SlideShare a Scribd company logo
1 of 39
รายงาน  เรื่อง  พลังงานใต้พื้นภิภพ
สมาชิกกลุ่มที่ 4 ,[object Object],[object Object],[object Object]
1 .  พลังงานความร้อนใต้พิภพคืออะไร พลังงานความร้อนใต้พิภพคือ พลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อน ที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก  ( Geo  =  โลก , Thermal  =  ความร้อน )  โดยปกติแล้วอุณหภูมิภายใต้ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น ตามความลึก กล่าวคือยิ่งลึกลงไป อุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้น และในบริเวณส่วนล่างของ ชั้นเปลือกโลก  ( Continental Crust )  หรือที่ความลึกประมาณ  25-30   กิโลเมตร อุณหภูมิจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ประมาณ  250   ถึง  1,000 ฐ C  ในขณะที่ตรงจุดศูนย์กลางของโลก อุณหภูมิอาจจะสูงถึง  3,500   ถึง  4,500 ฐ C
ชั้นเปลือกโลก  ( Continental Crust )
2 .  พลังงานความร้อนใต้พิภพเกิดขึ้นอย่างไร พลังงานความร้อนใต้พิภพ มักพบในบริเวณที่เรียกว่า  Hot Spots  คือบริเวณที่มีการไหล หรือแผ่กระจาย ของความร้อน จากภายใต้ผิวโลกขึ้นมาสู่ผิวดินมากกว่าปกติ และมีค่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความลึก  ( Geothermal Gradient )  มากกว่าปกติประมาณ  1.5-5   เท่า เนื่องจากในบริเวณดังกล่าว เปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ ทำให้เกิดรอยแตกของชั้นหิน ปกติแล้วขนาดของแนวรอยแตก ที่ผิวดินจะใหญ่และค่อยๆ เล็กลงเมื่อลึกลงไปใต้ผิวดิน และเมื่อมีฝนตกลงมาในบริเวณนั้น ก็จะมีน้ำบางส่วนไหลซึม ลงไปภายใต้ผิวโลก ตามแนวรอยแตกดังกล่าว น้ำนั้น จะไปสะสมตัว และรับความร้อนจากชั้นหิน ที่มีความร้อนจนกระทั่งน้ำกลายเป็นน้ำร้อนและไอน้ำ แล้วจะพยายามแทรกตัว ตามแนวรอยแตกของชั้นหิน ขึ้นมาบนผิวดิน และปรากฏให้เห็นในรูปของบ่อน้ำร้อน ,  น้ำพุร้อน ,  ไอน้ำร้อน ,  บ่อโคลนเดือด เป็นต้น
3 .  ลักษณะของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบในโลก แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบในโลกแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ๆ ได้  3   ลักษณะคือ  3.1   แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่  ( Steam Dominated )   เป็นแหล่งกักเก็บความร้อนที่ประกอบด้วย ไอน้ำมากกว่า  95%   โดยทั่วไปมักจะเป็น แหล่งที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับหินหลอมเหลวร้อนที่อยู่ตื้นๆ อุณหภูมิของไอน้ำร้อนจะสูงกว่า  240 ฐ C  ขึ้นไป แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่นี้ จะพบน้อยมากในโลกเรา แต่สามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด เช่น  The Geyser Field  ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และ  Larderello  ในประเทศอิตาลี เป็นต้น
3.2   แหล่งที่เป็นน้ำร้อนส่วนใหญ่  ( Hot Water Dominated )   เป็นแหล่งกักเก็บสะสมความร้อนที่ประกอบไปด้วย น้ำร้อนเป็นส่วนใหญ่ อุณหภูมิน้ำร้อนจะมีตั้งแต่  100 ฐ C  ขึ้นไป ระบบนี้จะพบมากที่สุดในโลก เช่นที่  Cerro Prieto  ในประเทศเม็กซิโก และ  Hatchobaru  ในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น  3.3   แหล่งหินร้อนแห้ง  ( Hot Dry Rock )   เป็นแหล่งสะสมความร้อน ที่เป็นหินเนื้อแน่น แต่ไม่มีน้ำร้อนหรือไอน้ำ ไหลหมุนเวียนอยู่ ดังนั้นถ้าจะนำมาใช้จำเป็นต้องอัดน้ำเย็นลงไปทางหลุมเจาะ ให้น้ำได้รับความร้อนจากหินร้อน โดยไหล หมุนเวียนภายในรอยแตกที่กระทำขึ้น จากนั้นก็ทำการสูบน้ำร้อนนี้ ขึ้นมาทางหลุมเจาะอีกหลุมหนึ่ง ซึ่งเจาะลงไป ให้ตัดกับรอยแตกดังกล่าว แหล่งหินร้อนแห้งนี้ กำลังทดลองผลิตไฟฟ้า ที่ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา  และที่  Oita Prefecture  ประเทศญี่ปุ่น
4 .  แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมีอยู่ในเขตใดบ้างในโลก แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ จะมีอยู่ในเขตที่เปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ เขตที่ภูเขาไฟยังคุกรุ่นอยู่ และบริเวณ ที่มีชั้นของเปลือกโลกบาง จะเห็นได้ว่าบริเวณแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่พบตามบริเวณต่างๆ ของโลกได้แก่ ประเทศที่อยู่ด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศต่างๆ บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ประเทศกรีซ ประเทศอิตาลี และประเทศไอซ์แลนด์ เป็นต้น
แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพบนโลก
5 .  หลักและวิธีการสำรวจเพื่อพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพโดยทั่วไป โดยที่บริเวณแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ มักจะมีบ่อน้ำร้อน ,  น้ำพุร้อน ,  ไอน้ำร้อน ,  โคลนเดือด และก๊าซ ปรากฏให้เห็น แต่การที่จะนำพลังงานมาใช้ประโยชน์ได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของแหล่งกักเก็บ อุณหภูมิ ความดัน และลักษณะของแหล่ง ว่าประกอบไปด้วยน้ำร้อนหรือไอน้ำเป็นส่วนใหญ่ การที่จะทราบว่าแหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพอยู่บริเวณไหน ที่ระดับความลึกประมาณเท่าไร และอุณหภูมิที่แหล่งกักเก็บ จำเป็นต้องมีการสำรวจทั้งบนผิวดินและใต้ผิวดิน การใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ระดับอุณหภูมิต่างๆ แตกต่างกัน    การสำรวจแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพต้องดำเนินการหลายด้านประกอบกันอันได้แก่
5.1   การสำรวจธรณีวิทยา การสำรวจธรณีวิทยา คือ การสำรวจเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางธรณีวิทยาและธรณีวิทยาโครงสร้างกับแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ การสำรวจธรณีวิทยาจะคลุมพื้นที่ประมาณ  50-100   ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพนั้นๆ
จุดประสงค์ในการสำรวจทางธรณีวิทยานี้ก็เพื่อที่จะทราบ        -   ชนิดของชั้นหิน        -   การวางตัวและการเรียงลำดับชั้นหิน        -   อายุของหิน        -   โครงสร้างทางธรณีวิทยาของชั้นหินต่างๆ        -   บริเวณที่มีการแปรสภาพของชั้นดิน ,  หิน อันเนื่องมาจากอิทธิพลทาง ความร้อน ทั้งนี้เพื่อจะได้ประเมินชั้นหินที่อาจจะเป็นแหล่งกักเก็บและปิดกั้นแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ
การสำรวจธรณีวิทยา
5.2   การสำรวจธรณีเคมี การสำรวจธรณีเคมี คือการสำรวจเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของคุณสมบัติทางเคมีของน้ำ ก๊าซ และองค์ประกอบของหินกับแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำธรรมชาติร้อน ก๊าซ ดิน และหินบริเวณแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ และบริเวณใกล้เคียงแล้วนำมาวิเคราะห์ในห้องทดลองหาส่วนประกอบและคุณสมบัติทางเคมี
จุดประสงค์ในการสำรวจธรณีเคมีนี้ก็เพื่อที่จะ            ประเมินอุณหภูมิของแหล่งกักเก็บ โดยคำนวณจากปริมาณแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำร้อน เช่นปริมาณของ  Si, Mg  และ  Cl  อัตราส่วนของปริมาณ  Na  กับ  K  และ  Na, K  กับ  Ca            ประเมินลักษณะธรณีวิทยาที่เป็นแหล่งกักเก็บ ตลอดจนการหมุนเวียนของของไหล ในระบบพลังงานความร้อนใต้พิภพ            หาขอบเขตที่ได้รับอิทธิพลจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ            หาส่วนประกอบ ,  คุณสมบัติทางเคมีเพื่อศึกษาการกัดกร่อน ,  การเกิดตะกรันและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลของการสำรวจธรณีเคมีนี้ จะเป็นเครื่องชี้ถึงความเหมาะสมของการพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ สำคัญมาก อย่างหนึ่ง
5.3   การสำรวจธรณีฟิสิกส์ การสำรวจธรณีฟิสิกส์ คือการตรวจสอบคุณสมบัติของชั้นหินใต้ผิวดิน หรือเปลือกโลกในบริเวณที่ทำการสำรวจโดยใช้เครื่องมือวัดบนผิวดิน จากข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้ผิวดิน ในการสำรวจพลังงานความร้อนใต้พิภพ ผลการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์จะสามารถบอกได้ว่าบริเวณใดควรจะเป็นแหล่งกักเก็บพลังงาน ซึ่งผลการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์นี้จะนำไปใช้วางแผนสำรวจต่อไป
จุดประสงค์ของการสำรวจธรณีฟิสิกส์       - เพื่อตรวจสอบผลการสำรวจธรณีวิทยาโดยนำผลที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางธรณีวิทยา       -  เพื่อให้รู้โครงสร้างธรณีวิทยาของแหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพ       - เป็นข้อมูลสำหรับวางแผนการเจาะสำรวจ
