SlideShare a Scribd company logo
1 of 16
Download to read offline
จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี
ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ประจาเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม 2560
ผู้จัดทา ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี
งานการพยาบาลจักษุ โสต ศอ นาสิกฯ ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลรามาธิบดี
หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกโสต ศอ นาสิก ฝ่ายการพยาบาลฯ สมเด็จพระเทพรัตน์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
FB page: ผรส รามา
https://www.facebook.com/LaryngectomeeRama
Email/Facebook : ent.rama.inf@gmail.com
Line ID : 003055 IG : tlg_rama Tel. 0917746482
ทุนมูลนิธิรามาธิบดี รหัส 32130008
บรรณาธิการ : พยาบาลวิชาชีพ สุทธินี สุดใจ
ที่ปรึกษาชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี
สวัสดีค่ะสมาชิกทุกท่าน ช่วงนี้อากาศก็ยังเปลี่ยนแปลงบ่อย
พายุก็เข้ามาหลายลูก แม้จะอ่อนกาลังลงแล้วก็ยังทาให้ฝนตกอยู่
บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลา เช้า เย็น ที่ต้องเดินทางไปทางานหรือกลับ
บ้าน เป็นหวัดกันงอมแงม มีหลายๆ คนถามเรื่องอาการหวัด ต้อง
รักษาไหม ตอบได้เลยว่าถ้ามีอาการเป็นหวัด ก็ต้องจิบน้าบ่อยๆ ถ้า
คอแห้ง เสมหะเหนียว แห้งแข็ง ต้องจิบน้าและดื่มน้าเพิ่มขึ้น ถ้าไม่
ไหวจริงๆ ก็ต้องพึ่งยาละลายเสมหะ ถ้าไอมากๆ จนเส้นเลือดฝอยใน
ลาคอแตก จะมีเสมหะปนเลือด วิธีเบื้องต้นคือไอให้น้อยลง ^_^ โดย
พึ่งยาแก้ไอและยาละลายเสมหะ ใช้ผ้าปิดคอเพื่อลดการระคายเคือง
จากอากาศภายนอก ช่วยกักความชื้นจากลมหายใจ ช่วยให้ทางเดิน
หายใจชุ่มชื้น ถ้าเสมหะขุ่น เปลี่ยนเป็นสีเขียว สีเหลือง มีการติดเชื้อ
ก็ต้องรับประทานยา ไปพบแพทย์ใกล้บ้านเพื่อให้ยาปฏิชีวะนะคะ ที่
สาคัญ พอหายแล้วก็ต้องทานยาที่คุณหมอสั่งต่อจนหมดเพราะมิ
เช่นนั้นจะดื้อยาค่ะ อาการจะเรื้อรังไม่หายขาด สิ่งที่อาจต้องใช้กรณี
จาเป็นเท่านั้นคือใช้น้าเกลือ 5 ml. หยดในคอค่ะ
2 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
สารบัญ
หน้าที่
บรรณาธิการ 2
สารบัญ 3
บทความวิชาการ
- ภาวะกลืนลาบากในผู้ป่วย 4
ที่ทาผ่าตัดมะเร็งศีรษะและลาคอ ตอนที่ 2
- แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกรับประทานวิตามิน 13
ในผู้ป่วยมะเร็ง
ข่าวสารสมาชิก 15
ที่ปรึกษา
พยาบาลวิชาชีพสุทธินี สุดใจ Line ID : 003055
IG : tlg_rama เบอร์โทร : 0917746482 FB page : ผรส รามา
Email : ent.rama.inf@gmail.com
https://www.facebook.com/LaryngectomeeRama
รองศาสตราจารย์ดรุณี ชุณหะวัต
Line : เบอร์โทร : 0841060202 Email : radjh1@yahoo.com
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 3
ภาวะกลืนลาบากในผู้ป่วยที่ทาผ่าตัดมะเร็งศีรษะและลาคอ
ตอนที่ 2
พยาบาลวิชาชีพสุทธินี สุดใจ
จุลสารเล่มนี้กลับมาพูดคุยกันต่อในเรื่องภาวะกลืนลาบากและ
การฝึกกลืนในผู้ที่ทาผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียงและผู้ที่ผ่านการรักษา
มะเร็งศีรษะและลาคอกันนะคะ ครั้งก่อนเราพูดกันถึงการประเมิน
ก่อนการฝึกกลืน สิ่งที่ต้องสนใจเป็นพิเศษสาหรับผู้ที่ทาผ่าตัดกล่อง
เสียงออกทั้งหมด ผ่าตัดกล่องเสียงออกบาส่วน หรือการทาผ่าตัดใน
ช่องปาก เพราะต้องให้คุณหมอจ้าของไข้เประเมินและอนุญาตก่อน
การฝึกกลืนค่ะ หลังจากคุณหมออนุญาตให้รับประทานอาหารทาง
ปากได้แล้วก็มาเริ่มบริหาร ฝึกกลืนเพื่อการกลืนที่มีประสิทธิภาพไม่มี
การสูดสาลัก และภาวะแทรกซ้อนภายหลังการทาผ่าตัด
เรามาทบทวนกันก่อนนะคะ ก่อนฝึกกลืนทุกคนต้องประเมิน
ความพร้อมในการกลืนและการสูดสาลักก่อน ถ้าผ่าน มาดูแลกันต่อ
เรื่องการรักษาความสะอาดในช่องปากและเลือกอาหารที่เหมาะสม
แล้วบริหารบริเวณช่องปากและลาคอ ฝึกกลืน และเริ่มกระบวนการ
กลืนที่ปลอดภัย
4 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
-บทความวิชาการ-
เริ่มจากการบริหารบริเวณช่องปากและลาคอ (ดัดแปลงจาก จิต
ติพร ยุบลพริ้ง ปรางทิพย์ ฉายพุทธ และ สุวิมล กิมปี, 2552) ซึ่ง
วิธีการฝึกกลืนส่วนใหญ่พัฒนามาจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มี
ปัญหาเรื่องประสาทสัมผัสและการควบคุมกล้ามเนื้อที่ควบคุมการ
เคี้ยวและกลืน สาหรับการทาผ่าตัดและการรักษามะเร็งศีรษะและ
ลาคอ บางครั้งก็มีผลต่อเส้นประสาทที่ควบคุมเรื่องการเคี้ยวและการ
ฝึกกลืน บางครั้งอาจมีผลต่อพยาธิสภาพภายในช่องปากและลาคอ
ภายหลังการรักษา การหายของแผลทาให้เกิดการดึงรั้งของแผล อาจ
ทาให้การบดเคี้ยวอาหารและการกลืนผิดปกติ ทางเดินอาหารและ
หลอดอาหารตีบแคบได้ ดังนั้นสาหรับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลาคอ
ความสามารถในการเคี้ยวและการกลืนอาจไม่เสียไปทั้งหมด ถ้าไม่
สามารถกลืนได้อาจต้องส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ วิธีการบริหารบริเวณ
ช่องปากและลาคอ มีดังนี้
1. การกระตุ้นด้วยความเย็นและการสัมผัสก่อนรับประทานอาหาร
เพื่อฟื้นฟูการทางานของประสาทการรับรู้เชิงกล เชิงเคมี และเชิง
อุณหภูมิภายในช่องปาก ด้วยการกระตุ้นด้วยอุณหภูมิและการสัมผัส
สาหรับผู้ที่ประสาทสัมผัสเสียไป อาจใช้อะไรเย็นๆ มาถูเบาๆ บริเวณ
โค้งด้านหน้าเพดานอ่อน เพื่อให้พร้อมในการฝึกกลืน
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 5
-บทความวิชาการ-
การกระตุ้นด้วยความเย็นที่เพดานปาก ควรสัมผัสอย่างเบามือ ระวัง
การคลื่นไส้อาเจียน ถ้ามีอาการให้หยุดพัก
2. การกระตุ้นปาก โดยการกระตุ้นลิ้นเบาๆ ด้วยผ้าก๊อสหรือแปรง
สีฟัน
3. การนวดปาก โดยการนวดบริเวณริมฝีปากและแก้ม (เพิ่มเติม
ยกเว้นในรายที่ทาผ่าตัดยังไม่ถึง 1 เดือน ยังมีแผลบริเวณปาก แก้ม
ผู้ที่ได้รับการฉายรังสีหรือหลังฉายรังสียังไม่ครบ 1 เดือน หรือยังมี
แผลจากการฉายรังสีอยู่ ถ้าไม่มีข้อห้ามการนวดควรทาโลชั่นที่ไม่มี
ส่วนผสมของโลหะหนักหรือสารปรุงแต่ง นวดเป็นวงกลม เบาๆ เริ่ม
จากตรงกลางใบหน้าออกไปด้านนอก (สามารถดูจากจุลสารปีที่ 2
ฉบับที่ 4 ได้)
4. การใช้มือโยก การโยกบริเวณลาคอบริเวณใต้ลูกกระเดือก อันนี้
แพทย์ต้องอนุญาต
5. การออกกาลังกายลาคอ โดยการก้มหน้า เอียงคอ หันหน้า อ้า
