SlideShare a Scribd company logo
1 of 130
Download to read offline
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแส
วัฒนธรรมย่อย J-pop
โดย
สุรกิตติ์ สิงห์แก้ว
รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
สม.418 หลักสูตรการวิจัยทางสังคม
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
ปีการศึกษา 2556
A
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรม ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มในบริบท
ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupในกระแสวัฒนธรรมย่อยอย่าง J-pop โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวิธีการ
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมเข้าไปศึกษาเข้าไปสังเกตพฤติกรรมและกิจกรรม
ต่างๆของกลุ่มแฟนคลับ และการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการเพื่อศึกษาถึงข้อมูลที่รู้กันแบบเฉพาะเจาะจง
ของกลุ่มแฟนคลับด้วยกันเอง รวมถึงการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเพื่อให้มองเห็นถึงประสบการณ์ที่แตกต่าง
และทัศนคติที่แตกต่างของกลุ่มแฟนคลับที่มีต่ออัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับด้วยกันเองอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมของกลุ่มแฟนคลับภายใต้กิจกรรมและงาน Event ต่างๆ
ของทาง 48 Groupที่มีผลต่อการรวมกลุ่มและบริโภคของกลุ่มแฟนคลับ
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแฟนคลับ 48 Group เกิดขึ้นและรวมตัวกันได้จากการพยายามเพิ่มพื้นที่
และแพร่กระจายกลุ่มของตนเองออกไปให้มีฐานของกลุ่มแฟนคลับเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การติดตามและเข้าถึง
ช่องทางของกลุ่มแฟนคลับได้รับการตอบสนองจากทางกลุ่มไอดอล 48 Group มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามใน
การรวมกลุ่มกันยังเกิดจากความต้องการในการบริโภคสิ่งใหม่ๆและน่าสนใจอยู่ตลอดเวลาของกลุ่มแฟน
คลับที่มีความต้องการสิ่งใหม่ๆและสิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้นความอยากในการบริโภคอยู่ตลอดเวลาภายใต้กระแส
ความเป็นไอดอลของญี่ปุ่น และจากผลการศึกษายังพบว่าอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับในกระแส
วัฒนธรรมย่อย J-pop ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group นั้นถูกสะท้อนผ่านทางพฤติกรรมในการสะสมหรือ
ติดต่อปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มแฟนคลับมากกว่า การจะมองว่าใครมีการติดตามที่เข้มข้น หรือ สะสมที่สิ่งของ
มากขนาดไหน หรือ มองว่าการติดตามกลุ่ม 48 Group เท่านั้นถึงจะถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group
อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupในไทยจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหาก
ปราศจากกิจกรรมหรือEvent ของทางกลุ่มไอดอล 48 Group เข้ามากระตุ้นให้เกิดความต้องการต่างๆมากขึ้น
B
คำนำ
งานวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupในกระแสวัฒนธรรมย่อย
J-pop” ผู้วิจัยได้ศึกษษค้นคว้าและจัดทาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเข้าร่วมและรวมกลุ่ม
กันของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในสังคมไทย และเพื่อศึกษาพฤติกรรมและการแสดงออกที่ส่งผลต่ออัต
ลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในสังคมไทย เพื่อให้เห็นถึงลักษณะและการแสดงออกของกลุ่ม
แฟนคลับภายใต้กระแสวัฒนธรรมย่อยในสังคมไทยที่ปัจจุบันมีจานวนเพิ่มขึ้นและกลายเป็นกลุ่มวัฒนธรรม
ย่อยที่สาคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการผลักดันสังคม ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่เห็นได้อย่าง
ชัดเจนในสังคมปัจจุบัน เช่น กระแสวัฒนธรรม J-pop และ K-pop ที่ไหลบ่าเข้ามาในสังคมไทยทั้งจากสื่อ
ภายนอกและการนาเข้าของสื่อภายในส่งผลต่อพฤติกรรมและวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยอย่างมาก อาทิ
การกิน การดื่ม และการแสดงออกต่างๆของวัยรุ่นในสังคมไทย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อกระแสการ
ท่องเที่ยวในต่างประเทศจากที่เห็นได้ชัดในสังคมไทยที่นิยมท่องเที่ยวยังประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นเป็น
จานวนมาก ซึ่งผลการวิจัยและข้อเสนอแนะต่างๆ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยในการนา
ผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ตลอดจนเกิดแนวทางในการปรับปรุงพัฒนางานวิจัยใน
รายวิชาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ผู้วิจัยขอขอบคุณอาจารย์พรทิพย์ เนติภารัตนกุล อาจารย์ที่ปรึกษาในงานวิจัยที่คอยช่วยสนับสนุน
และให้คาปรึกษาในงานวิจัยพร้อมทั้งสละเวลาในการพิจารณาและช่วยปรับปรุงงานวิจัยชิ้นนี้ให้สามารถ
สาเร็จได้ด้วยดีมาตลอด ขอขอบคุณพี่ น้อง และ เพื่อนในกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ที่คอยช่วยเหลือสนับสนุน
และให้ข้อมูลจากทั้งการสัมภาษณ์และจากการพูดคุยในประเด็นต่างๆด้วยดีมาตลอด และขอขอบคุณเพื่อนๆ
นักศึกษาวิจัยทางสังคมวิชา สม.418 ที่คอยช่วยเหลือสนับสนุนและแบ่งปันความคิดเห็นร่วมกันในการ
ทางานวิจัยต่างๆ จนงานวิจัยชิ้นนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการที่คอยช่วย
ดาเนินเรื่องและให้คาปรึกษาในการดาเนินงานทางานวิจัยชิ้นนี้
สุรกิตติ์ สิงห์แก้ว
สาขาการวิจัยทางสังคม
คณะสังคมวิทยาและมานุษย์วิทยา
ตุลาคม 2556
C
สำรบัญ
หน้า
บทคัดย่อ .........................................................................................................................................[A]
คานา................................................................................................................................................[B]
สารบัญ ...........................................................................................................................................[C]
สารบัญตาราง..................................................................................................................................[E]
สารบัญภาพ ....................................................................................................................................[E]
บทที่ 1 บทนา .................................................................................................................................1
ที่มาและความสาคัญของปัญหา............................................................................1
วัตถุประสงค์ในการวิจัย........................................................................................9
คาถามการวิจัย.......................................................................................................9
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ...................................................................................9
ขอบเขตการวิจัยและวิธีการศึกษา........................................................................10
นิยามศัพท์เฉพาะ.................................................................................................11
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฏี และการทบทวนวรรณกรรม................................................................. ...12
แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมย่อย (Subculture)............................................................12
แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture).......................................15
แนวคิดเรื่องกลุ่ม (Group) ...................................................................................17
แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ (Identity) .......................................................................25
แนวคิดเรื่อง “แฟน” และ “แฟนด้อม” (Fan & Fandom) ....................................27
แนวคิดเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) .....................................32
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง..............................................................................................36
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย....................................................................................................................42
กลุ่มตัวอย่าง........................................................................................................42
วิธีการเก็บข้อมูล.................................................................................................43
การวิเคราะห์ข้อมูล.............................................................................................48
D
บทที่ 4 โลกของ 48 Group และกลุ่มแฟนคลับ............................................................................49
ประวัติและความเป็นมาของ 48 Group.............................................................49
เอกลักษณ์และองค์ประกอบของ 48 Group......................................................51
วัฒนธรรมและกิจกรรมของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group......................................54
ภูมิหลังของแฟนคลับ 48 Group.......................................................................56
บทที่ 5 กระบวนการเข้าร่วมกลุ่ม อัตลักษณ์ และกิจกรรมการแสดงออก
ของกลุ่มแฟนคลับ 48Group ........................................................................................77
กระบวนการเข้าร่วมกลุ่มแฟนคลับ 48 Group................................................77
การนิยามอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ...........................................84
กิจกรรมและการแสดงออกที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์
ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group...........................................................................89
บทที่ 6 สรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ.................................................................................99
สรุปผลอภิปรายผล...........................................................................................99
ข้อจากัดในการวิจัย...........................................................................................99
ข้อเสนอแนะ....................................................................................................106
สิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากการศึกษา.................................................................106
บรรณานุกรม..............................................................................................................................108
ภาคภนวก
E
สำรบัญคำรำง
ตารางที่ หน้า
ตารางที่ 1 การนาเสนอข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์..................................................................75
สำรบัญภำพ
ภาพที่ หน้า
ภาพที่ 1 โครงสร้างของ 48 Group ………………………………………………………..4
ภาพที่ 2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค……………………………………33
คำรับรอง
ข้าพเจ้า…………………………………………….... เลขทะเบียน ……..………………………….
รับทราบว่า การลอกเลียนผลงานทางวิชาการและการคัดลอกผลงานทางวิชาการโดยปราศจากการอ้างอิงที่
ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของข้าพเจ้าเองเป็นการขัดต่อหลักจริยธรรมทาง
วิชาการและอาจมีความผิดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ผลงาน ภาคนิพนธ์2 ที่นาเสนอนี้ เป็นผลงานที่ข้าพเจ้าได้ทาการค้นคว้า
เรียบเรียงขึ้น และมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูล ตลอดจนเอกสารที่ใช้ประกอบการศึกษาอย่างถูกต้องครบถ้วน
และมิได้ถูกใช้นาเสนอเป็นผลงานในรายวิชาอื่นทั้งภายในหรือนอกคณะฯ
(ลงชื่อ) ................................................................
วันที่ ......... เดือน......................พ.ศ. ...................
1
บทที่ 1
บทนำ
ที่มำและควำมน่ำสนใจของปัญหำ
ในโลกปัจจุบัน ที่มีการเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์หรือการที่เทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาขึ้นมาอย่าง
ก้าวกระโดด ส่งผลให้มีการไหล่บ่าของข้อมูลข่าวสารต่างๆจากที่หนึ่งสู่อีกที่หนึ่งได้อย่างฉับไว ทั้งนี้การ
ไหล่บ่าของข้อมูลยังได้ไปกระตุ้นถึงการไหลบ่าทางวัฒนธรรมอีกด้วย การไหล่บ่าของวัฒนธรรมเริ่มเกิดขึ้น
ครั้งแรกในช่วงยุคของการล่าอาณานิคมที่ประเทศที่มีอานาจและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าแล้ว พยายามเข้าไปยึด
ครองทรัพยากรและทาการแลกเปลี่ยนค้าขายกับประเทศที่มีทรัพยากรต่างๆโดยอาศัยอานาจในการ
แลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีและสร้างข้อตกลงต่างๆร่วมกันขึ้น ซึ่งจากผลของการล่าอาณานิคมได้ส่งผลให้มี
การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างวัฒนธรรมของสังคมหนึ่งกับสังคมหนึ่งขึ้นมา จนเกิดการไหล่บ่าของวัฒนธรรม
ขึ้นผ่านทางปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนกันนั้น การไหล่บ่าของวัฒนธรรมไม่ได้มาจากการพูดคุย
ติดต่อสื่อสารกันเท่านั้น แต่ยังผ่านทางการบริโภคสินค้าต่างๆที่มาจากวัฒนธรรมนั้นๆอีกด้วย เพราะใน
สินค้าที่มาจากวัฒนธรรมนั้นๆมักจะมีวัฒนธรรมและค่านิยมต่างๆแฝงมากับตัวสินค้าด้วย อาจจะมาผ่านทาง
สรรพคุณของสินค้าที่วัฒนธรรมนั้นๆเชี่ยวชาญหรือต้องการ รูปลักษณ์ภายนอกที่แสดงออกหรือบ่งบอกถึง
วัฒนธรรมนั้นๆ สินค้าเหล่านี้เองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้มีการไหล่บ่าของวัฒนธรรมได้มากขึ้น ซึ่งใน
ปัจจุบัน ก็มีการไหล่บ่าของวัฒนธรรมต่างๆเข้ามาอย่างไม่น้อยเช่นกันซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัฒนธรรมจาก
โซนเอเชียด้วยกันเอง หรือที่เราเรียกกันว่า “Asian Pop” ซึ่งได้แยกออกไปเป็นประเภทย่อยๆได้อีกอย่าง J-
Popและ K-popเป็นต้น ทั้งนี้กระแสวัฒนธรรมที่ไหลเข้ามาและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในสังคม
นั้น ก็จะถูกเรียกว่าเป็นกระแสวัฒนธรรมย่อยหนึ่งในสังคมที่มีการยอมรับและนิยมบริโภควัฒนธรรมนั้นกัน
อย่างแพร่หลายของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
Stuart Hall & Tony Jefferson (1976 อ้างใน เขมทัต พิพิธธนาบรรพ์,2551) นิยามวัฒนธรรมย่อยว่า
เป็นวิธีการที่กลุ่มย่อยใช้จัดการกับชีวิตทางวัตถุและวิถีชีวิตด้านอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆโดยมี
เป้าหมายเพื่อสร้างอัตลักษณ์ วิธีการนี้เป็นปฏิบัติการที่กลุ่มดาเนินไปอย่างมีความหมายและมีสานึก ไม่ว่า
2
จะเป็น วัตถุ ความสัมพันธ์ระบบค่านิยม ระบบความเชื่อที่ผลิตออกมา และวิธีการผลิตล้วนมีเอกลักษณ์
เฉพาะกลุ่ม
ส่วนในประเทศไทยกระแสวัฒนธรรมย่อยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดปัจจุบัน คือ K-pop และที่รองลง
คือ J-pop กระแสวัฒนธรรมย่อยเหล่านี้เป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้อย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับใน
สังคมไทยอย่างมาก จนพูดได้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้คนในสังคมไทย ดังจะเห็นได้อย่าง
ชัดเจนจากสื่อโฆษณาที่มีการนาเอาข้อมูลข่าวสารและสินค้าต่างๆจากวัฒนธรรมเหล่านี้เข้ามาใช้เป็นการโป
รโมทและส่งเสริมการขายในสินค้าของตน เช่น ครีมจากเกาหลี, สาหร่ายญี่ปุ่น และอื่นๆอีกมากมาย ที่พบ
เห็นโดยทั่วไป ทั้งนี้ยังรวมไปถึงวัฒนธรรมต่างๆที่ได้นาเอาวัฒนธรรมย่อยเหล่านี้มาช่วยอีกด้วย เช่น ดนตรี
ที่มีการนาเอาแนวดนตรีอย่าง K-popและ J-pop เข้ามาเสริมหรือผสมกันไป จนกลายเป็นเหมือนสิ่งที่จาเป็น
ที่วงการดนตรีไทยจะต้องมีประกอบควบคู่กันไปกับเพลงในปัจจุบัน กล่าวคือวัฒนธรรมในปัจจุบันไม่ได้มี
หน้าที่อยู่เพียงแค่เป็นแม่แบบในการดารงชีวิตและรูปแบบในการปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่ดีของคนใน
สังคมเท่านั้น แต่วัฒนธรรมยังเป็นสิ่งที่สามารถบริโภคได้ด้วย ผ่านทางเอกลักษณ์และลักษณะที่เป็นที่
เฉพาะเจาะจงของวัฒนธรรมนั้นๆ
แม้วัฒนธรรมย่อยอย่าง K-pop จะเป็นวัฒนธรรมที่แพร่กระจายในสังคมปัจจุบันได้อย่างแพร่หลาย
อย่างมาก แต่ก็มีวัฒนธรรมย่อยอีกอย่างหนึ่งที่ก็มีการแพร่กระจายออกไปได้ไม่แพ้กัน นั่นคือ J-pop ซึ่งเป็น
กระแสวัฒนธรรมย่อยอันดับต้นๆที่ได้เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ประเทศญี่ปุ่นได้เข้า
มาทาการติดต่อกับประเทศไทยมาอย่างยาวนานแล้ว ทาให้กระแส J-popดูเป็นกระแสที่เก่าและไม่น่าตื่นเต้น
ไปซึ่งส่วนหนึ่งก็อาจจะเพราะมีวัฒนธรรมย่อยที่ใหม่กว่าอย่าง K-popเข้ามาด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม
กระแส J-popก็ยังไม่หมดไปจากสังคมไทยซึ่งเห็นได้อย่างยิ่งจากกลุ่มแฟนคลับหรือกลุ่มผู้คลั่งไคล้กระแส
ของ J-pop ที่ยังเห็นได้อยู่ในปัจจุบัน แม้อาจจะไม่มีการแสดงออกอย่างเด่นชัดและพบเห็นได้บ่อยครั้ง แต่ก็
