมีชีวิต
ชนิดต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญมากปัจจัยหนึ่ง ที่เร่งการเกิดขึ้นของโรคอุบัติใหม่ไม่น้อย
เช่นกัน
นอกจากนี้แล้ว ภาวะโลกาภิวัตน์ที่ทาให้ปัจจัยเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในท้องถิ่นถูก
กระทบจากสภาวะภายนอกถิ่นที่อยู่อาศัยนั้นๆ เช่น การอพยพย้ายถิ่นฐานของแรงงานจากประเทศที่มีฐานะ
ทางเศรษฐกิจด้อยกว่า บางครั้งก็นาโรคต่างๆ ไปกับแรงงานจานวนหนึ่งที่เป็นพาหะของโรคอยู่ด้วย เป็นต้น
โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์
หน้า 18 / 25
model_EID.tif
แบบจำลองแสดงถึงควำมซับซ้อนของปัจจัยต่ำงๆ ที่ก่อโรคอุบัติใหม่
ที่มำ: Microbial Threats to Health: Emergence, Detection, and Response (2003)
แต่หำกพิจำรณำกันอย่ำงถ่องแท้แล้ว ไม่ว่ำจะมีปัจจัยมำกน้อยเพียงใด แต่สำเหตุหลัก
เบื้องต้นล้วนสำมำรถเชื่อมโยงกลับไปที่ปัจจัยหลักคือ กำรเปลี่ยนแปลงทำงชีววิทยำ (โดยเฉพำะทำง
พันธุกรรม) ของเชื้อโรคนั้นๆ และของมนุษย์นี่เอง
การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมของเชื้อโรคเกิดขึ้นตลอดเวลาตามธรรมชาติ อันที่จริงแล้วไม่แต่
เชื้อโรคเหล่านี้เท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรม เหล่าบรรดาสิ่งมีชีวิตที่เป็นเป้าหมายของเชื้อโรค
เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นพืชและสัตว์ชนิดต่างๆ รวมทั้งมนุษย์เอง ก็มีการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรมเกิดขึ้น
ตลอดเวลาเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมเหล่านี้ บางครั้งก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ
“โครงสร้าง” และ “หน้าที่” บางอย่างของเชื้อโรคเหล่านี้ ให้เป็นไปในแบบที่ไม่เคยพบมาก่อน ตัวอย่างที่เด่นชัด
ที่สุดของการเปลี่ยนแปลงในแบบนี้ สามารถสังเกตเห็นได้จาก “ไวรัส” ที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงสาร
พันธุกรรมอย่างรวดเร็วที่สุด
ตัวอย่างจากงานวิจัยพบว่า ไวรัสชื่อ แคนีนพำร์โวไวรัส (Canine parvo virus, CPV) ที่ก่อโรคใน
สุนัข มีการตรวจพบเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 แต่ปัจจุบันพบกระจายไปทั่วโลกแล้ว เมื่อแรกพบนั้นไวรัสนี้
มีลักษณะของสารพันธุกรรมคล้ายกับไวรัสอีกชนิดหนึ่งที่พบในแมวชื่อ เฟลีนแพนลิวค์ไวรัส (Feline
panleuk virus, FPV) ทาให้นักวิทยาศาสตร์คาดว่า อาจจะเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ของ FPV บางสาย
พันธุ์ ที่ทาให้ไวรัสพัฒนาความสามารถจนติดต่อมายังสุนัขได้ ทั้งๆ ที่เดิมไม่สามารถทาเช่นนั้นได้ เพราะพบ
ติดต่อได้เฉพาะในกลุ่มของแมวเท่านั้น
ผลลัพธ์หนึ่งที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือ พบสถิติว่ามีการติดเชื้อไวรัส CPV นี้ในสัตว์ต่างๆ เพิ่ม
จานวนมากขึ้นราวเท่าตัวทุกปี ในขณะที่ไวรัส FPV มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก เมื่อวิจัยลึกลงไปอีกก็พบว่า
การกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรมของ CPV ทาให้มันสามารถติดเชื้อสัตว์เป้าหมายได้มากชนิดขึ้น
เช่นเดียวกับความรุนแรงของโรคที่ทวีมากขึ้นทุกที
แต่สิ่งที่น่ำตื่นเต้นตกใจมำกไปกว่ำนั้นก็คือ กำรกลำยพันธุ์เกิดขึ้นด้วยอัตรำที่รวดเร็วขึ้น
อย่ำงมำก
Emerging diseases
Emerging diseases
Emerging diseases
Emerging diseases
Emerging diseases
Emerging diseases
Emerging diseases

More Related Content

Similar to Emerging diseases (13)

Factsheet
FactsheetFactsheet
Factsheet
 
02 lepto
02 lepto02 lepto
02 lepto
 
corona virus 65.ppt
corona virus 65.pptcorona virus 65.ppt
corona virus 65.ppt
 
โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)
โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)
โรคมะเร็งกล่องเสียง (1)
 
Clu1
Clu1Clu1
Clu1
 
2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลง
2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลง2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลง
2การจัดลำดับความสำคัญโรคติดต่อนำโดยแมลง
 
ไอกรน Ppt.1
ไอกรน Ppt.1ไอกรน Ppt.1
ไอกรน Ppt.1
 
plague
plagueplague
plague
 
DHFสอนปี2561.ppt
DHFสอนปี2561.pptDHFสอนปี2561.ppt
DHFสอนปี2561.ppt
 
Finalpresentationl20 23
Finalpresentationl20 23Finalpresentationl20 23
Finalpresentationl20 23
 
Sars
Sars Sars
Sars
 
Emergency prevention
Emergency preventionEmergency prevention
Emergency prevention
 
DENGUE
DENGUE DENGUE
DENGUE
 

More from Namchai Chewawiwat

Podcast ep006-spanish flu v covid
Podcast ep006-spanish flu v covidPodcast ep006-spanish flu v covid
Podcast ep006-spanish flu v covidNamchai Chewawiwat
 
Podcast ep005-flashbulb memory
Podcast ep005-flashbulb memoryPodcast ep005-flashbulb memory
Podcast ep005-flashbulb memoryNamchai Chewawiwat
 
Podcast ep004-covid rapid test
Podcast ep004-covid rapid testPodcast ep004-covid rapid test
Podcast ep004-covid rapid testNamchai Chewawiwat
 
Podcast ep002-Covid Vaccines and Drugs
Podcast ep002-Covid Vaccines and DrugsPodcast ep002-Covid Vaccines and Drugs
Podcast ep002-Covid Vaccines and DrugsNamchai Chewawiwat
 
WHO China Joint Mission on Covid-19
WHO China Joint Mission on Covid-19WHO China Joint Mission on Covid-19
WHO China Joint Mission on Covid-19Namchai Chewawiwat
 
Basic protective measures against the new coronavirus
Basic protective measures against the new coronavirusBasic protective measures against the new coronavirus
Basic protective measures against the new coronavirusNamchai Chewawiwat
 
ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ
ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ  ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ
ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ Namchai Chewawiwat
 
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...Namchai Chewawiwat
 
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์ Namchai Chewawiwat
 
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9Namchai Chewawiwat
 
Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai
Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai
Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai Namchai Chewawiwat
 
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทยโอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทยNamchai Chewawiwat
 
กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์
กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์ กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์
กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์ Namchai Chewawiwat
 
รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ
รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ
รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ Namchai Chewawiwat
 
การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย)
การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย) การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย)
การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย) Namchai Chewawiwat
 
20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO
20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO 20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO
20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO Namchai Chewawiwat
 
Maker Faire Berlin, Science & Other Museums
Maker Faire Berlin, Science & Other Museums Maker Faire Berlin, Science & Other Museums
Maker Faire Berlin, Science & Other Museums Namchai Chewawiwat
 
ข้อควรรู้เีกี่ยวกับ MERS และ MERS-CoV
ข้อควรรู้เีกี่ยวกับ MERS และ MERS-CoV ข้อควรรู้เีกี่ยวกับ MERS และ MERS-CoV
ข้อควรรู้เีกี่ยวกับ MERS และ MERS-CoV Namchai Chewawiwat
 
แผ่นดินไหว : วิทยาศาสตร์เบื้องต้น
แผ่นดินไหว : วิทยาศาสตร์เบื้องต้น แผ่นดินไหว : วิทยาศาสตร์เบื้องต้น
แผ่นดินไหว : วิทยาศาสตร์เบื้องต้น Namchai Chewawiwat
 

More from Namchai Chewawiwat (20)

Podcast ep006-spanish flu v covid
Podcast ep006-spanish flu v covidPodcast ep006-spanish flu v covid
Podcast ep006-spanish flu v covid
 
Podcast ep005-flashbulb memory
Podcast ep005-flashbulb memoryPodcast ep005-flashbulb memory
Podcast ep005-flashbulb memory
 
Podcast ep004-covid rapid test
Podcast ep004-covid rapid testPodcast ep004-covid rapid test
Podcast ep004-covid rapid test
 
Podcast ep002-Covid Vaccines and Drugs
Podcast ep002-Covid Vaccines and DrugsPodcast ep002-Covid Vaccines and Drugs
Podcast ep002-Covid Vaccines and Drugs
 
WHO China Joint Mission on Covid-19
WHO China Joint Mission on Covid-19WHO China Joint Mission on Covid-19
WHO China Joint Mission on Covid-19
 
Basic protective measures against the new coronavirus
Basic protective measures against the new coronavirusBasic protective measures against the new coronavirus
Basic protective measures against the new coronavirus
 
ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ
ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ  ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ
ไฮเปอร์ลูป (hyperloop) สำหรับคนทั่วไป: แนวคิดและผลกระทบ
 
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย มาตรการในสหภาพยุโรป โดย สำนักงานที่ปรึก...
 