ปาก (สามารถดูจากจุลสารปีที่ 2 ฉบับที่ 2 ได้เช่นกัน) อย่าลืมว่าเป็น
การยืดกล้ามเนื้อ ลดการเกิดพังผืด ห้ามหมุนหรือสะบัดหน้าแรงๆ
ระวังกระดูกคอเคลื่อนค่ะ
6 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
-บทความวิชาการ-
ข้อควรระวัง
ระหว่างการฟื้นฟูการกลืนถ้าแผลผ่าตัดมีเลือดออก ปวดรุนแรง
สัญญาณชีพผิดปกติ หรือ อยู่ในภาวะวิกฤตให้หยุดการฝึก จะต้องให้
การช่วยเหลือเบื้องต้นตามอาการ หากไม่ดีขึ้นต้องรายงานแพทย์ ถ้า
มีการไอและสาลักก็ต้องหยุดพักก่อนเหมือนกัน
จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาพบได้ว่าเมื่อกลับบ้านและไปฝึกกลืน
แล้วมีอาการบวมบริเวณใบหน้า แก้มและลาคอได้ เกิดจากการ
อักเสบจนต้องให้ยาปฏิชีวนะ และบางครั้งรับประทานแต่ข้าวต้ม
ไม่ได้ฝึกรับประทานอาหารคาใหญ่หรือข้าวสวยนิ่มๆ อาจทาให้หลอด
อาหารตีบและกลืนลาบากได้ หรือเคยกลืนได้ดีและต่อมากลืนติด ให้
ลองฝึกกลืนก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบ
แพทย์เจ้าของไข้ทันที เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพที่ผิดปกติ บางครั้ง
อาจมีการตีบตันหรือพบเนื้องอกขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ การฝึกรับประทาน
อาหารควรจัดท่านั่งตัวตรง 90 องศา เพื่อป้องกันการสาลัก อาจช่วย
จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ เหมาะสม ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ จัดการวาง
ถาดอาหารเพื่อให้หยิบอาหาร น้าดื่ม ทิชชู และถังขยะได้ง่าย จัด
สิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุกรณีมีการสูดสาลัก
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 7
-บทความวิชาการ-
การฝึกกลืน
วิธีการกลืนของเลวิน เฮิร์ท พัทนัม และดูโบรว์ (จิตติพร ยุบล
พริ้ง และคณะ, 2552) เป็นการฝึกกลืนในกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง
เป็นวิธีการก้มคอ ช่วยให้กลืนง่าย เพราะการก้มคอทาให้โคนลิ้นและ
ฝาปิดกล่องเสียงอยู่ชิดกับผนังคอหอยส่วนหลัง ทางเดินหายใจจะ
แคบลงเพื่อลดการสาลัก (ในผู้ไร้กล่องเสียงจะไม่มีกล่องเสียงแล้ว แต่
สามารถทาได้)
โดยการกลืนต้องฝึกก่อนกลืนอาหารจริง เริ่มฝึกกลืนก่อนมื้อ
อาหารทุกมื้อ ประมาณ 30 นาที มีวิธีการดังนี้
1. หายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นหายใจ
2. ก้มหน้าให้คางชิดอกมากที่สุด
3. กลืนแรงๆ ขณะที่กาลังกลั้นหายใจและค่อยๆ ยกคางขึ้น
4. ไอหลังการกลืนทุกครั้ง
หลังการบริหารและการฝึกกลืนแล้วแล้ว ให้เริ่มกลืนอาหาร (จิต
ติพร ยุบลพริ้ง และคณะ, 2552) ถ้ามีปัญหาเรื่องการกลืนรุนแรงให้
เริ่มฝึกกลืนโดยฝึกกลืนน้า ถ้าไม่มีปัญหาให้ดื่มน้าหวานหรือนม ครั้ง
ละ 1 ช้อนชา หรือ 5 มิลลิลิตร และค่อยๆ เพิ่มปริมาณให้ได้รับ
พลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
8 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
-บทความวิชาการ-
หลังจากกลืนอาหารคาแรกให้ไอเอาน้าหรืออาหารที่ค้างอยู่ใน
ปากออกให้หมดทุกครั้งและกลืนซ้าหลายๆ รอบ เพื่อให้มั่นใจว่าจะ
ไม่มีการสาลัก และให้ออกเสียง ถ้าโล่งดีแสดงว่าไม่มีการสาลักหรือมี
อาหารตกค้าง จากนั้นให้กลืนคาต่อไปจนกระทั่งรับประทานอาหาร
ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ขณะกลืนถ้ามีอาการสาลักหรือไอ ให้หยุดพัก และ เริ่มฝึกอีก
ครั้งในการรับประทานอาหารมื้อต่อไป ถ้ายังมีอาการไอหรือสาลักอยู่
ให้หยุดการฝึก พิจารณาการรักษาอื่นที่เหมาะสมและส่งปรึกษา
ผู้เชี่ยวชาญ
กรณีที่มีปัญหาเรื่องการกลืนสามารถแจ้งแพทย์เจ้าของไข้เพื่อ
ประเมินพยาธิสภาพภายหลังการรักษา และส่งปรึกษาแพทย์
กายภาพบาบัด เพื่อฟื้นฟูการกลืนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความช่วยเหลือและกาลังใจจากญาติ
ผู้ดูแล การเลือกสรรอาหารที่เหมาะสมด้วย
ภายหลังการรับประทานอาหารต้องดูแลความสะอาดในช่อง
ปาก โดยเฉพาะในผู้ที่ทาผ่าตัดในช่องปาก ฉายแสงบริเวณศีรษะและ
ลาคอ จะต้องแปรงฟันเพื่อลดการสะสมของเศษอาหาร เพราะ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 9
-บทความวิชาการ-
เศษอาหารจะเปลี่ยนเป็นกรด ถ้ามีภาวะน้าลายแห้งร่วมด้วยจะทาให้
ไม่มีน้าลายมาลดความเป็นกรดในช่องปาก ทาให้เคลือบฟันเสีย ทา
ให้เกิดฟันผุหรือเกิดภาวะเนื้อฟันตายได้ง่าย
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
(ยุพิน ชัยชล และ จิราพร เกศพิชญวัฒนา, 2550)
1. ภาวะขาดน้าจะมีอาการปากแห้ง ลิ้นแห้ง ตาลึก ผิวแห้งความ
ตึงผิวลดลง ปัสสาวะออกน้อยและสับสนได้
2. ปริมาณอาหารที่เพียงพอในแต่ละวันให้คานวณจากความสูง
และน้าหนักตัว (อ่านได้จากจุลสารปีที่ 3 ฉบับที่ 4 มีทั้งการคานวน
ปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวันแบบธรรมดา ขั้นเทพ การ
คานวณปริมาณน้าที่ต้องได้รับ ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมในระหว่าง
การรักษาและการฟื้นหายของแผล)
3. รับประทานอาหารเป็นเวลา
4. ใช้ช้อนชาแทนช้อนขาดปกติ ให้เริ่มรับประทานอาหารคาเล็กๆ
ก่อน
5. ใช้แก้วขนาดเล็ก ประมาณ 100 ซีซี แทนแก้วใหญ่
6. ห้ามพูดคุยหรือให้โต้ตอบขณะมีอาหารหรือน้าในปาก
10 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
-บทความวิชาการ-
7. ตรวจสอบเศษอาหารภายในปากทันทีหลังรับประทานอาหาร
8. ถ้าไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ ต้องรับประทาน
อาหารทางสายให้อาหารเสมอ อาจใส่สายที่จมูกประมาณ 10-28 วัน
ถ้าต้องให้อาหารทางสายให้อาหารนานกว่า 4 สัปดาห์ จะพิจารณา
ให้อาหารทางหน้าท้อง
การรับประทานยา
1. เลือกรับประทานยาประเภทน้า
2. ยาเม็ดควรบดยา ในกรณีที่สามารถบดยาได้ (ข้อควรสังเกตคือ
ยาที่อยู่ในแคบซูลหรือมีการเคลือบที่ผิวยา ควรปรึกษาเภสัชกรก่อน
เลือกบดยา เพราะยาบางชนิดเมื่อบดแล้วคุณสมบัติและ
ประสิทธิภาพของยาจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อรับยาสามารถถามเภสัช
กรที่อธิบายยาได้เลย)
3. เม็ดยาที่มีขนาดใหญ่ กรณีที่สามารถแบ่งครึ่งเม็ดยาได้ ให้แบ่ง
ครึ่งเม็ดยาเพื่อให้กลืนง่าย ไม่ติดคอ (ข้อสังเกต ไม่ควรหักเม็ดยาทิ้งไว้
หรือวางรวมกัน เพราะอาจรับประทานยาที่ไม่ใช่เม็ดเดียวกัน เพราะ
ถ้าไม่ยาเม็ดเดียวกันปริมาณยาที่ได้รับอาจมากหรือน้อยเกินไป ทาให้
เกิดอันตรายได้
4. ยาน้าที่ให้ควรมีความข้น