การสำรวจธรณีฟิสิกส์ในการหาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ใช้กันโดยทั่วไปมีดังนี้           การวัดค่าแรงโน้มถ่วงของโลก  ( Gravity Survey )  เพื่อหาโครงสร้างของชั้นหินใต้ผิวดิน          การวัดค่าสนามแม่เหล็ก  ( Magnetic Survey )  เพื่อหาโครงสร้าง ของชั้นหินใต้ผิวดิน ขอบเขตของหินอัคนี และ ขอบเขตของชั้นหิน ที่เปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากอิทธิพลทางความร้อน          การวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า  ( Resistivity Survey )  เพื่อหาความหนาของชั้นหิน ตลอดจนโครงสร้าง ของชั้นหิน ที่อาจจะเป็นแหล่งกักเก็บ          การวัดค่าคลื่นความสั่นสะเทือน  ( Seismic Survey )  เพื่อความหนาของชั้นหินแต่ละชนิด ,  โครงสร้างของชั้นหิน หรือเปลือกโลก ตลอดจนตำแหน่งของรอยเลื่อน  ( Fault )  และรอยแตก  ( Fracture )  ของชั้นหิน
5.4   การเจาะสำรวจ การเจาะสำรวจ คือการเจาะลงไปใต้ผิวดินเพื่อวัดหรือตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การที่จะเจาะลึกแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการจะวัดและตรวจสอบ การเจาะสำรวจพลังงานความร้อนใต้พิภพจะใช้เครื่องเจาะสำรวจเช่นเดียวกับที่ใช้กับงานเจาะสำรวจอื่นๆ เครื่องเจาะนี้ส่วนมากเปลี่ยนหัวเจาะในลักษณะต่างๆ ได้ตามต้องการ
วัตถุประสงค์ของการเจาะสำรวจก็คือ         -  เพื่อตรวจสอบสมมุติฐานต่างๆ ทางธรณีวิทยา         -  ตรวจสอบคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของชั้นหินทางความลึก         -  วัดค่าอัตราการไหลของความร้อน  ( Heat Flow )  และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงตามความลึก  ( Geothermal Gradient )        -  เพื่อหาบริเวณที่คาดว่าจะเป็นแหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพ          เพื่อศึกษาคุณสมบัติของแหล่งกักเก็บ          เพื่อศึกษาคุณสมบัติของของไหล
การเจาะสำรวจมีอยู่  2   วิธี        -   การเจาะเพื่อเก็บแท่งตัวอย่าง  ( Core Sample )  จะเจาะโดยใช้หัวเจาะสำหรับเก็บตัวอย่างดินและหินที่เรียกว่า  Core Bit  ซึ่ง  Core Bit  ก็มีหลายชนิดด้วยกันการจะใช้ชนิดไหนก็ขึ้นกับลักษณะของชั้นดินหรือชั้นหิน       -    การเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างเศษหินหรือดิน  ( Cutting Sample )  จะเจาะโดยใช้หัวเจาะที่เรียกว่า  Rock Bit  โดยหัวเจาะนี้จะบดหินหรือดินให้เป็นเศษเล็กๆ ซึ่งหัวเจาะจำพวกนี้ก็มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่จะใช้
5.5   การเจาะหลุมผลิต หลุมผลิต คือหลุมเจาะที่มีจุดมุ่งหมายที่จะนำน้ำร้อนหรือไอน้ำร้อนจากแหล่งกักเก็บขึ้นมาใช้ประโยชน์ การเจาะหลุมผลิตจะดำเนินการเมื่อการเจาะสำรวจยืนยันว่าแหล่งกักเก็บมีศักยภาพสูงพอที่จะพัฒนาขึ้นมาใช้ได้อย่างคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ ปัจจุบันนี้แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพได้รับการพัฒนามาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากมาย และอยู่ในระหว่างการพัฒนาก็มีอยู่ในหลายๆ ประเทศด้วยกัน ในปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพของประเทศต่างๆ ในโลกกำลังผลิตรวมกันมากกว่า  5,800   เมกะวัตต์ ในปี ค . ศ . 1990   ประเทศที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพได้มากที่สุดคือประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมาได้แก่ประเทศฟิลิปปินส์ และมีอีกหลายๆ ประเทศที่กำลังมีโครงการเพิ่มกำลังผลิตและเริ่มผลิต
6 .  การผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่งกักเก็บที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ ของไหลจะอยู่ในสภาพของไอน้ำร้อนปนกับน้ำร้อน ในกรณีที่มีอุณหภูมิสูงกว่า  180 ฐ C  และความดันมากกว่า  10   บรรยากาศ สามารถแยกไอน้ำร้อนไปหมุนกังหันผลิตไฟฟ้าได้โดยตรง เช่นเดียวกับ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั่วไป ในกรณีที่แหล่งกักเก็บมีอุณหภูมิสูงปานกลางมีปริมาณน้ำร้อนมาก โดยทั่วไปเป็นกรณีที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า  180 ฐ C  แล้ว การผลิตกระแสไฟฟ้าจะต้องอาศัย สารทำงาน  ( Working Fluid )  ซึ่งเป็นของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำ เช่น  Freon, Amonia  หรือ  Isobutane  เป็นตัวรับความร้อนจากน้ำร้อนสารทำงานดังกล่าว และเปลี่ยนสภาพเป็นไอและมีความดันสูงขึ้นจนสามารถหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งโรงไฟฟ้าชนิดนี้ เราเรียกว่า โรงไฟฟ้าระบบ  2   วงจร ซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์กันมากขึ้นในปัจจุบัน
โรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ
7 .  การใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพในแง่เศรษฐศาสตร์ ข้อมูลการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศต่างๆ เท่าที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพมีต้นทุนต่ำกว่าใช้ถ่านหินและน้ำมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้ประเทศต่างๆ จึงพากันให้ความสนใจต่อการแสวงหาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้ประโยชน์ มากขึ้นเรื่อยๆ จากการประเมินค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ พบว่า ต้นทุนจะขึ้นอยู่กับขนาดของโรงไฟฟ้าที่ติดตั้ง ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กต้นทุนจะสูงกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น ถ้าติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพขนาด  5   เมกะวัตต์ ต้นทุนจะประมาณ  1.34-1.60   บาทต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าขนาด  50   เมกะวัตต์ ต้นทุนจะลดลงเหลือประมาณ  0.64  -  0.77   บาทต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง ซึ่งหากเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาแล้ว พบว่าถ้าติดตั้งโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาขนาด  75   เมกะวัตต์ ต้นทุนเฉพาะค่าเชื้อเพลิงอย่างเดียวจะประมาณ  1.25   บาทต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง จึงเห็นได้ว่าการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพถูกกว่า
8 .  การใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพพิจารณาในแง่สิ่งแวดล้อม พลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้านดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในแง่สิ่งแวดล้อมแล้วก็อาจมีผลกระทบได้ เช่นเดียวกับการใช้พลังงานชนิดอื่น ดังนั้นการนำมาใช้จึงต้องเตรียมศึกษาและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไว้ด้วย กระนั้นก็ตามเป็นที่น่ายินดีว่าการใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนที่ร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม
9 .  ศักย์ของพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศไทย ในประเทศไทยพบแหล่งน้ำพุร้อนกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปถึง  90   แหล่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศ ซึ่งบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่เปลือกโลกได้ผ่านกระบวนการทางธรณีวิทยาที่คล้าย ๆ กันมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศไทยอย่างจริงจัง เพิ่งจะเริ่มต้นเมื่อไม่นานนี้ และได้เน้นหนักในเฉพาะบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น ปัจจุบันนี้ได้สามารถพัฒนาแหล่งพลังงานธรรมชาตินี้ขึ้นมา ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้สำเร็จเป็นแหล่งแรกของประเทศไทยแล้ว คือ เป็นแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่                                                                             
10 .  สถานภาพและแนวโน้มการพัฒนาใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพ 10.1   สถานภาพและแนวโน้มในต่างประเทศ ปัจจุบันการใช้ประโยชน์ที่เด่นชัดจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ การนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าและการถ่ายเทความร้อนโดยตรง เพื่อทำความอบอุ่นในครัวเรือน รวมทั้งการปลูกพืชผลและเลี้ยงสัตว์น้ำ  ( greenhouse and aquaculture )  ประเทศที่มีการพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพขึ้นมาใช้ประโยชน์อย่างเด่นชัด สามารถจำแนกได้เป็น  2   กลุ่ม กล่าวคือ
