SlideShare a Scribd company logo
1 of 35
Download to read offline
ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ 
วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ 
ชุดที่ ๖ 
การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง 
ภัทรวรรณ ม้าทอง 
ครูชานาญการ 
โรงเรียนดารงราษฎร์สงเคราะห์ 
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๖
คานา 
ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ชุดที่ ๖ การอ่านคิด วิเคราะห์จากบทร้อยกรอง ได้จัดขึ้นเพื่อใช้ในการฝึกทักษะ ด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ ซึ่งจะทำให้นักเรียน สามารถประเมินสิ่งที่อ่านและตัดสินใจว่าสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอมีเหตุผล น่าเชื่อถือหรือไม่ เพียงใด ทั้งนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านรู้จักวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเลือกรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในโลกปัจจุบันได้อย่างมีเหตุผล ขณะเดียวกันก็ยังทำให้นักเรียนมีความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน เสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน และมีความ ภูมิใจในผลงานของตนเอง นอกจากนักเรียนจะได้นำไปฝึกทักษะแล้ว ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ทบทวน เนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนไปแล้ว และใช้สอนซ่อมเสริมนักเรียนที่มีความบกพร่องในทักษะการอ่านด้วย 
หวังว่า ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ ชุดที่ ๑ นี้ คงเอื้อประโยชน์แก่นักเรียน ครูผู้สอน และผู้ที่ สนใจได้เป็นอย่างดี 
ภัทรวรรณ ม้าทอง 
ครูชำนาญการ 
โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
สารบัญ 
เรื่อง หน้า 
คำนำ 
ก 
คำชี้แจงชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง 
กรอบกิจกรรมที่ ๑ ฝึกสมองประลองปัญญา 
กิจกรรมที่ ๑ 
กิจกรรมที่ ๒ 
กิจกรรมที่ ๓ 
กรอบเนื้อหา 
ใบความรู้ที่ ๑ บทร้อยกรอง 
กรอบกิจกรรมที่ ๓ ฝึกวิเคราะห์บทร้อยกรอง 
กรอบกิจกรรมที่ ๔ ตอบคำถามจากบทร้อยกรอง 
แบบทดสอบหลังเรียน 
ภาคผนวก 
เฉลยและแนวการตอบ กรอบกิจกรรมที่ ๑ – ๔ 
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน 
แบบประเมินความสามารถในการเขียนแสดงความคิด 
บรรณานุกรม
คาชี้แจง 
ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๖ มีทั้งหมดจำนวน ๗ ชุด ดังนี้ 
ชุดที่ ๑ การอ่านคิดวิเคราะห์ 
ชุดที่ ๒ การอ่าคิดวิเคราะห์จากข่าว 
ชุดที่ ๓ การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทความ 
ชุดที่ ๔ การอ่านคิดวิเคราะห์จากสารคดี 
ชุดที่ ๕ การอ่านคิดวิเคราะห์จากเรื่องสั้น 
ชุดที่ ๖ การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง 
ชุดที่ ๗ การอ่านคิดวิเคราะห์จากเพลง 
ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ชุดนี้เป็นชุดที่ ๑ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วยกรอบเนื้อหา จำนวน ๒ กรอบ และกรอบกิจกรรมจำนวน ๔ กรอบ
ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง 
วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ 
ส่วนที่ ๑ ประกอบด้วย 
๑. แบบทดสอบหลังเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ 
๑. กรอบเนื้อหา 
๑. กรอบกิจกรรม จำนวน ๔ กรอบ 
๑.๑ มี ๒ ลักษณะ คือ 
๑.๑.๑ ฝึกสมองประลองปัญญา (กระตุ้นให้คิด) 
๑.๑.๒ กิจกรรม 
๑.๒ กิจกรรมการฝึกอ่านการคิดวิเคราะห์ มี ๖ ระดับ 
ระดับที่ ๑ ความรู้ความจำ 
ระดับที่ ๒ ความเข้าใจ 
ระดับที่ ๓ การนำไปใช้ 
ระดับที่ ๔ การวิเคราะห์ 
ระดับที่ ๕ การสังเคราะห์ 
ระดับที่ ๖ การประเมินค่า 
ส่วนที่ ๒ ประกอบด้วย 
๒.๑ ภาคผนวก 
๒.๑.๑ เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน 
๒.๑.๒ เฉลยและแนวการตอบกิจกรรม 
๒.๒ บรรณานุกรม
ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ใช้ประกอบการฝึก ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ อยู่อย่างพอเพียง แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ ๑ ชุดกิจกรรมที่ ๖ การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง เวลาใน การสอนจำนวน ๒ คาบ (๑๐๐ นาที) ใช้สอนในขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนถึงการวัดผลและ ประเมินผล สำหรับการนำชุดกิจกรรมไปใช้ จะยึดตามสาระการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ทั้ง ๗ ชุด จำนวน คาบสอนทั้งหมด ๑๔ คาบ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งเวลาเรียนและนอกเวลา หรือทำเป็นการบ้าน เพื่อเป็นการฝึกทักษะในการเรียนรู้เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ 
ก่อนการทำชุดกิจกรรม นักเรียนควรได้รับคำแนะนำ และคำชี้แจงจากครูให้เข้าใจถึงขั้นตอน และ วิธีการทำชุดกิจกรรมก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติตามคำชี้แจงในแต่ละชุดกิจกรรม 
ข้อสังเกต 
ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ส่วนใหญ่จะเป็น กิจกรรมที่เขียนแสดงความคิดเห็น ดังนั้น แนวการเขียนตอบแสดงความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้สอนควร ใช้ดุลยพินิจในการตรวจคำตอบเมื่อตรวจแล้ว ควรแจ้งให้นักเรียนทราบผลทันทีเพื่อนักเรียนจะได้มีกำลังใจ และครูจะได้นำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อไป
ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ 
วิชาภาษาไทยพื้นฐาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ 
เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง 
จุดประสงค์ของการฝึก 
๑. บอกความสำคัญของวิธีคิดและอ่านคิดวิเคราะห์ได้ 
๒. สามารถปฏิบัติตามหลักและวิธีการอ่านคิดวิเคราะห์ด้ 
๓. สามารถวิเคราะห์ ตรวจสอบ ประเมินและตัดสินใจสิ่งที่อ่านว่านำเสนอมีความน่าเชื่อถือ 
สมเหตุสมผลหรือไม่ และเลือกรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในโลกปัจจุบันได้อย่างมีเหตุผล 
สาระการเรียนรู้ 
๑. ความหมาย ความสำคัญและแนวทางการคิดและการอ่านคิดวิเคราะห์ 
๒. หลักการอ่านคิดวิเคราะห์ 
ลาดับการฝึก 
๑. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน 
๒. นักเรียนทำชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ชุดที่ ๖ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรองแล้ว ตรวจคำตอบ พร้อมเฉลยทีละ กิจกรรมจนครบทั้ง ๔ กรอบกิจกรรม 
๓. ครูสังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียน ขณะทำชุดกิจกรรมพร้อมบันทึกผล การสังเกต 
๔. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 
๕. ครูและนักเรียนร่วมประเมินผลการปฏิบัติงานของนักเรียนจากการทำแบบฝึกหัดและ แบบทดสอบ 
๖. นักเรียนนำผลงานเก็บไว้ในแฟ้มสะสมผลงาน
สื่อประกอบการฝึก 
๑. ชุดกิจกรรมที่ ๖ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง 
๒. ใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง บทร้อยกรอง 
๓. ใบความรู้ที่ ๒ เรื่อง โวหารภาพพจน์ 
๔. ใบความรู้ที่ ๓ เรื่อง ตัวอย่างการวิเคราะห์บทร้อยกรอง 
การวัดผลประเมินผล 
การวัดผล 
สิ่งที่ต้องการวัด 
วิธีวัด 
เครื่องมือวัด 
๑. การอ่านเพื่อวิเคราะห์ ตรวจสอบ ประเมินและ ตัดสินใจสิ่งที่อ่านว่าสิ่งใด ข้อความใด มีความเป็นจริง น่าเชื่อถือ สมเหตุสมผลหรือไม่ 
๒. เจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชา ภาษาไทย 
๑. ตรวจผลงานจากกิจกรรม แบบทดสอบ การอ่านคิดวิเคราะห์ ๒.สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ 
๑. ชุดกิจกรรมคิดวิเคราะห์จากบท ร้อยกรอง วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ 
๒. แบบสังเกตพฤติกรรม การเรียน
เกณฑ์การประเมินผล 
ดีมาก หมายถึง ได้คะแนนร้อยละ ๘๐-๑๐๐ 
ดี หมายถึง ได้คะแนนร้อยละ ๗๐-๗๙ 
พอใช้ หมายถึง ได้คะแนนร้อยละ ๖๐-๖๙ 
ปรับปรุงแก้ไข หมายถึง ได้คะแนนร้อยละ ๕๙ ลงมา 
การประเมินผล 
จากการวัดและประเมินผล นักเรียนที่ถือว่าผ่านเกณฑ์ ต้องได้คะแนนรวมทุกรายการร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
กรอบกิจกรรมที่ ๑ 
ฝึกสมองประลองปัญญา 
กิจกรรมที่ ๑ ให้ดูภาพต่อไปนี้ แล้วทากิจกรรมที่กาหนดให้ (๘ คะแนน) 
๑. นักเรียนคิดว่าคนที่อยู่ในภาพจะมีความรู้สึกหรืออารมณ์เช่นไร 
……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………….. 
๒. สาเหตุที่เกิดเหตุการณ์ในภาพน่าจะเกิดจากอะไรได้บ้าง 
……………………………………………………………………………………………………………… 
……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………….. 
๓. ถ้านักเรียนอยู่เป็นคนที่อยู่ในภาพนักเรียนจะทำอย่างไร 
……………………………………………………………………………………………………………… 
……………………………………………………………………………………………………………… 
๔. จะแก้ปัญหาไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังเช่นในภาพได้อย่างไรบ้าง 
……………………………………………………………………………………………………………… 
……………………………………………………………………………………………………………… 
……………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………………
กิจกรรมที่ ๒ ให้นักเรียนหาคำที่มีความหมายคล้ายกับคำที่กำหนดให้มาเติมลงในตาราง 
ดังตัวอย่าง 
เช้า กลางวัน เย็น กลางคืน อรุณ ........................ ........................ ........................ ........................ ........................ ทิพา ........................ ........................ ........................ ........................ ........................ โพล้เพล้ ........................ ........................ ........................ ........................ ........................ ราตรี ........................ ........................ ........................ ........................ ........................ 
กิจกรรมที่ ๓ ให้ทายปริศนาคาทายต่อไปนี้ (๘ คะแนน) 
น้าอะไรเอ่ย 
(๑) น้า หนึ่งเป็นหนองไหลจากในหู 
(๒) น้า หนึ่งอยู่ใต้ครัวแสนสกปรก 
(๓) น้า จากมดลูกหลังคลอดทารก 
(๔) น้า หนึ่งตกจากผาในป่าดง 
(๕) น้า หนึ่งเค็มช่วยปรุงรสอาหาร 
(๖) น้า ช่วยงานมงคลนิมนต์สงฆ์ 
(๗) น้า ใต้ดินผุดขึ้นมาโดยตรง 
(๘) น้า ดึกลงถึงสานก็หายไป 
คาตอบ 
๑. .................................................. ๕. ............................................................. 
๒. .................................................. ๖. ............................................................. 
๓. ................................................... ๗. ............................................................ 
๔. ................................................... ๘. ............................................................
กรอบเนื้อหา 
ใบความรู้ที่ ๑ 
บทร้อยกรอง 
ความหมายของร้อยกรอง ร้อยกรอง คือ งานเขียนที่มีการเลือกใช้คำ โดยนำมาประกอบกันเข้าตามลักษณะบังคับ อันได้แก่ การบังคับจำนวนคำ เสียงสูง ตํ่า หนัก (ครุ) เบา (ลหุ) เอก โท และสัมผัส ตามรูปแบบ ของร้อยกรองแต่ละ ชนิด ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น กวีนิพนธ์ คำประพันธ์ บทประพันธ์ บทกวี กวีวัจนะ บทกานท์ เป็นต้น 
ลักษณะบังคับของร้อยกรอง ลักษณะบังคับที่ทำให้ร้อยกรองมีลักษณะพิเศษจากข้อเขียนร้อยแก้ว มีอยู่ ๙ ประการ ดังนี้ 
คณะ คือ แบบบังคับที่วางกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คำประพันธ์ชนิดนั้น ๆ แต่ละบทจะมีกี่บาท แต่ละบาท 
จะมีกี่วรรค แต่ละวรรคจะมีกี่คำ เช่น โคลงสี่สุภาพ กำหนดไว้ว่า คณะหนึ่งหรือบทหนึ่งมีสี่บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๒ คำ (พยางค์) ส่วนวรรคหลัง บาทที่ ๔ มี ๔ คำ (พยางค์ ฉะนั้นโคลงสี่สุภาพ ๑ บท จะมี ๓๐ คำ อาจมีคำสร้อยต่อท้ายบาทที่ ๑ ๓ และบังคับเอก ๗ โท ๔ แห่ง ดังนี้เป็นต้น 
สัมผัส คือ ลักษณะบังคับให้ใช้คำที่มีเสียงคล้องจองกัน ซึ่งมี ๒ ชนิดคือ ก. สัมผัสสระ เป็นเสียงที่มีสระ ตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น อ้อน-งอน-ห่อน- ขอน-จร (จราจร)-อุดร- ข. สัมผัสอักษร เป็นคำที่ใช้พยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น รัก-ร้าง-รื่น-ทรวง-ส้ม- ซ่อน- แสง-โทรม-เศร้า-ซวนเซ เป็นต้น สัมผัสยังแบ่งเป็น ๒ ประเภทอีก คือ - สัมผัสนอกวรรค เป็นสัมผัสนอกบังคับ จะเป็นสัมผัสสระเท่านั้น - สัมผัสใน คือ สัมผัสในบังคับ เป็นสัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเดียวกันไม่บังคับว่า จะเป็นสัมผัส 
สระหรือสัมผัสอักษรก็ได้ 
