SlideShare a Scribd company logo
1 of 198
Download to read offline
     
 
 
 
คู่มือการใช้โปรแกรม CATIA
version 5 R20
อ.ดร.วสวัชร นาคเขียว
ณัฐวุฒิ รินโน
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(เอกสารนี้ใช้ประกอบการเรียนการสอนเท่านั้น)
     
 
1 
 
เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม CATIA
CATIA Workbench คือกลุ่มโปรแกรมที่แยกออกเป็นหมวดหมู่เพื่อเหมาะสมกับลักษณะงาน
และสะดวกในการใช้งาน แต่ละกลุ่มของโปรแกรมจะประกอบด้วยโปรแกรมย่อย คือเครื่องมือ
ที่มีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกันมารวมไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจถึงขอบเขตของโปรแกรม
ย่อยที่กําหนด เช่น กลุ่มรายการของ MACHINING จะมีเครื่องมือที่ใช้ทํา CAM มีทั้งแบบ
LATHE และ MILLING
รายการโปรแกรม และ โปรแกรมย่อย
รายการโปรแกรม โปรแกรมย่อย (Mechanical Design Workbench)
Infrastructure คือรายการเครื่องมือที่ใช้จัดการสภาวะแวดล้อมของโปรแกรม
Mechanical Design คือกลุ่มรายการโปรแกรมที่รวมโปรแกรมย่อยสําหรับการออกแบบ
     
 
2 
 
Shape คือ โปรแกรมที่ใช้ออกแบบรูปทรงอิสระและออกแบบพื้นผิว
Analysis and Simulation คือโปรแกรมวิเคราะห์เชิงวิศวกรรมและจําลองการทํางานเสมือนจริง
ด้วยไฟไนต์อิลิเมนต์
AEC Plant กลุ่มรายการออกแบบเกี่ยวกับผังโรงงาน
Machining กลุ่มรายการสําหรับทํา CAM มีความสัมพันธ์กับชนิดของเครื่องจักรหรือรูปแบบการ
ผลิต
Digital Mockup โปรแกรมการจําลองระบบกลไก และทดสอบ
Equipment and Systems โปรแกรมออกแบบวงจรไฟฟ้า ระบบท่อ ระบบไฮดรอลิกส์และ
ออกแบบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
Digital Process for manufacturing โปรแกรมออกแบบขบวนการหรือกรรมวิธีในการผลิต
Machining Simulation กลุ่มโปรแกรมจําลองการทํางานของเครื่องจักรกล CNC และสร้างโค้ด
NC ส่งไปยังเครื่องจักร
Ergonomics Design and Analysis โปรแกรมออกแบบวิเคราะห์หลักการสรีระของมนุษย์
ประกอบด้วยเครื่องมือสําหรับสร้างแบบจําลองมนุษย์กําหนดคุณสมบัติ หน้าที่การทํางานและ
วิเคราะห์ประสิทธิภาพแบบจําลองมนุษย์
Knowledgeware โปรแกรมสร้างและจัดองค์ความรู้เพื่อช่วยในการออกแบบ ตัดสินใจ
     
 
3 
 
รายการโปรแกรมย่อยของแต่ละกลุ่มงาน
Infrastructure
Ergonomics Design and Analysis 
Equipment and System
Digital Process for Manufacturing
Machining  Analysis and Simulation
Shape
     
 
4 
 
เริ่มต้นการใช้โปรแกรม CATIA
เปิดโปรแกรม CATIA หน้าต่างแรกที่เจอคือ Product Structure Workbench
หน้าต่างโปรแกรมเมื่อเปิดใช้งานครั้งแรก
เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้วเจอ Product Structure Workbench ให้ปิดหน้าต่างดังรูป
Compass
Geometry Axis
Workbench features 
Specification tree 
Menu bar 
Tool bar  Status bar
Workbench
     
 
5 
 
Specification tree ทําหน้าที่ในการเก็บขั้นตอนและประวัติข้อมูลการออกแบบ
Menu bar ส่วนคําสั่งที่ทําการออกแบบและแก้ไข
Toolbar สําหรับเก็บเครื่องมือพื้นฐาน Standard tool bar สําหรับการจัดการไฟล์เอกสาร มุมมอง
การแสดงผล
Geometry Axis แกนอ้างอิงหลักในการออกแบบ
การเลือกใช้งาน Workbench
เลือกเมนู Start จากนั้นจะปรากฏกลุ่มโปรแกรมของ CATIA เช่นต้องการเรียกใช้งาน Part
Design Workbench ซึ่งอยู่ในกลุ่มรายการโปรแกรม Mechanical Design โดยเลือก Start
Mechanical Design Part design จะปรากฏกล่องข้อความเพื่อกําหนดชื่อของแบบงานพร้อมทั้ง
เลือกรูปแบบของชิ้นส่วนออกแบบ จากนั้นเลือก OK โปรแกรมจะดึงเครื่องมือการทํางานและ
ส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบชิ้นงานออกมา
Hybrid Design คือการออกแบบผสมผสานระหว่างการออกแบบทรงตัน (Solid) และการ
ออกแบบพื้นผิว (Surface)
     
 
6 
 
หน้าต่างการทํางานของ Part Design Workbench
Part Design Workbench
เมนูบาร์สามารถแยกออกได้สองแบบคือ Start Menu and Standard Menu
START MENU
Start menu จะรวมกลุ่มรายการโปรแกรมและ Workbench ทั้งหมดที่ได้ทําการติดตั้งดังรูป
ด้านล่าง จะแสดงรายการ Workbench ต่างๆที่อยู่ในกลุ่ม Mechanical Design
Default planes
Tool bar 
Part design
Sketcher workbench 
     
 
7 
 
STANDARD MENU
Standard Menu เป็นเมนูที่เก็บคําสั่งและเครื่องมือต่างๆของโปรแกรม ประกอบด้วยเมนู File,
Edit, View, Insert, Tools, Windows และ Help
รายการเมนูมาตรฐาน
     
 
8 
 
Menu File
NEW สร้างเอกสารใหม่ เอกสารนี้อาจป็นทั้ง Part Drawing analysis หรือ Product
NEW FROM เอกสารงานใหม่จากต้นแบบงานเดิม
OPEN เปิดเอกสาร
CLOSE ปิดเอกสารที่กําลังทําอยู่ในปัจจุบัน
SAVE บันทึกเอกสารปัจจุบันด้วยชื่อเดิม
SAVE AS บันทึกเอกสารการกําหนดชื่อใหม่
     
 
9 
 
SAVE ALL AS บันทึกเอกสารทั้งหมด
PRINT พิมพ์เอกสารปัจจุบัน
DESK ดูความสัมพันธ์ระหว่างเอกสาร
SENT TO ส่งข้อมูลไปยังอีเมลหรือไดเร็กทอรี่อื่น
MENU EDIT
รายการคําสั่งที่ใช้สําหรับการจัดการกับวัตถุ
เช่น การคัดลอก ค้นหา เคลื่อนย้าย เป็นต้น
Undo ยกเลิกคําสั่ง
Repeat ทําใหม่
Update ปรับปรุงเอกสารเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
Cut ตัดวัตถุที่ได้เลือกจากเอกสาร
Copy คัดลอกวัตถุที่เลือกไว้
Paste วางวัตถุที่ได้เลือกก่อนหน้า
Delete ลบวัตถุที่เลือกไว้
Search ค้นหาวัตถุที่อยู่ในเอกสาร
Selection Set เพิ่มหรือลดวัตถุจากการเลือกกลุ่ม
Define Selection เลือกรูปทรงและเก็บไว้ในกลุ่มการเลือก
     
 
10 
 
Link จัดการแก้ไขเอกสารที่เชื่อมต่อกับระบบภายนอก
Properties แสดงและแก้ไขคุณสมบัติของการฟฟิก
Scan or Define in Work Object กําหนดวัตถุงานที่กระทําปัจจุบันและสามารถ SCAN ผ่าน Part
ได้
Menu View
เป็นรายการคําสั่งการปรับเปลี่ยนการแสดงผลของชิ้นส่วน
หรือผลิตภัณฑ์ เช่น การหมุน การขยาย การย้าย และสําหรับ
กําหนดเปิด/ปิดแถบเครื่องมือในรายการ Workbench
Toolbars สําหรับเปิด ปิด แถบเครื่องมือต่างๆ
Geometry สลับไปมาระหว่างการแสดงและซ่อนชิ้นส่วนออกแบบ
Specification กําหนดการแสดง/ซ่อน Specification tree
Compass กําหนดการแสดง/ซ่อน Compass
Reset Compass รีเซ็ต Compass เพื่อกลับสู่ตําแหน่งเดิม
Tree Expansion สําหรับยืด หรือ หด รายการ Specification Tree
Specification Overviews หน้าต่างสําหรับการขยายพื้นที่ของรูปทรง
Fit all in ขยายรูปทรงให้พอดีกับหน้าจอที่กําลังทําอยู่
Zoom Area ขายพื้นที่ที่กําหนดเลือก
Zoom IN Out ขยายหรือหดชิ้นส่วน
 
     
 
11 
 
Pan แสดงการเคลื่อนย้ายชิ้นงาน
Rotate แสดงการหมุนชิ้นงาน
Modify ใช้สําหรับปรับการแสดงมุมมองของรูปทรงในแต่ละมุมมอง
ซึ่งมีหลายรูปแบบสามารถทีจะย่อและขยาย กําหนดระนาบในการมอง และมองในแนวระนาบ
ตั้งฉาก เรียกว่า Normal View สามารถจําลองการหมุนของชิ้นส่วนด้วย Turn Head สามารถ
กําหนด Fly Through หรือ Turn Through ในการออกแบบได้ตัวเลือก Previous view Next view
จะแสดงมุมมองหน้าต่อไปตามที่กําหนดไว้และตัวเลือก Look At จะเป็นการกําหนดทิศทางของ
มุมมองที่ต้องการ
Name View เลือกมุมมองภาพ เช่น มุมด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย เป็นต้น และสามารถเพิ่ม
มุมมองได้
Render Style แสดงการเรนดเอร์ชิ้นงานในแต่ละรูปแบบ สามารถกําหนดแบบของการเรนเดอร์
ด้วยตัวเลือก Customize View สามารถแสดงภาพในแต่ละ Perspective หรือแบบ Parallel ใน
โหมดของ Parallel จะแสดงขนาดจริงตามสเกลของชิ้นงาน ในโหมด Perspective พื้นที่ชิ้นส่วน
จะ Closer กับหน้าจอที่ใหญ่กว่าพื้นที่มองเห็น
Navigation Mode สลับไปมาระหว่างโหมด Examine Walk และ Fly
Lighting มุมมองการใช้แสงที่ตกกระทบ
Depth Effect ตัดรูปทรงแนวระนาบ
Ground แสดงระนาบระดับล่าง
Magnifier สร้างมุมมองของการขยายของชิ้นงานในหน้าต่างแสดงมุมมองขยาย
     
 
12 
 
Hide/Show ซ่อนหรือแสดงรูปทรง ซึ่งสลับระหว่างด้านของการซ่อนและการแสด
Full Screen แสดงรูปทรงแบบเต็มหน้าจอ จะไม่มีเมนูหรือทูลบาร์ ยกเลิกการใช้เมาท์ปุ่มขวา
Menu Insert
เป็นเมนูสําหรับการเพิ่มเติมชิ้นส่วน 3 มิติที่จะทําการ
ออกแบบ การกําหนดแกน การบังคับรูปทรงเรขาคณิต Constraints
และรวบรวมคําสั่งหรือเครื่องมือสําหรับการออกแบบตาม
ประเภทการใช้งาน ซึ่งประกอบด้วย
Object แทรกวัตถุ เช่น เอกสารกระดานคํานวณ
หรือเอกสารข้อความ
Body แทรกบอดี้ใหม่ในชิ้นส่วนที่ทําการออกแบบ
Geometrical set จัดเก็บและรวบรวมรายการการออกแบบ
ที่เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตทั้งหมด
Annotation แทรกคําอธิบายในชิ้นส่วน
Constraints แทรกการบังคับ Constraints
Sketcher เรียกใช้งาน Sketcher
Axis System กําหนดแกนใหม่ของระบบ
 
     
 
13 
 
Sketch-based Feature แทรกฟีเจอร์ของ Sketcher
Dress-Up Feature แทรกการลบมุมแบบ Fillet และ Chamfer อยู่ในส่วนของ Part Design
Surface-Based Feature แทรกหลายฟีเจอร์ของ Surface
Transformation Features แทรกหลายฟีเจอร์ของการ Transformation
Boolean Operations แทรกการทําบูลีนระหว่างบอดี้ของชิ้นส่วน
Advanced Replication Tools ใช้สําหรับสร้างและเก็บฟีเจอร์
Menu Tools
เป็นเมนูที่รวบรวมคําสั่งหรือเครื่องมือที่ใช้สําหรับกา
รจัดการของโปรแกรมและกําหนดสภาวะแวดล้อมการ
ทํางานหรือการออกแบบ เช่นเครื่องมือในการจัดการ
เกี่ยวกับขั้นตอนการออกแบบและสร้างชิ้นส่วน
การกําหนดค่าตัวแปรและสมการ การซ่อน/แสดง
การใช้กําหนด Option ของโปรแกรม เป็นต้น
Formula สร้างสูตรสมการของชิ้นงาน
Image Capture ภาพหน้าจอของชิ้นส่วนและเก็บรูปแบบไฟล์ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น TIFF,
JPEG, PNG, BMP หลังจาก Capture ภาพแล้วจัดเก็บลงใน Album ตัวเลือก Video บันทึก
ขั้นตอนการออกแบบ
 
     
 
14 
 
Macro บันทึก แก้ไข และสั่งการทํางานมาโคร
Parent/Children แสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของชิ้นงาน
Customize กําหนดทูลบาร์ซึ่งปรากฏหน้าต่าง Customize เพื่อกําหนดหรือปรับแต่งทูลบาร์
Visualization Filters สําหรับสร้างและใช้ฟิลเตอร์
Options กําหนดปรับตั้งการใช้งาน CATIA
Menu Window
New Window สร้างหน้าต่างใหม่
Tile horizontally ปรับหน้าต่างแนวนอน
Tile Vertically ปรับหน้าต่างในแนวตั้ง
Cascade ปรับหน้าต่างในนวชิดขอบด้านซ้าย
Menu Help
เป็นรายการขอความช่วยเหลือการใช้งานของคําสั่ง
หรือเครื่องมือต่างๆของโปรแกรม ในส่วนของการเลือก
ใช้ความช่วยเหลือผู้ใช้จําเป็นต้องติดตั้ง Online Documentation
CATIA V HELP เรียกใช้ความช่วยเหลือ
 
     
 
15 
 
CATIA User Companion เรียกใช้ความช่วยเหลือในลักษณะ
User Companion ซึ่งเป็นคู่มือการใช้งานที่ถูกจัดทําแบบพิเศษ
โดยบริษัท Dassault System
Content, Index and Search ค้นหาความช่วยเหลือแบบ Online
User Galaxy แสดงข้อมูลจาก Dassault Systems
About CATIA V5 เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของ CATIA
Standard Toolbar
แถบเครื่องมือมาตราฐาน เครื่องมือสําหรับการจัดการไฟล์เอกสาร เช่น ไฟล์เอกสารใหม่
เปิดไฟล์คัดลอก บันทึก เป็นต้น
New ,Open,Save,Cut,Coppy,Past,Undo,Redo,What’s This
สําหรับไฟล์บันทึกเอกสารของแต่ละ Workbench (*.CATPart, CATProduct) อีกทั้งยัง
สามารถบันทึกไฟล์เป็นรูปแบบอื่นได้เช่น *.Stl,*.igs,*.stp เป็นต้น ซึ่งชนิดไฟล์เหล่านี้สามารถ
ใช้เปิดกับโปรแกรมออกแบบอื่นได้
*** ไฟล์เอกสารนามสกุล *.igs และ *.Stp เป็นไฟล์มาตรฐานสากลที่นําไปใช้ร่วมงานกับ
โปรแกรม Solidworks NX Autocad หรือโปรแกรมวิเคราะห์ เช่น MSC MARC, ANSYS และ
ABAQUS
     
 
16 
 
View Toolbar
แถบเครื่องมือมุมมอง คือแถบเครื่องมือการจัดการแสดงผลและกําหนดมุมมองของชิ้นส่วน
ออกแบบ เช่นคําสั่งสําหรับการหด/ขยาย หมุน ย้าย ซ่อน/แสดง กําหนดมุมมองตั้งฉากกับ
หน้าจอ และมุมมองแบบ Isometric เป็นต้น
Flymode, Fill All In, Pan, Rotate, Zoom In, Zoom Out, Normal View, Create Multi-View,
Isometric View, Shading with Edges, Hide/Show, Snap visible space
Knowledge Toolbar
แถบเครื่องมือองค์ความรู้ เครื่องมือสําหรับสร้างตัวแปร สร้างสมการและความสัมพันธ์ เพื่อ
เชื่อมต่อโปรแกรมคํานวณ
Formular, URL and comments, Check analysis toolbar, Design table, Knowledge Inspector,
Lock selected parameters, Equivalent Dimensions
Status Bar
แถบแสดงสถานะแบ่งออกเป็นสามส่วนตามลักษณะการใช้งานคือ ส่วนแสดงสถานะการใช้
งานของคําสั่ง เป็นแถบแสดงสถานะการใช้งานและให้คําแนะนําการใช้งานคําสั่งต่างๆ ส่วน
การป้อนข้อมูลหรือพิมพ์เรียกคําสั่งใช้สําหรับการป้อนข้อมูลให้กับคําสั่งหรือใช้เรียกคําสั่งและ
เครื่องมือ เช่น C:Shaft เป็นการเรียกใช้เครื่องมือ Shaft หรือ C: Sketch เป็นการเรียกใช้Sketcher
Workbench เป็นต้น
     
 
17 
 
ส่วนการเปิดและปิดไดอะล็อกของเครื่องมือ ใช้สําหรับเปิดและปิดการแสดงผลของ
ไดอะล็อกบ็อกเครื่องมือต่างๆที่เรียกใช้งาน
ระนาบอ้างอิง (Default planes)
CATIA การจัดระบบอ้างอิง หรือระนาบอ้างอิงไว้ตรงกลางของพื้นที่ออกแบบ ระนาบอ้างอิง
จะสัมพันธ์กับระบบพิกัดแกน ระนาบอ้างอิงจะประกอบไปด้วย 3 ระนาบ คือ ระนาบ
XY,XZ,YZ
ระนาบอ้างอิง
การใช้งาน Specification Tree
ระนาบ XY ระนาบ YZ 
ระนาบ XZ
     
 
18 
 
Specification Tree เป็นส่วนในการจัดเก็บประวัติขั้นตอนการออกแบบเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ
และแก้ไข คือคําสั่งและตัวแปรต่างๆที่ออกแบบจะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งทุกขั้นตอน
สามารถแก้ไขได้
การใช้งาน Specification Tree
การซ่อน กดปุ่มที่คีย์บอร์ด F3 สําหรับการซ่อนและ
แสดง
การ เปิด/ปิด ใช้เมาท์คลิกส่วนใดๆของก้านโครงสร้าง
สําหรับเปิดและปิดการใช้งาน
การแตกรายการ คลิกเครื่องหมาย + หน้าฟีเจอร์นั้นๆเพื่อการ
แตกรายการ
และคลิก – เพื่อหดรายการ
ประวัติการออกแบบ
     
 
19 
 
การใช้งาน Compass
Compass ใช้สําหรับหมุนเพื่อเปลี่ยนมุมของชิ้นงาน ส่วนประกอบ หรือรูปทรงที่
ทําการออกแบบ สามมารถใช้ได้ทั้งมุมมองสองมิติและสามมิติ รายละเอียดของ Compass ดัง
รูป ตัวอักษร X,Y,Z แทนระบบแกน และจุดปลายของแกน Z จะเป็นการหมุนแบบอิสระ พื้นที่
สี่เหลี่ยมสีแดงเป็นการย้ายระนาบ XY ของ Compass ไปวางไว้ตําแหน่งใดๆของชิ้นงาน
การหมุน (Rotation)
ย้ายตําแหน่ง Compass
เคลื่อนย้ายแนวแกน Z
หมุนระนาบ XY
หมุนระนาบ ZX
เคลื่อนย้ายแนวแกน Y
หมุนระนาบ YZ
หมุนอิสระ
เคลื่อนย้ายแนวแกน X
     
