SlideShare a Scribd company logo
1 of 36
Download to read offline
2013
NSTDAfor Commercialization
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่มุ่ง
ผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยการนำ�ความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมไทยสามารถดำ�เนินงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดย สวทช. มีหน่วยงานในสังกัดที่สร้างสรรค์ผลงานวิจัยและพัฒนาผ่านศูนย์วิจัยแห่งชาติ 4 ศูนย์ อันได้แก่ ศูนย์พันธุ
วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) โดยมีศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC)
ที่มีกลไกการสนับสนุนแบบครบวงจรให้กับผู้ประกอบการในการนำ�ผลงานการคิดค้นและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการต่อยอดทางธุรกิจและ
ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
หนังสือ NSTDA for Commercialization 2013 นี้ เป็นการรวบรวมเทคโนโลยีเด่นและเทคโนโลยีที่น่าสนใจอันเกิดจากการคิดค้น
ของทีมนักวิจัย สวทช. และผลงานที่ สวทช. ให้การสนับสนุนร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร ผลงานต่างๆ ที่นำ�เสนอภายในเล่มนี้มีความ
พร้อมสำ�หรับนักลงทุนและนักอุตสาหกรรมที่สนใจนำ�ไปลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้
เห็นถึงศักยภาพของผลงานวิจัยไทยที่สามารถพัฒนาเป็นธุรกิจเทคโนโลยีได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำ�คัญที่จะทำ�ให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น
ผู้คิดค้นเทคโนโลยี เกิดการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม และเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศบนเวทีการค้าโลกได้
4	 NSTDA fo Commercialization 2013
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
WEFRE Rehab System (Wrist-Elbow-Forearm Robotic Economical Rehabilitation System) คือนวัตกรรมสำ�หรับฟื้นฟูร่างกายที่พัฒนา
ด้วยการนำ�เทคโนโลยีหุ่นยนต์มาประยุกต์กับหลักการฟื้นฟูพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อเสริมให้บุคลากรด้านการฟื้นฟูร่างกายได้
มีอุปกรณ์ที่ทำ�ให้การทำ�งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหลักของการออกแบบนวัตกรรมนี้คือ PEA:Portable-Enjoyable-Affordable ซึ่งหมายถึง
นวัตกรรมนี้ต้องเป็นอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ง่าย สร้างความเพลิดเพลินในขณะทำ�การฟื้นฟู และมีราคาที่เหมาะสม
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
WEFRE คือระบบหุ่นยนต์ที่ผู้ใช้สามารถทำ�การฟื้นฟูข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก ได้ในระบบเดียวกัน ตัวระบบได้รับการพัฒนาให้มีขนาด
ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ในทุกพื้นที่และติดตั้งได้โดยง่าย มีระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน มีเกมส์ที่สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ใช้ขณะ
ทำ�การฟื้นฟูตามรูปแบบของการฟื้นฟูที่ผู้ใช้เลือกและเพิ่มเติมได้ตามต้องการ ในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบของการฟื้นฟูได้หลากหลาย
รูปแบบตามสถานะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้ใช้ ตั้งแต่ผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนได้เอง จนถึงผู้ที่เคลื่อนไหวแขนได้ตามปกติแต่ต้องการ
ป้องกันข้อยึดติดที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งระบบนี้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ขณะที่ทำ�การฟื้นฟู เพื่อให้แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องสามารถนำ�ข้อมูลนี้
ไปวิเคราะห์ผลของการฟื้นฟูได้
การประยุกต์ใช้งาน
l	 ระบบนี้สามารถนำ�ไปติดตั้งใช้งานได้หลากหลายสถานที่ ทั้งโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จนถึงชุมชนขนาดเล็ก หรือแม้แต่ที่อยู่อาศัยของผู้ใช้เอง
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
l	 โรงพยาบาล คลินิก สถานฟื้นฟู
l	 แพทย์ และนักฟื้นฟูที่ต้องการอุปกรณ์เสริม
l	 ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก
l	 ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก
ระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก
(WEFRE Rehab System)
NSTDA fo Commercialization 2013	 5
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
l	 บริษัทผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์การแพทย์/ด้านสุขภาพ
l	 บริษัทนำ�เข้าวัสดุอุปกรณ์ด้านสุขภาพที่สนใจการผลิตอุปกรณ์ด้วยตนเอง
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
l	 ยื่นขอจดการคุ้มครองสิทธิทางปัญญาสองรายการได้แก่
	 - เลขที่คำ�ขอสิทธิบัตรการออกแบบ เลขที่ 1102002003
	 - เลขที่คำ�ขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 1203000432
l	 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของระบบที่พัฒนาและปรับปรุงเพิ่มเติม
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
WEFRE ต้นแบบตัวแรกได้รับการพัฒนาและขอยื่นความคุ้มครองเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาไปแล้ว ปัจจุบันต้นแบบตัวล่าสุดที่ได้รับการ
ปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น มีความหลากหลายในรูปแบบของการใช้งานพร้อมระบบติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้และเกมส์สำ�หรับการฟื้นฟู โดยขณะนี้
อยู่ระหว่างการเตรียมการทดสอบระบบกับผู้มีสุขภาพดี เพื่อนำ�ผลที่ได้ไปทำ�การเตรียมการทดสอบกับผู้ใช้จริงในโรงพยาบาลต่อไป
ภาพรวมตลาด
จากการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553-2583 โดย
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ในขณะที่ขนาดของประชากรไทยกำ�ลังเข้าสู่สภาพคงตัว โครงสร้างอายุของประชากรจะ
เปลี่ยนไปโดยประชากรสูงวัยจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งในปี 2553 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 9 ของจำ�นวนประชากร
ทั้งหมด แต่สัดส่วนจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14 ในปี 2564 และเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในปี 2574 ในขณะที่ผลสำ�รวจความพิการ พ.ศ.2550 ประเทศไทยมี
ผู้พิการประมาณ1.9ล้านคนหรือร้อยละ2.9ของประชากรทั้งหมดซึ่งปัญหาหลักปัญหาหนึ่งของผู้สูงอายุหรือผู้พิการด้านแขนขานั้นคือแขนขาอ่อนแรง
หรือไม่สามารถควบคุมการทำ�งานของแขนขาได้ จึงมีความจำ�เป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อการดำ�รงชีวิต
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีรายจ่ายสุขภาพรวมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2537 มีรายจ่ายสุขภาพรวม 127,655 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 392,368
ล้านบาทในปี 2553 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้ที่มีความจำ�เป็นต้องได้รับการฟื้นฟูฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มงบประมาณรายจ่าย
สุขภาพของภาครัฐ (ภาครัฐร้อยละ 75 ของรายจ่ายสุขภาพรวม จากร้อยละ 45 ในปี 2537) โดยปัจจุบันประเทศไทยมีสถานพยาบาลของภาครัฐและ
เอกชนรวมประมาณ 29,947 แห่ง และตลาดวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์มีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 9 ต่อปี โดยสำ�นักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ประเมินว่า มูลค่าตลาดอุตสาหกรรมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทยจะเพิ่มจาก 25,958 ล้านบาทเมื่อปี 2553
เป็น 38,000 ล้านบาทในปี 2558 และไทยยังมีศักยภาพการส่งออกปีละ 18,000 ล้านบาท ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น
“ศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย” หรือ เมดดิคัล ฮับ (Medical Hub) กระทรวงอุตสาหกรรมจึงมีเป้าหมายผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรม
ทางการแพทย์และสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน ภายในปี 2563
ผลงานเด่น
6	 NSTDA fo Commercialization 2013
ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (Spod-e Focus)
ชีวินทรีย์ควบคุมหนอนกระทู้หอมจากเทคโนโลยีต้นแบบกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี(Biocontrol) เมื่อหนอนกินเข้าไป
ผนังลำ�ตัวจากสีเขียวสดจะมีสีซีดจางลง หนอนลดการกินอาหาร การเคลื่อนไหวช้าลง จนไม่เคลื่อนที่ และตายภายใน 3-7 วัน จึงมีประสิทธิภาพการ
ทำ�ลายแมลงศัตรูพืชได้สูง และเป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย  ไม่มีพิษตกค้างบนพืช  และผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และ
สิ่งแวดล้อมจึงได้รับการแนะนำ�ให้ใช้ในการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ สำ�หรับพืชที่แนะนำ�ได้แก่องุ่นหน่อไม้ฝรั่งหอมแดงหอมหัวใหญ่หอมแบ่ง
กล้วยไม้ กุหลาบ ดาวเรือง เป็นต้น
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการปลูกพืชหันมาใช้สิ่งทดแทนสารเคมีในการกำ�จัดแมลงศัตรูพืช เนื่องจากสารพิษตกค้างในผลผลิตที่ส่งผลต่อสุขภาพของ
เกษตรกร อีกทั้งผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มตระหนักเห็นพิษภัยของสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ แนวโน้มการขยายตัว
อย่างต่อเนื่องของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งในและต่างประเทศ ทำ�ให้ประเทศคู่ค้าทางการเกษตรของไทย อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
ได้ใช้การกำ�หนดระดับของสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรเป็นข้อกีดกันทางการค้า ทำ�ให้เป็นอุปสรรคสำ�คัญต่อการส่งสินค้าเกษตรไปจำ�หน่าย
ยังประเทศดังกล่าว ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร ด้วยเทคโนโลยีต้นแบบการผลิตกึ่งอุตสาหกรรม เชื้อไวรัส เอ็น พี วี
(Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดที่ทำ�ให้เกิดโรคกับแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นเชื้อชีวินทรีย์ที่มีความเจาะจงกับแมลง
เป้าหมายชนิดที่ก่อโรคในหนอนกระทู้หอมที่พบในประเทศไทยจะมีอนุภาคของไวรัสอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 3 - 5 อนุภาคใน nucleocapsid เมื่อ
หนอนกระทู้หอมกินเข้าไปจะทำ�ให้เกิดโรคและตายภายใน 3 - 7 วัน
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
l	 เป็นกระบวนการผลิตกึ่งอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ�จนถึงปลายน้ำ� มีความพร้อมที่จะขยายขนาดสู่ระดับอุตสาหกรรมได้
l	 ได้ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี ที่เป็นสารชีวภัณฑ์ที่พบในประเทศไทย ผ่านการทดสอบความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม (ไม่มีพิษ
	 ตกค้างบนพืช)
l	 ได้ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี ที่ยังไม่พบการดื้อของแมลงศัตรูพืชต่อ เอ็น พี วี หรืออาจกล่าวได้ว่าแมลงศัตรูพืชสร้างความต้านทานได้ช้ากว่าการ
	 ใช้สารฆ่าแมลง
l	 ได้ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี ที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงศัตรูพืช จึงปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์
l	 สามารถนำ�ไปใช้ทดแทนสารเคมีกำ�จัดแมลงได้ 100 เปอร์เซ็นต์
NSTDA fo Commercialization 2013	 7
ผลงานเด่น
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
l	 ใช้กระบวนการผลิตกึ่งอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ�จนถึงปลายน้ำ� และมีความพร้อมที่จะขยายขนาดสู่ระดับอุตสาหกรรมได้
l	 ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี ที่ผลิตได้มีความทนทานต่อแสงยูวีเพิ่มขึ้น
l	 ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี ที่ผลิตได้มีอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น
การประยุกต์ใช้งาน
ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี อยู่ในรูปของเหลวบรรจุขวดพลาสติกขนาด 500 มิลลิลิตร เกษตรกร หรือผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก เช่นเดียว
กับการใช้สารกำ�จัดศัตรูพืชทั่วไป โดยผสมในถังพ่นร่วมกับสารป้องกันกำ�จัดแมลง สารป้องกันกำ�จัดโรคพืช หรือธาตุอาหารเสริมอื่นๆ ได้ บรรจุภัณฑ์นี้
สามารถขนส่งผ่านระบบการขนส่งปกติ และเก็บได้นาน 3 เดือนที่อุณหภูมิห้อง หรือเก็บได้นาน 1 ปีในตู้เย็น
กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
l	 บริษัทหรือเอกชนผู้ผลิต จำ�หน่าย หรือส่งออก พืชผักอนามัย ผักปลอดภัย ผักปลอดสาร
l	 บริษัทเอกชนและเกษตรกรที่ปลูกพืชในกลุ่มที่มีหนอนกระทู้หอมเป็นศัตรูพืช เช่น องุ่น มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วยไม้ หอมแดง หอมแบ่ง
	 หอมหัวใหญ่ เป็นต้น
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
l	 ผู้ประกอบการผลิต และ/หรือจำ�หน่าย ปุ๋ย สารชีวภาพ และสารเคมีป้องกันและกำ�จัดศัตรูพืช เครื่องมือทางการเกษตร เมล็ดพันธุ์
l	 ผู้ประกอบการกิจการเพาะปลูกพืชขนาดกลางและขนาดใหญ่
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
อยู่ระหว่างดำ�เนินการ
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
l	 Product development stage: การผลิต เอ็น พี วี อยู่ในระยะ Manufacturing Prototype ณ โมดุล 8 อาคารไบโอเทค Pilot Plant อุทยาน
	 วิทยาศาสตร์ประเทศไทย
l	 Productionscale: อยู่ในระดับPilotScale กำ�ลังการผลิต3,000 ลิตรต่อปี(เอ็น พี วี ของหนอนกระทู้หอม) และสามารถขยายได้สูงสุด5,000
	 ลิตรต่อปี
ภาพรวมตลาด
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งมีอัตราการเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องอย่างสาร
กำ�จัดแมลงศัตรูพืชมีการเจริญเติบโตตามไปด้วย โดยประมาณกว่าร้อยละ 70 ของสารกำ�จัดศัตรูพืชที่ใช้ในประเทศไทย มาจากการนำ�เข้าสารออกฤทธิ์
(Active Ingredient หรือ Technical Grade) มาผสมกับตัวทำ�ละลายแล้วทำ�การแบ่งบรรจุใหม่ (Repacking) ส่วนที่เหลือร้อยละ 30 มาจากการ
นำ�เข้าสารกำ�จัดศัตรูพืชสำ�เร็จรูปมาบรรจุใหม่ให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ โดยนำ�เข้าจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 30 ประเทศ อาทิ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น
อินโดนิเซีย และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีมูลค่าการนำ�เข้าสูงเป็นอันดับต้นๆ โดยมูลค่าการนำ�เข้าสารเคมีป้องกันและกำ�จัดแมลงศัตรูพืชของไทยนั้นสูง
หลายพันล้านบาท
จากการศึกษาความเป็นไปได้เชิงธุรกิจของโครงการผลิต เอ็น พี วี ของหนอนกระทู้หอมในประเทศไทย ที่ได้มีการยกกรณีของการใช้ เอ็น พี วี
ของหนอนกระทู้หอมกับการปลูกองุ่นนั้น พบว่าการใช้ เอ็น พี วี ถึงปีละประมาณ 5,000 ลิตร คิดเป็นมูลค่าจำ�หน่าย เอ็น พี วี กว่า 10 ล้านบาทต่อปี
จากราคาขาย เอ็น พี วี ในปัจจุบันที่ลิตรละ 2,000 – 2,400 บาท นอกจากนี้ เอ็น พี วี ยังสามารถนำ�ไปใช้ในการป้องกันศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจอื่นๆ
ได้อีก เช่น หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ ส้มเขียวหวาน กล้วยไม้ ดาวเรือง กุหลาบ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงมูลค่า
ตลาดของ เอ็น พี วี จำ�นวนมากขึ้น
8	 NSTDA fo Commercialization 2013
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
l	 สามารถตรวจวัดค่าได้รวดเร็วโดยใช้เวลาในการวัดและแสดงผลในหน่วยวินาที (ไม่รวมกระบวนการ LAMP ประมาณ 60 นาที) ซึ่งเร็วมากเมื่อ
	 เทียบกับการวัดด้วยเทคนิดการวัด Aflatoxin แบบอื่น เช่น เทคนิค HPLC ที่ใช้เวลา 8-15 ชม. และเทคนิค ELISA ที่ใช้เวลา 3 ชม. เป็นต้น
	 การใช้งานสะดวกและง่ายพร้อมจอแสดงผล LCD อยู่บนตัวเครื่อง ซึ่งแตกต่างกับเครื่องวัดปฎิกริยาเคมีไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็น
	 ตัวแสดงผล อีกทั้งตัวเครื่องวัดอะฟลาทอกซินที่พัฒนานี้ยังมีขนาดเล็ก น้ำ�หนักเบา พกพาไปตรวจวิเคราะห์นอกสถานที่ได้อย่างสะดวก
l	 การใช้งานร่วมกับแผ่นตรวจหรือขั้วไฟฟ้ากราฟีน (Graphene) ซึ่งเป็นวัสดุนาโน (Nano material) ที่นำ�ไฟฟ้าได้อย่างดีเยี่ยม ผลิตด้วย
	 เทคโนโลยีการพิมพ์ (Printing Technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีผลิตขั้วไฟฟ้าที่มีราคาถูก ผลิตได้รวดเร็ว ให้ความถูกต้อง และแม่นยำ�ในการ
	 ผลิตแผ่นสูง โดยเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
เครื่องตรวจวัดอะฟลาทอกซินแบบรวดเร็วขนาดพกพานี้ใช้เทคนิคการตรวจวัดปฎิกริยาเคมีไฟฟ้าของขั้วไฟฟ้าเคมี กระแสไฟฟ้าที่วัดได้นี้จะถูก
คำ�นวนเป็นความเข้มข้นของสารเคมีนั้นๆ และแสดงผลโดยตรงผ่านจอ LCD ของเครื่องอย่างถูกต้องและรวดเร็วและใช้งานได้กับขั้วไฟฟ้า (test strip)
แบบใช้แล้วทิ้งที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ (Printing technology) โดยวัสดุนาโนกราฟีน (Graphene) ซึ่งจะสามารถทำ�หน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดสาร
ปนเปื้อนอะฟลาทอกซินที่มีประสิทธิภาพและความไวสูง ให้ผลการตรวจวัดที่รวดเร็ว ราคาถูกและผลิตได้รวดเร็ว และเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มีความนิยม
ในปัจจุบันและแนวโน้มการเติบโตสูง
โดยเครื่อง AflaSense ที่พัฒนาขึ้นนี้ให้ความถูกต้องของผลการตรวจวัดอะฟลาทอกซินในตัวอย่างที่ 99% และให้ช่วงการตรวจวัดอะฟลาทอกซิน
ที่ 0 ถึง 80 ppb
การประยุกต์ใช้งาน
เป็นเครื่องมือที่ช่วยตรวจเชื้อที่สร้าง Aflatoxin ได้อย่างรวดเร็ว ทำ�ให้สามารถลดการตรวจในห้องปฏิบัติการและช่วยลดเวลาในกระบวนตรวจสอบ
วัตถุดิบอาหาร ซึ่งจะใช้เวลาในการเตรียมตัวอย่างเพื่อทำ�การทดสอบประมาณ 15-30 นาที และนำ�ไปตรวจด้วยชุดตรวจ LAMP ที่อุณหภูมิ 60 องศา
เครื่องตรวจวัดอะฟลาทอกซินแบบรวดเร็วขนาดพกพา
Rapid and Portable Aflatoxin Sensor (AflaSense)
NSTDA fo Commercialization 2013	 9
เซลเซียสเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นเติมสารจำ�เพาะต่อสารอะฟลาทอกซิน นำ�ไปทำ�ปฏิกิริยาต่อที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 5 นาที และนำ�
ไปผสมกับสารสำ�หรับอ่านค่าปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าในอัตราส่วน 1:10 จากนั้นหยดลงบนขั้วไฟฟ้าและอ่านผลบนหน้าจอเครื่องได้ทันที
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
l	 ผู้ประกอบการอาหารสัตว์
l	 ผู้ผลิตอาหาร (Feed processor)
l	 ผู้ส่งออกอาหารและผลิตผลทางการเกษตร
l	 กองงานด้านอาหารและยา
l	 บริษัทตรวจสอบอาหารสากล
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
l	 ผู้ผลิตและจำ�หน่ายอุปกรณ์เครื่องมือวัดสำ�หรับห้องปฏิบัติการ และที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
l	 ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร เรื่อง “ขั้วไฟฟ้ากราฟีนเพสสำ�หรับตรวจวัดด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้าและวิธีการผลิตขั้วไฟฟ้ากราฟีนเพส” เมื่อวันที่ 4
	 เมษายน 2556 เลขที่คำ�ขอ 65596 และสิทธิบัตร เรื่อง “เครื่องตรวจวัดเทคนิคเคมีไฟฟ้าแบบพกพาสำ�หรับเซลล์ไฟฟ้าเคมี” เมื่อวันที่ 22
	 พฤศจิกายน 2555 เลขที่คำ�ขอ 65664
l	 ลิขสิทธิ์โปรแกรม “Mini Potentiostat” สำ�หรับอ่านค่าเคมีไฟฟ้า
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
l	 ต้นแบบสำ�หรับการผลิตและจำ�หน่ายเชิงพาณิชย์
ภาพรวมตลาด
ปัจจุบันตลาดภายในประเทศไทยมีชุดตรวจ(Kit) สำ�หรับการตรวจกรอง(screeningtest) ของสารอะฟลาทอกซินยังไม่หลากหลายนัก โดยชุดตรวจ
แบบเดิมที่มีอยู่เป็นการใช้วิธีการอ่านแถบสีซึ่งใช้เวลาในการวิเคราะห์ผลนาน ต้องใช้ความชำ�นาญในการอ่านแถบสี หรือต้องเลือกแถบสีให้เหมาะกับ
ช่วงความเข้ม นอกจากนี้ยังมีการนำ�เข้าชุดตรวจจากต่างประเทศซึ่งใช้หลักการอ่านสีเช่นเดียวกัน ซึ่งการจำ�หน่ายชุดตรวจอะฟลาทอกซินแบบแสดง
ผลเป็นตัวเลขด้วยการตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเป็นเครื่องอ่านที่มีขนาดเล็กสามารถวัดผลเพื่อการคัดกรองได้ มีราคาถูก และใช้งาน
ได้ตลอดโดยไม่จำ�เป็นต้องสั่งซื้อเครื่องใหม่ เปลี่ยนเพียงแผ่น Strip สำ�หรับทดสอบเท่านั้น ทำ�ให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตรวจ
ด้านความจำ�เป็นและความต้องการตรวจวัดอะฟลาทอกซินนั้น มีความสำ�คัญอย่างสูงเนื่องจากอะฟลาทอกซินเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องมีการ
ตรวจสอบการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในอาหารที่ส่งออกและนำ�เข้า ทั้งในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สร้างพืชผลทางการเกษตรมากมาย
จำ�เป็นต้องมีการตรวจสอบสารปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในหลายส่วน ทั้งเมล็ดภัณฑ์ อาหารสัตว์ พืชผลทางการเกษตร รวมไปถึงอาหารสำ�เร็จรูป ทำ�ให้
มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจำ�เป็นต้องใช้เครื่องมือเพื่อตรวจสอบปริมาณสารปนเปื้อนนี้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพอาหาร สมาคม
การค้าเมล็ดภัณฑ์ไทย กลุ่มบริษัทดำ�เนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ และอื่นๆ ซึ่งเป็นภาคตลาดที่สำ�คัญที่ “เครื่องตรวจวัดอะฟลาทอกซิน
แบบรวดเร็วขนาดพกพา” มีโอกาสเข้าถึงได้
	
