SlideShare a Scribd company logo
1 of 47
ความหมายของวิทยุกระจายเสียง
วิทยุกระจายเสียง หมายถึง การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศโดย
ใช้คลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อส่งสารกระจายออกอากาศไปถึง
มวลชนที่อยู่ในถิ่นต่าง ๆ ได้รับโดยตรง
เป็นสื่อมวลชนชนิดหนึ่งที่เผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว แต่เพราะได้ยิน
แต่เสียงไม่เห็นภาพ ดังนั้นในการเผยแพร่ข่าวสารนั้น ๆ จึงควรให้ข้อมูล
ครบถ้วน
1.รายการเพลง
เพลงร่วมสมัยสาหรับผู้ใหญ่
เพลงทันสมัยสาหรับวัยรุ่น
เพลงลูกทุ่ง
เพลงเฉพาะทาง
รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียง
2.รายการที่มิใช่รายการเพลง
รายการละครวิทยุ
รายการข่าว
รายการสัมภาษณ์
รายการพูดคุย
รายการนิตยสารทางอากาศ
รายการสารคดี
รายการอื่น ๆ
1.เพลงร่วมสมัยสาหรับผู้ใหญ่
รายการเพลงประเภทนี้มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นผู้ใหญ่วัยทางาน
อายุ 25-49 ปี ลักษณะเพลงที่เปิดจะรื่นหู ฟังสบาย ผู้ดาเนินรายการมีทักษะ
ในการดาเนินรายการอย่างสุภาพ ไม่กระโชกโฮกฮาก มักเปิ ดเพลง
อย่างต่อเนื่องและมีสัดส่วนของเพลงเก่ามากกว่าเพลงใหม่
รายการลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (Lukthung FM) 95 เมกะเฮิร์ตซ์
เป็นรายการวิทยุ เอฟ.เอ็ม.รายแรกของไทยที่เปิดเพลงลูกทุ่งตลอด 24 ชม.
ดาเนินการผลิตโดย “ลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม.”
ลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. ได้รับความนิยมจากผู้ฟังเป็ นอันดับ 1
หลังการกระจายเสียงเพียงไม่กี่เดือน โดยขึ้นนาหน้ารายการจากสถานีอื่น
ในระบบเอฟเอ็มด้วยกันซึ่งเปิดแต่เพลงสตริง จนวันที่ 1 พฤษภาคม 2541
ได้ย้ายไปกระจายเสียงทางสถานีวิทยุกระจายเสียง อสมท เอฟเอ็ม 95
เมกะเฮิร์ตซ์ โดยมีสโลแกนว่า “ต้นฉบับสถานีวิทยุลูกทุ่งตัวจริง”
FM 95 MHz สัมภาษณ์ เด่นชัย สายสุพรรณ
โดยดีเจหมีและดีเจพัฒน์
เป็นรายการวิทยุที่เชิญศิลปินมาสัมภาษณ์ โดยมีผู้ดาเนินรายการ
สัมภาษณ์ 2 คน เป็นการสนทนากันระหว่างผู้ร่วมรายการเสียส่วนใหญ่
และเปิดเพลงสลับไปมา
ตัวอย่างคลิปเสียง
ผู้ดาเนินรายการ ใช้ระดับภาษาเป็นภาษากึ่งทางการที่เข้าใจง่าย
มีความเป็นกันเองสูง อักขระการออกเสียงควบกล้า ถูกต้อง ชัดเจน
ใช้สรรพนามเรียกตัวเองว่า “ผม” และเรียกผู้ให้สัมภาษณ์ ว่า “พี่”
ใช้คาภาษาต่างประเทศ เช่น “คนที่มีอายุ 30 40 up”
มีการใช้เสียงเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจ เกิดอารมณ์ ความรู้สึก
คล้อยตามโดยอาศัยบทเจรจาเช่น โอ้โห, อ่อ, อ่าครับ, อ้าว, เอ้อ,
อะไรอย่าเงี้ย, อ่ะไปยาวไปนะคร้าบ
ใช้คาอุทานเสริมบทในการพูดด้วย เช่น กระดงกระโดด เซิ้ง ๆ
วิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในรายการ
2.เพลงทันสมัยสาหรับวัยรุ่น
รายการเพลงประเภทนี้มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือวัยรุ่น เปิดเพลงทันสมัย
ที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น โดยปกติรายการมักมีการดาเนินรายการที่ฉับไว
