SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
Download to read offline
คนเอาใจเรียนรู้สัมผัสมาผสานกับความรู้และความตั้งใจที่จะจินตนาการ
สร้างสรรค์งานที่สอดคล้อง เคารพธรรมชาติ นั่นคือความรู้สึกของผมต่อผู้เขียน
“เลียบขอบไพร”
	 เขาและผมมิได้ร�่ำเรียนสายตรงในวิชาวนวิทยาต่าง ๆ แต่เราต่างรักความ
งามของศาสตร์และศิลปะธรรมชาติของป่าได้ ผมรู้ว่าปารณย่อมรู้สึกเข้าใจได้
เหมือนที่ผมรู้สึกเช่นกันเมื่อเข้าไปใช้ชีวิตจากขอบสู่กลางไพร
	 เหตุผลที่ “ท�ำไมต้องเข้าป่า” ของปารณ ชาตกุล ช่างล�้ำไกลนัก
	 ไกลไปสู่การตระหนักรู้ว่า เราได้มาถึงช่วงปลายของอารยธรรมสูงสุดของ
มนุษย์ เพราะป่าที่ปารณเปรียบดังอุทยานสวรรค์เหลือน้อยเต็มทีด้วยการท�ำลาย
ของบรรพชนของพวกเราจนมาถึงยุคปลายที่เขาว่า
	 คู่มือเข้าป่าของปารณ ค่อย ๆ เรียงร้อยพฤติกรรมของอาจารย์หนุ่มผู้
เสาะหาความงาม ความจริง ผ่านความดีที่ตั้งใจจะถ่ายทอดเรื่องราวที่มนุษย์พึง
สัมพันธ์ต่ออาณาจักรไพร
	 ผัสสะที่เปิดตาหูจมูกลิ้น สู่กาย และใจ ที่จะเปลี่ยนถ่ายแปรผันคุณจาก
นักท่องเที่ยวสู่นักส�ำรวจ และกลายใจกายเป็นนักอนุรักษ์ นั่นคือเป้าหมายของ
หนังสือเล่มนี้ ที่คงไม่มุ่งหวังแค่ศิษย์ของเขาในชั้นเรียนจะเข้าใจ แต่ขยับขยายไปสู่
วงกว้าง ๆ
	 ด้วยหวังลึก ๆ จะรักษาอาณาจักรแห่งอุทยานสวรรค์ที่เขารัก
คำ�นิยม
ความรู้เรื่องป่าของปารณง่าย ๆ แต่งดงาม ทว่า ไม่ทิ้งรากแห่งความรู้ทาง
วิชาการ ระบบคิดแบบปัญญาชน รวมถึงกรอบคิดอย่างภูมิสถาปนิก
	 ผมเชื่อว่าผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ จินตนาการได้ถึงงานของนิสิตที่เป็นลูกศิษย์
ของอาจารย์หนุ่มผู้นี้จะออกแบบอย่างเคารพต่อธรรมชาติเพียงใด
	 เสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่ประสบการณ์จริงที่เราท่านล้วนสามารถ
เดินตามไปสัมผัสเรียนรู้แบบเขาได้ เพราะไม่ใช่เส้นทางป่าลึกลับกันดาร หรือต้อง
ฝ่าฟันปีนป่ายไกลโพ้นที่จะเข้าถึง แต่เป็นขอบไพรที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ใน
ระดับที่อาจารย์หนุ่มสามารถรอนแรมใกล้ ๆ เพื่อพาลูกศิษย์ไปเรียนรู้ได้เท่านั้น
เอง ดังนั้น หากใครใช้หนังสือเล่มนี้เป็นพื้นฐานเข้าขอบไพรไปเปิดผัสสะรับรู้แบบ
ปารณ ก็จะได้ความรู้สึกซึมซับต่อความงาม ความจริงนี้กลับมาแบบเขาได้ไม่ยาก
	 แน่นอนว่า การไปเที่ยวแบบปารณ ย่อมไม่ใช่การเยือนแหล่งท่องเที่ยว
ธรรมชาติแบบฉาบฉวย ผิวเผิน เหมือนสารคดีท่องเที่ยวทั่วไป แต่นั่นหมายถึง
การเดินทางที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับป่า ไปในทาง
มิตรภาพตลอดกาล
	 ดีใจที่มีหนังสือแบบนี้ ดีใจอย่างยิ่งที่พบมิตรสหายคล้าย ๆ กัน
									
