SlideShare a Scribd company logo
1 of 82
Download to read offline
แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี
(พ.ศ.2554-2557)
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
คํานํา
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา
16 ให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นโดยจัดทําเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับ
แผนการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 13 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551
เห็นชอบแนวทางการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี แบบ Rolling Plan โดยให้แต่ละกระทรวงปรับปรุงและ
บูรณาการแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของส่วนราชการและหน่วยงานในกํากับของฝ่ายบริหาร โดยจัดทํา
แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ในลักษณะแบบ Rolling Plan ซึ่งจะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงใหม่ให้ทัน
ต่อเนื่องกันไป และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการเตรียมการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปี
งบประมาณ พ.ศ.2555 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 ซึ่งส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีและ
แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 สําหรับใช้ในการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปี
งบประมาณ พ.ศ.2555 ให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2554-2557)
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการขึ้น เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานและใช้ประกอบการ
พิจารณาจัดสรรงบประมาณประจําปีของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2554-2557) ฉบับนี้ ประกอบด้วย
1. บทนํา
2. วิสัยทัศน์ ค่านิยมองค์การ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์และ
เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน
3. ตารางเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ผลผลิต/โครงการ-กิจกรรม/เงินทุนหมุนเวียน/กองทุนและ
โครงการ/งบประมาณ
การจัดทําแผนปฏิบัติการ 4 ปี (พ.ศ.2554-2557) ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ฉบับนี้ สําเร็จได้ด้วยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง สามารถใช้เป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาของ
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สํานักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จึงขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้การสนับสนุนร่วมมือมา ณ โอกาสนี้
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์
สารบัญ
หน้า
ส่วนที่ 1 บทนํา 1
ส่วนที่ 2 สาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2554-2557)
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 13
วิสัยทัศน์ 13
พันธกิจ 13
ค่านิยมองค์การ 13
ประเด็นยุทธศาสตร์ 14
เป้าประสงค์ 14
ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 15
กลยุทธ์ 16
เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน 16
ผังความเชื่อมโยงของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2554-2557)
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 20
ส่วนที่ 3 ตารางเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ผลผลิต/โครงการ-กิจกรรม 21
ส่วนที่ 4 ตารางเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย เงินทุนหมุนเวียน/กองทุน 74
ส่วนที่ 5 ตารางสรุปงบประมาณตามผลผลิต/โครงการ-กิจกรรม/เงินทุนหมุนเวียน/
กองทุน 77
ภาคผนวก
อักษรย่อหน่วยงาน 79
ส่วนที่ 1
บทนํา
ตามที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
มาตรา 16 ให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นโดยจัดทําเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้อง
สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 13 โดยในแต่ละปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทํา
แผนปฏิบัติราชการประจําปีเสนอต่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้สํานักงบประมาณดําเนินการจัดสรร
งบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสําเร็จในแต่ละภารกิจตามแผนปฏิบัติราชการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ
เห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2552-2554 (รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี)
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 รวมทั้งเห็นชอบในหลักการกรณีคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนงาน/โครงการเพิ่มเติม
ให้คณะกรรมการจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดินทําการปรับปรุงแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้
สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีด้วย และมอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนําแผนการบริหาร
ราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554 ไปประกอบการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการ
ประจําปีต่อไป ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 เห็นชอบแนวทางการจัดทํา
แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี แบบ Rolling Plan โดยให้แต่ละกระทรวงปรับปรุงและบูรณาการแผนปฏิบัติราชการ
4 ปี ของส่วนราชการและหน่วยงานในกํากับของฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน
โดยจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ในลักษณะแบบ Rolling Plan ซึ่งจะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงใหม่ให้
ทันต่อเนื่องกัน และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการเตรียมการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปี
งบประมาณ พ.ศ.2555 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 ซึ่งส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีและ
แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 สําหรับใช้ในการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปี
งบประมาณ พ.ศ.2555 ให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล
ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้
จัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2554-2557) ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการขึ้น โดยเชื่อมโยง
ภารกิจของชาติด้านการศึกษา ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 นโยบายรัฐบาลและแผนการบริหาร
ราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554 ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) แผนการ
ศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552–2559) ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปี
งบประมาณ พ.ศ. 2555 จุดเน้นการพัฒนาการศึกษาและนโยบายการพัฒนาจากรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ (นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มา
เชื่อมโยงกับบทบาทอํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นกรอบแนวทางในการจัดทํา
ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพใน
การศึกษา มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่าง
ทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ต้อง
ได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น ส่วนที่ 4
แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม มาตรา 80 รัฐต้องดําเนินการตาม
แนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม ข้อ (3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัด
การศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มี
แผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากร
2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2545 ที่กําหนดความมุ่งหมายและหลักการไว้ในมาตรา 6 ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้
เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ
ดํารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและมาตรา 10 ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน
ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ใด ๆ
การจัดการศึกษาสําหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์
สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้
หรือไม่มีผู้ใดดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบ (พ.ศ. 2550-2554) ที่มุ่งยกระดับ
การศึกษาของประชาชนให้คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ
การประกอบอาชีพและมีความมั่นคงในการดํารงชีวิตครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายโดยได้กําหนดเป้าหมายที่จะ
เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี พัฒนากําลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพเพิ่มเป็นร้อยละ
60 และเพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น 10 คนต่อประชากร 10,000 คน
4. นโยบายรัฐบาลและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2552-2554
โดยมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องนํามาใช้เป็นกรอบแนวทางการจัดทําแผน
ดังนี้
นโยบายที่ 3 สังคมและคุณภาพชีวิต
เป็นนโยบายที่จะดําเนินการภายในช่วงระยะเวลา 3 ปี ของรัฐบาล ข้อ 3.1 นโยบาย
การศึกษา มีนโยบายย่อยที่เกี่ยวข้องดังนี้
นโยบายย่อยที่ 3.1.1 การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบโดยปฏิรูปโครงสร้างและการ
บริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัด
การศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่
มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลัก รวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการ
เรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสํานักงานการศึกษา
ตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการ
กระจายอํานาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนําไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการ
เรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนําความรู้อย่างแท้จริง
นโยบายย่อยที่ 3.1.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้ง
ระบบโดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาค
เศรษฐกิจ
นโยบายย่อยที่ 3.1.3 พัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้ได้ครูดี ครู
เก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพและมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืน
ครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู
2
นโยบายย่อยที่ 3.1.4 จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับ
อนุบาลไปถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและ
ความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้
อยู่ในสภาวะยากลําบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการ
พัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน
นโยบายย่อยที่ 3.1.7 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและประชาชนใช้ประโยชน์จาก
เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้
นโยบายย่อยที่ 3.1.8 เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการ
ในทุกระดับการศึกษาและในชุมชน โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการทุกมิติ
5. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561)
หลักการและกรอบแนวคิดเน้นการปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้ และเสนอกลไกที่
จะก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบ และ
พิจารณาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการพัฒนาประเทศ ซึ่งต้องเชื่อมโยง
กับการพัฒนาระบบอื่น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง เกษตรกรรม สาธารณสุข การจ้างงาน
เป็นต้น
วิสัยทัศน์ : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
เป้าหมาย ภายในปี 2561 มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดย
เน้นประเด็นหลัก 3 ประการ คือ (1) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย (2) เพิ่ม
โอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ส่งผลให้คนไทยยุค
ใหม่ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และมีนิสัยใฝ่รู้ตลอดชีวิต มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด
วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถ
ทํางานเป็นกลุ่ม มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตสํานึกและความภูมิใจในความไทย และสามารถ
ก้าวทันโลก ผู้เรียนทุกระดับ/ประเภทการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น กําลังแรงงานและผู้สูงอายุ
ได้รับการศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีทักษะและความรู้พื้นฐานทั้ง
ในการดํารงชีวิตและในการทํางานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการพัฒนาและ
เตรียมความพร้อมให้สามารถเรียนรู้และมีพัฒนาการตามวัย มีความพร้อมศึกษาเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น
ผู้ด้อยโอกาส ยากไร้ พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาและ
ชนต่างวัฒนธรรม ได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา : ปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ 4
ใหม่ ได้แก่ (1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ให้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ ตั้งแต่ปฐมวัย สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถสื่อสาร คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ริเริ่มสร้างสรรค์
มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ทํางานเป็นกลุ่มได้ มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยม จิตสํานึกและภูมิใจในความเป็นไทย ก้าวทันโลก เป็นกําลังคนที่มีคุณภาพ มีทักษะความรู้พื้นฐานที่
จําเป็น สมรรถนะ ความรู้ สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีโอกาสเรียนรู้อย่างเท่าเทียม เสมอภาค โดย
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้และผลิตและพัฒนากําลังคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และความรู้
ความสามารถ (2) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ให้เป็นผู้เอื้ออํานวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มี
คุณค่า มีระบบกระบวนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มีคุณภาพมาตรฐาน
เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง สามารถดึงดูดคนเก่งและคนดี มีใจรักมาเป็นครู มีปริมาณเพียงพอ และ
3
6. เป้าหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559)
มีการกําหนดเป้าหมายการนําแผนสู่การปฏิบัติเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณไว้ดังนี้
เป้าหมายเชิงคุณภาพ : เมื่อสิ้นสุดแผนฯ ในปี 2559 การพัฒนาการศึกษาของประเทศบรรลุผลตามเป้าหมายที่
กําหนดไว้ ดังนี้
1. คนไทยเป็นคนดี เก่ง มีความสุข มีความรู้เชิงวิชาการและสมรรถนะทางวิชาชีพ มี
คุณธรรม จริยธรรม ใฝ่เรียนรู้และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง มีความสุข มีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์ สามารถประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
ความสุข เพื่อเป็นเป้าหมายและฐานหลักของการพัฒนาประเทศ
2. สังคมไทยเป็นสังคมแห่งคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ มีการสร้างองค์ความรู้
นวัตกรรมและเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการเรียนรู้ นําไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
มีสุขภาวะ ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเอื้ออาทร ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดชีวิต
อย่างมีคุณภาพ
3. สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยต่อการพัฒนาคนอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาและเรียนรู้ มีการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพมีการ
กระจายอํานาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการระดมทรัพยากรและ
ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้งความร่วมมือในภูมิภาคและกับนานาชาติมากขึ้น อันจะนําไปสู่
ความสามารถในการร่วมมือและแข่งขันของประเทศ และการอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุขมีการพึ่งพาอาศัย
และเกื้อกูลกัน
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระหลัก เกินกว่าร้อยละ 50
2. สถานศึกษาทุกโรงได้รับการรับรองมาตรฐาน จาก สมศ.
3. จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น จาก 8.7 ปี ในปี 2551 เป็น 10 ปีใน
ปี 2559
4. เอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษามากขึ้น โดยมีสัดส่วนผู้เรียนระหว่างรัฐ : เอกชน เป็น
65 : 35 ในปี 2559
4
5. สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษามากขึ้น โดยมีสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา : สามัญศึกษาใน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็น 60: 40 ในปี 2559
7. ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
(ปรับปรุงตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553)
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ประกอบด้วย
2 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การสร้างสังคมสมานฉันท์และความมั่นคงของประเทศ
ให้ความสําคัญกับการพัฒนาระบบอํานวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ เสมอภาค
โปร่งใส รวดเร็ว และเป็นธรรม เร่งรัดแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ และพัฒนาการให้บริการของ
หน่วยงานของรัฐให้มีคุณภาพและทั่วถึง รวมทั้งรักษาความสงบเรียบร้อยภายในบนพื้นฐานของความสมานฉันท์
สนับสนุนกิจกรรมสร้างความสามัคคีเพื่อรวมจิตใจ ของคนทั้งชาติ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อแก้ปัญหาใน
จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดระเบียบแรงงานต่างด้าวเพื่อลดปัญหาด้านความมั่นคง สร้างเสริมศักยภาพในการ
ป้องกันประเทศ ภัยคุกคามจากการก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติ ควบคู่กับการสร้างสัมพันธ์อันดีกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในกลุ่มมุสลิม และประเทศที่มีบทบาทสําคัญทั่วโลก ขยายความร่วมมือในทุกมิติกับ
ประเทศคู่ค้าสําคัญและองค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและ
องค์การระหว่างประเทศ
2. ยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิตและความเท่าเทียมกันในสังคม
ให้ความสําคัญกับการสร้างสวัสดิการพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน เช่น การสร้าง
ความมั่นคงด้านรายได้และจัดหาสิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ การ
จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผู้เรียนไม่เสียค่าใช้จ่าย การพัฒนาบริการหลักประกันสุขภาพ เป็นต้น รวมทั้ง
ให้ความสําคัญกับการสร้างวัฒนธรรมและสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การขยายโอกาสทางการศึกษาใน
ทุกระดับและทุกระบบให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง สนับสนุนให้เด็ก เยาวชน
และคนรุ่นใหม่ ได้รับการพัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการ มีความรู ้ ความเข้าใจในการใช้และเลือกรับ
สื่อในเชิงสร้างสรรค์ ควบคู่กับการส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม ค่านิยมที่ดี จิตสํานึกและการแสดงออกที่
ดีงามในความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ด้านศาสนา ลูกเสือ ยุวกาชาด การประกวด
ทางศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม เป็นต้น ในด้านสุขภาวะของคนไทย มุ่งเน้นการเสริมสร้างสุขภาพ การ
ป้องกันโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านสุขภาพ การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด และผลักดันให้
การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน สมุนไพรไทย เป็นทางเลือกสําคัญในการป้องกันรักษาโรค รวมทั้ง
ส่งเสริมให้ประชาชน มีการออกกําลังกายและเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา นันทนาการ อย่างสม่ําเสมอ และ
สร้างโอกาสให้เยาวชน ได้พัฒนาทักษะด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ
8.จุดเน้นการพัฒนาการศึกษาและนโยบายการพัฒนาจากรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ (นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ) ได้กําหนดนโยบายเร่งรัดขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาใน
ทศวรรษที่สองไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจัง โดยการรวมใจและบริหารจัดการในการขับเคลื่อนอย่างเป็น
องค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางและใช้การศึกษาเป็นธงในการขับเคลื่อนพัฒนาทุกด้าน มีเป้าหมายในการจัด
การศึกษาอย่างมีคุณภาพตลอดชีวิต มีจุดเน้นที่ตัวผู้เรียนและมีตัวชี้วัดของการพัฒนาการศึกษาระดับต่างๆ ที่
ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งทุกหน่วยงานมีการดําเนินโครงการเดิมอยู่ก่อนแล้ว แต่เพิ่มการดําเนินการให้
เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม โดยให้รวมพลังปฏิบัติงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ ดังนี้
8.1 จุดเน้นการพัฒนา
- ระดับปฐมวัย เน้นในเรื่องการพัฒนาสมองของเด็กไทยอย่างจริงจัง เด็กไทยควร
5
ได้รับแร่ธาตุต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย เช่น ไอโอดีน ธาตุเหล็ก โปรตีน ฯลฯ รวมทั้งการพัฒนาทางด้านร่างกาย
อารมณ์ สังคม สติปัญญา
- ระดับประถมศึกษา เน้นการอ่านออกเขียนได้ ทําเลขเป็น ความกตัญญูกตเวที เคารพ
ครูอาจารย์ เคารพพ่อแม่ มีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ และต้องสร้างเครือข่ายในการจัดการศึกษาใน
ทิศทางที่ถูกต้อง
- ระดับมัธยมศึกษา เน้นการเรียน 2 ภาษาเป็นอย่างน้อย รวมทั้งการใช้ ICT
ที่สําคัญ คือ ต้องเน้นความเป็นพลเมืองดี โดยใช้การศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อน
- ระดับอาชีวศึกษา เน้นการพัฒนาฝีมือแรงงานระดับกลาง ที่ต้องมีหน่วยงาน
การตรวจสอบคุณภาพฝีมืออย่างแท้จริง ได้รับค่าจ้างตามระดับฝีมือ อาชีวศึกษาและราชมงคล ต้องเน้น
การจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีกับผู้ประกอบการ ต้องมี SME อาชีวะ และ SME ราชมงคล ต้องสร้าง
ผู้ประกอบการรายใหม่ ตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการสร้างคนเข้าสู่ธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ กระบวน
การเรียนการสอนต้องทําให้เด็กอาชีวศึกษาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีภูมิคุ้มกันเรื่องยาเสพติด มีคุณธรรม เป็น
พลเมืองดี และอยู่ในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างมีความสุข เด็กอาชีวศึกษาต้องรู้จักเคารพซึ่งกันและกัน รู้จัก
แบ่งงานกันทํา เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว และใช้วิธีการแห่งปัญญาในการแก้ปัญหา
- ระดับอุดมศึกษา ต้องจัดการศึกษาเชื่อมต่อกับระดับอาชีวศึกษา เด็กอาชีวศึกษาที่
เรียนเก่งต้องมีโอกาสศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสาขาเกี่ยวกับเทคโนโลยีชั้นสูง หรือเป็นนักปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติที่
เชี่ยวชาญ และต้องสร้างค่านิยมใหม่ว่า คนที่ประสบความสําเร็จ คือ คนที่พัฒนาฝีมืออาชีพให้ประสบความสําเร็จ
มิใช่มีใบปริญญาอย่างเดียว
8.2 นโยบายการพัฒนา
1. ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต
อย่างมีคุณภาพ ให้ทุกส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการ มีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจ
กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งหมด เพื่อสร้างกระแสการขับเคลื่อนต่อสังคมในวงกว้าง โดยมุ่งหวัง
ให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจ เห็นความสําคัญ และร่วมเป็นพลังผลักดันขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุ
เป้าหม ายที่ตั้งไว้ใ นทิศทางเดี ยวกัน คือ สร้างเด็กใ ห้เป็นคนเก่ง คนดี มีค วามสุข
มีความสามารถ สนับสนุนการแข่งขันของประเทศ อยู่ร่วมในสังคมโลกได้อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความเป็น
ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) โดยให้บูรณา
การกับวิชาการลูกเสือไทย เพื่อปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การประเมินผล และ
การจัดกิจกรรม โดยลดการเรียนทางวิชาการลงให้เหมาะสม และนําวิชาเกี่ยวกับทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรม
เน้นความเป็นพลเมืองดีเข้ามาแทน โดยนักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนเท่าเดิม แต่ในช่วงบ่าย
จะเป็นการอบรมสั่งสอนมากกว่าการเรียน และอาจจะมีการทํากิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของแต่
ละคน
2. โครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง
รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองให้ถูกต้องว่า นโยบายเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ
เป็นสวัสดิการของรัฐบาล เพื่อสร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษาในการพัฒนาคน โดยให้
ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินงานโครงการนี้อย่างมีคุณภาพ และต่อเนื่อง ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนเปิด
ภาคเรียน โดยเฉพาะหนังสือเรียนต้องมีครบ เมื่อเปิดภาคเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้
ความสําคัญเป็นพิเศษกับโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ
3. การศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะแสวงหาความร่วมมือกับฝ่าย
ความมั่นคง ศูนย์บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการดําเนินการจัดการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เป็นกรณีพิเศษ โดยมุ่งเน้นให้มีการจัดการศึกษา ทั้งสายสามัญและด้านศาสนาที่จะต้องควบคู่กันไป โดย
6
4. สร้างแหล่งเรียนรู้ราคาถูก โดยจัดตั้ง กศน.ตําบล ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ราคาถูก
สําหรับประชาชน โดยร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตําบล ในการส่งเสริมให้มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ให้ กศน.ตําบลเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน เช่น ประชาชนในตําบลสามารถเช็คราคายางพารา การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฯลฯ
โดยให้ครู กศน. ดูแล และส่งเสริมการอ่าน โดยการสร้างเครือข่ายรักการอ่านแก่บุตรหลานในชุมชน จัดทํามุม
หนังสือเพื่อส่งเสริมการอ่าน ทั้งที่บ้าน ในห้องสมุด ในโรงพยาบาล หรือสถานที่ต่างๆ
ในระหว่างการเดินทาง มีศูนย์ Fix It Center รวมทั้งมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขยายผล
โครงการ Teacher TV และ โครงการ Tutor Channel ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ราคาถูก เพื่อสร้างโอกาสการ
เรียนรู้ของผู้เรียน ครู และประชาชนทั่วไปด้วย
5. สร้างเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา (National
Education Network : NEdNet) เพื่อยกระดับเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ
จึงมีการปรับเปลี่ยนโครงการ Teacher TV และ Tutor Channel เป็นนโยบายสร้างเครือข่ายเทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา โดยรูปแบบการบริหารเครือข่าย Ned-Net จะมีสถาบันเทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษาแห่งชาติ เป็นนิติบุคคลภายใต้การกํากับของกระทรวงศึกษาธิการ ให้บริการเครือข่ายเพื่อการ
ศึกษาวิจัยแก่ทุกองค์กร มีภารกิจที่สําคัญในการให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาวิจัย เป็นแหล่งทรัพยากร
การเรียนรู้ ส่งเสริม e-Learning และ Tele-Conference ศูนย์ควบคุมโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และศูนย์ส่งเสริม
สารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา ในระหว่างรอพระราชบัญญัติเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ ขอให้
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เตรียมการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย
การบริหารสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นการภายในก่อน และให้ออกระเบียบว่าด้วยกองทุนเทคโนโลยี
เพื่อการศึกษา เพื่อประสานกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในการจัดตั้งกองทุนต่อไป
6. สร้างขวัญและกําลังใจครู จะเร่งรัดผลักดันดําเนินการใน 4 เรื่องหลัก คือ
เร่งดําเนินการพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินวิทยฐานะครู เพื่อให้ครูได้ปรับเข้าสู่โครงสร้างเงินเดือนใหม่
เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนที่ได้ปรับไปแล้ว เครือข่ายพัฒนาชีวิตครู โดยให้ครูใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงดําเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยใช้กระบวนการจัดตั้งเครือข่ายในรูปแบบองค์การมหาชน
ที่เป็นเครือข่ายพัฒนาครู เพื่อให้ครูได้พัฒนาตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
ตลอดถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงต่อไป รวมทั้งให้มีการร่วมมือเพื่อระดมเงินมาตั้งเป็น
เครือข่ายพัฒนาชีวิตครู เครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครู จะทําให้ใบประกอบวิชาชีพครู/ ผู้บริหารมีศักดิ์ศรี เป็นสิ่ง
ที่ทําให้ครูมีความภาคภูมิใจเช่นเดียวกับใบประกอบวิชาชีพอื่นๆ เช่น แพทย์ วิศวะ เภสัชกรรม เนติบัณฑิตยสภา
และจะให้ สกสค. ดูแลขวัญกําลังใจครูอย่างแท้จริง ต้องต่อยอดการพัฒนาองค์กรครูอย่างเป็นระบบ
นอกจากนั้น ยังให้ความสําคัญกับเรื่องเงินวิทยพัฒน์ และกองทุนพัฒนาครู เพื่อดําเนินการในการพัฒนาครู
อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
7. สนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้มี
การตั้งคลังองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี สําหรับพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ
(MOE Clearing house) เพื่อเป็นหน่วยงานรวบรวบ และเผยแพร่องค์ความรู้ ศึกษาค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงเป็นเครือข่ายให้องค์กรอื่น เช่น สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
7
9. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ และ
กลยุทธ์ ดังนี้
วิสัยทัศน์
มุ่งพัฒนาการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนําความรู้ มีคุณภาพ มีศักยภาพในการพัฒนา
ตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างสังคมคุณธรรม พัฒนาสังคมฐานความรู้และยืนหยัดใน
เวทีโลกบนพื้นฐานของความเป็นไทย
พันธกิจ
1. เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชน
2. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
3. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล
ประเด็นยุทธศาสตร์
1. การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
3. การพัฒนาขีดความสามารถของประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน
4. การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคงของรัฐ
5. การพัฒนาระบบบริหารจัดการและกฎหมายด้านการศึกษา
6. การศึกษาและการวิจัยเพื่อให้บริการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ
7. การปลูกจิตสํานึกและกระตุ้นให้เกิดการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย
เป้าประสงค์
1. คนไทยทุกกลุ่มทุกวัยได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง
2. ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปีที่มีคุณภาพ มาตรฐานโดยไม่เสีย
ค่าใช้จ่ายตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายวิชาชีพ ครอบคลุมตําราเรียนใน
วิชาหลัก ชุดนักเรียนอุปกรณ์การเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
3. ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มาตรฐานและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
4. คนไทยได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพในการดํารงชีวิต ประกอบอาชีพ และเสริมสร้าง
การแข่งขันของประเทศ
5. ผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้รับการเผยแพร่หรือนําไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น
