SlideShare a Scribd company logo
1 of 24
Download to read offline
1พฤศจิกายน 2558 •
4 7
11
13
9
18 19
บทความ Article
15
นำ�ทางคนไข้ หาหมอฉับไว
ไม่หลงขั้นตอน
สวทช./สพฐ. ร่วมกับ สกอ. จัดสัมมนาแนะนำ�แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย
สวทช. จัดงานสะเต็มเดย์ มุ่งเสริมแกร่งเครือข่ายสะเต็มศึกษาไทย
กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช./ไบโอเทค
หนุนเกษตรกรไทย สู้เพลี้ยกระโดด
ก.วิทย์ ถอดบทเรียนเหตุราชประสงค์ ดันเทคโนโลยีซีซีทีวี
“4 เมกเกอร์ไทย” ตะลุย
“เมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน”
เด็กไทยเจ๋ง! ผลงานอุปกรณ์ดักจับแมลงเลียนแบบธรรมชาติ คว้ารางวัลรองชนะเลิศระดับโลก
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
บทสัมภาษณ์ Star
ผู้พัฒนางานไอทีเพื่อสังคมไทย
ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์
ปฏิทินกิจกรรม Activity
ในเล่ม Insight
ข่าว News 2
EasyHos
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ
เทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ร่วมมือกับ
สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ในนาม “คณะทำ�งาน
การเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” จัดสัมมนาวิชาการ
เรื่อง “การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้แผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” (Lifelong
Learning Space for Thailand Digital Economy) ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2558 ณ โรงแรมวินเซอร์
สวีท กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระบบการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และคลังทรัพยากร
การศึกษาดิจิทัลแบบเปิด ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ของประเทศในรูปแบบดิจิทัล ตั้งแต่ความรู้ขั้น
พื้นฐานจนอุดมศึกษา ความรู้วิชาการจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างทั่วถึง เท่า
เทียมกัน ทุกที่ ทุกเวลา มุ่งสู่การใช้ดิจิทัลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้ (Digital Society) ได้อย่างแท้จริง
2 nstda • พฤศจิกายน 2558
เชื่อมโยงความรู้ทุกระดับชั้น มุ่งสร้างเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
สวทช./สพฐ. ร่วมกับ สกอ. จัดสัมมนา
แนะนำ�แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
3พฤศจิกายน 2558 •
ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�กระทรวงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร ประธานเปิดงาน กล่าวว่า “ตามที่รัฐบาลมีนโยบาย
ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้ขับเคลื่อนที่
จะทำ�ให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัย
ใหม่ได้ ซึ่งแนวทางการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหนึ่งในห้าด้านนั้น
คือ การส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล (Digital Society Promo-
tion) ที่เกี่ยวกับการสร้างสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพใน4 ประเด็นคือ(1) การพัฒนา
ประชาชนที่สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างฉลาด มีความรับผิดชอบและเท่าทันสื่อ
(2) การลดความเหลื่อมล้ำ�ดิจิทัล เช่น การบูรณาการนำ�ระบบไฟฟ้าพลังงานแสง
อาทิตย์ ระบบโทรคมนาคม ระบบการเรียนอีเลิน์นนิงไปสู่ชุมชนชายขอบที่ห่าง
ไกลมากๆ หรือการนำ�เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยผู้ที่บกพร่องทางการเรียนรู้เขียน
หนังสือได้ ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ทางคณะทำ�งานกำ�ลังดำ�เนินการอยู่(3) การแปลงสื่อ
ต่างๆให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และมีการจัดเก็บ/ จัดแสดงอย่างฉลาด เพื่อให้สังคม
มีdigitalcontent พร้อมสำ�หรับการเรียนรู้ และ(4) การพัฒนาบริการดิจิทัลเพื่อ
สังคม โดยมีบริการเร่งด่วนที่สุดคือ บริการการศึกษา/การเรียนรู้แบบเปิดเพื่อการ
เรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นที่มาของงานสัมมนาในวันนี้”
“โครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong
LearningSpace ที่คณะทำ�งานการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้คณะกรรมการเตรียม
การด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของหน่วย
งานต่างๆ ได้แก่ สำ�นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำ�นักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา สำ�นักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ นับเป็นอีกกลไกหนึ่งที่สำ�คัญที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้
เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมไทยในโลกยุคใหม่ยุคดิจิทัลนี้ โดยโครงการนี้
จะมุ่งเน้นการบูรณาการและเชื่อมโยงคลังสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ในทุกระดับการ
ศึกษา จากการศึกษาพื้นฐานไปสู่ความรู้ระดับอุดมศึกษา จากความรู้วิชาการสู่
ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นช่องทางและโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองตาม
อัธยาศัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา”
“การบูรณาการภายในหน่วยงานและบูรณาการข้ามหน่วยงานของทั้ง
3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงไอซีที และ
กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย
เป็นการเปิดมิติการเข้าถึงความรู้ และเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลา
ใด ในขณะเดียวกันเมื่อเชื่อมโยงโครงการดังกล่าวเข้ากับการขับเคลื่อนของคณะ
ทำ�งานอื่นๆ ภายใต้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขยาย
โครงข่ายบรอดแบนด์เข้าถึงทุกหมู่บ้าน จะส่งผลให้เกิดความสำ�เร็จในการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมไทยในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป” ประธาน
เปิดงาน กล่าวสรุปเกี่ยวกับโครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
โครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learn-
ing) มีจุดเด่นคือ เป็นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ อันได้แก่
โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์ฯ ของ สวทช. และ สพฐ. โครงการ DLIT ของ
สพฐ. โครงการThaiMOOC ของ สกอ. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการ
ศึกษาตามอัธยาศัยด้วยเทคโนโลยีออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชนอย่างเป็นรูปธรรม
เน้นความร่วมมือและแบ่งปันความรู้ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระเสรี ตาม
แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต(LifelongLearning) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ได้ที่ http://www.learn.in.th/
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
4 nstda • พฤศจิกายน 2558
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี กล่าวว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและ
เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เล็งเห็นความสำ�คัญของชุมชนชนบท ซึ่ง
เป็นรากฐานของคนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงมีการส่งเสริมการนำ�วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และนวัตกรรม(วทน) เพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละ
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
เพิ่มรายได้-ลดการนำ�เข้าจากต่างประเทศ
กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช./ไบโอเทค หนุน
เกษตรกรไทยนำ� วทน. สู้เพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล
8 ต.ค. 58 จ.พระนครศรีอยุธยา - ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ชาติ (สวทช.) และคณะได้เข้าเยี่ยมชมการดำ�เนินงาน “โครงการขยายผลการผลิตและการใช้งานราบิวเวอเรีย”
ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำ�กัด และเครื่องสีข้าว
ขนาดเล็ก ที่ทาง สวทช. โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และศูนย์เทคโนโลยี
โลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)  ดำ�เนินการขึ้น เพื่อสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใน
การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของชุมชน
ชุมชน โดยได้จัดทำ� “โครงการขยายผลการผลิตและการใช้งานราบิวเวอเรีย” เพื่อ
เป็นการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการประกอบ
อาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดตั้งศูนย์ผลิตหัวเชื้อรา
บิวเวอเรีย เพื่อส่งให้แก่กลุ่มเกษตรกรบ้านนาคูนำ�ไปผลิตเป็นก้อนเชื้อราบิวเวอเรีย
สำ�หรับใช้ในกลุ่ม และเพื่อจำ�หน่าย
5พฤศจิกายน 2558 •
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
พี้นที่ ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ที่ประสบกับปัญหา
น้ำ�ท่วมทุกปี เนื่องจากเป็น “พื้นที่แก้มลิง” เกิดผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร โดย
เฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ปลูกข้าวที่ได้รับความเสียหายมากเมื่อประสบภาวะน้ำ�ท่วม ซึ่ง
สวทช. โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วม
กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำ�นักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้พัฒนา
พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำ�ท่วมฉับพลันมาให้เกษตรกรปลูก และร่วมกับสหกรณ์
การเกษตรผักไห่ จำ�กัด ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้
แก่เกษตรกรในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งข้าวเปลือกหอมชลสิทธิ์ผ่านการ
ทำ�ความสะอาด ขัดสี อบ ลดความชื้นเพื่อคงสภาพความหอมและนุ่มก่อนบรรจุ
ถุงภายใต้เครื่องหมายการค้า “อ่อนหวาน” จำ�หน่ายปลีกและขายส่ง โดยในปี
2557 มีพื้นที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์หอมชลสิทธิ์ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่
ต่ำ�กว่า2,349 ไร่ ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์รวม357 ตัน ผลผลิตข้าวเปลือกรวม1,401
ตัน สามารถสร้างมูลค่าผลผลิตกว่า 21 ล้านบาท  ซึ่งในปี 2554 แปลงนายังได้
รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลระบาดทำ�ความเสียหาย ประมาณร้อย
ละ 80 ในจำ�นวนนี้แปลงนาร้อยละ 14 เสียหายทั้งหมด ประเมินมูลค่าความเสีย
หายปีละไม่ต่ำ�กว่า 124 ล้านบาท 
จากปัญหาความเสียหายนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สวทช. โดย
ไบโอเทค ได้ศึกษาและวิจัยเชื้อราที่ก่อโรคในแมลงเพื่อนำ�มาใช้ในการควบคุมศัตรู
พืช ซึ่ง “เชื้อราบิวเวอเรีย” มีคุณสมบัติทำ�ลายแมลงหลายชนิด เช่น เพลี้ยแป้ง
มันสำ�ปะหลัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล เพลี้ยอ่อน เป็นต้น และสามารถควบคุม
และกำ�จัดศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) สำ�นักงานเกษตรอำ�เภอผักไห่ และสหกรณ์
การเกษตรผักไห่ จำ�กัด นำ�มาใช้และถ่ายทอดในการผลิตเชื้อบิวเวอเรียที่
สามารถใช้ป้องกันและกำ�จัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลสู่ชุมชนบ้านนาคู และผลัก
ดันให้บ้านนาคูเป็น “หมู่บ้านบิวเวอเรีย” ต้นแบบหมู่บ้านแม่ข่าย ในการผลิต
เชื้อบิวเวอเรีย ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรปีละ 40,000 บาท และลดการเข้า
จากต่างประเทศ    