ครุ-ลหุ คือ คำที่มีเสียงหนัก-เบา ใช้ในคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ครุ : เสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในมาตราแม่ ก.กาและมีตัว สะกด รวมทั้งประสมด้วย อำ ไอ ใอ เอา เช่น จำ ได้ ไป เขา รัก ลูก ลหุ : คำที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น เช่น จะ ดุ ติ ผิว กระทะ ฤ ฯลฯ
ครุ-ลหุ มีสัญลักษณ์แทนดังนีัั้ เป็นสัญลักษณ์แทน ครุัุ เป็นสัญลักษณ์แทน ลหุ เอก-โท คือ คำที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์ เอก โท นิยมใช้กับคำประพันธ์ประเภทร่าย โคลง 
คาเป็น - คาตาย ใช้ในโคลง คาเป็น คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เช่น ตา ดี แม้ เสือ ดู และคำที่ประสมด้วยมาตรา ตัวสะกด 
ในแม่กง กน กม เกย เกอว เช่น ลม โชย เย็น ช่าง ชื่นใจ เป็นต้น คาตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นเช่นเดียวกับคำลหุ และคำที่ประสมด้วยมาตรา ตัวสะกดในแม่ กก 
กด กบ เช่น แกลบ เจ็บ โยก หลุด ฤทธิ์ ประจบ เป็นต้น พยางค์หรือคา คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ แต่จะนับแทนที่กันได้ เช่น สมัครสมาน อาจเป็น ๒ ๓ 
หรือ ๔ พยางค์ ในแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน วรรณยุกต์ คือ เสียงสูงตํ่า ตามตำแหน่งของบทประพันธ์ เช่น คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของกลอนจะต้องใช้ 
เสียงสูง ตัวอย่างเช่น งานวันเกิดยิ่งใหญ่ใครคนนั้น ฉลองกันในกลุ่มผู้ลุ่มหลง หลงลาภยศ สรรเสริญ เพลินทะนง วันเกิดส่งชีพสั้นเร่งวันตาย อีกมุมหนึ่ง ซึ่งเหงาน่าเศร้าแท้ หญิงแก่แก่ทั้งเหงาและคอยหาย โอ้วันนั้นเป็นวันอันตราย แม่คลอดสายโลหิตแทบปลิดชนม์ คำว่า หลง หาย ต่างมีวรรณยุกต์เสียงสูง ตาย ชนม์ ต่างมีวรรณยุกต์เสียงสามัญ เป็นต้น คานา คือ คำที่กล่าวขึ้นต้นในบทนำของคำประพันธ์ เช่น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป สักวา เป็นต้น คาสร้อย คือ คำที่ใช้ลงท้ายบทหรือบาทของร้อยกรอง เพื่อให้ความสมบูรณ์ หรือบอกความรู้สึกให้เกิด 
ไพเราะ นิยมใช้คำเป็น เช่น พี่เอย แฮ แลนา ก็ดี เป็นต้น
ร้อยกรองจำแนกออกได้เป็น ๕ ประเภท คือ กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย ซึ่งแต่ละประเภทก็ยังแบ่ง ออกเป็นชนิดย่อย ๆ ดังนี้ ๑. กาพย์ แบ่งเป็น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ขับไม้ ๒. กลอน มีกลอนแปด กลอนหก ดอกสร้อย กลอนสักวา กลอนเพลงยาว เสภา นิราศ กลอนบทละคร 
กลอนเพลง ปฏิพากย์ และกลอนกลบทแบบต่าง ๆ ๓. โคลง โคลงสอง โคลงสาม โคลงสี่ โคลงดั้น โคลงกระทู้ โคลงกลอักษร ๔. ฉันท์ เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ ภุชงคประยาตฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ อิทิสังฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ เป็นต้น ๕. ร่าย ร่ายโบราณ ร่ายดั้น ร่ายสุภาพ ร่ายยาว 
ประโยชน์และคุณค่าของบทร้อยกรอง พระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ “ข้าพเจ้าผู้หนึ่ง เป็น ผู้เชื่อมั่นอยู่ว่าจินตกวีนิพนธ์ เป็นสิ่งซึ่งให้ผลดีหลายประการ” อาจจะได้รับประโยชน์และคุณค่าของ บทร้อยกรอง ดังนี้ ๑. สบายใจ คล้าย ๆ ฟังเพลงบรรเลง ๒. เพลิดเพลิน ทำให้ลืมสิ่งซึ่งระคายเคืองใจอยู่บ้างได้ชั่วคราว ๓. ได้ฟังโวหารอันแปลก ๔. ได้ทราบความคิดของผู้แต่ง ส่วนผู้แต่งก็ได้รับผลดีเหมือนกัน กล่าวคือ ๑. สบายใจ คล้ายผู้ที่เล่นดนตรี ตีพิณพาทย์ ๒. เพลิดเพลิน เพราะใช้สมองในทางที่นึกถ้อยคำอันไพเราะ ๓. ต้องขะมักเขม้นแสดงโวหารให้แปลก ๔. มีโอกาสได้แสดงความคิดให้ผู้อื่นฟัง นับว่าผู้แต่งทำความพอใจให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้อีกเป็นอันมาก และควรจะคิดถึงผู้อ่าน มากกว่าตัวเอง คือ ควรจะเพ่งเล็งให้ผู้อ่านเข้าใจ และฟังเพราะมากกว่าที่จะอวดความเก่ง ของตนเอง
ใบความรู้ที่ ๒ 
โวหารภาพพจน์ 
โวหารภาพพจน์ คือ ถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพในใจเกิดจินตนาการ มีความสำคัญคือ ช่วยเสริมให้ สำนวนโวหารดีขึ้นเกิดภาพในใจชัดเจน โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นนามธรรมจะเกิดรูปธรรมชัดเจน 
ประเภทของโวหารภาพพจน์ มีหลายชนิด แต่ที่นิยมมี ๘ ชนิด คือ อุปมา อุปลักษณ์ สัญลักษณ์ บุคลาธิษฐาน ปฏิพากย์ สัทพจน์ นามนัย 
อุปมา 
อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำ ว่า “เหมือน” เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ 
ตัวอย่าง ปัญญาประดุจดังอาวุธ 
ไพเราะกังวานปานเสียงนกร้อง 
ท่าทางหล่อนราวกับนางพญา 
อุปลักษณ์ 
อุปลักษณ์ คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่ง เป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง ที่สำคัญ อุป ลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา 
ตัวอย่าง 
ขอเป็นเกือกทองรองบาทา ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย 
ทหารเป็นรั้วของชาติ 
เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด 
เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์ 
ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ 
ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ
สัญลักษณ์ 
สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆ หนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะ เป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป 
ตัวอย่าง 
เมฆหมอก แทน อุปสรรค กุหลาบแดง แทน ความรัก 
หงส์ แทน คนชั้นสูง สีดำ แทน ความตาย ความชั่วร้าย 
บุคลาธิษฐาน (บุคคลวัต) 
บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต คือการกล่างถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว์ โดยให้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ แสดงกิริยาอาการและ ความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์ 
(บุคลาธิษฐาน มาจากคำว่า บุคคล + อธิษฐาน หมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล) 
ตัวอย่าง 
มองซิ...มองทะเล 
เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน 
บางครั้งมันบ้าบิ่น 
กระแทกหินดังครืนครืน 
ทะเลไม่เคยหลับใหล 
ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น 
บางครั้งยังสะอื้น 
ทะเลมันตื่นอยู่รํ่าไป 
อติพจน์ 
อติพจน์ หรือ อธิพจน์ คือ โวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ ลึกซึ้ง ภาพพจน์ที่นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดง ความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน 
ตัวอย่าง 
คิดถึงใจแทบขาด 
หนาวกระดูกจะหลุด 
คอแห้งเป็นผง 
การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า 
ร้อนตับจะแตก 
คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก
ปฏิพากย์ 
ปฏิพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าวอย่างกลมกลืนกัน เพื่อเพิ่มความหมายให้มีนํ้าหนักมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น 
เลวบริสุทธิ์ บาปบริสุทธิ์ สวยเป็นบ้า สวยอย่างร้ายกาจ สนุกฉิบหาย สวรรค์บนดิน 
สัทพจน์ 
สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงนํ้าไหล ฯลฯ 
การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริงๆ 
ตัวอย่าง 
เปรี้ยงๆ ดังเสียงฟ้าฟาด 
ตะแลกแต๊กแต๊ก ตะแลกแต๊กแต๊ก กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์ 
นํ้าพุพุ่งซ่า ไหลมาฉาดฉาน เห็นตระการ เสียงกังวาน 
มันดังจอกโครม จอกโครม มันดังจอก จอก โครม โครม 
บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว 
นามนัย 
นามนัย คือ การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้ายๆ สัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าว ให้หมายถึงส่วน ทั้งหมด 
ตัวอย่างเช่น 
ทีมกังหันลม หมายถึง ทีมเนเธอแลนด์ 
ทีมสิงโตคำราม หมายถึง อังกฤษ 
ฉัตร หมายถึง กษัตริย์ 
เก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่ง 
มือที่สาม หมายถึง ผู้ก่อความเดือดร้อน
ใบความรู้ที่ ๓ 
ตัวอย่างการวิเคราะห์บทร้อยกรอง 
เข้าเกวียนหนึ่งนั้นท่านว่า เป็นสองบั้นมา 
บั้นหนึ่งสี่สิบสัด 
สัดหนึ่งยี่สิบทะนานชัด ทะนานหนึ่งสังกัด 
สองจังออนจดจำไว้ 
จังออนหนึ่งสี่กำมือได้ กำมือหนึ่งไซร้ 
สี่ใจมือตามมา 
ใจมือหนึ่งนั้นท่านว่า ร้อนเมล็ดเข้าหนา 
นับด้วยตวงเพียงนี้แล 
มูลบทบรรพกิจ : พระศรีสุนทรโวหาร 
การวิเคราะห์บทร้อยกรองแบบ ๕Ws๑H โดยใช้ตาราง 
เหตุการณ์ ใคร ทาอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทาไม อย่างไร อัตราการตวงข้าวของ คนไทยในสมัย โบราณกำหนดว่า ข้าวหนึ่งเกวียนเป็น สองบั้น หนึ่งบั้นเป็น สี่สิบสัด หนึ่งสัด เท่ากับยี่สิบทะนาน หนึ่งทะนานเป็นสอง จังออน หนึ่งจังออน คือสี่กำมือ หนึ่งกำมือ เท่ากับสี่ใจมือ หนึ่งใจ มือเปรียบประมาณ ข้าวร้อยเมล็ด คนไทย ตวงข้าว ใน ประเทศ ไทย ในสมัย โบราณ คนไทยใน สมัยโบราณมี อาชีพทำนา เป็นอาชีพ หลัก จึงต้อง มีการตวง ผลผลิต กำหนดอัตราการ ตวงข้าวไว้ว่า ข้าว หนึ่งเกวียนเป็น สองบั้น หนึ่งบั้น เป็นสี่สิบสัด หนึ่ง สัดเท่ากับยี่สิบ ทะนาน หนึ่ง ทะนานเป็นสอง จังออน หนึ่ง จังออนคือสี่กำมือ หนึ่งกำมือเท่ากับสี่ ใจมือ หนึ่งใจมือ เปรียบประมาณ ข้าวร้อยเมล็ด
การวิเคราะห์บทร้อยกรอง 
โดยใช้แผนภาพความคิดแก้ปัญหาแบบ ๕Ws๑H 
ใคร : คนไทย ทาอะไร : ตวงข้าว 
ที่ไหน : ประเทศไทย อัตรา เมื่อไหร่ : สมัยโบราณ 
การตวงข้าว 
อย่างไร : กำหนดอัตราการตวงข้าว ทำไม : คนไทยในสมัย 
ไว้ว่า ข้าวหนึ่งเกวียนเป็นสองบั้น โบราณมีอาชีพทำนา 
หนึ่งบั้นเป็นสี่สิบสัด หนึ่งสัดเท่ากับ เป็นอาชีพหลัก จึงต้อง 
ยี่สิบทะนาน หนึ่งทะนานเป็นสอง มีอัตราการตวงผลผลิต 
จังออน หนึ่งจังออนคือสี่กำมือ 
หนึ่งกำมือเท่ากับสี่ใจมือ หนึ่งใจมือ 
เปรียบประมาณข้าวร้อยเมล็ด
กรอบกิจกรรมที่ ๒ 
กิจกรรมที่ ๑ ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองต่อไปนี้ แล้วเขียนแผนภาพความคิด (Mind Map) แบบ 
การแก้ปัญหา 
ใบไม้ที่หายไป 
ดอกไม้ ดอกไม้จะบาน บริสุทธิ์กล้าหาญ จะบานในใจ สีขาว หนุ่มสาวจะใฝ่ แน่วแน่แก้ไข จุดไฟศรัทธา เรียนรู้ ต่อสู้มายา ก้าวไปข้างหน้า เข้าหามวลชน ชีวิต อุทิศยอมตน ฝ่าความสับสน เพื่อผลประชา ดอกไม้ บานให้คุณค่า จงบานช้าช้า แต่ว่ายั่งยืน 
ที่นี่ และที่อื่นอื่น 
ดอกไม้สดชื่น ยื่นให้มวลชน 
จิระนันท์ พิตรปรีชา
ดอกไม้ที่หายไป 
ใคร : 
อะไร : 
ปัญหา 
ทาไม : 
วิธีการ ผล 
๑. ๑. 
แนวทางแก้ปัญหา ๒. ๒. 
๓. ๓. 
ผลลัพธ์
กิจกรรมที่ ๒ ให้นักเรียนเขียนแผนภาพความคิดจากบทร้อยกรอง จดหมายถึงบัณฑิต โดยนำคำสำคัญ 
ไว้ตรงกลาง 
จดหมายถึงบัณฑิต 
บัณฑิต 
ผลผลิตแห่งสถานการศึกษา 
หลายปีก่อนมือเปล่าเธอก้าวมา 
ถึงเวลาก้าวไปรับใช้คน 
ศึกษาศาสตรบัณฑิตคิดให้มาก 
งานเธอยากแต่ยิ่งใหญ่ได้กุศล 
ตาดำดำทำเธอสุขและทุกข์ทน 
ถ้ากลัวจนแล้วอย่ามาเป็นครู 
นิติศาสตรบัณฑิตคิดไหมว่า 
โชคชะตาคนทั้งสองเธอครองอยู่ 
พิทักษ์สิทธิ์พิชิตโศกให้โลกรู้ 
เชิดตราชูยุติธรรม์จนวันตาย 
วิทยาการจัดการงานผลิต 
ธุรกิจสูงสุดใช่จุดหมาย 
ต้องสร้างสรรค์งานประชาที่ท้าทาย 
รับแล้วจ่ายคืนกำไรให้สังคม 
แพทยศาสตร์พยาบาลงานเธอหนัก 
ใช่หนทางดาราน่าพิสมัย 
เธอจงเป็นนกพิราบตามใบไม้ 
สื่อหัวใจสู่สอนแห่งมวลชน 
บัณฑิตเอ๋ยบัณฑิตใหม่จงได้คิด 
อย่ายึดติดแก่กระดาษขาดเหตุผล 
ชีวิตจริงยิ่งต้องเข้มต้องเต็มคน 
พร้อมผจญปลดครุยลงลุยโคลน 
รวมบทกวีนิพนธ์ สร้อยเม็ดทราย : นภาลัย สุวรรรณธาดา
บัณฑิต
กรอบกิจกรรมที่ ๓ 
กิจกรรมที่ ๑ 
ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรอง วักทะเล แล้วตอบคำถาม 
วักทะเล 
วักทะเลเทใส่จาน รับประทานกับข้าวขาว เอื้อมเก็บบางดวงดาว ไว้คลุกข้าวซาวเกลือกินฯ ดูปูหอยเริงระบำ เต้นรำทำเพลงวังเวงสิ้น กิ้งก่ากิ้งกือบิน ไปกินตะวันและจันทร์ฯ คางคกขึ้นวอทอง ลอยล่องท่องเที่ยวสวรรค์ อึ่งอ่างไปด้วยกัน เทวดานั้นหนีเข้ากะลาฯ ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว อัปสรหนาวสั่นชั้นฟ้า ทุกจุลินทรีย์อมิบ้า เชิดหน้าได้ดิบได้ดีฯ เทพไท้เบื่อหน่ายวิมาน ทะยานลงดินมากินขี้ ชมอาจมว่ามี รสวิเศษสุดที่กล่าวคำฯ ป่าสุมทุมพุ่มไม้ พูดได้ปรัชญาลึกลํ้า ขี้เลื่อยละเมอทำ คำนวณนํ้าหนักแห่งเงาฯ วิเศษใหญ่ใคร่เสวยฟ้า อยู่หล้าเหลวเลวโง่เขลา โลภโกรธหลงมอมเมา งั่งเอาเถิดประเสริฐเอยฯ 
อังคาร กัลยาณพงศ์ 
๑. บทร้อยกรองนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด 
............................................................................................................................................................ 