 
20 
 
การเคลื่อนย้าย (Translation)
การใช้งานเมาส์
การใช้โปรแกรม CATIA ผู้ใช้ต้องทราบวิธีการใช้เมาส์ทํางานร่วมกับโปรแกรมเพราะการ
ป้อนข้อมูลหรือคําสั่งใดๆจะต้องใช้เมาส์เป็นหลัก ดังนั้นทักษะและความชํานาญของการใช้
เมาส์เป็นสิ่งสําคัญสําหรับการใช้งาน CATIA หน้าที่การใช้งานของเมาส์แบบสามปุ่ม
เมาส์ปุ่มซ้าย
ใช้เลือกเครื่องมือต่างๆ ใช้เรียกรายการเครื่องมือใน
Standard Menu ใช้เลือกส่วนของชิ้นส่วนหรือรูปทรง เช่น
ใช้คลิกเลือกเส้นขอบ พื้นผิว
เมาส์ปุ่มขวา
ใช้สําหรับการเลือกเมนูลัด ซึ่งใช้ร่วมกับเครื่องมือและ
คําสั่งสําคัญต่างๆ เช่น Specification Tree ระนาบอ้างอิง
แถบเครื่องมือ
เมาส์ปุ่มกลาง
ใช้สําหรับเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนที่ออกแบบ การใช้งานโดย
การกดเมาส์ปุ่มค้างไว้ จากนั้นลากเมาส์ไปยังตําแหน่งที่
ต้องการ
     
 
21 
 
การขยาย Zoom คลิกเมาส์ปุ่มกลางค้างไว้จากนั้นคลิกเมาส์ปุ่มขวาแล้วปล่อย (แต่ยังคงกดปุ่ม
กลางค้างไว้) จากนั้นเลื่อนเมาส์ไปข้างหน้าสําหรับการย่อขนาดหรือเลื่อนเมาส์ถอยหลังสําหรับ
การขยายขนาด
หรืออีกวิธีคือการใช้เมาส์ปุ่มกลางพร้อมทั้งกด CTRL แล้วปล่อย จากนั้นเลื่อนเมาส์ไป
ด้านหน้าและเลื่อนถอยหลังสําหรับการย่อและขยาย
การหมุน Rotate โดยการคลิกเมาส์ปุ่มกลางและเมาส์ปุ่มขวาค้างไว้จากนั้นลากเมาส์หมุนอิสระ
คีย์คําสั่งลัด (Hotkey)
การใช้คีย์ลัดใน CATIA V5 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
คีย์คําสั่งลัด หน้าที่การใช้งาน Function
ESC ยกเลิกคําสั่ง
F1 เรียกใช้Online Documentation
F3 ซ่อน/แสดง Specification Tree
CTRL+Z คําสั่งย้อนกลับ Undo
CTRL+Y คําสั่งทําซํ้า
CTRL+N สร้างไฟล์ใหม่
CTRL+O เปิดไฟล์
CTRL+S บันทึกไฟล์
ALT+ENTER เรียกเครื่องมือ Properties
CTRL+F ค้นหา
CTRL+U อัพเดทเครื่องมือ
CTRL+D เรียกคําสั่ง Fast Multi instantiation สําหรับงาน Assemble Design
CTRL+E เรียกคําสั่ง Define Multi instantiation สําหรับงาน Assemble Design
SHIFT+F1 เรียกเครื่องมือ What is this
     
 
22 
 
SHIFT+F2 เรียกใช้Specification Overview
ALT+V+M เรียกหน้าต่าง Overview on Geometry
ALT+F4 ปิดโปรแกรม
การตั้งค่าสีพื้นหลัง Color Scheme
โปรแกรม CATIA V5 สามารถปรับเปลี่ยนสีการมองเห็นได้ เช่นการเปลี่ยนสีพื้นหลัง สีของ
เส้น สีของระนาบ การตั้งค่าเลือก Tool Option จากเมนูบาร์ จะปรากฏกล่องข้อความ เลือก
Display จากนั้นคลิกแท็บ Visualization
รูปการเปลี่ยนสี
ถ้าต้องการปรับภาพพื้นหลังให้เลือกที่ Background
     
 
23 
 
ถ้าต้องการตั้งสีของเส้น
การกําหนด Favorites Workbenches
Favorites Workbenches เป็นการกําหนดรายการโปรแกรม Workbenches โดยมีขั้นตอน
ดังนี้
- คลิก Tool>Customize จะปรากฏกล่องข้อความดังรูป
     
 
24 
 
-วิธีการเพิ่ม Workbench ที่แท็บ Start menu ให้ใช้เมาส์คลิกที่รายการ Work bench ที่ต้องการเพิ่ม
ช่องจากซ้ายมือ จากนั้นคลิก รายการ Workbench จะปรากฏในช่องด้านขวา จากนั้น
ออกจากหน้าต่าง Customize
Workbench ที่เลือก
การเปลี่ยนหน่วยวัด Unit
การกําหนดหน่วยวัดสําหรับการออกแบบ เช่น ความยาว มุม เวลา มวล ปริมาตร เป็นต้น
สามารถกําหนดได้โดยส่วนของ Options ตามขั้นตอนดังนี้
-คลิก Tool> Option จากเมนูบาร์ จากนั้นจะปรากฏกล่องข้อความ Option
-เลือกรายการ General>Parameters and Measure จากนั้นเลือกแท็บ Unit
-กําหนดหน่วยตามต้องการ เช่นความยาวเป็นมิลลิเมตร หน่วยมุมเป็น องศา หน่วยเวลาเป็น นาที
-คลิก OK เพื่อออกจากกล่องข้อความ
     
 
25 
 
การเปลี่ยนระบบหน่วย
การกําหนดขนาดของ Grid Customize the Grid
-เลือก Tool > Option จากเมนูบาร์
-เลือกเครื่องหมาย + เพื่อขยายตัวเลือก Mechanical Design จากนั้นคลิก Sketch
-กําหนดระยะห่างของกริด Primary spacing:50 และ Graduation:10
Primary คือระยะห่างของกริดหลัก Graduation เป็นจํานวนของกริดย่อยต่อหนึ่งกริดหลัก เช่น
ขนาดกริดหลักมีค่าเท่ากับ 50 mm จํานวนกริดย่อย 5 กริด ดังนั้นขนาดของกริดย่อยมีขนาด
เท่ากับ 10 mm ในระยะห่าง 50 mm จะแบ่งกริดย่อยออกเป็น 5 กริด ส่วนๆละ 10 mm
-คลิกตัวเลือก Generate update errors when the sketch is under-constrained เพื่อให้โปรแกรม
อัพเดทข้อผิดพลาดอัตโนมัติของการกําหนดเงื่อนไขการบังคับ Constrain รูปทรงเรขาคณิต
-เลือก OK เพื่ออกจากกล่องคําสั่ง Option
     
 
26 
 
การตั้งค่ากริด
การวาดรูปทรงเรขาคณิต
     
 
27 
 
การวาดรูปทรงเรขาคณิต
การวาดเส้นตรง Line
เส้นตรงในโปรแกรมเขียนแบบจะประกอบไปด้วยส่วนรูปทรงเรขาคณิต 3 ส่วน คือ จุดเริ่มต้น
จุดปลาย และเส้นตรง โดยใช้จะกําหนดพิกัดจุดเริ่ม และพิกัดจุดปลาย จากนั้นจะได้เส้นตรง
การกําหนดพิกัดจุดเริ่มต้นและจุดปลายสามารถกําหนดโดยใช้เมาท์คลิกตําแหน่งใดๆบนพื้นที่
ออกแบบ หรือ ป้อนพิกัดผ่านแถบเครื่องมือ Sketch Tools
กําหนดพิกัดเส้นตรงโดยแถบเครื่องมือ Sketch tools
Specification Tree เส้นตรง Line
วิธีการสร้างเส้นตรงมี 5 วิธี คือ เส้นตรงมาตรฐาน (Line) เส้นตรงอนันต์(Infinite Line) เส้นตรงจาก
การสัมผัสส่วนโค้ง (Bi-Tangent Line) เส้นตรงระหว่างเส้นสองเส้นตัดกัน (Bisectiny Line) และ
เส้นตรงที่ตั้งฉากกับส่วนโค้ง (Normal to Curve)
Line Normal to Curve 
Bisectiny LineBi‐Tangent Line 
Infinite Line 
Line 
     
 
28 
 
Line
เส้นตรงโดยการกําหนดจุด
สองจุด
 
Infinite Line 
เส้นตรงความยาวอนันต์
กําหนดทิศทางด้วยจุดสองจุด
 
Bi-tangent Line
สร้างเส้นตรงสัมผัสกับส่วน
โค้ง
 
Bisection Line
สร้างเส้นตรงตัดกันของ
เส้นตรงสองเส้น
 
Normal on Curve
เส้นตรงที่ตั้งฉากกับส่วนโค้ง
     
 
29 
 
การสร้างเส้นตรง
คลิกเลือกไอคอนเส้นตรง จากแถบเครื่องมือวาดรูปทรงเรขาคณิต 2 มิติ จากนั้นใช้เมาท์คลิก
พิกัดของจุดเริ่มต้นไปจุดปลายของเส้น หรือป้อนจากแถบเครื่องมือ Sketch tool
การวาดเส้นตรง
การวาดเส้นตรงอนันต์
คลิกเลือกไอคอนเส้นตรงอนันต์ จากแถบเครื่องมือ แถบเครื่องมือจะแสดงไอคอนคําสั่ง
รูปแบบการสร้าง 3 แบบ คือเส้นตรงอนันต์แนวนอน แนวตั้ง และลากผ่านสองจุด
     
 
30 
 
การวาดเส้นตรงอนันต์
การสร้างเส้นตรงสัมผัสสองส่วนโค้ง
เลือกไอคอน จากแถบเครื่องมือ จากนั้นคลิกที่ส่วนโค้งแรกและคลิกเลือกส่วนโค้งที่สอง
การสร้างเส้นตรงสัมผัสส่วนโค้ง
     
 
31 
 
การสร้างเส้นตรงอาศัยการตัดกันของเส้นตรงสองเส้น
เลือกไอคอน จากทูลบาร์ เลือกเส้นตรงเส้นแรกจากนั้นเลือกเส้นตรงเส้นที่สอง
การสร้างเส้นตรงอาศัยการตัดกันของเส้นตรงสองเส้น
การสร้างเส้นตรงตั้งฉากกับส่วนโค้ง
เลือกไอคอน จากแถบเครื่อง เลือกส่วนโค้งที่ต้องการสร้างเส้นตั้งฉาก
การสร้างเส้นตรงตั้งฉากกับส่วนโค้ง
     
 
32 
 
การสร้างเส้นผ่าศูนย์กลาง
เป็นเครื่องมือสําหรับสร้างแกนอ้างอิง โดยปกติแล้วแกนอ้างอิงจะใช้คู่กับเครื่องมือ Shaft สําหรับ
สร้างวัตถุทรงทึบตับ โดยการหมุน
คําสั่งสร้างโปร์ไฟล์
เป็นการสร้างรูปทรงเรขาคณิตแบบต่อเนื่องที่ผสมระหว่างเส้นตรงและส่วนโค้ง การวาดเส้น
แบบต่อเนื่องระหว่างเส้นโค้งและเส้นตรง กล่าวคือจุดปลายของเส้นตรงส่วนโค้งจะเป็นจุดเริ่มต้น
ของเส้นตรง ส่วนโค้งถัดไป การวาดเส้นตรงแบบต่อเนื่องกระทําได้ทั้งแบบรอบปิด หรือแบบรอบ
เปิด เมื่อเรียกใข้เครื่องมือ Profile แถบเครื่องมือ Sketch tool จะปรากฏสั่งให้เลือกแบบของเส้นที่จะ
สร้างสามแบบ คือ เส้นตรง ส่วนโค้งจากจุดสัมผัส และส่วนโค้งที่สร้างจากจุดสามจุดพร้อมทั้งมีฟิลด์
สําหรับป้อนค่าพิกัด ซึ่งฟิลด์สําหรับป้อนค่านี้จะแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะของเส้นที่สร้าง
Tangle Arc 
Tree point Arc 
Line 
     
 
33 
 
เครื่องมือสร้างรูปทรงสี่เหลี่ยมอย่างง่าย
แถบเครื่องมือสําหรับการสร้างรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐานแบบปิดในรูปแบบต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม
สี่เหลี่ยมมุมเอียง สี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปหกเหลี่ยม และรูปทรงอื่นๆ แถบเครื่องมือ Predefined
profile จะมีเครื่องมือทั้งหมด 9 อย่าง
1.การสร้างสี่เหลี่ยมมุมฉาก
เลือกคําสั่ง Rectangle คลิกเลือกจุดเริ่ม ลากเมาท์ไปยังจุดที่สอง จากนั้นคลิก
     
 
34 
 
การสร้างสี่เหลี่ยมมุมฉากแบบปรับเอียง
เลือกไอคอน จากนั้นคลิกเมาท์ที่จุดเริ่ม จากนั้นเลื่อนเมาท์ไปยังจุดที่สอง เสร็จแล้วเลื่อนเมาท์
ไปคลิกยังจุดสุดท้ายเพื่อชิ้นงานจะยืดออก โดยกําหนดความหนาของรูปได้
การสร้างสี่เหลี่ยมมุมฉากแบบปรับเอียง
การสร้างสี่เหลี่ยมด้านขนาน
เลือกไอคอนสี่เหลี่ยมด้านขนาน จากแถบเครื่องมือ เลื่อนเมาท์คลิกที่จุดที่หนึ่ง จากนั้นเลื่อน
เส้นตรงให้เอียงแล้วคลิกเพื่อกําหนดจุดที่สอง จากนั้นจะกําหนดความสูงของสี่เหลี่ยมด้วยการเลื่อน
เมาท์ขึ้นด้านบนของเส้นตรงนั้นๆ
     
 
35 
 
การสร้างสี่เหลี่ยมด้านขนาน
การสร้างรูปทรง Elongated hole
เลือกไอคอน จากนั้นกําหนดจุดที่หนึ่งและสองแล้วเลื่อนเมาท์ออกด้านข้างเพื่อกําหนดความ
กว้างของรูป
การสร้างรูปทรง Elongated hole
     
 
36 
 
การสร้างรูปทรง Cylindrical Elongated hole
เลือกไอคอน จากนั้นกําหนดจุดที่หนึ่งเพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม จากนั้นกําหนดจุดที่
สองเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของส่วนโค้ง แล้วกําหนดจุดที่สามหรือก็คือความยาวของ Elongated นั้นเสร็จ
แล้วกําหนดความยาวโดยการเลื่อนเมาท์ออกมาด้านข้าง
การใช้คําสั่ง Keyhole
เลือกคําสั่ง Keyhole จากแถบเครื่องมือ Predefined profile จากนั้นกําหนดจุดศูนย์กลางของหัว
กุญแจและจุดเริ่มต้นของเส้นศูนย์กลาง หรือ ป้อนพิกัดผ่านแถบเครื่องมือ Sketch tool จากนั้นคลิก
เพื่อกําหนดจุดปลายของเส้นศูนย์กลาง เสร็จแล้วคลิกเพื่อกําหนดรัศมีของก้านกุญแจ ส่วนสุดท้าย
เลื่อนเมาท์ไปคลิกพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อกําหนดรัศมีของหัวกุญแจและขนาดความยาวของก้านกุญแจ
     
 
37 
 
คําสั่ง Keyhole
การสร้างรูปทรงหกเหลี่ยม Hexagon
เลือกไอคอน เลื่อนเมาท์ไปคลิกที่พิกัด (0,0) เพื่อกําหนดจุดศูนย์กลางหกเหลี่ยม จากนั้นเลื่อน
เมาท์ออกด้านข้างคลิกซ้ายหนึ่งครั้งเพื่อกําหนดความโตของรูปหกเหลี่ยม
รูปทรงหกเหลี่ยม Hexagon
     
 
38 
 
การสร้างสี่เหลี่ยมจากจุดศูนย์กลาง Center Rectangle
เลือกไอคอน เลือกเมาท์คลิกจุดที่ผู้ใช้กําหนดให้แป็นจุดศูนย์กลางเพื่อสร้างสี่เหลี่ยม จากนั้น
เลื่อนเมาท์ออกด้านข้างเพื่อกําหนดความยาวและความกว้างของสี่เหลี่ยม จะได้รูปทรงสี่เหลี่ยมโดย
ด้านทั้งสองจะมีขนาดเท่ากัน
สี่เหลี่ยมจากจุดศูนย์กลาง Center Rectangle
การสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานจากจุดศูนย์กลาง Center Parallelograms
เลือกไอคอน จากนั้นเลือกเส้นตรงที่1และเส้นตรงที่สอง เลื่อนเมาท์ออกด้านข้างเพื่อกําหนด
ความกว้างและความยาวของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
     
 
39 
 
สี่เหลี่ยมด้านขนานจากจุดศูนย์กลาง Center Parallelograms
เครื่องมือสร้างจุด Point
ในโปรแกรม CATIA V5 การสร้างจุดสามารถสร้างได้5 วิธี
1.สร้างโดยระบบ เมื่อทําการวาดรูปต่างๆ เช่น สร้างเส้นตรง Line จะกําหนดจุดที่ปลายทั้งสองด้าน
โดยอัตโนมัติ เมื่อสร้างวงกลมระบบจะกําหนดจุดศูนย์กลางให้ จะเห็นได้ว่าจุดที่ระบบสร้างให้มิได้
ใช้คําสั่งสร้างจุดแต่อย่างใด ซึ่งพิกัดของจุดดังกล่าวที่สร้างมาสามารถที่จะทําการปรับแก้ไขได้โดย
การดับเบิ้ลคลิกที่จุด และป้อนค่าใหม่
2.สร้างโดยผู้ใช้ โดยการใช้เมาท์คลิกพิกัดใดๆ หรือโดยการป้อนค่าพิกัด เช่น การสร้างจุด 3 จุดจาก
เส้นตรง เป็นต้น
     
 
40 
 
สร้างจุดโดยการใช้เมาท์คลิกตําแหน่งที่ต้องการในบริเวณพื้นที่ทํางาน
สร้างจุดโดยการกําหนดพิกัดในระบบ 2 มิติ
สร้างจุดหลายๆจุดโดยการแบ่งระยะห่างเท่าๆกันบนเส้นตรง หรือส่วนโค้ง
สร้างจุดโดยการตัดกันระหว่างอิลิเมนต์สองอิลิเมนต์
สร้างจุดโดยการฉายลงไปยังส่วนโค้ง การฉายของจุดก็จะตั้งฉากกับส่วนโค้ง
หรือแนวตามทิศทางหมุน
เครื่องมือการสร้างวงกลมและส่วนโค้ง
ใน CATIA V5 วงกลมจะประกอบด้วย 2 อิลิเมนต์คือ point ใช้สําหรับกําหนดพิกัดจุดศูนย์กลางของ
วงกลม และ วงกลม Circle1 เพื่อกําหนดรัศมีของวงกลม ในกรณีของการสร้างส่วนโค้งจะใช้จุด
กําหนดพิกัดอย่างน้อยสองจุด คือ Point2 เพื่อกําหนดจุดเริ่มต้นและจุดปลายของส่วนโค้ง ดังรูป
Projection Point Point by Clicking 
Point by Coordination 
Equidistant  Point 
Intersection  point 
     
 
41 
 
การจัดเก็บอิลิเม้นของวงกลมและส่วนโค้ง
แถบเครื่องมือต่างๆของการสร้างส่วนโค้งและวงกลม
Circle 
สร้างวงกลมกําหนดจุดศูนย์กลางและรัศมี
3 Point Circle  สร้างวงกลมโดยการผ่านจุดสามจุด
Circle Using Coordinate  สร้างวงกลมโดยการระบุตําแหน่งผ่านไดอะล็อกบ็อก ป้อน
ระบบพิกัดฉากหรือโพลาร์และรัศมี
Tri‐tangle Circle 
สร้างวงกลมโดยอาศัยส่วนสัมผัสของเส้นโค้งอย่างน้อยสามเส้น
Arc Circle 
3 Point Circle 
Circle Using Coordinate Tri‐tangle Circle
3 Point Arc starting With Limits
3 Point Arc 
     