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 11
-บทความวิชาการ-
5. ไม่ควรรับประทานยาน้าพร้อมยาเม็ด
การจัดท่าระหว่างรับประทานอาหาร เพื่อส่งเสริมให้อาหาร
เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น จัดท่าให้อาหารเคลื่อนตัวลงสู่กระเพาะอาหารได้
เร็วขึ้นตามแรงโน้มถ่วงของโลก โดยจัดท่าให้นั่งตัวตรง คางขนานกับ
พื้น หรือโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อยโดยการโน้มไหล่และใบหน้า ให้
สะโพกทามุม 90 องศา เพื่อให้นั่งตัวตรงได้ หลังรับประทานอาหาร
ควรนั่งตัวตรงต่ออีกประมาณ 30 นาที
เอกสารอ้างอิง
จิตติพร ยุบลพริ้ง ปรางทิพย์ ฉายพุทธ และ สุวิมล กิมปี. (2552).
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อฟื้นฟูการกลืนของผู้ป่วย
มะเร็งศีรษะและคอหลังผ่าตัด. วารสารสภาการพยาบาล, 24,
2, 24-38.
ยุพิน ชัยชล และ จิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2550). การจัดการกับ
อาการกลืนลาบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. วารสาร
พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1, 1, 18-31.
12 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกรับประทานวิตามินในผู้ป่วยมะเร็ง
พยาบาลวิชาชีพสุทธินี สุดใจ
ในปัจจุบันมีการเสนอขายวิตามินและอาหารเสริมสาหรับการ
ดูแลสุขภาพและการรักษามะเร็งจานวนมาก บางครั้งอาจไม่จาเป็น
ต่อร่างกายและเกิดผลเสียได้ (จงจิตร อังคทะวานิช, 2558) จาก
การศึกษาที่ผ่านมา เช่น เบตาคาโรทีนไม่ลดความเสี่ยงในการเกิด
มะเร็งและยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดและมะเร็ง
กระเพาะอาหารในคนปกติและคนที่สูบบุหรี่ การรับประทานวิตามิน
อีมากเกินความจาเป็นของร่างกายเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งต่อม
ลูกหมาก และเร่งการเติบโตของมะเร็งปอดในหนูถีบจักร การ
รับประทานโฟลิกทาให้มะเร็งลาไส้ใหญ่ลุกลามมากขึ้น การ
รับประทานวิตามินซีขนาดสูงไม่ลดการเกิดมะเร็ง และการให้วิตามิน
ซีขนาดสูงทางหลอดเลือดดาในผู้ป่วยมะเร็งยังคงจากัดให้เฉพาะใน
งานวิจัยเท่านั้น นอกจากนี้การใช้วิตามินซีต้องระวังในผู้ที่มีประวัตินิ่ว
ในไตและผู้ที่เป็น G-6-PD ด้วย ผลการรักษามะเร็งโดยการเสริม
วิตามินดียังไม่มีผลเรื่องมะเร็งชัดเจน ส่วนการรับประทานวิตามิน
รวมอาจเป็นผลเสียในมะเร็งบางชนิดและมีผลต่อเพศของผู้ป่วย
มะเร็งยางชนิดด้วย เป็นต้น
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 13
-บทความวิชาการ-
หลักการใช้วิตามินและแร่ธาตุ มีดังนี้
1. การใช้เพื่อรักษาโรคขาดวิตามินและเกลือแร่ ขนาดที่ให้จะสูง
กว่าขนาดที่ใช้ปกติ คือ ปริมาณวิตามินที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
จะใช้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกระทั่งอาการขาดวิตามินหมดไปและ
ระดับวิตามินและแร่ธาตุในเนื้อเยื่อเพียงพอแล้ว จึงค่อยๆ ลดขนาด
วิตามินลงตามแพทย์สั่ง
2. การใช้เพื่อเสริมในกรณีที่ได้รับเกลือแร่และแร่ธาตุจากอาหารไม่
เพียงพอ ใช้เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าได้รับวิตามินและแร่ธาตุจากอาหาร
ไม่เพียงพอ ควรได้รับในปริมาณที่ใกล้เคียงกับปริมาณที่แนะนาให้
บริโภคในแต่ละวัน
3. การใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคเรื้อรัง ควรได้รับคาแนะนาจาก
แพทย์เจ้าของไข้ มิเช่นนั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคแทรก
ซ้อนเพิ่มขึ้นมาได้
เอกสารอ้างอิง
จงจิตร อังคทะวานิช. (2558). โภชนาการและการกาหนดอาหารใน
โรคมะเร็ง. กรุงเทพฯ: ปัญญมิตร การพิมพ์.
14 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
ข่าวสารจากสมาชิก
ช่วงนี้มีสมาชิกสอบถามเรื่องการกลืนกันมาก บางท่านหลัง
ผ่าตัดไม่ฝึกกลืน รับประทานแต่ข้าวต้ม พอจะเริ่มรับประทานข้าว
สวยก็รับประทานไม่ได้ จึงบอกว่าให้นาวิธีฝึกกลืน ไปฝึกเป็นประจา
นะคะ ก่อนรับประทานอาหารให้ฝึกกลืนก่อนทานอาหารทุกครั้ง
กลืนข้าวคาเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนชา สักประมาณ 10-15 คา แล้ว
ค่อยรับประทานอาหารที่อยากทาน ถ้าไม่คล่องคอก็จิบน้าช่วย
เพราะถ้าไม่ขยายหลอดอาหารไว้จะตีบง่ายค่ะ บางท่านรับประทาน
อาหารได้ดีแล้วก็ไม่ได้สนใจ ปรากฏว่ากลับมามีอาการหลอดอาหาร
ตีบภายหลังได้นะคะ การดูแลเบื้องต้นก็คงให้ลองไปฝึกกลืนอาหาร
คาใหญ่ขึ้น ถ้าไม่ได้ต้องกลืนสายซิลิโคน คุณหมอจะตรวจร่างกาย
ก่อน ถ้าไม่มีอาการผิดปกติอื่นจะให้มาฝึกกลืนสาย พยาบาลจะสอน
วิธีกลืนสายซิลิโคนที่มีปลายเรียวเล็ก เคลือบยาชาชนิดน้า ให้ลองฝึก
กลืนลงคอ แล้วค่อยๆ ไปฝึกกลืนที่บ้านจนหลอดอาหารขยายกว้าง
ขึ้น สามารถรับประทานอาหารปกติได้ ถ้ายังกลืนไม่ได้ต้องดมยาเพื่อ
ขยายหลอดอาหาร หรือส่งฝึกกลืนที่หน่วยกายภาพบาบัด อีก
ประเด็นที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นคือมีเนื้องอกหรือการกลับเป็นซ้า ดังนั้น
ถ้ามีอาการกลืนติด กลืนลาบาก เคยกลืนได้แต่ช่วงนี้กลืนไม่ได้ จึง
ควรไปพบแพทย์เจ้าของไข้ก่อนวันนัดนะคะ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 15
บทความวิชาการ
- ภาวะกลืนลาบากในผู้ป่วยที่ทาผ่าตัดมะเร็งศีรษะและลาคอ
ตอนที่ 2
- แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกรับประทานวิตามินในผู้ป่วยมะเร็ง
ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี
สุทธินี สุดใจ
หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกโสต ศอ นาสิก
ชั้น 2 โซน H อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์
270 โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระราม 6
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม 10400
โทร 0917746482
เบอร์โทรติดต่อที่หน่วยงาน : 022004069 เวลา 8-9 น. วันราชการ
เวลาทากิจกรรม ทุกวันอังคาร เวลา 9.00 – 11.00 น.
บริเวณศูนย์เสริมพลังสร้างสุขภาพ อาคารเรียนรวม ชั้น 1
ยินดีต้อนรับผู้ไร้กล่องเสียงทุกท่าน
พิมพ์ครั้งที่ 1 จานวน 100 เล่ม กรกฎาคม 2560
พิมพ์ที่
ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกโสต ศอ นาสิก
270 โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนน พระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400 โทร 0917746482
(สงวนลิขสิทธิ์)