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การดำ�เนินงานนี้ สวทช. ในฐานะผู้
พัฒนาเทคโนโลยีทำ�หน้าที่ส่งมอบเชื้อตั้งต้นของราบิวเวอเรียจากห้องปฏิบัติการ
ไบโอเทค ให้แก่ มทร.สุวรรณภูมิ ซึ่งรับเป็นศูนย์ผลิตหัวเชื้อราบิวเวอเรีย เพื่อส่ง
ให้แก่กลุ่มเกษตรกรบ้านนาคูนำ�ไปผลิตเป็นก้อนเชื้อราบิวเวอเรีย สำ�หรับใช้ในกลุ่ม
และเพื่อจำ�หน่าย โดยมีสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำ�กัด เป็นผู้แทนจำ�หน่ายก้อน
เชื้อราบิวเวอเรียให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ในราคาก้อนละ 40 บาท สามารถสร้าง
รายได้ให้กับกลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพบ้านนาคู ถึงปีละ 40,000 บาท ซึ่ง
ไบโอเทค/สวทช. ได้ร่วมมือกับสำ�นักงานเกษตรอำ�เภอผักไห่ ส่งเสริมให้
เกษตรกรสามารถใช้เชื้อราบิวเวอเรียเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เกษตรกรบ้านนาคูสามารถทำ�การเกษตรแบบชีวภาพ
ได้อย่างยั่งยืน คาดว่าจะสามารถลดความเสียหายของผลผลิตข้าวลงได้ถึงร้อยละ
70 หรือมูลค่ากว่า80 ล้านบาท โดยขณะนี้มีเกษตรกรในอำ�เภอผักไห่นำ�เอาเชื้อรา
บิวเวอเรียไปใช้แล้ว กว่า3,000 ไร่ เมื่อคิดต้นทุนโดยเฉลี่ยแล้ว ปกติเกษตรกรจะ
เสียค่าใช้จ่ายสำ�หรับค่าสารเคมีฆ่าแมลงประมาณ300 บาท/ไร่/รอบการปลูก แต่
เมื่อเปลี่ยนมาใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการกำ�จัดแมลงศัตรูพืช พบว่าเกษตรกรจะเสีย
ค่าใช้จ่ายเพียง 60 บาท/ไร่/รอบการปลูกเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังนำ�เครื่องสีข้าวขนาดเล็กพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ
และวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) กำ�ลังการผลิตประมาณ150-200 กิโลกรัมข้าวเปลือก/
ชั่วโมง สามารถสีแปรรูปข้าวได้ทั้งข้าวกล้องและข้าวขาว โดยที่เกษตรกรเลือกใช้
งานได้ตามต้องการ ไม่ต้องเสียเวลากับการไปรอสีข้าวหรือเปลี่ยนข้าวกับโรงสี
ขนาดใหญ่ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้งานเครื่องสีข้าวสีแปรรูปข้าว
เปลือกของตนเองเป็นข้าวกล้อง และข้าวสารเพื่อการจำ�หน่าย หรือการรับจ้างสีได้
มูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ2,000-3,000 บาท/ตัน(คิดคำ�นวณในลักษณะการรับจ้างสี
ข้าว) นอกจากนี้ยังได้ออกแบบให้สามารถใช้อะไหล่ชิ้นส่วน กว่า80% ที่สามารถ
ซ่อมแซมได้ง่ายตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น สายพาน น็อต ลูกกระพ้อ ลูกยางกะเทาะ
เปลือก ฯลฯ และใช้มอเตอร์ต้นกำ�ลังรวม 8.5 แรงม้า แบบซิงเกิลเฟส สามารถ
ใช้ได้กับไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป ทำ�ให้มีต้นทุนค่าไฟฟ้าในการใช้งานต่ำ�” ทั้งนี้ ยังได้
สร้างเครื่องแยกข้าวเปลือกและ ข้าวกล้องมาใช้ร่วมกับเครื่องสีข้าวดังกล่าว เพื่อ
ให้ได้ข้าวกล้องที่สะอาดไม่มีข้าวเปลือกปน พร้อมนำ�ไปบรรจุขายได้ทันที ช่วย
ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างสีข้าวของสหกรณ์ จำ�นวน 4 แสนบาทต่อปี สร้างรายได้
เพิ่มขึ้นให้เกษตรกร ช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องจักร
กลการเกษตรในประเทศให้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เครื่องสีข้าวขนาดเล็กให้มี
ประสิทธิภาพสูงขึ้น มีราคาที่เหมาะสมสำ�หรับจำ�หน่ายในชุมชนเกษตรกร และ
ช่วยลดการนำ�เข้าเครื่องสีข้าวขนาดเล็กจากต่างประเทศ
6 nstda • พฤศจิกายน 2558
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
7พฤศจิกายน 2558 •
ก.วิทย์ ถอดบทเรียนเหตุราชประสงค์
ดันเทคโนโลยีซีซีทีวีเพื่อความมั่นคง
และปลอดภัยของสังคมไทย
ต่อยอดการใช้งานรองรับสังคมผู้สูงอายุ
พร้อมเปิดตัวซีซีทีวี คอนซอร์เตียม อย่างเป็นทางการ
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
15 ตุลาคม 2558 ณ ห้องจูปิเตอร์ 11-14 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี/กระทรวง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งสร้างความ
ตระหนักและความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสนับสนุนนโยบายการสร้างเมืองให้เป็น “สมาร์ท
ซิตี้” ระดมองค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบซีซีทีวีในงานสัมมนา Smart
Society Smart Security สร้างเมืองให้ปลอดภัยด้วยน้ำ�ใจและเทคโนโลยี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ
ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน
8 nstda • พฤศจิกายน 2558
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
ดร.พิเชฐ กล่าวว่า รัฐบาลมีภารกิจสำ�คัญในการสร้างความเข้มแข็ง
ด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งถือเป็นรากฐานของประเทศควบคู่ไปกับความมั่นคง
และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และจากบทเรียนในเหตุระเบิดที่
ราชประสงค์ซึ่งทำ�ให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำ�คัญของเทคโนโลยีมากขี้น
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเล็งเห็นถึงความสำ�คัญของเทคโนโลยี ซีซีทีวี
แอนาลิติกส์(CCTVAnalytic) เพื่อตอบโจทย์สังคมให้เป็นสังคมที่มีความปลอดภัย
สูงขึ้น ขณะเดียวกันได้ตั้งเป้าที่จะพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีนี้
เพื่อความปลอดภัย และลดการนำ�เข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ นอกจากนี้
ประเทศไทยกำ�ลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งเทคโนโลยีซีซีทีวีจะช่วยอำ�นวยความ
สะดวกและลดการเกิดอุบัติเหตุในกลุ่ม เป้าหมายได้    
ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน
นโยบายการสร้างเมืองให้เป็นสมาร์ท ซิตี้ ที่มั่นคง ปลอดภัยด้วยพลังของสังคม
โดยการใช้ซีซีทีวีในรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ให้ผู้ที่
สัญจรบนถนนมีความสะดวกมากขึ้น สามารถกดดูสภาพการจราจรได้ล่วงหน้า
หากเกิดเหตุอาชญากรรม ผู้รักษากฏหมายก็สามารถติดตามสืบค้นข้อมูลใน
อดีตได้อย่างรวดเร็ว  และก่อนเกิดเหตุอาชญากรรม ระบบวิเคราะห์ภาพอาจจะ
สามารถแจ้งเตือนถึงเหตุการณ์ที่ผิดปกติที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นได้ ทำ�ให้เราสามารถ
เฝ้าระวังและป้องกันเหตุได้อย่างทันท่วงที    
ทั้งนี้ ภายในงานยังได้มีการจัดงานวิชาการ การบรรยาย การจัดแสดง
นิทรรศการจากผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ อาทิ บริษัท Huawei,
SECOM, Bosch, Panasonic, Digital Focus เป็นต้น อีกทั้งยังมีการสาธิตการ
เชื่อมโยงซีซีทีวี แอนาลิติกส์ โมดูล กับซีซีทีวีรุ่นต่างๆ ของสมาชิกผ่านเพลตฟอร์ม
กลาง เพื่อแสดงให้เห็นว่าในอนาคตสมาชิกซีซีทีวี คอนซอร์เตียม สามารถเชื่อม
หากันและเลือกใช้แอนาลิติกส์ได้ตามต้องการ
9พฤศจิกายน 2558 •
19 ตุลาคม 2558 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - สำ�นักงาน
พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงาน “STEM DAY: เรียนรู้ให้สนุก ฝึกคิดแบบสะเต็ม
เติมเต็มทักษะชีวิต” ระหว่างวันที่ 19-20 ต.ค. 58 เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครู ผู้ปกครอง เยาวชน เครือ
ข่ายภาครัฐและเอกชน ตระหนักถึงคุณค่าของการเรียนรู้ในศาสตร์ 4 ด้านคือ วิทยาศาสตร์ (Science)
เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) โดยนำ�ความ
รู้ต่างศาสตร์มาเชื่อมโยงกันและนำ�สู่การแก้ปัญหาในชีวิตจริง ที่ต้องวางแผน แก้ปัญหา ลงมือทำ� จนเกิดเป็น
วิธีการหรือกระบวนการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน รวมทั้งเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพครูแกนนำ�ผู้สอนสะเต็ม
ศึกษาให้สามารถจัดการเรียนการสอนด้านสะเต็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีครู นักเรียน และผู้สนใจในวงการ
สะเต็มศึกษาเข้าร่วมงานกว่า 400 คน
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
สวทช. จัดงานสะเต็มเดย์
มุ่งเสริมแกร่งเครือข่ายสะเต็มศึกษาไทย
ยกระดับการเรียนรู้วิทย์ คณิต และไอทีของประเทศ
10 nstda • พฤศจิกายน 2558
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวว่า “สวทช.
ได้กำ�หนดให้การพัฒนากำ�ลังคนและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีเป็นพันธกิจหนึ่งขององค์กร ซึ่งดำ�เนินงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาค
รัฐ ภาคเอกชน และชุมชน มาเป็นเวลานาน และในโอกาสที่สำ�นักงานคณะ
กรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน.) ให้การ
สนับสนุน สวทช. จัดทำ�โครงการ “ส่งเสริมการใช้ศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน
และบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อขับ
เคลื่อนนวัตกรรมโดยการยกระดับและทักษะความรู้ด้านSTEM ให้แก่ นักเรียน ครู
และบุคลากรวัยทำ�งาน” ในปีงบประมาณ 2557 ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ 2558
ทำ�ให้การดำ�เนินงานที่ผ่านมาเน้นแนวทาง STEM เพื่อเตรียมเยาวชนทั้งที่อยู่ใน
ระบบและนอกระบบการศึกษา และบุคลากรกลุ่มแรงงานหรือ STEM Workforce
เพิ่มทักษะและคุณภาพด้าน STEM ให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น ด้วยการทำ�งานร่วม
กับเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท.) สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ บริษัทอินเทลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย
จำ�กัด เพื่อสร้างบุคลากรในสาขาสะเต็มให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนทั่วทั้งประเทศ
รวมทั้งการเชื่อมโยงการเรียนรู้โดยใช้โจทย์วิจัยและศักยภาพของนักวิจัยจาก 4
ศูนย์แห่งชาติของ สวทช. คือ ไบโอเทค เนคเทค เอ็มเทค และนาโนเทค การ
ทำ�งานร่วมกับคลัสเตอร์วิจัยต่างๆ และใช้ประโยชน์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร และความสามารถการบริหารงานด้านพัฒนาบุคลากร
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสำ�นักพัฒนากำ�ลังคน สวทช. อย่างเต็มศักยภาพ”  
“โดยการดำ�เนินงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 - สิงหาคม 2558 โครง
การฯ ได้พัฒนาต้นแบบสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ หลักสูตรการจัดอบรม และแนวทาง
การจัดกิจกรรมด้านสะเต็มที่เหมาะสมและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ได้แก่
เยาวชน ผู้ปกครอง ครู ตลอดจนบุคลากรวัยทำ�งานได้มากกว่า 12,000 คน จึง
ได้จัดงาน “STEM Day 2015: เรียนรู้ให้สนุก ฝึกคิดแบบสะเต็ม เติมเต็มทักษะ
ชีวิต” ครั้งนี้ขึ้น ซึ่งนับเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
การ ขับเคลื่อนสะเต็มศึกษา ตั้งแต่เด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ชุมชน
นักวิจัย ผู้ประกอบการ และผู้บริหารสายงานด้านการศึกษา ได้สรุปผลงานที่
ผ่านมา พร้อมนำ�เสนอกรณีตัวอย่างนวัตกรรมที่เกิดขึ้น รวมทั้งหารือแลกเปลี่ยน
ถึงแนวทางการทำ�งานด้าน STEM Education และการพัฒนา STEM Workforce
ต่อไปในอนาคต ถือเป็นกิจกรรมที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายสะเต็มศึกษา
เพื่อยกระดับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และกระตุ้น
ความสนใจให้เด็กและเยาวชนรู้จักการนำ�ความรู้ด้านสะเต็มไปใช้ประโยชน์ทั้ง
ในชีวิตประจำ�วันและการทำ�งานในอนาคต รวมทั้งพัฒนาครูให้มีความสามารถ
ในการจัดการเรียนการสอนด้านสะเต็ม ตลอดจนพัฒนาบุคลากรวัยทำ�งานให้มี
ทักษะและความรู้ในการทำ�งานที่จำ�เป็นต่อการสร้างอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต
ให้ดีขึ้น และเพิ่มผลิตภาพได้ต่อไป”  
ทั้งนี้ งาน STEM DAY 2015 ประกอบด้วยกิจกรรมไฮไลต์ อาทิ การ