มีเกมการร่วมสนุกและกิจกรรมการแข่งขันต่าง ๆ เสมอ ผู้ดาเนินรายการ
มักเป็นผู้ที่อยู่ในวัยเดียวกันกับกลุ่มเป้าหมายหลัก มีลักษณะการพูดจาสนุกสนาน
สามารถสร้างสีสันให้กับรายการได้
สาหรับรายการวิทยุสาหรับวัยรุ่นที่เป็ นที่นิยมฟังกันมาก
ไม่ว่าจะเป็นคลื่น 89.0 Banana เป็นเพลงตามกระแส เพราะฟังง่าย สบาย ๆ,
FM 91.5 Hot Wave เพลงมันส์ๆ ใหม่ๆ ฟังก่อนใคร คลื่นฮอต สุดร้อน,
106.5 Green Wave FM - เพลงดีดี กับความรู้สึกดีดี
94 อีเอฟเอ็ม เป็นสถานีวิทยุในเครือเอไทม์มีเดีย ในเครือจีเอ็มเอ็ม
แกรมมี่ มีรูปแบบให้สาระบันเทิง การสัมภาษณ์ดารา ศิลปิน เปิ ดเพลงฮิต
ที่ได้รับความนิยมและมีเกมให้ผู้ฟังร่วมสนุกและพูดคุย
ตัวอย่างคลิปเสียง
วิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในรายการวิทยุตอนสัมภาษณ์ ปิ่น บิ๊ก เดอะสตาร์ 12
โดยดีเจบุ๊คโกะ และ ดีเจมะตูม
ลักษณะภาษาจะเป็นภาษากึ่งทางการ ผู้ดาเนินรายการพูดชัดถ้อยชัดคา
ออกเสียง ร ล ได้ถูกต้อง ดีเจพูดนอกเรื่องเล็กน้อย มีการเล่นมุกทาให้ดูสนุกฮาๆ
ฟังแล้วไม่เบื่อ
ดีเจใช้ภาษาแบบการสนทนาหรือพูดคุยกัน ด้วยเป็นประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ
เข้าใจได้ทันทีและใส่เสียงประกอบขณะพูด เช่น เสียงปรบมือ เสียงวีดวิ้ว
สร้างความสนุกสนาน เพื่ออรรถรสของผู้ฟังมากขึ้น
ใช้คาลงท้ายเพื่อความเป็นกันเองกับผู้ฟัง เช่น เอ้อ อ่ะค่ะ เนอะ อย่างเงี้ย
เวลาอ่านข้อความของผู้ฟังรายการที่ส่งเข้ามาพิธีกรจะใส่น้าเสียงลงในข้อความที่อ่านนั้น
สร้างอรรถรสให้กับผู้ฟังมากขึ้น
3.รายการเพลงลูกทุ่ง
มีกลุ่มเป้าหมายหลักอายุ 25-54ปี เปิดเพลงลูกทุ่งทั้งเก่า
และใหม่ ผู้ดาเนินรายการพูดจาชัดเจน และมีทักษะในการดาเนิน
รายการวิทยุดี ปัจจุบันบางรายการนาเพลงเพื่อชีวิตมาเปิ ดร่วมกับ
เพลงลูกทุ่งด้วย
ลูกทุ่งมุกเด็ด คลื่นวิทยุคลองใหม่เรดิโอ FM 91.25 MHz
รูปแบบการจัดรายการที่ให้ผู้ฟังสามารถโทรเข้ามาพูดคุยขอเพลง
ได้ มีผู้จัดรายการ 2 คน เล่นมุกกันเพื่อสร้างสีสันในรายการ เป็นรายการ
เพลงลูกทุ่ง สามารถรับฟังได้ทุกวัย กลุ่มเป้าหมายหลักอยู่ในช่วงวัยทางาน
ตัวอย่างคลิปเสียง
ผู้ดาเนินรายการหรือดีเจ เปิดรายการโดยใช้เสียงทักทายคาว่า กรู๊
ให้ดูน่าสนใจ ดีเจ 2 คน พูดออกนอกเรื่องโดยพูดแซวกันเรื่องส่วนตัว
ใช้ภาษาที่เป็นกันเอง พูดเบาและพูดไม่ค่อยชัด ทาให้เวลาฟังไม่เข้าใจ
เท่าที่ควร
ใช้คาลงท้าย คาว่า คร้าบ, เจริญพรโยม เพื่อความเป็นกันเอง
มีการใช้คา ฮะฮ่า โฮะโฮ เป็นการเลียนเสียงหัวเราะ
ใช้คาทักทายผู้ฟังที่โทรมาขอเพลง คือคาว่า หวัดดีฮิ
วิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในรายการ
ละครวิทยุเป็นศิลปะในการใช้เสียงที่ทาให้ผู้ฟังจินตนาการภาพ
เหตุการณ์ได้จากถ้อยคาเสียงเพลง และเสียงประกอบ ในอดีตละครวิทยุ
เคยเป็นที่นิยมมาก ในปัจจุบันยังคงมีละครวิทยุให้ได้ฟังกันทางคลื่นวิทยุ
AM และ FM รวมทั้งวิทยุออนไลน์ โดยแบ่งลักษณะการนาเสนอ
ละครวิทยุในปัจจุบัน 2 ประเภท
1.รายการละครวิทยุ (radio drama)
1.ละครวิทยุ ประเภทตอนเดียวจบ