ศศิน เฉลิมลาภ
เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
กันยา ๕๗ ณ ปีที่ ๒๔ ของการจากไปของพี่สืบ
คำ�นำ�
การออกแบบในพื้นที่ธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน
สวนรุกขชาติ ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งของงานในวิชาชีพภูมิสถาปนิก ซึ่งจ�ำเป็นต้อง
อาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าไม้และสภาพแวดล้อมธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อให้งานออกแบบนั้นส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี คือเหมาะสมกับการใช้งาน สวยงาม
และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด
	 หนังสือเล่มนี้จัดท�ำขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้นิสิตนักศึกษาตลอดจนผู้ที่สนใจ
ทั่วไปเกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาธรรมชาติรอบตัว ตระหนักถึงความส�ำคัญ
ของสภาพแวดล้อมได้ด้วยตนเอง และทราบถึงข้อพิจารณาในการท�ำงานออกแบบ
ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ธรรมชาติในเบื้องต้น เนื้อหาภายในเล่มจะเป็นการบอกเล่า
แนวคิดและประสบการณ์ที่น่าสนใจขณะที่ผมพานิสิตศึกษาธรรมชาติในป่า ตลอด
จนการเตรียมตัวศึกษาธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์ โดยสอดแทรกด้วยเนื้อหาทาง
วิชาการในเบื้องต้น พร้อมภาพวาดและภาพถ่ายของผู้เขียนเองทั้งหมด เพื่อเป็น
แนวทางให้ผู้ที่สนใจสามารถน�ำไปศึกษาค้นคว้าต่อในเชิงลึกได้ด้วยตนเอง ผมหวัง
ว่า เมื่อท่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว จะเตรียมตัวจัดกระเป๋าเพื่อออกไปส�ำรวจ
ทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมของป่าไม้ในเมืองไทย และกลับมาช่วยกันรณรงค์
วางแผนในเชิงอนุรักษ์ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ตลอดจนสัตว์ป่าของ
ประเทศไทยคงอยู่และเพิ่มพูนขึ้นได้ตราบชั่วลูกชั่วหลานของพวกเรา
						 ปารณ ชาตกุล
มีนาคม ๒๕๕๘
สารบัญ
							 	 หน้า
ค�ำนิยม
ค�ำน�ำ
สารบัญ
โลกใบนี้ก�ำลังป่วย							 ๑
ท�ำไมต้องเข้าป่า							 ๕
การเตรียมตัวก่อนเข้าป่า						 ๑๓
การเริ่มต้นศึกษาพืชพรรณในป่า					 ๒๓
สัตว์โลกผู้น่ารักและสัตว์โลกผู้ไม่น่ารัก				 ๔๕
ปราชญ์ท้องถิ่น							 ๕๗
ขอบไพร								 ๖๕
กลัวอะไรกับภัยธรรมชาติ						 ๘๑
การออกแบบในพื้นที่ธรรมชาติ					 ๘๙
บรรณานุกรม							 ๑๑๑
ประวัติผู้เขียน							 ๑๑๒
แด่ลูกศิษย์ที่รักทุกคน
นี่คือประสบการณ์และความทรงจ�ำร่วมกันของพวกเรา
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา
โลกใบนี้ก�ำลังป่วย
	 หมู่ต้นไม้สูงใหญ่ระดับ ๔๐-๕๐ เมตร ขนาดความโตหลายคนโอบ ยืนต้น
อวดรูปทรงอย่างสง่าผ่าเผย ครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ต้นไม้ชั้นรอง
ลงมาขึ้นเบียดเสียดปกคลุมพื้นที่ป่าจนแน่นขนัด กระทั่งแสงอาทิตย์ส่องลอดลง
มากระทบผืนป่าด้านล่างอันอุดมไปด้วยไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน และไม้เลื้อยชนิดต่าง ๆ
ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ฝูงชะนี ฝูงค่าง และฝูงนกเงือก แบ่งอาณาเขตหากินบน
ต้นไทรใหญ่ ส่งเสียงจ้อกแจ้กจอแจแว่วมาแต่ไกล บรรยากาศสงบ เย็น ร่มรื่นราว
อุทยานสวรรค์ และคงเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวหลาย ๆ คน
— ผืนดินที่ท่านก�ำลังนั่งอ่านหนังสือเล่มนี้ เคยเป็นเช่นนั้นมาก่อน —
กรุงเทพฯ
เป็นเวลาหลายพันหรือหลายหมื่นปีที่ผ่านมา แผ่นดินแห่งนี้ยังเป็น
ดินแดนที่ยังไม่เคยสัมผัสกับความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมมนุษย์และยังมี
ธรรมชาติที่สมบูรณ์ยิ่ง ระบบนิเวศด�ำเนินไปตามครรลองของมัน มีการอยู่อย่าง
พึ่งพาอาศัย มีการแข่งขัน มีผู้ล่า-ผู้ถูกล่า และปรสิต มนุษย์ก็เป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งใน
วงจรเหล่านั้น มนุษย์ล่าสัตว์เป็นอาหารด้วยเครื่องไม้เครื่องมืออย่างง่าย ๆ อาจ
เป็นชนเผ่าเร่ร่อนไปตามแหล่งอาหารต่าง ๆ หรือยึดถ�้ำเป็นแหล่งพักพิงอาศัย
	 การเปลี่ยนแปลงครั้งแรกที่มนุษย์ได้กระท�ำต่อระบบนิเวศและ
ส่งผลอย่างกว้างขวางต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันคือ การเปลี่ยนแปลงจากสังคมล่าสัตว์
ไปสู่สังคมเกษตรกรรม เมื่อมนุษย์เริ่มเรียนรู้การเพาะปลูก มนุษย์ก็เริ่มถางพื้นที่
ป่าไม้เพื่อการนั้น มนุษย์เริ่มมีการตั้งรกรากถาวร สร้างชุมชนขนาดใหญ่ มีความ
ปลอดภัยในชีวิตสูงขึ้น มีการคิดค้นระบบซื้อขายแลกเปลี่ยนทรัพยากรจากที่
ต่าง ๆ มนุษย์เริ่มขยายจ�ำนวนมากขึ้น อ้างกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดินและซื้อ
ขายที่ดินซึ่งไม่เคยเป็นของพวกเขาเอง เริ่มควบคุมและบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ
มากขึ้น
	 การเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญที่มนุษย์ได้กระท�ำต่อโลกใบนี้อีกครั้งหนึ่ง
คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อมนุษย์ทวีจ�ำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว คิดค้น
ประดิษฐกรรมต่าง ๆ ที่สามารถสร้างผลผลิตได้คราวละมาก ๆ พื้นที่เกษตรกรรม
ขยายตัวกว้างมากขึ้นและมีการจัดการดูแลเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร การท�ำเหมือง
แร่ การถลุงเหล็ก การขุดเจาะน�้ำมัน ฯลฯ เป็นการน�ำทรัพยากรที่มีจ�ำกัดของโลก
ใบนี้มาใช้อย่างไม่ยั่งยืน เมืองขยายขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรมีการอยู่
อาศัยอย่างแออัดมากขึ้น การแก่งแย่งแข่งขันในหมู่มนุษย์มีสูงขึ้น การปล่อยของ
เสียและขยะมีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
— ขอให้ท่านละสายตาจากหนังสือเล่มนี้ แล้วพิจารณาสภาพแวดล้อมรอบตัว
อีกสักครั้งหนึ่ง —
๒ เลียบขอบไพร
อุทยานสวรรค์ในห้วงค�ำนึงได้ปลาสนาการสิ้นไปแล้ว คงไว้แต่ความแสบ
ร้อนของแสงอาทิตย์ที่กระท�ำต่อผิวหนัง แสงสะท้อนจากอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ
ท�ำให้ต้องหรี่ตาลงด้วยความระคายเคือง กลิ่นมลพิษจากรถยนต์และขยะยิ่งท�ำให้
สุขภาพของเราถดถอยลงอย่างรวดเร็ว มนุษย์ถูกขังอยู่ในคุกคอนกรีตและต้อง
ท�ำงานอย่างหนักอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเงิน และน�ำเงินนั้นไปจ่ายเพื่อซื้อ
อาหาร เพื่อการรักษาสุขภาพตัวเอง ยามว่างเว้นจากการท�ำงานมนุษย์ก็น�ำเงินไป
จ่ายเพื่อให้ได้วิ่งออกก�ำลังกายบนสายพาน และเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อน
ใจ แตกต่างจากสมัยก่อนที่มนุษย์ท�ำงานหนักกลางแจ้งในเรือกสวนไร่นา มีสุขภาพ
ดีจากการออกก�ำลังกายไปในตัว มีเงินไม่มากแต่รายจ่ายน้อยเพราะทุกสิ่งรอบตัว
สามารถบริโภคได้ และโรคภัยไม่เบียดเบียนมากนักเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อม
ที่ดี
	 ปัจจุบัน ผมอยากจะเชื่อเหลือเกินว่าเราก�ำลังยืนอยู่ ณ ช่วงเวลาปลาย
สุดของอารยธรรมมนุษย์แล้ว มนุษย์ถือก�ำเนิดขึ้น แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว บริโภค
ทรัพยากรจนเกินพอดี เมื่อระบบนิเวศเดิมถูกกระท�ำให้เปลี่ยนแปลงไปจนมนุษย์
ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ นั่นก็จะเป็นจุดจบของอารยธรรมมนุษย์บนโลกใบนี้ด้วย
มนุษย์จึงเปรียบเสมือนเซลล์มะเร็งที่ก�ำลังแพร่พันธุ์ กัดกิน บ่อนท�ำลายร่างกายซึ่ง
ก็คือโลกใบนี้นั่นเอง
	 ในทางกลับกัน ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มตระหนักเรื่องปัญหาทาง
สภาพแวดล้อมอย่างจริงจังมากขึ้น และพยายามคิดหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือ
โลก เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก ลดการใช้รถยนต์ ประหยัดไฟฟ้า พยายามใช้วัสดุที่
น�ำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่วิธีการทั้งหมดนี้เป็นเพียงการซื้อเวลา ชะลอความตายของ
โลกใบนี้ให้ช้าลงเท่านั้น หนทางเดียวที่มนุษย์จะมีโอกาสช่วยโลกใบนี้ไว้ได้คือ การ
ปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ใน
กระบวนการสังเคราะห์แสงแล้วเปลี่ยนเป็นมวลชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ที่
ถูกใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงท�ำให้พื้นที่รอบข้างมีอุณหภูมิลดลง ปลด
๓โลกใบนี้กำ�ลังป่วย
ปล่อยออกซิเจนซึ่งเป็นก๊าซส�ำคัญส�ำหรับการด�ำรงชีวิตของสัตว์ ดูดซับสารพิษ
และโลหะหนักต่าง ๆ ฟื้นฟูอินทรียวัตถุในดิน ป้องกันกษัยการ (Erosion) เป็น
แหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดต่าง ๆ และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง
ทรัพยากรด้านอื่น ๆ ที่มนุษย์สามารถน�ำมาใช้ได้ตลอดไป หากมีการบริหารจัดการ
ที่ถูกต้อง
— นี่คือความคิดแรก ที่ผมได้รับจากการออกไปใช้ชีวิตในป่า
และพิจารณาสิ่งแวดล้อมรอบตัว —
	
