SlideShare a Scribd company logo

More Related Content

More from Piyawat Katewongsa (15)

Act17
Act17Act17
Act17
 
Act15
Act15Act15
Act15
 
Act14
Act14Act14
Act14
 
Act13
Act13Act13
Act13
 
Act12
Act12Act12
Act12
 
Act11
Act11Act11
Act11
 
Act10
Act10Act10
Act10
 
Act9
Act9Act9
Act9
 
Act7
Act7Act7
Act7
 
Act6
Act6Act6
Act6
 
Act5
Act5Act5
Act5
 
Intro
IntroIntro
Intro
 
Act4
Act4Act4
Act4
 
Act3
Act3Act3
Act3
 
Act2
Act2Act2
Act2
 

Act8

  • 2. พื้นที่ต้นแบบของกิจกรรม : อ�������������������������������งค์การบริหารส่วนตำ�บลคลองกระจัง จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มาของกิจกรรม จังหวัดเพชรบูรณ์ประชากรส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐาน มาจากต่างถิ่น เช่น จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัด นครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น จึง ทำ�ให้วัฒนธรรมและภาษาแต่ละชุมชนภายในจังหวัด มีความหลากหลาย รำ�กลองยาวเกิดขึ้นในตำ�บลคลอง กระจัง จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามวัฒนธรรมของคนแต่ละ ท้องถิ่นที่มาอยู่รวมกัน และด้วยอุปนิสัยของประชากร ในชุมชนส่วนใหญ่รักความสนุกสนาน ชอบเสียงดนตรี จึงทำ�ให้รำ�กลองยาวได้ถูกนำ�มาใช้เล่นในช่วงเทศกาล ต่างๆ จนกลายมาเป็นวัฒนธรรมและประเพณีสืบทอด กันมาช้านาน ปัจจุบันคนในชุมชนตำ�บลคลองกระจังทุกเพศ ทุกวัยกำ�ลังให้ความสนใจกับการออกกำ�ลังกายเพื่อ สุขภาพอย่างกว้างขวาง และศาสตร์สาขาการออก กำ�ลังกายมีความหลากหลายให้ผู้ที่รักการออกกำ�ลัง กายได้เลือกมากมาย รำ�กลองยาวเป็นอีกทางเลือก หนึ่งของชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ที่ให้ความสนใจและ นำ�เอาไปประยุกต์ใช้เพื่อออกกำ�ลังกาย ซึ่งประชาชน ตระหนักว่าการใช้รำ�กลองยาวในการออกกำ�ลังกาย ไม่เพียงแต่จะส่งเสริมด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ แต่ยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีอันล้ำ�ค่า ของนาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่ในโอกาสเดียวกัน นอกจาก นี้ การรำ�กลองยาวยังสร้างบรรยากาศ สีสัน ความ บันเทิงแก่คนรอบข้าง “รำ�กลองยาว” หรือเรียกอีก อย่างว่า “การเล่นเถิดเทิง” มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นการ ละเล่นของพม่า ที่นิยมเล่นกันมาก่อนเมื่อครั้งพม่ามา ทำ�สงครามกับไทยในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่น สนุกสนานด้วยการละเล่นต่างๆ ซึ่งทหารพม่าบาง พวกก็เล่น “กลองยาว” คนไทยเราได้เห็นก็จำ�มาเล่น กันบ้าง และยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่งซึ่งดนตรีไทย นำ�มาใช้บรรเลง มีทำ�นองเป็นเพลงพม่า เรียกกันมา แต่เดิมว่า “เพลงพม่ากลองยาว” ต่อมาได้มีผู้ปรับ เป็นเพลงระบำ� กำ�หนดให้ผู้รำ�แต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่ง ศีรษะโพกผ้าสีชมพู (หรือสีอื่นๆ บ้างตามแต่จะให้สี สลับกัน เห็นสวยอย่างแบบระบำ�) มือถือขวานออก มาร่ายรำ�เข้ากับจังหวะเพลง ซึ่งเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อ หนึ่งว่า “เพลงพม่ารำ�ขวาน” อีกความหนึ่งมีผู้กล่าวว่า การเล่นเทิงบ้องกลองยาวนี้ เพิ่งมีเข้ามาในเมืองไทย เมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง เมื่อชาวไทยเราเห็นเป็นการละเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่าย ก็เลยนิยมเล่นกันแพร่หลายไปแทบ ทุกหัวบ้านหัวเมือง สืบมาจนตราบทุกวันนี้ กลองยาว ที่เล่นกันในวงหนึ่งๆ มีเล่นกันหลายลูกมีสายสะพาย เฉวียงบ่าของผู้ตี ลักษณะรูปร่างของกลองยาวขึงหนัง ด้านเดียวอีกข้างหนึ่งเป็นหางยาว บานปลายเหมือน กับกลองยาวของชาวเชียงใหม่ แต่กลองยาวของชาว เชียงใหม่เป็นกลองยาวจริงๆ ยาวถึงประมาณ 2 วา ส่วนกลองยาวอย่างที่เล่นกันนี้ ยาวเพียงประมาณ 3 ศอกเท่านั้น ซึ่งสั้นกว่าของเชียงใหม่มาก ทางภาค อีสานเรียกกลองยาวชนิดนี้ว่า “กลองหาง” กลองยาว แบบนี้ของพม่าเรียกว่า “โอสิ” มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ของชาวไทยอาหมในแคว้นอัสสัม เว้นแต่ กลองยาว ของชาวไทยอาหมรูปร่างจะคล้ายตะโพน คือ หัวท้าย เล็ก กลางป่องใบเล็กกว่าตะโพน ขึ้นหนังทั้งสองข้าง ผูกสายสะพายตีได้ ตามที่เห็นวิธีเล่นทั้งกลองยาวของ พม่าและกลองของชาวไทยอาหม ดูวิธีการเล่นเป็น แบบเดียวกัน อาจเลียนแบบการเล่นไปจากกันก็ได้ เมื่อรัฐบาลไทยมอบให้คณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากร ไปแสดงเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี ณ นครย่างกุ้งและ มัณฑเลย์ ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน พ.ศ. 2509 ทางรัฐบาลพม่าได้จัดนักโบราณคดีพม่าผู้หนึ่ง เป็นผู้นำ�ชมพิพิธภัณฑ์สถานและโบราณสถานเรื่อง กลองยาว และได้กล่าวว่า พม่าได้กลองยาวมาจาก ไทยใหญ่อีกต่อหนึ่ง การละเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้อง ซึ่งคงเรียกตามเสียงกลองยาว กล่าวคือ มีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด-เทิง-บ้อง-เทิง-บ้อง” ก็เลยเรียกตามเสียง ที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอย่างอื่น รำ�กลองยาวส่งเสริมการออกกำ�ลังกาย
  • 3. แนวทางการดำ�เนินกิจกรรม ตามปกติการละเล่นกลองยาว ถือเป็นอีกประเพณี หนึ่งที่ทางประชาชนในพื้นที่ ตำ�บลคลองกระจัง อำ�เภอ ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ พยายามที่จะอนุรักษ์ให้คง อยู่โดยการประชาสัมพันธ์ให้คนในพื้นที่ให้รู้จักการรำ� กลองยาวเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น โดยนำ�ไป แสดงในงานสำ�คัญต่างๆ เช่น งาน 5 ธันวามหาราช งานบรวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพ และกิจกรรมเสริม ต่างๆ ในโรงเรียน และเมื่อได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการ สนับสนุนโครงการกีฬาท้องถิ่นพื้นบ้าน คณะดำ�เนิน การจึงได้ดำ�เนินการสานต่อเจตนารมย์ดังกล่าว โดยมี วัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบการออก กำ�ลังกายหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในชุมชน กิจกรรมของโครงการเริ่มต้นโดยการสนับสนุนให้ชุมชน ต่างๆ ในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มเพื่อคิดค้น และหาจุด เด่นของท่าเต้น ท่ารำ�ของพื้นที่ตน และนำ�มาประชัน กันในการการแข่งขันที่ทางคณะฯ จัดขึ้น เพื่อสร้าง เครือข่าย กลุ่มแกนนำ� การรำ�กลองยาวเพื่ออนุรักษ์ ศิลป์พื้นบ้านภายในชุมชนที่เข้มแข็ง และยั่งยืนสืบไป เป้าหมาย 1. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้ใช้เวลาว่างออก กำ�ลังกายด้วยการรำ�กลองยาวเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ 2. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านการรำ�กลองยาว 3. เพื่อนำ�ศิลปะการละเล่นพื้นบ้านมาพัฒนาและ ประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบของการออกกำ�ลังกายในชุมชน 4. เพื่อให้เกิดพื้นที่ในการถ่ายทอดศิลปะการรำ� ตามจังหวะกลองยาวกับประชาชนในชุมชน ประโยชน์ 1. ทำ�ให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจ แข็งแรงจากการรำ�กลองยาว ทำ�ให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และความสามัคคีของคนในชุมชน ทำ�ให้ มีพื้นที่สร้างสรรค์ทางสังคม ในการพบปะ พูดคุย และ ทำ�กิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน 2. ทำ�ให้ประชาชนมีความตระหนักถึงคุณค่าของ การรำ�กลองยาวเพื่อออกกำ�ลังกาย ระยะเวลาที่ใช้ การรำ�กลองยาว ถือได้ว่าเป็นการออกกำ�ลังกาย ชนิดหนึ่ง ดังนั้น ระยะเวลาในการรำ�กลองยาว ควร อยู่ระหว่าง 30-60 นาที ต่อเนื่องกันหรือขึ้นอยู่กับ อิริยาบถ ระดับความหนักของจังหวะ และท่าทางของ การออกกำ�ลังกายจากการรำ�กลองยาว กลุ่มของผู้เล่น การรำ�กลองยาวนั้น ถ้าหากเล่นเพื่อสุขภาพและ นันทนาการ ประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถรำ�กลอง ยาวส่งเสริมการออกกำ�ลังกายเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่นได้ทุกเพศ ทุกวัย จำ�นวนผู้เล่น จำ�นวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมรำ�กลองยาว หาก เป็นการรำ�เพื่อสุขภาพและนันทนาการ ผู้ที่สนใจเข้า ร่วมกิจกรรมสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่จำ�กัดจำ�นวน อุปกรณ์ที่ใช้ 1. กลองยาว 4 ใบ 2. ฉิ่ง 1 คู่ 3. ฉาบ 1 คู่ 4. กรับไม้ 1 คู่ 5. ฆ้อง 1 ใบ สถานที่ ลักษณะของพื้นที่เป็นลานที่มีบริเวณกว้าง ขั้นตอนการรำ�กลองยาว 1. การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) การอบอุ่น ร่างกายก่อนรำ�กลองยาวเพื่อสุขภาพ มีจุดประสงค์ เพื่อเพิ่มอัตราการไหลเวียนของเลือด เพิ่มอุณหภูมิของ ร่างกาย การทำ�งานของหัวใจและกล้ามเนื้อลาย วิธี การอบอุ่นร่างกายจะค่อยๆ เพิ่มจังหวะการเคลื่อนไหว ในส่วนต่างๆ ของร่างกายขึ้นไปตามลำ�ดับ เพื่อเตรียม ร่างกายสำ�หรับระดับการรำ�ที่หนักขึ้น โดยใช้ระยะเวลา ประมาณ 5-10 นาที 2. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ (Stretching) ใน การรำ�กลองยาวควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและ กายบริหารแบบเบาๆ เช่น ข้อมือ ข้อศอก แขน หัว ไหล่ ขา หลังส่วนล่าง ข้อตะโพก ขาหนีบ และส่วน ต่างๆ ของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับท่ารำ�ที่นำ�มาประยุกต์ เพื่อช่วยลดโอกาสการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อ อันเนื่องมาจากอาการบาดเจ็บในระหว่างการรำ� 