More Related Content

Similar to จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 23.7.17 v1.doc

แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557
แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557
แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทยแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทยUtai Sukviwatsirikul
 
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5primpatcha
 
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5primpatcha
 
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554Utai Sukviwatsirikul
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1
จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1
จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 Sutthinee Sudchai
 
Thai Emergency Medicine Journal 5
Thai Emergency Medicine Journal 5Thai Emergency Medicine Journal 5
Thai Emergency Medicine Journal 5taem
 
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 Yanee Tongmanee
 
คู่มือมะเร็งชุด1
คู่มือมะเร็งชุด1คู่มือมะเร็งชุด1
คู่มือมะเร็งชุด1THANAKORN
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22Napisa22
 
Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.25554LIFEYES
 
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจWan Ngamwongwan
 
การเลือกใช้ยากันชัก
การเลือกใช้ยากันชัก การเลือกใช้ยากันชัก
การเลือกใช้ยากันชัก Utai Sukviwatsirikul
 
มะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูกมะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูกWan Ngamwongwan
 
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์Utai Sukviwatsirikul
 

Similar to จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 23.7.17 v1.doc (20)

แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557
แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557
แนวทางการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2557
 
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทยแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว พ.ศ. 2557 ประเทศไทย
 
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
 
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
การส่งเสริมสุขภาพ หน่วย 5
 
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
คู่มือการจ่ายยา สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน 2554
 
แพทย์
แพทย์แพทย์
แพทย์
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1
จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1
จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 2 ฉบับที่ 1
 
Home visit palliative care
 Home visit   palliative care Home visit   palliative care
Home visit palliative care
 
Thai Emergency Medicine Journal 5
Thai Emergency Medicine Journal 5Thai Emergency Medicine Journal 5
Thai Emergency Medicine Journal 5
 
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
 
2560 project -1 new
2560 project -1 new2560 project -1 new
2560 project -1 new
 
คู่มือมะเร็งชุด1
คู่มือมะเร็งชุด1คู่มือมะเร็งชุด1
คู่มือมะเร็งชุด1
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22
 
Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555
 
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ
 
Detail3
Detail3Detail3
Detail3
 
การเลือกใช้ยากันชัก
การเลือกใช้ยากันชัก การเลือกใช้ยากันชัก
การเลือกใช้ยากันชัก
 
มะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูกมะเร็งหลังโพรงจมูก
มะเร็งหลังโพรงจมูก
 
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
ภาษาอังกฤษกับทักษะทางเภสัชศาสตร์  ภญ.ปุณฑริก ประสิทธิศาสตร์
 
Sample 4 lifeyes
Sample 4 lifeyesSample 4 lifeyes
Sample 4 lifeyes
 

More from Sutthinee Sudchai

คู่มือฝึกการพูดด้วยหลอดอาหารสำหรับผู้ไร้กล่องเสียง
คู่มือฝึกการพูดด้วยหลอดอาหารสำหรับผู้ไร้กล่องเสียงคู่มือฝึกการพูดด้วยหลอดอาหารสำหรับผู้ไร้กล่องเสียง
คู่มือฝึกการพูดด้วยหลอดอาหารสำหรับผู้ไร้กล่องเสียงSutthinee Sudchai
 
ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี 2017.11.05
ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี 2017.11.05ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี 2017.11.05
ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี 2017.11.05Sutthinee Sudchai
 
มะเร็งกล่องเสียงคอหอย
มะเร็งกล่องเสียงคอหอย มะเร็งกล่องเสียงคอหอย
มะเร็งกล่องเสียงคอหอย Sutthinee Sudchai
 
กิจกรรมชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี และกิจกรรมมิตรภาพบำบัดรามาธิบดี
กิจกรรมชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี และกิจกรรมมิตรภาพบำบัดรามาธิบดีกิจกรรมชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี และกิจกรรมมิตรภาพบำบัดรามาธิบดี
กิจกรรมชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี และกิจกรรมมิตรภาพบำบัดรามาธิบดีSutthinee Sudchai
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 2  จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 Sutthinee Sudchai
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1  จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 Sutthinee Sudchai
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 6
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 6
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 Sutthinee Sudchai
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 4
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 4
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 Sutthinee Sudchai
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2Sutthinee Sudchai
 
หนังสือแสดงเจตนา มาตรา 12 A4 พิมพ์ซ้ำโดย สุทธินี สุดใจ
หนังสือแสดงเจตนา มาตรา 12  A4  พิมพ์ซ้ำโดย สุทธินี สุดใจหนังสือแสดงเจตนา มาตรา 12  A4  พิมพ์ซ้ำโดย สุทธินี สุดใจ
หนังสือแสดงเจตนา มาตรา 12 A4 พิมพ์ซ้ำโดย สุทธินี สุดใจSutthinee Sudchai
 

More from Sutthinee Sudchai (12)

P TLG cu 2018.02.06 v1
P TLG cu 2018.02.06 v1P TLG cu 2018.02.06 v1
P TLG cu 2018.02.06 v1
 
สปส 2 09
สปส 2 09สปส 2 09
สปส 2 09
 
คู่มือฝึกการพูดด้วยหลอดอาหารสำหรับผู้ไร้กล่องเสียง
คู่มือฝึกการพูดด้วยหลอดอาหารสำหรับผู้ไร้กล่องเสียงคู่มือฝึกการพูดด้วยหลอดอาหารสำหรับผู้ไร้กล่องเสียง
คู่มือฝึกการพูดด้วยหลอดอาหารสำหรับผู้ไร้กล่องเสียง
 
ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี 2017.11.05
ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี 2017.11.05ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี 2017.11.05
ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี 2017.11.05
 
มะเร็งกล่องเสียงคอหอย
มะเร็งกล่องเสียงคอหอย มะเร็งกล่องเสียงคอหอย
มะเร็งกล่องเสียงคอหอย
 
กิจกรรมชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี และกิจกรรมมิตรภาพบำบัดรามาธิบดี
กิจกรรมชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี และกิจกรรมมิตรภาพบำบัดรามาธิบดีกิจกรรมชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี และกิจกรรมมิตรภาพบำบัดรามาธิบดี
กิจกรรมชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี และกิจกรรมมิตรภาพบำบัดรามาธิบดี
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 2  จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 2
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1  จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 1
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 6
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 6
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 6
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 4
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 4
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 4
 
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2
จุลสารชมรมผู้ไร้กลอ่งเสียงรามาธิบดี ปีที่ 3 ฉบับที่ 2
 
หนังสือแสดงเจตนา มาตรา 12 A4 พิมพ์ซ้ำโดย สุทธินี สุดใจ
หนังสือแสดงเจตนา มาตรา 12  A4  พิมพ์ซ้ำโดย สุทธินี สุดใจหนังสือแสดงเจตนา มาตรา 12  A4  พิมพ์ซ้ำโดย สุทธินี สุดใจ
หนังสือแสดงเจตนา มาตรา 12 A4 พิมพ์ซ้ำโดย สุทธินี สุดใจ
 

จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 23.7.17 v1.doc

  • 1. จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ประจาเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม 2560 ผู้จัดทา ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี งานการพยาบาลจักษุ โสต ศอ นาสิกฯ ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลรามาธิบดี หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกโสต ศอ นาสิก ฝ่ายการพยาบาลฯ สมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี FB page: ผรส รามา https://www.facebook.com/LaryngectomeeRama Email/Facebook : ent.rama.inf@gmail.com Line ID : 003055 IG : tlg_rama Tel. 0917746482 ทุนมูลนิธิรามาธิบดี รหัส 32130008
  • 2. บรรณาธิการ : พยาบาลวิชาชีพ สุทธินี สุดใจ ที่ปรึกษาชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี สวัสดีค่ะสมาชิกทุกท่าน ช่วงนี้อากาศก็ยังเปลี่ยนแปลงบ่อย พายุก็เข้ามาหลายลูก แม้จะอ่อนกาลังลงแล้วก็ยังทาให้ฝนตกอยู่ บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลา เช้า เย็น ที่ต้องเดินทางไปทางานหรือกลับ บ้าน เป็นหวัดกันงอมแงม มีหลายๆ คนถามเรื่องอาการหวัด ต้อง รักษาไหม ตอบได้เลยว่าถ้ามีอาการเป็นหวัด ก็ต้องจิบน้าบ่อยๆ ถ้า คอแห้ง เสมหะเหนียว แห้งแข็ง ต้องจิบน้าและดื่มน้าเพิ่มขึ้น ถ้าไม่ ไหวจริงๆ ก็ต้องพึ่งยาละลายเสมหะ ถ้าไอมากๆ จนเส้นเลือดฝอยใน ลาคอแตก จะมีเสมหะปนเลือด วิธีเบื้องต้นคือไอให้น้อยลง ^_^ โดย พึ่งยาแก้ไอและยาละลายเสมหะ ใช้ผ้าปิดคอเพื่อลดการระคายเคือง จากอากาศภายนอก ช่วยกักความชื้นจากลมหายใจ ช่วยให้ทางเดิน หายใจชุ่มชื้น ถ้าเสมหะขุ่น เปลี่ยนเป็นสีเขียว สีเหลือง มีการติดเชื้อ ก็ต้องรับประทานยา ไปพบแพทย์ใกล้บ้านเพื่อให้ยาปฏิชีวะนะคะ ที่ สาคัญ พอหายแล้วก็ต้องทานยาที่คุณหมอสั่งต่อจนหมดเพราะมิ เช่นนั้นจะดื้อยาค่ะ อาการจะเรื้อรังไม่หายขาด สิ่งที่อาจต้องใช้กรณี จาเป็นเท่านั้นคือใช้น้าเกลือ 5 ml. หยดในคอค่ะ 2 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
  • 3. สารบัญ หน้าที่ บรรณาธิการ 2 สารบัญ 3 บทความวิชาการ - ภาวะกลืนลาบากในผู้ป่วย 4 ที่ทาผ่าตัดมะเร็งศีรษะและลาคอ ตอนที่ 2 - แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกรับประทานวิตามิน 13 ในผู้ป่วยมะเร็ง ข่าวสารสมาชิก 15 ที่ปรึกษา พยาบาลวิชาชีพสุทธินี สุดใจ Line ID : 003055 IG : tlg_rama เบอร์โทร : 0917746482 FB page : ผรส รามา Email : ent.rama.inf@gmail.com https://www.facebook.com/LaryngectomeeRama รองศาสตราจารย์ดรุณี ชุณหะวัต Line : เบอร์โทร : 0841060202 Email : radjh1@yahoo.com คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 3
  • 4. ภาวะกลืนลาบากในผู้ป่วยที่ทาผ่าตัดมะเร็งศีรษะและลาคอ ตอนที่ 2 พยาบาลวิชาชีพสุทธินี สุดใจ จุลสารเล่มนี้กลับมาพูดคุยกันต่อในเรื่องภาวะกลืนลาบากและ การฝึกกลืนในผู้ที่ทาผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียงและผู้ที่ผ่านการรักษา มะเร็งศีรษะและลาคอกันนะคะ ครั้งก่อนเราพูดกันถึงการประเมิน ก่อนการฝึกกลืน สิ่งที่ต้องสนใจเป็นพิเศษสาหรับผู้ที่ทาผ่าตัดกล่อง เสียงออกทั้งหมด ผ่าตัดกล่องเสียงออกบาส่วน หรือการทาผ่าตัดใน ช่องปาก เพราะต้องให้คุณหมอจ้าของไข้เประเมินและอนุญาตก่อน การฝึกกลืนค่ะ หลังจากคุณหมออนุญาตให้รับประทานอาหารทาง ปากได้แล้วก็มาเริ่มบริหาร ฝึกกลืนเพื่อการกลืนที่มีประสิทธิภาพไม่มี การสูดสาลัก และภาวะแทรกซ้อนภายหลังการทาผ่าตัด เรามาทบทวนกันก่อนนะคะ ก่อนฝึกกลืนทุกคนต้องประเมิน ความพร้อมในการกลืนและการสูดสาลักก่อน ถ้าผ่าน มาดูแลกันต่อ เรื่องการรักษาความสะอาดในช่องปากและเลือกอาหารที่เหมาะสม แล้วบริหารบริเวณช่องปากและลาคอ ฝึกกลืน และเริ่มกระบวนการ กลืนที่ปลอดภัย 4 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
  • 5. -บทความวิชาการ- เริ่มจากการบริหารบริเวณช่องปากและลาคอ (ดัดแปลงจาก จิต ติพร ยุบลพริ้ง ปรางทิพย์ ฉายพุทธ และ สุวิมล กิมปี, 2552) ซึ่ง วิธีการฝึกกลืนส่วนใหญ่พัฒนามาจากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มี ปัญหาเรื่องประสาทสัมผัสและการควบคุมกล้ามเนื้อที่ควบคุมการ เคี้ยวและกลืน สาหรับการทาผ่าตัดและการรักษามะเร็งศีรษะและ ลาคอ บางครั้งก็มีผลต่อเส้นประสาทที่ควบคุมเรื่องการเคี้ยวและการ ฝึกกลืน บางครั้งอาจมีผลต่อพยาธิสภาพภายในช่องปากและลาคอ ภายหลังการรักษา การหายของแผลทาให้เกิดการดึงรั้งของแผล อาจ ทาให้การบดเคี้ยวอาหารและการกลืนผิดปกติ ทางเดินอาหารและ หลอดอาหารตีบแคบได้ ดังนั้นสาหรับผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลาคอ ความสามารถในการเคี้ยวและการกลืนอาจไม่เสียไปทั้งหมด ถ้าไม่ สามารถกลืนได้อาจต้องส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ วิธีการบริหารบริเวณ ช่องปากและลาคอ มีดังนี้ 1. การกระตุ้นด้วยความเย็นและการสัมผัสก่อนรับประทานอาหาร เพื่อฟื้นฟูการทางานของประสาทการรับรู้เชิงกล เชิงเคมี และเชิง อุณหภูมิภายในช่องปาก ด้วยการกระตุ้นด้วยอุณหภูมิและการสัมผัส สาหรับผู้ที่ประสาทสัมผัสเสียไป อาจใช้อะไรเย็นๆ มาถูเบาๆ บริเวณ โค้งด้านหน้าเพดานอ่อน เพื่อให้พร้อมในการฝึกกลืน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 5
  • 6. -บทความวิชาการ- การกระตุ้นด้วยความเย็นที่เพดานปาก ควรสัมผัสอย่างเบามือ ระวัง การคลื่นไส้อาเจียน ถ้ามีอาการให้หยุดพัก 2. การกระตุ้นปาก โดยการกระตุ้นลิ้นเบาๆ ด้วยผ้าก๊อสหรือแปรง สีฟัน 3. การนวดปาก โดยการนวดบริเวณริมฝีปากและแก้ม (เพิ่มเติม ยกเว้นในรายที่ทาผ่าตัดยังไม่ถึง 1 เดือน ยังมีแผลบริเวณปาก แก้ม ผู้ที่ได้รับการฉายรังสีหรือหลังฉายรังสียังไม่ครบ 1 เดือน หรือยังมี แผลจากการฉายรังสีอยู่ ถ้าไม่มีข้อห้ามการนวดควรทาโลชั่นที่ไม่มี ส่วนผสมของโลหะหนักหรือสารปรุงแต่ง นวดเป็นวงกลม เบาๆ เริ่ม จากตรงกลางใบหน้าออกไปด้านนอก (สามารถดูจากจุลสารปีที่ 2 ฉบับที่ 4 ได้) 4. การใช้มือโยก การโยกบริเวณลาคอบริเวณใต้ลูกกระเดือก อันนี้ แพทย์ต้องอนุญาต 5. การออกกาลังกายลาคอ โดยการก้มหน้า เอียงคอ หันหน้า อ้า ปาก (สามารถดูจากจุลสารปีที่ 2 ฉบับที่ 2 ได้เช่นกัน) อย่าลืมว่าเป็น การยืดกล้ามเนื้อ ลดการเกิดพังผืด ห้ามหมุนหรือสะบัดหน้าแรงๆ ระวังกระดูกคอเคลื่อนค่ะ 6 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
