SlideShare a Scribd company logo

More Related Content

More from Pannathat Champakul (20)

เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
 
505
505505
505
 
407
407407
407
 
603
603603
603
 
602
602602
602
 
601
601601
601
 
600
600600
600
 
504
504504
504
 
503
503503
503
 
502
502502
502
 
501
501501
501
 
500
500500
500
 
406
406406
406
 
405
405405
405
 
404
404404
404
 
403
403403
403
 
402
402402
402
 
401
401401
401
 
400
400400
400
 
305
305305
305
 

9 2

  • 1. 9.2 แรงเสียดทานหรือความฝืด แรงเสียดทาน แรงเสียดทานหรือความฝืด คือ แรงซึ่งต่อต้านการเครื่องที่ของผิวหน้าหนึ่งบนอีกผิวหน้าหนึ่งในเครื่องจักรกล พลังงานที่ต้องเสียไปเพื่อเอาชนะความฝืดทาให้ประสิทธิภาพของเครื่องจักรต่าลง และพลังงานที่สูญเสียไปอยู่ในรูปของ ความร้อนที่อาจจะเป็นอันตรายและผลเสียต่อเครื่องจักรได้ แรงเสียดทานเกิดจากความขรุขระของผิวหน้าที่มาสัมผัสกันและ การหลอมตัวติดกันเป็นจุด ๆ ผิวหน้าของโลหะที่แม้จะได้รับการขัดมันมาอย่างดีเมื่อนามาส่องดูด้วยกล้องขยายกาลังสูงจะ เห็นว่าประกอบไปด้วยยอดแหลมและหลุมลึกอีกมากมาย ดังนั้นเมื่อผิวหน้าหนึ่งถูกนามาสัมผัสกับอีกผิวหน้าหนึ่ง บริเวณที่ สัมผัสกันจริง ๆ นั้นจึงเป็นจุดเล็ก ๆ ที่ยอดแหลมไปแตะกับผิวตรงข้าม จุดที่เล็กมาก ๆ เหล่านี้ต้องรับน้าหนักที่กด หน้าสัมผัสทั้ง 2 เข้าด้วยกัน และแรงกดที่สูงมากนี้ก็ทาให้จุดสัมผัสเหล่านั้นหลอมติดกันได้ แรงเสียดทานของการเสียดสี ระหว่างผิวหน้าเช่นนี้จึงเป็นแรงที่ต้องใช้ในการหักและฉีกจุดเชื่อมติดให้ขาดจากกัน นอกจากนั้นแล้วในขณะที่กาลัง เคลื่อนที่ ยอดสูง ๆ ก็ยังสามารถกีดขวางซึ่งกันและกัน เช่น ชนกันแตกหัก หรือต้องครูดไถไปบนอีกผิวหน้าหนึ่งที่แข็งน้อย กว่าด้วยแรงเสียดทานจึงขึ้นอยู่กับน้าหนักหรือโหลดซึ่งกาหนดพื้นที่รวมที่หลอมติดกัน และชนิดของสารที่เป็นหน้าสัมผัสว่า มีความแข็งเพียงใด ยากต่อการฉีกหักหรือครูดไถเพียงใด การหล่อลื่น วิธีการของน้ามันหล่อลื่นในการลดแรงเสียดทานก็คือการพยายามป้ องกันและลดการสัมผัสของยอดแหลม ระหว่างหน้าสัมผัสให้เหลือน้อยที่สุด โดยเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างผิวหน้าทั้งสองนั้น การหล่อลื่นสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ 1. Hydrodynamic Lubrication 2. Boundary Lubrication 3. Elasto-Hydrodynamic Lubrication Hydrodynamic Lubrication หมายถึงลักษณะของการหล่อลื่นที่มีฟิล์มน้ามันไหลอยู่ระหว่างหน้าสัมผัส และแยก หน้าสัมผัสคู่นั้นออกจากกันโดยเด็ดขาด เพื่อที่จะเข้าใจการทางานของน้ามันหล่อลื่นนั้นจาเป็นต้องทราบถึงคุณสมบัติของของเหลวอย่างหนึ่ง คือ Viscosity หรือความหนืด ความหนืด หมายถึง