1 .  กลุ่มประเทศที่มีสภาพทางธรณีวิทยาเอื้ออำนวยต่อศักยภาพทางพลังงานความร้อนใต้พิภพ  ซึ่งได้แก่ บริเวณที่เปลือกโลกมีการเคลื่อนไหว มีแนวของภูเขาไฟอย่างต่อเนื่อง  ( tectonic active area )  ซึ่งได้แก่ประเทศ ไอซ์แลนด์ อิตาลี สหรัฐอเมริกา  ( แถบตะวันตก )  เม็กซิโก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น ประเทศเหล่านี้ ได้มีการพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพขึ้นมาผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วทั้งสิ้น โดยมีขนาดของกำลังผลิตแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสถานภาพของการสำรวจและพัฒนา ตลอดจนสภาพธรณีวิทยาของแต่ละประเทศและแต่ละพื้นที่          2 .  กลุ่มประเทศที่มีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ  และอยู่ในเขตภูมิภาคอากาศหนาว ซึ่งเอื้ออำนวยให้มีการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้เพื่อทำความอบอุ่นในครัวเรือน โรงปลูกพืชผลและเลี้ยงสัตว์ อาทิ ไอซ์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ ในขณะที่ประเทศที่อยู่ในเขตภูมิภาคอากาศร้อนและมีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพอยู่ ไม่ได้มีการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้เพื่อประโยชน์ทางด้านนี้มากนัก
10.1.1   สถานภาพและแนวโน้มด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าในต่างประเทศ ปัจจุบันการพัฒนานำพลังงานความร้อนใต้พิภพ ขึ้นมาผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีประมาณ  9,500   เมกะวัตต์ อัตราการขยายตัวในการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพขึ้นมาใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประมาณ  16.5   เปอร์เซ็นต์ต่อปี
10.1.2   สถานภาพและแนวโน้มในด้านการใช้ประโยชน์โดยตรงในต่างประเทศ ปัจจุบันการใช้ประโยชน์โดยตรงจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น โดยนำพลังงานความร้อนมาให้ความอบอุ่นที่อยู่อาศัย สำนักงาน โรงปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนเพื่อสุขภาพบำบัด และการพักผ่อน การใช้ประโยชน์ไปจะมีตั้งแต่ขนาดเล็กโดยการเจาะหลุมในบริเวณเขตบ้านตนเอง เพื่อนำน้ำร้อนขึ้นมาใช้ประโยชน์ไปจนถึงที่มีขนาดใหญ่และเป็นระบบ จึงมีการใช้ประโยชน์ในลักษณะทั้งที่มีการควบคุม และไม่มีการควบคุม                                                                                                            
10.1.3   สถานภาพและแนวโน้มด้านการวิจัยและพัฒนาในต่างประเทศ สำหรับงานด้านการวิจัยและพัฒนาที่กำลังอยู่ในความสนใจในต่างประเทศ และจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศ ได้แก่ งานวิจัยและพัฒนาทางด้านระบบหินร้อนแห้ง  ( Hot Dry Rock )  ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ คือ การพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพที่กักเก็บอยู่ในหินอัคนีที่เย็นตัวภายใต้เปลือกโลก หินอัคนีนี้จะยังคงมีความร้อนกักเก็บสะสมตัวอยู่มาก แต่เป็นหินเนื้อแน่นไม่มีรอยแตก และไม่มีน้ำร้อนกักเก็บอยู่ วิธีการนำความร้อนขึ้นมาใช้กระทำโดยการเจาะหลุมลงไปในหินอัคนีนี้จำนวนอย่างน้อย  2   หลุม โดยหลุมที่หนึ่งเป็นหลุมที่เจาะลงไปแล้วอาศัยเทคนิควิธีการที่เหมาะสมให้หินเกิดรอยแตก อาจจะโดยวิธีการระเบิด หรืออัดน้ำที่มีความดันสูงลงไป  ( Hydraulic Fracturing )  จากนั้นอัดน้ำเย็นลงไปซึ่งความร้อนที่มีอยู่ในหินจะทำให้น้ำร้อนขึ้นและไหลหมุนเวียนอยู่ในรอยแตก หลุมที่สองที่เจาะลงไปจะพยายามเจาะให้ตัดแนวรอยแตกที่ทำขึ้นและสูบนำน้ำร้อนขึ้นมาใช้ การวิจัยพัฒนาดังกล่าว ปัจจุบันกำลังดำเนินการอยู่ที่  Fenton,  สหรัฐอเมริกา  Cornwall,  อังกฤษ  Urach,  เยอรมันนี  Sontz - sons - Forest  ฝรั่งเศส และที่  Yohedeke, Hijiori, Higachi - Hachimanti  ญี่ปุ่น
10.1.4   สถานภาพการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาบุคลากรในต่างประเทศ ปัจจุบันการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาบุคลากรทางด้านพลังงานความร้อนใต้พิภพได้กระทำผ่านหลักสูตรฝึกอบรมที่สนับสนุน โดยองค์การสหประชาชาติ สถาบันที่ให้การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่สำคัญใน  4   ประเทศ คือ           1 .  Geothermal Institute, University of Auckland, New Zealand         2 .  International School of Geothermics, Pisa, Italy         3 .  Kyushu International School of Geothermics, Fukuoka, Japan         4 .  International School of Geothermics, Reykjavik, Icelamd
10.2   สถานภาพและแนวโน้มในประเทศ ประเทศไทยเริ่มต้นศึกษาการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพ ขึ้นมาใช้อย่างจริงจัง เมื่อปี พ . ศ .  2520   อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง อาทิ นักวิชาการที่มีประสบการณ์ จำนวนบุคลากร งบประมาณ และสภาพธรณีวิทยาที่เป็นตัวกำหนดขนาดของแหล่งพลังงาน ทำให้การวิจัย พัฒนาทางด้านนี้ยังไม่สามารถแสดงผลที่เด่นชัด ถึงแม้จะได้มีการพัฒนาแหล่งพลังงานธรรมชาตินี้ขึ้นมาใช้ภายประเทศแล้วก็ตาม
10.2.1   สถานภาพด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศ ประเทศไทยจัดเป็นประเทศแรกในภูมิภาค ที่นำพลังงานความร้อนใต้พิภพขึ้นมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย ระบบ  2   วงจร  ( Binary - Cycle )  ที่แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง อ . ฝาง จ . เชียงใหม่ โดยได้เริ่มเดินเครื่องเมื่อวันที่  5   ธันวาคม พ . ศ . 2532   โรงงานมีขนาดกำลังผลิต  300   กิโลวัตต์ สามารถทดแทนน้ำมันได้ปีละประมาณ  300,000   ลิตร ผลพลอยได้จากโรงงานไฟฟ้า คือ น้ำเพื่อการเกษตร ปีละประมาณ  500,000   ลบ . ม .  ซึ่งเป็นน้ำหลังจากนำความร้อนไปใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า แล้วทำการกักเก็บให้อุณหภูมิลดลง และปล่อยลงทางน้ำสาธารณะเพื่อการเกษตรกรรมต่อไป การทำงานของระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพที่อำเภอฝาง และการใช้ประโยชน์แบบครบวงจรของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง
10.2.2   สถานภาพด้านการใช้ประโยชน์โดยตรงในประเทศ ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพ โดยตรงในประเทศยังมีอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่แหล่งน้ำพุร้อนจะถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและกายภาพ บำบัด ทั้งนี้เนื่องจากความน่าสนใจของน้ำร้อนในแง่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และความเชื่อที่ว่า น้ำพุร้อน เป็นน้ำแร่ที่สามารถให้ผลในแง่สุขภาพบำบัด การใช้ประโยชน์โดยตรงในแง่ของการใช้ความร้อน เพื่อการอบแห้งผลิตผลเกษตร การทำห้องเย็นเพื่อเก็บผลิตผลการเกษตร การทำความเย็นในอาคาร เหล่านี้ยังไม่มีการใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง และอยู่ระดับของโรงงานต้นแบบ และการวิจัยพัฒนาเท่านั้น
10.2.3   สถานภาพด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศ ปัจจุบันการวิจัยและพัฒนาทางด้านพลังงานความร้อนใต้พิภพ ในประเทศเน้นหนักทางด้านการนำไปใช้ประโยชน์โดยตรง กล่าวคือ เพื่อใช้โรงอบผลิตผลเกษตร การทำห้องเย็นเพื่อเก็บผลิตผลการเกษตร โครงการการใช้ประโยชน์พลังงานความร้อนใต้พิภพแบบอเนกประสงค์ เป็นโครงการที่จัดได้ว่าเป็นโครงการวิจัยพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพอย่างเต็มรูปแบบ พลังงานความร้อนจะถูกนำมาใช้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตกระแสไฟฟ้า โรงอบ ห้องเย็น เพื่อเก็บผลิตผลเกษตร การท่องเที่ยวและสุขภาพบำบัด ตลอดจนน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร การวิจัยและพัฒนาที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถเป็นต้นแบบการใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาติชนิดนี้ได้อย่างดีในประเทศ
10.3   แนวโน้มที่ควรจะเป็นในประเทศไทย ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ขนาดศักยภาพปานกลางอยู่เป็นจำนวนมาก การใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาตินี้ ยังอยู่ในวงจำกัด มีการใช่ประโยชน์โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในระแวกใกล้เคียง เพื่อประโยชน์เล็กน้อย และมีการพยายามพัฒนาพื้นที่เพื่อ เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ที่ไม่คุ้มค่าและเต็มตามศักยภาพของพลังงานที่มีอยู่ โดยที่แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศมีกระจายอยู่ทั่วไป แนว ทางการพัฒนาในระบบอเนกประสงค์และครบวงจร จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นการพัฒนาแหล่งพลังงานธรรมชาติอย่างเต็มศักยภาพ
จบการนำเสนอ