ผลงานเด่น
10	 NSTDA fo Commercialization 2013
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
l	 ใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ CMOS ในการตรวจนับเซลล์ ไม่มีการบิดเบือนของภาพเนื่องจากไม่ใช้เลนส์เป็นส่วนประกอบและเป็นการช่วย
	 ลดต้นทุนการผลิต
l	 พื้นที่ในการนับ(Field-of-View)ประมาณ21mm2
มากกว่ากล้องจุลทรรศน์40เท่าและระยะลึกในการนับ(Depth-of-Field)ประมาณ0.4 mm.
	 มากกว่ากล้องจุลทรรศน์ 400 เท่า เมื่อเทียบกับกล้องจุลทรรศน์กำ�ลังขยาย (400x)
l	 ใช้เวลาประมวลผลรวดเร็วภายใน 20 วินาที และค่าใช้จ่ายในการนับต่อหนึ่งตัวอย่างจะมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับการนับแบบปกติทั่วไป
l	 ไม่จำ�เป็นต้องใช้สารเคมีย้อมเซลล์เพื่อนับจำ�นวน
l	 ในอนาคตโปรแกรมของระบบสามารถพัฒนาต่อยอดได้ซึ่งจะสามารถนับเซลล์ชนิดต่างๆได้หลากหลายมากขึ้นโดยไม่ต้องทำ�การปรับแก้ฮาร์ดแวร์
	 ของตัวเครื่อง
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
l	 ขนาดเซลล์ที่สามารถวัดได้ 3 - 100 ไมครอน
l	 ความแม่นยำ�ในการนับ: สำ�หรับ NIST Traceable Polystyrene Beads ขนาด 10 ไมครอน และเม็ดเลือดแดง เมื่อเทียบกับเครื่องมือตรวจ
	 วัดมาตรฐานมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของเครื่องมือทางการแพทย์
l	 ระบบมีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำ�หนักเบา ให้ผลวิเคราะห์รวดเร็วและสามารถนำ�ไปใช้งานภาคสนามได้
l	 สะดวก ง่ายต่อการใช้งานและดูแลรักษา สามารถใช้งานได้โดยไม่จำ�เป็นต้องเป็นผู้ชำ�นาญการ
l	 มีราคาต่ำ�กว่าเครื่องมือชนิดอื่นๆ ที่มีจำ�หน่ายในท้องตลาดปัจจุบัน
การประยุกต์ใช้งาน
การวินิจฉัยหรือคัดกรองโรคติดเชื้อเบื้องต้นโดยระบบของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการประมวลผลการนับจำ�นวนเซลล์แบบกึ่งอัตโนมัติ สำ�หรับเซลล์
ต่างๆ เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว (ที่ผ่านการแยกเม็ดเลือดแดง-ขาว มาแล้ว) ยีสต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม และเซลล์ไลน์ (Cell line) เป็นต้น
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
l	 ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ เช่น การทดสอบยา การตรวจนับเสต็มเซลล์ การผสมเทียม และการทำ�เด็กหลอดแก้ว
l	 ห้องปฏิบัติการวิจัยของสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของภาครัฐและเอกชน
l	 โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เช่น การผลิตเบียร์และไวน์ ขนมปัง
ระบบตรวจนับเซลล์แบบอัตโนมัติด้วยภาพจาก CMOS Sensor
(CellScan)
NSTDA fo Commercialization 2013	 11
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
บริษัทผู้ผลิต/ จำ�หน่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์โปรแกรม “CellsLab” สำ�หรับประมวลผลการนับเซลล์ และอยู่ระหว่างการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และสิทธิบัตร/อนุสิทธิ
บัตรการประดิษฐ์
สถานการณ์พัฒนาผลิตภัณฑ์
ต้นแบบภาคสนาม
ภาพรวมตลาด
อุตสาหกรรมเครื่องมือด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี ซึ่งในปัจจุบันตลาด
เครื่องมือวิทยาศาสตร์จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์พบว่า มีมูลค่าตลาดสูงถึง 300,000 ล้านบาทต่อปี โดยเครื่องมือส่วนมากจะนำ�เข้าจากประเทศ
สหรัฐอเมริกาญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปนอกจากนี้ยังมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องอาทิเช่นน้ำ�ยาสารเคมีและวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่ม
อาเซียนแล้ว พบว่า ประเทศไทยนำ�เข้าเครื่องมือวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศเป็นอันดับที่สองรองจากประเทศสิงคโปร์ และตามด้วยประเทศมาเลเชีย
ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แสดงให้เห็นถึงกำ�ลังซื้อและศักยภาพของประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เครื่อง CellScan สามารถนำ�ไปปรับ
ใช้ได้ทั้งทางด้านงานวิจัยต่างๆ จากภาครัฐและเอกชน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ด้านการแพทย์และด้านการศึกษา เป็นต้น CellScan เป็น
เครื่องมือที่มีราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับเครื่องมือในระดับเดียวกัน จึงทำ�ให้ CellScan สามารถเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและสามารถเข้าถึงได้ง่าย เหมาะ
สำ�หรับผู้ที่มีงบประมาณจำ�กัด
ภาพหลักการเกิดภาพในระบบแผนผัง “Digital in-line Holography”
และ Hologram ที่ใช้ในอุปกรณ์ CellScan
Diagram ของ CellScan
1
1
2
2
3
3
4
4
ภาครับสัญญาณ
Chip
เซลล์ตัวอย่าง
แหล่งกำ�เนิดแสง
ผลงานเด่น
12	 NSTDA fo Commercialization 2013
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
l	 เป็นระบบที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามความต้องการของลูกค้า
l	 ใช้งานง่าย เป็นระบบที่สามารถทำ�งานได้อย่างอัตโนมัติ
l	 มีระบบ Security Feature ช่วยดูแลทางด้านความปลอดภัย
l	 มีระบบลบเงาที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำ�งานได้กับทุกสภาพแสง
l	 สามารถเก็บหลักฐานได้ทั้งในรูปแบบของภาพความละเอียดสูง หรือวิดีโอระยะสั้น
l	 ถ้ามีระบบกล้อง Security Camera ติดตั้งอยู่แล้ว ก็สามารถมาเชื่อมต่อได้เลย ซึ่งเป็นการลดต้นทุน
l	 มีระบบ OCR ในการอ่านป้ายทะเบียน และสามารถทำ�การ Tracking รถในโรงงานได้
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
V-Watch หรือ Vehicle Watching System Intelligent Box เป็นระบบอัจฉริยะในการเฝ้าดูรถยนต์โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีข้อดีคือ ใช้งานง่าย สามารถ
ปรับให้ตรงตามความต้องการใช้งานของลูกค้าได้ สามารถใช้งานกับกล้อง Digital Camera ที่มีอยู่ทั่วไป และมีจุดเด่นด้าน Security Feature สามารถ
ตรวจสอบสิ่งผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่นการมีคนมายืนอยู่ข้างประตูรถนานเกินไป นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาต่อยอดการใช้งานในด้านการนับ
จำ�นวนคน เช่นจำ�นวนคนที่ขึ้นลงรถ หรือเข้าออกร้านค้า
การประยุกต์ใช้งาน
สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายตามความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะทางด้านการขนส่งและด้านความปลอดภัย ซึ่งเบื้องต้นทางนักวิจัย
ได้พัฒนาระบบขึ้นมา 3 รูปแบบคือ
l	 ระบบสำ�หรับการจราจร
l	 ระบบสำ�หรับการขนส่ง
l	 ระบบสำ�หรับลานจอดรถ (กลางแจ้งและภายในอาคาร)
ระบบตรวจจับการเคลื่อนที่และการจอดของยานพาหนะโดยอัตโนมัติ
Vehicle Watching System Intelligent Box : V-Watch
NSTDA fo Commercialization 2013	 13
อย่างไรก็ตามระบบนี้สามารถดัดแปลงเพื่อใช้งานด้านอื่นๆ ได้อีก เช่นการตรวจสอบการชำ�ระเงินที่ด่านเก็บเงิน Motor Way การทางพิเศษ หรือ
ปั้มน้ำ�มันแบบบริการตนเอง ซึ่งปัจจุบันเป็นการติดตั้งกล้อง Security Camera แบบธรรมดาที่ต้องใช้คนตรวจสอบ (ไม่สามารถตรวจสอบอัตโนมัติ) ซึ่ง
การติดตั้งระบบ V-Watch จะเป็นการเพิ่มการตรวจสอบอัตโนมัติให้กับระบบเดิม
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
l	 ด้านการจราจร : เจ้าหน้าที่ตำ�รวจ กองตรวจการขนส่งทางบก การตรวจสอบรถ ขสมก. หรือ รถ บขส.
l	 ด้านการขนส่ง : บริษัทขนส่ง โรงงาน หรือคลังสินค้าขนาดใหญ่ ที่มีรถบรรทุกเข้าออกจำ�นวนมาก
l	 ด้านลานจอดรถ : ลานจอดรถต่างๆ ทั้งที่เป็นลานกลางแจ้ง หรือภายในอาคาร ห้างสรรพสินค้า
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
l	 กลุ่มบริษัทขายกล้องตรวจจับ
l	 กลุ่มบริษัทขายกล้อง Security Camera
l	 กลุ่มบริษัทขายระบบ Infrared Sensor
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
l	 ยื่นคำ�ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว 1 ฉบับ เลขที่ 1201000680
l	 อยู่ระหว่างเตรียมยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของระบบที่พัฒนาและปรับปรุงเพิ่มเติมอีก 1 ฉบับ
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์พร้อมถ่ายทอดในรูปแบบการขายลิขสิทธิ์การใช้งาน พร้อมทั้งมีทีมสนับสนุนเพื่อปรับผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้
ภาพรวมตลาด
มูลค่าตลาดสอดคล้องกับการเติบโตของตลาดโลจิสติกส์และการขนส่ง จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดโลจิสติกส์และการขนส่งในปี 2554
มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 536,059 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 6-8% ต่อปี นอกจากนี้การเปิด AEC ซึ่งประเทศไทยที่เป็นเหมือนศูนย์กลางการ
คมนาคมทางบกของอาเซียน จะมีรถเข้าออกในปริมาณที่มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด รวมถึงการขนส่งสินค้าระหว่างกันที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็น
จุดหนุนของธุรกิจนี้
ด้านคู่แข่งทางการตลาด ปัจจุบันยังไม่มีระบบใดที่พัฒนาได้ใกล้เคียงกับระบบ V-Watch เช่นด้านงานบังคับใช้กฏหมายในต่างประเทศ ส่วนใหญ่
จะเป็นระบบตรวจจับความเร็วและการฝ่าไฟแดงแบบอัตโนมัติ ด้านระบบนับรถ บริษัท Metrocount ของสหรัฐอเมริกา ได้นำ�เสนอระบบที่ต้องติดตั้ง
ลงบนพื้นถนนซึ่งมีต้นทุนที่สูงมาก ด้านระบบที่จอดรถ ส่วนใหญ่ใช้ Infrared Sensors ที่ใช้ RFID ซึ่งจะต้องมีการติดตั้งทุกช่องจอดในที่จอดรถในอาคาร
และไม่สามารถใช้กลางแจ้งได้
ผลงานเด่น
14	 NSTDA fo Commercialization 2013
ลูกอมเม็ดหญ้าหมอน้อย เลิกบุหรี่
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
เป็นการนำ�สมุนไพรจากธรรมชาติมาทำ�การสกัดสาร เพื่อให้ได้สารองค์ประกอบสำ�คัญและมีการพัฒนาสูตรตามหลักเภสัชกรรมให้เป็นลูกอมที่
มีประสิทธิภาพในการช่วยลดหรือเลิกการสูบบุหรี่ได้อย่างรวดเร็วกว่าผลิตภัณฑ์ของสมุนไพรชนิดเดียวกันในรูปแบบเดิม โดยไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย
และมีราคาถูก
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
เป็นสมุนไพรในรูปแบบลูกอมอัดเม็ดที่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยลดหรือเลิกบุหรี่ โดยสามารถช่วยให้ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้
ภายในระยะเวลา6-10วันและอยู่ในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ประกอบกับมีต้นทุนที่ต่ำ�และมีประสิทธิผลที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นของสมุนไพร
หญ้าหมอน้อยที่ผ่านมา จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่
การประยุกต์ใช้งาน
เป็นลูกอมที่มีสารสกัดจากสมุนไพรหญ้าหมอน้อย ช่วยในการลดหรือเลิกบุหรี่สำ�หรับกลุ่มผู้สูบบุหรี่ทุกเพศและทุกวัย
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
กลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
ผู้ประกอบการผลิต/จำ�หน่ายสมุนไพร หรือ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยา
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอรับจดอนุสิทธิบัตรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ลูกอม การผลิตและการประยุกต์ใช้งาน
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
เป็นลูกอมสารสกัดสมุนไพรหญ้าหมอน้อยและส่วนผสมอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม บรรจุในรูปแบบแผงสะดวกต่อการใช้งาน สามารถถ่ายทอดไป
สู่ระดับอุตสาหกรรมได้ทันที
ภาพรวมตลาด
แม้ว่าในประเทศไทยจะมีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่อย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งก็ทำ�ให้มีจำ�นวนผู้สูบบุหรี่น้อยลงกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก แต่ใน
ขณะเดียวกันก็ยังคงมีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ที่เริ่มเข้ามาเป็นผู้สูบบุหรี่ในจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 15 - 24 ปี รวมไปถึง
ผู้ที่อายุต่ำ�กว่า 15 ปีและพบว่ามีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงเชื่อว่าตลาดของผลิตภัณฑ์สำ�หรับเลิกบุหรี่จะยังคงมีอยู่อย่าง
ต่อเนื่อง
ผลงานเด่น
NSTDA fo Commercialization 2013	 15
ระบบตรวจวัดปริมาณคลอรีนในบ่อกุ้ง
ด้วยอุปกรณ์พกพาฉลาด ClApp
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
ระบบแปลระดับสีด้วยอุปกรณ์พกพาฉลาดนั้น เป็นเครื่องมือวัดทาง
แสงที่อยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่ทําการปรับเปลี่ยน
อุปกรณ์พกพา ให้เป็นเครื่องวัดสีและสามารถทําการวัดสีได้อย่างถูกต้อง
พร้อมทั้งแปลระดับสีที่วัดไปสู่คุณภาพของวัตถุที่ถูกตรวจวัด ดังนั้นผู้ใช้งาน
ที่ใช้อุปกรณ์พกพาฉลาดอยู่แล้ว จึงไม่จําเป็นต้องจัดซื้อเครื่องวัดสีหรือ
เครื่องมือวัดคุณภาพของน้ำ�ที่มีราคาแพง นอกจากนี้ยังสามารถเผยแพร่
ได้อย่างกว้างขวางบนตลาดโปรแกรมออนไลน์
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
l	 ใช้อ่านสีเพื่อตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของคลอรีน
l	 ใช้ร่วมกับน้ำ�ยาโอโทลิดีนสามารถตรวววัดปริมาณความเข้มข้น
	 ของคลอรีนได้ในช่วง 0-2.0 ppm
l	 มีค่าความผิดพลาดอยู่ในช่วง 0.02 ppm
l	 ทำ�งานบนโทรศัพท์มือถือหรือ Tablet ที่มีกล้องด้านหลังและใช้
	 ระบบปฏิบัติการ Android 2.2 ขึ้นไป
l	 ใช้เวลาในการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ประมาณ 2 วินาที
การประยุกต์ใช้งาน
เครื่องวัดสีที่ว่านี้สามารถนําไปใช้วัดสีของของเหลวโปร่งแสงได้
หลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับโปรแกรมประยุกต์ที่ได้ใส่เข้าไปในอุปกรณ์
พกพา ตัวอย่างเช่น การวัดปริมาณความเข้มข้นของคลอรีน ไนไตรท์
แอมโมเนีย หรือความเป็นกรด-ด่างของสารละลายโปร่งแสง เป็นต้น
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายกลุ่มแรกคือกลุ่มของผู้ประกอบการที่ทําเครื่องมือ
อิเล็กทรอนิกส์ในการตรวจสอบคุณภาพของของเหลวโปร่งแสงและ
ผู้ประกอบการที่ผลิตสารเคมีที่ทําให้น้ำ�เปลี่ยนสี เพื่อดูสิ่งเจือปนในน้ำ� กลุ่ม
ที่สอง คือกลุ่มผู้ใช้งานที่ต้องการวัดระดับสีของสารละลายโปร่งแสง ได้แก่
กลุ่มผู้ใช้ที่ต้องทําการตรวจวัดคุณภาพของน้ำ�ก่อนทําการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ�
หรือปลูกพืชน้ำ� ในวงการหน่วยงานวิจัยและสถานศึกษาที่ต้องทําการ
วิเคราะห์สีของสารเคมีในรูปของของเหลวโปร่งแสง เป็นต้น
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
สําหรับธุรกิจนี้จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มนักลงทุนที่ทําเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
