SlideShare a Scribd company logo
1 of 52
Download to read offline
1
บทที่ 1
บทนำ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เราเรียกว่า " อีสาน " นั้น มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอัน
ยาวนาน มีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมที่หลากหลายตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีการตั้งถิ่น
ฐานของกลุ่มชนต่างๆ มาเป็นเวลานานหลายเชื้อชาติ ปรากฏร่องรอยทางอารยธรรม ทั้งคติความเชื่อ
ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น ศิลปกรรมบนใบเสมาอันตกทอดมา
ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ปราสาทหินอันใหญ่โตวิจิตรอันได้รับมาจากอิทธิพลขอม ซึ่งล้วนแต่แสดงถึงความ
ยิ่งใหญ่ มั่งคั่งและศรัทธาของผู้คนบนผืนแผ่นดินนี้ในอดีต
ศิลปวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานมีพุทธศาสนาเป็นหัวใจสำคัญ ใน
การสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง มีการสั่งสมศิลปวัฒนธรรมของตนเองอย่างเด่นชัด จากรูปแบบ
สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ได้แก่ พระธาตุ หอระฆัง หอกลอง หอแจก หรือศาลาการเปรียญ และ โดยเฉพาะ
สิมหรือโบสถ์ ซึ่งเป็นอาคารสำคัญของวัดในฐานะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เสมือนเป็นที่ประทับ ขององค์
พระพุทธเจ้า เป็นอาคารที่พระวินัยในพุทธบัญญัติกำหนดขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรม ตามกิจของ
สงฆ์ได้แก่ พิธีบรรพชา พิธีอุปสมบท สวดปาฎิโมกข์ ทำวัดเช้า ทำวัดเย็น และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับทาง
พระพุทธศาสนา ซึ่งชาวอีสานให้ความสำคัญต่อการสร้างสรรค์รูปแบบ คติ แนวคิด และวิธีก่อสร้าง
ตลอดจนการแก้ปัญหา ที่สืบทอดมาตามขนบธรรมเนียมประเพณีจนได้ความสมบูรณ์ ในรูปแบบงาน
ประณีตศิลป์ เป็นสถาปัตยกรรมที่สวยสมบูรณ์แบบ บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์อย่างเด่นชัด แสดงให้
เห็นถึงพื้นฐานทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
สิมเป็นชื่อเรียกภาษาพื้นถิ่นภาคอีสานหมายถึงโบสถ์ อุโบสถ พระอุโบสถ ของภาษาภาคกลาง
สิมเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่พระสงฆ์ในพุทธศาสนาใช้ประชุมเข้าสังฆกรรมต่าง ๆ มีขอบเขตที่กำหนด
ด้วยสีมาและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ขนาดของโบสถ์นั้นต้องสอดคล้องกับพุทธบัญญัติซึ่งบัญญัติ
ไว้ให้มีขนาดพอเหมาะ พอควรกับสังคม สำหรับโบสถ์ในประเทศไทยขนาดมิได้กำหนดแน่นอน ขึ้นอยู่กับ
แต่ละยุคแต่ละสมัย หรือเศรษฐกิจ สังคม ขนาดของโบสถ์ก็จะเล็กลง สิมอีสานเป็นตัวแทนของรสนิยม
ด้านความงาม สะท้อนความเชื่อมั่นศรัทธา และสะท้อนความเป็นจริงในทัศนะของชาวอีสาน ที่ไม่แสดง
ตนแบบยิ่งใหญ่เกินตัว และยังสะท้อนให้เห็นถึงฐานะที่ยากจน ซึ่งต่างกับโบสถ์ใหม่ของภาคอีสานใน
ปัจจุบัน ซึ่งสร้างใหญ่โตเกินความจำเป็น ชาวบ้านและพระภิกษุผู้เข้ามาใช้จะไม่รู้สึกถูกข่มด้วยขนาดที่
ใหญ่โตเหมือนโบสถ์วิหารในภูมิภาคอื่น แต่ให้ความรู้สึกที่ สงบ สมถะเรียบง่าย สันโดษ และจริงใจ อย่าง
ยิ่งแก่ทั้งภิกษุและชาวบ้านทั่วไปที่เข้ามากราบไหว้
2
ปัจจุบันอายุของสิมได้ถึงที่สุด ถึงจุดเสื่อมโทรมตามกาลเวลา ที่สำคัญได้มีการสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่
แทนสิมเดิม ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมภาคกลาง ขาดการสืบทอดรูปแบบลักษณะของสิมแบบดั้งเดิม สิม
จึงเป็นเสมือนมรดกที่มีคุณค่า เป็นมรดกของชาวอีสานโดยตรงและตกทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่มักถูก
มองข้ามจากคนส่วนใหญ่ บ่อยครั้งที่ดูเหมือนประหนึ่งว่าไม่มีความสำคัญ มักถูกมองว่าขาดความงาม
ด้อยสุนทรียภาพเมื่อเทียบกับศิลปกรรมของช่างหลวง จากภาคกลางที่มีรูปแบบ ความงดงามตาม
ระเบียบแบบแผน แต่กระนั้นงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของชาวอีสานก็มีความงดงามตามแบบ
ฉบับของตนเอง ตามลักษณะของศิลปะพื้นบ้าน (Folk arts) ซึ่งไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ ด้วย
คุณค่าคนละแบบกัน
จึงเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ในช่วงครึ่งศตวรรษมานี้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาวอีสานที่ยอดเยี่ยม
เหล่านั้นได้ถูกรื้อถอนทำลายลงเป็นอันมาก อาทิ สิม,วิหาร,ศาลาการเปรียญ,หอไตร ตลอดถึงอาคารทาง
ศาสนาอื่นๆ แม้แต่บ้านเรือนของผู้คนที่อยู่อาศัยได้สุขสบายมาแต่บรรพบุรุษ ดังนั้น สิมในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ จึงนับวันจะเหลือน้อยลงทุกที ถูกทิ้งร้าง รื้อถอน บางแห่งก็พังทลาย ทรุดโทรม
ขาดการเหลียวแล ซึ่งเกิดเนื่องจากสาเหตุหลายประการ ทั้งจากตัวสิมเองที่ผุพังไปตามสภาพและเวลาที่
ล่วงไปตามอายุ สภาพดินฟ้าอากาศ ภัยธรรมชาติต่างๆ อีกทั้งขาดความเอาใส่ใจและการทำลายด้วย
น้ำมือของมนุษย์ทั้งที่ทำโดยตั้งใจและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แม้บางแห่งชาวบ้านอยากทำการอนุรักษ์ ซ่อมแซม
แต่ก็ขาดความรู้ความเข้าใจเชิงช่างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ขาดงบประมาณในการสนับสนุน จากการพัฒนา
สังคมที่ไม่เอื้อต่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของชาวอีสาน จึงเกิดวิกฤตศรัทธาต่อภูมิปัญญา
พื้นบ้านเหล่านั้น จนทำให้คนรุ่นใหม่ไม่แน่ใจต่อความงามและเอกลักษณ์ของบรรพบุรุษ
จังหวัดศรีสะเกษ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรืออีสานใต้เป็นเมืองที่มี
ประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีแหล่งโบราณคดีที่แสดงถึงอารยธรรมเก่าแก่มากมาย เคยเป็นชุมชนที่มี
อารยธรรมรุ่งเรืองมานับพันปี นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ และมีชนเผ่าต่าง ๆ อพยพมาตั้งรกรากใน
บริเวณนี้ ได้แก่ พวกส่วย ลาว เขมร และเยอ จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ประมาณ 8,839.90 ตาราง
กิโลเมตร หรือ 5,524,987.5 ไร่ มีพรมแดนติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีแนวเขตเทือกเขาพนม
ดงรักเป็นแนวพรมแดน จังหวัดศรีสะเกษเป็นพื้นที่หนึ่งในภาคอีสานที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง มีสิม
เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสิมอีสานพื้นบ้านบริสุทธิ์ แต่จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม
วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การปกครอง การปกครองคณะสงฆ์ ค่านิยมของชุมชน วัสดุก่อสร้าง ฝีมือช่าง จนถึง
รสนิยมของเจ้าอาวาส ได้นำไปสู่การรื้อถอนทำลายสิมลงเป็นอันมาก หรือบูรณะปรับเปลี่ยนรูปแบบที่ไม่
หลงเหลือเค้าโครงเดิม ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ( พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2560)
คณะผู้จัดทำโครงงานเรื่อง สิมศรีสะเกษ : การศึกษาสิมอีสาน (โบสถ์) ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ
เห็นความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมของคนอีสาน จึงได้ทำการศึกษาประวัติความเป็นมา และ
3
รูปแบบงานสถาปัตยกรรมสิมอีสาน และบทบาท หน้าที่ ความสำคัญของสิม คติความเชื่อท้องถิ่นของ
ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสิมอีสานเพื่อให้เห็นถึงคุณค่า ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสิมอีสาน ในเขต จังหวัด
ศรีสะเกษ เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและหาแนวทางอนุรักษ์เอาไว้ เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไป และ
เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาหาความรู้ เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม และด้าน
อื่น ๆ ให้แก่คนรุ่นลูกหลานได้เรียนรู้ความเป็นมาของผืนแผ่นดินนี้ ทราบซึ้งถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม
ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษในอดีต
วัตถุประสงค์การศึกษา
1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และรูปแบบงานสถาปัตยกรรมสิมอีสาน(โบสถ์)
ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสิมอีสาน (โบสถ์) ในช่วง 3 ทศวรรษ (พ.ศ. 2530 – 2560)
ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ
สมมุตฐานการศึกษา
สิมอีสาน(โบสถ์) ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับปัจจัยทาง
ภูมิศาสตร์ และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เช่น การโยกย้ายของกลุ่มคน การนับถือพุทธศาสนา การ
เปลี่ยนแปลงทางการเมือง การรับอิทธิพลทางวัฒนธรรม คติความเชื่อ และเทคนิควิทยาการก่อสร้างของ
ชุมชนในเขตวัฒนธรรมลาว เขมร ส่วยและเยอ โดยสิมอีสานในเขตจังหวัดศรีสะเกษ สามารถแบ่ง
ออกเป็นสิมอีสานพื้นบ้านบริสุทธิ์ สิมอีสานพื้นบ้านที่ได้รับอิทธิพลจากล้านช้าง และสิมอีสานพื้นบ้านที่
สร้างโดยกลุ่มช่างในท้องถิ่นที่มีอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมร กับการบูรณะของช่างชาวญวน และสิมอีสาน
ลอกเลียนแบบเมืองหลวง ที่สามารถผสมผสานและปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะต่อพื้นที่และการใช้งาน
ในรูปแบบสิมอีสานที่มีความสงบ สมถะเรียบง่าย สันโดษ และจริงใจ เน้นประโยชน์การใช้สอยมากกว่า
ความงาม เหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงของสิมอีสานในเขตจังหวัดศรีสะเกษ มาจากสภาพอาคารที่มีความ
เสื่อมโทรมตามกาลเวลา และความต้องการของเจ้าอาวาส เป็นสำคัญ
4
ขอบเขตการศึกษา
คณะผู้จัดทำโครงงานเรื่อง สิมศรีสะเกษ : การศึกษาสิมอีสาน (โบสถ์) ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ
ได้กำหนดขอบเขตการศึกษา ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาสถาปัตยกรรมสิมอีสานในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นสิมบกที่เป็นอาคารทางศาสนาที่
ยังคงหลงเหลืออยู่ มีสภาพสมบูรณ์ และมีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของสิมในเขตจังหวัดศรีสะเกษเป็น
เกณฑ์ในการศึกษาเท่าที่สำรวจและค้นคว้าข้อมูลเอกสารภายในระยะเวลาที่กำหนด กำหนดสิมอีสาน
ทำการศึกษา จำนวน 3 หลัง ดังนี้
- สิมวัดโสภณวิหาร บ.ลุมพุก ต.กันทรารมย์ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
- สิมวัดบ้านสะเดา บ.สะเดา ต.โพธิ์ชัย อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
- สิมวัดทุ่งเลน บ.ทุ่งเลน ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ
2. ศึกษาสถาปัตยกรรมสิมอีสาน ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีการรื้อถอน ปรับปรุง
บูรณปฎิสังขรณ์ เปลี่ยนแปลง ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ( พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2560)
3. ขอบเขตของคำว่า สิมอีสาน หมายถึงรูปแบบที่สืบทอดตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิมมีอายุตั้งแต่
70 ปีขึ้นไป
4. ศึกษาถึงความแตกต่างและสอดคล้องสัมพันธ์กัน ทางลักษณะรูปแบบสิมอีสานอันเกิดจาก
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เช่น การโยกย้ายของกลุ่มคน การนับถือพุทธ
ศาสนา การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การรับอิทธิพลทางวัฒนธรรม คติความเชื่อ และเทคนิควิทยาการ
ก่อสร้างของชุมชนในเขตวัฒนธรรมลาว เขมร ส่วยและเยอ ของแต่ละชุมชน
5. ช่วงระยะเวลาที่ทำการเก็บข้อมูลศึกษา คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – ธันวาคม
พ.ศ. 2561
ขั้นตอนการศึกษา
การดำเนินการศึกษาโครงงานในครั้งนี้ คณะผู้จัดทำโครงงานได้สืบหาลักษณะรูปแบบและ
ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม โดยใช้วิธีการหลายๆ อย่าง เช่น การค้นคว้าจากภาคสนาม ( Field
Research) ประกอบการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และการศึกษาจากเอกสาร ( Documentary
Research) ตามกระบวนการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1. ขั้นทำการรวบรวมและศึกษา ข้อมูลภาคเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร,
สิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
5
2. ขั้นทำการรวบรวมศึกษา ข้อมูลภาคสนาม เป็นการสำรวจเก็บข้อมูลตัวแบบสถาปัตยกรรมที่
ทำการศึกษา และสัมภาษณ์
2.1 ตัวอาคารสิมที่ยังปรากฏหลักฐานในวัด ถ่ายภาพ ภาพถ่ายสิมอีสานในอดีต สิมและ
อาคารต่าง ในผังบริเวณผังอาคาร ผังวัด เป็นต้น
2.2 หลักฐานจากชิ้นส่วนอันเป็นชิ้นส่วนงานประณีตสถาปัตยกรรมที่ตกแต่งอาคารได้แก่
เครื่องไม้แกะสลัก
2.3 ข้อมูลสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่น ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิมอีสานในเขตพื้นที่
ทำการศึกษาได้แก่ พระภิกษุ อดีตพระภิกษุ ปราชญ์ชาวบ้าน ( ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ) เป็นต้น
2.4 ข้อมูลสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสิมอีสาน คือ ดร.ติ๊ก แสนบุญ รองคณบดี
คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
3. ขั้นจัดลำดับและกลุ่มข้อมูลต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่
4. ขั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลภาคเอกสาร และภาคสนาม จัดกลุ่มแตกความแตกต่าง
ลักษณะเฉพาะของสิมแต่ละชุมชนถึงความสัมพันธ์กันกับลักษณะทางสถาปัตยกรรม และประวัติความ
เป็นมา ลำดับอายุก่อนหลังที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์
5. ขั้นสรุปผลการศึกษาตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
นิยามคำศัพท์
1. สิม เป็นคำนามที่ชาวอีสานใช้เรียกอาคารที่เป็นโบสถ์ มาจากภาษาบาลี คำว่า สีมา (เขต)
2. สิมอีสาน หมายถึง โบสถ์อีสาน มาจากการที่ทางอีสานเรียกโบสถ์ว่า “สิม” ลักษณะโดยทั่วไป
ของสิม แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักตามสภาพของแหล่งที่ตั้ง คือ สิมน้ำและสิมบก สิมน้ำ เป็นสิมที่ตั้งอยู่
กลางน้ำ เช่น สระ หนอง บึง ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่สร้างอย่างชั่วคราวสำหรับวัดที่ยังไม่มีวิสุงคามสีมา
ส่วนใหญ่ สิมบกเป็นสิมที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินในบริเวณนั้นวัดล้อมรอบด้วยหมู่กุฏิ หอแจก หอกลอง หอระฆัง
หอพระธาตุ ลักษณะของสิมบกมีทั้งสิมทึบ และสิมโปร่ง
3. สิมทรงโรง หมายถึง สิมทึบหรือโบสถ์รูปแบบพิเศษ ไม่มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง ใช้ผนังเป็น
ตัวรับน้ำหนักหลังคาสิม มีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าสิมทั่วไป
4. สิมศรีสะเกษ หมายถึง สิมบกที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีที่
สร้างสรรค์โดยช่างท้องถิ่น และมีเอกลักษณ์ต่างจากรูปแบบสถาปัตยกรรมในพื้นที่อื่น ๆ เอกลักษณ์ที่เกิด
จากการผสมผสานแนวคิด คติความเชื่อและเทคนิคในการสร้างงานตามภูมิปัญญาของผู้คนในท้องถิ่นที่
สืบทอดตามขนบธรรมเนียม
6
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ข้อมูลจากการศึกษาสิมอีสาน ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ในครั้งนี้สามารถนำเป็นข้อมูลพื้นฐาน
เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมสิมอีสาน การบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะสูญหาย
2. ข้อมูลจากการศึกษาสิมอีสาน ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ในครั้งนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษ และสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่มีคุณค่าเป็นแหล่งเรียนรู้ให้
นักเรียน และผู้ที่สนใจได้เรียนรู้
3. ทำให้ได้รับความรู้ในด้านศิลปสถาปัตยกรรมท้องถิ่น และเห็นคุณค่าของสิมอีสานทั้งในด้าน
ความงามด้านสถาปัตยกรรม และงานฝีมือ ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งนำมาสู่ความรัก ความภาคภูมิใจใน
ท้องถิ่นของตนเอง
7
บทที่ 2
สถาปัตยกรรมสิมอีสาน และประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ
วัดเป็นสถานที่สำคัญที่มีความสำคัญกับชุมชนและผู้คนในภาคอีสาน เนื่องจากการมีความเชื่อ
และความผูกพันเกี่ยวกับธรรมเนียมประเพณีที่เรียกว่า “ฮีตวัด” กล่าวคือการสร้างวัดขึ้นพร้อมกับการ
สร้างบ้านสร้างเมือง วัดจึงเป็นสถานที่สำคัญของชุมชนในฐานะของการเป็นจุดศูนย์รวมของชุมชน นั้นคือ