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์
ในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย โดย ดร.นำชัย ช่ีววิวรรธน์
 
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9
ปฏิทินเทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของในหลวง ร.9
 
Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai
Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai
Note on Cosmos for Facebook Live by Namchai
 
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทยโอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย
โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย
 
กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์
กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์ กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์
กว่าจะเป็นหนังสือกำเนิดสปีชีส์
 
รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ
รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ
รายงานเรื่องอาหาร GMOs กับมนุษย์ โดยราชสมาคม, อังกฤษ
 
การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย)
การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย) การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย)
การสอบสวนเรื่องข้าวโพด GMOs โดย CDC ของประเทศสหรัฐอเมริกา (แปลไทย)
 
20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO
20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO 20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO
20 คำถามเกี่ยวกับอาหาร GMOs โดย WHO
 
Maker Faire Berlin, Science & Other Museums
Maker Faire Berlin, Science & Other Museums Maker Faire Berlin, Science & Other Museums
Maker Faire Berlin, Science & Other Museums
 
Sharing Experiences on Books
Sharing Experiences on Books Sharing Experiences on Books
Sharing Experiences on Books
 
ข้อควรรู้เีกี่ยวกับ MERS และ MERS-CoV
ข้อควรรู้เีกี่ยวกับ MERS และ MERS-CoV ข้อควรรู้เีกี่ยวกับ MERS และ MERS-CoV
ข้อควรรู้เีกี่ยวกับ MERS และ MERS-CoV
 
แผ่นดินไหว : วิทยาศาสตร์เบื้องต้น
แผ่นดินไหว : วิทยาศาสตร์เบื้องต้น แผ่นดินไหว : วิทยาศาสตร์เบื้องต้น
แผ่นดินไหว : วิทยาศาสตร์เบื้องต้น
 