6. ผู้มีความสามารถพิเศษ ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอย่างเต็มตามศักยภาพ
7. ประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มีโอกาสได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
8. ระบบบริหารงานมีคุณภาพและมาตรฐานตามหลักธรรมาภิบาลเป็นที่ยอมรับของ
ผู้รับบริการ
9. เขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษาได้รับการกระจายอํานาจการบริหารและการจัด
การศึกษาเพิ่มขึ้น
8
10. ผลงานการศึกษาและวิจัยเพื่อบริการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพได้รับการ
พัฒนา
11. ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของศิลปวัฒนธรรม
ไทย
กลยุทธ์
1. สร้างและประกันโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษาทุกระดับ/ทุกประเภท
2. ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ส่งเสริมสถาบันการศึกษาจัดบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม
4. เร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ
5. ส่งเสริมคุณธรรม/ศีลธรรมในระบบการศึกษา
6. พัฒนาครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และแก้ปัญหาขาดแคลนครู คณาจารย์
บุคลากรทางการศึกษา
7. เร่งพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ
8. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน และ
สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการศึกษา
9. เร่งผลิตและพัฒนากําลังคนทั้งระดับกลางและระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
แพทย์ พยาบาล และสาขาที่ขาดแคลน
10. สร้างและส่งเสริมค่านิยมการศึกษาวิชาชีพ
11. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาและการอุดมศึกษา
12. พัฒนาสมรรถนะและทักษะแรงงานให้รองรับต่อการพัฒนาประเทศและสร้างระบบ
ค่าตอบแทนที่เหมาะสม
13. ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี
14. พัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
15. ปรับปรุงระบบการบริหารงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
16. พัฒนากฎหมายการศึกษาให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความจําเป็นของสังคม
17. ส่งเสริม สนับสนุนการกระจายอํานาจการจัดการศึกษา
18. ศึกษาและวิจัยเพื่อให้บริการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ
19. ศึกษาและวิจัยเพื่อทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย
10. อํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการมีอํานาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2548
ดังนี้
ข้อ 2 ให้สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจเกี่ยวกับ
การพัฒนายุทธศาสตร์ การแปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติ ดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วย
การศึกษาแห่งชาติ จัดทํางบประมาณและบริหารราชการประจําทั่วไปของกระทรวง เพื่อการบรรลุเป้าหมาย
และเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง โดยให้มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําข้อมูลเพื่อใช้ในการกําหนดนโยบาย เป้าหมายและ
ผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง
(2) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง
(3) แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ
(4) จัดทํางบประมาณและแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง
9
(5) ดําเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการและการตรวจสอบภายในราชการทั่วไปของ
กระทรวง
(6) ดําเนินการเกี่ยวกับงานลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน
(7) ส่งเสริมสนับสนุนงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยคณะกรรมการ
การศึกษาเอกชน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และ
บุคลากรทางการศึกษา
(8) ส่งเสริม ประสานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการกีฬา เพื่อการศึกษา
ตลอดจนงานอื่นๆ ที่มิได้กําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง
(9) ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวง รวมทั้งดําเนินการ
เกี่ยวกับงานความช่วยเหลือและความร่วมมือกับต่างประเทศในส่วนที่มิได้อยู่ในอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ
ใดในสังกัดกระทรวง
(10) พัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานของกระทรวง
(11) ดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งมิได้
อยู่ในอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง
(12) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่และ
ความรับผิดชอบของสํานักงานปลัดกระทรวงหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
10
11. สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
จุดอ่อนจุดแข็ง
1.การพัฒนาบุคลากรไม่ทั่วถึงและไม่สอดคล้องกับ
ความต้องการและการปฏิบัติงานจริง
1. บุคลากรมีศักยภาพและประสบการณ์ในการ
ขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างมี
ประสิทธิภาพ 2. ครูโรงเรียนเอกชนขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและ
ขาดขวัญกําลังใจ2. ให้บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัยแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง 3.ไม่สามารถใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการ
บริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดและไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
3. โรงเรียนเอกชนมีคุณภาพและมีความพร้อมที่จะ
แบ่งเบาภาระของรัฐในการจัดการศึกษา
4. เป็นศูนย์กลางเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารที่สามารถให้บริการส่วนราชการและ
ประชาชนได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพและมีระบบ
ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการที่ถูกต้อง
เป็นปัจจุบัน
4. นโยบายการรับนักเรียนของภาครัฐมีการ
เปลี่ยนแปลง มีผลทําให้สัดส่วนนักเรียนเอกชนต่อรัฐ
ไม่เพิ่ม
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามหลักสูตร
การศึกษาพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ํา
5. เป็นศูนย์กลางการพัฒนากฎหมายและระเบียบ
ต่าง ๆ เพื่อให้บริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
6. เป็นศูนย์กลางจัดประสานการกําหนดนโยบาย
ยุทธศาสตร์ แผนและงบประมาณ ตรวจราชการ
ติดตามและประเมินผลของสํานักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการและกระทรวงศึกษาธิการ ที่เข้มแข็ง
สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารได้อย่างมี
เอกภาพ
7. เป็นศูนย์กลางในการบริหารงานบุคคล และ
ส่งเสริม สนับสนุน เครือข่ายการพัฒนาข้าราชการ
ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
8.เป็นหน่วยงานกลางที่ดําเนินงานด้าน
ความร่วมมือทางการศึกษากับต่างประเทศที่มี
ประสิทธิภาพ
9. มีศูนย์บริการร่วม ศธ. ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
11
12
โอกาส
1. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กําหนดให้
บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา 12 ปี โดย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
10 เน้นทิศทางในการพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนํา
ความรู้ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัว เป็นแหล่งจ้าง
งานที่สําคัญของผู้สําเร็จการศึกษาในระดับฝีมือ
แรงงาน
4. ระบบการบริหารจัดการมีธรรมาภิบาล และทุก
ภาคส่วนมีส่วนร่วม
5. ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ทําให้เอื้อต่อการบริหารจัดการและการ
จัดการเรียนการสอน และเป็นช่องทางให้ประชาชน
และผู้เรียนแสวงหาความรู้ได้
6. หน่วยงานภาครัฐ องค์กรมหาชนและสถาบัน
ศาสนาให้การส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรม
อุปสรรค
1. การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ส่งผลให้นโยบาย
ด้านการศึกษาขาดความต่อเนื่อง
2. การประกาศใช้และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
การปฏิรูปการศึกษายังมีความล่าช้าไม่ทันกับการ
เปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างการบริหาร
3. สังคมมีค่านิยมส่งบุตรหลานเรียนสายสามัญ
มากกว่าสายอาชีวศึกษา เนื่องจากภาพลักษณ์ เจต
คติและค่านิยมของการเรียนอาชีวศึกษายังไม่ดีพอ
4. รัฐไม่มีมาตรการในการใช้สื่อที่ถูกต้องและเพียงพอ
ทําให้เกิดปัญหาสังคม
5. ค่าครองชีพในปัจจุบันสูงขึ้น ทําให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง
ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเรียนของบุตรหลานมาก
ขึ้น
6. ปัญหาและวิกฤตการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี
ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่วนที่ 2
สาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2554-2557)
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
จากการศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งชาติอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2550 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบ (พ.ศ. 2550-2554) นโยบายรัฐบาลและแผนการบริหาร
ราชการแผ่นดิน ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2554) ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.
2552-2561) แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559) ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
รายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2555 จุดเน้นการพัฒนาการศึกษาและนโยบายการพัฒนาจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ อํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสภาพแวดล้อมภายในและ
ภายนอกสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กําหนดสาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.
2554-2557) ไว้ดังต่อไปนี้
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรต้นแบบในการบริหารการปฏิบัติราชการที่มีหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมการ
เรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล
พันธกิจ
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
2. ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมหรือจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
3. พัฒนาการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้ผู้เรียนมี
คุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
4. พัฒนาข้าราชการ ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้ได้มาตรฐาน
5. พัฒนาและส่งเสริมการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิด
ประสิทธิภาพ
ค่านิยมองค์การ
TEAMWINS
T = Teamwork การทํางานเป็นทีม หมายถึง บุคลากรมีความสามัคคี ประสานงาน
กันทํางานเพื่อองค์กร มีการระดมความคิดในการแก้ปัญหาร่วมกัน พัฒนางานร่วมกัน มีลักษณะเป็นหนึ่ง
เดียวในด้านการบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน และด้านกฎหมายมีทีมงานที่สามารถนํานวัตกรรมใหม่ๆ มา
ใช้พัฒนาการทํางานขององค์กร ชักชวนให้คนในองค์กรช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติจริง เพื่อการ
ทํางานที่นําไปสู่เป้าประสงค์ขององค์กร
E = Equality of Work ความเสมอภาคในการทํางาน หมายถึง ผู้บริหารให้
ความสําคัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคน โดยให้ความเสมอภาคและความเป็นธรรม สร้างขวัญ
กําลังใจที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติงาน
A = Accountability ความรับผิดชอบ หมายถึง บุคลากรมีความรับผิดชอบในหน้าที่
ที่ได้รับมอบหมายและงานที่ต้องมีส่วนร่วมต่าง ๆ ปฏิบัติด้วยความตั้งใจอย่างเต็มความสามารถ บรรลุผล
13
M = Morality and Integrity การมีศีลธรรมและมีความซื่อสัตย์ หมายถึง บุคลากร
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และถูกต้องเพื่อนําพาองค์กรให้เป็นที่น่าเชื่อถือ และก้าวไปข้างหน้า
อย่างภาคภูมิ
W = Willingness ความมุ่งมั่นตั้งใจทํางานอย่างเต็มศักยภาพ หมายถึง บุคลากร
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ เต็มความรู้ เต็มความสามารถ และเต็มเวลา เพื่อมุ่งสู่ความสําเร็จขององค์กร
I = Improvement การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ หมายถึง บุคลากร
มุ่งมั่น แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนางานในหน้าที่ให้มี
ประสิทธิภาพ
N = Network and Communication การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
หมายถึง บุคลากรยิ้มแย้มต่อกันและกัน กล่าวคําทักทายซึ่งกันและกันเมื่อพบหน้ากันทุกครั้ง มีน้ําใจ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุคลากรให้ความร่วมมือแก่คนในองค์กรที่มาติดต่อเป็นอย่างดี รวมทั้งการนําข่าวสารใหม่ๆ ดีๆ
มาเผยแพร่ เล่าสู่กันฟัง มีการจัดให้มีการพบปะสังสรรค์ระหว่างบุคลากรในองค์กร ตลอดทั้งยิ้มแย้มแจ่มใสต่อผู้
มาใช้บริการ
S = Service Mind การมีจิตมุ่งบริการ หมายถึง บุคลากรให้บริการแก่ทุกคนที่มา
ติดต่อด้วยความเต็มใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีใจในการให้บริการด้วยกัลยาณมิตร มีการประสานสัมพันธ์กันใน
องค์กร พร้อมใจบริการเพื่อความพึงพอใจผู้ใช้บริการ
ประเด็นยุทธศาสตร์
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษา
2. สร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตาม
อัธยาศัย
4. เสริมสร้างความเข้มแข็งระบบบริหารงานบุคคล พัฒนาและสร้างความก้าวหน้าของ
ข้าราชการ ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
5. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการบริหาร การ
บริการและการเรียนรู้
เป้าประสงค์
1. หน่วยงานมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
2. ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุม เป็นธรรม
3. ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
4. ข้าราชการ ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามีศักยภาพในการปฏิบัติงานและ
การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
5. ผู้รับบริการมีและใช้ ICT ที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และบริหารจัดการให้ได้
มาตรฐานและมีคุณภาพ
14
ตัวชี้วัดเป้าประสงค์และค่าเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย
ตัวชี้วัด
2554 2555 2556 2557 2554-2557
1. ผลการประเมินการปฏิบัติ
ราชการตามคํารับรองการ
ปฏิบัติราชการประจําปีอยู่ใน
ระดับดีกว่าเป้าหมาย
4 4 4 4 4
2. จํานวนผู้รับบริการ
การศึกษาในระบบและนอก
ระบบได้รับการศึกษาใน
ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป
2,915,029 3,070,620 3,070,620 3,070,620 12,126,889
คน คน คน คน คน
3. จํานวนผู้ได้รับการอุดหนุน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี
6,469,573 3,260,771 3,282,771 3,373,271 16,386,386
คน คน คน คน คน
4. ร้อยละของผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาหลักระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานจากการ
ประเมินระดับชาติเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1 ร้อยละ 1 ร้อยละ 1 ร้อยละ 1 ร้อยละ 4
5. ร้อยละของสถานศึกษาใน
สังกัด สช. ผ่านเกณฑ์การ
ประเมินคุณภาพ สมศ.
เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 20
6. จํานวนผู้ที่ได้รับการ
ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรม
139,500 คน 121,500 คน 124,500 คน 127,500 คน 513,000 คน
7. จํานวนค่ายลูกเสือที่ได้รับ
การพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้
และมีความพร้อมใช้
- 35 ค่าย 37ค่าย 32 ค่าย 104 ค่าย
8.จํานวนข้าราชการ ครู
คณาจารย์ และบุคลากร
ทางการศึกษาที่ได้รับการ
พัฒนา
271,935 คน 273,235 คน 323,235 คน 323,235 คน 1,191,640 คน
9. ร้อยละของข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษามี
ความก้าวหน้าในวิชาชีพ
สูงขึ้น
ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 20
10. จํานวนสถานศึกษาที่
ได้รับบริการเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต
32,000 แห่ง 32,000 แห่ง 32,000 แห่ง 32,000 แห่ง 32,000 แห่ง
15
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี
๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี

More Related Content

What's hot

ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574
ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574
ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574Boonlert Aroonpiboon
 
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการแผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการjax jaxguitar
 
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณบรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณปิยนันท์ ราชธานี
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสาKanjana thong
 
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงกองพัน ตะวันแดง
 
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559 - 2564)
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5  (พ.ศ. 2559 - 2564)นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5  (พ.ศ. 2559 - 2564)
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559 - 2564)Satapon Yosakonkun
 
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556waranyuati
 
พลังทางเศรษฐกิจ(นันทพงศ์) 530713
พลังทางเศรษฐกิจ(นันทพงศ์) 530713พลังทางเศรษฐกิจ(นันทพงศ์) 530713
พลังทางเศรษฐกิจ(นันทพงศ์) 530713Link Standalone
 

What's hot (18)

ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574
ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574
ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2574
 
กฎหมายการศึกษา กฎหมายปกครอง
กฎหมายการศึกษา กฎหมายปกครองกฎหมายการศึกษา กฎหมายปกครอง
กฎหมายการศึกษา กฎหมายปกครอง
 
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการแผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
 
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณบรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
บรรยายการจัดทำแผน และ งบประมาณ
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
Thai Research Policy # 8
Thai Research Policy # 8Thai Research Policy # 8
Thai Research Policy # 8
 
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) ของเทศบาลตำบลท่าเสา
 
Plan1 11
Plan1 11Plan1 11
Plan1 11
 
แนวทางประสานแผน 59
แนวทางประสานแผน 59แนวทางประสานแผน 59
แนวทางประสานแผน 59
 
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...
แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมมาร 2558 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพิ้นฐาน(ส...
 
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
แนวข้อสอบ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง...
 
แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2560 - 2562
แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2560 - 2562 แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2560 - 2562
แผนพัฒนาสามปี พ.ศ. 2560 - 2562
 
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
 
ซักซ้อมแผนสี่ปี
ซักซ้อมแผนสี่ปีซักซ้อมแผนสี่ปี
ซักซ้อมแผนสี่ปี
 
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559 - 2564)
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5  (พ.ศ. 2559 - 2564)นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5  (พ.ศ. 2559 - 2564)
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559 - 2564)
 
แนวข้อสอบ ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541
แนวข้อสอบ ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2541แนวข้อสอบ ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2541
แนวข้อสอบ ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541
 
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ 2556
 
พลังทางเศรษฐกิจ(นันทพงศ์) 530713
พลังทางเศรษฐกิจ(นันทพงศ์) 530713พลังทางเศรษฐกิจ(นันทพงศ์) 530713
พลังทางเศรษฐกิจ(นันทพงศ์) 530713
 

Similar to ๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี

การปฏิรูปการศึกษา 2561
การปฏิรูปการศึกษา 2561การปฏิรูปการศึกษา 2561
การปฏิรูปการศึกษา 2561Suwanan Nonsrikham
 
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5 คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5 Satapon Yosakonkun
 
แนวคิดและการพัฒนาสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 สป.ศธ.
แนวคิดและการพัฒนาสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 สป.ศธ.แนวคิดและการพัฒนาสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 สป.ศธ.
แนวคิดและการพัฒนาสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 สป.ศธ.วรัท พฤกษากุลนันท์
 
อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา โรงเรียนวัดห้วยพระ
อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา โรงเรียนวัดห้วยพระอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา โรงเรียนวัดห้วยพระ
อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา โรงเรียนวัดห้วยพระWatcharasak Chantong
 
ทีมเลขานุการมือใหม่
ทีมเลขานุการมือใหม่ทีมเลขานุการมือใหม่
ทีมเลขานุการมือใหม่jab bph
 
รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2557-2559) ผลการดำเนินงานประจำป...
รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2557-2559) ผลการดำเนินงานประจำป...รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2557-2559) ผลการดำเนินงานประจำป...
รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2557-2559) ผลการดำเนินงานประจำป...Kanjana thong
 
สถิติสาขาสุขภาพทางการของประเทศไทย 2557 - 2558
สถิติสาขาสุขภาพทางการของประเทศไทย 2557 -  2558สถิติสาขาสุขภาพทางการของประเทศไทย 2557 -  2558
สถิติสาขาสุขภาพทางการของประเทศไทย 2557 - 2558Utai Sukviwatsirikul
 
PHUKET-EDU-DATA-2566.pdf
PHUKET-EDU-DATA-2566.pdfPHUKET-EDU-DATA-2566.pdf
PHUKET-EDU-DATA-2566.pdfbkjpk19
 
ผลการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินงานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ การ
ผลการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินงานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ การผลการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินงานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ การ
ผลการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินงานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ การสอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556ading
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556adingเตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556ading
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556adingWareerut Hunter
 
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม ฉบับที่ 1
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม  ฉบับที่ 1แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม  ฉบับที่ 1
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม ฉบับที่ 1Kanjana thong
 

Similar to ๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี (20)

5.กรอบแนวทางการติดตามและประเมินผล
5.กรอบแนวทางการติดตามและประเมินผล5.กรอบแนวทางการติดตามและประเมินผล
5.กรอบแนวทางการติดตามและประเมินผล
 
การปฏิรูปการศึกษา 2561
การปฏิรูปการศึกษา 2561การปฏิรูปการศึกษา 2561
การปฏิรูปการศึกษา 2561
 
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5 คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5
 
แนวคิดและการพัฒนาสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 สป.ศธ.
แนวคิดและการพัฒนาสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 สป.ศธ.แนวคิดและการพัฒนาสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 สป.ศธ.
แนวคิดและการพัฒนาสำนักงานศึกษาธิการภาค 1-13 สป.ศธ.
 
อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา โรงเรียนวัดห้วยพระ
อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา โรงเรียนวัดห้วยพระอำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา โรงเรียนวัดห้วยพระ
อำนาจหน้าที่ของสถานศึกษา โรงเรียนวัดห้วยพระ
 
ค่าตอบแทนพนังานราชการ 14มีค55
ค่าตอบแทนพนังานราชการ 14มีค55ค่าตอบแทนพนังานราชการ 14มีค55
ค่าตอบแทนพนังานราชการ 14มีค55
 
ทีมเลขานุการมือใหม่
ทีมเลขานุการมือใหม่ทีมเลขานุการมือใหม่
ทีมเลขานุการมือใหม่
 
Summary plan1 11
Summary plan1 11Summary plan1 11
Summary plan1 11
 
รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2557-2559) ผลการดำเนินงานประจำป...
รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2557-2559) ผลการดำเนินงานประจำป...รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2557-2559) ผลการดำเนินงานประจำป...
รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2557-2559) ผลการดำเนินงานประจำป...
 
สถิติสาขาสุขภาพทางการของประเทศไทย 2557 - 2558
สถิติสาขาสุขภาพทางการของประเทศไทย 2557 -  2558สถิติสาขาสุขภาพทางการของประเทศไทย 2557 -  2558
สถิติสาขาสุขภาพทางการของประเทศไทย 2557 - 2558
 
Arc pr plan2011
Arc pr plan2011Arc pr plan2011
Arc pr plan2011
 
010
010010
010
 
การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี
การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปีการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี
การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสามปี
 
PHUKET-EDU-DATA-2566.pdf
PHUKET-EDU-DATA-2566.pdfPHUKET-EDU-DATA-2566.pdf
PHUKET-EDU-DATA-2566.pdf
 
010
010010
010
 
ผลการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินงานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ การ
ผลการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินงานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ การผลการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินงานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ การ
ผลการดำเนินงานและทิศทางการดำเนินงานด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิ การ
 
01 1
01 101 1
01 1
 
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556ading
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556adingเตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556ading
เตรียมพร้อมกับการประเมิน ห้องสมุดมีชัวิต กับมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน ปี 2556ading
 
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม ฉบับที่ 1
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม  ฉบับที่ 1แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม  ฉบับที่ 1
แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2559 - 2561) การเพิ่มเติม ฉบับที่ 1
 
King Thailand
King Thailand King Thailand
King Thailand
 

More from นายจักราวุธ คำทวี

๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย สิทธิประโยชน์ จักราวุธ กศน.ร้อยเอ็ด
๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย  สิทธิประโยชน์  จักราวุธ  กศน.ร้อยเอ็ด๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย  สิทธิประโยชน์  จักราวุธ  กศน.ร้อยเอ็ด
๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย สิทธิประโยชน์ จักราวุธ กศน.ร้อยเอ็ดนายจักราวุธ คำทวี
 
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗นายจักราวุธ คำทวี
 
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗นายจักราวุธ คำทวี
 
๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย สิทธิประโยชน์ จักราวุธ กศน.ร้อยเอ็ด
๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย  สิทธิประโยชน์  จักราวุธ  กศน.ร้อยเอ็ด๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย  สิทธิประโยชน์  จักราวุธ  กศน.ร้อยเอ็ด
๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย สิทธิประโยชน์ จักราวุธ กศน.ร้อยเอ็ดนายจักราวุธ คำทวี
 
(จักราวุธ คำทวี)ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก.ปี ๔๗ จักราวุธ คำทวี (1)
(จักราวุธ คำทวี)ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก.ปี ๔๗ จักราวุธ คำทวี (1)(จักราวุธ คำทวี)ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก.ปี ๔๗ จักราวุธ คำทวี (1)
(จักราวุธ คำทวี)ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก.ปี ๔๗ จักราวุธ คำทวี (1)นายจักราวุธ คำทวี
 