ความต้านทานต่อการไหลของของเหลวที่เกิดขึ้นจากแรงเสียดทานระหว่าง โมเลกุลของของเหลวเองในขณะที่ของเหลวนั้นเคลื่อนตัว ความหนืดนี้จะลดลงเมื่ออุณหภูมิของของเหลวสูงขึ้น เมื่อแท่งวัตถุชิ้นหนึ่งที่มีขนาดพอเหมาะเริ่มเคลื่อนที่ไปบนที่ราบ ส่วนหน้าของแท่งวัตถุจะพบกับน้ามัน และ เพราะว่าน้ามันมีความหนืดที่ต้านทานการไหล แท่งวัตถุก็จะไม่สามารถผลักน้ามันไปได้หมด แต่ชั้นน้ามันบาง ๆ จะยังคงอยู่ บนพื้นใต้แท่งนี้ทาให้แท่งนี้ยกตัวจากพื้นได้บ้าง เมื่อแท่งนี้เคลื่อนที่เร็วขึ้นน้ามันก็จะเข้าไปข้างใต้ได้มากขึ้นอีก ยกให้แท่ง สูงขึ้นจนกระทั่งสมดุลย์ คือน้ามันที่ไหลเข้าไปใต้แท่งนี้เท่ากับน้ามันที่ไหลออกมา และแท่งก็จะไม่ลอยตัวสูงขึ้นไปอีก ฟิล์มน้ามันภายใต้แท่งวัตถุนี้ต้องรับแรงกด คือ น้าหนักของแท่งวัตถุที่ยกขึ้น ฟิล์มน้ามันนี้จะยังคงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อแท่งวัตถุ เคลื่อนที่ไปตลอดเวลา และนี่คือการทางานของ Hydrodynamic Lubrication
  • 2. ในการหล่อลื่น Journal Bearing ก็เช่นกัน เมื่อหยุดนิ่งเพลาจะนอนอยู่ที่ก้นแบริ่งและสัมผัสกับแบริ่งขณะที่ เพลาเริ่มหมุน น้ามันจะถูกลากพาเข้าไปใต้เพลาและหน้าสัมผัสเริ่มแยกออกจากกัน จนกระทั่งเมื่อเพลาหมุนเร็วขึ้นก็จะลอย สูงขึ้นจนกระทั่งสมดุลย์ คือ ฟิล์มน้ามันสามารถยกเพลาขึ้นได้ทั้งหมด ฟิล์มน้ามันประกอบไปด้วยชั้นของโมเลกุลน้ามันซ้อน ๆ กัน และเคลื่อนที่ไปทางเดียวกัน แต่ละชั้นก็มี ความเร็วไม่เท่ากัน ชั้นที่ติดอยู่กับหน้าสัมผัสที่อยู่นิ่งก็ไม่เคลื่อนที่ และชั้นบนสุดที่ติดกับผิวหน้าที่เคลื่อนที่ก็จะเคลื่อนที่เร็ว ที่สุด ส่วนชั้นกลาง ๆ ก็จะเคลื่อนที่เร็วขึ้นถ้าอยู่ใกล้กับชั้นบนสุดมากขึ้น การที่ชั้นโมเลกุลของน้ามันต้องไถลไปบนชั้นอื่น ๆ ที่มีความเร็วไม่เท่ากันจึงเกิดเป็นแรงต้านการเคลื่อนที่ แรงเสียดทานอันเกิดจากผิวหน้าไถลไปแห้ง ๆ บนอีกผิวหน้าหนึ่งก็ หายไป แต่มีแรงต้านจากการเฉือนฟิล์มน้ามันนี้มาแทน ซึ่งจะน้อยกว่าแรงเสียดทานแห้งมากมายหลายเท่าตัวนัก ปัจจัยในการเกิดการหล่อลื่นแบบ Hydrodynamic Lubrication จึงประกอบไปด้วย 1. ผิวหน้าทั้งสองต้องมีช่องว่างที่จะให้น้ามันเคลื่อนที่เข้าไปได้ 2. ผิวหน้าทั้งสองต้องมีการเคลื่อนที่เร็วเพียงพอที่ลากน้ามันเข้าไปได้ในปริมาณที่มากพอ 3. ปริมาณน้ามันต้องมีเพียงพอที่จะอยู่เต็มช่องว่าง และเข้ามาแทนที่ส่วนที่ไหลออกไป 4. น้ามันต้องมีความหนืดสูงพอที่สร้างฟิล์มน้ามันขนาดหนา ๆ ได้ สิ่งที่ควรทราบอีกประการหนึ่ง คือ พลังงานที่ต้องใช้ในการเฉือนฟิล์มน้ามันถึงแม้จะน้อยก็จะเกิดเป็นความ ร้อนทาให้อุณหภูมิของน้ามันสูงขึ้น และส่งผลให้น้ามันมีความหนืดลดลงดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และอาจมีผลกระทบต่อสภาพ การหล่อลื่นอย่างสมบูรณ์ได้ Boundary Lubricatoin คือการหล่อลื่นที่ฟิล์มน้ามันไม่สามารถจะเกิดขึ้นและแยกหน้าสัมผัสออกจากกันได้ เด็ดขาด และการสัมผัสกันระหว่างยอดแหลมของ 2 ผิวหน้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นผลจากการที่ปัจจัยต่าง ๆ ของการ เกิด Hydrodynamic Lubrication มีไม่ครบถ้วน เช่น บางครั้งความเร็วของหน้าสัมผัสต่าเกินไป หรือแรงกดสูงมาก จนกระทั่งน้ามันที่มีความหนืดสูงก็ยังไม่สามารถ แยกและป้ องกันการสัมผัสของผิวหน้าทั้งคู่ได้ หรือมีการเคลื่อนที่ที่มีการ หยุดและไปบ่อย ๆ และกลับทิศทางการเคลื่อนที่ไปมาทาให้ฟิล์มน้ามันสลายตัว แรงเสียดทานเมื่อมีการหล่อลื่นแบบ Boundary Lub. จึงถูกกาหนดจากทั้งลักษณะของหน้าสัมผัสและลักษณะ ของน้ามันหล่อลื่นนอกเหนือจากความหนืดของน้ามันแต่เพียงอย่างเดียว แรงเสียดทานนี้จะสูงกว่าการหล่อลื่นชนิด Hydrodynamic ความรุนแรงของสภาวะที่ต้องการการหล่อลื่น Boundary Lub. มีระดับต่าง ๆ กัน และคุณสมบัติของ น้ามันหล่อลื่นที่จะต้องรับภาระต่าง ๆ กันนี้ก็ต่างกันไปตามชนิดและความสามารถของสารเพิ่มคุณภาพในน้ามัน ในภาวะที่ โหลดไม่สูงมากนักสารเพิ่มคุณภาพจาพวกไขก็สามารถใช้ได้ โดยที่จะเข้าจับติดผิวโลหะได้ดีเมื่อถูกครูดไถก็ยังป้ องกันไม่ให้ ผิวหน้าโลหะทั้งสองสัมผัสกัน แต่เมื่อโหลดสูงมากขึ้นและอุณหภูมิที่ผิวหน้าสัมผัสสูงขึ้น สารจาพวกไขที่ไม่แข็งแรงพอ และก็เสื่อมประสิทธิภาพการจับติดกับโลหะ จึงมีความต้องการสารเพิ่มคุณภาพประเภทที่จะเข้าทาปฏิกิริยาเคมีกับผิวโลหะ ณ จุดที่รับโหลดสูง ๆ นั้น เปลี่ยนเนื้อโลหะเป็นสารประกอบใหม่ที่นุ่มกว่าเดิมเคลือบอยู่บาง ๆ เป็นผลทาให้ผิวหน้าทั้งสอง ไถลเสียดสีผ่านกันไปได้โดยมีแรงเสียดทานน้อยลง สารเพิ่มคุณภาพประเภทนี้ได้แก่ สารลดการสึกหรอและสารรับแรงกด สูง Elasto- Hydrodynamic Lubrication การหล่อลื่นแบบ EHD หมายถึงการที่ผิวหน้าสัมผัสยุบตัวชั่วคราว เนื่องจากต้องรับแรงกดและน้าหนักสูงมากเป็นพิเศษบนพื้นที่เล็ก ๆ การยุบตัวทาให้พื้นที่ที่รับน้าหนักขยายตัวมากขึ้น บวก
  • 3. กับความหนืดของน้ามันหล่อลื่นในเวลาเดียวกันก็เพิ่มขึ้นมากเพราะอยู่ภายใต้ความกดดันสูง ทาให้ความสามารถในการรับ น้าหนักของน้ามันสูงขึ้นในพื้นที่ที่ยุบตัวลงนั้นเกิดเป็นฟิล์มน้ามันที่สมบูรณ์สามารถแยกหน้าสัมผัสออกจากกันได้โดย เด็ดขาด การหล่อลื่นแบบ EHD นี้พบได้ในการหล่อลื่นของลูกปืนและเกียร์ ซึ่งมักจะมีผิวหน้าโค้งทาให้พื้นที่ที่ต้องรับ น้าหนักมีขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น ด้วยแรงกดและพื้นที่เท่านี้ฟิล์มน้ามันไม่น่าจะรับน้าหนักได้ แต่ปรากฏว่าผิวหน้าเกิดยุบตัว ขยายพื้นที่รับน้าหนักและเพิ่มความหนืดน้ามันหล่อลื่นได้ การสึกหรอ (Wear) การสึกหรอ หมายถึง การต้องสูญเสียเนื้อสารจานวนหนึ่งออกไปจากชิ้นวัตถุโดยไม่ปรารถนา