๒. ผู้แต่งใช้โวหารภาพพจน์ชนิดใดบ้าง ยกตัวอย่างคำประพันธ์ประกอบ 
........................................................................................................................................................... 
............................................................................................................................................................ 
............................................................................................................................................................
๓. ผู้เขียนแสดงแนวความคิดอย่างไร 
........................................................................................................................................................... 
............................................................................................................................................................ 
............................................................................................................................................................ 
กิจกรรมที่ ๒ ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรอง มหาวิทยาลัยชีวิต แล้วตอบคำถาม 
มหาวิทยาลัยชีวิต 
การเรียนรู้มิใช่เพียงได้เรียน 
การอ่านเขียนมิใช่เพียงได้ผ่าน 
มีความรู้มากมายให้จดจาร เ 
เพียง”รักอ่านรักเขียนรักเรียนรู้” 
ยินดีกับผู้ผ่านการสอบเข้า 
ยังต้องเฝ้าต้องรอต้องต่อสู้ 
มีสิ่งใหม่ให้ต้องลองทำดู 
ล้วนเป็นครูด้านกลับให้ปรับตน 
ผู้ไม่ผ่านก็ไม่ใช่ไร้โอกาส 
ความสามารถนั้นมิอาจจะวัดผล 
เมื่อกล้าก้าวกล้านำไม่จำนน 
ย่อมบันดลทางชัยในชีวิต 
มหาวิทยาลัยในตัวเรา 
จะสอบเข้าไม่เข้าเรามีสิทธิ์ 
เสมอกันทุกขั้นตอนพรพิชิต 
คือ “รักคิด อ่านเขียน รักเรียนรู้” 
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
๑. ผู้ประพันธ์ได้กล่าวถึงชีวิตการเรียนในมหาวิทยาลัยไว้ว่าอย่างไรบ้าง 
............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 
............................................................................................................................................................. 
๒. ผู้ประพันธ์ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับผู้สอบเข้ามหาวิทยาลัยไว้ว่าอย่างไรบ้าง 
............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 
............................................................................................................................................................. 
๓. ผู้ประพันธ์ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับการเรียนรู้ในปัจจุบันไว้ว่าอย่างไรบ้าง 
............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 
............................................................................................................................................................. 
๔ . จากการอ่านบทร้อยกรอง “มหาวิทยาลัยชีวิต” นักเรียนสามารถนำเอาข้อคิดที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิต 
ได้อย่างไรบ้าง 
............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 
............................................................................................................................................................. 
๕. นักเรียนเห็นด้วยกับทรรศนะที่ผู้ประพันธ์ได้กล่าวไว้หรือไม่ อย่างไร 
............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 
.............................................................................................................................................................
กรอบกิจกรรมที่ ๔ 
คาชี้แจง ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถาม 
ตั้งแต่ ข้อ ๑ – ๖ ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรอง ไหมแท้ที่แม่ทอ แล้วตอบคำถาม 
ไหมแท้ที่แม่ทอ 
แม่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมตั้งใจนัก เรี่ยวแรงรักแม่ใช้เพื่อใฝ่ฝัน อีกสาวไหมด้วยมือซื่อสัตย์นั้น ทั้งทอมันละเมียดละไมใช้เวลา 
สื่อวิญญาณผ่านมือสู่เส้นไหม แต่ละใยแต่ละเส้นเป็นเนื้อผ้า ตีนที่ใช้กระตุกกี่คือชีวา มือที่คว้ากระสวยวาดคือชีวิต ผ้าขาวม้าผืนใหม่แม่ให้ลูก รักพันผูกทุกใยไหมวิจิตร ใยไหมโยงใจแม่เนรมิต ไหมอุทิศแม่ก็ทอต่อตำนาน ลูกก็ถือผ้าทอที่แม่ให้ เป็นเยื่อใยไหมและแม่ที่กล้าหาญ ผ้าทั้งผืนมีชีวิตจิตวิญญาณ ถักประสานสอดสร้างอย่างแยบยล มือน้อยน้อยของแม่ดูแค่นี้ เคยเฆี่ยนตีลูกบ้างในบางหน แต่มือเดียวกันนี้แหละสู้ทน ประคองลูกให้พ้นภยันตราย แหละมือนี้ที่บันดาลงานชีวิต มิเคยคิดค่าแรงแข่งซื้อขาย ยังถักทอ ทรมาน์ยังท้าทาย ยังมั่นหมายผ้าไหมผืนใหม่มา พร้อมทั้งสอนลูกสาวเจ้าศรีเรือน อยู่เป็นเพื่อนแม่ทอปรารถนา เพื่อสืบทอดแรงงานกาลเวลา ก่อนมือแม่จะอ่อนล้าต้องลาพัก และสอนเจ้าลูกชายให้ทระนง รักแม่ก็ขอจงทำงานหนัก ด้วยละเอียดอ่อนในเยื่อใยรัก พลีชีวิตเพื่อถักและทอไท 
สักวันหนึ่งถึงไม่มีชีวิตแม่ ลูกที่แท้ก็คงทอสืบต่อได้ แม่ก็ทอลูกก็ทอต่อเส้นใย ผ้าชีวิตผืนใหม่จะต้องงาม 
ไพวรินทร์ ขาวงาม
๑. สาระสำคัญของบทร้อยกรองนี้กล่าวถึงสิ่งใด 
๑. อาชีพของแม่ 
๒. ฝีมือทอผ้าของแม่ 
๓. ความรักลูกของแม่ 
๔. ความลำบากของแม่ 
๒. แม่ต้องการให้ลูกตระหนักในคุณค่าของสิ่งใด 
๑. การประกอบอาชีพด้านการเกษตร 
๒. การรู้จักประกอบอาชีพที่สุจริต 
๓. การรักษาวัฒนธรรมถ้องถิ่น 
๔. การแสดงออกซึ่งความรักและความมีนํ้าใจต่อแม่ 
๓. “ไหมแท้ที่แม่ทอ” หมายถึงอะไร 
๑. ผ้าขาวม้าผืนใหม่ 
๒. ผ้าทอลวดลายใหม่ 
๓. ชีวิตของแม่ 
๔. อนาคตของลูก 
๔. คุณลักษณะใดของแม่ที่ได้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ในบทร้อยกรอง 
๑. ความเพียรพยายาม 
๒. ความเข้มแข็ง 
๓. ความซื่อสัตย์ 
๔. ความอ่อนน้อมถ่อมตน 
๕. รสของบทร้อยกรองนี้ได้แก่รสใด 
๑. รสแห่งความเศร้า 
๒. รสแห่งความรัก 
๓. รสแห่งความกล้าหาญ 
๔. รสแห่งความหดหู่ ท้อแท้ 
๖. บทร้อยกรอง “ไหมแท้ที่แม่ทอ” มีคุณค่าด้านใด 
๑. คุณค่าด้านอารมณ์ 
๒. คุณค่าทางปัญญา 
๓. คุณค่าทางด้านจิตนาการ 
๔. คุณค่าทางด้านคุณธรรม
ตั้งแต่ข้อ ๗ – ๑๐ ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม 
แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม ก็จงยอมเป็นเพียงลดาขาว 
แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา 
แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงศักดิ์ ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา 
แม้มิได้เป็นนํ้าแม่คงคา จงเป็นธาราใสที่ไหลเย็น 
แม้มิได้เป็นมหาหิมาลัย จงพอใจจอมปลอกที่แลเห็น 
แม้มิได้เป็นวันพระจันทร์เพ็ญ ก็จงเป็นวันแรมที่แจ่มจาง 
แม้มิได้เป็นต้นสนระหง จงเป็นพงอ้อสะบัดไม่ขัดขวาง 
แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง จงเป็นนางที่มีใช่ไร้ความดี 
อันจะเป็นสิ่งใดไม่ประหลาด กำเนิดชาติดีทรามตามวิถี 
ถือสันโดษบำเพ็ญให้เด่นดี ในสิ่งที่เราเป็นเช่นนั้นเทอญ 
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ 
๗. สาระสำคัญของบทร้อยกรองนี้คือข้อใด 
๑. จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด 
๒. จงฝันในสิ่งที่เป็นไปได้ 
๓. จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ 
๔. ควรดำรงชีวิตอย่างพอเพียง 
๘. บทร้อยกรองข้างต้นนี้ใช้โวหารภาพพจน์เด่นที่สุด คือข้อใด 
๑. อุปมา ๒. อุปลักษณ์ 
๓. บุคคลวัต ๔. สัญลักษณ์ 
๙. ควรตั้งชื่อบทร้อยกรองนี้ว่าอย่างไร 
๑. ขอเพียงได้ดังใจปรารถนา 
๒. ความฝันกับความจริง 
๓. ปรับตัว – ปรับใจ 
๔. พอใจ – ให้สุข
๑๐. จากบทร้อยกรองสามารถนำข้อคิดไปปรับใช้ในชีวิตได้อย่างไร 
๑. ไม่ต้องดิ้นรนเพราะทุกคนต้องตาย 
๒. หยิ่งในศักดิ์ศรีของตน ไม่ควรง้อใคร 
๓. พอใจในสิ่งที่ตนเป็นอยู่และดำเนินชีวิตให้มีคุณค่า 
๔. ถึงแม้จะเกิดมาตํ่าต้อย หากมีความพยายามย่อมประสบความสำเร็จ
แบบทดสอบหลังเรียน 
เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง 
คาชี้แจง 
๑. แบบทดสอบหลังเรียนฉบับนี้ ใช้ทดสอบความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ หลังการฝึก กิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ ชุดที่ ๖ เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง เป็นแบบทดสอบ ปรนัยแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จานวน ๑๐ ข้อ ข้อละ ๑ คะแนน ใช้เวลาในการทดสอบ ๑๕ นาที 
๒. ให้นักเรียนอ่านข้อคาถามและคาตอบให้ละเอียด แล้วเลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบ 
เดียวแล้วนาไปตอบลงในกระดาษคาตอบ โดยทาเครื่องหมาย X ลงในช่องตัวเลือกที่ต้องการ 
๓. ให้นักเรียนทาแบบทดสอบให้ครบทุกข้อ 
อ่านร้อยกรองต่อไปนี้แล้วตอบคาถามข้อ ๑ – ๓ 
ใครไม่มี “วันนี้” ไม่มีรู้ มันปวดร้าวหดหู่สิ้นสุขสม 
อยู่ยิ่งแหนงนานยิ่งหน่ายหลายอารมณ์ ทุกข์ระทมตามยถาหมดอาลัย 
เหมือนไม้งามยามแรกแตกกิ่งก้าน ใบดอกบานงามหรูดูไสว 
ไม่นานวันพลันทิ้งกิ่งก้านใบ กลายเป็น “ไม้ใกล้ฝั่ง” ไม่ยั่งยืน 
๑. ข้อความนี้มีลักษณะเด่นในเรื่องใดมากที่สุด 
๑. การเล่นคำ ๒. การสัมผัสใน 
๓. การเปรียบเทียบ ๔. การสัมผัสอักษร
๒. ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร 
๑. ชี้แนะ ๒. ห่วงใย 
๓. เตือนสติ ๔. สั่งสอน 
๓. ร้อยกรองข้างต้นผู้เขียนต้องการให้ข้อคิดในเรื่องใดบ้าง 
๑. ควรเอาใจใส่ต่อผู้สูงอายุ 
๒. สังขารมนุษย์เป็นสิ่งไม่จีรัง 
๓. ไม่ควรประมาทกับการใช้ชีวิต 
๔. ทุกชีวิตเกิดมาย่อมหนีไม่พ้นความตาย 
อ่านบร้อยกรองต่อไปนี้แล้วตอบคาถาม ข้อ ๔ – ๕ 
เสียงปืนที่ดังลั่น 
ตัวแม่นั้นต้องสิ้นใจ 
ลูกน้อยที่กอดไว้ 
กระดอนไปเพราะแรงปืน 
ฝืนใจเข้ากอดแม่ 
หวังแก้ให้แม่ฟื้น 
แม่จ๋าเพราะเสียงปืน 
จึงไม่ตื่นชีวิตมา 
โทษใดจึงประหาร 
ศาลไหนพิพากษา 
ถ้าลูกท่านเป็นสัตว์ป่า 
ใครเข่นฆ่าท่านยอมไหม 
ชีวิตใครใครก็รัก 
ท่านประจักษ์บ้างหรือไม่ 
โปรดเถิดจงเห็นใจ 
สัตว์ป่าไซร้ก็เหมือนกัน 
สืบ นาคะเสถียร 
๔. เหตุการณ์ใดควรเกิดขึ้นก่อน 
๑. แม่อุ้มลูก ๒. เสียงปืนดัง 
๓. แม่สิ้นใจ ๔. ลูกกอดแม่ 
๕. ใจความสำคัญที่สุดของบทร้อยกรองข้างต้นคือข้อใด 
๑. เสียงปืนที่ดังลั่น ตัวแม่นั้นต้องสิ้นใจ 
๒. ถ้าลูกท่านเป็นสัตว์ป่า ใครเข่นฆ่าท่านยอมไหม 
๓. ชีวิตใคร ใครก็รัก ท่านประจักษ์บ้างหรือไม่ 
๔. โปรดเถิดจงเห็นใจ สัตว์ป่าไซร้ก็เหมือนกัน
อ่านบทประพันธ์ต่อไปนี้แล้วตอบคาถามข้อ ๖ - ๗ 
๖. จากบทประพันธ์ข้างต้นผู้เขียนใช้โวหารประเภทใด 
๑. บรรยายโวหาร 
๒. พรรณนาโวหาร 
๓. เทศนาโวหาร 
๔. สาธกโวหาร 
๗. ถ้านักเรียนปฏิบัติตามบทประพันธ์นักเรียนจะเป็นคนเช่นใด 
๑. ไม่ทันโลกทันเหตุการณ์ 
๒. มีชีวิตที่ไร้รสชาติ 
๓. ชีวิตมีความสุขไม่เดือดร้อน 
๔. ชีวิตตกตํ่า 
ปิด ปิด ตา : อย่าสอดส่ายให้เกินเหตุ 
บางประเภท แกล้งทำตาบอด ยอกุศล 
มัวสอดรู้ สอดเห็น จะเป็นคน 
เอาไฟลน ตนไป จนไหม้พอง 
ปิด ปิด หู : อย่าใส่แส่ ไปฟังเรื่อง 
ที่เป็นเครื่องกวนใจ ให้หม่นหมอง 
หรือเร้าใจให้ฟุ้งซ่าน พาลลำพอง 
ผิดทำนอง คนฉลาด อนาถใจ 
ปิด ปิด ปาก : อย่าพูดมาก เกินจำเป็น 
จะเป็นคน ปากเหม็น เขาคลื่นไส้ 
ต้องเกิดเรื่อง เยิ่นเย้อ เสมอไป 
ถ้าหุบปาก มากไว้ ได้แท่งทองฯ 
หัวข้อธรรมในคากลอน : พุทธทาสภิกขุ
อ่านบทร้อยกรองต่อไปนี้แล้วตอบคาถามข้อ ๘ – ๑๐ 
การเมืองต้องเป็นเรื่องการเสียสละ 
การเมืองคือภาระของทุกผู้ 
การเมืองเรื่องส่วนรวมร่วมรับรู้ 
การเมืองต้องต่อสู้เพื่อส่วนรวม 
การเมืองต้องมีธรรมเป็นเข็มทิศ 
การเมืองต้องมีจิตสำนึกร่วม 
การเมืองต้องโปร่งใสไม่กำกวม 
การเมืองต้องท้นท่วมศรัทธาอุทิศ 
การเมืองต้องเคารพความเห็นต่าง 
การเมืองต้องสรรค์สร้างเสรีสิทธิ์ 
การเมืองคืออำนาจขจัดพิษ 
การเมืองคือชีวิตประชาชน !. 
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ 
๘. “การเมืองคืออำนาจขจัดพิษ” มีความหมายตรงกับข้อใด 
๑. ทำสิ่งไม่ดีให้เป็นสิ่งดี 
๒. การเมืองเหมือนกับยาถอนพิษ 
๓. คือการขจัดอำนาจจากพวกนายทุน 
๔. มีอำนาจที่สามารถขจัดสิ่งที่ไม่ดีต่างๆได้ 
๙. ผู้แต่ง แต่งด้วยนํ้าเสียงในข้อใด 
๑. ตำหนิ ๒. ตักเตือน 
๓. เรียกร้อง ๔. เชิญชวน 
๑๐. บทร้อยกรองนี้มีลักษณะเด่นอย่างไร 
๑. การใช้คำซํ้า ๒. ให้ข้อคิดสอนใจ 
๓. ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ๔. มีสัมผัสในไพเราะ
ภาคผนวก