สัตวแพทย์จักราวุธ คำทวี แนวทางลงโทษวินัย พนง.รชก. ปี ๕๙
สัตวแพทย์จักราวุธ คำทวี  แนวทางลงโทษวินัย พนง.รชก. ปี ๕๙สัตวแพทย์จักราวุธ คำทวี  แนวทางลงโทษวินัย พนง.รชก. ปี ๕๙
สัตวแพทย์จักราวุธ คำทวี แนวทางลงโทษวินัย พนง.รชก. ปี ๕๙นายจักราวุธ คำทวี
 
ข้อสอบเก่า ข้อสอบ ขรก.สังงกัด สพฐ. ปนกับ สกอ.และ สป.
ข้อสอบเก่า ข้อสอบ ขรก.สังงกัด สพฐ. ปนกับ สกอ.และ สป.ข้อสอบเก่า ข้อสอบ ขรก.สังงกัด สพฐ. ปนกับ สกอ.และ สป.
ข้อสอบเก่า ข้อสอบ ขรก.สังงกัด สพฐ. ปนกับ สกอ.และ สป.นายจักราวุธ คำทวี
 
๓๘ ข(๕) จักราวุธ คำทวี ความสามารถด้านการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบ
๓๘ ข(๕) จักราวุธ คำทวี ความสามารถด้านการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบ๓๘ ข(๕) จักราวุธ คำทวี ความสามารถด้านการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบ
๓๘ ข(๕) จักราวุธ คำทวี ความสามารถด้านการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบนายจักราวุธ คำทวี
 
ความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน ๕
ความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน ๕ความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน ๕
ความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน ๕นายจักราวุธ คำทวี
 
ภาค ก. ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย
ภาค ก. ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายภาค ก. ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย
ภาค ก. ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายนายจักราวุธ คำทวี
 
ตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปี
ตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปีตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปี
ตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปีนายจักราวุธ คำทวี
 
จักราวุธ คำทวี กับรางวัล ครอบครัวครูดี ปี ๒๕๕๘
จักราวุธ คำทวี กับรางวัล ครอบครัวครูดี ปี ๒๕๕๘จักราวุธ คำทวี กับรางวัล ครอบครัวครูดี ปี ๒๕๕๘
จักราวุธ คำทวี กับรางวัล ครอบครัวครูดี ปี ๒๕๕๘นายจักราวุธ คำทวี
 
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การรวมสถานศึกษาและการกำหนดอำนาจ และหน้าที่ของส...
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การรวมสถานศึกษาและการกำหนดอำนาจ และหน้าที่ของส...ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การรวมสถานศึกษาและการกำหนดอำนาจ และหน้าที่ของส...
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การรวมสถานศึกษาและการกำหนดอำนาจ และหน้าที่ของส...นายจักราวุธ คำทวี
 
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษา
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษาประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษา
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษานายจักราวุธ คำทวี
 
ครั้งที่ ๙ จักราวุธ คำทวี แนวทดสอบบรรจุข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตร...
ครั้งที่ ๙ จักราวุธ  คำทวี  แนวทดสอบบรรจุข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตร...ครั้งที่ ๙ จักราวุธ  คำทวี  แนวทดสอบบรรจุข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตร...
ครั้งที่ ๙ จักราวุธ คำทวี แนวทดสอบบรรจุข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตร...นายจักราวุธ คำทวี
 
ครั้งที่ ๑๑ จักราวุธ คำทวี แนวทดสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ครั้งที่ ๑๑ จักราวุธ คำทวี  แนวทดสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ครั้งที่ ๑๑ จักราวุธ คำทวี  แนวทดสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ครั้งที่ ๑๑ จักราวุธ คำทวี แนวทดสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑นายจักราวุธ คำทวี
 

More from นายจักราวุธ คำทวี (20)

๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย สิทธิประโยชน์ จักราวุธ กศน.ร้อยเอ็ด
๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย  สิทธิประโยชน์  จักราวุธ  กศน.ร้อยเอ็ด๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย  สิทธิประโยชน์  จักราวุธ  กศน.ร้อยเอ็ด
๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย สิทธิประโยชน์ จักราวุธ กศน.ร้อยเอ็ด
 
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗
 
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗
ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก. พ.ศ. ๒๕๔๗
 
๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย สิทธิประโยชน์ จักราวุธ กศน.ร้อยเอ็ด
๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย  สิทธิประโยชน์  จักราวุธ  กศน.ร้อยเอ็ด๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย  สิทธิประโยชน์  จักราวุธ  กศน.ร้อยเอ็ด
๑๑ ม.ค.๖๑ วินัย สิทธิประโยชน์ จักราวุธ กศน.ร้อยเอ็ด
 
(จักราวุธ คำทวี)ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก.ปี ๔๗ จักราวุธ คำทวี (1)
(จักราวุธ คำทวี)ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก.ปี ๔๗ จักราวุธ คำทวี (1)(จักราวุธ คำทวี)ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก.ปี ๔๗ จักราวุธ คำทวี (1)
(จักราวุธ คำทวี)ระเบียบ สร.ว่าด้วย พนง.รชก.ปี ๔๗ จักราวุธ คำทวี (1)
 
สัตวแพทย์จักราวุธ คำทวี แนวทางลงโทษวินัย พนง.รชก. ปี ๕๙
สัตวแพทย์จักราวุธ คำทวี  แนวทางลงโทษวินัย พนง.รชก. ปี ๕๙สัตวแพทย์จักราวุธ คำทวี  แนวทางลงโทษวินัย พนง.รชก. ปี ๕๙
สัตวแพทย์จักราวุธ คำทวี แนวทางลงโทษวินัย พนง.รชก. ปี ๕๙
 
ข้อสอบเก่า ข้อสอบ ขรก.สังงกัด สพฐ. ปนกับ สกอ.และ สป.
ข้อสอบเก่า ข้อสอบ ขรก.สังงกัด สพฐ. ปนกับ สกอ.และ สป.ข้อสอบเก่า ข้อสอบ ขรก.สังงกัด สพฐ. ปนกับ สกอ.และ สป.
ข้อสอบเก่า ข้อสอบ ขรก.สังงกัด สพฐ. ปนกับ สกอ.และ สป.
 
กศน. อาจารย์หมอ ๓
กศน. อาจารย์หมอ ๓กศน. อาจารย์หมอ ๓
กศน. อาจารย์หมอ ๓
 
๔.ภาค ก. ความรอบรู้ทั่วไป
๔.ภาค ก.  ความรอบรู้ทั่วไป๔.ภาค ก.  ความรอบรู้ทั่วไป
๔.ภาค ก. ความรอบรู้ทั่วไป
 
๓๘ ข(๕) จักราวุธ คำทวี ความสามารถด้านการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบ
๓๘ ข(๕) จักราวุธ คำทวี ความสามารถด้านการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบ๓๘ ข(๕) จักราวุธ คำทวี ความสามารถด้านการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบ
๓๘ ข(๕) จักราวุธ คำทวี ความสามารถด้านการวิเคราะห์กฎหมายและระเบียบ
 
ความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน ๕
ความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน ๕ความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน ๕
ความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียน ๕
 
ชุดที่ 2 วิชากฎหมายการศึกษา 130 ข้อ
ชุดที่ 2 วิชากฎหมายการศึกษา 130 ข้อชุดที่ 2 วิชากฎหมายการศึกษา 130 ข้อ
ชุดที่ 2 วิชากฎหมายการศึกษา 130 ข้อ
 
ชุดที่ 1 วิชากฎหมายการศึกษา 370 ข้อ
ชุดที่ 1 วิชากฎหมายการศึกษา 370 ข้อชุดที่ 1 วิชากฎหมายการศึกษา 370 ข้อ
ชุดที่ 1 วิชากฎหมายการศึกษา 370 ข้อ
 
ภาค ก. ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย
ภาค ก. ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายภาค ก. ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย
ภาค ก. ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย
 
ตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปี
ตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปีตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปี
ตัวอย่างการเขียนคำขอรับรางวัล ครอบครัวครูดี ประจำปี
 
จักราวุธ คำทวี กับรางวัล ครอบครัวครูดี ปี ๒๕๕๘
จักราวุธ คำทวี กับรางวัล ครอบครัวครูดี ปี ๒๕๕๘จักราวุธ คำทวี กับรางวัล ครอบครัวครูดี ปี ๒๕๕๘
จักราวุธ คำทวี กับรางวัล ครอบครัวครูดี ปี ๒๕๕๘
 
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การรวมสถานศึกษาและการกำหนดอำนาจ และหน้าที่ของส...
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การรวมสถานศึกษาและการกำหนดอำนาจ และหน้าที่ของส...ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การรวมสถานศึกษาและการกำหนดอำนาจ และหน้าที่ของส...
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การรวมสถานศึกษาและการกำหนดอำนาจ และหน้าที่ของส...
 
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษา
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษาประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษา
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การกำหนดอำนาจและหน้าที่ของสถานศึกษา
 
ครั้งที่ ๙ จักราวุธ คำทวี แนวทดสอบบรรจุข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตร...
ครั้งที่ ๙ จักราวุธ  คำทวี  แนวทดสอบบรรจุข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตร...ครั้งที่ ๙ จักราวุธ  คำทวี  แนวทดสอบบรรจุข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตร...
ครั้งที่ ๙ จักราวุธ คำทวี แนวทดสอบบรรจุข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา ตามมาตร...
 
ครั้งที่ ๑๑ จักราวุธ คำทวี แนวทดสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ครั้งที่ ๑๑ จักราวุธ คำทวี  แนวทดสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ครั้งที่ ๑๑ จักราวุธ คำทวี  แนวทดสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
ครั้งที่ ๑๑ จักราวุธ คำทวี แนวทดสอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
 