  • 7. -บทความวิชาการ- ข้อควรระวัง ระหว่างการฟื้นฟูการกลืนถ้าแผลผ่าตัดมีเลือดออก ปวดรุนแรง สัญญาณชีพผิดปกติ หรือ อยู่ในภาวะวิกฤตให้หยุดการฝึก จะต้องให้ การช่วยเหลือเบื้องต้นตามอาการ หากไม่ดีขึ้นต้องรายงานแพทย์ ถ้า มีการไอและสาลักก็ต้องหยุดพักก่อนเหมือนกัน จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาพบได้ว่าเมื่อกลับบ้านและไปฝึกกลืน แล้วมีอาการบวมบริเวณใบหน้า แก้มและลาคอได้ เกิดจากการ อักเสบจนต้องให้ยาปฏิชีวนะ และบางครั้งรับประทานแต่ข้าวต้ม ไม่ได้ฝึกรับประทานอาหารคาใหญ่หรือข้าวสวยนิ่มๆ อาจทาให้หลอด อาหารตีบและกลืนลาบากได้ หรือเคยกลืนได้ดีและต่อมากลืนติด ให้ ลองฝึกกลืนก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบ แพทย์เจ้าของไข้ทันที เพื่อตรวจหาพยาธิสภาพที่ผิดปกติ บางครั้ง อาจมีการตีบตันหรือพบเนื้องอกขึ้นมาใหม่ได้ค่ะ การฝึกรับประทาน อาหารควรจัดท่านั่งตัวตรง 90 องศา เพื่อป้องกันการสาลัก อาจช่วย จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ เหมาะสม ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ จัดการวาง ถาดอาหารเพื่อให้หยิบอาหาร น้าดื่ม ทิชชู และถังขยะได้ง่าย จัด สิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุกรณีมีการสูดสาลัก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 7
  • 8. -บทความวิชาการ- การฝึกกลืน วิธีการกลืนของเลวิน เฮิร์ท พัทนัม และดูโบรว์ (จิตติพร ยุบล พริ้ง และคณะ, 2552) เป็นการฝึกกลืนในกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง เป็นวิธีการก้มคอ ช่วยให้กลืนง่าย เพราะการก้มคอทาให้โคนลิ้นและ ฝาปิดกล่องเสียงอยู่ชิดกับผนังคอหอยส่วนหลัง ทางเดินหายใจจะ แคบลงเพื่อลดการสาลัก (ในผู้ไร้กล่องเสียงจะไม่มีกล่องเสียงแล้ว แต่ สามารถทาได้) โดยการกลืนต้องฝึกก่อนกลืนอาหารจริง เริ่มฝึกกลืนก่อนมื้อ อาหารทุกมื้อ ประมาณ 30 นาที มีวิธีการดังนี้ 1. หายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นหายใจ 2. ก้มหน้าให้คางชิดอกมากที่สุด 3. กลืนแรงๆ ขณะที่กาลังกลั้นหายใจและค่อยๆ ยกคางขึ้น 4. ไอหลังการกลืนทุกครั้ง หลังการบริหารและการฝึกกลืนแล้วแล้ว ให้เริ่มกลืนอาหาร (จิต ติพร ยุบลพริ้ง และคณะ, 2552) ถ้ามีปัญหาเรื่องการกลืนรุนแรงให้ เริ่มฝึกกลืนโดยฝึกกลืนน้า ถ้าไม่มีปัญหาให้ดื่มน้าหวานหรือนม ครั้ง ละ 1 ช้อนชา หรือ 5 มิลลิลิตร และค่อยๆ เพิ่มปริมาณให้ได้รับ พลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 8 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
  • 9. -บทความวิชาการ- หลังจากกลืนอาหารคาแรกให้ไอเอาน้าหรืออาหารที่ค้างอยู่ใน ปากออกให้หมดทุกครั้งและกลืนซ้าหลายๆ รอบ เพื่อให้มั่นใจว่าจะ ไม่มีการสาลัก และให้ออกเสียง ถ้าโล่งดีแสดงว่าไม่มีการสาลักหรือมี อาหารตกค้าง จากนั้นให้กลืนคาต่อไปจนกระทั่งรับประทานอาหาร ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ขณะกลืนถ้ามีอาการสาลักหรือไอ ให้หยุดพัก และ เริ่มฝึกอีก ครั้งในการรับประทานอาหารมื้อต่อไป ถ้ายังมีอาการไอหรือสาลักอยู่ ให้หยุดการฝึก พิจารณาการรักษาอื่นที่เหมาะสมและส่งปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ กรณีที่มีปัญหาเรื่องการกลืนสามารถแจ้งแพทย์เจ้าของไข้เพื่อ ประเมินพยาธิสภาพภายหลังการรักษา และส่งปรึกษาแพทย์ กายภาพบาบัด เพื่อฟื้นฟูการกลืนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังต้องอาศัยความช่วยเหลือและกาลังใจจากญาติ ผู้ดูแล การเลือกสรรอาหารที่เหมาะสมด้วย ภายหลังการรับประทานอาหารต้องดูแลความสะอาดในช่อง ปาก โดยเฉพาะในผู้ที่ทาผ่าตัดในช่องปาก ฉายแสงบริเวณศีรษะและ ลาคอ จะต้องแปรงฟันเพื่อลดการสะสมของเศษอาหาร เพราะ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 9
  • 10. -บทความวิชาการ- เศษอาหารจะเปลี่ยนเป็นกรด ถ้ามีภาวะน้าลายแห้งร่วมด้วยจะทาให้ ไม่มีน้าลายมาลดความเป็นกรดในช่องปาก ทาให้เคลือบฟันเสีย ทา ให้เกิดฟันผุหรือเกิดภาวะเนื้อฟันตายได้ง่าย เกร็ดความรู้เพิ่มเติม (ยุพิน ชัยชล และ จิราพร เกศพิชญวัฒนา, 2550) 1. ภาวะขาดน้าจะมีอาการปากแห้ง ลิ้นแห้ง ตาลึก ผิวแห้งความ ตึงผิวลดลง ปัสสาวะออกน้อยและสับสนได้ 2. ปริมาณอาหารที่เพียงพอในแต่ละวันให้คานวณจากความสูง และน้าหนักตัว (อ่านได้จากจุลสารปีที่ 3 ฉบับที่ 4 มีทั้งการคานวน ปริมาณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวันแบบธรรมดา ขั้นเทพ การ คานวณปริมาณน้าที่ต้องได้รับ ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมในระหว่าง การรักษาและการฟื้นหายของแผล) 3. รับประทานอาหารเป็นเวลา 4. ใช้ช้อนชาแทนช้อนขาดปกติ ให้เริ่มรับประทานอาหารคาเล็กๆ ก่อน 5. ใช้แก้วขนาดเล็ก ประมาณ 100 ซีซี แทนแก้วใหญ่ 6. ห้ามพูดคุยหรือให้โต้ตอบขณะมีอาหารหรือน้าในปาก 10 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
  • 11. -บทความวิชาการ- 7. ตรวจสอบเศษอาหารภายในปากทันทีหลังรับประทานอาหาร 8. ถ้าไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ ต้องรับประทาน อาหารทางสายให้อาหารเสมอ อาจใส่สายที่จมูกประมาณ 10-28 วัน ถ้าต้องให้อาหารทางสายให้อาหารนานกว่า 4 สัปดาห์ จะพิจารณา ให้อาหารทางหน้าท้อง การรับประทานยา 1. เลือกรับประทานยาประเภทน้า 2. ยาเม็ดควรบดยา ในกรณีที่สามารถบดยาได้ (ข้อควรสังเกตคือ ยาที่อยู่ในแคบซูลหรือมีการเคลือบที่ผิวยา ควรปรึกษาเภสัชกรก่อน เลือกบดยา เพราะยาบางชนิดเมื่อบดแล้วคุณสมบัติและ ประสิทธิภาพของยาจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อรับยาสามารถถามเภสัช กรที่อธิบายยาได้เลย) 3. เม็ดยาที่มีขนาดใหญ่ กรณีที่สามารถแบ่งครึ่งเม็ดยาได้ ให้แบ่ง ครึ่งเม็ดยาเพื่อให้กลืนง่าย ไม่ติดคอ (ข้อสังเกต ไม่ควรหักเม็ดยาทิ้งไว้ หรือวางรวมกัน เพราะอาจรับประทานยาที่ไม่ใช่เม็ดเดียวกัน เพราะ ถ้าไม่ยาเม็ดเดียวกันปริมาณยาที่ได้รับอาจมากหรือน้อยเกินไป ทาให้ เกิดอันตรายได้ 4. ยาน้าที่ให้ควรมีความข้น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 11