More Related Content

What's hot

บัตรลงคะแนน2
บัตรลงคะแนน2บัตรลงคะแนน2
บัตรลงคะแนน2Pattama Poyangyuen
 
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป.4
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป.4แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป.4
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป.4Sasiprapha Srisaeng
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4Thanawut Rattanadon
 
การติดต่อสื่อสารในองค์กร
การติดต่อสื่อสารในองค์กรการติดต่อสื่อสารในองค์กร
การติดต่อสื่อสารในองค์กรChainarong Maharak
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีMilky' __
 
ฮิสโทแกรม
ฮิสโทแกรมฮิสโทแกรม
ฮิสโทแกรมkrookay2012
 
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...คำเมย มุ่งเงินทอง
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆNaphachol Aon
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยพัน พัน
 
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheetใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheetPrachoom Rangkasikorn
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยNook Kanokwan
 
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5Wuttipong Tubkrathok
 
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับแบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับบุญรักษา ของฉัน
 
คำถามพร้อมตอบ อิเหนา-ตอน-ศึกกะหมังกุหนิง
คำถามพร้อมตอบ อิเหนา-ตอน-ศึกกะหมังกุหนิงคำถามพร้อมตอบ อิเหนา-ตอน-ศึกกะหมังกุหนิง
คำถามพร้อมตอบ อิเหนา-ตอน-ศึกกะหมังกุหนิงWan Wan
 
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าวหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าวChainarong Maharak
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจDuangnapa Inyayot
 
เเนวคิดเชิงนามธรรม
เเนวคิดเชิงนามธรรมเเนวคิดเชิงนามธรรม
เเนวคิดเชิงนามธรรมJanchai Pokmoonphon
 
ใบความรู้คู่อันดับและกราฟ
ใบความรู้คู่อันดับและกราฟใบความรู้คู่อันดับและกราฟ
ใบความรู้คู่อันดับและกราฟJiraprapa Suwannajak
 

What's hot (20)

บัตรลงคะแนน2
บัตรลงคะแนน2บัตรลงคะแนน2
บัตรลงคะแนน2
 
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป.4
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป.4แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป.4
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป.4
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
 
การติดต่อสื่อสารในองค์กร
การติดต่อสื่อสารในองค์กรการติดต่อสื่อสารในองค์กร
การติดต่อสื่อสารในองค์กร
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรี
 
ฮิสโทแกรม
ฮิสโทแกรมฮิสโทแกรม
ฮิสโทแกรม
 
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆ
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
 
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheetใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทยโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องสื่อการสอนภาษาไทย
 
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
 
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับแบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเกี่ยวกับ
 
คำถามพร้อมตอบ อิเหนา-ตอน-ศึกกะหมังกุหนิง
คำถามพร้อมตอบ อิเหนา-ตอน-ศึกกะหมังกุหนิงคำถามพร้อมตอบ อิเหนา-ตอน-ศึกกะหมังกุหนิง
คำถามพร้อมตอบ อิเหนา-ตอน-ศึกกะหมังกุหนิง
 
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าวหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
 
เเนวคิดเชิงนามธรรม
เเนวคิดเชิงนามธรรมเเนวคิดเชิงนามธรรม
เเนวคิดเชิงนามธรรม
 
12. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
12.  บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล12.  บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
12. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
 
สารบัญ.
สารบัญ.สารบัญ.
สารบัญ.
 