ยังมีกลุ่มผู้คลั่งไคล้ในกระแส J-pop อยู่ไม่น้อย
กระแส J-popเป็นกระแสวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เข้ามาในสังคมและมีอิทธิพลกันอย่างแพร่หลาย โดย
เริ่มแรกอาจจะย้อนกลับไปได้จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวญี่ปุ่นเข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานที่มั่น
ในการรบและจนมาบูมขึ้นในปัจจุบันจากการเข้ามาของสื่อบันเทิงต่างๆ อย่างเช่นเพลง J-pop และ J-rockที่
มีการแพร่หลายกันอย่างมาก ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือการย้อมผมเป็นสีเหลืองหรือสีทองที่เป็นการ
ได้รับอิทธิพลมาจากกระแสวัฒนธรรมของวงดนตรีในกระแส J-pop ต่างๆ กระแส J-pop ได้เข้ามามีอิทธิพล
กับสังคมไทยในหลายๆด้าน ทั้งการกิน การเล่น และการรับชมสื่อต่างๆ จนอาจกล่าวได้ว่ากระแสวัฒนธรรม
3
J-pop ก็เป็นหนึ่งในกระแสวัฒนธรรมย่อยที่เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยได้ไม่แพ้กระแส K-popเลยทีเดียว
ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นและเกิดความสนใจในกระแสวัฒนธรรมย่อย J-pop ที่ว่าจากการที่เราพบเห็นกระแส
วัฒนธรรมนี้อย่างผิวเผินนั้น จะมีรูปแบบและลักษณะใดอีกที่ยังคงเป็นวัฒนธรรมที่เรายังไม่สามารถพบเห็น
หรือพบเห็นได้ยากแต่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มกระแส J-pop ที่เราอาจจะมองข้ามมันไป และการที่กระแส
วัฒนธรรม J-pop เริ่มแผ่วเบาลงไปคนกลุ่มนี้ได้มีการพยายามรักษาอัตลักษณ์ของตนเองไว้ได้อย่างไร อะไร
ที่ทาให้กระแสวัฒนธรรม J-pop ยังคงอยู่รอดได้แม้ว่าจะมีวัฒนธรรมย่อยที่สดใหม่กว่าอย่าง K-pop เข้ามา
สิ่งเหล่านี้ได้ทาให้ผู้วิจัยเกิดความสนใจและตัดสินใจเลือกกลุ่มแฟนคลับดนตรีกระแส J-popที่เป็นกลุ่มที่
รวมเอาความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อย J-pop นี้เข้าไว้อย่างมากมาย นั่นก็คือกลุ่มแฟนคลับ AKB48
หรือ 48 Group ขึ้นมาเพื่อทาการศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มแฟนคลับในประเทศไทย
“AKB48”(Akihabara48) หรือ ถ้าจะใช้คาพูดของคนในกลุ่มที่เรียกกันก็คือ 48 Group เนื่องจากกลุ่ม
ดังกล่าวมีโครงสร้างในวงที่ซับซ้อนและหลากหลาย ทาให้คนนอกที่เข้ามาทาความรู้จักกับโลกของ J-Popนี้
ครั้งแรกอาจจะเข้าใจผิดว่า 48 Group มีแค่ในชื่อ “AKB48” แต่ในความจริงแล้ว มีทั้ง SKE48(Sakae),
NMB48(Numba) และ HKT48(Hakata) ที่เป็นกลุ่ม 48 Group สาขาภายในประเทศญี่ปุ่น โดยยังไม่รวมเอา
กลุ่มสาขาอย่าง JKT48(Jakarta) และ SHN48(Shanghai) ที่ตั้งอยู่ภายนอกประเทศ และในแต่ละทีมก็จะมีการ
แยกซึ่งถ้าหากนามารวมกันแล้วสมาชิกของ 48 Group นี้มีจานวนสมาชิกกว่า 200 กว่าชีวิตเลยทีเดียว และใน
แต่ละกลุ่มก็จะมีการแบ่งออกเป็นทีมย่อยๆ เช่น AKB48 ก็จะแบ่งเป็น Team A, Team K, Team B และ
Kenkyusei (เคงคิวเซย์) หรือ ที่เรียกว่า “เด็กฝึกหัด” ซึ่งในส่วนใหญ่แต่ละกลุ่มจะมีการแบ่งออกเป็นรูปแบบ
ทีมเช่นนี้ และยังมีกลุ่มทีม Sub Unit และ Soloist อีกมากมาย จากที่กล่าวมาอาจทาให้เห็นโครงสร้างของ
กลุ่มนี้ได้ยากเนื่องจากความซับซ้อนของโครงสร้างของกลุ่มนี้มีมาก แต่หากไม่ทาความเข้าใจก็ยากที่จะเข้า
ไปทาการศึกษาหาข้อมูลและพูดคุยได้จึงจาเป็นต้องมีการเรียบเรียงและเข้าใจถึงโครงสร้างที่ซับซ้อนนี้
เสียก่อน โดยโครงสร้างของ 48 Groupมีดังภาพต่อไปนี้
4
ภาพที่ 1 โครงสร้าง 48 Group
5
แรกเริ่มเดิมที 48 Group เกิดขึ้นจากโปรเจ็ค Akihabara 48โดย อากิโมโตะ ยาสึชิ (Akimoto
Yasushi) นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงของญี่ปุ่น หรือ ที่แฟนคลับญี่ปุ่นเรียกกันในภายหลัง
ว่า “อากิพี” เริ่มก่อตั้ง Akihabara48ขึ้นเมื่อปี 2005 โดยอาศัยแนวคิดหลักที่ว่า AKB48 คือ ไอดอลที่ไปพบ
ได้จึงมีโรงละคร(Theater)เป็นของตัวเองที่อาคาร Don Quijote ในย่านอากิฮาบาระ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวง มี
การแสดงหมุนเวียนโดยสมาชิกแต่ละทีมทุกวัน ทาให้แฟนๆ รู้สึกว่าเป็นไอดอลที่ใกล้ตัว สามารถไปพบได้
จริง และในภายหลังจึงมีวงสาขาอื่นๆเกิดขึ้นมาตามแต่ละพื้นที่ต่างๆของประเทศ ในช่วงแรกที่ก่อตั้งวงขึ้น
นั้นได้อาศัยวิธีการออดิชั่น (Audition) โดยอากิโมโตะ ยาสึชิ เองซึ่งในรุ่นแรกมีผู้ผ่านการออดิชั่น 24คน
จากทั้งหมด 7,924 คน และเริ่มต้นการแสดงครั้งแรกที่โรงละครของพวกเธอซึ่งมีการโฆษณาผ่านโปสเตอร์
ประกาศและใบปลิวเท่านั้น ซึ่งในปีแรกอาจกล่าวได้ว่าเป็นปีที่ทาให้กลุ่มไอดอล AKB48 นี้มีความ
ยากลาบากที่สุด เนื่องจากไม่ประสบความสาเร็จในการเปิดตัวเลยซึ่งเริ่มต้นจากการที่มีคนเข้าดูการแสดงใน
โรงละครของพวกเธอเพียงแค่ 8 ที่นั่งจาก 100 ที่นั่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพียงเพื่อนๆและคนรู้จักหรือกลุ่มคนที่
อยากเห็นไอดอลตัวเป็นๆเท่านั้น ทาให้มีสมาชิกในวงลาออกไปจนเหลือเพียง 10 กว่าคนเท่านั้นแต่ด้วย
ความพยายามของสมาชิกที่เหลือ ก็ได้ทาให้ AKB48 กลายเป็นวงที่มีชื่อเสียงได้ในภายหลังจากการที่มีคนมา
ดูการแสดงที่โรงละครเพียงแค่ไม่ถึง 10คนจาก 250 ที่นั่งต่อวัน กลายเป็นมีคนนับ 1000คนที่ต้องการรับชม
การแสดงของพวกเธอ ทาให้สิ่งนี้กลายเป็นประวัติที่น่าสนใจและดึงดูดใจผู้คนอย่างมากของกลุ่ม ทั้งนี้นับ
จากปี 2006 ที่เกิดวิกฤตยอดขาย CD เพลงลดลงเนื่องจากเทคโนโลยีในการดาวโหลดเพลงนั้นเพิ่มมากขึ้น
ทาให้ยอดขาย CD ในประเทศญี่ปุ่นลดลงอย่างมากส่งผลต่ออุตสาหกรรมดนตรีอย่างมาก แต่วงAKB48
ในช่วงปี 2010 - 2011 ยอดขายSingle ของ 48 Group ได้ติดอันดับ 1-6 ของ Oricon Chart (บอร์ดแสดง
ยอดขายแผ่นเพลงของญี่ปุ่น) ที่มียอดขาย CD เกิน 1 ล้านแผ่นถึง 5 อันดับ และยอดขายที่ได้จากงานโฆษณา
และการขายสินค้าต่างๆของ AKB48 ซึ่งหากนายอดขายมารวมกันก็สามารถตีเป็นจานวนเงินถึง 30,000 ล้าน
เยนที่ส่งผลกระทบต่อตัวเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้เลยทีเดียว (AKB48 ([FungusMR] 120106 KinSma Special
: ช่วงเวลาที่ยากลาบากของ AKB48 อ้างอิงจาก http://alive.in.th/watch_video.php?
v=A664XRMSSG55)
ในสังคมและวงการบันเทิงของญี่ปุ่นกลุ่ม 48 Groupถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มไอดอล (Idol) สาวที่มีความ
สดใหม่และเป็นที่นิยมอยู่เสมอ ทั้งนี้ความหมายของการเป็นไอดอล มีความแตกต่างอย่างมากจากกลุ่ม
Girl Group ต่างๆที่รู้จักกัน ทั้งนี้คาว่า Groupของ 48 Group มาจากการที่ในภายหลังวง AKB48 ได้ทาการ
ก่อตั้งวงรุ่นน้องแตกออกไปตามที่ต่างๆอย่าง SKE48, NMB48 และ HKT48ซึ่งทาให้มีการเรียกกลุ่มนี้
6
รวมๆกันว่า 48 Group จากคอนเซ็ปที่ว่ามีสมาชิก 48 คนในวง ทั้งนี้ยังเห็นได้ชัดจากการที่สมาชิกในวงมีต้น
สังกัดในวงการบันเทิงที่ต่างกันไป ทาให้ในงานวิจัยนี้จาเป็นต้องทาความเข้าใจความหมายของไอดอลใน
แบบเฉาพะของวัฒนธรรมกระแสรองของ J-popเสียก่อน
คาว่า Idol หรือ ไอดอล เป็นคาทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันไม่มีอยู่ในพจนานุกรม
บัณฑิตยสถาน โดยหายแปลจากพจนานุกรมฉบับ Cambrige University ได้ว่า “ใครสักคนที่เป็นที่ยอมรับ
และได้รับความยกย่องนับถือและอะไรที่เรามาใช้เป็นแบบอย่าง” (http://dictionary.cambridge.org/
dictionary/british/idol?q=idol) ทาให้ความหมายของ Idol ในที่นี้ คือดาราวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 13-20ปลายๆ
ที่เป็นแบบอย่างที่ผู้คนได้ให้ความสนใจและอยากมีบุคลิกหรือลักษณะต่างๆแบบเขา/เธอ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ
บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการประพฤติและปฏิบัติตัว Idol เป็นคาเรียกที่ไม่จากัดเพศ แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยม
ใช้กับดาราวัยรุ่นเพศหญิงมากกว่าเนื่องจากความหมายของ Idol ในวงการบันเทิง คือ กลุ่มดาราวัยรุ่นที่มี
ความสดใหม่ น่ารัก สดใสอยู่เสมอ และมีการแสดงออกได้อย่างดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นได้โดยอาจ
เป็นผลมาจากรูปแบบเฉพาะของกลุ่มที่มีการเข้าออกของสมาชิกภายในวงอยู่ตลอด โดยมีการคัดคนหรือ
ออดิชั่นเป็นรุ่นสมาชิกเข้าในแต่ละช่วงการรับสมัคร การเลื่อนขั้นหรือ Promote เด็กฝึกหัด (Kenkyosei) ให้
เข้าสู่ทีมต่างๆ และการลาออก หรือ ที่เรียกว่าการจบการศึกษา เป็นต้น
การศึกษากลุ่มแฟนคลับของกระแสวัฒนธรรมย่อย J-Pop โดยผ่านกลุ่ม 48 Groupยังมีความ
น่าสนใจที่ว่า กลุ่มแฟนคลับดังกล่าวมีวัฒนธรรมในการบริโภคประจากลุ่มที่โดดเด่นและหลากหลายทั้งจาก
ที่ได้รับอิทธิพลจากทางญี่ปุ่นแลที่เกิดขึ้นใหม่ในไทยเอง เช่น การ Mix, หรือ โวตาเกะ คือ การเชียร์ที่จะมี
รูปแบบของคาพูดและเสียงที่เป็นเอกลักษณ์และรูปแบบประจาอยู่ ซึ่งมีหลากหลายวิธี หลายระดับ ซึ่งส่วน
ใหญ่แล้วในระดับ 1-2 จะมีรูปแบบเดียวกันกับวงอื่นๆ และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายของกลุ่ม เช่น งาน
เลือกตั้ง Senbatsu Sosenkyo Election (การเลือกตั้งของผู้ถูกเลือก) ซึ่งเป็นการโหวตอันดับความนิยมของ
ดาราไอดอลในกลุ่ม 48 Groupจากบรรดาแฟนคลับ (โวตะ,โอตะ) จากทั่วโลก ผ่านช่องทางต่างๆ รวม 64
อันดับ ซึ่งถ้าหากไอดอลคนไหนที่ติดอันดับ 1-16 ก็จะถูกเรียกว่าเป็น เซ็มบัตสึ (Senbatsu) หรือผู้ถูกเลือกทั้ง
16 ที่จะเป็นตัวจริงในการร้องและเต้นในเพลงหลักของ Single ใหม่ในนามของ AKB48 ที่จะมีขึ้นในครั้ง
หน้าเป็นต้น ซึ่งยอดรวมคนโหวตดังกล่าวในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งช่องทางหลักทางหนึ่งที่ใช้โหวตมา
จากการซื้อแผ่น Single ที่จะแถมบัตรโหวตมาให้ 1 แผ่น ต่อ 1 Single และในปีล่าสุดจานวนขายซิงเกิ้ล
ในช่วงของการเลือกตั้งนั้นมีสูงถึง 1,600,000 กว่าแผ่น จากจานวนคะแนนโหวตทั้งหมด 2,100,000 โหวต
ซึ่งหากจะตีเป็นค่าเงินสาหรับการได้รับบัตรโหวตนั้นมีสูงถึง 2,560 ล้านเยน ตกเป็นเงินไทยกว่า 819 ล้าน
7
บาท สิ่งเหล่านี้ทาให้เกิดความสงสัยในพฤติกรรมของกลุ่มแฟนคลับที่ได้ช่วยกันผลักดันวงดังกล่าวว่ามี
ปัจจัยใดบ้างที่ได้ทาให้เหล่าแฟนคลับเข้าร่วมไปเป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้เกิดปรากฎการณ์เช่นนี้ขึ้น โดยใน
งานวิจัยนี้จะมองถึงปัจจัยที่มีผลต่อแฟนคลับไทยเนื่องจากกิจกรรมของกลุ่ม 48 Groupเป็นเพียงแค่
วัฒนธรรมย่อยวัฒนธรรมหนึ่งที่เข้ามาในไทย แต่เพราะเหตุผลใดที่ทาให้กลุ่มแฟนคลับในไทยที่อยู่ต่าง
วัฒนธรรมและพื้นที่กลับยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อ Single ในราคาถึง 600 บาท หรือมากกว่านั้น ตามช่องทางการ
สั่งที่มีอยู่จากัดเนื่องจากเป็นสื่อและสินค้าจากต่างประเทศที่ไม่มีขายในไทยและเข้าถึงยากอีกด้วย
ทั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งกลุ่มเป้าหมายที่จะศึกษาไปที่กลุ่มแฟนคลับ 48 Groupในประเทศไทย ที่มีการ
รวมกลุ่มกันเพื่อปฏิสัมพันธ์กันในลักษณะต่างๆ ซึ่งผู้วิจัยต้องการมุ้งเน้นถึงรูปแบบและกระบวนการในการ
รวมกลุ่มกันทาให้จาเป็นต้องเข้าใจในความหมายเบื้องต้นของกลุ่มเสียก่อนทั้งนี้ คาว่า “กลุ่ม” ในความหมาย
เชิงสังคมวิทยา คือ กลุ่มคนที่มิใช่มีความใกล้ชิดกันทางร่างกายเท่านั้น แต่จะต้องมีการกระทาโต้ตอบซึ่งกัน
และกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กันตามสถานภาพและบทบาทมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความเชื่อในด้าน
คุณค่าร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน กลุ่มสังคม ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่ม
ประชาชนของประเทศ เป็นต้น และความหมายของกลุ่มในความคิดของสมเดช มุงเมือง (2548) กล่าวว่า
กลุ่ม(Group) คือ การรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ทางานเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ดังนั้น
สมาชิกในกลุ่มจะต้องรับรู้เป้าหมายของกลุ่ม มีความสัมพันธ์กับสมาชิกคนอื่นๆ เพื่อสร้างความสาเร็จ
ร่วมกัน และที่สาคัญกลุ่มที่ดีมีความสาคัญต่อองค์การและสมาชิก กลุ่มจะช่วยให้ภารกิจขององค์การประสบ
ความสาเร็จ และสร้างพลังงานที่จะทางานให้มีคุณภาพสูง
ส่วนกลุ่มแฟนคลับนั้น Joli Jenson (1992) (กระจ่างศรี ศรีกระจ่าง, 2545) ได้ให้คาจากัด
ความหมายของคาว่า “แฟน” ว่าเป็นกลุ่มคนที่ชื่นชมและหลงใหลในความเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยกลุ่ม
คนดังกล่าวได้ถูกเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบความมีชื่อเสียงที่ผ่านมาถึงกลุ่มโดยสื่อมวลชวน Jenson มองว่ากลุ่ม
แฟนเหล่านี้ เป็นลักษณะอาการทางสังคมโดยสามารถแบ่งได้เป็นสองลักษณะ คือ บุคคลที่ชื่นชมหลงใหล
อยู่เพียงลาพัง และกลุ่มบุคคลที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม และถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างลึกซึ่ง ทั้งยังสามารถ
ขยายกลุ่มของตนเองออกไปได้
กลุ่มแฟนคลับ 48 Group ก็มีทั้งความเป็นกลุ่ม (Group) และเป็นแฟน (Fandom) อยู่ด้วย ลักษณะ
ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupเบื้องต้น มีเกณฑ์อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยทางาน ฐานของกลุ่ม
แฟนคลับส่วนใหญ่มีจานวนประมาณเกือบ 2,000 คน ถ้าหากรวมถึงกลุ่มคนที่อยู่ในต่างจังหวัดและชอบแต่
ไม่ได้มีการออกมารวมกลุ่มหรือนัดพบกัน (อ้างอิงจากจานวนสมาชิกเว็บ 48.in.th โดยประมาณ) แต่ถ้าจะ
8
รวมกลุ่มคนที่นัดพบกันจริงๆ จากจานวนกลุ่มคนที่ไปงาน Meeting และกลุ่มวงโคฟเวอมีประมาณ 500คน
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่อยู่ในทางภาคกลางและภาคเหนือ ทาให้กิจกรรมส่วนใหญ่จะถูกจัดขึ้นที่ กรุงเทพ และ
เชียงใหม่ ทั้งนี้กลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่แต่ก่อนจะมีเว็บ 48.in.th ที่เป็นเว็บหลักโดยเฉพาะ มักจะเป็นกลุ่มที่อยู่
ตามเพจและบล็อกต่างๆซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆและแทบจะไม่มีการรวมตัวกันแต่อย่างใด แต่เมื่อกลางปี 2010 ที่
เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “เว็บพี่ปิง” ซึ่งในระยะแรกคนรู้จักเว็บนี้น้อย เพราะกลุ่มฐานแฟนคลับยังไม่มาก
ประกอบกับการที่กลุ่ม 48 Groupยังเพิ่งเริ่มความดังและเริ่มต้นทารายการวาไรตี้ ซึ่งในภายหลัง “เว็บพี่ปิง”
ก็ปิดตัวไป จนมีเว็บขึ้นมาใหม่ ชื่อ 48.in.th โดยมีกลุ่มผู้ดูแลเป็นกลุ่มคนเรียนสายโปรแกรมเมอร์มาทาให้มี
ความเชี่ยวชาญในด้านการเขียนเว็บและปรับปรุงเว็บนี้อยู่เสมออีกทั้งยังมีระบบอานายความสะดวกต่างๆ ทั้ง
Forum Market, ห้องแชท และ Forum Blog ไว้คุยเรื่อง 48 Groupต่างๆ ซึ่งมีส่วนอย่างมากต่อความเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มแฟนคลับในการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและนัดหมายกันไปทากิจกรรมร่วมกัน
หรือ จัดกิจกรรมต่างๆร่วมๆกัน ซึ่งในเว็บ 48.in.th เริ่มต้นเมื่อประมาณปลายปี 2555 และได้รับการตอบรับ
ดีมากจากบรรดากลุ่มแฟนคลับที่กระจัดกระจายกันอยู่ และได้จัดงาน Meeting ครั้งที่ 1ของทางภาคกลางที่มี
การจัดกันที่อาคาร The Connection มีแฟนคลับเข้าร่วมกว่า 200 คน ซึ่งในงานมีกิจกรรมแฟนพันธ์แท้และ
อื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนรูป และมี Mini Concertของกลุ่มเต้นโคฟเวออีกด้วย เป็นการ
จาลองสภาพการให้เหมือนการแสดง Theater จริงที่สุด เพื่อให้ได้บรรยากาศจริงกับแฟนคลับ 48 ที่ญี่ปุ่นเคย
ได้รับและเข้าร่วม เนื่องจากกลุ่มแฟนคลับ 48 ในไทยและต่างประเทศมีค่านิยมที่ยอมรับกันว่าการที่ได้ไปดู
การแสดงที่ Theater ถือว่าเป็นที่ Theater เป็นดั่งสถานที่ศักดิ์ของเหล่า 48 Group เพราะถือสถานที่ๆเหล่า
ไอดอล 48 Group ได้เริ่มแสดงเป็นจุดเริ่มต้นเรื่องราวของกลุ่ม 48 Group และเป็นสถานที่ที่ทาความรู้จักและ
ใกล้ชิดกับแฟนคลับมากที่สุด
กลุ่มแฟนคลับ 48 Group ส่วนใหญ่มักจะแยกกันเป็นกลุ่มเล็กๆประมาณ 5-10 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะมี
การรวมกลุ่มไปนั่งตามสถานที่ที่มีลักษณะเป็น Japan Zone ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว
มักจะเป็นบริเวณสถานที่รอบๆ Siam Paragon เนื่องจากงานกิจกรรมต่างๆส่วนใหญ่จัดบริเวณ Central
Worldและ MBK ซึ่งวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของกลุ่มแฟนคลับ 48 อาจกล่าวได้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับมา
จากวัฒนธรรมโอตาคุจากย่าน Akihabara โดยวัฒนธรรมโอตาคุเป็นวัฒนธรรมรากฐานแรกสาหรับกลุ่มที่
รวมตัวกันคลั่งไคล้ดาราการ์ตูน ต่างๆ และมีวัฒนธรรมต่างๆที่เป็นรากฐานเบื้องต้น ซึ่งวัฒนธรรมโวตาเกะ
หรือการเชียร์นั้นก็เป็นผลมาจากวัฒนธรรมโอตาคุด้วยเช่นกัน ทาให้กิจกรรมส่วนใหญ่ของกลุ่มแฟนคลับ 48
มีลักษณะที่ไม่แตกต่างจากวัฒนธรรมของกลุ่ม J-pop อื่นๆมากนัก แต่ก็ยังมีบางกิจกรรมที่เป็น
9
ลักษณะเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์อีกหลายอย่าง เช่น งานจับมือ และงานเลือกตั้งที่ทาให้กลุ่มแฟนคลับ 48
Group นี้มีการแสดงออกบางอย่างที่ดูเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่ากลุ่มอื่นๆมากเหมือนกัน
จากที่กล่าวมาได้ทาให้ผู้วิจัยเกิดความสนใจในการศึกษาวัฒนธรรม J-pop ผ่านกลุ่มแฟนคลับ
ไอดอลกลุ่ม 48 Group นี้ว่ามีอัตลักษณ์ของกลุ่มอย่างไร ผ่านทางกิจกรรมในการแสดงออก และพฤติกรรม
ในการบริโภควัฒนธรรมหรือสินค้าจากกลุ่ม 48 Group นี้ เพื่อให้เข้าใจรูปแบบวัฒนธรรมย่อยของ
กลุ่มแฟนคลับ 48 Groupได้ดีขึ้นและเพื่อนางานวิจัยนี้ไปประกอบกับงานศึกษาอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจ
วัฒนธรรมย่อย J-pop ที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มคนในประเทศไทยในหลายๆกลุ่มด้วย
วัตถุประสงค์กำรวิจัย
1. เพื่อศึกษากระบวนการเข้าร่วมกลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop)