3. การอบอุ่นร่างกายด้วยท่ารำ�กลองยาว การ อบอุ่นร่างกายด้วยท่ารำ�กลองยาวนั้นเป็นการเตรียม ความพร้อมของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายพร้อมที่จะ ทำ�การรำ�กลองยาวอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ทักษะท่าทำ� ต่างๆ เพื่อทำ�ให้ร่างกายมีพร้อมที่จะทำ�การเคลื่อนไหว ในท่าทางที่ใช้เมื่อทำ�กิจกรรมจริง นอกจากนี้ เป็นการ ช่วยฝึกฝนทักษะพื้นฐานของท่ารำ�กลองยาว เพื่อให้ เกิดความเคยชินและสร้างความพร้อมให้กับร่างกาย 63
  • 4. ในบริเวณกล้ามเนื้อที่จะต้องใช้ในการรำ�กลองยาวอีก ด้วย ทั้งนี้ การอบอุ่นร่างก่ายด้วยท่าทำ�กลองยาว ผู้รำ� กลองยาวอาจปฏิบัติได้ด้วยการรำ�พร้อมกันกับการเล่น ของกลองยาวในจังหวะที่ช้าและเบาก่อนประมาณ 5 นาที 4. ขั้นตอนการรำ�กลองยาว การแสดงท่ารำ�เพื่อ การออกกำ�ลังกาย ท่าที่ 1 ท่าสอด สร้อยมาลาแปลง ผู้รำ�ย่ำ�เท้าอยู่กับที่ มือซ้ายตั้งวงอยู่ระดับ อก มือขวาจีบหงาย ยื่นแขนไปข้างลำ�ตัว กระทุ้งแขนขวา 4 ครั้ง ทำ�สลับ ซ้ายและ ขวา จำ�นวน 5 ชุด ท่าที่ 2 ท่าเขิน อาย ผู้รำ�ย่ำ�เท้าอยู่กับ ที่ มือซ้ายเท้าเอว มือขวาแตะ แก้ม ย่ำ�เท้าหมุนไปทางซ้าย ย่ำ� เท้าหมุนไปทางขวา สลับกันไป ทำ�จำ�นวน 5 ครั้ง ท่าที่ 3 ท่าแขก เต้า เข้ารัง ผู้รำ�ย่ำ�เท้าอยู่กับที่ ยก เท้าซ้ายก้าวมาข้างหน้า มือซ้ายเท้าเอว มือขวา จีบหงายยื่นมาข้างลำ�ตัว ระดับเอวกระทุ้ง 3 ครั้ง ทำ�สลับกันทั้งซ้ายและขวา ด้านละ 5 ชุด ท่าที่ 4 ท่ายูงฟ้อนหาง ผู้รำ�ย่ำ�เท้าเดินหน้าถอยหลัง ถอยหลังก้มหน้า โน้มตัวลงแขนสองข้างแนบลำ�ตัว มือจีบหงายอยู่ ระดับสะโพก ย่ำ�เท้าเดินหน้าเงยหน้าขึ้น แขนยกอยู่ บนศีรษะ มือตั้งวงอยู่ระดับบนศีรษะ ทำ�สลับกันขึ้น ลง จำ�นวน 5 ชุด ท่าที่ 5 ท่าชักแป้งผัดหน้า ผู้รำ�ย่ำ�เท้าเดินหน้า ถอย หลัง มือซ้ายจีบคว่ำ�ยื่นแขนระดับ หน้า มือจีบหงายยกแขนในระดับ ลำ�ตัว ทำ�สลับกัน ซ้ายทั้งขวา จำ�นวน 5 ชุด ท่าที่ 6 ท่าจีบข้าง ผู้รำ�ย่ำ�เท้า ขาซ้ายยกขึ้น เหนือพื้นเล็ก น้อย มือทั้ง สองจีบหวาย หันมาทาง ซ้ายยกใน ระดับเหนือ เอว ทำ�สลับ กัน ทั้งซ้าย และขวา จำ�นวน 5 ชุด ในการรำ�กลองยาวเพื่อสุขภาพ นั้น ชุมชนที่สนใจสามารถประยุกต์ ท่ารำ�ประกอบดนตรีกลองยาว บรรเลงได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน ท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมการออกกำ�ลังกายเพื่อ อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นได้อีกด้วย หลังการรำ�กลองยาว หลังจากที่รำ�กลองยาวเล่นจบชุดท่ารำ� มีความ จำ�เป็นอย่างยิ่งในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบช้าๆ โดยอาจใช้การลดระดับความหนักของท่ารำ�ให้ช้าลง คล้ายๆ กับตอนอบอุ่นร่างกายของช่วงแรกในการ เริ่มรำ�กลองยาว ซึ่งจะช่วยปรับระบบการหายใจให้ เป็นปกติและรักษาระดับออกซิเจนในร่างกาย อีกทั้ง ผู้รำ�ควรทำ�การยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่คล้ายกับช่วงก่อน การรำ�กลองยาว ซึ่งจะช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือให้กล้ามเนื้อกลับคืนสภาพปกติหลังจากการรำ� เพื่อลดอาการตึง เกร็งของกล้ามเนื้อ ทำ�ให้อาการตึง กล้ามเนื้อในวันต่อมาลดน้อยลง 64