ตัวอย่าง ละครวิทยุผี เรื่องกินของผี โดยขบวนการลูกนกฮูก
มีความยาวประมาณ 15นาที เน้นละครสั้น จบในตอน รายการละครผี
มีอยู่ 2 ช่วงเวลา คือ ที่สถานี AM 1062 เวลา 19.30 -20.00 น. และ AM 630
ช่วง 20.30-21.00 น.
ตัวอย่างคลิปเสียง
ผู้บรรยายละครวิทยุพูดด้วยน้าเสียงที่นิ่มนวล มีเสียงหนักเบา
ทาให้น่าฟัง พูดจาชัดเจน ไม่ช้าและเร็วเกินไป ทาให้เข้าใจเนื้อเรื่อง
ตัวละครในเรื่องที่สนทนาใช้เสียงที่ทาให้ผู้ฟังจินตนาการภาพเหตุการณ์
ได้จากถ้อยคา อารมณ์ เสียงเพลง และเสียงประกอบที่เข้ากับเรื่อง
ใช้คาแทนตัวเองเช่นคาว่า ข้า เอ็ง กระผม เพื่อให้ดูย้อนไปเหมือนในอดีต
วิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในรายการ
2. ละครวิทยุประเภทหลายตอนจบ
เปิดฟังได้ทางสถานีวิทยุ AM 792 KHZ นาเสนอโดยคณะละคร
หลายคณะ เช่น คณะละครเกศทิพย์คณะละครสยาม 81 คณะละครนีลิกานนท์
เป็นต้น
ตัวอย่าง ละครวิทยุคณะเกศทิพย์เรื่องเสียงนางครวญ บทประพันธ์ : วริษฐา
บทละครวิทยุ : เจตต์ อารยเมธาวี ละครแต่ละตอนจะมีความยาวประมาณ
30 นาที จะใช้เสียงในการดาเนินเรื่องที่ทาให้ผู้ฟังจินตนาการภาพเหตุการณ์
ตัวอย่างคลิปเสียง
มีเสียงเปิดเรื่องได้น่าสนใจ แต่มีโฆษณาคั่นก่อนดาเนินเรื่อง
ทาให้ขัดจังหวะเล็กน้อย เสียงบรรยายพูดมีเสียงสูงต่าน่าสนใจ
แต่เสียงบรรยายเบาฟังไม่ชัดเจน
ตัวละครในเรื่องที่สนทนา พูดเสียงดังฟังชัด ใช้เสียงที่สื่ออารมณ์
ตัวละครได้ดี ใช้คาสมัยก่อน เช่น เจ้าคุณพ่อ เยี่ยงนี้ ให้เหมาะสมกับเรื่อง
และมีการใช้คาลงท้าย “เจ้าคะ”
วิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในรายการ
รายการข่าวมีเนื้อหาเป็ นข้อเท็จจริงที่มีคุณค่าข่าว กล่าวคือ
มีผลกระทบต่อสังคม มีความสาคัญ มีความถูกต้อง สดใหม่ ใกล้ชิด
นาเสนออย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งในปัจจุบันมีการนาเสนอข่าวโดยสถานีวิทยุ
แห่งประเทศไทย 2 ช่วง คือเวลา 07.00 น. และ 19.00 น. นอกจากนี้ยังมี
รายการข่าวต้นชั่วโมงจากสถานี ซึ่งส่ วนใหญ่ผลิตรายการ
โดยสถานีแม่ข่าย รายการวิเคราะห์ข่าว และรายการสรุปข่าวเด่น
ในช่วงเช้าและเย็นอีกหลายรายการ
ออกอากาศทางคลื่นวิทยุ FM. 97 MHz
วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2559
ผู้ดาเนินรายการ : สุรศักดิ์ จามากุล
มีรูปแบบเป็นรายการข่าวที่นาเสนอข่าวช่วงเช้า ทุกวัน จันทร์ - อาทิตย์ตั้งแต่
เวลา 05.30-06.30 น.เป็ นรายการข่าววิทยุกระจายเสียงเพื่อสนับสนุน
การประชาสัมพันธ์ของรัฐด้านนโยบาย ข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
รวมถึงสะท้อนปัญหาของประชาชนสู่รัฐบาลตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดี
ระหว่างรัฐกับประชาชน สนับสนุน และส่งเสริมการศึกษา เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
ทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงและส่งเสริมความเข้าใจ
เกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชนและประชาชนทุกระดับ
ผู้ดาเนินรายการจัดรายการเป็ นรูปแบบของการเล่าข่าวให้กับผู้ฟัง โดย
เลือกใช้ภาษาทางการในช่วงของการนาเสนอข่าวในพระราชสานักเพื่อความถูกต้อง