 
42 
 
3 Point Arc  สร้างส่วนโค้งโดยอาศัยจุดสามจุด โดยอาศัยขอบเขตของส่วน
โค้ง
3 Point Arc starting With 
Limits 
สร้างส่วนโค้งอาศัยจุดสามจุดโดยอาศัยขอบเขตของส่วนโค้ง
จากจุดแรกและจุดที่สองออก
Arc  สร้างส่วนโค้งจากการกําหนดจุดศูนย์กลางและคลิกขอบเขต
การสร้างวงกลม
เลือกไอคอน จากนั้นเลื่อนเมาท์ไปยังตําแหน่งจุดศูนย์กลาง เลื่อนเมาท์ออกเพื่อกําหนดความโต
ของวงกลม หรือป้อนค่าพิกัด และรัศมีผ่าน Sketch tool
รูปวงกลม
     
 
43 
 
การสร้างวงกลมจากจุด 3 จุด
เลือกไอคอน เลื่อนเมาท์คลิกพิกัดจุดแรก จากนั้นเลื่อนไปจุดที่สอง และเลือกจุดสุดท้าย
การสร้างวงกลมแบบระบุพิกัด
คลิกไอคอน จากนั้น เลือกค่าพิกัด H และ V จากนั้นก็ไปป้อนค่ารัศมีและมุม
จุด1
จุด3 
จุด2
     
 
44 
 
การสร้างวงกลมอาศัยส่วนสัมผัส 3 ส่วน
เลือกไอคอน จากนั้นเลื่อนเมาท์ไปคลิกเส้นโค้งทั้งสาม โปรแกรมจะทําการกําหนดจุด
ศูนย์กลางเอง
การสร้างส่วนโค้งจากจุด 3 จุด
เลือกไอคอน จากนั้นเลือกพิกัดจุดเริ่มต้น เสร็จแล้วกําหนดพิกัดจุดที่สอง และพิกัดจุดสุดท้าย
     
 
45 
 
การสร้างส่วนโค้งจากจุด 3 จุด
การสร้างส่วนโค้งจากจุด 3 จุดโดยใช้ลิมิต
เลือกไอคอน คลิกจุดเริ่มต้นจากนั้นเลือกจุดปลาย เสร็จแล้วเลื่อเมาท์ออกด้านข้างเพื่อกําหนด
ความโตของวงกลม
ชุดเครื่องมือการสร้างเส้น Spline
เส้น Spline คือเส้นแบบต่อเนื่องที่ลากผ่านจุดแต่ละจุด โดยสามารถควบคุมทิศทางการสัมผัสผ่านจุด
ที่เชื่อมต่อ การสร้างเส้น Spline ใน CATIA V5 แบ่งออกเป็น 2 โหมด คือ เส้น Spline ในโหมดของ
2D และการสร้างเส้น Spline ในโหมดของ 3D แต่ Spline ในโหมด 3Dนั้นสามารถใช้ได้เฉพาะการ
ออกแบบรูปทรง Wireframe Surface หรือ Generative Shape Design
การวาดเส้น 2D Spline จะคล้ายกับการวาดเส้น โปรไฟล์ต่างกันที่เส้น Spline สามารถควบคุมความ
ต่อเนื่องและความลื่นไหลของส่วนโค้งได้โดยการควบคุมผ่านจุดควบคุม
     
 
46 
 
แถบเครื่องมือ Spline
การสร้างเส้น Spline
เลือกไอคอน จากนั้นเลื่อนเมาท์ไปคลิกเพื่อกําหนดจุดเริ่มในตําแหน่งที่ต้องการ จากนั้นจึงค่อย
เลื่อนไปหาจุดต่อๆไป เมื่อกําหนดหรือลากเส้นโค้งเสร็จแล้ว ให้กด ESC บนแป้นพิมพ์เพื่อออกจาการ
ทํางาน
เส้น Spline แบบที่2 คือเมื่อเราสร้างเส้น Spline เสร็จแล้วแต่ถ้าเมื่อเราคลิกขวาแล้วเลือก Close Spline
โปรแกรมจะกําหนดเส้นโค้งจากจุดสุดท้ายมาหาจุดเริ่มต้นโดยอัตโนมัติ
Connect Spline 
     
 
47 
 
การเชื่อมส่วนโค้งด้วย Connect
คือการสร้างเส้น Spline ที่เกิดจากการเชื่อมต่อเส้นระหว่าง 2 เส้น เส้น Spline ที่เกิดจากการเชื่อมต่อมี
รูปแบบที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทิศทางและแนวสัมผัสระหว่างจุดเชื่อมต่อนั้นๆ เส้น Spline ที่เกิด
จากการเชื่อมต่อสามารถจําแนกออกเป็นสองกลุ่มหลักคือ
1.เชื่อมต่อเส้นสองเส้นด้วยส่วนโค้ง (connect with an arc)
2.เชื่อมต่อเส้นสองเส้นด้วย Spline (Connect with a spline) วิธีการนี้จะมีรูปแบบการกําเนิดเส้น
เชื่อมต่ออยู่สามวิธี คือ ความต่อเนื่องกับจุด (Continuity in point) ความต่อเนื่องในการสัมผัส
(Continuity in tangency) และความต่อเนื่องส่วนโค้ง (Continuity in Curvature)
Continuity in Curvature 
Continuity in point 
Continuity in tangency Connect with a spline 
connect with an arc 
     
 
48 
 
การเชื่อมต่อเส้นด้วยส่วนโค้ง (Connect with an Arc)
1.คลิกไอคอน จากแถบเครื่องมือ Spline จากนั้นคลิกตัวเลือก จากแถบเครื่องมือ Sketch
tools
2.จากรูปคลิกจุดปลายของเส้นโค้ง จุดที่1 และ 2
เลือกจุดปลายที่1 และ 2 การเชื่อมต่อเส้นด้วยส่วนโค้ง
การเชื่อมต่อด้วยส่วนโค้ง Spline connect
1.เลือกไอคอน Continuity in point จากนั้นเลือกจุดปลายเส้น ที่1 และ2 หรือเลือก in tangency
จากนั้นเลือกจุดปลายทั้งสอง ดังรูป
Continuity in point Continuity in tangency
     
 
49 
 
การบอกขนาดและการบังคับ Constraints and Dimension
ในการเขียนแบบและออกแบบทางด้านวิศวกรรม การบอกขนาดและบังคับรูปทรง (เส้น ส่วนโค้ง
จุด วงกลม) เป้นความรู้ขั้นพื้นฐานและจําเป็นที่นักออกแบบต้องเรียนรู้และสามารถปฎิบัติได้ สําหรับ
โปรแกรม CATIA V5 การบังคับรูปทรง Constrain และการบอกขนาด Dimension สามารถ
กําหนดให้ดําเนินการโดยอัตโนมัติ หรือ กําหนดโดยผู้ใช้ขณะที่ทําการสร้างรูปทรงเรขาคณิต โดย
โปรแกรมจะแนะนําให้บังคับรูปทรงอัตโนมัติ ซึ่งมีความสะดวกและรวดเร็วมากในการออกแบบ
แสดงแถบเครื่องมือ Constraint ในโหมด Sketch ภายใต้แถบเครื่องมือนี้จะมีเครื่องมือในการบอก
ขนาดและบังคับรูปทรงในแบบต่างๆ เช่นการบังคับเส้นแนวนอน แนวตั้ง สัมผัสแบบ tangent
แถบเครื่องมือ Constraint
ในการกําหนด Constraint สามารถจําแนกทางปฎิบัติออกเป็นสองแนวทาง คือ การบังคับรูปทรง
Geometry Constraint และการกําหนดขนาด Dimension Constraint
การบังคับโดยการบอกขนาด Dimensional Constraints
Distance กําหนดระยะห่างระหว่างสองอิลิเมนต์
Length กําหนดความยาวของอิลิเมนต์
Angle กําหนดมุมระหว่างสองอิลิเมนต์
Radius/Diameter รัศมีหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมหรือส่วนโค้ง
Animate Constraint 
Edit Multi‐Constraint 
Constraint Defined in 
Dialog Box 
Fix together 
Auto Constraint Contact Constraint 
Constraint 
     
 
50 
 
Semimajor Axis แกนสมสาตรหลักของรูปวงรี
Semiminor Axis แกนสมมาตรรองของรูปวงรี
การบังคับโดยการกําหนดรูปทรง Geometrical Constraints
ชื่อ สัญลักษณ์ ความมาย
Symmetry กําหนดให้สมมาตรกับแกนหรือเส้นตรง
Midpoint กําหนดให้อิลิเมนต์อยู่ตําแหน่งกึ่งกลางของอิลิเมนต์อื่น
Equidistant
point
กําหนดให้จุดสามจุดหรือหลายๆจุดมีระยะห่างเท่าๆกัน
Fix กําหนดตําแหน่งของอิลิเมนต์ให้อยู่กับที่ไม่ให้เคลื่อนย้าย
Coincidence กําหนดให้ส่วนหนึ่งเท่ากับอีกส่วนหนึ่ง
Concentricity กําหนดให้วงกลมหรือส่วนโค้งอยู่ในตําแหน่งร่วมศูนย์กัน
Tangency กําหนดให้อิลิเมนต์อยู่ในแนวสัมผัสเดียวกับอิลิเมนต์อื่นๆ
Parallelism บังคับเส้นตรงให้ขนานกับเส้นตรงอื่นๆ
Perpendicularity บังคับเส้นตรงให้ตั้งฉากกับเส้นอื่น
Horizontality กําหนดให้เส้นตรงอยู่ในแนวนอน
Verticality บังคับเส้นตรงในแนวตั้ง
     
 
51 
 
การใช้งาน Constraint แบบอัตโนมัติ
ในโหมด Sketcher ของ CATIA V5 ขณะที่ทําการวาดรูปทรงเรขาคณิตใดๆผู้ใช้สามารถกําหนดการ
บังคับ Constraint ของรูปทรงนั้นๆโดยอัตโนมัติ ด้วยการคลิกไอคอนการบังคับรูปทรง Geometry
Constraint และหรือ ไอคอนการบังคับการบอกขนาด Dimension Constraint ที่แถบ
เครื่องมือ sketch tools
ไอคอนสําหรับการบังคับรูปทรงและกําหนดขนาดโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างการบังคับ Constraint อัตโนมัติสําหรับการวาดวงกลม
1.เลือกไอคอน
2.คลิกไอคอน
3.ป้อนพิกัดจุดศูนย์กลาง 50 ,50 และกําหนดรัศมี 30 มิลลิเมตร
4.จะได้วงกลมพร้อมการบังคับเงื่อนไขการกําหนดขนาด
Geometrical Constraint Dimensional Constraint 
     
 
52 
 
แต่อย่างไรก็ตามการวาดรูปทรงเรขาคณิตที่ซับซ้อน การบังคับเงื่อนไข Constraint อาจจะไม่ครบ
สมบูรณ์ จําเป็นต้องกําหนดการบังคับเงื่อนไข Constraint แบบ Manual เช่นการวาดรูปทรงเรขาคณิต
จะเห็นได้ว่าการบังคับเงื่อนไข Constraint ยังไม่สมบูรณ์
การบังคับเงื่อนไข Constraint ของรูปทรงเรขาคณิตที่ยังไม่สมบูรณ์
การใช้งาน Constraint แบบ Manual
เมื่อทําการวาดรูปทรงเรขาคณิตเสร็จ ผู้ใช้สามารถกําหนดเงื่อนไขบังคับขนาดและรูปทรงได้โดยการ
คลิกไอคอนกําหนด Constraint ผ่าน Dialogbox หรือไอคอน เป็นการกําหนด Constraint
โดยการใช้เมาท์คลิกรูปทรงนั้นๆ
Constraint define in dialogbox เป็นคําสั่งกําหนดรูปทรงเรขาคณิตหรืออิลิเมนต์แต่
ละแบบ โดยเลือกจาก Dialogbox Constraint defimition เลือกชนิดของการกําหนดเงื่อนไขที่
ต้องการ โดยการบังคับเงื่อนไขนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของรูปทรงเรขาคณิต หรือแม้กระทั่งขึ้นอยู่
กับจํานวนการเลือกอิลิเมนต์เช่น เส้นตรง 1 เส้น การบังคับเงื่อนไขที่สามารถกระทําได้คือ กําหนด
ขนาดความยาว Length ,fix,แนวนอน และ แนวตั้ง เป็นต้น
     
 
53 
 
ไดอะล็อกบ็อก Constraint Definition
Constraint กําหนดเงื่อนไขบังคับแบบพื้นฐาน การใช้งานโดยการคลิกไอคอน จากนั้นเลือก
รูปทรงเรขาคณิตหรือ อิลิเมนต์ที่ต้องการบังคับ โปรแกรมจะกําหนดเงื่อนบังคับการบอกขนาดให้
อัตโนมัติ เช่น หากเป็นวงกลมก็จะบังคับการบอกขนาดเป็นรัศมีหรือเส้นผ่าศูนย์กลาง
การกําหนดเงื่อนไขแบบ Manual
ใช้สําหรับการแก้ไขเงื่อนไขการบังคับรูปทรงเรขาคณิตหลายๆค่า เช่น ค่าของการกําหนด
ขนาดต่างๆใช้งานโดยการคลิกไอคอน จะปรากฎไดอะล็อกบ็อก Edit Multi-Constraint
จากนั้นแก้ขนาดเงื่อนไขตามความต้องการ
     
 
54 
 
ไดอะล็อกบ็อก Edit Multi-Constraint
สําหรับการกําหนดเงื่อนไขแบบ Animation เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของ Constraint
เมื่อมีการเคลื่อนไหว ช่วยวิเคราห์การออกแบบกลไก เป็นต้น
ความครบถ้วนและความถูกต้องของการกําหนดเงื่อนไขและการบอกขนาดเป็นสิ่งสําคัญ
สําหรับการออกแบบรูปทรงเรขาคณิต 2 มิติ การบังคับ Constraint ใน CATIA V5 สีของเส้นจะบ่ง
บอกสถานะการบังคับ Constraint โดยความสัมพันธ์ระหว่างสีและสถานะของรูปทรงเรขาคณิต
ดังนี้
สี สถานะ
ขาว ยังไม่ได้กําหนดขนาด
เขียว กําหนดเงื่อนไขการบอกขนาดสมบูรณ์แล้ว
ม่วง กําหนดขนาดทับซ้อนกัน
แดง รูปทรงผิดกําหนดขนาดไม่ได้
     
 
55 
 
การสร้างมุมโค้ง Corner
การสร้างมุมโค้งจากเส้นสองเส้นมีอยู่หลายรูปแบบ เมื่อคลิกไอคอน จะปรากฎตัวเลือกรูปแบบ
ของการสร้างมุมโค้งที่แถบเครื่องมือ Sketch Tools
 Trim all Elements  สร้างมุมโดยการตัดอิลิเมนต์ทั้งสองแล้วเกิดมุม
 Trim First Element  ตัดอิลิเมนต์แรกที่เลือกแล้วสร้างมุมตามอิลิเมนต์แรก
 No Trim  สร้างมุมโดยไม่ตัดอิลิเมนต์ทั้งสอง
 Construction Line No Trim  สร้างมุมแล้วเปลี่ยนเป็นเส้นมาตรฐาน
 Construction Line Trim  สร้างมุมและเปลี่ยนอิลิเมนต์ทั้งสองเป็นเส้นโครงสร้าง
Standard Line Trim  สร้างมุมเป็นเส้นโครงสร้างและเปลี่ยนอิลิเมนต์เป็นเส้น
โครงสร้างด้วย
Construction Line No Trim
Construction Line Trim
No Trim 
Standard Line Trim
Trim First Element 
Trim all Elements 
     
 
56 
 
การใช้คําสั่ง Corner แบบต่างๆ
การสร้างมุมเหลี่ยม Chamfering
การสร้างมุมเหลี่ยมจากเส้นสองเส้นมีอยู่หลายรูปแบบ เมื่อคลิกไอคอน จะปรากฎตัวเลือก
รูปแบบของการสร้างมุมโค้งที่แถบเครื่องมือ Sketch tool
Trim First Element 
Trim all Elements Standard Line Trim Construction Line Trim 
Construction Line No TrimNo Trim 
Standard Line Trim
No Trim Construction Lin No Trim 
Trim first Elements  Construction Line Trim
Trim all Elements 
     
 
57 
 
เครื่องมือสําหรับการลบหรือตัดเส้น Relimitations
กลุ่มเครื่องมือสําหรับการลบหรือตัดเส้นประกอบด้วยเครื่องมือหลักๆ คือ เครื่องมือ Trim, Break,
Quick Trim, Close และ Complement ไอคอนและคําอธิบายของคําสั่งดังกล่าว
การใช้เครื่องมือ Trim
เป็นเครื่องมือในการลบเส้นที่ไม่ต้อวการออกในกรณีที่เส้นสองเส้นตัดกัน อย่างไรก็ตามหากเส้นทั้ง
สองไม่ตัดกัน เครื่องมือนี้สามารถยืดเส้นให้บรรจบกันได้เมื่อเรียกใช้งานเครื่องมือ Trim โดยคลิก
ไอคอน จะมีตัวเลือกย่อยสําหรับการลบเส้น คือ ลบทั้งมุมหลังจุดตัด และลบเฉพาะเส้นแรก
Trim all Elements 
Standard Line Trim Construction Line Trim 
No Trim Trim first Elements 
Construction Line No Trim 
Complement
Quick Trim
Break  Close 
Trim 
     
 
58 
 
ขั้นตอนการใช้คําสั่ง Trim
1.คลิกไอคอน แถบเครื่องมือ Sketch tools จะแสดงไอคอนสองไอคอน Trim All Elements
และไอคอน Trim First Element
2.หากต้องการลบเส้นออกทั้งหมด คลิกเลือกไอคอน หรือหารต้องการลบเฉพาะเส้นแรกให้
เลือกคลิกไอคอน
การใช้เครื่องมือ Quick Trim
เป็นเครื่องมือลบเส้นที่ไม่ต้องการออกเช่นเดียวกับ Trim แต่ Quick Trim จะลดขั้นตอนออกโดยเลือก
เส้นที่ต้องการลบ ตัดเพียงเส้นเดียว เมื่อคลิกไอคอน จะปรากฎเครื่องมือย่อยสามแบบที่
เครื่องมือ Sketch Tools คือ Break and Rubber in เป็นการลบเส้นที่เลือกออก Break And
Rubber Out เป็นการเก็บเส้นที่เลือกไว้บนเส้นหลักจุดตัด และ Break And Keep เป็นการ
ตัดเส้นออกเป็นส่วนๆ
Trim All 
Trim First 
เลือกเส้นที่1 
เลือกเส้นที่2 
เลือกเส้นที่1 
เลือกเส้นที่2 
     
 
59 
 
การใช้งานเครื่องมือ Quick Trim
การใช้แถบคําสั่ง Transformation
เป็นคําสั่งช่วยเขียนแบบ เช่น ต้องการเขียนแบบงานที่ส่วนเหมือนกันเพิ่ม หรือต้องการหลายๆส่วน
หรือต้องการแบบงานที่โตกว่าแต่ลักษณะเหมือนของเดิม หรือต้องการก็อปปี้ เส้นโดยไม่ต้องมาวาด
เส้นใหม่ จะใช้คําสั่ง เช่น Mirror, Translate, Rotate, Scale, Offset
การใช้คําสั่ง Mirror
คือคําสั่งก็อปปี้ งานแบบกระจกเงา
1.เลือกเส้นหรือชิ้นงานที่ต้องการ Copy
Break and Rubber in Break and Rubber Out 
Break And Keep
Offset Mirror 
Symmetry 
Translate 
Rotate 
Scale 
     
 
60 
 
2.เลือกคําสั่ง Mirror
3.เลือกเส้นแบ่งกลาง ดังรูป
การใช้คําสั่ง Mirror
การใช้คําสั่ง Symmetry
คือคําสั่งเคลื่อนย้ายแบบตรงข้ามชิ้นงานเดิม โดยเลือกไอคอน จากนั้นเลือกเส้นกรอบรูป
จากนั้นเลือกเส้นแบ่ง เป็นคําสั่งที่ใช้แบบเดียวกับคําสั่ง Mirror
การใช้คําสั่ง Symmetry
เลือกเส้นกรอบรูปทั้งหมด
เลือกเส้นแบ่ง
     
