SlideShare a Scribd company logo
1 of 9
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). การออกแบบเว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับอีเลิร์นนิงในอาเซียน: กรอบ
วัฒนธรรมที่ควรคานึงถึง (Proper Design of Website and Electronic Courseware for e-Learning in ASEAN : Cultural
framework for Consideration). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceeding) ด้านอีเลิร์นนิง : Integrating ASEAN
Online Learning: Policy and Process บูรณาการการเรียนรู้ออนไลน์ประชาคมอาเซียน: นโยบายและกระบวนการ. จัดโดยโครงการ
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2555.
การออกแบบเว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับ
อีเลิร์นนิงในอาเซียน: กรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึง
Proper Design of Website and Electronic Courseware for e-Learning
in ASEAN : Cultural framework for Consideration
จินตวีร์ คล้ายสังข์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
jintavee.m@chula.ac.th
ABSTRACT
As the 10 ASEAN member countries to become
ASEAN community in the year 2015 with the aim to
enhance understanding and accelerating economic
growth, social progress, and cultural development in
the region through joint endeavors in the spirit of
equality and partnership of the ASEAN community
nations. However, when considering cultural
framework affecting to the education, inequality found
in various magnitudes, especially in the areas of social
progress and cultural development, namely, religions,
languages, and cultural differences. Thus for, to create
common understanding and respectful recognition of
such differences, as well as to preserve the value of
cultural wisdom of the ASEAN community nations,
are considered to be necessity.
This article entitled “Proper Design of Website and
Electronic Courseware for e-Learning in ASEAN :
Cultural framework for Consideration” discusses
about the cultural framework from the documents,
researches, and examples in related to on cultural
factors of the proper design of website and electronic
courseware for e-Learning in ASEAN during 1991-
2011, emphasizing higher educational institutes. Such
review of the related literatures will soon be in
consideration as part of the data in order to develop
the prototype of website and electronic courseware for
e-Learning in ASEAN emphasizing on cultural effects.
The cultural framework to be discussed includes 10
aspects namely (1) Gender (2) Religion (3) Language
(4) History (5) Art (6) Aesthetics (7) Law (8) Politics
(9) Ethnography and Local, and (10) Wisdom.
Keywords : E-Learning, ASEAN community,
Website Design, Courseware Design, Cultural
Framework
บทคัดย่อ
การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนของประเทศสมาชิก
ทั้ง 10 ประเทศในปี พ.ศ. 2558 จะเป็นการสร้างสังคม
ภูมิภาคให้พลเมืองของประเทศสมาชิกอยู่ร่วมกัน โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่าง
ประเทศในภูมิภาค สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้าน
เศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และวัฒนธรรม บนพื้นฐานของ
ความเสมอภาค และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศ
สมาชิกทั้ง 10 ประเทศ หากเมื่อพิจารณาในด้านกรอบ
วัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการศึกษาแล้วนั้น ยังพบว่ากลุ่ม
ประเทศอาเซียนมีความเหลื่อมล้ากันในหลายด้าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะ
เป็ นความหลากหลายของศาสนา ภาษา รวมถึงความ
แตกต่างทางด้านวัฒนธรรม จึงมีความจาเป็ นที่ต้อง
เสริมสร้างความเข้าใจ การเคารพและยอมรับในวัฒนธรรม
ที่แตกต่างกัน รวมถึงการปกป้ องรักษามรดกทางวัฒนธรรม
ของภูมิภาคต่างๆ นี้
บทความเรื่อง การออกแบบเว็บไซต์และบทเรียน
อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับอีเลิร์นนิงในอาเซียน:
กรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึง จะกล่าวถึงขอบข่ายด้าน
วัฒนธรรมจากศึกษาเอกสาร งานวิจัย และตัวอย่างต่างๆที่
เกี่ยวข้องกับการออกแบบเว็บไซต์และบทเรี ยน
อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบด้านวัฒนธรรม
อาเซียนตั้งแต่ปี พศ. 2534-2554 โดยเน้นบริบทของ
อุดมศึกษา เพื่อเป็นกรอบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
งานด้านวัฒนธรรม เพื่อนามาเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลใน
การพัฒนาร่างต้นแบบของเว็บไซต์และบทเรี ยน
อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับอีเลิร์นนิงในอาเซียนที่
ตอบโจทย์ในเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรมนี้ต่อไป
โดยกรอบวัฒนธรรมสามารถจาแนกออกเป็น 10 ด้าน ได้แก่
(1) เพศ (2) ศาสนา (3) ภาษา (4) ประวัติศาสตร์ (5) ศิลปะ
(6) สุนทรียภาพ (7) กฏหมาย (8) การเมือง (9) ชาติพันธุ์
และ (10) ภูมิปัญญา
คาสาคัญ : อีเลิร์นนิง, ประชาคมอาเซียน. การออกแบบอี
เลิร์นนิงเว็บไซต์, การออกแบบอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์, กรอบ
วัฒนธรรม
1) บทนา
กลุ่มประเทศอาเซียนมีความเหลื่อมล้ากันในหลายด้านส่งผล
ให้ประชาคมด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านสังคม
และวัฒนธรรมอาเซียนมีความแตกต่างกัน การรวมตัวของ
กลุ่มประเทศอาเซียนยังมีความเหลื่อมล้ากันหลายด้าน
โดยเฉพาะการพัฒนาประเทศที่แตกต่างกัน มีทั้งประเทศที่
พัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ ประเทศกาลังพัฒนาอย่างมาเลเซีย
ไทยและอินโดนีเซีย ในขณะที่กลุ่มประเทศนิวอาเซียนอย่าง
อาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สหภาพพม่า และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็ น
ประเทศกาลังพัฒนา และด้วยความหลากหลายของประเทศ
อาเซียนมีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของ
ประชากร ศาสนา ภาษาที่ใช้ รวมถึงความแตกต่างทางด้าน
วัฒนธรรมจึงมีความจาเป็นที่ต้องเสริมสร้างความเข้าใจซึ่ง
กันและกันและการเคารพในวัฒนธรรม ยอมรับใน
วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน รวมถึงการปกป้ องรักษามรดกทาง
วัฒนธรรมของภูมิภาคต่างๆ (สานักเลขาธิการอาเซียน,
2009) ดังนั้น บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง
“การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อ
รูปแบบเว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม
สาหรับการเรียนการสอนทางไกลแบบอีเลิร์นนิงในอาเซียน”
(ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากโครงการมหาวิทยาลัยไซ
เบอร์ไทย สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ) จะนาเสนอข้อมูลจากการดาเนินงาน
ในขั้นตอนแรกของงานวิจัยคือการศึกษาเอกสารและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเพื่อเป็นกรอบในการ
วิเคราะห์และสังเคราะห์งานด้านวัฒนธรรม เพื่อเป็ น
แนวทางในการออกแบบและพัฒนารูปแบบเว็บไซต์และ
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับการเรียนการ
สอนทางไกลแบบอีเลิร์นนิงในอาเซียนต่อไป
2) ความหมายและองค์ประกอบของวัฒนธรรมใน
มุมมองของประเทศในกลุ่มอาเซียน
2.1) ความหมายของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมหมายถึง วิถีชีวิตหรือแบบแผนในการคิดและ
การกระทาของมนุษย์ในสังคม ซึ่งแสดงออกถึงชีวิตมนุษย์
ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง
(Davey, 2012; สุพัตรา สุภาพ, 2543; รัตนา โตสกุล; 2549;
สมชัย ใจดี; ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์, 2545) โดยเป้ าหมายหลัก
ของอาเซียนนั้นคือความเป็นหนึ่งเดียวบนความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน (Unity in
Diversity through the ASEAN Way of Life) และความ
แตกต่างสู่ความแข็งแกร่งของประชาคมอาเซียน (Diversity
towards Strengthening) จึงมีความสาคัญและเป็นสิ่งที่ท้า
ทายต่อไป
2.2) องค์ประกอบของวัฒนธรรม
จากกรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ทุกภาค
ส่วนรวมถึงเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนต่างๆ จึงได้จัดทา
หลักสูตร ASEAN STUDY และโครงการต่างๆ ที่เน้นการ
สร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านสังคมละวัฒนธรรมขึ้นมา
เพื่อรองรับและการเตรียมความพร้อมประเทศในการเข้าสู่
ประชาคมอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดทาค่ายวัฒนธรรม
