SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
บทที่ 1
บทนํา(Introduction)
1.1 คํานํา
กอนอื่นเรามาหาความหมายของคําวา "control" คืออะไรกอน ถาจะเปดดูความหมาย
ของคํานี้ในหนังสือพจนานุกรมภาษาอังกฤษก็จะไดความหมายวา "device for regulation
machine" ซึ่งเปนความหมายที่ใหคําอธิบายไดคอนขางดีมาก คําวา "device" ในที่นี้จะมี
ความหมายวาอุปกรณแยกตางหาก ซึ่งถาจะแปลเปนความหมายรวมๆ ก็อาจจะแปลไดวา
อุปกรณหรือเครื่องมือที่ใชงาน สวนคําวา control คือควบคุมหรือขั้นตอนวิธีการควบคุมที่ทําให
เครื่องจักรกลมีพฤติกรรมเปนไปตามที่ตองการ ดังนั้น ความหมายโดยรวมของคําวา "control"
คือ อุปกรณสําหรับใชในการควบคุมเครื่องจักรกลใหมีพฤติกรรมเปนไปตามที่ตองการ
รูปที่ 1.1.1 เปนตัวอยางของระบบควบคุมอุณหภูมิในหองซึ่งประกอบดวยหองที่ตองการ
ควบคุมความรอนหรือควบคุมอุณหภูมิ ในที่นี้จะเรียกวาพลวัตของอากาศในหองวาระบบที่
ตองการจะควบคุมหรือบางครั้งจะเรียกระบบที่ตองการจะควบคุมวาพลานต “plant” สําหรับ
อุปกรณเทอรมอคัปเปล (thermocouple) ที่ใชสําหรับวัดอุณหภูมิในหอง ซึ่งสวนมากแลว
อุณหภูมิที่วัดไดจะอยูในรูปแบบของสัญญาณแรงดันไฟฟา สัญญาณที่วัดไดนี้จะนําไป
เปรียบเทียบกับสัญญาณแรงดันไฟฟาที่แทนคาอุณหภูมิที่เราตองการได จะไดคาความผิดพลาด
ของอุณหภูมิในรูปแบบของแรงดันไฟฟา ชุดอุปกรณควบคุมหรือตัวควบคุม (controller) จะ
แปลงคาสัญญาณความผิดพลาดดังกลาวนี้โดยใชกฎเกณฑที่ไดจากการออกแบบระบบควบคุม
เพื่อใหเปนสัญญาณควบคุมที่เหมาะสมที่จะสงไปยังตัวทําความรอนหรือ “heater” เพื่อสราง
ความรอนใหไดปริมาณที่ตองการตามกฎเกณฑที่ไดออกแบบไว นอกจากนั้นจะเห็นวาการ
2
Introduction
เปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายนอกหองซึ่งในที่นี้ถือเปนสัญญาณรบกวน เนื่องจากวาถาอุณหภูมิ
ภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงแลวหมายถึงความแตกตางของอุณหภูมิภายในหองและนอกหอง
เปลี่ยนแปลงไปดวย ทําใหอัตราการถายเทความรอนออกจากหองไปสูบริเวณรอบ ๆ นั้นไม
เทากันทําใหยุงยากตอการควบคุมอุณหภูมิในหองดวยวิธีปรับแตงดวยคน (manual control) แต
ถาใชระบบควบคุมแบบอัตโนมัติแลว การปรับแตงนี้จะขึ้นอยูกับกฎเกณฑที่ไดออกแบบไวในตัว
ควบคุมซึ่งจะทําใหการปรับแตงนี้เปนไปอยางอัตโนมัติ จะเห็นวาอุณหภูมิในหองจะคงที่ก็ตอเมื่อ
ความรอนที่สรางขึ้นจากตัวทําความรอนนั้นจะตองเทากับความรอนที่ถายเทออกนอกหองผาน
ผนังหองดังกลาว
Environment
Temperature
Te
Process
Temperature,
T
Kth
+
-
edesired
ethe(t)
Actuator
KEb
ebEb
R
Heater
Thermocouple
ชุดอุปกรณ
ควบคุม
หองควบคุมความ
รอน+ +
+
-
E(s)
Te(s)
Eth(s)
Edesired
อุปกรณตรวจรู
(sensor)
T(s)
อุณหภูมิที่ตองการใน
รูปของแรงดันไฟฟา
อุณหภูมิที่วัดไดในรูป
ของแรงดันไฟฟา
คาความผิดพลาด
ของอุณหภูมิในรูป
ของแรงดันไฟฟา
PlantController
Thermocouple
คาอุณหภูมิภายนอกหอง
ในรูปของแรงดันไฟฟา
รูปที่ 1.1.1 ระบบควบคุมอุณหภูมิในหอง
3
บทนํา
เครื่องซีเอ็นซี (CNC Machine)
เครื่องซีเอ็นซี คือเครื่องมือกลที่สามารถทํางานไดโดยระบบควบคุมอัตโนมัติ พื้นฐานของ
ระบบควบคุมอัตโนมัตินี้ก็จัดเปนระบบควบคุมพลศาสตรแบบวงปดนั่นเอง เครื่องซีเอ็นซีชนิด
ตาง ๆ มีหลักการทํางานพื้นฐานคลายคลึงกัน รูปที่ 1.1.2 เปนตัวอยางของเครื่องซีเอ็นซีแบบ
เซาะรอง (Computer Numerical Control Milling Machine) โดยที่องศประกอบของเครื่อง
ซีเอ็นซีจะประกอบดวย 2 สวนใหญ ๆ สวนที่ 1 คือสวนของตัวเครื่องจักรกลหรือโครงสรางที่มี
สวนประกอบที่สามารถเคลื่อนที่ไดในทิศทางตาง ๆ เชน ตามแนวแกน x, y และ z ในการ
ควบคุมตําแหนงของการเคลื่อนที่ของหัวกัดดังแสดงในรูปนั้น เปนการควบคุมตําแหนงพิกัดเปน
ตัวเลขหรือที่เรียกวา numerical control การควบคุมตําแหนงของหัวกัดอาจจะทําไดโดยการ
ควบคุมการเคลื่อนที่ของหัวกัดโดยตรง หรือการควบคุมโตะจับชิ้นงานแทน หรือเกิดจากการ
ผสมระหวางการควบคุมตําแหนงของหัวกัดในบางทิศทางและควบคุมตําแหนงของโตะจับ
ชิ้นงานบางทิศทาง เปนตน และสวนที่ 2 คือสวนที่เปนคอมพิวเตอรที่ใชในการควบคุมตําแหนง
ของหัวกัดดังกลาวใหมีความแมนยํามากขึ้นและทําใหการควบคุมเปนไปไดสะดวกยิ่งขึ้น เชน
สามารถควบคุมความเร็ว สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ในลักษณะตาง ๆ กัน เชน การเคลื่อนที่