สาเหตุของการ สึกหรอมีหลายประการ และมักจะเกิดจากหลายสาเหตุพร้อม ๆ กัน การสึกหรอสามารถแบ่งได้ตามสาเหตุเป็น 4 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ - การสึกหรอแบบ Adhesive เกิดจากการที่ผิวโลหะมาเสียดสีกัน และยอดแหลมที่แหลมติดกันถูกกระแทก ให้แตกหักอันเป็นขบวนการเกิดแรงเสียดทานนั่นเอง น้ามันหล่อลื่นป้ องกันและลดการสึกหรอประเภทนี้โดยการทาหน้าที่ ลดการสัมผัสกันระหว่างผิวสัมผัสได้ อันเป็นการลดแรงเสียดทานไปในตัว การสึกหรอประเภทนี้มักเกิดจากการหยุดและไป ของผิวหน้าสัมผัสก่อนที่ฟิล์มน้ามันจะเกิดขึ้น หรือความล้มเหลวอื่น ๆ ของฟิล์มน้ามันที่จะแยกหน้าสัมผัสออก - การสึกหรอแบบ Abrasive เกิดจากการที่มีชิ้นส่วนของแข็งขนาดเล็กหลุดเขาไปในบริเวณผิวสัมผัส และ ครูดไถไปบนผิวหน้าที่อาจจะอ่อนกว่าชิ้นส่วนของแข็งนี้อาจจะเป็นชิ้นส่วนแปลกปลอมมาจากภายนอก หรือเศษที่แตกหัก มาจากการสึกหรอนั่นเอง ดังนั้นปัจจัยในการสึกหรอแบบ Abrasive คือ อนุภาคของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่าความหนาของ ฟิล์มน้ามันและมีความแข็งกว่าผิวหน้าสัมผัส น้ามันหล่อลื่นสามารถทาหน้าที่ชะล้างหรือพัดพาเอาอนุภาคของแข็งที่เป็น อันตรายต่อผิวหน้านี้ไปได้เป็นการลดการสึกหรอโดยที่อุปกรณ์ของระบบหล่อลื่น เช่น ชีลและไส้กรอง มีส่วนสาคัญกับ หน้าที่นี้มาก - การสึกกร่อน (Corrosive) หมายถึง การที่เนื้อสารถูกสารอื่นเข้ากัดกร่อนทาปฏิกิริยาเคมี เช่น จากใน บรรยากาศทั่ว ๆ ไป จากสารที่เกิดจากน้ามันหล่อลื่นที่เสื่อมสภาพกลายเป็นกรด หรือจากไอกรดกามะถันจากน้ามันเชื้อเพลิง ที่ใช้เผาไหม้และอื่น ๆ น้ามันหล่อลื่นช่วยลดการสึกกร่อนได้ 2 วิธี คือ การทาตัวเป็นฟิล์มเคลือบผิวหน้าป้ องกันไม่ให้ เกิดปฏิกิริยากับอ๊อคซิเจน และการที่น้ามันหล่อลื่นมีสารเคมีที่หยุดยั้งหรือชิงเข้าทาปฏิกิริยากับสารที่เป็นอันตรายนั้นเสียก่อน - Fatique Wear เกิดจากความเสียหายภายใต้ผิวหน้าอันเป็นผลมาจากการที่ผิวหน้าถูกแรงกระทาซ้า ๆ กันเป็น เวลานาน และเกิดจากการล้าของเนื้อสารนั้น อาการที่พบได้นั้นมักจะเป็นรู หรือการแตกที่เกิดโดยฉับพลัน ไม่สามารถ คาดการณ์ได้ สาหรับการสึกหรอประเภทนี้ยังไม่สามารถชี้ชัดถึงความสามารถของน้ามันหล่อลื่นว่ามีส่วนช่วยลดหรือ ป้ องกันได้ประการใด หลักการของน้ามันหล่อลื่นในการลดแรงเสียดทานและการสึกหรอจะเป็นความรู้เบื้องต้นในการออกแบบ การ เลือกใช้ และความสามารถในการใช้งานจริงของน้ามันหล่อลื่น โดยที่ควรตระหนักว่าน้ามันหล่อลื่นยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีก และบางครั้งอาจจะสาคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าหน้าที่หลัก 2 ประการนี้ก็ได้ เช่น ในงานตัดโลหะ การระบายความร้อนอาจเป็น หน้าที่ที่สาคัญที่สุด