ในการตรวจสอบคุณภาพของของเหลวโปร่งแสง เพื่อทดแทนเครื่องมือที่
มีราคาแพง และกลุ่มของนักลงทุนที่ผลิตสารเคมีที่ทําให้น้ำ�เปลี่ยนสีเพื่อ
ดูสิ่งเจือปนในน้ำ� โดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องวัดระดับสีแทนการใช้แผ่นเทียบสี
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิบัตรการประดิษฐ์:
เอกสารยื่นขอจดสิทธิบัตรไทย หมายเลขคําขอ 1201002494
เรื่อง	 อุปกรณ์และวิธีการสําหรับตรวจวัดระดับความเข้มสี
	 ของวัตถุแบบสองมิติ
ผู้ประดิษฐ์	 1. นายศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
	 2. นายยุทธนา อินทรวันณี
เอกสารยื่นขอจดสิทธิบัตรไทย หมายเลขคําขอ 1201003577
เรื่อง	 อุปกรณ์ตรวจวัดค่าการดูดซับแสงของของเหลวแบบ
	 อ้างอิงในตัวด้วยท่อคาพลิลารี
ผู้ประดิษฐ์	 1. นายศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
	 2. นายโกษม ไชยถาวร
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
อยู่ในระดับต้นแบบภาคสนามและกำ�ลังเสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ์
ภาพรวมตลาด
เนื่องจากระบบวัดระดับสีเป็นเครื่องมือที่ใช้อุปกรณ์พกพาฉลาด
เป็นส่วนหลัก ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็วโดยที่ Smart
phone มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 62.7% และTablets มีการเติบโตเพิ่มขึ้น
ถึง 274.2% จากข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในอนาคตผู้คนส่วนใหญ่จะใช้
อุปกรณ์จําพวกนี้กันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นการทําธุรกิจทางด้านพัฒนา
โปรแกรมประยุกต์จะมีแนวโน้มการเติบโตที่เพิ่มขึ้นตามรวมถึงโปรแกรม
ประยุกต์ที่ใช้ในการวัดระดับสีด้วย ซึ่งสามารถใช้ในการวิเคราะห์และวัด
ระดับสีของของเหลวโปร่งแสงได้โดยใช้อุปกรณ์พกพา เครื่องวัดสีที่ว่านี้
สามารถนําไปใช้วัดสีของของเหลวโปร่งแสงได้หลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับ
โปรแกรมประยุกต์ที่ได้ใส่เข้าไปในอุปกรณ์พกพา ตัวอย่างเช่น การวัด
ปริมาณความเข้มข้นของคลอรีน ไนไตรท์ หรือแอมโมเนีย และความ
เป็นกรด-ด่างของน้ำ�ในบ่อเลี้ยงกุ้ง ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยมีฟาร์มเลี้ยง
กุ้งทะเลอยู่จํานวน 20,000 กว่าฟาร์ม ซึ่งในจํานวนของเกษตรกรผู้เลี้ยง
กุ้งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สามารถเอาผลิตภัณฑ์ที่
พัฒนาขึ้นไปสร้างผลกําไรได้ เป็นต้น
FOOD
16	 NSTDA fo Commercialization 2013
โปรแกรมบริหารจัดการคุณภาพข้าวไทย
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
ระบบได้พัฒนาบน Web Services ที่สามารถทำ�งานร่วมกับ
อุปกรณ์ Android Tablet เพื่อช่วยให้เกษตรตำ�บลหรือเกษตรกร สามารถ
ยื่นแบบขอรับรองแหล่งผลิตตามแบบฟอร์ม GAP-01 และ GAP-02
โดยใช้แผนที่ Google Map ในการลงทะเบียนพื้นที่ปลูกข้าว และช่วย
ให้ผู้ตรวจประเมิน (Certificate Body) ของกรมการข้าว ใช้ในการตรวจ
ประเมินการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพตามแบบฟอร์มGAP-03
โดยใช้อุปกรณ์ Android Tablet แทนการจดบันทึกด้วยกระดาษ ได้ทั้ง
แบบ On-line หรือ Off-line ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดการกรอกข้อมูล
ซ้ำ�ซ้อน และเพิ่มความรวดเร็วในการตรวจประเมิน
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
l	 สามารถบันทึกแบบคำ�ร้องขอรับรองแหล่งผลิตตามแบบฟอร์ม
	 GAP-01 (สำ�หรับเกษตรกรลงทะเบียนผ่าน Website)
l	 สามารถบันทึกแบบบันทึกระบบการจัดการคุณภาพข้าวสำ�หรับ
	 เกษตรกรตามแบบฟอร์ม GAP-02 (สำ�หรับเกษตรลงทะเบียน
	 แหล่งเพาะปลูกผ่าน Website)
l	 สามารถบันทึกแบบกำ�หนดการตรวจประเมินการผลิตตามระบบ
	 การจัดการคุณภาพตามแบบฟอร์ม GAP-03 (สำ�หรับผู้ตรวจ
	 ประเมินบันทึกผลหน้าแปลงบน Android Tablet)
l	 สามารถบันทึกแบบบันทึกข้อบกพร่องตามระบบการจัดการ
	 คุณภาพตามแบบฟอร์มGAP-04(สำ�หรับผู้ตรวจประเมินบันทึก
	 ผลหน้าแปลงบน Android Tablet)
l	 สามารถค้นหาองค์ความรู้ด้านการจัดการคุณภาพข้าวไทยตาม
	 แบบฟอร์ม GAP-05 และ 06
การประยุกต์ใช้งาน
ระบบลงทะเบียนเกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นๆ และระบบตรวจประเมิน
คุณภาพด้วย Mobile หรือ Tablet
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
เกษตรกรที่ต้องการขึ้นทะเบียนรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน GAP
และผู้ตรวจประเมินของกรมการข้าว
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือบริษัทที่สนใจลงทุน
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
กำ�ลังดำ�เนินการจดลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
พร้อมใช้งานและต่อยอดในเชิงพาณิชย์
ภาพรวมตลาด
ยังไม่มีระบบลงทะเบียนและระบบตรวจประเมินที่ใช้เทคโนโลยี
Web Services ร่วมกับอุปกรณ์ Mobile หรือ Tablet
ด้วย Mobile GAP Assessment Mobile GAP : RICE
NSTDA fo Commercialization 2013	 17
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
l	 ตรวจหาการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียที่มีปริมาณน้อยเพียง 1
	 CFU/ml ได้
l	 เวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลน้อยกว่าวิธีมาตรฐานที่ใช้อยู่ใน
	 ปัจจุบัน (การเพาะเลี้ยงเชื้อ)
l	 ตรวจวิเคราะห์ง่ายด้วยตาเปล่าหรือวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วย
	 อุปกรณ์ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการทั่วไป
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
ชุดตรวจเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยการเปลี่ยนแปลงสี (colorimetric
detection) ในการจับกันแบบแข่งขัน (Competitive assay) ระหว่าง
แบคทีเรียและเอนไซม์ที่มีประจุลบกับอนุภาคที่มีประจุบนผิวเป็นบวก
การประยุกต์ใช้งาน
การตรวจวัดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในน้ำ�
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำ�ดื่ม
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
ผู้ผลิตชุดตรวจ
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
ยื่นจดสิทธิบัตรในชื่อ “กระบวนการตรวจวัดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย
ด้วยการตรวจการเปลี่ยนแปลงสี” (colorimetric detection) แล้ว
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
Lab prototype
ชุดทดสอบอย่างง่าย
สำ�หรับตรวจวัดเฮกซะวาเลนต์โครเมียม
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
พกพาได้ ใช้งานง่าย ราคาถูก ไม่ผูกติดเครื่องมือ
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
เป็นชุดทดสอบอย่างง่ายใช้ตรวจวัดการปนเปื้อนของเฮกซะวาเลนต์
โครเมียมในน้ำ� ความเข้มข้นระดับ 10-100 ppb โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือ
ในห้องปฏิบัติการ
ppb = part per billion
การประยุกต์ใช้งาน
ใช้ตรวจวัดการปนเปื้อนของเฮกซะวาเลนต์โครเมียมในน้ำ�
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
l	 ผู้ประกอบการที่มีการชุบโครมในกระบวนการผลิต
l	 ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน
l	 การตรวจวัดน้ำ�จากแหล่งน้ำ�ในชุมชน
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรเลขที่ 1203000941 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2555
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
อยู่ระหว่างการตรวจสอบเสถียรภาพของชุดทดสอบจากการเก็บ
รักษา หรืออายุของชุดทดสอบหลังการผลิต (ปัจจุบันประกันที่ 6 เดือน)
ภาพรวมตลาด
ปัจจุบันการทดสอบหาปริมาณเฮกซะวาเลนต์โครเมียมในน้ำ� ยังมี
ความจำ�เป็นต่อภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการชุบเคลือบ
โลหะด้วยโครมหกหรือเฮกซะวาเลนต์โครเมียม น้ำ�เสียจากอุตสาหกรรม
ดังกล่าวจำ�เป็นต้องมีการบำ�บัดก่อนปล่อยทิ้ง การทดสอบหาการปนเปื้อน
สารดังกล่าวในน้ำ�อาจทดสอบด้วยชุดทดสอบอย่างง่ายที่นำ�เข้าจาก
ต่างประเทศ หรืออาจมีการตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
ที่ต้องอาศัยผู้มีทักษะความชำ�นาญเฉพาะ อาทิ การตรวจวัดด้วยเครื่อง
สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ หรือการตรวจวัดธาตุโครเมียม (โครเมียมรวมที่
รวมโครเมียมทุกรูปแบบ) เป็นต้น
ชุดตรวจแบคทีเรีย Instant bacteria test kit
FOOD
18	 NSTDA fo Commercialization 2013
3
1718 14
12
11
15
5
6
20
21
4
2
19
10
A B C Dวัตถุดิบ:
Eวัตถุดิบ:
ความลับความลับ
แผ่นดูดซับเสียงอัจฉริยะ Alufoam-Sorb
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีต้นทุนการผลิตต่ำ�กว่าเทคโนโลยีใน
ปัจจุบัน
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
ดูดซับเสียงได้ดี มีเสถียรภาพในการดูดซับเสียง ต้านทานการติดไฟ
ป้องกันสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การประยุกต์ใช้งาน
l	 ดูดซับเสียงในที่ทำ�งานหรือที่พักอาศัย เช่น ห้องประชุม ห้องชม
	 ภาพยนตร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องซ้อมดนตรี ห้องสมุด ห้อง
	 แสดงสินค้า ห้องโดยสาร โรงแรม โรงละคร ภัตตาคาร ศูนย์
	 การค้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สนามบิน และสนามกีฬา
l	 ดูดซับเสียงสำ�หรับอุตสาหกรรม เช่น สถานีสูบน้ำ� ห้องเก็บเสียงที่
	 เกิดจากเครื่องจักรกลต่างๆ ตัวเก็บเสียงในท่อ ตัวเก็บเสียงของ
	 อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดเสียงดัง
l	 ฉนวนป้องกันเสียง เช่น ผนังกันเสียงสำ�หรับทางด่วน ถนน หรือ
	 เส้นทางรถไฟ และโรงงานที่ก่อให้เกิดเสียงดัง เช่น โรงผสม
	 คอนกรีต
l	 ป้องกันสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นอาคารที่มีอุปกรณ์ส่งสัญญาณ
	 ต่างๆ ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ สถานีถ่ายทอดสัญญาณ
	 ดาวเทียม สถานีแปลงกำ�ลังไฟฟ้า และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
l	 เพื่อความสวยงามเช่นใช้งานด้านการตกแต่งต่างๆเช่นเคาน์เตอร์
	 ตู้ขายสินค้า และป้ายโฆษณา
l	 อื่นๆ เช่น ฉนวนฝากระโปรงรถยนต์ ไส้กรอง อิเล็คโทรด และ
	 เป็นแกนกลางของวัสดุคอมโพสิตต่างๆ
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
l	 กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาฯ ได้แก่ สถาปนิก ผู้รับเหมาก่อสร้าง
	 อาคาร และเจ้าของอาคารที่ต้องใช้วัสดุดูดซับเสียง
l	 กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ ได้แก่ ผู้ประกอบการรถยนต์ดัดแปลง
	 และผู้รับเหมาก่อสร้างเส้นทางคมนาคม
l	 หน่วยงานราชการ ได้แก่ กรมทหาร กรมโยธา และกรมการ
	 ขนส่งต่างๆ
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
l	 ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง
l	 ผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูดซับเสียง
l	 ผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะอะลูมิเนียมด้วยการหล่อ
l	 ผู้ผลิตรถยนต์ดัดแปลง
l	 ผู้ที่ทำ�ธุรกิจเกี่ยวกับป้ายโฆษณา
l	 ผู้ที่ทำ�ธุรกิจเกี่ยวกับรับเหมาก่อสร้าง
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
ได้ยื่นขอรับสิทธิบัตร เลขที่คำ�ขอ 1201005748 เมื่อวันที่ 2
พฤศจิกายน 2555 เรื่อง “อุปกรณ์ผลิตวัสดุจากแม่แบบร่างที่มีโครงสร้าง
พรุนด้วยความดันสุญญากาศที่มีอัตราการผลิตสูง”
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการ
ภาพรวมตลาด
ตลาดวัสดุดูดซับเสียงของไทยส่วนใหญ่เป็นการจำ�หน่ายภายใน
ประเทศ โดยผ่านช่องทางการจำ�หน่ายขายตรงให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าไป
ใช้ในงานโครงการของตนเอง และจำ�หน่ายผ่านตัวแทนจำ�หน่าย โดยเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่ทำ�จากโฟมพอลิยูริเทน เยื่อกระดาษ ไม้ ใยแก้ว และใยหิน
สำ�หรับฉนวนใยแก้วซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดสำ�หรับใช้เป็นวัสดุดูดซับเสียง
มีตลาดภายในประเทศขนาดประมาณ 600 - 1,000 ล้านบาท ปัจจุบัน
วัสดุควบคุมเสียงในไทยมีมูลค่าตลาดรวม 2,000 ล้านบาท/ปี โดยเป็น
วัสดุควบคุมเสียงสำ�หรับการจราจร 30 -70 ล้านบาท/ปี ซึ่งเป็นวัสดุชนิด
ดูดซับเสียง25-35 ล้านบาท/ปี แนวโน้มในภาพรวมของตลาดวัสดุดูดซับ
เสียงจะขยายตัวตามการขยายตัวของความต้องการวัสดุก่อสร้างซึ่งโดย
รวมยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้าง
ขนาดใหญ่ของภาครัฐ ตลอดจนการบำ�รุงรักษาและซ่อมแซมโครงสร้าง
ที่ได้ก่อสร้างแล้ว ปัจจุบันปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง ได้แก่
ราคาตลอดอายุการใช้งาน และผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม ดังนั้นแนวโน้ม
การพัฒนาวัสดุก่อสร้างจึงพิจารณาถึงความยั่งยืนมากขึ้น
NSTDA fo Commercialization 2013	 19
ต้นแบบกระบวนการวิธีตรวจวิเคราะห์
แร่ใยหินไครโซไทล์ในผลิตภัณฑ์
จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement)
วิธีการตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคPLM,XRD,SEM/EDS เชิงคุณภาพ
และเชิงปริมาณและวิธีการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมสำ�หรับผลิตภัณฑ์
แต่ละชนิด ได้ทั้งในกลุ่มผ้าเบรก คลัทช์ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง กลุ่ม
แป้งทัลคัม เครื่องสำ�อาง ตัวอย่างที่มีลักษณะเป็นผง ดิน แร่ธรรมชาติ
คุณสมบัติของต้นแบบ
สามารถตรวจวิเคราะห์บ่งชี้แร่ใยหินไครโซไทล์ในผลิตภัณฑ์ที่
หลากหลาย โดยใช้เทคนิค PLM, XRD, SEM/EDS ร่วมกัน เพื่อได้ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำ� และหากตรวจไม่พบแร่ใยหินชนิด
ไครโซไทล์ การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคดังกล่าวสามารถใช้บ่งชี้ชนิดแร่อื่น
ที่เป็นองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์ได้		
การประยุกต์ใช้งาน
สามารถใช้ตรวจวิเคราะห์แร่ใยหินไครโซไทล์ในผลิตภัณฑ์ ได้แก่
ผ้าเบรก คลัทช์ ปะเก็น แป้งทัลคัม ดิน วัตถุดิบแร่ผลิตเครื่องสำ�อาง
กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยางปูพื้น กระเบื้องแผ่นเรียบ ท่อซีเมนต์
และวัสดุก่อสร้างอื่น แผ่นฝ้า ผนัง เพดาน
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
ผู้ผลิต ผู้จำ�หน่าย ผู้นำ�เข้า ผู้ส่งออก ผู้บริโภคที่ต้องการใช้งาน
ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากแร่ใยหิน บุคลากรฝ่ายวิจัยของบริษัทเอกชน ภาครัฐ
นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไป
HOUSING
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013
NSTDA for Commercialization 2013