บรรยายพิเศษเรื่อง สะเต็มศึกษากับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดย
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี/ รองประธาน
กรรมการ สสค. ที่พูดถึงความจำ�เป็นในการปรับการเรียนการสอนเพื่อนำ�พา
เด็กและเยาวชนเข้าสู่โลกในศตวรรษที่ 21 และเรื่อง ทิศทางของสะเต็มศึกษา
ในประเทศไทย โดย ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำ�นวยการ สสวท. ที่พูดถึง
สะเต็มศึกษาจากระดับสากลสู่ทิศทางและนโยบายสะเต็มศึกษาในประเทศไทย
และการนำ�มาปรับใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนในประเทศ นอกจากนี้ ยังมี
นิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ การประชุมปฏิบัติการที่เป็นเวทีให้ครูนำ�เสนอ
และแลกเปลี่ยนผลงานที่ได้ดำ�เนินงานจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาในชั้นเรียน และ
การแนะแนวอาชีพด้านสะเต็มจากฑูตสะเต็ม เป็นต้น
ในปัจจุบันการบูรณาการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาถือเป็น รูปแบบการ
เรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนสามารถบูรณาการเนื้อหาทาง วิทยาศาสตร์
เข้ากับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นรอบตัว เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์และการวางแผน
ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นทักษะสำ�คัญสำ�หรับศตวรรษที่21 กล่าวคือ
สะเต็มศึกษาจะมุ่งเน้นให้เชื่อมโยงความรู้ในหลายๆ วิชาเพื่อนำ�ไปสู่การแก้ปัญหา
ในชีวิตจริง ที่นักเรียนต้องมีการวางแผนเพื่อแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติ และได้ผลลัพธ์
ออกมา ซึ่งอาจเป็นวิธีการที่ช่วยแก้ปัญหาหรือทำ�ให้ดีขึ้นหรือเกิดเป็นชิ้นงาน/โครง
งานวิทยาศาสตร์ก็ได้ นับเป็นกระบวนการทางวิศวกรรมที่เกิดขึ้นนั่นเอง กิจกรรม
สะเต็มถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาที่เพิ่มเสริมขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยง
ความรู้เข้ากับชีวิตจริง เกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายมากขึ้นในท้ายที่สุด
11พฤศจิกายน 2558 •
“4 เมกเกอร์ไทย” ตะลุย
“เมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน”
ต่อยอดไอเดีย สร้างนวัตกรรม
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำ� 4 เมกเกอร์ไทย ผู้ชนะโครงการ
ประกวด Enjoy Science: Let’s print the world ซึ่งจัดโดย สวทช.ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำ�รวจ
และผลิต จำ�กัด เข้าชมงานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ที่ประเทศเยอรมนี ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคม ที่ผ่านมา
เพื่อเปิดโอกาสให้เมกเกอร์ไทยได้เรียนรู้ถึงแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ สำ�หรับใช้ต่อยอดไอเดีย สร้างสรรค์
นวัตกรรมไทยเพื่อคนไทยในอนาคต
ดร.นำ�ชัย ชีววิวรรธน์ รองผู้อำ�นวยการฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สวทช. กล่าว
ว่า “การไปดูผลงานของเมกเกอร์ชาวเยอรมันในงานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ทำ�ให้
เมกเกอร์ไทยได้เห็นแนวคิดและความนิยมของเมกเกอร์ในแถบยุโรป ซึ่งจะเห็นว่า
มีผลงานที่เป็นหุ่นยนต์จำ�นวนมากและมีรูปแบบที่หลากหลาย งานอีกกลุ่มหนึ่งที่
เห็นชัดเจนคือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ และพอลิเมอร์ที่ใช้ในการพิมพ์ ซึ่งมีหลายแบบ
น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น พลาสติกรูปแบบใหม่ๆ ที่มีสีสันหลากหลายและยืดหยุ่นสูง
เมื่อพิมพ์ออกมาแล้วสามารถบิดและเปลี่ยนกลับเป็นรูปแบบเดิมได้ไม่เสียหาย
น่าจะนำ�มาประยุกต์กับงานต่างๆ ได้มาก 
นางสาวศิริลักษณ์ สังวาลย์วรวุฒิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของ
รางวัลชนะเลิศประเภทนักเรียน นักศึกษา จากผลงานปะการังเทียม กล่าวว่า การ
ได้มางานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ทำ�ให้ได้แรงบันดาลใจและไอเดียใหม่ๆ มาปรับ
ไปใช้กับงานค่อนข้างเยอะ เช่น ถ้วยเซรามิกที่นำ�ไปใช้ทำ�นาฬิกา ลำ�โพง วิธีคิด
12 nstda • พฤศจิกายน 2558
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
เขาน่าสนใจมากในการทำ�ผลิตภัณฑ์ และที่ชอบมากคือ อุปกรณ์ที่ชื่อ Okinesio
ซึ่งใช้เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว เวลาที่เราดึงโดยใช้แรงหรือน้ำ�หนักที่ต่างกัน
แสงที่ฉายลงบนฉากก็จะมีรูปแบบที่ต่างกันด้วย เป็นงานแบบ interactive
น่าสนใจ และคิดว่าจะลองมาปรับใช้กับงานที่ทำ�อยู่
นางสาวเสาวคนธ์ ภุมมาลี เจ้าของรางวัลชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไป
จากผลงานทศกัณฑ์ กล่าวว่า ผลงานที่ประทับใจ คือ โรบอต ซู (Robot zoo)
หุ่นยนต์แมลงที่ตัวโครงหลักทำ�จากกระดาษแข็ง เด็กๆ เห็นก็จะรู้สึกว่าน่าจะทำ�ได้
นะ แค่เอากระดาษแข็งมาใส่อิเล็กทรอนิกส์เข้าไป และผลงานAvakai ตุ๊กตาไม้ที่
ผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและวิธีการเล่นแบบดั้งเดิมของเด็กๆ เช่น การ
เล่นซ่อนหา นอกจากนี้ยังได้เห็นเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ก้าวหน้าไปมาก
สามารถพิมพ์ออกมาได้หลายวัสดุ เช่น ไม้ เงิน ทอง ทองแดง เซรามิก ทำ�ให้ได้
สัมผัสชิ้นงานจริงในงานนี้ เห็นแล้วก็มีแรงกระตุ้น อยากทำ�งานพิมพ์ 3 มิติจาก
วัสดุเหล่านี้บ้าง มันช่วยเปิดกรอบการคิดงาน ต่อยอดไอเดียได้เยอะเลยทีเดียว
นายสุพัฒ สังวรวงษ์พนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ ผู้ช่วยพัฒนาผลงานปะการังเทียม กล่าวว่า โครงการนี้ช่วยเปิด
กว้างให้เราได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเห็นนวัตกรรมมากมายที่หาดูไม่ได้ในเมือง
ไทยครับ ในงานมีหุ่นยนต์ ผลงานพิมพ์ 3 มิติเยอะมาก ผมชอบเครื่องสแกน 3
มิติ ซึ่งเขาประดิษฐ์ตัวสแกนขึ้นเอง โดยพัฒนาให้ฐานหมุนได้ แล้วใช้กล้องคิเนค
จับภาพสแกน3 มิติ และแปลงเป็นไฟล์ที่พร้อมพิมพ์เป็นชิ้นงาน3 มิติได้เลย เห็น
แล้วก็อยากศึกษาเพิ่มเติม เพื่อกลับไปพัฒนาต่อเป็นผลงานเจ๋งๆ สักชิ้นไปโชว์ใน
งานเมกเกอร์แฟร์ของประเทศไทยในปีหน้าครับ 
นางสาวทิพย์สิริ ฤทธิกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ ผู้ช่วยพัฒนาผลงานเครื่องนวดเท้า กล่าวว่า ที่ชอบมากคือ คือ
“หุ่นยนต์พ่นไฟ” ที่ชื่อว่า “เคลวิน” มีความสูง 9 เมตร กว้าง 5 เมตร สร้างขึ้น
จากตู้คอนเทนเนอร์ และใช้ไฮโดรลิกในการควบคุมให้ขยับได้ ก่อนโชว์จะเห็น
เหมือนตู้คอนเทนเนอร์สี่เหลี่ยมธรรมดา จากนั้นก็ค่อยๆ แปลงร่างจนกลาย
เป็นหุ่นยนต์ และพ่นไฟออกจากมือได้ ตื่นตาตื่นใจมาก นอกจากนี้ยังมีเปียโน
หุ่นยนต์ เครื่องทอผ้า ที่สำ�คัญเลย คือ การได้ไปเยี่ยมชม FAB LAB หน่วยงาน
OTTOBOCK และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทำ�ให้เราได้เห็นนวัตกรรมมากมาย ซึ่งช่วย
ต่อยอดสานฝันเราได้มาก ได้เห็นเทคโนโลยี ได้แนวคิด ได้มุมมองใหม่ๆ ที่จะ
นำ�กลับมาใช้พัฒนาตัวเองต่อไปค่ะ
13พฤศจิกายน 2558 •
เด็กไทยเจ๋ง! ผลงานอุปกรณ์
ดักจับแมลงเลียนแบบธรรมชาติ
คว้ารางวัลรองชนะเลิศระดับโลกจาก
Biomimicry Global Design Challenge 2015
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ส่งตัวแทน
เยาวชนไทยจากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำ�หรับเด็กและ เยาวชน หรือ Junior Science
Talent Project (JSTP) เข้าร่วมแข่งขัน “Biomimicry Global Design Challenge 2015” ซึ่งเป็นการแข่งขัน
ระดับโลก จัดโดย Biomimicry Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเยาวชนไทยทีม BioX ได้รับรางวัลรอง
ชนะเลิศในระดับประชาชนทั่วไป พร้อมคว้ารางวัลไปกว่ามูลค่า $7,500 (225,000 บาท)
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
14 nstda • พฤศจิกายน 2558
Global Biomimicry Design Challenge เป็นการเเข่งขันระดับโลก
จัดโดย Biomimicry Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Ray C. Anderson
Foundation ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยและการศึกษาที่สร้างผลกระทบทางด้านนวัตกรรม
เลียนแบบธรรมชาติ โดยให้คนจากทั่วโลกส่งนวัตกรรมที่เลียนแบบกระบวนการ
ทำ�งานของสิ่งมีชีวิต(Biomimic) ซึ่งเป็นtrend ของนวัตกรรมในช่วง5 ปีนี้ และ
โจทย์ในปีนี้เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาอาหารของโลก โดยการแข่งขันแบ่งออก
เป็นสามรอบ คือ รอบที่หนึ่งคัดจาก “ข้อเสนอโครงการ” ให้เหลือ 8 ทีมที่ได้ไป
showcase ที่SXSWEco ซึ่งเป็นการประชุมด้านนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุด
ในอเมริกาและมีการเปิดตัวนวัตกรรมที่ทันสมัยที่สุดในโลก ส่วนในรอบที่สองเป็น
รอบ “การนำ�เสนอ” ซึ่งจะมีรางวัลให้สามทีมที่ดีที่สุดคัดโดยกรรมการ ทีมที่ได้ที่
1 จะได้งบ$10,000(300,000 บาท) เพื่อนำ�ไปจัดทำ�ต้นแบบในรอบที่สามสำ�หรับ
สร้าง impact และรอบสุดท้ายจะจัดในอีก 6 เดือนข้างหน้า และทีมที่มีผลงาน
ดีที่สุดจะได้รางวัลมูลค่า $100,000 (3,000,000 บาท) 
ทั้งนี้ ทีม BioX เป็นทีมเยาวชนไทยระดับมัธยมและปริญญาตรี ซึ่งเป็น
ทีมไทยทีมเดียวที่ส่งเข้าแข่งขัน โดยเข้ารอบที่สองของการตัดสินและได้ที่สองของ
โลก (รางวัลรองชนะเลิศ) ซึ่งนับเป็นทีมที่เด็กที่สุดในการแข่งขัน โดยนวัตกรรม
ที่ส่งเข้าประกวดคือ Jube ซึ่งก็คืออุปกรณ์จับแมลงที่เลียนแบบการทำ�งานของ
ต้นไม้กินแมลง หน้าที่ของ Jube คือหาโปรตีนทางเลือก (แมลง) ให้กับท้องถิ่น
ที่ธุรกันดาร Jube ได้ถูกออกแบบให้สร้างด้วยเทคนิคเครื่องจักรสานของไทย
ทำ�ให้ Jube สามารถสร้างได้ง่ายในหลายๆ พื้นที่ด้วยอุปกรณ์ท้องถิ่น ถือได้ว่า
งานชิ้นนี้น่าสนใจเพราะมีการผสมผสานแนวคิดทาง “การเลียนแบบธรรมชาติ”
(Biomimicry) เข้ากับมุมมองทางศิลปะ และวัฒนธรรม ทำ�ให้งานมีมิติใหม่ ผนวก
กับการที่ตีโจทย์ในด้านการขาดแคลนอาหารได้ชัดเจนซึ่งเข้าตากรรมการผู้ตัดสิน
สำ�หรับรายชื่อน้องๆ เยาวชนทีมBioXTeam ได้แก่ นางสาวภูริชญา คุป
ตะจิตJSTP รุ่นที่13 กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่4 คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนที่สอง นายรัชต์ภาคศ์ ตันติแสงหิรัญ JSTP รุ่นที่ 13
กำ�ลังศึกษาระดับPreschool ณTheGovernor’sAcademy คนที่สาม นายพัทน์
ภัทรนุธาพร JSTP รุ่นที่ 12 กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 2 Arizona State
University คนที่สี่ นายกชกานต์ พรหมนรา JSTP รุ่นที่ 17 กำ�ลังศึกษาระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสภาราชินี จ.ตรัง และน้องคนสุดท้าย นางสาวทวิตา
กุลศุภกานต์ กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี ปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิ
ทลัยสงขลานครินทร์ 
นอกจากนี้ ในการเฟ้นหาเด็กและเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษทาง
วิทยาศาสตร์ และเด็กที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่กำ�ลังศึกษา
อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา หรือระดับอุดมศึกษา ให้ฝึกทำ�วิจัยและประยุกต์
วิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆ ที่มีหลากหลาย นับเป็นสิ่งที่ดีที่ส่งผลให้เด็กและ
เยาวชนเหล่านี้ สามารถพัฒนาทักษะความสามารถทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ให้
เพิ่มขึ้นอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อสร้างรากฐานวิทยาศาสตร์ที่เข้มแข็งของ
ประเทศได้ต่อไปในอนาคต
ข้อมูลเพิ่มเติม : 
1. เว็บไซต์ Global Biomimicry Design Challenge
http://challenge.biomimicry.org/en/blog/and-the-winners-are
2. เว็บไซต์ของทีม BioX http://www.biox.tech/
3. วิดีโอ presentation https://vimeo.com/140968606
