SlideShare a Scribd company logo
1 of 109
Download to read offline
แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร)
สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
คํานํา
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการจัดสรร
งบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559 จํานวน 53,048.4091
ล้านบาท และงบประมาณกองทุน จํานวน 1,298.0000 ล้านบาท รวมเป็นจํานวนทั้งสิ้น 54,346.4091 ล้านบาท
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) ขึ้น เพื่อใช้เป็น
เครื่องมือในการกํากับ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลของผู้บริหารของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและ
เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
โดยมีสาระสําคัญ ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 บทนํา
ส่วนที่ 2 บริบทที่เกี่ยวข้องกับสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ส่วนที่ 3 สาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร)
ส่วนที่ 4 งาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) จําแนกตามผลผลิต/
โครงการเทียบเท่าผลผลิต/กิจกรรม/กองทุน/เงินทุนหมุนเวียน
ส่วนที่ 5 งาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) จําแนกตามแผน
งบประมาณในลักษณะบูรณาการ
ส่วนที่ 6 ระบบการติดตาม ประเมินผลและรายงานผลแผนปฏิบัติราชการประจําปี
งบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร)
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการจัดทํา
แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุง
ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) ฉบับนี้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์
สารบัญ
หน้า
คํานํา
สารบัญ
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
ส่วนที่ 1 บทนํา 1
- ความเป็นมา 1
- วัตถุประสงค์ 1
- วิธีดําเนินงาน 2
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ 2
ส่วนที่ 2 บริบทที่เกี่ยวข้องกับสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 3
- นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี) 3
- ยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง) 5
- ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 8
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559 14
- แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552–2559) 15
- วาระการปฏิรูป 37 วาระ และ 8 วาระการพัฒนา ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ 16
- การจัดทํางบประมาณในลักษณะบูรณาการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 20
- นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) 21
- แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ของกระทรวงศึกษาธิการ 23
- ผลการดําเนินงานของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 24
- อํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 32
ส่วนที่ 3 สาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 35
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณ
ที่ได้รับจัดสรร)
- วิสัยทัศน์ 35
- พันธกิจ 35
- ค่านิยม 35
- ประเด็นยุทธศาสตร์ 35
- เป้าประสงค์ 36
- กลยุทธ์ 36
- ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 36
- แผนผังความเชื่อมโยง 39
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ส่วนที่ 4 งาน/โครงการของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 40
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณ
ที่ได้รับจัดสรร) จําแนกตามผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต/กองทุน/
เงินทุนหมุนเวียน
4.1 สรุปงบประมาณจําแนกตามผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต/กองทุน/ 41
เงินทุนหมุนเวียน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4.2 รายละเอียดงาน/โครงการจําแนกตามผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต/ 42
กองทุน/เงินทุนหมุนเวียน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- โครงการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต 42
- โครงการหนึ่งอําเภอหนึ่งทุน 45
- ผลผลิตผลงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาการศึกษา 46
- โครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 49
- โครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 62
- โครงการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตกระทรวงศึกษาธิการ 67
- ผลผลิตนโยบายและแผนด้านการศึกษา 69
- ผลผลิตหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้รับบริการเทคโนโลยี 124
สารสนเทศทางการศึกษา
- ผลผลิตผู้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม 130
- ผลผลิตผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ 144
- ผลผลิตผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย 146
- ผลผลิตมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและ 149
บุคลากรทางการศึกษา
- ผลผลิตนักเรียนโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการอุดหนุน 175
- โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล 181
จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 183
- กองทุนสงเคราะห์ 185
- กองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ 185
- กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 185
- เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู 186
- กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา 187
- โครงการที่ยังไม่มีงบประมาณดําเนินงาน 188
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
ส่วนที่ 5 งาน/โครงการของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 193
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณ
ที่ได้รับจัดสรร) จําแนกตามแผนงบประมาณในลักษณะบูรณาการ
5.1 สรุปงบประมาณตามแผนงบประมาณในลักษณะบูรณาการของ 194
แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
5.2 รายละเอียดงาน/โครงการจําแนกตามแผนบูรณาการของแผนปฏิบัติราชการ 195
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- การเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 195
- การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 200
- การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา 213
- การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต 216
- การป้องกัน ปราบปรามและบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 219
- การป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ 221
- การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 223
ส่วนที่ 6ระบบการติดตาม ประเมินผลและรายงานผลแผนปฏิบัติราชการ 226
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร)
ภาคผนวก 227
- อักษรย่อหน่วยงาน 228
- หนังสืออนุมัติแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 229
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร)
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา
9 ได้กําหนดไว้ว่า การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการปฏิบัติ คือ
(1) ก่อนจะดําเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นกาลล่วงหน้า
(2) การกําหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (1) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลา และ
งบประมาณที่จะต้องใช้ในการดําเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และ
ตัวชี้วัดความสําเร็จของภารกิจ ประกอบกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบาย
รัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 และมอบนโยบายแก่หัวหน้าส่วนราชการ
และกําหนดให้ทุกส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ โดยกําหนดกรอบเวลา 1 ปี ตามปีงบประมาณ
และระยะเวลาของรัฐบาลเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2557 และเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) ได้มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารและข้าราชการในสังกัด
กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและของกระทรวงศึกษาธิการ ไปสู่
การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลต่อเด็ก เยาวชน ประชาชน และการพัฒนาประเทศโดยรวม และได้กําหนด
ยุทธศาสตร์ตามกรอบปฏิรูปการศึกษาให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการดําเนินการขับเคลื่อน
การปฏิรูปการศึกษาไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปี
งบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับ
จัดสรร) ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกํากับ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลของผู้บริหารหน่วยงานและ
หน่วยงานในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสําคัญสรุปได้ดังนี้
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรต้นแบบในการบริหารการปฏิบัติราชการที่มีหลักธรรมาภิบาล สร้างสังคม
แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีศักยภาพการอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน
พันธกิจ
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
2. ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมหรือจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และ
การศึกษาตามอัธยาศัยให้ประชาชน
3. พัฒนาการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้ประชาชนมีโอกาส
เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
4. เสริมสร้างความเข้มแข็งระบบบริหารงานบุคคล พัฒนาและสร้างความก้าวหน้าของข้าราชการ
ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
5. พัฒนาและส่งเสริมการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ
(ก)
ค่านิยม
TEAMWINS
T = Teamwork การทํางานเป็นทีม
E = Equality of Work ความเสมอภาคในการทํางาน
A = Accountability ความรับผิดชอบ
M = Morality and Integrity การมีศีลธรรมและมีความซื่อสัตย์
W = Willingness ความมุ่งมั่นตั้งใจทํางานอย่างเต็มศักยภาพ
I = Improvement การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ
N = Network and Communication การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
S = Service Mind การมีจิตมุ่งบริการ
ประเด็นยุทธศาสตร์
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตาม
หลักธรรมาภิบาล
2. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคล ข้าราชการ ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้ได้
มาตรฐาน
5. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและส่งเสริมให้นําไปใช้ในการบริหาร
การบริการ และการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์
1. หน่วยงานมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
2. ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรม
3. ประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
4. ข้าราชการ ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีความก้าวหน้าในวิชาชีพ
มีศักยภาพในการปฏิบัติงานและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
5. ผู้รับบริการมีและใช้ ICT ที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และบริหารจัดการให้ได้มาตรฐาน
และมีคุณภาพ
กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนร่วมจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย
กลยุทธ์ที่ 4พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผู้เรียนทั้งในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาการศึกษาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้
กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลและพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน
ของข้าราชการ ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 7 เร่งรัด พัฒนาและส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เพื่อการจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ
(ข)
สรุปงบประมาณจําแนกตามผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต/กองทุน/เงินทุนหมุนเวียน
ของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ผลผลิต/โครงการ/กองทุน/เงินทุน
หมุนเวียน
งบประมาณ (ล้านบาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1. โครงการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต 2,728.7526 1,205.3698 1,247.4813 436.5551 5,618.1588
2. โครงการหนึ่งอําเภอหนึ่งทุน 204.3183 204.3183 204.3182 204.3182 817.273
3. ผลผลิตผลงานวิจัยเพื่อสร้างองค์
ความรู้สู่การพัฒนาการศึกษา
2.0333 2.2127 1.7447 1.6552 7.6459
4. โครงการพัฒนาการศึกษาในเขต
พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด
ชายแดนภาคใต้
201.8404 170.7457 151.3504 157.2607 681.1972
5. โครงการเตรียมความพร้อมสู่
ประชาคมอาเซียน
6.2146 8.5307 7.0532 11.6433 33.4418
6. โครงการป้องกัน ปราบปราม
การทุจริตกระทรวงศึกษาธิการ
1.0748 5.1056 2.3925 2.1261 10.6990
7. ผลผลิตนโยบายและแผนด้าน
การศึกษา
238.9929 183.0892 215.3480 175.1314 812.5615
8. ผลผลิตหน่วยงานในสังกัด
กระทรวงศึกษาธิการได้รับบริการ
เทคโนโลยีสารสนเทศทาง
การศึกษา
87.8530 119.1451 123.4186 147.7281 478.1448
9. ผลผลิตผู้ได้รับการส่งเสริมและ
พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
115.0437 100.2130 34.9503 28.4981 278.7051
10. ผลผลิตผู้รับบริการการศึกษา
นอกระบบ
1,026.8098 1,009.1624 1,004.8474 1,004.8475 4,045.6671
11. ผลผลิตผู้รับบริการการศึกษา
ตามอัธยาศัย
319.1278 288.2552 213.9828 226.7793 1,048.1451
12. ผลผลิตมาตรฐานการบริหารงาน
บุคคลของข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา
73.9309 71.1084 70.0914 68.3782 283.5089
13. ผลผลิตนักเรียนโรงเรียนเอกชน
ที่ได้รับการอุดหนุน
416.9295 273.971 250.7475 235.3830 1,177.0310
14. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายใน
การจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับ
อนุบาลจนจบการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
12,087.6263 8,073.6347 9,553.4306 8,030.2883 37,744.9799
15. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายา
เสพติด
0.4000 10.0000 0.8500 11.2500
รวมผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต 17,510.9479 11,724.8618 13,082.0069 10,730.5925 53,048.4091
16. กองทุนสงเคราะห์ 441.3200 285.5600 285.5600 285.5600 1298.0000
รวมผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต
และกองทุนสงเคราะห์
17,952.2677 12,010.4218 13,367.5669 11,016.1525 54,346.4019
การใช้จ่ายงบประมาณรายไตรมาส ร้อยละ 33.03 22.10 24.60 20.27 100.00
(ค)
ผลผลิต/โครงการ/กองทุน/เงินทุน
หมุนเวียน
งบประมาณ (ล้านบาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
17. กองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ* 50.0000 50.0000 50.0000 50.0000 200.0000
18. กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษา*
27.1896 27.1896 27.1896 27.1896 108.7584
19. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหา
หนี้สินข้าราชการครู*
16.3752 512.0085 11.4626 14.7377 554.5840
20. กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์และ
บุคลากรทางการศึกษา*
30.8921 30.8921 30.8921 30.8921 123.5684
รวมกองทุน/เงินทุนหมุนเวียน 124.4569 620.0902 119.5443 122.8194 986.9108
รวมทั้งสิ้น 180,076.7248 12,630.5120 13,487.1112 11,138.9719 55,333.3199
* หมายเหตุ : หมายถึง ใช้งบประมาณของกองทุน/เงินทุนหมุนเวียน
สรุปงบประมาณตามแผนงบประมาณในลักษณะบูรณาการของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ
พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
แผนงบประมาณ
ในลักษณะบูรณาการ
งบประมาณ (บาท)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
1. การเตรียมความพร้อมประเทศไทยใน
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
6.2146 8.5307 7.0532 11.6433 33.4418
5. การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัด
ชายแดนภาคใต้
201.8404 170.7457 151.3504 157.2607 681.1972
8. การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา 2.0333 2.2127 1.7447 1.6552 7.6459
11. การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต 2,933.0709 1,409.6881 1,451.7995 640.8733 6,435.4318
12. การป้องกัน ปราบปราบและ
บําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
0.4000 10.0000 0.8500 11.2500
15. การป้องกัน ปราบปรามการทุจริต
และประพฤติมิชอบในภาครัฐ
1.0748 5.1056 2.3925 2.1261 10.6990
19. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสาร
84.3639 110.7126 110.8674 140.5113 446.4552
รวม 3,228.9979 1,716.9954 1,726.0577 954.0699 7,626.1209
(ง)
ส่วนที่ 1
บทนํา
ความเป็นมา
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
มาตรา 9 ได้กําหนดไว้ว่า การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการปฏิบัติ คือ
(1) ก่อนจะดําเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นกาลล่วงหน้า
(2) การกําหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (1) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลา และ
งบประมาณที่จะต้องใช้ในการดําเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และ
ตัวชี้วัดความสําเร็จของภารกิจ ประกอบกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบาย
รัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 และมอบนโยบายแก่หัวหน้าส่วนราชการ
และกําหนดให้ทุกส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ โดยกําหนดกรอบเวลา 1 ปี ตามปีงบประมาณ
และระยะเวลาของรัฐบาลเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2557 และเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) ได้มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารและข้าราชการในสังกัด
กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและของกระทรวงศึกษาธิการ
ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลต่อเด็ก เยาวชน ประชาชน และการพัฒนาประเทศโดยรวม และได้กําหนด
ยุทธศาสตร์ตามกรอบปฏิรูปการศึกษาให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการดําเนินการขับเคลื่อน
การปฏิรูปการศึกษาไปในทิศทางเดียวกัน
ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปี
งบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับ
จัดสรร) ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกํากับ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลของผู้บริหารหน่วยงานและ
หน่วยงานในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวง
ศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) สําหรับใช้เป็นเครื่องมือในการกํากับ เร่งรัด
ติดตาม ประเมินผลของผู้บริหารของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเป็นกรอบแนวทาง
ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
วิธีดําเนินงาน
1. ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้อง
2. กําหนดกรอบ เค้าโครง แนวทางการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ.
2559 ให้มีความสอดคล้องกับนโยบาย ภารกิจของหน่วยงาน และบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. จัดประชุมปฏิบัติการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการแก่ทุกหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2
4. จัดทํารายละเอียดงาน/โครงการให้สอดคล้องกับนโยบาย ภารกิจ อํานาจหน้าที่และ
นโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
5. บูรณาการเป็น (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร)
6. เสนอขออนุมัติใช้เป็นแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร)
7. เผยแพร่ทั้งในรูปแบบเอกสารและเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
(ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) สามารถใช้เครื่องมือในการกํากับ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผล
ของผู้บริหารของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานประจําปี
งบประมาณ พ.ศ. 2559 ของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนที่ 2
บริบทที่เกี่ยวข้องกับสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้นํานโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง) ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559 แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง
(พ.ศ.2552-2559) 37 วาระการปฏิรูป และ 8 วาระการพัฒนา การจัดทํางบประมาณในลักษณะบูรณาการ
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และแผนปฏิบัติราชการ
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของกระทรวงศึกษาธิการ และบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงกับอํานาจ
หน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกําหนดเป็นกรอบแนวทางในการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ
ประจําปีงบประมาณพ.ศ.2559ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1. นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)
นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน
2557 โดยได้กําหนดนโยบายไว้ 11 ด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 19 ที่ระบุให้รัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน
ดําเนินการให้มีการปฏิรูปด้านต่าง ๆ และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติดังนี้
นโยบายที่ 1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
นโยบายที่ 2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
นโยบายที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ําของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ
นโยบายที่ 4 การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
นโยบายที่ 5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน
นโยบายที่ 6 การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
นโยบายที่ 7 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
นโยบายที่ 8 การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม
นโยบายที่ 9 การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่าง
การอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
นโยบายที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกัน
ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
นโยบายที่ 11 การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายข้อที่ 2
การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ นโยบายข้อที่ 4 การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบํารุงศาสนา
ศิลปะและวัฒนธรรม นโยบายข้อที่ 7 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน และนโยบาย
ข้อที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันปราบปรามการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบในภาครัฐ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
4
นโยบายที่ 2 : การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
2.1 ในระยะเร่งด่วน รัฐบาลให้ความสําคัญต่อการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคม
การเมืองและความมั่นคงอาเซียนในกิจการ 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการชายแดน การสร้างความมั่นคงทางทะเล
การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การสร้างความไว้วางใจกับประเทศเพื่อนบ้าน และการเสริมสร้าง
ศักยภาพในการปฏิบัติการทางทหารร่วมกันของอาเซียน โดยเน้นความร่วมมือเพื่อป้องกัน แก้ไขข้อพิพาท
ต่าง ๆ และการแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนโดยใช้กลไก ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี ทั้งจะจัดระเบียบการพัฒนา
ตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนทั้งทางบกและทางทะเล รองรับ
การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน โดยใช้ระบบเฝ้าตรวจที่มีเทคโนโลยีทันสมัย กําหนดให้ปัญหา
ยาเสพติด การค้าอาวุธ การค้ามนุษย์ การกระทําอันเป็นโจรสลัด การก่อการร้ายสากลและอาชญากรรมข้ามชาติ
เป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด และจัดการปัญหา
อื่น ๆ ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องให้เบ็ดเสร็จ เช่น ปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลการปรับปรุงระบบการเข้าเมือง
การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว เป็นต้น
2.2 เร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนํายุทธศาสตร์
เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนามาใช้ตามแนวทางกัลยาณมิตรแบบสันติวิธี ส่งเสริมการพูดคุย สันติสุขกับผู้มี
ความคิดเห็นต่างจากรัฐ สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน
โดยไม่เลือกปฏิบัติ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
ซึ่งเป็นพหุสังคม ขจัดการฉวยโอกาสก่อความรุนแรงแทรกซ้อน เพื่อซ้ําเติมปัญหาไม่ว่าจากผู้มีอิทธิพลใน
ท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง ทั้งจะเพิ่มระดับปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ
ที่อาจช่วยคลี่คลายปัญหาได้
นโยบายที่ 4 : การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
4.1 การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสําคัญทั้งการศึกษาในระบบและ
การศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ
ประกอบอาชีพและดํารงชีวิตได้โดยมีความใฝ่รู้และทักษะที่เหมาะสม เป็นคนดีมีคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพ
การเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ํา และพัฒนากําลังคนให้เป็น
ที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ
4.2 ในระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษา
ให้สอดคล้องกับความจําเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา และปรับปรุง และบูรณาการระบบ
การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสแก่ผู้ยากจนหรือ ด้อยโอกาส จัดระบบการสนับสนุน
ให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีสิทธิเลือกรับบริการการศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน
โดยจะพิจารณาจัดให้มีคูปองการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่ง
4.3 ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
ประชาชนทั่วไปมีโอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูปการศึกษา และการเรียนรู้
กระจายอํานาจการบริหารจัดการศึกษาสู่ สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามศักยภาพและความพร้อม โดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิติบุคคล และบริหารจัดการได้อย่างอิสระ
และคล่องตัวขึ้น
4.4 พัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถมีความรู้
และทักษะใหม่ที่สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายตามแนวโน้มการจ้างงานในอนาคต ปรับกระบวนการ
เรียนรู้และหลักสูตรให้เชื่อมโยงกับภูมิสังคม โดยบูรณาการความรู้และคุณธรรมเข้าด้วยกันเพื่อให้เอื้อต่อ
5
การพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ การใฝ่เรียนรู้ การแก้ปัญหา การรับฟังความเห็นผู้อื่น การมีคุณธรรม
จริยธรรม และความเป็นพลเมืองดี โดยเน้นความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน
4.6 พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู
เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นําเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียน
การสอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนทางไกล การเรียนโดยระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทั้งปรับระบบการประเมินสมรรถนะที่สะท้อนประสิทธิภาพการจัดการเรียน
การสอนและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสําคัญ
นโยบายที่ 7 : การส่งเสริมบทบาทและใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน
7.3 พัฒนาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ทั้งแรงงานวิชาชีพ แรงงานมีทักษะและแรงงานไม่มีทักษะ โดยการเร่งรัดและขยายผลการใช้ระบบคุณวุฒิ
วิชาชีพให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยคํานึงถึงความเป็นเอกภาพกับระบบมาตรฐาน ฝีมือแรงงานและมาตรฐาน
วิชาชีพใน 8 กลุ่มที่มีข้อตกลงการเปิดเสรีในอาเซียนควบคู่ไปกับการวางแผนด้านการผลิตให้เพียงพอ
การยกระดับฝีมือแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น การส่งเสริม
การพัฒนาระบบการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อใช้ในการประเมินค่าจ้างแรงงาน
นโยบายที่ 10 : การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกัน
ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ
10.5 ใช้มาตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และ
จิตสํานึกในการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับการบริหารจัดการ
ภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทุกระดับอย่างเคร่งครัด ยกเลิก หรือแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่ไม่จําเป็น สร้างภาระแก่