More Related Content

Viewers also liked

животные и птицы красной книги
животные и птицы красной книгиживотные и птицы красной книги
животные и птицы красной книгиОльга Климантова
 
六合彩|香港六合彩
六合彩|香港六合彩六合彩|香港六合彩
六合彩|香港六合彩xvektg
 
Promoting New Media in Central Asia
Promoting New Media in Central AsiaPromoting New Media in Central Asia
Promoting New Media in Central AsiaYelena Jetpyspayeva
 
первые результаты введения фгос ноо
первые результаты введения фгос  ноопервые результаты введения фгос  ноо
первые результаты введения фгос нооОльга Климантова
 
香港六合彩
香港六合彩香港六合彩
香港六合彩smjcxmv
 
Youve Got Style Before & After's
Youve Got Style Before & After'sYouve Got Style Before & After's
Youve Got Style Before & After'sShelley Frontiero
 
Pinterest – a beginners guide for business
Pinterest – a beginners guide for businessPinterest – a beginners guide for business
Pinterest – a beginners guide for businessBambi Gordon
 
Slide Show Lpn Room
Slide Show Lpn RoomSlide Show Lpn Room
Slide Show Lpn Roomguest6c701a
 
Webservicesprintversion
WebservicesprintversionWebservicesprintversion
Webservicesprintversionnandy popu
 
Team Building For An FDA Inspection - The Employee Review
Team Building For An FDA Inspection - The Employee ReviewTeam Building For An FDA Inspection - The Employee Review
Team Building For An FDA Inspection - The Employee ReviewMitchell Manning Sr.
 
Whose Voice Guides Your Choice
Whose Voice Guides Your ChoiceWhose Voice Guides Your Choice
Whose Voice Guides Your Choicedmccorkleporter
 
Automagically: A Primer to The Connection System of Things
Automagically: A Primer to The Connection System of ThingsAutomagically: A Primer to The Connection System of Things
Automagically: A Primer to The Connection System of ThingsAynne Valencia
 

Viewers also liked (20)

han
hanhan
han
 
Krasnaya kniga
Krasnaya knigaKrasnaya kniga
Krasnaya kniga
 
животные и птицы красной книги
животные и птицы красной книгиживотные и птицы красной книги
животные и птицы красной книги
 
моя семья
моя  семьямоя  семья
моя семья
 
六合彩|香港六合彩
六合彩|香港六合彩六合彩|香港六合彩
六合彩|香港六合彩
 
Promoting New Media in Central Asia
Promoting New Media in Central AsiaPromoting New Media in Central Asia
Promoting New Media in Central Asia
 
как прекрасен этот мир
как прекрасен этот миркак прекрасен этот мир
как прекрасен этот мир
 
первые результаты введения фгос ноо
первые результаты введения фгос  ноопервые результаты введения фгос  ноо
первые результаты введения фгос ноо
 
香港六合彩
香港六合彩香港六合彩
香港六合彩
 
Youve Got Style Before & After's
Youve Got Style Before & After'sYouve Got Style Before & After's
Youve Got Style Before & After's
 
презентация о космосе
презентация о космосепрезентация о космосе
презентация о космосе
 
Red Code
Red CodeRed Code
Red Code
 
мой день рожденья
мой день рожденьямой день рожденья
мой день рожденья
 
Pinterest – a beginners guide for business
Pinterest – a beginners guide for businessPinterest – a beginners guide for business
Pinterest – a beginners guide for business
 
Slide Show Lpn Room
Slide Show Lpn RoomSlide Show Lpn Room
Slide Show Lpn Room
 
Webservicesprintversion
WebservicesprintversionWebservicesprintversion
Webservicesprintversion
 
Team Building For An FDA Inspection - The Employee Review
Team Building For An FDA Inspection - The Employee ReviewTeam Building For An FDA Inspection - The Employee Review
Team Building For An FDA Inspection - The Employee Review
 
Kts Barry
Kts   BarryKts   Barry
Kts Barry
 
Whose Voice Guides Your Choice
Whose Voice Guides Your ChoiceWhose Voice Guides Your Choice
Whose Voice Guides Your Choice
 
Automagically: A Primer to The Connection System of Things
Automagically: A Primer to The Connection System of ThingsAutomagically: A Primer to The Connection System of Things
Automagically: A Primer to The Connection System of Things
 

Similar to NSTDA for Commercialization 2013

Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2553Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2553Postharvest Technology Innovation Center
 
Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017NIMT
 
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&Dพลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&DNational Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553Postharvest Technology Innovation Center
 

Similar to NSTDA for Commercialization 2013 (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
 
NSTDA Annual Report-2008
NSTDA Annual Report-2008NSTDA Annual Report-2008
NSTDA Annual Report-2008
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
 
วปอ Science tech 3
วปอ Science tech 3วปอ Science tech 3
วปอ Science tech 3
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2553Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2553
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
 
manual-visit-nstda
manual-visit-nstdamanual-visit-nstda
manual-visit-nstda
 
Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017
 
Kn technology
Kn technologyKn technology
Kn technology
 
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&Dพลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
พลังงานวิจัยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ก้าวไกล ยั่งยืน - The Power of R&D
 
Open nstda ประตูสู่นวัตกรรม
Open nstda ประตูสู่นวัตกรรมOpen nstda ประตูสู่นวัตกรรม
Open nstda ประตูสู่นวัตกรรม
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
 
ผลงานเด่นของ Biotec (Biotec Gallery)
ผลงานเด่นของ Biotec (Biotec Gallery)ผลงานเด่นของ Biotec (Biotec Gallery)
ผลงานเด่นของ Biotec (Biotec Gallery)
 
เทคโนโลยีชุมชน. บรรยายสงขลา240754
เทคโนโลยีชุมชน. บรรยายสงขลา240754เทคโนโลยีชุมชน. บรรยายสงขลา240754
เทคโนโลยีชุมชน. บรรยายสงขลา240754
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 

More from Satapon Yosakonkun

กรอบแนวทางการประเมิน Ita 2563
กรอบแนวทางการประเมิน Ita 2563 กรอบแนวทางการประเมิน Ita 2563
กรอบแนวทางการประเมิน Ita 2563 Satapon Yosakonkun
 
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5 คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5 Satapon Yosakonkun
 
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559 - 2564)
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5  (พ.ศ. 2559 - 2564)นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5  (พ.ศ. 2559 - 2564)
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559 - 2564)Satapon Yosakonkun
 
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓Satapon Yosakonkun
 
การจัดการข้อมูลด้วย Excel
การจัดการข้อมูลด้วย Excelการจัดการข้อมูลด้วย Excel
การจัดการข้อมูลด้วย ExcelSatapon Yosakonkun
 