ใบความรู้คู่อันดับและกราฟ
ใบความรู้คู่อันดับและกราฟใบความรู้คู่อันดับและกราฟ
ใบความรู้คู่อันดับและกราฟ
 

Similar to 202

แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)Sommawan Keawsangthongcharoen
 
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนKrooIndy Csaru
 
4 บทความ
4 บทความ4 บทความ
4 บทความKo Kung
 
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯการอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯsompoy
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการสื่อสารอย่างสรา้งสรรค์
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการสื่อสารอย่างสรา้งสรรค์รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการสื่อสารอย่างสรา้งสรรค์
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการสื่อสารอย่างสรา้งสรรค์Wichai Likitponrak
 
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...sornordon
 
5 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 5.3 วิเคราะห์เนื้อหา
5 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 5.3 วิเคราะห์เนื้อหา5 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 5.3 วิเคราะห์เนื้อหา
5 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 5.3 วิเคราะห์เนื้อหาJoice Naka
 
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้าKruthai Kidsdee
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1tongcuteboy
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1tongcuteboy
 
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอทีสมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอทีPakornkrits
 
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...สุธารักษ์ พันธ์วงศ์รัตน์
 
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...สุธารักษ์ พันธ์วงศ์รัตน์
 
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนKrooIndy Csaru
 
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ สาระสุขฯ
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ สาระสุขฯบทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ สาระสุขฯ
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ สาระสุขฯสุธารักษ์ พันธ์วงศ์รัตน์
 
หลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียนหลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียนPitima Boonprasit
 

Similar to 202 (20)

แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
 
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
 
4 บทความ
4 บทความ4 บทความ
4 บทความ
 
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯการอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯ
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณฯ
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการสื่อสารอย่างสรา้งสรรค์
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการสื่อสารอย่างสรา้งสรรค์รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการสื่อสารอย่างสรา้งสรรค์
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านทักษะการสื่อสารอย่างสรา้งสรรค์
 
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
 
5 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 5.3 วิเคราะห์เนื้อหา
5 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 5.3 วิเคราะห์เนื้อหา5 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 5.3 วิเคราะห์เนื้อหา
5 กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง 5.3 วิเคราะห์เนื้อหา
 
Krathong5
Krathong5Krathong5
Krathong5
 
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
1.รายงานปฏิบัติงาน255538หน้า
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
 
หน่วยที่๘
หน่วยที่๘หน่วยที่๘
หน่วยที่๘
 
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอทีสมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
สมุดประเมินผลกิจกรรมชุมนุม กูรูไอที
 
Wijaichanrientaweesin
WijaichanrientaweesinWijaichanrientaweesin
Wijaichanrientaweesin
 
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...
 
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ กลุ่มสาระการเรียนร...
 
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
 
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ สาระสุขฯ
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ สาระสุขฯบทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ สาระสุขฯ
บทคัดย่อ การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด ครอบครัวสุขสันต์ สาระสุขฯ
 
Lessonplanbio5
Lessonplanbio5Lessonplanbio5
Lessonplanbio5
 
หลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียนหลักสูตร51สู่ห้องเรียน
หลักสูตร51สู่ห้องเรียน
 