วัดเป็นทั้งสถานที่สำหรับทำสังฆกรรมของพระสงฆ์และการเป็นสถานที่ทำกิจกรรมของชาวบ้าน โดยส่วน
ใหญ่วัดในภาคอีสานประกอบด้วย พระธาตุ สิม หอแจก หอไตร กุฏิ หอระฆัง หอกลอง และหอพระ
1. ที่มาและความหมายของสิม
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารทรงมีพระราชประสงค์ ที่จะขอพระราชทานพระพุทธองค์ ทรง
อนุญาตให้นักบวชประชุมกันทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ 15 ค่ำ โดยแสดงธรรมและสวดปาติโมกข์ทุกวัน 14 ค่ำ
และ 15 ค่ำ โยทรงกำหนดสมบัติสิมานั้นอย่างน้อยต้องจุพระภิกษุได้ไม่ต่ำกว่า 21 รูป นั่งหัตถบาตกันได้
ขนาดไม่ใหญ่เกิน 3 โยชน์ สีมาที่ใหญ่หรือเล็กกว่านี้ถือว่าวิบัติ โดยกำหนดตัวอาคารด้วย นิมิต 8 อย่าง
ต่อมาเมื่อพระสงฆ์ในพุทธศาสนาจะทำสังฆกรรมอันใดต้องประชุมร่วมกันทำอุโบสถกรรม ต้องสมมติ
พื้นที่นั้นเป็นสีมาที่ถูกต้องตามวินัยก่อน
อุโบสถ หมายถึงอาคารที่ทำการแสดงปาติโมกข์ และทำสังฆกรรม อุปสมบทกรรมซึ่งเป็นเขตที่
ทรงบัญญัติไว้ตามพระวินัย
ที่ใช้ทำสังฆกรรมได้ นั้น จะอยู่ในเขตสีมาต้องมีการกำหนดเขตสีมาด้วย นิมิต ซึ่งสามารถกำหนด
นิมิตได้ ด้วยของสำคัญ 8 ชนิด คือ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ เท่านั้น ในพระ
วินัยปิฎกตอนวินัยมุข เล่ม 3 กัณฑ์ที่ 24 กล่าวถึง ชนิดของนิมิต การกำหนดเขตสีมา และข้อกำหนดการ
สร้างอุโบสถาวร นอกจากนี้ยังกล่าวถึง น่านน้ำ ที่พระสงฆ์กำหนดเป็น อุทกกเขปสีมา มี 3 ประเภท คือ
แม่น้ำ ทะเล ชาตสระ ( สระที่เกิดขึ้นเอง ห้วยหนอง บึง ทะเลสาป) เวลาจะทำสังฆกรรมต้องผูกแพในน้ำ
นั้นแล้วผูกไม่ให้ลอย หรือปลูกร้านอาคารในน้ำนั้น จะต้องห่างจากฝั่งช่วงระยะวักน้ำสาดไม่ถึง มิฉะนั้น
เมื่อประกอบพิธีกรรม จะเป็นสีมาวิบัติ (ประกอบสังกรรมไม่ได้) ในภาคอีสานจะพบ สิมน้ำ ในลักษณะ
ดังกล่าวมากในอดีต ในช่วงแรกเริ่มก่อตั้งชุมชนเพราะความต้องการใช้อาคารสิม เพื่อประกอบสังฆกรรม
และอุปสมบทกรรมได้ก่อนที่จะมีการสิมเป็นการถาวรที่เรียกว่า สิมบก ซึ่งใช้เวลานาน
สีมา เป็นเขตแดนที่สมมุติขึ้นว่ามีพื้นที่เท่าใด ในทางด้านเมืองหมายถึงพื้นที่ของประเทศ ฉะนั้น
เมื่อจะกำหนดเขตสีมาเพื่อการตั้งหรือสร้างพระอุโบสถจึงต้องมีการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา เพื่อกัน
แดนให้เป็นเขตเฉพาะหรือเป็นเขตต่างจากคามสีมา ( คือประเทศ หมู่บ้าน ชุมชน) สีมาแบ่งเป็น 2
8
ประเภท คือ พัทธสีมา แปลว่าผูกแล้ว กำหนดเขตแล้วเป็นการถาวรส่วน อพัทธสีมา หมายถึงแดนที่ไม่ผูก
ใช้ทำสังฆกรรมได้เช่นเดียวกัน
คำว่า “สิม” ตามพจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลางให้ความหมายคำว่า “สิม” เป็นโรงที่พระสงฆ์
ทำสังฆกรรมต่าง ๆ เป็นภาษาพื้นถิ่นในวัฒนธรรมล้านช้างและดินแดนในภาคอีสาน มีความหมาย
เช่นเดียวกับโบสถ์หรืออุโบสถในภาคกลาง โดยมีที่มาจากคำว่า “สีมา” หมายถึงหลักหรือที่นิยมเรียก
ทั่วไปว่า “ใบสีมา” ซึ่งใช้ปักล้อมรอบโบสถ์เพื่อเป็นการแสดงขอบเขตศักดิ์สิทธิ์ของโบสถ์ โดยเขตสีมาต้อง
มีการกำหนดเขตด้วยนิมิต 8 ชนิด คือ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ และน้ำ ในพระ
วินัยปิฎก ตอนวินัยมุข เล่ม3 กัณฑ์ที่ 24 กล่าวถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ทะเลสาบ
ห้วยหนอง และบึง ดังนั้นอาคารประเภทสิมในภาคอีสานจึงพบทั้งสิมน้ำและสิมบก
“สิม” หมายถึงอาคารศาสนสถานใช้สำหรับประกอบพิธีสังฆกรรมรวมถึงพิธีกรรมในพุทธศาสนา
เช่น การทำอุโบสถกรรมตามพระวินัยบัญญัติและใช้ในการอุปสมบท เป็นต้น ดังนั้นสิมจึงถือเป็นอาคาร
สังฆกรรมสำคัญของวัดในภาคอีสาน
2. คติความเชื่อเกี่ยวกับสิม
ตามความเชื่อของชาวอีสานถือว่าพื้นที่ภายในอาคารที่เรียกว่า “สิม” เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์และมี
ความบริสุทธิ์ ดังนั้น สิมจึงเป็นพื้น ที่เฉพาะสำหรับการทำสังฆกรรมของพระสงฆ์เพียงเท่านั้นในขณะ
พระสงฆ์ทำสังฆกรรมฆราวาสจะไม่สามารถเข้าไปภายในบริเวณสิม แม้กระทั่งบริเวณบันไดหรือมุข
ด้านหน้าสิม โดยฆราวาสต้องอยู่ในบริเวณศาลาหรือหอแจก ในพิธีกรรมทางศาสนาบางอย่างมีการ
อนุโลมฆราวาสผู้ชายสามารถเข้าไปภายในสิม มีข้อห้ามเด็ดขาดในการห้ามผู้หญิงเข้าไปภายในสิม
ข้อจำกัดดังกล่าวเกี่ยวกับการใช้งานสิมเป็นผลมาจากความเชื่อของชาวในเรื่องของบือสิมชาว
อีสานจะให้ความสำคัญของบือสิมอย่างมาก ในการสร้างสิมของชาวอีสานจะมีประเพณีการฝังลูกนิมิต
ตรงกลางสิม ลูกนิมิตนีเรียกว่า “บือสิม” ดังนั้น ชาวอีสานจึงให้ความสำคัญกับบือสิมในฐานะสิ่งของอัน
ศักดิ์สิทธิ์ที่บรรพบุรุษได้สร้างเอาไว้และควรให้คงอยู่ต่อไป ด้วยความเชื่อดังกล่าวจึงเกิดปัญหาการรื้อฟื้น
ตัวอาคารสิมหลังเก่าทิ้ง เพื่อสร้างอุโบสถหลังใหม่
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในเรื่องของตำแหน่งการวางสิม โดยมีข้อห้ามไม่ให้สร้างอาคารหลังอื่น
ในตำแหน่งด้านหน้าสิมโดยเฉพาะกุฏิสงฆ์ เนื่องจากชาวอีสานมีความเชื่อว่าการสร้างกุฏิไปด้านหน้าสิม
เป็นการหันหน้าตรงกับพระพักตร์และพระเนตรของพระประธานภายในสิม ทำให้พระประธานเห็นการ
กระทำของพระสงฆ์ที่ไม่สมควรอาจจะก่อให้เกิดความวิบัติแก่วัดและพระสงฆ์ และตามความเชื่อของชาว
อีสานหากมีชุมชนขวางหน้าสิมจะมีการสร้างกำแพงเพื่อกำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์
9
โบสถ์ หรือ สิม เป็นสถานที่สำคัญที่สุดในบริเวณวัด โดยถือว่าเป็นเขตพุทธาวาส คนโบราณได้คติ
ความเชื่อเกี่ยวกับการวางตำแหน่งไว้ดังนี้
- ไม่วางอาคารอื่นในวัดอยู่แนวตรงกันกับตัวโบสถ์
- ห้ามสร้างกุฏิอยู่หน้าโบสถ์
- เงาของโบสถ์ไม่ให้ทับสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่อยู่บริเวณวัด
จากการศึกษามักพบว่าโบสถ์จะตั้งอยู่ทิศตะวันออก หรือตะวันออกเฉียงเหนือของผังวัด โดยมี
อาคารอื่นวางเยื้องด้านทิศตะวันตกลงสู่ทิศใต้ เช่น ศาลากุฏิ ตามลำดับ เมื่อมาพิจารณาถึงการวาง
ตำแหน่งและตั้งวัด อาคาร ที่มีความสำคัญจะถือทิศที่มีความหมายเป็นมงคลแห่งทิศ อันได้แก่ ทิศ
ตะวันออก ทิศเหนือ หรือในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเกณฑ์ในการวางตำแหน่ง
ภาพที่ 1 แผนผังในการวางตำแหน่งอาคารภายในวัดตามคติความเชื่อ
จากการศึกษาของ รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ท่านได้ให้ความเห็นในเรื่องการวางผังอาคารในวัด ไว้ว่า
การวางผังของวัดและสิมพื้นบ้านในภาคอีสาน ไม่มีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนที่ตายตัว เนื่องจากสิมพื้น
บ้านเป็นงานพื้นบ้านที่ทำตอบสนองประโยชน์ใช้สอย มากกว่าเป็นการตั้งกฎเกณฑ์วางอาคารตามคติ
ความเชื่อ ซึ่งจากการพิจารณาความสัมพันธ์ของการวางอาคารตามความเห็นของ สุวิทย์ จิระมณี
จะพบว่าการวางอาคารตามผังดังกล่าวเป็นการวางตำแหน่งที่ตอบสนองประโยชน์ใช้สอย อาคารที่มีการ
ใช้งานบ่อยและมีความสัมพันธ์กัน เช่น หอระฆังและกุฏิ มักจะพบอยู่ใกล้กัน สิมพื้นบ้านมักตั้งอยู่เป็น
อาคารเดี่ยวที่มี พื้นที่โล่งกว้างโดยรอบอาคาร ตอบสนองการใช้งานพิธีกรรมและกิจกรรมงานบุญต่าง ๆ
เป็นต้น
10
ภาพที่ 2 สิมกลางน้ำ วัดศิริสว่างวราราม อำเภอ กมลาไสย จังหวัด กาฬสินธุ์
ที่มา : http://isan.tiewrussia.com/wat_sirisawang/
3. บทบาทและหน้าที่ของสิม
สิมเป็นอาคารสำคัญของวัดใช้สำหรับการทำพิธีกรรมทางศาสนาและสังฆกรรมของพระสงฆ์
หากวัดใดไม่มีสิมไม่สามารถทำสังฆกรรมที่สำคัญได้ อย่างเช่น หมู่บ้านใดภายในวัดไม่มีสิมการอุปสมบท
ต้องเดินทางไปทำในหมู่บ้านอื่น และมีการกำหนดสังฆกรรมเพียงไม่กี่อย่างที่สามารถทำภายในสิมได้ ดังนี้
3.1 การทำอุโบสถกรรมตามพระวินัยบัญญัติ ได้แก่ การสวดพระปาฎิโมกข์ในทุกครึ่ง
เดือนของวัน 15 ค่ำ และการทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นในช่วงเข้าพรรษา
3.2 การอุปสมบทเป็นสังฆกรรมสำคัญ ฐานะแหล่งกำเนิดพระภิกษุผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา
3.3. พิธีสวดผ้ากฐิน งานบุญกฐินจัดขึ้น ในเดือนสิบสอง ตามประเพณีมีการถวายผ้า
กฐิน เมื่อรับผ้ากฐินแล้วพระสงฆ์จะนำผ้ากฐินไปสวดภายในสิม
3.4. ใช้ในการทำสังฆกรรมเพื่อสวดในงานเข้าปริวาสกรรม เช่น การสวดอัพภาน ซึ่ง
เป็นขั้น ตอนสุดท้ายของการเข้าปริวาสกรรม
4. รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของสิมอีสาน
สิม ทางภาคอีสานในสมัยก่อนส่วนใหญ่นิยมสร้างอาคารขนาดเล็กกระทัดรัด ส่วนมากไม่เกิน
3 ช่วงเสา บางแห่งก็มีมุขด้านหน้า เนื่องจากเป็นสิมที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในชุมชนที่ไม่ใหญ่นัก แต่ละวัด
มีจำนวนพระสงฆ์ไม่มาก มักสร้างให้เพียงพอแก่พระสงฆ์ในการประกอบสังฆกรรมได้สัก 21 รูป ตามบรม
พุทธานุญาติ โดยมีขนาดนั่งหัตถบาตรเรียงลำดับห่างกันองค์หนึ่งๆ หนึ่งศอก
ประเภทของสิมอีสาน สิมอีสานสามารถจำแนกประเภทของสิมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
ได้แก่ สิมน้ำ และสิมบก
4.1. สิมน้ำ เป็นสิมสร้างขึ้นในแหล่งน้ำ และกำหนดเขตสีมาด้วยน้ำ เรียกว่า
“อุทกเขปสีมา” สิมน้ำ เป็นอาคารถูกปลูกสร้างขึ้นชั่วคราวขณะยังไม่มีวิสุงคามสีมาแบบถาวร โดยสร้าง
ตามแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้กับหมู่บ้าน เช่น ห้วย บึงและหนองน้ำ รูปแบบของสิมน้ำ มีความเรียบง่ายส่วน
ใหญ่มีลักษณะคล้ายศาลากลางน้ำ มีฝาปิดล้อมรอบแบบหลวมๆ เพื่อให้อากาศถ่ายเทเข้าสู่ภายในได้
สะดวก การสร้างจะไม่คำนึงถึงรูปแบบทาง
สถาปัตยกรรมและความสวยงาม การสร้างสิมน้ำ
พบตามพื้นที่เขตชนบทห่างไกลตามภาคอีสาน
ปัจจุบันสิมน้ำ แถบจะไม่เหลืออยู่ในภาคอีสานหาก
ยังเหลือส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมอย่าง
มาก เนื่องจากการไม่ได้ใช้ประโยชน์และบ่อยทิ้ง
ให้ผุพังตามกาลเวลา
11
4.2. สิมบก เป็นอาคารปลูกสร้างบนพื้นดินในบริเวณวัด ลักษณะรูปแบบเป็นอาคารชนิด
ถาวรก่อด้วยไม้หรือก่ออิฐฉาบปูน รูปแบบของสิมบกสามารถแบ่งออก 2 ประเภท คือ สิมโปร่งและสิมทึบ
1) สิมโปร่ง เป็นสิมก่ออิฐฉาบปูนชะทายพื้นเมืองซึ่งเป็นปูนขาวผสมทราย และน้ำหนัง
ยางบงแบบพื้นเมือง อยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2 – 3 ห้อง ก่อผนังเตี้ย ในส่วนของผนังด้านข้างและ
ด้านหน้าในส่วนผนังด้านหลังซึ่งเป็นส่วนของพระประธานก่อทึบสูงจั่ว ผนังด้านหลังก่ออิฐเป็นแท่นยาว
ติดตามแนวผนังสำหรับเป็นฐานวางพระพุทธรูปโครงสร้างหลังคาเป็นจั่วชั้นเดียวนิยมทำปีกนกยื่นออกมา
ทั้ง 4 ด้าน หน้าบันด้านหลังปิดทึบไม่มีชานจั่ว และในส่วนด้านหน้าทำชานยื่นคลุมบันได
ภาพที่ 3 แสดงสิมโปรงพื้นบาน ลักษณะและพื้นที่การใชสอยของสิมโปรง
ที่มา : ภาพตนฉบับจากหนังสือสิมอีสาน, รองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร
2) สิมทึบ เป็นสิมที่มีการก่อผนังปิดทึบทั้ง 4 ด้าน การสร้างผนังนิยมสร้างเป็นผนังไม้
และก่ออิฐฉาบด้วยปูนชะทายพื้นเมือง เป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 1 – 3 ห้อง ผนังด้านข้าง
เจาะช่องหน้าต่าง 1 – 2 ช่อง มีทางขึ้นด้านหน้าเพียงด้านเดียว โครงสร้างหลังคาเป็นหลังคาทรงจั่วชั้น
เดียวหรือซ้อนชั้นนิยมสร้างหลังคาปีกนกโดยรอบอาคาร ราวบันไดนิยมทำเป็นรูปสัตว์ เช่น นาค มกร
จระเข้ เป็นต้น องค์ประกอบตกแต่งนิยมสร้างด้วยไม้ เช่น โหง่ ลำยอง รวงผึ้งและคันทวย
ภาพที่ 4 แสดงสิมทึบพื้นบาน ลักษณะและพื้นที่การใชสอยของสิมทึบ
ที่มา : ภาพตนฉบับจากหนังสือสิมอีสาน, รองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร
12
จากการศึกษาของ รองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร ได้จำแนกสิมบกไว้ตามปัจจัยการที่ทำ
ให้อาคารสิมสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการ ของคติการสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ของชุมชนพุทธศาสนาใน
อีสาน เมื่อชุมชนรับอิทธิพลต่าง ๆ จากภายนอกเข้าไป และจำแนกสิมอีสาน ซึ่งมีการรวบรวมและแบ่ง
ประเภทตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมของสิมไว้ 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
• สิม พื้นบ้านบริสุทธิ์
• สิม พื้นบ้านประยุกต์ โดยช่างพื้นบ้าน (รุ่นหลัง)
• สิม พื้นบ้านผสมเมืองหลวง
• สิม ที่ลอกเลียนเมืองหลวง
5. องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของสิมอีสาน
นอกจากสิมจะมีรูปแบบตัวอาคารที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานอย่าง
ชัดเจนแล้ว ยังมีองค์ประกอบ ต่าง ๆ ทางสถาปัตยกรรมเพื่อใช้ในการตกแต่งสิมโดยเฉพาะที่ทำให้ตัวสิม
เองมีความวิจิตรพิสดารงดงามเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ภาพที่ 5 แสดงองค์ประกอบและตำแหน่งขององค์ประกอบสิม ในที่นี้ใช้สิมทึบเป็นแบบอย่างในการแสดง
ที่มา : ภาพตนฉบับจากหนังสือสิมอีสาน, รองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร
13
ภาพที่7 ลักษณะการตกแต่งบันไดทางขึ้นของสิม
ลายเส้นโดยอาจารย์กิตติสันต์ ศรีรักษา
ที่มา: http://202.12.97.23/main/esanart/sketch/decor/skl002.jpg
1) ฐานสิม ( แอวขัน หรือ เอวขัน )
ลักษณะฐานรากเป็นแบบฐานรากแผ่ มีการบด
อัดดินบริเวณที่จะสร้างให้แน่น และทำการก่อสร้างอาคาร
เป็นผนังรับน้ำหนักโดยที่ไม่มีการตอกเข็ม ส่วนลักษณะ
ฐานอาคาร มีความเรียบง่าย บางแห่งเป็นลักษณะฐาน
ปัทม์ ตั้งซ้อนกัน 3 ชั้น แต่ส่วนมากมีการนำเอา
องค์ประกอบแบบลักษณะของฐานสถาปัตยกรรมไทยมา
ใช้ คือ บัวคว่ำ บัวหงาย แต่ในรูปแบบที่ไม่เป็นพิธีรีตอง
มากนัก ไม่มี กฎเกณฑ์ตายตัว ส่วนมากมีการยกพื้น
บางแห่งสูงถึง 1-2 เมตร เป็นฐานแบบก่ออิฐฉาบปูนโดย
ใช้ปูนหมัก เรียบไม่มีลวดลาย ส่วนฐานของสิม เรียกว่า
เอวขัน หรือ แอวขัน (ตามเสียงภาษาพื้นถิ่นอีสาน) หาก
แปลตามความหมาย เอวขันจะหมายถึง ส่วนกลาง
ของขันหมาก ซึ่งมีลักษณะคอดกิ่วเข้าไป มักได้
สัดส่วนกันระหว่างด้านบน กับด้านล่าง เมื่อนำไปใช้
ในงานก่อสร้างที่มีรูปร่างคล้ายดังนั้น ช่างจะเรียกว่า
เอวขัน ซึ่งส่วนประกอบ มีดังนี้
- โบกคว่ำ (บัวคว่ำ) - ท้องไม้ (ส่วนกลางของเอวขัน)
- โบกหงาย (บัวหงาย) - ลวดบัว (ส่วนย่อหยักเป็นส่วนขนาน)
2) บันไดทางขึ้น
มักมีบันไดทางขึ้นเพียงด้านเดียว นิยมทำปูนปั้นเป็นรูปสัตว์เฝ้าบันไดเช่นจระเข้นอนราบบาง
แห่งเป็นจระเข้อ้าปากคาบสิงห์ บางแห่งเป็นตัวสัตว์คล้ายมอมที่คนสมัยก่อนใช้สักไว้ตามขา (เฉพาะ
ผู้ชาย) เป็นต้น
ภาพที่ 6 แสดงรูปแบบของฐานสิมหรือแอวขัน
ที่มา : สิม สถาปัตยกรรมอีสาน รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก
14
ภาพที่ 9 ลักษณะการตกแต่งฮังผึ้งของสิม ลายเส้นโดยอาจารย์กิตติสันต์ ศรีรักษา
ที่มา: http://202.12.97.23/main/esanart/sketch/décor/skl555.jpg
3) คันทวย
คันทวยหรือแขนนางหรือค้ำยันหลังคาเป็นลักษณะพิเศษของสิมอีสานที่ไม่มีในที่อื่น กล่าวคือ
จะมีทั้งทวยนาคและทวยแผง ซึ่งเป็นแผงแผ่นไม้ขนาดค่อนข้างใหญ่ แกะสลักลายนูนต่ำสองด้าน การ
ประดับของคันทวยในด้านล่างจะมีเต้าไม้ยื่นออกมารับจากผนังและเอนหัว ออกเล็กน้อยเพื่อขึ้นไปยึดกับ
ไม้ด้านบน ที่เป็นไม้ขื่อรับปีกนกยันเชิงชาย
ภาพที่ 8 ลักษณะของคันทวยแบบต่างๆ
ที่มา: หลากภูมิธรรม นฤมิตกรรมอีสาน, รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร
4) ฮังผึ้ง
ฮังผึ้ง หรือ “รวงผึ้ง” ในภาษาภาคกลาง หรือ “โก่งคิ้ว” ในภาษาภาคเหนือ มีลักษณะเด่นใน
การตกแต่งด้านหน้าของสิมอีสาน ซึ่งมักจะแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนแรกอยู่บริเวณช่วงเสากลางหน้าบัน
ของจั่วใหญ่ ตรงกับบันไดทางขึ้น (ฮังผึ้งจะอยู่สูงกว่าปกติ) อีกสองส่วนจะอยู่ในบริเวณช่วงเสาอีกสองข้าง
ของบันไดปีกนก (ฮังผึ้งจะอยู่ต่ำลงมา) โดยจะมีการแกะสลักลวดลายวิจิตรประณีต ทำให้สิมมีความ
สวยงามมากยิ่งขึ้น
15
ภาพที่ 12 แสดงรูปแบบของโหง่
ที่มา : สิม สถาปัตยกรรมอีสาน รองศาสตราจารย์ สมใจ นิ่มเล็ก
5) ฮูปแต้ม
ฮูปแต้มหรือจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏอยู่บนผนังของสิม ซึ่งจะมีการเขียนภาพเป็นเรื่องราว
ต่าง ๆ เกี่ยวกับวรรณกรรมทางศาสนา ชาดก หรือเรื่องราวการประกอบอาชีพ ประเพณีต่าง ๆ ของผู้คน
ในภาคอีสาน โดยจะปรากฏบนผนังทั้งภายในและภายนอกของสิม
ภาพที่ 10 ลักษณะของฮูปแต้ม วัดบ้านสะเดา อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
6) ช่อฟ้าหรือปราสาท
ช่อฟ้าเป็นส่วนประดับที่บนที่สุดของสิม มักแกะสลักด้วยไม้เป็นลักษณะคล้ายปราสาทหรือ
ฉัตรตั้งลดหลั่นซ้อนกันขึ้นไปบนสันหลังคาตรงส่วนกลางของหลังคาสิม ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่บ่งบอกถึง
ความเป็นอีสาน
ภาพที่ 11 ลักษณะการตกแต่งช่อฟ้าของสิม ลายเส้นโดยอาจารย์กิตติสันต์ ศรีรักษา