 
61 
 
การใช้คําสั่ง Translate
คือคําสั่งเพิ่มจํานวนชิ้นงานตามแนวแกนที่กําหนด ใช้งานโดยเลื่อนเมาท์ไปคลิกคําสั่ง Translate
จะปรากฎ ไดอะล็อกบ็อกเพื่อใส่จํานวน และระยะห่างของชิ้นงาน จากนั้นเลือกเส้นหรือแบบ
งานที่เราต้องการเพิ่มจํานวน เมื่อเลือกเส้นหรือแบบงานแล้วทําการกําหนดจุดเพื่ออ้างอิงตําแหน่งเริ่ม
การใช้คําสั่ง Translate
การใช้คําสั่ง Rotate
คือการหมุนชิ้นงาน ตามขนาดที่ผู้ใช้กําหนดเอง การใช้คําสั่ง Rotate เลื่อนเมาท์คลิกไอคอน จะ
ปรากฏไดอะล็อกบ็อก ของคําสั่ง เพื่อกําหนดมุมและจํานวนของชิ้นงาน จากนั้นกําหนดจุดหมุน และ
เลือกจุดเริ่มต้นการหมุน
     
 
62 
 
คําสั่ง Rotate
การใช้คําสั่ง Scale
คือคําสั่งที่ใช้เพิ่ม หรือ ลดขนาดความโตของแบบงาน วิธีการใช้เลือกแบบงาน จากนั้น เลื่อนเมาท์ไป
คลิกไอคอน จะปรากฏไดอะล็อกบ็อก เพื่อกําหนด Scale ของชิ้นงาน จากนั้นเลือกจุดเริ่ม
คําสั่ง Scale
     
 
63 
 
การใช้คําสั่ง Offset
เป็นคําสั่งคัดลอกวัตถุเดิมขึ้นมาใหม่ให้ขนานกับวัตถุเดิมโดยมีการกําหนดระยะห่างจากจุดเดิม การใช้
งาน เลือกไอคอน จากนั้นเลือกแบบงาน หรือเส้นตรง หรือ เส้นโค้งที่ต้องการคัดลอก เมื่อเลือก
แบบงานแล้วทําการเลื่อนเมาท์เพื่อกําหนดชิ้นงานให้เล็กหรือโตกว่าชิ้นงานหลัก หรือใส่ในช่องคําสั่ง
Sketch Tools
การใช้คําสั่ง Offset
เส้นประสีฟ้าคือเส้น
Offset เมื่อขยายหรือ
ลดลงแล้วคลิกซ้ายที่เมาท์
1ครั้ง
     
 
64 
 
ตัวอย่างที่ จงวาดรูปเรขาคณิต 2 มิติ พร้อมกําหนดเงื่อนไขบังคับให้สมบูรณ์ถูกต้องตามแบบงานที่
กําหนดให้
คําสั่งที่ใช้
Circle, line, Elongate Hole, Center Line ,Profile
ขั้นตอนการออกแบบ
1.สร้างไฟล์งานใหม่ โดยคลิกเลือก Start Mechanical Design Part Design
2.จะปรากฏไดอะล็อกบ็อก New Part กําหนดชื่อชิ้นงาน จากนั้นเลือก Enable hybrid Design และ
คลิก OK โปรแกรมจะนําเข้าสู่โหมด Part Design Workbench
3.คลิกไอคอน Sketch จากนั้นเลือกระนาบ YZ เป็นระนาบออกแบบจาก Specification tree
หรือจากไอคอนระนาบอ้างอิงจากพื้นที่ออกแบบ
     
 
65 
 
4.กําหนดขนาดของ Grid เป็น 10 X 10 มิลลิเมตร
5.คลิกไอคอน Axis เพื่อสร้างแกนอ้างอิง คลิกพิกัดจุดเริ่มต้น 0,0 ป้อนค่าความยาวเส้น 120
มิลลิเมตร กําหนดค่ามุม 30 องศา ดังรูป
6.คลิกไอคอน Circle สร้างวงกลมรัศมี R=75 ที่จุดเริ่มต้น 0,0 และวงกลมรัศมี R=40 ที่จุด
ปลายของเส้น Axis
7.คลิกไอคอน Bi-tangent Line สร้างเส้นสัมผัสกับวงกลมทั้งสอง โดยคลิกที่ผิวสัมผัสของ
วงกลมใหญ่และเล็ก
8.คลิกไอคอน Trim เพื่อลบส่วนของวงกลมภายในออก โดยคลิกที่ส่วนโค้งที่ต้องการหลังจากนั้น
เลือกส่วนโค้งที่ไม่ต้องการออก
     
 
66 
 
9.คลิกไอคอน Elongated hole จากนั้นคลิกพิกัดจุดศูนย์กลางจุดแรกที่พิกัดตําแหน่งเดียวกับ
จุดศูนย์กลางของวงกลมเล็ก จากนั้นป้อนพิกัดจุดศูนย์กลางที่สอง โดยป้อนค่าพิกัดแนวนอน H=0
ความยาว L=300 และรัศมี R=30 กําหนดค่าที่แถบเครื่องมือ Sketch tools และทําการซ่อน Grid
โดยคลิกที่ไอคอน
10.คลิกไอคอน Profile เพื่อสร้างรูปทรงเรขาคณิตด้านบนของชิ้นส่วนหน้าตัดลูกสูบ โดย
ให้จุดศูนย์กลางส่วนของลูกสูบร่วมศูนย์กับก้านกระบอกสูบ เทคนิคการวาดคือเริ่มจุดใดจุดหนึ่ง
     
 
67 
 
วาดโปรไฟล์ให้รูปทรงและสัดส่วนใกล้เคียงตามแบบที่กําหนดให้ จากนั้นใช้เครื่องมือบังคับเส้น
Constraint กําหนดการบังคับเส้น และกําหนดขนาดของรูปทรง
11.จะได้รูปทรงเรขาคณิตของชิ้นส่วนเสร็จสมบูรณ์
13.คลิกไอคอน Save เพื่อบันทึกงาน
14.คลิกไอคอน Animation Constraint คลิกเส้นบอกขนาดมุม 30 องศา จะปรากฏ
ไดอะล็อกบ็อก Animation Constraint จากนั้นกําหนดมุมการเคลื่อนไหว ดังรูป จากนั้นให้คลิก
คําสั่ง Run Animation
 
     
 
68 
 
 
ตัวอย่างการใช้คําสั่ง ในการเขียนรูปทรงเรขาคณิต 
ตัวอย่างที่1
 
1.New Part 
 ‐sketch 2D โดยใช้ระนาบ Top Plane จากนั้นเลือกไอค่อน sketch 
 
 
 
 
 
     
 
69 
 
 
 
2.เลือกระนาบ XY คลิกคําสั่ง Circle    
‐สร้างวงกลม2วง 
-ให้ขนาดด้วยคําสั่ง Constraint    วงแรกเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 16 mm. 
-วงที่2เส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 32 mm. 
 
3.คลิกคําสั่ง Line  เขียนเส้นตรง2เส้นตั้งฉากกัน ความยาวเส้นละ 38 mm. 
 
 
 
     
 
70 
 
 
 
 
4.เลือกคําสั่ง Offset   และให้ขนาดเท่ากับ 4.5 mm. และเลือกเส้นตรงปิดส่วนหัวทั้ง2ด้าน 
 
5.เลือกคําสั่ง Corner   เพื่อลบมุมโค้งที่เส้นตรง รัศมีเท่ากับ 27 mm. 
 
6.เลือกคําสั่ง Mirror  เพื่อคัดลอกเส้นตรงและเส้นโค้งให้ตรงข้ามกัน 
     
 
71 
 
 
 
ตัวอย่างงานที่2  
 
1.Newpart  
2.Sketch 2D โดยใช้ระนาบ Front Plane  
3.สร้างวงกลมด้วยคําสั่ง Circle   สร้างวงกลม 2 วงดังรูป 
 
     
 
72 
 
 
 
4.คลิกคําสั่ง Circle   เพื่อสร้างวงกลมขึ้นมาอีก 2 วง 
-สร้างวงกลมที่ 3 ความโตเท่ากับ 44 mm. ห่างจากวงกลมที่1 เท่ากับ 178 mm. 
-สร้างวงกลมที่ 4 ร่วมศูนย์กับวงกลมที่ 3 รัศมีเท่ากับ 50 mm.
 
5.ใช้คําสั่ง Line   สร้างเส้นตรงแบบสัมผัสกับวงกลม 2 วงบนล่าง 
     
 
73 
 
 
 
 
6.เลือกคําสั่ง Offset    คัดลอกเส้นตรงแบบกําหนดระยะ 
 
7.จากนั้นใช้คําสั่ง ลบเส้นที่ไม่ต้องการออก 
     
 
74 
 
 
 
 
 
8.จากนั้นทําการ Corner   มุมแบบใส่รัศมีโค้งตามแบบ 
 
     
 
75 
 
ขั้นตอนการออกแบบชิ้นส่วนทรงตัน 3 มิติ
ขั้นตอนการออกแบบชิ้นส่วนทรงตัน 3 มิติ ด้วยโปรแกรม CATIA V5 โดยอาศัยหลักการ Sketch-
Based-Feature มีดังนี้
1.กําหนดค่าหน่วยมาตรฐานในการออกแบบชิ้นส่วน เช่น กําหนดหน่วยวัดเป็นระบบเมตริกหรือ
ระบบนิ้ว ตั้งขนาดความยาวกริด และตัวเลือกอื่นเช่น สีสกรีน หรือเส้น
2.เลือกระนาบการวาดรูปทรงเรขาคณิตเพื่อใช้เป็นโปรไฟล์ของฟีเจอร์ต่างๆ คือ XY YZ XZ ซึ่งจะ
แสดงตรงกลางพื้นที่ทํางาน
3.วาดรูปทรงเรขาคณิต 2 มิติ คลิกเลือกไอคอน Sketch จากนั้นจะเข้าสู่โหมด Sketch Workbench
สําหรับวาดโปรไฟล์ของชิ้นส่วน เมื่อออกจาก Sketch จะกลับสู่โหมดของ Part Design
4.ใช้ฟีเจอร์หลัก Base Features ในการสร้างชิ้นส่วนทรงตัน 3 มิติ ฟีเจอร์หลักได้แก่ ชุดเครื่องมือการ
ยืด (Extrusion) การหมุน (Revolution) และการยืดตามโครงเส้น (Rib) เป็นต้น
5.การตกแต่งแก้ไข จะใช้เครื่องมือในกลุ่มฟีเจอร์ Dressing-Up เช่นการทํา Fillet การทํามุม โค้ง การ
ทํามุมเหลี่ยม Chamfer หรือการผนัง Shell เป็นต้น
6.เมื่อออกแบบชิ้นส่วนทรงตันในฟีเจอร์เสร็จแล้ว สามารถที่จะปรับแต่งแก้ไข พารามิเตอร์ของ
ฟีเจอร์ใดๆก็ได้ โดยดับเบิ้ลคลิกไอคอนฟีเจอร์นั้นที่ Specification Tree
7.สร้างฟีเจอร์ที่เป็นแบบ Sketch-Based Feature, Surface Based Feature, Dressing Up feature และ
Transformation Feature สําหรับชิ้นงานต่อได้ โดยสามารถที่จะเลือกระนาบการ Sketch จากผิวของ
ชิ้นงาน หรือสร้างระนาบใหม่ได้ และหากมีฟีเจอร์มากกว่าหนึ่งฟีเจอร์สามารถใช้ฟีเจอร์ Boolean
Operation ได้
     
 
76 
 
การใช้งาน Pad
คือคําสั่งสร้างรูปทรงเรขาคณิต โดยการยืดตรงตามทิศทางด้วยขนาดที่กําหนด
Ex 1.ต้องการยืดชิ้นงานให่มีความหนา 60 มิลลิเมตร เลือกคําสั่ง Insert แล้วไปที่ Base Feature เลือก
คําสั่ง Pad จากนั้นคลิกที่รูป 2 มิติ
จากนั้นไปคลิกที่รูป 2 มิติ แล้วใส่ขนาดความหนาในช่อง Length
     
 
77 
 
รูปชิ้นงานที่ให้ความหนาแล้ว
การใช้คําสั่ง Drafted Filleted Pad
เป็นคําสั่งยืดชิ้นงานแบบกําหนดความหนา และกําหนดมุมโค้งของขอบงาน
Ex2.ต้องการยืดชิ้นงานให้มีคว่มหนา 60 มิลลิเมตร และมุมโค้งของขอบชิ้นงานเท่ากับ 5 มิลลิเมตร
เลือกคําสั่ง Insert แล้วไปที่ Base Feature เลือกคําสั่ง Drafted Filleted Pad จากนั้นคลิกที่รูป 2 มิติ
     
 
78 
 
ใส่ความหนาของชิ้นงานลงในช่อง Length = 60 มิลลิเมตร ในช่อง Limits คือทิศทางการยืดให้เลือก
ระนาบ XY และในช่อง Angle คือพื้นผิวที่ 1 และพื้นผิวที่ 2 ทํามุมต่อกัน เรากําหนดให้ทกับ 0 เพื่อให้
พื้นผิวที่ 1 และ2 เท่ากัน
จากนั้นในช่อง Lateral Radius คือเส้นขอบที่ขนานกับระนาบ XY ให้ขนาดเท่ากับ 5 มิลลิเมตร
และช่อง First limits Radius คือเส้นที่ตั้งฉากกับระนาบ XY ให้ขนาดเท่ากับ 5 มิลลิเมตร
จากนั้นไปคลิกที่คําสั่ง Previews เพื่อดูรูป เมื่อตรงตามที่ต้องการแล้วเลือก OK
     
 
79 
 
การใช้คําสั่ง Pocket
คือคําสั่งที่ใช้เจาะรูตามรูป 2 มิติ บนชิ้นงาน
EX 3.ต้องการเจาะชิ้นงานเป็นช่องสี่เหลี่ยม ความลึก 20 มิลลิเมตร
-ทําการ sketch รูปสี่เหลี่ยมบนชิ้นงานตามรูป จากนั้นเลือกคําสั่ง Pocket แล้วคลิกที่แบบ 2 มิติ จากนั้น
ใส่ค่าความลึก แสร็จแล้วเลือก OK
     
 
80 
 
การใช้คําสั่ง Shaft
คําสั่ง Shaft คือคําสั่งสร้างชิ้นส่วน 3 มิติโดยอาศัยการหมุนของโปรไฟล์รอบแกนอ้างอิง โดยกําหนด
ทิศทาง แกนอ้างอิง และมุมหมุน
EX.5 สร้างแบบ 2 มิติบนระนาบที่ต้องการหมุน จากนั้นเลือกคําสั่ง Shaft
     
 
81 
 
หรือหากจะกําหนดความกลวงของชิ้นงาน การใช้งานเลือกตัวเลือก Thick profile จากนั้นกําหนดค่า
ความหนาที่ 1 และ2 เป็นการเพิ่มความหนาโดยอ้างอิงจากขอบของโปรไฟล์ออกไปด้านนอก
การใช้คําสั่ง Hole
คือคําสั่งเจาะรู สามารถกําหนดความโต ความลึก บ่ารูเจาะแบบมุมและแบบฉาก
EX.6 ทํารูเจาะบนชิ้นงาน 3 มิติ และบ่ารูเจาะทั้งแบบมุมและฉาก
-เลือกคําสั่ง Hole จากนั้นคลิกบนชิ้นงานที่ทําการเจาะ จากนั้นเลือกคําสั่ง Positioning Sketch เพื่อ
กําหนดระยะของรูเจาะให้ห่างจากขอบชิ้นงาน หรือ ตามจุดที่เราต้องการ
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual
Catia full manual

More Related Content

What's hot

คู่มือ SketchUp
คู่มือ SketchUpคู่มือ SketchUp
คู่มือ SketchUpPiyaboon Nilkaew
 
คำศัพท์การบริหารการผลิต (Production Management Vocabulary)
คำศัพท์การบริหารการผลิต (Production Management Vocabulary)คำศัพท์การบริหารการผลิต (Production Management Vocabulary)
คำศัพท์การบริหารการผลิต (Production Management Vocabulary)Phichamon Samansin
 
แจกเอกสารประกอบการสอนใช้งาน Sketch up ในการประยุกต์ใช้ในการก่อสร้าง
แจกเอกสารประกอบการสอนใช้งาน Sketch up ในการประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างแจกเอกสารประกอบการสอนใช้งาน Sketch up ในการประยุกต์ใช้ในการก่อสร้าง
แจกเอกสารประกอบการสอนใช้งาน Sketch up ในการประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างchupol bamrungchok
 
คู่มือการใช้ Illustrator cs6
คู่มือการใช้ Illustrator cs6คู่มือการใช้ Illustrator cs6
คู่มือการใช้ Illustrator cs6krissada634
 
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 20151.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015วิชา อาคม
 
คู่มือ Extension สำหรับงานก่อสร้าง
คู่มือ Extension สำหรับงานก่อสร้างคู่มือ Extension สำหรับงานก่อสร้าง
คู่มือ Extension สำหรับงานก่อสร้างSKETCHUP HOME
 
บทที่ 3 การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ2 new
บทที่ 3 การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ2 newบทที่ 3 การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ2 new
บทที่ 3 การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ2 newRungnapa Rungnapa
 
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excelแผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office ExcelKhon Kaen University
 
คู่มือ 3D Max กับงานสถาปัตยกรรม
คู่มือ 3D Max กับงานสถาปัตยกรรมคู่มือ 3D Max กับงานสถาปัตยกรรม
คู่มือ 3D Max กับงานสถาปัตยกรรมPiyaboon Nilkaew
 
ข้อสอบปลายภาค50ข้อ โปรแกรมword
ข้อสอบปลายภาค50ข้อ โปรแกรมwordข้อสอบปลายภาค50ข้อ โปรแกรมword
ข้อสอบปลายภาค50ข้อ โปรแกรมwordpeter dontoom
 
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)Khunakon Thanatee
 
เฉลยข้อสอบเพาเวอร์พ้อยท์
เฉลยข้อสอบเพาเวอร์พ้อยท์เฉลยข้อสอบเพาเวอร์พ้อยท์
เฉลยข้อสอบเพาเวอร์พ้อยท์peter dontoom
 
การวางแผนและการควบคุมการผลิต
การวางแผนและการควบคุมการผลิตการวางแผนและการควบคุมการผลิต
การวางแผนและการควบคุมการผลิตKitipan Kitbamroong Ph.D. CISA
 
บทที่ 9 การวิเิคราะห์กิจกรรม
บทที่ 9 การวิเิคราะห์กิจกรรมบทที่ 9 การวิเิคราะห์กิจกรรม
บทที่ 9 การวิเิคราะห์กิจกรรมTeetut Tresirichod
 
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิต
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิตบทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิต
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิตTeetut Tresirichod
 
การทำ Component ให้เคลื่อนที่ได้ด้วยคำสั่ง Dynamic component
การทำ Component ให้เคลื่อนที่ได้ด้วยคำสั่ง Dynamic componentการทำ Component ให้เคลื่อนที่ได้ด้วยคำสั่ง Dynamic component
การทำ Component ให้เคลื่อนที่ได้ด้วยคำสั่ง Dynamic componentSKETCHUP HOME
 
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตบทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตRungnapa Rungnapa
 
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์Net Thanagon
 

What's hot (20)

คู่มือ SketchUp
คู่มือ SketchUpคู่มือ SketchUp
คู่มือ SketchUp
 
ข้อสอบSketch up
ข้อสอบSketch upข้อสอบSketch up
ข้อสอบSketch up
 
คำศัพท์การบริหารการผลิต (Production Management Vocabulary)
คำศัพท์การบริหารการผลิต (Production Management Vocabulary)คำศัพท์การบริหารการผลิต (Production Management Vocabulary)
คำศัพท์การบริหารการผลิต (Production Management Vocabulary)
 
แจกเอกสารประกอบการสอนใช้งาน Sketch up ในการประยุกต์ใช้ในการก่อสร้าง
แจกเอกสารประกอบการสอนใช้งาน Sketch up ในการประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างแจกเอกสารประกอบการสอนใช้งาน Sketch up ในการประยุกต์ใช้ในการก่อสร้าง
แจกเอกสารประกอบการสอนใช้งาน Sketch up ในการประยุกต์ใช้ในการก่อสร้าง
 
คู่มือการใช้ Illustrator cs6
คู่มือการใช้ Illustrator cs6คู่มือการใช้ Illustrator cs6
คู่มือการใช้ Illustrator cs6
 
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 20151.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
1.2 ส่วนต่างๆของหน้าจอของโปรแกรม sketch up 2015
 
คู่มือ Extension สำหรับงานก่อสร้าง
คู่มือ Extension สำหรับงานก่อสร้างคู่มือ Extension สำหรับงานก่อสร้าง
คู่มือ Extension สำหรับงานก่อสร้าง
 