เยาวชนอาเซียน (ASEAN University Network, 2012) หรือ
การจัดการเรียนการสอนโดยสอดแทรกสังคมและ
วัฒนธรรมเข้าไปในหลักสูตร เช่น มหาวิทยาลัยบรูไนดารุส
ซาลามมีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร ASEAN
STUDY เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมอย่างเหมาะสม
ในแง่ของความรู้ทักษะทัศนคติค่านิยมทางศีลธรรมและจิต
วิญญาณเพื่อรองรับความต้องการการพัฒนาของประเทศ
และสอดคล้องกับปรัชญาของชาติ (http://www.aun-
sec.org) อีกทั้งหลักสูตรในมหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียน มี
โครงสร้างหลักสูตรที่มีเนื้อหาครอบคลุมด้านวัฒนธรรม
จากการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว จึงขอสรุป
ขอบข่ายด้านวัฒนธรรม จาแนกออกเป็น 6 ด้านหลัก 10
ด้านย่อย ดังนี้ (1) เพศ (Gender) (2) ศาสนา (Religion) (3)
ภาษา (Language) (4) ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และ
สุนทรียภาพ (History, Art and Aesthetics) (แบ่งเป็น 3 ด้าน
ย่อย) (5) กฏหมายและการเมือง (Law and Politics)
(แบ่งเป็น 2 ด้านย่อย) และ (6) ชาติพันธุ์และภูมิปัญญา
(Ethnography and Local) Wisdom) (แบ่งเป็น 2 ด้านย่อย)
2.3) ความสาคัญของอีเลิร์นนิงกับการเผยแพร่วัฒนธรรม
ของประเทศกลุ่มอาเซียน
การศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนมีความ
หลากหลายและแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงจาเป็ นต้องมี
เครื่องมือที่เผยแพร่ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
วัฒนธรรมของประเทศในประชาคมอาเซียน การใช้
โครงสร้างพื้นฐานสิ่งอานวยความสะดวกและเทคโนโลยี
การสื่อสาร ตลอดจนการบริหารจัดการทางการศึกษาจึงถือ
เป็นตัวเลือกหนึ่ง ดังที่ Nada et al. (1999) ได้ทาการสารวจ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศสาหรับธุรกิจองค์กร
แรงงานและวัฒนธรรม พบว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่ง
กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเศรษฐกิจโลก การขาด
ความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่ง
ผลกระทบต่อวัฒนธรรม ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ถูกต้อง สะท้อนความสาคัญ
และสนองตอบต่อความแตกต่างของวัฒนธรรมที่
หลากหลาย ทางด้านความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงโครงสร้าง
ทางวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับ Thompson and Thianthai
(2008) ที่ศึกษาความคิดเห็นจากนักศึกษา 8 ใน 10 ประเทศ
อาเซียนเกี่ยวกับทัศนคติของนักศึกษาด้านความรู้ความเข้าใจ
ที่มีต่ออาเซียน เกี่ยวกับภูมิภาค ข้อมูลต่างๆ ของอาเซียน
ความตกลงร่วมมือต่างๆ แหล่งข้อมูลข่าวสาร พบว่า
นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของ
ประเทศในอาเซียนโดยควรเป็นความรู้ที่หาได้ง่าย ไม่
ซับซ้อน ซึ่งสามารถศึกษาได้จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และมี
สื่อกลางในสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ควรมีศูนย์กลางสาหรับการค้นหาข้อมูลต่างๆ ซึ่ง
รวบรวมประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศไว้ สามารถ
แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยใช้สารสนเทศเข้ามาช่วยให้สะดวก
มากยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนทางไกล
แบบอีเลิร์นนิงในอาเซียน ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเว็บไซต์และบทเรียน
อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบด้านวัฒนธรรม
อาเซียน ตั้งแต่ปี 1991 - 2011 พบว่า งานวิจัยและเอกสาร
รวมทั้งสิ้น 50 เรื่อง โดยแบ่งเป็น (1) องค์ประกอบด้าน
ขอบข่ายด้านวัฒนธรรม จาแนกออกเป็น 10 ด้าน แบ่งเป็น
เพศ (Gender) ศาสนา (Religion) ภาษา (Language)
ประวัติศาสตร์ (History) ศิลปะ (Art) สุนทรียภาพ
(Aesthetics) กฎหมาย (Law) การเมือง (Politics) ชาติพันธุ์
(Ethnography and Local) และภูมิปัญญา (Wisdom) (2)
องค์ประกอบด้านการออกแบบเว็บไซต์และบทเรียน
อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านมัลติมีเดีย
(ภาพประกอบ เสียง ตัวอักษร และการจัดรูปแบบ)
องค์ประกอบด้านการออกแบบหน้าจอ (ส่วนต่อประสาน
ระบบนาทาง การเข้าถึงข้อมูล และการทดสอบการใช้งาน)
องค์ประกอบด้านการออกแบบเนื้อหา องค์ประกอบด้าน
คุณลักษณะของสื่อใหม่ อันได้แก่ โมบายเลิร์นนิง อีบุ๊ค
ตลอดจนการใช้แท็บเล็ตในการเรียนการสอน
3) กรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึงในการออกแบบ
เว็บไซต์
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบ
เว็บไซต์ในอาเซียน จานวน 25 เรื่อง จาแนกออกเป็ น
ประเทศไทย 7 เรื่อง ประเทศฟิลิปปินส์ 4 เรื่อง ประเทศ
ญี่ปุ่น 4 เรื่อง ประเทศมาเลเซีย 4 เรื่อง ประเทศสิงคโปร์ 3
เรื่อง ประเทศเกาหลี 2 เรื่อง และประเทศจีน 1 เรื่อง
(ประเทศญี่ปุ่น จีน และสาธารณรัฐเกาหลี นามารวมโดยยึด
กรอบความร่วมมืออาเซียน+3) สรุปได้ว่า
3.1) กรอบวัฒนธรรม : เพศ กรอบการออกแบบเว็บไซต์ :
การออกแบบหน้าจอ
Stern (2004) เสนอความนิยมเว็บไซต์ในกลุ่มวัยรุ่นเพศ
หญิงและเพศชายต้องการความเป็นเอกภาพในเรื่องที่สนใจ
ไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแฟชั่น ส่วนหน้า
แรกของเว็บไซต์จะต้องทาให้โดดเด่น สะดุดตา ดึงดูดความ
สนใจ โดยใช้ภาพเคลื่อนไหวและเสียงที่น่าสนใจ และมี
ช่องทางสาหรับการสื่อสาร ส่วนที่แตกต่างกันก็คือ เนื้อหา
สาระในหน้าเว็บไซต์
3.2) กรอบวัฒนธรรม : เพศ กรอบการออกแบบเว็บไซต์ :
เนื้อหา
Stuart (2001) ศึกษาความแตกต่างทางเพศในการเรียน
หลักสูตรออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า เพศ
มีส่วนสาคัญต่อการใช้โปรแกรมออนไลน์และทักษะการ
สื่อสารของนักศึกษา หลักสูตรออนไลน์ให้อิสระในการ
เลือกวิธีศึกษาแก่นักศึกษา เป็นกลยุทธ์ที่สาคัญในการสร้าง
แรงจูงใจและการเรียนรู้ โดยในหลักสูตรออนไลน์นั้น เพศ
หญิงจะชอบเรียนรู้มากกว่าเพศชาย และมีวินัยและระเบียบ
ในการเรียนมากกว่า ในทางตรงกันข้ามเพศชายที่มีอายุน้อย
จะสนใจหลักสูตรออนไลน์มากกว่าเพศหญิง และหากเป็น
หลักสูตรที่มีความท้าทายต้องศึกษาด้วยตนเอง เพศชายจะ
ประสบความสาเร็จมากกว่าเพศหญิง
3.3) กรอบวัฒนธรรม : เพศ กรอบการออกแบบเว็บไซต์ :
มัลติมีเดีย
Wolf (2000) วิเคราะห์การใช้ไอคอนแสดงอารมณ์ (emotion
icon) ในกลุ่มข่าวออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทัศนคติของเพศ
หญิงและเพศชาย โดยการนาไอคอนแสดงอารมณ์ที่
เหมือนกับเพศจนถึงการใช้ไอคอนแสดงอารมณ์แบบ
ผสมผสาน พบว่า เพศชายชอบใช้ไอคอนแสดงอารมณ์ที่
เป็นมาตรฐานแสดงอารมณ์ต่างๆมากกว่าเพศหญิง ส่วนเพศ
หญิงชอบใช้ไอคอนที่แสดงอารมณ์เงียบหรือปิ ดเสียง
ขอบคุณ และใช้ไอคอนแสดงความรู้สึกทางบวก
3.4) กรอบวัฒนธรรม : ภาษา ประวัติศาสตร์ ศิลปะ
กฎหมาย กรอบการออกแบบเว็บไซต์ :มัลติมีเดียการ
ออกแบบหน้าจอ เนื้อหา
Friesner and Hart (2004) กล่าวว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มี
ความหลากหลายด้านวัฒนธรรมและภาษาถิ่นหลากหลาย ทา
ให้เกิดปัญหาความเข้าใจซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงควรมีการนา
ภาษาประจาชาติหรือภาษาที่เป็นทางการ (ภาษาจีนกลาง)
กากับไว้เพื่อการสื่อสารที่ตรงกัน แต่สาหรับการทาเป็น
เว็บไซต์ควรมีการแปลภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษ อาจใช้ภาพ
หรือสัญลักษณ์ที่เป็นข้อความต่างๆ เพื่อความเข้าใจมาก
ยิ่งขึ้น การออกแบบเว็บไซต์โดยใช้ภาพกราฟิกและป๊ อปอัพ
จะช่วยดึงดูดความสนใจแก่ผู้อ่าน
การออกแบบเว็บไซต์เกี่ยวกับภาพและการสื่อความหมาย
ระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมจีนนั้น การ
ออกแบบหน้าจอจะต้องออกแบบจากด้านบนซ้ายของหน้าจอ
ซึ่งเป็นจุดที่นักเรียนเริ่มอ่าน ไม่ควรใช้สีมากเกินไปเพราะจะ
ทาให้สับสนในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมเกี่ยวกับ
ภาพของจีนส่วนใหญ่ภาพจะเน้นสีขาวและสีดา และเมื่อ
พิจารณาเนื้อหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมนั้น การคัดลอก
หรือทาซ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องคานึงถึงลิขสิทธิ์ และ
การอ้างอิงจะต้องมีการตรวจสอบข้อความโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กฎหมายจีน กฎหมายด้านการเงิน กฎหมายการค้า ซึ่งเป็น
การป้ องกันทรัพย์สินทางปัญญา
3.5) กรอบวัฒนธรรม : ศาสนา กรอบการออกแบบ
เว็บไซต์ : เนื้อหา
Shamaileh และคณะ (2011) ศึกษาคุณภาพเว็บไซต์ที่
เผยแพร่อัตลักษณ์ทางศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ โดย
สอบถามผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม พบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติทางบวกเกี่ยวกับเว็บไซต์ โดย
มีความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาที่ตนเองนับถือมากขึ้น เนื้อหาใน