ที่มา: http://202.12.97.23/main/esanart/sketch/décor/skl5123.jpg
7) โหง่
โหง่หรือ “ช่อฟ้า” ในภาคกลาง ถือเป็น
องค์ประกอบสำคัญในการตกแต่งสิมอีสานที่ขาดไม่ได้
เพราะจะทำให้หลังคาดูขาดด้วนไม่สมบูรณ์อย่างเห็น
ได้ชัด ช่างมีแนวความคิดในการออกแบบโหง่ให้มี
รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นถิ่น ทำให้มีคุณค่า
ทางศิลปกรรมเป็นอย่างมาก
16
8 ) ลำยอง
ลำยองคือส่วนที่เรียกว่า “นาคสะดุ้ง” แต่สิมอีสาน
มักนิยมทำเรียบเป็นแบบ “แป้นลม” ของเรือนพักอาศัย หลาย
แห่งแกะสลักเป็นลำตัวนาค เกี่ยวหางต่อหัวกัน ข้างละไม่ต่ำกว่า
3-5 ตัว
ภาพที่ 13 แสดงรูปแบบของแผงนาคหรือรำยอง
ที่มา : สิม สถาปัตยกรรมอีสาน รองศาสตราจารย์ สมใจ นิ่มเล็ก
9) หางหงส์ (ส่วนประดับบนปั้นลม)
หางหงส์ เป็นส่วนประดับบนปลายปั้นลม สลักเป็นหัวพญานาค หรือลายก้านดก (กนกหัว
ม้วน) ขึ้นอยู่กับแนวความคิดและจิตนการของช่าง
10) สีหน้า (หน้าบัน)
นิยมทำเป็นลายตาเวน หรือเป็นดวงตะวันส่องแสงเป็นรัศมีติดกระจกประดับ เสมือนความ
สว่างไสวสดใสชัชวาลแห่งดวงประทีป สื่อความหมายถึง ปัญญาของผู้ใฝ่ใจในพระธรรมขององค์พระ
สัมมาพุทธเจ้า
ภาพที่ 14 แสดงรูปแบบของหัวนาคหรือหางหงษ์
ที่มา : สิม สถาปัตยกรรมอีสาน รองศาสตราจารย์
สมใจ นิ่มเล็ก
ภาพที่ 15 แสดงรูปแบบของสีหน้า
หรือหน้าบันลายตาเวน วัดบ้านดูน
อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
17
ภาพที่ 16 แสดงการตั้งชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ
ที่มา : http://www.finearts.go.th/surinmuseum/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์/
book/49.html?page=83
6. ประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ
ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฎหลักฐาน
แน่นอน มีการจดบันทึกไว้พอสังเขป ส่วนมากได้จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุเล่าต่อ ๆ กันมา เอาความ
แน่นอนไม่ได้นัก นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า พื้นที่ภาคอีสานในปัจจุบันเคยเป็นที่
อยู่ของพวกละว้าและลาว มีแว่นแคว้นอาณาเขตปกครองเรียกว่า "อาณาจักรฟูนัน"
18
ประมาณปี พ.ศ.1100 พวกละว้าที่เคยมีอำนาจปกครอง อาณาจักรฟูนันเสื่อมอำนาจลง ขอมเข้า
มามีอำนาจแทนและตั้งอาณาจักรเจนละหรืออิศานปุระขึ้น พวกละว้าถอยร่นไปทางเหนือ ปล่อยให้พื้นที่
ภาคอีสานรกร้างว่างเปล่าเป็นจำนวนมาก เขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงจึงถูกทิ้งให้เป็น
ที่รกร้างและเป็นป่าดง ขอมได้แบ่งการปกครองเป็น 3 ภาค โดยมีศูนย์การปกครองอยู่ที่ละโว้ (ลพบุรี)
พิมาย(นครราชสีมา) และสกลนคร มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองใหญ่ที่
นครวัด
ในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ ศรีสะเกษน่าจะเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่ขอมใช้เป็นเส้นทางไปมาระหว่าง
เมืองประเทศราชดังกล่าวแล้ว เพราะปรากฎโบราณสถานโบราณวัตถุของขอมซึ่งกรมศิลปากรสำรวจใน
จังหวัดศรีสะเกษเมื่อ พ.ศ.2512 จำนวน15 แห่ง ไม่รวมเขาพระวิหารซึ่งเป็นเทวะสถานของขอมที่ยิ่งใหญ่
แห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีปราสาทหินสระกำแพงใหญ่สระกำแพงน้อย ปราสาทลุมพุก ปราสาทบ้านทาม
จาน(บ้านสมอ) ปราสาทเยอ ปราสาทโดนต็วล(ช่องตาเฒ่า อ.กันทรลักษ์) สันนิษฐานว่าโบราณสถาน
เหล่านี้มีอายุประมาณ 1,000 ปีเศษมีอยู่ตามท้องที่อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ ขอมคงสร้างขึ้นเพื่อ
เป็นที่พักและประกอบพิธีทางศาสนาระหว่างเดินทางจากนครวัดนครธม ข้ามเทือกเขาพนมดงรักมาสู่
ศูนย์กลางการปกครองภาคอีสานทั้ง 3 เมืองดังกล่าวแล้ว
เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไทยเริ่มมีอำนาจครอบครองดินแดนเหล่านี้ ขณะเดียวกันพื้นที่จังหวัด
ศรีสะเกษมีสภาพเป็นป่าดงอยู่นาน เพราะแม้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางก็มิได้บันทึกกล่าวถึงจังหวัด
ศรีสะเกษในเอกสารใด เพิ่งจะได้มีการบันทึกหลักฐานในพงศาวดารกล่าวถึงเมืองสุรินทร์ด้วย
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาอาณาจักรกว้างขวางมาก มีชาวบ้านป่าซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่แถบ
เมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาสักฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ปัจจุบัน ชนพวกนี้เรียกตัวเองว่า "ข่า" ส่วย" "กวย" หรือ "กุย" อยู่ในดินแดนของราชอาณาจักรไทย โดย
สมบูรณ์ (เพิ่งเสียให้ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2436หรือ ร.ศ.112) พวกนี้มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามา
เลี้ยงไว้ใช้งาน ชาวส่วยหรือชาวกวยได้อพยพย้ายที่ทำมาหากินข้ามมาฝั่งขวาแม่น้ำโขง เนื่องจากชาวเมือง
ศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานแย่งที่ทำมาหากิน
ในปี พ.ศ.2260 ชาวส่วยได้อพยพแยกออกเป็นหลายพวกด้วยกัน แต่ละพวกมีหัวหน้าควบคุมมา
เช่น เซียงปุม เซียงสี เซียงสง ตากะจะและเซียงขัน เซียงฆะ เซียงไชย หัวหน้าแต่ละคนก็ได้หาสมัครพรรค
พวกไปตั้งรกรากในที่ต่าง ๆ กัน เซียงปุมอยู่ที่บ้านที เซียงสีหรือตะกะอามอยู่ที่รัตนบุรี เซียงสงอยู่บ้าน
เมือลีง (อำเภอจอมพระ) เซียงฆะอยู่ที่สังขะ เวียงไชยอยู่บ้านจารพัด (อำเภอศรีขรภูมิ) ส่วนตากะจะ
และเซียงขัน อยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน (บ้านดวนใหญ่ปัจจุบัน)
19
พวกส่วยเหล่านี้อยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่หาเลี้ยงชีพด้วยการเกษตรและหาของป่าบริโภคใช้สอย
มีการไปมาหาสู่ติดต่อกันระหว่างพวกส่วยอยู่เสมอ มีสภาพภูมิประเทสติดต่อเขตกัมพูชา และมีเทือกเขา
พนมดงรักเป็นเส้นกันเขตแดน ป่าดงเขตนี้มีฝูงสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ โขลงช้างพัง ชางพลาย ฝูงเก้งกวาง
ละมั่งและโคแดงอยู่มากมายตามทุ่งหญ้าและราวป่า เหมาะกับการทำมาหาเลี้ยงชีพของชาวส่วยอย่างยิ่ง
ลุ พ.ศ.2302 ปีเถาะ จุลศักราช 1181 ตรงกับสมัยแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
(พระเจ้าเอกทัศน์) กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระยาช้างเผือกของพระองค์ได้แตกออกจาก
โรงช้างต้นในกรุงศรีอยุธยา เดินทางมาทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โปรดให้ทหารเอกคู่พระทัยสองพี่น้อง
(เข้าใจว่าสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พระนามเดิมทองด้วง และกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
พระนามเดิมบุญมา) คุมไพร่พล 30 นาย ออกติดตามผ่านมาแขวงพิมาย ทราบจากเจ้าเมืองพิมายว่า ใน
ดงริมเขาพนมดงรักมีพวกส่วยชำนาญใชการจับช้าง เลี้ยงช้าง สองพี่น้องกับไพร่พล จึงได้ติดตามสอง
พี่น้องไปหาเซียงสีไปที่บ้านกุดหวาย(อำเภอรัตนบุรี) เซียงสีจึงได้พาสองพี่น้องและไพร่พลตามหาเซียงสง
ที่บ้านเมืองลีง เซียงปุ่มที่บ้านเมืองที เซียงไชยที่บ้านกุดปะไท ตากะจะและเซียงขัน ที่บ้านโคกลำดวน
เซียฆะที่บ้านอัจจะปะนึง(เขตอำเภอสังขะ) ทุกคนร่วมเดินทางติดตามพระยาช้างเผือก สองพี่น้องและ
หัวหน้าป่าดงทั้งหมด ได้ออกติดตามล้อมจับพระยาช้างเผือกได้ที่บ้านหนองโชก ได้คืนมาและนำส่งถึง
กรุงศรีอยุธยา ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรด
เกล้าฯ ตั้งให้หัวหน้าบ้านป่าดงมีบรรดาศักด์ทั้งหมด ตากะจะหัวหน้าหมู่บ้านโคกลำดวน ได้เป็นหลวงแก้ว
สุวรรณ เซียงขันได้เป็นหลวงปราบอยู่กับตากะจะ
ต่อมาหัวหน้าหมู่บ้านป่าดงทั้ง 5 ได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา โดยนำ
สิ่งของไปทูลเกล้าฯ ถวาย คือช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นกระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้งน้ำผึ้ง เป็น
การส่งส่วยตามพระราชประเพณี สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงพิจารณาเห็นความดีความชอบ
เมื่อครั้งได้ช่วยเหลือจับพระยาช้างเผือก และเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านได้นำสิ่งของไปทูลเกล้าฯ ถวาย จึงทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้นทุกคน
ในปี พ.ศ.2302 นี้เองหลวงแก้วสุวรรณ(ตากะจะ) บ้านโคกลำดวนได้บรรดาศักดิ์เป็นเป็น
พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน มีพระบรมราชโองการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ซึ่งเดิมเรียกว่า
"เมืองศรีนครลำดวน" ขึ้นเป็นเมืองขุขันธ์ แปลว่า "เมืองป่าดง" ให้พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเป็นเจ้า
เมืองปกครอง
สมัยกรุงธนบุรี
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าในปี พ.ศ.2310 แล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระเจ้าตากสิน
มหาราช ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพและทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี พ.ศ.2321 ปีจอ จุลศักราช 1140
20
กรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) เป็นกบฏต่อไทย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ
เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าพระยาสุรสีห์เป็น
แม่ทัพยกขึ้นไปทางเมืองพิมาย แม่ทัพสั่งให้เจ้าเมืองพิมายแต่งข้าหลวงออกเกณฑ์กำลังเมืองประทาสมันต์
(จังหวัดสุรินทร์) เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองรัตนบุรี เป็นทัพบกยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองจำปาศักดิ์
ได้ชัยชนะยอมขึ้นต่อไทยทั้งสองเมือง กองทัพไทยเข้าเมืองเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและ
พระบาง พร้อมคุมตัวนครจำปาศักดิ์ไชยกุมารกลับกรุงธนบุรีในการศึกครั้งนี้เมื่อเดินทางกลับ หลวงปราบ
(เซียงขัน) ทหารเอกในกองทัพ ได้หญิงม่ายชาวลาวคนหนึ่งกลับมาเป็นภรรยา มีบุตรชายติดตามมาด้วย
ชื่อท้าวบุญจันทน์
พ.ศ.2324 เมืองเขมรเกิดจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระยาสุรสีห์ ได้รับ
พระบรมราชโองการให้เป็นแม่ทัพยกกองทัพไปปราบจลาจลครั้งนี้ โดยเกณฑ์กำลังของเมืองปะทายสมันต์
เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะ สมทบกับกองทัพหลวงออกไปปราบปราม กองทัพไทยยกไปตีเมืองเสียมราฐ
กำพงสวาย บรรทายเพชร บรรทายมาศ และเมืองรูงตำแรย์(ถ้ำช้าง) เมืองเหล่านี้ยอมแพ้ ขอขึ้นเป็นขอบ
ขัณฑสีมา เสร็จแล้วยกทัพกลับกรุงธนบุรี
เมื่อเสร็จสงครามเวียงจันทน์ และเมืองเขมรแล้ว ได้ปูนบำเหน็จให้แก่เจ้าเมืองปะทายสมันต์
เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยาให้พระยาทั้งสามเมือง เจ้าเมืองขุขันธ์ได้
บรรดาศักดิ์ใหม่ จากพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี ในปีเดียวกันนั้นเองพระยา
ขุขันธ์ภักดี(ตากะจะ) ถึงแก่อนิจกรรมจึงโปรดให้หลวงปราบ(เซียงขัน) ขึ้นเป็นพระยาไกรภักดีศรีนคร
ลำดวนเจ้าเมืองขุขันธ์ ต่อมาเมืองขุขันธ์ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวนกันดารน้ำ พระยาไกรภักดีฯ จึง
อพยพเมืองย้ายมาอยู่บ้านแตระ(แตระ)ตำบลห้วยเหนือ ที่ตั้งอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ลุ พ.ศ.2325 ปีขาล จุลศักราช 1144 พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จ
เถลิงถวัลยราชสมบัติ
พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(เซียงขัน) ได้บรรดาศักดิ์เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี ได้มีใบบอกกราบ
บังคมทูลข้อตั้งท้าวบุญจันทร์ เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ผู้ช่วยเจ้าเมือง อยู่มาวันหนึ่งพระยา
ขุขันธ์ภักดี เผลอเรียกพระยาไกรภักดีฯ(บุญจันทร์)ว่า "ลูกเชลย" พระยาไกรภักดีจึงโกรธและผูกพยาบาท
ภายหลังมีพ่อค้าญวน 30 คน มาซื้อโคกระบือที่เมืองขุขันธ์ พระยาขุขันธ์ภักดีอำนวยความสะดวกและจัด
ที่พักให้ญวนตลอดจนให้ไพร่นำทางไปช่องโพย ให้พวกญวนนำโค กระบือ ไปยังเมืองพนมเปญได้สะดวก
พระยาไกรภักดีฯ(บุญจันทร์) ได้กล่าวโทษมายังกรุงเทพฯและโปรดเกล้าให้เรียกตัวพระยาขุขันธ์ไปลงโทษ
และจำคุกไว้ที่กรุงเทพฯ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาไกรภักดีฯ(บุญจันทร์) เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์แทน
21
ในปี พ.ศ.2325 นี้ พระภักดีภูธรสงคราม(อุ่น) ปลัดเมืองขุขันธ์ กราบบังคมทูลขอแยกจากขุขันธ์
ไปตั้งที่บ้านโนนสามขา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านโนนสามขาขึ้นเป็นเมือง "ศรีสระเกศ"
ต่อมาปี พ.ศ.2328 ได้ย้ายเมืองศรีสระเกศจากบ้านโนนสามขา มาตั้ง ณ บ้านพันทาเจียงอี อยู่ในเขต
เทศบาลเมืองศรีสะเกษทุกวันนี้
พ.ศ.2342 มีโปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองขุขันธ์ เมืองสังฆะ เมืองละ 100 คน
รวม 300 คน ยกทัพไปตีพม่าซึ่งยกมาตั้งในเขตนครเชียงใหม่ กองทัพไทยมิทันไปถึง กองทัพพม่าก็ถอย
กลับ จึงโปรดเกล้าฯให้กองทัพไทยยกกลับ
พ.ศ.2350 ทรงพระราชดำริว่า เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จ
พระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้งมีความชอบมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทั้ง 3 เมือง ขึ้นตรงต่อ
กรุงเทพฯ มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน
พ.ศ.2369 รัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช
(สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทน์ คุมกองทัพบกเข้าตีเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา
ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์(เจ้าโย่) เกณฑ์กำลังยกทัพมาตีเมืองขุขันธ์จับพระไกรภักดีศรี
นครลำดวน(บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระภักดีภูธรสงคราม(มานะ) ปลัดเมืองกับพระแก้วมนตรี(ทศ)
ยกกระบัตรกับกรมการได้ ฆ่าตายทั้งหมด เจ้าเมืองสังฆะ และเมืองสุรินทร์หนีได้ทัน กองทัพจำปาศักดิ์
ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ค่ายหนึ่ง และค่ายอื่น ๆ สี่ค่าย กวาดต้อนครอบครัวไทยเขมรไป
เมืองจำปาศักดิ์ จากนั้นมาเมืองขุขันธ์ ไม่มีข้าราชการปกครอง โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสังฆะ ไปเป็นพระยา
ไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมือง ให้พระไชยเป็นพระภักดีภูธรสงครามปลัดเมือง ให้พระสะเทื้อน (นวน)
เป็นพระแก้วมนตรียกกระบัตรเมือง ให้ท้ายหล้าบุตรพระยาขุขันธ์(เซียงขัน) เป็นมหาดไทยช่วยกันรักษา
เมืองขุขันธ์ต่อไป จากนั้นมาได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเจ้าเมืองและนามเจ้าเมืองหลายครั้ง
พ.ศ.2426 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาขุขันธ์(ปัญญา) เจ้าเมืองกับ
พระปลัด(จันลี) ได้นำช้างพังสีประหลาดหนึ่งเชือกลงมาน้อมเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพฯ
พ.ศ.2433 มีสารตราโปรดเกล้าฯ ให้เมืองศรีสระเกศ(ชื่อเดิม) ไปอยู่ในบังคับบัญชาของข้าหลวง
ใหญ่ได้โปรดให้หลวงจำนงยุทธกิจ(อิ่ม) กับขุนไผทไทยพิทักษ์(เกลื่อน) เป็นข้าหลวงเมืองศรีสระเกศ
พ.ศ.2435 โปรดเกล้าฯ ให้จัดรูปการปกครองแบบมณทลเมืองศรีสะเกศขึ้นอยู่กับเมณฑลอีสาน
กองบัญชาการมณฑลอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ.2445 เปลี่ยนชื่อมณฑลอีสานเป็น มณฑลอุบลมีเมืองขึ้น 3 เมืองคือ อุบลราชธานี ขุขันธ์ และ
สุรินทร์ ไม่ปรากฏชื่อเมืองศรีสระเกศ สันนิษฐานว่าเมืองศรีสระเกศถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองขุขันธ์
ซึ่งเป็นเมืองเก่ามาแต่เดิม
22
พ.ศ.2447 ย้ายที่ตั้งเมืองขุขันธ์(ซึ่งอยู่ที่บ้านแตระ ตำบลห้วยเหนืออำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) มาอยู่
ที่ตำบลเมืองเก่า(ปัจจุบันคือตำบลเมืองเหนือในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน) และยังคงใช้ชื่อ
"เมืองขุขันธ์" ยุบเมืองขุขันธ์เดิมเป็นอำเภอห้วยเหนือ(อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้)
พ.ศ.2459 กระทรวงมหาดไทย มีประกาศให้เปลี่ยนชื่อเมืองทุกเมืองเป็นจังหวัด เมืองขุขันธ์จึง
เป็นเป็นจังหวัดขุขันธ์ เมื่อวันที่ 9พฤศจิกายน พ.ศ.2459 เปลี่ยนผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
พ.ศ.2481 มีพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้น
มาจนถึงปัจจุบัน
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf
โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf

More Related Content

Similar to โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf

ภาคเหนือเจ้า3
ภาคเหนือเจ้า3ภาคเหนือเจ้า3
ภาคเหนือเจ้า3aoysumatta
 
ภาคใต้
ภาคใต้ภาคใต้
ภาคใต้tonsocial
 
รับจัดฟอร์แมต ตัวอย่างงานจัดหน้าของม.ราชภัฎจัทรเกษม
รับจัดฟอร์แมต ตัวอย่างงานจัดหน้าของม.ราชภัฎจัทรเกษมรับจัดฟอร์แมต ตัวอย่างงานจัดหน้าของม.ราชภัฎจัทรเกษม
รับจัดฟอร์แมต ตัวอย่างงานจัดหน้าของม.ราชภัฎจัทรเกษมrubtumproject.com
 
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทย
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทย
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทยAunaun Hoom
 
งานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนืองานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนือtonsocial
 
ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้Nattapakwichan Joysena
 
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”Tum Meng
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานPornpimon Gormsang
 
วัฒนธรรมประเภณีเเละอาหารภาคอีสาน
วัฒนธรรมประเภณีเเละอาหารภาคอีสานวัฒนธรรมประเภณีเเละอาหารภาคอีสาน
วัฒนธรรมประเภณีเเละอาหารภาคอีสานJannarong
 
วัฒนธรรมไทย งานคู่
วัฒนธรรมไทย งานคู่วัฒนธรรมไทย งานคู่
วัฒนธรรมไทย งานคู่Thanwarat Twrp
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗Boonlert Aroonpiboon
 
ลอยกระทง
ลอยกระทงลอยกระทง
ลอยกระทงWanida Surit
 
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์Calvinlok
 

Similar to โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf (20)

ภาคเหนือเจ้า3
ภาคเหนือเจ้า3ภาคเหนือเจ้า3
ภาคเหนือเจ้า3
 
ภาคใต้
ภาคใต้ภาคใต้
ภาคใต้
 
รับจัดฟอร์แมต ตัวอย่างงานจัดหน้าของม.ราชภัฎจัทรเกษม
รับจัดฟอร์แมต ตัวอย่างงานจัดหน้าของม.ราชภัฎจัทรเกษมรับจัดฟอร์แมต ตัวอย่างงานจัดหน้าของม.ราชภัฎจัทรเกษม
รับจัดฟอร์แมต ตัวอย่างงานจัดหน้าของม.ราชภัฎจัทรเกษม
 
Unit2 การสร้างสรรค์อารยธรรม
Unit2 การสร้างสรรค์อารยธรรมUnit2 การสร้างสรรค์อารยธรรม
Unit2 การสร้างสรรค์อารยธรรม
 
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทย
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทย
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทย
 
การสถาปนา..
การสถาปนา..การสถาปนา..
การสถาปนา..
 
งานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนืองานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนือ
 
Art
ArtArt
Art
 
ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้ประเพณีภาคใต้
ประเพณีภาคใต้
 
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”
“พลังบ้านขวาง พลังผู้สูงวัย หัวใจละอ่อน”
 
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
 
วัฒนธรรมประเภณีเเละอาหารภาคอีสาน
วัฒนธรรมประเภณีเเละอาหารภาคอีสานวัฒนธรรมประเภณีเเละอาหารภาคอีสาน
วัฒนธรรมประเภณีเเละอาหารภาคอีสาน
 
7
77
7
 
วัฒนธรรมไทย งานคู่
วัฒนธรรมไทย งานคู่วัฒนธรรมไทย งานคู่
วัฒนธรรมไทย งานคู่
 
A2 thai-history
A2 thai-historyA2 thai-history
A2 thai-history
 
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ๒๕๕๗
 
บทที่ 1.docx
บทที่ 1.docxบทที่ 1.docx
บทที่ 1.docx
 
ลอยกระทง
ลอยกระทงลอยกระทง
ลอยกระทง
 
จุ๊3
จุ๊3จุ๊3
จุ๊3
 
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
 

โครงานสิมศรีสะเกษ.pdf

  • 1. 1 บทที่ 1 บทนำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เราเรียกว่า " อีสาน " นั้น มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอัน ยาวนาน มีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมที่หลากหลายตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีการตั้งถิ่น ฐานของกลุ่มชนต่างๆ มาเป็นเวลานานหลายเชื้อชาติ ปรากฏร่องรอยทางอารยธรรม ทั้งคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น ศิลปกรรมบนใบเสมาอันตกทอดมา ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ปราสาทหินอันใหญ่โตวิจิตรอันได้รับมาจากอิทธิพลขอม ซึ่งล้วนแต่แสดงถึงความ ยิ่งใหญ่ มั่งคั่งและศรัทธาของผู้คนบนผืนแผ่นดินนี้ในอดีต ศิลปวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานมีพุทธศาสนาเป็นหัวใจสำคัญ ใน การสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง มีการสั่งสมศิลปวัฒนธรรมของตนเองอย่างเด่นชัด จากรูปแบบ สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ได้แก่ พระธาตุ หอระฆัง หอกลอง หอแจก หรือศาลาการเปรียญ และ โดยเฉพาะ สิมหรือโบสถ์ ซึ่งเป็นอาคารสำคัญของวัดในฐานะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เสมือนเป็นที่ประทับ ขององค์ พระพุทธเจ้า เป็นอาคารที่พระวินัยในพุทธบัญญัติกำหนดขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรม ตามกิจของ สงฆ์ได้แก่ พิธีบรรพชา พิธีอุปสมบท สวดปาฎิโมกข์ ทำวัดเช้า ทำวัดเย็น และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับทาง พระพุทธศาสนา ซึ่งชาวอีสานให้ความสำคัญต่อการสร้างสรรค์รูปแบบ คติ แนวคิด และวิธีก่อสร้าง ตลอดจนการแก้ปัญหา ที่สืบทอดมาตามขนบธรรมเนียมประเพณีจนได้ความสมบูรณ์ ในรูปแบบงาน ประณีตศิลป์ เป็นสถาปัตยกรรมที่สวยสมบูรณ์แบบ บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์อย่างเด่นชัด แสดงให้ เห็นถึงพื้นฐานทางศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี สิมเป็นชื่อเรียกภาษาพื้นถิ่นภาคอีสานหมายถึงโบสถ์ อุโบสถ พระอุโบสถ ของภาษาภาคกลาง สิมเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่พระสงฆ์ในพุทธศาสนาใช้ประชุมเข้าสังฆกรรมต่าง ๆ มีขอบเขตที่กำหนด ด้วยสีมาและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ขนาดของโบสถ์นั้นต้องสอดคล้องกับพุทธบัญญัติซึ่งบัญญัติ ไว้ให้มีขนาดพอเหมาะ พอควรกับสังคม สำหรับโบสถ์ในประเทศไทยขนาดมิได้กำหนดแน่นอน ขึ้นอยู่กับ แต่ละยุคแต่ละสมัย หรือเศรษฐกิจ สังคม ขนาดของโบสถ์ก็จะเล็กลง สิมอีสานเป็นตัวแทนของรสนิยม ด้านความงาม สะท้อนความเชื่อมั่นศรัทธา และสะท้อนความเป็นจริงในทัศนะของชาวอีสาน ที่ไม่แสดง ตนแบบยิ่งใหญ่เกินตัว และยังสะท้อนให้เห็นถึงฐานะที่ยากจน ซึ่งต่างกับโบสถ์ใหม่ของภาคอีสานใน ปัจจุบัน ซึ่งสร้างใหญ่โตเกินความจำเป็น ชาวบ้านและพระภิกษุผู้เข้ามาใช้จะไม่รู้สึกถูกข่มด้วยขนาดที่ ใหญ่โตเหมือนโบสถ์วิหารในภูมิภาคอื่น แต่ให้ความรู้สึกที่ สงบ สมถะเรียบง่าย สันโดษ และจริงใจ อย่าง ยิ่งแก่ทั้งภิกษุและชาวบ้านทั่วไปที่เข้ามากราบไหว้
  • 2. 2 ปัจจุบันอายุของสิมได้ถึงที่สุด ถึงจุดเสื่อมโทรมตามกาลเวลา ที่สำคัญได้มีการสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่ แทนสิมเดิม ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมภาคกลาง ขาดการสืบทอดรูปแบบลักษณะของสิมแบบดั้งเดิม สิม จึงเป็นเสมือนมรดกที่มีคุณค่า เป็นมรดกของชาวอีสานโดยตรงและตกทอดมาจากบรรพบุรุษ แต่มักถูก มองข้ามจากคนส่วนใหญ่ บ่อยครั้งที่ดูเหมือนประหนึ่งว่าไม่มีความสำคัญ มักถูกมองว่าขาดความงาม ด้อยสุนทรียภาพเมื่อเทียบกับศิลปกรรมของช่างหลวง จากภาคกลางที่มีรูปแบบ ความงดงามตาม ระเบียบแบบแผน แต่กระนั้นงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของชาวอีสานก็มีความงดงามตามแบบ ฉบับของตนเอง ตามลักษณะของศิลปะพื้นบ้าน (Folk arts) ซึ่งไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ ด้วย คุณค่าคนละแบบกัน จึงเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ในช่วงครึ่งศตวรรษมานี้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาวอีสานที่ยอดเยี่ยม เหล่านั้นได้ถูกรื้อถอนทำลายลงเป็นอันมาก อาทิ สิม,วิหาร,ศาลาการเปรียญ,หอไตร ตลอดถึงอาคารทาง ศาสนาอื่นๆ แม้แต่บ้านเรือนของผู้คนที่อยู่อาศัยได้สุขสบายมาแต่บรรพบุรุษ ดังนั้น สิมในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จึงนับวันจะเหลือน้อยลงทุกที ถูกทิ้งร้าง รื้อถอน บางแห่งก็พังทลาย ทรุดโทรม ขาดการเหลียวแล ซึ่งเกิดเนื่องจากสาเหตุหลายประการ ทั้งจากตัวสิมเองที่ผุพังไปตามสภาพและเวลาที่ ล่วงไปตามอายุ สภาพดินฟ้าอากาศ ภัยธรรมชาติต่างๆ อีกทั้งขาดความเอาใส่ใจและการทำลายด้วย น้ำมือของมนุษย์ทั้งที่ทำโดยตั้งใจและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แม้บางแห่งชาวบ้านอยากทำการอนุรักษ์ ซ่อมแซม แต่ก็ขาดความรู้ความเข้าใจเชิงช่างสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ขาดงบประมาณในการสนับสนุน จากการพัฒนา สังคมที่ไม่เอื้อต่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของชาวอีสาน จึงเกิดวิกฤตศรัทธาต่อภูมิปัญญา พื้นบ้านเหล่านั้น จนทำให้คนรุ่นใหม่ไม่แน่ใจต่อความงามและเอกลักษณ์ของบรรพบุรุษ จังหวัดศรีสะเกษ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรืออีสานใต้เป็นเมืองที่มี ประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีแหล่งโบราณคดีที่แสดงถึงอารยธรรมเก่าแก่มากมาย เคยเป็นชุมชนที่มี อารยธรรมรุ่งเรืองมานับพันปี นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ และมีชนเผ่าต่าง ๆ อพยพมาตั้งรกรากใน บริเวณนี้ ได้แก่ พวกส่วย ลาว เขมร และเยอ จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ประมาณ 8,839.90 ตาราง กิโลเมตร หรือ 5,524,987.5 ไร่ มีพรมแดนติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีแนวเขตเทือกเขาพนม ดงรักเป็นแนวพรมแดน จังหวัดศรีสะเกษเป็นพื้นที่หนึ่งในภาคอีสานที่พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง มีสิม เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสิมอีสานพื้นบ้านบริสุทธิ์ แต่จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การปกครอง การปกครองคณะสงฆ์ ค่านิยมของชุมชน วัสดุก่อสร้าง ฝีมือช่าง จนถึง รสนิยมของเจ้าอาวาส ได้นำไปสู่การรื้อถอนทำลายสิมลงเป็นอันมาก หรือบูรณะปรับเปลี่ยนรูปแบบที่ไม่ หลงเหลือเค้าโครงเดิม ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ( พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2560) คณะผู้จัดทำโครงงานเรื่อง สิมศรีสะเกษ : การศึกษาสิมอีสาน (โบสถ์) ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ เห็นความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมของคนอีสาน จึงได้ทำการศึกษาประวัติความเป็นมา และ
  • 3. 3 รูปแบบงานสถาปัตยกรรมสิมอีสาน และบทบาท หน้าที่ ความสำคัญของสิม คติความเชื่อท้องถิ่นของ ชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสิมอีสานเพื่อให้เห็นถึงคุณค่า ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสิมอีสาน ในเขต จังหวัด ศรีสะเกษ เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและหาแนวทางอนุรักษ์เอาไว้ เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไป และ เป็นแหล่งข้อมูลในการศึกษาหาความรู้ เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม และด้าน อื่น ๆ ให้แก่คนรุ่นลูกหลานได้เรียนรู้ความเป็นมาของผืนแผ่นดินนี้ ทราบซึ้งถึงคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษในอดีต วัตถุประสงค์การศึกษา 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และรูปแบบงานสถาปัตยกรรมสิมอีสาน(โบสถ์) ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ 2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสิมอีสาน (โบสถ์) ในช่วง 3 ทศวรรษ (พ.ศ. 2530 – 2560) ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ สมมุตฐานการศึกษา สิมอีสาน(โบสถ์) ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับปัจจัยทาง ภูมิศาสตร์ และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เช่น การโยกย้ายของกลุ่มคน การนับถือพุทธศาสนา การ เปลี่ยนแปลงทางการเมือง การรับอิทธิพลทางวัฒนธรรม คติความเชื่อ และเทคนิควิทยาการก่อสร้างของ ชุมชนในเขตวัฒนธรรมลาว เขมร ส่วยและเยอ โดยสิมอีสานในเขตจังหวัดศรีสะเกษ สามารถแบ่ง ออกเป็นสิมอีสานพื้นบ้านบริสุทธิ์ สิมอีสานพื้นบ้านที่ได้รับอิทธิพลจากล้านช้าง และสิมอีสานพื้นบ้านที่ สร้างโดยกลุ่มช่างในท้องถิ่นที่มีอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมร กับการบูรณะของช่างชาวญวน และสิมอีสาน ลอกเลียนแบบเมืองหลวง ที่สามารถผสมผสานและปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะต่อพื้นที่และการใช้งาน ในรูปแบบสิมอีสานที่มีความสงบ สมถะเรียบง่าย สันโดษ และจริงใจ เน้นประโยชน์การใช้สอยมากกว่า ความงาม เหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงของสิมอีสานในเขตจังหวัดศรีสะเกษ มาจากสภาพอาคารที่มีความ เสื่อมโทรมตามกาลเวลา และความต้องการของเจ้าอาวาส เป็นสำคัญ
  • 4. 4 ขอบเขตการศึกษา คณะผู้จัดทำโครงงานเรื่อง สิมศรีสะเกษ : การศึกษาสิมอีสาน (โบสถ์) ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ได้กำหนดขอบเขตการศึกษา ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาสถาปัตยกรรมสิมอีสานในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นสิมบกที่เป็นอาคารทางศาสนาที่ ยังคงหลงเหลืออยู่ มีสภาพสมบูรณ์ และมีลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของสิมในเขตจังหวัดศรีสะเกษเป็น เกณฑ์ในการศึกษาเท่าที่สำรวจและค้นคว้าข้อมูลเอกสารภายในระยะเวลาที่กำหนด กำหนดสิมอีสาน ทำการศึกษา จำนวน 3 หลัง ดังนี้ - สิมวัดโสภณวิหาร บ.ลุมพุก ต.กันทรารมย์ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ - สิมวัดบ้านสะเดา บ.สะเดา ต.โพธิ์ชัย อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ - สิมวัดทุ่งเลน บ.ทุ่งเลน ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ 2. ศึกษาสถาปัตยกรรมสิมอีสาน ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีการรื้อถอน ปรับปรุง บูรณปฎิสังขรณ์ เปลี่ยนแปลง ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ( พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2560) 3. ขอบเขตของคำว่า สิมอีสาน หมายถึงรูปแบบที่สืบทอดตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิมมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป 4. ศึกษาถึงความแตกต่างและสอดคล้องสัมพันธ์กัน ทางลักษณะรูปแบบสิมอีสานอันเกิดจาก ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เช่น การโยกย้ายของกลุ่มคน การนับถือพุทธ ศาสนา การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การรับอิทธิพลทางวัฒนธรรม คติความเชื่อ และเทคนิควิทยาการ ก่อสร้างของชุมชนในเขตวัฒนธรรมลาว เขมร ส่วยและเยอ ของแต่ละชุมชน 5. ช่วงระยะเวลาที่ทำการเก็บข้อมูลศึกษา คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – ธันวาคม พ.ศ. 2561 ขั้นตอนการศึกษา การดำเนินการศึกษาโครงงานในครั้งนี้ คณะผู้จัดทำโครงงานได้สืบหาลักษณะรูปแบบและ ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม โดยใช้วิธีการหลายๆ อย่าง เช่น การค้นคว้าจากภาคสนาม ( Field Research) ประกอบการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และการศึกษาจากเอกสาร ( Documentary Research) ตามกระบวนการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้ 1. ขั้นทำการรวบรวมและศึกษา ข้อมูลภาคเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร, สิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