๑.๖ แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ศธ.จักราวุธ คำทวี

  • 2. คํานํา พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 16 ให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นโดยจัดทําเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับ แผนการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 13 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 เห็นชอบแนวทางการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี แบบ Rolling Plan โดยให้แต่ละกระทรวงปรับปรุงและ บูรณาการแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของส่วนราชการและหน่วยงานในกํากับของฝ่ายบริหาร โดยจัดทํา แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ในลักษณะแบบ Rolling Plan ซึ่งจะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงใหม่ให้ทัน ต่อเนื่องกันไป และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการเตรียมการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณ พ.ศ.2555 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 ซึ่งส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีและ แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 สําหรับใช้ในการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณ พ.ศ.2555 ให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2554-2557) ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการขึ้น เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานและใช้ประกอบการ พิจารณาจัดสรรงบประมาณประจําปีของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2554-2557) ฉบับนี้ ประกอบด้วย 1. บทนํา 2. วิสัยทัศน์ ค่านิยมองค์การ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์และ เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน 3. ตารางเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ผลผลิต/โครงการ-กิจกรรม/เงินทุนหมุนเวียน/กองทุนและ โครงการ/งบประมาณ การจัดทําแผนปฏิบัติการ 4 ปี (พ.ศ.2554-2557) ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับนี้ สําเร็จได้ด้วยความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง สามารถใช้เป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาของ สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สํานักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จึงขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้การสนับสนุนร่วมมือมา ณ โอกาสนี้ สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์
  • 3. สารบัญ หน้า ส่วนที่ 1 บทนํา 1 ส่วนที่ 2 สาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2554-2557) ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 13 วิสัยทัศน์ 13 พันธกิจ 13 ค่านิยมองค์การ 13 ประเด็นยุทธศาสตร์ 14 เป้าประสงค์ 14 ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 15 กลยุทธ์ 16 เป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน 16 ผังความเชื่อมโยงของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2554-2557) ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 20 ส่วนที่ 3 ตารางเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ผลผลิต/โครงการ-กิจกรรม 21 ส่วนที่ 4 ตารางเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย เงินทุนหมุนเวียน/กองทุน 74 ส่วนที่ 5 ตารางสรุปงบประมาณตามผลผลิต/โครงการ-กิจกรรม/เงินทุนหมุนเวียน/ กองทุน 77 ภาคผนวก อักษรย่อหน่วยงาน 79
  • 4. ส่วนที่ 1 บทนํา ตามที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 16 ให้ส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้นโดยจัดทําเป็นแผนสี่ปี ซึ่งจะต้อง สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 13 โดยในแต่ละปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทํา แผนปฏิบัติราชการประจําปีเสนอต่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้สํานักงบประมาณดําเนินการจัดสรร งบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสําเร็จในแต่ละภารกิจตามแผนปฏิบัติราชการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2552-2554 (รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี) เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2552 รวมทั้งเห็นชอบในหลักการกรณีคณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนงาน/โครงการเพิ่มเติม ให้คณะกรรมการจัดทําแผนการบริหารราชการแผ่นดินทําการปรับปรุงแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้ สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีด้วย และมอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐนําแผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554 ไปประกอบการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการ ประจําปีต่อไป ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 เห็นชอบแนวทางการจัดทํา แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี แบบ Rolling Plan โดยให้แต่ละกระทรวงปรับปรุงและบูรณาการแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของส่วนราชการและหน่วยงานในกํากับของฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน โดยจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ในลักษณะแบบ Rolling Plan ซึ่งจะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงใหม่ให้ ทันต่อเนื่องกัน และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการเตรียมการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณ พ.ศ.2555 เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 ซึ่งส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีและ แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 สําหรับใช้ในการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณ พ.ศ.2555 ให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ จัดทําแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2554-2557) ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการขึ้น โดยเชื่อมโยง ภารกิจของชาติด้านการศึกษา ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 นโยบายรัฐบาลและแผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ.2552-2554 ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) แผนการ ศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552–2559) ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2555 จุดเน้นการพัฒนาการศึกษาและนโยบายการพัฒนาจากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ (นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มา เชื่อมโยงกับบทบาทอํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นกรอบแนวทางในการจัดทํา ดังนี้ 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพใน การศึกษา มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่าง ทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก ต้อง ได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น ส่วนที่ 4 แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม มาตรา 80 รัฐต้องดําเนินการตาม แนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม ข้อ (3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัด การศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มี แผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากร
  • 5. 2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่กําหนดความมุ่งหมายและหลักการไว้ในมาตรา 6 ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ ดํารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและมาตรา 10 ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ใด ๆ การจัดการศึกษาสําหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ใดดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ 3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบ (พ.ศ. 2550-2554) ที่มุ่งยกระดับ การศึกษาของประชาชนให้คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความรู้ ความสามารถ ทักษะ การประกอบอาชีพและมีความมั่นคงในการดํารงชีวิตครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายโดยได้กําหนดเป้าหมายที่จะ เพิ่มจํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี พัฒนากําลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพเพิ่มเป็นร้อยละ 60 และเพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น 10 คนต่อประชากร 10,000 คน 4. นโยบายรัฐบาลและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2552-2554 โดยมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องนํามาใช้เป็นกรอบแนวทางการจัดทําแผน ดังนี้ นโยบายที่ 3 สังคมและคุณภาพชีวิต เป็นนโยบายที่จะดําเนินการภายในช่วงระยะเวลา 3 ปี ของรัฐบาล ข้อ 3.1 นโยบาย การศึกษา มีนโยบายย่อยที่เกี่ยวข้องดังนี้ นโยบายย่อยที่ 3.1.1 การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบโดยปฏิรูปโครงสร้างและการ บริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัด การศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่ มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลัก รวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการ เรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสํานักงานการศึกษา ตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการ กระจายอํานาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนําไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการ เรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนําความรู้อย่างแท้จริง นโยบายย่อยที่ 3.1.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้ง ระบบโดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาค เศรษฐกิจ นโยบายย่อยที่ 3.1.3 พัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้ได้ครูดี ครู เก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพและมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืน ครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู 2
  • 6. นโยบายย่อยที่ 3.1.4 จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับ อนุบาลไปถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและ ความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้ อยู่ในสภาวะยากลําบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการ พัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน นโยบายย่อยที่ 3.1.7 ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและประชาชนใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาดเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ นโยบายย่อยที่ 3.1.8 เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการ ในทุกระดับการศึกษาและในชุมชน โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการทุกมิติ 5. ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) หลักการและกรอบแนวคิดเน้นการปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้ และเสนอกลไกที่ จะก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบ และ พิจารณาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบการพัฒนาประเทศ ซึ่งต้องเชื่อมโยง กับการพัฒนาระบบอื่น ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง เกษตรกรรม สาธารณสุข การจ้างงาน เป็นต้น วิสัยทัศน์ : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ เป้าหมาย ภายในปี 2561 มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดย เน้นประเด็นหลัก 3 ประการ คือ (1) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย (2) เพิ่ม โอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม ส่งผลให้คนไทยยุค ใหม่ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และมีนิสัยใฝ่รู้ตลอดชีวิต มีความสามารถในการสื่อสาร สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถ ทํางานเป็นกลุ่ม มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม มีจิตสํานึกและความภูมิใจในความไทย และสามารถ ก้าวทันโลก ผู้เรียนทุกระดับ/ประเภทการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น กําลังแรงงานและผู้สูงอายุ ได้รับการศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีทักษะและความรู้พื้นฐานทั้ง ในการดํารงชีวิตและในการทํางานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการพัฒนาและ เตรียมความพร้อมให้สามารถเรียนรู้และมีพัฒนาการตามวัย มีความพร้อมศึกษาเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น ผู้ด้อยโอกาส ยากไร้ พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลําบาก บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาและ ชนต่างวัฒนธรรม ได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา : ปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ 4 ใหม่ ได้แก่ (1) พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ให้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ ตั้งแต่ปฐมวัย สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถสื่อสาร คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม ทํางานเป็นกลุ่มได้ มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสํานึกและภูมิใจในความเป็นไทย ก้าวทันโลก เป็นกําลังคนที่มีคุณภาพ มีทักษะความรู้พื้นฐานที่ จําเป็น สมรรถนะ ความรู้ สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีโอกาสเรียนรู้อย่างเท่าเทียม เสมอภาค โดย การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเรียนรู้และผลิตและพัฒนากําลังคนที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะ และความรู้ ความสามารถ (2) พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ให้เป็นผู้เอื้ออํานวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นวิชาชีพที่มี คุณค่า มีระบบกระบวนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มีคุณภาพมาตรฐาน เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง สามารถดึงดูดคนเก่งและคนดี มีใจรักมาเป็นครู มีปริมาณเพียงพอ และ 3
  • 7. 6. เป้าหมายของแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) มีการกําหนดเป้าหมายการนําแผนสู่การปฏิบัติเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณไว้ดังนี้ เป้าหมายเชิงคุณภาพ : เมื่อสิ้นสุดแผนฯ ในปี 2559 การพัฒนาการศึกษาของประเทศบรรลุผลตามเป้าหมายที่ กําหนดไว้ ดังนี้ 1. คนไทยเป็นคนดี เก่ง มีความสุข มีความรู้เชิงวิชาการและสมรรถนะทางวิชาชีพ มี คุณธรรม จริยธรรม ใฝ่เรียนรู้และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง มีความสุข มีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์ สามารถประกอบอาชีพและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข เพื่อเป็นเป้าหมายและฐานหลักของการพัฒนาประเทศ 2. สังคมไทยเป็นสังคมแห่งคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้ มีการสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการเรียนรู้ นําไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน มีสุขภาวะ ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเอื้ออาทร ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดชีวิต อย่างมีคุณภาพ 3. สังคมไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยต่อการพัฒนาคนอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการศึกษาและเรียนรู้ มีการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพมีการ กระจายอํานาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการระดมทรัพยากรและ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้งความร่วมมือในภูมิภาคและกับนานาชาติมากขึ้น อันจะนําไปสู่ ความสามารถในการร่วมมือและแข่งขันของประเทศ และการอยู่ร่วมกันกับพลโลกอย่างสันติสุขมีการพึ่งพาอาศัย และเกื้อกูลกัน เป้าหมายเชิงปริมาณ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระหลัก เกินกว่าร้อยละ 50 2. สถานศึกษาทุกโรงได้รับการรับรองมาตรฐาน จาก สมศ. 3. จํานวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น จาก 8.7 ปี ในปี 2551 เป็น 10 ปีใน ปี 2559 4. เอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษามากขึ้น โดยมีสัดส่วนผู้เรียนระหว่างรัฐ : เอกชน เป็น 65 : 35 ในปี 2559 4