202

  • 1. ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ชุดที่ ๖ การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง ภัทรวรรณ ม้าทอง ครูชานาญการ โรงเรียนดารงราษฎร์สงเคราะห์ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๖
  • 2. คานา ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ชุดที่ ๖ การอ่านคิด วิเคราะห์จากบทร้อยกรอง ได้จัดขึ้นเพื่อใช้ในการฝึกทักษะ ด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ ซึ่งจะทำให้นักเรียน สามารถประเมินสิ่งที่อ่านและตัดสินใจว่าสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอมีเหตุผล น่าเชื่อถือหรือไม่ เพียงใด ทั้งนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านรู้จักวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเลือกรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในโลกปัจจุบันได้อย่างมีเหตุผล ขณะเดียวกันก็ยังทำให้นักเรียนมีความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน เสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน และมีความ ภูมิใจในผลงานของตนเอง นอกจากนักเรียนจะได้นำไปฝึกทักษะแล้ว ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ทบทวน เนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนไปแล้ว และใช้สอนซ่อมเสริมนักเรียนที่มีความบกพร่องในทักษะการอ่านด้วย หวังว่า ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ ชุดที่ ๑ นี้ คงเอื้อประโยชน์แก่นักเรียน ครูผู้สอน และผู้ที่ สนใจได้เป็นอย่างดี ภัทรวรรณ ม้าทอง ครูชำนาญการ โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์
  • 3. สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก คำชี้แจงชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง กรอบกิจกรรมที่ ๑ ฝึกสมองประลองปัญญา กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมที่ ๓ กรอบเนื้อหา ใบความรู้ที่ ๑ บทร้อยกรอง กรอบกิจกรรมที่ ๓ ฝึกวิเคราะห์บทร้อยกรอง กรอบกิจกรรมที่ ๔ ตอบคำถามจากบทร้อยกรอง แบบทดสอบหลังเรียน ภาคผนวก เฉลยและแนวการตอบ กรอบกิจกรรมที่ ๑ – ๔ เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน แบบประเมินความสามารถในการเขียนแสดงความคิด บรรณานุกรม
  • 4. คาชี้แจง ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๖ มีทั้งหมดจำนวน ๗ ชุด ดังนี้ ชุดที่ ๑ การอ่านคิดวิเคราะห์ ชุดที่ ๒ การอ่าคิดวิเคราะห์จากข่าว ชุดที่ ๓ การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทความ ชุดที่ ๔ การอ่านคิดวิเคราะห์จากสารคดี ชุดที่ ๕ การอ่านคิดวิเคราะห์จากเรื่องสั้น ชุดที่ ๖ การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง ชุดที่ ๗ การอ่านคิดวิเคราะห์จากเพลง ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ชุดนี้เป็นชุดที่ ๑ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วยกรอบเนื้อหา จำนวน ๒ กรอบ และกรอบกิจกรรมจำนวน ๔ กรอบ
  • 5. ส่วนประกอบของชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ส่วนที่ ๑ ประกอบด้วย ๑. แบบทดสอบหลังเรียน จำนวน ๑๐ ข้อ ๑. กรอบเนื้อหา ๑. กรอบกิจกรรม จำนวน ๔ กรอบ ๑.๑ มี ๒ ลักษณะ คือ ๑.๑.๑ ฝึกสมองประลองปัญญา (กระตุ้นให้คิด) ๑.๑.๒ กิจกรรม ๑.๒ กิจกรรมการฝึกอ่านการคิดวิเคราะห์ มี ๖ ระดับ ระดับที่ ๑ ความรู้ความจำ ระดับที่ ๒ ความเข้าใจ ระดับที่ ๓ การนำไปใช้ ระดับที่ ๔ การวิเคราะห์ ระดับที่ ๕ การสังเคราะห์ ระดับที่ ๖ การประเมินค่า ส่วนที่ ๒ ประกอบด้วย ๒.๑ ภาคผนวก ๒.๑.๑ เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน ๒.๑.๒ เฉลยและแนวการตอบกิจกรรม ๒.๒ บรรณานุกรม
  • 6. ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ใช้ประกอบการฝึก ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ อยู่อย่างพอเพียง แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ ๑ ชุดกิจกรรมที่ ๖ การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง เวลาใน การสอนจำนวน ๒ คาบ (๑๐๐ นาที) ใช้สอนในขั้นกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนถึงการวัดผลและ ประเมินผล สำหรับการนำชุดกิจกรรมไปใช้ จะยึดตามสาระการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ทั้ง ๗ ชุด จำนวน คาบสอนทั้งหมด ๑๔ คาบ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งเวลาเรียนและนอกเวลา หรือทำเป็นการบ้าน เพื่อเป็นการฝึกทักษะในการเรียนรู้เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ ก่อนการทำชุดกิจกรรม นักเรียนควรได้รับคำแนะนำ และคำชี้แจงจากครูให้เข้าใจถึงขั้นตอน และ วิธีการทำชุดกิจกรรมก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติตามคำชี้แจงในแต่ละชุดกิจกรรม ข้อสังเกต ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ส่วนใหญ่จะเป็น กิจกรรมที่เขียนแสดงความคิดเห็น ดังนั้น แนวการเขียนตอบแสดงความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้สอนควร ใช้ดุลยพินิจในการตรวจคำตอบเมื่อตรวจแล้ว ควรแจ้งให้นักเรียนทราบผลทันทีเพื่อนักเรียนจะได้มีกำลังใจ และครูจะได้นำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อไป
  • 7. ชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง จุดประสงค์ของการฝึก ๑. บอกความสำคัญของวิธีคิดและอ่านคิดวิเคราะห์ได้ ๒. สามารถปฏิบัติตามหลักและวิธีการอ่านคิดวิเคราะห์ด้ ๓. สามารถวิเคราะห์ ตรวจสอบ ประเมินและตัดสินใจสิ่งที่อ่านว่านำเสนอมีความน่าเชื่อถือ สมเหตุสมผลหรือไม่ และเลือกรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในโลกปัจจุบันได้อย่างมีเหตุผล สาระการเรียนรู้ ๑. ความหมาย ความสำคัญและแนวทางการคิดและการอ่านคิดวิเคราะห์ ๒. หลักการอ่านคิดวิเคราะห์ ลาดับการฝึก ๑. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ๒. นักเรียนทำชุดกิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ชุดที่ ๖ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรองแล้ว ตรวจคำตอบ พร้อมเฉลยทีละ กิจกรรมจนครบทั้ง ๔ กรอบกิจกรรม ๓. ครูสังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมของนักเรียน ขณะทำชุดกิจกรรมพร้อมบันทึกผล การสังเกต ๔. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ๕. ครูและนักเรียนร่วมประเมินผลการปฏิบัติงานของนักเรียนจากการทำแบบฝึกหัดและ แบบทดสอบ ๖. นักเรียนนำผลงานเก็บไว้ในแฟ้มสะสมผลงาน
  • 8. สื่อประกอบการฝึก ๑. ชุดกิจกรรมที่ ๖ เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง ๒. ใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง บทร้อยกรอง ๓. ใบความรู้ที่ ๒ เรื่อง โวหารภาพพจน์ ๔. ใบความรู้ที่ ๓ เรื่อง ตัวอย่างการวิเคราะห์บทร้อยกรอง การวัดผลประเมินผล การวัดผล สิ่งที่ต้องการวัด วิธีวัด เครื่องมือวัด ๑. การอ่านเพื่อวิเคราะห์ ตรวจสอบ ประเมินและ ตัดสินใจสิ่งที่อ่านว่าสิ่งใด ข้อความใด มีความเป็นจริง น่าเชื่อถือ สมเหตุสมผลหรือไม่ ๒. เจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชา ภาษาไทย ๑. ตรวจผลงานจากกิจกรรม แบบทดสอบ การอ่านคิดวิเคราะห์ ๒.สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ ๑. ชุดกิจกรรมคิดวิเคราะห์จากบท ร้อยกรอง วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ๒. แบบสังเกตพฤติกรรม การเรียน
  • 9. เกณฑ์การประเมินผล ดีมาก หมายถึง ได้คะแนนร้อยละ ๘๐-๑๐๐ ดี หมายถึง ได้คะแนนร้อยละ ๗๐-๗๙ พอใช้ หมายถึง ได้คะแนนร้อยละ ๖๐-๖๙ ปรับปรุงแก้ไข หมายถึง ได้คะแนนร้อยละ ๕๙ ลงมา การประเมินผล จากการวัดและประเมินผล นักเรียนที่ถือว่าผ่านเกณฑ์ ต้องได้คะแนนรวมทุกรายการร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
  • 10. กรอบกิจกรรมที่ ๑ ฝึกสมองประลองปัญญา กิจกรรมที่ ๑ ให้ดูภาพต่อไปนี้ แล้วทากิจกรรมที่กาหนดให้ (๘ คะแนน) ๑. นักเรียนคิดว่าคนที่อยู่ในภาพจะมีความรู้สึกหรืออารมณ์เช่นไร ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………….. ๒. สาเหตุที่เกิดเหตุการณ์ในภาพน่าจะเกิดจากอะไรได้บ้าง ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………….. ๓. ถ้านักเรียนอยู่เป็นคนที่อยู่ในภาพนักเรียนจะทำอย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๔. จะแก้ปัญหาไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังเช่นในภาพได้อย่างไรบ้าง ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………
  • 11. กิจกรรมที่ ๒ ให้นักเรียนหาคำที่มีความหมายคล้ายกับคำที่กำหนดให้มาเติมลงในตาราง ดังตัวอย่าง เช้า กลางวัน เย็น กลางคืน อรุณ ........................ ........................ ........................ ........................ ........................ ทิพา ........................ ........................ ........................ ........................ ........................ โพล้เพล้ ........................ ........................ ........................ ........................ ........................ ราตรี ........................ ........................ ........................ ........................ ........................ กิจกรรมที่ ๓ ให้ทายปริศนาคาทายต่อไปนี้ (๘ คะแนน) น้าอะไรเอ่ย (๑) น้า หนึ่งเป็นหนองไหลจากในหู (๒) น้า หนึ่งอยู่ใต้ครัวแสนสกปรก (๓) น้า จากมดลูกหลังคลอดทารก (๔) น้า หนึ่งตกจากผาในป่าดง (๕) น้า หนึ่งเค็มช่วยปรุงรสอาหาร (๖) น้า ช่วยงานมงคลนิมนต์สงฆ์ (๗) น้า ใต้ดินผุดขึ้นมาโดยตรง (๘) น้า ดึกลงถึงสานก็หายไป คาตอบ ๑. .................................................. ๕. ............................................................. ๒. .................................................. ๖. ............................................................. ๓. ................................................... ๗. ............................................................ ๔. ................................................... ๘. ............................................................
  • 12. กรอบเนื้อหา ใบความรู้ที่ ๑ บทร้อยกรอง ความหมายของร้อยกรอง ร้อยกรอง คือ งานเขียนที่มีการเลือกใช้คำ โดยนำมาประกอบกันเข้าตามลักษณะบังคับ อันได้แก่ การบังคับจำนวนคำ เสียงสูง ตํ่า หนัก (ครุ) เบา (ลหุ) เอก โท และสัมผัส ตามรูปแบบ ของร้อยกรองแต่ละ ชนิด ซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น กวีนิพนธ์ คำประพันธ์ บทประพันธ์ บทกวี กวีวัจนะ บทกานท์ เป็นต้น ลักษณะบังคับของร้อยกรอง ลักษณะบังคับที่ทำให้ร้อยกรองมีลักษณะพิเศษจากข้อเขียนร้อยแก้ว มีอยู่ ๙ ประการ ดังนี้ คณะ คือ แบบบังคับที่วางกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ว่า คำประพันธ์ชนิดนั้น ๆ แต่ละบทจะมีกี่บาท แต่ละบาท จะมีกี่วรรค แต่ละวรรคจะมีกี่คำ เช่น โคลงสี่สุภาพ กำหนดไว้ว่า คณะหนึ่งหรือบทหนึ่งมีสี่บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๒ คำ (พยางค์) ส่วนวรรคหลัง บาทที่ ๔ มี ๔ คำ (พยางค์ ฉะนั้นโคลงสี่สุภาพ ๑ บท จะมี ๓๐ คำ อาจมีคำสร้อยต่อท้ายบาทที่ ๑ ๓ และบังคับเอก ๗ โท ๔ แห่ง ดังนี้เป็นต้น สัมผัส คือ ลักษณะบังคับให้ใช้คำที่มีเสียงคล้องจองกัน ซึ่งมี ๒ ชนิดคือ ก. สัมผัสสระ เป็นเสียงที่มีสระ ตัวสะกดในมาตราเดียวกัน เช่น อ้อน-งอน-ห่อน- ขอน-จร (จราจร)-อุดร- ข. สัมผัสอักษร เป็นคำที่ใช้พยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น รัก-ร้าง-รื่น-ทรวง-ส้ม- ซ่อน- แสง-โทรม-เศร้า-ซวนเซ เป็นต้น สัมผัสยังแบ่งเป็น ๒ ประเภทอีก คือ - สัมผัสนอกวรรค เป็นสัมผัสนอกบังคับ จะเป็นสัมผัสสระเท่านั้น - สัมผัสใน คือ สัมผัสในบังคับ เป็นสัมผัสที่อยู่ภายในวรรคเดียวกันไม่บังคับว่า จะเป็นสัมผัส สระหรือสัมผัสอักษรก็ได้ ครุ-ลหุ คือ คำที่มีเสียงหนัก-เบา ใช้ในคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ครุ : เสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในมาตราแม่ ก.กาและมีตัว สะกด รวมทั้งประสมด้วย อำ ไอ ใอ เอา เช่น จำ ได้ ไป เขา รัก ลูก ลหุ : คำที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น เช่น จะ ดุ ติ ผิว กระทะ ฤ ฯลฯ