เหมาะสม และใช้ภาษาระดับสนทนาหรือภาษาปากในการนาเสนอข่าวการเมือง
ข่าวอาชญากรรม ข่าวการศึกษา ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อมรวมไปถึง ข้อมูลการพยากรณ์อากาศ ใช้ภาษาที่สุภาพ เรียบง่าย
ทาให้เนื้อหาของข่าวไม่ซับซ้อนและเข้าใจได้ง่าย เพื่อการนาเสนอข่าวให้ผู้ฟังเกิด
ความเข้าใจและเข้าถึงได้ทุกระดับ เกิดอรรถรสในการรับชม แต่ผู้ดาเนินรายการ
มีการใช้น้าเสียงที่แสดงความรู้สึกของตนเองเพื่อดึงดูดใจผู้ฟัง
รวมทั้งแสดงความคิดเห็นส่วนตัวต่อเนื้อหาและเหตุการณ์ของข่าวที่เกิดขึ้น เช่น
• การแสดงความคิดเห็นของผู้ดาเนินรายการ
“จริง ๆ อ่ะต้องเริ่มกันประมาณสัก 35 ปี”
“บริจาคกันสักร้อยสองร้อยก็จะดีนะครับ”
“ก็ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ดีนะครับ”
• การใช้ภาษาติดปากของผู้ดาเนินรายการ
“โดยเฉพาะที่สามโคกเนี่ย”
“อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ”
“ประมาณเที่ยงเศษ”
“ไปติดต่อไปดูแลกันนะครับ”
รายการสัมภาษณ์มีบุคคล ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ถาม อีกฝ่าย
หนึ่งเป็ นผู้ตอบ โดยผู้ถามและผู้ตอบจะมีกี่คนก็ได้ ผู้สัมภาษณ์
จะพยายามถามคาถามที่คิดว่าผู้ฟังจาเป็นและควรต้องรู้ โดยตั้งประเด็น
ในการสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้ามีวัตถุประสงค์ในการถามชัดเจน เพื่อหลุด
ออกจากวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ตัวอย่างคลิปเสียง
3. รายการสัมภาษณ์ (interview format)
รายการสารพันอาชีพ FM 91.0 MHz
หัวข้อ ร้านยาขนมจีนคุณวรรณ
ใช้ภาษากึ่งทางการ คาควบกล้าชัดเจน ชัดถ้อยชัดคา ถามตรงประเด็น
ไม่วกวน เจาะแต่ประเด็นที่สาคัญและน่ารู้ มีน้าเสียงหนัก-เบา เป็นไปตาม
เรื่องราว เว้นช่วงถามตอบได้ดี
มีการใช้คาภาษาต่างประเทศ เช่น แฟรนไชส์ ท็อปปิ้ง เดลิเวอรี่
คาเลียนเสียงคาตอบรับที่เป็นภาษาปาก เช่น อ่อ อื้อ อื้ม อ๊าส์
มีการเน้นคาว่า ค่ะ หนักและติดกันเกินไปจนบางครั้งอาจดูน่าราคาญ
วิเคราะห์ภาษา
รายการพูดคุยทั่วไปมักมีการตั้งประเด็นเกี่ยวกับชีวิตประจาวัน เรื่องที่
มีผลกระทบต่อสังคม และเปิดสายโทรศัพท์ให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็น
ปรึกษา หรือตอบคาถามในรายการ
เช่น คุยได้คุยดี คนกรุงเล่าเรื่องเก่า ไก่คุ้ยตุ่ยเขี่ย คลับฟรายเดย์
4. รายการพูดคุย (talk format)
ช่อง Green Wave 106.5 FM
รายการ Club Friday หัวข้อพูดคุย ที่ปรึกษา...ที่ปวดใจ" (9 กันยายน 2559)
ผู้ดาเนินรายการ Club Friday - สายทิพย์มนตรีกุล ณ อยุธยา (ดีเจพี่ฉอด)
- นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล (ดีเจพี่อ้อย)
Club Friday เป็นรายการ สนทนาโต้ตอบสองทางที่มีเอกลักษณ์เด่นมาก
มี 2 สาวพิธีกร ชื่อพี่อ้อยกับพี่ฉอด คอยถามตอบชี้แนะให้กาลังใจเป็นเหมือน
นักจิตวิทยาด้านความรัก ซึ่งทาให้คนฟังรายการนี้ไม่ใช่ฟังแค่ความบันเทิงเท่านั้น
แต่ยังได้แง่คิดและมุมมองเรื่องความรักเพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่างคลิปเสียง