จากตําแหนงหนึ่งไปยังอีกตําแหนงหนึ่งที่ความเร็วสูงสุด (rapid motion) การเคลื่อนที่แบบเปน
เสนตรง (straight line motion) และการเคลื่อนที่ตามทิศทางและเสนทางเดินที่กําหนด
(continuous path motion) โดยเครื่องซีเอ็นซีนี้จะประกอบดวยสวนคอมพิวเตอรที่สามารถ
แปลงรหัสที่สรางขึ้นจากการเขียนขึ้นเอง (manual) หรือจากการใชโปรแกรมคอมพิวเตอรที่
เรียกวาโปรแกรมแคดแคม หรือ CAD/CAM (Computer Aided Design and Computer Aided
Manufacturing) ในรูปที่ 1.1.3 แสดงสวนประกอบการทํางานของระบบควบคุมการทํางานของ
เครื่องซีเอ็นซี โดยที่ระบบควบคุมจะทําหนาที่ในการรับขอมูลที่อยูในรูปของรหัสหรือชุดคําสั่ง
และทําการแปลงขอมูลรหัสหรือชุดคําสั่งนั้นใหอยูในรูปของคาพิกัดของหัวกัดงานและฟงกชัน
ควบคุมสภาพการทํางานของเครื่องจักร เชน คาความเร็วของการหมุนของหัวกัด
(spindle speed) ความเร็วของการกัด (feed rate) การเปด/ปดน้ําหลอเย็น (cooling system)
และการเปลี่ยนหัวกัด (tool changer)
รูปแผนผังแสดงสวนประกอบการทํางานของระบบควบคุมการทํางานของเครื่องซีเอ็นซีที่
แสดงไวในรูปที่ 1.1.3 นั้น จะเห็นวาเครื่องซีเอ็นซีประกอบดวย 2 สวน สวนทางดานขวามือคือ
ตัวเครื่องจักร และสวนทางดานซายมือคือ สวนของระบบควบคุมหรือ CNC controller โดยที่ทั้ง
4
Introduction
2 สวนนี้จะเชื่อมตอกันดวยระบบควบคุมตําแหนงของหัวกัดและระบบควบคุมสภาพการทํางาน
ของเครื่องจักร โดยมีชุดคําสั่งที่ใชในการควบคุมการทํางานดังกลาว ระบบควบคุมของเครื่อง
ซีเอ็นซี (CNC controller) จะทําหนาที่แปลงรหัสที่อยูในรูปแบบของชุดคําสั่ง หรือรหัสควบคุม
การทํางาน โดยจะแยกคําสั่งที่ไดรับจากรหัสดังกลาวออกเปน 2 สวน คือ สวนที่เกี่ยวกับพิกัด
ของหัวกัด เชน ตําแหนงพิกัด x, y, z ในระบบ 3 มิติ และสวนที่เกี่ยวกับควบคุมสภาพการ
ทํางานของเครื่องจักร เชน ความเร็วในการหมุนของหัวกัด ความเร็วในการเคลื่อนที่ของหัวกัด
การเลือกหัวกัด คําสั่งดังกลาวจะถูกสงไปยังชุดควบคุมที่เกี่ยวของเพื่อสั่งใหเครื่องจักรกล
เคลื่อนที่ไปยังตําแหนงที่ตองการโดยมีสภาพการทํางานตามที่กําหนด จากที่กลาวมาแลววา
ชุดคําสั่งที่ใชในการควบคุมการทํางานของเครื่องซีเอ็นซีนั้นอาจจะเขียนขึ้นเองหรือใชโปรแกรม
แคดแคมชวยในการสรางรหัส และสงผานขอมูลจากภายนอกสูเครื่องซีเอ็นซี สามารถสงผาน
โดยใชชองสื่อสาร (communication port) หรือผานชองที่เรียกวา อารเอส-232 ซี (RS-232C)
รูปที่ 1.1.4 แสดงการเชื่อมตอและการสงผานขอมูลเขาไปยังเครื่องซีเอ็นซีในรูปของโปรแกรม
รหัสหรือชุดคําสั่งควบคุม
รูปที่ 1.1.2 เครื่องจักรซีเอ็นซี
5
บทนํา
รูปที่ 1.1.3 สวนประกอบการทํางานของระบบควบคุมการทํางานของเครื่องซีเอ็นซี
รูปที่ 1.1.4 การเชื่อมโยงและวิธีการสงผานขอมูลรหัสเขาไปยังเครื่องซีเอ็นซี
6
Introduction
โปรแกรมที่ใชคอมพิวเตอรชวยในการออกแบบหรือ CAD (Computer Aided Design) จะ
มีสวนสําคัญเปนอยางมากในการสรางแบบจําลอง 3 มิติ โดยเฉพาะชิ้นงานที่ออกแบบมีรูปราง
สลับซับซอน ดังเชนตัวอยางที่แสดงในรูปที่ 1.1.5 จะเห็นวาโปรแกรมแคดจะชวยใหการ
ออกแบบดังกลาวเปนไปไดสะดวกและถูกตองแมนยํามากขึ้น และในกรณีที่ตองการผลิตชิ้นงาน
ดังกลาวเปนไปไมไดเลยที่จะสรางรหัส-จี (G-code) จากรูปชิ้นงาน 3 มิติที่มีรูปรางสลับซับซอน
จึงจําเปนตองใชคอมพิวเตอรมาชวย โปรแกรมคอมพิวเตอรดังกลาวเรียกวาโปรแกรมแคม
(CAM) มาชวยในการสรางชุดคําสั่งที่ใชสําหรับควบคุมเครื่องซีเอ็นซีเพื่อใชสําหรับผลิตชิ้นงาน
ดังกลาว รูปที่ 1.1.5 นี้แสดงลําดับขั้นตอนการทํางานของการใชโปรแกรมแคดแคม โดยที่
โปรแกรมแคดจะชวยในการสรางแบบจําลอง 3 มิติในลักษณะของรูปทรงตัน (solid model) และ
รูปทรงพื้นผิว (surface model) หลังจากนั้นโปรแกรมแคมจะอานขอมูลแบบจําลอง 3 มิติที่เปน
รูปทรงตันหรือรูปทรงพื้นผิวที่สรางขึ้นจากโปรแกรมแคด เพื่อจะนํามาหาเสนทางเดินของหัวกัด
ผลลัพธที่ไดจากโปรแกรมแคมจะเปนชุดคําสั่งรหัส-จีเพื่อสงตอไปยังเครื่องซีเอ็นซีตอไปสําหรับ
ผลิตชิ้นงานสุดทาย
แบบจําลองจาก
โปรแกรมแคด
ทางเดินหัวกัดจากโปรแกรมแคม ชิ้นงานจากเครื่องซีเอ็นซี
รูปที่ 1.1.5 ขั้นตอนการใชโปรแกรมแคด/แคม (CAD/CAM)
ที่บริเวณดานลางของรูปที่ 1.1.3 แสดงระบบควบคุมตําแหนงของเครื่องกัดซีเอ็นซี รูปที่
1.1.6 เปนแผนภาพบล็อกไดอะแกรม (block diagram) ที่แสดงการทํางานของเครื่องกัดซีเอ็นซี
จากรูปจะเห็นวา ตัวควบคุมหรือ “controller" จะทําหนาที่แปลงสัญญาณผิดพลาดของตําแหนงที่