๔ เลียบขอบไพร
ถึงแม้ว่าสภาพแวดล้อมของโลกก�ำลังประสบปัญหา แต่ยังคงไม่สาย
เกินไปส�ำหรับการเริ่มต้นช่วยเหลือโลกมนุษย์ใบนี้ ปัญหาทางสภาพแวดล้อมใน
ปัจจุบันสามารถคลี่คลายออกไปได้ด้วยการปลูกต้นไม้ ปลูกป่า แต่วิธีการที่จะ
ท�ำให้มนุษย์เกิดความรัก ความหวงแหนต่อธรรมชาติและผืนป่าของเรา จนอยาก
ที่จะปลูกต้นไม้สักต้นและดูแลทะนุถนอมด้วยตนเอง เป็นปัญหาเบื้องต้นเพียงข้อ
เดียวที่เราจะต้องแก้ไขและผ่านพ้นไปให้ได้ ผมจึงเกิดความคิดที่จะเขียนหนังสือ
เล่มนี้ขึ้น เพื่อบอกเล่าประสบการณ์และหวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้หลาย ๆ
คนอยากออกไปส�ำรวจธรรมชาติรอบตัว ผมเชื่อว่า เพียงแค่ท่านเริ่มเปิดใจศึกษา
ใฝ่รู้ ธรรมชาติย่อมมีวิธีการที่จะท�ำให้ท่านหลงรักและมีจิตหวงแหนธรรมชาติขึ้น
มาได้เอง
ท�ำไมต้องเข้าป่า
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
จากนักท่องเที่ยวสู่นักส�ำรวจ
	 คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับการใช้เวลาวันหยุดไปกับการเดินจับจ่ายซื้อ
ของในห้างสรรพสินค้า ค้นหาร้านอาหารที่มีรสชาติถูกปาก ชมภาพยนตร์เรื่อง
โปรด แต่ในโอกาสพิเศษหรือวันหยุดยาว หลายคนอาจมีก�ำหนดการท่องเที่ยวต่าง
จังหวัดหรือต่างประเทศ
— โอกาสนี้ผมอยากจะชักชวนทุกคนไปเที่ยวป่าด้วยกัน —
	 แน่นอนว่า เมื่อพูดถึงการเที่ยวป่า หลาย ๆ คนจะต้องนึกถึงสถานที่
ส�ำหรับการพักผ่อนหย่อนใจที่มีทิวทัศน์สวยงามเป็นเอกลักษณ์ เช่น ยอดเขาสูง
ทะเลหมอก ดอกไม้ น�้ำตก ซึ่งเป็นลักษณะการท่องเที่ยวเพื่อความรื่นรมย์ตาม
ความหมายของอุทยานแห่งชาติในพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔
ระบุว่า
อุทยานแห่งชาติ หมายถึง “ที่ดินซึ่งรวมความทั้งพื้นที่ดินทั่วไป
ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ล�ำน�้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่
ชายทะเล ที่ได้รับการก�ำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ...ลักษณะ
ที่ดินดังกล่าว เป็นที่ที่มีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ และ
มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของ
บุคคลใดซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง ทั้งนี้การก�ำหนดดังกล่าวก็เพื่อ
ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติ เพื่อสงวนไว้ให้เป็นแหล่งการศึกษา
และความรื่นรมย์ของประชาชนสืบไป”
	 ประโยชน์ทางด้านความรื่นรมย์ที่ประชาชนได้รับจากการท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาตินี้เอง ท�ำให้เกิดการตีความทางความคิดอย่างกว้างขวางต่อมาว่า
๖ เลียบขอบไพร
สิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่จัดเตรียมไว้ในอุทยานแห่งชาติควร
มีมากหรือน้อยเพียงใด ถนนควรมีความกว้างเท่าไร ที่จอดรถควรรองรับได้กี่คัน
ที่พักแรมควรมีความสะดวกสบายมากแค่ไหน จ�ำเป็นต้องมีเครื่องท�ำน�้ำอุ่นหรือไม่
สิ่งเหล่านี้จ�ำเป็นต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ หัวหน้าอุทยาน
แห่งชาติ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ออกแบบ พิจารณาร่วมกับบริบท
ของธรรมชาติในแต่ละแห่ง ซึ่งจะขอยกไปเขียนถึงในตอนการออกแบบในพื้นที่
ธรรมชาติ
	 ในขณะที่อีกหลาย ๆ คนอาจนึกถึงการท่องเที่ยวป่าในลักษณะการพัก
ค้างคืนในบ้านพักอุทยานแห่งชาติ รับประทานอาหารในร้านค้าสวัสดิการ และ
เดินเล่นถ่ายภาพในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และอีกหลาย ๆ คนอาจนึกถึงการ
ท่องเที่ยวในระดับที่สมบุกสมบันมากขึ้น การบุกบั่นเดินทางเข้าไปในป่าทึบ กาง
เต็นท์พักแรม หุงหาอาหารรับประทานเองข้างกองไฟ ใช้ชีวิตเสมือนนักผจญภัย
อย่างแท้จริง
	 สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนจะได้รับเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจใน
เชิงการท่องเที่ยว ในทางกลับกัน หากผมเสนอแนะให้ท่านลองวางแผนท่องเที่ยว
ป่าในบทบาทของนักส�ำรวจบ้าง ท่านจะได้ประสบการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจแตกต่าง
จากการท่องเที่ยวทั่วไปโดยสิ้นเชิง เปรียบได้กับการเปิดโลกใบใหม่ของการท่อง
เที่ยวป่าทีเดียว
เปิดหู เปิดตา เปิดจมูก เปิดปาก
	 ผมมักจะบอกเล่ากับนิสิตระหว่างไปทัศนศึกษาในป่าเสมอ ๆ ว่า ขอให้
ทุกคนหัดสังเกตสิ่งรอบ ๆ ตัวให้ดี ปรับทัศนคติใหม่ให้แตกต่างจากนักท่องเที่ยว
ทั่วไปที่มองเห็นคุณค่าของป่าไม้ในเชิงทรัพยากรส�ำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ หรือ
มองป่าไม้เป็นเพียงแค่สถานที่เปลี่ยนบรรยากาศส�ำหรับการสังสรรค์ ผมเตือนนิสิต
เสมอ ๆ ว่า เราเข้าป่ามาเรียนรู้ มาศึกษา จงเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ในทุกก้าวย่างที่
๗ทำ�ไมต้องเข้าป่า
ผ่านไป หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วจะพบพืชพรรณและสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่แปลกตา
และไม่ได้พบเห็นบ่อยนักในชีวิตประจ�ำวัน
	 มนุษย์ทุกวันนี้อาศัยอยู่ในเมืองขนาดใหญ่ที่มีสิ่งเร้าต่าง ๆ กระท�ำต่อ
การรับรู้ในระดับที่รุนแรง เช่น เสียงดังของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เสียงรถ
ขยายเสียงขายกับข้าว เสียงเพลงในผับหรือร้านคาราโอเกะ เสียงในโรงภาพยนตร์
ป้ายโฆษณาไฟฟ้าตามทางด่วน กลิ่นของมลพิษ กลิ่นขยะ กลิ่นน�้ำหอม ครีมทาผิว
แชมพูสระผม สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ประสาทในการรับรู้ของมนุษย์ช้าลง และมีการใส่ใจ
กับสภาพแวดล้อมรอบตัวลดลงเป็นอย่างมาก มนุษย์ทุกวันนี้จึงมีการรับรู้ที่ไม่
ละเอียดอ่อนอย่างที่ควรจะเป็น
	 เราควรถอดหูฟังเพลงออกแล้ว “เปิดหู” พิจารณาเสียงของธรรมชาติ
รอบตัว เช่น จักจั่น จิ้งหรีด นก เก้ง กวาง สุนัขจิ้งจอก ใบไม้ สายลม สมัยผมเริ่ม
พานิสิตเข้าป่าครั้งแรก ๆ ครั้งนั้นคณะของเราออกเดินทางไปยังเขตรักษาพันธุ์
สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี คืนหนึ่งขณะที่ทุกคนก�ำลังนั่งสนทนากันตาม
สบายหลังรับประทานอาหารเย็น ทุกคนก็แว่วได้ยินเสียงฝนก�ำลังตกไล่มาจากที่
ไกล บางคนเอ่ยปากเตือนกันว่าให้เตรียมเก็บข้าวของสัมภาระกันให้ดี เพราะฝน
ก�ำลังจะมาแล้ว แต่สุดท้ายปรากฏว่าเป็นเสียงลมที่พัดผ่านมาตามล�ำธารซึ่งท�ำ
หน้าที่เสมือนเป็นช่องลมภายในป่า ท�ำให้ลมมีความเร็วสูงและพัดใบไม้กระทบกัน
เป็นเสียงคล้ายฝนตกกระทบใบไม้ไปได้ อีกครั้งหนึ่งที่สร้างความประทับใจและ
ให้ความรู้กับผมเป็นอย่างมากคือ เมื่อครั้งที่ผมได้เดินทางไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์
ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ครั้งนั้นนับเป็นโอกาสอันดีที่ได้นิสิตที่มีความเชี่ยวชาญ
ในเรื่องการดูนกติดตามไปด้วย หลังจากรับประทานอาหารเย็น ผมได้ขอให้นิสิต
คนนั้นช่วยบรรยายเรื่องนก และสอนให้เพื่อนนิสิตคนอื่น ๆ รู้จักสังเกตและฟัง
เสียงนกชนิดต่าง ๆ อาทิ เสียงต๊ง ต๊ง ต๊ง ต๊ง ต๊ง ต๊ง ต๊ง เป็นจังหวะสม�่ำเสมอติดต่อ
กันเป็นเวลานาน อาจพิจารณาได้ว่าเป็นเสียงนกตีทอง หรือเสียงปู๊ด ปู๊ด ปู๊ด ปู๊ด
ก้องลึกในล�ำคอเป็นเสียงนกกระปูด การเลียนเสียงนกด้วยการเขียนนั้นเป็นไปได้
๘ เลียบขอบไพร
ยาก ถึงแม้ว่าจะได้อ่านหนังสือและท่องจ�ำเสียงนกได้ตลอดทั้งเล่มก็ไม่สามารถรับ
ทราบและจดจ�ำได้ดีเท่าการมาได้ฟังเสียงนกจริง ๆ คืนนั้นทั้งคณะเดินทางจึงได้รับ
ฟังบรรยายจากเพื่อนนิสิตด้วยกันเองและหัดเลียนแบบเสียงนกกันจนเพลินเป็น
เวลาหลายชั่วโมง ก่อนจะแยกย้ายกันเข้านอนด้วยใจอันเป็นสุขท่ามกลางเสียงเห่า
หอนของสุนัขจิ้งจอกในฤดูผสมพันธุ์ช่วงปลายปี
	 เราควร “เปิดตา” ใส่ใจ หัดเป็นคนช่างสังเกต และมีประสาทที่ไวต่อการ
รับรู้ทางสายตาให้มากขึ้นเมื่ออยู่ในป่า สัตว์หลายชนิดมีการพรางตัวให้กลมกลืน
อยู่กับธรรมชาติอย่างแนบเนียน มีแต่สายตาที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีเท่านั้นที่
จะสามารถจับการเคลื่อนไหวและระบุชนิดของสัตว์ต่าง ๆ ได้จากระยะไกล โดย
เฉพาะวิทยากร คนน�ำทางในพื้นที่ และพวกลูกหาบ บุคคลเหล่านี้ท�ำงานอยู่ใน
พงไพรเป็นอาชีพและมีสายตาที่แหลมคมมาก ครั้งหนึ่งผมได้พานิสิตในชั้นเรียน
ไปทัศนศึกษาที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา วิทยากรที่
นั่นเป็นเอตทัคคะในเรื่องการดูสัตว์และการจับสังเกตธรรมชาติรอบตัว ระหว่างที่
คณะของเราก�ำลังเดินดูนกในตอนเช้า วิทยากรที่น�ำชมชี้ไปยังยอดไม้ไกล ๆ และ
บอกให้สังเกตดูนกบนยอดไม้นั้น ทั้งยังสามารถบอกชนิดของนกได้อย่างแม่นย�ำ
ด้วยตาเปล่า ขณะที่พวกเรามองเห็นมันเป็นเพียงจุดด�ำเล็ก ๆ จุดเดียว แต่ในครั้ง
นั้นนิสิตของเราก็แสดงความเชี่ยวชาญทางด้านสายตาแบบคนเมืองเช่นกัน เมื่อ
นกตีทองก�ำลังโผล่หน้าออกมาจากรัง
เหลือบไปเห็นดาราชื่อดังคนหนึ่งก�ำลังถ่ายท�ำรายการโทรทัศน์อยู่ที่นั่นพอดี กลาย
เป็นรายการชี้ชวนกันชมดารา เป็นอันว่านกทั้งหลายไม่ต้องดูกันแล้ว เดินกลับ
ที่พักกันเลยดีกว่า บางครั้งสายตาที่ไม่ได้รับการฝึกฝนและจิตใจที่ไม่เข้มแข็งก็อาจ
สร้างความเข้าใจผิดได้เช่นกัน ครั้งหนึ่งที่ผมเคยไปกางเต็นท์นอนที่อุทยานแห่ง
ชาติห้วยน�้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่ ตกดึกได้ยินเสียงความวุ่นวายจากเต็นท์ของอีก
คณะหนึ่งไม่ห่างออกไปนัก สามีกับภรรยาวิ่งอุ้มลูกออกจากเต็นท์เข้าไปหลบอยู่
ในรถด้วยอาการตื่นตกใจ จนรุ่งเช้าถึงได้คุยกันว่า คณะนั้นพบว่ามีหมาป่าตัวใหญ่
มาคุ้ยขยะและเดินวนเวียนอยู่รอบเต็นท์ ซึ่งจริง ๆ แล้วคณะเราก็มองเห็นและรับ
ทราบว่ามันเป็นแค่หมาจรจัดธรรมดานี่เอง คาดว่าคณะนั้นนอนอยู่ในเต็นท์แล้ว
มองเห็นหมาตัวนั้นจากมุมต�่ำ จึงท�ำให้หมาดูตัวใหญ่ผิดธรรมดาไปได้ ก็เป็นเรื่อง
สนุกสนานที่ยังพูดคุยเล่นกันได้ไม่รู้เบื่อจนทุกวันนี้
	 เรื่องราวของการ “เปิดจมูก” ก็เช่นกัน ผมเป็นคนหนึ่งที่ถือว่าโชคดีมาก
ในฐานะลูกที่มีคุณพ่อพาท่องเที่ยวป่า หัดศึกษาไพรตั้งแต่ยังเด็ก ในสมัยนั้นคน
ยังไม่นิยมเที่ยวอุทยานแห่งชาติกันมากมายอย่างปัจจุบัน ผมจึงได้เรียนรู้หลายสิ่ง
หลายอย่างจากคุณพ่อผู้ซึ่งท่องเที่ยวป่ามาตั้งแต่สมัยท่านยังเป็นหนุ่ม ผมได้รู้จัก
กลิ่นสัตว์ต่าง ๆ บ้างก็เพราะการเดินป่ากับคุณพ่อ และยังจดจ�ำบางส่วนได้มาจน
ทุกวันนี้ ครั้งหนึ่งผมพานิสิตไปพักที่แคมป์บ้านกร่าง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
จังหวัดเพชรบุรี คืนนั้นทุกคนจับกลุ่มคุยเล่นกันตามปกติก่อนเข้านอน ผมเดินอยู่
รอบ ๆ บริเวณที่พักเพื่อดูความเรียบร้อยและรู้สึกตัวว่าได้กลิ่นช้าง จึงเข้าไปลอง
สอบถามนิสิตแต่ละคน ปรากฏว่าไม่มีใครได้กลิ่นนี้เลย คาดว่าอาจเป็นเพราะ
นิสิตไม่เคยได้กลิ่นช้างมาก่อน หรือประสาทการดมกลิ่นไม่ไวพอเพราะถูกกลิ่นสบู่
แชมพู น�้ำหอมกลบไปเสียหมด โชคยังดีที่เหตุการณ์ในคืนนั้นผ่านไปได้อย่างสงบ
เรียบร้อย รุ่งเช้าเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติจึงเข้ามาแจ้งว่า เมื่อคืนมีช้างป่าเข้ามา
เพ่นพ่านรอบ ๆ ที่พัก แต่เดินหากินอยู่ต�่ำลงไปทางล�ำธารด้านล่าง พวกเราจึงไม่ได้
พบเห็นตัวกันในคราวนั้น
๑๐ เลียบขอบไพร