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
15พฤศจิกายน 2558 •
EasyHos นำ�ทางคนไข้
หาหมอฉับไว ไม่หลงขั้นตอน
แอปพลิเคชันใหม่ พัฒนาโดยนักวิจัย สวทช. ช่วยอำ�นวยความสะดวกให้คนไข้ในการไป
พบแพทย์ที่โรงพยาบาล ทั้งทราบขั้นตอนในการติดต่อ จำ�นวนคิวในการรอ แผนผังห้องต่างๆ
ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน และแจ้งยอดค่ารักษาพยาบาล
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
16 nstda • พฤศจิกายน 2558
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
การไปใช้บริการที่โรงพยาบาลรัฐอาจเป็นฝันร้ายของใครหลายคน เพราะ
คนไข้ส่วนใหญ่ต้องรีบไปตั้งแต่เช้าเพื่อรับบัตรคิว แต่กว่าจะได้พบหมอก็ต้องนั่ง
รอนานกันเป็นชั่วโมงหรือเสียเวลาไปครึ่งค่อนวัน ครั้นจะลุกไปทำ�ธุระอื่นก็ไม่
กล้า เพราะกลัวว่าหากลุกไปแล้วอาจจะพลาดคิวของตนเอง ทำ�ให้เสียเวลาต้อง
กลับมารอคิวใหม่
คนไข้อีกจำ�นวนไม่น้อยเมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วไม่รู้ว่าจะต้องไปติดต่อ
ที่ไหน ติดต่อใคร อย่างไร หรือไม่รู้ขั้นตอนอันยุ่งยากที่ต้องปฏิบัติในโรงพยาบาล
โดยเฉพาะคนไข้ที่เพิ่งไปโรงพยาบาลนั้นครั้งแรก จะสอบถามพยาบาลหรือ
เจ้าหน้าที่ก็ไม่กล้า หรือถามไปแล้วเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนกัน ก็ยิ่งทำ�ให้
เสียเวลาด้วยกันทั้งคนไข้และพยาบาลผู้ให้บริการ ทำ�ให้หลงขั้นตอน หลงทาง
กว่าจะทราบว่าตนเองจะต้องทำ�อะไรบ้าง ก็เสียเวลาไปมาก และเกิดความรู้สึก
ว่าการไปโรงพยาบาลรัฐแต่ละครั้งไม่ราบรื่น
นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความแออัด
ในโรงพยาบาล ที่นั่งไม่เพียงพอต่อคนไข้ที่มารอคิวจำ�นวนมาก ที่จอดรถไม่
เพียงพอ เป็นต้น ส่งผลให้คนไข้เกิดความเครียด รู้สึกหงุดหงิดรำ�คาญใจ
ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ผู้ไปใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐ
ส่วนใหญ่ มักประสบพบเจอด้วยตนเองและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่นเดียวกับ
ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ นักวิจัย หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไร้สาย ข้อมูล ความมั่นคง
และนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และเป็นที่มาของการพัฒนาระบบนำ�ทางข้อมูล
แก่คนไข้ในโรงพยาบาลรัฐ หรือ อีซี่ฮอส (EasyHos)
ดร.ชาลี ให้ข้อมูลว่า อีซี่ฮอสเป็นระบบให้บริการผู้ป่วยนอก ช่วยอำ�นวย
ความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐ โดยออกแบบให้ระบบ
สามารถใช้งานได้ง่าย เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและคนไข้ไม่ต้องทำ�อะไรเพิ่ม
เติมให้ยุ่งยากมากขึ้น เพียงนำ�ข้อมูลที่ทางโรงพยาบาลมีอยู่แล้วและเป็นข้อมูลที่
คนไข้ควรจะทราบ นำ�มาวิเคราะห์ กลั่นกรอง และจัดการข้อมูลด้วยเทคนิค Big
DataAnalysis เพื่อให้มีการแสดงผลให้คนไข้ทราบผ่านแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต
หรือสมาร์ทโฟนของคนไข้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
วิธีการใช้งานอีซี่ฮอสนั้นเริ่มแรกคนไข้ต้องสแกนบาร์โค้ดหรือคิวอาร์โค้ด
ที่บัตรประจำ�ตัวของคนไข้ ระบบก็จะแสดงชื่อคนไข้ขึ้นมา พร้อมทั้งแจ้งขั้นตอน
ที่คนไข้ต้องปฏิบัติ ตั้งแต่ขั้นตอนลงทะเบียนที่แผนกผู้ป่วยนอก เมื่อลงทะเบียน
เสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงข้อมูลต่างๆ ที่คนไข้จำ�เป็นต้องทราบด้วย
ภาษาที่เข้าใจง่าย คนไข้ก็จะทราบทันทีว่าขั้นตอนต่อไปต้องทำ�อะไร สถานที่ที่
ต้องไปติดต่อ จำ�นวนคิวที่ต้องรอ และเวลาที่ใช้ไปในการรอคิว หากคนไข้ไม่
ทราบจุดที่ต้องการไปติดต่อ ก็สามารถกดปุ่มเลือกให้ระบบแสดงแผนที่ในโรง
พยาบาล ซึ่งระบบจะแสดงตำ�แหน่งที่คนไข้อยู่และตำ�แหน่งของสถานที่นั้นๆ
พร้อมเครื่องหมายบอกเส้นทางให้คนไข้เดินไปตามแผนที่อย่างง่ายดาย ทั้งนี้
คนไข้สามารถดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน อีซี่ฮอสได้ที่เว็บไซต์ของโรง
พยาบาลที่มีการใช้งานระบบอีซี่ฮอส ซึ่งวิธีการใช้งานก็อาจจะแตกต่างกันในแต่ละ
โรงพยาบาลขึ้นอยู่กับขั้นตอนการทำ�งานของแต่ละโรงพยาบาล
“จุดเด่นของอีซี่ฮอสคือ สามารถใช้ได้จริงโดยที่โรงพยาบาลไม่ต้อง
เปลี่ยนแปลงขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และไม่ต้องลงทุนเพิ่ม แต่ช่วย
ให้คนไข้สามารถทราบข้อมูลการใช้บริการของตนเองในโรงพยาบาลได้ โดย
คนไข้แทบไม่ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม และแทบไม่ต้องกดปุ่มใดๆ บนอุปกรณ์
เลย เหมือนมีเพื่อนหรือมีผู้ช่วยส่วนตัวคอยบอกอยู่ตลอดเวลาว่าต่อไปต้อง
ทำ�อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ต้องรออีกกี่คิว แต่ละคิวใช้เวลารอนานแค่ไหน ก็จะ
ช่วยคนไข้ก็ไม่ให้สับสนหรือหลงขั้นตอน ไม่เสียเวลา และไม่ต้องคอยสอบถาม
เจ้าหน้าที่” ดร.ชาลี อธิบาย
17พฤศจิกายน 2558 •
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
นักวิจัยอธิบายเพิ่มเติมว่า อีซี่ฮอสไม่ได้ช่วยให้คนไข้ได้พบแพทย์เร็วขึ้น
เพราะถึงอย่างไรคนไข้ก็ต้องรอพบแพทย์ตามคิวที่ได้รับ แต่อีซี่ฮอสจะช่วยให้คนไข้
สามารถบริหารจัดการเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หลงขั้น
ตอน ช่วยให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียดและความรู้สึกหงุดหงิดรำ�คาญ
ใจจากการรอคิวนานหรือหลงขั้นตอน
“คนไข้ที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการรอ
คิวพบแพทย์อยู่แล้ว แต่เดิมทีคนไข้ต้องนั่งรอคิวโดยที่ไม่มีทางทราบได้เลยว่าเมื่อ
ไหร่จะถึงคิวของตัวเอง จะลุกไปทำ�ธุระอย่างอื่น เช่น กินข้าว หรือไปเข้าห้องน้ำ�
ก็ไม่กล้าไป แต่เมื่อมีอีซี่ฮอส คนไข้จะรู้ได้เลยว่าตัวเองต้องรออีกกี่คิว รอนานอีก
กี่นาทีถึงจะถึงคิวเรา ก็จะสามารถลุกไปทำ�ธุระอื่นได้โดยไม่ต้องกังวล และไม่ต้อง
เสียเวลานั่งรอโดยเปล่าประโยชน์” ดร.ชาลี อธิบาย
เมื่อคนไข้ได้รับการตรวจรักษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบอีซี่ฮอสยัง
สามารถแสดงยอดใบเสร็จ รวมทั้งรายการยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้คนไข้ทราบล่วง
หน้าได้ โดยไม่ต้องรอให้ถึงคิวชำ�ระเงิน ทำ�ให้คนไข้สามารถเตรียมเงินค่าใช้จ่าย
ให้พอดีได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาหากเกิดกรณีค่ารักษาพยาบาลเกินกว่าเงินที่คนไข้
เตรียมไว้เมื่อถึงคิวจ่ายเงิน
ทีมนักวิจัยได้นำ�ระบบนำ�ทางข้อมูลแก่คนไข้ในโรงพยาบาลรัฐไปทดสอบ
ใช้งานจริงที่สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า
สามารถสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้ทั้งคนไข้และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเป็น
อย่างดี ลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล คนไข้ไม่หลงขั้นตอน ไม่เสียเวลา
หมดปัญหาคนไข้รอคิวผิดที่ ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ผิดทาง ในขณะที่พยาบาลและเจ้า
หน้าที่โรงพยาบาลก็ปฏิบัติงานหลักของตนได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องเสียเวลาค้นข้อมูล
เพื่อคอยตอบคำ�ถามคนไข้ ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สถานพยาบาลด้วย
สำ�หรับคนไข้ที่กังวลว่าข้อมูลการรักษาพยาบาลของตนอาจจะรั่วไหลได้
ก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะนักวิจัยยืนยันว่าระบบอีซี่ฮอสมีความปลอดภัยต่อข้อมูล
ของคนไข้อย่างแน่นอน เนื่องจากระบบจะแสดงเฉพาะข้อมูลที่จำ�เป็นในการ
เข้ารับบริการของคนไข้เท่านั้น และจะลบข้อมูลออกทันทีที่คนไข้ได้ผ่านขั้นตอน
นั้นๆ ไปแล้ว โดยไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆ ไว้ในสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตของผู้ใช้
ด้วยข้อเด่นดังกล่าวของระบบอีซี่ฮอส จึงได้รับรางวัลชนะเลิศจาก
การประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ หรือ Mobile
e-Government Award 2014 (MEGA 2014) และได้รับรางวัล ชมเชยจากการ
ประกวด ICT Excellence Awards 2015 ประเภทโครงการนวัตกรรม
ปัจจุบันมีการนำ�ระบบอีซี่ฮอสไปนำ�ร่องใช้งานจริงที่สถาบันทันตกรรม
และยังได้รับความสนใจเพิ่มเติมจากโรงพยาบาลรัฐอีกหลายแห่ง โดยในอนาคต
นักวิจัยมองว่าอาจจะพัฒนาแพลตฟอร์มสำ�หรับเป็นศูนย์กลางการเก็บรวบรวม
ข้อมูลการให้บริการคนไข้ของโรงพยาบาลรัฐแต่ละแห่งไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งจะ
ช่วยให้ระบบอีซี่ฮอสและโรงพยาบาลรัฐมีประสิทธิภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น
มีแอปพลิเคชันที่ช่วยอำ�นวยความสะดวกให้คนไข้ได้ใช้งานแบบนี้ การไป
พบแพทย์ที่โรงพยาบาลรัฐก็จะไม่ใช่ฝันร้ายหรือเป็นเรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป
18 nstda • พฤศจิกายน 2558
• สถาบันวิทยาการ สวทช. (NSTDA Academy) เปิดหลักสูตรการอบรมด้านการบริหาร และไอที ประจำ�เดือนพฤศจิกายน 2558 ดังนี้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2644 8150 ต่อ 81885-81887 หรือ e-mail: training@nstda.or.th
รหัส วันอบรมหลักสูตร ราคา (บาท)
LCA
CFP
CFO
STIL
PET
28 - 30 ต.ค. 58
4 - 6 พ.ย. 58
18 - 19 พ.ย. 58
5 พ.ย. - 4 ธ.ค. 58
(อบรมทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์)
2 - 4 ธ.ค. 58
หลักสูตรหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต ของ
ผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA)
หลักสูตรการประเมินคาร์บอนฟุต พรินต์ ของ
ผลิตภัณฑ์ (Carbon Foortprint of Products:
CFP)
หลักสูตรหลักการประเมินคาร์บอนฟุต พรินต์ของ
องค์กร รุ่นที่ 4 (Carbon Footprint for
Organization: CFO4)
หลักสูตรผู้นำ�ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ
นวัตกรรม (STI Leadership Program: STIL)
หลักสูตรเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ แบบพิมพ์
(Printed Electronics Technology: PET)
12,000
12,000
10,000
69,000
15,000
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
19พฤศจิกายน 2558 •
ผู้พัฒนางานไอทีเพื่อสังคมไทย
ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
ในฐานะของประชาชนคนไทยธรรมดาคนหนึ่ง หากได้มีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถของตนเองช่วยเหลือ
สังคมและประเทศชาติได้ ย่อมเป็นความภาคภูมิใจแก่ตนเองเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่นดอกเตอร์หนุ่มจากศูนย์เทคโนโลยี
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งใช้ความรู้ด้านไอที คิดค้นและพัฒนาผลงานมาช่วยเหลือสังคม
และประเทศชาติมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ที่นำ�ไปใช้ช่วยชีวิตทหารชายแดนภาคใต้
ดิกชันนารี-แปลเป็นไทย Sansarn-เซิร์ชเอ็นจินภาษาไทยยุคบุกเบิก หรือ Vaja ตัวแปลง Text เป็นเสียง รวมถึง OCR
ตัวแปล Image เป็น Text เป็นต้น และล่าสุดคือ คิดค้นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน EasyHos : ระบบนำ�ทางข้อมูล
การใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐ ที่เพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application
ภาครัฐ หรือ Mobile e-Government Award 2014 (MEGA 2014)
แขกรับเชิญในสัมภาษณ์พิเศษของเราฉบับนี้ก็คือ ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไร้สายข้อมูลความมั่นคงและนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์
พลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ค่ะ
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
20 nstda • พฤศจิกายน 2558
ถาม : ขอทราบเส้นทางการศึกษาและการเข้ามาทำ�งานที่ สวทช.