More Related Content

What's hot

บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือดบทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือดPinutchaya Nakchumroon
 
แบบทดสอบวิทย์ ม.1ตอนที่2
 แบบทดสอบวิทย์ ม.1ตอนที่2 แบบทดสอบวิทย์ ม.1ตอนที่2
แบบทดสอบวิทย์ ม.1ตอนที่2fal-war
 
เอกสารประกอบการเรียนวิชาคลื่นเสียงแสง เรื่อง เสียง
เอกสารประกอบการเรียนวิชาคลื่นเสียงแสง เรื่อง เสียงเอกสารประกอบการเรียนวิชาคลื่นเสียงแสง เรื่อง เสียง
เอกสารประกอบการเรียนวิชาคลื่นเสียงแสง เรื่อง เสียงTom Vipguest
 
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่  6ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่  6
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6Supaluk Juntap
 
8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบ8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบWijitta DevilTeacher
 
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศ
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศลมฟ้าอากาศ บรรยากาศ
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศSupaluk Juntap
 
องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ
องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ
องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศkrupornpana55
 
ปิโตรเลียม (Petroleum)
ปิโตรเลียม (Petroleum)ปิโตรเลียม (Petroleum)
ปิโตรเลียม (Petroleum)พัน พัน
 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีครูเสกสรรค์ สุวรรณสุข
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)oraneehussem
 
การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่องานวิจัย
การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่องานวิจัยการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่องานวิจัย
การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่องานวิจัยChantana Papattha
 
บทเรียนสำเร็จรูป เล่มที่ 1 สสารและสาร
บทเรียนสำเร็จรูป เล่มที่ 1 สสารและสารบทเรียนสำเร็จรูป เล่มที่ 1 สสารและสาร
บทเรียนสำเร็จรูป เล่มที่ 1 สสารและสารKetsarin Prommajun
 
ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊สความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊สChanthawan Suwanhitathorn
 
แรงดึงดูดระหว่างมวล2560
แรงดึงดูดระหว่างมวล2560แรงดึงดูดระหว่างมวล2560
แรงดึงดูดระหว่างมวล2560krulef1805
 

What's hot (20)

บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือดบทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
 
ของไหล
ของไหลของไหล
ของไหล
 
แบบทดสอบวิทย์ ม.1ตอนที่2
 แบบทดสอบวิทย์ ม.1ตอนที่2 แบบทดสอบวิทย์ ม.1ตอนที่2
แบบทดสอบวิทย์ ม.1ตอนที่2
 
เอกสารประกอบการเรียนวิชาคลื่นเสียงแสง เรื่อง เสียง
เอกสารประกอบการเรียนวิชาคลื่นเสียงแสง เรื่อง เสียงเอกสารประกอบการเรียนวิชาคลื่นเสียงแสง เรื่อง เสียง
เอกสารประกอบการเรียนวิชาคลื่นเสียงแสง เรื่อง เสียง
 
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่  6ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่  6
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
 
8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบ8พลังงานภายในระบบ
8พลังงานภายในระบบ
 
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศ
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศลมฟ้าอากาศ บรรยากาศ
ลมฟ้าอากาศ บรรยากาศ
 
องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ
องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ
องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศ
 
ปิโตรเลียม (Petroleum)
ปิโตรเลียม (Petroleum)ปิโตรเลียม (Petroleum)
ปิโตรเลียม (Petroleum)
 