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นคู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นSatapon Yosakonkun
 
PROCEEDINGS OF THE 6th INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIA-PACIFIC LIBRARY AND I...
PROCEEDINGS OF THE 6th INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIA-PACIFIC LIBRARY AND I...PROCEEDINGS OF THE 6th INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIA-PACIFIC LIBRARY AND I...
PROCEEDINGS OF THE 6th INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIA-PACIFIC LIBRARY AND I...Satapon Yosakonkun
 
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...Satapon Yosakonkun
 
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯSatapon Yosakonkun
 
มาตรฐานสื่อดิจิทัล
มาตรฐานสื่อดิจิทัลมาตรฐานสื่อดิจิทัล
มาตรฐานสื่อดิจิทัลSatapon Yosakonkun
 
การจัดการสารสนเทศด้วยโปรแกรมจัดการรายการบรรณานุกรม Zotero และมาตรฐานเอกสารดิจ...
การจัดการสารสนเทศด้วยโปรแกรมจัดการรายการบรรณานุกรม Zotero และมาตรฐานเอกสารดิจ...การจัดการสารสนเทศด้วยโปรแกรมจัดการรายการบรรณานุกรม Zotero และมาตรฐานเอกสารดิจ...
การจัดการสารสนเทศด้วยโปรแกรมจัดการรายการบรรณานุกรม Zotero และมาตรฐานเอกสารดิจ...Satapon Yosakonkun
 
การทำรายการอ้างอิงด้วย Open Source Reference Manager : Zotero
การทำรายการอ้างอิงด้วย  Open Source Reference Manager : Zoteroการทำรายการอ้างอิงด้วย  Open Source Reference Manager : Zotero
การทำรายการอ้างอิงด้วย Open Source Reference Manager : ZoteroSatapon Yosakonkun
 
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้โปรแกรม Zotero สำหรับจัดเก็บรายการบรรณาน...
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้โปรแกรม Zotero สำหรับจัดเก็บรายการบรรณาน...การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้โปรแกรม Zotero สำหรับจัดเก็บรายการบรรณาน...
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้โปรแกรม Zotero สำหรับจัดเก็บรายการบรรณาน...Satapon Yosakonkun
 
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนSatapon Yosakonkun
 
หนังสือพหุสัมพันธ์คนกับไก่
หนังสือพหุสัมพันธ์คนกับไก่หนังสือพหุสัมพันธ์คนกับไก่
หนังสือพหุสัมพันธ์คนกับไก่Satapon Yosakonkun
 
Glossary of Metadata standards
Glossary of Metadata standardsGlossary of Metadata standards
Glossary of Metadata standardsSatapon Yosakonkun
 
Digital Trend 2014: Time to look forward
Digital Trend 2014: Time to look forwardDigital Trend 2014: Time to look forward
Digital Trend 2014: Time to look forwardSatapon Yosakonkun
 
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์Satapon Yosakonkun
 
การจัดการรายการบรรณานุกรมด้วย Zotero
การจัดการรายการบรรณานุกรมด้วย Zoteroการจัดการรายการบรรณานุกรมด้วย Zotero
การจัดการรายการบรรณานุกรมด้วย ZoteroSatapon Yosakonkun
 
เทคนิคการจัดการเรียน การสอนโดยใช้ Social Media
เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Social Mediaเทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Social Media
เทคนิคการจัดการเรียน การสอนโดยใช้ Social MediaSatapon Yosakonkun
 

More from Satapon Yosakonkun (20)

กรอบแนวทางการประเมิน Ita 2563
กรอบแนวทางการประเมิน Ita 2563 กรอบแนวทางการประเมิน Ita 2563
กรอบแนวทางการประเมิน Ita 2563
 
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5 คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5
คู่มือการแปลงนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5
 
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559 - 2564)
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5  (พ.ศ. 2559 - 2564)นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5  (พ.ศ. 2559 - 2564)
นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559 - 2564)
 
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓
 
การจัดการข้อมูลด้วย Excel
การจัดการข้อมูลด้วย Excelการจัดการข้อมูลด้วย Excel
การจัดการข้อมูลด้วย Excel
 
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นคู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คู่มือการใช้ตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
PROCEEDINGS OF THE 6th INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIA-PACIFIC LIBRARY AND I...
PROCEEDINGS OF THE 6th INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIA-PACIFIC LIBRARY AND I...PROCEEDINGS OF THE 6th INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIA-PACIFIC LIBRARY AND I...
PROCEEDINGS OF THE 6th INTERNATIONAL CONFERENCE ON ASIA-PACIFIC LIBRARY AND I...
 
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...
คู่มือการประเมินผลข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐที่เสนอของบประมาณ ประจาปีงบ...
 
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
 
มาตรฐานสื่อดิจิทัล
มาตรฐานสื่อดิจิทัลมาตรฐานสื่อดิจิทัล
มาตรฐานสื่อดิจิทัล
 
การจัดการสารสนเทศด้วยโปรแกรมจัดการรายการบรรณานุกรม Zotero และมาตรฐานเอกสารดิจ...
การจัดการสารสนเทศด้วยโปรแกรมจัดการรายการบรรณานุกรม Zotero และมาตรฐานเอกสารดิจ...การจัดการสารสนเทศด้วยโปรแกรมจัดการรายการบรรณานุกรม Zotero และมาตรฐานเอกสารดิจ...
การจัดการสารสนเทศด้วยโปรแกรมจัดการรายการบรรณานุกรม Zotero และมาตรฐานเอกสารดิจ...
 
การทำรายการอ้างอิงด้วย Open Source Reference Manager : Zotero
การทำรายการอ้างอิงด้วย  Open Source Reference Manager : Zoteroการทำรายการอ้างอิงด้วย  Open Source Reference Manager : Zotero
การทำรายการอ้างอิงด้วย Open Source Reference Manager : Zotero
 
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้โปรแกรม Zotero สำหรับจัดเก็บรายการบรรณาน...
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้โปรแกรม Zotero สำหรับจัดเก็บรายการบรรณาน...การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้โปรแกรม Zotero สำหรับจัดเก็บรายการบรรณาน...
การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้โปรแกรม Zotero สำหรับจัดเก็บรายการบรรณาน...
 
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
หนังสือพหุสัมพันธ์คนกับไก่
หนังสือพหุสัมพันธ์คนกับไก่หนังสือพหุสัมพันธ์คนกับไก่
หนังสือพหุสัมพันธ์คนกับไก่
 
Glossary of Metadata standards
Glossary of Metadata standardsGlossary of Metadata standards
Glossary of Metadata standards
 
Digital Trend 2014: Time to look forward
Digital Trend 2014: Time to look forwardDigital Trend 2014: Time to look forward
Digital Trend 2014: Time to look forward
 
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์
เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับงานสร้างสื่อและสิ่งพิมพ์
 
การจัดการรายการบรรณานุกรมด้วย Zotero
การจัดการรายการบรรณานุกรมด้วย Zoteroการจัดการรายการบรรณานุกรมด้วย Zotero
การจัดการรายการบรรณานุกรมด้วย Zotero
 
เทคนิคการจัดการเรียน การสอนโดยใช้ Social Media
เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Social Mediaเทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Social Media
เทคนิคการจัดการเรียน การสอนโดยใช้ Social Media
 