Emerging diseases

  • 2. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 2 / 25 บทนำ ดร. นาชัย ชีววิวรรธน์ เมื่อราว 700 ปีก่อนซึ่งตรงกับรัชสมัยกรุงสุโขทัยของไทย เกิดมีโรคระบาดที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน แพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรป โรคดังกล่าวคร่าชีวิตผู้คนในทวีปนั้นไปอย่างน้อย 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด แต่บ้างก็ประเมินว่าอาจมากถึงครึ่งหนึ่งของชาวยุโรปทั้งหมดในขณะนั้นด้วยซ้าไป ต่อมาโรคนี้ยังกระจายไป ทั่วโลกและอาจจะทาให้มีคนเสียชีวิตมากถึง 75 ล้านคนทั่วโลก โรคนี้ได้รับชื่อในภายหลังว่า กำฬโรค (black death หรือ black plaque) ความร้ายแรงของกาฬโรคในคราวนั้น และที่เกิดขึ้นอีกหลายครั้งในหลายแห่งทั่วโลกในเวลาต่อมา ตลอดจนความหวาดกลัวของผู้คนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงการขาดความรู้และวิธีการที่มี ประสิทธิภาพดีในการต่อสู้กับโรคนี้ อาจสะท้อนให้เห็นได้ดีที่สุดจากภาพ "หมอจงอยปำกนกจำกโรม (Doktor Schnabel von Rom หรือ Doctor Beak of Rome) ที่แพทย์ใช้ชุดเยี่ยมไข้ผู้ป่วยกาฬโรครูปทรง แปลกตา ประกอบด้วยเสื้อคลุมยาวเคลือบขี้ผึ้ง หน้ากากรูปนกที่ส่วนตามีคริสตัลติดไว้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ส่วนจงอยปากยาวที่เห็นก็เป็นส่วนกระเปาะสาหรับเก็บเครื่องเทศหอม และมีแท่งไม้ที่ใช้สัมผัสผู้ป่วย Doktorschnabel.jpg ภำพแกะสลัก Doktor Schnabel von Rom (พ.ศ. 2199) ฝีมือศิลปิ น Paul FÜrst ที่มำ: http://www.sweetwaterlibraries.com/sclsblogs/backtoart/ โรคอุบัติใหม่ยุคโบราณอีกโรคหนึ่งที่ก่อความเสียหายแก่ผู้คนทั่วโลก รวมทั้งคนในแผ่นดินสุวรรณ ภูมิเองก็มีบันทึกเกี่ยวกับโรคนี้ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาได้แก่ โรคฝีดำษหรือไข้ทรพิษ (smallpox) ประเมินกันว่า โรคนี้น่าจะคร่าชีวิตชาวยุโรปไปราว 4 แสนคนต่อปีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเป็นสาเหตุ ของอาการตาบอดมากถึง 1 ใน 3 ของสาเหตุการตาบอดทั้งหมด โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตสูงมากถึงราว 20- 60% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด โดยมากกว่า 80% ของเด็กที่ติดเชื้อมักจะเสียชีวิต แม้แต่ในโลกยุคใหม่อย่ำงในศตวรรษที่ผ่ำนมำนี้เอง โรคนี้ก็เป็นสำเหตุของกำรเสียชีวิตของ ผู้คนมำกรวมกันถึงรำว 300-500 ล้ำนคน หรือเฉลี่ยแล้วมำกถึงรำว 3-5 ล้ำนคนต่อปีเลยทีเดียว !
  • 3. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 3 / 25 แต่ด้วยโปรแกรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษขององค์การอนามัยโลกและนานาชาติที่ประสบ ความสาเร็จเป็นอย่างมาก ในที่สุด องค์การอนามัยก็สามารถประกาศผลสาเร็จในการกาจัดโรคนี้ได้หมดในปี พ.ศ. 2522 จนถึงปัจจุบัน โรคติดต่อชนิดนี้ก็ยังคงเป็นโรคเพียงโรคเดียวที่มนุษย์สามารถกาจัดให้หมดไปโดย สิ้นเชิงจากธรรมชาติได้ Smallpox01.jpg ภำพวำดบันทึกเหตุกำรณ์โรคฝีดำษที่ระบำดใหญ่ในยุโรป ในภำพจะเห็นบำทหลวงทำพิธีปัดรังควำนด้วย ที่มำ: http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Smallpox01.jpg ในปี พ.ศ. 2461 ซึ่งเป็นช่วงปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เกิดการระบาดของ เชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน เชื้อโรคดังกล่าวแพร่กระจายไปทั่วโลกในปีนั้นและปีถัดมา เป็น สาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลกถึงราว 20 ล้านคน (บ้างก็ประเมินว่าอาจจะสูงถึง 50 ล้านคน) ซึ่งก็ มากกว่าจานวนทหารของทุกประเทศที่เสียชีวิต และสูญหายไปในสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมกันกว่าเท่าตัว ในภายหลัง โรคดังกล่าวได้รับการขนานนามตามชื่อประเทศที่พบการติดเชื้อเป็นครั้งแรกว่า โรค ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu) 1918_flu_in_Oakland.jpg กำชำดอเมริกันกำลังดูแลพยำบำลผู้ป่วยในโรงละครเมืองโอ๊กแลนด์ เพรำะโรงพยำบำลมี สถำนที่ไม่เพียงพอรับผู้ป่วย ระหว่ำงกำรระบำดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนในปี พ.ศ. 2461 นอกจากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สเปนแล้ว ยังมีโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อโรคชนิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยพบมาก่อน ระบาดไปทั่วโลกอีกหลายครั้ง เช่น ในปี พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2511 และ พ.ศ. 2520 แม้ว่าจะ ไม่ได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากเท่ากับในกรณีของไข้หวัดใหญ่สเปนในปี พ.ศ. 2461 แต่ก็ทาให้มีผู้ป่วยนับล้านคน
  • 4. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 4 / 25 และมีผู้เสียชีวิตนับหลายหมื่นหรือหลายแสนคนทุกครั้ง ส่งผลกระทบทางลบต่อคุณภาพชีวิตและทาให้ เศรษฐกิจของภูมิภาคหรือของโลก ถดถอยลงเป็นอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2519 บริเวณแม่น้าอีโบล่าในประเทศคองโก ซึ่งเดิมคือประเทศแซร์อีนั้น มีการระบาดของ โรคไข้เลือดออกชนิดใหม่ไปทั่วบริเวณ โรคอุบัติใหม่ดังกล่าวก่อให้เกิดความสนใจในกลุ่มของสื่อสารมวลชน ชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก จนต่อมาได้ลุกลามกลายเป็นกระแสความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เพราะธรรมชาติ ของโรคนี้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งสามารถติดต่อได้ผ่านทางการหายใจ แม้ว่าอันที่จริงแล้ว การติดต่อโรค ผ่านทางการหายใจของโรคนี้เกิดขึ้นอย่างจากัดมาก คือพบในกรณีผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยไม่มี อุปกรณ์ป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม ภายหลัง จึงพบว่าโรคดังกล่าวเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง และมีการตั้งชื่อไวรัสดังกล่าวตามสถานที่ ซึ่งพบการระบาดของโลกเป็นครั้งแรกว่า ไวรัสอีโบล่ำ (Ebola virus) Ebola_virus.jpg เชื้อไวรัสที่ก่อโรคอีโบล่ำ ในปี พ.ศ. 2542 จู่ๆ ก็เกิดการกระจายของโรคไข้สมองอักเสบในนครนิวยอร์ก โรคดังกล่าว แพร่กระจายต่อเนื่องไปถึงรัฐนิวเจอร์ซี และต่อเนื่องไปยังรัฐคอนเนกติกัทที่อยู่ใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว ภายหลัง โรคดังกล่าวยังแพร่กระจายข้ามต่อไปยังประเทศใกล้เคียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศแคนาดา เม็กซิโก และ ประเทศอื่นๆ ในแถบแคริบเบียนและอเมริกากลางอีกด้วย ข้อมูลทางการแพทย์ยังระบุข้อมูลย้อนหลังกลับไปอีกด้วยว่า ก่อนหน้าที่เกิดการระบาดของโรค ดังกล่าวในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีการระบาดของโรคที่มีลักษณะอาการของโรคคล้ายคลึงมากกับโรค ดังกล่าวในประเทศอียิปต์ซึ่งอยู่ในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ ก็ยังมีประเทศอิสราเอลและประเทศอินเดียซึ่งอยู่ ในทวีปเอเชียอีกด้วย ในระยะแรกไม่มีใครสามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่า พาหะของระบาดของโรคดังกล่าวคืออะไรกันแน่ แต่นักวิชาการส่วนใหญ่คาดว่าน่าจะเป็นยุงหรือนก เนื่องจากพบว่ามีจานวนสัตว์ปีกติดเชื้อและตายเป็น จานวนมากผิดปกติ ภายในบริเวณที่มีการแพร่กระจายของโรคคือประเทศสหรัฐอเมริกาเอง และในประเทศ อิสราเอลที่เคยพบการกระจายของโรคนี้ก่อนหน้านั้นหนึ่งปี ต่อมา จึงทราบว่าเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบดังกล่าวคือ ไวรัสเวสต์ไนล์ (West Nile virus) ซึ่งเรียกขานตามชื่อของพื้นที่อาศัยของผู้ป่วยรายแรกนั่นก็คือ แถบเวสต์ไนล์ (West Nile District) ในประเทศยูกันดานั่นเอง นอกจากที่กล่าวมาแล้ว หากย้อนไปดูตามประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติแล้ว ยังมีตัวอย่างของโรคอีก จานวนมากที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ ดังตัวอย่างเพิ่มเติมในตารางต่อไปนี้ หลายโรค เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เคยสูญเหายไปจากสังคมมนุษย์อีกเลย เช่น เอดส์ มาลาเรีย และวัณโรค เป็นต้น