เว็บไซต์เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาที่ผู้นับถือ
สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ ทาให้เกิดความแข็งแกร่งและ
สื่อกลางในการรวมตัวของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ใน
เว็บไซต์ไม่ควรมีการโฆษณาสินค้าอื่นแอบแฝง ควรจะเป็น
ตราสัญลักษณ์ทางศาสนาหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องควรเน้น
เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนพิธี พิธีกรรม วันสาคัญต่างๆ เพื่อเป็น
การเผยแพร่ศาสนาอีกช่องทางหนึ่ง
3.6) กรอบวัฒนธรรม : ภาษา กรอบการออกแบบ
เว็บไซต์ : มัลติมีเดีย
Shawback and Terhune (2002) ศึกษาการเรียนภาษาอังกฤษ
เป็นภาษาที่สองจากนักเรียนที่สนใจภาพยนตร์เกี่ยวกับภาษา
และวัฒนธรรม พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ที่ชมภาพยนตร์
ผ่านอินเทอร์เน็ตมีความสนใจภาษาและวัฒนธรรมใน
ภาพยนตร์ ทาให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ทางภาษาและเรียนรู้
วัฒนธรรม มีความสามารถทางภาษาที่ดีขึ้นผ่านการชม
ภาพยนตร์เป็นลาดับ เนื่องจากภาพยนตร์เพื่อการศึกษาภาษา
และวัฒนธรรมมีเทคโนโลยีที่สมัยอย่างอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้
นักเรียนมีบทบาทเชิงรุกในการเรียนรู้ อีกทั้งยังมีทักษะใน
การฟัง การอ่านและการนาเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมี
subtitle ภาษาถิ่นในเนื้อหาสาหรับการนักเรียนที่เรียนรู้ด้วย
ภาษาอังกฤษ และมี subtitle ภาษาอังกฤษสาหรับนักเรียนที่มี
ความรู้ภาษาอังกฤษระดับปานกลาง
3.7) กรอบวัฒนธรรม : ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา กรอบการ
ออกแบบเว็บไซต์ : เนื้อหา
McLoughlin (1999) ศึกษาการออกแบบการเรียนการสอนที่
เหมาะกับความต้องการของกลุ่มวัฒนธรรมโดยใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศระดับอุดมศึกษา จะต้องมีการ
ตระหนักถึงความต้องการในการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้
ของแต่ละกลุ่มโดยจะต้องผสมผสานให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใน
การออกแบบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึง
วัฒนธรรมที่หลากหลาย จะต้องมีการสื่อสารที่หลากหลาย
ภาษา เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้และอัต
ลักษณ์ของวัฒนธรรมและการปฏิบัติของชุมชน โดยในการ
ออกแบบจะต้องพิจารณาความสัมพันธ์กับเนื้อหาวัฒนธรรม
ที่หลากหลาย การออกแบบโครงสร้างในบทเรียนให้ผู้เรียน
มีส่วนร่วม มีการปฐมนิเทศ กาหนดวัตถุประสงค์และ
เป้ าหมายในการเรียน
3.8) กรอบวัฒนธรรม : ศิลปะ กรอบการออกแบบเว็บไซต์ :
เนื้อหา
Christopher (1998) ตรวจสอบความเหมาะสมในการใช้
เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ด้าน
วัฒนธรรมการเมืองระดับอุดมศึกษาในประเทศเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้พบว่าเทคโนโลยีแบบโต้ตอบเหมาะสม
กับการศึกษาด้านวัฒนธรรมการเมืองที่เน้นการเรียนรู้ด้วย
ตนเองและเป็ นอิสระในการเรียน แต่ไม่เหมาะสมกับ
ประเทศทางใต้ของเอเชียตะวันออกเนื่องจากเน้นการศึกษา
แบบดั้งเดิม (ครูสอนโดยตรง) แต่จากการศึกษาพบว่า
แนวโน้มการเทคโนโลยีเป็นสิ่งสาคัญในการเรียนรู้ด้าน
วัฒนธรรมท้องถิ่น ขนบธรรมเนียม ตลอดจนการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคมในท้องถิ่น
3.9) กรอบวัฒนธรรม : การเมือง กรอบการออกแบบ
เว็บไซต์ : เนื้อหา
Kluver (2004) กล่าวว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสาคัญในการ
ขยายอานาจทางการเมืองและเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องกับประชาชน โดยนาเสนอกรณีศึกษาประเทศ
สิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองที่
แตกต่างจากชาติตะวันตก โดยเมื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้
เทคโนโลยีและการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตทางการเมือง
ในการเลือกตั้งทั่วไปช่วงปี 2001 พบว่าการใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อเผยแพร่ข่าวสารทางการเมืองมีปริมาณใกล้เคียงกับ
ประเทศทางตะวันตก สื่อมีผลกระทบสาคัญต่อวัฒนธรรม
ทางการเมืองรวมถึงกฎระเบียบ การปฏิบัติทางการเมืองที่
สามารถเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการเผยแพร่การ
อภิปรายทางการเมืองและกฎระเบียบสาคัญต่างๆ ที่
ประชาชนควรรู้
ภาพที่ 1 ร่างรูปแบบเว็บไซต์ที่เหมาะสมสาหรับ
อีเลิร์นนิงในอาเซียน (ผลสรุปจากงานวิจัยระยะที่ 1 การ
ทบทวนวรรณกรรม และระยะที่ 2 การวิเคราะห์องค์
ประกอบด้วยวิธี Exploratory Factor Analysis)
4) กรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึงในการออกแบบ
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับบทเรียน
อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน จานวน 25 เรื่อง จาแนกออกเป็น
ประเทศไทย 10 เรื่อง ประเทศฟิลิปปินส์ 2 เรื่อง ประเทศ
มาเลเซีย 6 เรื่อง ประเทศสิงคโปร์ 2 เรื่อง ประเทศเวียตนาม
1 เรื่อง และประเทศจีน 4 เรื่อง (ประเทศญี่ปุ่ น จีน และ
สาธารณรัฐเกาหลี นามารวมโดยยึดกรอบความร่วมมือ
อาเซียน+3) ขอยกตัวอย่างวรรณกรรมที่น่าสนใจดังนี้
4.1) กรอบวัฒนธรรม : เพศ กรอบการออกแบบบทเรียน
อิเล็กทรอนิกส์ : เนื้อหา
Ring (1991) ศึกษาปฏิกิริยาของนักเรียนที่มีเพศแตกต่างกัน
ที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดย
ศึกษาการลงมือปฏิบัติใช้เครื่องมือและมีคู่มือเอกสาร
ประกอบ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความกระตือรือร้นใน
การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ใน
ชั้นเรียน มีทัศนคติในการเรียนรู้เชิงบวก แต่สิ่งที่แตกต่าง
กันคือนักเรียนชายมีความมั่นใจในการใช้คอมพิวเตอร์โดย
ลงมือปฏิบัติในการเรียนรู้มากกว่าเพศหญิง แต่นักเรียน
หญิงจะค่อยๆ ฝึกจากคู่มือเอกสารประกอบบทเรียนเพื่อ
สร้างความมั่นใจในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์
4.2) กรอบวัฒนธรรม : ศาสนา กรอบการออกแบบบทเรียน
อิเล็กทรอนิกส์ : การออกแบบหน้าจอ
Friesner and Hart (2004) ศึกษาการเข้าถึงข้อมูลทางศาสนา
ในแต่ละศาสนาของจีน ไม่ว่าจะเป็น เต๋า ขงจื้อ และศาสนา
พุทธ พบว่าควรมีการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเหตุการณ์ทาง
ศาสนาที่สาคัญ วันสาคัญทางศาสนาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้นับถือศาสนาต่างๆ ในประเทศจีน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับ
ความรู้เพิ่มเติม และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
4.3) กรอบวัฒนธรรม : ภาษา กรอบการออกแบบบทเรียน
อิเล็กทรอนิกส์ : มัลติมีเดีย
Ying (2007) กล่าวว่าการเรียนภาษาต่างประเทศที่มี
ประสิทธิภาพจะต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมดั้งเดิม
ของภาษานั้นๆ ด้วย ดังนั้น การเรียนการสอนโดยใช้
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สอนภาษาต่างประเทศควรมีการ
ออกแบบการกิจกรรมการเรียนการสอนโดยนาคลิปวีดิโอที่
เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้นๆ ไปใช้ เพื่อให้
ผู้เรียนสร้างความสามารถทางภาษาในการได้ยิน ได้ฟังและ
มองเห็นภาพประกอบ อีกทั้งเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรม
ต่างๆ จากวัฒนธรรมจริงๆ ที่มีอยู่
4.4) กรอบวัฒนธรรม : ประวัติศาสตร์ กรอบการออกแบบ
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ : มัลติมีเดีย การออกแบบหน้าจอ
และเนื้อหา
Nguyen (2008) ศึกษาการออกแบบบทเรียนมัลติมีเดียโดย
นาเสนอวรรณคดีและการสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่นให้
สอดคล้องกับการเรียนภาษาต่างประเทศมหาวิทยาลัยดานัง
ประเทศเวียดนาม โดยศึกษา 3 ส่วน ได้แก่ การสารวจ
ศักยภาพของผู้เรียน กลยุทธ์ในการเลือกเนื้อหา และเกณฑ์
การออกแบบมัลติมีเดีย โดยในส่วนแรก การออกแบบ
บทเรียนจะต้องวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ทั้งทางด้านความรู้
อายุ เพศ การศึกษา วัฒนธรรมหรือชาติพันธุ์พื้นฐาน
แรงจูงใจ บุคลิกภาพ และประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์
จากนั้นจึงเลือกเนื้อหาในการออกแบบให้ตอบสนองความ
ต้องการโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบ
ส่วนที่ 2 การเลือกเนื้อหา นอกจากความถูกต้องของภาษาใน
เนื้อหาที่ใช้แล้ว ยังต้องคานึงถึงความยากของภาษา การมี
ส่วนร่วมของผู้เรียน ความน่าสนใจของเนื้อหา หลักสูตร
เนื้อหาควรจัดเป็นรายการ/เมนูที่เป็นรูปธรรม หลีกเลี่ยง
รูปแบบนามธรรม และส่วนที่ 3 การออกแบบบทเรียน ควร
เลือกรูปแบบที่คุ้นเคยกับผู้เรียน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน
มีเครื่องมือช่วยสืบค้นและจัดระเบียบข้อมูลและการ
สนับสนุนการเรียนผ่านบทเรียน ควรมีการนาเสนอข้อความ