NSTDA for Commercialization 2013

  • 2.
  • 3. สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่มุ่ง ผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยการนำ�ความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมไทยสามารถดำ�เนินงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดย สวทช. มีหน่วยงานในสังกัดที่สร้างสรรค์ผลงานวิจัยและพัฒนาผ่านศูนย์วิจัยแห่งชาติ 4 ศูนย์ อันได้แก่ ศูนย์พันธุ วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) โดยมีศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) ที่มีกลไกการสนับสนุนแบบครบวงจรให้กับผู้ประกอบการในการนำ�ผลงานการคิดค้นและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการต่อยอดทางธุรกิจและ ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หนังสือ NSTDA for Commercialization 2013 นี้ เป็นการรวบรวมเทคโนโลยีเด่นและเทคโนโลยีที่น่าสนใจอันเกิดจากการคิดค้น ของทีมนักวิจัย สวทช. และผลงานที่ สวทช. ให้การสนับสนุนร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร ผลงานต่างๆ ที่นำ�เสนอภายในเล่มนี้มีความ พร้อมสำ�หรับนักลงทุนและนักอุตสาหกรรมที่สนใจนำ�ไปลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ เห็นถึงศักยภาพของผลงานวิจัยไทยที่สามารถพัฒนาเป็นธุรกิจเทคโนโลยีได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำ�คัญที่จะทำ�ให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น ผู้คิดค้นเทคโนโลยี เกิดการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม และเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศบนเวทีการค้าโลกได้
  • 4. 4 NSTDA fo Commercialization 2013 จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) WEFRE Rehab System (Wrist-Elbow-Forearm Robotic Economical Rehabilitation System) คือนวัตกรรมสำ�หรับฟื้นฟูร่างกายที่พัฒนา ด้วยการนำ�เทคโนโลยีหุ่นยนต์มาประยุกต์กับหลักการฟื้นฟูพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์หลักคือเพื่อเสริมให้บุคลากรด้านการฟื้นฟูร่างกายได้ มีอุปกรณ์ที่ทำ�ให้การทำ�งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหลักของการออกแบบนวัตกรรมนี้คือ PEA:Portable-Enjoyable-Affordable ซึ่งหมายถึง นวัตกรรมนี้ต้องเป็นอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ง่าย สร้างความเพลิดเพลินในขณะทำ�การฟื้นฟู และมีราคาที่เหมาะสม คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ WEFRE คือระบบหุ่นยนต์ที่ผู้ใช้สามารถทำ�การฟื้นฟูข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก ได้ในระบบเดียวกัน ตัวระบบได้รับการพัฒนาให้มีขนาด ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ในทุกพื้นที่และติดตั้งได้โดยง่าย มีระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน มีเกมส์ที่สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ใช้ขณะ ทำ�การฟื้นฟูตามรูปแบบของการฟื้นฟูที่ผู้ใช้เลือกและเพิ่มเติมได้ตามต้องการ ในขณะเดียวกันผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบของการฟื้นฟูได้หลากหลาย รูปแบบตามสถานะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้ใช้ ตั้งแต่ผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนได้เอง จนถึงผู้ที่เคลื่อนไหวแขนได้ตามปกติแต่ต้องการ ป้องกันข้อยึดติดที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งระบบนี้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ขณะที่ทำ�การฟื้นฟู เพื่อให้แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องสามารถนำ�ข้อมูลนี้ ไปวิเคราะห์ผลของการฟื้นฟูได้ การประยุกต์ใช้งาน l ระบบนี้สามารถนำ�ไปติดตั้งใช้งานได้หลากหลายสถานที่ ทั้งโรงพยาบาลขนาดใหญ่ จนถึงชุมชนขนาดเล็ก หรือแม้แต่ที่อยู่อาศัยของผู้ใช้เอง กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย l โรงพยาบาล คลินิก สถานฟื้นฟู l แพทย์ และนักฟื้นฟูที่ต้องการอุปกรณ์เสริม l ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก l ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก ระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอก (WEFRE Rehab System)
  • 5. NSTDA fo Commercialization 2013 5 กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย l บริษัทผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์การแพทย์/ด้านสุขภาพ l บริษัทนำ�เข้าวัสดุอุปกรณ์ด้านสุขภาพที่สนใจการผลิตอุปกรณ์ด้วยตนเอง สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา l ยื่นขอจดการคุ้มครองสิทธิทางปัญญาสองรายการได้แก่ - เลขที่คำ�ขอสิทธิบัตรการออกแบบ เลขที่ 1102002003 - เลขที่คำ�ขออนุสิทธิบัตร เลขที่ 1203000432 l ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของระบบที่พัฒนาและปรับปรุงเพิ่มเติม สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ WEFRE ต้นแบบตัวแรกได้รับการพัฒนาและขอยื่นความคุ้มครองเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาไปแล้ว ปัจจุบันต้นแบบตัวล่าสุดที่ได้รับการ ปรับปรุงให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น มีความหลากหลายในรูปแบบของการใช้งานพร้อมระบบติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้และเกมส์สำ�หรับการฟื้นฟู โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างการเตรียมการทดสอบระบบกับผู้มีสุขภาพดี เพื่อนำ�ผลที่ได้ไปทำ�การเตรียมการทดสอบกับผู้ใช้จริงในโรงพยาบาลต่อไป ภาพรวมตลาด จากการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2553-2583 โดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ในขณะที่ขนาดของประชากรไทยกำ�ลังเข้าสู่สภาพคงตัว โครงสร้างอายุของประชากรจะ เปลี่ยนไปโดยประชากรสูงวัยจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งในปี 2553 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 9 ของจำ�นวนประชากร ทั้งหมด แต่สัดส่วนจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14 ในปี 2564 และเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในปี 2574 ในขณะที่ผลสำ�รวจความพิการ พ.ศ.2550 ประเทศไทยมี ผู้พิการประมาณ1.9ล้านคนหรือร้อยละ2.9ของประชากรทั้งหมดซึ่งปัญหาหลักปัญหาหนึ่งของผู้สูงอายุหรือผู้พิการด้านแขนขานั้นคือแขนขาอ่อนแรง หรือไม่สามารถควบคุมการทำ�งานของแขนขาได้ จึงมีความจำ�เป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อการดำ�รงชีวิต ทั้งนี้ ประเทศไทยมีรายจ่ายสุขภาพรวมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2537 มีรายจ่ายสุขภาพรวม 127,655 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 392,368 ล้านบาทในปี 2553 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้ที่มีความจำ�เป็นต้องได้รับการฟื้นฟูฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มงบประมาณรายจ่าย สุขภาพของภาครัฐ (ภาครัฐร้อยละ 75 ของรายจ่ายสุขภาพรวม จากร้อยละ 45 ในปี 2537) โดยปัจจุบันประเทศไทยมีสถานพยาบาลของภาครัฐและ เอกชนรวมประมาณ 29,947 แห่ง และตลาดวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์มีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 9 ต่อปี โดยสำ�นักงาน เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ประเมินว่า มูลค่าตลาดอุตสาหกรรมวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทยจะเพิ่มจาก 25,958 ล้านบาทเมื่อปี 2553 เป็น 38,000 ล้านบาทในปี 2558 และไทยยังมีศักยภาพการส่งออกปีละ 18,000 ล้านบาท ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็น “ศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย” หรือ เมดดิคัล ฮับ (Medical Hub) กระทรวงอุตสาหกรรมจึงมีเป้าหมายผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรม ทางการแพทย์และสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน ภายในปี 2563 ผลงานเด่น
  • 6. 6 NSTDA fo Commercialization 2013 ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช (Spod-e Focus) ชีวินทรีย์ควบคุมหนอนกระทู้หอมจากเทคโนโลยีต้นแบบกึ่งอุตสาหกรรม เพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี(Biocontrol) เมื่อหนอนกินเข้าไป ผนังลำ�ตัวจากสีเขียวสดจะมีสีซีดจางลง หนอนลดการกินอาหาร การเคลื่อนไหวช้าลง จนไม่เคลื่อนที่ และตายภายใน 3-7 วัน จึงมีประสิทธิภาพการ ทำ�ลายแมลงศัตรูพืชได้สูง และเป็นจุลินทรีย์ที่พบในประเทศไทย  ไม่มีพิษตกค้างบนพืช  และผ่านการทดสอบแล้วว่าปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และ สิ่งแวดล้อมจึงได้รับการแนะนำ�ให้ใช้ในการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ สำ�หรับพืชที่แนะนำ�ได้แก่องุ่นหน่อไม้ฝรั่งหอมแดงหอมหัวใหญ่หอมแบ่ง กล้วยไม้ กุหลาบ ดาวเรือง เป็นต้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมการปลูกพืชหันมาใช้สิ่งทดแทนสารเคมีในการกำ�จัดแมลงศัตรูพืช เนื่องจากสารพิษตกค้างในผลผลิตที่ส่งผลต่อสุขภาพของ เกษตรกร อีกทั้งผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มตระหนักเห็นพิษภัยของสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ แนวโน้มการขยายตัว อย่างต่อเนื่องของตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งในและต่างประเทศ ทำ�ให้ประเทศคู่ค้าทางการเกษตรของไทย อาทิ สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ได้ใช้การกำ�หนดระดับของสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรเป็นข้อกีดกันทางการค้า ทำ�ให้เป็นอุปสรรคสำ�คัญต่อการส่งสินค้าเกษตรไปจำ�หน่าย ยังประเทศดังกล่าว ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร ด้วยเทคโนโลยีต้นแบบการผลิตกึ่งอุตสาหกรรม เชื้อไวรัส เอ็น พี วี (Nuclear Polyhedrosis Virus, NPV) ซึ่งเป็นไวรัสชนิดที่ทำ�ให้เกิดโรคกับแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นเชื้อชีวินทรีย์ที่มีความเจาะจงกับแมลง เป้าหมายชนิดที่ก่อโรคในหนอนกระทู้หอมที่พบในประเทศไทยจะมีอนุภาคของไวรัสอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 3 - 5 อนุภาคใน nucleocapsid เมื่อ หนอนกระทู้หอมกินเข้าไปจะทำ�ให้เกิดโรคและตายภายใน 3 - 7 วัน จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) l เป็นกระบวนการผลิตกึ่งอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ�จนถึงปลายน้ำ� มีความพร้อมที่จะขยายขนาดสู่ระดับอุตสาหกรรมได้ l ได้ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี ที่เป็นสารชีวภัณฑ์ที่พบในประเทศไทย ผ่านการทดสอบความปลอดภัยต่อมนุษย์ สัตว์ และสภาพแวดล้อม (ไม่มีพิษ ตกค้างบนพืช) l ได้ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี ที่ยังไม่พบการดื้อของแมลงศัตรูพืชต่อ เอ็น พี วี หรืออาจกล่าวได้ว่าแมลงศัตรูพืชสร้างความต้านทานได้ช้ากว่าการ ใช้สารฆ่าแมลง l ได้ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี ที่มีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงศัตรูพืช จึงปลอดภัยต่อแมลงศัตรูธรรมชาติและแมลงที่มีประโยชน์ l สามารถนำ�ไปใช้ทดแทนสารเคมีกำ�จัดแมลงได้ 100 เปอร์เซ็นต์
  • 7. NSTDA fo Commercialization 2013 7 ผลงานเด่น คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ l ใช้กระบวนการผลิตกึ่งอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ�จนถึงปลายน้ำ� และมีความพร้อมที่จะขยายขนาดสู่ระดับอุตสาหกรรมได้ l ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี ที่ผลิตได้มีความทนทานต่อแสงยูวีเพิ่มขึ้น l ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี ที่ผลิตได้มีอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น การประยุกต์ใช้งาน ผลิตภัณฑ์ เอ็น พี วี อยู่ในรูปของเหลวบรรจุขวดพลาสติกขนาด 500 มิลลิลิตร เกษตรกร หรือผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก เช่นเดียว กับการใช้สารกำ�จัดศัตรูพืชทั่วไป โดยผสมในถังพ่นร่วมกับสารป้องกันกำ�จัดแมลง สารป้องกันกำ�จัดโรคพืช หรือธาตุอาหารเสริมอื่นๆ ได้ บรรจุภัณฑ์นี้ สามารถขนส่งผ่านระบบการขนส่งปกติ และเก็บได้นาน 3 เดือนที่อุณหภูมิห้อง หรือเก็บได้นาน 1 ปีในตู้เย็น กลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย l บริษัทหรือเอกชนผู้ผลิต จำ�หน่าย หรือส่งออก พืชผักอนามัย ผักปลอดภัย ผักปลอดสาร l บริษัทเอกชนและเกษตรกรที่ปลูกพืชในกลุ่มที่มีหนอนกระทู้หอมเป็นศัตรูพืช เช่น องุ่น มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วยไม้ หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ เป็นต้น กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย l ผู้ประกอบการผลิต และ/หรือจำ�หน่าย ปุ๋ย สารชีวภาพ และสารเคมีป้องกันและกำ�จัดศัตรูพืช เครื่องมือทางการเกษตร เมล็ดพันธุ์ l ผู้ประกอบการกิจการเพาะปลูกพืชขนาดกลางและขนาดใหญ่ สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา อยู่ระหว่างดำ�เนินการ สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ l Product development stage: การผลิต เอ็น พี วี อยู่ในระยะ Manufacturing Prototype ณ โมดุล 8 อาคารไบโอเทค Pilot Plant อุทยาน วิทยาศาสตร์ประเทศไทย l Productionscale: อยู่ในระดับPilotScale กำ�ลังการผลิต3,000 ลิตรต่อปี(เอ็น พี วี ของหนอนกระทู้หอม) และสามารถขยายได้สูงสุด5,000 ลิตรต่อปี ภาพรวมตลาด ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งมีอัตราการเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องอย่างสาร กำ�จัดแมลงศัตรูพืชมีการเจริญเติบโตตามไปด้วย โดยประมาณกว่าร้อยละ 70 ของสารกำ�จัดศัตรูพืชที่ใช้ในประเทศไทย มาจากการนำ�เข้าสารออกฤทธิ์ (Active Ingredient หรือ Technical Grade) มาผสมกับตัวทำ�ละลายแล้วทำ�การแบ่งบรรจุใหม่ (Repacking) ส่วนที่เหลือร้อยละ 30 มาจากการ นำ�เข้าสารกำ�จัดศัตรูพืชสำ�เร็จรูปมาบรรจุใหม่ให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ โดยนำ�เข้าจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 30 ประเทศ อาทิ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนิเซีย และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีมูลค่าการนำ�เข้าสูงเป็นอันดับต้นๆ โดยมูลค่าการนำ�เข้าสารเคมีป้องกันและกำ�จัดแมลงศัตรูพืชของไทยนั้นสูง หลายพันล้านบาท จากการศึกษาความเป็นไปได้เชิงธุรกิจของโครงการผลิต เอ็น พี วี ของหนอนกระทู้หอมในประเทศไทย ที่ได้มีการยกกรณีของการใช้ เอ็น พี วี ของหนอนกระทู้หอมกับการปลูกองุ่นนั้น พบว่าการใช้ เอ็น พี วี ถึงปีละประมาณ 5,000 ลิตร คิดเป็นมูลค่าจำ�หน่าย เอ็น พี วี กว่า 10 ล้านบาทต่อปี จากราคาขาย เอ็น พี วี ในปัจจุบันที่ลิตรละ 2,000 – 2,400 บาท นอกจากนี้ เอ็น พี วี ยังสามารถนำ�ไปใช้ในการป้องกันศัตรูพืชในพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้อีก เช่น หอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ ส้มเขียวหวาน กล้วยไม้ ดาวเรือง กุหลาบ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงมูลค่า ตลาดของ เอ็น พี วี จำ�นวนมากขึ้น
  • 8. 8 NSTDA fo Commercialization 2013 จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) l สามารถตรวจวัดค่าได้รวดเร็วโดยใช้เวลาในการวัดและแสดงผลในหน่วยวินาที (ไม่รวมกระบวนการ LAMP ประมาณ 60 นาที) ซึ่งเร็วมากเมื่อ เทียบกับการวัดด้วยเทคนิดการวัด Aflatoxin แบบอื่น เช่น เทคนิค HPLC ที่ใช้เวลา 8-15 ชม. และเทคนิค ELISA ที่ใช้เวลา 3 ชม. เป็นต้น การใช้งานสะดวกและง่ายพร้อมจอแสดงผล LCD อยู่บนตัวเครื่อง ซึ่งแตกต่างกับเครื่องวัดปฎิกริยาเคมีไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็น ตัวแสดงผล อีกทั้งตัวเครื่องวัดอะฟลาทอกซินที่พัฒนานี้ยังมีขนาดเล็ก น้ำ�หนักเบา พกพาไปตรวจวิเคราะห์นอกสถานที่ได้อย่างสะดวก l การใช้งานร่วมกับแผ่นตรวจหรือขั้วไฟฟ้ากราฟีน (Graphene) ซึ่งเป็นวัสดุนาโน (Nano material) ที่นำ�ไฟฟ้าได้อย่างดีเยี่ยม ผลิตด้วย เทคโนโลยีการพิมพ์ (Printing Technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีผลิตขั้วไฟฟ้าที่มีราคาถูก ผลิตได้รวดเร็ว ให้ความถูกต้อง และแม่นยำ�ในการ ผลิตแผ่นสูง โดยเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องตรวจวัดอะฟลาทอกซินแบบรวดเร็วขนาดพกพานี้ใช้เทคนิคการตรวจวัดปฎิกริยาเคมีไฟฟ้าของขั้วไฟฟ้าเคมี กระแสไฟฟ้าที่วัดได้นี้จะถูก คำ�นวนเป็นความเข้มข้นของสารเคมีนั้นๆ และแสดงผลโดยตรงผ่านจอ LCD ของเครื่องอย่างถูกต้องและรวดเร็วและใช้งานได้กับขั้วไฟฟ้า (test strip) แบบใช้แล้วทิ้งที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ (Printing technology) โดยวัสดุนาโนกราฟีน (Graphene) ซึ่งจะสามารถทำ�หน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจวัดสาร ปนเปื้อนอะฟลาทอกซินที่มีประสิทธิภาพและความไวสูง ให้ผลการตรวจวัดที่รวดเร็ว ราคาถูกและผลิตได้รวดเร็ว และเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่มีความนิยม ในปัจจุบันและแนวโน้มการเติบโตสูง โดยเครื่อง AflaSense ที่พัฒนาขึ้นนี้ให้ความถูกต้องของผลการตรวจวัดอะฟลาทอกซินในตัวอย่างที่ 99% และให้ช่วงการตรวจวัดอะฟลาทอกซิน ที่ 0 ถึง 80 ppb การประยุกต์ใช้งาน เป็นเครื่องมือที่ช่วยตรวจเชื้อที่สร้าง Aflatoxin ได้อย่างรวดเร็ว ทำ�ให้สามารถลดการตรวจในห้องปฏิบัติการและช่วยลดเวลาในกระบวนตรวจสอบ วัตถุดิบอาหาร ซึ่งจะใช้เวลาในการเตรียมตัวอย่างเพื่อทำ�การทดสอบประมาณ 15-30 นาที และนำ�ไปตรวจด้วยชุดตรวจ LAMP ที่อุณหภูมิ 60 องศา เครื่องตรวจวัดอะฟลาทอกซินแบบรวดเร็วขนาดพกพา Rapid and Portable Aflatoxin Sensor (AflaSense)