บทที่ 3 การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ2 new
บทที่ 3 การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ2 newบทที่ 3 การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ2 new
บทที่ 3 การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ2 new
 
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excelแผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
แผนการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel
 
คู่มือ 3D Max กับงานสถาปัตยกรรม
คู่มือ 3D Max กับงานสถาปัตยกรรมคู่มือ 3D Max กับงานสถาปัตยกรรม
คู่มือ 3D Max กับงานสถาปัตยกรรม
 
ข้อสอบปลายภาค50ข้อ โปรแกรมword
ข้อสอบปลายภาค50ข้อ โปรแกรมwordข้อสอบปลายภาค50ข้อ โปรแกรมword
ข้อสอบปลายภาค50ข้อ โปรแกรมword
 
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
 
เฉลยข้อสอบเพาเวอร์พ้อยท์
เฉลยข้อสอบเพาเวอร์พ้อยท์เฉลยข้อสอบเพาเวอร์พ้อยท์
เฉลยข้อสอบเพาเวอร์พ้อยท์
 
การวางแผนและการควบคุมการผลิต
การวางแผนและการควบคุมการผลิตการวางแผนและการควบคุมการผลิต
การวางแผนและการควบคุมการผลิต
 
บทที่ 9 การวิเิคราะห์กิจกรรม
บทที่ 9 การวิเิคราะห์กิจกรรมบทที่ 9 การวิเิคราะห์กิจกรรม
บทที่ 9 การวิเิคราะห์กิจกรรม
 
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิต
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิตบทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิต
บทที่ 5 การวางแผนความต้องการวัสดุและกำลังการผลิต
 
การทำ Component ให้เคลื่อนที่ได้ด้วยคำสั่ง Dynamic component
การทำ Component ให้เคลื่อนที่ได้ด้วยคำสั่ง Dynamic componentการทำ Component ให้เคลื่อนที่ได้ด้วยคำสั่ง Dynamic component
การทำ Component ให้เคลื่อนที่ได้ด้วยคำสั่ง Dynamic component
 
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิตบทที่ 9 การควบคุมการผลิต
บทที่ 9 การควบคุมการผลิต
 
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
กระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
 
Auto cad all
Auto cad allAuto cad all
Auto cad all
 

Similar to Catia full manual

ส่วนประกอบวิชวลเบสิก
ส่วนประกอบวิชวลเบสิกส่วนประกอบวิชวลเบสิก
ส่วนประกอบวิชวลเบสิกNuunamnoy Singkham
 
เรื่องการใช้งาน Powerpoint2007 เบื้องต้น
เรื่องการใช้งาน Powerpoint2007 เบื้องต้นเรื่องการใช้งาน Powerpoint2007 เบื้องต้น
เรื่องการใช้งาน Powerpoint2007 เบื้องต้นshe-vit-guu
 
การพัฒนาซอฟแวร์
การพัฒนาซอฟแวร์การพัฒนาซอฟแวร์
การพัฒนาซอฟแวร์Watinee Poksup
 
ส่วนประกอบของโปรแกรม Visual basic 6
ส่วนประกอบของโปรแกรม Visual basic 6ส่วนประกอบของโปรแกรม Visual basic 6
ส่วนประกอบของโปรแกรม Visual basic 6Tom Nuntiya
 
แนะนำการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Access 2010
แนะนำการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Access 2010แนะนำการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Access 2010
แนะนำการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Access 2010krunueng1
 
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน (1)
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน (1)โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน (1)
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน (1)Thachanok Plubpibool
 
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐานโปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐานThachanok Plubpibool
 
Start with maya
Start with mayaStart with maya
Start with mayakruood
 
powerpoint2007
powerpoint2007powerpoint2007
powerpoint2007krupairoj
 
ใบความรู้ 5.1รูปแบบรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 5.1รูปแบบรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ใบความรู้ 5.1รูปแบบรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 5.1รูปแบบรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์sa_jaimun
 
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007Nicharee Piwjan
 
System development life cycle sdlc
System development life cycle  sdlcSystem development life cycle  sdlc
System development life cycle sdlcKapook Moo Auan
 
System Development Life Cycle S D L C
System  Development  Life  Cycle   S D L CSystem  Development  Life  Cycle   S D L C
System Development Life Cycle S D L CKapook Moo Auan
 
หลักการเบื้องต้นในการเขียนโปรแกรม3
หลักการเบื้องต้นในการเขียนโปรแกรม3หลักการเบื้องต้นในการเขียนโปรแกรม3
หลักการเบื้องต้นในการเขียนโปรแกรม3sup11
 
รายงาน คอม
รายงาน คอมรายงาน คอม
รายงาน คอมNooLuck
 
ใบความรู้ Spreadsheets googledocs
ใบความรู้ Spreadsheets googledocsใบความรู้ Spreadsheets googledocs
ใบความรู้ Spreadsheets googledocsAiice Pimsupuk
 

Similar to Catia full manual (20)

ส่วนประกอบวิชวลเบสิก
ส่วนประกอบวิชวลเบสิกส่วนประกอบวิชวลเบสิก
ส่วนประกอบวิชวลเบสิก
 
U1
U1U1
U1
 
เรื่องการใช้งาน Powerpoint2007 เบื้องต้น
เรื่องการใช้งาน Powerpoint2007 เบื้องต้นเรื่องการใช้งาน Powerpoint2007 เบื้องต้น
เรื่องการใช้งาน Powerpoint2007 เบื้องต้น
 
Soft were
Soft wereSoft were
Soft were
 
การพัฒนาซอฟแวร์
การพัฒนาซอฟแวร์การพัฒนาซอฟแวร์
การพัฒนาซอฟแวร์
 
ส่วนประกอบของโปรแกรม Visual basic 6
ส่วนประกอบของโปรแกรม Visual basic 6ส่วนประกอบของโปรแกรม Visual basic 6
ส่วนประกอบของโปรแกรม Visual basic 6
 
แนะนำการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Access 2010
แนะนำการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Access 2010แนะนำการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Access 2010
แนะนำการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Access 2010
 
Ch1
Ch1Ch1
Ch1
 
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน (1)
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน (1)โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน (1)
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน (1)
 
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐานโปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน
โปรแกรมย่อยและฟังก์ชันมาตรฐาน
 
Start with maya
Start with mayaStart with maya
Start with maya
 
powerpoint2007
powerpoint2007powerpoint2007
powerpoint2007
 
ใบความรู้ 5.1รูปแบบรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 5.1รูปแบบรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ใบความรู้ 5.1รูปแบบรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 5.1รูปแบบรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
 
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007
ใบความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft excel 2007
 
Java 7&12 6 2
Java 7&12 6 2Java 7&12 6 2
Java 7&12 6 2
 
System development life cycle sdlc
System development life cycle  sdlcSystem development life cycle  sdlc
System development life cycle sdlc
 
System Development Life Cycle S D L C
System  Development  Life  Cycle   S D L CSystem  Development  Life  Cycle   S D L C
System Development Life Cycle S D L C
 
หลักการเบื้องต้นในการเขียนโปรแกรม3
หลักการเบื้องต้นในการเขียนโปรแกรม3หลักการเบื้องต้นในการเขียนโปรแกรม3
หลักการเบื้องต้นในการเขียนโปรแกรม3
 
รายงาน คอม
รายงาน คอมรายงาน คอม
รายงาน คอม
 
ใบความรู้ Spreadsheets googledocs
ใบความรู้ Spreadsheets googledocsใบความรู้ Spreadsheets googledocs
ใบความรู้ Spreadsheets googledocs
 