กราฟิก เสียงและภาพยนตร์ประกอบตามความเหมาะสมกับ
เนื้อหา การนาเสนอควรเลือกใช้สีที่อ่านง่าย สบายตา ใน 1
หน้าจอไม่ควรเกิน 3 สี ประเภทและขนาดของแบบตัวอักษะ
เหมาะสม การเน้นข้อความด้วยสีและการกระพริบจะช่วย
เพิ่มจุดสนใจได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ควรใช้การกระพริบมาก
เกินไปจะทาให้เสียสมาธิและอ่านยาก
4.5) กรอบวัฒนธรรม : ประวัติศาสตร์ กรอบการออกแบบ
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ : การออกแบบหน้าจอ
Specht and Oppermann (1998) เสนอแนวคิดการพัฒนา
คอร์สแวร์เพื่อผสมผสานการนาเสนอความรู้สาหรับการ
เรียนรู้พิพิธฑภัณฑ์และวัฒนธรรมว่า การออกแบบการเรียน
การสอนและการประยุกต์ใช้สื่อ มีส่วนประกอบที่ผู้เรียน
ศึกษาด้วยตนเอง (HTML, Java, รูปภาพ) จะต้องมีการ
เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ไปสู่หลักสูตร โดยการ
ออกแบบไฮเฟอร์มีเดียจะต้องเชื่อมโยงให้ผู้เรียนเลือก
สามารถเลือกเนื้อหาที่ต้องการศึกษา สามารถเลือกสื่อที่
เหมาะสมกับผู้เรียนตามความสนใจ โดยการออกแบบสื่อ
แบบผสมผสานหลายๆ สื่อเข้าด้วยกัน และมีกลยุทธ์ในการ
ถ่ายทอดเนื้อหาที่มีลักษณะเฉพาะให้น่าสนใจ มีการ
เชื่อมโยงเนื้อหาและแนะนาวิธีการเรียนรู้
4.6) กรอบวัฒนธรรม : ชาติพันธุ์ กรอบการออกแบบ
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ : มัลติมีเดีย
He (2010) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกลุ่มชาติ
พันธุ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในเขตของกลุ่มชนปูยี
และแม้วในเขตปกครองตนเองเฉียนชีหนาน พบว่า รูปภาพ
เสียง และการ์ตูนจากการนาเสนอในโปรแกรม PowerPoint
สามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ดีกว่าบทเรียนที่มี
แต่ข้อความเพียงอย่างเดียว และรูปแบบพฤติกรรมของ
นักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีพฤติกรรม
การเรียนรู้แตกต่างไปจากในชั้นเรียนปกติ
ภาพที่ 2 ร่างรูปแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ สาหรับอีเลิร์นนิง
ในอาเซียน (ผลสรุปจากงานวิจัยระยะที่ 1 การทบทวน
วรรณกรรม และระยะที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบ)
5) บทสรุป
เมื่อพิจารณากรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึงทั้ง 10 ด้าน สู่
การออกแบบร่างต้นแบบดังที่นาเสนอไปแล้วนั้น ผู้เขียนได้
มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับ ASEAN+3 จานวน 3
ท่าน ได้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ ในการพัฒนา
รูปแบบเว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม
สาหรับอีเลิร์นนิงในอาเซียนนั้น ขอให้เน้นในเรื่องความ
อิสระของผู้ใช้ในการเลือกเนื้อหาต่างๆ ที่สะท้อนกรอบ
วัฒนธรรม ตามความเหมาะสมของบริบทเนื้อหาและการ
จัดการเรียนการสอน อีกทั้งยังควรให้ความสาคัญกับความ
เป็นชุมชนของ ASEAN Community ตลอดจนการสร้าง
แรงจูงใจ เพื่อให้เกิดการเข้าร่วมในสังคมแห่งการเรียนรู้นี้
อย่างยั่งยืนผ่านกิจกรรมต่างๆ จากข้อเสนอแนะดังกล่าว
ผู้เขียนจะนามาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบฯ ให้
สมบูรณ์ยิ่งขึ้นผ่านกระบวนการวิจัยในขั้นต่อๆ ไป โดย
สามารถติดตามบทความที่นาเสนอรายงานการวิจัยนี้ได้ที่
Khlaisang, J. (2012). Analysis of the Cultural Factors
Affecting the Proper Design of Website and Electronic
Courseware for e-Learning in ASEAN. Proceeding of the
26th Annual Conference of Asian Association of Open
Universities (AAOU2012). Chiba, Japan. October 16-18,
2012. (อยู่ในระหว่างรอเผยแพร่)
6) เอกสารอ้างอิง
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). โครงการวิจัยการวิเคราะห์
องค์ประกอบด้านวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อรูปแบบ
เว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม
สาหรับการเรียนการสอนทางไกลแบบอีเลิร์นนิง
ในอาเซียน. สานักงานคณะกรรมการการ
อุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (ดาเนินการ
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๕)
รัตนา โตสกุล. (2549). ว่าด้วยวัฒนธรรม. สาหรับการ
ฝึ กอบรมผู้ทางานด้านวัฒนธรรมภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือจากกระทรวง
วัฒนธรรม ปี พ.ศ. 2549
สมชัย ใจดี และ ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์. (2545). ประเพณีและ
วัฒนธรรมไทย. เว็บไซต์ : เข้าถึงใน http://www.
school.net.th/library/create-web/10000/ socio
logy/10000-7380.html
สุพัตรา สุภาพ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม
ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. พิมพ์ครั้งที่ 11.
กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สานักเลขาธิการอาเซียน. (2009). Culture and Information
เว็บไซต์: เข้าถึงใน http://www.aseansec.org/
10373.htm
ASEAN University Network. (2012). เว็บไซต์: เข้าถึงใน
http://www.aun-sec.org
Christopher Ziguras. 1998. Educational technology in
transnational higher education in South East
Asia: the cultural politics of flexible learning.
http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?d
oi=10.1.1.199.3796
Davey, A. K. (2012). The Meaning of Culture. Across
Cultures. เว็บไซต์: เข้าถึงใน http://acrossculture
s.info/ meaning-of-culture.html
Friesner, T. and Hart, M. (2004). A Cultural Analysis of
e-Learning for China. Electronic Journal on e-
Learning. Volume 2 Issue 1 (February 2004) :
81-88 pp.
He, B. (2010). Factors affecting normalization of call in
senior high schools in the ethnic areas of the
people’s republic of china. Master of Arts in
English Language Studies. Suranaree
University of Technology.
Kluver, R. (2004). Political Culture and Information
Technology in the 2001 Singapore General
Election. Political Communication. Volume 21
Issue 4, 2004: pages 435-458.
McLoughlin, C. (1999). Culturally responsive technology
use: developing an on-line community of
learners . British Journal of Educational
Technology. Volume 30, Issue 3, July 1999:
231–243 pp.
Nada Korac-Kakabadse, Alexander Kouzmin. (1999).
Designing for cultural diversity in an IT and
globalizing milieu: Some real leadership
dilemmas for the new millennium. Journal of
Management Development. Vol. 18 Iss 3 : 291 -
319 pp.
Nguyen, L.V. (2008). The Triangular Issues in
Multimedia LanguageCourseware Design in the
Vietnamese Efl Environment. Asian Social.
Science. Vol 4 No 6 (June, 2008) : 65 – 68 pp.
Ring, G. (1991). Student reactions to courseware: gender
differences. British Journal of Educational
Technology. Volume 22, Issue 3, September
1991: 210–215 pp.
Shamaileh, O. A.; Sutcliffe, A.; and Angeli, A.D. (2011).
The Effect of Religious Identity on User
Judgment of Website Quality. Human-Computer
Interaction – INTERACT 2011. Lecture Notes in
Computer Science, 2011, Volume 6949/2011:
620-623 pp.
Shawback, M. J., & Terhune, N. M. (2002). Online
interactive courseware: using movies to promote
cultural understanding in a CALL environment.
Computer Science and Convergence. Volume
104, Issue 1, 2002: 85-95 pp.
Specht, M. and Oppermann, R. (1998). Special Issue:
Adaptivity and User Modelling in Hypermedia
Systems; Hypermedia for Museums and Cultural
Heritage . ACE - adaptive courseware
environment. Vol. 4, Issue 1, 1998: 141-161 pp.
Stern, S. R. 2004. Expressions of Identity Online:
Prominent Features and Gender Differences in
Adolescents' World Wide Web Home Pages.
Journal of Broadcasting & Electronic Media.
Volume 48, Issue 2, 2004: 218-243 pp.
Stuart Y. (2001). Confident Men - Successful Women:
Gender Differences in Online Learning. General
Election. Political Communication. Volume 17
Issue 3, 2001: pages 405-418.
Thompson, E.C. and Thianthai, C. (2008). Attitudes and
Awareness towardASEAN: Summaryof Findings
from a Ten Nation Survey (Summary Report),
Jakarta: The ASEAN Foundation.
Wolf, A. (2000). Emotional Expression Online: Gender
Differences in Emoticon Use. Cyber Psychology
& Behavior. October 2000, 3(5): 827-833 pp.
Ying, F. (2007). Remarks on How to Learn Chinese and
English Cultures through Courseware Making.
Sichuan University of Arts and Science Journal.
Vol 06.