  • 9. NSTDA fo Commercialization 2013 9 เซลเซียสเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นเติมสารจำ�เพาะต่อสารอะฟลาทอกซิน นำ�ไปทำ�ปฏิกิริยาต่อที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 5 นาที และนำ� ไปผสมกับสารสำ�หรับอ่านค่าปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าในอัตราส่วน 1:10 จากนั้นหยดลงบนขั้วไฟฟ้าและอ่านผลบนหน้าจอเครื่องได้ทันที กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย l ผู้ประกอบการอาหารสัตว์ l ผู้ผลิตอาหาร (Feed processor) l ผู้ส่งออกอาหารและผลิตผลทางการเกษตร l กองงานด้านอาหารและยา l บริษัทตรวจสอบอาหารสากล กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย l ผู้ผลิตและจำ�หน่ายอุปกรณ์เครื่องมือวัดสำ�หรับห้องปฏิบัติการ และที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา l ยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตร เรื่อง “ขั้วไฟฟ้ากราฟีนเพสสำ�หรับตรวจวัดด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้าและวิธีการผลิตขั้วไฟฟ้ากราฟีนเพส” เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2556 เลขที่คำ�ขอ 65596 และสิทธิบัตร เรื่อง “เครื่องตรวจวัดเทคนิคเคมีไฟฟ้าแบบพกพาสำ�หรับเซลล์ไฟฟ้าเคมี” เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 เลขที่คำ�ขอ 65664 l ลิขสิทธิ์โปรแกรม “Mini Potentiostat” สำ�หรับอ่านค่าเคมีไฟฟ้า สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ l ต้นแบบสำ�หรับการผลิตและจำ�หน่ายเชิงพาณิชย์ ภาพรวมตลาด ปัจจุบันตลาดภายในประเทศไทยมีชุดตรวจ(Kit) สำ�หรับการตรวจกรอง(screeningtest) ของสารอะฟลาทอกซินยังไม่หลากหลายนัก โดยชุดตรวจ แบบเดิมที่มีอยู่เป็นการใช้วิธีการอ่านแถบสีซึ่งใช้เวลาในการวิเคราะห์ผลนาน ต้องใช้ความชำ�นาญในการอ่านแถบสี หรือต้องเลือกแถบสีให้เหมาะกับ ช่วงความเข้ม นอกจากนี้ยังมีการนำ�เข้าชุดตรวจจากต่างประเทศซึ่งใช้หลักการอ่านสีเช่นเดียวกัน ซึ่งการจำ�หน่ายชุดตรวจอะฟลาทอกซินแบบแสดง ผลเป็นตัวเลขด้วยการตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้าไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งเป็นเครื่องอ่านที่มีขนาดเล็กสามารถวัดผลเพื่อการคัดกรองได้ มีราคาถูก และใช้งาน ได้ตลอดโดยไม่จำ�เป็นต้องสั่งซื้อเครื่องใหม่ เปลี่ยนเพียงแผ่น Strip สำ�หรับทดสอบเท่านั้น ทำ�ให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการตรวจ ด้านความจำ�เป็นและความต้องการตรวจวัดอะฟลาทอกซินนั้น มีความสำ�คัญอย่างสูงเนื่องจากอะฟลาทอกซินเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องมีการ ตรวจสอบการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในอาหารที่ส่งออกและนำ�เข้า ทั้งในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมที่สร้างพืชผลทางการเกษตรมากมาย จำ�เป็นต้องมีการตรวจสอบสารปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในหลายส่วน ทั้งเมล็ดภัณฑ์ อาหารสัตว์ พืชผลทางการเกษตร รวมไปถึงอาหารสำ�เร็จรูป ทำ�ให้ มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจำ�เป็นต้องใช้เครื่องมือเพื่อตรวจสอบปริมาณสารปนเปื้อนนี้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพอาหาร สมาคม การค้าเมล็ดภัณฑ์ไทย กลุ่มบริษัทดำ�เนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ และอื่นๆ ซึ่งเป็นภาคตลาดที่สำ�คัญที่ “เครื่องตรวจวัดอะฟลาทอกซิน แบบรวดเร็วขนาดพกพา” มีโอกาสเข้าถึงได้ ผลงานเด่น
  • 10. 10 NSTDA fo Commercialization 2013 จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) l ใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ CMOS ในการตรวจนับเซลล์ ไม่มีการบิดเบือนของภาพเนื่องจากไม่ใช้เลนส์เป็นส่วนประกอบและเป็นการช่วย ลดต้นทุนการผลิต l พื้นที่ในการนับ(Field-of-View)ประมาณ21mm2 มากกว่ากล้องจุลทรรศน์40เท่าและระยะลึกในการนับ(Depth-of-Field)ประมาณ0.4 mm. มากกว่ากล้องจุลทรรศน์ 400 เท่า เมื่อเทียบกับกล้องจุลทรรศน์กำ�ลังขยาย (400x) l ใช้เวลาประมวลผลรวดเร็วภายใน 20 วินาที และค่าใช้จ่ายในการนับต่อหนึ่งตัวอย่างจะมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับการนับแบบปกติทั่วไป l ไม่จำ�เป็นต้องใช้สารเคมีย้อมเซลล์เพื่อนับจำ�นวน l ในอนาคตโปรแกรมของระบบสามารถพัฒนาต่อยอดได้ซึ่งจะสามารถนับเซลล์ชนิดต่างๆได้หลากหลายมากขึ้นโดยไม่ต้องทำ�การปรับแก้ฮาร์ดแวร์ ของตัวเครื่อง คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ l ขนาดเซลล์ที่สามารถวัดได้ 3 - 100 ไมครอน l ความแม่นยำ�ในการนับ: สำ�หรับ NIST Traceable Polystyrene Beads ขนาด 10 ไมครอน และเม็ดเลือดแดง เมื่อเทียบกับเครื่องมือตรวจ วัดมาตรฐานมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของเครื่องมือทางการแพทย์ l ระบบมีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำ�หนักเบา ให้ผลวิเคราะห์รวดเร็วและสามารถนำ�ไปใช้งานภาคสนามได้ l สะดวก ง่ายต่อการใช้งานและดูแลรักษา สามารถใช้งานได้โดยไม่จำ�เป็นต้องเป็นผู้ชำ�นาญการ l มีราคาต่ำ�กว่าเครื่องมือชนิดอื่นๆ ที่มีจำ�หน่ายในท้องตลาดปัจจุบัน การประยุกต์ใช้งาน การวินิจฉัยหรือคัดกรองโรคติดเชื้อเบื้องต้นโดยระบบของผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการประมวลผลการนับจำ�นวนเซลล์แบบกึ่งอัตโนมัติ สำ�หรับเซลล์ ต่างๆ เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว (ที่ผ่านการแยกเม็ดเลือดแดง-ขาว มาแล้ว) ยีสต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม และเซลล์ไลน์ (Cell line) เป็นต้น กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย l ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ เช่น การทดสอบยา การตรวจนับเสต็มเซลล์ การผสมเทียม และการทำ�เด็กหลอดแก้ว l ห้องปฏิบัติการวิจัยของสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของภาครัฐและเอกชน l โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เช่น การผลิตเบียร์และไวน์ ขนมปัง ระบบตรวจนับเซลล์แบบอัตโนมัติด้วยภาพจาก CMOS Sensor (CellScan)
  • 11. NSTDA fo Commercialization 2013 11 กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย บริษัทผู้ผลิต/ จำ�หน่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์โปรแกรม “CellsLab” สำ�หรับประมวลผลการนับเซลล์ และอยู่ระหว่างการขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และสิทธิบัตร/อนุสิทธิ บัตรการประดิษฐ์ สถานการณ์พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้นแบบภาคสนาม ภาพรวมตลาด อุตสาหกรรมเครื่องมือด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี ซึ่งในปัจจุบันตลาด เครื่องมือวิทยาศาสตร์จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์พบว่า มีมูลค่าตลาดสูงถึง 300,000 ล้านบาทต่อปี โดยเครื่องมือส่วนมากจะนำ�เข้าจากประเทศ สหรัฐอเมริกาญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปนอกจากนี้ยังมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องอาทิเช่นน้ำ�ยาสารเคมีและวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่ม อาเซียนแล้ว พบว่า ประเทศไทยนำ�เข้าเครื่องมือวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศเป็นอันดับที่สองรองจากประเทศสิงคโปร์ และตามด้วยประเทศมาเลเชีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แสดงให้เห็นถึงกำ�ลังซื้อและศักยภาพของประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เครื่อง CellScan สามารถนำ�ไปปรับ ใช้ได้ทั้งทางด้านงานวิจัยต่างๆ จากภาครัฐและเอกชน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ด้านการแพทย์และด้านการศึกษา เป็นต้น CellScan เป็น เครื่องมือที่มีราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับเครื่องมือในระดับเดียวกัน จึงทำ�ให้ CellScan สามารถเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและสามารถเข้าถึงได้ง่าย เหมาะ สำ�หรับผู้ที่มีงบประมาณจำ�กัด ภาพหลักการเกิดภาพในระบบแผนผัง “Digital in-line Holography” และ Hologram ที่ใช้ในอุปกรณ์ CellScan Diagram ของ CellScan 1 1 2 2 3 3 4 4 ภาครับสัญญาณ Chip เซลล์ตัวอย่าง แหล่งกำ�เนิดแสง ผลงานเด่น
  • 12. 12 NSTDA fo Commercialization 2013 จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) l เป็นระบบที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามความต้องการของลูกค้า l ใช้งานง่าย เป็นระบบที่สามารถทำ�งานได้อย่างอัตโนมัติ l มีระบบ Security Feature ช่วยดูแลทางด้านความปลอดภัย l มีระบบลบเงาที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำ�งานได้กับทุกสภาพแสง l สามารถเก็บหลักฐานได้ทั้งในรูปแบบของภาพความละเอียดสูง หรือวิดีโอระยะสั้น l ถ้ามีระบบกล้อง Security Camera ติดตั้งอยู่แล้ว ก็สามารถมาเชื่อมต่อได้เลย ซึ่งเป็นการลดต้นทุน l มีระบบ OCR ในการอ่านป้ายทะเบียน และสามารถทำ�การ Tracking รถในโรงงานได้ คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ V-Watch หรือ Vehicle Watching System Intelligent Box เป็นระบบอัจฉริยะในการเฝ้าดูรถยนต์โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีข้อดีคือ ใช้งานง่าย สามารถ ปรับให้ตรงตามความต้องการใช้งานของลูกค้าได้ สามารถใช้งานกับกล้อง Digital Camera ที่มีอยู่ทั่วไป และมีจุดเด่นด้าน Security Feature สามารถ ตรวจสอบสิ่งผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่นการมีคนมายืนอยู่ข้างประตูรถนานเกินไป นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาต่อยอดการใช้งานในด้านการนับ จำ�นวนคน เช่นจำ�นวนคนที่ขึ้นลงรถ หรือเข้าออกร้านค้า การประยุกต์ใช้งาน สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายตามความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะทางด้านการขนส่งและด้านความปลอดภัย ซึ่งเบื้องต้นทางนักวิจัย ได้พัฒนาระบบขึ้นมา 3 รูปแบบคือ l ระบบสำ�หรับการจราจร l ระบบสำ�หรับการขนส่ง l ระบบสำ�หรับลานจอดรถ (กลางแจ้งและภายในอาคาร) ระบบตรวจจับการเคลื่อนที่และการจอดของยานพาหนะโดยอัตโนมัติ Vehicle Watching System Intelligent Box : V-Watch
  • 13. NSTDA fo Commercialization 2013 13 อย่างไรก็ตามระบบนี้สามารถดัดแปลงเพื่อใช้งานด้านอื่นๆ ได้อีก เช่นการตรวจสอบการชำ�ระเงินที่ด่านเก็บเงิน Motor Way การทางพิเศษ หรือ ปั้มน้ำ�มันแบบบริการตนเอง ซึ่งปัจจุบันเป็นการติดตั้งกล้อง Security Camera แบบธรรมดาที่ต้องใช้คนตรวจสอบ (ไม่สามารถตรวจสอบอัตโนมัติ) ซึ่ง การติดตั้งระบบ V-Watch จะเป็นการเพิ่มการตรวจสอบอัตโนมัติให้กับระบบเดิม กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย l ด้านการจราจร : เจ้าหน้าที่ตำ�รวจ กองตรวจการขนส่งทางบก การตรวจสอบรถ ขสมก. หรือ รถ บขส. l ด้านการขนส่ง : บริษัทขนส่ง โรงงาน หรือคลังสินค้าขนาดใหญ่ ที่มีรถบรรทุกเข้าออกจำ�นวนมาก l ด้านลานจอดรถ : ลานจอดรถต่างๆ ทั้งที่เป็นลานกลางแจ้ง หรือภายในอาคาร ห้างสรรพสินค้า กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย l กลุ่มบริษัทขายกล้องตรวจจับ l กลุ่มบริษัทขายกล้อง Security Camera l กลุ่มบริษัทขายระบบ Infrared Sensor สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา l ยื่นคำ�ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว 1 ฉบับ เลขที่ 1201000680 l อยู่ระหว่างเตรียมยื่นจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของระบบที่พัฒนาและปรับปรุงเพิ่มเติมอีก 1 ฉบับ สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พร้อมถ่ายทอดในรูปแบบการขายลิขสิทธิ์การใช้งาน พร้อมทั้งมีทีมสนับสนุนเพื่อปรับผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้ ภาพรวมตลาด มูลค่าตลาดสอดคล้องกับการเติบโตของตลาดโลจิสติกส์และการขนส่ง จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดโลจิสติกส์และการขนส่งในปี 2554 มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 536,059 ล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 6-8% ต่อปี นอกจากนี้การเปิด AEC ซึ่งประเทศไทยที่เป็นเหมือนศูนย์กลางการ คมนาคมทางบกของอาเซียน จะมีรถเข้าออกในปริมาณที่มากขึ้นอย่างก้าวกระโดด รวมถึงการขนส่งสินค้าระหว่างกันที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็น จุดหนุนของธุรกิจนี้ ด้านคู่แข่งทางการตลาด ปัจจุบันยังไม่มีระบบใดที่พัฒนาได้ใกล้เคียงกับระบบ V-Watch เช่นด้านงานบังคับใช้กฏหมายในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ จะเป็นระบบตรวจจับความเร็วและการฝ่าไฟแดงแบบอัตโนมัติ ด้านระบบนับรถ บริษัท Metrocount ของสหรัฐอเมริกา ได้นำ�เสนอระบบที่ต้องติดตั้ง ลงบนพื้นถนนซึ่งมีต้นทุนที่สูงมาก ด้านระบบที่จอดรถ ส่วนใหญ่ใช้ Infrared Sensors ที่ใช้ RFID ซึ่งจะต้องมีการติดตั้งทุกช่องจอดในที่จอดรถในอาคาร และไม่สามารถใช้กลางแจ้งได้ ผลงานเด่น
  • 14. 14 NSTDA fo Commercialization 2013 ลูกอมเม็ดหญ้าหมอน้อย เลิกบุหรี่ จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) เป็นการนำ�สมุนไพรจากธรรมชาติมาทำ�การสกัดสาร เพื่อให้ได้สารองค์ประกอบสำ�คัญและมีการพัฒนาสูตรตามหลักเภสัชกรรมให้เป็นลูกอมที่ มีประสิทธิภาพในการช่วยลดหรือเลิกการสูบบุหรี่ได้อย่างรวดเร็วกว่าผลิตภัณฑ์ของสมุนไพรชนิดเดียวกันในรูปแบบเดิม โดยไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย และมีราคาถูก คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ เป็นสมุนไพรในรูปแบบลูกอมอัดเม็ดที่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยลดหรือเลิกบุหรี่ โดยสามารถช่วยให้ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้ ภายในระยะเวลา6-10วันและอยู่ในรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้ประกอบกับมีต้นทุนที่ต่ำ�และมีประสิทธิผลที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นของสมุนไพร หญ้าหมอน้อยที่ผ่านมา จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ การประยุกต์ใช้งาน เป็นลูกอมที่มีสารสกัดจากสมุนไพรหญ้าหมอน้อย ช่วยในการลดหรือเลิกบุหรี่สำ�หรับกลุ่มผู้สูบบุหรี่ทุกเพศและทุกวัย กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย กลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่ต้องการเลิกบุหรี่ กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย ผู้ประกอบการผลิต/จำ�หน่ายสมุนไพร หรือ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยา สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอรับจดอนุสิทธิบัตรเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ลูกอม การผลิตและการประยุกต์ใช้งาน สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นลูกอมสารสกัดสมุนไพรหญ้าหมอน้อยและส่วนผสมอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม บรรจุในรูปแบบแผงสะดวกต่อการใช้งาน สามารถถ่ายทอดไป สู่ระดับอุตสาหกรรมได้ทันที ภาพรวมตลาด แม้ว่าในประเทศไทยจะมีการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่อย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งก็ทำ�ให้มีจำ�นวนผู้สูบบุหรี่น้อยลงกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก แต่ใน ขณะเดียวกันก็ยังคงมีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ที่เริ่มเข้ามาเป็นผู้สูบบุหรี่ในจำ�นวนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 15 - 24 ปี รวมไปถึง ผู้ที่อายุต่ำ�กว่า 15 ปีและพบว่ามีสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงเชื่อว่าตลาดของผลิตภัณฑ์สำ�หรับเลิกบุหรี่จะยังคงมีอยู่อย่าง ต่อเนื่อง ผลงานเด่น