ประชาชนเกินควรหรือเปิดช่องโอกาสการทุจริต เช่น ระเบียบการจัดซื้อ จัดจ้าง การอนุญาต อนุมัติ และการขอรับ
บริการจากรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนยืดยาวใช้เวลานาน ซ้ําซ้อน และเสียค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและประชาชน
2. ยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง)
คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้น้อมนําแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็น
แนวทางในการปฏิบัติเพื่อใช้เป็นหลักหรือแนวทางในการปฏิรูปและพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่
เหมาะสมและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตของสภาพแวดล้อมโลก
และภายในประเทศ โดยการกําหนดยุทธศาสตร์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้ความสําคัญกับการสร้าง
ภูมิคุ้มกันในมิติต่าง ๆ เพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยนําทุนของประเทศที่มีศักยภาพมาใช้
ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน พร้อมทั้งเสริมสร้างให้แข็งแกร่งเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศ
ที่สําคัญได้แก่ การเสริมสร้างทุนสังคม (ทุนมนุษย์ทุนสังคม ทุนทางวัฒนธรรม) ให้ความสําคัญกับการพัฒนาคน
และสังคมไทยสู่สังคมคุณภาพมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ระดับปัจเจก ครอบครัว และชุมชน สามารถจัดการ
ความเสี่ยง และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและได้รับประโยชน์จากการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม โดยได้กําหนดวิสัยทัศน์ เจตนารมณ์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์
เป้าหมาย และตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 วิสัยทัศน์
ประเทศชาติมั่นคง สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมี
ภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดจนประชาชนมีความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน
6
2.2 เจตนารมณ์
1) เพื่อยุติความขัดแย้งของคนในชาติ
2) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่นภายใต้ระบบบริหารนิติบัญญัติและตุลาการ
เป็นการใช้พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ผ่านกระบวนการดังกล่าวซึ่งเดิมรัฐบาลปกติได้ใช้อํานาจนั้น
โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือความขัดแย้งทั้งปวง
3) สร้างเสถียรภาพในทุกมิติทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
อย่างสมบูรณ์และยั่งยืน
4) ยกระดับการศึกษาสร้างมาตรฐานของการดํารงชีวิตของประชาชนในสังคมไทยตาม
แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขอย่างยั่งยืนตลอดไป
2.3 พันธกิจ
1) การสร้างความเป็นธรรมในสังคม การรักษาความสงบเรียบร้อย และการสร้างความปรองดอง
สมานฉันท์ สร้างสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่าง
ทั่วถึงและเท่าเทียม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรของชาติและการบริการขั้นพื้นฐานของรัฐอย่างเป็นธรรมและ
ทั่วถึง
2) พัฒนาคุณภาพคนไทยให้เป็นสังคมที่มีความรู้คู่คุณธรรม สร้างโอกาสให้มีการเรียนรู้
ตลอดชีวิต มีทักษะและการดํารงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่น
มีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
3) ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน โดยพัฒนาฐานการผลิต
และบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญา สร้างความเข้มแข็ง
ภาคการเกษตรความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความเชื่อมโยงในทุกมิติกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
4) สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมีส่วนร่วม
ของชุมชน รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
5) ปรับปรุงการบริหารจัดการของรัฐให้เกิดความโปร่งใส ด้วยการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังและยั่งยืน
2.4 เป้าหมายหลัก
1) คนและสังคมไทยมีความอยู่เย็นเป็นสุขและความสงบสุขเพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ํา
ในสังคมลดลงดัชนีมวลรวมความสุขของคนไทยเพิ่มมากขึ้นและความพึงพอใจในบริการขั้นพื้นฐานของรัฐเพิ่มมากขึ้น
2) คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะดีขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรมเพิ่มมากขึ้น
และสถาบันทางครอบครัวและทางสังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น
3) เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมตามศักยภาพของประเทศ ให้ความสําคัญกับ
การเพิ่มการผลิตภาพรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ทางเศรษฐกิจของประเทศและสัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลง
4) คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกในปริมาณที่ลดลง รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
7
5. ความโปร่งใสของประเทศไทยให้มีอันดับที่สูงขึ้น โดยดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นอยู่ใน
ลําดับที่ดีขึ้น
2.5ประเด็นยุทธศาสตร์ 11 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้
1) การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
2) การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
3) การสร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตร ความมั่นคงของอาหาร และพลังงาน
4) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
5) การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
6) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
7) การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ ให้เกิดประโยชน์กับ
ประชาชนในการใช้บริการอย่างแท้จริง
8) การปรับปรุงระบบโทรคมนาคม เทคโนโลยีของชาติให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนใน
อนาคต ให้ทัดเทียมอาเซียนและประชาคมโลก
9) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างยั่งยืน
โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ของคณะรักษา
ความสงบแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง) ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 การสร้างความเป็นธรรมในสังคม และประเด็น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 การสร้างความเป็นธรรมในสังคม มีกลยุทธ์และตัวชี้วัด ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 การจัดบริการทางสังคมตามสิทธิขั้นพื้นฐาน
- ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะสั้น ดังนี้
1) การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา โดยวัดจากอัตราผู้เข้ารับการศึกษาต่อในทุกระดับ
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 และการออกจากการศึกษากลางคันไม่เกินร้อยละ 5
กลยุทธ์ที่ 4 การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
- ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะสั้น ดังนี้
3) มีการดําเนินงานตามโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โครงการอบรม สัมมนา พัฒนาและศึกษาดูงานศาสนา ศิลปวัฒนธรรม โครงการปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ตะโละมาเนาะ
โครงการก่อสร้างและการจัดตั้งอุทยานเรียนรู้ โครงการส่งเสริมคนดีมีคุณธรรมในจังหวัด โดยจะต้องคืบหน้า
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2558
4) มีแผนงานในการการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการศึกษา รวมทั้งสร้างและซ่อมแซมบ้าน จํานวน 60 หลัง ตามโครงการ
เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้จะต้องมีการประเมินความก้าวหน้า
ของโครงการ โดยจะต้องคืบหน้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2558
5) มีการเปิดเวทีพูดคุยให้ครบ 37 อําเภอ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทุกภาคส่วน
ทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม และการกําหนดวิธีการในการประเมินผลความพึงพอใจของประชาชน
รวมทั้งมีการนําผลการเปิดเวทีการพูดคุยไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม
8
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
มีกลยุทธ์และตัวชี้วัด ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 การปฏิรูปการศึกษา
- ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะสั้น ดังนี้
1) มีการผลิตครู ตามความต้องการได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ตามสัดส่วนของ
จํานวนนักเรียนต่อครูผู้สอน และมีการพัฒนาบุคลากรครู โดยมีการจัดงบประมาณสําหรับการวิจัย
และการศึกษาต่อของครู ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนครูที่มีอยู่ในสถานศึกษาของรัฐภายใน
ปีงบประมาณ 2558
2) มีแผนพัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการ และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศ เพื่อการศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยประเมินผลจากการนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไปใช้ในสถานศึกษาต่าง ๆ ของรัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของสถานศึกษาทั้งหมดของรัฐ รวมถึงสามารถใช้ได้
อย่างต่อเนื่อง และมีระบบบํารุงรักษาได้อย่างเป็นระบบภายในปีงบประมาณ 2558
- ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะยาวสู่ความยั่งยืน ดังนี้
1) มีการผลิตครูตามความต้องการได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 100 ตามสัดส่วน
ของจํานวนนักเรียนต่อครูผู้สอน ภายในปีงบประมาณ 2564 และมีการพัฒนาบุคลากรครู โดยมีการจัดงบประมาณ
สําหรับการวิจัยและการศึกษาต่อของครู เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ต่อปี จนถึงปีงบประมาณ 2564
2) มีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษาให้เป็นสังคมแห่ง
การเรียนรู้ โดยประเมินผลจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่นําไปใช้ในสถานศึกษาต่าง ๆ ของรัฐไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาทั้งหมดของรัฐ ภายในปีงบประมาณ 2564
กลยุทธ์ที่ 4 การเสริมสร้างค่านิยม จิตสํานึก และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย
- ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะสั้น ดังนี้
1) ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมของไทย และมีส่วนร่วมกับกิจกรรม
ทางศาสนาในห้วงวันสําคัญภายในปี 2558 เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับห้วงเวลาเดียวกันของปีที่
ผ่านมา และประชาชนต้องเห็นความสําคัญของวัฒนธรรมไทยและศาสนาต่อสังคมไทย ผ่านการจัดกิจกรรม
ทางวัฒนธรรมไทยและศาสนานั้น โดยต้องมีผลการประเมินอยู่ในระดับสูง
2) มีกระบวนการให้ความรู้เรื่องหลักธรรมคําสอนของทุกศาสนา ในเชิงบูรณาการ
โดยนําไปสู่ระบบการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ได้อย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงกันอย่าง
เป็นรูปธรรม ภายในปีงบประมาณ 2558
- ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะยาวสู่ความยั่งยืน ดังนี้
ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมของไทย และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทาง
ศาสนาในห้วงวันสําคัญ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี จนถึงปี 2564
3. ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ประกอบด้วย 8
ยุทธศาสตร์ และ 1 รายการ ได้แก่
1) ยุทธศาสตร์เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
2) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ
3) ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
4) ยุทธศาสตร์การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต
9
5) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6) ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
7) ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
8) ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
9) รายการค่าดําเนินการภาครัฐ
โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรร
งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559 จํานวน 2 ยุทธศาสตร์ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
1.1 การเร่งรัดและผลักดันการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์
- คนไทยทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม มีศักยภาพเพิ่มขึ้น มีส่วนร่วมในการ
พัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
- คนไทยทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับสวัสดิการทางสังคมที่เพียงพอ สามารถพึ่งตนเองได้
หลังวัยทํางาน
- คนไทยมีครอบครัวที่เข้มแข็งอบอุ่น สมาชิกทุกคนในครอบครัว รู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบ
และเอื้ออาทรต่อคนในครอบครัว ชุมชน และสังคม
ตัวชี้วัด
- ร้อยละของเด็กแรกเกิด
- ปฐมวัยมีการพัฒนาการสมวัย
- อัตราการเข้าเรียนสุทธิทุกระดับชั้น (net enrolment ratio)
- ร้อยละของวัยรุ่น/นักศึกษาที่มีทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง
- สัดส่วนแรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มขึ้น
- ระดับความสําเร็จของการจัดทําระบบดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
นโยบายการจัดสรรงบประมาณ
1.1.1 ส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด/ปฐมวัยที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางสมอง
สติปัญญาร่างกาย และจิตใจ รวมถึงการเพิ่มคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยในการให้บริการของศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กในสถานที่ทํางานและชุมชน
1.1.2 เร่งรัดให้เด็กในวัยเรียนที่หลุดจากระบบการศึกษา จบการศึกษาภาคบังคับและ
มีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยการลดอุปสรรคและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
1.1.3 ส่งเสริมการพัฒนาทักษะของวัยรุ่น/นักศึกษา ทั้งในด้านทักษะชีวิตให้มีคุณธรรม
จริยธรรมมีภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยง และมีทักษะอาชีพในการเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงาน
1.1.4 ส่งเสริมแรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคมและการออมมากขึ้น รวมถึง
การเร่งรัดส่งเสริมให้มีระบบการออมของประชาชนที่หลากหลายเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจให้กับ
แรงงานในอนาคต
1.1.5 ส่งเสริมให้มีการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ
ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัว ในรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน/สถานพักฟื้น/
โรงพยาบาล
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ
แผนการปฎิบัติราชการ