More Related Content

Similar to Proper Design of Website and Electronic Courseware for e-Learning in ASEAN : Cultural framework for Consideration

1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน
1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน
1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียนtomodachi7016
 
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนการเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนAkarimA SoommarT
 
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูน
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูนงานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูน
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูนจุลี สร้อยญานะ
 
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์Preaw Adisaun
 
โครงร่างงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างงานคอมพิวเตอร์โครงร่างงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างงานคอมพิวเตอร์mintra_duangsamorn
 
โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์Phiromporn Norachan
 
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีนางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีPayped คิคิ
 
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีนางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีPayped คิคิ
 
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1AseansTradition55
 
Asean thai readiness
Asean thai readinessAsean thai readiness
Asean thai readinessi_cavalry
 
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AEC
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AECความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AEC
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AECMudhita Ubasika
 
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3Mudhita Ubasika
 

Similar to Proper Design of Website and Electronic Courseware for e-Learning in ASEAN : Cultural framework for Consideration (20)

1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน
1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน
1321861251 เปิดประตูสู่อาเซียน
 
คู่มือการบริหารสถานศึกษา
คู่มือการบริหารสถานศึกษาคู่มือการบริหารสถานศึกษา
คู่มือการบริหารสถานศึกษา
 
อาเซียน
อาเซียนอาเซียน
อาเซียน
 
อาเซียน
อาเซียนอาเซียน
อาเซียน
 
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนการเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของห้องสมุดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
 
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูน
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูนงานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูน
งานนำเสนออาเซี่ยน4 โรงเรียนอนุบาลลำพูน
 
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
121120 ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อวิชาชีพบรรณารักษ์
 
โครงร่างงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างงานคอมพิวเตอร์โครงร่างงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์โครงงานฟิสิกส์
โครงงานฟิสิกส์
 
อาเซียน1
อาเซียน1อาเซียน1
อาเซียน1
 
อาเซียน1
อาเซียน1อาเซียน1
อาเซียน1
 
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีนางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
 
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีนางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
 
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
โครงงานสื่อข้อมูลตัวอย่างจารีตและประเพณีในอาเซียน.Docx 1
 
Aseanpresent worasak
Aseanpresent worasakAseanpresent worasak
Aseanpresent worasak
 
คู่มือครู
คู่มือครูคู่มือครู
คู่มือครู
 
Asean thai readiness
Asean thai readinessAsean thai readiness
Asean thai readiness
 
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
ยุทธศาสตร์ กศน ปี 2560
 
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AEC
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AECความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AEC
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน AEC
 
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3
ความท้าทายและโอกาสของการศึกษาไทยใน Aec v3
 

Proper Design of Website and Electronic Courseware for e-Learning in ASEAN : Cultural framework for Consideration