ตองการใหหัวกัดเคลื่อนที่ไปถึงกับตําแหนงจริงที่วัดได ใหอยูในรูปของสัญญาณที่ใชในการ
ควบคุมมอเตอรโดยอาศัยกฎเกณฑที่ไดออกแบบไวในตัวควบคุม เพื่อบังคับใหมอเตอร
7
บทนํา
ขับเคลื่อนแทนโตะ (table) ไปยังตําแหนงที่ตองการ เมื่อคาสัญญาณความผิดพลาดเปนศูนย
ชุดควบคุมก็จะหยุดการทํางาน ในรูปที่ 1.1.3 แสดงสัญญาณรบกวนประเภทตาง ๆ เชน ความ
เสียดทาน แรงตานจากการแรงกัดชิ้นงาน ที่มีผลกระทบกับความแมนยําในการควบคุมการ
เคลื่อนที่ของหัวกัด ดังนั้น ตัวควบคุมจะตองสามารถชดเชยสัญญาณรบกวนตาง ๆ เพื่อใหระบบ
มีความแมนยําตามที่ตองการ หัวใจสําคัญของการเรียนวิชานี้คือ การออกแบบระบบควบคุมที่
เหมาะสมเพื่อใชในการควบคุมระบบโดยมีเปาหมายเพื่อใหระบบที่ถูกควบคุมสามารถทํางานได
ตามที่ตองการหรือตามที่ออกแบบไว
รูปที่ 1.1.6 แผนผังของการทํางานของระบบควบคุมตําแหนงของเครื่องซีเอ็นซี
จากตัวอยางขางตนจะเห็นวา การควบคุมระบบ คือ การควบคุมคาตัวแปรของระบบ
(system variable) ใหมีลักษณะเปนไปตามที่ตองการ ตัวแปรของระบบซึ่งตอไปในบทหลังจะ
เรียกวา ปริภูมิสเตต (state variable) ระบบควบคุมตาง ๆ จะประกอบดวยตัวแปรที่ตองการ
ควบคุมแตกตางกันไป คาตัวแปรของระบบที่ตองการควบคุมเหลานี้อาจจะเรียกวา ตัวแปรที่
ตองการจะควบคุม (controlled variables) ตัวอยางของตัวแปรของระบบในระบบควบคุมตาง ๆ
เชน
อุณหภูมิ (temperature)
แรงดัน (voltage)
ความถี่ (frequency)
อัตราการไหล (flow rate)
8
Introduction
กระแส (current)
ตําแหนง (position)
ความเร็ว (speed or velocity)
ความสองสวาง (illumination)
ความสูงหรือความลึก (altitude or depth)
และยังมีคาตัวแปรระบบอยางอื่นอีกมาก วิธีการที่จะควบคุมตัวแปรระบบหรือปริภูมิสเตตเหลานี้
ใหเปนไปตามวัตถุประสงคที่ตองการนั้นก็แบงออกเปน 2 แบบดวยกัน คือ การควบคุมแบบวง
เปด (open-loop control) และการควบคุมแบบวงปด (closed-loop control)
การควบคุมแบบวงเปด โดยทั่วไปแลวระบบที่ตองการจะปรับแตงจะถูกปรับจนกระทั่ง
ผลตางระหวางคาที่ตองการ (desired set point) กับคาที่ออกจากระบบ (measured data) ที่
กําลังถูกควบคุมใหมีคานอยที่สุด โดยหวังวาระบบที่ทําการปรับแตงหรือทําการควบคุมอยูนี้จะ
ทํางานตามที่ไดปรับแตงนี้ตลอดเวลาเมื่อตองการใหทํางาน เชน ตัวอยางในรูปที่ 1.1.7 (ก) ซึ่ง
เปนรูปบล็อกไดอะแกรม (block diagram) ที่แสดงหลักการเบื้องตนสําหรับการควบคุมแบบวง
เปด ตัวอยางเชน
- ระบบควบคุมตําแหนงของสเตปปงมอเตอร (stepping motor) ซึ่งจะเห็นวา ตําแหนง
จริงที่มอเตอรเคลื่อนที่ไปนั้นสวนมากจะไมมีการตรวจวัด ตัวควบคุมการทํางานของ
มอเตอรจะออกคําสั่งเปนจํานวนขั้น (step) หรือจํานวนพัลส (pulse) คําสั่ง 1 พัลส
หมายถึงมอเตอรเคลื่อนที่ไป 1 ขั้น คําสั่งนี้จะถูกแปลงเปนขนาดหรือระยะทางที่
มอเตอรจะเคลื่อนที่ไปยังตําแหนงที่ตองการ สวนมอเตอรนั้นเมื่อไดรับคําสั่งนี้แลวก็จะ
เคลื่อนที่ไปตามจํานวนขั้นที่ไดรับคําสั่ง โดยคาดหวังวาผลที่ไดรับเปนไปตามความ
ตองการ โดยไมมีการขามขั้นหรือเรียกภาษาอังกฤษวา “miss step”
- งานการประกอบชิ้นสวนดวยหุนยนตอุตสาหกรรม อุปกรณชุดประกอบชิ้นสวนนี้จะ
ทํางานไปตามวิธีการ (routine) ซ้ํา ๆ กัน เชน การหยิบของขึ้นจากสายพาน
ลําเลียง และนําชิ้นสวนที่หยิบแลวนั้นไปใสไวในกระบะ (bin) หรือนําไปสวมเขากับ
ชิ้นงานอื่น หุนยนตอุตสาหกรรมนี้จะถูกสอนใหมีการเคลื่อนที่ที่เหมาะสม เพื่อให
ทํางานซ้ํา ๆ กันนี้ตลอดทั้งวัน การทํางานเชนนี้ถาระบบทํางานไมมีระบบตัวตรวจ
รู (sensor system) ที่คอยตรวจวัดหรือตรวจสอบการทํางาน เมื่อมีเหตุที่ทําให
9
บทนํา
หุนยนตอุตสาหกรรมเกิดทํางานผิดพลาดก็จะทําใหระบบทั้งหมดเสียหายได วิธีการ
แกไขและวิธีการชวยปรับคาความผิดพลาดใหมีคานอยที่สุดสามารถทําไดโดยการ
ติดตั้งระบบตัวตรวจรู (sensor system) เพื่อตรวจสอบสถานะการทํางานตลอดการ
ทํางานของระบบ
- เครื่องซักผาและเครื่องตากผาอัตโนมัติ อุปกรณเหลานี้จะมีตัวควบคุมที่ถูกโปรแกรม
ไวเพื่อใหควบคุมลําดับขั้นตอนการทํางานและสามารถปดเครื่องเองไดโดยอัตโนมัติ
เมื่อสําเร็จขั้นตอนตาง ๆ ในการทํางานแลว
ตัวควบคุมแบบขยายสัญญาณ เครื่องจักรกลหรือกระบวนการ
คําสั่งหรือ
จุดปรับตั้ง
ตัวแปรถูกควบคุม
(ก)
ตัวควบคุมแบบขยายสัญญาณ เครื่องจักรกลหรือกระบวนการ
คําสั่งหรือ
จุดปรับตั้ง ตัวแปรถูกควบคุม
+
-
สัญญาณป้ อนกลับ