เป็นมาอย่างไรคะ
ตอบ : ผมเริ่มงานที่เนคเทค(ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง
ชาติ) สวทช. เมื่อเดือนพฤษภาคม18 ปีที่แล้ว ตั้งแต่เรียนจบระดับปริญญาตรี อยู่
ห้องปฏิบัติการไมโครอิเล็กทรอนิกส์ แล้วย้ายไปอยู่งานบริการระบบสารสนเทศ ก็
ไปสายIT เลย ระหว่างนั้นผมเรียนปริญญาโทพร้อมกันไปด้วย อยู่ตรงนั้นมาจนถึง
ปี 2547 ก็ได้รับทุนไปเรียนปริญญาเอกทางด้าน Engineering Management
ผมไปเริ่มเรียนตอนปี 2548 ที่ประเทศอังกฤษ เรียนจบกลับมาในปี 2551 ครับ
การเรียนระดับปริญญาเอก ผมเลือกเรียนสาขา Knowledge Man-
agement ซึ่งอยู่ภายใต้สาขา Information Systems เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการนำ�
คอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศไปใช้ในองค์กรโดยมีคนมาเกี่ยวข้อง คือ
อันนี้คนอาจจะคิดว่ามันต่างจาก Information Technology (IT) อย่างไร
สาขาที่ผมเรียนคือศาสตร์ที่ต้องนำ�ทั้งเทคโนโลยี องค์กร และคน ทั้ง
สามอย่างนี้มารวมกัน มันจึงออกมาเป็น Information Systems ถ้าเราเลือกแต่
เทคโนโลยี แต่ไม่เอาปัจจัยอย่างองค์กร หรือคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มันก็จะ
มีแต่คำ�ว่า Hardware หรือ Software แต่ไม่มีการบอกว่ามันเป็นที่ยอมรับหรือ
ไม่ยอมรับอย่างไร ปัจจัยอย่างแนวคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม ความขัดแย้ง มัน
จะถูกนำ�มาพิจารณาด้วย ถ้าเรามองข้าม เราจะบริหาร IT ไม่ได้ อันนี้แหละ
คือสิ่งที่ไปเรียนมา ผมจบปริญญาโทด้าน IT ทำ�ให้ผมมีทักษะด้านคอมพิวเตอร์
แล้ว แต่ยังขาดทักษะด้านบริหารหรือการมองภาพกว้าง ก็เลยอยากลองศึกษาดู
ถาม : เรียนจบกลับมาชีวิตเป็นอย่างไรบ้างคะ
ตอบ : พอเรียนจบกลับมาปี 2551 ก็ได้มาอยู่ห้องแล็บที่อยู่ตอนนี้ ห้องปฏิบัติ
การวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปัจจุบันก็เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการครับ
ซึ่งในชีวิตการทำ�งานก็ไต่ระดับมาตั้งแต่ ผู้ช่วยนักวิจัย 1-2-3 นักวิจัย 1-2 แถม
ผมเคยอยู่มาทั้งงาน Support และงาน Research ทำ�ให้พอจะทราบจะมุมมอง
ตั้งแต่ระดับ Operation จนถึงตอนนี้ก็เป็นระดับหัวหน้า ก็อาจจะเป็นข้อดีอย่าง
หนึ่งที่ทำ�ให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้ในงานที่หลากหลาย
ถ้าเรามีทัศนคติต่อ
การทำ�งานไม่ดี
งานมันก็จะออกมา
ไม่ดีด้วย แต่ถึงแม้
จะออกมาดี มันก็จะ
ดีแป๊ปเดียว
เดี๋ยวก็กลับมาแย่
มันไม่ยั่งยืน
พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558

More Related Content

What's hot

NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 

What's hot (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
 

Similar to NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558

NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
20150327 newsletter-april-2015
20150327 newsletter-april-201520150327 newsletter-april-2015
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 

Similar to NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558 (20)

NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
20150327 newsletter-april-2015
20150327 newsletter-april-201520150327 newsletter-april-2015
20150327 newsletter-april-2015
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 

More from National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (9)

NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
 

NSTDA Newsletter ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558

  • 1. 1พฤศจิกายน 2558 • 4 7 11 13 9 18 19 บทความ Article 15 นำ�ทางคนไข้ หาหมอฉับไว ไม่หลงขั้นตอน สวทช./สพฐ. ร่วมกับ สกอ. จัดสัมมนาแนะนำ�แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย สวทช. จัดงานสะเต็มเดย์ มุ่งเสริมแกร่งเครือข่ายสะเต็มศึกษาไทย กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช./ไบโอเทค หนุนเกษตรกรไทย สู้เพลี้ยกระโดด ก.วิทย์ ถอดบทเรียนเหตุราชประสงค์ ดันเทคโนโลยีซีซีทีวี “4 เมกเกอร์ไทย” ตะลุย “เมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน” เด็กไทยเจ๋ง! ผลงานอุปกรณ์ดักจับแมลงเลียนแบบธรรมชาติ คว้ารางวัลรองชนะเลิศระดับโลก พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 บทสัมภาษณ์ Star ผู้พัฒนางานไอทีเพื่อสังคมไทย ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ ปฏิทินกิจกรรม Activity ในเล่ม Insight ข่าว News 2 EasyHos
  • 2. สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ร่วมมือกับ สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ในนาม “คณะทำ�งาน การเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้แผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” (Lifelong Learning Space for Thailand Digital Economy) ระหว่างวันที่ 8-9 ตุลาคม 2558 ณ โรงแรมวินเซอร์ สวีท กรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระบบการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และคลังทรัพยากร การศึกษาดิจิทัลแบบเปิด ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ของประเทศในรูปแบบดิจิทัล ตั้งแต่ความรู้ขั้น พื้นฐานจนอุดมศึกษา ความรู้วิชาการจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างทั่วถึง เท่า เทียมกัน ทุกที่ ทุกเวลา มุ่งสู่การใช้ดิจิทัลเพื่อสังคมและทรัพยากรความรู้ (Digital Society) ได้อย่างแท้จริง 2 nstda • พฤศจิกายน 2558 เชื่อมโยงความรู้ทุกระดับชั้น มุ่งสร้างเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล สวทช./สพฐ. ร่วมกับ สกอ. จัดสัมมนา แนะนำ�แหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 3. 3พฤศจิกายน 2558 • ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ประธานเปิดงาน กล่าวว่า “ตามที่รัฐบาลมีนโยบาย ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้ขับเคลื่อนที่ จะทำ�ให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัย ใหม่ได้ ซึ่งแนวทางการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหนึ่งในห้าด้านนั้น คือ การส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล (Digital Society Promo- tion) ที่เกี่ยวกับการสร้างสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพใน4 ประเด็นคือ(1) การพัฒนา ประชาชนที่สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างฉลาด มีความรับผิดชอบและเท่าทันสื่อ (2) การลดความเหลื่อมล้ำ�ดิจิทัล เช่น การบูรณาการนำ�ระบบไฟฟ้าพลังงานแสง อาทิตย์ ระบบโทรคมนาคม ระบบการเรียนอีเลิน์นนิงไปสู่ชุมชนชายขอบที่ห่าง ไกลมากๆ หรือการนำ�เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยผู้ที่บกพร่องทางการเรียนรู้เขียน หนังสือได้ ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ทางคณะทำ�งานกำ�ลังดำ�เนินการอยู่(3) การแปลงสื่อ ต่างๆให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และมีการจัดเก็บ/ จัดแสดงอย่างฉลาด เพื่อให้สังคม มีdigitalcontent พร้อมสำ�หรับการเรียนรู้ และ(4) การพัฒนาบริการดิจิทัลเพื่อ สังคม โดยมีบริการเร่งด่วนที่สุดคือ บริการการศึกษา/การเรียนรู้แบบเปิดเพื่อการ เรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นที่มาของงานสัมมนาในวันนี้” “โครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong LearningSpace ที่คณะทำ�งานการเรียนรู้ตลอดชีวิตภายใต้คณะกรรมการเตรียม การด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของหน่วย งานต่างๆ ได้แก่ สำ�นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำ�นักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา สำ�นักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ นับเป็นอีกกลไกหนึ่งที่สำ�คัญที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของสังคมไทยในโลกยุคใหม่ยุคดิจิทัลนี้ โดยโครงการนี้ จะมุ่งเน้นการบูรณาการและเชื่อมโยงคลังสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ในทุกระดับการ ศึกษา จากการศึกษาพื้นฐานไปสู่ความรู้ระดับอุดมศึกษา จากความรู้วิชาการสู่ ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นช่องทางและโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองตาม อัธยาศัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา” “การบูรณาการภายในหน่วยงานและบูรณาการข้ามหน่วยงานของทั้ง 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงไอซีที และ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดแหล่งเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อประชาชนไทย เป็นการเปิดมิติการเข้าถึงความรู้ และเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เวลา ใด ในขณะเดียวกันเมื่อเชื่อมโยงโครงการดังกล่าวเข้ากับการขับเคลื่อนของคณะ ทำ�งานอื่นๆ ภายใต้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น การขยาย โครงข่ายบรอดแบนด์เข้าถึงทุกหมู่บ้าน จะส่งผลให้เกิดความสำ�เร็จในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมไทยในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป” ประธาน เปิดงาน กล่าวสรุปเกี่ยวกับโครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โครงการการศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learn- ing) มีจุดเด่นคือ เป็นการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ อันได้แก่ โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์ฯ ของ สวทช. และ สพฐ. โครงการ DLIT ของ สพฐ. โครงการThaiMOOC ของ สกอ. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการ ศึกษาตามอัธยาศัยด้วยเทคโนโลยีออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชนอย่างเป็นรูปธรรม เน้นความร่วมมือและแบ่งปันความรู้ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระเสรี ตาม แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต(LifelongLearning) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.learn.in.th/ พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 4. 4 nstda • พฤศจิกายน 2558 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กล่าวว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เล็งเห็นความสำ�คัญของชุมชนชนบท ซึ่ง เป็นรากฐานของคนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงมีการส่งเสริมการนำ�วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม(วทน) เพื่อประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละ พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 เพิ่มรายได้-ลดการนำ�เข้าจากต่างประเทศ กระทรวงวิทย์ฯ โดย สวทช./ไบโอเทค หนุน เกษตรกรไทยนำ� วทน. สู้เพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล 8 ต.ค. 58 จ.พระนครศรีอยุธยา - ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ชาติ (สวทช.) และคณะได้เข้าเยี่ยมชมการดำ�เนินงาน “โครงการขยายผลการผลิตและการใช้งานราบิวเวอเรีย” ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำ�กัด และเครื่องสีข้าว ขนาดเล็ก ที่ทาง สวทช. โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)  ดำ�เนินการขึ้น เพื่อสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใน การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของชุมชน ชุมชน โดยได้จัดทำ� “โครงการขยายผลการผลิตและการใช้งานราบิวเวอเรีย” เพื่อ เป็นการสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการประกอบ อาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดตั้งศูนย์ผลิตหัวเชื้อรา บิวเวอเรีย เพื่อส่งให้แก่กลุ่มเกษตรกรบ้านนาคูนำ�ไปผลิตเป็นก้อนเชื้อราบิวเวอเรีย สำ�หรับใช้ในกลุ่ม และเพื่อจำ�หน่าย