  • 5. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 5 / 25 ตัวอย่ำงโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในอดีตและปัจจุบัน โรคระบำดใหญ่ทั่วโลกใน ประวัติศำสตร์ เชื้อโรคสำเหตุ จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต กาฬโรคจัสทิเนียน (Justinian Plague) ราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 แบคทีเรีย เยอสิเนีย เพสทิส (Yersinia pestis) 142 ล้านคน ~ 100 ล้านคน (อัตราการตาย ~ 70%) กาฬโรค (Black Death) แบคทีเรีย เยอสิเนีย เพสทิส (Yersinia pestis) ไม่มีข้อมูล ~ 25 ล้านคน กาฬโรคจีน (China Plaque) พ.ศ. 2439-2473 แบคทีเรีย เยอสิเนีย เพสทิส (Yersinia pestis) 30 ล้านคน ~ 12 ล้านคน ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu) พ.ศ. 2461-2462 ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza A virus) 200 ล้านคน ~ 20-50 ล้านคน โรคระบำดใหญ่ทั่วโลกใน ปัจจุบัน เชื้อโรคสำเหตุ จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต มาลาเรีย (Malaria) ปรสิตชนิด พลาสโมเดียม (Plasmodium parasites) 300-500 ล้านคน ต่อปี 1.5-2.5 ล้านคน ต่อปี วัณโรค (Tuberculosis) เชื้อแบคทีเรียชนิด ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) 8-10 ล้านคน ต่อปี 2 ล้านคน ต่อปี โรคตับอักเสบชนิดซี (Hepatitis C) ไวรัสตับอักเสบชนิดซี (Hepatitis C Virus, HCV) ~ 170 ล้านคน (จานวนรวมทั่วโลก) 1 หมื่นคนต่อปี (เฉพาะในสหรัฐฯ) เอชไอวี/เอดส์ (HIV/AIDS) ไวรัสชนิดเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus-1, HIV-1) มากกว่า 60 ล้านคน (จานวนรวมทั่วโลก) มากกว่า 20 ล้านคน (จานวนรวมทั่วโลก) โรคระบำดใหญ่ทั่วโลกใน ช่วงทศวรรษที่ผ่ำนมำ เชื้อโรคสำเหตุ จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต โรคไข้เลือดออกมาร์เบิร์ก (Marburg hemorrhagic fever) ใน แองโกลา (ยอดรวมถึง 17 พ.ค. 2548) ไวรัสมาร์เบิร์ก (Marburg virus) 337 311 ไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ปีกหรือไข้หวัดนก (Avian influenza) ม.ค. 2546-18 เม.ย. 2549 ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด H5N1 194 109 ไข้กาฬนกนางแอ่นหรือไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal disease) ใน เบอร์กินาฟาโซ 1 ม.ค.-20 เม.ย. 2546 N. meningitidis 7,146 1,058 ซาร์ส (SARS, Severe Acute Respiratory Syndrome) 1 พ.ย. 2545-31 ก.ค. 2546 เชื้อไวรัสชนิด ซาร์ส-โควี (SARS-CoV, SARS- associated coronavirus) 8,096 774 ที่มำ: หนังสือ Globalization, Biosecurity, and the Future of the Life Sciences (2006) เชื้อสาเหตุของโรคเหล่านี้ครอบคลุมจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และปรสิตต่างๆ แต่ สิ่งที่เหมือนกันของโรคเหล่านี้ทุกโรคก็คือ ต่างก็ดูคล้ายกับว่าจู่ๆ ก็เหมือนเกิดขึ้นเองในบริเวณต่างๆ ของโลก โรคเหล่านี้มีชื่อเรียกโดยรวมว่าเป็น โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) หรืออาจเรียก สั้นๆ ว่า “โรคอุบัติใหม่”
  • 6. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 6 / 25 โรคอีกกลุ่มหนึ่ง แม้ว่าจะเป็นที่รู้จักกันในวงการแพทย์มาเป็นเวลานานแล้ว และดูเหมือนจะเป็นโรค ที่มนุษย์จะสามารถเอาชนะหรือควบคุมได้เป็นบ้างแล้ว เพราะมีจานวนผู้ป่วยลดน้อยลงหรือคงที่มาอย่าง ต่อเนื่อง แต่แล้วอย่างไม่มีใครคาดคิดมาก่อน โรคในกลุ่มหลังนี้กลับปรากฏให้เห็นอย่างกว้างขวางอีกครั้งหนึ่ง โรคในกลุ่มหลังนี้เรียกโดยรวมว่าเป็น โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infectious diseases หรือ Reemerging infectious diseases หรือ Resurgent infectious diseases) หรือนิยมเรียกย่อว่า “โรคอุบัติซ้ำ” หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าเรื่องราวของโรคอุบัติใหม่ที่น่าสนใจ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของโรคอุบัติ ใหม่บางโรคด้วยในฐานะต้นแบบ (model) ของโรคอุบัติใหม่ในอดีต โรคต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นโรคที่มี ความแปลกประหลาด น่าสนใจ และมีลักษณะเฉพาะตัวเป็นอย่างยิ่ง บางโรคทาให้นักวิทยาศาสตร์ถึงกับต้อง ล้มล้างทฤษฎีหรือความเชื่อเดิมๆ บางอย่างแล้วตั้งทฤษฎีใหม่ๆ ที่ดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้ขึ้นมา เพื่ออธิบาย กลไลการเกิดโรคใหม่ๆ เหล่านี้ econimpact.gif ผลกระทบเชิงเศรษฐศำสตร์ของโรคติดต่อสำคัญบำงชนิดในช่วงสองสำมทศวรรษที่ผ่ำนมำ ที่มำ: PRWeb http://www.prweb.com/ โรคต่างๆ เหล่านี้มีส่วนสาคัญในการกาหนดคุณภาพชีวิตของประชากรโลกในอดีตจนถึงปัจจุบัน โรค อุบัติใหม่เพียงโรคใดโรคหนึ่งก็เพียงพอแล้ว ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์ได้มากมายมหาศาล อย่างไม่น่าเชื่อ โรคเหล่านี้บางโรคอาจจะสาคัญมากในระดับที่นักวิทยาศาสตร์บางท่าน ถึงกับตั้งสมมติฐานว่า โรคเหล่านี้เองที่เป็นหนึ่งในปัจจัยหรือตัวแปร ที่จะเป็นตัวกาหนดอนาคตของประชาชนในประเทศบางประเทศ รวมทั้งเป็นตัวชี้ถึงควำมอยู่รอดหรือล่มสลำยของอำรยธรรมของสังคมหนึ่งๆ ในยุคหรือ สมัยหนึ่ง หรือชี้ควำมเป็นควำมตำยของมนุษยชำติโดยรวมได้เลยทีเดียว!
  • 7. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 7 / 25 บทที่ 1 ประวัติศำสตร์ย่อของโรคติดต่อ ดร. นาชัย ชีววิวรรธน์ โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ทั้งหมดเป็น “โรคติดต่อ (Infectious disease)” ประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนั้น การจะเรียนรู้ธรรมชาติของโรคอุบัติใหม่และสามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องศึกษาธรรมชาติของ “โรคติดต่อ” ด้วยอย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ คาถามที่ว่า “โรคติดต่อ (infectious diseases) เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อใดกันแน่” นั้น ยังคงเป็นปริศนาอยู่ แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเชื่อกันว่า โรคติดต่อน่าจะมีความเก่าแก่มาก อาจเป็นไปได้ว่าอาจจะอยู่คู่มากับ อารยธรรมของมนุษย์เองเลยทีเดียว ต้นกาเนิดของมนุษยชาตินั้น จากหลักฐานแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงกระดูก ข้าวของเครื่องใช้ ศิลปะรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงดีเอ็นเอ ต่างก็ชี้ไปในทิศทางที่ว่า ต้นตระกูลมนุษย์ปัจจุบันน่าจะถือกาเนิดขึ้นใน พื้นที่แถบทวีปแอฟริกา จากนั้นจึงแพร่กระจายเป็นระลอกๆ ไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก จากความคล้ายคลึงกัน ของโครงสร้าง และพันธุกรรมของมนุษย์โบราณกับสัตว์ตระกูลไพรเมท (ลิงไร้หาง) จึงไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลก ประหลาดแต่อย่างใด หากมนุษย์จะโดนรังควาญจากโรคจากเชื้อปรสิตต่างๆ ในแบบเดียวกับไพรเมทชนิด ต่างๆ ที่พบว่า เป็นเหยื่อสาคัญของเชื้อปรสิตก่อโรคชนิดต่างๆ โรคติดต่อของมนุษย์ยุคหิน โครงสร้างของสังคมมนุษย์ในยุคหินต้นๆ คือ ราว 5-7 แสนปีก่อน เชื่อกันว่าเป็นสังคมแบบกลุ่ม ขนาดเล็กที่ร่อนเร่พเนจรล่าสัตว์และหาของป่าในเขตทุ่งหญ้า ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ไม่เหมาะกับการแพร่กระจาย ของเชื้อโรคติดต่อร้ายแรง เพราะหากเกิดขึ้นก็อาจจะทาให้สมาชิกในกลุ่มเสียชีวิตหมด ทาให้โรคนั้นไม่ สามารถแพร่กระจายต่อไปอีกได้ ดังนั้น โรคติดต่อร้ายแรงอย่างเช่น โรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ (smallpox) และโรคหัดเยอรมันหรือ เหือด (measles) จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบมากนักกับมนุษย์ยุคหิน แต่น่าจะส่งผลกระทบอย่างมากในช่วงที่มี การลงหลักปักฐานอยู่กันเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ และมีความหนาแน่นของประชากรสูงมากขึ้นแล้ว ในทาง ตรงกันข้าม โรคติดต่อที่มีระยะพักตัวนานหรือมีความรุนแรงไม่สูงมากนัก เช่น โรคอีสุกอีใส (chickenpox) และโรคเริม (herpes simplex) ที่เกิดจากไวรัส ก็อาจจะเป็นโรคที่ทาความเดือดร้อนราคาญใจให้กับมนุษย์ยุค หินมากกว่า มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า เชื้อโรคบางอย่างซึ่งมีวิธีการส่งผ่านไปยังสัตว์ชนิดต่างๆ และความรุนแรงในการ ก่อโรคที่เข้าคู่ได้กับรูปแบบสังคม และการใช้ชีวิตของมนุษย์โบราณ ก็อาจจะมีวิวัฒนาการร่วมกันกับมนุษย์มา อย่างยาวนานนับแสนปี ตัวอย่างของปรสิตที่นักวิทยาศาสตร์พบอยู่กับมนุษย์ยุคหินก็เช่น พยาธิเข็มหมุดชนิด เอ็นเทอโร เบียส เวอร์มิคูลาริส (Enterobius vermicularis) ซึ่งยังคงก่อโรคอยู่ในมนุษย์ยุคปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อ กันว่า ปรสิตดังกล่าวอาจเริ่มติดต่อในมนุษย์เนื่องจากพฤติกรรมการเข้ากลุ่ม การใช้มือสัมผัสกับข้าวของ เครื่องใช้ต่างๆ และการใช้มือสัมผัสกับปาก ปรสิตอีกสองชนิดในกลุ่มนี้ได้แก่ เหาชนิด เพดิคูลัส ฮิวเมนัส (Pediculus humanus) และเชื้อ แซลโมเนลลา (Salmonella) ที่เป็นต้นเหตุของโรคในระบบทางเดินอาหาร เชื้อโรคต่างๆ ที่เอ่ยมาแล้วนี้ นักวิทยาศาสตร์บางคนเรียกขานกันว่าเป็น “สปีชีส์มรดก (heirloom species)” ที่มนุษย์ได้รับถ่ายทอดต่อๆ กันมาจากบรรพบุรุษที่เกิดมาก่อนหน้า