  • 13. ครุ-ลหุ มีสัญลักษณ์แทนดังนีัั้ เป็นสัญลักษณ์แทน ครุัุ เป็นสัญลักษณ์แทน ลหุ เอก-โท คือ คำที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์ เอก โท นิยมใช้กับคำประพันธ์ประเภทร่าย โคลง คาเป็น - คาตาย ใช้ในโคลง คาเป็น คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เช่น ตา ดี แม้ เสือ ดู และคำที่ประสมด้วยมาตรา ตัวสะกด ในแม่กง กน กม เกย เกอว เช่น ลม โชย เย็น ช่าง ชื่นใจ เป็นต้น คาตาย คือ คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นเช่นเดียวกับคำลหุ และคำที่ประสมด้วยมาตรา ตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น แกลบ เจ็บ โยก หลุด ฤทธิ์ ประจบ เป็นต้น พยางค์หรือคา คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ แต่จะนับแทนที่กันได้ เช่น สมัครสมาน อาจเป็น ๒ ๓ หรือ ๔ พยางค์ ในแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน วรรณยุกต์ คือ เสียงสูงตํ่า ตามตำแหน่งของบทประพันธ์ เช่น คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของกลอนจะต้องใช้ เสียงสูง ตัวอย่างเช่น งานวันเกิดยิ่งใหญ่ใครคนนั้น ฉลองกันในกลุ่มผู้ลุ่มหลง หลงลาภยศ สรรเสริญ เพลินทะนง วันเกิดส่งชีพสั้นเร่งวันตาย อีกมุมหนึ่ง ซึ่งเหงาน่าเศร้าแท้ หญิงแก่แก่ทั้งเหงาและคอยหาย โอ้วันนั้นเป็นวันอันตราย แม่คลอดสายโลหิตแทบปลิดชนม์ คำว่า หลง หาย ต่างมีวรรณยุกต์เสียงสูง ตาย ชนม์ ต่างมีวรรณยุกต์เสียงสามัญ เป็นต้น คานา คือ คำที่กล่าวขึ้นต้นในบทนำของคำประพันธ์ เช่น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป สักวา เป็นต้น คาสร้อย คือ คำที่ใช้ลงท้ายบทหรือบาทของร้อยกรอง เพื่อให้ความสมบูรณ์ หรือบอกความรู้สึกให้เกิด ไพเราะ นิยมใช้คำเป็น เช่น พี่เอย แฮ แลนา ก็ดี เป็นต้น
  • 14. ร้อยกรองจำแนกออกได้เป็น ๕ ประเภท คือ กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย ซึ่งแต่ละประเภทก็ยังแบ่ง ออกเป็นชนิดย่อย ๆ ดังนี้ ๑. กาพย์ แบ่งเป็น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ขับไม้ ๒. กลอน มีกลอนแปด กลอนหก ดอกสร้อย กลอนสักวา กลอนเพลงยาว เสภา นิราศ กลอนบทละคร กลอนเพลง ปฏิพากย์ และกลอนกลบทแบบต่าง ๆ ๓. โคลง โคลงสอง โคลงสาม โคลงสี่ โคลงดั้น โคลงกระทู้ โคลงกลอักษร ๔. ฉันท์ เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ ภุชงคประยาตฉันท์ วิชชุมมาลาฉันท์ อิทิสังฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ เป็นต้น ๕. ร่าย ร่ายโบราณ ร่ายดั้น ร่ายสุภาพ ร่ายยาว ประโยชน์และคุณค่าของบทร้อยกรอง พระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ “ข้าพเจ้าผู้หนึ่ง เป็น ผู้เชื่อมั่นอยู่ว่าจินตกวีนิพนธ์ เป็นสิ่งซึ่งให้ผลดีหลายประการ” อาจจะได้รับประโยชน์และคุณค่าของ บทร้อยกรอง ดังนี้ ๑. สบายใจ คล้าย ๆ ฟังเพลงบรรเลง ๒. เพลิดเพลิน ทำให้ลืมสิ่งซึ่งระคายเคืองใจอยู่บ้างได้ชั่วคราว ๓. ได้ฟังโวหารอันแปลก ๔. ได้ทราบความคิดของผู้แต่ง ส่วนผู้แต่งก็ได้รับผลดีเหมือนกัน กล่าวคือ ๑. สบายใจ คล้ายผู้ที่เล่นดนตรี ตีพิณพาทย์ ๒. เพลิดเพลิน เพราะใช้สมองในทางที่นึกถ้อยคำอันไพเราะ ๓. ต้องขะมักเขม้นแสดงโวหารให้แปลก ๔. มีโอกาสได้แสดงความคิดให้ผู้อื่นฟัง นับว่าผู้แต่งทำความพอใจให้แก่เพื่อนมนุษย์ได้อีกเป็นอันมาก และควรจะคิดถึงผู้อ่าน มากกว่าตัวเอง คือ ควรจะเพ่งเล็งให้ผู้อ่านเข้าใจ และฟังเพราะมากกว่าที่จะอวดความเก่ง ของตนเอง
  • 15. ใบความรู้ที่ ๒ โวหารภาพพจน์ โวหารภาพพจน์ คือ ถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพในใจเกิดจินตนาการ มีความสำคัญคือ ช่วยเสริมให้ สำนวนโวหารดีขึ้นเกิดภาพในใจชัดเจน โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นนามธรรมจะเกิดรูปธรรมชัดเจน ประเภทของโวหารภาพพจน์ มีหลายชนิด แต่ที่นิยมมี ๘ ชนิด คือ อุปมา อุปลักษณ์ สัญลักษณ์ บุคลาธิษฐาน ปฏิพากย์ สัทพจน์ นามนัย อุปมา อุปมา คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำ ว่า “เหมือน” เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เฉก เล่ห์ ปาน ประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง ปูน ฯลฯ ตัวอย่าง ปัญญาประดุจดังอาวุธ ไพเราะกังวานปานเสียงนกร้อง ท่าทางหล่อนราวกับนางพญา อุปลักษณ์ อุปลักษณ์ คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่เป็นการเปรียบเทียบ สิ่งหนึ่ง เป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง ที่สำคัญ อุป ลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา ตัวอย่าง ขอเป็นเกือกทองรองบาทา ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย ทหารเป็นรั้วของชาติ เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์ ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ
  • 16. สัญลักษณ์ สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆ หนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะ เป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป ตัวอย่าง เมฆหมอก แทน อุปสรรค กุหลาบแดง แทน ความรัก หงส์ แทน คนชั้นสูง สีดำ แทน ความตาย ความชั่วร้าย บุคลาธิษฐาน (บุคคลวัต) บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต คือการกล่างถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว์ โดยให้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ แสดงกิริยาอาการและ ความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์ (บุคลาธิษฐาน มาจากคำว่า บุคคล + อธิษฐาน หมายถึง อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล) ตัวอย่าง มองซิ...มองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน บางครั้งมันบ้าบิ่น กระแทกหินดังครืนครืน ทะเลไม่เคยหลับใหล ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น บางครั้งยังสะอื้น ทะเลมันตื่นอยู่รํ่าไป อติพจน์ อติพจน์ หรือ อธิพจน์ คือ โวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อเน้นความรู้สึก ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ ลึกซึ้ง ภาพพจน์ที่นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดง ความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน ตัวอย่าง คิดถึงใจแทบขาด หนาวกระดูกจะหลุด คอแห้งเป็นผง การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า ร้อนตับจะแตก คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก
  • 17. ปฏิพากย์ ปฏิพากย์ คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าวอย่างกลมกลืนกัน เพื่อเพิ่มความหมายให้มีนํ้าหนักมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เลวบริสุทธิ์ บาปบริสุทธิ์ สวยเป็นบ้า สวยอย่างร้ายกาจ สนุกฉิบหาย สวรรค์บนดิน สัทพจน์ สัทพจน์ หมายถึง ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์ เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงนํ้าไหล ฯลฯ การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริงๆ ตัวอย่าง เปรี้ยงๆ ดังเสียงฟ้าฟาด ตะแลกแต๊กแต๊ก ตะแลกแต๊กแต๊ก กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์ นํ้าพุพุ่งซ่า ไหลมาฉาดฉาน เห็นตระการ เสียงกังวาน มันดังจอกโครม จอกโครม มันดังจอก จอก โครม โครม บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว นามนัย นามนัย คือ การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้ายๆ สัญลักษณ์ แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าว ให้หมายถึงส่วน ทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ทีมกังหันลม หมายถึง ทีมเนเธอแลนด์ ทีมสิงโตคำราม หมายถึง อังกฤษ ฉัตร หมายถึง กษัตริย์ เก้าอี้ หมายถึง ตำแหน่ง มือที่สาม หมายถึง ผู้ก่อความเดือดร้อน
  • 18. ใบความรู้ที่ ๓ ตัวอย่างการวิเคราะห์บทร้อยกรอง เข้าเกวียนหนึ่งนั้นท่านว่า เป็นสองบั้นมา บั้นหนึ่งสี่สิบสัด สัดหนึ่งยี่สิบทะนานชัด ทะนานหนึ่งสังกัด สองจังออนจดจำไว้ จังออนหนึ่งสี่กำมือได้ กำมือหนึ่งไซร้ สี่ใจมือตามมา ใจมือหนึ่งนั้นท่านว่า ร้อนเมล็ดเข้าหนา นับด้วยตวงเพียงนี้แล มูลบทบรรพกิจ : พระศรีสุนทรโวหาร การวิเคราะห์บทร้อยกรองแบบ ๕Ws๑H โดยใช้ตาราง เหตุการณ์ ใคร ทาอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทาไม อย่างไร อัตราการตวงข้าวของ คนไทยในสมัย โบราณกำหนดว่า ข้าวหนึ่งเกวียนเป็น สองบั้น หนึ่งบั้นเป็น สี่สิบสัด หนึ่งสัด เท่ากับยี่สิบทะนาน หนึ่งทะนานเป็นสอง จังออน หนึ่งจังออน คือสี่กำมือ หนึ่งกำมือ เท่ากับสี่ใจมือ หนึ่งใจ มือเปรียบประมาณ ข้าวร้อยเมล็ด คนไทย ตวงข้าว ใน ประเทศ ไทย ในสมัย โบราณ คนไทยใน สมัยโบราณมี อาชีพทำนา เป็นอาชีพ หลัก จึงต้อง มีการตวง ผลผลิต กำหนดอัตราการ ตวงข้าวไว้ว่า ข้าว หนึ่งเกวียนเป็น สองบั้น หนึ่งบั้น เป็นสี่สิบสัด หนึ่ง สัดเท่ากับยี่สิบ ทะนาน หนึ่ง ทะนานเป็นสอง จังออน หนึ่ง จังออนคือสี่กำมือ หนึ่งกำมือเท่ากับสี่ ใจมือ หนึ่งใจมือ เปรียบประมาณ ข้าวร้อยเมล็ด
  • 19. การวิเคราะห์บทร้อยกรอง โดยใช้แผนภาพความคิดแก้ปัญหาแบบ ๕Ws๑H ใคร : คนไทย ทาอะไร : ตวงข้าว ที่ไหน : ประเทศไทย อัตรา เมื่อไหร่ : สมัยโบราณ การตวงข้าว อย่างไร : กำหนดอัตราการตวงข้าว ทำไม : คนไทยในสมัย ไว้ว่า ข้าวหนึ่งเกวียนเป็นสองบั้น โบราณมีอาชีพทำนา หนึ่งบั้นเป็นสี่สิบสัด หนึ่งสัดเท่ากับ เป็นอาชีพหลัก จึงต้อง ยี่สิบทะนาน หนึ่งทะนานเป็นสอง มีอัตราการตวงผลผลิต จังออน หนึ่งจังออนคือสี่กำมือ หนึ่งกำมือเท่ากับสี่ใจมือ หนึ่งใจมือ เปรียบประมาณข้าวร้อยเมล็ด
  • 20. กรอบกิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมที่ ๑ ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองต่อไปนี้ แล้วเขียนแผนภาพความคิด (Mind Map) แบบ การแก้ปัญหา ใบไม้ที่หายไป ดอกไม้ ดอกไม้จะบาน บริสุทธิ์กล้าหาญ จะบานในใจ สีขาว หนุ่มสาวจะใฝ่ แน่วแน่แก้ไข จุดไฟศรัทธา เรียนรู้ ต่อสู้มายา ก้าวไปข้างหน้า เข้าหามวลชน ชีวิต อุทิศยอมตน ฝ่าความสับสน เพื่อผลประชา ดอกไม้ บานให้คุณค่า จงบานช้าช้า แต่ว่ายั่งยืน ที่นี่ และที่อื่นอื่น ดอกไม้สดชื่น ยื่นให้มวลชน จิระนันท์ พิตรปรีชา
  • 21. ดอกไม้ที่หายไป ใคร : อะไร : ปัญหา ทาไม : วิธีการ ผล ๑. ๑. แนวทางแก้ปัญหา ๒. ๒. ๓. ๓. ผลลัพธ์
  • 22. กิจกรรมที่ ๒ ให้นักเรียนเขียนแผนภาพความคิดจากบทร้อยกรอง จดหมายถึงบัณฑิต โดยนำคำสำคัญ ไว้ตรงกลาง จดหมายถึงบัณฑิต บัณฑิต ผลผลิตแห่งสถานการศึกษา หลายปีก่อนมือเปล่าเธอก้าวมา ถึงเวลาก้าวไปรับใช้คน ศึกษาศาสตรบัณฑิตคิดให้มาก งานเธอยากแต่ยิ่งใหญ่ได้กุศล ตาดำดำทำเธอสุขและทุกข์ทน ถ้ากลัวจนแล้วอย่ามาเป็นครู นิติศาสตรบัณฑิตคิดไหมว่า โชคชะตาคนทั้งสองเธอครองอยู่ พิทักษ์สิทธิ์พิชิตโศกให้โลกรู้ เชิดตราชูยุติธรรม์จนวันตาย วิทยาการจัดการงานผลิต ธุรกิจสูงสุดใช่จุดหมาย ต้องสร้างสรรค์งานประชาที่ท้าทาย รับแล้วจ่ายคืนกำไรให้สังคม แพทยศาสตร์พยาบาลงานเธอหนัก ใช่หนทางดาราน่าพิสมัย เธอจงเป็นนกพิราบตามใบไม้ สื่อหัวใจสู่สอนแห่งมวลชน บัณฑิตเอ๋ยบัณฑิตใหม่จงได้คิด อย่ายึดติดแก่กระดาษขาดเหตุผล ชีวิตจริงยิ่งต้องเข้มต้องเต็มคน พร้อมผจญปลดครุยลงลุยโคลน รวมบทกวีนิพนธ์ สร้อยเม็ดทราย : นภาลัย สุวรรรณธาดา