  • 5. 5พฤศจิกายน 2558 • พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 พี้นที่ ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ที่ประสบกับปัญหา น้ำ�ท่วมทุกปี เนื่องจากเป็น “พื้นที่แก้มลิง” เกิดผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร โดย เฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ปลูกข้าวที่ได้รับความเสียหายมากเมื่อประสบภาวะน้ำ�ท่วม ซึ่ง สวทช. โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วม กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำ�นักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้พัฒนา พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำ�ท่วมฉับพลันมาให้เกษตรกรปลูก และร่วมกับสหกรณ์ การเกษตรผักไห่ จำ�กัด ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้ แก่เกษตรกรในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งข้าวเปลือกหอมชลสิทธิ์ผ่านการ ทำ�ความสะอาด ขัดสี อบ ลดความชื้นเพื่อคงสภาพความหอมและนุ่มก่อนบรรจุ ถุงภายใต้เครื่องหมายการค้า “อ่อนหวาน” จำ�หน่ายปลีกและขายส่ง โดยในปี 2557 มีพื้นที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์หอมชลสิทธิ์ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่ ต่ำ�กว่า2,349 ไร่ ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์รวม357 ตัน ผลผลิตข้าวเปลือกรวม1,401 ตัน สามารถสร้างมูลค่าผลผลิตกว่า 21 ล้านบาท  ซึ่งในปี 2554 แปลงนายังได้ รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลระบาดทำ�ความเสียหาย ประมาณร้อย ละ 80 ในจำ�นวนนี้แปลงนาร้อยละ 14 เสียหายทั้งหมด ประเมินมูลค่าความเสีย หายปีละไม่ต่ำ�กว่า 124 ล้านบาท  จากปัญหาความเสียหายนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ สวทช. โดย ไบโอเทค ได้ศึกษาและวิจัยเชื้อราที่ก่อโรคในแมลงเพื่อนำ�มาใช้ในการควบคุมศัตรู พืช ซึ่ง “เชื้อราบิวเวอเรีย” มีคุณสมบัติทำ�ลายแมลงหลายชนิด เช่น เพลี้ยแป้ง มันสำ�ปะหลัง เพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาล เพลี้ยอ่อน เป็นต้น และสามารถควบคุม และกำ�จัดศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) สำ�นักงานเกษตรอำ�เภอผักไห่ และสหกรณ์ การเกษตรผักไห่ จำ�กัด นำ�มาใช้และถ่ายทอดในการผลิตเชื้อบิวเวอเรียที่ สามารถใช้ป้องกันและกำ�จัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลสู่ชุมชนบ้านนาคู และผลัก ดันให้บ้านนาคูเป็น “หมู่บ้านบิวเวอเรีย” ต้นแบบหมู่บ้านแม่ข่าย ในการผลิต เชื้อบิวเวอเรีย ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรปีละ 40,000 บาท และลดการเข้า จากต่างประเทศ     ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การดำ�เนินงานนี้ สวทช. ในฐานะผู้ พัฒนาเทคโนโลยีทำ�หน้าที่ส่งมอบเชื้อตั้งต้นของราบิวเวอเรียจากห้องปฏิบัติการ ไบโอเทค ให้แก่ มทร.สุวรรณภูมิ ซึ่งรับเป็นศูนย์ผลิตหัวเชื้อราบิวเวอเรีย เพื่อส่ง ให้แก่กลุ่มเกษตรกรบ้านนาคูนำ�ไปผลิตเป็นก้อนเชื้อราบิวเวอเรีย สำ�หรับใช้ในกลุ่ม และเพื่อจำ�หน่าย โดยมีสหกรณ์การเกษตรผักไห่ จำ�กัด เป็นผู้แทนจำ�หน่ายก้อน เชื้อราบิวเวอเรียให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ในราคาก้อนละ 40 บาท สามารถสร้าง รายได้ให้กับกลุ่มรวมพลังเกษตรชีวภาพบ้านนาคู ถึงปีละ 40,000 บาท ซึ่ง ไบโอเทค/สวทช. ได้ร่วมมือกับสำ�นักงานเกษตรอำ�เภอผักไห่ ส่งเสริมให้ เกษตรกรสามารถใช้เชื้อราบิวเวอเรียเพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เกษตรกรบ้านนาคูสามารถทำ�การเกษตรแบบชีวภาพ ได้อย่างยั่งยืน คาดว่าจะสามารถลดความเสียหายของผลผลิตข้าวลงได้ถึงร้อยละ 70 หรือมูลค่ากว่า80 ล้านบาท โดยขณะนี้มีเกษตรกรในอำ�เภอผักไห่นำ�เอาเชื้อรา บิวเวอเรียไปใช้แล้ว กว่า3,000 ไร่ เมื่อคิดต้นทุนโดยเฉลี่ยแล้ว ปกติเกษตรกรจะ เสียค่าใช้จ่ายสำ�หรับค่าสารเคมีฆ่าแมลงประมาณ300 บาท/ไร่/รอบการปลูก แต่ เมื่อเปลี่ยนมาใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการกำ�จัดแมลงศัตรูพืช พบว่าเกษตรกรจะเสีย ค่าใช้จ่ายเพียง 60 บาท/ไร่/รอบการปลูกเท่านั้น นอกจากนี้ ยังนำ�เครื่องสีข้าวขนาดเล็กพัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) กำ�ลังการผลิตประมาณ150-200 กิโลกรัมข้าวเปลือก/ ชั่วโมง สามารถสีแปรรูปข้าวได้ทั้งข้าวกล้องและข้าวขาว โดยที่เกษตรกรเลือกใช้ งานได้ตามต้องการ ไม่ต้องเสียเวลากับการไปรอสีข้าวหรือเปลี่ยนข้าวกับโรงสี ขนาดใหญ่ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้งานเครื่องสีข้าวสีแปรรูปข้าว เปลือกของตนเองเป็นข้าวกล้อง และข้าวสารเพื่อการจำ�หน่าย หรือการรับจ้างสีได้ มูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ2,000-3,000 บาท/ตัน(คิดคำ�นวณในลักษณะการรับจ้างสี ข้าว) นอกจากนี้ยังได้ออกแบบให้สามารถใช้อะไหล่ชิ้นส่วน กว่า80% ที่สามารถ ซ่อมแซมได้ง่ายตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น สายพาน น็อต ลูกกระพ้อ ลูกยางกะเทาะ เปลือก ฯลฯ และใช้มอเตอร์ต้นกำ�ลังรวม 8.5 แรงม้า แบบซิงเกิลเฟส สามารถ ใช้ได้กับไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป ทำ�ให้มีต้นทุนค่าไฟฟ้าในการใช้งานต่ำ�” ทั้งนี้ ยังได้ สร้างเครื่องแยกข้าวเปลือกและ ข้าวกล้องมาใช้ร่วมกับเครื่องสีข้าวดังกล่าว เพื่อ ให้ได้ข้าวกล้องที่สะอาดไม่มีข้าวเปลือกปน พร้อมนำ�ไปบรรจุขายได้ทันที ช่วย ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างสีข้าวของสหกรณ์ จำ�นวน 4 แสนบาทต่อปี สร้างรายได้ เพิ่มขึ้นให้เกษตรกร ช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องจักร กลการเกษตรในประเทศให้มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เครื่องสีข้าวขนาดเล็กให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น มีราคาที่เหมาะสมสำ�หรับจำ�หน่ายในชุมชนเกษตรกร และ ช่วยลดการนำ�เข้าเครื่องสีข้าวขนาดเล็กจากต่างประเทศ
  • 6. 6 nstda • พฤศจิกายน 2558 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 7. 7พฤศจิกายน 2558 • ก.วิทย์ ถอดบทเรียนเหตุราชประสงค์ ดันเทคโนโลยีซีซีทีวีเพื่อความมั่นคง และปลอดภัยของสังคมไทย ต่อยอดการใช้งานรองรับสังคมผู้สูงอายุ พร้อมเปิดตัวซีซีทีวี คอนซอร์เตียม อย่างเป็นทางการ พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 15 ตุลาคม 2558 ณ ห้องจูปิเตอร์ 11-14 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี/กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งสร้างความ ตระหนักและความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อสนับสนุนนโยบายการสร้างเมืองให้เป็น “สมาร์ท ซิตี้” ระดมองค์กรภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบซีซีทีวีในงานสัมมนา Smart Society Smart Security สร้างเมืองให้ปลอดภัยด้วยน้ำ�ใจและเทคโนโลยี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน
  • 8. 8 nstda • พฤศจิกายน 2558 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 ดร.พิเชฐ กล่าวว่า รัฐบาลมีภารกิจสำ�คัญในการสร้างความเข้มแข็ง ด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งถือเป็นรากฐานของประเทศควบคู่ไปกับความมั่นคง และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และจากบทเรียนในเหตุระเบิดที่ ราชประสงค์ซึ่งทำ�ให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำ�คัญของเทคโนโลยีมากขี้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเล็งเห็นถึงความสำ�คัญของเทคโนโลยี ซีซีทีวี แอนาลิติกส์(CCTVAnalytic) เพื่อตอบโจทย์สังคมให้เป็นสังคมที่มีความปลอดภัย สูงขึ้น ขณะเดียวกันได้ตั้งเป้าที่จะพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีนี้ เพื่อความปลอดภัย และลดการนำ�เข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ประเทศไทยกำ�ลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งเทคโนโลยีซีซีทีวีจะช่วยอำ�นวยความ สะดวกและลดการเกิดอุบัติเหตุในกลุ่ม เป้าหมายได้     ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน นโยบายการสร้างเมืองให้เป็นสมาร์ท ซิตี้ ที่มั่นคง ปลอดภัยด้วยพลังของสังคม โดยการใช้ซีซีทีวีในรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ให้ผู้ที่ สัญจรบนถนนมีความสะดวกมากขึ้น สามารถกดดูสภาพการจราจรได้ล่วงหน้า หากเกิดเหตุอาชญากรรม ผู้รักษากฏหมายก็สามารถติดตามสืบค้นข้อมูลใน อดีตได้อย่างรวดเร็ว  และก่อนเกิดเหตุอาชญากรรม ระบบวิเคราะห์ภาพอาจจะ สามารถแจ้งเตือนถึงเหตุการณ์ที่ผิดปกติที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นได้ ทำ�ให้เราสามารถ เฝ้าระวังและป้องกันเหตุได้อย่างทันท่วงที     ทั้งนี้ ภายในงานยังได้มีการจัดงานวิชาการ การบรรยาย การจัดแสดง นิทรรศการจากผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ อาทิ บริษัท Huawei, SECOM, Bosch, Panasonic, Digital Focus เป็นต้น อีกทั้งยังมีการสาธิตการ เชื่อมโยงซีซีทีวี แอนาลิติกส์ โมดูล กับซีซีทีวีรุ่นต่างๆ ของสมาชิกผ่านเพลตฟอร์ม กลาง เพื่อแสดงให้เห็นว่าในอนาคตสมาชิกซีซีทีวี คอนซอร์เตียม สามารถเชื่อม หากันและเลือกใช้แอนาลิติกส์ได้ตามต้องการ
  • 9. 9พฤศจิกายน 2558 • 19 ตุลาคม 2558 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - สำ�นักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงาน “STEM DAY: เรียนรู้ให้สนุก ฝึกคิดแบบสะเต็ม เติมเต็มทักษะชีวิต” ระหว่างวันที่ 19-20 ต.ค. 58 เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ครู ผู้ปกครอง เยาวชน เครือ ข่ายภาครัฐและเอกชน ตระหนักถึงคุณค่าของการเรียนรู้ในศาสตร์ 4 ด้านคือ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) โดยนำ�ความ รู้ต่างศาสตร์มาเชื่อมโยงกันและนำ�สู่การแก้ปัญหาในชีวิตจริง ที่ต้องวางแผน แก้ปัญหา ลงมือทำ� จนเกิดเป็น วิธีการหรือกระบวนการที่เป็นรูปธรรมชัดเจน รวมทั้งเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพครูแกนนำ�ผู้สอนสะเต็ม ศึกษาให้สามารถจัดการเรียนการสอนด้านสะเต็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีครู นักเรียน และผู้สนใจในวงการ สะเต็มศึกษาเข้าร่วมงานกว่า 400 คน พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 สวทช. จัดงานสะเต็มเดย์ มุ่งเสริมแกร่งเครือข่ายสะเต็มศึกษาไทย ยกระดับการเรียนรู้วิทย์ คณิต และไอทีของประเทศ
  • 10. 10 nstda • พฤศจิกายน 2558 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวว่า “สวทช. ได้กำ�หนดให้การพัฒนากำ�ลังคนและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเป็นพันธกิจหนึ่งขององค์กร ซึ่งดำ�เนินงานร่วมกับพันธมิตรทั้งภาค รัฐ ภาคเอกชน และชุมชน มาเป็นเวลานาน และในโอกาสที่สำ�นักงานคณะ กรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน.) ให้การ สนับสนุน สวทช. จัดทำ�โครงการ “ส่งเสริมการใช้ศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อขับ เคลื่อนนวัตกรรมโดยการยกระดับและทักษะความรู้ด้านSTEM ให้แก่ นักเรียน ครู และบุคลากรวัยทำ�งาน” ในปีงบประมาณ 2557 ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ 2558 ทำ�ให้การดำ�เนินงานที่ผ่านมาเน้นแนวทาง STEM เพื่อเตรียมเยาวชนทั้งที่อยู่ใน ระบบและนอกระบบการศึกษา และบุคลากรกลุ่มแรงงานหรือ STEM Workforce เพิ่มทักษะและคุณภาพด้าน STEM ให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น ด้วยการทำ�งานร่วม กับเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ บริษัทอินเทลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย จำ�กัด เพื่อสร้างบุคลากรในสาขาสะเต็มให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งการเชื่อมโยงการเรียนรู้โดยใช้โจทย์วิจัยและศักยภาพของนักวิจัยจาก 4 ศูนย์แห่งชาติของ สวทช. คือ ไบโอเทค เนคเทค เอ็มเทค และนาโนเทค การ ทำ�งานร่วมกับคลัสเตอร์วิจัยต่างๆ และใช้ประโยชน์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร และความสามารถการบริหารงานด้านพัฒนาบุคลากร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสำ�นักพัฒนากำ�ลังคน สวทช. อย่างเต็มศักยภาพ”   “โดยการดำ�เนินงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557 - สิงหาคม 2558 โครง การฯ ได้พัฒนาต้นแบบสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ หลักสูตรการจัดอบรม และแนวทาง การจัดกิจกรรมด้านสะเต็มที่เหมาะสมและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ได้แก่ เยาวชน ผู้ปกครอง ครู ตลอดจนบุคลากรวัยทำ�งานได้มากกว่า 12,000 คน จึง ได้จัดงาน “STEM Day 2015: เรียนรู้ให้สนุก ฝึกคิดแบบสะเต็ม เติมเต็มทักษะ ชีวิต” ครั้งนี้ขึ้น ซึ่งนับเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การ ขับเคลื่อนสะเต็มศึกษา ตั้งแต่เด็กและเยาวชน ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ชุมชน นักวิจัย ผู้ประกอบการ และผู้บริหารสายงานด้านการศึกษา ได้สรุปผลงานที่ ผ่านมา พร้อมนำ�เสนอกรณีตัวอย่างนวัตกรรมที่เกิดขึ้น รวมทั้งหารือแลกเปลี่ยน ถึงแนวทางการทำ�งานด้าน STEM Education และการพัฒนา STEM Workforce ต่อไปในอนาคต ถือเป็นกิจกรรมที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่ายสะเต็มศึกษา เพื่อยกระดับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และกระตุ้น ความสนใจให้เด็กและเยาวชนรู้จักการนำ�ความรู้ด้านสะเต็มไปใช้ประโยชน์ทั้ง ในชีวิตประจำ�วันและการทำ�งานในอนาคต รวมทั้งพัฒนาครูให้มีความสามารถ ในการจัดการเรียนการสอนด้านสะเต็ม ตลอดจนพัฒนาบุคลากรวัยทำ�งานให้มี