  • 8. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 8 / 25 pin worm eggs.jpg pediculus_humanus.jpg ไข่พยำธิเข็มหมุด ที่มำของภำพ: มหำวิทยำลัยแพทย์ฟูจิตะเฮลท์ เหำ เพดิคูลัส ฮิวเมนัส ที่มำของภำพ: มหำวิทยำลัยแพทย์ยูทำห์ สปีชีส์มรดกอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งต่างจากสปีชีส์มรดกในกลุ่มแรก เพราะอาจไม่ได้อาศัยในร่างกายมนุษย์ อย่างยาวนาน แต่เชื้อโรคกลุ่มหลังนี้มนุษย์ยุคหินอาจบังเอิญได้รับมาผ่านกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจาวัน เช่น การเก็บ จัดเตรียม หรือกินอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชผักสดๆ แมลง เนื้อ และปลา สาหรับเชื้อโรคต่างๆ ในกลุ่มหลังนี้ เรียกกันว่าเป็น “พยำธิของกำนัล (souvenir parasites)” ตัวอย่างของ “พยาธิของกานัล” ได้แก่ โรคหลับ (sleeping sickness) ที่เกิดจากเชื้อทริพาโนโซม (trypanosome) ซึ่งอาศัยแมลงวันเซทซี (tsetse fly) เป็นพาหะ โรคนี้อาจจะหันมาเล่นงานมนุษย์เนื่องจาก สัตว์ที่เป็นเหยื่อหรือสัตว์เป้าหมายเดิม โดนมนุษย์ล่าจนมีจานวนลดน้อยลงไป เหตุผลสาคัญข้อหนึ่งที่ทาให้ นักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งเชื่อในสมมติฐานดังกล่าวก็คือ มนุษย์ปัจจุบันไม่มีภูมิต้านทานต่อโรคนี้ ซึ่งแสดงว่า โรคนี้น่าจะไม่ได้มี “วิวัฒนำกำรร่วม (coevolution)” มากับมนุษย์อย่างยาวนานแต่อย่างใด เหตุผลเดียวกัน ยังใช้ได้กับโรคอีกหลายชนิดด้วย trypanosome.gif tsetse.jpg ปรสิตทริพำโนโซม (ลักษณะตัวเป็นเกลียว) ท่ำมกลำงเม็ดเลือดแดงรูปจำนกลม (รูปซ้ำย) และแมลงวันเซทซีที่เป็นพำหะของโรค ที่มำของภำพ: http://www.sciencemadecool.com/2007/12/friday-parasite.html และ http://patriciaholdenmd.wordpress.com/2008/02/26/the-easiest-way-to-prevent-travelers- diseases/ ในทางตรงกันข้าม เมื่อมนุษย์ยุคหินบุกเบิกเข้าไปสู่ดินแดนเขตอบอุ่น ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากความ ฝืดเคืองของแหล่งอาหารเดิมในเขตร้อน แต่โดยธรรมชาติของพื้นที่ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็น อย่างมากระหว่างปี ดินแดนหรือพื้นที่ในเขตอบอุ่นและเขตหนาวก็มักจะมีเชื้อโรคน้อยกว่าในเขตร้อนอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ และแม้ว่าในขบวนของนักบุกเบิกเหล่านี้อาจจะมีคนที่เป็น “พาหะ (carrier)” ของโรคบางอย่าง ที่ติดตามไปในขบวนด้วย แต่หากที่อยู่อาศัยใหม่ ไม่มีสัตว์อื่นที่เป็นพาหะของโรคได้ (โรคหลายชนิดต้องการ พาหะนาโรคชนิดอื่นๆ ในวงจรชีวิตด้วยนอกเหนือจากมนุษย์ เช่น โรคมาลาเรียต้องการยุง ซึ่งมีวงจรชีวิตที่ เกิดและเติบโตได้ไม่ดีนักในเขตอบอุ่นและเขตหนาว) ผลลัพธ์ก็คือ โรคเหล่ำนั้นอำจจะลดลงหรือหมดไปได้เช่นกัน
  • 9. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 9 / 25 ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงอาจอนุมานได้ว่าในยุคแรกๆ ของอารยธรรมมนุษย์นั้น ปัจจัยสาคัญๆ ของการ ติดโรคติดเชื้อจึงขึ้นอยู่กับโครงสร้างประชากรและพฤติกรรมของมนุษย์เองเป็นหลัก แต่ส่วนหนึ่งอาจจะขึ้นกับ สภาวะแวดล้อมของระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น อาจจะไม่พบโรคอุบัติใหม่หลายชนิดหรือ แม้ว่าจะพบก็พบได้น้อยมาก เนื่องจากเหตุปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี่เอง โรคระบำดยุคแรก แอบเดล ออมแรน (Abdel Omran) ได้เสนอทฤษฎี “กำรเปลี่ยนผ่ำนทำงระบำดวิทยำ (The epidemiologic transition)” ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 ว่า อาจแบ่งยุคของโรคระบาดออกได้เป็น 3 ยุคโดยเรียง ตามลาดับเวลาคือ ยุคแรกเป็นยุคที่มนุษยชาติตกอยู่ในภาวะอดอยากยากแค้น และโรคระบาดมีความรุนแรง น่าสะพรึงกลัว จากนั้นจึงเข้าสู่ยุคที่ 2 ที่มีการระบาดของโรคร้ายแรงแพร่กระจายไปทั่วโลก (pandemic) ก่อให้เกิดความถดถอยแก่มนุษย์ในทุกด้าน จากนั้นจึงเข้าสู่ยุคที่ 3 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโรค ระบาดชนิดต่างๆ ไปเป็นอย่างมาก โรคระบาดในยุคสุดท้ายนี้เป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับกับความถดถอยของสุขภาพอย่างต่อเนื่องยาวนาน และมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป มากกว่าจะเป็นโรคติดต่อแบบฉับพลันและรุนแรง โดยที่ส่วนหนึ่งจะเป็นโรคที่ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกิจกรรมใหม่ของมนุษย์เอง หรืออาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่าเป็น “โรคที่มนุษย์ก่อขึ้น เอง (man-made diseases)” ต่อมา จอร์จ อาร์เมลากอส (George Armelagos) และคณะนักวิจัยของเขา ได้เสนอทฤษฎีการ เปลี่ยนผ่านทางระบาดวิทยาในรูปแบบที่ดัดแปลงมาจากแนวคิดเดิมของออมแรม แม้ว่าอาร์เมลากอสแบ่งยุค ของออกเป็น 3 ยุคเช่นเดียวกับออมแรม แต่เขาเน้นถึง “สถำนะของกำรเปลี่ยนผ่ำน (transition stage)” ของโรคในแต่ละยุคมากกว่า การเปลี่ยนผ่านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีสาเหตุเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงไปของ ปัจจัยแวดล้อม โดยปัจจัยเหล่านั้น อาจเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรืออาจเป็นปัจจัยที่เกิดจาก กิจกรรมใหม่ๆ ของมนุษย์เอง ในมุมมองของอาร์เมลากอส โรคระบาดในหมู่มนุษย์ยุคแรกมีลักษณะคล้ายคลึงกับเราได้กล่าวไป แล้วตอนต้นของบทนี้ จากนั้นจึงเข้าสู่ “กำรเปลี่ยนผ่ำนทำงระบำดวิทยำครั้งแรก (The first epidemiologic transition)” ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและโครงสร้างของสังคมมนุษย์ในยุคนั้น จากการอยู่รวมเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ที่ออกล่าสัตว์และหาของป่าเป็นหลัก กลายมาเป็น “สังคมเกษตรกรรม” ที่ ลงหลักปักฐานเป็นที่เป็นทาง และเริ่มมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อประโยชน์ต่างๆ เช่น ใช้แรงงาน ช่วยล่าสัตว์ ให้นม ให้เนื้อ เป็นเพื่อนเล่น ฯลฯ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ กำรเปลี่ยนผ่ำนดังกล่ำวนี้น่ำจะเกิดขึ้นในยุครำว 10,000-13,000 ปีก่อน และเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมและกิจกรรมดังกล่าว ทาให้มนุษย์มีโอกาสสัมผัส กับสัตว์ต่างๆ มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องอย่างลึกซึ้งต่อมนุษยชาติเองคือ ทาให้มีการรับเอา เชื้อโรคหลายชนิดที่เดิมเคยอาศัยอยู่แต่ในร่างกายของสัตว์ป่า แต่ตอนนี้ได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ เสียแล้ว จนทาให้เข้ามาแพร่กระจายอยู่ในสังคมมนุษย์ในที่สุด นอกจากนี้ ยังอาจทาให้เชื้อโรคเดิมที่เคยอยู่แต่ในมนุษย์ มีวิวัฒนาการแบบก้าวกระโดด เนื่องจากมี โอกาสสัมผัสและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใหม่สาคัญๆ ที่ไม่เคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาก่อน นั่นก็คือ เชื้อ โรคชนิดต่างๆ จากสัตว์เลี้ยง การสัมผัสใกล้ชิดกันอาจจะเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยน “สารพันธุกรรม” ในกรณีของเชื้อโรคที่มี ลักษณะใกล้เคียงกันมากได้ง่ายขึ้น นี่เองที่อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุสาคัญที่เชื้อโรคในสัตว์ซึ่งมนุษย์ไม่เคยมีภูมิ ต้านทานมาก่อนเลย เกิดการพัฒนาจนกลายเป็นเชื้อก่อโรครุนแรงในมนุษย์!