  • 15. NSTDA fo Commercialization 2013 15 ระบบตรวจวัดปริมาณคลอรีนในบ่อกุ้ง ด้วยอุปกรณ์พกพาฉลาด ClApp จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) ระบบแปลระดับสีด้วยอุปกรณ์พกพาฉลาดนั้น เป็นเครื่องมือวัดทาง แสงที่อยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่ทําการปรับเปลี่ยน อุปกรณ์พกพา ให้เป็นเครื่องวัดสีและสามารถทําการวัดสีได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งแปลระดับสีที่วัดไปสู่คุณภาพของวัตถุที่ถูกตรวจวัด ดังนั้นผู้ใช้งาน ที่ใช้อุปกรณ์พกพาฉลาดอยู่แล้ว จึงไม่จําเป็นต้องจัดซื้อเครื่องวัดสีหรือ เครื่องมือวัดคุณภาพของน้ำ�ที่มีราคาแพง นอกจากนี้ยังสามารถเผยแพร่ ได้อย่างกว้างขวางบนตลาดโปรแกรมออนไลน์ คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ l ใช้อ่านสีเพื่อตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของคลอรีน l ใช้ร่วมกับน้ำ�ยาโอโทลิดีนสามารถตรวววัดปริมาณความเข้มข้น ของคลอรีนได้ในช่วง 0-2.0 ppm l มีค่าความผิดพลาดอยู่ในช่วง 0.02 ppm l ทำ�งานบนโทรศัพท์มือถือหรือ Tablet ที่มีกล้องด้านหลังและใช้ ระบบปฏิบัติการ Android 2.2 ขึ้นไป l ใช้เวลาในการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ประมาณ 2 วินาที การประยุกต์ใช้งาน เครื่องวัดสีที่ว่านี้สามารถนําไปใช้วัดสีของของเหลวโปร่งแสงได้ หลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับโปรแกรมประยุกต์ที่ได้ใส่เข้าไปในอุปกรณ์ พกพา ตัวอย่างเช่น การวัดปริมาณความเข้มข้นของคลอรีน ไนไตรท์ แอมโมเนีย หรือความเป็นกรด-ด่างของสารละลายโปร่งแสง เป็นต้น กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย กลุ่มลูกค้าเป้าหมายกลุ่มแรกคือกลุ่มของผู้ประกอบการที่ทําเครื่องมือ อิเล็กทรอนิกส์ในการตรวจสอบคุณภาพของของเหลวโปร่งแสงและ ผู้ประกอบการที่ผลิตสารเคมีที่ทําให้น้ำ�เปลี่ยนสี เพื่อดูสิ่งเจือปนในน้ำ� กลุ่ม ที่สอง คือกลุ่มผู้ใช้งานที่ต้องการวัดระดับสีของสารละลายโปร่งแสง ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ที่ต้องทําการตรวจวัดคุณภาพของน้ำ�ก่อนทําการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ� หรือปลูกพืชน้ำ� ในวงการหน่วยงานวิจัยและสถานศึกษาที่ต้องทําการ วิเคราะห์สีของสารเคมีในรูปของของเหลวโปร่งแสง เป็นต้น กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย สําหรับธุรกิจนี้จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มนักลงทุนที่ทําเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ในการตรวจสอบคุณภาพของของเหลวโปร่งแสง เพื่อทดแทนเครื่องมือที่ มีราคาแพง และกลุ่มของนักลงทุนที่ผลิตสารเคมีที่ทําให้น้ำ�เปลี่ยนสีเพื่อ ดูสิ่งเจือปนในน้ำ� โดยเปลี่ยนมาใช้เครื่องวัดระดับสีแทนการใช้แผ่นเทียบสี สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตรการประดิษฐ์: เอกสารยื่นขอจดสิทธิบัตรไทย หมายเลขคําขอ 1201002494 เรื่อง อุปกรณ์และวิธีการสําหรับตรวจวัดระดับความเข้มสี ของวัตถุแบบสองมิติ ผู้ประดิษฐ์ 1. นายศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร 2. นายยุทธนา อินทรวันณี เอกสารยื่นขอจดสิทธิบัตรไทย หมายเลขคําขอ 1201003577 เรื่อง อุปกรณ์ตรวจวัดค่าการดูดซับแสงของของเหลวแบบ อ้างอิงในตัวด้วยท่อคาพลิลารี ผู้ประดิษฐ์ 1. นายศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร 2. นายโกษม ไชยถาวร สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับต้นแบบภาคสนามและกำ�ลังเสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ์ ภาพรวมตลาด เนื่องจากระบบวัดระดับสีเป็นเครื่องมือที่ใช้อุปกรณ์พกพาฉลาด เป็นส่วนหลัก ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็วโดยที่ Smart phone มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 62.7% และTablets มีการเติบโตเพิ่มขึ้น ถึง 274.2% จากข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในอนาคตผู้คนส่วนใหญ่จะใช้ อุปกรณ์จําพวกนี้กันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นการทําธุรกิจทางด้านพัฒนา โปรแกรมประยุกต์จะมีแนวโน้มการเติบโตที่เพิ่มขึ้นตามรวมถึงโปรแกรม ประยุกต์ที่ใช้ในการวัดระดับสีด้วย ซึ่งสามารถใช้ในการวิเคราะห์และวัด ระดับสีของของเหลวโปร่งแสงได้โดยใช้อุปกรณ์พกพา เครื่องวัดสีที่ว่านี้ สามารถนําไปใช้วัดสีของของเหลวโปร่งแสงได้หลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับ โปรแกรมประยุกต์ที่ได้ใส่เข้าไปในอุปกรณ์พกพา ตัวอย่างเช่น การวัด ปริมาณความเข้มข้นของคลอรีน ไนไตรท์ หรือแอมโมเนีย และความ เป็นกรด-ด่างของน้ำ�ในบ่อเลี้ยงกุ้ง ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยมีฟาร์มเลี้ยง กุ้งทะเลอยู่จํานวน 20,000 กว่าฟาร์ม ซึ่งในจํานวนของเกษตรกรผู้เลี้ยง กุ้งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่สามารถเอาผลิตภัณฑ์ที่ พัฒนาขึ้นไปสร้างผลกําไรได้ เป็นต้น FOOD
  • 16. 16 NSTDA fo Commercialization 2013 โปรแกรมบริหารจัดการคุณภาพข้าวไทย จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) ระบบได้พัฒนาบน Web Services ที่สามารถทำ�งานร่วมกับ อุปกรณ์ Android Tablet เพื่อช่วยให้เกษตรตำ�บลหรือเกษตรกร สามารถ ยื่นแบบขอรับรองแหล่งผลิตตามแบบฟอร์ม GAP-01 และ GAP-02 โดยใช้แผนที่ Google Map ในการลงทะเบียนพื้นที่ปลูกข้าว และช่วย ให้ผู้ตรวจประเมิน (Certificate Body) ของกรมการข้าว ใช้ในการตรวจ ประเมินการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพตามแบบฟอร์มGAP-03 โดยใช้อุปกรณ์ Android Tablet แทนการจดบันทึกด้วยกระดาษ ได้ทั้ง แบบ On-line หรือ Off-line ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดการกรอกข้อมูล ซ้ำ�ซ้อน และเพิ่มความรวดเร็วในการตรวจประเมิน คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ l สามารถบันทึกแบบคำ�ร้องขอรับรองแหล่งผลิตตามแบบฟอร์ม GAP-01 (สำ�หรับเกษตรกรลงทะเบียนผ่าน Website) l สามารถบันทึกแบบบันทึกระบบการจัดการคุณภาพข้าวสำ�หรับ เกษตรกรตามแบบฟอร์ม GAP-02 (สำ�หรับเกษตรลงทะเบียน แหล่งเพาะปลูกผ่าน Website) l สามารถบันทึกแบบกำ�หนดการตรวจประเมินการผลิตตามระบบ การจัดการคุณภาพตามแบบฟอร์ม GAP-03 (สำ�หรับผู้ตรวจ ประเมินบันทึกผลหน้าแปลงบน Android Tablet) l สามารถบันทึกแบบบันทึกข้อบกพร่องตามระบบการจัดการ คุณภาพตามแบบฟอร์มGAP-04(สำ�หรับผู้ตรวจประเมินบันทึก ผลหน้าแปลงบน Android Tablet) l สามารถค้นหาองค์ความรู้ด้านการจัดการคุณภาพข้าวไทยตาม แบบฟอร์ม GAP-05 และ 06 การประยุกต์ใช้งาน ระบบลงทะเบียนเกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นๆ และระบบตรวจประเมิน คุณภาพด้วย Mobile หรือ Tablet กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย เกษตรกรที่ต้องการขึ้นทะเบียนรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน GAP และผู้ตรวจประเมินของกรมการข้าว กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือบริษัทที่สนใจลงทุน สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา กำ�ลังดำ�เนินการจดลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมใช้งานและต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ภาพรวมตลาด ยังไม่มีระบบลงทะเบียนและระบบตรวจประเมินที่ใช้เทคโนโลยี Web Services ร่วมกับอุปกรณ์ Mobile หรือ Tablet ด้วย Mobile GAP Assessment Mobile GAP : RICE
  • 17. NSTDA fo Commercialization 2013 17 จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) l ตรวจหาการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียที่มีปริมาณน้อยเพียง 1 CFU/ml ได้ l เวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลน้อยกว่าวิธีมาตรฐานที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน (การเพาะเลี้ยงเชื้อ) l ตรวจวิเคราะห์ง่ายด้วยตาเปล่าหรือวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วย อุปกรณ์ที่มีอยู่ในห้องปฏิบัติการทั่วไป คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ ชุดตรวจเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยการเปลี่ยนแปลงสี (colorimetric detection) ในการจับกันแบบแข่งขัน (Competitive assay) ระหว่าง แบคทีเรียและเอนไซม์ที่มีประจุลบกับอนุภาคที่มีประจุบนผิวเป็นบวก การประยุกต์ใช้งาน การตรวจวัดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในน้ำ� กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำ�ดื่ม กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย ผู้ผลิตชุดตรวจ สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา ยื่นจดสิทธิบัตรในชื่อ “กระบวนการตรวจวัดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย ด้วยการตรวจการเปลี่ยนแปลงสี” (colorimetric detection) แล้ว สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Lab prototype ชุดทดสอบอย่างง่าย สำ�หรับตรวจวัดเฮกซะวาเลนต์โครเมียม จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) พกพาได้ ใช้งานง่าย ราคาถูก ไม่ผูกติดเครื่องมือ คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ เป็นชุดทดสอบอย่างง่ายใช้ตรวจวัดการปนเปื้อนของเฮกซะวาเลนต์ โครเมียมในน้ำ� ความเข้มข้นระดับ 10-100 ppb โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือ ในห้องปฏิบัติการ ppb = part per billion การประยุกต์ใช้งาน ใช้ตรวจวัดการปนเปื้อนของเฮกซะวาเลนต์โครเมียมในน้ำ� กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย l ผู้ประกอบการที่มีการชุบโครมในกระบวนการผลิต l ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน l การตรวจวัดน้ำ�จากแหล่งน้ำ�ในชุมชน สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรเลขที่ 1203000941 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2555 สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อยู่ระหว่างการตรวจสอบเสถียรภาพของชุดทดสอบจากการเก็บ รักษา หรืออายุของชุดทดสอบหลังการผลิต (ปัจจุบันประกันที่ 6 เดือน) ภาพรวมตลาด ปัจจุบันการทดสอบหาปริมาณเฮกซะวาเลนต์โครเมียมในน้ำ� ยังมี ความจำ�เป็นต่อภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการชุบเคลือบ โลหะด้วยโครมหกหรือเฮกซะวาเลนต์โครเมียม น้ำ�เสียจากอุตสาหกรรม ดังกล่าวจำ�เป็นต้องมีการบำ�บัดก่อนปล่อยทิ้ง การทดสอบหาการปนเปื้อน สารดังกล่าวในน้ำ�อาจทดสอบด้วยชุดทดสอบอย่างง่ายที่นำ�เข้าจาก ต่างประเทศ หรืออาจมีการตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ ที่ต้องอาศัยผู้มีทักษะความชำ�นาญเฉพาะ อาทิ การตรวจวัดด้วยเครื่อง สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ หรือการตรวจวัดธาตุโครเมียม (โครเมียมรวมที่ รวมโครเมียมทุกรูปแบบ) เป็นต้น ชุดตรวจแบคทีเรีย Instant bacteria test kit FOOD
  • 18. 18 NSTDA fo Commercialization 2013 3 1718 14 12 11 15 5 6 20 21 4 2 19 10 A B C Dวัตถุดิบ: Eวัตถุดิบ: ความลับความลับ แผ่นดูดซับเสียงอัจฉริยะ Alufoam-Sorb จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีต้นทุนการผลิตต่ำ�กว่าเทคโนโลยีใน ปัจจุบัน คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์ ดูดซับเสียงได้ดี มีเสถียรภาพในการดูดซับเสียง ต้านทานการติดไฟ ป้องกันสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้งาน l ดูดซับเสียงในที่ทำ�งานหรือที่พักอาศัย เช่น ห้องประชุม ห้องชม ภาพยนตร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องซ้อมดนตรี ห้องสมุด ห้อง แสดงสินค้า ห้องโดยสาร โรงแรม โรงละคร ภัตตาคาร ศูนย์ การค้า สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สนามบิน และสนามกีฬา l ดูดซับเสียงสำ�หรับอุตสาหกรรม เช่น สถานีสูบน้ำ� ห้องเก็บเสียงที่ เกิดจากเครื่องจักรกลต่างๆ ตัวเก็บเสียงในท่อ ตัวเก็บเสียงของ อุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดเสียงดัง l ฉนวนป้องกันเสียง เช่น ผนังกันเสียงสำ�หรับทางด่วน ถนน หรือ เส้นทางรถไฟ และโรงงานที่ก่อให้เกิดเสียงดัง เช่น โรงผสม คอนกรีต l ป้องกันสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นอาคารที่มีอุปกรณ์ส่งสัญญาณ ต่างๆ ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ สถานีถ่ายทอดสัญญาณ ดาวเทียม สถานีแปลงกำ�ลังไฟฟ้า และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ l เพื่อความสวยงามเช่นใช้งานด้านการตกแต่งต่างๆเช่นเคาน์เตอร์ ตู้ขายสินค้า และป้ายโฆษณา l อื่นๆ เช่น ฉนวนฝากระโปรงรถยนต์ ไส้กรอง อิเล็คโทรด และ เป็นแกนกลางของวัสดุคอมโพสิตต่างๆ กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย l กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาฯ ได้แก่ สถาปนิก ผู้รับเหมาก่อสร้าง อาคาร และเจ้าของอาคารที่ต้องใช้วัสดุดูดซับเสียง l กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ ได้แก่ ผู้ประกอบการรถยนต์ดัดแปลง และผู้รับเหมาก่อสร้างเส้นทางคมนาคม l หน่วยงานราชการ ได้แก่ กรมทหาร กรมโยธา และกรมการ ขนส่งต่างๆ กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย l ผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง l ผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูดซับเสียง l ผู้ผลิตชิ้นส่วนโลหะอะลูมิเนียมด้วยการหล่อ l ผู้ผลิตรถยนต์ดัดแปลง l ผู้ที่ทำ�ธุรกิจเกี่ยวกับป้ายโฆษณา l ผู้ที่ทำ�ธุรกิจเกี่ยวกับรับเหมาก่อสร้าง สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา ได้ยื่นขอรับสิทธิบัตร เลขที่คำ�ขอ 1201005748 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 เรื่อง “อุปกรณ์ผลิตวัสดุจากแม่แบบร่างที่มีโครงสร้าง พรุนด้วยความดันสุญญากาศที่มีอัตราการผลิตสูง” สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต้นแบบระดับห้องปฏิบัติการ ภาพรวมตลาด ตลาดวัสดุดูดซับเสียงของไทยส่วนใหญ่เป็นการจำ�หน่ายภายใน ประเทศ โดยผ่านช่องทางการจำ�หน่ายขายตรงให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าไป ใช้ในงานโครงการของตนเอง และจำ�หน่ายผ่านตัวแทนจำ�หน่าย โดยเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ทำ�จากโฟมพอลิยูริเทน เยื่อกระดาษ ไม้ ใยแก้ว และใยหิน สำ�หรับฉนวนใยแก้วซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดสำ�หรับใช้เป็นวัสดุดูดซับเสียง มีตลาดภายในประเทศขนาดประมาณ 600 - 1,000 ล้านบาท ปัจจุบัน วัสดุควบคุมเสียงในไทยมีมูลค่าตลาดรวม 2,000 ล้านบาท/ปี โดยเป็น วัสดุควบคุมเสียงสำ�หรับการจราจร 30 -70 ล้านบาท/ปี ซึ่งเป็นวัสดุชนิด ดูดซับเสียง25-35 ล้านบาท/ปี แนวโน้มในภาพรวมของตลาดวัสดุดูดซับ เสียงจะขยายตัวตามการขยายตัวของความต้องการวัสดุก่อสร้างซึ่งโดย รวมยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้าง ขนาดใหญ่ของภาครัฐ ตลอดจนการบำ�รุงรักษาและซ่อมแซมโครงสร้าง ที่ได้ก่อสร้างแล้ว ปัจจุบันปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ราคาตลอดอายุการใช้งาน และผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม ดังนั้นแนวโน้ม การพัฒนาวัสดุก่อสร้างจึงพิจารณาถึงความยั่งยืนมากขึ้น
  • 19. NSTDA fo Commercialization 2013 19 ต้นแบบกระบวนการวิธีตรวจวิเคราะห์ แร่ใยหินไครโซไทล์ในผลิตภัณฑ์ จุดเด่นของเทคโนโลยี (Innovation Statement) วิธีการตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคPLM,XRD,SEM/EDS เชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณและวิธีการเตรียมตัวอย่างที่เหมาะสมสำ�หรับผลิตภัณฑ์ แต่ละชนิด ได้ทั้งในกลุ่มผ้าเบรก คลัทช์ กลุ่มวัสดุก่อสร้าง กลุ่ม แป้งทัลคัม เครื่องสำ�อาง ตัวอย่างที่มีลักษณะเป็นผง ดิน แร่ธรรมชาติ คุณสมบัติของต้นแบบ สามารถตรวจวิเคราะห์บ่งชี้แร่ใยหินไครโซไทล์ในผลิตภัณฑ์ที่ หลากหลาย โดยใช้เทคนิค PLM, XRD, SEM/EDS ร่วมกัน เพื่อได้ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำ� และหากตรวจไม่พบแร่ใยหินชนิด ไครโซไทล์ การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคดังกล่าวสามารถใช้บ่งชี้ชนิดแร่อื่น ที่เป็นองค์ประกอบในผลิตภัณฑ์ได้ การประยุกต์ใช้งาน สามารถใช้ตรวจวิเคราะห์แร่ใยหินไครโซไทล์ในผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผ้าเบรก คลัทช์ ปะเก็น แป้งทัลคัม ดิน วัตถุดิบแร่ผลิตเครื่องสำ�อาง กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยางปูพื้น กระเบื้องแผ่นเรียบ ท่อซีเมนต์ และวัสดุก่อสร้างอื่น แผ่นฝ้า ผนัง เพดาน กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย ผู้ผลิต ผู้จำ�หน่าย ผู้นำ�เข้า ผู้ส่งออก ผู้บริโภคที่ต้องการใช้งาน ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากแร่ใยหิน บุคลากรฝ่ายวิจัยของบริษัทเอกชน ภาครัฐ นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไป HOUSING