ทักษะและความรู้ในการทำ�งานที่จำ�เป็นต่อการสร้างอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ดีขึ้น และเพิ่มผลิตภาพได้ต่อไป”   ทั้งนี้ งาน STEM DAY 2015 ประกอบด้วยกิจกรรมไฮไลต์ อาทิ การ บรรยายพิเศษเรื่อง สะเต็มศึกษากับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ที่ปรึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี/ รองประธาน กรรมการ สสค. ที่พูดถึงความจำ�เป็นในการปรับการเรียนการสอนเพื่อนำ�พา เด็กและเยาวชนเข้าสู่โลกในศตวรรษที่ 21 และเรื่อง ทิศทางของสะเต็มศึกษา ในประเทศไทย โดย ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำ�นวยการ สสวท. ที่พูดถึง สะเต็มศึกษาจากระดับสากลสู่ทิศทางและนโยบายสะเต็มศึกษาในประเทศไทย และการนำ�มาปรับใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนในประเทศ นอกจากนี้ ยังมี นิทรรศการจากหน่วยงานต่างๆ การประชุมปฏิบัติการที่เป็นเวทีให้ครูนำ�เสนอ และแลกเปลี่ยนผลงานที่ได้ดำ�เนินงานจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาในชั้นเรียน และ การแนะแนวอาชีพด้านสะเต็มจากฑูตสะเต็ม เป็นต้น ในปัจจุบันการบูรณาการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาถือเป็น รูปแบบการ เรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนสามารถบูรณาการเนื้อหาทาง วิทยาศาสตร์ เข้ากับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นรอบตัว เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์และการวางแผน ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นทักษะสำ�คัญสำ�หรับศตวรรษที่21 กล่าวคือ สะเต็มศึกษาจะมุ่งเน้นให้เชื่อมโยงความรู้ในหลายๆ วิชาเพื่อนำ�ไปสู่การแก้ปัญหา ในชีวิตจริง ที่นักเรียนต้องมีการวางแผนเพื่อแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติ และได้ผลลัพธ์ ออกมา ซึ่งอาจเป็นวิธีการที่ช่วยแก้ปัญหาหรือทำ�ให้ดีขึ้นหรือเกิดเป็นชิ้นงาน/โครง งานวิทยาศาสตร์ก็ได้ นับเป็นกระบวนการทางวิศวกรรมที่เกิดขึ้นนั่นเอง กิจกรรม สะเต็มถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาที่เพิ่มเสริมขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยง ความรู้เข้ากับชีวิตจริง เกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายมากขึ้นในท้ายที่สุด
  • 11. 11พฤศจิกายน 2558 • “4 เมกเกอร์ไทย” ตะลุย “เมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน” ต่อยอดไอเดีย สร้างนวัตกรรม พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำ� 4 เมกเกอร์ไทย ผู้ชนะโครงการ ประกวด Enjoy Science: Let’s print the world ซึ่งจัดโดย สวทช.ร่วมกับ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำ�รวจ และผลิต จำ�กัด เข้าชมงานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ที่ประเทศเยอรมนี ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อเปิดโอกาสให้เมกเกอร์ไทยได้เรียนรู้ถึงแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ สำ�หรับใช้ต่อยอดไอเดีย สร้างสรรค์ นวัตกรรมไทยเพื่อคนไทยในอนาคต ดร.นำ�ชัย ชีววิวรรธน์ รองผู้อำ�นวยการฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สวทช. กล่าว ว่า “การไปดูผลงานของเมกเกอร์ชาวเยอรมันในงานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ทำ�ให้ เมกเกอร์ไทยได้เห็นแนวคิดและความนิยมของเมกเกอร์ในแถบยุโรป ซึ่งจะเห็นว่า มีผลงานที่เป็นหุ่นยนต์จำ�นวนมากและมีรูปแบบที่หลากหลาย งานอีกกลุ่มหนึ่งที่ เห็นชัดเจนคือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ และพอลิเมอร์ที่ใช้ในการพิมพ์ ซึ่งมีหลายแบบ น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น พลาสติกรูปแบบใหม่ๆ ที่มีสีสันหลากหลายและยืดหยุ่นสูง เมื่อพิมพ์ออกมาแล้วสามารถบิดและเปลี่ยนกลับเป็นรูปแบบเดิมได้ไม่เสียหาย น่าจะนำ�มาประยุกต์กับงานต่างๆ ได้มาก  นางสาวศิริลักษณ์ สังวาลย์วรวุฒิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของ รางวัลชนะเลิศประเภทนักเรียน นักศึกษา จากผลงานปะการังเทียม กล่าวว่า การ ได้มางานเมกเกอร์แฟร์ เบอร์ลิน ทำ�ให้ได้แรงบันดาลใจและไอเดียใหม่ๆ มาปรับ ไปใช้กับงานค่อนข้างเยอะ เช่น ถ้วยเซรามิกที่นำ�ไปใช้ทำ�นาฬิกา ลำ�โพง วิธีคิด
  • 12. 12 nstda • พฤศจิกายน 2558 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 เขาน่าสนใจมากในการทำ�ผลิตภัณฑ์ และที่ชอบมากคือ อุปกรณ์ที่ชื่อ Okinesio ซึ่งใช้เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว เวลาที่เราดึงโดยใช้แรงหรือน้ำ�หนักที่ต่างกัน แสงที่ฉายลงบนฉากก็จะมีรูปแบบที่ต่างกันด้วย เป็นงานแบบ interactive น่าสนใจ และคิดว่าจะลองมาปรับใช้กับงานที่ทำ�อยู่ นางสาวเสาวคนธ์ ภุมมาลี เจ้าของรางวัลชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไป จากผลงานทศกัณฑ์ กล่าวว่า ผลงานที่ประทับใจ คือ โรบอต ซู (Robot zoo) หุ่นยนต์แมลงที่ตัวโครงหลักทำ�จากกระดาษแข็ง เด็กๆ เห็นก็จะรู้สึกว่าน่าจะทำ�ได้ นะ แค่เอากระดาษแข็งมาใส่อิเล็กทรอนิกส์เข้าไป และผลงานAvakai ตุ๊กตาไม้ที่ ผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและวิธีการเล่นแบบดั้งเดิมของเด็กๆ เช่น การ เล่นซ่อนหา นอกจากนี้ยังได้เห็นเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่ก้าวหน้าไปมาก สามารถพิมพ์ออกมาได้หลายวัสดุ เช่น ไม้ เงิน ทอง ทองแดง เซรามิก ทำ�ให้ได้ สัมผัสชิ้นงานจริงในงานนี้ เห็นแล้วก็มีแรงกระตุ้น อยากทำ�งานพิมพ์ 3 มิติจาก วัสดุเหล่านี้บ้าง มันช่วยเปิดกรอบการคิดงาน ต่อยอดไอเดียได้เยอะเลยทีเดียว นายสุพัฒ สังวรวงษ์พนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ผู้ช่วยพัฒนาผลงานปะการังเทียม กล่าวว่า โครงการนี้ช่วยเปิด กว้างให้เราได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเห็นนวัตกรรมมากมายที่หาดูไม่ได้ในเมือง ไทยครับ ในงานมีหุ่นยนต์ ผลงานพิมพ์ 3 มิติเยอะมาก ผมชอบเครื่องสแกน 3 มิติ ซึ่งเขาประดิษฐ์ตัวสแกนขึ้นเอง โดยพัฒนาให้ฐานหมุนได้ แล้วใช้กล้องคิเนค จับภาพสแกน3 มิติ และแปลงเป็นไฟล์ที่พร้อมพิมพ์เป็นชิ้นงาน3 มิติได้เลย เห็น แล้วก็อยากศึกษาเพิ่มเติม เพื่อกลับไปพัฒนาต่อเป็นผลงานเจ๋งๆ สักชิ้นไปโชว์ใน งานเมกเกอร์แฟร์ของประเทศไทยในปีหน้าครับ  นางสาวทิพย์สิริ ฤทธิกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ผู้ช่วยพัฒนาผลงานเครื่องนวดเท้า กล่าวว่า ที่ชอบมากคือ คือ “หุ่นยนต์พ่นไฟ” ที่ชื่อว่า “เคลวิน” มีความสูง 9 เมตร กว้าง 5 เมตร สร้างขึ้น จากตู้คอนเทนเนอร์ และใช้ไฮโดรลิกในการควบคุมให้ขยับได้ ก่อนโชว์จะเห็น เหมือนตู้คอนเทนเนอร์สี่เหลี่ยมธรรมดา จากนั้นก็ค่อยๆ แปลงร่างจนกลาย เป็นหุ่นยนต์ และพ่นไฟออกจากมือได้ ตื่นตาตื่นใจมาก นอกจากนี้ยังมีเปียโน หุ่นยนต์ เครื่องทอผ้า ที่สำ�คัญเลย คือ การได้ไปเยี่ยมชม FAB LAB หน่วยงาน OTTOBOCK และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทำ�ให้เราได้เห็นนวัตกรรมมากมาย ซึ่งช่วย ต่อยอดสานฝันเราได้มาก ได้เห็นเทคโนโลยี ได้แนวคิด ได้มุมมองใหม่ๆ ที่จะ นำ�กลับมาใช้พัฒนาตัวเองต่อไปค่ะ
  • 13. 13พฤศจิกายน 2558 • เด็กไทยเจ๋ง! ผลงานอุปกรณ์ ดักจับแมลงเลียนแบบธรรมชาติ คว้ารางวัลรองชนะเลิศระดับโลกจาก Biomimicry Global Design Challenge 2015 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ส่งตัวแทน เยาวชนไทยจากโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์สำ�หรับเด็กและ เยาวชน หรือ Junior Science Talent Project (JSTP) เข้าร่วมแข่งขัน “Biomimicry Global Design Challenge 2015” ซึ่งเป็นการแข่งขัน ระดับโลก จัดโดย Biomimicry Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเยาวชนไทยทีม BioX ได้รับรางวัลรอง ชนะเลิศในระดับประชาชนทั่วไป พร้อมคว้ารางวัลไปกว่ามูลค่า $7,500 (225,000 บาท) พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 14. 14 nstda • พฤศจิกายน 2558 Global Biomimicry Design Challenge เป็นการเเข่งขันระดับโลก จัดโดย Biomimicry Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Ray C. Anderson Foundation ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยและการศึกษาที่สร้างผลกระทบทางด้านนวัตกรรม เลียนแบบธรรมชาติ โดยให้คนจากทั่วโลกส่งนวัตกรรมที่เลียนแบบกระบวนการ ทำ�งานของสิ่งมีชีวิต(Biomimic) ซึ่งเป็นtrend ของนวัตกรรมในช่วง5 ปีนี้ และ โจทย์ในปีนี้เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาอาหารของโลก โดยการแข่งขันแบ่งออก เป็นสามรอบ คือ รอบที่หนึ่งคัดจาก “ข้อเสนอโครงการ” ให้เหลือ 8 ทีมที่ได้ไป showcase ที่SXSWEco ซึ่งเป็นการประชุมด้านนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุด ในอเมริกาและมีการเปิดตัวนวัตกรรมที่ทันสมัยที่สุดในโลก ส่วนในรอบที่สองเป็น รอบ “การนำ�เสนอ” ซึ่งจะมีรางวัลให้สามทีมที่ดีที่สุดคัดโดยกรรมการ ทีมที่ได้ที่ 1 จะได้งบ$10,000(300,000 บาท) เพื่อนำ�ไปจัดทำ�ต้นแบบในรอบที่สามสำ�หรับ สร้าง impact และรอบสุดท้ายจะจัดในอีก 6 เดือนข้างหน้า และทีมที่มีผลงาน ดีที่สุดจะได้รางวัลมูลค่า $100,000 (3,000,000 บาท)  ทั้งนี้ ทีม BioX เป็นทีมเยาวชนไทยระดับมัธยมและปริญญาตรี ซึ่งเป็น ทีมไทยทีมเดียวที่ส่งเข้าแข่งขัน โดยเข้ารอบที่สองของการตัดสินและได้ที่สองของ โลก (รางวัลรองชนะเลิศ) ซึ่งนับเป็นทีมที่เด็กที่สุดในการแข่งขัน โดยนวัตกรรม ที่ส่งเข้าประกวดคือ Jube ซึ่งก็คืออุปกรณ์จับแมลงที่เลียนแบบการทำ�งานของ ต้นไม้กินแมลง หน้าที่ของ Jube คือหาโปรตีนทางเลือก (แมลง) ให้กับท้องถิ่น ที่ธุรกันดาร Jube ได้ถูกออกแบบให้สร้างด้วยเทคนิคเครื่องจักรสานของไทย ทำ�ให้ Jube สามารถสร้างได้ง่ายในหลายๆ พื้นที่ด้วยอุปกรณ์ท้องถิ่น ถือได้ว่า งานชิ้นนี้น่าสนใจเพราะมีการผสมผสานแนวคิดทาง “การเลียนแบบธรรมชาติ” (Biomimicry) เข้ากับมุมมองทางศิลปะ และวัฒนธรรม ทำ�ให้งานมีมิติใหม่ ผนวก กับการที่ตีโจทย์ในด้านการขาดแคลนอาหารได้ชัดเจนซึ่งเข้าตากรรมการผู้ตัดสิน สำ�หรับรายชื่อน้องๆ เยาวชนทีมBioXTeam ได้แก่ นางสาวภูริชญา คุป ตะจิตJSTP รุ่นที่13 กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนที่สอง นายรัชต์ภาคศ์ ตันติแสงหิรัญ JSTP รุ่นที่ 13 กำ�ลังศึกษาระดับPreschool ณTheGovernor’sAcademy คนที่สาม นายพัทน์ ภัทรนุธาพร JSTP รุ่นที่ 12 กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีปีที่ 2 Arizona State University คนที่สี่ นายกชกานต์ พรหมนรา JSTP รุ่นที่ 17 กำ�ลังศึกษาระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสภาราชินี จ.ตรัง และน้องคนสุดท้าย นางสาวทวิตา กุลศุภกานต์ กำ�ลังศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี ปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิ ทลัยสงขลานครินทร์  นอกจากนี้ ในการเฟ้นหาเด็กและเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษทาง วิทยาศาสตร์ และเด็กที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่กำ�ลังศึกษา อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา หรือระดับอุดมศึกษา ให้ฝึกทำ�วิจัยและประยุกต์ วิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆ ที่มีหลากหลาย นับเป็นสิ่งที่ดีที่ส่งผลให้เด็กและ เยาวชนเหล่านี้ สามารถพัฒนาทักษะความสามารถทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ให้ เพิ่มขึ้นอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อสร้างรากฐานวิทยาศาสตร์ที่เข้มแข็งของ ประเทศได้ต่อไปในอนาคต ข้อมูลเพิ่มเติม :  1. เว็บไซต์ Global Biomimicry Design Challenge http://challenge.biomimicry.org/en/blog/and-the-winners-are 2. เว็บไซต์ของทีม BioX http://www.biox.tech/ 3. วิดีโอ presentation https://vimeo.com/140968606 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 15. 15พฤศจิกายน 2558 • EasyHos นำ�ทางคนไข้ หาหมอฉับไว ไม่หลงขั้นตอน แอปพลิเคชันใหม่ พัฒนาโดยนักวิจัย สวทช. ช่วยอำ�นวยความสะดวกให้คนไข้ในการไป พบแพทย์ที่โรงพยาบาล ทั้งทราบขั้นตอนในการติดต่อ จำ�นวนคิวในการรอ แผนผังห้องต่างๆ ระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน และแจ้งยอดค่ารักษาพยาบาล พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 16. 