  • 10. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 10 / 25 สัตว์ชนิดแรกๆ ที่มนุษย์นามาเลี้ยงได้สาเร็จมีหลายชนิด คือ แพะ แกะ วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ และ สุนัข ล้วนแล้วแต่เป็น สัตว์รังโรค (reservoir) ของเชื้อโรคจานวนมาก เช่น เชื้อแบคทีเรียที่ก่อวัณโรค โรค แอนแทร็กซ์ โรคไข้คิว (Q fever) และโรคบรูเซลโลซิส (brucellosis) เป็นต้น มีการตั้งสมมติฐานว่ามนุษย์ น่าจะรับเชื้อโรคเหล่านี้ผ่านทางการสัมผัสกับขน ผิวหนัง น้านม หรือละอองฝุ่นที่มาจากสัตว์ เป็นหลัก โรคที่มนุษย์อำจได้รับมำจำกสัตว์เลี้ยง โรคที่เกิดกับมนุษย์ สัตว์ที่มีจุลินทรีย์ซึ่งก่อให้เกิดโรคใกล้เคียงกับ โรคของมนุษย์มำกที่สุด หัด วัว ควาย (รินเดอร์เปสต์หรือโรคลงแดง) วัณโรค วัว ควาย ไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาษ วัว ควาย หรือสัตว์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัส ที่ทาให้เกิดโรคแผลพุพองหรือฝีดาษ ไข้หวัดใหญ่ สุกร เป็ด ไอกรน สุกร สุนัข มาลาเรีย นก (ไก่และเป็ด?) ที่มำ: หนังสือ “ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้ำ กับชะตำกรรมของสังคมมนุษย์”, จำเร็ด ไดมอนด์ เขียน, อรวรรณ คูหำเจริญ นำวำยุทธ แปล, โครงกำรจัดพิมพ์คบไฟ โรคระบำดยุคที่สอง การเปลี่ยนเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ลงหลักปักฐานอยู่กับที่ และมีประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นมาก ขึ้น นอกจากจะเพิ่มโอกาสในการสัมผัสและส่งถ่ายเชื้อโรคระหว่างกันของสมาชิกในชุมชนแล้ว การที่ขาด ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบบาบัดของเสีย ยังเป็นปัจจัยเร่งที่เพิ่มโอกาสในการ แพร่กระจายเชื้อปรสิตขนาดใหญ่ (สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า) และจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดิน อาหารได้อย่างง่ายดาย ร่องรอยที่ยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ตามซากโครงกระดูกของมนุษย์ในยุคดังกล่าว แสดงหลักฐาน สนับสนุนสมมติฐานดังกล่าวข้างต้นเป็นอย่างดี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมก็น่าจะเป็นปัจจัยสาคัญ ที่เพิ่มโอกาสในการสัมผัสกับปรสิตต่างๆ เช่น พยาธิชนิดต่างๆ รวมถึงพาหะของโรคอย่างแมลงชนิดต่างๆ รวมทั้งยุงที่เป็นสัตว์นาโรคไข้สมองอักเสบ โรคไข้เหลือง และโรคมาลาเรีย เป็นต้น ข้อแตกต่างสาคัญของโรคติดต่อในยุคที่สองนี้ที่แตกต่างจากโรคติดต่อในยุคแรก ได้แก่ เป้าหมาย ของโรคได้เปลี่ยนมาเป็นผู้ใหญ่ทั่วไป ซึ่งมีสภาพร่างกายแข็งแรงกว่า ไม่ใช่เด็กเล็กและคนแก่ที่มีภูมิต้านทาน ต่า ดังที่เกิดขึ้นในสังคมผู้ล่าสัตว์และหาของป่าอีกต่อไป ดังนั้น การระบาดใหญ่ของโรคติดต่อเหล่านี้แต่ละครั้ง จึงทาให้สังคมนั้นถึงกับง่อยเปลี้ยหรือเป็น อัมพาตไปทั้งสังคม และทาให้เกิดการถดถอยทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่เป็นเวลานานได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่าง หนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนมากได้แก่ กรณีของวัณโรคซึ่งระบาดเป็นระยะๆ อยู่ตลอดในทวีปยุโรป โดยแต่ละครั้งที่ เกิดการระบาดก็ทาให้ชาวยุโรปเสียชีวิตไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด มีผู้ประเมินว่าเมื่อถึงสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 วัณโรคสังหารเฉพาะชาวยุโรปไปรวมแล้วไม่น่าจะน้อย กว่า 350 ล้านคน หรือกว่า 5 เท่าของจานวนประชากรไทยในปัจจุบันเสียอีก!
  • 11. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 11 / 25 ในหนังสือ “วัณโรค: เรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดที่ไม่เคยมีใครเล่า” ของแฟรงค์ ไรอัน (Frank Ryan) ถึงกับระบุ ว่า วัณโรคน่าจะเป็นโรคติดต่อที่เป็นฆาตกรร้ายกาจที่สุดที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เนื่องจากแม้แต่ หำกนับเฉพำะช่วงสองศตวรรษที่ผ่ำนมำ วัณโรคก็สังหำรผู้คนไปแล้วกว่ำ 1,000 ล้ำนคน ซึ่งน่ำจะ มำกกว่ำโรคติดต่ออื่นใดในประวัติศำสตร์ของมนุษยชำติ! uberculosis_FrankRyan.jpg หนังสือ “วัณโรค: เรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดที่ไม่เคยมีใครเล่ำ” ปัจจัยร่วมสาคัญอีก 2 ปัจจัยที่มีผู้กล่าวถึงเสมอได้แก่ การเพิ่มการอพยพย้ายถิ่นฐานและการค้า ระหว่างประเทศที่อยู่ห่างไกลกัน ร่วมกับการบุกเบิกและสารวจโลกใหม่มากขึ้น ซึ่งคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเวลา เดียวกัน อันที่จริงแล้ว การยึดครองโลกใหม่ของชาวยุโรปอาจจะเกิดขึ้นได้ไม่ง่ายดายนัก ดังที่มีบันทึกไว้ใน หน้าประวัติศาสตร์โลก หากปราศจากความช่วยเหลือของโรคฝีดาษ (หรือไข้ทรพิษ) และโรคไทฟอยด์ (typhoid) ที่คร่าชีวิตชาวพื้นเมืองในแผ่นดินใหม่นับล้านๆ คน บางครั้งเมื่อกองทัพเรือและทัพม้าของชาวยุโรปไปถึงก็พบว่า แทบไม่ต้องใช้กาลังในต่อสู้เพื่อยึด ครองเลย เพราะนอกจากจะมีอาวุธที่เหนือกว่าเป็นอย่างมากแล้ว นักรบชาวพื้นเมืองจานวนมากหรือเกือบ ทั้งหมดในบางกรณี ต่างเสียชีวิตไปมากแล้ว (บางครั้งก็เสียชีวิตแทบทั้งหมด) จากเชื้อโรคใหม่ที่พวกเขาไม่ เคยพบมาก่อน ซึ่งติดต่อมาจากชาวยุโรปคนแรกๆ ที่ขึ้นเกาะและได้นาติดตัวไปแพร่สู่ชาวพื้นเมืองโดยไม่ ตั้งใจ ตัวอย่างจริงในกรณีนี้ก็คือ อารยธรรมแอซเทค (Aztec) ของทวีปอเมริกาใต้ การล่มสลายของหลายอาณาจักรของคนพื้นเมืองในหลายทวีป จึงมีปัจจัยสาคัญที่เกิดจากโรคติดต่อ ที่เปรียบประดุจ “โรคอุบัติใหม่” ของคนพื้นเมืองเหล่านั้นร่วมด้วยเป็นอย่างมาก!!! โรคระบำดยุคที่สำม การเปลี่ยนผ่านทางระบาดวิทยาเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง (อาจนับเป็นครั้งที่ 2) ในราวช่วงเวลาคาบ เกี่ยวกับ กำรปฏิวัติอุตสำหกรรม (The Industrial Revolution) ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือหรืออยู่ ในช่วงราว 150 ปีที่แล้ว จุดแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนของการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ก็คือ การลดลงอย่างเห็นได้ ชัดเจน (ในประเทศพัฒนาแล้ว) ของอัตราการตายเนื่องจากโรคติดเชื้อต่างๆ มีสมมติฐานในเรื่องนี้อยู่หลายประเด็นด้วยกัน แต่โดยหลักๆ แล้วนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นผลจาก ความก้าวหน้าและการค้นพบใหม่ๆ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ในประเทศอุตสาหกรรม เช่น การค้นพบยา ปฏิชีวนะ ฯลฯ ซึ่งต่อมา ก็แพร่กระจายลักษณะดังกล่าวไปยังประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าด้วย การกาจัดโรคโปลิโอและไข้ทรพิษได้อย่างสิ้นซาก ทาให้การแพทย์แผนตะวันตกได้รับการยอมรับไป ทั่วโลกถึงกับมีการคาดหมายว่า น่าจะมีการลดลงของโรคติดต่ออย่างเห็นได้ชัดเจน ก่อนจะสิ้นสุด
  • 12. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 12 / 25 คริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่จากสถิติที่รวบรวมโดยหลายองค์กรทั่วโลก กลับไม่แสดงว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทาง ที่ดีในลักษณะดังกล่าวมากเท่าที่คาดการณ์กันไว้แต่อย่างใด penicillin_g_link.jpg penicillin_WWII.jpg เชื้อรำที่ผลิตสำรเพนิซิลลินกับสูตรเคมีของสำรเพนิซิลลินจี (ซ้ำย) และ โปสเตอร์โฆษณำสรรพคุณวิเศษของเพนิซิลลินในช่วงสงครำมโลกครั้งที่ 2 ที่มำของภำพ: http://www.pharma.unibas.ch/bio/4_0_Research.php และ นอกจากนี้ยังพบอีกด้วยว่า มีการเพิ่มขึ้นของความเจ็บป่วยจากโรคอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกาลังจะแซงหน้า หรือในบางประเทศก็แซงหน้าโรคติดต่อสาคัญๆ ก่อนหน้านั้นไปแล้ว ในการเป็นปัจจัยหลักที่ทาให้ประชากร ในประเทศพัฒนาแล้วเสียชีวิต ซึ่งอาจพิจารณาโดยรวมว่าเป็นโรคจากกิจกรรมของมนุษย์เอง ดังที่มีผู้ขนำนนำมว่ำเป็น “โรคเนื่องจำกอำรยธรรม (diseases of civilization)” ตัวอย่างของโรคในกลุ่มนี้ก็คือ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเรื้อรังของ ระบบหายใจบางโรค เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่านี่คือ “ราคาที่ต้องจ่าย” สาหรับความก้าวหน้าและอารยธรรม รูปแบบใหม่ๆ ที่มีผลไปทาให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อโรคเหล่านี้ โดยเฉพาะในชุมชนเมืองที่มีมลพิษของ น้าและอากาศสูง มีความกดดันและมีความเครียดจากการทางานสูงและต่อเนื่อง และจากการที่ต้องอาศัยกัน อยู่อย่างหนาแน่น มีหลักฐานว่าภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีอัตราผู้ป่วยจากโรคมะเร็ง ภูมิแพ้ ความเครียด และ ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงความผิดปกติเมื่อแรกเกิด เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างเด่นชัด ที่น่าประหลาดใจยิ่งไปกว่า นั้นก็คือ วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าทาให้ทราบว่า โรคหลายๆ โรคที่เคยคิดว่าไม่ได้เป็นโรคติดต่อ กลับเป็นโรคติดต่อ และมีเชื้อโรคสาเหตุที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก ชนิดที่เกิดจากไวรัสชื่อ เอชพีวี (HPV, Human Papilloma Virus) และโรคกระเพาะอักเสบแบบหนึ่งที่เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบกเตอร์ ไพลอไร (Helicobacter pylori) เป็นต้น HPV_small.jpg แบบจำลองคอมพิวเตอร์ของไวรัสเอชพีวี สำเหตุของโรคมะเร็งปำกมดลูก ที่มำของภำพ: http://whyfiles.org/coolimages/index.html%3Fid=1038952611.html