  • 8. 5. สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษามากขึ้น โดยมีสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา : สามัญศึกษาใน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็น 60: 40 ในปี 2559 7. ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 (ปรับปรุงตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553) ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ประกอบด้วย 2 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การสร้างสังคมสมานฉันท์และความมั่นคงของประเทศ ให้ความสําคัญกับการพัฒนาระบบอํานวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ เสมอภาค โปร่งใส รวดเร็ว และเป็นธรรม เร่งรัดแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ และพัฒนาการให้บริการของ หน่วยงานของรัฐให้มีคุณภาพและทั่วถึง รวมทั้งรักษาความสงบเรียบร้อยภายในบนพื้นฐานของความสมานฉันท์ สนับสนุนกิจกรรมสร้างความสามัคคีเพื่อรวมจิตใจ ของคนทั้งชาติ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อแก้ปัญหาใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดระเบียบแรงงานต่างด้าวเพื่อลดปัญหาด้านความมั่นคง สร้างเสริมศักยภาพในการ ป้องกันประเทศ ภัยคุกคามจากการก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติ ควบคู่กับการสร้างสัมพันธ์อันดีกับ ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในกลุ่มมุสลิม และประเทศที่มีบทบาทสําคัญทั่วโลก ขยายความร่วมมือในทุกมิติกับ ประเทศคู่ค้าสําคัญและองค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและ องค์การระหว่างประเทศ 2. ยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิตและความเท่าเทียมกันในสังคม ให้ความสําคัญกับการสร้างสวัสดิการพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน เช่น การสร้าง ความมั่นคงด้านรายได้และจัดหาสิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ การ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผู้เรียนไม่เสียค่าใช้จ่าย การพัฒนาบริการหลักประกันสุขภาพ เป็นต้น รวมทั้ง ให้ความสําคัญกับการสร้างวัฒนธรรมและสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การขยายโอกาสทางการศึกษาใน ทุกระดับและทุกระบบให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง สนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ ได้รับการพัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการ มีความรู ้ ความเข้าใจในการใช้และเลือกรับ สื่อในเชิงสร้างสรรค์ ควบคู่กับการส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม ค่านิยมที่ดี จิตสํานึกและการแสดงออกที่ ดีงามในความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น ด้านศาสนา ลูกเสือ ยุวกาชาด การประกวด ทางศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม เป็นต้น ในด้านสุขภาวะของคนไทย มุ่งเน้นการเสริมสร้างสุขภาพ การ ป้องกันโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านสุขภาพ การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด และผลักดันให้ การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน สมุนไพรไทย เป็นทางเลือกสําคัญในการป้องกันรักษาโรค รวมทั้ง ส่งเสริมให้ประชาชน มีการออกกําลังกายและเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา นันทนาการ อย่างสม่ําเสมอ และ สร้างโอกาสให้เยาวชน ได้พัฒนาทักษะด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติ 8.จุดเน้นการพัฒนาการศึกษาและนโยบายการพัฒนาจากรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ (นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ) ได้กําหนดนโยบายเร่งรัดขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาใน ทศวรรษที่สองไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจัง โดยการรวมใจและบริหารจัดการในการขับเคลื่อนอย่างเป็น องค์รวมที่มีคนเป็นศูนย์กลางและใช้การศึกษาเป็นธงในการขับเคลื่อนพัฒนาทุกด้าน มีเป้าหมายในการจัด การศึกษาอย่างมีคุณภาพตลอดชีวิต มีจุดเน้นที่ตัวผู้เรียนและมีตัวชี้วัดของการพัฒนาการศึกษาระดับต่างๆ ที่ ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งทุกหน่วยงานมีการดําเนินโครงการเดิมอยู่ก่อนแล้ว แต่เพิ่มการดําเนินการให้ เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม โดยให้รวมพลังปฏิบัติงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ ดังนี้ 8.1 จุดเน้นการพัฒนา - ระดับปฐมวัย เน้นในเรื่องการพัฒนาสมองของเด็กไทยอย่างจริงจัง เด็กไทยควร 5
  • 9. ได้รับแร่ธาตุต่างๆ ที่เหมาะสมกับวัย เช่น ไอโอดีน ธาตุเหล็ก โปรตีน ฯลฯ รวมทั้งการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา - ระดับประถมศึกษา เน้นการอ่านออกเขียนได้ ทําเลขเป็น ความกตัญญูกตเวที เคารพ ครูอาจารย์ เคารพพ่อแม่ มีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ และต้องสร้างเครือข่ายในการจัดการศึกษาใน ทิศทางที่ถูกต้อง - ระดับมัธยมศึกษา เน้นการเรียน 2 ภาษาเป็นอย่างน้อย รวมทั้งการใช้ ICT ที่สําคัญ คือ ต้องเน้นความเป็นพลเมืองดี โดยใช้การศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อน - ระดับอาชีวศึกษา เน้นการพัฒนาฝีมือแรงงานระดับกลาง ที่ต้องมีหน่วยงาน การตรวจสอบคุณภาพฝีมืออย่างแท้จริง ได้รับค่าจ้างตามระดับฝีมือ อาชีวศึกษาและราชมงคล ต้องเน้น การจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีกับผู้ประกอบการ ต้องมี SME อาชีวะ และ SME ราชมงคล ต้องสร้าง ผู้ประกอบการรายใหม่ ตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการสร้างคนเข้าสู่ธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ กระบวน การเรียนการสอนต้องทําให้เด็กอาชีวศึกษาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีภูมิคุ้มกันเรื่องยาเสพติด มีคุณธรรม เป็น พลเมืองดี และอยู่ในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างมีความสุข เด็กอาชีวศึกษาต้องรู้จักเคารพซึ่งกันและกัน รู้จัก แบ่งงานกันทํา เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว และใช้วิธีการแห่งปัญญาในการแก้ปัญหา - ระดับอุดมศึกษา ต้องจัดการศึกษาเชื่อมต่อกับระดับอาชีวศึกษา เด็กอาชีวศึกษาที่ เรียนเก่งต้องมีโอกาสศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสาขาเกี่ยวกับเทคโนโลยีชั้นสูง หรือเป็นนักปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติที่ เชี่ยวชาญ และต้องสร้างค่านิยมใหม่ว่า คนที่ประสบความสําเร็จ คือ คนที่พัฒนาฝีมืออาชีพให้ประสบความสําเร็จ มิใช่มีใบปริญญาอย่างเดียว 8.2 นโยบายการพัฒนา 1. ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างมีคุณภาพ ให้ทุกส่วนราชการในกระทรวงศึกษาธิการ มีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจ กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งหมด เพื่อสร้างกระแสการขับเคลื่อนต่อสังคมในวงกว้าง โดยมุ่งหวัง ให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจ เห็นความสําคัญ และร่วมเป็นพลังผลักดันขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุ เป้าหม ายที่ตั้งไว้ใ นทิศทางเดี ยวกัน คือ สร้างเด็กใ ห้เป็นคนเก่ง คนดี มีค วามสุข มีความสามารถ สนับสนุนการแข่งขันของประเทศ อยู่ร่วมในสังคมโลกได้อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความเป็น ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) โดยให้บูรณา การกับวิชาการลูกเสือไทย เพื่อปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน การประเมินผล และ การจัดกิจกรรม โดยลดการเรียนทางวิชาการลงให้เหมาะสม และนําวิชาเกี่ยวกับทักษะชีวิต คุณธรรม จริยธรรม เน้นความเป็นพลเมืองดีเข้ามาแทน โดยนักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนเท่าเดิม แต่ในช่วงบ่าย จะเป็นการอบรมสั่งสอนมากกว่าการเรียน และอาจจะมีการทํากิจกรรมตามความถนัดและความสนใจของแต่ ละคน 2. โครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ปกครองให้ถูกต้องว่า นโยบายเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ เป็นสวัสดิการของรัฐบาล เพื่อสร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษาในการพัฒนาคน โดยให้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินงานโครงการนี้อย่างมีคุณภาพ และต่อเนื่อง ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนเปิด ภาคเรียน โดยเฉพาะหนังสือเรียนต้องมีครบ เมื่อเปิดภาคเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ ความสําคัญเป็นพิเศษกับโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ 3. การศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะแสวงหาความร่วมมือกับฝ่าย ความมั่นคง ศูนย์บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการดําเนินการจัดการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกรณีพิเศษ โดยมุ่งเน้นให้มีการจัดการศึกษา ทั้งสายสามัญและด้านศาสนาที่จะต้องควบคู่กันไป โดย 6
  • 10. 4. สร้างแหล่งเรียนรู้ราคาถูก โดยจัดตั้ง กศน.ตําบล ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ราคาถูก สําหรับประชาชน โดยร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตําบล ในการส่งเสริมให้มีโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ กศน.ตําบลเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน เช่น ประชาชนในตําบลสามารถเช็คราคายางพารา การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ฯลฯ โดยให้ครู กศน. ดูแล และส่งเสริมการอ่าน โดยการสร้างเครือข่ายรักการอ่านแก่บุตรหลานในชุมชน จัดทํามุม หนังสือเพื่อส่งเสริมการอ่าน ทั้งที่บ้าน ในห้องสมุด ในโรงพยาบาล หรือสถานที่ต่างๆ ในระหว่างการเดินทาง มีศูนย์ Fix It Center รวมทั้งมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขยายผล โครงการ Teacher TV และ โครงการ Tutor Channel ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ราคาถูก เพื่อสร้างโอกาสการ เรียนรู้ของผู้เรียน ครู และประชาชนทั่วไปด้วย 5. สร้างเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา (National Education Network : NEdNet) เพื่อยกระดับเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ จึงมีการปรับเปลี่ยนโครงการ Teacher TV และ Tutor Channel เป็นนโยบายสร้างเครือข่ายเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา โดยรูปแบบการบริหารเครือข่าย Ned-Net จะมีสถาบันเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษาแห่งชาติ เป็นนิติบุคคลภายใต้การกํากับของกระทรวงศึกษาธิการ ให้บริการเครือข่ายเพื่อการ ศึกษาวิจัยแก่ทุกองค์กร มีภารกิจที่สําคัญในการให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาวิจัย เป็นแหล่งทรัพยากร การเรียนรู้ ส่งเสริม e-Learning และ Tele-Conference ศูนย์ควบคุมโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และศูนย์ส่งเสริม สารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา ในระหว่างรอพระราชบัญญัติเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ ขอให้ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เตรียมการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การบริหารสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นการภายในก่อน และให้ออกระเบียบว่าด้วยกองทุนเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา เพื่อประสานกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในการจัดตั้งกองทุนต่อไป 6. สร้างขวัญและกําลังใจครู จะเร่งรัดผลักดันดําเนินการใน 4 เรื่องหลัก คือ เร่งดําเนินการพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินวิทยฐานะครู เพื่อให้ครูได้ปรับเข้าสู่โครงสร้างเงินเดือนใหม่ เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนที่ได้ปรับไปแล้ว เครือข่ายพัฒนาชีวิตครู โดยให้ครูใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงดําเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยใช้กระบวนการจัดตั้งเครือข่ายในรูปแบบองค์การมหาชน ที่เป็นเครือข่ายพัฒนาครู เพื่อให้ครูได้พัฒนาตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ตลอดถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงต่อไป รวมทั้งให้มีการร่วมมือเพื่อระดมเงินมาตั้งเป็น เครือข่ายพัฒนาชีวิตครู เครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครู จะทําให้ใบประกอบวิชาชีพครู/ ผู้บริหารมีศักดิ์ศรี เป็นสิ่ง ที่ทําให้ครูมีความภาคภูมิใจเช่นเดียวกับใบประกอบวิชาชีพอื่นๆ เช่น แพทย์ วิศวะ เภสัชกรรม เนติบัณฑิตยสภา และจะให้ สกสค. ดูแลขวัญกําลังใจครูอย่างแท้จริง ต้องต่อยอดการพัฒนาองค์กรครูอย่างเป็นระบบ นอกจากนั้น ยังให้ความสําคัญกับเรื่องเงินวิทยพัฒน์ และกองทุนพัฒนาครู เพื่อดําเนินการในการพัฒนาครู อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป 7. สนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้มี การตั้งคลังองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี สําหรับพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ (MOE Clearing house) เพื่อเป็นหน่วยงานรวบรวบ และเผยแพร่องค์ความรู้ ศึกษาค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงเป็นเครือข่ายให้องค์กรอื่น เช่น สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ 7
  • 11. 9. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ และ กลยุทธ์ ดังนี้ วิสัยทัศน์ มุ่งพัฒนาการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนําความรู้ มีคุณภาพ มีศักยภาพในการพัฒนา ตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างสังคมคุณธรรม พัฒนาสังคมฐานความรู้และยืนหยัดใน เวทีโลกบนพื้นฐานของความเป็นไทย พันธกิจ 1. เสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาชน 2. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 3. พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การสร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 3. การพัฒนาขีดความสามารถของประเทศโดยใช้ความรู้เป็นฐาน 4. การพัฒนาการศึกษาเพื่อความมั่นคงของรัฐ 5. การพัฒนาระบบบริหารจัดการและกฎหมายด้านการศึกษา 6. การศึกษาและการวิจัยเพื่อให้บริการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ 7. การปลูกจิตสํานึกและกระตุ้นให้เกิดการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย เป้าประสงค์ 1. คนไทยทุกกลุ่มทุกวัยได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง 2. ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปีที่มีคุณภาพ มาตรฐานโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายวิชาชีพ ครอบคลุมตําราเรียนใน วิชาหลัก ชุดนักเรียนอุปกรณ์การเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3. ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มาตรฐานและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 4. คนไทยได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพในการดํารงชีวิต ประกอบอาชีพ และเสริมสร้าง การแข่งขันของประเทศ 5. ผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้รับการเผยแพร่หรือนําไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น 6. ผู้มีความสามารถพิเศษ ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอย่างเต็มตามศักยภาพ 7. ประชาชนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มีโอกาสได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต 8. ระบบบริหารงานมีคุณภาพและมาตรฐานตามหลักธรรมาภิบาลเป็นที่ยอมรับของ ผู้รับบริการ 9. เขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษาได้รับการกระจายอํานาจการบริหารและการจัด การศึกษาเพิ่มขึ้น 8