Echem 1 redox
Echem 1 redoxEchem 1 redox
Echem 1 redox
 
ธาตุ
ธาตุธาตุ
ธาตุ
 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์
 
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
 
Pre onet วิทย์ม.3 ปีการศึกษา 2554
Pre onet วิทย์ม.3 ปีการศึกษา 2554Pre onet วิทย์ม.3 ปีการศึกษา 2554
Pre onet วิทย์ม.3 ปีการศึกษา 2554
 
ความร้อน
ความร้อนความร้อน
ความร้อน
 
การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่องานวิจัย
การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่องานวิจัยการสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่องานวิจัย
การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่องานวิจัย
 
บทเรียนสำเร็จรูป เล่มที่ 1 สสารและสาร
บทเรียนสำเร็จรูป เล่มที่ 1 สสารและสารบทเรียนสำเร็จรูป เล่มที่ 1 สสารและสาร
บทเรียนสำเร็จรูป เล่มที่ 1 สสารและสาร
 
ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊สความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
 
แรงดึงดูดระหว่างมวล2560
แรงดึงดูดระหว่างมวล2560แรงดึงดูดระหว่างมวล2560
แรงดึงดูดระหว่างมวล2560
 

Similar to พลังงานใต้พื้นภิภพ

พลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานความร้อนใต้พิภพพลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานความร้อนใต้พิภพthanakit553
 
การสำรวจปิโตรเลียม
การสำรวจปิโตรเลียมการสำรวจปิโตรเลียม
การสำรวจปิโตรเลียมSutisa Tantikulwijit
 
อากาศภาค
อากาศภาคอากาศภาค
อากาศภาคPa'rig Prig
 
โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงnasanunwittayakom
 
โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงkalita123
 
กำเนิดปิโตรเลียม
กำเนิดปิโตรเลียมกำเนิดปิโตรเลียม
กำเนิดปิโตรเลียมBoom Rattamanee Boom
 
กำเนิดปิโตรเลียม
กำเนิดปิโตรเลียมกำเนิดปิโตรเลียม
กำเนิดปิโตรเลียมBoom Rattamanee Boom
 

Similar to พลังงานใต้พื้นภิภพ (11)

พลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานความร้อนใต้พิภพพลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานความร้อนใต้พิภพ
 
โลกของเรา (The Earth)
โลกของเรา (The Earth)โลกของเรา (The Earth)
โลกของเรา (The Earth)
 
Change e2009 1
Change e2009 1Change e2009 1
Change e2009 1
 
แบบฝึกหัด เรื่อง ธรณีภาค
แบบฝึกหัด เรื่อง ธรณีภาคแบบฝึกหัด เรื่อง ธรณีภาค
แบบฝึกหัด เรื่อง ธรณีภาค
 
การสำรวจปิโตรเลียม
การสำรวจปิโตรเลียมการสำรวจปิโตรเลียม
การสำรวจปิโตรเลียม
 
อากาศภาค
อากาศภาคอากาศภาค
อากาศภาค
 
โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลง
 
โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลง
 
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (Fossil fuels
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (Fossil fuelsเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (Fossil fuels
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (Fossil fuels
 