2. เพื่อศึกษาการนิยามอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop)
3. เพื่อศึกษากิจกรรมและการแสดงออกที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group
(J-Pop)
คำถำมกำรวิจัย
1. กลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop) มีกระบวนการและที่มาในการเข้าร่วมกลุ่มอย่างไร
2. กลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop) มีการนิยามอัตลักษณ์ของกลุ่มว่าอย่างไร
3. กลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop) มีกิจกรรมและการแสดงออกใดบ้างที่สะท้อน
ถึงอัตลักษณ์ของกลุ่ม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถทราบถึงกระบวนการเข้าร่วมกลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop)
2. สามารถทราบพฤติกรรมการนิยามอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop)
10
3. สามารถทราบถึงกิจกรรมและการแสดงออกที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ
48 Group (J-Pop)
ขอบเขตกำรวิจัยและวิธีกำรศึกษำ
ขอบเขตด้านเนื้อหา
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการเข้าไปศึกษาและทาความรู้จักกับกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupที่เป็นสื่อกระแส
วัฒนธรรม J-pop รวมถึงทาความเข้าใจในลักษณะของกลุ่ม 48 Groupว่าเป็นอย่างไร และมีกิจกรรมอะไรที่
ส่งผลต่อพฤติกรรมของกลุ่มแฟนคลับในไทยบ้าง อย่างไรก็ตามแม้ว่ากลุ่ม 48 Groupไม่ได้มีผลโดยตรงใน
การเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่แฟนคลับในสังคมไทย แต่เพราะเหตุผลอะไรที่ทาให้กลุ่มแฟนคลับของกลุ่ม 48
Group นี้ เกิดความคลั่งไคล้ขึ้น นอกจากนี้กลุ่มแฟนคลับ 48 Groupมีพฤติกรรมในการบริโภคสื่อดังกล่าว
อย่างไรบ้างที่ส่งผลต่อการสร้างอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มแฟนคลับขึ้นมา
กลุ่มตัวอย่างและผังที่ในการศึกษา
กลุ่มแฟนคลับ Group 48 (J-Pop) ในเว็บไซต์ของกลุ่มในประเทศไทย 48.in.th และในกลุ่มแฟน
คลับที่รวมตัวกันวันเสาร์ที่ศูนย์อาหารชั้น 7 ห้างสรรพสินค้า Central World ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าแฟนคลับ
คนดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่ติดตามรับข้อมูลข่าวสารจากต่างๆและมีการเก็บสะสมสินค้าและสิ่งของต่างๆที่อยู่
ภายใต้48 Groupโดยสินค้าและสื่อต่างๆเพราะจะทาให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupได้
ง่ายและชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ผู้วิจัยจะทาการกาหนดจานวนกลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่าเหมาะสมจานวนทั้งสิ้น 13 คน
เนื่องจากผู้วิจัยเล็งเห็นว่ากลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้นั้นมีจานวนมากและสามารถทาการสัมภาษณ์ได้โดยง่าย อีก
ทั้งจานวนกลุ่มตัวอย่างที่มากจะทาให้สามารถสรุปผลการวิจัยได้โดยง่ายและเห็นถึงความแตกต่างของ
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
วิธีการศึกษา
ผู้วิจัยจะเข้าไปส่วนหนึ่งของกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupโดยเข้าไปร่วมในพฤติกรรมกลุ่มร่วมต่างๆที่
แฟนคลับปฏิบัติ ทั้งด้านพฤติกรรมการบริโภคจากทั้งสื่อและสินค้าวัฒนธรรมต่างๆของกลุ่มแฟนคลับ โดย
ใช้วิธีการเข้าสู่สนาม การสารวจและสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้วิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบก้อนหิมะ และการสนทนาแบบไม่เป็นทางการ
11
นิยำมศัพท์เฉพำะ
J-Pop = มี 2 ความหมาย คือ 1.สื่อที่เป็นกระแสวัฒนธรรมญี่ปุ่น
2.แนวเพลงดนตรีป๊อปของญี่ปุ่น
โอตะ / โวตะ = แฟนคลับหรือผู้คลั่งไคล้ในกลุ่มดารานักร้อง หรือ ไอดอลของญี่ปุ่น
โอชิ / โอชิเมม = ดารา หรือ ไอดอล ที่ชอบเป็นอันดับหนึ่งและติดตามอย่างมาก
โดยโอตะหนึ่งคนมักจะมีโอชิเพียงคนเดียว
ไลน์ = ดารา หรือ ไอดอล ที่ชอบเป็นอันดับรองลงมา หรือ แค่สนใจที่จะ
ติดตามบ้างเป็นครั้งคราว อาจมีมากกว่าหนึ่งคนก็ได้
48 Group = วงAKB48 ที่ในภายหลังถูกเรียกรวมว่า 48 Group โดยเป็นผลมาจาก
การก่อตั้งวงรุ่นน้องเพิ่ม SKE48, NMB48, HKT48จึงถูกเรียกรวมกัน
AKB48 = วงหลักของกลุ่ม 48 Groupถือเป็นวงดั้งเดิมสุด เวลามี Event อะไร
เกิดขึ้นกับกลุ่ม 48 Groupส่วนใหญ่ก็จะจัดขึ้นในนามของ AKB48
เลยจึงมีการเรียก 48 Group โดยรวมๆเลยว่า AKB48 หรือ AKB
PV / MV = มีความหมายเดียวกันแต่ทางญี่ปุ่นจะใช้คาว่า PV = Promote Video
ส่วน MV = Music Video
12
บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฏีและกำรทบทวนวรรณกรรม
งานวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมและการบริโภควัฒนธรรมกระแสรองของกลุ่มแฟนคลับ Girl Group 48
(J-Pop) ในประเทศไทย” ได้อาศัยแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง 4 ส่วน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อคาถามการ
วิจัย และกับข้อมูลเนื้อหาต่างๆ ที่ผู้วิจัยได้ทาการลงไปศึกษา ให้อยู่ในกรอบและวัตถุประสงค์ที่ได้กาหนด
เอาไว้ตามแนวคิดและทฤษฏีต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมย่อย(Subculture)
2. แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture)
3. แนวคิดเรื่องกลุ่มสังคม (SocialGroup)
4. แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ (Identity)
5. แนวคิดเรื่อง “แฟน” และ “แฟนด้อม” (Fan & Fandom)
6. แนวคิดเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior)
โดยแต่ละแนวคิดมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมย่อย (Subculture)
วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น กาหนดขึ้น มิใช่สิ่งที่มนุษย์ทาตามสัญชาตญาณ อาจเป็นการ
ประดิษฐ์วัตถุสิ่งของขึ้นใช้ หรืออาจเป็นการกาหนดพฤติกรรมและ/หรือ ความคิด ตลอดจนวิธีการ หรือ
ระบบการทางาน ฉะนั่นวัฒนธรรมก็คือ ระบบในสังคมของมนุษย์ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น มิใช่ระบบที่
เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามสัญชาตญาณ
วัฒนธรรมเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันในสังคมเดียวกันทาความตกลงกันว่าจะยึด
ระบบไหนดี พฤติกรรมใดบ้างที่จะถือเป็นพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติและมีความหมายอย่างไร แนวความคิดใด
จึงเหมาะสม ข้อตกลงเหล่านี้คือการกาหนดความหมายให้กับสิ่งต่างๆ ในสังคมเพื่อว่าสมาชิกของสังคมจะ
13
ได้เข้าใจตรงกันและยึดระบบเดียวกัน หรืออีกนัยหนึ่ง เราอาจเรียกระบบที่สมาชิกในสังคมได้ตกลงกันแล้ว
ว่าเป็น “ระบบสัญลักษณ์” ดังนั้นวัฒนธรรมก็คือ ระบบสัญลักษณ์หนึ่งในสังคมมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้น และ
เมื่อสร้างขึ้นมาแล้วจึงสอนให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และนาไปปฏิบัติ วัฒนธรรมจึงต้องมีการเรียนและ
ถ่ายทอด เมื่อมนุษย์เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมมนุษย์ก็รู้ว่าอะไรควรทาและอะไรไม่ควรทา ฉะนั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมจึงเป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมาก
(อมรา พงศาพิชญ์, 2537: 1-2 อ้างใน เขตมทัต พิพิธธนาพรรพ์, 2551 : 16-17)
วัฒนธรรมย่อย (Subculture)
ในสังคมหนึ่งๆ นั้นจะมีวัฒนธรรมหลักของตนเอง เช่น ประเทศไทยของเราก็มีวัฒนธรรมไทยเป็น
วัฒนธรรมที่เป็นแกนหลัก เช่น อาหารไทย ดนตรีไทย ฯลฯ ในขณะเดียวกัน สังคมทุกสังคมต่างก็
ประกอบไปด้วยผู้คนที่มาจากหลากหลายทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ระดับการศึกษา ฐานะ ฯลฯ เหล่านี้ ทาให้ใน
แต่ละสังคมต่างก็มีกลุ่มวัฒนธรรมที่แยกย่อยลงไปอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นการแสดง อัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มนั้นๆ
เช่น กลุ่มผู้นิยมดนตรีร็อค กลุ่มผู้นิยมการขับขี่มอเตอร์ไซผาดโผน ฯลฯ
กลุ่มวัฒนธรรมย่อย พัฒนามาจากผู้ที่ทากิจกรรมทางสังคมต่างๆ ซึ่งทาให้กลุ่มวัฒนธรรมย่อยมี
ความหลากหลายและซับซ้อน เนื่องจากกลุ่มวัฒนธรรมย่อยเป็นการอธิบายพฤติกรรมของคนที่มีวัฒนธรรม
แยกจากวัฒนธรรมหลักของสังคม มากกว่าที่จะมองว่าเป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
Stuart Hall & Tony Jefferson (1976 อ้างใน เขตมทัต พิพิธธนาพรรพ์, 2551:10) นิยาม วัฒนธรรม
ย่อยว่าเป็นวิธีการที่กลุ่มย่อยใช้จัดการกับชีวิตทางวัตถุและวิถีชีวิตด้านอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆโดยมี
เป้าหมายเพื่อสร้างอัตลักษณ์ วิธีการนี้เป็นปฏิบัติการที่กลุ่มดาเนินไปอย่างมีความหมายและมีสานึก ไม่ว่า
จะเป็น วัตถุ ความสัมพันธ์ระบบค่านิยม ระบบความเชื่อที่ผลิตออกมา และวิธีการผลิตล้วนมีเอกลักษณ์
เฉพาะกลุ่ม
Michael Brake (1990 อ้างใน ธิดารัตน์ รักประยูร, 2545:17) ได้อธิบายไว้ว่า “ลักษณะโดยทั่วไป
ของวัฒนธรรมย่อยก็คือ รูปแบบ (style) กล่าวคือ กลุ่มที่มีวัฒนธรรมย่อยที่โดดเด่นแตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆ
ก็คือ กลุ่มที่มีการใช้รูปแบบเชิงสัญลักษณ์ รูปแบบหนึ่งๆ” โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ช่วยให้เกิดทางออกของปัญหาทางด้านโครงสร้างที่เกิดจากความขัดแย้งภายในโครงสร้าง สังคม
เศรษฐกิจ ที่ต้องประสบร่วมกัน ปัญหามักจะเป็นปัญหาทางด้านชนชั้นที่เกิดขึ้นสืบเนื่องกันมาทุกรุ่น
14
2. ทาหน้าที่เป็นวัฒนธรรมหนึ่งซึ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปแบบ (style) ค่านิยม(values) อุดมการณ์
(ideologies) และรูปแบบการดาเนินชีวิต(lifestyle) ซึ่งสามารถนามาใช้สร้างอัตลักษณ์(identity) ที่
นอกเหนือจากอัตลักษณ์ที่ถูกกาหนดให้เป็นไปตามลักษณะการงาน ครอบครัว หรือ โรงเรียน
3. เป็นรูปแบบที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของความเป็นจริงทางสังคมที่ประสบพบเห็นได้และมี
รากฐานอยู่ในวัฒนธรรมของชนชั้นหนึ่งๆ แต่มีคนรอบข้างเป็นสื่อในการถ่ายทอด หรือ อีกทางหนึ่งเป็นการ
สื่อสารเชิงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดผ่านสื่อมวลชน
4. เสนอวิถีชีวิตที่มีความหมายในการใช้เวลาว่าง (leisure) เมื่อเป็นอิสระจากโลกของการงาน
รูปแบบที่ทาให้เกิดตัวบ่งชี้ (indicator) ที่สาคัญหลายประการ รูปแบบแสดงให้เห็นถึงระดับความ
ยึดถือในวัฒนธรรมย่อยและยังชี้ให้เห็นถึงการเป็นสมาชิกของวัฒนธรรมย่อยหนึ่งๆ ซึ่งมีลักษณะที่ปรากฏ
ออกมาอย่างไม่สนใจ หรือ อย่างต่อต้านกับค่านิยมหลักของสังคม รูปแบบของวัฒนธรรมย่อยมี
องค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่
1. รูปลักษณ์ รูปลักษณ์ภายนอกที่ประกอบด้วย เครื่องแต่งกาย ข้าวของเครื่องใช้ เช่น ทรงผม
เครื่องประดับและวัตถุต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา
2. การประพฤติปฏิบัติตัว ซึ่งรวมถึงการแสดงออก กริยาและท่าทาง
3. ภาษาของกลุ่ม ได้แก่ คาศัพท์พิเศษ และวิธีการพูดออกมา
นอกจากนี้รูปแบบในวัฒนธรรมย่อยยังรวมถึงรูปแบบการดาเนินชีวิต (lifestyle) ด้วย
วัฒนธรรมย่อยนั้นอาจมีหลากหลายรูปแบบบางรูปแบบเกิดการปะทะกันอย่างเปิดเผย บางรูปแบบ
อาจอยู่ร่วมกันได้ หรือบางรูปแบบวัฒนธรรมย่อยต้องพยายามต่อรองเพื่อให้มี “พื้นที่สาธารณะ” ในการ
แสดงออก (กาญจนา แก้วเทพ, 2549 อ้างใน ธิดารัตน์ รักประยูร, 2545:19) เช่น วัฒนธรรมย่อยของวัยรุ่น
จะเห็นว่าอยู่ในลักษณะที่พยายามแสดงถึงความแตกต่าง โดยการตอบโต้และต่อรองต่อวัฒนธรรมหลักเพื่อ
การสืบทอดและการดารงอยู่
แนวคิดวัฒนธรรมย่อยสามารถนามาช่วยในการวิเคราะห์และอธิบายถึงความเป็นกลุ่มวัฒนธรรม
ย่อย J-pop ว่ากลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในสังคมไทยนั้นมีลักษณะ พฤติกรรม การแสดงออก และความ
ต้องการที่แตกต่างไปจากกลุ่มวัฒนธรรมกระแสหลักอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ในการศึกษาวัฒนธรรมย่อย J-pop ใน
สังคมไทย จะช่วยให้เห็นภาพลักษณ์ของกลุ่ม J-pop หลายๆกลุ่มในภาครวมได้ด้วย เนื่องกระแสของ 48
Group ในไทยนั้นเป็นกระแสที่รู้จักกันภายในกลุ่มผู้ติดตาม J-pop อย่างเปิดกว้างถึงจะรู้จักกลุ่มดังกล่าว
และแฟนคลับกลุ่ม 48 Group ยังมีลักษณะและพฤติกรรมของกลุ่มวัฒนธรรมย่อย J-pop ในทุกๆกิจกรรม
15
และการแสดงออกด้วย นอกจากนี้ในการนาแนวคิดวัฒนธรรมย่อยไปวิเคราะห์ผู้วิจัยจะนาแนวคิดเรื่อง
วัฒนธรรมสมัยนิยม กลุ่มทางสังคม อัตลักษณ์ แฟนและแฟนดอม และพฤติกรรมผู้บริโภคมาร่วม
วิเคราะห์และอธิบายถึงอัตลักษณ์และพฤติกรรมการแสดงออกของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ด้วย
2.แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมประชำนิยม (Popular Culture)
วัฒนธรรมสมัยนิยม หรือวัฒนธรรมประชานิยม เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม
เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 พัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture)
ได้ถูกนาไปผูกติดกับการต่อสู้แข่งขันเพื่อช่วงชิงความหมายและการตีความซึ่งมีมาก่อนแล้ว และได้
กลายเป็นหลักฐานสาคัญในการโต้แย้งกันต่างๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) ผ่านกลไกทาง
วัฒนธรรมที่สอดคล้องกับระบบทุนนิยม ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมประชานิยมผูกพันอยู่กับประชาชนใน
ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอิสระที่จะเรียกร้อง ต่อรอง ต่อสู้ หรือกระทาการใดๆภายใต้สิทธิอัน
ชอบธรรม จึงเกิดการปะทะสังสรรค์ทางความคิด ตลอดจนการพยายามครอบงา และพยายามปลดเปลื้อง
ตนเองจากการถูกครอบงา และโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม (http://popculture416243.exteen.com/
20081230/pop-culture-2)
วัฒนธรรมประชานิยม เป็นการพิจารณาว่าสิ่งนั้นๆเป็นความนิยมของผู้คนในยุคสมัยนั้นหรือไม่
สามารถพิจารณาได้จากเกณฑ์4 ประการดังนี้ (http//cyberlab.lh1.ku.ac.th อ้างใน เขตมทัต พิพิธธนาบรรพ์
, 2551 :7-8)
1. เป็นสิ่งที่ชื่นชอบหรือยอมรับโดยผู้คนจานวนมาก
2. เป็นสิ่งที่ถูกมองว่าต่าชั้นและไร้คุณค่าหรือรสนิยมทางศิลปะ
3. เป็นสิ่งที่ออกแบบมาหรือสร้างขึ้นเพื่อให้คนจานวนมากชื่นชอบ เพื่อประโยชน์ทางการค้าและ
บริโภคนิยม
4. เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นโดยผู้คนเพื่อพวกเขาเอง
การให้คานิยามที่ครอบคลุมชัดเจนจะเป็นการสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมสมัยนิยมมากขึ้น ดังที่
Storey John (2006 อ้างใน เขตมทัต พิพิธธนาบรรพ์, 2551 :7-8) ได้จัดหมวดหมู่ความหมายของวัฒนธรรม
สมัยนิยมเป็นกลุ่มๆได้แก่
1. หมายถึง วัฒนธรรมอะไรก็ตามที่เป็นที่ยอมรับและชื่นชอบของคนจานวนมาก นิยามนี้
ครอบคลุมเนื้อหาวัฒนธรรมโดยทั่วไป แต่ไม่สามารถระบุลักษณะเฉพาะเจาะจงของวัฒนธรรมแต่ละอย่าง
16
ได้ซึ่งมักจะมีรายละเอียดและแตกต่างหลากหลายกันในหลายๆด้าน เช่น พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
บริบททางเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งความหมายต่อวิถีชีวิตของผู้เป็นเจ้าของหรือมีส่วนร่วมในวัฒนธรรม
นั้นๆ
2. หมายถึง วัฒนธรรมที่หลงเหลืออยู่จากการให้คานิยามวัฒนธรรมชนชั้นนาหรือวัฒนธรรมชน
ชั้นสูง ในแง่นี้ วัฒนธรรมสมัยนิยมจึงอยู่ตรงข้ามกับวัฒนธรรมของชนชั้นนา หรือวัฒนธรรมของชนชั้นส่วน
ใหญ่ในสังคม
3. หมายถึง วัฒนธรรมมวลชน (mass culture) เป็นวัฒนธรรมที่ถูกผลิต เผยแพร่และโฆษณาใน
ตลาด สินค้าของระบบทุนนิยมสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างเช่น แฟนชั่น เครื่องสาอาง กีฬา
เกมออนไลน์ และ มักเชื่อมโยงกับการครอบงาทางวัฒนธรรมตะวันตกหรือวัฒนธรรมทุนนิยม โดยมีสื่อเป็น
ตัวกลางสาคัญ
4. หมายถึง วัฒนธรรมที่มีแหล่งกาเนิดมาจากประชาชน เป็นวัฒนธรรมขนานแท้และดั้งเดิมของ
ประชาชนหรือชาวบ้านร้านตลาดทั่วไป นั่นก็คือ วัฒนธรรมประชาชน เช่น ละครโทรทัศน์น้าเน่า
5. หมายถึง พื้นที่หรืออาณาบริเวณของการต่อสู่ระหว่างพลังของกลุ่มคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบกับ
กลุ่มคนที่มีอานาจครอบงาในสังคม ในแง่นี้วัฒนธรรมสมัยนิยมจึงไม่ใช่ทั้งของชนชั้นนา หรือ ชนชั้นผู้
เสียเปรียบ แต่เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากการต่อสู้ ต่อรอง ช่วงชิงทางอุดมการณ์และผลประโยชน์ของคนส่วน
ใหญ่ในสังคม เช่น การเรียกร้องสิทธิของกลุ่ม “หญิงรักหญิง” และ “ชายรักชาย”
6. หมายถึง วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นภายหลังการพัฒนาอุตสาหกรรมและการขยายตัวของชุมชนเมือง แง่
นี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อมวลชนและการคมนาคมสื่อสารของโลกสมัยใหม่ที่มีบทบาทสาคัญใน
การก่อรูปและขยายตัวของวัฒนธรรมชุมชนเมืองขนาดใหญ่ และเป็นเหมือนกระแส ไม่มีรูปแต่สัมผัสได้
บริโภคได้และใช้มันอยู่ในชีวิตประจาวันได้Pop Culture จะปรากฏอยู่ทั่วไปในหลายรูปแบบได้แก่ วัตถุ
สิ่งของ (เช่น เสื้อ สายเดี่ยว กล้องดิจิตอล The Dogตุ๊กตาหมี), รายการโทรทัศน์ เพลง หนังสือนิตยสารที่
ฮ็อตฮิต, พฤติกรรมต่างๆ(เช่น การเต้น Cover การสัก การเจาะ เล่นเกมออนไลน์), เทรนด์(เช่น แอโรบิค
อินดี้ ไฮเทคโนโลยี), เหตุการณ์ต่างๆ(เช่น การก่อการร้าย ส่วนตารวจ), บุคคลที่มีชื่อเสียง (เช่น D2B
ภราดร เบคแฮม)
การทาความเข้าใจวัฒนธรรมสมัยนิยมช่วยให้มองเห็นและเข้าใจกระบวนการสื่อความหมายต่างๆ
ในสังคม (Signification) ในระดับที่กว้างมากขึ้นและเห็นเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์เชิงวิภาษวิธีของ
เงื่อนไข ปัจจัยและกลุ่มคนในสังคมมากขึ้น วัฒนธรรมสมัยนิยมเป็นส่วนที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เต็มไป
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J
พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J