  • 5. 5 2. ขั้นทำการรวบรวมศึกษา ข้อมูลภาคสนาม เป็นการสำรวจเก็บข้อมูลตัวแบบสถาปัตยกรรมที่ ทำการศึกษา และสัมภาษณ์ 2.1 ตัวอาคารสิมที่ยังปรากฏหลักฐานในวัด ถ่ายภาพ ภาพถ่ายสิมอีสานในอดีต สิมและ อาคารต่าง ในผังบริเวณผังอาคาร ผังวัด เป็นต้น 2.2 หลักฐานจากชิ้นส่วนอันเป็นชิ้นส่วนงานประณีตสถาปัตยกรรมที่ตกแต่งอาคารได้แก่ เครื่องไม้แกะสลัก 2.3 ข้อมูลสัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่น ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิมอีสานในเขตพื้นที่ ทำการศึกษาได้แก่ พระภิกษุ อดีตพระภิกษุ ปราชญ์ชาวบ้าน ( ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ) เป็นต้น 2.4 ข้อมูลสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสิมอีสาน คือ ดร.ติ๊ก แสนบุญ รองคณบดี คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. ขั้นจัดลำดับและกลุ่มข้อมูลต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่ 4. ขั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลภาคเอกสาร และภาคสนาม จัดกลุ่มแตกความแตกต่าง ลักษณะเฉพาะของสิมแต่ละชุมชนถึงความสัมพันธ์กันกับลักษณะทางสถาปัตยกรรม และประวัติความ เป็นมา ลำดับอายุก่อนหลังที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ 5. ขั้นสรุปผลการศึกษาตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ นิยามคำศัพท์ 1. สิม เป็นคำนามที่ชาวอีสานใช้เรียกอาคารที่เป็นโบสถ์ มาจากภาษาบาลี คำว่า สีมา (เขต) 2. สิมอีสาน หมายถึง โบสถ์อีสาน มาจากการที่ทางอีสานเรียกโบสถ์ว่า “สิม” ลักษณะโดยทั่วไป ของสิม แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักตามสภาพของแหล่งที่ตั้ง คือ สิมน้ำและสิมบก สิมน้ำ เป็นสิมที่ตั้งอยู่ กลางน้ำ เช่น สระ หนอง บึง ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่สร้างอย่างชั่วคราวสำหรับวัดที่ยังไม่มีวิสุงคามสีมา ส่วนใหญ่ สิมบกเป็นสิมที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินในบริเวณนั้นวัดล้อมรอบด้วยหมู่กุฏิ หอแจก หอกลอง หอระฆัง หอพระธาตุ ลักษณะของสิมบกมีทั้งสิมทึบ และสิมโปร่ง 3. สิมทรงโรง หมายถึง สิมทึบหรือโบสถ์รูปแบบพิเศษ ไม่มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง ใช้ผนังเป็น ตัวรับน้ำหนักหลังคาสิม มีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าสิมทั่วไป 4. สิมศรีสะเกษ หมายถึง สิมบกที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีที่ สร้างสรรค์โดยช่างท้องถิ่น และมีเอกลักษณ์ต่างจากรูปแบบสถาปัตยกรรมในพื้นที่อื่น ๆ เอกลักษณ์ที่เกิด จากการผสมผสานแนวคิด คติความเชื่อและเทคนิคในการสร้างงานตามภูมิปัญญาของผู้คนในท้องถิ่นที่ สืบทอดตามขนบธรรมเนียม
  • 6. 6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ข้อมูลจากการศึกษาสิมอีสาน ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ในครั้งนี้สามารถนำเป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมสิมอีสาน การบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะสูญหาย 2. ข้อมูลจากการศึกษาสิมอีสาน ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ในครั้งนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษ และสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่มีคุณค่าเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ นักเรียน และผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ 3. ทำให้ได้รับความรู้ในด้านศิลปสถาปัตยกรรมท้องถิ่น และเห็นคุณค่าของสิมอีสานทั้งในด้าน ความงามด้านสถาปัตยกรรม และงานฝีมือ ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งนำมาสู่ความรัก ความภาคภูมิใจใน ท้องถิ่นของตนเอง
  • 7. 7 บทที่ 2 สถาปัตยกรรมสิมอีสาน และประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ วัดเป็นสถานที่สำคัญที่มีความสำคัญกับชุมชนและผู้คนในภาคอีสาน เนื่องจากการมีความเชื่อ และความผูกพันเกี่ยวกับธรรมเนียมประเพณีที่เรียกว่า “ฮีตวัด” กล่าวคือการสร้างวัดขึ้นพร้อมกับการ สร้างบ้านสร้างเมือง วัดจึงเป็นสถานที่สำคัญของชุมชนในฐานะของการเป็นจุดศูนย์รวมของชุมชน นั้นคือ วัดเป็นทั้งสถานที่สำหรับทำสังฆกรรมของพระสงฆ์และการเป็นสถานที่ทำกิจกรรมของชาวบ้าน โดยส่วน ใหญ่วัดในภาคอีสานประกอบด้วย พระธาตุ สิม หอแจก หอไตร กุฏิ หอระฆัง หอกลอง และหอพระ 1. ที่มาและความหมายของสิม ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารทรงมีพระราชประสงค์ ที่จะขอพระราชทานพระพุทธองค์ ทรง อนุญาตให้นักบวชประชุมกันทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ 15 ค่ำ โดยแสดงธรรมและสวดปาติโมกข์ทุกวัน 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ โยทรงกำหนดสมบัติสิมานั้นอย่างน้อยต้องจุพระภิกษุได้ไม่ต่ำกว่า 21 รูป นั่งหัตถบาตกันได้ ขนาดไม่ใหญ่เกิน 3 โยชน์ สีมาที่ใหญ่หรือเล็กกว่านี้ถือว่าวิบัติ โดยกำหนดตัวอาคารด้วย นิมิต 8 อย่าง ต่อมาเมื่อพระสงฆ์ในพุทธศาสนาจะทำสังฆกรรมอันใดต้องประชุมร่วมกันทำอุโบสถกรรม ต้องสมมติ พื้นที่นั้นเป็นสีมาที่ถูกต้องตามวินัยก่อน อุโบสถ หมายถึงอาคารที่ทำการแสดงปาติโมกข์ และทำสังฆกรรม อุปสมบทกรรมซึ่งเป็นเขตที่ ทรงบัญญัติไว้ตามพระวินัย ที่ใช้ทำสังฆกรรมได้ นั้น จะอยู่ในเขตสีมาต้องมีการกำหนดเขตสีมาด้วย นิมิต ซึ่งสามารถกำหนด นิมิตได้ ด้วยของสำคัญ 8 ชนิด คือ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ เท่านั้น ในพระ วินัยปิฎกตอนวินัยมุข เล่ม 3 กัณฑ์ที่ 24 กล่าวถึง ชนิดของนิมิต การกำหนดเขตสีมา และข้อกำหนดการ สร้างอุโบสถาวร นอกจากนี้ยังกล่าวถึง น่านน้ำ ที่พระสงฆ์กำหนดเป็น อุทกกเขปสีมา มี 3 ประเภท คือ แม่น้ำ ทะเล ชาตสระ ( สระที่เกิดขึ้นเอง ห้วยหนอง บึง ทะเลสาป) เวลาจะทำสังฆกรรมต้องผูกแพในน้ำ นั้นแล้วผูกไม่ให้ลอย หรือปลูกร้านอาคารในน้ำนั้น จะต้องห่างจากฝั่งช่วงระยะวักน้ำสาดไม่ถึง มิฉะนั้น เมื่อประกอบพิธีกรรม จะเป็นสีมาวิบัติ (ประกอบสังกรรมไม่ได้) ในภาคอีสานจะพบ สิมน้ำ ในลักษณะ ดังกล่าวมากในอดีต ในช่วงแรกเริ่มก่อตั้งชุมชนเพราะความต้องการใช้อาคารสิม เพื่อประกอบสังฆกรรม และอุปสมบทกรรมได้ก่อนที่จะมีการสิมเป็นการถาวรที่เรียกว่า สิมบก ซึ่งใช้เวลานาน สีมา เป็นเขตแดนที่สมมุติขึ้นว่ามีพื้นที่เท่าใด ในทางด้านเมืองหมายถึงพื้นที่ของประเทศ ฉะนั้น เมื่อจะกำหนดเขตสีมาเพื่อการตั้งหรือสร้างพระอุโบสถจึงต้องมีการขอพระราชทานวิสุงคามสีมา เพื่อกัน แดนให้เป็นเขตเฉพาะหรือเป็นเขตต่างจากคามสีมา ( คือประเทศ หมู่บ้าน ชุมชน) สีมาแบ่งเป็น 2
  • 8. 8 ประเภท คือ พัทธสีมา แปลว่าผูกแล้ว กำหนดเขตแล้วเป็นการถาวรส่วน อพัทธสีมา หมายถึงแดนที่ไม่ผูก ใช้ทำสังฆกรรมได้เช่นเดียวกัน คำว่า “สิม” ตามพจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลางให้ความหมายคำว่า “สิม” เป็นโรงที่พระสงฆ์ ทำสังฆกรรมต่าง ๆ เป็นภาษาพื้นถิ่นในวัฒนธรรมล้านช้างและดินแดนในภาคอีสาน มีความหมาย เช่นเดียวกับโบสถ์หรืออุโบสถในภาคกลาง โดยมีที่มาจากคำว่า “สีมา” หมายถึงหลักหรือที่นิยมเรียก ทั่วไปว่า “ใบสีมา” ซึ่งใช้ปักล้อมรอบโบสถ์เพื่อเป็นการแสดงขอบเขตศักดิ์สิทธิ์ของโบสถ์ โดยเขตสีมาต้อง มีการกำหนดเขตด้วยนิมิต 8 ชนิด คือ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ และน้ำ ในพระ วินัยปิฎก ตอนวินัยมุข เล่ม3 กัณฑ์ที่ 24 กล่าวถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ทะเลสาบ ห้วยหนอง และบึง ดังนั้นอาคารประเภทสิมในภาคอีสานจึงพบทั้งสิมน้ำและสิมบก “สิม” หมายถึงอาคารศาสนสถานใช้สำหรับประกอบพิธีสังฆกรรมรวมถึงพิธีกรรมในพุทธศาสนา เช่น การทำอุโบสถกรรมตามพระวินัยบัญญัติและใช้ในการอุปสมบท เป็นต้น ดังนั้นสิมจึงถือเป็นอาคาร สังฆกรรมสำคัญของวัดในภาคอีสาน 2. คติความเชื่อเกี่ยวกับสิม ตามความเชื่อของชาวอีสานถือว่าพื้นที่ภายในอาคารที่เรียกว่า “สิม” เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์และมี ความบริสุทธิ์ ดังนั้น สิมจึงเป็นพื้น ที่เฉพาะสำหรับการทำสังฆกรรมของพระสงฆ์เพียงเท่านั้นในขณะ พระสงฆ์ทำสังฆกรรมฆราวาสจะไม่สามารถเข้าไปภายในบริเวณสิม แม้กระทั่งบริเวณบันไดหรือมุข ด้านหน้าสิม โดยฆราวาสต้องอยู่ในบริเวณศาลาหรือหอแจก ในพิธีกรรมทางศาสนาบางอย่างมีการ อนุโลมฆราวาสผู้ชายสามารถเข้าไปภายในสิม มีข้อห้ามเด็ดขาดในการห้ามผู้หญิงเข้าไปภายในสิม ข้อจำกัดดังกล่าวเกี่ยวกับการใช้งานสิมเป็นผลมาจากความเชื่อของชาวในเรื่องของบือสิมชาว อีสานจะให้ความสำคัญของบือสิมอย่างมาก ในการสร้างสิมของชาวอีสานจะมีประเพณีการฝังลูกนิมิต ตรงกลางสิม ลูกนิมิตนีเรียกว่า “บือสิม” ดังนั้น ชาวอีสานจึงให้ความสำคัญกับบือสิมในฐานะสิ่งของอัน ศักดิ์สิทธิ์ที่บรรพบุรุษได้สร้างเอาไว้และควรให้คงอยู่ต่อไป ด้วยความเชื่อดังกล่าวจึงเกิดปัญหาการรื้อฟื้น ตัวอาคารสิมหลังเก่าทิ้ง เพื่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในเรื่องของตำแหน่งการวางสิม โดยมีข้อห้ามไม่ให้สร้างอาคารหลังอื่น ในตำแหน่งด้านหน้าสิมโดยเฉพาะกุฏิสงฆ์ เนื่องจากชาวอีสานมีความเชื่อว่าการสร้างกุฏิไปด้านหน้าสิม เป็นการหันหน้าตรงกับพระพักตร์และพระเนตรของพระประธานภายในสิม ทำให้พระประธานเห็นการ กระทำของพระสงฆ์ที่ไม่สมควรอาจจะก่อให้เกิดความวิบัติแก่วัดและพระสงฆ์ และตามความเชื่อของชาว อีสานหากมีชุมชนขวางหน้าสิมจะมีการสร้างกำแพงเพื่อกำหนดเขตศักดิ์สิทธิ์
  • 9. 9 โบสถ์ หรือ สิม เป็นสถานที่สำคัญที่สุดในบริเวณวัด โดยถือว่าเป็นเขตพุทธาวาส คนโบราณได้คติ ความเชื่อเกี่ยวกับการวางตำแหน่งไว้ดังนี้ - ไม่วางอาคารอื่นในวัดอยู่แนวตรงกันกับตัวโบสถ์ - ห้ามสร้างกุฏิอยู่หน้าโบสถ์ - เงาของโบสถ์ไม่ให้ทับสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่อยู่บริเวณวัด จากการศึกษามักพบว่าโบสถ์จะตั้งอยู่ทิศตะวันออก หรือตะวันออกเฉียงเหนือของผังวัด โดยมี อาคารอื่นวางเยื้องด้านทิศตะวันตกลงสู่ทิศใต้ เช่น ศาลากุฏิ ตามลำดับ เมื่อมาพิจารณาถึงการวาง ตำแหน่งและตั้งวัด อาคาร ที่มีความสำคัญจะถือทิศที่มีความหมายเป็นมงคลแห่งทิศ อันได้แก่ ทิศ ตะวันออก ทิศเหนือ หรือในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเกณฑ์ในการวางตำแหน่ง ภาพที่ 1 แผนผังในการวางตำแหน่งอาคารภายในวัดตามคติความเชื่อ จากการศึกษาของ รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ท่านได้ให้ความเห็นในเรื่องการวางผังอาคารในวัด ไว้ว่า การวางผังของวัดและสิมพื้นบ้านในภาคอีสาน ไม่มีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนที่ตายตัว เนื่องจากสิมพื้น บ้านเป็นงานพื้นบ้านที่ทำตอบสนองประโยชน์ใช้สอย มากกว่าเป็นการตั้งกฎเกณฑ์วางอาคารตามคติ ความเชื่อ ซึ่งจากการพิจารณาความสัมพันธ์ของการวางอาคารตามความเห็นของ สุวิทย์ จิระมณี จะพบว่าการวางอาคารตามผังดังกล่าวเป็นการวางตำแหน่งที่ตอบสนองประโยชน์ใช้สอย อาคารที่มีการ ใช้งานบ่อยและมีความสัมพันธ์กัน เช่น หอระฆังและกุฏิ มักจะพบอยู่ใกล้กัน สิมพื้นบ้านมักตั้งอยู่เป็น อาคารเดี่ยวที่มี พื้นที่โล่งกว้างโดยรอบอาคาร ตอบสนองการใช้งานพิธีกรรมและกิจกรรมงานบุญต่าง ๆ เป็นต้น