More Related Content

Viewers also liked

สุดยอดประดิษฐกรรมและการค้นพบแห่งปี 96
สุดยอดประดิษฐกรรมและการค้นพบแห่งปี 96สุดยอดประดิษฐกรรมและการค้นพบแห่งปี 96
สุดยอดประดิษฐกรรมและการค้นพบแห่งปี 96Surapol Imi
 
9780230_577664_05_cha04
9780230_577664_05_cha049780230_577664_05_cha04
9780230_577664_05_cha04Jens S
 
9652_applicazioni_laser_articolo
9652_applicazioni_laser_articolo9652_applicazioni_laser_articolo
9652_applicazioni_laser_articoloPasquale Ciriello
 
9818697444 RED MALL NH58 | RED MALL GHAZIABAD
9818697444 RED MALL NH58 | RED MALL GHAZIABAD9818697444 RED MALL NH58 | RED MALL GHAZIABAD
9818697444 RED MALL NH58 | RED MALL GHAZIABADankitakk
 
9員工協助方案推動的資源運用與關鍵因素 企業大學基金會-詹翔霖教授
9員工協助方案推動的資源運用與關鍵因素 企業大學基金會-詹翔霖教授9員工協助方案推動的資源運用與關鍵因素 企業大學基金會-詹翔霖教授
9員工協助方案推動的資源運用與關鍵因素 企業大學基金會-詹翔霖教授文化大學
 
9789740330592
97897403305929789740330592
9789740330592CUPress
 

Viewers also liked (9)

สุดยอดประดิษฐกรรมและการค้นพบแห่งปี 96
สุดยอดประดิษฐกรรมและการค้นพบแห่งปี 96สุดยอดประดิษฐกรรมและการค้นพบแห่งปี 96
สุดยอดประดิษฐกรรมและการค้นพบแห่งปี 96
 