More Related Content

What's hot

เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์ ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร บุญศรี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์  ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร  บุญศรีเอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์  ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร  บุญศรี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์ ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร บุญศรีครูเย็นจิตร บุญศรี
 
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)
นาฏยศัพท์  และภาษาท่า  ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)นาฏยศัพท์  และภาษาท่า  ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)Panomporn Chinchana
 
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศPannaray Kaewmarueang
 
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองพัน พัน
 
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงานระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงานNapitchaya Jina
 
โครงงานวิทยาศาสตร์♥
โครงงานวิทยาศาสตร์♥โครงงานวิทยาศาสตร์♥
โครงงานวิทยาศาสตร์♥everadaq
 
ตุ๊กตาล้มลุกจริง
ตุ๊กตาล้มลุกจริงตุ๊กตาล้มลุกจริง
ตุ๊กตาล้มลุกจริงMim Kaewsiri
 
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานการวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานPrachyanun Nilsook
 
แบบทดสอบ 100 ข้อ
แบบทดสอบ 100  ข้อแบบทดสอบ 100  ข้อ
แบบทดสอบ 100 ข้อหรร 'ษๅ
 
อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันอารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันPannaray Kaewmarueang
 
Waterรวมวารีดุริยางค์
Waterรวมวารีดุริยางค์Waterรวมวารีดุริยางค์
Waterรวมวารีดุริยางค์maerimwittayakom school
 
5การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน(week5)
5การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน(week5)5การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน(week5)
5การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน(week5)DrWilaiporn Rittikoop
 
ตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการjustymew
 
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมอำนาจ ศรีทิม
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียToey Songwatcharachai
 

What's hot (20)

เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์ ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร บุญศรี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์  ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร  บุญศรีเอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์  ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร  บุญศรี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์ ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร บุญศรี
 
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)
นาฏยศัพท์  และภาษาท่า  ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)นาฏยศัพท์  และภาษาท่า  ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)
นาฏยศัพท์ และภาษาท่า ม 2 ปี 2557 (เผยแพร่)
 
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
การประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ
 
การแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมืองการแสดงพื้นเมือง
การแสดงพื้นเมือง
 
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงานระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์♥
โครงงานวิทยาศาสตร์♥โครงงานวิทยาศาสตร์♥
โครงงานวิทยาศาสตร์♥
 
ตุ๊กตาล้มลุกจริง
ตุ๊กตาล้มลุกจริงตุ๊กตาล้มลุกจริง
ตุ๊กตาล้มลุกจริง
 
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานการวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
การวัดและประเมินผลตามการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
 
แบบทดสอบ 100 ข้อ
แบบทดสอบ 100  ข้อแบบทดสอบ 100  ข้อ
แบบทดสอบ 100 ข้อ
 
อารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมันอารยธรรมโรมัน
อารยธรรมโรมัน
 
Waterรวมวารีดุริยางค์
Waterรวมวารีดุริยางค์Waterรวมวารีดุริยางค์
Waterรวมวารีดุริยางค์
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
5การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน(week5)
5การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน(week5)5การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน(week5)
5การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน(week5)
 
T guide1
T guide1T guide1
T guide1
 
ตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการ
 
3.4 อารยธรรมกรีก
3.4 อารยธรรมกรีก3.4 อารยธรรมกรีก
3.4 อารยธรรมกรีก
 
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
 
แผ่นพับโครงงาน
แผ่นพับโครงงานแผ่นพับโครงงาน
แผ่นพับโครงงาน
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 

Viewers also liked

Comparison of Common Old and New World Starches
Comparison of Common Old and New World StarchesComparison of Common Old and New World Starches
Comparison of Common Old and New World StarchesMel Smith
 