กำเนิดปิโตรเลียม
กำเนิดปิโตรเลียมกำเนิดปิโตรเลียม
กำเนิดปิโตรเลียม
 
กำเนิดปิโตรเลียม
กำเนิดปิโตรเลียมกำเนิดปิโตรเลียม
กำเนิดปิโตรเลียม
 

พลังงานใต้พื้นภิภพ

  • 1. รายงาน เรื่อง พลังงานใต้พื้นภิภพ
  • 2.
  • 3. 1 . พลังงานความร้อนใต้พิภพคืออะไร พลังงานความร้อนใต้พิภพคือ พลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อน ที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก ( Geo = โลก , Thermal = ความร้อน ) โดยปกติแล้วอุณหภูมิภายใต้ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น ตามความลึก กล่าวคือยิ่งลึกลงไป อุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้น และในบริเวณส่วนล่างของ ชั้นเปลือกโลก ( Continental Crust ) หรือที่ความลึกประมาณ 25-30 กิโลเมตร อุณหภูมิจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ประมาณ 250 ถึง 1,000 ฐ C ในขณะที่ตรงจุดศูนย์กลางของโลก อุณหภูมิอาจจะสูงถึง 3,500 ถึง 4,500 ฐ C
  • 5. 2 . พลังงานความร้อนใต้พิภพเกิดขึ้นอย่างไร พลังงานความร้อนใต้พิภพ มักพบในบริเวณที่เรียกว่า Hot Spots คือบริเวณที่มีการไหล หรือแผ่กระจาย ของความร้อน จากภายใต้ผิวโลกขึ้นมาสู่ผิวดินมากกว่าปกติ และมีค่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความลึก ( Geothermal Gradient ) มากกว่าปกติประมาณ 1.5-5 เท่า เนื่องจากในบริเวณดังกล่าว เปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ ทำให้เกิดรอยแตกของชั้นหิน ปกติแล้วขนาดของแนวรอยแตก ที่ผิวดินจะใหญ่และค่อยๆ เล็กลงเมื่อลึกลงไปใต้ผิวดิน และเมื่อมีฝนตกลงมาในบริเวณนั้น ก็จะมีน้ำบางส่วนไหลซึม ลงไปภายใต้ผิวโลก ตามแนวรอยแตกดังกล่าว น้ำนั้น จะไปสะสมตัว และรับความร้อนจากชั้นหิน ที่มีความร้อนจนกระทั่งน้ำกลายเป็นน้ำร้อนและไอน้ำ แล้วจะพยายามแทรกตัว ตามแนวรอยแตกของชั้นหิน ขึ้นมาบนผิวดิน และปรากฏให้เห็นในรูปของบ่อน้ำร้อน , น้ำพุร้อน , ไอน้ำร้อน , บ่อโคลนเดือด เป็นต้น
  • 6. 3 . ลักษณะของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบในโลก แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบในโลกแบ่งเป็นลักษณะใหญ่ๆ ได้ 3 ลักษณะคือ 3.1 แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่ ( Steam Dominated ) เป็นแหล่งกักเก็บความร้อนที่ประกอบด้วย ไอน้ำมากกว่า 95% โดยทั่วไปมักจะเป็น แหล่งที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับหินหลอมเหลวร้อนที่อยู่ตื้นๆ อุณหภูมิของไอน้ำร้อนจะสูงกว่า 240 ฐ C ขึ้นไป แหล่งที่เป็นไอน้ำส่วนใหญ่นี้ จะพบน้อยมากในโลกเรา แต่สามารถนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด เช่น The Geyser Field ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Larderello ในประเทศอิตาลี เป็นต้น
  • 7. 3.2 แหล่งที่เป็นน้ำร้อนส่วนใหญ่ ( Hot Water Dominated ) เป็นแหล่งกักเก็บสะสมความร้อนที่ประกอบไปด้วย น้ำร้อนเป็นส่วนใหญ่ อุณหภูมิน้ำร้อนจะมีตั้งแต่ 100 ฐ C ขึ้นไป ระบบนี้จะพบมากที่สุดในโลก เช่นที่ Cerro Prieto ในประเทศเม็กซิโก และ Hatchobaru ในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น 3.3 แหล่งหินร้อนแห้ง ( Hot Dry Rock ) เป็นแหล่งสะสมความร้อน ที่เป็นหินเนื้อแน่น แต่ไม่มีน้ำร้อนหรือไอน้ำ ไหลหมุนเวียนอยู่ ดังนั้นถ้าจะนำมาใช้จำเป็นต้องอัดน้ำเย็นลงไปทางหลุมเจาะ ให้น้ำได้รับความร้อนจากหินร้อน โดยไหล หมุนเวียนภายในรอยแตกที่กระทำขึ้น จากนั้นก็ทำการสูบน้ำร้อนนี้ ขึ้นมาทางหลุมเจาะอีกหลุมหนึ่ง ซึ่งเจาะลงไป ให้ตัดกับรอยแตกดังกล่าว แหล่งหินร้อนแห้งนี้ กำลังทดลองผลิตไฟฟ้า ที่ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และที่ Oita Prefecture ประเทศญี่ปุ่น
  • 8. 4 . แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมีอยู่ในเขตใดบ้างในโลก แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ จะมีอยู่ในเขตที่เปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ เขตที่ภูเขาไฟยังคุกรุ่นอยู่ และบริเวณ ที่มีชั้นของเปลือกโลกบาง จะเห็นได้ว่าบริเวณแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่พบตามบริเวณต่างๆ ของโลกได้แก่ ประเทศที่อยู่ด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ และอเมริกาเหนือ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศต่างๆ บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ประเทศกรีซ ประเทศอิตาลี และประเทศไอซ์แลนด์ เป็นต้น
  • 10. 5 . หลักและวิธีการสำรวจเพื่อพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพโดยทั่วไป โดยที่บริเวณแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ มักจะมีบ่อน้ำร้อน , น้ำพุร้อน , ไอน้ำร้อน , โคลนเดือด และก๊าซ ปรากฏให้เห็น แต่การที่จะนำพลังงานมาใช้ประโยชน์ได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของแหล่งกักเก็บ อุณหภูมิ ความดัน และลักษณะของแหล่ง ว่าประกอบไปด้วยน้ำร้อนหรือไอน้ำเป็นส่วนใหญ่ การที่จะทราบว่าแหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพอยู่บริเวณไหน ที่ระดับความลึกประมาณเท่าไร และอุณหภูมิที่แหล่งกักเก็บ จำเป็นต้องมีการสำรวจทั้งบนผิวดินและใต้ผิวดิน การใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ระดับอุณหภูมิต่างๆ แตกต่างกัน การสำรวจแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพต้องดำเนินการหลายด้านประกอบกันอันได้แก่
  • 11. 5.1 การสำรวจธรณีวิทยา การสำรวจธรณีวิทยา คือ การสำรวจเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางธรณีวิทยาและธรณีวิทยาโครงสร้างกับแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ การสำรวจธรณีวิทยาจะคลุมพื้นที่ประมาณ 50-100 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพนั้นๆ
  • 12. จุดประสงค์ในการสำรวจทางธรณีวิทยานี้ก็เพื่อที่จะทราบ       -  ชนิดของชั้นหิน       -  การวางตัวและการเรียงลำดับชั้นหิน       -  อายุของหิน       -  โครงสร้างทางธรณีวิทยาของชั้นหินต่างๆ       -  บริเวณที่มีการแปรสภาพของชั้นดิน , หิน อันเนื่องมาจากอิทธิพลทาง ความร้อน ทั้งนี้เพื่อจะได้ประเมินชั้นหินที่อาจจะเป็นแหล่งกักเก็บและปิดกั้นแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ
  • 14. 5.2 การสำรวจธรณีเคมี การสำรวจธรณีเคมี คือการสำรวจเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ของคุณสมบัติทางเคมีของน้ำ ก๊าซ และองค์ประกอบของหินกับแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ โดยการเก็บตัวอย่างน้ำธรรมชาติร้อน ก๊าซ ดิน และหินบริเวณแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ และบริเวณใกล้เคียงแล้วนำมาวิเคราะห์ในห้องทดลองหาส่วนประกอบและคุณสมบัติทางเคมี
  • 15. จุดประสงค์ในการสำรวจธรณีเคมีนี้ก็เพื่อที่จะ           ประเมินอุณหภูมิของแหล่งกักเก็บ โดยคำนวณจากปริมาณแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำร้อน เช่นปริมาณของ Si, Mg และ Cl อัตราส่วนของปริมาณ Na กับ K และ Na, K กับ Ca           ประเมินลักษณะธรณีวิทยาที่เป็นแหล่งกักเก็บ ตลอดจนการหมุนเวียนของของไหล ในระบบพลังงานความร้อนใต้พิภพ           หาขอบเขตที่ได้รับอิทธิพลจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ           หาส่วนประกอบ , คุณสมบัติทางเคมีเพื่อศึกษาการกัดกร่อน , การเกิดตะกรันและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลของการสำรวจธรณีเคมีนี้ จะเป็นเครื่องชี้ถึงความเหมาะสมของการพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ สำคัญมาก อย่างหนึ่ง
  • 16. 5.3 การสำรวจธรณีฟิสิกส์ การสำรวจธรณีฟิสิกส์ คือการตรวจสอบคุณสมบัติของชั้นหินใต้ผิวดิน หรือเปลือกโลกในบริเวณที่ทำการสำรวจโดยใช้เครื่องมือวัดบนผิวดิน จากข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบถึงลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้ผิวดิน ในการสำรวจพลังงานความร้อนใต้พิภพ ผลการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์จะสามารถบอกได้ว่าบริเวณใดควรจะเป็นแหล่งกักเก็บพลังงาน ซึ่งผลการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์นี้จะนำไปใช้วางแผนสำรวจต่อไป
  • 17. จุดประสงค์ของการสำรวจธรณีฟิสิกส์       - เพื่อตรวจสอบผลการสำรวจธรณีวิทยาโดยนำผลที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาทางธรณีวิทยา       - เพื่อให้รู้โครงสร้างธรณีวิทยาของแหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพ       - เป็นข้อมูลสำหรับวางแผนการเจาะสำรวจ