16 nstda • พฤศจิกายน 2558 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 การไปใช้บริการที่โรงพยาบาลรัฐอาจเป็นฝันร้ายของใครหลายคน เพราะ คนไข้ส่วนใหญ่ต้องรีบไปตั้งแต่เช้าเพื่อรับบัตรคิว แต่กว่าจะได้พบหมอก็ต้องนั่ง รอนานกันเป็นชั่วโมงหรือเสียเวลาไปครึ่งค่อนวัน ครั้นจะลุกไปทำ�ธุระอื่นก็ไม่ กล้า เพราะกลัวว่าหากลุกไปแล้วอาจจะพลาดคิวของตนเอง ทำ�ให้เสียเวลาต้อง กลับมารอคิวใหม่ คนไข้อีกจำ�นวนไม่น้อยเมื่อไปถึงโรงพยาบาลแล้วไม่รู้ว่าจะต้องไปติดต่อ ที่ไหน ติดต่อใคร อย่างไร หรือไม่รู้ขั้นตอนอันยุ่งยากที่ต้องปฏิบัติในโรงพยาบาล โดยเฉพาะคนไข้ที่เพิ่งไปโรงพยาบาลนั้นครั้งแรก จะสอบถามพยาบาลหรือ เจ้าหน้าที่ก็ไม่กล้า หรือถามไปแล้วเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนกัน ก็ยิ่งทำ�ให้ เสียเวลาด้วยกันทั้งคนไข้และพยาบาลผู้ให้บริการ ทำ�ให้หลงขั้นตอน หลงทาง กว่าจะทราบว่าตนเองจะต้องทำ�อะไรบ้าง ก็เสียเวลาไปมาก และเกิดความรู้สึก ว่าการไปโรงพยาบาลรัฐแต่ละครั้งไม่ราบรื่น นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความแออัด ในโรงพยาบาล ที่นั่งไม่เพียงพอต่อคนไข้ที่มารอคิวจำ�นวนมาก ที่จอดรถไม่ เพียงพอ เป็นต้น ส่งผลให้คนไข้เกิดความเครียด รู้สึกหงุดหงิดรำ�คาญใจ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ผู้ไปใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐ ส่วนใหญ่ มักประสบพบเจอด้วยตนเองและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่นเดียวกับ ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ นักวิจัย หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไร้สาย ข้อมูล ความมั่นคง และนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และเป็นที่มาของการพัฒนาระบบนำ�ทางข้อมูล แก่คนไข้ในโรงพยาบาลรัฐ หรือ อีซี่ฮอส (EasyHos) ดร.ชาลี ให้ข้อมูลว่า อีซี่ฮอสเป็นระบบให้บริการผู้ป่วยนอก ช่วยอำ�นวย ความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐ โดยออกแบบให้ระบบ สามารถใช้งานได้ง่าย เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและคนไข้ไม่ต้องทำ�อะไรเพิ่ม เติมให้ยุ่งยากมากขึ้น เพียงนำ�ข้อมูลที่ทางโรงพยาบาลมีอยู่แล้วและเป็นข้อมูลที่ คนไข้ควรจะทราบ นำ�มาวิเคราะห์ กลั่นกรอง และจัดการข้อมูลด้วยเทคนิค Big DataAnalysis เพื่อให้มีการแสดงผลให้คนไข้ทราบผ่านแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนของคนไข้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ วิธีการใช้งานอีซี่ฮอสนั้นเริ่มแรกคนไข้ต้องสแกนบาร์โค้ดหรือคิวอาร์โค้ด ที่บัตรประจำ�ตัวของคนไข้ ระบบก็จะแสดงชื่อคนไข้ขึ้นมา พร้อมทั้งแจ้งขั้นตอน ที่คนไข้ต้องปฏิบัติ ตั้งแต่ขั้นตอนลงทะเบียนที่แผนกผู้ป่วยนอก เมื่อลงทะเบียน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงข้อมูลต่างๆ ที่คนไข้จำ�เป็นต้องทราบด้วย ภาษาที่เข้าใจง่าย คนไข้ก็จะทราบทันทีว่าขั้นตอนต่อไปต้องทำ�อะไร สถานที่ที่ ต้องไปติดต่อ จำ�นวนคิวที่ต้องรอ และเวลาที่ใช้ไปในการรอคิว หากคนไข้ไม่ ทราบจุดที่ต้องการไปติดต่อ ก็สามารถกดปุ่มเลือกให้ระบบแสดงแผนที่ในโรง พยาบาล ซึ่งระบบจะแสดงตำ�แหน่งที่คนไข้อยู่และตำ�แหน่งของสถานที่นั้นๆ พร้อมเครื่องหมายบอกเส้นทางให้คนไข้เดินไปตามแผนที่อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ คนไข้สามารถดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งแอปพลิเคชัน อีซี่ฮอสได้ที่เว็บไซต์ของโรง พยาบาลที่มีการใช้งานระบบอีซี่ฮอส ซึ่งวิธีการใช้งานก็อาจจะแตกต่างกันในแต่ละ โรงพยาบาลขึ้นอยู่กับขั้นตอนการทำ�งานของแต่ละโรงพยาบาล “จุดเด่นของอีซี่ฮอสคือ สามารถใช้ได้จริงโดยที่โรงพยาบาลไม่ต้อง เปลี่ยนแปลงขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และไม่ต้องลงทุนเพิ่ม แต่ช่วย ให้คนไข้สามารถทราบข้อมูลการใช้บริการของตนเองในโรงพยาบาลได้ โดย คนไข้แทบไม่ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม และแทบไม่ต้องกดปุ่มใดๆ บนอุปกรณ์ เลย เหมือนมีเพื่อนหรือมีผู้ช่วยส่วนตัวคอยบอกอยู่ตลอดเวลาว่าต่อไปต้อง ทำ�อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ต้องรออีกกี่คิว แต่ละคิวใช้เวลารอนานแค่ไหน ก็จะ ช่วยคนไข้ก็ไม่ให้สับสนหรือหลงขั้นตอน ไม่เสียเวลา และไม่ต้องคอยสอบถาม เจ้าหน้าที่” ดร.ชาลี อธิบาย
  • 17. 17พฤศจิกายน 2558 • พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8 นักวิจัยอธิบายเพิ่มเติมว่า อีซี่ฮอสไม่ได้ช่วยให้คนไข้ได้พบแพทย์เร็วขึ้น เพราะถึงอย่างไรคนไข้ก็ต้องรอพบแพทย์ตามคิวที่ได้รับ แต่อีซี่ฮอสจะช่วยให้คนไข้ สามารถบริหารจัดการเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หลงขั้น ตอน ช่วยให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียดและความรู้สึกหงุดหงิดรำ�คาญ ใจจากการรอคิวนานหรือหลงขั้นตอน “คนไข้ที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการรอ คิวพบแพทย์อยู่แล้ว แต่เดิมทีคนไข้ต้องนั่งรอคิวโดยที่ไม่มีทางทราบได้เลยว่าเมื่อ ไหร่จะถึงคิวของตัวเอง จะลุกไปทำ�ธุระอย่างอื่น เช่น กินข้าว หรือไปเข้าห้องน้ำ� ก็ไม่กล้าไป แต่เมื่อมีอีซี่ฮอส คนไข้จะรู้ได้เลยว่าตัวเองต้องรออีกกี่คิว รอนานอีก กี่นาทีถึงจะถึงคิวเรา ก็จะสามารถลุกไปทำ�ธุระอื่นได้โดยไม่ต้องกังวล และไม่ต้อง เสียเวลานั่งรอโดยเปล่าประโยชน์” ดร.ชาลี อธิบาย เมื่อคนไข้ได้รับการตรวจรักษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบอีซี่ฮอสยัง สามารถแสดงยอดใบเสร็จ รวมทั้งรายการยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้คนไข้ทราบล่วง หน้าได้ โดยไม่ต้องรอให้ถึงคิวชำ�ระเงิน ทำ�ให้คนไข้สามารถเตรียมเงินค่าใช้จ่าย ให้พอดีได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาหากเกิดกรณีค่ารักษาพยาบาลเกินกว่าเงินที่คนไข้ เตรียมไว้เมื่อถึงคิวจ่ายเงิน ทีมนักวิจัยได้นำ�ระบบนำ�ทางข้อมูลแก่คนไข้ในโรงพยาบาลรัฐไปทดสอบ ใช้งานจริงที่สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า สามารถสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ใช้ทั้งคนไข้และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเป็น อย่างดี ลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล คนไข้ไม่หลงขั้นตอน ไม่เสียเวลา หมดปัญหาคนไข้รอคิวผิดที่ ไปติดต่อเจ้าหน้าที่ผิดทาง ในขณะที่พยาบาลและเจ้า หน้าที่โรงพยาบาลก็ปฏิบัติงานหลักของตนได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องเสียเวลาค้นข้อมูล เพื่อคอยตอบคำ�ถามคนไข้ ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สถานพยาบาลด้วย สำ�หรับคนไข้ที่กังวลว่าข้อมูลการรักษาพยาบาลของตนอาจจะรั่วไหลได้ ก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะนักวิจัยยืนยันว่าระบบอีซี่ฮอสมีความปลอดภัยต่อข้อมูล ของคนไข้อย่างแน่นอน เนื่องจากระบบจะแสดงเฉพาะข้อมูลที่จำ�เป็นในการ เข้ารับบริการของคนไข้เท่านั้น และจะลบข้อมูลออกทันทีที่คนไข้ได้ผ่านขั้นตอน นั้นๆ ไปแล้ว โดยไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆ ไว้ในสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตของผู้ใช้ ด้วยข้อเด่นดังกล่าวของระบบอีซี่ฮอส จึงได้รับรางวัลชนะเลิศจาก การประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ หรือ Mobile e-Government Award 2014 (MEGA 2014) และได้รับรางวัล ชมเชยจากการ ประกวด ICT Excellence Awards 2015 ประเภทโครงการนวัตกรรม ปัจจุบันมีการนำ�ระบบอีซี่ฮอสไปนำ�ร่องใช้งานจริงที่สถาบันทันตกรรม และยังได้รับความสนใจเพิ่มเติมจากโรงพยาบาลรัฐอีกหลายแห่ง โดยในอนาคต นักวิจัยมองว่าอาจจะพัฒนาแพลตฟอร์มสำ�หรับเป็นศูนย์กลางการเก็บรวบรวม ข้อมูลการให้บริการคนไข้ของโรงพยาบาลรัฐแต่ละแห่งไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งจะ ช่วยให้ระบบอีซี่ฮอสและโรงพยาบาลรัฐมีประสิทธิภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น มีแอปพลิเคชันที่ช่วยอำ�นวยความสะดวกให้คนไข้ได้ใช้งานแบบนี้ การไป พบแพทย์ที่โรงพยาบาลรัฐก็จะไม่ใช่ฝันร้ายหรือเป็นเรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป
  • 18. 18 nstda • พฤศจิกายน 2558 • สถาบันวิทยาการ สวทช. (NSTDA Academy) เปิดหลักสูตรการอบรมด้านการบริหาร และไอที ประจำ�เดือนพฤศจิกายน 2558 ดังนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2644 8150 ต่อ 81885-81887 หรือ e-mail: training@nstda.or.th รหัส วันอบรมหลักสูตร ราคา (บาท) LCA CFP CFO STIL PET 28 - 30 ต.ค. 58 4 - 6 พ.ย. 58 18 - 19 พ.ย. 58 5 พ.ย. - 4 ธ.ค. 58 (อบรมทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์) 2 - 4 ธ.ค. 58 หลักสูตรหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต ของ ผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) หลักสูตรการประเมินคาร์บอนฟุต พรินต์ ของ ผลิตภัณฑ์ (Carbon Foortprint of Products: CFP) หลักสูตรหลักการประเมินคาร์บอนฟุต พรินต์ของ องค์กร รุ่นที่ 4 (Carbon Footprint for Organization: CFO4) หลักสูตรผู้นำ�ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม (STI Leadership Program: STIL) หลักสูตรเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ แบบพิมพ์ (Printed Electronics Technology: PET) 12,000 12,000 10,000 69,000 15,000 พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 19. 19พฤศจิกายน 2558 • ผู้พัฒนางานไอทีเพื่อสังคมไทย ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะของประชาชนคนไทยธรรมดาคนหนึ่ง หากได้มีโอกาสใช้ความรู้ความสามารถของตนเองช่วยเหลือ สังคมและประเทศชาติได้ ย่อมเป็นความภาคภูมิใจแก่ตนเองเป็นอย่างยิ่ง ดังเช่นดอกเตอร์หนุ่มจากศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่งใช้ความรู้ด้านไอที คิดค้นและพัฒนาผลงานมาช่วยเหลือสังคม และประเทศชาติมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ที่นำ�ไปใช้ช่วยชีวิตทหารชายแดนภาคใต้ ดิกชันนารี-แปลเป็นไทย Sansarn-เซิร์ชเอ็นจินภาษาไทยยุคบุกเบิก หรือ Vaja ตัวแปลง Text เป็นเสียง รวมถึง OCR ตัวแปล Image เป็น Text เป็นต้น และล่าสุดคือ คิดค้นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน EasyHos : ระบบนำ�ทางข้อมูล การใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐ ที่เพิ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ หรือ Mobile e-Government Award 2014 (MEGA 2014) แขกรับเชิญในสัมภาษณ์พิเศษของเราฉบับนี้ก็คือ ดร.ชาลี วรกุลพิพัฒน์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีไร้สายข้อมูลความมั่นคงและนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ค่ะ พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8
  • 20. 20 nstda • พฤศจิกายน 2558 ถาม : ขอทราบเส้นทางการศึกษาและการเข้ามาทำ�งานที่ สวทช. เป็นมาอย่างไรคะ ตอบ : ผมเริ่มงานที่เนคเทค(ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง ชาติ) สวทช. เมื่อเดือนพฤษภาคม18 ปีที่แล้ว ตั้งแต่เรียนจบระดับปริญญาตรี อยู่ ห้องปฏิบัติการไมโครอิเล็กทรอนิกส์ แล้วย้ายไปอยู่งานบริการระบบสารสนเทศ ก็ ไปสายIT เลย ระหว่างนั้นผมเรียนปริญญาโทพร้อมกันไปด้วย อยู่ตรงนั้นมาจนถึง ปี 2547 ก็ได้รับทุนไปเรียนปริญญาเอกทางด้าน Engineering Management ผมไปเริ่มเรียนตอนปี 2548 ที่ประเทศอังกฤษ เรียนจบกลับมาในปี 2551 ครับ การเรียนระดับปริญญาเอก ผมเลือกเรียนสาขา Knowledge Man- agement ซึ่งอยู่ภายใต้สาขา Information Systems เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการนำ� คอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศไปใช้ในองค์กรโดยมีคนมาเกี่ยวข้อง คือ อันนี้คนอาจจะคิดว่ามันต่างจาก Information Technology (IT) อย่างไร สาขาที่ผมเรียนคือศาสตร์ที่ต้องนำ�ทั้งเทคโนโลยี องค์กร และคน ทั้ง สามอย่างนี้มารวมกัน มันจึงออกมาเป็น Information Systems ถ้าเราเลือกแต่ เทคโนโลยี แต่ไม่เอาปัจจัยอย่างองค์กร หรือคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มันก็จะ มีแต่คำ�ว่า Hardware หรือ Software แต่ไม่มีการบอกว่ามันเป็นที่ยอมรับหรือ ไม่ยอมรับอย่างไร ปัจจัยอย่างแนวคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม ความขัดแย้ง มัน จะถูกนำ�มาพิจารณาด้วย ถ้าเรามองข้าม เราจะบริหาร IT ไม่ได้ อันนี้แหละ คือสิ่งที่ไปเรียนมา ผมจบปริญญาโทด้าน IT ทำ�ให้ผมมีทักษะด้านคอมพิวเตอร์ แล้ว แต่ยังขาดทักษะด้านบริหารหรือการมองภาพกว้าง ก็เลยอยากลองศึกษาดู ถาม : เรียนจบกลับมาชีวิตเป็นอย่างไรบ้างคะ ตอบ : พอเรียนจบกลับมาปี 2551 ก็ได้มาอยู่ห้องแล็บที่อยู่ตอนนี้ ห้องปฏิบัติ การวิจัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปัจจุบันก็เป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการครับ ซึ่งในชีวิตการทำ�งานก็ไต่ระดับมาตั้งแต่ ผู้ช่วยนักวิจัย 1-2-3 นักวิจัย 1-2 แถม ผมเคยอยู่มาทั้งงาน Support และงาน Research ทำ�ให้พอจะทราบจะมุมมอง ตั้งแต่ระดับ Operation จนถึงตอนนี้ก็เป็นระดับหัวหน้า ก็อาจจะเป็นข้อดีอย่าง หนึ่งที่ทำ�ให้เราได้มีโอกาสเรียนรู้ในงานที่หลากหลาย ถ้าเรามีทัศนคติต่อ การทำ�งานไม่ดี งานมันก็จะออกมา ไม่ดีด้วย แต่ถึงแม้ จะออกมาดี มันก็จะ ดีแป๊ปเดียว เดี๋ยวก็กลับมาแย่ มันไม่ยั่งยืน พฤศจิกายน 2558 ฉบับที่ 8