  • 10. 10 ภาพที่ 2 สิมกลางน้ำ วัดศิริสว่างวราราม อำเภอ กมลาไสย จังหวัด กาฬสินธุ์ ที่มา : http://isan.tiewrussia.com/wat_sirisawang/ 3. บทบาทและหน้าที่ของสิม สิมเป็นอาคารสำคัญของวัดใช้สำหรับการทำพิธีกรรมทางศาสนาและสังฆกรรมของพระสงฆ์ หากวัดใดไม่มีสิมไม่สามารถทำสังฆกรรมที่สำคัญได้ อย่างเช่น หมู่บ้านใดภายในวัดไม่มีสิมการอุปสมบท ต้องเดินทางไปทำในหมู่บ้านอื่น และมีการกำหนดสังฆกรรมเพียงไม่กี่อย่างที่สามารถทำภายในสิมได้ ดังนี้ 3.1 การทำอุโบสถกรรมตามพระวินัยบัญญัติ ได้แก่ การสวดพระปาฎิโมกข์ในทุกครึ่ง เดือนของวัน 15 ค่ำ และการทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นในช่วงเข้าพรรษา 3.2 การอุปสมบทเป็นสังฆกรรมสำคัญ ฐานะแหล่งกำเนิดพระภิกษุผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา 3.3. พิธีสวดผ้ากฐิน งานบุญกฐินจัดขึ้น ในเดือนสิบสอง ตามประเพณีมีการถวายผ้า กฐิน เมื่อรับผ้ากฐินแล้วพระสงฆ์จะนำผ้ากฐินไปสวดภายในสิม 3.4. ใช้ในการทำสังฆกรรมเพื่อสวดในงานเข้าปริวาสกรรม เช่น การสวดอัพภาน ซึ่ง เป็นขั้น ตอนสุดท้ายของการเข้าปริวาสกรรม 4. รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของสิมอีสาน สิม ทางภาคอีสานในสมัยก่อนส่วนใหญ่นิยมสร้างอาคารขนาดเล็กกระทัดรัด ส่วนมากไม่เกิน 3 ช่วงเสา บางแห่งก็มีมุขด้านหน้า เนื่องจากเป็นสิมที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในชุมชนที่ไม่ใหญ่นัก แต่ละวัด มีจำนวนพระสงฆ์ไม่มาก มักสร้างให้เพียงพอแก่พระสงฆ์ในการประกอบสังฆกรรมได้สัก 21 รูป ตามบรม พุทธานุญาติ โดยมีขนาดนั่งหัตถบาตรเรียงลำดับห่างกันองค์หนึ่งๆ หนึ่งศอก ประเภทของสิมอีสาน สิมอีสานสามารถจำแนกประเภทของสิมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิมน้ำ และสิมบก 4.1. สิมน้ำ เป็นสิมสร้างขึ้นในแหล่งน้ำ และกำหนดเขตสีมาด้วยน้ำ เรียกว่า “อุทกเขปสีมา” สิมน้ำ เป็นอาคารถูกปลูกสร้างขึ้นชั่วคราวขณะยังไม่มีวิสุงคามสีมาแบบถาวร โดยสร้าง ตามแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้กับหมู่บ้าน เช่น ห้วย บึงและหนองน้ำ รูปแบบของสิมน้ำ มีความเรียบง่ายส่วน ใหญ่มีลักษณะคล้ายศาลากลางน้ำ มีฝาปิดล้อมรอบแบบหลวมๆ เพื่อให้อากาศถ่ายเทเข้าสู่ภายในได้ สะดวก การสร้างจะไม่คำนึงถึงรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมและความสวยงาม การสร้างสิมน้ำ พบตามพื้นที่เขตชนบทห่างไกลตามภาคอีสาน ปัจจุบันสิมน้ำ แถบจะไม่เหลืออยู่ในภาคอีสานหาก ยังเหลือส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมอย่าง มาก เนื่องจากการไม่ได้ใช้ประโยชน์และบ่อยทิ้ง ให้ผุพังตามกาลเวลา
  • 11. 11 4.2. สิมบก เป็นอาคารปลูกสร้างบนพื้นดินในบริเวณวัด ลักษณะรูปแบบเป็นอาคารชนิด ถาวรก่อด้วยไม้หรือก่ออิฐฉาบปูน รูปแบบของสิมบกสามารถแบ่งออก 2 ประเภท คือ สิมโปร่งและสิมทึบ 1) สิมโปร่ง เป็นสิมก่ออิฐฉาบปูนชะทายพื้นเมืองซึ่งเป็นปูนขาวผสมทราย และน้ำหนัง ยางบงแบบพื้นเมือง อยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2 – 3 ห้อง ก่อผนังเตี้ย ในส่วนของผนังด้านข้างและ ด้านหน้าในส่วนผนังด้านหลังซึ่งเป็นส่วนของพระประธานก่อทึบสูงจั่ว ผนังด้านหลังก่ออิฐเป็นแท่นยาว ติดตามแนวผนังสำหรับเป็นฐานวางพระพุทธรูปโครงสร้างหลังคาเป็นจั่วชั้นเดียวนิยมทำปีกนกยื่นออกมา ทั้ง 4 ด้าน หน้าบันด้านหลังปิดทึบไม่มีชานจั่ว และในส่วนด้านหน้าทำชานยื่นคลุมบันได ภาพที่ 3 แสดงสิมโปรงพื้นบาน ลักษณะและพื้นที่การใชสอยของสิมโปรง ที่มา : ภาพตนฉบับจากหนังสือสิมอีสาน, รองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร 2) สิมทึบ เป็นสิมที่มีการก่อผนังปิดทึบทั้ง 4 ด้าน การสร้างผนังนิยมสร้างเป็นผนังไม้ และก่ออิฐฉาบด้วยปูนชะทายพื้นเมือง เป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 1 – 3 ห้อง ผนังด้านข้าง เจาะช่องหน้าต่าง 1 – 2 ช่อง มีทางขึ้นด้านหน้าเพียงด้านเดียว โครงสร้างหลังคาเป็นหลังคาทรงจั่วชั้น เดียวหรือซ้อนชั้นนิยมสร้างหลังคาปีกนกโดยรอบอาคาร ราวบันไดนิยมทำเป็นรูปสัตว์ เช่น นาค มกร จระเข้ เป็นต้น องค์ประกอบตกแต่งนิยมสร้างด้วยไม้ เช่น โหง่ ลำยอง รวงผึ้งและคันทวย ภาพที่ 4 แสดงสิมทึบพื้นบาน ลักษณะและพื้นที่การใชสอยของสิมทึบ ที่มา : ภาพตนฉบับจากหนังสือสิมอีสาน, รองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร
  • 12. 12 จากการศึกษาของ รองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร ได้จำแนกสิมบกไว้ตามปัจจัยการที่ทำ ให้อาคารสิมสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการ ของคติการสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ของชุมชนพุทธศาสนาใน อีสาน เมื่อชุมชนรับอิทธิพลต่าง ๆ จากภายนอกเข้าไป และจำแนกสิมอีสาน ซึ่งมีการรวบรวมและแบ่ง ประเภทตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมของสิมไว้ 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ • สิม พื้นบ้านบริสุทธิ์ • สิม พื้นบ้านประยุกต์ โดยช่างพื้นบ้าน (รุ่นหลัง) • สิม พื้นบ้านผสมเมืองหลวง • สิม ที่ลอกเลียนเมืองหลวง 5. องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของสิมอีสาน นอกจากสิมจะมีรูปแบบตัวอาคารที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานอย่าง ชัดเจนแล้ว ยังมีองค์ประกอบ ต่าง ๆ ทางสถาปัตยกรรมเพื่อใช้ในการตกแต่งสิมโดยเฉพาะที่ทำให้ตัวสิม เองมีความวิจิตรพิสดารงดงามเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ภาพที่ 5 แสดงองค์ประกอบและตำแหน่งขององค์ประกอบสิม ในที่นี้ใช้สิมทึบเป็นแบบอย่างในการแสดง ที่มา : ภาพตนฉบับจากหนังสือสิมอีสาน, รองศาสตราจารย์วิโรฒ ศรีสุโร
  • 13. 13 ภาพที่7 ลักษณะการตกแต่งบันไดทางขึ้นของสิม ลายเส้นโดยอาจารย์กิตติสันต์ ศรีรักษา ที่มา: http://202.12.97.23/main/esanart/sketch/decor/skl002.jpg 1) ฐานสิม ( แอวขัน หรือ เอวขัน ) ลักษณะฐานรากเป็นแบบฐานรากแผ่ มีการบด อัดดินบริเวณที่จะสร้างให้แน่น และทำการก่อสร้างอาคาร เป็นผนังรับน้ำหนักโดยที่ไม่มีการตอกเข็ม ส่วนลักษณะ ฐานอาคาร มีความเรียบง่าย บางแห่งเป็นลักษณะฐาน ปัทม์ ตั้งซ้อนกัน 3 ชั้น แต่ส่วนมากมีการนำเอา องค์ประกอบแบบลักษณะของฐานสถาปัตยกรรมไทยมา ใช้ คือ บัวคว่ำ บัวหงาย แต่ในรูปแบบที่ไม่เป็นพิธีรีตอง มากนัก ไม่มี กฎเกณฑ์ตายตัว ส่วนมากมีการยกพื้น บางแห่งสูงถึง 1-2 เมตร เป็นฐานแบบก่ออิฐฉาบปูนโดย ใช้ปูนหมัก เรียบไม่มีลวดลาย ส่วนฐานของสิม เรียกว่า เอวขัน หรือ แอวขัน (ตามเสียงภาษาพื้นถิ่นอีสาน) หาก แปลตามความหมาย เอวขันจะหมายถึง ส่วนกลาง ของขันหมาก ซึ่งมีลักษณะคอดกิ่วเข้าไป มักได้ สัดส่วนกันระหว่างด้านบน กับด้านล่าง เมื่อนำไปใช้ ในงานก่อสร้างที่มีรูปร่างคล้ายดังนั้น ช่างจะเรียกว่า เอวขัน ซึ่งส่วนประกอบ มีดังนี้ - โบกคว่ำ (บัวคว่ำ) - ท้องไม้ (ส่วนกลางของเอวขัน) - โบกหงาย (บัวหงาย) - ลวดบัว (ส่วนย่อหยักเป็นส่วนขนาน) 2) บันไดทางขึ้น มักมีบันไดทางขึ้นเพียงด้านเดียว นิยมทำปูนปั้นเป็นรูปสัตว์เฝ้าบันไดเช่นจระเข้นอนราบบาง แห่งเป็นจระเข้อ้าปากคาบสิงห์ บางแห่งเป็นตัวสัตว์คล้ายมอมที่คนสมัยก่อนใช้สักไว้ตามขา (เฉพาะ ผู้ชาย) เป็นต้น ภาพที่ 6 แสดงรูปแบบของฐานสิมหรือแอวขัน ที่มา : สิม สถาปัตยกรรมอีสาน รองศาสตราจารย์สมใจ นิ่มเล็ก
  • 14. 14 ภาพที่ 9 ลักษณะการตกแต่งฮังผึ้งของสิม ลายเส้นโดยอาจารย์กิตติสันต์ ศรีรักษา ที่มา: http://202.12.97.23/main/esanart/sketch/décor/skl555.jpg 3) คันทวย คันทวยหรือแขนนางหรือค้ำยันหลังคาเป็นลักษณะพิเศษของสิมอีสานที่ไม่มีในที่อื่น กล่าวคือ จะมีทั้งทวยนาคและทวยแผง ซึ่งเป็นแผงแผ่นไม้ขนาดค่อนข้างใหญ่ แกะสลักลายนูนต่ำสองด้าน การ ประดับของคันทวยในด้านล่างจะมีเต้าไม้ยื่นออกมารับจากผนังและเอนหัว ออกเล็กน้อยเพื่อขึ้นไปยึดกับ ไม้ด้านบน ที่เป็นไม้ขื่อรับปีกนกยันเชิงชาย ภาพที่ 8 ลักษณะของคันทวยแบบต่างๆ ที่มา: หลากภูมิธรรม นฤมิตกรรมอีสาน, รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร 4) ฮังผึ้ง ฮังผึ้ง หรือ “รวงผึ้ง” ในภาษาภาคกลาง หรือ “โก่งคิ้ว” ในภาษาภาคเหนือ มีลักษณะเด่นใน การตกแต่งด้านหน้าของสิมอีสาน ซึ่งมักจะแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนแรกอยู่บริเวณช่วงเสากลางหน้าบัน ของจั่วใหญ่ ตรงกับบันไดทางขึ้น (ฮังผึ้งจะอยู่สูงกว่าปกติ) อีกสองส่วนจะอยู่ในบริเวณช่วงเสาอีกสองข้าง ของบันไดปีกนก (ฮังผึ้งจะอยู่ต่ำลงมา) โดยจะมีการแกะสลักลวดลายวิจิตรประณีต ทำให้สิมมีความ สวยงามมากยิ่งขึ้น
  • 15. 15 ภาพที่ 12 แสดงรูปแบบของโหง่ ที่มา : สิม สถาปัตยกรรมอีสาน รองศาสตราจารย์ สมใจ นิ่มเล็ก 5) ฮูปแต้ม ฮูปแต้มหรือจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏอยู่บนผนังของสิม ซึ่งจะมีการเขียนภาพเป็นเรื่องราว ต่าง ๆ เกี่ยวกับวรรณกรรมทางศาสนา ชาดก หรือเรื่องราวการประกอบอาชีพ ประเพณีต่าง ๆ ของผู้คน ในภาคอีสาน โดยจะปรากฏบนผนังทั้งภายในและภายนอกของสิม ภาพที่ 10 ลักษณะของฮูปแต้ม วัดบ้านสะเดา อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 6) ช่อฟ้าหรือปราสาท ช่อฟ้าเป็นส่วนประดับที่บนที่สุดของสิม มักแกะสลักด้วยไม้เป็นลักษณะคล้ายปราสาทหรือ ฉัตรตั้งลดหลั่นซ้อนกันขึ้นไปบนสันหลังคาตรงส่วนกลางของหลังคาสิม ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่บ่งบอกถึง ความเป็นอีสาน ภาพที่ 11 ลักษณะการตกแต่งช่อฟ้าของสิม ลายเส้นโดยอาจารย์กิตติสันต์ ศรีรักษา ที่มา: http://202.12.97.23/main/esanart/sketch/décor/skl5123.jpg 7) โหง่ โหง่หรือ “ช่อฟ้า” ในภาคกลาง ถือเป็น องค์ประกอบสำคัญในการตกแต่งสิมอีสานที่ขาดไม่ได้ เพราะจะทำให้หลังคาดูขาดด้วนไม่สมบูรณ์อย่างเห็น ได้ชัด ช่างมีแนวความคิดในการออกแบบโหง่ให้มี รูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นถิ่น ทำให้มีคุณค่า ทางศิลปกรรมเป็นอย่างมาก
  • 16. 16 8 ) ลำยอง ลำยองคือส่วนที่เรียกว่า “นาคสะดุ้ง” แต่สิมอีสาน มักนิยมทำเรียบเป็นแบบ “แป้นลม” ของเรือนพักอาศัย หลาย แห่งแกะสลักเป็นลำตัวนาค เกี่ยวหางต่อหัวกัน ข้างละไม่ต่ำกว่า 3-5 ตัว ภาพที่ 13 แสดงรูปแบบของแผงนาคหรือรำยอง ที่มา : สิม สถาปัตยกรรมอีสาน รองศาสตราจารย์ สมใจ นิ่มเล็ก 9) หางหงส์ (ส่วนประดับบนปั้นลม) หางหงส์ เป็นส่วนประดับบนปลายปั้นลม สลักเป็นหัวพญานาค หรือลายก้านดก (กนกหัว ม้วน) ขึ้นอยู่กับแนวความคิดและจิตนการของช่าง 10) สีหน้า (หน้าบัน) นิยมทำเป็นลายตาเวน หรือเป็นดวงตะวันส่องแสงเป็นรัศมีติดกระจกประดับ เสมือนความ สว่างไสวสดใสชัชวาลแห่งดวงประทีป สื่อความหมายถึง ปัญญาของผู้ใฝ่ใจในพระธรรมขององค์พระ สัมมาพุทธเจ้า ภาพที่ 14 แสดงรูปแบบของหัวนาคหรือหางหงษ์ ที่มา : สิม สถาปัตยกรรมอีสาน รองศาสตราจารย์ สมใจ นิ่มเล็ก ภาพที่ 15 แสดงรูปแบบของสีหน้า หรือหน้าบันลายตาเวน วัดบ้านดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
  • 17. 17 ภาพที่ 16 แสดงการตั้งชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ ที่มา : http://www.finearts.go.th/surinmuseum/หนังสืออิเล็กทรอนิกส์/ book/49.html?page=83 6. ประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฎหลักฐาน แน่นอน มีการจดบันทึกไว้พอสังเขป ส่วนมากได้จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุเล่าต่อ ๆ กันมา เอาความ แน่นอนไม่ได้นัก นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า พื้นที่ภาคอีสานในปัจจุบันเคยเป็นที่ อยู่ของพวกละว้าและลาว มีแว่นแคว้นอาณาเขตปกครองเรียกว่า "อาณาจักรฟูนัน"