(ข)
รูปที่ 1.1.7 บล็อกไดอะแกรม (block diagram)
(ก) ระบบควบคุมแบบวงเปด (open-loop control system)
(ข) ระบบควบคุมแบบวงปด (closed-loop control system)
ระบบควบคุมแบบวงปด (closed-loop or feedback control system) ทํางานไดขึ้นอยู
กับหลักการงายๆ ดังนี้คือ
1) วัดคาตัวแปรที่ตองการจะควบคุม
2) เปรียบเทียบคาที่วัดไดนี้กับคาที่ตองการเพื่อหาความแตกตาง
10
Introduction
3) ใชคาความแตกตางที่คํานวณหามาไดนี้เพื่อปรับคาตัวแปรควบคุม (controlled
variables) จนกระทั่งคาความแตกตางนี้นอยลงเรื่อย ๆ จนมีคาเปนศูนย
จากรูปที่ 1.1.7 (ข) แสดงถึงหลักการของระบบควบคุมแบบวงปด ตัวอยางของระบบ
ควบคุมแบบวงปดนั้นมีมากมายมหาศาล เชน การควบคุมเทอรมอสแตต (thermostat control)
ของอุณหภูมิในหอง หรือตูเย็น หรือเตาอบ ซึ่งระบบเหลานี้จะวัดคาอุณหภูมิเพื่อเปรียบเทียบกับ
คาอุณหภูมิที่ตองการ โดยนําผลตางที่ไดเพื่อไปเปด/ปดแหลงกําเนิดความรอน (heat source or
heat sink) ตัวอยางอื่น ๆ เชน การควบคุมตําแหนงของการเคลื่อนที่ของแขนหุนยนต
อุตสาหกรรม โดยติดตั้งระบบวัดความเร็วและวัดตําแหนงเพื่อนําไปเปรียบเทียบกับคาที่ตองการ
แลวนําคาความแตกตางที่เกิดขึ้นนี้ไปปรับเปลี่ยนสัญญาณที่สงไปควบคุมการทํางานของ
มอเตอร
รูปที่ 1.1.8 แสดงรูปแบบแขนกลชนิด 1 ขอตอที่เคลื่อนที่ในแนวตั้ง โดยใชมอเตอรเปน
อุปกรณที่ชวยในการขับเคลื่อน มอเตอรสามารถสรางแรงบิดขนาด T ที่ใชในควบคุมการ
เคลื่อนที่ของแขนกล การหาขนาดของแรงบิด T ที่เหมาะสมสําหรับการควบคุมนี้เราจําเปนตอง
ทราบระบบพลศาสตรหรือแบบจําลองทางคณิตศาสตรของแขนกลดังกลาวดวย
q
mg
TL
รูปที่ 1.1.8 แขนกลชนิด 1 ขอตอ
สมการพลศาสตรของระบบควบคุมแขนกลชนิด 1 ขอตอ สามารถเขียนไดดังนี้