9780230_577664_05_cha04
9780230_577664_05_cha049780230_577664_05_cha04
9780230_577664_05_cha04
 
9652_applicazioni_laser_articolo
9652_applicazioni_laser_articolo9652_applicazioni_laser_articolo
9652_applicazioni_laser_articolo
 
กิจกรรมที่ 9
กิจกรรมที่ 9กิจกรรมที่ 9
กิจกรรมที่ 9
 
9818697444 RED MALL NH58 | RED MALL GHAZIABAD
9818697444 RED MALL NH58 | RED MALL GHAZIABAD9818697444 RED MALL NH58 | RED MALL GHAZIABAD
9818697444 RED MALL NH58 | RED MALL GHAZIABAD
 
9707 w14 ms_11
9707 w14 ms_119707 w14 ms_11
9707 w14 ms_11
 
9員工協助方案推動的資源運用與關鍵因素 企業大學基金會-詹翔霖教授
9員工協助方案推動的資源運用與關鍵因素 企業大學基金會-詹翔霖教授9員工協助方案推動的資源運用與關鍵因素 企業大學基金會-詹翔霖教授
9員工協助方案推動的資源運用與關鍵因素 企業大學基金會-詹翔霖教授
 
97309d01
97309d0197309d01
97309d01
 
9789740330592
97897403305929789740330592
9789740330592
 

Similar to 9789740333319

ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชี
ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชีธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชี
ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชีbawtho
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมkasarin rodsi
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศJira Boonjira
 
โครงการพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริโครงการพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริtipfylovely
 
โครงการพระราชดำร
โครงการพระราชดำร โครงการพระราชดำร
โครงการพระราชดำร pang_patpp
 
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีPowerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีอาภัสรา ยิ่งคำแหง
 

Similar to 9789740333319 (8)

ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชี
ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชีธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชี
ธรรมชาติยาตรา เพื่อลำน้ำชี
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
 
ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ
 
โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง (จริง)
โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง  (จริง)โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง  (จริง)
โครงงาน อนุรักษ์หนองน้ำสร้าง (จริง)
 
โครงการพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริโครงการพระราชดำริ
โครงการพระราชดำริ
 
โครงการพระราชดำร
โครงการพระราชดำร โครงการพระราชดำร
โครงการพระราชดำร
 
สารคดี
สารคดีสารคดี
สารคดี
 
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีPowerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
Powerpoint โครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740333319