More Related Content

Featured

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by HubspotMarius Sescu
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTExpeed Software
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsPixeldarts
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthThinkNow
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfmarketingartwork
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024Neil Kimberley
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)contently
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024Albert Qian
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsKurio // The Social Media Age(ncy)
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Search Engine Journal
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summarySpeakerHub
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Tessa Mero
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentLily Ray
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best PracticesVit Horky
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementMindGenius
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...RachelPearson36
 

Featured (20)

2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot2024 State of Marketing Report – by Hubspot
2024 State of Marketing Report – by Hubspot
 
Everything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPTEverything You Need To Know About ChatGPT
Everything You Need To Know About ChatGPT
 
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage EngineeringsProduct Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
Product Design Trends in 2024 | Teenage Engineerings
 
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental HealthHow Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
How Race, Age and Gender Shape Attitudes Towards Mental Health
 
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdfAI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
AI Trends in Creative Operations 2024 by Artwork Flow.pdf
 
Skeleton Culture Code
Skeleton Culture CodeSkeleton Culture Code
Skeleton Culture Code
 
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
PEPSICO Presentation to CAGNY Conference Feb 2024
 
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
Content Methodology: A Best Practices Report (Webinar)
 
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
How to Prepare For a Successful Job Search for 2024
 
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie InsightsSocial Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
Social Media Marketing Trends 2024 // The Global Indie Insights
 
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
Trends In Paid Search: Navigating The Digital Landscape In 2024
 
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
5 Public speaking tips from TED - Visualized summary
 
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
ChatGPT and the Future of Work - Clark Boyd
 
Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next Getting into the tech field. what next
Getting into the tech field. what next
 
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search IntentGoogle's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
Google's Just Not That Into You: Understanding Core Updates & Search Intent
 
How to have difficult conversations
How to have difficult conversations How to have difficult conversations
How to have difficult conversations
 
Introduction to Data Science
Introduction to Data ScienceIntroduction to Data Science
Introduction to Data Science
 
Time Management & Productivity - Best Practices
Time Management & Productivity -  Best PracticesTime Management & Productivity -  Best Practices
Time Management & Productivity - Best Practices
 
The six step guide to practical project management
The six step guide to practical project managementThe six step guide to practical project management
The six step guide to practical project management
 
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
Beginners Guide to TikTok for Search - Rachel Pearson - We are Tilt __ Bright...
 