  • 18. 18 ประมาณปี พ.ศ.1100 พวกละว้าที่เคยมีอำนาจปกครอง อาณาจักรฟูนันเสื่อมอำนาจลง ขอมเข้า มามีอำนาจแทนและตั้งอาณาจักรเจนละหรืออิศานปุระขึ้น พวกละว้าถอยร่นไปทางเหนือ ปล่อยให้พื้นที่ ภาคอีสานรกร้างว่างเปล่าเป็นจำนวนมาก เขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียงจึงถูกทิ้งให้เป็น ที่รกร้างและเป็นป่าดง ขอมได้แบ่งการปกครองเป็น 3 ภาค โดยมีศูนย์การปกครองอยู่ที่ละโว้ (ลพบุรี) พิมาย(นครราชสีมา) และสกลนคร มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองใหญ่ที่ นครวัด ในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ ศรีสะเกษน่าจะเป็นดินแดนแห่งหนึ่งที่ขอมใช้เป็นเส้นทางไปมาระหว่าง เมืองประเทศราชดังกล่าวแล้ว เพราะปรากฎโบราณสถานโบราณวัตถุของขอมซึ่งกรมศิลปากรสำรวจใน จังหวัดศรีสะเกษเมื่อ พ.ศ.2512 จำนวน15 แห่ง ไม่รวมเขาพระวิหารซึ่งเป็นเทวะสถานของขอมที่ยิ่งใหญ่ แห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีปราสาทหินสระกำแพงใหญ่สระกำแพงน้อย ปราสาทลุมพุก ปราสาทบ้านทาม จาน(บ้านสมอ) ปราสาทเยอ ปราสาทโดนต็วล(ช่องตาเฒ่า อ.กันทรลักษ์) สันนิษฐานว่าโบราณสถาน เหล่านี้มีอายุประมาณ 1,000 ปีเศษมีอยู่ตามท้องที่อำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดศรีสะเกษ ขอมคงสร้างขึ้นเพื่อ เป็นที่พักและประกอบพิธีทางศาสนาระหว่างเดินทางจากนครวัดนครธม ข้ามเทือกเขาพนมดงรักมาสู่ ศูนย์กลางการปกครองภาคอีสานทั้ง 3 เมืองดังกล่าวแล้ว เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ไทยเริ่มมีอำนาจครอบครองดินแดนเหล่านี้ ขณะเดียวกันพื้นที่จังหวัด ศรีสะเกษมีสภาพเป็นป่าดงอยู่นาน เพราะแม้แต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางก็มิได้บันทึกกล่าวถึงจังหวัด ศรีสะเกษในเอกสารใด เพิ่งจะได้มีการบันทึกหลักฐานในพงศาวดารกล่าวถึงเมืองสุรินทร์ด้วย สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาอาณาจักรกว้างขวางมาก มีชาวบ้านป่าซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่แถบ เมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาสักฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบัน ชนพวกนี้เรียกตัวเองว่า "ข่า" ส่วย" "กวย" หรือ "กุย" อยู่ในดินแดนของราชอาณาจักรไทย โดย สมบูรณ์ (เพิ่งเสียให้ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2436หรือ ร.ศ.112) พวกนี้มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามา เลี้ยงไว้ใช้งาน ชาวส่วยหรือชาวกวยได้อพยพย้ายที่ทำมาหากินข้ามมาฝั่งขวาแม่น้ำโขง เนื่องจากชาวเมือง ศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) ได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานแย่งที่ทำมาหากิน ในปี พ.ศ.2260 ชาวส่วยได้อพยพแยกออกเป็นหลายพวกด้วยกัน แต่ละพวกมีหัวหน้าควบคุมมา เช่น เซียงปุม เซียงสี เซียงสง ตากะจะและเซียงขัน เซียงฆะ เซียงไชย หัวหน้าแต่ละคนก็ได้หาสมัครพรรค พวกไปตั้งรกรากในที่ต่าง ๆ กัน เซียงปุมอยู่ที่บ้านที เซียงสีหรือตะกะอามอยู่ที่รัตนบุรี เซียงสงอยู่บ้าน เมือลีง (อำเภอจอมพระ) เซียงฆะอยู่ที่สังขะ เวียงไชยอยู่บ้านจารพัด (อำเภอศรีขรภูมิ) ส่วนตากะจะ และเซียงขัน อยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน (บ้านดวนใหญ่ปัจจุบัน)
  • 19. 19 พวกส่วยเหล่านี้อยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่หาเลี้ยงชีพด้วยการเกษตรและหาของป่าบริโภคใช้สอย มีการไปมาหาสู่ติดต่อกันระหว่างพวกส่วยอยู่เสมอ มีสภาพภูมิประเทสติดต่อเขตกัมพูชา และมีเทือกเขา พนมดงรักเป็นเส้นกันเขตแดน ป่าดงเขตนี้มีฝูงสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ โขลงช้างพัง ชางพลาย ฝูงเก้งกวาง ละมั่งและโคแดงอยู่มากมายตามทุ่งหญ้าและราวป่า เหมาะกับการทำมาหาเลี้ยงชีพของชาวส่วยอย่างยิ่ง ลุ พ.ศ.2302 ปีเถาะ จุลศักราช 1181 ตรงกับสมัยแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระยาช้างเผือกของพระองค์ได้แตกออกจาก โรงช้างต้นในกรุงศรีอยุธยา เดินทางมาทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โปรดให้ทหารเอกคู่พระทัยสองพี่น้อง (เข้าใจว่าสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พระนามเดิมทองด้วง และกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิมบุญมา) คุมไพร่พล 30 นาย ออกติดตามผ่านมาแขวงพิมาย ทราบจากเจ้าเมืองพิมายว่า ใน ดงริมเขาพนมดงรักมีพวกส่วยชำนาญใชการจับช้าง เลี้ยงช้าง สองพี่น้องกับไพร่พล จึงได้ติดตามสอง พี่น้องไปหาเซียงสีไปที่บ้านกุดหวาย(อำเภอรัตนบุรี) เซียงสีจึงได้พาสองพี่น้องและไพร่พลตามหาเซียงสง ที่บ้านเมืองลีง เซียงปุ่มที่บ้านเมืองที เซียงไชยที่บ้านกุดปะไท ตากะจะและเซียงขัน ที่บ้านโคกลำดวน เซียฆะที่บ้านอัจจะปะนึง(เขตอำเภอสังขะ) ทุกคนร่วมเดินทางติดตามพระยาช้างเผือก สองพี่น้องและ หัวหน้าป่าดงทั้งหมด ได้ออกติดตามล้อมจับพระยาช้างเผือกได้ที่บ้านหนองโชก ได้คืนมาและนำส่งถึง กรุงศรีอยุธยา ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ตั้งให้หัวหน้าบ้านป่าดงมีบรรดาศักด์ทั้งหมด ตากะจะหัวหน้าหมู่บ้านโคกลำดวน ได้เป็นหลวงแก้ว สุวรรณ เซียงขันได้เป็นหลวงปราบอยู่กับตากะจะ ต่อมาหัวหน้าหมู่บ้านป่าดงทั้ง 5 ได้พากันไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา โดยนำ สิ่งของไปทูลเกล้าฯ ถวาย คือช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นกระมาด (นอแรด) งาช้าง ขี้ผึ้งน้ำผึ้ง เป็น การส่งส่วยตามพระราชประเพณี สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงพิจารณาเห็นความดีความชอบ เมื่อครั้งได้ช่วยเหลือจับพระยาช้างเผือก และเมื่อหัวหน้าหมู่บ้านได้นำสิ่งของไปทูลเกล้าฯ ถวาย จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ให้หัวหน้าหมู่บ้านสูงขึ้นทุกคน ในปี พ.ศ.2302 นี้เองหลวงแก้วสุวรรณ(ตากะจะ) บ้านโคกลำดวนได้บรรดาศักดิ์เป็นเป็น พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน มีพระบรมราชโองการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ซึ่งเดิมเรียกว่า "เมืองศรีนครลำดวน" ขึ้นเป็นเมืองขุขันธ์ แปลว่า "เมืองป่าดง" ให้พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวนเป็นเจ้า เมืองปกครอง สมัยกรุงธนบุรี เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าในปี พ.ศ.2310 แล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระเจ้าตากสิน มหาราช ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพและทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี พ.ศ.2321 ปีจอ จุลศักราช 1140
  • 20. 20 กรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) เป็นกบฏต่อไทย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าพระยาสุรสีห์เป็น แม่ทัพยกขึ้นไปทางเมืองพิมาย แม่ทัพสั่งให้เจ้าเมืองพิมายแต่งข้าหลวงออกเกณฑ์กำลังเมืองประทาสมันต์ (จังหวัดสุรินทร์) เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองรัตนบุรี เป็นทัพบกยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองจำปาศักดิ์ ได้ชัยชนะยอมขึ้นต่อไทยทั้งสองเมือง กองทัพไทยเข้าเมืองเวียงจันทน์ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและ พระบาง พร้อมคุมตัวนครจำปาศักดิ์ไชยกุมารกลับกรุงธนบุรีในการศึกครั้งนี้เมื่อเดินทางกลับ หลวงปราบ (เซียงขัน) ทหารเอกในกองทัพ ได้หญิงม่ายชาวลาวคนหนึ่งกลับมาเป็นภรรยา มีบุตรชายติดตามมาด้วย ชื่อท้าวบุญจันทน์ พ.ศ.2324 เมืองเขมรเกิดจลาจล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระยาสุรสีห์ ได้รับ พระบรมราชโองการให้เป็นแม่ทัพยกกองทัพไปปราบจลาจลครั้งนี้ โดยเกณฑ์กำลังของเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะ สมทบกับกองทัพหลวงออกไปปราบปราม กองทัพไทยยกไปตีเมืองเสียมราฐ กำพงสวาย บรรทายเพชร บรรทายมาศ และเมืองรูงตำแรย์(ถ้ำช้าง) เมืองเหล่านี้ยอมแพ้ ขอขึ้นเป็นขอบ ขัณฑสีมา เสร็จแล้วยกทัพกลับกรุงธนบุรี เมื่อเสร็จสงครามเวียงจันทน์ และเมืองเขมรแล้ว ได้ปูนบำเหน็จให้แก่เจ้าเมืองปะทายสมันต์ เมืองขุขันธ์ และเมืองสังฆะเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็นพระยาให้พระยาทั้งสามเมือง เจ้าเมืองขุขันธ์ได้ บรรดาศักดิ์ใหม่ จากพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี ในปีเดียวกันนั้นเองพระยา ขุขันธ์ภักดี(ตากะจะ) ถึงแก่อนิจกรรมจึงโปรดให้หลวงปราบ(เซียงขัน) ขึ้นเป็นพระยาไกรภักดีศรีนคร ลำดวนเจ้าเมืองขุขันธ์ ต่อมาเมืองขุขันธ์ที่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวนกันดารน้ำ พระยาไกรภักดีฯ จึง อพยพเมืองย้ายมาอยู่บ้านแตระ(แตระ)ตำบลห้วยเหนือ ที่ตั้งอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ลุ พ.ศ.2325 ปีขาล จุลศักราช 1144 พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จ เถลิงถวัลยราชสมบัติ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน(เซียงขัน) ได้บรรดาศักดิ์เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี ได้มีใบบอกกราบ บังคมทูลข้อตั้งท้าวบุญจันทร์ เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ผู้ช่วยเจ้าเมือง อยู่มาวันหนึ่งพระยา ขุขันธ์ภักดี เผลอเรียกพระยาไกรภักดีฯ(บุญจันทร์)ว่า "ลูกเชลย" พระยาไกรภักดีจึงโกรธและผูกพยาบาท ภายหลังมีพ่อค้าญวน 30 คน มาซื้อโคกระบือที่เมืองขุขันธ์ พระยาขุขันธ์ภักดีอำนวยความสะดวกและจัด ที่พักให้ญวนตลอดจนให้ไพร่นำทางไปช่องโพย ให้พวกญวนนำโค กระบือ ไปยังเมืองพนมเปญได้สะดวก พระยาไกรภักดีฯ(บุญจันทร์) ได้กล่าวโทษมายังกรุงเทพฯและโปรดเกล้าให้เรียกตัวพระยาขุขันธ์ไปลงโทษ และจำคุกไว้ที่กรุงเทพฯ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาไกรภักดีฯ(บุญจันทร์) เป็นเจ้าเมืองขุขันธ์แทน
  • 21. 21 ในปี พ.ศ.2325 นี้ พระภักดีภูธรสงคราม(อุ่น) ปลัดเมืองขุขันธ์ กราบบังคมทูลขอแยกจากขุขันธ์ ไปตั้งที่บ้านโนนสามขา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านโนนสามขาขึ้นเป็นเมือง "ศรีสระเกศ" ต่อมาปี พ.ศ.2328 ได้ย้ายเมืองศรีสระเกศจากบ้านโนนสามขา มาตั้ง ณ บ้านพันทาเจียงอี อยู่ในเขต เทศบาลเมืองศรีสะเกษทุกวันนี้ พ.ศ.2342 มีโปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์กำลังเมืองสุรินทร์ เมืองขุขันธ์ เมืองสังฆะ เมืองละ 100 คน รวม 300 คน ยกทัพไปตีพม่าซึ่งยกมาตั้งในเขตนครเชียงใหม่ กองทัพไทยมิทันไปถึง กองทัพพม่าก็ถอย กลับ จึงโปรดเกล้าฯให้กองทัพไทยยกกลับ พ.ศ.2350 ทรงพระราชดำริว่า เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ และเมืองขุขันธ์ เป็นเมืองเคยตามเสด็จ พระราชดำเนินในการพระราชสงครามหลายครั้งมีความชอบมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทั้ง 3 เมือง ขึ้นตรงต่อ กรุงเทพฯ มีอำนาจชำระคดีได้เอง ไม่ต้องขึ้นต่อเมืองพิมายเหมือนแต่ก่อน พ.ศ.2369 รัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทน์ คุมกองทัพบกเข้าตีเมืองรายทางเข้ามาจนถึงเมืองนครราชสีมา ฝ่ายทางเมืองจำปาศักดิ์ เจ้านครจำปาศักดิ์(เจ้าโย่) เกณฑ์กำลังยกทัพมาตีเมืองขุขันธ์จับพระไกรภักดีศรี นครลำดวน(บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์ กับพระภักดีภูธรสงคราม(มานะ) ปลัดเมืองกับพระแก้วมนตรี(ทศ) ยกกระบัตรกับกรมการได้ ฆ่าตายทั้งหมด เจ้าเมืองสังฆะ และเมืองสุรินทร์หนีได้ทัน กองทัพจำปาศักดิ์ ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ค่ายหนึ่ง และค่ายอื่น ๆ สี่ค่าย กวาดต้อนครอบครัวไทยเขมรไป เมืองจำปาศักดิ์ จากนั้นมาเมืองขุขันธ์ ไม่มีข้าราชการปกครอง โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสังฆะ ไปเป็นพระยา ไกรภักดีศรีนครลำดวนเจ้าเมือง ให้พระไชยเป็นพระภักดีภูธรสงครามปลัดเมือง ให้พระสะเทื้อน (นวน) เป็นพระแก้วมนตรียกกระบัตรเมือง ให้ท้ายหล้าบุตรพระยาขุขันธ์(เซียงขัน) เป็นมหาดไทยช่วยกันรักษา เมืองขุขันธ์ต่อไป จากนั้นมาได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเจ้าเมืองและนามเจ้าเมืองหลายครั้ง พ.ศ.2426 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาขุขันธ์(ปัญญา) เจ้าเมืองกับ พระปลัด(จันลี) ได้นำช้างพังสีประหลาดหนึ่งเชือกลงมาน้อมเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพฯ พ.ศ.2433 มีสารตราโปรดเกล้าฯ ให้เมืองศรีสระเกศ(ชื่อเดิม) ไปอยู่ในบังคับบัญชาของข้าหลวง ใหญ่ได้โปรดให้หลวงจำนงยุทธกิจ(อิ่ม) กับขุนไผทไทยพิทักษ์(เกลื่อน) เป็นข้าหลวงเมืองศรีสระเกศ พ.ศ.2435 โปรดเกล้าฯ ให้จัดรูปการปกครองแบบมณทลเมืองศรีสะเกศขึ้นอยู่กับเมณฑลอีสาน กองบัญชาการมณฑลอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2445 เปลี่ยนชื่อมณฑลอีสานเป็น มณฑลอุบลมีเมืองขึ้น 3 เมืองคือ อุบลราชธานี ขุขันธ์ และ สุรินทร์ ไม่ปรากฏชื่อเมืองศรีสระเกศ สันนิษฐานว่าเมืองศรีสระเกศถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองขุขันธ์ ซึ่งเป็นเมืองเก่ามาแต่เดิม
  • 22. 22 พ.ศ.2447 ย้ายที่ตั้งเมืองขุขันธ์(ซึ่งอยู่ที่บ้านแตระ ตำบลห้วยเหนืออำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) มาอยู่ ที่ตำบลเมืองเก่า(ปัจจุบันคือตำบลเมืองเหนือในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน) และยังคงใช้ชื่อ "เมืองขุขันธ์" ยุบเมืองขุขันธ์เดิมเป็นอำเภอห้วยเหนือ(อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้) พ.ศ.2459 กระทรวงมหาดไทย มีประกาศให้เปลี่ยนชื่อเมืองทุกเมืองเป็นจังหวัด เมืองขุขันธ์จึง เป็นเป็นจังหวัดขุขันธ์ เมื่อวันที่ 9พฤศจิกายน พ.ศ.2459 เปลี่ยนผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด พ.ศ.2481 มีพระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้น มาจนถึงปัจจุบัน