  • 13. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 13 / 25 สาหรับประเทศกาลังพัฒนา ผลกระทบจากโรคระบาดยุคที่ 3 นี้เห็นผลช้ากว่าในประเทศพัฒนาแล้ว คือเห็นผลชัดเจนขึ้นบ้างหลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ดังจะเห็นได้จากสถิติการรอดชีวิตของ เด็กแรกเกิด และค่าอายุคาดหมาย (life expectancy) เมื่อแรกเกิดที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น คาว่า “ค่าอายุคาดหมาย” ก็คือ ค่าอายุเฉลี่ยของประชากรที่คาดว่า บุคคลนั้นจะมีอายุยืนยาวถึงก่อน เสียชีวิต แต่นอกจากจะเห็นผลช้ากว่าแล้ว ผลที่ได้ก็ยังไม่ชัดเจนมากนักอีกด้วย เนื่องจากในหลายประเทศ กว่าจะเห็นผลกระทบในเชิงบวก จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ดังกล่าว ผู้คนใน ประเทศนั้นก็เริ่มได้รับผลกระทบในทางลบอย่างชัดเจนมากขึ้นแล้ว จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจาก ประเทศ จากเดิมที่เป็นประเทศเกษตรกรรมกลายไปเป็นประเทศอุตสาหกรรม hpylori-16.png แบคทีเรีย เฮลิโคแบกเตอร์ ไพลอไร สำเหตุของโรคกระเพำะอักเสบแบบหนึ่ง ที่มำของภำพ: http://www.hpylori.com.au/ โรคระบำดยุคล่ำสุด ปรากฏการณ์เกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ในปัจจุบันนั้น อาร์เมลากอสจัดไว้ว่าเป็น “กำรเปลี่ยนผ่ำนครั้ง ที่ 3” โดยอ้างอิงจากแนวโน้มหลัก 3 ประการได้แก่ ประการแรกคือ การที่มีโรคใหม่ๆ ที่ไม่เคยพบมาก่อนที่ เกิดขึ้นในระยะ 2-3 ทศวรรษหลัง ซึ่งกลายมาเป็นสาเหตุสาคัญในการทาให้ “ผู้ใหญ่” เสียชีวิตบ่อยมากขึ้น ดัง จะเห็นได้จากตารางแสดงตัวอย่างของโรคอุบัติใหม่ที่พบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516-2537 อย่างไรก็ตามอาจเป็นไปได้เช่นกันว่า จานวนของเชื้อและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้ อาจจะมีส่วนหนึ่งที่เป็นผลมาจากพัฒนาการของวิธีการตรวจสอบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จึงทาให้ นักวิทยาศาสตร์และแพทย์สามารถตรวจพบเชื้อและโรคได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทาให้ตรวจพบเชื้อที่มี อยู่แล้วแต่ตรวจไม่พบก่อนหน้านี้ หรืออาจเกิดจากความสามารถในการตรวจสอบเชื้อที่มีจานวนน้อยมากๆ ซึ่งเดิมไม่สามารถทาได้ เป็นต้น ประการที่สองคือ มีจานวนผู้ป่วยที่ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนจากโรคติดเชื้อเดิมๆ (โรคอุบัติซ้า) หลายโรคที่เคยเชื่อกันว่า สามารถการาบให้อยู่หมัดหรือควบคุมได้แล้ว และประการสุดท้าย เชื้อสาเหตุของ โรคอุบัติซ้าเหล่านี้จานวนมากเป็นสายพันธุ์ดื้อยาปฏิชีวนะ โดยช่วงระยะเวลำที่เกิดวิวัฒนำกำรจนเกิดเป็นสำยพันธุ์ดื้อยำใหม่ๆ เหล่ำนี้เกิดขึ้นด้วย อัตรำเร็วที่เร็วมำกกว่ำอัตรำเร็วที่มนุษย์ใช้คิดค้นยำชนิดใหม่ๆ ที่ปลอดภัยเสียอีก! แนวโน้มทั้ง 3 แบบนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อิทธิพลของกระบวนการโลกาภิวัตน์ (globalization) นั้น ไม่ได้จากัดว่าเกี่ยวข้องเพียงแต่เรื่องของการค้าขายข้ามชาติ การอพยพย้ายถิ่นฐาน และ โครงข่ายข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเกิด “โรคอุบัติใหม่” เนื่องจากสภาพนิเวศของโรคติดเชื้อของมนุษย์ ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
  • 14. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 14 / 25 ตัวอย่ำงโรคอุบัติใหม่ที่พบตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2516-2537 พ.ศ. เชื้อหรือสำเหตุโรค โรค 2516 โรทาไวรัส (Rotavirus) สาเหตุหลักของการเสียชีวิตจาก โรคท้องร่วงในทารกทั่วโลก 2518 พาร์โวไวรัส (Parvovirus) โรคโลหิตจางเรื้อรังชนิดเม็ดเลือดแดงถูกทาลาย 2519 คริปโทสปอริเดียม พาร์วัม (Cryptosporidium parvum) ลาไส้เล็กและใหญ่อักเสบแบบฉับพลัน 2520 ไวรัสอีโบล่า (Ebola virus) โรคไข้เลือดออกชนิดอีโบล่า 2520 เลจิโอเนลลา นิวโมฟิลา (Legionella pneumophila) โรคเลจิโอแนร์ (Legionnaires’ disease) 2520 ไวรัสฮันตา (Hantaan virus) โรคไข้เลือดออกที่มีอาการของไตด้วย (Hemorrhagic fever with renal syndrome, HFRS) 2520 แคมไพโลแบคเทอร์ (Campylobacter sp.) โรคทางเดินอาหารอักเสบชนิดติดเชื้อ 2523 ไวรัสเอชทีแอลวัน (HTLV I, Human T-cell lymphotropic virus-I) มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งปุ่มน้าเหลือง 2524 ชีวพิษจากสแตฟิโลคอคคัส (Staphylococcus toxin) ช็อคจากชีวพิษที่เกิดจากการใช้ ผ้าอนามัยชนิดสอด 2525 เอสเชอริเชีย โคไล (อีโคไล) โอ157:เอช7 (Escherichia coli O157:H7) ทางเดินอาหารอักเสบ ถ่ายเป็นเลือด ฯลฯ 2525 ไวรัสเอชทีแอลวีทู (HTLV II) มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบหนึ่ง 2525 บอร์เรเลีย เบอร์โกดอร์เฟอไร (Borrelia burgodorferi) โรคไลม์ (Lyme disease) 2526 ไวรัสเอชไอวี (HIV, Human immunodeficiency virus) เอดส์ (Acquired immunodeficiency syndrome, AIDS) 2526 เฮลิโคแบกเทอร์ ไพลอไร (Helicobacter pylori) แผลเปื่อยกระเพาะ 2532 ไวรัสโรคตับอักเสบชนิดซี (Hepatitis C) โรคตับอักเสบ 2534 ไวรัสกัวนาริโต (Guanarito virus) โรคไข้เลือดออกเวเนซูเอลา (Venezuelan hemorrhagic fever) 2535 ไวบริโอ คอเลรา โอ139 (Vibrio cholerae O139) อหิวาตกโรคจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ 2536 ไวรัสฮันตา (Hantavirus) โรคปอดติดเชื้อจากไวรัส 2537 ไวรัสซาเบีย (Sabiá virus) โรคไข้เลือดออกบราซิล (Brazilian hemorrhagic fever) ที่มำ: David Satcher (1995) Emerging Infections: Getting Ahead of the Curve. Emerging Infectious Diseases, 1 (1), 1-6
  • 15. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 15 / 25 สภาวะต่างๆ ของโลกยุคปัจจุบันนี้ดูเหมือนว่า มีปัจจัยสาคัญๆ ที่อาจส่งผลให้โรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น และแพร่กระจายขยายขอบเขตออกไปได้ในเวลาเพียงสั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทาลายป่าที่ทาให้สัตว์ป่า และแมลงชนิดต่างๆ ที่เดิมอยู่แต่ในป่า มีโอกาสใกล้ชิดกับมนุษย์มากยิ่งขึ้น พฤติกรรมเฉพาะของคนบางกลุ่ม บางชาติก็มีส่วนสาคัญ เช่น การเชื่อว่าสัตว์ป่าหายากบางชนิดเป็นยาโป๊ ว รวมทั้งการมีพฤติกรรมกินเนื้อสัตว์ หรืออวัยวะอื่นๆ แบบสดๆ ทาให้เพิ่มโอกาสที่คนในกลุ่มดังกล่าวจะรับเชื้อโรคใหม่ๆ มาจากสัตว์ป่าเหล่านั้น จานวนประชากรที่มากขึ้นทุกที นอกจากนี้ ในบางบริเวณก็อยู่กันอย่างแออัดและมีสุขอนามัยที่ไม่ดี นัก ก็เป็นสภาวะที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งสาหรับการฟักตัวของโรคใหม่ๆ การเคลื่อนย้ายพื้นที่ของแรงงานจานวนมหาศาล จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง การอพยพ ของประชาชนที่หนีภัยสงครามกลางเมืองหรือสงครามระหว่างประเทศ ต่างก็ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสาคัญ เช่นเดียวกับการคมนาคมที่สะดวกง่ายดายมากยิ่งขึ้น การตัดเส้นทางรถยนต์ใหม่ๆ เข้าไปในพื้นที่ซึ่งเคยเป็น ป่าหรือคนยังไม่สามารถเข้าถึง ที่สาคัญอย่างยิ่งอีกปัจจัยหนึ่งก็คือ การเดินทางโดยเครื่องบินที่สามารถนาพา ผู้ป่วยที่เป็นพาหะของโลก ข้ามลัดฟ้าไปยังอีกฟากหนึ่งของโลกในเวลาเพียงครึ่งค่อนวัน ดังที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ในกรณีของโรคซาร์ส มนุษยชำติกำลังเผชิญหน้ำกับ “โรคอุบัติใหม่” ที่ไม่เคยรู้จักมำก่อน ซึ่งพร้อมจะเกิดขึ้นและ กระจำยไปทั่วโลก โดยใช้เวลำเพียงพริบตำเดียวเมื่อเทียบกับกำรระบำดของโรคติดต่ออดีต กำร เตรียมพร้อมเพื่อรับมือและแก้ไขปัญหำโรคอุบัติใหม่ จึงเป็นภำรกิจสำคัญของมนุษยชำติ!