  • 1. จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). การออกแบบเว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับอีเลิร์นนิงในอาเซียน: กรอบ วัฒนธรรมที่ควรคานึงถึง (Proper Design of Website and Electronic Courseware for e-Learning in ASEAN : Cultural framework for Consideration). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceeding) ด้านอีเลิร์นนิง : Integrating ASEAN Online Learning: Policy and Process บูรณาการการเรียนรู้ออนไลน์ประชาคมอาเซียน: นโยบายและกระบวนการ. จัดโดยโครงการ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2555. การออกแบบเว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับ อีเลิร์นนิงในอาเซียน: กรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึง Proper Design of Website and Electronic Courseware for e-Learning in ASEAN : Cultural framework for Consideration จินตวีร์ คล้ายสังข์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย jintavee.m@chula.ac.th ABSTRACT As the 10 ASEAN member countries to become ASEAN community in the year 2015 with the aim to enhance understanding and accelerating economic growth, social progress, and cultural development in the region through joint endeavors in the spirit of equality and partnership of the ASEAN community nations. However, when considering cultural framework affecting to the education, inequality found in various magnitudes, especially in the areas of social progress and cultural development, namely, religions, languages, and cultural differences. Thus for, to create common understanding and respectful recognition of such differences, as well as to preserve the value of cultural wisdom of the ASEAN community nations, are considered to be necessity. This article entitled “Proper Design of Website and Electronic Courseware for e-Learning in ASEAN : Cultural framework for Consideration” discusses about the cultural framework from the documents, researches, and examples in related to on cultural factors of the proper design of website and electronic courseware for e-Learning in ASEAN during 1991- 2011, emphasizing higher educational institutes. Such review of the related literatures will soon be in consideration as part of the data in order to develop the prototype of website and electronic courseware for e-Learning in ASEAN emphasizing on cultural effects. The cultural framework to be discussed includes 10 aspects namely (1) Gender (2) Religion (3) Language (4) History (5) Art (6) Aesthetics (7) Law (8) Politics (9) Ethnography and Local, and (10) Wisdom. Keywords : E-Learning, ASEAN community, Website Design, Courseware Design, Cultural Framework บทคัดย่อ การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนของประเทศสมาชิก ทั้ง 10 ประเทศในปี พ.ศ. 2558 จะเป็นการสร้างสังคม ภูมิภาคให้พลเมืองของประเทศสมาชิกอยู่ร่วมกัน โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่าง ประเทศในภูมิภาค สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้าน เศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และวัฒนธรรม บนพื้นฐานของ ความเสมอภาค และผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศ สมาชิกทั้ง 10 ประเทศ หากเมื่อพิจารณาในด้านกรอบ วัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการศึกษาแล้วนั้น ยังพบว่ากลุ่ม ประเทศอาเซียนมีความเหลื่อมล้ากันในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะ เป็ นความหลากหลายของศาสนา ภาษา รวมถึงความ แตกต่างทางด้านวัฒนธรรม จึงมีความจาเป็ นที่ต้อง เสริมสร้างความเข้าใจ การเคารพและยอมรับในวัฒนธรรม ที่แตกต่างกัน รวมถึงการปกป้ องรักษามรดกทางวัฒนธรรม ของภูมิภาคต่างๆ นี้ บทความเรื่อง การออกแบบเว็บไซต์และบทเรียน อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับอีเลิร์นนิงในอาเซียน: กรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึง จะกล่าวถึงขอบข่ายด้าน วัฒนธรรมจากศึกษาเอกสาร งานวิจัย และตัวอย่างต่างๆที่ เกี่ยวข้องกับการออกแบบเว็บไซต์และบทเรี ยน
  • 2. อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบด้านวัฒนธรรม อาเซียนตั้งแต่ปี พศ. 2534-2554 โดยเน้นบริบทของ อุดมศึกษา เพื่อเป็นกรอบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ งานด้านวัฒนธรรม เพื่อนามาเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลใน การพัฒนาร่างต้นแบบของเว็บไซต์และบทเรี ยน อิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับอีเลิร์นนิงในอาเซียนที่ ตอบโจทย์ในเรื่องของความแตกต่างทางวัฒนธรรมนี้ต่อไป โดยกรอบวัฒนธรรมสามารถจาแนกออกเป็น 10 ด้าน ได้แก่ (1) เพศ (2) ศาสนา (3) ภาษา (4) ประวัติศาสตร์ (5) ศิลปะ (6) สุนทรียภาพ (7) กฏหมาย (8) การเมือง (9) ชาติพันธุ์ และ (10) ภูมิปัญญา คาสาคัญ : อีเลิร์นนิง, ประชาคมอาเซียน. การออกแบบอี เลิร์นนิงเว็บไซต์, การออกแบบอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์, กรอบ วัฒนธรรม 1) บทนา กลุ่มประเทศอาเซียนมีความเหลื่อมล้ากันในหลายด้านส่งผล ให้ประชาคมด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านสังคม และวัฒนธรรมอาเซียนมีความแตกต่างกัน การรวมตัวของ กลุ่มประเทศอาเซียนยังมีความเหลื่อมล้ากันหลายด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาประเทศที่แตกต่างกัน มีทั้งประเทศที่ พัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ ประเทศกาลังพัฒนาอย่างมาเลเซีย ไทยและอินโดนีเซีย ในขณะที่กลุ่มประเทศนิวอาเซียนอย่าง อาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็ น ประเทศกาลังพัฒนา และด้วยความหลากหลายของประเทศ อาเซียนมีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายของ ประชากร ศาสนา ภาษาที่ใช้ รวมถึงความแตกต่างทางด้าน วัฒนธรรมจึงมีความจาเป็นที่ต้องเสริมสร้างความเข้าใจซึ่ง กันและกันและการเคารพในวัฒนธรรม ยอมรับใน วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน รวมถึงการปกป้ องรักษามรดกทาง วัฒนธรรมของภูมิภาคต่างๆ (สานักเลขาธิการอาเซียน, 2009) ดังนั้น บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อ รูปแบบเว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม สาหรับการเรียนการสอนทางไกลแบบอีเลิร์นนิงในอาเซียน” (ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากโครงการมหาวิทยาลัยไซ เบอร์ไทย สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ) จะนาเสนอข้อมูลจากการดาเนินงาน ในขั้นตอนแรกของงานวิจัยคือการศึกษาเอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเพื่อเป็นกรอบในการ วิเคราะห์และสังเคราะห์งานด้านวัฒนธรรม เพื่อเป็ น แนวทางในการออกแบบและพัฒนารูปแบบเว็บไซต์และ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับการเรียนการ สอนทางไกลแบบอีเลิร์นนิงในอาเซียนต่อไป 2) ความหมายและองค์ประกอบของวัฒนธรรมใน มุมมองของประเทศในกลุ่มอาเซียน 2.1) ความหมายของวัฒนธรรม วัฒนธรรมหมายถึง วิถีชีวิตหรือแบบแผนในการคิดและ การกระทาของมนุษย์ในสังคม ซึ่งแสดงออกถึงชีวิตมนุษย์ ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง (Davey, 2012; สุพัตรา สุภาพ, 2543; รัตนา โตสกุล; 2549; สมชัย ใจดี; ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์, 2545) โดยเป้ าหมายหลัก ของอาเซียนนั้นคือความเป็นหนึ่งเดียวบนความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน (Unity in Diversity through the ASEAN Way of Life) และความ แตกต่างสู่ความแข็งแกร่งของประชาคมอาเซียน (Diversity towards Strengthening) จึงมีความสาคัญและเป็นสิ่งที่ท้า ทายต่อไป 2.2) องค์ประกอบของวัฒนธรรม จากกรอบประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ทุกภาค ส่วนรวมถึงเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนต่างๆ จึงได้จัดทา หลักสูตร ASEAN STUDY และโครงการต่างๆ ที่เน้นการ สร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านสังคมละวัฒนธรรมขึ้นมา เพื่อรองรับและการเตรียมความพร้อมประเทศในการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดทาค่ายวัฒนธรรม เยาวชนอาเซียน (ASEAN University Network, 2012) หรือ การจัดการเรียนการสอนโดยสอดแทรกสังคมและ วัฒนธรรมเข้าไปในหลักสูตร เช่น มหาวิทยาลัยบรูไนดารุส ซาลามมีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร ASEAN STUDY เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมอย่างเหมาะสม ในแง่ของความรู้ทักษะทัศนคติค่านิยมทางศีลธรรมและจิต วิญญาณเพื่อรองรับความต้องการการพัฒนาของประเทศ และสอดคล้องกับปรัชญาของชาติ (http://www.aun-
  • 3. sec.org) อีกทั้งหลักสูตรในมหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียน มี โครงสร้างหลักสูตรที่มีเนื้อหาครอบคลุมด้านวัฒนธรรม จากการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว จึงขอสรุป ขอบข่ายด้านวัฒนธรรม จาแนกออกเป็น 6 ด้านหลัก 10 ด้านย่อย ดังนี้ (1) เพศ (Gender) (2) ศาสนา (Religion) (3) ภาษา (Language) (4) ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และ สุนทรียภาพ (History, Art and Aesthetics) (แบ่งเป็น 3 ด้าน ย่อย) (5) กฏหมายและการเมือง (Law and Politics) (แบ่งเป็น 2 ด้านย่อย) และ (6) ชาติพันธุ์และภูมิปัญญา (Ethnography and Local) Wisdom) (แบ่งเป็น 2 ด้านย่อย) 2.3) ความสาคัญของอีเลิร์นนิงกับการเผยแพร่วัฒนธรรม ของประเทศกลุ่มอาเซียน การศึกษาวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนมีความ หลากหลายและแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงจาเป็ นต้องมี เครื่องมือที่เผยแพร่ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ วัฒนธรรมของประเทศในประชาคมอาเซียน การใช้ โครงสร้างพื้นฐานสิ่งอานวยความสะดวกและเทคโนโลยี การสื่อสาร ตลอดจนการบริหารจัดการทางการศึกษาจึงถือ เป็นตัวเลือกหนึ่ง ดังที่ Nada et al. (1999) ได้ทาการสารวจ ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศสาหรับธุรกิจองค์กร แรงงานและวัฒนธรรม พบว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่ง กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเศรษฐกิจโลก การขาด ความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศส่ง ผลกระทบต่อวัฒนธรรม ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ถูกต้อง สะท้อนความสาคัญ และสนองตอบต่อความแตกต่างของวัฒนธรรมที่ หลากหลาย ทางด้านความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงโครงสร้าง ทางวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับ Thompson and Thianthai (2008) ที่ศึกษาความคิดเห็นจากนักศึกษา 8 ใน 10 ประเทศ อาเซียนเกี่ยวกับทัศนคติของนักศึกษาด้านความรู้ความเข้าใจ ที่มีต่ออาเซียน เกี่ยวกับภูมิภาค ข้อมูลต่างๆ ของอาเซียน ความตกลงร่วมมือต่างๆ แหล่งข้อมูลข่าวสาร พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของ ประเทศในอาเซียนโดยควรเป็นความรู้ที่หาได้ง่าย ไม่ ซับซ้อน ซึ่งสามารถศึกษาได้จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และมี