แผนการปฎิบัติราชการ

  • 2. คํานํา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับการจัดสรร งบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559 จํานวน 53,048.4091 ล้านบาท และงบประมาณกองทุน จํานวน 1,298.0000 ล้านบาท รวมเป็นจํานวนทั้งสิ้น 54,346.4091 ล้านบาท สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) ขึ้น เพื่อใช้เป็น เครื่องมือในการกํากับ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลของผู้บริหารของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและ เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีสาระสําคัญ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บทนํา ส่วนที่ 2 บริบทที่เกี่ยวข้องกับสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนที่ 3 สาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) ส่วนที่ 4 งาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) จําแนกตามผลผลิต/ โครงการเทียบเท่าผลผลิต/กิจกรรม/กองทุน/เงินทุนหมุนเวียน ส่วนที่ 5 งาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) จําแนกตามแผน งบประมาณในลักษณะบูรณาการ ส่วนที่ 6 ระบบการติดตาม ประเมินผลและรายงานผลแผนปฏิบัติราชการประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการจัดทํา แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุง ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) ฉบับนี้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์
  • 3. สารบัญ หน้า คํานํา สารบัญ บทสรุปสําหรับผู้บริหาร ส่วนที่ 1 บทนํา 1 - ความเป็นมา 1 - วัตถุประสงค์ 1 - วิธีดําเนินงาน 2 - ผลที่คาดว่าจะได้รับ 2 ส่วนที่ 2 บริบทที่เกี่ยวข้องกับสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 3 - นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี) 3 - ยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง) 5 - ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 8 - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559 14 - แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552–2559) 15 - วาระการปฏิรูป 37 วาระ และ 8 วาระการพัฒนา ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ 16 - การจัดทํางบประมาณในลักษณะบูรณาการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 20 - นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) 21 - แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ของกระทรวงศึกษาธิการ 23 - ผลการดําเนินงานของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 24 - อํานาจหน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 32 ส่วนที่ 3 สาระสําคัญของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 35 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณ ที่ได้รับจัดสรร) - วิสัยทัศน์ 35 - พันธกิจ 35 - ค่านิยม 35 - ประเด็นยุทธศาสตร์ 35 - เป้าประสงค์ 36 - กลยุทธ์ 36 - ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 36 - แผนผังความเชื่อมโยง 39
  • 4. สารบัญ (ต่อ) หน้า ส่วนที่ 4 งาน/โครงการของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 40 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณ ที่ได้รับจัดสรร) จําแนกตามผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต/กองทุน/ เงินทุนหมุนเวียน 4.1 สรุปงบประมาณจําแนกตามผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต/กองทุน/ 41 เงินทุนหมุนเวียน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 4.2 รายละเอียดงาน/โครงการจําแนกตามผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต/ 42 กองทุน/เงินทุนหมุนเวียน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ - โครงการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต 42 - โครงการหนึ่งอําเภอหนึ่งทุน 45 - ผลผลิตผลงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนาการศึกษา 46 - โครงการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 49 - โครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 62 - โครงการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตกระทรวงศึกษาธิการ 67 - ผลผลิตนโยบายและแผนด้านการศึกษา 69 - ผลผลิตหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้รับบริการเทคโนโลยี 124 สารสนเทศทางการศึกษา - ผลผลิตผู้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม 130 - ผลผลิตผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ 144 - ผลผลิตผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย 146 - ผลผลิตมาตรฐานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและ 149 บุคลากรทางการศึกษา - ผลผลิตนักเรียนโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการอุดหนุน 175 - โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล 181 จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน - โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 183 - กองทุนสงเคราะห์ 185 - กองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ 185 - กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 185 - เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู 186 - กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา 187 - โครงการที่ยังไม่มีงบประมาณดําเนินงาน 188
  • 5. สารบัญ (ต่อ) หน้า ส่วนที่ 5 งาน/โครงการของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 193 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณ ที่ได้รับจัดสรร) จําแนกตามแผนงบประมาณในลักษณะบูรณาการ 5.1 สรุปงบประมาณตามแผนงบประมาณในลักษณะบูรณาการของ 194 แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 5.2 รายละเอียดงาน/โครงการจําแนกตามแผนบูรณาการของแผนปฏิบัติราชการ 195 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ - การเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 195 - การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 200 - การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา 213 - การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต 216 - การป้องกัน ปราบปรามและบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 219 - การป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ 221 - การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 223 ส่วนที่ 6ระบบการติดตาม ประเมินผลและรายงานผลแผนปฏิบัติราชการ 226 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) ภาคผนวก 227 - อักษรย่อหน่วยงาน 228 - หนังสืออนุมัติแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 229 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร)
  • 6. บทสรุปสําหรับผู้บริหาร พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 9 ได้กําหนดไว้ว่า การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการปฏิบัติ คือ (1) ก่อนจะดําเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นกาลล่วงหน้า (2) การกําหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (1) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลา และ งบประมาณที่จะต้องใช้ในการดําเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และ ตัวชี้วัดความสําเร็จของภารกิจ ประกอบกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบาย รัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 และมอบนโยบายแก่หัวหน้าส่วนราชการ และกําหนดให้ทุกส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ โดยกําหนดกรอบเวลา 1 ปี ตามปีงบประมาณ และระยะเวลาของรัฐบาลเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2557 และเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) ได้มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารและข้าราชการในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและของกระทรวงศึกษาธิการ ไปสู่ การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลต่อเด็ก เยาวชน ประชาชน และการพัฒนาประเทศโดยรวม และได้กําหนด ยุทธศาสตร์ตามกรอบปฏิรูปการศึกษาให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการดําเนินการขับเคลื่อน การปฏิรูปการศึกษาไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับ จัดสรร) ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกํากับ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลของผู้บริหารหน่วยงานและ หน่วยงานในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสําคัญสรุปได้ดังนี้ วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรต้นแบบในการบริหารการปฏิบัติราชการที่มีหลักธรรมาภิบาล สร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีศักยภาพการอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน พันธกิจ 1. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล 2. ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมหรือจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และ การศึกษาตามอัธยาศัยให้ประชาชน 3. พัฒนาการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้ประชาชนมีโอกาส เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ 4. เสริมสร้างความเข้มแข็งระบบบริหารงานบุคคล พัฒนาและสร้างความก้าวหน้าของข้าราชการ ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา 5. พัฒนาและส่งเสริมการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ (ก)
  • 7. ค่านิยม TEAMWINS T = Teamwork การทํางานเป็นทีม E = Equality of Work ความเสมอภาคในการทํางาน A = Accountability ความรับผิดชอบ M = Morality and Integrity การมีศีลธรรมและมีความซื่อสัตย์ W = Willingness ความมุ่งมั่นตั้งใจทํางานอย่างเต็มศักยภาพ I = Improvement การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ําเสมอ N = Network and Communication การเป็นเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน S = Service Mind การมีจิตมุ่งบริการ ประเด็นยุทธศาสตร์ 1. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตาม หลักธรรมาภิบาล 2. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 4. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคล ข้าราชการ ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้ได้ มาตรฐาน 5. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและส่งเสริมให้นําไปใช้ในการบริหาร การบริการ และการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าประสงค์ 1. หน่วยงานมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล 2. ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรม 3. ประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ 4. ข้าราชการ ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีความก้าวหน้าในวิชาชีพ มีศักยภาพในการปฏิบัติงานและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ 5. ผู้รับบริการมีและใช้ ICT ที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และบริหารจัดการให้ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพ กลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนร่วมจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษา กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ครอบคลุมทุกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย กลยุทธ์ที่ 4พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผู้เรียนทั้งในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาการศึกษาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลและพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการ ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ 7 เร่งรัด พัฒนาและส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ (ข)