  • 1. คนเอาใจเรียนรู้สัมผัสมาผสานกับความรู้และความตั้งใจที่จะจินตนาการ สร้างสรรค์งานที่สอดคล้อง เคารพธรรมชาติ นั่นคือความรู้สึกของผมต่อผู้เขียน “เลียบขอบไพร” เขาและผมมิได้ร�่ำเรียนสายตรงในวิชาวนวิทยาต่าง ๆ แต่เราต่างรักความ งามของศาสตร์และศิลปะธรรมชาติของป่าได้ ผมรู้ว่าปารณย่อมรู้สึกเข้าใจได้ เหมือนที่ผมรู้สึกเช่นกันเมื่อเข้าไปใช้ชีวิตจากขอบสู่กลางไพร เหตุผลที่ “ท�ำไมต้องเข้าป่า” ของปารณ ชาตกุล ช่างล�้ำไกลนัก ไกลไปสู่การตระหนักรู้ว่า เราได้มาถึงช่วงปลายของอารยธรรมสูงสุดของ มนุษย์ เพราะป่าที่ปารณเปรียบดังอุทยานสวรรค์เหลือน้อยเต็มทีด้วยการท�ำลาย ของบรรพชนของพวกเราจนมาถึงยุคปลายที่เขาว่า คู่มือเข้าป่าของปารณ ค่อย ๆ เรียงร้อยพฤติกรรมของอาจารย์หนุ่มผู้ เสาะหาความงาม ความจริง ผ่านความดีที่ตั้งใจจะถ่ายทอดเรื่องราวที่มนุษย์พึง สัมพันธ์ต่ออาณาจักรไพร ผัสสะที่เปิดตาหูจมูกลิ้น สู่กาย และใจ ที่จะเปลี่ยนถ่ายแปรผันคุณจาก นักท่องเที่ยวสู่นักส�ำรวจ และกลายใจกายเป็นนักอนุรักษ์ นั่นคือเป้าหมายของ หนังสือเล่มนี้ ที่คงไม่มุ่งหวังแค่ศิษย์ของเขาในชั้นเรียนจะเข้าใจ แต่ขยับขยายไปสู่ วงกว้าง ๆ ด้วยหวังลึก ๆ จะรักษาอาณาจักรแห่งอุทยานสวรรค์ที่เขารัก คำ�นิยม
  • 2. ความรู้เรื่องป่าของปารณง่าย ๆ แต่งดงาม ทว่า ไม่ทิ้งรากแห่งความรู้ทาง วิชาการ ระบบคิดแบบปัญญาชน รวมถึงกรอบคิดอย่างภูมิสถาปนิก ผมเชื่อว่าผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ จินตนาการได้ถึงงานของนิสิตที่เป็นลูกศิษย์ ของอาจารย์หนุ่มผู้นี้จะออกแบบอย่างเคารพต่อธรรมชาติเพียงใด เสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่ประสบการณ์จริงที่เราท่านล้วนสามารถ เดินตามไปสัมผัสเรียนรู้แบบเขาได้ เพราะไม่ใช่เส้นทางป่าลึกลับกันดาร หรือต้อง ฝ่าฟันปีนป่ายไกลโพ้นที่จะเข้าถึง แต่เป็นขอบไพรที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ใน ระดับที่อาจารย์หนุ่มสามารถรอนแรมใกล้ ๆ เพื่อพาลูกศิษย์ไปเรียนรู้ได้เท่านั้น เอง ดังนั้น หากใครใช้หนังสือเล่มนี้เป็นพื้นฐานเข้าขอบไพรไปเปิดผัสสะรับรู้แบบ ปารณ ก็จะได้ความรู้สึกซึมซับต่อความงาม ความจริงนี้กลับมาแบบเขาได้ไม่ยาก แน่นอนว่า การไปเที่ยวแบบปารณ ย่อมไม่ใช่การเยือนแหล่งท่องเที่ยว ธรรมชาติแบบฉาบฉวย ผิวเผิน เหมือนสารคดีท่องเที่ยวทั่วไป แต่นั่นหมายถึง การเดินทางที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับป่า ไปในทาง มิตรภาพตลอดกาล ดีใจที่มีหนังสือแบบนี้ ดีใจอย่างยิ่งที่พบมิตรสหายคล้าย ๆ กัน ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กันยา ๕๗ ณ ปีที่ ๒๔ ของการจากไปของพี่สืบ
  • 4. การออกแบบในพื้นที่ธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนรุกขชาติ ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งของงานในวิชาชีพภูมิสถาปนิก ซึ่งจ�ำเป็นต้อง อาศัยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับป่าไม้และสภาพแวดล้อมธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้งานออกแบบนั้นส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี คือเหมาะสมกับการใช้งาน สวยงาม และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด หนังสือเล่มนี้จัดท�ำขึ้นเพื่อมุ่งหวังให้นิสิตนักศึกษาตลอดจนผู้ที่สนใจ ทั่วไปเกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาธรรมชาติรอบตัว ตระหนักถึงความส�ำคัญ ของสภาพแวดล้อมได้ด้วยตนเอง และทราบถึงข้อพิจารณาในการท�ำงานออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ธรรมชาติในเบื้องต้น เนื้อหาภายในเล่มจะเป็นการบอกเล่า แนวคิดและประสบการณ์ที่น่าสนใจขณะที่ผมพานิสิตศึกษาธรรมชาติในป่า ตลอด จนการเตรียมตัวศึกษาธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์ โดยสอดแทรกด้วยเนื้อหาทาง วิชาการในเบื้องต้น พร้อมภาพวาดและภาพถ่ายของผู้เขียนเองทั้งหมด เพื่อเป็น แนวทางให้ผู้ที่สนใจสามารถน�ำไปศึกษาค้นคว้าต่อในเชิงลึกได้ด้วยตนเอง ผมหวัง ว่า เมื่อท่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว จะเตรียมตัวจัดกระเป๋าเพื่อออกไปส�ำรวจ ทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมของป่าไม้ในเมืองไทย และกลับมาช่วยกันรณรงค์ วางแผนในเชิงอนุรักษ์ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ตลอดจนสัตว์ป่าของ ประเทศไทยคงอยู่และเพิ่มพูนขึ้นได้ตราบชั่วลูกชั่วหลานของพวกเรา ปารณ ชาตกุล มีนาคม ๒๕๕๘
  • 5. สารบัญ หน้า ค�ำนิยม ค�ำน�ำ สารบัญ โลกใบนี้ก�ำลังป่วย ๑ ท�ำไมต้องเข้าป่า ๕ การเตรียมตัวก่อนเข้าป่า ๑๓ การเริ่มต้นศึกษาพืชพรรณในป่า ๒๓ สัตว์โลกผู้น่ารักและสัตว์โลกผู้ไม่น่ารัก ๔๕ ปราชญ์ท้องถิ่น ๕๗ ขอบไพร ๖๕ กลัวอะไรกับภัยธรรมชาติ ๘๑ การออกแบบในพื้นที่ธรรมชาติ ๘๙ บรรณานุกรม ๑๑๑ ประวัติผู้เขียน ๑๑๒
  • 8. โลกใบนี้ก�ำลังป่วย หมู่ต้นไม้สูงใหญ่ระดับ ๔๐-๕๐ เมตร ขนาดความโตหลายคนโอบ ยืนต้น อวดรูปทรงอย่างสง่าผ่าเผย ครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ต้นไม้ชั้นรอง ลงมาขึ้นเบียดเสียดปกคลุมพื้นที่ป่าจนแน่นขนัด กระทั่งแสงอาทิตย์ส่องลอดลง มากระทบผืนป่าด้านล่างอันอุดมไปด้วยไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน และไม้เลื้อยชนิดต่าง ๆ ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ฝูงชะนี ฝูงค่าง และฝูงนกเงือก แบ่งอาณาเขตหากินบน ต้นไทรใหญ่ ส่งเสียงจ้อกแจ้กจอแจแว่วมาแต่ไกล บรรยากาศสงบ เย็น ร่มรื่นราว อุทยานสวรรค์ และคงเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวหลาย ๆ คน — ผืนดินที่ท่านก�ำลังนั่งอ่านหนังสือเล่มนี้ เคยเป็นเช่นนั้นมาก่อน — กรุงเทพฯ
  • 9. เป็นเวลาหลายพันหรือหลายหมื่นปีที่ผ่านมา แผ่นดินแห่งนี้ยังเป็น ดินแดนที่ยังไม่เคยสัมผัสกับความเจริญก้าวหน้าของอารยธรรมมนุษย์และยังมี ธรรมชาติที่สมบูรณ์ยิ่ง ระบบนิเวศด�ำเนินไปตามครรลองของมัน มีการอยู่อย่าง พึ่งพาอาศัย มีการแข่งขัน มีผู้ล่า-ผู้ถูกล่า และปรสิต มนุษย์ก็เป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งใน วงจรเหล่านั้น มนุษย์ล่าสัตว์เป็นอาหารด้วยเครื่องไม้เครื่องมืออย่างง่าย ๆ อาจ เป็นชนเผ่าเร่ร่อนไปตามแหล่งอาหารต่าง ๆ หรือยึดถ�้ำเป็นแหล่งพักพิงอาศัย การเปลี่ยนแปลงครั้งแรกที่มนุษย์ได้กระท�ำต่อระบบนิเวศและ ส่งผลอย่างกว้างขวางต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันคือ การเปลี่ยนแปลงจากสังคมล่าสัตว์ ไปสู่สังคมเกษตรกรรม เมื่อมนุษย์เริ่มเรียนรู้การเพาะปลูก มนุษย์ก็เริ่มถางพื้นที่ ป่าไม้เพื่อการนั้น มนุษย์เริ่มมีการตั้งรกรากถาวร สร้างชุมชนขนาดใหญ่ มีความ ปลอดภัยในชีวิตสูงขึ้น มีการคิดค้นระบบซื้อขายแลกเปลี่ยนทรัพยากรจากที่ ต่าง ๆ มนุษย์เริ่มขยายจ�ำนวนมากขึ้น อ้างกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดินและซื้อ ขายที่ดินซึ่งไม่เคยเป็นของพวกเขาเอง เริ่มควบคุมและบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญที่มนุษย์ได้กระท�ำต่อโลกใบนี้อีกครั้งหนึ่ง คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อมนุษย์ทวีจ�ำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว คิดค้น ประดิษฐกรรมต่าง ๆ ที่สามารถสร้างผลผลิตได้คราวละมาก ๆ พื้นที่เกษตรกรรม ขยายตัวกว้างมากขึ้นและมีการจัดการดูแลเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร การท�ำเหมือง แร่ การถลุงเหล็ก การขุดเจาะน�้ำมัน ฯลฯ เป็นการน�ำทรัพยากรที่มีจ�ำกัดของโลก ใบนี้มาใช้อย่างไม่ยั่งยืน เมืองขยายขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรมีการอยู่ อาศัยอย่างแออัดมากขึ้น การแก่งแย่งแข่งขันในหมู่มนุษย์มีสูงขึ้น การปล่อยของ เสียและขยะมีจ�ำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ — ขอให้ท่านละสายตาจากหนังสือเล่มนี้ แล้วพิจารณาสภาพแวดล้อมรอบตัว อีกสักครั้งหนึ่ง — ๒ เลียบขอบไพร