Assessment Literacy Module /Анализ инструментов оценки (RUSSIAN)
Assessment Literacy Module /Анализ инструментов оценки   (RUSSIAN)Assessment Literacy Module /Анализ инструментов оценки   (RUSSIAN)
Assessment Literacy Module /Анализ инструментов оценки (RUSSIAN)Kathleen Sullivan
 
Thomson walker internship 2016
Thomson walker internship 2016Thomson walker internship 2016
Thomson walker internship 2016Emily Hick
 

Viewers also liked (8)

Comparison of Common Old and New World Starches
Comparison of Common Old and New World StarchesComparison of Common Old and New World Starches
Comparison of Common Old and New World Starches
 
Worcester
WorcesterWorcester
Worcester
 
Ambientes colaborativos
Ambientes colaborativosAmbientes colaborativos
Ambientes colaborativos
 
FINAL
FINALFINAL
FINAL
 
Caso faltante a la ética
Caso faltante a la éticaCaso faltante a la ética
Caso faltante a la ética
 
Assessment Literacy Module /Анализ инструментов оценки (RUSSIAN)
Assessment Literacy Module /Анализ инструментов оценки   (RUSSIAN)Assessment Literacy Module /Анализ инструментов оценки   (RUSSIAN)
Assessment Literacy Module /Анализ инструментов оценки (RUSSIAN)
 
Mounir Sobhy Nakhla updated CV
Mounir Sobhy Nakhla updated CVMounir Sobhy Nakhla updated CV
Mounir Sobhy Nakhla updated CV
 
Thomson walker internship 2016
Thomson walker internship 2016Thomson walker internship 2016
Thomson walker internship 2016
 

Similar to พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)DuangdenSandee
 
ประชาคมอาเซียนกับคนไทย
ประชาคมอาเซียนกับคนไทยประชาคมอาเซียนกับคนไทย
ประชาคมอาเซียนกับคนไทยLeoBlack1017
 
Grounded theory
Grounded theoryGrounded theory
Grounded theorychawee
 
ประชาคมอาเซียนกับคนไทย
ประชาคมอาเซียนกับคนไทยประชาคมอาเซียนกับคนไทย
ประชาคมอาเซียนกับคนไทยLeoBlack1017
 
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBL
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBLการศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBL
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBLEmmy Nichanan
 
บทคัดย่อ Flipped classrom
บทคัดย่อ Flipped classromบทคัดย่อ Flipped classrom
บทคัดย่อ Flipped classromKrupol Phato
 
Pptวิชาเทคโน
PptวิชาเทคโนPptวิชาเทคโน
PptวิชาเทคโนUraiwan Bunnuang
 

Similar to พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J (11)

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)
 
Oo
OoOo
Oo
 
ประชาคมอาเซียนกับคนไทย
ประชาคมอาเซียนกับคนไทยประชาคมอาเซียนกับคนไทย
ประชาคมอาเซียนกับคนไทย
 
Grounded theory
Grounded theoryGrounded theory
Grounded theory
 
ประชาคมอาเซียนกับคนไทย
ประชาคมอาเซียนกับคนไทยประชาคมอาเซียนกับคนไทย
ประชาคมอาเซียนกับคนไทย
 
Drl033782
Drl033782Drl033782
Drl033782
 
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBL
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBLการศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBL
การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบ CBL
 
งาน
งานงาน
งาน
 
บทคัดย่อ Flipped classrom
บทคัดย่อ Flipped classromบทคัดย่อ Flipped classrom
บทคัดย่อ Flipped classrom
 
Pptวิชาเทคโน
PptวิชาเทคโนPptวิชาเทคโน
Pptวิชาเทคโน
 
023 qualitative research
023 qualitative research023 qualitative research
023 qualitative research
 

พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J

  • 1. พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแส วัฒนธรรมย่อย J-pop โดย สุรกิตติ์ สิงห์แก้ว รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สม.418 หลักสูตรการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2556
  • 2. A บทคัดย่อ งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพฤติกรรม ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มในบริบท ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupในกระแสวัฒนธรรมย่อยอย่าง J-pop โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมเข้าไปศึกษาเข้าไปสังเกตพฤติกรรมและกิจกรรม ต่างๆของกลุ่มแฟนคลับ และการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการเพื่อศึกษาถึงข้อมูลที่รู้กันแบบเฉพาะเจาะจง ของกลุ่มแฟนคลับด้วยกันเอง รวมถึงการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเพื่อให้มองเห็นถึงประสบการณ์ที่แตกต่าง และทัศนคติที่แตกต่างของกลุ่มแฟนคลับที่มีต่ออัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับด้วยกันเองอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมของกลุ่มแฟนคลับภายใต้กิจกรรมและงาน Event ต่างๆ ของทาง 48 Groupที่มีผลต่อการรวมกลุ่มและบริโภคของกลุ่มแฟนคลับ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแฟนคลับ 48 Group เกิดขึ้นและรวมตัวกันได้จากการพยายามเพิ่มพื้นที่ และแพร่กระจายกลุ่มของตนเองออกไปให้มีฐานของกลุ่มแฟนคลับเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้การติดตามและเข้าถึง ช่องทางของกลุ่มแฟนคลับได้รับการตอบสนองจากทางกลุ่มไอดอล 48 Group มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามใน การรวมกลุ่มกันยังเกิดจากความต้องการในการบริโภคสิ่งใหม่ๆและน่าสนใจอยู่ตลอดเวลาของกลุ่มแฟน คลับที่มีความต้องการสิ่งใหม่ๆและสิ่งเร้าที่ช่วยกระตุ้นความอยากในการบริโภคอยู่ตลอดเวลาภายใต้กระแส ความเป็นไอดอลของญี่ปุ่น และจากผลการศึกษายังพบว่าอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับในกระแส วัฒนธรรมย่อย J-pop ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group นั้นถูกสะท้อนผ่านทางพฤติกรรมในการสะสมหรือ ติดต่อปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่มแฟนคลับมากกว่า การจะมองว่าใครมีการติดตามที่เข้มข้น หรือ สะสมที่สิ่งของ มากขนาดไหน หรือ มองว่าการติดตามกลุ่ม 48 Group เท่านั้นถึงจะถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupในไทยจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลยหาก ปราศจากกิจกรรมหรือEvent ของทางกลุ่มไอดอล 48 Group เข้ามากระตุ้นให้เกิดความต้องการต่างๆมากขึ้น
  • 3. B คำนำ งานวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupในกระแสวัฒนธรรมย่อย J-pop” ผู้วิจัยได้ศึกษษค้นคว้าและจัดทาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเข้าร่วมและรวมกลุ่ม กันของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในสังคมไทย และเพื่อศึกษาพฤติกรรมและการแสดงออกที่ส่งผลต่ออัต ลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในสังคมไทย เพื่อให้เห็นถึงลักษณะและการแสดงออกของกลุ่ม แฟนคลับภายใต้กระแสวัฒนธรรมย่อยในสังคมไทยที่ปัจจุบันมีจานวนเพิ่มขึ้นและกลายเป็นกลุ่มวัฒนธรรม ย่อยที่สาคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการผลักดันสังคม ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่เห็นได้อย่าง ชัดเจนในสังคมปัจจุบัน เช่น กระแสวัฒนธรรม J-pop และ K-pop ที่ไหลบ่าเข้ามาในสังคมไทยทั้งจากสื่อ ภายนอกและการนาเข้าของสื่อภายในส่งผลต่อพฤติกรรมและวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยอย่างมาก อาทิ การกิน การดื่ม และการแสดงออกต่างๆของวัยรุ่นในสังคมไทย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อกระแสการ ท่องเที่ยวในต่างประเทศจากที่เห็นได้ชัดในสังคมไทยที่นิยมท่องเที่ยวยังประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นเป็น จานวนมาก ซึ่งผลการวิจัยและข้อเสนอแนะต่างๆ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยในการนา ผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ตลอดจนเกิดแนวทางในการปรับปรุงพัฒนางานวิจัยใน รายวิชาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป ผู้วิจัยขอขอบคุณอาจารย์พรทิพย์ เนติภารัตนกุล อาจารย์ที่ปรึกษาในงานวิจัยที่คอยช่วยสนับสนุน และให้คาปรึกษาในงานวิจัยพร้อมทั้งสละเวลาในการพิจารณาและช่วยปรับปรุงงานวิจัยชิ้นนี้ให้สามารถ สาเร็จได้ด้วยดีมาตลอด ขอขอบคุณพี่ น้อง และ เพื่อนในกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ที่คอยช่วยเหลือสนับสนุน และให้ข้อมูลจากทั้งการสัมภาษณ์และจากการพูดคุยในประเด็นต่างๆด้วยดีมาตลอด และขอขอบคุณเพื่อนๆ นักศึกษาวิจัยทางสังคมวิชา สม.418 ที่คอยช่วยเหลือสนับสนุนและแบ่งปันความคิดเห็นร่วมกันในการ ทางานวิจัยต่างๆ จนงานวิจัยชิ้นนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการที่คอยช่วย ดาเนินเรื่องและให้คาปรึกษาในการดาเนินงานทางานวิจัยชิ้นนี้ สุรกิตติ์ สิงห์แก้ว สาขาการวิจัยทางสังคม คณะสังคมวิทยาและมานุษย์วิทยา ตุลาคม 2556
  • 4. C สำรบัญ หน้า บทคัดย่อ .........................................................................................................................................[A] คานา................................................................................................................................................[B] สารบัญ ...........................................................................................................................................[C] สารบัญตาราง..................................................................................................................................[E] สารบัญภาพ ....................................................................................................................................[E] บทที่ 1 บทนา .................................................................................................................................1 ที่มาและความสาคัญของปัญหา............................................................................1 วัตถุประสงค์ในการวิจัย........................................................................................9 คาถามการวิจัย.......................................................................................................9 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ...................................................................................9 ขอบเขตการวิจัยและวิธีการศึกษา........................................................................10 นิยามศัพท์เฉพาะ.................................................................................................11 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฏี และการทบทวนวรรณกรรม................................................................. ...12 แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมย่อย (Subculture)............................................................12 แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture).......................................15 แนวคิดเรื่องกลุ่ม (Group) ...................................................................................17 แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ (Identity) .......................................................................25 แนวคิดเรื่อง “แฟน” และ “แฟนด้อม” (Fan & Fandom) ....................................27 แนวคิดเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) .....................................32 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง..............................................................................................36 บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย....................................................................................................................42 กลุ่มตัวอย่าง........................................................................................................42 วิธีการเก็บข้อมูล.................................................................................................43 การวิเคราะห์ข้อมูล.............................................................................................48
  • 5. D บทที่ 4 โลกของ 48 Group และกลุ่มแฟนคลับ............................................................................49 ประวัติและความเป็นมาของ 48 Group.............................................................49 เอกลักษณ์และองค์ประกอบของ 48 Group......................................................51 วัฒนธรรมและกิจกรรมของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group......................................54 ภูมิหลังของแฟนคลับ 48 Group.......................................................................56 บทที่ 5 กระบวนการเข้าร่วมกลุ่ม อัตลักษณ์ และกิจกรรมการแสดงออก ของกลุ่มแฟนคลับ 48Group ........................................................................................77 กระบวนการเข้าร่วมกลุ่มแฟนคลับ 48 Group................................................77 การนิยามอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ...........................................84 กิจกรรมและการแสดงออกที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group...........................................................................89 บทที่ 6 สรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ.................................................................................99 สรุปผลอภิปรายผล...........................................................................................99 ข้อจากัดในการวิจัย...........................................................................................99 ข้อเสนอแนะ....................................................................................................106 สิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากการศึกษา.................................................................106 บรรณานุกรม..............................................................................................................................108 ภาคภนวก
  • 6. E สำรบัญคำรำง ตารางที่ หน้า ตารางที่ 1 การนาเสนอข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์..................................................................75 สำรบัญภำพ ภาพที่ หน้า ภาพที่ 1 โครงสร้างของ 48 Group ………………………………………………………..4 ภาพที่ 2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค……………………………………33
  • 7. คำรับรอง ข้าพเจ้า…………………………………………….... เลขทะเบียน ……..…………………………. รับทราบว่า การลอกเลียนผลงานทางวิชาการและการคัดลอกผลงานทางวิชาการโดยปราศจากการอ้างอิงที่ ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของข้าพเจ้าเองเป็นการขัดต่อหลักจริยธรรมทาง วิชาการและอาจมีความผิดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ผลงาน ภาคนิพนธ์2 ที่นาเสนอนี้ เป็นผลงานที่ข้าพเจ้าได้ทาการค้นคว้า เรียบเรียงขึ้น และมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูล ตลอดจนเอกสารที่ใช้ประกอบการศึกษาอย่างถูกต้องครบถ้วน และมิได้ถูกใช้นาเสนอเป็นผลงานในรายวิชาอื่นทั้งภายในหรือนอกคณะฯ (ลงชื่อ) ................................................................ วันที่ ......... เดือน......................พ.ศ. ...................
  • 8. 1 บทที่ 1 บทนำ ที่มำและควำมน่ำสนใจของปัญหำ ในโลกปัจจุบัน ที่มีการเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์หรือการที่เทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาขึ้นมาอย่าง ก้าวกระโดด ส่งผลให้มีการไหล่บ่าของข้อมูลข่าวสารต่างๆจากที่หนึ่งสู่อีกที่หนึ่งได้อย่างฉับไว ทั้งนี้การ ไหล่บ่าของข้อมูลยังได้ไปกระตุ้นถึงการไหลบ่าทางวัฒนธรรมอีกด้วย การไหล่บ่าของวัฒนธรรมเริ่มเกิดขึ้น ครั้งแรกในช่วงยุคของการล่าอาณานิคมที่ประเทศที่มีอานาจและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าแล้ว พยายามเข้าไปยึด ครองทรัพยากรและทาการแลกเปลี่ยนค้าขายกับประเทศที่มีทรัพยากรต่างๆโดยอาศัยอานาจในการ แลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีและสร้างข้อตกลงต่างๆร่วมกันขึ้น ซึ่งจากผลของการล่าอาณานิคมได้ส่งผลให้มี การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างวัฒนธรรมของสังคมหนึ่งกับสังคมหนึ่งขึ้นมา จนเกิดการไหล่บ่าของวัฒนธรรม ขึ้นผ่านทางปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนกันนั้น การไหล่บ่าของวัฒนธรรมไม่ได้มาจากการพูดคุย ติดต่อสื่อสารกันเท่านั้น แต่ยังผ่านทางการบริโภคสินค้าต่างๆที่มาจากวัฒนธรรมนั้นๆอีกด้วย เพราะใน สินค้าที่มาจากวัฒนธรรมนั้นๆมักจะมีวัฒนธรรมและค่านิยมต่างๆแฝงมากับตัวสินค้าด้วย อาจจะมาผ่านทาง สรรพคุณของสินค้าที่วัฒนธรรมนั้นๆเชี่ยวชาญหรือต้องการ รูปลักษณ์ภายนอกที่แสดงออกหรือบ่งบอกถึง วัฒนธรรมนั้นๆ สินค้าเหล่านี้เองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้มีการไหล่บ่าของวัฒนธรรมได้มากขึ้น ซึ่งใน ปัจจุบัน ก็มีการไหล่บ่าของวัฒนธรรมต่างๆเข้ามาอย่างไม่น้อยเช่นกันซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัฒนธรรมจาก โซนเอเชียด้วยกันเอง หรือที่เราเรียกกันว่า “Asian Pop” ซึ่งได้แยกออกไปเป็นประเภทย่อยๆได้อีกอย่าง J- Popและ K-popเป็นต้น ทั้งนี้กระแสวัฒนธรรมที่ไหลเข้ามาและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในสังคม นั้น ก็จะถูกเรียกว่าเป็นกระแสวัฒนธรรมย่อยหนึ่งในสังคมที่มีการยอมรับและนิยมบริโภควัฒนธรรมนั้นกัน อย่างแพร่หลายของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง Stuart Hall & Tony Jefferson (1976 อ้างใน เขมทัต พิพิธธนาบรรพ์,2551) นิยามวัฒนธรรมย่อยว่า เป็นวิธีการที่กลุ่มย่อยใช้จัดการกับชีวิตทางวัตถุและวิถีชีวิตด้านอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆโดยมี เป้าหมายเพื่อสร้างอัตลักษณ์ วิธีการนี้เป็นปฏิบัติการที่กลุ่มดาเนินไปอย่างมีความหมายและมีสานึก ไม่ว่า
  • 9. 2 จะเป็น วัตถุ ความสัมพันธ์ระบบค่านิยม ระบบความเชื่อที่ผลิตออกมา และวิธีการผลิตล้วนมีเอกลักษณ์ เฉพาะกลุ่ม ส่วนในประเทศไทยกระแสวัฒนธรรมย่อยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดปัจจุบัน คือ K-pop และที่รองลง คือ J-pop กระแสวัฒนธรรมย่อยเหล่านี้เป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้อย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับใน สังคมไทยอย่างมาก จนพูดได้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้คนในสังคมไทย ดังจะเห็นได้อย่าง ชัดเจนจากสื่อโฆษณาที่มีการนาเอาข้อมูลข่าวสารและสินค้าต่างๆจากวัฒนธรรมเหล่านี้เข้ามาใช้เป็นการโป รโมทและส่งเสริมการขายในสินค้าของตน เช่น ครีมจากเกาหลี, สาหร่ายญี่ปุ่น และอื่นๆอีกมากมาย ที่พบ เห็นโดยทั่วไป ทั้งนี้ยังรวมไปถึงวัฒนธรรมต่างๆที่ได้นาเอาวัฒนธรรมย่อยเหล่านี้มาช่วยอีกด้วย เช่น ดนตรี ที่มีการนาเอาแนวดนตรีอย่าง K-popและ J-pop เข้ามาเสริมหรือผสมกันไป จนกลายเป็นเหมือนสิ่งที่จาเป็น ที่วงการดนตรีไทยจะต้องมีประกอบควบคู่กันไปกับเพลงในปัจจุบัน กล่าวคือวัฒนธรรมในปัจจุบันไม่ได้มี หน้าที่อยู่เพียงแค่เป็นแม่แบบในการดารงชีวิตและรูปแบบในการปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่ดีของคนใน สังคมเท่านั้น แต่วัฒนธรรมยังเป็นสิ่งที่สามารถบริโภคได้ด้วย ผ่านทางเอกลักษณ์และลักษณะที่เป็นที่ เฉพาะเจาะจงของวัฒนธรรมนั้นๆ แม้วัฒนธรรมย่อยอย่าง K-pop จะเป็นวัฒนธรรมที่แพร่กระจายในสังคมปัจจุบันได้อย่างแพร่หลาย อย่างมาก แต่ก็มีวัฒนธรรมย่อยอีกอย่างหนึ่งที่ก็มีการแพร่กระจายออกไปได้ไม่แพ้กัน นั่นคือ J-pop ซึ่งเป็น กระแสวัฒนธรรมย่อยอันดับต้นๆที่ได้เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ประเทศญี่ปุ่นได้เข้า มาทาการติดต่อกับประเทศไทยมาอย่างยาวนานแล้ว ทาให้กระแส J-popดูเป็นกระแสที่เก่าและไม่น่าตื่นเต้น ไปซึ่งส่วนหนึ่งก็อาจจะเพราะมีวัฒนธรรมย่อยที่ใหม่กว่าอย่าง K-popเข้ามาด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม กระแส J-popก็ยังไม่หมดไปจากสังคมไทยซึ่งเห็นได้อย่างยิ่งจากกลุ่มแฟนคลับหรือกลุ่มผู้คลั่งไคล้กระแส ของ J-pop ที่ยังเห็นได้อยู่ในปัจจุบัน แม้อาจจะไม่มีการแสดงออกอย่างเด่นชัดและพบเห็นได้บ่อยครั้ง แต่ก็ ยังมีกลุ่มผู้คลั่งไคล้ในกระแส J-pop อยู่ไม่น้อย กระแส J-popเป็นกระแสวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เข้ามาในสังคมและมีอิทธิพลกันอย่างแพร่หลาย โดย เริ่มแรกอาจจะย้อนกลับไปได้จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวญี่ปุ่นเข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานที่มั่น ในการรบและจนมาบูมขึ้นในปัจจุบันจากการเข้ามาของสื่อบันเทิงต่างๆ อย่างเช่นเพลง J-pop และ J-rockที่ มีการแพร่หลายกันอย่างมาก ซึ่งสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือการย้อมผมเป็นสีเหลืองหรือสีทองที่เป็นการ ได้รับอิทธิพลมาจากกระแสวัฒนธรรมของวงดนตรีในกระแส J-pop ต่างๆ กระแส J-pop ได้เข้ามามีอิทธิพล กับสังคมไทยในหลายๆด้าน ทั้งการกิน การเล่น และการรับชมสื่อต่างๆ จนอาจกล่าวได้ว่ากระแสวัฒนธรรม