เนื่องจากเป็นรายการที่ให้คาปรึกษากับผู้ฟัง ภาษาที่ใช้จึงเป็น
ลักษณะกึ่งทางการ เข้าใจง่ายชัดเจน ตรงประเด็น เป็นกันเองเพื่อสร้าง
อารมณ์ร่วมกับผู้ฟัง น้าเสียงนุ่มนวล แต่บางครั้งผู้ดาเนินรายการมีอาการไอ
ออกอากาศ จะขัดต่อความรู้สึกผู้ฟังได้
มีการใช้ภาษาปาก เช่น “ฟาดกันเข้าไป”
มีการใช้ภาษาโดยนัย เช่น “มันกลายเป็นสงครามไปแล้ว”
มีคาพูดติดปากในประโยคอยู่บ่อย ๆ เช่น “เฮ้ยเราไม่ได้คิดไปเอง รึเปล่า
เพราะบางครั้งเราชอบใคร เค้าหยอดแค่หนึ่งแต่เราซึ้งไปเป็นร้อย”
“ มันไม่ใช่รึเปล่า”
วิเคราะห์ภาษา
มีการใช้คาฟุ่มเฟือยบางครั้ง “ความรักของหนูได้ตายลงไปแล้ว”
คาว่า ตาย คาเดียว ความหมายก็ชัดเจน
มีการใช้คาซ้าซ้อนที่ผิดหลักภาษาไทย เช่น “เมื่อเค้ายื่น
ความหวังนั้นมาให้ คุณก็หยิบฉวยโอกาสนั้นมาหรอคะ”
คือใช้คาซ้อนกันอย่างฟุ่มเฟือย คาว่า หยิบ และ ฉวย
มีความหมายคล้าย ๆ กัน แต่เมื่อนามาซ้อนกันจะมีความหมายว่า
นาสิ่งของนั้นไปโดยมีเจตนาทุจริต
วิเคราะห์ภาษา (ต่อ)
5.รายการสารคดี
รายการสารคดี ( documentary format ) เป็นรายการที่เสนอข้อเท็จจริง
เพียงเรื่องเดียวโดยให้รายละเอียดอย่างลึกซึ้ง จะเป็นเรื่องที่ส่งเสริมความรู้
ให้กับผู้ฟังมากขึ้น เจาะลึกในสิ่งที่ผู้ฟังยังไม่ทราบ โดยอาจมีการสัมภาษณ์
ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่ผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ แต่การนาเสนอรายการสารคดีนั้น
อาจทาได้หลายลักษณะ เพื่อไม่ให้ผู้ฟังเบื่อและดึงดูดความสนใจผู้ฟังให้มาก
ขึ้นด้วย ดังนั้น รายการสารคดีจึงต้องมีความหลากหลายในการนาเสนอ
รายการ Healthy Time จาก คลื่นวิทยุ Fm 99 active radio
รายการ Healthy Time นี้จะเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่ วัยกลางคน
จนถึงวัยสูงอายุ คือตั้งแต่ช่วงอายุประมาณ 35 ปี ขึ้นไป โดยภาพรวม
ของรายการนี้จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย โดยในรายการนี้
ก็จะทาการให้ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ มาเป็ นผู้ให้ข้อมูล
คือ ท่านหมอปัญญา โดยรูปแบบของรายการจะค่อนข้างผ่อนคลาย
ไม่เครียดมากจนเกินไป โดยเริ่มรายการก็จะมีการทักทายกันก่อน
เพื่อสร้างความเป็นกันเอง
ตัวอย่างคลิปเสียง
ด้านการใช้ภาษาก็จะมีการใช้คาที่ค่อนข้างเป็นทางการในส่วน
ของเนื้อหาเพราะรายการลักษณะของรายการที่เป็นสารคดีนั้นต้อง
อาศัยความน่าเชื่อถือ ของผู้ให้ข้อมูลในการนาเสนอข้อมูลจึงต้องใช้
ภาษา ที่มีความเหมาะสม สุภาพ แต่ในช่วงก่อนเนื้อหาที่เป็ น
การทักทายกันก็มีการใช้ภาษาปากอยู่ เช่น นะจ๊ะ
การตอบคาถามในรายการนี้ เริ่มต้นผู้ตอบคาถามจะยังไม่ตอบคาถาม
ที่ตรงประเด็นไปเลยแต่จะมีการยกตัวอย่างสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเป็นตัวอย่าง
เปรียบเทียบก่อนเพื่อให้ผู้ฟังหรือผู้ที่ถามคาถามเข้ามาเกิดความเข้าใจได้ง่าย
ขึ้นโดยการเปรียบเทียบนี้ก็จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ใกล้ตัวเราไม่ไกลตัวเรา
จนเกินไป ดังในตัวอย่างที่มีการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้