  • 10. อุทยานสวรรค์ในห้วงค�ำนึงได้ปลาสนาการสิ้นไปแล้ว คงไว้แต่ความแสบ ร้อนของแสงอาทิตย์ที่กระท�ำต่อผิวหนัง แสงสะท้อนจากอาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ท�ำให้ต้องหรี่ตาลงด้วยความระคายเคือง กลิ่นมลพิษจากรถยนต์และขยะยิ่งท�ำให้ สุขภาพของเราถดถอยลงอย่างรวดเร็ว มนุษย์ถูกขังอยู่ในคุกคอนกรีตและต้อง ท�ำงานอย่างหนักอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเงิน และน�ำเงินนั้นไปจ่ายเพื่อซื้อ อาหาร เพื่อการรักษาสุขภาพตัวเอง ยามว่างเว้นจากการท�ำงานมนุษย์ก็น�ำเงินไป จ่ายเพื่อให้ได้วิ่งออกก�ำลังกายบนสายพาน และเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อน ใจ แตกต่างจากสมัยก่อนที่มนุษย์ท�ำงานหนักกลางแจ้งในเรือกสวนไร่นา มีสุขภาพ ดีจากการออกก�ำลังกายไปในตัว มีเงินไม่มากแต่รายจ่ายน้อยเพราะทุกสิ่งรอบตัว สามารถบริโภคได้ และโรคภัยไม่เบียดเบียนมากนักเนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่ดี ปัจจุบัน ผมอยากจะเชื่อเหลือเกินว่าเราก�ำลังยืนอยู่ ณ ช่วงเวลาปลาย สุดของอารยธรรมมนุษย์แล้ว มนุษย์ถือก�ำเนิดขึ้น แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว บริโภค ทรัพยากรจนเกินพอดี เมื่อระบบนิเวศเดิมถูกกระท�ำให้เปลี่ยนแปลงไปจนมนุษย์ ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ นั่นก็จะเป็นจุดจบของอารยธรรมมนุษย์บนโลกใบนี้ด้วย มนุษย์จึงเปรียบเสมือนเซลล์มะเร็งที่ก�ำลังแพร่พันธุ์ กัดกิน บ่อนท�ำลายร่างกายซึ่ง ก็คือโลกใบนี้นั่นเอง ในทางกลับกัน ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มตระหนักเรื่องปัญหาทาง สภาพแวดล้อมอย่างจริงจังมากขึ้น และพยายามคิดหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือ โลก เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก ลดการใช้รถยนต์ ประหยัดไฟฟ้า พยายามใช้วัสดุที่ น�ำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่วิธีการทั้งหมดนี้เป็นเพียงการซื้อเวลา ชะลอความตายของ โลกใบนี้ให้ช้าลงเท่านั้น หนทางเดียวที่มนุษย์จะมีโอกาสช่วยโลกใบนี้ไว้ได้คือ การ ปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ใน กระบวนการสังเคราะห์แสงแล้วเปลี่ยนเป็นมวลชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ที่ ถูกใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงท�ำให้พื้นที่รอบข้างมีอุณหภูมิลดลง ปลด ๓โลกใบนี้กำ�ลังป่วย
  • 11. ปล่อยออกซิเจนซึ่งเป็นก๊าซส�ำคัญส�ำหรับการด�ำรงชีวิตของสัตว์ ดูดซับสารพิษ และโลหะหนักต่าง ๆ ฟื้นฟูอินทรียวัตถุในดิน ป้องกันกษัยการ (Erosion) เป็น แหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ชนิดต่าง ๆ และเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง ทรัพยากรด้านอื่น ๆ ที่มนุษย์สามารถน�ำมาใช้ได้ตลอดไป หากมีการบริหารจัดการ ที่ถูกต้อง — นี่คือความคิดแรก ที่ผมได้รับจากการออกไปใช้ชีวิตในป่า และพิจารณาสิ่งแวดล้อมรอบตัว — ๔ เลียบขอบไพร
  • 12. ถึงแม้ว่าสภาพแวดล้อมของโลกก�ำลังประสบปัญหา แต่ยังคงไม่สาย เกินไปส�ำหรับการเริ่มต้นช่วยเหลือโลกมนุษย์ใบนี้ ปัญหาทางสภาพแวดล้อมใน ปัจจุบันสามารถคลี่คลายออกไปได้ด้วยการปลูกต้นไม้ ปลูกป่า แต่วิธีการที่จะ ท�ำให้มนุษย์เกิดความรัก ความหวงแหนต่อธรรมชาติและผืนป่าของเรา จนอยาก ที่จะปลูกต้นไม้สักต้นและดูแลทะนุถนอมด้วยตนเอง เป็นปัญหาเบื้องต้นเพียงข้อ เดียวที่เราจะต้องแก้ไขและผ่านพ้นไปให้ได้ ผมจึงเกิดความคิดที่จะเขียนหนังสือ เล่มนี้ขึ้น เพื่อบอกเล่าประสบการณ์และหวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้หลาย ๆ คนอยากออกไปส�ำรวจธรรมชาติรอบตัว ผมเชื่อว่า เพียงแค่ท่านเริ่มเปิดใจศึกษา ใฝ่รู้ ธรรมชาติย่อมมีวิธีการที่จะท�ำให้ท่านหลงรักและมีจิตหวงแหนธรรมชาติขึ้น มาได้เอง ท�ำไมต้องเข้าป่า อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
  • 13. จากนักท่องเที่ยวสู่นักส�ำรวจ คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับการใช้เวลาวันหยุดไปกับการเดินจับจ่ายซื้อ ของในห้างสรรพสินค้า ค้นหาร้านอาหารที่มีรสชาติถูกปาก ชมภาพยนตร์เรื่อง โปรด แต่ในโอกาสพิเศษหรือวันหยุดยาว หลายคนอาจมีก�ำหนดการท่องเที่ยวต่าง จังหวัดหรือต่างประเทศ — โอกาสนี้ผมอยากจะชักชวนทุกคนไปเที่ยวป่าด้วยกัน — แน่นอนว่า เมื่อพูดถึงการเที่ยวป่า หลาย ๆ คนจะต้องนึกถึงสถานที่ ส�ำหรับการพักผ่อนหย่อนใจที่มีทิวทัศน์สวยงามเป็นเอกลักษณ์ เช่น ยอดเขาสูง ทะเลหมอก ดอกไม้ น�้ำตก ซึ่งเป็นลักษณะการท่องเที่ยวเพื่อความรื่นรมย์ตาม ความหมายของอุทยานแห่งชาติในพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ระบุว่า อุทยานแห่งชาติ หมายถึง “ที่ดินซึ่งรวมความทั้งพื้นที่ดินทั่วไป ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ล�ำน�้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ ชายทะเล ที่ได้รับการก�ำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ...ลักษณะ ที่ดินดังกล่าว เป็นที่ที่มีสภาพธรรมชาติเป็นที่น่าสนใจ และ มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของ บุคคลใดซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง ทั้งนี้การก�ำหนดดังกล่าวก็เพื่อ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติ เพื่อสงวนไว้ให้เป็นแหล่งการศึกษา และความรื่นรมย์ของประชาชนสืบไป” ประโยชน์ทางด้านความรื่นรมย์ที่ประชาชนได้รับจากการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาตินี้เอง ท�ำให้เกิดการตีความทางความคิดอย่างกว้างขวางต่อมาว่า ๖ เลียบขอบไพร