More Related Content

Similar to 9789740330820

Canon 7 d thai
Canon 7 d thaiCanon 7 d thai
Canon 7 d thai
GTN Nu
 
Assignment final pp
Assignment final ppAssignment final pp
Assignment final pp
Snow Ice
 
53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project
gizfy
 
53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project 53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project
secretion
 
53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project
gizfy
 

Similar to 9789740330820 (6)

Canon 7 d thai
Canon 7 d thaiCanon 7 d thai
Canon 7 d thai
 
1
11
1
 
Assignment final pp
Assignment final ppAssignment final pp
Assignment final pp
 
53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project
 
53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project 53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project
 
53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project53211835 Weekly report template project
53211835 Weekly report template project
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740330820

  • 1. บทที่ 1 บทนํา(Introduction) 1.1 คํานํา กอนอื่นเรามาหาความหมายของคําวา "control" คืออะไรกอน ถาจะเปดดูความหมาย ของคํานี้ในหนังสือพจนานุกรมภาษาอังกฤษก็จะไดความหมายวา "device for regulation machine" ซึ่งเปนความหมายที่ใหคําอธิบายไดคอนขางดีมาก คําวา "device" ในที่นี้จะมี ความหมายวาอุปกรณแยกตางหาก ซึ่งถาจะแปลเปนความหมายรวมๆ ก็อาจจะแปลไดวา อุปกรณหรือเครื่องมือที่ใชงาน สวนคําวา control คือควบคุมหรือขั้นตอนวิธีการควบคุมที่ทําให เครื่องจักรกลมีพฤติกรรมเปนไปตามที่ตองการ ดังนั้น ความหมายโดยรวมของคําวา "control" คือ อุปกรณสําหรับใชในการควบคุมเครื่องจักรกลใหมีพฤติกรรมเปนไปตามที่ตองการ รูปที่ 1.1.1 เปนตัวอยางของระบบควบคุมอุณหภูมิในหองซึ่งประกอบดวยหองที่ตองการ ควบคุมความรอนหรือควบคุมอุณหภูมิ ในที่นี้จะเรียกวาพลวัตของอากาศในหองวาระบบที่ ตองการจะควบคุมหรือบางครั้งจะเรียกระบบที่ตองการจะควบคุมวาพลานต “plant” สําหรับ อุปกรณเทอรมอคัปเปล (thermocouple) ที่ใชสําหรับวัดอุณหภูมิในหอง ซึ่งสวนมากแลว อุณหภูมิที่วัดไดจะอยูในรูปแบบของสัญญาณแรงดันไฟฟา สัญญาณที่วัดไดนี้จะนําไป เปรียบเทียบกับสัญญาณแรงดันไฟฟาที่แทนคาอุณหภูมิที่เราตองการได จะไดคาความผิดพลาด ของอุณหภูมิในรูปแบบของแรงดันไฟฟา ชุดอุปกรณควบคุมหรือตัวควบคุม (controller) จะ แปลงคาสัญญาณความผิดพลาดดังกลาวนี้โดยใชกฎเกณฑที่ไดจากการออกแบบระบบควบคุม เพื่อใหเปนสัญญาณควบคุมที่เหมาะสมที่จะสงไปยังตัวทําความรอนหรือ “heater” เพื่อสราง ความรอนใหไดปริมาณที่ตองการตามกฎเกณฑที่ไดออกแบบไว นอกจากนั้นจะเห็นวาการ
  • 2. 2 Introduction เปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายนอกหองซึ่งในที่นี้ถือเปนสัญญาณรบกวน เนื่องจากวาถาอุณหภูมิ ภายนอกมีการเปลี่ยนแปลงแลวหมายถึงความแตกตางของอุณหภูมิภายในหองและนอกหอง เปลี่ยนแปลงไปดวย ทําใหอัตราการถายเทความรอนออกจากหองไปสูบริเวณรอบ ๆ นั้นไม เทากันทําใหยุงยากตอการควบคุมอุณหภูมิในหองดวยวิธีปรับแตงดวยคน (manual control) แต ถาใชระบบควบคุมแบบอัตโนมัติแลว การปรับแตงนี้จะขึ้นอยูกับกฎเกณฑที่ไดออกแบบไวในตัว ควบคุมซึ่งจะทําใหการปรับแตงนี้เปนไปอยางอัตโนมัติ จะเห็นวาอุณหภูมิในหองจะคงที่ก็ตอเมื่อ ความรอนที่สรางขึ้นจากตัวทําความรอนนั้นจะตองเทากับความรอนที่ถายเทออกนอกหองผาน ผนังหองดังกลาว Environment Temperature Te Process Temperature, T Kth + - edesired ethe(t) Actuator KEb ebEb R Heater Thermocouple ชุดอุปกรณ ควบคุม หองควบคุมความ รอน+ + + - E(s) Te(s) Eth(s) Edesired อุปกรณตรวจรู (sensor) T(s) อุณหภูมิที่ตองการใน รูปของแรงดันไฟฟา อุณหภูมิที่วัดไดในรูป ของแรงดันไฟฟา คาความผิดพลาด ของอุณหภูมิในรูป ของแรงดันไฟฟา PlantController Thermocouple คาอุณหภูมิภายนอกหอง ในรูปของแรงดันไฟฟา รูปที่ 1.1.1 ระบบควบคุมอุณหภูมิในหอง