  • 12. 10. ผลงานการศึกษาและวิจัยเพื่อบริการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพได้รับการ พัฒนา 11. ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของศิลปวัฒนธรรม ไทย กลยุทธ์ 1. สร้างและประกันโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษาทุกระดับ/ทุกประเภท 2. ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3. ส่งเสริมสถาบันการศึกษาจัดบริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม 4. เร่งรัดพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ 5. ส่งเสริมคุณธรรม/ศีลธรรมในระบบการศึกษา 6. พัฒนาครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และแก้ปัญหาขาดแคลนครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา 7. เร่งพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และการบริหารจัดการ 8. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน และ สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการศึกษา 9. เร่งผลิตและพัฒนากําลังคนทั้งระดับกลางและระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี แพทย์ พยาบาล และสาขาที่ขาดแคลน 10. สร้างและส่งเสริมค่านิยมการศึกษาวิชาชีพ 11. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาและการอุดมศึกษา 12. พัฒนาสมรรถนะและทักษะแรงงานให้รองรับต่อการพัฒนาประเทศและสร้างระบบ ค่าตอบแทนที่เหมาะสม 13. ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี 14. พัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 15. ปรับปรุงระบบการบริหารงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 16. พัฒนากฎหมายการศึกษาให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความจําเป็นของสังคม 17. ส่งเสริม สนับสนุนการกระจายอํานาจการจัดการศึกษา 18. ศึกษาและวิจัยเพื่อให้บริการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ 19. ศึกษาและวิจัยเพื่อทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย 10. อํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการมีอํานาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2548 ดังนี้ ข้อ 2 ให้สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจเกี่ยวกับ การพัฒนายุทธศาสตร์ การแปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติ ดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วย การศึกษาแห่งชาติ จัดทํางบประมาณและบริหารราชการประจําทั่วไปของกระทรวง เพื่อการบรรลุเป้าหมาย และเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง โดยให้มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ศึกษา วิเคราะห์ จัดทําข้อมูลเพื่อใช้ในการกําหนดนโยบาย เป้าหมายและ ผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง (2) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง (3) แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ (4) จัดทํางบประมาณและแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง 9
  • 13. (5) ดําเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการและการตรวจสอบภายในราชการทั่วไปของ กระทรวง (6) ดําเนินการเกี่ยวกับงานลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน (7) ส่งเสริมสนับสนุนงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยคณะกรรมการ การศึกษาเอกชน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และ บุคลากรทางการศึกษา (8) ส่งเสริม ประสานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการกีฬา เพื่อการศึกษา ตลอดจนงานอื่นๆ ที่มิได้กําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง (9) ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวง รวมทั้งดําเนินการ เกี่ยวกับงานความช่วยเหลือและความร่วมมือกับต่างประเทศในส่วนที่มิได้อยู่ในอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการ ใดในสังกัดกระทรวง (10) พัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานของกระทรวง (11) ดําเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งมิได้ อยู่ในอํานาจหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวง (12) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่และ ความรับผิดชอบของสํานักงานปลัดกระทรวงหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย 10
  • 14. 11. สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จุดอ่อนจุดแข็ง 1.การพัฒนาบุคลากรไม่ทั่วถึงและไม่สอดคล้องกับ ความต้องการและการปฏิบัติงานจริง 1. บุคลากรมีศักยภาพและประสบการณ์ในการ ขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างมี ประสิทธิภาพ 2. ครูโรงเรียนเอกชนขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและ ขาดขวัญกําลังใจ2. ให้บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง 3.ไม่สามารถใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการ บริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนให้เกิด ประโยชน์สูงสุดและไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 3. โรงเรียนเอกชนมีคุณภาพและมีความพร้อมที่จะ แบ่งเบาภาระของรัฐในการจัดการศึกษา 4. เป็นศูนย์กลางเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารที่สามารถให้บริการส่วนราชการและ ประชาชนได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพและมีระบบ ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการที่ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน 4. นโยบายการรับนักเรียนของภาครัฐมีการ เปลี่ยนแปลง มีผลทําให้สัดส่วนนักเรียนเอกชนต่อรัฐ ไม่เพิ่ม 5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามหลักสูตร การศึกษาพื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ํา 5. เป็นศูนย์กลางการพัฒนากฎหมายและระเบียบ ต่าง ๆ เพื่อให้บริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ 6. เป็นศูนย์กลางจัดประสานการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนและงบประมาณ ตรวจราชการ ติดตามและประเมินผลของสํานักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการและกระทรวงศึกษาธิการ ที่เข้มแข็ง สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารได้อย่างมี เอกภาพ 7. เป็นศูนย์กลางในการบริหารงานบุคคล และ ส่งเสริม สนับสนุน เครือข่ายการพัฒนาข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ 8.เป็นหน่วยงานกลางที่ดําเนินงานด้าน ความร่วมมือทางการศึกษากับต่างประเทศที่มี ประสิทธิภาพ 9. มีศูนย์บริการร่วม ศธ. ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน 11
  • 15. 12 โอกาส 1. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กําหนดให้ บุคคลมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา 12 ปี โดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย 2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เน้นทิศทางในการพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนํา ความรู้ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัว เป็นแหล่งจ้าง งานที่สําคัญของผู้สําเร็จการศึกษาในระดับฝีมือ แรงงาน 4. ระบบการบริหารจัดการมีธรรมาภิบาล และทุก ภาคส่วนมีส่วนร่วม 5. ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ทําให้เอื้อต่อการบริหารจัดการและการ จัดการเรียนการสอน และเป็นช่องทางให้ประชาชน และผู้เรียนแสวงหาความรู้ได้ 6. หน่วยงานภาครัฐ องค์กรมหาชนและสถาบัน ศาสนาให้การส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม อุปสรรค 1. การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ส่งผลให้นโยบาย ด้านการศึกษาขาดความต่อเนื่อง 2. การประกาศใช้และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิรูปการศึกษายังมีความล่าช้าไม่ทันกับการ เปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างการบริหาร 3. สังคมมีค่านิยมส่งบุตรหลานเรียนสายสามัญ มากกว่าสายอาชีวศึกษา เนื่องจากภาพลักษณ์ เจต คติและค่านิยมของการเรียนอาชีวศึกษายังไม่ดีพอ 4. รัฐไม่มีมาตรการในการใช้สื่อที่ถูกต้องและเพียงพอ ทําให้เกิดปัญหาสังคม 5. ค่าครองชีพในปัจจุบันสูงขึ้น ทําให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเรียนของบุตรหลานมาก ขึ้น 6. ปัญหาและวิกฤตการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • 16. ส่วนที่ 2 สาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2554-2557) ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จากการศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งชาติอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบ (พ.ศ. 2550-2554) นโยบายรัฐบาลและแผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2554) ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559) ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2555 จุดเน้นการพัฒนาการศึกษาและนโยบายการพัฒนาจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ อํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสภาพแวดล้อมภายในและ ภายนอกสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กําหนดสาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2554-2557) ไว้ดังต่อไปนี้ วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรต้นแบบในการบริหารการปฏิบัติราชการที่มีหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมการ เรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล พันธกิจ 1. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล 2. ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมหรือจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 3. พัฒนาการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้ผู้เรียนมี คุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 4. พัฒนาข้าราชการ ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้ได้มาตรฐาน 5. พัฒนาและส่งเสริมการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิด ประสิทธิภาพ ค่านิยมองค์การ TEAMWINS T = Teamwork การทํางานเป็นทีม หมายถึง บุคลากรมีความสามัคคี ประสานงาน กันทํางานเพื่อองค์กร มีการระดมความคิดในการแก้ปัญหาร่วมกัน พัฒนางานร่วมกัน มีลักษณะเป็นหนึ่ง เดียวในด้านการบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน และด้านกฎหมายมีทีมงานที่สามารถนํานวัตกรรมใหม่ๆ มา ใช้พัฒนาการทํางานขององค์กร ชักชวนให้คนในองค์กรช่วยกันขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติจริง เพื่อการ ทํางานที่นําไปสู่เป้าประสงค์ขององค์กร E = Equality of Work ความเสมอภาคในการทํางาน หมายถึง ผู้บริหารให้ ความสําคัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคน โดยให้ความเสมอภาคและความเป็นธรรม สร้างขวัญ กําลังใจที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติงาน A = Accountability ความรับผิดชอบ หมายถึง บุคลากรมีความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายและงานที่ต้องมีส่วนร่วมต่าง ๆ ปฏิบัติด้วยความตั้งใจอย่างเต็มความสามารถ บรรลุผล 13
  • 17. M = Morality and Integrity การมีศีลธรรมและมีความซื่อสัตย์ หมายถึง บุคลากร ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และถูกต้องเพื่อนําพาองค์กรให้เป็นที่น่าเชื่อถือ และก้าวไปข้างหน้า อย่างภาคภูมิ W = Willingness ความมุ่งมั่นตั้งใจทํางานอย่างเต็มศักยภาพ หมายถึง บุคลากร ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ เต็มความรู้ เต็มความสามารถ และเต็มเวลา เพื่อมุ่งสู่ความสําเร็จขององค์กร I = Improvement การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ หมายถึง บุคลากร มุ่งมั่น แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนางานในหน้าที่ให้มี ประสิทธิภาพ N = Network and Communication การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หมายถึง บุคลากรยิ้มแย้มต่อกันและกัน กล่าวคําทักทายซึ่งกันและกันเมื่อพบหน้ากันทุกครั้ง มีน้ําใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บุคลากรให้ความร่วมมือแก่คนในองค์กรที่มาติดต่อเป็นอย่างดี รวมทั้งการนําข่าวสารใหม่ๆ ดีๆ มาเผยแพร่ เล่าสู่กันฟัง มีการจัดให้มีการพบปะสังสรรค์ระหว่างบุคลากรในองค์กร ตลอดทั้งยิ้มแย้มแจ่มใสต่อผู้ มาใช้บริการ S = Service Mind การมีจิตมุ่งบริการ หมายถึง บุคลากรให้บริการแก่ทุกคนที่มา ติดต่อด้วยความเต็มใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีใจในการให้บริการด้วยกัลยาณมิตร มีการประสานสัมพันธ์กันใน องค์กร พร้อมใจบริการเพื่อความพึงพอใจผู้ใช้บริการ ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษา 2. สร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย 4. เสริมสร้างความเข้มแข็งระบบบริหารงานบุคคล พัฒนาและสร้างความก้าวหน้าของ ข้าราชการ ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา 5. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เป็นกลไกการขับเคลื่อนการบริหาร การ บริการและการเรียนรู้ เป้าประสงค์ 1. หน่วยงานมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล 2. ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุม เป็นธรรม 3. ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน 4. ข้าราชการ ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามีศักยภาพในการปฏิบัติงานและ การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ 5. ผู้รับบริการมีและใช้ ICT ที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และบริหารจัดการให้ได้ มาตรฐานและมีคุณภาพ 14
  • 18. ตัวชี้วัดเป้าประสงค์และค่าเป้าหมาย ค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด 2554 2555 2556 2557 2554-2557 1. ผลการประเมินการปฏิบัติ ราชการตามคํารับรองการ ปฏิบัติราชการประจําปีอยู่ใน ระดับดีกว่าเป้าหมาย 4 4 4 4 4 2. จํานวนผู้รับบริการ การศึกษาในระบบและนอก ระบบได้รับการศึกษาใน ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป 2,915,029 3,070,620 3,070,620 3,070,620 12,126,889 คน คน คน คน คน 3. จํานวนผู้ได้รับการอุดหนุน การศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี 6,469,573 3,260,771 3,282,771 3,373,271 16,386,386 คน คน คน คน คน 4. ร้อยละของผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาหลักระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐานจากการ ประเมินระดับชาติเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1 ร้อยละ 1 ร้อยละ 1 ร้อยละ 1 ร้อยละ 4 5. ร้อยละของสถานศึกษาใน สังกัด สช. ผ่านเกณฑ์การ ประเมินคุณภาพ สมศ. เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 20 6. จํานวนผู้ที่ได้รับการ ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม 139,500 คน 121,500 คน 124,500 คน 127,500 คน 513,000 คน 7. จํานวนค่ายลูกเสือที่ได้รับ การพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ และมีความพร้อมใช้ - 35 ค่าย 37ค่าย 32 ค่าย 104 ค่าย 8.จํานวนข้าราชการ ครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษาที่ได้รับการ พัฒนา 271,935 คน 273,235 คน 323,235 คน 323,235 คน 1,191,640 คน 9. ร้อยละของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษามี ความก้าวหน้าในวิชาชีพ สูงขึ้น ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 5 ร้อยละ 20 10. จํานวนสถานศึกษาที่ ได้รับบริการเครือข่าย อินเทอร์เน็ต 32,000 แห่ง 32,000 แห่ง 32,000 แห่ง 32,000 แห่ง 32,000 แห่ง 15