  • 8. สรุปงบประมาณจําแนกตามผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต/กองทุน/เงินทุนหมุนเวียน ของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผลผลิต/โครงการ/กองทุน/เงินทุน หมุนเวียน งบประมาณ (ล้านบาท) ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม 1. โครงการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต 2,728.7526 1,205.3698 1,247.4813 436.5551 5,618.1588 2. โครงการหนึ่งอําเภอหนึ่งทุน 204.3183 204.3183 204.3182 204.3182 817.273 3. ผลผลิตผลงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ ความรู้สู่การพัฒนาการศึกษา 2.0333 2.2127 1.7447 1.6552 7.6459 4. โครงการพัฒนาการศึกษาในเขต พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด ชายแดนภาคใต้ 201.8404 170.7457 151.3504 157.2607 681.1972 5. โครงการเตรียมความพร้อมสู่ ประชาคมอาเซียน 6.2146 8.5307 7.0532 11.6433 33.4418 6. โครงการป้องกัน ปราบปราม การทุจริตกระทรวงศึกษาธิการ 1.0748 5.1056 2.3925 2.1261 10.6990 7. ผลผลิตนโยบายและแผนด้าน การศึกษา 238.9929 183.0892 215.3480 175.1314 812.5615 8. ผลผลิตหน่วยงานในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการได้รับบริการ เทคโนโลยีสารสนเทศทาง การศึกษา 87.8530 119.1451 123.4186 147.7281 478.1448 9. ผลผลิตผู้ได้รับการส่งเสริมและ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม 115.0437 100.2130 34.9503 28.4981 278.7051 10. ผลผลิตผู้รับบริการการศึกษา นอกระบบ 1,026.8098 1,009.1624 1,004.8474 1,004.8475 4,045.6671 11. ผลผลิตผู้รับบริการการศึกษา ตามอัธยาศัย 319.1278 288.2552 213.9828 226.7793 1,048.1451 12. ผลผลิตมาตรฐานการบริหารงาน บุคคลของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา 73.9309 71.1084 70.0914 68.3782 283.5089 13. ผลผลิตนักเรียนโรงเรียนเอกชน ที่ได้รับการอุดหนุน 416.9295 273.971 250.7475 235.3830 1,177.0310 14. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายใน การจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับ อนุบาลจนจบการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 12,087.6263 8,073.6347 9,553.4306 8,030.2883 37,744.9799 15. โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายา เสพติด 0.4000 10.0000 0.8500 11.2500 รวมผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต 17,510.9479 11,724.8618 13,082.0069 10,730.5925 53,048.4091 16. กองทุนสงเคราะห์ 441.3200 285.5600 285.5600 285.5600 1298.0000 รวมผลผลิต/โครงการเทียบเท่าผลผลิต และกองทุนสงเคราะห์ 17,952.2677 12,010.4218 13,367.5669 11,016.1525 54,346.4019 การใช้จ่ายงบประมาณรายไตรมาส ร้อยละ 33.03 22.10 24.60 20.27 100.00 (ค)
  • 9. ผลผลิต/โครงการ/กองทุน/เงินทุน หมุนเวียน งบประมาณ (ล้านบาท) ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม 17. กองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ* 50.0000 50.0000 50.0000 50.0000 200.0000 18. กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษา* 27.1896 27.1896 27.1896 27.1896 108.7584 19. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหา หนี้สินข้าราชการครู* 16.3752 512.0085 11.4626 14.7377 554.5840 20. กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์และ บุคลากรทางการศึกษา* 30.8921 30.8921 30.8921 30.8921 123.5684 รวมกองทุน/เงินทุนหมุนเวียน 124.4569 620.0902 119.5443 122.8194 986.9108 รวมทั้งสิ้น 180,076.7248 12,630.5120 13,487.1112 11,138.9719 55,333.3199 * หมายเหตุ : หมายถึง ใช้งบประมาณของกองทุน/เงินทุนหมุนเวียน สรุปงบประมาณตามแผนงบประมาณในลักษณะบูรณาการของแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แผนงบประมาณ ในลักษณะบูรณาการ งบประมาณ (บาท) ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม 1. การเตรียมความพร้อมประเทศไทยใน การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 6.2146 8.5307 7.0532 11.6433 33.4418 5. การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ 201.8404 170.7457 151.3504 157.2607 681.1972 8. การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา 2.0333 2.2127 1.7447 1.6552 7.6459 11. การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต 2,933.0709 1,409.6881 1,451.7995 640.8733 6,435.4318 12. การป้องกัน ปราบปราบและ บําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 0.4000 10.0000 0.8500 11.2500 15. การป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ 1.0748 5.1056 2.3925 2.1261 10.6990 19. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร 84.3639 110.7126 110.8674 140.5113 446.4552 รวม 3,228.9979 1,716.9954 1,726.0577 954.0699 7,626.1209 (ง)
  • 10. ส่วนที่ 1 บทนํา ความเป็นมา พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 9 ได้กําหนดไว้ว่า การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการปฏิบัติ คือ (1) ก่อนจะดําเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทําแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นกาลล่วงหน้า (2) การกําหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการตาม (1) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอนระยะเวลา และ งบประมาณที่จะต้องใช้ในการดําเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และ ตัวชี้วัดความสําเร็จของภารกิจ ประกอบกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบาย รัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 และมอบนโยบายแก่หัวหน้าส่วนราชการ และกําหนดให้ทุกส่วนราชการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ โดยกําหนดกรอบเวลา 1 ปี ตามปีงบประมาณ และระยะเวลาของรัฐบาลเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2557 และเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2558 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) ได้มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารและข้าราชการในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและของกระทรวงศึกษาธิการ ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลต่อเด็ก เยาวชน ประชาชน และการพัฒนาประเทศโดยรวม และได้กําหนด ยุทธศาสตร์ตามกรอบปฏิรูปการศึกษาให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการดําเนินการขับเคลื่อน การปฏิรูปการศึกษาไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ) สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับ จัดสรร) ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกํากับ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลของผู้บริหารหน่วยงานและ หน่วยงานในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) สําหรับใช้เป็นเครื่องมือในการกํากับ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลของผู้บริหารของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเป็นกรอบแนวทาง ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ วิธีดําเนินงาน 1. ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้อง 2. กําหนดกรอบ เค้าโครง แนวทางการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ให้มีความสอดคล้องกับนโยบาย ภารกิจของหน่วยงาน และบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. จัดประชุมปฏิบัติการจัดทําแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการแก่ทุกหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • 11. 2 4. จัดทํารายละเอียดงาน/โครงการให้สอดคล้องกับนโยบาย ภารกิจ อํานาจหน้าที่และ นโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5. บูรณาการเป็น (ร่าง) แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) 6. เสนอขออนุมัติใช้เป็นแผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) 7. เผยแพร่ทั้งในรูปแบบเอกสารและเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ แผนปฏิบัติราชการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) สามารถใช้เครื่องมือในการกํากับ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผล ของผู้บริหารของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานประจําปี งบประมาณ พ.ศ. 2559 ของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 12. ส่วนที่ 2 บริบทที่เกี่ยวข้องกับสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้นํานโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง) ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559 แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2552-2559) 37 วาระการปฏิรูป และ 8 วาระการพัฒนา การจัดทํางบประมาณในลักษณะบูรณาการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และแผนปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของกระทรวงศึกษาธิการ และบริบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงกับอํานาจ หน้าที่ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกําหนดเป็นกรอบแนวทางในการจัดทําแผนปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณพ.ศ.2559ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ 1. นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี) นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 โดยได้กําหนดนโยบายไว้ 11 ด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 19 ที่ระบุให้รัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ดําเนินการให้มีการปฏิรูปด้านต่าง ๆ และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติดังนี้ นโยบายที่ 1 การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ นโยบายที่ 2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ นโยบายที่ 3 การลดความเหลื่อมล้ําของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ นโยบายที่ 4 การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นโยบายที่ 5 การยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน นโยบายที่ 6 การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายที่ 7 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน นโยบายที่ 8 การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม นโยบายที่ 9 การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่าง การอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน นโยบายที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ นโยบายที่ 11 การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายข้อที่ 2 การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ นโยบายข้อที่ 4 การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม นโยบายข้อที่ 7 การส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน และนโยบาย ข้อที่ 10 การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกันปราบปรามการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในภาครัฐ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