Catia full manual

  • 1.             คู่มือการใช้โปรแกรม CATIA version 5 R20 อ.ดร.วสวัชร นาคเขียว ณัฐวุฒิ รินโน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เอกสารนี้ใช้ประกอบการเรียนการสอนเท่านั้น)
  • 2.         1    เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม CATIA CATIA Workbench คือกลุ่มโปรแกรมที่แยกออกเป็นหมวดหมู่เพื่อเหมาะสมกับลักษณะงาน และสะดวกในการใช้งาน แต่ละกลุ่มของโปรแกรมจะประกอบด้วยโปรแกรมย่อย คือเครื่องมือ ที่มีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกันมารวมไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจถึงขอบเขตของโปรแกรม ย่อยที่กําหนด เช่น กลุ่มรายการของ MACHINING จะมีเครื่องมือที่ใช้ทํา CAM มีทั้งแบบ LATHE และ MILLING รายการโปรแกรม และ โปรแกรมย่อย รายการโปรแกรม โปรแกรมย่อย (Mechanical Design Workbench) Infrastructure คือรายการเครื่องมือที่ใช้จัดการสภาวะแวดล้อมของโปรแกรม Mechanical Design คือกลุ่มรายการโปรแกรมที่รวมโปรแกรมย่อยสําหรับการออกแบบ
  • 3.         2    Shape คือ โปรแกรมที่ใช้ออกแบบรูปทรงอิสระและออกแบบพื้นผิว Analysis and Simulation คือโปรแกรมวิเคราะห์เชิงวิศวกรรมและจําลองการทํางานเสมือนจริง ด้วยไฟไนต์อิลิเมนต์ AEC Plant กลุ่มรายการออกแบบเกี่ยวกับผังโรงงาน Machining กลุ่มรายการสําหรับทํา CAM มีความสัมพันธ์กับชนิดของเครื่องจักรหรือรูปแบบการ ผลิต Digital Mockup โปรแกรมการจําลองระบบกลไก และทดสอบ Equipment and Systems โปรแกรมออกแบบวงจรไฟฟ้า ระบบท่อ ระบบไฮดรอลิกส์และ ออกแบบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ Digital Process for manufacturing โปรแกรมออกแบบขบวนการหรือกรรมวิธีในการผลิต Machining Simulation กลุ่มโปรแกรมจําลองการทํางานของเครื่องจักรกล CNC และสร้างโค้ด NC ส่งไปยังเครื่องจักร Ergonomics Design and Analysis โปรแกรมออกแบบวิเคราะห์หลักการสรีระของมนุษย์ ประกอบด้วยเครื่องมือสําหรับสร้างแบบจําลองมนุษย์กําหนดคุณสมบัติ หน้าที่การทํางานและ วิเคราะห์ประสิทธิภาพแบบจําลองมนุษย์ Knowledgeware โปรแกรมสร้างและจัดองค์ความรู้เพื่อช่วยในการออกแบบ ตัดสินใจ
  • 5.         4    เริ่มต้นการใช้โปรแกรม CATIA เปิดโปรแกรม CATIA หน้าต่างแรกที่เจอคือ Product Structure Workbench หน้าต่างโปรแกรมเมื่อเปิดใช้งานครั้งแรก เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้วเจอ Product Structure Workbench ให้ปิดหน้าต่างดังรูป Compass Geometry Axis Workbench features  Specification tree  Menu bar  Tool bar  Status bar Workbench
  • 6.         5    Specification tree ทําหน้าที่ในการเก็บขั้นตอนและประวัติข้อมูลการออกแบบ Menu bar ส่วนคําสั่งที่ทําการออกแบบและแก้ไข Toolbar สําหรับเก็บเครื่องมือพื้นฐาน Standard tool bar สําหรับการจัดการไฟล์เอกสาร มุมมอง การแสดงผล Geometry Axis แกนอ้างอิงหลักในการออกแบบ การเลือกใช้งาน Workbench เลือกเมนู Start จากนั้นจะปรากฏกลุ่มโปรแกรมของ CATIA เช่นต้องการเรียกใช้งาน Part Design Workbench ซึ่งอยู่ในกลุ่มรายการโปรแกรม Mechanical Design โดยเลือก Start Mechanical Design Part design จะปรากฏกล่องข้อความเพื่อกําหนดชื่อของแบบงานพร้อมทั้ง เลือกรูปแบบของชิ้นส่วนออกแบบ จากนั้นเลือก OK โปรแกรมจะดึงเครื่องมือการทํางานและ ส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบชิ้นงานออกมา Hybrid Design คือการออกแบบผสมผสานระหว่างการออกแบบทรงตัน (Solid) และการ ออกแบบพื้นผิว (Surface)
  • 7.         6    หน้าต่างการทํางานของ Part Design Workbench Part Design Workbench เมนูบาร์สามารถแยกออกได้สองแบบคือ Start Menu and Standard Menu START MENU Start menu จะรวมกลุ่มรายการโปรแกรมและ Workbench ทั้งหมดที่ได้ทําการติดตั้งดังรูป ด้านล่าง จะแสดงรายการ Workbench ต่างๆที่อยู่ในกลุ่ม Mechanical Design Default planes Tool bar  Part design Sketcher workbench 
  • 8.         7    STANDARD MENU Standard Menu เป็นเมนูที่เก็บคําสั่งและเครื่องมือต่างๆของโปรแกรม ประกอบด้วยเมนู File, Edit, View, Insert, Tools, Windows และ Help รายการเมนูมาตรฐาน
  • 9.         8    Menu File NEW สร้างเอกสารใหม่ เอกสารนี้อาจป็นทั้ง Part Drawing analysis หรือ Product NEW FROM เอกสารงานใหม่จากต้นแบบงานเดิม OPEN เปิดเอกสาร CLOSE ปิดเอกสารที่กําลังทําอยู่ในปัจจุบัน SAVE บันทึกเอกสารปัจจุบันด้วยชื่อเดิม SAVE AS บันทึกเอกสารการกําหนดชื่อใหม่
  • 10.         9    SAVE ALL AS บันทึกเอกสารทั้งหมด PRINT พิมพ์เอกสารปัจจุบัน DESK ดูความสัมพันธ์ระหว่างเอกสาร SENT TO ส่งข้อมูลไปยังอีเมลหรือไดเร็กทอรี่อื่น MENU EDIT รายการคําสั่งที่ใช้สําหรับการจัดการกับวัตถุ เช่น การคัดลอก ค้นหา เคลื่อนย้าย เป็นต้น Undo ยกเลิกคําสั่ง Repeat ทําใหม่ Update ปรับปรุงเอกสารเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง Cut ตัดวัตถุที่ได้เลือกจากเอกสาร Copy คัดลอกวัตถุที่เลือกไว้ Paste วางวัตถุที่ได้เลือกก่อนหน้า Delete ลบวัตถุที่เลือกไว้ Search ค้นหาวัตถุที่อยู่ในเอกสาร Selection Set เพิ่มหรือลดวัตถุจากการเลือกกลุ่ม Define Selection เลือกรูปทรงและเก็บไว้ในกลุ่มการเลือก
  • 11.         10    Link จัดการแก้ไขเอกสารที่เชื่อมต่อกับระบบภายนอก Properties แสดงและแก้ไขคุณสมบัติของการฟฟิก Scan or Define in Work Object กําหนดวัตถุงานที่กระทําปัจจุบันและสามารถ SCAN ผ่าน Part ได้ Menu View เป็นรายการคําสั่งการปรับเปลี่ยนการแสดงผลของชิ้นส่วน หรือผลิตภัณฑ์ เช่น การหมุน การขยาย การย้าย และสําหรับ กําหนดเปิด/ปิดแถบเครื่องมือในรายการ Workbench Toolbars สําหรับเปิด ปิด แถบเครื่องมือต่างๆ Geometry สลับไปมาระหว่างการแสดงและซ่อนชิ้นส่วนออกแบบ Specification กําหนดการแสดง/ซ่อน Specification tree Compass กําหนดการแสดง/ซ่อน Compass Reset Compass รีเซ็ต Compass เพื่อกลับสู่ตําแหน่งเดิม Tree Expansion สําหรับยืด หรือ หด รายการ Specification Tree Specification Overviews หน้าต่างสําหรับการขยายพื้นที่ของรูปทรง Fit all in ขยายรูปทรงให้พอดีกับหน้าจอที่กําลังทําอยู่ Zoom Area ขายพื้นที่ที่กําหนดเลือก Zoom IN Out ขยายหรือหดชิ้นส่วน  
  • 12.         11    Pan แสดงการเคลื่อนย้ายชิ้นงาน Rotate แสดงการหมุนชิ้นงาน Modify ใช้สําหรับปรับการแสดงมุมมองของรูปทรงในแต่ละมุมมอง ซึ่งมีหลายรูปแบบสามารถทีจะย่อและขยาย กําหนดระนาบในการมอง และมองในแนวระนาบ ตั้งฉาก เรียกว่า Normal View สามารถจําลองการหมุนของชิ้นส่วนด้วย Turn Head สามารถ กําหนด Fly Through หรือ Turn Through ในการออกแบบได้ตัวเลือก Previous view Next view จะแสดงมุมมองหน้าต่อไปตามที่กําหนดไว้และตัวเลือก Look At จะเป็นการกําหนดทิศทางของ มุมมองที่ต้องการ Name View เลือกมุมมองภาพ เช่น มุมด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย เป็นต้น และสามารถเพิ่ม มุมมองได้ Render Style แสดงการเรนดเอร์ชิ้นงานในแต่ละรูปแบบ สามารถกําหนดแบบของการเรนเดอร์ ด้วยตัวเลือก Customize View สามารถแสดงภาพในแต่ละ Perspective หรือแบบ Parallel ใน โหมดของ Parallel จะแสดงขนาดจริงตามสเกลของชิ้นงาน ในโหมด Perspective พื้นที่ชิ้นส่วน จะ Closer กับหน้าจอที่ใหญ่กว่าพื้นที่มองเห็น Navigation Mode สลับไปมาระหว่างโหมด Examine Walk และ Fly Lighting มุมมองการใช้แสงที่ตกกระทบ Depth Effect ตัดรูปทรงแนวระนาบ Ground แสดงระนาบระดับล่าง Magnifier สร้างมุมมองของการขยายของชิ้นงานในหน้าต่างแสดงมุมมองขยาย
  • 13.         12    Hide/Show ซ่อนหรือแสดงรูปทรง ซึ่งสลับระหว่างด้านของการซ่อนและการแสด Full Screen แสดงรูปทรงแบบเต็มหน้าจอ จะไม่มีเมนูหรือทูลบาร์ ยกเลิกการใช้เมาท์ปุ่มขวา Menu Insert เป็นเมนูสําหรับการเพิ่มเติมชิ้นส่วน 3 มิติที่จะทําการ ออกแบบ การกําหนดแกน การบังคับรูปทรงเรขาคณิต Constraints และรวบรวมคําสั่งหรือเครื่องมือสําหรับการออกแบบตาม ประเภทการใช้งาน ซึ่งประกอบด้วย Object แทรกวัตถุ เช่น เอกสารกระดานคํานวณ หรือเอกสารข้อความ Body แทรกบอดี้ใหม่ในชิ้นส่วนที่ทําการออกแบบ Geometrical set จัดเก็บและรวบรวมรายการการออกแบบ ที่เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิตทั้งหมด Annotation แทรกคําอธิบายในชิ้นส่วน Constraints แทรกการบังคับ Constraints Sketcher เรียกใช้งาน Sketcher Axis System กําหนดแกนใหม่ของระบบ  
  • 14.         13    Sketch-based Feature แทรกฟีเจอร์ของ Sketcher Dress-Up Feature แทรกการลบมุมแบบ Fillet และ Chamfer อยู่ในส่วนของ Part Design Surface-Based Feature แทรกหลายฟีเจอร์ของ Surface Transformation Features แทรกหลายฟีเจอร์ของการ Transformation Boolean Operations แทรกการทําบูลีนระหว่างบอดี้ของชิ้นส่วน Advanced Replication Tools ใช้สําหรับสร้างและเก็บฟีเจอร์ Menu Tools เป็นเมนูที่รวบรวมคําสั่งหรือเครื่องมือที่ใช้สําหรับกา รจัดการของโปรแกรมและกําหนดสภาวะแวดล้อมการ ทํางานหรือการออกแบบ เช่นเครื่องมือในการจัดการ เกี่ยวกับขั้นตอนการออกแบบและสร้างชิ้นส่วน การกําหนดค่าตัวแปรและสมการ การซ่อน/แสดง การใช้กําหนด Option ของโปรแกรม เป็นต้น Formula สร้างสูตรสมการของชิ้นงาน Image Capture ภาพหน้าจอของชิ้นส่วนและเก็บรูปแบบไฟล์ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น TIFF, JPEG, PNG, BMP หลังจาก Capture ภาพแล้วจัดเก็บลงใน Album ตัวเลือก Video บันทึก ขั้นตอนการออกแบบ  
  • 15.         14    Macro บันทึก แก้ไข และสั่งการทํางานมาโคร Parent/Children แสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของชิ้นงาน Customize กําหนดทูลบาร์ซึ่งปรากฏหน้าต่าง Customize เพื่อกําหนดหรือปรับแต่งทูลบาร์ Visualization Filters สําหรับสร้างและใช้ฟิลเตอร์ Options กําหนดปรับตั้งการใช้งาน CATIA Menu Window New Window สร้างหน้าต่างใหม่ Tile horizontally ปรับหน้าต่างแนวนอน Tile Vertically ปรับหน้าต่างในแนวตั้ง Cascade ปรับหน้าต่างในนวชิดขอบด้านซ้าย Menu Help เป็นรายการขอความช่วยเหลือการใช้งานของคําสั่ง หรือเครื่องมือต่างๆของโปรแกรม ในส่วนของการเลือก ใช้ความช่วยเหลือผู้ใช้จําเป็นต้องติดตั้ง Online Documentation CATIA V HELP เรียกใช้ความช่วยเหลือ  
  • 16.         15    CATIA User Companion เรียกใช้ความช่วยเหลือในลักษณะ User Companion ซึ่งเป็นคู่มือการใช้งานที่ถูกจัดทําแบบพิเศษ โดยบริษัท Dassault System Content, Index and Search ค้นหาความช่วยเหลือแบบ Online User Galaxy แสดงข้อมูลจาก Dassault Systems About CATIA V5 เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของ CATIA Standard Toolbar แถบเครื่องมือมาตราฐาน เครื่องมือสําหรับการจัดการไฟล์เอกสาร เช่น ไฟล์เอกสารใหม่ เปิดไฟล์คัดลอก บันทึก เป็นต้น New ,Open,Save,Cut,Coppy,Past,Undo,Redo,What’s This สําหรับไฟล์บันทึกเอกสารของแต่ละ Workbench (*.CATPart, CATProduct) อีกทั้งยัง สามารถบันทึกไฟล์เป็นรูปแบบอื่นได้เช่น *.Stl,*.igs,*.stp เป็นต้น ซึ่งชนิดไฟล์เหล่านี้สามารถ ใช้เปิดกับโปรแกรมออกแบบอื่นได้ *** ไฟล์เอกสารนามสกุล *.igs และ *.Stp เป็นไฟล์มาตรฐานสากลที่นําไปใช้ร่วมงานกับ โปรแกรม Solidworks NX Autocad หรือโปรแกรมวิเคราะห์ เช่น MSC MARC, ANSYS และ ABAQUS
  • 17.         16    View Toolbar แถบเครื่องมือมุมมอง คือแถบเครื่องมือการจัดการแสดงผลและกําหนดมุมมองของชิ้นส่วน ออกแบบ เช่นคําสั่งสําหรับการหด/ขยาย หมุน ย้าย ซ่อน/แสดง กําหนดมุมมองตั้งฉากกับ หน้าจอ และมุมมองแบบ Isometric เป็นต้น Flymode, Fill All In, Pan, Rotate, Zoom In, Zoom Out, Normal View, Create Multi-View, Isometric View, Shading with Edges, Hide/Show, Snap visible space Knowledge Toolbar แถบเครื่องมือองค์ความรู้ เครื่องมือสําหรับสร้างตัวแปร สร้างสมการและความสัมพันธ์ เพื่อ เชื่อมต่อโปรแกรมคํานวณ Formular, URL and comments, Check analysis toolbar, Design table, Knowledge Inspector, Lock selected parameters, Equivalent Dimensions Status Bar แถบแสดงสถานะแบ่งออกเป็นสามส่วนตามลักษณะการใช้งานคือ ส่วนแสดงสถานะการใช้ งานของคําสั่ง เป็นแถบแสดงสถานะการใช้งานและให้คําแนะนําการใช้งานคําสั่งต่างๆ ส่วน การป้อนข้อมูลหรือพิมพ์เรียกคําสั่งใช้สําหรับการป้อนข้อมูลให้กับคําสั่งหรือใช้เรียกคําสั่งและ เครื่องมือ เช่น C:Shaft เป็นการเรียกใช้เครื่องมือ Shaft หรือ C: Sketch เป็นการเรียกใช้Sketcher Workbench เป็นต้น
  • 18.         17    ส่วนการเปิดและปิดไดอะล็อกของเครื่องมือ ใช้สําหรับเปิดและปิดการแสดงผลของ ไดอะล็อกบ็อกเครื่องมือต่างๆที่เรียกใช้งาน ระนาบอ้างอิง (Default planes) CATIA การจัดระบบอ้างอิง หรือระนาบอ้างอิงไว้ตรงกลางของพื้นที่ออกแบบ ระนาบอ้างอิง จะสัมพันธ์กับระบบพิกัดแกน ระนาบอ้างอิงจะประกอบไปด้วย 3 ระนาบ คือ ระนาบ XY,XZ,YZ ระนาบอ้างอิง การใช้งาน Specification Tree ระนาบ XY ระนาบ YZ  ระนาบ XZ
  • 19.         18    Specification Tree เป็นส่วนในการจัดเก็บประวัติขั้นตอนการออกแบบเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และแก้ไข คือคําสั่งและตัวแปรต่างๆที่ออกแบบจะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งทุกขั้นตอน สามารถแก้ไขได้ การใช้งาน Specification Tree การซ่อน กดปุ่มที่คีย์บอร์ด F3 สําหรับการซ่อนและ แสดง การ เปิด/ปิด ใช้เมาท์คลิกส่วนใดๆของก้านโครงสร้าง สําหรับเปิดและปิดการใช้งาน การแตกรายการ คลิกเครื่องหมาย + หน้าฟีเจอร์นั้นๆเพื่อการ แตกรายการ และคลิก – เพื่อหดรายการ ประวัติการออกแบบ
  • 20.         19    การใช้งาน Compass Compass ใช้สําหรับหมุนเพื่อเปลี่ยนมุมของชิ้นงาน ส่วนประกอบ หรือรูปทรงที่ ทําการออกแบบ สามมารถใช้ได้ทั้งมุมมองสองมิติและสามมิติ รายละเอียดของ Compass ดัง รูป ตัวอักษร X,Y,Z แทนระบบแกน และจุดปลายของแกน Z จะเป็นการหมุนแบบอิสระ พื้นที่ สี่เหลี่ยมสีแดงเป็นการย้ายระนาบ XY ของ Compass ไปวางไว้ตําแหน่งใดๆของชิ้นงาน การหมุน (Rotation) ย้ายตําแหน่ง Compass เคลื่อนย้ายแนวแกน Z หมุนระนาบ XY หมุนระนาบ ZX เคลื่อนย้ายแนวแกน Y หมุนระนาบ YZ หมุนอิสระ เคลื่อนย้ายแนวแกน X
  • 21.         20    การเคลื่อนย้าย (Translation) การใช้งานเมาส์ การใช้โปรแกรม CATIA ผู้ใช้ต้องทราบวิธีการใช้เมาส์ทํางานร่วมกับโปรแกรมเพราะการ ป้อนข้อมูลหรือคําสั่งใดๆจะต้องใช้เมาส์เป็นหลัก ดังนั้นทักษะและความชํานาญของการใช้ เมาส์เป็นสิ่งสําคัญสําหรับการใช้งาน CATIA หน้าที่การใช้งานของเมาส์แบบสามปุ่ม เมาส์ปุ่มซ้าย ใช้เลือกเครื่องมือต่างๆ ใช้เรียกรายการเครื่องมือใน Standard Menu ใช้เลือกส่วนของชิ้นส่วนหรือรูปทรง เช่น ใช้คลิกเลือกเส้นขอบ พื้นผิว เมาส์ปุ่มขวา ใช้สําหรับการเลือกเมนูลัด ซึ่งใช้ร่วมกับเครื่องมือและ คําสั่งสําคัญต่างๆ เช่น Specification Tree ระนาบอ้างอิง แถบเครื่องมือ เมาส์ปุ่มกลาง ใช้สําหรับเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนที่ออกแบบ การใช้งานโดย การกดเมาส์ปุ่มค้างไว้ จากนั้นลากเมาส์ไปยังตําแหน่งที่ ต้องการ
  • 22.         21    การขยาย Zoom คลิกเมาส์ปุ่มกลางค้างไว้จากนั้นคลิกเมาส์ปุ่มขวาแล้วปล่อย (แต่ยังคงกดปุ่ม กลางค้างไว้) จากนั้นเลื่อนเมาส์ไปข้างหน้าสําหรับการย่อขนาดหรือเลื่อนเมาส์ถอยหลังสําหรับ การขยายขนาด หรืออีกวิธีคือการใช้เมาส์ปุ่มกลางพร้อมทั้งกด CTRL แล้วปล่อย จากนั้นเลื่อนเมาส์ไป ด้านหน้าและเลื่อนถอยหลังสําหรับการย่อและขยาย การหมุน Rotate โดยการคลิกเมาส์ปุ่มกลางและเมาส์ปุ่มขวาค้างไว้จากนั้นลากเมาส์หมุนอิสระ คีย์คําสั่งลัด (Hotkey) การใช้คีย์ลัดใน CATIA V5 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คีย์คําสั่งลัด หน้าที่การใช้งาน Function ESC ยกเลิกคําสั่ง F1 เรียกใช้Online Documentation F3 ซ่อน/แสดง Specification Tree CTRL+Z คําสั่งย้อนกลับ Undo CTRL+Y คําสั่งทําซํ้า CTRL+N สร้างไฟล์ใหม่ CTRL+O เปิดไฟล์ CTRL+S บันทึกไฟล์ ALT+ENTER เรียกเครื่องมือ Properties CTRL+F ค้นหา CTRL+U อัพเดทเครื่องมือ CTRL+D เรียกคําสั่ง Fast Multi instantiation สําหรับงาน Assemble Design CTRL+E เรียกคําสั่ง Define Multi instantiation สําหรับงาน Assemble Design SHIFT+F1 เรียกเครื่องมือ What is this
  • 23.         22    SHIFT+F2 เรียกใช้Specification Overview ALT+V+M เรียกหน้าต่าง Overview on Geometry ALT+F4 ปิดโปรแกรม การตั้งค่าสีพื้นหลัง Color Scheme โปรแกรม CATIA V5 สามารถปรับเปลี่ยนสีการมองเห็นได้ เช่นการเปลี่ยนสีพื้นหลัง สีของ เส้น สีของระนาบ การตั้งค่าเลือก Tool Option จากเมนูบาร์ จะปรากฏกล่องข้อความ เลือก Display จากนั้นคลิกแท็บ Visualization รูปการเปลี่ยนสี ถ้าต้องการปรับภาพพื้นหลังให้เลือกที่ Background