สื่อกลางในสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ควรมีศูนย์กลางสาหรับการค้นหาข้อมูลต่างๆ ซึ่ง รวบรวมประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศไว้ สามารถ แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยใช้สารสนเทศเข้ามาช่วยให้สะดวก มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนทางไกล แบบอีเลิร์นนิงในอาเซียน ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเว็บไซต์และบทเรียน อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบด้านวัฒนธรรม อาเซียน ตั้งแต่ปี 1991 - 2011 พบว่า งานวิจัยและเอกสาร รวมทั้งสิ้น 50 เรื่อง โดยแบ่งเป็น (1) องค์ประกอบด้าน ขอบข่ายด้านวัฒนธรรม จาแนกออกเป็น 10 ด้าน แบ่งเป็น เพศ (Gender) ศาสนา (Religion) ภาษา (Language) ประวัติศาสตร์ (History) ศิลปะ (Art) สุนทรียภาพ (Aesthetics) กฎหมาย (Law) การเมือง (Politics) ชาติพันธุ์ (Ethnography and Local) และภูมิปัญญา (Wisdom) (2) องค์ประกอบด้านการออกแบบเว็บไซต์และบทเรียน อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านมัลติมีเดีย (ภาพประกอบ เสียง ตัวอักษร และการจัดรูปแบบ) องค์ประกอบด้านการออกแบบหน้าจอ (ส่วนต่อประสาน ระบบนาทาง การเข้าถึงข้อมูล และการทดสอบการใช้งาน) องค์ประกอบด้านการออกแบบเนื้อหา องค์ประกอบด้าน คุณลักษณะของสื่อใหม่ อันได้แก่ โมบายเลิร์นนิง อีบุ๊ค ตลอดจนการใช้แท็บเล็ตในการเรียนการสอน 3) กรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึงในการออกแบบ เว็บไซต์ จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบ เว็บไซต์ในอาเซียน จานวน 25 เรื่อง จาแนกออกเป็ น ประเทศไทย 7 เรื่อง ประเทศฟิลิปปินส์ 4 เรื่อง ประเทศ ญี่ปุ่น 4 เรื่อง ประเทศมาเลเซีย 4 เรื่อง ประเทศสิงคโปร์ 3 เรื่อง ประเทศเกาหลี 2 เรื่อง และประเทศจีน 1 เรื่อง (ประเทศญี่ปุ่น จีน และสาธารณรัฐเกาหลี นามารวมโดยยึด กรอบความร่วมมืออาเซียน+3) สรุปได้ว่า 3.1) กรอบวัฒนธรรม : เพศ กรอบการออกแบบเว็บไซต์ : การออกแบบหน้าจอ Stern (2004) เสนอความนิยมเว็บไซต์ในกลุ่มวัยรุ่นเพศ หญิงและเพศชายต้องการความเป็นเอกภาพในเรื่องที่สนใจ
  • 4. ไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับแฟชั่น ส่วนหน้า แรกของเว็บไซต์จะต้องทาให้โดดเด่น สะดุดตา ดึงดูดความ สนใจ โดยใช้ภาพเคลื่อนไหวและเสียงที่น่าสนใจ และมี ช่องทางสาหรับการสื่อสาร ส่วนที่แตกต่างกันก็คือ เนื้อหา สาระในหน้าเว็บไซต์ 3.2) กรอบวัฒนธรรม : เพศ กรอบการออกแบบเว็บไซต์ : เนื้อหา Stuart (2001) ศึกษาความแตกต่างทางเพศในการเรียน หลักสูตรออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี พบว่า เพศ มีส่วนสาคัญต่อการใช้โปรแกรมออนไลน์และทักษะการ สื่อสารของนักศึกษา หลักสูตรออนไลน์ให้อิสระในการ เลือกวิธีศึกษาแก่นักศึกษา เป็นกลยุทธ์ที่สาคัญในการสร้าง แรงจูงใจและการเรียนรู้ โดยในหลักสูตรออนไลน์นั้น เพศ หญิงจะชอบเรียนรู้มากกว่าเพศชาย และมีวินัยและระเบียบ ในการเรียนมากกว่า ในทางตรงกันข้ามเพศชายที่มีอายุน้อย จะสนใจหลักสูตรออนไลน์มากกว่าเพศหญิง และหากเป็น หลักสูตรที่มีความท้าทายต้องศึกษาด้วยตนเอง เพศชายจะ ประสบความสาเร็จมากกว่าเพศหญิง 3.3) กรอบวัฒนธรรม : เพศ กรอบการออกแบบเว็บไซต์ : มัลติมีเดีย Wolf (2000) วิเคราะห์การใช้ไอคอนแสดงอารมณ์ (emotion icon) ในกลุ่มข่าวออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทัศนคติของเพศ หญิงและเพศชาย โดยการนาไอคอนแสดงอารมณ์ที่ เหมือนกับเพศจนถึงการใช้ไอคอนแสดงอารมณ์แบบ ผสมผสาน พบว่า เพศชายชอบใช้ไอคอนแสดงอารมณ์ที่ เป็นมาตรฐานแสดงอารมณ์ต่างๆมากกว่าเพศหญิง ส่วนเพศ หญิงชอบใช้ไอคอนที่แสดงอารมณ์เงียบหรือปิ ดเสียง ขอบคุณ และใช้ไอคอนแสดงความรู้สึกทางบวก 3.4) กรอบวัฒนธรรม : ภาษา ประวัติศาสตร์ ศิลปะ กฎหมาย กรอบการออกแบบเว็บไซต์ :มัลติมีเดียการ ออกแบบหน้าจอ เนื้อหา Friesner and Hart (2004) กล่าวว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มี ความหลากหลายด้านวัฒนธรรมและภาษาถิ่นหลากหลาย ทา ให้เกิดปัญหาความเข้าใจซึ่งกันและกัน ดังนั้นจึงควรมีการนา ภาษาประจาชาติหรือภาษาที่เป็นทางการ (ภาษาจีนกลาง) กากับไว้เพื่อการสื่อสารที่ตรงกัน แต่สาหรับการทาเป็น เว็บไซต์ควรมีการแปลภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษ อาจใช้ภาพ หรือสัญลักษณ์ที่เป็นข้อความต่างๆ เพื่อความเข้าใจมาก ยิ่งขึ้น การออกแบบเว็บไซต์โดยใช้ภาพกราฟิกและป๊ อปอัพ จะช่วยดึงดูดความสนใจแก่ผู้อ่าน การออกแบบเว็บไซต์เกี่ยวกับภาพและการสื่อความหมาย ระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมจีนนั้น การ ออกแบบหน้าจอจะต้องออกแบบจากด้านบนซ้ายของหน้าจอ ซึ่งเป็นจุดที่นักเรียนเริ่มอ่าน ไม่ควรใช้สีมากเกินไปเพราะจะ ทาให้สับสนในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมเกี่ยวกับ ภาพของจีนส่วนใหญ่ภาพจะเน้นสีขาวและสีดา และเมื่อ พิจารณาเนื้อหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมนั้น การคัดลอก หรือทาซ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องคานึงถึงลิขสิทธิ์ และ การอ้างอิงจะต้องมีการตรวจสอบข้อความโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กฎหมายจีน กฎหมายด้านการเงิน กฎหมายการค้า ซึ่งเป็น การป้ องกันทรัพย์สินทางปัญญา 3.5) กรอบวัฒนธรรม : ศาสนา กรอบการออกแบบ เว็บไซต์ : เนื้อหา Shamaileh และคณะ (2011) ศึกษาคุณภาพเว็บไซต์ที่ เผยแพร่อัตลักษณ์ทางศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ โดย สอบถามผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติทางบวกเกี่ยวกับเว็บไซต์ โดย มีความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาที่ตนเองนับถือมากขึ้น เนื้อหาใน เว็บไซต์เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาที่ผู้นับถือ สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ ทาให้เกิดความแข็งแกร่งและ สื่อกลางในการรวมตัวของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ใน เว็บไซต์ไม่ควรมีการโฆษณาสินค้าอื่นแอบแฝง ควรจะเป็น ตราสัญลักษณ์ทางศาสนาหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องควรเน้น เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนพิธี พิธีกรรม วันสาคัญต่างๆ เพื่อเป็น การเผยแพร่ศาสนาอีกช่องทางหนึ่ง 3.6) กรอบวัฒนธรรม : ภาษา กรอบการออกแบบ เว็บไซต์ : มัลติมีเดีย Shawback and Terhune (2002) ศึกษาการเรียนภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่สองจากนักเรียนที่สนใจภาพยนตร์เกี่ยวกับภาษา และวัฒนธรรม พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ที่ชมภาพยนตร์ ผ่านอินเทอร์เน็ตมีความสนใจภาษาและวัฒนธรรมใน
  • 5. ภาพยนตร์ ทาให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ทางภาษาและเรียนรู้ วัฒนธรรม มีความสามารถทางภาษาที่ดีขึ้นผ่านการชม ภาพยนตร์เป็นลาดับ เนื่องจากภาพยนตร์เพื่อการศึกษาภาษา และวัฒนธรรมมีเทคโนโลยีที่สมัยอย่างอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ นักเรียนมีบทบาทเชิงรุกในการเรียนรู้ อีกทั้งยังมีทักษะใน การฟัง การอ่านและการนาเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมี subtitle ภาษาถิ่นในเนื้อหาสาหรับการนักเรียนที่เรียนรู้ด้วย ภาษาอังกฤษ และมี subtitle ภาษาอังกฤษสาหรับนักเรียนที่มี ความรู้ภาษาอังกฤษระดับปานกลาง 3.7) กรอบวัฒนธรรม : ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา กรอบการ ออกแบบเว็บไซต์ : เนื้อหา McLoughlin (1999) ศึกษาการออกแบบการเรียนการสอนที่ เหมาะกับความต้องการของกลุ่มวัฒนธรรมโดยใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศระดับอุดมศึกษา จะต้องมีการ ตระหนักถึงความต้องการในการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ ของแต่ละกลุ่มโดยจะต้องผสมผสานให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใน การออกแบบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึง วัฒนธรรมที่หลากหลาย จะต้องมีการสื่อสารที่หลากหลาย ภาษา เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้และอัต ลักษณ์ของวัฒนธรรมและการปฏิบัติของชุมชน โดยในการ ออกแบบจะต้องพิจารณาความสัมพันธ์กับเนื้อหาวัฒนธรรม ที่หลากหลาย การออกแบบโครงสร้างในบทเรียนให้ผู้เรียน มีส่วนร่วม มีการปฐมนิเทศ กาหนดวัตถุประสงค์และ เป้ าหมายในการเรียน 3.8) กรอบวัฒนธรรม : ศิลปะ กรอบการออกแบบเว็บไซต์ : เนื้อหา Christopher (1998) ตรวจสอบความเหมาะสมในการใช้ เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ด้าน วัฒนธรรมการเมืองระดับอุดมศึกษาในประเทศเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้พบว่าเทคโนโลยีแบบโต้ตอบเหมาะสม กับการศึกษาด้านวัฒนธรรมการเมืองที่เน้นการเรียนรู้ด้วย ตนเองและเป็ นอิสระในการเรียน แต่ไม่เหมาะสมกับ ประเทศทางใต้ของเอเชียตะวันออกเนื่องจากเน้นการศึกษา แบบดั้งเดิม (ครูสอนโดยตรง) แต่จากการศึกษาพบว่า แนวโน้มการเทคโนโลยีเป็นสิ่งสาคัญในการเรียนรู้ด้าน วัฒนธรรมท้องถิ่น ขนบธรรมเนียม ตลอดจนการ เปลี่ยนแปลงทางสังคมในท้องถิ่น 3.9) กรอบวัฒนธรรม : การเมือง กรอบการออกแบบ เว็บไซต์ : เนื้อหา Kluver (2004) กล่าวว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสาคัญในการ ขยายอานาจทางการเมืองและเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับประชาชน โดยนาเสนอกรณีศึกษาประเทศ สิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ แตกต่างจากชาติตะวันตก โดยเมื่อศึกษาเกี่ยวกับการใช้ เทคโนโลยีและการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตทางการเมือง ในการเลือกตั้งทั่วไปช่วงปี 2001 พบว่าการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเผยแพร่ข่าวสารทางการเมืองมีปริมาณใกล้เคียงกับ ประเทศทางตะวันตก สื่อมีผลกระทบสาคัญต่อวัฒนธรรม ทางการเมืองรวมถึงกฎระเบียบ การปฏิบัติทางการเมืองที่ สามารถเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการเผยแพร่การ อภิปรายทางการเมืองและกฎระเบียบสาคัญต่างๆ ที่ ประชาชนควรรู้