  • 12. -บทความวิชาการ- 5. ไม่ควรรับประทานยาน้าพร้อมยาเม็ด การจัดท่าระหว่างรับประทานอาหาร เพื่อส่งเสริมให้อาหาร เคลื่อนตัวได้ดีขึ้น จัดท่าให้อาหารเคลื่อนตัวลงสู่กระเพาะอาหารได้ เร็วขึ้นตามแรงโน้มถ่วงของโลก โดยจัดท่าให้นั่งตัวตรง คางขนานกับ พื้น หรือโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อยโดยการโน้มไหล่และใบหน้า ให้ สะโพกทามุม 90 องศา เพื่อให้นั่งตัวตรงได้ หลังรับประทานอาหาร ควรนั่งตัวตรงต่ออีกประมาณ 30 นาที เอกสารอ้างอิง จิตติพร ยุบลพริ้ง ปรางทิพย์ ฉายพุทธ และ สุวิมล กิมปี. (2552). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อฟื้นฟูการกลืนของผู้ป่วย มะเร็งศีรษะและคอหลังผ่าตัด. วารสารสภาการพยาบาล, 24, 2, 24-38. ยุพิน ชัยชล และ จิราพร เกศพิชญวัฒนา. (2550). การจัดการกับ อาการกลืนลาบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง. วารสาร พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1, 1, 18-31. 12 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
  • 13. แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกรับประทานวิตามินในผู้ป่วยมะเร็ง พยาบาลวิชาชีพสุทธินี สุดใจ ในปัจจุบันมีการเสนอขายวิตามินและอาหารเสริมสาหรับการ ดูแลสุขภาพและการรักษามะเร็งจานวนมาก บางครั้งอาจไม่จาเป็น ต่อร่างกายและเกิดผลเสียได้ (จงจิตร อังคทะวานิช, 2558) จาก การศึกษาที่ผ่านมา เช่น เบตาคาโรทีนไม่ลดความเสี่ยงในการเกิด มะเร็งและยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดและมะเร็ง กระเพาะอาหารในคนปกติและคนที่สูบบุหรี่ การรับประทานวิตามิน อีมากเกินความจาเป็นของร่างกายเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งต่อม ลูกหมาก และเร่งการเติบโตของมะเร็งปอดในหนูถีบจักร การ รับประทานโฟลิกทาให้มะเร็งลาไส้ใหญ่ลุกลามมากขึ้น การ รับประทานวิตามินซีขนาดสูงไม่ลดการเกิดมะเร็ง และการให้วิตามิน ซีขนาดสูงทางหลอดเลือดดาในผู้ป่วยมะเร็งยังคงจากัดให้เฉพาะใน งานวิจัยเท่านั้น นอกจากนี้การใช้วิตามินซีต้องระวังในผู้ที่มีประวัตินิ่ว ในไตและผู้ที่เป็น G-6-PD ด้วย ผลการรักษามะเร็งโดยการเสริม วิตามินดียังไม่มีผลเรื่องมะเร็งชัดเจน ส่วนการรับประทานวิตามิน รวมอาจเป็นผลเสียในมะเร็งบางชนิดและมีผลต่อเพศของผู้ป่วย มะเร็งยางชนิดด้วย เป็นต้น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 13
  • 14. -บทความวิชาการ- หลักการใช้วิตามินและแร่ธาตุ มีดังนี้ 1. การใช้เพื่อรักษาโรคขาดวิตามินและเกลือแร่ ขนาดที่ให้จะสูง กว่าขนาดที่ใช้ปกติ คือ ปริมาณวิตามินที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน จะใช้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกระทั่งอาการขาดวิตามินหมดไปและ ระดับวิตามินและแร่ธาตุในเนื้อเยื่อเพียงพอแล้ว จึงค่อยๆ ลดขนาด วิตามินลงตามแพทย์สั่ง 2. การใช้เพื่อเสริมในกรณีที่ได้รับเกลือแร่และแร่ธาตุจากอาหารไม่ เพียงพอ ใช้เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าได้รับวิตามินและแร่ธาตุจากอาหาร ไม่เพียงพอ ควรได้รับในปริมาณที่ใกล้เคียงกับปริมาณที่แนะนาให้ บริโภคในแต่ละวัน 3. การใช้เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคเรื้อรัง ควรได้รับคาแนะนาจาก แพทย์เจ้าของไข้ มิเช่นนั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคแทรก ซ้อนเพิ่มขึ้นมาได้ เอกสารอ้างอิง จงจิตร อังคทะวานิช. (2558). โภชนาการและการกาหนดอาหารใน โรคมะเร็ง. กรุงเทพฯ: ปัญญมิตร การพิมพ์. 14 จุลสารชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี ปีที่ 4 ฉบับที่ 4 ก.ค. – ส.ค. 2560
  • 15. ข่าวสารจากสมาชิก ช่วงนี้มีสมาชิกสอบถามเรื่องการกลืนกันมาก บางท่านหลัง ผ่าตัดไม่ฝึกกลืน รับประทานแต่ข้าวต้ม พอจะเริ่มรับประทานข้าว สวยก็รับประทานไม่ได้ จึงบอกว่าให้นาวิธีฝึกกลืน ไปฝึกเป็นประจา นะคะ ก่อนรับประทานอาหารให้ฝึกกลืนก่อนทานอาหารทุกครั้ง กลืนข้าวคาเล็กๆ ประมาณ 1 ช้อนชา สักประมาณ 10-15 คา แล้ว ค่อยรับประทานอาหารที่อยากทาน ถ้าไม่คล่องคอก็จิบน้าช่วย เพราะถ้าไม่ขยายหลอดอาหารไว้จะตีบง่ายค่ะ บางท่านรับประทาน อาหารได้ดีแล้วก็ไม่ได้สนใจ ปรากฏว่ากลับมามีอาการหลอดอาหาร ตีบภายหลังได้นะคะ การดูแลเบื้องต้นก็คงให้ลองไปฝึกกลืนอาหาร คาใหญ่ขึ้น ถ้าไม่ได้ต้องกลืนสายซิลิโคน คุณหมอจะตรวจร่างกาย ก่อน ถ้าไม่มีอาการผิดปกติอื่นจะให้มาฝึกกลืนสาย พยาบาลจะสอน วิธีกลืนสายซิลิโคนที่มีปลายเรียวเล็ก เคลือบยาชาชนิดน้า ให้ลองฝึก กลืนลงคอ แล้วค่อยๆ ไปฝึกกลืนที่บ้านจนหลอดอาหารขยายกว้าง ขึ้น สามารถรับประทานอาหารปกติได้ ถ้ายังกลืนไม่ได้ต้องดมยาเพื่อ ขยายหลอดอาหาร หรือส่งฝึกกลืนที่หน่วยกายภาพบาบัด อีก ประเด็นที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นคือมีเนื้องอกหรือการกลับเป็นซ้า ดังนั้น ถ้ามีอาการกลืนติด กลืนลาบาก เคยกลืนได้แต่ช่วงนี้กลืนไม่ได้ จึง ควรไปพบแพทย์เจ้าของไข้ก่อนวันนัดนะคะ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 15
  • 16. บทความวิชาการ - ภาวะกลืนลาบากในผู้ป่วยที่ทาผ่าตัดมะเร็งศีรษะและลาคอ ตอนที่ 2 - แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกรับประทานวิตามินในผู้ป่วยมะเร็ง ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี สุทธินี สุดใจ หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกโสต ศอ นาสิก ชั้น 2 โซน H อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ 270 โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม 10400 โทร 0917746482 เบอร์โทรติดต่อที่หน่วยงาน : 022004069 เวลา 8-9 น. วันราชการ เวลาทากิจกรรม ทุกวันอังคาร เวลา 9.00 – 11.00 น. บริเวณศูนย์เสริมพลังสร้างสุขภาพ อาคารเรียนรวม ชั้น 1 ยินดีต้อนรับผู้ไร้กล่องเสียงทุกท่าน พิมพ์ครั้งที่ 1 จานวน 100 เล่ม กรกฎาคม 2560 พิมพ์ที่ ชมรมผู้ไร้กล่องเสียงรามาธิบดี หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกโสต ศอ นาสิก 270 โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนน พระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร 0917746482 (สงวนลิขสิทธิ์)