  • 24.         23    ถ้าต้องการตั้งสีของเส้น การกําหนด Favorites Workbenches Favorites Workbenches เป็นการกําหนดรายการโปรแกรม Workbenches โดยมีขั้นตอน ดังนี้ - คลิก Tool>Customize จะปรากฏกล่องข้อความดังรูป
  • 25.         24    -วิธีการเพิ่ม Workbench ที่แท็บ Start menu ให้ใช้เมาส์คลิกที่รายการ Work bench ที่ต้องการเพิ่ม ช่องจากซ้ายมือ จากนั้นคลิก รายการ Workbench จะปรากฏในช่องด้านขวา จากนั้น ออกจากหน้าต่าง Customize Workbench ที่เลือก การเปลี่ยนหน่วยวัด Unit การกําหนดหน่วยวัดสําหรับการออกแบบ เช่น ความยาว มุม เวลา มวล ปริมาตร เป็นต้น สามารถกําหนดได้โดยส่วนของ Options ตามขั้นตอนดังนี้ -คลิก Tool> Option จากเมนูบาร์ จากนั้นจะปรากฏกล่องข้อความ Option -เลือกรายการ General>Parameters and Measure จากนั้นเลือกแท็บ Unit -กําหนดหน่วยตามต้องการ เช่นความยาวเป็นมิลลิเมตร หน่วยมุมเป็น องศา หน่วยเวลาเป็น นาที -คลิก OK เพื่อออกจากกล่องข้อความ
  • 26.         25    การเปลี่ยนระบบหน่วย การกําหนดขนาดของ Grid Customize the Grid -เลือก Tool > Option จากเมนูบาร์ -เลือกเครื่องหมาย + เพื่อขยายตัวเลือก Mechanical Design จากนั้นคลิก Sketch -กําหนดระยะห่างของกริด Primary spacing:50 และ Graduation:10 Primary คือระยะห่างของกริดหลัก Graduation เป็นจํานวนของกริดย่อยต่อหนึ่งกริดหลัก เช่น ขนาดกริดหลักมีค่าเท่ากับ 50 mm จํานวนกริดย่อย 5 กริด ดังนั้นขนาดของกริดย่อยมีขนาด เท่ากับ 10 mm ในระยะห่าง 50 mm จะแบ่งกริดย่อยออกเป็น 5 กริด ส่วนๆละ 10 mm -คลิกตัวเลือก Generate update errors when the sketch is under-constrained เพื่อให้โปรแกรม อัพเดทข้อผิดพลาดอัตโนมัติของการกําหนดเงื่อนไขการบังคับ Constrain รูปทรงเรขาคณิต -เลือก OK เพื่ออกจากกล่องคําสั่ง Option
  • 28.         27    การวาดรูปทรงเรขาคณิต การวาดเส้นตรง Line เส้นตรงในโปรแกรมเขียนแบบจะประกอบไปด้วยส่วนรูปทรงเรขาคณิต 3 ส่วน คือ จุดเริ่มต้น จุดปลาย และเส้นตรง โดยใช้จะกําหนดพิกัดจุดเริ่ม และพิกัดจุดปลาย จากนั้นจะได้เส้นตรง การกําหนดพิกัดจุดเริ่มต้นและจุดปลายสามารถกําหนดโดยใช้เมาท์คลิกตําแหน่งใดๆบนพื้นที่ ออกแบบ หรือ ป้อนพิกัดผ่านแถบเครื่องมือ Sketch Tools กําหนดพิกัดเส้นตรงโดยแถบเครื่องมือ Sketch tools Specification Tree เส้นตรง Line วิธีการสร้างเส้นตรงมี 5 วิธี คือ เส้นตรงมาตรฐาน (Line) เส้นตรงอนันต์(Infinite Line) เส้นตรงจาก การสัมผัสส่วนโค้ง (Bi-Tangent Line) เส้นตรงระหว่างเส้นสองเส้นตัดกัน (Bisectiny Line) และ เส้นตรงที่ตั้งฉากกับส่วนโค้ง (Normal to Curve) Line Normal to Curve  Bisectiny LineBi‐Tangent Line  Infinite Line  Line 
  • 29.         28    Line เส้นตรงโดยการกําหนดจุด สองจุด   Infinite Line  เส้นตรงความยาวอนันต์ กําหนดทิศทางด้วยจุดสองจุด   Bi-tangent Line สร้างเส้นตรงสัมผัสกับส่วน โค้ง   Bisection Line สร้างเส้นตรงตัดกันของ เส้นตรงสองเส้น   Normal on Curve เส้นตรงที่ตั้งฉากกับส่วนโค้ง
  • 30.         29    การสร้างเส้นตรง คลิกเลือกไอคอนเส้นตรง จากแถบเครื่องมือวาดรูปทรงเรขาคณิต 2 มิติ จากนั้นใช้เมาท์คลิก พิกัดของจุดเริ่มต้นไปจุดปลายของเส้น หรือป้อนจากแถบเครื่องมือ Sketch tool การวาดเส้นตรง การวาดเส้นตรงอนันต์ คลิกเลือกไอคอนเส้นตรงอนันต์ จากแถบเครื่องมือ แถบเครื่องมือจะแสดงไอคอนคําสั่ง รูปแบบการสร้าง 3 แบบ คือเส้นตรงอนันต์แนวนอน แนวตั้ง และลากผ่านสองจุด
  • 31.         30    การวาดเส้นตรงอนันต์ การสร้างเส้นตรงสัมผัสสองส่วนโค้ง เลือกไอคอน จากแถบเครื่องมือ จากนั้นคลิกที่ส่วนโค้งแรกและคลิกเลือกส่วนโค้งที่สอง การสร้างเส้นตรงสัมผัสส่วนโค้ง
  • 32.         31    การสร้างเส้นตรงอาศัยการตัดกันของเส้นตรงสองเส้น เลือกไอคอน จากทูลบาร์ เลือกเส้นตรงเส้นแรกจากนั้นเลือกเส้นตรงเส้นที่สอง การสร้างเส้นตรงอาศัยการตัดกันของเส้นตรงสองเส้น การสร้างเส้นตรงตั้งฉากกับส่วนโค้ง เลือกไอคอน จากแถบเครื่อง เลือกส่วนโค้งที่ต้องการสร้างเส้นตั้งฉาก การสร้างเส้นตรงตั้งฉากกับส่วนโค้ง
  • 33.         32    การสร้างเส้นผ่าศูนย์กลาง เป็นเครื่องมือสําหรับสร้างแกนอ้างอิง โดยปกติแล้วแกนอ้างอิงจะใช้คู่กับเครื่องมือ Shaft สําหรับ สร้างวัตถุทรงทึบตับ โดยการหมุน คําสั่งสร้างโปร์ไฟล์ เป็นการสร้างรูปทรงเรขาคณิตแบบต่อเนื่องที่ผสมระหว่างเส้นตรงและส่วนโค้ง การวาดเส้น แบบต่อเนื่องระหว่างเส้นโค้งและเส้นตรง กล่าวคือจุดปลายของเส้นตรงส่วนโค้งจะเป็นจุดเริ่มต้น ของเส้นตรง ส่วนโค้งถัดไป การวาดเส้นตรงแบบต่อเนื่องกระทําได้ทั้งแบบรอบปิด หรือแบบรอบ เปิด เมื่อเรียกใข้เครื่องมือ Profile แถบเครื่องมือ Sketch tool จะปรากฏสั่งให้เลือกแบบของเส้นที่จะ สร้างสามแบบ คือ เส้นตรง ส่วนโค้งจากจุดสัมผัส และส่วนโค้งที่สร้างจากจุดสามจุดพร้อมทั้งมีฟิลด์ สําหรับป้อนค่าพิกัด ซึ่งฟิลด์สําหรับป้อนค่านี้จะแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะของเส้นที่สร้าง Tangle Arc  Tree point Arc  Line 
  • 34.         33    เครื่องมือสร้างรูปทรงสี่เหลี่ยมอย่างง่าย แถบเครื่องมือสําหรับการสร้างรูปทรงเรขาคณิตพื้นฐานแบบปิดในรูปแบบต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม สี่เหลี่ยมมุมเอียง สี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปหกเหลี่ยม และรูปทรงอื่นๆ แถบเครื่องมือ Predefined profile จะมีเครื่องมือทั้งหมด 9 อย่าง 1.การสร้างสี่เหลี่ยมมุมฉาก เลือกคําสั่ง Rectangle คลิกเลือกจุดเริ่ม ลากเมาท์ไปยังจุดที่สอง จากนั้นคลิก
  • 35.         34    การสร้างสี่เหลี่ยมมุมฉากแบบปรับเอียง เลือกไอคอน จากนั้นคลิกเมาท์ที่จุดเริ่ม จากนั้นเลื่อนเมาท์ไปยังจุดที่สอง เสร็จแล้วเลื่อนเมาท์ ไปคลิกยังจุดสุดท้ายเพื่อชิ้นงานจะยืดออก โดยกําหนดความหนาของรูปได้ การสร้างสี่เหลี่ยมมุมฉากแบบปรับเอียง การสร้างสี่เหลี่ยมด้านขนาน เลือกไอคอนสี่เหลี่ยมด้านขนาน จากแถบเครื่องมือ เลื่อนเมาท์คลิกที่จุดที่หนึ่ง จากนั้นเลื่อน เส้นตรงให้เอียงแล้วคลิกเพื่อกําหนดจุดที่สอง จากนั้นจะกําหนดความสูงของสี่เหลี่ยมด้วยการเลื่อน เมาท์ขึ้นด้านบนของเส้นตรงนั้นๆ
  • 36.         35    การสร้างสี่เหลี่ยมด้านขนาน การสร้างรูปทรง Elongated hole เลือกไอคอน จากนั้นกําหนดจุดที่หนึ่งและสองแล้วเลื่อนเมาท์ออกด้านข้างเพื่อกําหนดความ กว้างของรูป การสร้างรูปทรง Elongated hole
  • 37.         36    การสร้างรูปทรง Cylindrical Elongated hole เลือกไอคอน จากนั้นกําหนดจุดที่หนึ่งเพื่อเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม จากนั้นกําหนดจุดที่ สองเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของส่วนโค้ง แล้วกําหนดจุดที่สามหรือก็คือความยาวของ Elongated นั้นเสร็จ แล้วกําหนดความยาวโดยการเลื่อนเมาท์ออกมาด้านข้าง การใช้คําสั่ง Keyhole เลือกคําสั่ง Keyhole จากแถบเครื่องมือ Predefined profile จากนั้นกําหนดจุดศูนย์กลางของหัว กุญแจและจุดเริ่มต้นของเส้นศูนย์กลาง หรือ ป้อนพิกัดผ่านแถบเครื่องมือ Sketch tool จากนั้นคลิก เพื่อกําหนดจุดปลายของเส้นศูนย์กลาง เสร็จแล้วคลิกเพื่อกําหนดรัศมีของก้านกุญแจ ส่วนสุดท้าย เลื่อนเมาท์ไปคลิกพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อกําหนดรัศมีของหัวกุญแจและขนาดความยาวของก้านกุญแจ
  • 38.         37    คําสั่ง Keyhole การสร้างรูปทรงหกเหลี่ยม Hexagon เลือกไอคอน เลื่อนเมาท์ไปคลิกที่พิกัด (0,0) เพื่อกําหนดจุดศูนย์กลางหกเหลี่ยม จากนั้นเลื่อน เมาท์ออกด้านข้างคลิกซ้ายหนึ่งครั้งเพื่อกําหนดความโตของรูปหกเหลี่ยม รูปทรงหกเหลี่ยม Hexagon
  • 39.         38    การสร้างสี่เหลี่ยมจากจุดศูนย์กลาง Center Rectangle เลือกไอคอน เลือกเมาท์คลิกจุดที่ผู้ใช้กําหนดให้แป็นจุดศูนย์กลางเพื่อสร้างสี่เหลี่ยม จากนั้น เลื่อนเมาท์ออกด้านข้างเพื่อกําหนดความยาวและความกว้างของสี่เหลี่ยม จะได้รูปทรงสี่เหลี่ยมโดย ด้านทั้งสองจะมีขนาดเท่ากัน สี่เหลี่ยมจากจุดศูนย์กลาง Center Rectangle การสร้างรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานจากจุดศูนย์กลาง Center Parallelograms เลือกไอคอน จากนั้นเลือกเส้นตรงที่1และเส้นตรงที่สอง เลื่อนเมาท์ออกด้านข้างเพื่อกําหนด ความกว้างและความยาวของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
  • 40.         39    สี่เหลี่ยมด้านขนานจากจุดศูนย์กลาง Center Parallelograms เครื่องมือสร้างจุด Point ในโปรแกรม CATIA V5 การสร้างจุดสามารถสร้างได้5 วิธี 1.สร้างโดยระบบ เมื่อทําการวาดรูปต่างๆ เช่น สร้างเส้นตรง Line จะกําหนดจุดที่ปลายทั้งสองด้าน โดยอัตโนมัติ เมื่อสร้างวงกลมระบบจะกําหนดจุดศูนย์กลางให้ จะเห็นได้ว่าจุดที่ระบบสร้างให้มิได้ ใช้คําสั่งสร้างจุดแต่อย่างใด ซึ่งพิกัดของจุดดังกล่าวที่สร้างมาสามารถที่จะทําการปรับแก้ไขได้โดย การดับเบิ้ลคลิกที่จุด และป้อนค่าใหม่ 2.สร้างโดยผู้ใช้ โดยการใช้เมาท์คลิกพิกัดใดๆ หรือโดยการป้อนค่าพิกัด เช่น การสร้างจุด 3 จุดจาก เส้นตรง เป็นต้น
  • 41.         40    สร้างจุดโดยการใช้เมาท์คลิกตําแหน่งที่ต้องการในบริเวณพื้นที่ทํางาน สร้างจุดโดยการกําหนดพิกัดในระบบ 2 มิติ สร้างจุดหลายๆจุดโดยการแบ่งระยะห่างเท่าๆกันบนเส้นตรง หรือส่วนโค้ง สร้างจุดโดยการตัดกันระหว่างอิลิเมนต์สองอิลิเมนต์ สร้างจุดโดยการฉายลงไปยังส่วนโค้ง การฉายของจุดก็จะตั้งฉากกับส่วนโค้ง หรือแนวตามทิศทางหมุน เครื่องมือการสร้างวงกลมและส่วนโค้ง ใน CATIA V5 วงกลมจะประกอบด้วย 2 อิลิเมนต์คือ point ใช้สําหรับกําหนดพิกัดจุดศูนย์กลางของ วงกลม และ วงกลม Circle1 เพื่อกําหนดรัศมีของวงกลม ในกรณีของการสร้างส่วนโค้งจะใช้จุด กําหนดพิกัดอย่างน้อยสองจุด คือ Point2 เพื่อกําหนดจุดเริ่มต้นและจุดปลายของส่วนโค้ง ดังรูป Projection Point Point by Clicking  Point by Coordination  Equidistant  Point  Intersection  point 
  • 42.         41    การจัดเก็บอิลิเม้นของวงกลมและส่วนโค้ง แถบเครื่องมือต่างๆของการสร้างส่วนโค้งและวงกลม Circle  สร้างวงกลมกําหนดจุดศูนย์กลางและรัศมี 3 Point Circle  สร้างวงกลมโดยการผ่านจุดสามจุด Circle Using Coordinate  สร้างวงกลมโดยการระบุตําแหน่งผ่านไดอะล็อกบ็อก ป้อน ระบบพิกัดฉากหรือโพลาร์และรัศมี Tri‐tangle Circle  สร้างวงกลมโดยอาศัยส่วนสัมผัสของเส้นโค้งอย่างน้อยสามเส้น Arc Circle  3 Point Circle  Circle Using Coordinate Tri‐tangle Circle 3 Point Arc starting With Limits 3 Point Arc 
  • 43.         42    3 Point Arc  สร้างส่วนโค้งโดยอาศัยจุดสามจุด โดยอาศัยขอบเขตของส่วน โค้ง 3 Point Arc starting With  Limits  สร้างส่วนโค้งอาศัยจุดสามจุดโดยอาศัยขอบเขตของส่วนโค้ง จากจุดแรกและจุดที่สองออก Arc  สร้างส่วนโค้งจากการกําหนดจุดศูนย์กลางและคลิกขอบเขต การสร้างวงกลม เลือกไอคอน จากนั้นเลื่อนเมาท์ไปยังตําแหน่งจุดศูนย์กลาง เลื่อนเมาท์ออกเพื่อกําหนดความโต ของวงกลม หรือป้อนค่าพิกัด และรัศมีผ่าน Sketch tool รูปวงกลม
  • 44.         43    การสร้างวงกลมจากจุด 3 จุด เลือกไอคอน เลื่อนเมาท์คลิกพิกัดจุดแรก จากนั้นเลื่อนไปจุดที่สอง และเลือกจุดสุดท้าย การสร้างวงกลมแบบระบุพิกัด คลิกไอคอน จากนั้น เลือกค่าพิกัด H และ V จากนั้นก็ไปป้อนค่ารัศมีและมุม จุด1 จุด3  จุด2
  • 45.         44    การสร้างวงกลมอาศัยส่วนสัมผัส 3 ส่วน เลือกไอคอน จากนั้นเลื่อนเมาท์ไปคลิกเส้นโค้งทั้งสาม โปรแกรมจะทําการกําหนดจุด ศูนย์กลางเอง การสร้างส่วนโค้งจากจุด 3 จุด เลือกไอคอน จากนั้นเลือกพิกัดจุดเริ่มต้น เสร็จแล้วกําหนดพิกัดจุดที่สอง และพิกัดจุดสุดท้าย
  • 46.         45    การสร้างส่วนโค้งจากจุด 3 จุด การสร้างส่วนโค้งจากจุด 3 จุดโดยใช้ลิมิต เลือกไอคอน คลิกจุดเริ่มต้นจากนั้นเลือกจุดปลาย เสร็จแล้วเลื่อเมาท์ออกด้านข้างเพื่อกําหนด ความโตของวงกลม ชุดเครื่องมือการสร้างเส้น Spline เส้น Spline คือเส้นแบบต่อเนื่องที่ลากผ่านจุดแต่ละจุด โดยสามารถควบคุมทิศทางการสัมผัสผ่านจุด ที่เชื่อมต่อ การสร้างเส้น Spline ใน CATIA V5 แบ่งออกเป็น 2 โหมด คือ เส้น Spline ในโหมดของ 2D และการสร้างเส้น Spline ในโหมดของ 3D แต่ Spline ในโหมด 3Dนั้นสามารถใช้ได้เฉพาะการ ออกแบบรูปทรง Wireframe Surface หรือ Generative Shape Design การวาดเส้น 2D Spline จะคล้ายกับการวาดเส้น โปรไฟล์ต่างกันที่เส้น Spline สามารถควบคุมความ ต่อเนื่องและความลื่นไหลของส่วนโค้งได้โดยการควบคุมผ่านจุดควบคุม
  • 47.         46    แถบเครื่องมือ Spline การสร้างเส้น Spline เลือกไอคอน จากนั้นเลื่อนเมาท์ไปคลิกเพื่อกําหนดจุดเริ่มในตําแหน่งที่ต้องการ จากนั้นจึงค่อย เลื่อนไปหาจุดต่อๆไป เมื่อกําหนดหรือลากเส้นโค้งเสร็จแล้ว ให้กด ESC บนแป้นพิมพ์เพื่อออกจาการ ทํางาน เส้น Spline แบบที่2 คือเมื่อเราสร้างเส้น Spline เสร็จแล้วแต่ถ้าเมื่อเราคลิกขวาแล้วเลือก Close Spline โปรแกรมจะกําหนดเส้นโค้งจากจุดสุดท้ายมาหาจุดเริ่มต้นโดยอัตโนมัติ Connect Spline 
  • 48.         47    การเชื่อมส่วนโค้งด้วย Connect คือการสร้างเส้น Spline ที่เกิดจากการเชื่อมต่อเส้นระหว่าง 2 เส้น เส้น Spline ที่เกิดจากการเชื่อมต่อมี รูปแบบที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทิศทางและแนวสัมผัสระหว่างจุดเชื่อมต่อนั้นๆ เส้น Spline ที่เกิด จากการเชื่อมต่อสามารถจําแนกออกเป็นสองกลุ่มหลักคือ 1.เชื่อมต่อเส้นสองเส้นด้วยส่วนโค้ง (connect with an arc) 2.เชื่อมต่อเส้นสองเส้นด้วย Spline (Connect with a spline) วิธีการนี้จะมีรูปแบบการกําเนิดเส้น เชื่อมต่ออยู่สามวิธี คือ ความต่อเนื่องกับจุด (Continuity in point) ความต่อเนื่องในการสัมผัส (Continuity in tangency) และความต่อเนื่องส่วนโค้ง (Continuity in Curvature) Continuity in Curvature  Continuity in point  Continuity in tangency Connect with a spline  connect with an arc 
  • 49.         48    การเชื่อมต่อเส้นด้วยส่วนโค้ง (Connect with an Arc) 1.คลิกไอคอน จากแถบเครื่องมือ Spline จากนั้นคลิกตัวเลือก จากแถบเครื่องมือ Sketch tools 2.จากรูปคลิกจุดปลายของเส้นโค้ง จุดที่1 และ 2 เลือกจุดปลายที่1 และ 2 การเชื่อมต่อเส้นด้วยส่วนโค้ง การเชื่อมต่อด้วยส่วนโค้ง Spline connect 1.เลือกไอคอน Continuity in point จากนั้นเลือกจุดปลายเส้น ที่1 และ2 หรือเลือก in tangency จากนั้นเลือกจุดปลายทั้งสอง ดังรูป Continuity in point Continuity in tangency
  • 50.         49    การบอกขนาดและการบังคับ Constraints and Dimension ในการเขียนแบบและออกแบบทางด้านวิศวกรรม การบอกขนาดและบังคับรูปทรง (เส้น ส่วนโค้ง จุด วงกลม) เป้นความรู้ขั้นพื้นฐานและจําเป็นที่นักออกแบบต้องเรียนรู้และสามารถปฎิบัติได้ สําหรับ โปรแกรม CATIA V5 การบังคับรูปทรง Constrain และการบอกขนาด Dimension สามารถ กําหนดให้ดําเนินการโดยอัตโนมัติ หรือ กําหนดโดยผู้ใช้ขณะที่ทําการสร้างรูปทรงเรขาคณิต โดย โปรแกรมจะแนะนําให้บังคับรูปทรงอัตโนมัติ ซึ่งมีความสะดวกและรวดเร็วมากในการออกแบบ แสดงแถบเครื่องมือ Constraint ในโหมด Sketch ภายใต้แถบเครื่องมือนี้จะมีเครื่องมือในการบอก ขนาดและบังคับรูปทรงในแบบต่างๆ เช่นการบังคับเส้นแนวนอน แนวตั้ง สัมผัสแบบ tangent แถบเครื่องมือ Constraint ในการกําหนด Constraint สามารถจําแนกทางปฎิบัติออกเป็นสองแนวทาง คือ การบังคับรูปทรง Geometry Constraint และการกําหนดขนาด Dimension Constraint การบังคับโดยการบอกขนาด Dimensional Constraints Distance กําหนดระยะห่างระหว่างสองอิลิเมนต์ Length กําหนดความยาวของอิลิเมนต์ Angle กําหนดมุมระหว่างสองอิลิเมนต์ Radius/Diameter รัศมีหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมหรือส่วนโค้ง Animate Constraint  Edit Multi‐Constraint  Constraint Defined in  Dialog Box  Fix together  Auto Constraint Contact Constraint  Constraint 
  • 51.         50    Semimajor Axis แกนสมสาตรหลักของรูปวงรี Semiminor Axis แกนสมมาตรรองของรูปวงรี การบังคับโดยการกําหนดรูปทรง Geometrical Constraints ชื่อ สัญลักษณ์ ความมาย Symmetry กําหนดให้สมมาตรกับแกนหรือเส้นตรง Midpoint กําหนดให้อิลิเมนต์อยู่ตําแหน่งกึ่งกลางของอิลิเมนต์อื่น Equidistant point กําหนดให้จุดสามจุดหรือหลายๆจุดมีระยะห่างเท่าๆกัน Fix กําหนดตําแหน่งของอิลิเมนต์ให้อยู่กับที่ไม่ให้เคลื่อนย้าย Coincidence กําหนดให้ส่วนหนึ่งเท่ากับอีกส่วนหนึ่ง Concentricity กําหนดให้วงกลมหรือส่วนโค้งอยู่ในตําแหน่งร่วมศูนย์กัน Tangency กําหนดให้อิลิเมนต์อยู่ในแนวสัมผัสเดียวกับอิลิเมนต์อื่นๆ Parallelism บังคับเส้นตรงให้ขนานกับเส้นตรงอื่นๆ Perpendicularity บังคับเส้นตรงให้ตั้งฉากกับเส้นอื่น Horizontality กําหนดให้เส้นตรงอยู่ในแนวนอน Verticality บังคับเส้นตรงในแนวตั้ง