  • 10. 3 J-pop ก็เป็นหนึ่งในกระแสวัฒนธรรมย่อยที่เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยได้ไม่แพ้กระแส K-popเลยทีเดียว ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นและเกิดความสนใจในกระแสวัฒนธรรมย่อย J-pop ที่ว่าจากการที่เราพบเห็นกระแส วัฒนธรรมนี้อย่างผิวเผินนั้น จะมีรูปแบบและลักษณะใดอีกที่ยังคงเป็นวัฒนธรรมที่เรายังไม่สามารถพบเห็น หรือพบเห็นได้ยากแต่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มกระแส J-pop ที่เราอาจจะมองข้ามมันไป และการที่กระแส วัฒนธรรม J-pop เริ่มแผ่วเบาลงไปคนกลุ่มนี้ได้มีการพยายามรักษาอัตลักษณ์ของตนเองไว้ได้อย่างไร อะไร ที่ทาให้กระแสวัฒนธรรม J-pop ยังคงอยู่รอดได้แม้ว่าจะมีวัฒนธรรมย่อยที่สดใหม่กว่าอย่าง K-pop เข้ามา สิ่งเหล่านี้ได้ทาให้ผู้วิจัยเกิดความสนใจและตัดสินใจเลือกกลุ่มแฟนคลับดนตรีกระแส J-popที่เป็นกลุ่มที่ รวมเอาความหลากหลายทางวัฒนธรรมย่อย J-pop นี้เข้าไว้อย่างมากมาย นั่นก็คือกลุ่มแฟนคลับ AKB48 หรือ 48 Group ขึ้นมาเพื่อทาการศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มแฟนคลับในประเทศไทย “AKB48”(Akihabara48) หรือ ถ้าจะใช้คาพูดของคนในกลุ่มที่เรียกกันก็คือ 48 Group เนื่องจากกลุ่ม ดังกล่าวมีโครงสร้างในวงที่ซับซ้อนและหลากหลาย ทาให้คนนอกที่เข้ามาทาความรู้จักกับโลกของ J-Popนี้ ครั้งแรกอาจจะเข้าใจผิดว่า 48 Group มีแค่ในชื่อ “AKB48” แต่ในความจริงแล้ว มีทั้ง SKE48(Sakae), NMB48(Numba) และ HKT48(Hakata) ที่เป็นกลุ่ม 48 Group สาขาภายในประเทศญี่ปุ่น โดยยังไม่รวมเอา กลุ่มสาขาอย่าง JKT48(Jakarta) และ SHN48(Shanghai) ที่ตั้งอยู่ภายนอกประเทศ และในแต่ละทีมก็จะมีการ แยกซึ่งถ้าหากนามารวมกันแล้วสมาชิกของ 48 Group นี้มีจานวนสมาชิกกว่า 200 กว่าชีวิตเลยทีเดียว และใน แต่ละกลุ่มก็จะมีการแบ่งออกเป็นทีมย่อยๆ เช่น AKB48 ก็จะแบ่งเป็น Team A, Team K, Team B และ Kenkyusei (เคงคิวเซย์) หรือ ที่เรียกว่า “เด็กฝึกหัด” ซึ่งในส่วนใหญ่แต่ละกลุ่มจะมีการแบ่งออกเป็นรูปแบบ ทีมเช่นนี้ และยังมีกลุ่มทีม Sub Unit และ Soloist อีกมากมาย จากที่กล่าวมาอาจทาให้เห็นโครงสร้างของ กลุ่มนี้ได้ยากเนื่องจากความซับซ้อนของโครงสร้างของกลุ่มนี้มีมาก แต่หากไม่ทาความเข้าใจก็ยากที่จะเข้า ไปทาการศึกษาหาข้อมูลและพูดคุยได้จึงจาเป็นต้องมีการเรียบเรียงและเข้าใจถึงโครงสร้างที่ซับซ้อนนี้ เสียก่อน โดยโครงสร้างของ 48 Groupมีดังภาพต่อไปนี้
  • 12. 5 แรกเริ่มเดิมที 48 Group เกิดขึ้นจากโปรเจ็ค Akihabara 48โดย อากิโมโตะ ยาสึชิ (Akimoto Yasushi) นักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงของญี่ปุ่น หรือ ที่แฟนคลับญี่ปุ่นเรียกกันในภายหลัง ว่า “อากิพี” เริ่มก่อตั้ง Akihabara48ขึ้นเมื่อปี 2005 โดยอาศัยแนวคิดหลักที่ว่า AKB48 คือ ไอดอลที่ไปพบ ได้จึงมีโรงละคร(Theater)เป็นของตัวเองที่อาคาร Don Quijote ในย่านอากิฮาบาระ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวง มี การแสดงหมุนเวียนโดยสมาชิกแต่ละทีมทุกวัน ทาให้แฟนๆ รู้สึกว่าเป็นไอดอลที่ใกล้ตัว สามารถไปพบได้ จริง และในภายหลังจึงมีวงสาขาอื่นๆเกิดขึ้นมาตามแต่ละพื้นที่ต่างๆของประเทศ ในช่วงแรกที่ก่อตั้งวงขึ้น นั้นได้อาศัยวิธีการออดิชั่น (Audition) โดยอากิโมโตะ ยาสึชิ เองซึ่งในรุ่นแรกมีผู้ผ่านการออดิชั่น 24คน จากทั้งหมด 7,924 คน และเริ่มต้นการแสดงครั้งแรกที่โรงละครของพวกเธอซึ่งมีการโฆษณาผ่านโปสเตอร์ ประกาศและใบปลิวเท่านั้น ซึ่งในปีแรกอาจกล่าวได้ว่าเป็นปีที่ทาให้กลุ่มไอดอล AKB48 นี้มีความ ยากลาบากที่สุด เนื่องจากไม่ประสบความสาเร็จในการเปิดตัวเลยซึ่งเริ่มต้นจากการที่มีคนเข้าดูการแสดงใน โรงละครของพวกเธอเพียงแค่ 8 ที่นั่งจาก 100 ที่นั่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพียงเพื่อนๆและคนรู้จักหรือกลุ่มคนที่ อยากเห็นไอดอลตัวเป็นๆเท่านั้น ทาให้มีสมาชิกในวงลาออกไปจนเหลือเพียง 10 กว่าคนเท่านั้นแต่ด้วย ความพยายามของสมาชิกที่เหลือ ก็ได้ทาให้ AKB48 กลายเป็นวงที่มีชื่อเสียงได้ในภายหลังจากการที่มีคนมา ดูการแสดงที่โรงละครเพียงแค่ไม่ถึง 10คนจาก 250 ที่นั่งต่อวัน กลายเป็นมีคนนับ 1000คนที่ต้องการรับชม การแสดงของพวกเธอ ทาให้สิ่งนี้กลายเป็นประวัติที่น่าสนใจและดึงดูดใจผู้คนอย่างมากของกลุ่ม ทั้งนี้นับ จากปี 2006 ที่เกิดวิกฤตยอดขาย CD เพลงลดลงเนื่องจากเทคโนโลยีในการดาวโหลดเพลงนั้นเพิ่มมากขึ้น ทาให้ยอดขาย CD ในประเทศญี่ปุ่นลดลงอย่างมากส่งผลต่ออุตสาหกรรมดนตรีอย่างมาก แต่วงAKB48 ในช่วงปี 2010 - 2011 ยอดขายSingle ของ 48 Group ได้ติดอันดับ 1-6 ของ Oricon Chart (บอร์ดแสดง ยอดขายแผ่นเพลงของญี่ปุ่น) ที่มียอดขาย CD เกิน 1 ล้านแผ่นถึง 5 อันดับ และยอดขายที่ได้จากงานโฆษณา และการขายสินค้าต่างๆของ AKB48 ซึ่งหากนายอดขายมารวมกันก็สามารถตีเป็นจานวนเงินถึง 30,000 ล้าน เยนที่ส่งผลกระทบต่อตัวเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้เลยทีเดียว (AKB48 ([FungusMR] 120106 KinSma Special : ช่วงเวลาที่ยากลาบากของ AKB48 อ้างอิงจาก http://alive.in.th/watch_video.php? v=A664XRMSSG55) ในสังคมและวงการบันเทิงของญี่ปุ่นกลุ่ม 48 Groupถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มไอดอล (Idol) สาวที่มีความ สดใหม่และเป็นที่นิยมอยู่เสมอ ทั้งนี้ความหมายของการเป็นไอดอล มีความแตกต่างอย่างมากจากกลุ่ม Girl Group ต่างๆที่รู้จักกัน ทั้งนี้คาว่า Groupของ 48 Group มาจากการที่ในภายหลังวง AKB48 ได้ทาการ ก่อตั้งวงรุ่นน้องแตกออกไปตามที่ต่างๆอย่าง SKE48, NMB48 และ HKT48ซึ่งทาให้มีการเรียกกลุ่มนี้
  • 13. 6 รวมๆกันว่า 48 Group จากคอนเซ็ปที่ว่ามีสมาชิก 48 คนในวง ทั้งนี้ยังเห็นได้ชัดจากการที่สมาชิกในวงมีต้น สังกัดในวงการบันเทิงที่ต่างกันไป ทาให้ในงานวิจัยนี้จาเป็นต้องทาความเข้าใจความหมายของไอดอลใน แบบเฉาพะของวัฒนธรรมกระแสรองของ J-popเสียก่อน คาว่า Idol หรือ ไอดอล เป็นคาทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันไม่มีอยู่ในพจนานุกรม บัณฑิตยสถาน โดยหายแปลจากพจนานุกรมฉบับ Cambrige University ได้ว่า “ใครสักคนที่เป็นที่ยอมรับ และได้รับความยกย่องนับถือและอะไรที่เรามาใช้เป็นแบบอย่าง” (http://dictionary.cambridge.org/ dictionary/british/idol?q=idol) ทาให้ความหมายของ Idol ในที่นี้ คือดาราวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 13-20ปลายๆ ที่เป็นแบบอย่างที่ผู้คนได้ให้ความสนใจและอยากมีบุคลิกหรือลักษณะต่างๆแบบเขา/เธอ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ บุคคลที่เป็นแบบอย่างในการประพฤติและปฏิบัติตัว Idol เป็นคาเรียกที่ไม่จากัดเพศ แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยม ใช้กับดาราวัยรุ่นเพศหญิงมากกว่าเนื่องจากความหมายของ Idol ในวงการบันเทิง คือ กลุ่มดาราวัยรุ่นที่มี ความสดใหม่ น่ารัก สดใสอยู่เสมอ และมีการแสดงออกได้อย่างดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่นได้โดยอาจ เป็นผลมาจากรูปแบบเฉพาะของกลุ่มที่มีการเข้าออกของสมาชิกภายในวงอยู่ตลอด โดยมีการคัดคนหรือ ออดิชั่นเป็นรุ่นสมาชิกเข้าในแต่ละช่วงการรับสมัคร การเลื่อนขั้นหรือ Promote เด็กฝึกหัด (Kenkyosei) ให้ เข้าสู่ทีมต่างๆ และการลาออก หรือ ที่เรียกว่าการจบการศึกษา เป็นต้น การศึกษากลุ่มแฟนคลับของกระแสวัฒนธรรมย่อย J-Pop โดยผ่านกลุ่ม 48 Groupยังมีความ น่าสนใจที่ว่า กลุ่มแฟนคลับดังกล่าวมีวัฒนธรรมในการบริโภคประจากลุ่มที่โดดเด่นและหลากหลายทั้งจาก ที่ได้รับอิทธิพลจากทางญี่ปุ่นแลที่เกิดขึ้นใหม่ในไทยเอง เช่น การ Mix, หรือ โวตาเกะ คือ การเชียร์ที่จะมี รูปแบบของคาพูดและเสียงที่เป็นเอกลักษณ์และรูปแบบประจาอยู่ ซึ่งมีหลากหลายวิธี หลายระดับ ซึ่งส่วน ใหญ่แล้วในระดับ 1-2 จะมีรูปแบบเดียวกันกับวงอื่นๆ และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายของกลุ่ม เช่น งาน เลือกตั้ง Senbatsu Sosenkyo Election (การเลือกตั้งของผู้ถูกเลือก) ซึ่งเป็นการโหวตอันดับความนิยมของ ดาราไอดอลในกลุ่ม 48 Groupจากบรรดาแฟนคลับ (โวตะ,โอตะ) จากทั่วโลก ผ่านช่องทางต่างๆ รวม 64 อันดับ ซึ่งถ้าหากไอดอลคนไหนที่ติดอันดับ 1-16 ก็จะถูกเรียกว่าเป็น เซ็มบัตสึ (Senbatsu) หรือผู้ถูกเลือกทั้ง 16 ที่จะเป็นตัวจริงในการร้องและเต้นในเพลงหลักของ Single ใหม่ในนามของ AKB48 ที่จะมีขึ้นในครั้ง หน้าเป็นต้น ซึ่งยอดรวมคนโหวตดังกล่าวในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งช่องทางหลักทางหนึ่งที่ใช้โหวตมา จากการซื้อแผ่น Single ที่จะแถมบัตรโหวตมาให้ 1 แผ่น ต่อ 1 Single และในปีล่าสุดจานวนขายซิงเกิ้ล ในช่วงของการเลือกตั้งนั้นมีสูงถึง 1,600,000 กว่าแผ่น จากจานวนคะแนนโหวตทั้งหมด 2,100,000 โหวต ซึ่งหากจะตีเป็นค่าเงินสาหรับการได้รับบัตรโหวตนั้นมีสูงถึง 2,560 ล้านเยน ตกเป็นเงินไทยกว่า 819 ล้าน
  • 14. 7 บาท สิ่งเหล่านี้ทาให้เกิดความสงสัยในพฤติกรรมของกลุ่มแฟนคลับที่ได้ช่วยกันผลักดันวงดังกล่าวว่ามี ปัจจัยใดบ้างที่ได้ทาให้เหล่าแฟนคลับเข้าร่วมไปเป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้เกิดปรากฎการณ์เช่นนี้ขึ้น โดยใน งานวิจัยนี้จะมองถึงปัจจัยที่มีผลต่อแฟนคลับไทยเนื่องจากกิจกรรมของกลุ่ม 48 Groupเป็นเพียงแค่ วัฒนธรรมย่อยวัฒนธรรมหนึ่งที่เข้ามาในไทย แต่เพราะเหตุผลใดที่ทาให้กลุ่มแฟนคลับในไทยที่อยู่ต่าง วัฒนธรรมและพื้นที่กลับยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อ Single ในราคาถึง 600 บาท หรือมากกว่านั้น ตามช่องทางการ สั่งที่มีอยู่จากัดเนื่องจากเป็นสื่อและสินค้าจากต่างประเทศที่ไม่มีขายในไทยและเข้าถึงยากอีกด้วย ทั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งกลุ่มเป้าหมายที่จะศึกษาไปที่กลุ่มแฟนคลับ 48 Groupในประเทศไทย ที่มีการ รวมกลุ่มกันเพื่อปฏิสัมพันธ์กันในลักษณะต่างๆ ซึ่งผู้วิจัยต้องการมุ้งเน้นถึงรูปแบบและกระบวนการในการ รวมกลุ่มกันทาให้จาเป็นต้องเข้าใจในความหมายเบื้องต้นของกลุ่มเสียก่อนทั้งนี้ คาว่า “กลุ่ม” ในความหมาย เชิงสังคมวิทยา คือ กลุ่มคนที่มิใช่มีความใกล้ชิดกันทางร่างกายเท่านั้น แต่จะต้องมีการกระทาโต้ตอบซึ่งกัน และกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กันตามสถานภาพและบทบาทมีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความเชื่อในด้าน คุณค่าร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน กลุ่มสังคม ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่มอาชีพ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่ม ประชาชนของประเทศ เป็นต้น และความหมายของกลุ่มในความคิดของสมเดช มุงเมือง (2548) กล่าวว่า กลุ่ม(Group) คือ การรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ทางานเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ดังนั้น สมาชิกในกลุ่มจะต้องรับรู้เป้าหมายของกลุ่ม มีความสัมพันธ์กับสมาชิกคนอื่นๆ เพื่อสร้างความสาเร็จ ร่วมกัน และที่สาคัญกลุ่มที่ดีมีความสาคัญต่อองค์การและสมาชิก กลุ่มจะช่วยให้ภารกิจขององค์การประสบ ความสาเร็จ และสร้างพลังงานที่จะทางานให้มีคุณภาพสูง ส่วนกลุ่มแฟนคลับนั้น Joli Jenson (1992) (กระจ่างศรี ศรีกระจ่าง, 2545) ได้ให้คาจากัด ความหมายของคาว่า “แฟน” ว่าเป็นกลุ่มคนที่ชื่นชมและหลงใหลในความเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยกลุ่ม คนดังกล่าวได้ถูกเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบความมีชื่อเสียงที่ผ่านมาถึงกลุ่มโดยสื่อมวลชวน Jenson มองว่ากลุ่ม แฟนเหล่านี้ เป็นลักษณะอาการทางสังคมโดยสามารถแบ่งได้เป็นสองลักษณะ คือ บุคคลที่ชื่นชมหลงใหล อยู่เพียงลาพัง และกลุ่มบุคคลที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม และถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างลึกซึ่ง ทั้งยังสามารถ ขยายกลุ่มของตนเองออกไปได้ กลุ่มแฟนคลับ 48 Group ก็มีทั้งความเป็นกลุ่ม (Group) และเป็นแฟน (Fandom) อยู่ด้วย ลักษณะ ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupเบื้องต้น มีเกณฑ์อายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยทางาน ฐานของกลุ่ม แฟนคลับส่วนใหญ่มีจานวนประมาณเกือบ 2,000 คน ถ้าหากรวมถึงกลุ่มคนที่อยู่ในต่างจังหวัดและชอบแต่ ไม่ได้มีการออกมารวมกลุ่มหรือนัดพบกัน (อ้างอิงจากจานวนสมาชิกเว็บ 48.in.th โดยประมาณ) แต่ถ้าจะ
  • 15. 8 รวมกลุ่มคนที่นัดพบกันจริงๆ จากจานวนกลุ่มคนที่ไปงาน Meeting และกลุ่มวงโคฟเวอมีประมาณ 500คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่อยู่ในทางภาคกลางและภาคเหนือ ทาให้กิจกรรมส่วนใหญ่จะถูกจัดขึ้นที่ กรุงเทพ และ เชียงใหม่ ทั้งนี้กลุ่มดังกล่าวส่วนใหญ่แต่ก่อนจะมีเว็บ 48.in.th ที่เป็นเว็บหลักโดยเฉพาะ มักจะเป็นกลุ่มที่อยู่ ตามเพจและบล็อกต่างๆซึ่งเป็นกลุ่มเล็กๆและแทบจะไม่มีการรวมตัวกันแต่อย่างใด แต่เมื่อกลางปี 2010 ที่ เป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “เว็บพี่ปิง” ซึ่งในระยะแรกคนรู้จักเว็บนี้น้อย เพราะกลุ่มฐานแฟนคลับยังไม่มาก ประกอบกับการที่กลุ่ม 48 Groupยังเพิ่งเริ่มความดังและเริ่มต้นทารายการวาไรตี้ ซึ่งในภายหลัง “เว็บพี่ปิง” ก็ปิดตัวไป จนมีเว็บขึ้นมาใหม่ ชื่อ 48.in.th โดยมีกลุ่มผู้ดูแลเป็นกลุ่มคนเรียนสายโปรแกรมเมอร์มาทาให้มี ความเชี่ยวชาญในด้านการเขียนเว็บและปรับปรุงเว็บนี้อยู่เสมออีกทั้งยังมีระบบอานายความสะดวกต่างๆ ทั้ง Forum Market, ห้องแชท และ Forum Blog ไว้คุยเรื่อง 48 Groupต่างๆ ซึ่งมีส่วนอย่างมากต่อความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มแฟนคลับในการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและนัดหมายกันไปทากิจกรรมร่วมกัน หรือ จัดกิจกรรมต่างๆร่วมๆกัน ซึ่งในเว็บ 48.in.th เริ่มต้นเมื่อประมาณปลายปี 2555 และได้รับการตอบรับ ดีมากจากบรรดากลุ่มแฟนคลับที่กระจัดกระจายกันอยู่ และได้จัดงาน Meeting ครั้งที่ 1ของทางภาคกลางที่มี การจัดกันที่อาคาร The Connection มีแฟนคลับเข้าร่วมกว่า 200 คน ซึ่งในงานมีกิจกรรมแฟนพันธ์แท้และ อื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนรูป และมี Mini Concertของกลุ่มเต้นโคฟเวออีกด้วย เป็นการ จาลองสภาพการให้เหมือนการแสดง Theater จริงที่สุด เพื่อให้ได้บรรยากาศจริงกับแฟนคลับ 48 ที่ญี่ปุ่นเคย ได้รับและเข้าร่วม เนื่องจากกลุ่มแฟนคลับ 48 ในไทยและต่างประเทศมีค่านิยมที่ยอมรับกันว่าการที่ได้ไปดู การแสดงที่ Theater ถือว่าเป็นที่ Theater เป็นดั่งสถานที่ศักดิ์ของเหล่า 48 Group เพราะถือสถานที่ๆเหล่า ไอดอล 48 Group ได้เริ่มแสดงเป็นจุดเริ่มต้นเรื่องราวของกลุ่ม 48 Group และเป็นสถานที่ที่ทาความรู้จักและ ใกล้ชิดกับแฟนคลับมากที่สุด กลุ่มแฟนคลับ 48 Group ส่วนใหญ่มักจะแยกกันเป็นกลุ่มเล็กๆประมาณ 5-10 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะมี การรวมกลุ่มไปนั่งตามสถานที่ที่มีลักษณะเป็น Japan Zone ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มักจะเป็นบริเวณสถานที่รอบๆ Siam Paragon เนื่องจากงานกิจกรรมต่างๆส่วนใหญ่จัดบริเวณ Central Worldและ MBK ซึ่งวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของกลุ่มแฟนคลับ 48 อาจกล่าวได้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับมา จากวัฒนธรรมโอตาคุจากย่าน Akihabara โดยวัฒนธรรมโอตาคุเป็นวัฒนธรรมรากฐานแรกสาหรับกลุ่มที่ รวมตัวกันคลั่งไคล้ดาราการ์ตูน ต่างๆ และมีวัฒนธรรมต่างๆที่เป็นรากฐานเบื้องต้น ซึ่งวัฒนธรรมโวตาเกะ หรือการเชียร์นั้นก็เป็นผลมาจากวัฒนธรรมโอตาคุด้วยเช่นกัน ทาให้กิจกรรมส่วนใหญ่ของกลุ่มแฟนคลับ 48 มีลักษณะที่ไม่แตกต่างจากวัฒนธรรมของกลุ่ม J-pop อื่นๆมากนัก แต่ก็ยังมีบางกิจกรรมที่เป็น