  • 18. การสำรวจธรณีฟิสิกส์ในการหาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ใช้กันโดยทั่วไปมีดังนี้         การวัดค่าแรงโน้มถ่วงของโลก ( Gravity Survey ) เพื่อหาโครงสร้างของชั้นหินใต้ผิวดิน         การวัดค่าสนามแม่เหล็ก ( Magnetic Survey ) เพื่อหาโครงสร้าง ของชั้นหินใต้ผิวดิน ขอบเขตของหินอัคนี และ ขอบเขตของชั้นหิน ที่เปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากอิทธิพลทางความร้อน         การวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า ( Resistivity Survey ) เพื่อหาความหนาของชั้นหิน ตลอดจนโครงสร้าง ของชั้นหิน ที่อาจจะเป็นแหล่งกักเก็บ         การวัดค่าคลื่นความสั่นสะเทือน ( Seismic Survey ) เพื่อความหนาของชั้นหินแต่ละชนิด , โครงสร้างของชั้นหิน หรือเปลือกโลก ตลอดจนตำแหน่งของรอยเลื่อน ( Fault ) และรอยแตก ( Fracture ) ของชั้นหิน
  • 19. 5.4 การเจาะสำรวจ การเจาะสำรวจ คือการเจาะลงไปใต้ผิวดินเพื่อวัดหรือตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การที่จะเจาะลึกแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการจะวัดและตรวจสอบ การเจาะสำรวจพลังงานความร้อนใต้พิภพจะใช้เครื่องเจาะสำรวจเช่นเดียวกับที่ใช้กับงานเจาะสำรวจอื่นๆ เครื่องเจาะนี้ส่วนมากเปลี่ยนหัวเจาะในลักษณะต่างๆ ได้ตามต้องการ
  • 20. วัตถุประสงค์ของการเจาะสำรวจก็คือ         - เพื่อตรวจสอบสมมุติฐานต่างๆ ทางธรณีวิทยา         - ตรวจสอบคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของชั้นหินทางความลึก         - วัดค่าอัตราการไหลของความร้อน ( Heat Flow ) และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงตามความลึก ( Geothermal Gradient )        - เพื่อหาบริเวณที่คาดว่าจะเป็นแหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพ         เพื่อศึกษาคุณสมบัติของแหล่งกักเก็บ         เพื่อศึกษาคุณสมบัติของของไหล
  • 21. การเจาะสำรวจมีอยู่ 2 วิธี       -  การเจาะเพื่อเก็บแท่งตัวอย่าง ( Core Sample ) จะเจาะโดยใช้หัวเจาะสำหรับเก็บตัวอย่างดินและหินที่เรียกว่า Core Bit ซึ่ง Core Bit ก็มีหลายชนิดด้วยกันการจะใช้ชนิดไหนก็ขึ้นกับลักษณะของชั้นดินหรือชั้นหิน       -   การเจาะเพื่อเก็บตัวอย่างเศษหินหรือดิน ( Cutting Sample ) จะเจาะโดยใช้หัวเจาะที่เรียกว่า Rock Bit โดยหัวเจาะนี้จะบดหินหรือดินให้เป็นเศษเล็กๆ ซึ่งหัวเจาะจำพวกนี้ก็มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่จะใช้
  • 22. 5.5 การเจาะหลุมผลิต หลุมผลิต คือหลุมเจาะที่มีจุดมุ่งหมายที่จะนำน้ำร้อนหรือไอน้ำร้อนจากแหล่งกักเก็บขึ้นมาใช้ประโยชน์ การเจาะหลุมผลิตจะดำเนินการเมื่อการเจาะสำรวจยืนยันว่าแหล่งกักเก็บมีศักยภาพสูงพอที่จะพัฒนาขึ้นมาใช้ได้อย่างคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ ปัจจุบันนี้แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพได้รับการพัฒนามาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากมาย และอยู่ในระหว่างการพัฒนาก็มีอยู่ในหลายๆ ประเทศด้วยกัน ในปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพของประเทศต่างๆ ในโลกกำลังผลิตรวมกันมากกว่า 5,800 เมกะวัตต์ ในปี ค . ศ . 1990 ประเทศที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพได้มากที่สุดคือประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมาได้แก่ประเทศฟิลิปปินส์ และมีอีกหลายๆ ประเทศที่กำลังมีโครงการเพิ่มกำลังผลิตและเริ่มผลิต
  • 23. 6 . การผลิตกระแสไฟฟ้า แหล่งกักเก็บที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ ของไหลจะอยู่ในสภาพของไอน้ำร้อนปนกับน้ำร้อน ในกรณีที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 180 ฐ C และความดันมากกว่า 10 บรรยากาศ สามารถแยกไอน้ำร้อนไปหมุนกังหันผลิตไฟฟ้าได้โดยตรง เช่นเดียวกับ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั่วไป ในกรณีที่แหล่งกักเก็บมีอุณหภูมิสูงปานกลางมีปริมาณน้ำร้อนมาก โดยทั่วไปเป็นกรณีที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 180 ฐ C แล้ว การผลิตกระแสไฟฟ้าจะต้องอาศัย สารทำงาน ( Working Fluid ) ซึ่งเป็นของเหลวที่มีจุดเดือดต่ำ เช่น Freon, Amonia หรือ Isobutane เป็นตัวรับความร้อนจากน้ำร้อนสารทำงานดังกล่าว และเปลี่ยนสภาพเป็นไอและมีความดันสูงขึ้นจนสามารถหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งโรงไฟฟ้าชนิดนี้ เราเรียกว่า โรงไฟฟ้าระบบ 2 วงจร ซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์กันมากขึ้นในปัจจุบัน
  • 25. 7 . การใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพในแง่เศรษฐศาสตร์ ข้อมูลการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศต่างๆ เท่าที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพมีต้นทุนต่ำกว่าใช้ถ่านหินและน้ำมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้ประเทศต่างๆ จึงพากันให้ความสนใจต่อการแสวงหาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้ประโยชน์ มากขึ้นเรื่อยๆ จากการประเมินค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ พบว่า ต้นทุนจะขึ้นอยู่กับขนาดของโรงไฟฟ้าที่ติดตั้ง ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กต้นทุนจะสูงกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น ถ้าติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพขนาด 5 เมกะวัตต์ ต้นทุนจะประมาณ 1.34-1.60 บาทต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าขนาด 50 เมกะวัตต์ ต้นทุนจะลดลงเหลือประมาณ 0.64 - 0.77 บาทต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง ซึ่งหากเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาแล้ว พบว่าถ้าติดตั้งโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตาขนาด 75 เมกะวัตต์ ต้นทุนเฉพาะค่าเชื้อเพลิงอย่างเดียวจะประมาณ 1.25 บาทต่อกิโลวัตต์ - ชั่วโมง จึงเห็นได้ว่าการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพถูกกว่า
  • 26. 8 . การใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพพิจารณาในแง่สิ่งแวดล้อม พลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้านดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในแง่สิ่งแวดล้อมแล้วก็อาจมีผลกระทบได้ เช่นเดียวกับการใช้พลังงานชนิดอื่น ดังนั้นการนำมาใช้จึงต้องเตรียมศึกษาและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไว้ด้วย กระนั้นก็ตามเป็นที่น่ายินดีว่าการใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนที่ร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม
  • 27. 9 . ศักย์ของพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศไทย ในประเทศไทยพบแหล่งน้ำพุร้อนกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปถึง 90 แหล่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ของประเทศ ซึ่งบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่เปลือกโลกได้ผ่านกระบวนการทางธรณีวิทยาที่คล้าย ๆ กันมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศไทยอย่างจริงจัง เพิ่งจะเริ่มต้นเมื่อไม่นานนี้ และได้เน้นหนักในเฉพาะบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น ปัจจุบันนี้ได้สามารถพัฒนาแหล่งพลังงานธรรมชาตินี้ขึ้นมา ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้สำเร็จเป็นแหล่งแรกของประเทศไทยแล้ว คือ เป็นแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่                                                                            
  • 28. 10 . สถานภาพและแนวโน้มการพัฒนาใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพ 10.1 สถานภาพและแนวโน้มในต่างประเทศ ปัจจุบันการใช้ประโยชน์ที่เด่นชัดจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ การนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าและการถ่ายเทความร้อนโดยตรง เพื่อทำความอบอุ่นในครัวเรือน รวมทั้งการปลูกพืชผลและเลี้ยงสัตว์น้ำ ( greenhouse and aquaculture ) ประเทศที่มีการพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพขึ้นมาใช้ประโยชน์อย่างเด่นชัด สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือ
  • 29. 1 . กลุ่มประเทศที่มีสภาพทางธรณีวิทยาเอื้ออำนวยต่อศักยภาพทางพลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งได้แก่ บริเวณที่เปลือกโลกมีการเคลื่อนไหว มีแนวของภูเขาไฟอย่างต่อเนื่อง ( tectonic active area ) ซึ่งได้แก่ประเทศ ไอซ์แลนด์ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ( แถบตะวันตก ) เม็กซิโก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น ประเทศเหล่านี้ ได้มีการพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพขึ้นมาผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วทั้งสิ้น โดยมีขนาดของกำลังผลิตแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสถานภาพของการสำรวจและพัฒนา ตลอดจนสภาพธรณีวิทยาของแต่ละประเทศและแต่ละพื้นที่         2 . กลุ่มประเทศที่มีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ และอยู่ในเขตภูมิภาคอากาศหนาว ซึ่งเอื้ออำนวยให้มีการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้เพื่อทำความอบอุ่นในครัวเรือน โรงปลูกพืชผลและเลี้ยงสัตว์ อาทิ ไอซ์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์ ในขณะที่ประเทศที่อยู่ในเขตภูมิภาคอากาศร้อนและมีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพอยู่ ไม่ได้มีการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้เพื่อประโยชน์ทางด้านนี้มากนัก
  • 30. 10.1.1 สถานภาพและแนวโน้มด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าในต่างประเทศ ปัจจุบันการพัฒนานำพลังงานความร้อนใต้พิภพ ขึ้นมาผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีประมาณ 9,500 เมกะวัตต์ อัตราการขยายตัวในการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพขึ้นมาใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประมาณ 16.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
  • 31. 10.1.2 สถานภาพและแนวโน้มในด้านการใช้ประโยชน์โดยตรงในต่างประเทศ ปัจจุบันการใช้ประโยชน์โดยตรงจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น โดยนำพลังงานความร้อนมาให้ความอบอุ่นที่อยู่อาศัย สำนักงาน โรงปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนเพื่อสุขภาพบำบัด และการพักผ่อน การใช้ประโยชน์ไปจะมีตั้งแต่ขนาดเล็กโดยการเจาะหลุมในบริเวณเขตบ้านตนเอง เพื่อนำน้ำร้อนขึ้นมาใช้ประโยชน์ไปจนถึงที่มีขนาดใหญ่และเป็นระบบ จึงมีการใช้ประโยชน์ในลักษณะทั้งที่มีการควบคุม และไม่มีการควบคุม                                                                                                           
  • 32. 10.1.3 สถานภาพและแนวโน้มด้านการวิจัยและพัฒนาในต่างประเทศ สำหรับงานด้านการวิจัยและพัฒนาที่กำลังอยู่ในความสนใจในต่างประเทศ และจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศ ได้แก่ งานวิจัยและพัฒนาทางด้านระบบหินร้อนแห้ง ( Hot Dry Rock ) ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ คือ การพัฒนาพลังงานความร้อนใต้พิภพที่กักเก็บอยู่ในหินอัคนีที่เย็นตัวภายใต้เปลือกโลก หินอัคนีนี้จะยังคงมีความร้อนกักเก็บสะสมตัวอยู่มาก แต่เป็นหินเนื้อแน่นไม่มีรอยแตก และไม่มีน้ำร้อนกักเก็บอยู่ วิธีการนำความร้อนขึ้นมาใช้กระทำโดยการเจาะหลุมลงไปในหินอัคนีนี้จำนวนอย่างน้อย 2 หลุม โดยหลุมที่หนึ่งเป็นหลุมที่เจาะลงไปแล้วอาศัยเทคนิควิธีการที่เหมาะสมให้หินเกิดรอยแตก อาจจะโดยวิธีการระเบิด หรืออัดน้ำที่มีความดันสูงลงไป ( Hydraulic Fracturing ) จากนั้นอัดน้ำเย็นลงไปซึ่งความร้อนที่มีอยู่ในหินจะทำให้น้ำร้อนขึ้นและไหลหมุนเวียนอยู่ในรอยแตก หลุมที่สองที่เจาะลงไปจะพยายามเจาะให้ตัดแนวรอยแตกที่ทำขึ้นและสูบนำน้ำร้อนขึ้นมาใช้ การวิจัยพัฒนาดังกล่าว ปัจจุบันกำลังดำเนินการอยู่ที่ Fenton, สหรัฐอเมริกา Cornwall, อังกฤษ Urach, เยอรมันนี Sontz - sons - Forest ฝรั่งเศส และที่ Yohedeke, Hijiori, Higachi - Hachimanti ญี่ปุ่น
  • 33. 10.1.4 สถานภาพการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาบุคลากรในต่างประเทศ ปัจจุบันการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาบุคลากรทางด้านพลังงานความร้อนใต้พิภพได้กระทำผ่านหลักสูตรฝึกอบรมที่สนับสนุน โดยองค์การสหประชาชาติ สถาบันที่ให้การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่สำคัญใน 4 ประเทศ คือ         1 . Geothermal Institute, University of Auckland, New Zealand         2 . International School of Geothermics, Pisa, Italy         3 . Kyushu International School of Geothermics, Fukuoka, Japan         4 . International School of Geothermics, Reykjavik, Icelamd
  • 34. 10.2 สถานภาพและแนวโน้มในประเทศ ประเทศไทยเริ่มต้นศึกษาการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพ ขึ้นมาใช้อย่างจริงจัง เมื่อปี พ . ศ . 2520 อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง อาทิ นักวิชาการที่มีประสบการณ์ จำนวนบุคลากร งบประมาณ และสภาพธรณีวิทยาที่เป็นตัวกำหนดขนาดของแหล่งพลังงาน ทำให้การวิจัย พัฒนาทางด้านนี้ยังไม่สามารถแสดงผลที่เด่นชัด ถึงแม้จะได้มีการพัฒนาแหล่งพลังงานธรรมชาตินี้ขึ้นมาใช้ภายประเทศแล้วก็ตาม
  • 35. 10.2.1 สถานภาพด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศ ประเทศไทยจัดเป็นประเทศแรกในภูมิภาค ที่นำพลังงานความร้อนใต้พิภพขึ้นมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย ระบบ 2 วงจร ( Binary - Cycle ) ที่แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง อ . ฝาง จ . เชียงใหม่ โดยได้เริ่มเดินเครื่องเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ . ศ . 2532 โรงงานมีขนาดกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ สามารถทดแทนน้ำมันได้ปีละประมาณ 300,000 ลิตร ผลพลอยได้จากโรงงานไฟฟ้า คือ น้ำเพื่อการเกษตร ปีละประมาณ 500,000 ลบ . ม . ซึ่งเป็นน้ำหลังจากนำความร้อนไปใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า แล้วทำการกักเก็บให้อุณหภูมิลดลง และปล่อยลงทางน้ำสาธารณะเพื่อการเกษตรกรรมต่อไป การทำงานของระบบการผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพที่อำเภอฝาง และการใช้ประโยชน์แบบครบวงจรของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง
  • 36. 10.2.2 สถานภาพด้านการใช้ประโยชน์โดยตรงในประเทศ ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพ โดยตรงในประเทศยังมีอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่แหล่งน้ำพุร้อนจะถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและกายภาพ บำบัด ทั้งนี้เนื่องจากความน่าสนใจของน้ำร้อนในแง่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และความเชื่อที่ว่า น้ำพุร้อน เป็นน้ำแร่ที่สามารถให้ผลในแง่สุขภาพบำบัด การใช้ประโยชน์โดยตรงในแง่ของการใช้ความร้อน เพื่อการอบแห้งผลิตผลเกษตร การทำห้องเย็นเพื่อเก็บผลิตผลการเกษตร การทำความเย็นในอาคาร เหล่านี้ยังไม่มีการใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง และอยู่ระดับของโรงงานต้นแบบ และการวิจัยพัฒนาเท่านั้น
  • 37. 10.2.3 สถานภาพด้านการวิจัยและพัฒนาในประเทศ ปัจจุบันการวิจัยและพัฒนาทางด้านพลังงานความร้อนใต้พิภพ ในประเทศเน้นหนักทางด้านการนำไปใช้ประโยชน์โดยตรง กล่าวคือ เพื่อใช้โรงอบผลิตผลเกษตร การทำห้องเย็นเพื่อเก็บผลิตผลการเกษตร โครงการการใช้ประโยชน์พลังงานความร้อนใต้พิภพแบบอเนกประสงค์ เป็นโครงการที่จัดได้ว่าเป็นโครงการวิจัยพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพอย่างเต็มรูปแบบ พลังงานความร้อนจะถูกนำมาใช้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตกระแสไฟฟ้า โรงอบ ห้องเย็น เพื่อเก็บผลิตผลเกษตร การท่องเที่ยวและสุขภาพบำบัด ตลอดจนน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร การวิจัยและพัฒนาที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถเป็นต้นแบบการใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาติชนิดนี้ได้อย่างดีในประเทศ
  • 38. 10.3 แนวโน้มที่ควรจะเป็นในประเทศไทย ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ ขนาดศักยภาพปานกลางอยู่เป็นจำนวนมาก การใช้ประโยชน์จากพลังงานธรรมชาตินี้ ยังอยู่ในวงจำกัด มีการใช่ประโยชน์โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในระแวกใกล้เคียง เพื่อประโยชน์เล็กน้อย และมีการพยายามพัฒนาพื้นที่เพื่อ เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ที่ไม่คุ้มค่าและเต็มตามศักยภาพของพลังงานที่มีอยู่ โดยที่แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในประเทศมีกระจายอยู่ทั่วไป แนว ทางการพัฒนาในระบบอเนกประสงค์และครบวงจร จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นการพัฒนาแหล่งพลังงานธรรมชาติอย่างเต็มศักยภาพ