  • 52.         51    การใช้งาน Constraint แบบอัตโนมัติ ในโหมด Sketcher ของ CATIA V5 ขณะที่ทําการวาดรูปทรงเรขาคณิตใดๆผู้ใช้สามารถกําหนดการ บังคับ Constraint ของรูปทรงนั้นๆโดยอัตโนมัติ ด้วยการคลิกไอคอนการบังคับรูปทรง Geometry Constraint และหรือ ไอคอนการบังคับการบอกขนาด Dimension Constraint ที่แถบ เครื่องมือ sketch tools ไอคอนสําหรับการบังคับรูปทรงและกําหนดขนาดโดยอัตโนมัติ ตัวอย่างการบังคับ Constraint อัตโนมัติสําหรับการวาดวงกลม 1.เลือกไอคอน 2.คลิกไอคอน 3.ป้อนพิกัดจุดศูนย์กลาง 50 ,50 และกําหนดรัศมี 30 มิลลิเมตร 4.จะได้วงกลมพร้อมการบังคับเงื่อนไขการกําหนดขนาด Geometrical Constraint Dimensional Constraint 
  • 53.         52    แต่อย่างไรก็ตามการวาดรูปทรงเรขาคณิตที่ซับซ้อน การบังคับเงื่อนไข Constraint อาจจะไม่ครบ สมบูรณ์ จําเป็นต้องกําหนดการบังคับเงื่อนไข Constraint แบบ Manual เช่นการวาดรูปทรงเรขาคณิต จะเห็นได้ว่าการบังคับเงื่อนไข Constraint ยังไม่สมบูรณ์ การบังคับเงื่อนไข Constraint ของรูปทรงเรขาคณิตที่ยังไม่สมบูรณ์ การใช้งาน Constraint แบบ Manual เมื่อทําการวาดรูปทรงเรขาคณิตเสร็จ ผู้ใช้สามารถกําหนดเงื่อนไขบังคับขนาดและรูปทรงได้โดยการ คลิกไอคอนกําหนด Constraint ผ่าน Dialogbox หรือไอคอน เป็นการกําหนด Constraint โดยการใช้เมาท์คลิกรูปทรงนั้นๆ Constraint define in dialogbox เป็นคําสั่งกําหนดรูปทรงเรขาคณิตหรืออิลิเมนต์แต่ ละแบบ โดยเลือกจาก Dialogbox Constraint defimition เลือกชนิดของการกําหนดเงื่อนไขที่ ต้องการ โดยการบังคับเงื่อนไขนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของรูปทรงเรขาคณิต หรือแม้กระทั่งขึ้นอยู่ กับจํานวนการเลือกอิลิเมนต์เช่น เส้นตรง 1 เส้น การบังคับเงื่อนไขที่สามารถกระทําได้คือ กําหนด ขนาดความยาว Length ,fix,แนวนอน และ แนวตั้ง เป็นต้น
  • 54.         53    ไดอะล็อกบ็อก Constraint Definition Constraint กําหนดเงื่อนไขบังคับแบบพื้นฐาน การใช้งานโดยการคลิกไอคอน จากนั้นเลือก รูปทรงเรขาคณิตหรือ อิลิเมนต์ที่ต้องการบังคับ โปรแกรมจะกําหนดเงื่อนบังคับการบอกขนาดให้ อัตโนมัติ เช่น หากเป็นวงกลมก็จะบังคับการบอกขนาดเป็นรัศมีหรือเส้นผ่าศูนย์กลาง การกําหนดเงื่อนไขแบบ Manual ใช้สําหรับการแก้ไขเงื่อนไขการบังคับรูปทรงเรขาคณิตหลายๆค่า เช่น ค่าของการกําหนด ขนาดต่างๆใช้งานโดยการคลิกไอคอน จะปรากฎไดอะล็อกบ็อก Edit Multi-Constraint จากนั้นแก้ขนาดเงื่อนไขตามความต้องการ
  • 55.         54    ไดอะล็อกบ็อก Edit Multi-Constraint สําหรับการกําหนดเงื่อนไขแบบ Animation เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของ Constraint เมื่อมีการเคลื่อนไหว ช่วยวิเคราห์การออกแบบกลไก เป็นต้น ความครบถ้วนและความถูกต้องของการกําหนดเงื่อนไขและการบอกขนาดเป็นสิ่งสําคัญ สําหรับการออกแบบรูปทรงเรขาคณิต 2 มิติ การบังคับ Constraint ใน CATIA V5 สีของเส้นจะบ่ง บอกสถานะการบังคับ Constraint โดยความสัมพันธ์ระหว่างสีและสถานะของรูปทรงเรขาคณิต ดังนี้ สี สถานะ ขาว ยังไม่ได้กําหนดขนาด เขียว กําหนดเงื่อนไขการบอกขนาดสมบูรณ์แล้ว ม่วง กําหนดขนาดทับซ้อนกัน แดง รูปทรงผิดกําหนดขนาดไม่ได้
  • 56.         55    การสร้างมุมโค้ง Corner การสร้างมุมโค้งจากเส้นสองเส้นมีอยู่หลายรูปแบบ เมื่อคลิกไอคอน จะปรากฎตัวเลือกรูปแบบ ของการสร้างมุมโค้งที่แถบเครื่องมือ Sketch Tools  Trim all Elements  สร้างมุมโดยการตัดอิลิเมนต์ทั้งสองแล้วเกิดมุม  Trim First Element  ตัดอิลิเมนต์แรกที่เลือกแล้วสร้างมุมตามอิลิเมนต์แรก  No Trim  สร้างมุมโดยไม่ตัดอิลิเมนต์ทั้งสอง  Construction Line No Trim  สร้างมุมแล้วเปลี่ยนเป็นเส้นมาตรฐาน  Construction Line Trim  สร้างมุมและเปลี่ยนอิลิเมนต์ทั้งสองเป็นเส้นโครงสร้าง Standard Line Trim  สร้างมุมเป็นเส้นโครงสร้างและเปลี่ยนอิลิเมนต์เป็นเส้น โครงสร้างด้วย Construction Line No Trim Construction Line Trim No Trim  Standard Line Trim Trim First Element  Trim all Elements 
  • 57.         56    การใช้คําสั่ง Corner แบบต่างๆ การสร้างมุมเหลี่ยม Chamfering การสร้างมุมเหลี่ยมจากเส้นสองเส้นมีอยู่หลายรูปแบบ เมื่อคลิกไอคอน จะปรากฎตัวเลือก รูปแบบของการสร้างมุมโค้งที่แถบเครื่องมือ Sketch tool Trim First Element  Trim all Elements Standard Line Trim Construction Line Trim  Construction Line No TrimNo Trim  Standard Line Trim No Trim Construction Lin No Trim  Trim first Elements  Construction Line Trim Trim all Elements 
  • 58.         57    เครื่องมือสําหรับการลบหรือตัดเส้น Relimitations กลุ่มเครื่องมือสําหรับการลบหรือตัดเส้นประกอบด้วยเครื่องมือหลักๆ คือ เครื่องมือ Trim, Break, Quick Trim, Close และ Complement ไอคอนและคําอธิบายของคําสั่งดังกล่าว การใช้เครื่องมือ Trim เป็นเครื่องมือในการลบเส้นที่ไม่ต้อวการออกในกรณีที่เส้นสองเส้นตัดกัน อย่างไรก็ตามหากเส้นทั้ง สองไม่ตัดกัน เครื่องมือนี้สามารถยืดเส้นให้บรรจบกันได้เมื่อเรียกใช้งานเครื่องมือ Trim โดยคลิก ไอคอน จะมีตัวเลือกย่อยสําหรับการลบเส้น คือ ลบทั้งมุมหลังจุดตัด และลบเฉพาะเส้นแรก Trim all Elements  Standard Line Trim Construction Line Trim  No Trim Trim first Elements  Construction Line No Trim  Complement Quick Trim Break  Close  Trim 
  • 59.         58    ขั้นตอนการใช้คําสั่ง Trim 1.คลิกไอคอน แถบเครื่องมือ Sketch tools จะแสดงไอคอนสองไอคอน Trim All Elements และไอคอน Trim First Element 2.หากต้องการลบเส้นออกทั้งหมด คลิกเลือกไอคอน หรือหารต้องการลบเฉพาะเส้นแรกให้ เลือกคลิกไอคอน การใช้เครื่องมือ Quick Trim เป็นเครื่องมือลบเส้นที่ไม่ต้องการออกเช่นเดียวกับ Trim แต่ Quick Trim จะลดขั้นตอนออกโดยเลือก เส้นที่ต้องการลบ ตัดเพียงเส้นเดียว เมื่อคลิกไอคอน จะปรากฎเครื่องมือย่อยสามแบบที่ เครื่องมือ Sketch Tools คือ Break and Rubber in เป็นการลบเส้นที่เลือกออก Break And Rubber Out เป็นการเก็บเส้นที่เลือกไว้บนเส้นหลักจุดตัด และ Break And Keep เป็นการ ตัดเส้นออกเป็นส่วนๆ Trim All  Trim First  เลือกเส้นที่1  เลือกเส้นที่2  เลือกเส้นที่1  เลือกเส้นที่2 
  • 60.         59    การใช้งานเครื่องมือ Quick Trim การใช้แถบคําสั่ง Transformation เป็นคําสั่งช่วยเขียนแบบ เช่น ต้องการเขียนแบบงานที่ส่วนเหมือนกันเพิ่ม หรือต้องการหลายๆส่วน หรือต้องการแบบงานที่โตกว่าแต่ลักษณะเหมือนของเดิม หรือต้องการก็อปปี้ เส้นโดยไม่ต้องมาวาด เส้นใหม่ จะใช้คําสั่ง เช่น Mirror, Translate, Rotate, Scale, Offset การใช้คําสั่ง Mirror คือคําสั่งก็อปปี้ งานแบบกระจกเงา 1.เลือกเส้นหรือชิ้นงานที่ต้องการ Copy Break and Rubber in Break and Rubber Out  Break And Keep Offset Mirror  Symmetry  Translate  Rotate  Scale 
  • 61.         60    2.เลือกคําสั่ง Mirror 3.เลือกเส้นแบ่งกลาง ดังรูป การใช้คําสั่ง Mirror การใช้คําสั่ง Symmetry คือคําสั่งเคลื่อนย้ายแบบตรงข้ามชิ้นงานเดิม โดยเลือกไอคอน จากนั้นเลือกเส้นกรอบรูป จากนั้นเลือกเส้นแบ่ง เป็นคําสั่งที่ใช้แบบเดียวกับคําสั่ง Mirror การใช้คําสั่ง Symmetry เลือกเส้นกรอบรูปทั้งหมด เลือกเส้นแบ่ง
  • 62.         61    การใช้คําสั่ง Translate คือคําสั่งเพิ่มจํานวนชิ้นงานตามแนวแกนที่กําหนด ใช้งานโดยเลื่อนเมาท์ไปคลิกคําสั่ง Translate จะปรากฎ ไดอะล็อกบ็อกเพื่อใส่จํานวน และระยะห่างของชิ้นงาน จากนั้นเลือกเส้นหรือแบบ งานที่เราต้องการเพิ่มจํานวน เมื่อเลือกเส้นหรือแบบงานแล้วทําการกําหนดจุดเพื่ออ้างอิงตําแหน่งเริ่ม การใช้คําสั่ง Translate การใช้คําสั่ง Rotate คือการหมุนชิ้นงาน ตามขนาดที่ผู้ใช้กําหนดเอง การใช้คําสั่ง Rotate เลื่อนเมาท์คลิกไอคอน จะ ปรากฏไดอะล็อกบ็อก ของคําสั่ง เพื่อกําหนดมุมและจํานวนของชิ้นงาน จากนั้นกําหนดจุดหมุน และ เลือกจุดเริ่มต้นการหมุน
  • 63.         62    คําสั่ง Rotate การใช้คําสั่ง Scale คือคําสั่งที่ใช้เพิ่ม หรือ ลดขนาดความโตของแบบงาน วิธีการใช้เลือกแบบงาน จากนั้น เลื่อนเมาท์ไป คลิกไอคอน จะปรากฏไดอะล็อกบ็อก เพื่อกําหนด Scale ของชิ้นงาน จากนั้นเลือกจุดเริ่ม คําสั่ง Scale
  • 64.         63    การใช้คําสั่ง Offset เป็นคําสั่งคัดลอกวัตถุเดิมขึ้นมาใหม่ให้ขนานกับวัตถุเดิมโดยมีการกําหนดระยะห่างจากจุดเดิม การใช้ งาน เลือกไอคอน จากนั้นเลือกแบบงาน หรือเส้นตรง หรือ เส้นโค้งที่ต้องการคัดลอก เมื่อเลือก แบบงานแล้วทําการเลื่อนเมาท์เพื่อกําหนดชิ้นงานให้เล็กหรือโตกว่าชิ้นงานหลัก หรือใส่ในช่องคําสั่ง Sketch Tools การใช้คําสั่ง Offset เส้นประสีฟ้าคือเส้น Offset เมื่อขยายหรือ ลดลงแล้วคลิกซ้ายที่เมาท์ 1ครั้ง
  • 65.         64    ตัวอย่างที่ จงวาดรูปเรขาคณิต 2 มิติ พร้อมกําหนดเงื่อนไขบังคับให้สมบูรณ์ถูกต้องตามแบบงานที่ กําหนดให้ คําสั่งที่ใช้ Circle, line, Elongate Hole, Center Line ,Profile ขั้นตอนการออกแบบ 1.สร้างไฟล์งานใหม่ โดยคลิกเลือก Start Mechanical Design Part Design 2.จะปรากฏไดอะล็อกบ็อก New Part กําหนดชื่อชิ้นงาน จากนั้นเลือก Enable hybrid Design และ คลิก OK โปรแกรมจะนําเข้าสู่โหมด Part Design Workbench 3.คลิกไอคอน Sketch จากนั้นเลือกระนาบ YZ เป็นระนาบออกแบบจาก Specification tree หรือจากไอคอนระนาบอ้างอิงจากพื้นที่ออกแบบ
  • 66.         65    4.กําหนดขนาดของ Grid เป็น 10 X 10 มิลลิเมตร 5.คลิกไอคอน Axis เพื่อสร้างแกนอ้างอิง คลิกพิกัดจุดเริ่มต้น 0,0 ป้อนค่าความยาวเส้น 120 มิลลิเมตร กําหนดค่ามุม 30 องศา ดังรูป 6.คลิกไอคอน Circle สร้างวงกลมรัศมี R=75 ที่จุดเริ่มต้น 0,0 และวงกลมรัศมี R=40 ที่จุด ปลายของเส้น Axis 7.คลิกไอคอน Bi-tangent Line สร้างเส้นสัมผัสกับวงกลมทั้งสอง โดยคลิกที่ผิวสัมผัสของ วงกลมใหญ่และเล็ก 8.คลิกไอคอน Trim เพื่อลบส่วนของวงกลมภายในออก โดยคลิกที่ส่วนโค้งที่ต้องการหลังจากนั้น เลือกส่วนโค้งที่ไม่ต้องการออก
  • 67.         66    9.คลิกไอคอน Elongated hole จากนั้นคลิกพิกัดจุดศูนย์กลางจุดแรกที่พิกัดตําแหน่งเดียวกับ จุดศูนย์กลางของวงกลมเล็ก จากนั้นป้อนพิกัดจุดศูนย์กลางที่สอง โดยป้อนค่าพิกัดแนวนอน H=0 ความยาว L=300 และรัศมี R=30 กําหนดค่าที่แถบเครื่องมือ Sketch tools และทําการซ่อน Grid โดยคลิกที่ไอคอน 10.คลิกไอคอน Profile เพื่อสร้างรูปทรงเรขาคณิตด้านบนของชิ้นส่วนหน้าตัดลูกสูบ โดย ให้จุดศูนย์กลางส่วนของลูกสูบร่วมศูนย์กับก้านกระบอกสูบ เทคนิคการวาดคือเริ่มจุดใดจุดหนึ่ง
  • 68.         67    วาดโปรไฟล์ให้รูปทรงและสัดส่วนใกล้เคียงตามแบบที่กําหนดให้ จากนั้นใช้เครื่องมือบังคับเส้น Constraint กําหนดการบังคับเส้น และกําหนดขนาดของรูปทรง 11.จะได้รูปทรงเรขาคณิตของชิ้นส่วนเสร็จสมบูรณ์ 13.คลิกไอคอน Save เพื่อบันทึกงาน 14.คลิกไอคอน Animation Constraint คลิกเส้นบอกขนาดมุม 30 องศา จะปรากฏ ไดอะล็อกบ็อก Animation Constraint จากนั้นกําหนดมุมการเคลื่อนไหว ดังรูป จากนั้นให้คลิก คําสั่ง Run Animation  
  • 69.         68      ตัวอย่างการใช้คําสั่ง ในการเขียนรูปทรงเรขาคณิต  ตัวอย่างที่1   1.New Part   ‐sketch 2D โดยใช้ระนาบ Top Plane จากนั้นเลือกไอค่อน sketch           
  • 70.         69        2.เลือกระนาบ XY คลิกคําสั่ง Circle     ‐สร้างวงกลม2วง  -ให้ขนาดด้วยคําสั่ง Constraint    วงแรกเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 16 mm.  -วงที่2เส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 32 mm.    3.คลิกคําสั่ง Line  เขียนเส้นตรง2เส้นตั้งฉากกัน ความยาวเส้นละ 38 mm.       
  • 71.         70          4.เลือกคําสั่ง Offset   และให้ขนาดเท่ากับ 4.5 mm. และเลือกเส้นตรงปิดส่วนหัวทั้ง2ด้าน    5.เลือกคําสั่ง Corner   เพื่อลบมุมโค้งที่เส้นตรง รัศมีเท่ากับ 27 mm.    6.เลือกคําสั่ง Mirror  เพื่อคัดลอกเส้นตรงและเส้นโค้งให้ตรงข้ามกัน 
  • 72.         71        ตัวอย่างงานที่2     1.Newpart   2.Sketch 2D โดยใช้ระนาบ Front Plane   3.สร้างวงกลมด้วยคําสั่ง Circle   สร้างวงกลม 2 วงดังรูป   
  • 73.         72        4.คลิกคําสั่ง Circle   เพื่อสร้างวงกลมขึ้นมาอีก 2 วง  -สร้างวงกลมที่ 3 ความโตเท่ากับ 44 mm. ห่างจากวงกลมที่1 เท่ากับ 178 mm.  -สร้างวงกลมที่ 4 ร่วมศูนย์กับวงกลมที่ 3 รัศมีเท่ากับ 50 mm.   5.ใช้คําสั่ง Line   สร้างเส้นตรงแบบสัมผัสกับวงกลม 2 วงบนล่าง 
  • 74.         73          6.เลือกคําสั่ง Offset    คัดลอกเส้นตรงแบบกําหนดระยะ    7.จากนั้นใช้คําสั่ง ลบเส้นที่ไม่ต้องการออก 
  • 75.         74            8.จากนั้นทําการ Corner   มุมแบบใส่รัศมีโค้งตามแบบ   
  • 76.         75    ขั้นตอนการออกแบบชิ้นส่วนทรงตัน 3 มิติ ขั้นตอนการออกแบบชิ้นส่วนทรงตัน 3 มิติ ด้วยโปรแกรม CATIA V5 โดยอาศัยหลักการ Sketch- Based-Feature มีดังนี้ 1.กําหนดค่าหน่วยมาตรฐานในการออกแบบชิ้นส่วน เช่น กําหนดหน่วยวัดเป็นระบบเมตริกหรือ ระบบนิ้ว ตั้งขนาดความยาวกริด และตัวเลือกอื่นเช่น สีสกรีน หรือเส้น 2.เลือกระนาบการวาดรูปทรงเรขาคณิตเพื่อใช้เป็นโปรไฟล์ของฟีเจอร์ต่างๆ คือ XY YZ XZ ซึ่งจะ แสดงตรงกลางพื้นที่ทํางาน 3.วาดรูปทรงเรขาคณิต 2 มิติ คลิกเลือกไอคอน Sketch จากนั้นจะเข้าสู่โหมด Sketch Workbench สําหรับวาดโปรไฟล์ของชิ้นส่วน เมื่อออกจาก Sketch จะกลับสู่โหมดของ Part Design 4.ใช้ฟีเจอร์หลัก Base Features ในการสร้างชิ้นส่วนทรงตัน 3 มิติ ฟีเจอร์หลักได้แก่ ชุดเครื่องมือการ ยืด (Extrusion) การหมุน (Revolution) และการยืดตามโครงเส้น (Rib) เป็นต้น 5.การตกแต่งแก้ไข จะใช้เครื่องมือในกลุ่มฟีเจอร์ Dressing-Up เช่นการทํา Fillet การทํามุม โค้ง การ ทํามุมเหลี่ยม Chamfer หรือการผนัง Shell เป็นต้น 6.เมื่อออกแบบชิ้นส่วนทรงตันในฟีเจอร์เสร็จแล้ว สามารถที่จะปรับแต่งแก้ไข พารามิเตอร์ของ ฟีเจอร์ใดๆก็ได้ โดยดับเบิ้ลคลิกไอคอนฟีเจอร์นั้นที่ Specification Tree 7.สร้างฟีเจอร์ที่เป็นแบบ Sketch-Based Feature, Surface Based Feature, Dressing Up feature และ Transformation Feature สําหรับชิ้นงานต่อได้ โดยสามารถที่จะเลือกระนาบการ Sketch จากผิวของ ชิ้นงาน หรือสร้างระนาบใหม่ได้ และหากมีฟีเจอร์มากกว่าหนึ่งฟีเจอร์สามารถใช้ฟีเจอร์ Boolean Operation ได้
  • 77.         76    การใช้งาน Pad คือคําสั่งสร้างรูปทรงเรขาคณิต โดยการยืดตรงตามทิศทางด้วยขนาดที่กําหนด Ex 1.ต้องการยืดชิ้นงานให่มีความหนา 60 มิลลิเมตร เลือกคําสั่ง Insert แล้วไปที่ Base Feature เลือก คําสั่ง Pad จากนั้นคลิกที่รูป 2 มิติ จากนั้นไปคลิกที่รูป 2 มิติ แล้วใส่ขนาดความหนาในช่อง Length
  • 78.         77    รูปชิ้นงานที่ให้ความหนาแล้ว การใช้คําสั่ง Drafted Filleted Pad เป็นคําสั่งยืดชิ้นงานแบบกําหนดความหนา และกําหนดมุมโค้งของขอบงาน Ex2.ต้องการยืดชิ้นงานให้มีคว่มหนา 60 มิลลิเมตร และมุมโค้งของขอบชิ้นงานเท่ากับ 5 มิลลิเมตร เลือกคําสั่ง Insert แล้วไปที่ Base Feature เลือกคําสั่ง Drafted Filleted Pad จากนั้นคลิกที่รูป 2 มิติ
  • 79.         78    ใส่ความหนาของชิ้นงานลงในช่อง Length = 60 มิลลิเมตร ในช่อง Limits คือทิศทางการยืดให้เลือก ระนาบ XY และในช่อง Angle คือพื้นผิวที่ 1 และพื้นผิวที่ 2 ทํามุมต่อกัน เรากําหนดให้ทกับ 0 เพื่อให้ พื้นผิวที่ 1 และ2 เท่ากัน จากนั้นในช่อง Lateral Radius คือเส้นขอบที่ขนานกับระนาบ XY ให้ขนาดเท่ากับ 5 มิลลิเมตร และช่อง First limits Radius คือเส้นที่ตั้งฉากกับระนาบ XY ให้ขนาดเท่ากับ 5 มิลลิเมตร จากนั้นไปคลิกที่คําสั่ง Previews เพื่อดูรูป เมื่อตรงตามที่ต้องการแล้วเลือก OK
  • 80.         79    การใช้คําสั่ง Pocket คือคําสั่งที่ใช้เจาะรูตามรูป 2 มิติ บนชิ้นงาน EX 3.ต้องการเจาะชิ้นงานเป็นช่องสี่เหลี่ยม ความลึก 20 มิลลิเมตร -ทําการ sketch รูปสี่เหลี่ยมบนชิ้นงานตามรูป จากนั้นเลือกคําสั่ง Pocket แล้วคลิกที่แบบ 2 มิติ จากนั้น ใส่ค่าความลึก แสร็จแล้วเลือก OK
  • 81.         80    การใช้คําสั่ง Shaft คําสั่ง Shaft คือคําสั่งสร้างชิ้นส่วน 3 มิติโดยอาศัยการหมุนของโปรไฟล์รอบแกนอ้างอิง โดยกําหนด ทิศทาง แกนอ้างอิง และมุมหมุน EX.5 สร้างแบบ 2 มิติบนระนาบที่ต้องการหมุน จากนั้นเลือกคําสั่ง Shaft
  • 82.         81    หรือหากจะกําหนดความกลวงของชิ้นงาน การใช้งานเลือกตัวเลือก Thick profile จากนั้นกําหนดค่า ความหนาที่ 1 และ2 เป็นการเพิ่มความหนาโดยอ้างอิงจากขอบของโปรไฟล์ออกไปด้านนอก การใช้คําสั่ง Hole คือคําสั่งเจาะรู สามารถกําหนดความโต ความลึก บ่ารูเจาะแบบมุมและแบบฉาก EX.6 ทํารูเจาะบนชิ้นงาน 3 มิติ และบ่ารูเจาะทั้งแบบมุมและฉาก -เลือกคําสั่ง Hole จากนั้นคลิกบนชิ้นงานที่ทําการเจาะ จากนั้นเลือกคําสั่ง Positioning Sketch เพื่อ กําหนดระยะของรูเจาะให้ห่างจากขอบชิ้นงาน หรือ ตามจุดที่เราต้องการ