  • 3. 3 บทนํา เครื่องซีเอ็นซี (CNC Machine) เครื่องซีเอ็นซี คือเครื่องมือกลที่สามารถทํางานไดโดยระบบควบคุมอัตโนมัติ พื้นฐานของ ระบบควบคุมอัตโนมัตินี้ก็จัดเปนระบบควบคุมพลศาสตรแบบวงปดนั่นเอง เครื่องซีเอ็นซีชนิด ตาง ๆ มีหลักการทํางานพื้นฐานคลายคลึงกัน รูปที่ 1.1.2 เปนตัวอยางของเครื่องซีเอ็นซีแบบ เซาะรอง (Computer Numerical Control Milling Machine) โดยที่องศประกอบของเครื่อง ซีเอ็นซีจะประกอบดวย 2 สวนใหญ ๆ สวนที่ 1 คือสวนของตัวเครื่องจักรกลหรือโครงสรางที่มี สวนประกอบที่สามารถเคลื่อนที่ไดในทิศทางตาง ๆ เชน ตามแนวแกน x, y และ z ในการ ควบคุมตําแหนงของการเคลื่อนที่ของหัวกัดดังแสดงในรูปนั้น เปนการควบคุมตําแหนงพิกัดเปน ตัวเลขหรือที่เรียกวา numerical control การควบคุมตําแหนงของหัวกัดอาจจะทําไดโดยการ ควบคุมการเคลื่อนที่ของหัวกัดโดยตรง หรือการควบคุมโตะจับชิ้นงานแทน หรือเกิดจากการ ผสมระหวางการควบคุมตําแหนงของหัวกัดในบางทิศทางและควบคุมตําแหนงของโตะจับ ชิ้นงานบางทิศทาง เปนตน และสวนที่ 2 คือสวนที่เปนคอมพิวเตอรที่ใชในการควบคุมตําแหนง ของหัวกัดดังกลาวใหมีความแมนยํามากขึ้นและทําใหการควบคุมเปนไปไดสะดวกยิ่งขึ้น เชน สามารถควบคุมความเร็ว สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ในลักษณะตาง ๆ กัน เชน การเคลื่อนที่ จากตําแหนงหนึ่งไปยังอีกตําแหนงหนึ่งที่ความเร็วสูงสุด (rapid motion) การเคลื่อนที่แบบเปน เสนตรง (straight line motion) และการเคลื่อนที่ตามทิศทางและเสนทางเดินที่กําหนด (continuous path motion) โดยเครื่องซีเอ็นซีนี้จะประกอบดวยสวนคอมพิวเตอรที่สามารถ แปลงรหัสที่สรางขึ้นจากการเขียนขึ้นเอง (manual) หรือจากการใชโปรแกรมคอมพิวเตอรที่ เรียกวาโปรแกรมแคดแคม หรือ CAD/CAM (Computer Aided Design and Computer Aided Manufacturing) ในรูปที่ 1.1.3 แสดงสวนประกอบการทํางานของระบบควบคุมการทํางานของ เครื่องซีเอ็นซี โดยที่ระบบควบคุมจะทําหนาที่ในการรับขอมูลที่อยูในรูปของรหัสหรือชุดคําสั่ง และทําการแปลงขอมูลรหัสหรือชุดคําสั่งนั้นใหอยูในรูปของคาพิกัดของหัวกัดงานและฟงกชัน ควบคุมสภาพการทํางานของเครื่องจักร เชน คาความเร็วของการหมุนของหัวกัด (spindle speed) ความเร็วของการกัด (feed rate) การเปด/ปดน้ําหลอเย็น (cooling system) และการเปลี่ยนหัวกัด (tool changer) รูปแผนผังแสดงสวนประกอบการทํางานของระบบควบคุมการทํางานของเครื่องซีเอ็นซีที่ แสดงไวในรูปที่ 1.1.3 นั้น จะเห็นวาเครื่องซีเอ็นซีประกอบดวย 2 สวน สวนทางดานขวามือคือ ตัวเครื่องจักร และสวนทางดานซายมือคือ สวนของระบบควบคุมหรือ CNC controller โดยที่ทั้ง
  • 4. 4 Introduction 2 สวนนี้จะเชื่อมตอกันดวยระบบควบคุมตําแหนงของหัวกัดและระบบควบคุมสภาพการทํางาน ของเครื่องจักร โดยมีชุดคําสั่งที่ใชในการควบคุมการทํางานดังกลาว ระบบควบคุมของเครื่อง ซีเอ็นซี (CNC controller) จะทําหนาที่แปลงรหัสที่อยูในรูปแบบของชุดคําสั่ง หรือรหัสควบคุม การทํางาน โดยจะแยกคําสั่งที่ไดรับจากรหัสดังกลาวออกเปน 2 สวน คือ สวนที่เกี่ยวกับพิกัด ของหัวกัด เชน ตําแหนงพิกัด x, y, z ในระบบ 3 มิติ และสวนที่เกี่ยวกับควบคุมสภาพการ ทํางานของเครื่องจักร เชน ความเร็วในการหมุนของหัวกัด ความเร็วในการเคลื่อนที่ของหัวกัด การเลือกหัวกัด คําสั่งดังกลาวจะถูกสงไปยังชุดควบคุมที่เกี่ยวของเพื่อสั่งใหเครื่องจักรกล เคลื่อนที่ไปยังตําแหนงที่ตองการโดยมีสภาพการทํางานตามที่กําหนด จากที่กลาวมาแลววา ชุดคําสั่งที่ใชในการควบคุมการทํางานของเครื่องซีเอ็นซีนั้นอาจจะเขียนขึ้นเองหรือใชโปรแกรม แคดแคมชวยในการสรางรหัส และสงผานขอมูลจากภายนอกสูเครื่องซีเอ็นซี สามารถสงผาน โดยใชชองสื่อสาร (communication port) หรือผานชองที่เรียกวา อารเอส-232 ซี (RS-232C) รูปที่ 1.1.4 แสดงการเชื่อมตอและการสงผานขอมูลเขาไปยังเครื่องซีเอ็นซีในรูปของโปรแกรม รหัสหรือชุดคําสั่งควบคุม รูปที่ 1.1.2 เครื่องจักรซีเอ็นซี