กับการเจริญเติบโตของเด็ก แต่ก็มีบ่างช่วงของการตอบคาถาม
มีการให้ข้อมูลที่มีความลึกซึ้งอยู่พอสมควรในเรื่องข้อมูลของแพทย์
และมีการใช้ศัพท์ที่เป็ นศัพท์เฉพาะของวงการทางการแพทย์เข้ามา
ประกอบอีกด้วย เช่น โกสเพส
6.รายการอื่น ๆ
รายการเกี่ยวกับศาสนา
รายการเกี่ยวกับศาสนา (religious format) คือรายการที่มีเนื้อเผยแพร่
ของแต่ละศาสนาทั้งคาสอนต่างๆ หรือเรื่องราวของศาสนานั้นๆ
โดยแต่ละรายการต่างฝากแง่คิดข้อดีคาสั่งสอนต่างๆเอาไว้ด้วย ปัจจุบันมี
รายการเกี่ยวกับศาสนาหลายรายการ เช่น รายการวิทยุอิสลามอินไทยแลนด์
AM 1251 สถานีวิทยุกระจายเสียงคริสเตียน สถานีวิทยุพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ (ว.พ.ช.) คลื่น FM 104.25
รายการธรรมะบรรยาย
สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คลื่น FM 104.25
รายการธรรมบรรยาย โดยหลวงพ่อ ชา สุพัตโท โดยในรายการนี้จะ
เป็นรายการให้คาสั่งสอน แง่คิดต่างๆ อีกทั้งยังมีการเล่าถึงเรื่องราวของ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่เคารพนับถือของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอีกด้วย
ตัวอย่างคลิปเสียง
ด้านการใช้ภาษามีการภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ซึ่งต่างกับ
ความหมายที่บุคคลโดยทั่วไปใช้ เช่น คาว่า พุทธบริษัท ที่หมายถึง กลุ่มชนที่
นับถือพระพุทธศาสนา
มีการใช้คาลักษณนามที่ผิด คือ ใช้คาว่า องค์ มาใช้กับพระภิกษุ
ซึ่งที่ถูกต้องควรใช้คาว่า รูป
มีการวรรคตอนการพูดที่ไม่ต่อเนื่อง
เนื่องจากรายการนี้เป็นรายการที่จะถ่ายทอดคาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลโดยทั่วไปอยู่แล้ว จึงต้องมีการใช้ภาษา
ที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการถ่ายทอด ไม่ใช้คาที่เป็นคาคะนอง คาหยาบ
หรือคาที่อาจทาให้เนื้อหาดูไม่ดี โดยกลุ่มเป้าหมายของรายการนี้ คือ บรรดาบุคล
ที่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา
รายการกีฬา
รายการกีฬา (sports format) ปัจจุบันมีผู้สนใจรายการกีฬามากขึ้น
จึงทาให้เกิดมีสถานีวิทยุหรือรายการวิทยุที่นาเสนอเรื่องราวเฉพาะข่าวคราว
ในแวดวงของการกีฬาเกิดขึ้น ทั้งที่เป็นรายการเกี่ยวกับรายการกีฬาทั้งวัน
ตลอด 24 ชั่วโมง 96 sportsradio และทั้งที่เป็นสถานีวิทยุที่มีการรายการกีฬา
เข้ามาอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น คลื่น 99 active radio โดยในรายการวิทยุ
เกี่ยวกับ กีฬาเหล่านี้ จะมีทั้งช่วงรายงานผลการแข่งขัน และการบรรยายสด
การแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ
รายการ Soccer Live Report
จากคลื่นวิทยุ Fm 99 active radio
รายการ Soccer Live Report จะเป็นรายการกีฬาที่มีทั้งการรายงานผล
การแข่งขันและบรรยายสดกีฬา โดยกลุ่มเป้าหมายของรายการนี้ก็จะเน้นไปที่
กลุ่มบุคคลที่มีความสนใจเกี่ยวกับเป็นพิเศษ คือ ช่วงวัยรุ่น จนถึง วัยกลางคน
จึงมีการใช้ภาษาที่ ไม่เป็นแบบแผนหรือทางการมากเท่าไร เช่น การรายงาน
ตัวผู้บรรยาย ก็จะเห็นได้ว่า มีการใช้ชื่อเล่นในการเรียกแทนกัน ซึ่งก็อาจจะ
ดูไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไรนัก ในรายการนี้จะพบภาษาที่เป็นภาษาเฉพาะแวดวง
ของวงการกีฬา เช่น แนวรุก หน้าเป้า คู่เซ็นเตอร์ ซึ่ งคาเหล่านี้
เป็นคาที่บอกถึงตาแหน่งในการเล่นกีฬาฟุตบอล
ตัวอย่างคลิปเสียง
อีกทั้งในรายการนี้ยังมีการนาเอากีฬาอื่นมีเป็นสิ่งเปรียบเทียบกับ
กีฬาที่นาเสนอด้วยเพื่อให้ผู้ฟังเกิดเห็นภาพชัดเจนขึ้น เช่น การใช้คาว่า
ผลัดกันสอยหมัดสาวหมัดคนละที ที่เป็นคาที่มักใช้ในกีฬามวย มาใช้
ในการบรรยายกีฬาฟุตบอลและในรายการวิทยุประเภทกีฬานี้มีการใส่
อารมณ์ของผู้บรรยายเข้าไปด้วยเพื่อให้เกิดอรรถรส เช่นคาว่า โอ้โห
อือฮือ
การใช้คาความหมายแฝงคือคาว่า กินน้าผึ้ง หรือ น้าสะเดา มาแทน
การที่จะถามว่าจะได้เงินหรือเสียเงินซึ่งมันจะดูสุภาพกว่า
ภาษาทางวิทยุกระจายเสียง เป็ นภาษาเพื่อการรับฟัง ผู้ฟัง
วิทยุกระจายเสียงอาจทางาน หรือกิจกรรมอย่างอื่นไปพร้อม ๆ กับการรับฟัง
วิทยุ การใช้ภาษา ใช้ถ้อยคาต่าง ๆ ของผู้ดาเนินรายการจึงต้องเลือกใช้คาให้
ฟังได้ง่ายที่สุด เพื่อให้ผู้ฟังฟังแล้วเกิดความเข้าใจได้ทันที เพราะไม่มีโอกาส
อ่านทบทวนข้อความได้เอง หากใช้ถ้อยคาสานวน ภาษาที่ยากต่อการฟัง ผู้ฟัง
จะไม่เข้าใจ และในที่สุดจะเลิกสนใจรับฟังทันที
โดยการเลือกใช้ภาษานั้นจะต้องคานึงถึงลักษณะของรายการ
เป็ นสาคัญด้วย เพราะรายการแต่ละประเภท ย่อมมีความต้องการ
ในด้านน้าเสียงและลีลาของผู้พูดแตกต่างกัน เพื่อความเหมาะสม
และสร้างความศรัทธาน่าสนใจจากผู้ฟัง
จะเห็นได้ว่าการใช้ภาษาทางวิทยุกระจายเสียง เป็นสิ่งที่มีความสาคัญ
มาก เนื่องจากวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อผู้ฟังอย่างยิ่ง
เป็ นสื่อที่ให้ทั้งความรู้ ข่าวสาร และความบันเทิง การใช้ภาษาในรายการ
ประเภทใดก็ตาม จึงควรต้องให้สอดคล้องกับลักษณะ และประเภทของ
รายการนั้น ๆ คานึงถึงความสอดคล้องกับ เนื้อหาสาระที่ต้องการนาเสนอ
คานึงถึงความชัดเจน ในความหมาย และต้องคานึงถึงความกะทัดรัดของ
ถ้อยคาด้วย ภาษาที่ใช้ในรายการวิทยุหากต้องการใช้ภาษาพูด ก็ต้องเป็ น
ภาษากลาง ๆ ที่สุภาพ ไม่ควรใช้ภาษาวิบัติ คาคะนองโดยไม่จาเป็ น
และที่สาคัญคือ ภาษาวิทยุกระจายเสียงจะต้องเป็ นภาษาสร้างสรรค์
มิใช่ให้พิษภัยแก่ผู้ฟัง
กรรณิกา รุ่งเจริญพงษ์ และคนอื่นๆ. (2557). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุ
และโทรทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุปรีดี สุวรรณบูรณ์. (2559). การพูดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์.
ค้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2559. จาก
http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter9-6.html
อ้างอิง
1.นางสาวสุทธิดา จันทร์แจ่ม รหัสนิสิต 5781124008
2.นายนพดล ปัญญาพิสิฐพงศ์ รหัสนิสิต 5781124061
3.นางสาวจิราภรณ์ โตกราน รหัสนิสิต 5781124079
4.นางสาวอรวรรณ ไขพจน์ รหัสนิสิต 5781124081
5.นางสาวกฤตญา โดโม รหัสนิสิต 5781124087
หมู่เรียน D1 รายวิชาภาษาสื่อสารมวลชน
คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
จัดทาโดย