  • 13. 4 นโยบายที่ 2 : การรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ 2.1 ในระยะเร่งด่วน รัฐบาลให้ความสําคัญต่อการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียนในกิจการ 5 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการชายแดน การสร้างความมั่นคงทางทะเล การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การสร้างความไว้วางใจกับประเทศเพื่อนบ้าน และการเสริมสร้าง ศักยภาพในการปฏิบัติการทางทหารร่วมกันของอาเซียน โดยเน้นความร่วมมือเพื่อป้องกัน แก้ไขข้อพิพาท ต่าง ๆ และการแก้ไขปัญหาเส้นเขตแดนโดยใช้กลไก ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี ทั้งจะจัดระเบียบการพัฒนา ตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนทั้งทางบกและทางทะเล รองรับ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน โดยใช้ระบบเฝ้าตรวจที่มีเทคโนโลยีทันสมัย กําหนดให้ปัญหา ยาเสพติด การค้าอาวุธ การค้ามนุษย์ การกระทําอันเป็นโจรสลัด การก่อการร้ายสากลและอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด และจัดการปัญหา อื่น ๆ ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องให้เบ็ดเสร็จ เช่น ปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลการปรับปรุงระบบการเข้าเมือง การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว เป็นต้น 2.2 เร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนํายุทธศาสตร์ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนามาใช้ตามแนวทางกัลยาณมิตรแบบสันติวิธี ส่งเสริมการพูดคุย สันติสุขกับผู้มี ความคิดเห็นต่างจากรัฐ สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน โดยไม่เลือกปฏิบัติ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นพหุสังคม ขจัดการฉวยโอกาสก่อความรุนแรงแทรกซ้อน เพื่อซ้ําเติมปัญหาไม่ว่าจากผู้มีอิทธิพลใน ท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง ทั้งจะเพิ่มระดับปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ ที่อาจช่วยคลี่คลายปัญหาได้ นโยบายที่ 4 : การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบํารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 4.1 การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้ โดยให้ความสําคัญทั้งการศึกษาในระบบและ การศึกษาทางเลือกไปพร้อมกัน เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้สามารถเรียนรู้ พัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ ประกอบอาชีพและดํารงชีวิตได้โดยมีความใฝ่รู้และทักษะที่เหมาะสม เป็นคนดีมีคุณธรรม สร้างเสริมคุณภาพ การเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ํา และพัฒนากําลังคนให้เป็น ที่ต้องการเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ 4.2 ในระยะเฉพาะหน้า จะปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการศึกษา ให้สอดคล้องกับความจําเป็นของผู้เรียนและลักษณะพื้นที่ของสถานศึกษา และปรับปรุง และบูรณาการระบบ การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสแก่ผู้ยากจนหรือ ด้อยโอกาส จัดระบบการสนับสนุน ให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปมีสิทธิเลือกรับบริการการศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน โดยจะพิจารณาจัดให้มีคูปองการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่ง 4.3 ให้องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ประชาชนทั่วไปมีโอกาสร่วมจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและทั่วถึง และร่วมในการปฏิรูปการศึกษา และการเรียนรู้ กระจายอํานาจการบริหารจัดการศึกษาสู่ สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามศักยภาพและความพร้อม โดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิติบุคคล และบริหารจัดการได้อย่างอิสระ และคล่องตัวขึ้น 4.4 พัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อให้สามารถมีความรู้ และทักษะใหม่ที่สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายตามแนวโน้มการจ้างงานในอนาคต ปรับกระบวนการ เรียนรู้และหลักสูตรให้เชื่อมโยงกับภูมิสังคม โดยบูรณาการความรู้และคุณธรรมเข้าด้วยกันเพื่อให้เอื้อต่อ
  • 14. 5 การพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านความรู้ ทักษะ การใฝ่เรียนรู้ การแก้ปัญหา การรับฟังความเห็นผู้อื่น การมีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองดี โดยเน้นความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน 4.6 พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิตวิญญาณของความเป็นครู เน้นครูผู้สอนให้มีวุฒิตรงตามวิชาที่สอน นําเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ในการเรียน การสอนเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยครูหรือเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น การเรียนทางไกล การเรียนโดยระบบ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น รวมทั้งปรับระบบการประเมินสมรรถนะที่สะท้อนประสิทธิภาพการจัดการเรียน การสอนและการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสําคัญ นโยบายที่ 7 : การส่งเสริมบทบาทและใช้โอกาสในประชาคมอาเซียน 7.3 พัฒนาแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งแรงงานวิชาชีพ แรงงานมีทักษะและแรงงานไม่มีทักษะ โดยการเร่งรัดและขยายผลการใช้ระบบคุณวุฒิ วิชาชีพให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยคํานึงถึงความเป็นเอกภาพกับระบบมาตรฐาน ฝีมือแรงงานและมาตรฐาน วิชาชีพใน 8 กลุ่มที่มีข้อตกลงการเปิดเสรีในอาเซียนควบคู่ไปกับการวางแผนด้านการผลิตให้เพียงพอ การยกระดับฝีมือแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น การส่งเสริม การพัฒนาระบบการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อใช้ในการประเมินค่าจ้างแรงงาน นโยบายที่ 10 : การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และการป้องกัน ปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ 10.5 ใช้มาตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และ จิตสํานึกในการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับการบริหารจัดการ ภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทุกระดับอย่างเคร่งครัด ยกเลิก หรือแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่ไม่จําเป็น สร้างภาระแก่ ประชาชนเกินควรหรือเปิดช่องโอกาสการทุจริต เช่น ระเบียบการจัดซื้อ จัดจ้าง การอนุญาต อนุมัติ และการขอรับ บริการจากรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนยืดยาวใช้เวลานาน ซ้ําซ้อน และเสียค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและประชาชน 2. ยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง) คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้น้อมนําแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติเพื่อใช้เป็นหลักหรือแนวทางในการปฏิรูปและพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่ เหมาะสมและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตของสภาพแวดล้อมโลก และภายในประเทศ โดยการกําหนดยุทธศาสตร์ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้ความสําคัญกับการสร้าง ภูมิคุ้มกันในมิติต่าง ๆ เพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน โดยนําทุนของประเทศที่มีศักยภาพมาใช้ ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกัน พร้อมทั้งเสริมสร้างให้แข็งแกร่งเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศ ที่สําคัญได้แก่ การเสริมสร้างทุนสังคม (ทุนมนุษย์ทุนสังคม ทุนทางวัฒนธรรม) ให้ความสําคัญกับการพัฒนาคน และสังคมไทยสู่สังคมคุณภาพมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ระดับปัจเจก ครอบครัว และชุมชน สามารถจัดการ ความเสี่ยง และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและได้รับประโยชน์จากการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรม โดยได้กําหนดวิสัยทัศน์ เจตนารมณ์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ดังนี้ 2.1 วิสัยทัศน์ ประเทศชาติมั่นคง สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมี ภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดจนประชาชนมีความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน
  • 15. 6 2.2 เจตนารมณ์ 1) เพื่อยุติความขัดแย้งของคนในชาติ 2) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและฟื้นฟูความเชื่อมั่นภายใต้ระบบบริหารนิติบัญญัติและตุลาการ เป็นการใช้พระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ผ่านกระบวนการดังกล่าวซึ่งเดิมรัฐบาลปกติได้ใช้อํานาจนั้น โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือความขัดแย้งทั้งปวง 3) สร้างเสถียรภาพในทุกมิติทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อย่างสมบูรณ์และยั่งยืน 4) ยกระดับการศึกษาสร้างมาตรฐานของการดํารงชีวิตของประชาชนในสังคมไทยตาม แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขอย่างยั่งยืนตลอดไป 2.3 พันธกิจ 1) การสร้างความเป็นธรรมในสังคม การรักษาความสงบเรียบร้อย และการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ สร้างสังคมที่มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพอย่าง ทั่วถึงและเท่าเทียม มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรของชาติและการบริการขั้นพื้นฐานของรัฐอย่างเป็นธรรมและ ทั่วถึง 2) พัฒนาคุณภาพคนไทยให้เป็นสังคมที่มีความรู้คู่คุณธรรม สร้างโอกาสให้มีการเรียนรู้ ตลอดชีวิต มีทักษะและการดํารงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่น มีความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน 3) ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน โดยพัฒนาฐานการผลิต และบริการให้เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญา สร้างความเข้มแข็ง ภาคการเกษตรความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างความเชื่อมโยงในทุกมิติกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม 4) สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมีส่วนร่วม ของชุมชน รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ 5) ปรับปรุงการบริหารจัดการของรัฐให้เกิดความโปร่งใส ด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังและยั่งยืน 2.4 เป้าหมายหลัก 1) คนและสังคมไทยมีความอยู่เย็นเป็นสุขและความสงบสุขเพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ํา ในสังคมลดลงดัชนีมวลรวมความสุขของคนไทยเพิ่มมากขึ้นและความพึงพอใจในบริการขั้นพื้นฐานของรัฐเพิ่มมากขึ้น 2) คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุขภาวะดีขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรมเพิ่มมากขึ้น และสถาบันทางครอบครัวและทางสังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น 3) เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมตามศักยภาพของประเทศ ให้ความสําคัญกับ การเพิ่มการผลิตภาพรวมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทางเศรษฐกิจของประเทศและสัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้นความยากจนลดลง 4) คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกในปริมาณที่ลดลง รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
  • 16. 7 5. ความโปร่งใสของประเทศไทยให้มีอันดับที่สูงขึ้น โดยดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นอยู่ใน ลําดับที่ดีขึ้น 2.5ประเด็นยุทธศาสตร์ 11 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) การสร้างความเป็นธรรมในสังคม 2) การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน 3) การสร้างความเข้มแข็งภาคการเกษตร ความมั่นคงของอาหาร และพลังงาน 4) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน 5) การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม 6) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 7) การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ ให้เกิดประโยชน์กับ ประชาชนในการใช้บริการอย่างแท้จริง 8) การปรับปรุงระบบโทรคมนาคม เทคโนโลยีของชาติให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนใน อนาคต ให้ทัดเทียมอาเซียนและประชาคมโลก 9) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างยั่งยืน โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ของคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง) ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 การสร้างความเป็นธรรมในสังคม และประเด็น ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ประเด็นยุทธศาสตร์ 1 การสร้างความเป็นธรรมในสังคม มีกลยุทธ์และตัวชี้วัด ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 การจัดบริการทางสังคมตามสิทธิขั้นพื้นฐาน - ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะสั้น ดังนี้ 1) การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา โดยวัดจากอัตราผู้เข้ารับการศึกษาต่อในทุกระดับ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 และการออกจากการศึกษากลางคันไม่เกินร้อยละ 5 กลยุทธ์ที่ 4 การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ - ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะสั้น ดังนี้ 3) มีการดําเนินงานตามโครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการอบรม สัมมนา พัฒนาและศึกษาดูงานศาสนา ศิลปวัฒนธรรม โครงการปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ตะโละมาเนาะ โครงการก่อสร้างและการจัดตั้งอุทยานเรียนรู้ โครงการส่งเสริมคนดีมีคุณธรรมในจังหวัด โดยจะต้องคืบหน้า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2558 4) มีแผนงานในการการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการศึกษา รวมทั้งสร้างและซ่อมแซมบ้าน จํานวน 60 หลัง ตามโครงการ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งนี้จะต้องมีการประเมินความก้าวหน้า ของโครงการ โดยจะต้องคืบหน้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2558 5) มีการเปิดเวทีพูดคุยให้ครบ 37 อําเภอ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทุกภาคส่วน ทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม และการกําหนดวิธีการในการประเมินผลความพึงพอใจของประชาชน รวมทั้งมีการนําผลการเปิดเวทีการพูดคุยไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม
  • 17. 8 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน มีกลยุทธ์และตัวชี้วัด ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 การปฏิรูปการศึกษา - ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะสั้น ดังนี้ 1) มีการผลิตครู ตามความต้องการได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ตามสัดส่วนของ จํานวนนักเรียนต่อครูผู้สอน และมีการพัฒนาบุคลากรครู โดยมีการจัดงบประมาณสําหรับการวิจัย และการศึกษาต่อของครู ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนครูที่มีอยู่ในสถานศึกษาของรัฐภายใน ปีงบประมาณ 2558 2) มีแผนพัฒนาปรับปรุงระบบบริหารจัดการ และการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อการศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยประเมินผลจากการนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ไปใช้ในสถานศึกษาต่าง ๆ ของรัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของสถานศึกษาทั้งหมดของรัฐ รวมถึงสามารถใช้ได้ อย่างต่อเนื่อง และมีระบบบํารุงรักษาได้อย่างเป็นระบบภายในปีงบประมาณ 2558 - ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะยาวสู่ความยั่งยืน ดังนี้ 1) มีการผลิตครูตามความต้องการได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 100 ตามสัดส่วน ของจํานวนนักเรียนต่อครูผู้สอน ภายในปีงบประมาณ 2564 และมีการพัฒนาบุคลากรครู โดยมีการจัดงบประมาณ สําหรับการวิจัยและการศึกษาต่อของครู เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ต่อปี จนถึงปีงบประมาณ 2564 2) มีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษาให้เป็นสังคมแห่ง การเรียนรู้ โดยประเมินผลจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่นําไปใช้ในสถานศึกษาต่าง ๆ ของรัฐไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาทั้งหมดของรัฐ ภายในปีงบประมาณ 2564 กลยุทธ์ที่ 4 การเสริมสร้างค่านิยม จิตสํานึก และการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย - ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะสั้น ดังนี้ 1) ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมของไทย และมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ทางศาสนาในห้วงวันสําคัญภายในปี 2558 เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับห้วงเวลาเดียวกันของปีที่ ผ่านมา และประชาชนต้องเห็นความสําคัญของวัฒนธรรมไทยและศาสนาต่อสังคมไทย ผ่านการจัดกิจกรรม ทางวัฒนธรรมไทยและศาสนานั้น โดยต้องมีผลการประเมินอยู่ในระดับสูง 2) มีกระบวนการให้ความรู้เรื่องหลักธรรมคําสอนของทุกศาสนา ในเชิงบูรณาการ โดยนําไปสู่ระบบการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ได้อย่างเป็นระบบและเชื่อมโยงกันอย่าง เป็นรูปธรรม ภายในปีงบประมาณ 2558 - ตัวชี้วัดความสําเร็จของเป้าหมายระยะยาวสู่ความยั่งยืน ดังนี้ ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมของไทย และมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทาง ศาสนาในห้วงวันสําคัญ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี จนถึงปี 2564 3. ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ และ 1 รายการ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ 2) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ 3) ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม 4) ยุทธศาสตร์การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต
  • 18. 9 5) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6) ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม 7) ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8) ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 9) รายการค่าดําเนินการภาครัฐ โดยสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2559 จํานวน 2 ยุทธศาสตร์ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์เร่งรัดวางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ 1.1 การเร่งรัดและผลักดันการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ - คนไทยทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม มีศักยภาพเพิ่มขึ้น มีส่วนร่วมในการ พัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน - คนไทยทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับสวัสดิการทางสังคมที่เพียงพอ สามารถพึ่งตนเองได้ หลังวัยทํางาน - คนไทยมีครอบครัวที่เข้มแข็งอบอุ่น สมาชิกทุกคนในครอบครัว รู้จักหน้าที่ ความรับผิดชอบ และเอื้ออาทรต่อคนในครอบครัว ชุมชน และสังคม ตัวชี้วัด - ร้อยละของเด็กแรกเกิด - ปฐมวัยมีการพัฒนาการสมวัย - อัตราการเข้าเรียนสุทธิทุกระดับชั้น (net enrolment ratio) - ร้อยละของวัยรุ่น/นักศึกษาที่มีทักษะชีวิตในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง - สัดส่วนแรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มขึ้น - ระดับความสําเร็จของการจัดทําระบบดูแลผู้สูงอายุระยะยาว นโยบายการจัดสรรงบประมาณ 1.1.1 ส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด/ปฐมวัยที่เหมาะสมกับพัฒนาการทางสมอง สติปัญญาร่างกาย และจิตใจ รวมถึงการเพิ่มคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยในการให้บริการของศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กในสถานที่ทํางานและชุมชน 1.1.2 เร่งรัดให้เด็กในวัยเรียนที่หลุดจากระบบการศึกษา จบการศึกษาภาคบังคับและ มีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยการลดอุปสรรคและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ 1.1.3 ส่งเสริมการพัฒนาทักษะของวัยรุ่น/นักศึกษา ทั้งในด้านทักษะชีวิตให้มีคุณธรรม จริยธรรมมีภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยง และมีทักษะอาชีพในการเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงาน 1.1.4 ส่งเสริมแรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบประกันสังคมและการออมมากขึ้น รวมถึง การเร่งรัดส่งเสริมให้มีระบบการออมของประชาชนที่หลากหลายเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจให้กับ แรงงานในอนาคต 1.1.5 ส่งเสริมให้มีการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และครอบครัว ในรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน/สถานพักฟื้น/ โรงพยาบาล