  • 5. 5 บทนํา รูปที่ 1.1.3 สวนประกอบการทํางานของระบบควบคุมการทํางานของเครื่องซีเอ็นซี รูปที่ 1.1.4 การเชื่อมโยงและวิธีการสงผานขอมูลรหัสเขาไปยังเครื่องซีเอ็นซี
  • 6. 6 Introduction โปรแกรมที่ใชคอมพิวเตอรชวยในการออกแบบหรือ CAD (Computer Aided Design) จะ มีสวนสําคัญเปนอยางมากในการสรางแบบจําลอง 3 มิติ โดยเฉพาะชิ้นงานที่ออกแบบมีรูปราง สลับซับซอน ดังเชนตัวอยางที่แสดงในรูปที่ 1.1.5 จะเห็นวาโปรแกรมแคดจะชวยใหการ ออกแบบดังกลาวเปนไปไดสะดวกและถูกตองแมนยํามากขึ้น และในกรณีที่ตองการผลิตชิ้นงาน ดังกลาวเปนไปไมไดเลยที่จะสรางรหัส-จี (G-code) จากรูปชิ้นงาน 3 มิติที่มีรูปรางสลับซับซอน จึงจําเปนตองใชคอมพิวเตอรมาชวย โปรแกรมคอมพิวเตอรดังกลาวเรียกวาโปรแกรมแคม (CAM) มาชวยในการสรางชุดคําสั่งที่ใชสําหรับควบคุมเครื่องซีเอ็นซีเพื่อใชสําหรับผลิตชิ้นงาน ดังกลาว รูปที่ 1.1.5 นี้แสดงลําดับขั้นตอนการทํางานของการใชโปรแกรมแคดแคม โดยที่ โปรแกรมแคดจะชวยในการสรางแบบจําลอง 3 มิติในลักษณะของรูปทรงตัน (solid model) และ รูปทรงพื้นผิว (surface model) หลังจากนั้นโปรแกรมแคมจะอานขอมูลแบบจําลอง 3 มิติที่เปน รูปทรงตันหรือรูปทรงพื้นผิวที่สรางขึ้นจากโปรแกรมแคด เพื่อจะนํามาหาเสนทางเดินของหัวกัด ผลลัพธที่ไดจากโปรแกรมแคมจะเปนชุดคําสั่งรหัส-จีเพื่อสงตอไปยังเครื่องซีเอ็นซีตอไปสําหรับ ผลิตชิ้นงานสุดทาย แบบจําลองจาก โปรแกรมแคด ทางเดินหัวกัดจากโปรแกรมแคม ชิ้นงานจากเครื่องซีเอ็นซี รูปที่ 1.1.5 ขั้นตอนการใชโปรแกรมแคด/แคม (CAD/CAM) ที่บริเวณดานลางของรูปที่ 1.1.3 แสดงระบบควบคุมตําแหนงของเครื่องกัดซีเอ็นซี รูปที่ 1.1.6 เปนแผนภาพบล็อกไดอะแกรม (block diagram) ที่แสดงการทํางานของเครื่องกัดซีเอ็นซี จากรูปจะเห็นวา ตัวควบคุมหรือ “controller" จะทําหนาที่แปลงสัญญาณผิดพลาดของตําแหนงที่ ตองการใหหัวกัดเคลื่อนที่ไปถึงกับตําแหนงจริงที่วัดได ใหอยูในรูปของสัญญาณที่ใชในการ ควบคุมมอเตอรโดยอาศัยกฎเกณฑที่ไดออกแบบไวในตัวควบคุม เพื่อบังคับใหมอเตอร
  • 7. 7 บทนํา ขับเคลื่อนแทนโตะ (table) ไปยังตําแหนงที่ตองการ เมื่อคาสัญญาณความผิดพลาดเปนศูนย ชุดควบคุมก็จะหยุดการทํางาน ในรูปที่ 1.1.3 แสดงสัญญาณรบกวนประเภทตาง ๆ เชน ความ เสียดทาน แรงตานจากการแรงกัดชิ้นงาน ที่มีผลกระทบกับความแมนยําในการควบคุมการ เคลื่อนที่ของหัวกัด ดังนั้น ตัวควบคุมจะตองสามารถชดเชยสัญญาณรบกวนตาง ๆ เพื่อใหระบบ มีความแมนยําตามที่ตองการ หัวใจสําคัญของการเรียนวิชานี้คือ การออกแบบระบบควบคุมที่ เหมาะสมเพื่อใชในการควบคุมระบบโดยมีเปาหมายเพื่อใหระบบที่ถูกควบคุมสามารถทํางานได ตามที่ตองการหรือตามที่ออกแบบไว รูปที่ 1.1.6 แผนผังของการทํางานของระบบควบคุมตําแหนงของเครื่องซีเอ็นซี จากตัวอยางขางตนจะเห็นวา การควบคุมระบบ คือ การควบคุมคาตัวแปรของระบบ (system variable) ใหมีลักษณะเปนไปตามที่ตองการ ตัวแปรของระบบซึ่งตอไปในบทหลังจะ เรียกวา ปริภูมิสเตต (state variable) ระบบควบคุมตาง ๆ จะประกอบดวยตัวแปรที่ตองการ ควบคุมแตกตางกันไป คาตัวแปรของระบบที่ตองการควบคุมเหลานี้อาจจะเรียกวา ตัวแปรที่ ตองการจะควบคุม (controlled variables) ตัวอยางของตัวแปรของระบบในระบบควบคุมตาง ๆ เชน อุณหภูมิ (temperature) แรงดัน (voltage) ความถี่ (frequency) อัตราการไหล (flow rate)
  • 8. 