  • 16. 9 ลักษณะเฉพาะและเป็นเอกลักษณ์อีกหลายอย่าง เช่น งานจับมือ และงานเลือกตั้งที่ทาให้กลุ่มแฟนคลับ 48 Group นี้มีการแสดงออกบางอย่างที่ดูเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่ากลุ่มอื่นๆมากเหมือนกัน จากที่กล่าวมาได้ทาให้ผู้วิจัยเกิดความสนใจในการศึกษาวัฒนธรรม J-pop ผ่านกลุ่มแฟนคลับ ไอดอลกลุ่ม 48 Group นี้ว่ามีอัตลักษณ์ของกลุ่มอย่างไร ผ่านทางกิจกรรมในการแสดงออก และพฤติกรรม ในการบริโภควัฒนธรรมหรือสินค้าจากกลุ่ม 48 Group นี้ เพื่อให้เข้าใจรูปแบบวัฒนธรรมย่อยของ กลุ่มแฟนคลับ 48 Groupได้ดีขึ้นและเพื่อนางานวิจัยนี้ไปประกอบกับงานศึกษาอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจ วัฒนธรรมย่อย J-pop ที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มคนในประเทศไทยในหลายๆกลุ่มด้วย วัตถุประสงค์กำรวิจัย 1. เพื่อศึกษากระบวนการเข้าร่วมกลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop) 2. เพื่อศึกษาการนิยามอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop) 3. เพื่อศึกษากิจกรรมและการแสดงออกที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop) คำถำมกำรวิจัย 1. กลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop) มีกระบวนการและที่มาในการเข้าร่วมกลุ่มอย่างไร 2. กลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop) มีการนิยามอัตลักษณ์ของกลุ่มว่าอย่างไร 3. กลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop) มีกิจกรรมและการแสดงออกใดบ้างที่สะท้อน ถึงอัตลักษณ์ของกลุ่ม ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. สามารถทราบถึงกระบวนการเข้าร่วมกลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop) 2. สามารถทราบพฤติกรรมการนิยามอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop)
  • 17. 10 3. สามารถทราบถึงกิจกรรมและการแสดงออกที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group (J-Pop) ขอบเขตกำรวิจัยและวิธีกำรศึกษำ ขอบเขตด้านเนื้อหา งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการเข้าไปศึกษาและทาความรู้จักกับกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupที่เป็นสื่อกระแส วัฒนธรรม J-pop รวมถึงทาความเข้าใจในลักษณะของกลุ่ม 48 Groupว่าเป็นอย่างไร และมีกิจกรรมอะไรที่ ส่งผลต่อพฤติกรรมของกลุ่มแฟนคลับในไทยบ้าง อย่างไรก็ตามแม้ว่ากลุ่ม 48 Groupไม่ได้มีผลโดยตรงใน การเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่แฟนคลับในสังคมไทย แต่เพราะเหตุผลอะไรที่ทาให้กลุ่มแฟนคลับของกลุ่ม 48 Group นี้ เกิดความคลั่งไคล้ขึ้น นอกจากนี้กลุ่มแฟนคลับ 48 Groupมีพฤติกรรมในการบริโภคสื่อดังกล่าว อย่างไรบ้างที่ส่งผลต่อการสร้างอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มแฟนคลับขึ้นมา กลุ่มตัวอย่างและผังที่ในการศึกษา กลุ่มแฟนคลับ Group 48 (J-Pop) ในเว็บไซต์ของกลุ่มในประเทศไทย 48.in.th และในกลุ่มแฟน คลับที่รวมตัวกันวันเสาร์ที่ศูนย์อาหารชั้น 7 ห้างสรรพสินค้า Central World ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าแฟนคลับ คนดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่ติดตามรับข้อมูลข่าวสารจากต่างๆและมีการเก็บสะสมสินค้าและสิ่งของต่างๆที่อยู่ ภายใต้48 Groupโดยสินค้าและสื่อต่างๆเพราะจะทาให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupได้ ง่ายและชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ผู้วิจัยจะทาการกาหนดจานวนกลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่าเหมาะสมจานวนทั้งสิ้น 13 คน เนื่องจากผู้วิจัยเล็งเห็นว่ากลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้นั้นมีจานวนมากและสามารถทาการสัมภาษณ์ได้โดยง่าย อีก ทั้งจานวนกลุ่มตัวอย่างที่มากจะทาให้สามารถสรุปผลการวิจัยได้โดยง่ายและเห็นถึงความแตกต่างของ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน วิธีการศึกษา ผู้วิจัยจะเข้าไปส่วนหนึ่งของกลุ่มแฟนคลับ 48 Groupโดยเข้าไปร่วมในพฤติกรรมกลุ่มร่วมต่างๆที่ แฟนคลับปฏิบัติ ทั้งด้านพฤติกรรมการบริโภคจากทั้งสื่อและสินค้าวัฒนธรรมต่างๆของกลุ่มแฟนคลับ โดย ใช้วิธีการเข้าสู่สนาม การสารวจและสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบก้อนหิมะ และการสนทนาแบบไม่เป็นทางการ
  • 18. 11 นิยำมศัพท์เฉพำะ J-Pop = มี 2 ความหมาย คือ 1.สื่อที่เป็นกระแสวัฒนธรรมญี่ปุ่น 2.แนวเพลงดนตรีป๊อปของญี่ปุ่น โอตะ / โวตะ = แฟนคลับหรือผู้คลั่งไคล้ในกลุ่มดารานักร้อง หรือ ไอดอลของญี่ปุ่น โอชิ / โอชิเมม = ดารา หรือ ไอดอล ที่ชอบเป็นอันดับหนึ่งและติดตามอย่างมาก โดยโอตะหนึ่งคนมักจะมีโอชิเพียงคนเดียว ไลน์ = ดารา หรือ ไอดอล ที่ชอบเป็นอันดับรองลงมา หรือ แค่สนใจที่จะ ติดตามบ้างเป็นครั้งคราว อาจมีมากกว่าหนึ่งคนก็ได้ 48 Group = วงAKB48 ที่ในภายหลังถูกเรียกรวมว่า 48 Group โดยเป็นผลมาจาก การก่อตั้งวงรุ่นน้องเพิ่ม SKE48, NMB48, HKT48จึงถูกเรียกรวมกัน AKB48 = วงหลักของกลุ่ม 48 Groupถือเป็นวงดั้งเดิมสุด เวลามี Event อะไร เกิดขึ้นกับกลุ่ม 48 Groupส่วนใหญ่ก็จะจัดขึ้นในนามของ AKB48 เลยจึงมีการเรียก 48 Group โดยรวมๆเลยว่า AKB48 หรือ AKB PV / MV = มีความหมายเดียวกันแต่ทางญี่ปุ่นจะใช้คาว่า PV = Promote Video ส่วน MV = Music Video
  • 19. 12 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฏีและกำรทบทวนวรรณกรรม งานวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมและการบริโภควัฒนธรรมกระแสรองของกลุ่มแฟนคลับ Girl Group 48 (J-Pop) ในประเทศไทย” ได้อาศัยแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง 4 ส่วน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อคาถามการ วิจัย และกับข้อมูลเนื้อหาต่างๆ ที่ผู้วิจัยได้ทาการลงไปศึกษา ให้อยู่ในกรอบและวัตถุประสงค์ที่ได้กาหนด เอาไว้ตามแนวคิดและทฤษฏีต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมย่อย(Subculture) 2. แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture) 3. แนวคิดเรื่องกลุ่มสังคม (SocialGroup) 4. แนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ (Identity) 5. แนวคิดเรื่อง “แฟน” และ “แฟนด้อม” (Fan & Fandom) 6. แนวคิดเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior) โดยแต่ละแนวคิดมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมย่อย (Subculture) วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น กาหนดขึ้น มิใช่สิ่งที่มนุษย์ทาตามสัญชาตญาณ อาจเป็นการ ประดิษฐ์วัตถุสิ่งของขึ้นใช้ หรืออาจเป็นการกาหนดพฤติกรรมและ/หรือ ความคิด ตลอดจนวิธีการ หรือ ระบบการทางาน ฉะนั่นวัฒนธรรมก็คือ ระบบในสังคมของมนุษย์ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น มิใช่ระบบที่ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามสัญชาตญาณ วัฒนธรรมเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันในสังคมเดียวกันทาความตกลงกันว่าจะยึด ระบบไหนดี พฤติกรรมใดบ้างที่จะถือเป็นพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติและมีความหมายอย่างไร แนวความคิดใด จึงเหมาะสม ข้อตกลงเหล่านี้คือการกาหนดความหมายให้กับสิ่งต่างๆ ในสังคมเพื่อว่าสมาชิกของสังคมจะ
  • 20. 13 ได้เข้าใจตรงกันและยึดระบบเดียวกัน หรืออีกนัยหนึ่ง เราอาจเรียกระบบที่สมาชิกในสังคมได้ตกลงกันแล้ว ว่าเป็น “ระบบสัญลักษณ์” ดังนั้นวัฒนธรรมก็คือ ระบบสัญลักษณ์หนึ่งในสังคมมนุษย์ที่ถูกสร้างขึ้น และ เมื่อสร้างขึ้นมาแล้วจึงสอนให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ และนาไปปฏิบัติ วัฒนธรรมจึงต้องมีการเรียนและ ถ่ายทอด เมื่อมนุษย์เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมมนุษย์ก็รู้ว่าอะไรควรทาและอะไรไม่ควรทา ฉะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมจึงเป็นความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมาก (อมรา พงศาพิชญ์, 2537: 1-2 อ้างใน เขตมทัต พิพิธธนาพรรพ์, 2551 : 16-17) วัฒนธรรมย่อย (Subculture) ในสังคมหนึ่งๆ นั้นจะมีวัฒนธรรมหลักของตนเอง เช่น ประเทศไทยของเราก็มีวัฒนธรรมไทยเป็น วัฒนธรรมที่เป็นแกนหลัก เช่น อาหารไทย ดนตรีไทย ฯลฯ ในขณะเดียวกัน สังคมทุกสังคมต่างก็ ประกอบไปด้วยผู้คนที่มาจากหลากหลายทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ระดับการศึกษา ฐานะ ฯลฯ เหล่านี้ ทาให้ใน แต่ละสังคมต่างก็มีกลุ่มวัฒนธรรมที่แยกย่อยลงไปอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นการแสดง อัตลักษณ์เฉพาะกลุ่มนั้นๆ เช่น กลุ่มผู้นิยมดนตรีร็อค กลุ่มผู้นิยมการขับขี่มอเตอร์ไซผาดโผน ฯลฯ กลุ่มวัฒนธรรมย่อย พัฒนามาจากผู้ที่ทากิจกรรมทางสังคมต่างๆ ซึ่งทาให้กลุ่มวัฒนธรรมย่อยมี ความหลากหลายและซับซ้อน เนื่องจากกลุ่มวัฒนธรรมย่อยเป็นการอธิบายพฤติกรรมของคนที่มีวัฒนธรรม แยกจากวัฒนธรรมหลักของสังคม มากกว่าที่จะมองว่าเป็นกลุ่มที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง Stuart Hall & Tony Jefferson (1976 อ้างใน เขตมทัต พิพิธธนาพรรพ์, 2551:10) นิยาม วัฒนธรรม ย่อยว่าเป็นวิธีการที่กลุ่มย่อยใช้จัดการกับชีวิตทางวัตถุและวิถีชีวิตด้านอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆโดยมี เป้าหมายเพื่อสร้างอัตลักษณ์ วิธีการนี้เป็นปฏิบัติการที่กลุ่มดาเนินไปอย่างมีความหมายและมีสานึก ไม่ว่า จะเป็น วัตถุ ความสัมพันธ์ระบบค่านิยม ระบบความเชื่อที่ผลิตออกมา และวิธีการผลิตล้วนมีเอกลักษณ์ เฉพาะกลุ่ม Michael Brake (1990 อ้างใน ธิดารัตน์ รักประยูร, 2545:17) ได้อธิบายไว้ว่า “ลักษณะโดยทั่วไป ของวัฒนธรรมย่อยก็คือ รูปแบบ (style) กล่าวคือ กลุ่มที่มีวัฒนธรรมย่อยที่โดดเด่นแตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆ ก็คือ กลุ่มที่มีการใช้รูปแบบเชิงสัญลักษณ์ รูปแบบหนึ่งๆ” โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ช่วยให้เกิดทางออกของปัญหาทางด้านโครงสร้างที่เกิดจากความขัดแย้งภายในโครงสร้าง สังคม เศรษฐกิจ ที่ต้องประสบร่วมกัน ปัญหามักจะเป็นปัญหาทางด้านชนชั้นที่เกิดขึ้นสืบเนื่องกันมาทุกรุ่น
  • 21. 14 2. ทาหน้าที่เป็นวัฒนธรรมหนึ่งซึ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปแบบ (style) ค่านิยม(values) อุดมการณ์ (ideologies) และรูปแบบการดาเนินชีวิต(lifestyle) ซึ่งสามารถนามาใช้สร้างอัตลักษณ์(identity) ที่ นอกเหนือจากอัตลักษณ์ที่ถูกกาหนดให้เป็นไปตามลักษณะการงาน ครอบครัว หรือ โรงเรียน 3. เป็นรูปแบบที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของความเป็นจริงทางสังคมที่ประสบพบเห็นได้และมี รากฐานอยู่ในวัฒนธรรมของชนชั้นหนึ่งๆ แต่มีคนรอบข้างเป็นสื่อในการถ่ายทอด หรือ อีกทางหนึ่งเป็นการ สื่อสารเชิงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดผ่านสื่อมวลชน 4. เสนอวิถีชีวิตที่มีความหมายในการใช้เวลาว่าง (leisure) เมื่อเป็นอิสระจากโลกของการงาน รูปแบบที่ทาให้เกิดตัวบ่งชี้ (indicator) ที่สาคัญหลายประการ รูปแบบแสดงให้เห็นถึงระดับความ ยึดถือในวัฒนธรรมย่อยและยังชี้ให้เห็นถึงการเป็นสมาชิกของวัฒนธรรมย่อยหนึ่งๆ ซึ่งมีลักษณะที่ปรากฏ ออกมาอย่างไม่สนใจ หรือ อย่างต่อต้านกับค่านิยมหลักของสังคม รูปแบบของวัฒนธรรมย่อยมี องค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ 1. รูปลักษณ์ รูปลักษณ์ภายนอกที่ประกอบด้วย เครื่องแต่งกาย ข้าวของเครื่องใช้ เช่น ทรงผม เครื่องประดับและวัตถุต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา 2. การประพฤติปฏิบัติตัว ซึ่งรวมถึงการแสดงออก กริยาและท่าทาง 3. ภาษาของกลุ่ม ได้แก่ คาศัพท์พิเศษ และวิธีการพูดออกมา นอกจากนี้รูปแบบในวัฒนธรรมย่อยยังรวมถึงรูปแบบการดาเนินชีวิต (lifestyle) ด้วย วัฒนธรรมย่อยนั้นอาจมีหลากหลายรูปแบบบางรูปแบบเกิดการปะทะกันอย่างเปิดเผย บางรูปแบบ อาจอยู่ร่วมกันได้ หรือบางรูปแบบวัฒนธรรมย่อยต้องพยายามต่อรองเพื่อให้มี “พื้นที่สาธารณะ” ในการ แสดงออก (กาญจนา แก้วเทพ, 2549 อ้างใน ธิดารัตน์ รักประยูร, 2545:19) เช่น วัฒนธรรมย่อยของวัยรุ่น จะเห็นว่าอยู่ในลักษณะที่พยายามแสดงถึงความแตกต่าง โดยการตอบโต้และต่อรองต่อวัฒนธรรมหลักเพื่อ การสืบทอดและการดารงอยู่ แนวคิดวัฒนธรรมย่อยสามารถนามาช่วยในการวิเคราะห์และอธิบายถึงความเป็นกลุ่มวัฒนธรรม ย่อย J-pop ว่ากลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในสังคมไทยนั้นมีลักษณะ พฤติกรรม การแสดงออก และความ ต้องการที่แตกต่างไปจากกลุ่มวัฒนธรรมกระแสหลักอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ในการศึกษาวัฒนธรรมย่อย J-pop ใน สังคมไทย จะช่วยให้เห็นภาพลักษณ์ของกลุ่ม J-pop หลายๆกลุ่มในภาครวมได้ด้วย เนื่องกระแสของ 48 Group ในไทยนั้นเป็นกระแสที่รู้จักกันภายในกลุ่มผู้ติดตาม J-pop อย่างเปิดกว้างถึงจะรู้จักกลุ่มดังกล่าว และแฟนคลับกลุ่ม 48 Group ยังมีลักษณะและพฤติกรรมของกลุ่มวัฒนธรรมย่อย J-pop ในทุกๆกิจกรรม
  • 22. 15 และการแสดงออกด้วย นอกจากนี้ในการนาแนวคิดวัฒนธรรมย่อยไปวิเคราะห์ผู้วิจัยจะนาแนวคิดเรื่อง วัฒนธรรมสมัยนิยม กลุ่มทางสังคม อัตลักษณ์ แฟนและแฟนดอม และพฤติกรรมผู้บริโภคมาร่วม วิเคราะห์และอธิบายถึงอัตลักษณ์และพฤติกรรมการแสดงออกของกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ด้วย 2.แนวคิดเรื่องวัฒนธรรมประชำนิยม (Popular Culture) วัฒนธรรมสมัยนิยม หรือวัฒนธรรมประชานิยม เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม เกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 พัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ได้ถูกนาไปผูกติดกับการต่อสู้แข่งขันเพื่อช่วงชิงความหมายและการตีความซึ่งมีมาก่อนแล้ว และได้ กลายเป็นหลักฐานสาคัญในการโต้แย้งกันต่างๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) ผ่านกลไกทาง วัฒนธรรมที่สอดคล้องกับระบบทุนนิยม ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมประชานิยมผูกพันอยู่กับประชาชนใน ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอิสระที่จะเรียกร้อง ต่อรอง ต่อสู้ หรือกระทาการใดๆภายใต้สิทธิอัน ชอบธรรม จึงเกิดการปะทะสังสรรค์ทางความคิด ตลอดจนการพยายามครอบงา และพยายามปลดเปลื้อง ตนเองจากการถูกครอบงา และโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม (http://popculture416243.exteen.com/ 20081230/pop-culture-2) วัฒนธรรมประชานิยม เป็นการพิจารณาว่าสิ่งนั้นๆเป็นความนิยมของผู้คนในยุคสมัยนั้นหรือไม่ สามารถพิจารณาได้จากเกณฑ์4 ประการดังนี้ (http//cyberlab.lh1.ku.ac.th อ้างใน เขตมทัต พิพิธธนาบรรพ์ , 2551 :7-8) 1. เป็นสิ่งที่ชื่นชอบหรือยอมรับโดยผู้คนจานวนมาก 2. เป็นสิ่งที่ถูกมองว่าต่าชั้นและไร้คุณค่าหรือรสนิยมทางศิลปะ 3. เป็นสิ่งที่ออกแบบมาหรือสร้างขึ้นเพื่อให้คนจานวนมากชื่นชอบ เพื่อประโยชน์ทางการค้าและ บริโภคนิยม 4. เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นโดยผู้คนเพื่อพวกเขาเอง การให้คานิยามที่ครอบคลุมชัดเจนจะเป็นการสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมสมัยนิยมมากขึ้น ดังที่ Storey John (2006 อ้างใน เขตมทัต พิพิธธนาบรรพ์, 2551 :7-8) ได้จัดหมวดหมู่ความหมายของวัฒนธรรม สมัยนิยมเป็นกลุ่มๆได้แก่ 1. หมายถึง วัฒนธรรมอะไรก็ตามที่เป็นที่ยอมรับและชื่นชอบของคนจานวนมาก นิยามนี้ ครอบคลุมเนื้อหาวัฒนธรรมโดยทั่วไป แต่ไม่สามารถระบุลักษณะเฉพาะเจาะจงของวัฒนธรรมแต่ละอย่าง
  • 23. 16 ได้ซึ่งมักจะมีรายละเอียดและแตกต่างหลากหลายกันในหลายๆด้าน เช่น พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ บริบททางเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งความหมายต่อวิถีชีวิตของผู้เป็นเจ้าของหรือมีส่วนร่วมในวัฒนธรรม นั้นๆ 2. หมายถึง วัฒนธรรมที่หลงเหลืออยู่จากการให้คานิยามวัฒนธรรมชนชั้นนาหรือวัฒนธรรมชน ชั้นสูง ในแง่นี้ วัฒนธรรมสมัยนิยมจึงอยู่ตรงข้ามกับวัฒนธรรมของชนชั้นนา หรือวัฒนธรรมของชนชั้นส่วน ใหญ่ในสังคม 3. หมายถึง วัฒนธรรมมวลชน (mass culture) เป็นวัฒนธรรมที่ถูกผลิต เผยแพร่และโฆษณาใน ตลาด สินค้าของระบบทุนนิยมสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างเช่น แฟนชั่น เครื่องสาอาง กีฬา เกมออนไลน์ และ มักเชื่อมโยงกับการครอบงาทางวัฒนธรรมตะวันตกหรือวัฒนธรรมทุนนิยม โดยมีสื่อเป็น ตัวกลางสาคัญ 4. หมายถึง วัฒนธรรมที่มีแหล่งกาเนิดมาจากประชาชน เป็นวัฒนธรรมขนานแท้และดั้งเดิมของ ประชาชนหรือชาวบ้านร้านตลาดทั่วไป นั่นก็คือ วัฒนธรรมประชาชน เช่น ละครโทรทัศน์น้าเน่า 5. หมายถึง พื้นที่หรืออาณาบริเวณของการต่อสู่ระหว่างพลังของกลุ่มคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบกับ กลุ่มคนที่มีอานาจครอบงาในสังคม ในแง่นี้วัฒนธรรมสมัยนิยมจึงไม่ใช่ทั้งของชนชั้นนา หรือ ชนชั้นผู้ เสียเปรียบ แต่เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากการต่อสู้ ต่อรอง ช่วงชิงทางอุดมการณ์และผลประโยชน์ของคนส่วน ใหญ่ในสังคม เช่น การเรียกร้องสิทธิของกลุ่ม “หญิงรักหญิง” และ “ชายรักชาย” 6. หมายถึง วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นภายหลังการพัฒนาอุตสาหกรรมและการขยายตัวของชุมชนเมือง แง่ นี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อมวลชนและการคมนาคมสื่อสารของโลกสมัยใหม่ที่มีบทบาทสาคัญใน การก่อรูปและขยายตัวของวัฒนธรรมชุมชนเมืองขนาดใหญ่ และเป็นเหมือนกระแส ไม่มีรูปแต่สัมผัสได้ บริโภคได้และใช้มันอยู่ในชีวิตประจาวันได้Pop Culture จะปรากฏอยู่ทั่วไปในหลายรูปแบบได้แก่ วัตถุ สิ่งของ (เช่น เสื้อ สายเดี่ยว กล้องดิจิตอล The Dogตุ๊กตาหมี), รายการโทรทัศน์ เพลง หนังสือนิตยสารที่ ฮ็อตฮิต, พฤติกรรมต่างๆ(เช่น การเต้น Cover การสัก การเจาะ เล่นเกมออนไลน์), เทรนด์(เช่น แอโรบิค อินดี้ ไฮเทคโนโลยี), เหตุการณ์ต่างๆ(เช่น การก่อการร้าย ส่วนตารวจ), บุคคลที่มีชื่อเสียง (เช่น D2B ภราดร เบคแฮม) การทาความเข้าใจวัฒนธรรมสมัยนิยมช่วยให้มองเห็นและเข้าใจกระบวนการสื่อความหมายต่างๆ ในสังคม (Signification) ในระดับที่กว้างมากขึ้นและเห็นเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์เชิงวิภาษวิธีของ เงื่อนไข ปัจจัยและกลุ่มคนในสังคมมากขึ้น วัฒนธรรมสมัยนิยมเป็นส่วนที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เต็มไป