  • 14. สิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่จัดเตรียมไว้ในอุทยานแห่งชาติควร มีมากหรือน้อยเพียงใด ถนนควรมีความกว้างเท่าไร ที่จอดรถควรรองรับได้กี่คัน ที่พักแรมควรมีความสะดวกสบายมากแค่ไหน จ�ำเป็นต้องมีเครื่องท�ำน�้ำอุ่นหรือไม่ สิ่งเหล่านี้จ�ำเป็นต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ หัวหน้าอุทยาน แห่งชาติ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ออกแบบ พิจารณาร่วมกับบริบท ของธรรมชาติในแต่ละแห่ง ซึ่งจะขอยกไปเขียนถึงในตอนการออกแบบในพื้นที่ ธรรมชาติ ในขณะที่อีกหลาย ๆ คนอาจนึกถึงการท่องเที่ยวป่าในลักษณะการพัก ค้างคืนในบ้านพักอุทยานแห่งชาติ รับประทานอาหารในร้านค้าสวัสดิการ และ เดินเล่นถ่ายภาพในเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และอีกหลาย ๆ คนอาจนึกถึงการ ท่องเที่ยวในระดับที่สมบุกสมบันมากขึ้น การบุกบั่นเดินทางเข้าไปในป่าทึบ กาง เต็นท์พักแรม หุงหาอาหารรับประทานเองข้างกองไฟ ใช้ชีวิตเสมือนนักผจญภัย อย่างแท้จริง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาชนจะได้รับเป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจใน เชิงการท่องเที่ยว ในทางกลับกัน หากผมเสนอแนะให้ท่านลองวางแผนท่องเที่ยว ป่าในบทบาทของนักส�ำรวจบ้าง ท่านจะได้ประสบการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจแตกต่าง จากการท่องเที่ยวทั่วไปโดยสิ้นเชิง เปรียบได้กับการเปิดโลกใบใหม่ของการท่อง เที่ยวป่าทีเดียว เปิดหู เปิดตา เปิดจมูก เปิดปาก ผมมักจะบอกเล่ากับนิสิตระหว่างไปทัศนศึกษาในป่าเสมอ ๆ ว่า ขอให้ ทุกคนหัดสังเกตสิ่งรอบ ๆ ตัวให้ดี ปรับทัศนคติใหม่ให้แตกต่างจากนักท่องเที่ยว ทั่วไปที่มองเห็นคุณค่าของป่าไม้ในเชิงทรัพยากรส�ำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ หรือ มองป่าไม้เป็นเพียงแค่สถานที่เปลี่ยนบรรยากาศส�ำหรับการสังสรรค์ ผมเตือนนิสิต เสมอ ๆ ว่า เราเข้าป่ามาเรียนรู้ มาศึกษา จงเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ในทุกก้าวย่างที่ ๗ทำ�ไมต้องเข้าป่า
  • 15. ผ่านไป หากพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วจะพบพืชพรรณและสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่แปลกตา และไม่ได้พบเห็นบ่อยนักในชีวิตประจ�ำวัน มนุษย์ทุกวันนี้อาศัยอยู่ในเมืองขนาดใหญ่ที่มีสิ่งเร้าต่าง ๆ กระท�ำต่อ การรับรู้ในระดับที่รุนแรง เช่น เสียงดังของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เสียงรถ ขยายเสียงขายกับข้าว เสียงเพลงในผับหรือร้านคาราโอเกะ เสียงในโรงภาพยนตร์ ป้ายโฆษณาไฟฟ้าตามทางด่วน กลิ่นของมลพิษ กลิ่นขยะ กลิ่นน�้ำหอม ครีมทาผิว แชมพูสระผม สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ประสาทในการรับรู้ของมนุษย์ช้าลง และมีการใส่ใจ กับสภาพแวดล้อมรอบตัวลดลงเป็นอย่างมาก มนุษย์ทุกวันนี้จึงมีการรับรู้ที่ไม่ ละเอียดอ่อนอย่างที่ควรจะเป็น เราควรถอดหูฟังเพลงออกแล้ว “เปิดหู” พิจารณาเสียงของธรรมชาติ รอบตัว เช่น จักจั่น จิ้งหรีด นก เก้ง กวาง สุนัขจิ้งจอก ใบไม้ สายลม สมัยผมเริ่ม พานิสิตเข้าป่าครั้งแรก ๆ ครั้งนั้นคณะของเราออกเดินทางไปยังเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี คืนหนึ่งขณะที่ทุกคนก�ำลังนั่งสนทนากันตาม สบายหลังรับประทานอาหารเย็น ทุกคนก็แว่วได้ยินเสียงฝนก�ำลังตกไล่มาจากที่ ไกล บางคนเอ่ยปากเตือนกันว่าให้เตรียมเก็บข้าวของสัมภาระกันให้ดี เพราะฝน ก�ำลังจะมาแล้ว แต่สุดท้ายปรากฏว่าเป็นเสียงลมที่พัดผ่านมาตามล�ำธารซึ่งท�ำ หน้าที่เสมือนเป็นช่องลมภายในป่า ท�ำให้ลมมีความเร็วสูงและพัดใบไม้กระทบกัน เป็นเสียงคล้ายฝนตกกระทบใบไม้ไปได้ อีกครั้งหนึ่งที่สร้างความประทับใจและ ให้ความรู้กับผมเป็นอย่างมากคือ เมื่อครั้งที่ผมได้เดินทางไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ครั้งนั้นนับเป็นโอกาสอันดีที่ได้นิสิตที่มีความเชี่ยวชาญ ในเรื่องการดูนกติดตามไปด้วย หลังจากรับประทานอาหารเย็น ผมได้ขอให้นิสิต คนนั้นช่วยบรรยายเรื่องนก และสอนให้เพื่อนนิสิตคนอื่น ๆ รู้จักสังเกตและฟัง เสียงนกชนิดต่าง ๆ อาทิ เสียงต๊ง ต๊ง ต๊ง ต๊ง ต๊ง ต๊ง ต๊ง เป็นจังหวะสม�่ำเสมอติดต่อ กันเป็นเวลานาน อาจพิจารณาได้ว่าเป็นเสียงนกตีทอง หรือเสียงปู๊ด ปู๊ด ปู๊ด ปู๊ด ก้องลึกในล�ำคอเป็นเสียงนกกระปูด การเลียนเสียงนกด้วยการเขียนนั้นเป็นไปได้ ๘ เลียบขอบไพร
  • 16. ยาก ถึงแม้ว่าจะได้อ่านหนังสือและท่องจ�ำเสียงนกได้ตลอดทั้งเล่มก็ไม่สามารถรับ ทราบและจดจ�ำได้ดีเท่าการมาได้ฟังเสียงนกจริง ๆ คืนนั้นทั้งคณะเดินทางจึงได้รับ ฟังบรรยายจากเพื่อนนิสิตด้วยกันเองและหัดเลียนแบบเสียงนกกันจนเพลินเป็น เวลาหลายชั่วโมง ก่อนจะแยกย้ายกันเข้านอนด้วยใจอันเป็นสุขท่ามกลางเสียงเห่า หอนของสุนัขจิ้งจอกในฤดูผสมพันธุ์ช่วงปลายปี เราควร “เปิดตา” ใส่ใจ หัดเป็นคนช่างสังเกต และมีประสาทที่ไวต่อการ รับรู้ทางสายตาให้มากขึ้นเมื่ออยู่ในป่า สัตว์หลายชนิดมีการพรางตัวให้กลมกลืน อยู่กับธรรมชาติอย่างแนบเนียน มีแต่สายตาที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีเท่านั้นที่ จะสามารถจับการเคลื่อนไหวและระบุชนิดของสัตว์ต่าง ๆ ได้จากระยะไกล โดย เฉพาะวิทยากร คนน�ำทางในพื้นที่ และพวกลูกหาบ บุคคลเหล่านี้ท�ำงานอยู่ใน พงไพรเป็นอาชีพและมีสายตาที่แหลมคมมาก ครั้งหนึ่งผมได้พานิสิตในชั้นเรียน ไปทัศนศึกษาที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา วิทยากรที่ นั่นเป็นเอตทัคคะในเรื่องการดูสัตว์และการจับสังเกตธรรมชาติรอบตัว ระหว่างที่ คณะของเราก�ำลังเดินดูนกในตอนเช้า วิทยากรที่น�ำชมชี้ไปยังยอดไม้ไกล ๆ และ บอกให้สังเกตดูนกบนยอดไม้นั้น ทั้งยังสามารถบอกชนิดของนกได้อย่างแม่นย�ำ ด้วยตาเปล่า ขณะที่พวกเรามองเห็นมันเป็นเพียงจุดด�ำเล็ก ๆ จุดเดียว แต่ในครั้ง นั้นนิสิตของเราก็แสดงความเชี่ยวชาญทางด้านสายตาแบบคนเมืองเช่นกัน เมื่อ นกตีทองก�ำลังโผล่หน้าออกมาจากรัง
  • 17. เหลือบไปเห็นดาราชื่อดังคนหนึ่งก�ำลังถ่ายท�ำรายการโทรทัศน์อยู่ที่นั่นพอดี กลาย เป็นรายการชี้ชวนกันชมดารา เป็นอันว่านกทั้งหลายไม่ต้องดูกันแล้ว เดินกลับ ที่พักกันเลยดีกว่า บางครั้งสายตาที่ไม่ได้รับการฝึกฝนและจิตใจที่ไม่เข้มแข็งก็อาจ สร้างความเข้าใจผิดได้เช่นกัน ครั้งหนึ่งที่ผมเคยไปกางเต็นท์นอนที่อุทยานแห่ง ชาติห้วยน�้ำดัง จังหวัดเชียงใหม่ ตกดึกได้ยินเสียงความวุ่นวายจากเต็นท์ของอีก คณะหนึ่งไม่ห่างออกไปนัก สามีกับภรรยาวิ่งอุ้มลูกออกจากเต็นท์เข้าไปหลบอยู่ ในรถด้วยอาการตื่นตกใจ จนรุ่งเช้าถึงได้คุยกันว่า คณะนั้นพบว่ามีหมาป่าตัวใหญ่ มาคุ้ยขยะและเดินวนเวียนอยู่รอบเต็นท์ ซึ่งจริง ๆ แล้วคณะเราก็มองเห็นและรับ ทราบว่ามันเป็นแค่หมาจรจัดธรรมดานี่เอง คาดว่าคณะนั้นนอนอยู่ในเต็นท์แล้ว มองเห็นหมาตัวนั้นจากมุมต�่ำ จึงท�ำให้หมาดูตัวใหญ่ผิดธรรมดาไปได้ ก็เป็นเรื่อง สนุกสนานที่ยังพูดคุยเล่นกันได้ไม่รู้เบื่อจนทุกวันนี้ เรื่องราวของการ “เปิดจมูก” ก็เช่นกัน ผมเป็นคนหนึ่งที่ถือว่าโชคดีมาก ในฐานะลูกที่มีคุณพ่อพาท่องเที่ยวป่า หัดศึกษาไพรตั้งแต่ยังเด็ก ในสมัยนั้นคน ยังไม่นิยมเที่ยวอุทยานแห่งชาติกันมากมายอย่างปัจจุบัน ผมจึงได้เรียนรู้หลายสิ่ง หลายอย่างจากคุณพ่อผู้ซึ่งท่องเที่ยวป่ามาตั้งแต่สมัยท่านยังเป็นหนุ่ม ผมได้รู้จัก กลิ่นสัตว์ต่าง ๆ บ้างก็เพราะการเดินป่ากับคุณพ่อ และยังจดจ�ำบางส่วนได้มาจน ทุกวันนี้ ครั้งหนึ่งผมพานิสิตไปพักที่แคมป์บ้านกร่าง อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี คืนนั้นทุกคนจับกลุ่มคุยเล่นกันตามปกติก่อนเข้านอน ผมเดินอยู่ รอบ ๆ บริเวณที่พักเพื่อดูความเรียบร้อยและรู้สึกตัวว่าได้กลิ่นช้าง จึงเข้าไปลอง สอบถามนิสิตแต่ละคน ปรากฏว่าไม่มีใครได้กลิ่นนี้เลย คาดว่าอาจเป็นเพราะ นิสิตไม่เคยได้กลิ่นช้างมาก่อน หรือประสาทการดมกลิ่นไม่ไวพอเพราะถูกกลิ่นสบู่ แชมพู น�้ำหอมกลบไปเสียหมด โชคยังดีที่เหตุการณ์ในคืนนั้นผ่านไปได้อย่างสงบ เรียบร้อย รุ่งเช้าเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติจึงเข้ามาแจ้งว่า เมื่อคืนมีช้างป่าเข้ามา เพ่นพ่านรอบ ๆ ที่พัก แต่เดินหากินอยู่ต�่ำลงไปทางล�ำธารด้านล่าง พวกเราจึงไม่ได้ พบเห็นตัวกันในคราวนั้น ๑๐ เลียบขอบไพร