  • 16. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 16 / 25 บทที่ 2 กำเนิดโรคอุบัติใหม่ ดร. นาชัย ชีววิวรรธน์ โรคติดเชื้อนั้นเป็นที่ทราบกันมานานนับศตวรรษแล้วว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดกับลักษณะ หรือภาวะสุขอนามัยที่ไม่ดีของชุมชน ซึ่งก็มักจะเกี่ยวข้องกับการขาดแคลนน้าดื่มที่สะอาดและปลอดภัย การ พักอาศัยกันอย่างหนาแน่นมากๆ รวมไปถึงการเข้าไม่ถึงบริการทางสาธารณสุข หรือการรักษาทางการแพทย์ ที่ดี หรือเข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้ยาก ผลเรื่องดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่เพิ่ง ผ่านพ้นไป ที่ประชาชนในประเทศพัฒนาแล้วเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีระบบสาธารณสุขดีขึ้นเป็นอย่าง มาก เช่นเดียวกับที่มีการปรับปรุงคุณภาพของน้าดื่มจนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือมีคุณภาพดีจนปลอดภัย พอที่จะดื่มได้โดยตรงจากท่อประปา ทาให้สามารถลดจานวนผู้ป่วยจากโรคติดเชื้อได้อย่างมาก เมื่อผนวกกับการนายาสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีมากมาใช้ เช่น ยาตระกูลซัลฟาในช่วงราว 70 กว่าปีก่อน และยาเพนิซิลลิน (penicillin) รวมไปถึงยาปฏิชีวนะ (antibiotics) ชนิดอื่นๆ ตั้งแต่ช่วง 60 ปีที่แล้ว นอกจากนี้แล้ว ยังรวมถึงการมีวัคซีนที่มีประสิทธภาพดีของโรคสาคัญๆ ซึ่งก็มีส่วนสาคัญเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ที่ทาให้มีผู้ป่วยโรคสาคัญในอดีตหลายๆ โรคลดลง วัคซีนโรคโปลิโอที่เริ่มต้นใช้ในช่วงราว 50 กว่าปีก่อน ทา ให้จานวนผู้ป่วยจากโรคนี้ลดลงเป็นอันมาก เช่นเดียวกับวัคซีนโรคไอกรน (pertussis) ที่เมื่อถึงปี พ.ศ. 2519 ก็พบว่ามีอัตราผู้ป่วยในประเทศสหรัฐอเมริกาลดลงถึง 99% จากจานวนผู้ป่วยเมื่อ 40 ปีก่อนหน้า ซึ่งเป็น ช่วงเวลาที่มีการริเริ่มใช้วีคซีนชนิดนี้เป็นครั้งแรก ในทานองเดียวกัน วัคซีนโรคหัดช่วยทาให้ไม่มีผู้ป่วยโรคนี้ หลงเหลืออีกเลยในประเทศสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ควำมสำเร็จของกำรใช้วัคซีนเห็นได้ชัดเจนยิ่ง จำกกำรที่องค์กำรอนำมัยโลกประกำศกำร หมดสิ้นไปของโรคฝีดำษ (smallpox) โดยพบผู้ป่วยรำยสุดท้ำยในปี พ.ศ. 2520 แต่แม้กระนั้น โรคติดต่อก็ไม่ได้หมดสิ้นไปแต่อย่างใด ในขณะที่โรคเก่าๆ บางโรคถูกกาจัดหรือทาให้ ลดน้อยลงไป แต่ก็มีโรคใหม่ๆ ปรากฏขึ้นตลอดเวลา ดังแสดงข้อมูลไว้ในบทนาและบทที่ 1 ที่ผ่านมา แม้แต่ เชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดื้อยาเพนิซิลลิน ก็พบครั้งแรกเมื่อราว 70 ปีที่แล้ว ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาแค่ภายหลังจาก ที่ใช้ยานี้ไปได้เพียงไม่ถึงทศวรรษเดียวด้วยซ้าไป! หนังสือรายงานสุขภาพโลกปี พ.ศ. 2550 (World Health Report 2007) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคระบาดในปัจจุบันแพร่กระจายอย่างกว้างขวางไปตามภูมิภาคต่างๆ มากเกินกว่ายุคใดๆ ในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ โรคอุบัติใหม่ยังปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าที่เคยเป็น ซึ่งสวนทางกับความรู้ และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้นยิ่งกว่ายุคใดๆ ที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากสถิติ ที่ว่าตั้งแต่ราว 40 ปีที่แล้วเป็นต้นมา มีโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อนในอัตราเฉลี่ยปีละ 1 โรคหรือ มากกว่านั้นเสียด้วยซ้า มีโรคถึงเกือบ 40 โรคที่คนในรุ่นที่แล้วไม่เคยรู้จักมำก่อนเลยตลอดชั่วชีวิตของพวกเขำ! นอกจากนี้แล้ว แค่ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ก็พบการระบาดของโรคต่างๆ มากมายกว่า 1,100 ครั้งทั่วโลก หากพิจารณาจากตัวอย่างเฉพาะโรคสาคัญเพียง 6 โรคคือ โรคอาหารเป็นพิษจากแบคทีเรีย อีโคไลโอ157 โรควัวบ้า โรคซาร์ส กาฬโรค อหิวาตกโรค และโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสนิพาห์ ก็ ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมแล้วมากมายมหาศาลถึง 7.37 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในชั่ว ระยะเวลาเพียง 14 ปี คือจาก พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2546
  • 17. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 17 / 25 ผู้คนจานวนมากจึงอดไม่ได้ที่จะเกิดความสงสัยว่า โรคติดเชื้อ “อุบัติใหม่” เหล่านี้มาจากไหนหรือโรค อุบัติใหม่เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไรกันแน่ เรื่องสาคัญคงไม่ได้จบแค่ที่ว่า สามารถรู้ได้ว่าโรคเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เรื่องที่สาคัญเท่าๆ กัน หรืออาจจะสาคัญมากกว่าด้วยซ้าน่าจะได้แก่ การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถจนสามารถวางแผนเพื่อ ป้องกันและรับมือกับโรคอุบัติใหม่ชนิดต่างๆ ที่แทบจะแน่นอนว่า ต้องปรากฏขึ้นอีกเรื่อยๆ ในอนาคต ผลกระทบทำงเศรษฐกิจจำกโรคอุบัติใหม่และโรคติดต่อสำคัญบำงโรค economic impact.tif ผลกระทบทำงตรงด้ำนเศรษฐกิจของโรคสำคัญบำงโรคในช่วงปี ค.ศ. 1990-2003 ที่มำ: องค์กำรอนำมัยโลก ในบทที่ 1 นั้น เราได้กล่าวถึงบ้างแล้วเกี่ยวกับปัจจัยบางอย่าง ที่เกี่ยวข้องกับการถือกาเนิดขึ้นของ โรคอุบัติใหม่ แต่เพื่อความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในบทนี้เราจะมาดู “กลไก” ที่อยู่เบื้องหลังการถือกาเนิดขึ้นของ โรคอุบัติใหม่ชนิดต่างๆ ให้ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้นไปอีก ปัจจัยหลักสำหรับกำรเกิดโรคอุบัติใหม่ มีปัจจัยจานวนมากที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอุบัติใหม่ ดังแสดงไว้ในแบบจาลองแสดงปัจจัยก่อโรค อุบัติใหม่ว่า อาจแบ่งออกเป็นกว้างๆ คือ ประกอบไปด้วยการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของจุลินทรีย์ที่เป็น ต้นเหตุของโรคชนิดต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาของมนุษย์เองเป็นหลักสาคัญ ซึ่งอาจกล่าวรวมๆ ได้ว่าเป็นปัจจัยด้านชีววิทยาและพันธุศาสตร์ นอกจากนี้ ปัจจัยทางกายภาพซึ่งครอบคลุมเรื่องของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสาคัญที่ส่งผลทาให้ระบบนิเวศ (ecosystem) ของสิ่งมีชีวิต ชนิดต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญมากปัจจัยหนึ่ง ที่เร่งการเกิดขึ้นของโรคอุบัติใหม่ไม่น้อย เช่นกัน นอกจากนี้แล้ว ภาวะโลกาภิวัตน์ที่ทาให้ปัจจัยเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในท้องถิ่นถูก กระทบจากสภาวะภายนอกถิ่นที่อยู่อาศัยนั้นๆ เช่น การอพยพย้ายถิ่นฐานของแรงงานจากประเทศที่มีฐานะ ทางเศรษฐกิจด้อยกว่า บางครั้งก็นาโรคต่างๆ ไปกับแรงงานจานวนหนึ่งที่เป็นพาหะของโรคอยู่ด้วย เป็นต้น
  • 18. โรคอุบัติใหม่...มหาภัยใกล้ตัว ดร.นาชัย ชีววิวรรธน์ หน้า 18 / 25 model_EID.tif แบบจำลองแสดงถึงควำมซับซ้อนของปัจจัยต่ำงๆ ที่ก่อโรคอุบัติใหม่ ที่มำ: Microbial Threats to Health: Emergence, Detection, and Response (2003) แต่หำกพิจำรณำกันอย่ำงถ่องแท้แล้ว ไม่ว่ำจะมีปัจจัยมำกน้อยเพียงใด แต่สำเหตุหลัก เบื้องต้นล้วนสำมำรถเชื่อมโยงกลับไปที่ปัจจัยหลักคือ กำรเปลี่ยนแปลงทำงชีววิทยำ (โดยเฉพำะทำง พันธุกรรม) ของเชื้อโรคนั้นๆ และของมนุษย์นี่เอง การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมของเชื้อโรคเกิดขึ้นตลอดเวลาตามธรรมชาติ อันที่จริงแล้วไม่แต่ เชื้อโรคเหล่านี้เท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรม เหล่าบรรดาสิ่งมีชีวิตที่เป็นเป้าหมายของเชื้อโรค เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นพืชและสัตว์ชนิดต่างๆ รวมทั้งมนุษย์เอง ก็มีการเปลี่ยนแปลงในระดับพันธุกรรมเกิดขึ้น ตลอดเวลาเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมเหล่านี้ บางครั้งก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ “โครงสร้าง” และ “หน้าที่” บางอย่างของเชื้อโรคเหล่านี้ ให้เป็นไปในแบบที่ไม่เคยพบมาก่อน ตัวอย่างที่เด่นชัด ที่สุดของการเปลี่ยนแปลงในแบบนี้ สามารถสังเกตเห็นได้จาก “ไวรัส” ที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงสาร พันธุกรรมอย่างรวดเร็วที่สุด ตัวอย่างจากงานวิจัยพบว่า ไวรัสชื่อ แคนีนพำร์โวไวรัส (Canine parvo virus, CPV) ที่ก่อโรคใน สุนัข มีการตรวจพบเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 แต่ปัจจุบันพบกระจายไปทั่วโลกแล้ว เมื่อแรกพบนั้นไวรัสนี้ มีลักษณะของสารพันธุกรรมคล้ายกับไวรัสอีกชนิดหนึ่งที่พบในแมวชื่อ เฟลีนแพนลิวค์ไวรัส (Feline panleuk virus, FPV) ทาให้นักวิทยาศาสตร์คาดว่า อาจจะเป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ของ FPV บางสาย พันธุ์ ที่ทาให้ไวรัสพัฒนาความสามารถจนติดต่อมายังสุนัขได้ ทั้งๆ ที่เดิมไม่สามารถทาเช่นนั้นได้ เพราะพบ ติดต่อได้เฉพาะในกลุ่มของแมวเท่านั้น ผลลัพธ์หนึ่งที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือ พบสถิติว่ามีการติดเชื้อไวรัส CPV นี้ในสัตว์ต่างๆ เพิ่ม จานวนมากขึ้นราวเท่าตัวทุกปี ในขณะที่ไวรัส FPV มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก เมื่อวิจัยลึกลงไปอีกก็พบว่า การกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรมของ CPV ทาให้มันสามารถติดเชื้อสัตว์เป้าหมายได้มากชนิดขึ้น เช่นเดียวกับความรุนแรงของโรคที่ทวีมากขึ้นทุกที แต่สิ่งที่น่ำตื่นเต้นตกใจมำกไปกว่ำนั้นก็คือ กำรกลำยพันธุ์เกิดขึ้นด้วยอัตรำที่รวดเร็วขึ้น อย่ำงมำก