  • 24. กรอบกิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมที่ ๑ ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรอง วักทะเล แล้วตอบคำถาม วักทะเล วักทะเลเทใส่จาน รับประทานกับข้าวขาว เอื้อมเก็บบางดวงดาว ไว้คลุกข้าวซาวเกลือกินฯ ดูปูหอยเริงระบำ เต้นรำทำเพลงวังเวงสิ้น กิ้งก่ากิ้งกือบิน ไปกินตะวันและจันทร์ฯ คางคกขึ้นวอทอง ลอยล่องท่องเที่ยวสวรรค์ อึ่งอ่างไปด้วยกัน เทวดานั้นหนีเข้ากะลาฯ ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว อัปสรหนาวสั่นชั้นฟ้า ทุกจุลินทรีย์อมิบ้า เชิดหน้าได้ดิบได้ดีฯ เทพไท้เบื่อหน่ายวิมาน ทะยานลงดินมากินขี้ ชมอาจมว่ามี รสวิเศษสุดที่กล่าวคำฯ ป่าสุมทุมพุ่มไม้ พูดได้ปรัชญาลึกลํ้า ขี้เลื่อยละเมอทำ คำนวณนํ้าหนักแห่งเงาฯ วิเศษใหญ่ใคร่เสวยฟ้า อยู่หล้าเหลวเลวโง่เขลา โลภโกรธหลงมอมเมา งั่งเอาเถิดประเสริฐเอยฯ อังคาร กัลยาณพงศ์ ๑. บทร้อยกรองนี้แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด ............................................................................................................................................................ ๒. ผู้แต่งใช้โวหารภาพพจน์ชนิดใดบ้าง ยกตัวอย่างคำประพันธ์ประกอบ ........................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................
  • 25. ๓. ผู้เขียนแสดงแนวความคิดอย่างไร ........................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ กิจกรรมที่ ๒ ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรอง มหาวิทยาลัยชีวิต แล้วตอบคำถาม มหาวิทยาลัยชีวิต การเรียนรู้มิใช่เพียงได้เรียน การอ่านเขียนมิใช่เพียงได้ผ่าน มีความรู้มากมายให้จดจาร เ เพียง”รักอ่านรักเขียนรักเรียนรู้” ยินดีกับผู้ผ่านการสอบเข้า ยังต้องเฝ้าต้องรอต้องต่อสู้ มีสิ่งใหม่ให้ต้องลองทำดู ล้วนเป็นครูด้านกลับให้ปรับตน ผู้ไม่ผ่านก็ไม่ใช่ไร้โอกาส ความสามารถนั้นมิอาจจะวัดผล เมื่อกล้าก้าวกล้านำไม่จำนน ย่อมบันดลทางชัยในชีวิต มหาวิทยาลัยในตัวเรา จะสอบเข้าไม่เข้าเรามีสิทธิ์ เสมอกันทุกขั้นตอนพรพิชิต คือ “รักคิด อ่านเขียน รักเรียนรู้” เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
  • 26. ๑. ผู้ประพันธ์ได้กล่าวถึงชีวิตการเรียนในมหาวิทยาลัยไว้ว่าอย่างไรบ้าง ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ๒. ผู้ประพันธ์ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับผู้สอบเข้ามหาวิทยาลัยไว้ว่าอย่างไรบ้าง ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ๓. ผู้ประพันธ์ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับการเรียนรู้ในปัจจุบันไว้ว่าอย่างไรบ้าง ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ๔ . จากการอ่านบทร้อยกรอง “มหาวิทยาลัยชีวิต” นักเรียนสามารถนำเอาข้อคิดที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิต ได้อย่างไรบ้าง ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ๕. นักเรียนเห็นด้วยกับทรรศนะที่ผู้ประพันธ์ได้กล่าวไว้หรือไม่ อย่างไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
  • 27. กรอบกิจกรรมที่ ๔ คาชี้แจง ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถาม ตั้งแต่ ข้อ ๑ – ๖ ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรอง ไหมแท้ที่แม่ทอ แล้วตอบคำถาม ไหมแท้ที่แม่ทอ แม่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมตั้งใจนัก เรี่ยวแรงรักแม่ใช้เพื่อใฝ่ฝัน อีกสาวไหมด้วยมือซื่อสัตย์นั้น ทั้งทอมันละเมียดละไมใช้เวลา สื่อวิญญาณผ่านมือสู่เส้นไหม แต่ละใยแต่ละเส้นเป็นเนื้อผ้า ตีนที่ใช้กระตุกกี่คือชีวา มือที่คว้ากระสวยวาดคือชีวิต ผ้าขาวม้าผืนใหม่แม่ให้ลูก รักพันผูกทุกใยไหมวิจิตร ใยไหมโยงใจแม่เนรมิต ไหมอุทิศแม่ก็ทอต่อตำนาน ลูกก็ถือผ้าทอที่แม่ให้ เป็นเยื่อใยไหมและแม่ที่กล้าหาญ ผ้าทั้งผืนมีชีวิตจิตวิญญาณ ถักประสานสอดสร้างอย่างแยบยล มือน้อยน้อยของแม่ดูแค่นี้ เคยเฆี่ยนตีลูกบ้างในบางหน แต่มือเดียวกันนี้แหละสู้ทน ประคองลูกให้พ้นภยันตราย แหละมือนี้ที่บันดาลงานชีวิต มิเคยคิดค่าแรงแข่งซื้อขาย ยังถักทอ ทรมาน์ยังท้าทาย ยังมั่นหมายผ้าไหมผืนใหม่มา พร้อมทั้งสอนลูกสาวเจ้าศรีเรือน อยู่เป็นเพื่อนแม่ทอปรารถนา เพื่อสืบทอดแรงงานกาลเวลา ก่อนมือแม่จะอ่อนล้าต้องลาพัก และสอนเจ้าลูกชายให้ทระนง รักแม่ก็ขอจงทำงานหนัก ด้วยละเอียดอ่อนในเยื่อใยรัก พลีชีวิตเพื่อถักและทอไท สักวันหนึ่งถึงไม่มีชีวิตแม่ ลูกที่แท้ก็คงทอสืบต่อได้ แม่ก็ทอลูกก็ทอต่อเส้นใย ผ้าชีวิตผืนใหม่จะต้องงาม ไพวรินทร์ ขาวงาม
  • 28. ๑. สาระสำคัญของบทร้อยกรองนี้กล่าวถึงสิ่งใด ๑. อาชีพของแม่ ๒. ฝีมือทอผ้าของแม่ ๓. ความรักลูกของแม่ ๔. ความลำบากของแม่ ๒. แม่ต้องการให้ลูกตระหนักในคุณค่าของสิ่งใด ๑. การประกอบอาชีพด้านการเกษตร ๒. การรู้จักประกอบอาชีพที่สุจริต ๓. การรักษาวัฒนธรรมถ้องถิ่น ๔. การแสดงออกซึ่งความรักและความมีนํ้าใจต่อแม่ ๓. “ไหมแท้ที่แม่ทอ” หมายถึงอะไร ๑. ผ้าขาวม้าผืนใหม่ ๒. ผ้าทอลวดลายใหม่ ๓. ชีวิตของแม่ ๔. อนาคตของลูก ๔. คุณลักษณะใดของแม่ที่ได้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ในบทร้อยกรอง ๑. ความเพียรพยายาม ๒. ความเข้มแข็ง ๓. ความซื่อสัตย์ ๔. ความอ่อนน้อมถ่อมตน ๕. รสของบทร้อยกรองนี้ได้แก่รสใด ๑. รสแห่งความเศร้า ๒. รสแห่งความรัก ๓. รสแห่งความกล้าหาญ ๔. รสแห่งความหดหู่ ท้อแท้ ๖. บทร้อยกรอง “ไหมแท้ที่แม่ทอ” มีคุณค่าด้านใด ๑. คุณค่าด้านอารมณ์ ๒. คุณค่าทางปัญญา ๓. คุณค่าทางด้านจิตนาการ ๔. คุณค่าทางด้านคุณธรรม
  • 29. ตั้งแต่ข้อ ๗ – ๑๐ ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม ก็จงยอมเป็นเพียงลดาขาว แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา แม้มิได้เป็นหงส์ทะนงศักดิ์ ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา แม้มิได้เป็นนํ้าแม่คงคา จงเป็นธาราใสที่ไหลเย็น แม้มิได้เป็นมหาหิมาลัย จงพอใจจอมปลอกที่แลเห็น แม้มิได้เป็นวันพระจันทร์เพ็ญ ก็จงเป็นวันแรมที่แจ่มจาง แม้มิได้เป็นต้นสนระหง จงเป็นพงอ้อสะบัดไม่ขัดขวาง แม้มิได้เป็นนุชสุดสะอาง จงเป็นนางที่มีใช่ไร้ความดี อันจะเป็นสิ่งใดไม่ประหลาด กำเนิดชาติดีทรามตามวิถี ถือสันโดษบำเพ็ญให้เด่นดี ในสิ่งที่เราเป็นเช่นนั้นเทอญ ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ๗. สาระสำคัญของบทร้อยกรองนี้คือข้อใด ๑. จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด ๒. จงฝันในสิ่งที่เป็นไปได้ ๓. จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ ๔. ควรดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ๘. บทร้อยกรองข้างต้นนี้ใช้โวหารภาพพจน์เด่นที่สุด คือข้อใด ๑. อุปมา ๒. อุปลักษณ์ ๓. บุคคลวัต ๔. สัญลักษณ์ ๙. ควรตั้งชื่อบทร้อยกรองนี้ว่าอย่างไร ๑. ขอเพียงได้ดังใจปรารถนา ๒. ความฝันกับความจริง ๓. ปรับตัว – ปรับใจ ๔. พอใจ – ให้สุข
  • 30. ๑๐. จากบทร้อยกรองสามารถนำข้อคิดไปปรับใช้ในชีวิตได้อย่างไร ๑. ไม่ต้องดิ้นรนเพราะทุกคนต้องตาย ๒. หยิ่งในศักดิ์ศรีของตน ไม่ควรง้อใคร ๓. พอใจในสิ่งที่ตนเป็นอยู่และดำเนินชีวิตให้มีคุณค่า ๔. ถึงแม้จะเกิดมาตํ่าต้อย หากมีความพยายามย่อมประสบความสำเร็จ
  • 31. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง คาชี้แจง ๑. แบบทดสอบหลังเรียนฉบับนี้ ใช้ทดสอบความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ หลังการฝึก กิจกรรมการอ่านคิดวิเคราะห์ ชุดที่ ๖ เรื่องการอ่านคิดวิเคราะห์จากบทร้อยกรอง เป็นแบบทดสอบ ปรนัยแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จานวน ๑๐ ข้อ ข้อละ ๑ คะแนน ใช้เวลาในการทดสอบ ๑๕ นาที ๒. ให้นักเรียนอ่านข้อคาถามและคาตอบให้ละเอียด แล้วเลือกคาตอบที่ถูกที่สุดเพียงคาตอบ เดียวแล้วนาไปตอบลงในกระดาษคาตอบ โดยทาเครื่องหมาย X ลงในช่องตัวเลือกที่ต้องการ ๓. ให้นักเรียนทาแบบทดสอบให้ครบทุกข้อ อ่านร้อยกรองต่อไปนี้แล้วตอบคาถามข้อ ๑ – ๓ ใครไม่มี “วันนี้” ไม่มีรู้ มันปวดร้าวหดหู่สิ้นสุขสม อยู่ยิ่งแหนงนานยิ่งหน่ายหลายอารมณ์ ทุกข์ระทมตามยถาหมดอาลัย เหมือนไม้งามยามแรกแตกกิ่งก้าน ใบดอกบานงามหรูดูไสว ไม่นานวันพลันทิ้งกิ่งก้านใบ กลายเป็น “ไม้ใกล้ฝั่ง” ไม่ยั่งยืน ๑. ข้อความนี้มีลักษณะเด่นในเรื่องใดมากที่สุด ๑. การเล่นคำ ๒. การสัมผัสใน ๓. การเปรียบเทียบ ๔. การสัมผัสอักษร
  • 32. ๒. ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร ๑. ชี้แนะ ๒. ห่วงใย ๓. เตือนสติ ๔. สั่งสอน ๓. ร้อยกรองข้างต้นผู้เขียนต้องการให้ข้อคิดในเรื่องใดบ้าง ๑. ควรเอาใจใส่ต่อผู้สูงอายุ ๒. สังขารมนุษย์เป็นสิ่งไม่จีรัง ๓. ไม่ควรประมาทกับการใช้ชีวิต ๔. ทุกชีวิตเกิดมาย่อมหนีไม่พ้นความตาย อ่านบร้อยกรองต่อไปนี้แล้วตอบคาถาม ข้อ ๔ – ๕ เสียงปืนที่ดังลั่น ตัวแม่นั้นต้องสิ้นใจ ลูกน้อยที่กอดไว้ กระดอนไปเพราะแรงปืน ฝืนใจเข้ากอดแม่ หวังแก้ให้แม่ฟื้น แม่จ๋าเพราะเสียงปืน จึงไม่ตื่นชีวิตมา โทษใดจึงประหาร ศาลไหนพิพากษา ถ้าลูกท่านเป็นสัตว์ป่า ใครเข่นฆ่าท่านยอมไหม ชีวิตใครใครก็รัก ท่านประจักษ์บ้างหรือไม่ โปรดเถิดจงเห็นใจ สัตว์ป่าไซร้ก็เหมือนกัน สืบ นาคะเสถียร ๔. เหตุการณ์ใดควรเกิดขึ้นก่อน ๑. แม่อุ้มลูก ๒. เสียงปืนดัง ๓. แม่สิ้นใจ ๔. ลูกกอดแม่ ๕. ใจความสำคัญที่สุดของบทร้อยกรองข้างต้นคือข้อใด ๑. เสียงปืนที่ดังลั่น ตัวแม่นั้นต้องสิ้นใจ ๒. ถ้าลูกท่านเป็นสัตว์ป่า ใครเข่นฆ่าท่านยอมไหม ๓. ชีวิตใคร ใครก็รัก ท่านประจักษ์บ้างหรือไม่ ๔. โปรดเถิดจงเห็นใจ สัตว์ป่าไซร้ก็เหมือนกัน
  • 33. อ่านบทประพันธ์ต่อไปนี้แล้วตอบคาถามข้อ ๖ - ๗ ๖. จากบทประพันธ์ข้างต้นผู้เขียนใช้โวหารประเภทใด ๑. บรรยายโวหาร ๒. พรรณนาโวหาร ๓. เทศนาโวหาร ๔. สาธกโวหาร ๗. ถ้านักเรียนปฏิบัติตามบทประพันธ์นักเรียนจะเป็นคนเช่นใด ๑. ไม่ทันโลกทันเหตุการณ์ ๒. มีชีวิตที่ไร้รสชาติ ๓. ชีวิตมีความสุขไม่เดือดร้อน ๔. ชีวิตตกตํ่า ปิด ปิด ตา : อย่าสอดส่ายให้เกินเหตุ บางประเภท แกล้งทำตาบอด ยอกุศล มัวสอดรู้ สอดเห็น จะเป็นคน เอาไฟลน ตนไป จนไหม้พอง ปิด ปิด หู : อย่าใส่แส่ ไปฟังเรื่อง ที่เป็นเครื่องกวนใจ ให้หม่นหมอง หรือเร้าใจให้ฟุ้งซ่าน พาลลำพอง ผิดทำนอง คนฉลาด อนาถใจ ปิด ปิด ปาก : อย่าพูดมาก เกินจำเป็น จะเป็นคน ปากเหม็น เขาคลื่นไส้ ต้องเกิดเรื่อง เยิ่นเย้อ เสมอไป ถ้าหุบปาก มากไว้ ได้แท่งทองฯ หัวข้อธรรมในคากลอน : พุทธทาสภิกขุ
  • 34. อ่านบทร้อยกรองต่อไปนี้แล้วตอบคาถามข้อ ๘ – ๑๐ การเมืองต้องเป็นเรื่องการเสียสละ การเมืองคือภาระของทุกผู้ การเมืองเรื่องส่วนรวมร่วมรับรู้ การเมืองต้องต่อสู้เพื่อส่วนรวม การเมืองต้องมีธรรมเป็นเข็มทิศ การเมืองต้องมีจิตสำนึกร่วม การเมืองต้องโปร่งใสไม่กำกวม การเมืองต้องท้นท่วมศรัทธาอุทิศ การเมืองต้องเคารพความเห็นต่าง การเมืองต้องสรรค์สร้างเสรีสิทธิ์ การเมืองคืออำนาจขจัดพิษ การเมืองคือชีวิตประชาชน !. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ๘. “การเมืองคืออำนาจขจัดพิษ” มีความหมายตรงกับข้อใด ๑. ทำสิ่งไม่ดีให้เป็นสิ่งดี ๒. การเมืองเหมือนกับยาถอนพิษ ๓. คือการขจัดอำนาจจากพวกนายทุน ๔. มีอำนาจที่สามารถขจัดสิ่งที่ไม่ดีต่างๆได้ ๙. ผู้แต่ง แต่งด้วยนํ้าเสียงในข้อใด ๑. ตำหนิ ๒. ตักเตือน ๓. เรียกร้อง ๔. เชิญชวน ๑๐. บทร้อยกรองนี้มีลักษณะเด่นอย่างไร ๑. การใช้คำซํ้า ๒. ให้ข้อคิดสอนใจ ๓. ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ๔. มีสัมผัสในไพเราะ