  • 6. ภาพที่ 1 ร่างรูปแบบเว็บไซต์ที่เหมาะสมสาหรับ อีเลิร์นนิงในอาเซียน (ผลสรุปจากงานวิจัยระยะที่ 1 การ ทบทวนวรรณกรรม และระยะที่ 2 การวิเคราะห์องค์ ประกอบด้วยวิธี Exploratory Factor Analysis) 4) กรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึงในการออกแบบ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับบทเรียน อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน จานวน 25 เรื่อง จาแนกออกเป็น ประเทศไทย 10 เรื่อง ประเทศฟิลิปปินส์ 2 เรื่อง ประเทศ มาเลเซีย 6 เรื่อง ประเทศสิงคโปร์ 2 เรื่อง ประเทศเวียตนาม 1 เรื่อง และประเทศจีน 4 เรื่อง (ประเทศญี่ปุ่ น จีน และ สาธารณรัฐเกาหลี นามารวมโดยยึดกรอบความร่วมมือ อาเซียน+3) ขอยกตัวอย่างวรรณกรรมที่น่าสนใจดังนี้ 4.1) กรอบวัฒนธรรม : เพศ กรอบการออกแบบบทเรียน อิเล็กทรอนิกส์ : เนื้อหา Ring (1991) ศึกษาปฏิกิริยาของนักเรียนที่มีเพศแตกต่างกัน ที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดย ศึกษาการลงมือปฏิบัติใช้เครื่องมือและมีคู่มือเอกสาร ประกอบ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความกระตือรือร้นใน การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ใน ชั้นเรียน มีทัศนคติในการเรียนรู้เชิงบวก แต่สิ่งที่แตกต่าง กันคือนักเรียนชายมีความมั่นใจในการใช้คอมพิวเตอร์โดย ลงมือปฏิบัติในการเรียนรู้มากกว่าเพศหญิง แต่นักเรียน หญิงจะค่อยๆ ฝึกจากคู่มือเอกสารประกอบบทเรียนเพื่อ สร้างความมั่นใจในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ 4.2) กรอบวัฒนธรรม : ศาสนา กรอบการออกแบบบทเรียน อิเล็กทรอนิกส์ : การออกแบบหน้าจอ Friesner and Hart (2004) ศึกษาการเข้าถึงข้อมูลทางศาสนา ในแต่ละศาสนาของจีน ไม่ว่าจะเป็น เต๋า ขงจื้อ และศาสนา พุทธ พบว่าควรมีการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเหตุการณ์ทาง ศาสนาที่สาคัญ วันสาคัญทางศาสนาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อ ผู้นับถือศาสนาต่างๆ ในประเทศจีน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับ ความรู้เพิ่มเติม และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น 4.3) กรอบวัฒนธรรม : ภาษา กรอบการออกแบบบทเรียน อิเล็กทรอนิกส์ : มัลติมีเดีย Ying (2007) กล่าวว่าการเรียนภาษาต่างประเทศที่มี ประสิทธิภาพจะต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมดั้งเดิม ของภาษานั้นๆ ด้วย ดังนั้น การเรียนการสอนโดยใช้ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สอนภาษาต่างประเทศควรมีการ ออกแบบการกิจกรรมการเรียนการสอนโดยนาคลิปวีดิโอที่ เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในท้องถิ่นนั้นๆ ไปใช้ เพื่อให้ ผู้เรียนสร้างความสามารถทางภาษาในการได้ยิน ได้ฟังและ มองเห็นภาพประกอบ อีกทั้งเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรม ต่างๆ จากวัฒนธรรมจริงๆ ที่มีอยู่ 4.4) กรอบวัฒนธรรม : ประวัติศาสตร์ กรอบการออกแบบ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ : มัลติมีเดีย การออกแบบหน้าจอ และเนื้อหา
  • 7. Nguyen (2008) ศึกษาการออกแบบบทเรียนมัลติมีเดียโดย นาเสนอวรรณคดีและการสะท้อนวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ สอดคล้องกับการเรียนภาษาต่างประเทศมหาวิทยาลัยดานัง ประเทศเวียดนาม โดยศึกษา 3 ส่วน ได้แก่ การสารวจ ศักยภาพของผู้เรียน กลยุทธ์ในการเลือกเนื้อหา และเกณฑ์ การออกแบบมัลติมีเดีย โดยในส่วนแรก การออกแบบ บทเรียนจะต้องวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ทั้งทางด้านความรู้ อายุ เพศ การศึกษา วัฒนธรรมหรือชาติพันธุ์พื้นฐาน แรงจูงใจ บุคลิกภาพ และประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ จากนั้นจึงเลือกเนื้อหาในการออกแบบให้ตอบสนองความ ต้องการโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการออกแบบ ส่วนที่ 2 การเลือกเนื้อหา นอกจากความถูกต้องของภาษาใน เนื้อหาที่ใช้แล้ว ยังต้องคานึงถึงความยากของภาษา การมี ส่วนร่วมของผู้เรียน ความน่าสนใจของเนื้อหา หลักสูตร เนื้อหาควรจัดเป็นรายการ/เมนูที่เป็นรูปธรรม หลีกเลี่ยง รูปแบบนามธรรม และส่วนที่ 3 การออกแบบบทเรียน ควร เลือกรูปแบบที่คุ้นเคยกับผู้เรียน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน มีเครื่องมือช่วยสืบค้นและจัดระเบียบข้อมูลและการ สนับสนุนการเรียนผ่านบทเรียน ควรมีการนาเสนอข้อความ กราฟิก เสียงและภาพยนตร์ประกอบตามความเหมาะสมกับ เนื้อหา การนาเสนอควรเลือกใช้สีที่อ่านง่าย สบายตา ใน 1 หน้าจอไม่ควรเกิน 3 สี ประเภทและขนาดของแบบตัวอักษะ เหมาะสม การเน้นข้อความด้วยสีและการกระพริบจะช่วย เพิ่มจุดสนใจได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ควรใช้การกระพริบมาก เกินไปจะทาให้เสียสมาธิและอ่านยาก 4.5) กรอบวัฒนธรรม : ประวัติศาสตร์ กรอบการออกแบบ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ : การออกแบบหน้าจอ Specht and Oppermann (1998) เสนอแนวคิดการพัฒนา คอร์สแวร์เพื่อผสมผสานการนาเสนอความรู้สาหรับการ เรียนรู้พิพิธฑภัณฑ์และวัฒนธรรมว่า การออกแบบการเรียน การสอนและการประยุกต์ใช้สื่อ มีส่วนประกอบที่ผู้เรียน ศึกษาด้วยตนเอง (HTML, Java, รูปภาพ) จะต้องมีการ เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ไปสู่หลักสูตร โดยการ ออกแบบไฮเฟอร์มีเดียจะต้องเชื่อมโยงให้ผู้เรียนเลือก สามารถเลือกเนื้อหาที่ต้องการศึกษา สามารถเลือกสื่อที่ เหมาะสมกับผู้เรียนตามความสนใจ โดยการออกแบบสื่อ แบบผสมผสานหลายๆ สื่อเข้าด้วยกัน และมีกลยุทธ์ในการ ถ่ายทอดเนื้อหาที่มีลักษณะเฉพาะให้น่าสนใจ มีการ เชื่อมโยงเนื้อหาและแนะนาวิธีการเรียนรู้ 4.6) กรอบวัฒนธรรม : ชาติพันธุ์ กรอบการออกแบบ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ : มัลติมีเดีย He (2010) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกลุ่มชาติ พันธุ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในเขตของกลุ่มชนปูยี และแม้วในเขตปกครองตนเองเฉียนชีหนาน พบว่า รูปภาพ เสียง และการ์ตูนจากการนาเสนอในโปรแกรม PowerPoint สามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ดีกว่าบทเรียนที่มี แต่ข้อความเพียงอย่างเดียว และรูปแบบพฤติกรรมของ นักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีพฤติกรรม การเรียนรู้แตกต่างไปจากในชั้นเรียนปกติ ภาพที่ 2 ร่างรูปแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฯ สาหรับอีเลิร์นนิง ในอาเซียน (ผลสรุปจากงานวิจัยระยะที่ 1 การทบทวน วรรณกรรม และระยะที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบ) 5) บทสรุป เมื่อพิจารณากรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึงทั้ง 10 ด้าน สู่ การออกแบบร่างต้นแบบดังที่นาเสนอไปแล้วนั้น ผู้เขียนได้ มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับ ASEAN+3 จานวน 3 ท่าน ได้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ ในการพัฒนา รูปแบบเว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม สาหรับอีเลิร์นนิงในอาเซียนนั้น ขอให้เน้นในเรื่องความ อิสระของผู้ใช้ในการเลือกเนื้อหาต่างๆ ที่สะท้อนกรอบ วัฒนธรรม ตามความเหมาะสมของบริบทเนื้อหาและการ จัดการเรียนการสอน อีกทั้งยังควรให้ความสาคัญกับความ
  • 8. เป็นชุมชนของ ASEAN Community ตลอดจนการสร้าง แรงจูงใจ เพื่อให้เกิดการเข้าร่วมในสังคมแห่งการเรียนรู้นี้ อย่างยั่งยืนผ่านกิจกรรมต่างๆ จากข้อเสนอแนะดังกล่าว ผู้เขียนจะนามาเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบฯ ให้ สมบูรณ์ยิ่งขึ้นผ่านกระบวนการวิจัยในขั้นต่อๆ ไป โดย สามารถติดตามบทความที่นาเสนอรายงานการวิจัยนี้ได้ที่ Khlaisang, J. (2012). Analysis of the Cultural Factors Affecting the Proper Design of Website and Electronic Courseware for e-Learning in ASEAN. Proceeding of the 26th Annual Conference of Asian Association of Open Universities (AAOU2012). Chiba, Japan. October 16-18, 2012. (อยู่ในระหว่างรอเผยแพร่) 6) เอกสารอ้างอิง จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). โครงการวิจัยการวิเคราะห์ องค์ประกอบด้านวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อรูปแบบ เว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสม สาหรับการเรียนการสอนทางไกลแบบอีเลิร์นนิง ในอาเซียน. สานักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (ดาเนินการ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๕) รัตนา โตสกุล. (2549). ว่าด้วยวัฒนธรรม. สาหรับการ ฝึ กอบรมผู้ทางานด้านวัฒนธรรมภาค ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือจากกระทรวง วัฒนธรรม ปี พ.ศ. 2549 สมชัย ใจดี และ ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์. (2545). ประเพณีและ วัฒนธรรมไทย. เว็บไซต์ : เข้าถึงใน http://www. school.net.th/library/create-web/10000/ socio logy/10000-7380.html สุพัตรา สุภาพ. (2543). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. สานักเลขาธิการอาเซียน. (2009). Culture and Information เว็บไซต์: เข้าถึงใน http://www.aseansec.org/ 10373.htm ASEAN University Network. (2012). เว็บไซต์: เข้าถึงใน http://www.aun-sec.org Christopher Ziguras. 1998. Educational technology in transnational higher education in South East Asia: the cultural politics of flexible learning. http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?d oi=10.1.1.199.3796 Davey, A. K. (2012). The Meaning of Culture. Across Cultures. เว็บไซต์: เข้าถึงใน http://acrossculture s.info/ meaning-of-culture.html Friesner, T. and Hart, M. (2004). A Cultural Analysis of e-Learning for China. Electronic Journal on e- Learning. Volume 2 Issue 1 (February 2004) : 81-88 pp. He, B. (2010). Factors affecting normalization of call in senior high schools in the ethnic areas of the people’s republic of china. Master of Arts in English Language Studies. Suranaree University of Technology. Kluver, R. (2004). Political Culture and Information Technology in the 2001 Singapore General Election. Political Communication. Volume 21 Issue 4, 2004: pages 435-458. McLoughlin, C. (1999). Culturally responsive technology use: developing an on-line community of learners . British Journal of Educational Technology. Volume 30, Issue 3, July 1999: 231–243 pp. Nada Korac-Kakabadse, Alexander Kouzmin. (1999). Designing for cultural diversity in an IT and globalizing milieu: Some real leadership dilemmas for the new millennium. Journal of Management Development. Vol. 18 Iss 3 : 291 - 319 pp. Nguyen, L.V. (2008). The Triangular Issues in Multimedia LanguageCourseware Design in the Vietnamese Efl Environment. Asian Social. Science. Vol 4 No 6 (June, 2008) : 65 – 68 pp. Ring, G. (1991). Student reactions to courseware: gender differences. British Journal of Educational
  • 9. Technology. Volume 22, Issue 3, September 1991: 210–215 pp. Shamaileh, O. A.; Sutcliffe, A.; and Angeli, A.D. (2011). The Effect of Religious Identity on User Judgment of Website Quality. Human-Computer Interaction – INTERACT 2011. Lecture Notes in Computer Science, 2011, Volume 6949/2011: 620-623 pp. Shawback, M. J., & Terhune, N. M. (2002). Online interactive courseware: using movies to promote cultural understanding in a CALL environment. Computer Science and Convergence. Volume 104, Issue 1, 2002: 85-95 pp. Specht, M. and Oppermann, R. (1998). Special Issue: Adaptivity and User Modelling in Hypermedia Systems; Hypermedia for Museums and Cultural Heritage . ACE - adaptive courseware environment. Vol. 4, Issue 1, 1998: 141-161 pp. Stern, S. R. 2004. Expressions of Identity Online: Prominent Features and Gender Differences in Adolescents' World Wide Web Home Pages. Journal of Broadcasting & Electronic Media. Volume 48, Issue 2, 2004: 218-243 pp. Stuart Y. (2001). Confident Men - Successful Women: Gender Differences in Online Learning. General Election. Political Communication. Volume 17 Issue 3, 2001: pages 405-418. Thompson, E.C. and Thianthai, C. (2008). Attitudes and Awareness towardASEAN: Summaryof Findings from a Ten Nation Survey (Summary Report), Jakarta: The ASEAN Foundation. Wolf, A. (2000). Emotional Expression Online: Gender Differences in Emoticon Use. Cyber Psychology & Behavior. October 2000, 3(5): 827-833 pp. Ying, F. (2007). Remarks on How to Learn Chinese and English Cultures through Courseware Making. Sichuan University of Arts and Science Journal. Vol 06.