8 Introduction กระแส (current) ตําแหนง (position) ความเร็ว (speed or velocity) ความสองสวาง (illumination) ความสูงหรือความลึก (altitude or depth) และยังมีคาตัวแปรระบบอยางอื่นอีกมาก วิธีการที่จะควบคุมตัวแปรระบบหรือปริภูมิสเตตเหลานี้ ใหเปนไปตามวัตถุประสงคที่ตองการนั้นก็แบงออกเปน 2 แบบดวยกัน คือ การควบคุมแบบวง เปด (open-loop control) และการควบคุมแบบวงปด (closed-loop control) การควบคุมแบบวงเปด โดยทั่วไปแลวระบบที่ตองการจะปรับแตงจะถูกปรับจนกระทั่ง ผลตางระหวางคาที่ตองการ (desired set point) กับคาที่ออกจากระบบ (measured data) ที่ กําลังถูกควบคุมใหมีคานอยที่สุด โดยหวังวาระบบที่ทําการปรับแตงหรือทําการควบคุมอยูนี้จะ ทํางานตามที่ไดปรับแตงนี้ตลอดเวลาเมื่อตองการใหทํางาน เชน ตัวอยางในรูปที่ 1.1.7 (ก) ซึ่ง เปนรูปบล็อกไดอะแกรม (block diagram) ที่แสดงหลักการเบื้องตนสําหรับการควบคุมแบบวง เปด ตัวอยางเชน - ระบบควบคุมตําแหนงของสเตปปงมอเตอร (stepping motor) ซึ่งจะเห็นวา ตําแหนง จริงที่มอเตอรเคลื่อนที่ไปนั้นสวนมากจะไมมีการตรวจวัด ตัวควบคุมการทํางานของ มอเตอรจะออกคําสั่งเปนจํานวนขั้น (step) หรือจํานวนพัลส (pulse) คําสั่ง 1 พัลส หมายถึงมอเตอรเคลื่อนที่ไป 1 ขั้น คําสั่งนี้จะถูกแปลงเปนขนาดหรือระยะทางที่ มอเตอรจะเคลื่อนที่ไปยังตําแหนงที่ตองการ สวนมอเตอรนั้นเมื่อไดรับคําสั่งนี้แลวก็จะ เคลื่อนที่ไปตามจํานวนขั้นที่ไดรับคําสั่ง โดยคาดหวังวาผลที่ไดรับเปนไปตามความ ตองการ โดยไมมีการขามขั้นหรือเรียกภาษาอังกฤษวา “miss step” - งานการประกอบชิ้นสวนดวยหุนยนตอุตสาหกรรม อุปกรณชุดประกอบชิ้นสวนนี้จะ ทํางานไปตามวิธีการ (routine) ซ้ํา ๆ กัน เชน การหยิบของขึ้นจากสายพาน ลําเลียง และนําชิ้นสวนที่หยิบแลวนั้นไปใสไวในกระบะ (bin) หรือนําไปสวมเขากับ ชิ้นงานอื่น หุนยนตอุตสาหกรรมนี้จะถูกสอนใหมีการเคลื่อนที่ที่เหมาะสม เพื่อให ทํางานซ้ํา ๆ กันนี้ตลอดทั้งวัน การทํางานเชนนี้ถาระบบทํางานไมมีระบบตัวตรวจ รู (sensor system) ที่คอยตรวจวัดหรือตรวจสอบการทํางาน เมื่อมีเหตุที่ทําให
  • 9. 9 บทนํา หุนยนตอุตสาหกรรมเกิดทํางานผิดพลาดก็จะทําใหระบบทั้งหมดเสียหายได วิธีการ แกไขและวิธีการชวยปรับคาความผิดพลาดใหมีคานอยที่สุดสามารถทําไดโดยการ ติดตั้งระบบตัวตรวจรู (sensor system) เพื่อตรวจสอบสถานะการทํางานตลอดการ ทํางานของระบบ - เครื่องซักผาและเครื่องตากผาอัตโนมัติ อุปกรณเหลานี้จะมีตัวควบคุมที่ถูกโปรแกรม ไวเพื่อใหควบคุมลําดับขั้นตอนการทํางานและสามารถปดเครื่องเองไดโดยอัตโนมัติ เมื่อสําเร็จขั้นตอนตาง ๆ ในการทํางานแลว ตัวควบคุมแบบขยายสัญญาณ เครื่องจักรกลหรือกระบวนการ คําสั่งหรือ จุดปรับตั้ง ตัวแปรถูกควบคุม (ก) ตัวควบคุมแบบขยายสัญญาณ เครื่องจักรกลหรือกระบวนการ คําสั่งหรือ จุดปรับตั้ง ตัวแปรถูกควบคุม + - สัญญาณป้ อนกลับ  (ข) รูปที่ 1.1.7 บล็อกไดอะแกรม (block diagram) (ก) ระบบควบคุมแบบวงเปด (open-loop control system) (ข) ระบบควบคุมแบบวงปด (closed-loop control system) ระบบควบคุมแบบวงปด (closed-loop or feedback control system) ทํางานไดขึ้นอยู กับหลักการงายๆ ดังนี้คือ 1) วัดคาตัวแปรที่ตองการจะควบคุม 2) เปรียบเทียบคาที่วัดไดนี้กับคาที่ตองการเพื่อหาความแตกตาง
  • 10. 10 Introduction 3) ใชคาความแตกตางที่คํานวณหามาไดนี้เพื่อปรับคาตัวแปรควบคุม (controlled variables) จนกระทั่งคาความแตกตางนี้นอยลงเรื่อย ๆ จนมีคาเปนศูนย จากรูปที่ 1.1.7 (ข) แสดงถึงหลักการของระบบควบคุมแบบวงปด ตัวอยางของระบบ ควบคุมแบบวงปดนั้นมีมากมายมหาศาล เชน การควบคุมเทอรมอสแตต (thermostat control) ของอุณหภูมิในหอง หรือตูเย็น หรือเตาอบ ซึ่งระบบเหลานี้จะวัดคาอุณหภูมิเพื่อเปรียบเทียบกับ คาอุณหภูมิที่ตองการ โดยนําผลตางที่ไดเพื่อไปเปด/ปดแหลงกําเนิดความรอน (heat source or heat sink) ตัวอยางอื่น ๆ เชน การควบคุมตําแหนงของการเคลื่อนที่ของแขนหุนยนต อุตสาหกรรม โดยติดตั้งระบบวัดความเร็วและวัดตําแหนงเพื่อนําไปเปรียบเทียบกับคาที่ตองการ แลวนําคาความแตกตางที่เกิดขึ้นนี้ไปปรับเปลี่ยนสัญญาณที่สงไปควบคุมการทํางานของ มอเตอร รูปที่ 1.1.8 แสดงรูปแบบแขนกลชนิด 1 ขอตอที่เคลื่อนที่ในแนวตั้ง โดยใชมอเตอรเปน อุปกรณที่ชวยในการขับเคลื่อน มอเตอรสามารถสรางแรงบิดขนาด T ที่ใชในควบคุมการ เคลื่อนที่ของแขนกล การหาขนาดของแรงบิด T ที่เหมาะสมสําหรับการควบคุมนี้เราจําเปนตอง ทราบระบบพลศาสตรหรือแบบจําลองทางคณิตศาสตรของแขนกลดังกลาวดวย q mg TL รูปที่ 1.1.8 แขนกลชนิด 1 ขอตอ สมการพลศาสตรของระบบควบคุมแขนกลชนิด 1 ขอตอ สามารถเขียนไดดังนี้