More Related Content

What's hot

รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)
รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)
รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)
Panomporn Chinchana
 
ทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่านทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่าน
0872191189
 
สารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติสารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติ
waraporny
 
ขั้นตอนการเขียนบทวิทยุ
ขั้นตอนการเขียนบทวิทยุขั้นตอนการเขียนบทวิทยุ
ขั้นตอนการเขียนบทวิทยุ
Sakulsri Srisaracam
 
หน่วย2 ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
หน่วย2 ความน่าเชื่อถือของข้อมูลหน่วย2 ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
หน่วย2 ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
ให้รัก นำทาง
 
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4 คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4
อำนาจ ศรีทิม
 

What's hot (20)

1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
 
เสียงและงานเสียง
เสียงและงานเสียงเสียงและงานเสียง
เสียงและงานเสียง
 
การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง
การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง
การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง
 
ประโยคที่ซับซ้อน
ประโยคที่ซับซ้อนประโยคที่ซับซ้อน
ประโยคที่ซับซ้อน
 
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
 
รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)
รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)
รูปแบบการแสดงนาฏศิลป์,ม.3 ปี 57 (เผยแพร่)
 
กระบวนการพัฒนาทักษะการพูด
กระบวนการพัฒนาทักษะการพูดกระบวนการพัฒนาทักษะการพูด
กระบวนการพัฒนาทักษะการพูด
 
การผลิตสื่อวิดีโอ (Video Production)
การผลิตสื่อวิดีโอ (Video Production)การผลิตสื่อวิดีโอ (Video Production)
การผลิตสื่อวิดีโอ (Video Production)
 
ทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่านทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่าน
 
อจท. พระพุทธศาสนา ม.3
อจท. พระพุทธศาสนา ม.3อจท. พระพุทธศาสนา ม.3
อจท. พระพุทธศาสนา ม.3
 
แบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจแบบสอบถามความพึงพอใจ
แบบสอบถามความพึงพอใจ
 
สารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติสารคดีชีวประวัติ
สารคดีชีวประวัติ
 
การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1
การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1
การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1
 
ขั้นตอนการเขียนบทวิทยุ
ขั้นตอนการเขียนบทวิทยุขั้นตอนการเขียนบทวิทยุ
ขั้นตอนการเขียนบทวิทยุ
 
หน่วย2 ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
หน่วย2 ความน่าเชื่อถือของข้อมูลหน่วย2 ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
หน่วย2 ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
 
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และวิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธ...
 
การผลิตสื่อ
การผลิตสื่อการผลิตสื่อ
การผลิตสื่อ
 
คำสำคัญของปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และงานวิจัย (Research Keywords)
คำสำคัญของปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และงานวิจัย (Research Keywords)คำสำคัญของปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และงานวิจัย (Research Keywords)
คำสำคัญของปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และงานวิจัย (Research Keywords)
 
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4 คำอธิบายรายวิชาดนตรี   นาฎศิลป์ ม.4
คำอธิบายรายวิชาดนตรี นาฎศิลป์ ม.4
 
องค์ประกอบของดนตรี
องค์ประกอบของดนตรีองค์ประกอบของดนตรี
องค์ประกอบของดนตรี
 

ภาษาในสื่อวิทยุ