SlideShare a Scribd company logo
1 of 8
Download to read offline
ค�ำเพื่อฆ่า ค่าแห่งค�ำใน
ธารน�้ำนมจากความตาย
ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ 1


                                                          วรุณี อุดมศิลป*

บ ท คั ด ย่ อ
	          ในเรื่องสั้น ธารน�้ำนมจากความตาย ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์
ประเด็นเรื่องการฆ่าน�ำมาศึกษาได้ทั้งในมิติของการเล่าเรื่องและในมิติของ
เรื่องเล่า ผู้ประพันธ์ใช้รูปแบบการเล่าเรื่องซ้อน กล่าวคือ เรื่องเล่าระดับที่ 1
ท�ำหน้าที่เป็นฉากเปิดเรื่องและฉากปิดเรื่องของเรื่องสั้นทั้งเรื่อง รวมทั้งเป็น
พื้นที่ซึ่งสร้างสถานการณ์การเล่าเรื่องราวแห่งการฆ่าในเรื่องเล่าระดับที่ 2
หรือเรื่องเล่าซ้อนอันกล่าวถึงต�ำนานแห่งหอคอยสกูตาริ ในเรื่องเล่าระดับ       
ที่ 1 ผูประพันธ์ใช้เสียงผูเล่านิรนามท�ำหน้าทีเปิดเรืองและปิดเรือง พรรณนา
        ้                  ้                 ่      ่           ่


	       1
         	ได้รบทุนสนับสนุนจากโครงการศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้าน
               ั
ภาษา ภาษาศาสตร์ และวรรณคดี คณะอักษรศาสตร์ ตามแผนพัฒนาวิชาการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
	       *	ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจ�ำภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษา
ฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4


ฉากสถานที่ และแนะน�ำตัวละครที่จะเป็นผู้เล่าและผู้ฟังเรื่องเล่าระดับที่ 2
ในเรื่องเล่าระดับที่ 2 บทบาทของตัวละครแสดงออกด้วยวาจาซึ่งประกอบ
ด้วยคู่ตรงข้าม “พูด/ไม่พูด” “จริง/ลวง” และ “เชื่อฟัง/ฝ่าฝืน” ค�ำพูดของ      
ตัวละครวิเคราะห์ได้ตามทัศนภาวะ 3 ประการ อันได้แก่ ตัวละครปรารถนา
ที่จะพูด รู้วิธีการพูด และมีโอกาสพูด เดิมพันในการเจรจาของตัวละคร
เกี่ยวข้องกับความตายและการอยู่รอดทั้งของตนเองและผู้อื่น อ�ำนาจของ     
ค�ำพูดจึงท�ำให้ตัวละครเป็นได้ทั้งผู้สั่งฆ่า ผู้ถูกฆ่า และผู้รอดจากการฆ่า
	
	        ในจ�ำนวนเรืองสัน 10 เรืองของผลงานรวมเรืองสันชุด Nouvelles
                    ่ ้         ่               ่ ้
orientales หรือ เรื่องสั้นตะวันออก ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์
(Marguerite Yourcenar)2 เรื่องสั้นชื่อ Le lait de la mort หรือ
ธารน�้ำนมจากความตาย3 เป็นเรื่องหนึ่งจากจ�ำนวนเรื่องสั้น 3 เรื่อง4
ซึ่งผู้ประพันธ์ระบุว่ามีที่มาจากบทกวีประเภทบัลลาดของเซอร์เบียและ


	        2
           	มาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ (ค.ศ. 1903-1987) นักประพันธ์และสตรีคนแรก
ที่ได้รับคัดเลือกและแต่งตั้งเป็นสมาชิกราชบัณฑิตยสภาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ดูประวัติและผลงานโดยสังเขปของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ ในภาคผนวกบทความ
ของผู้วิจัย เรื่อง “กาลีเศียรขาด” ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ : ตะวันออกโดย
ตะวันตก ใน ธีระ นุชเปี่ยม, บรรณาธิการ, จากตะวันออก-ตะวันตก สู่โลกา-
ภิวัตน์ทางปัญญา (กรุงเทพฯ : โครงการเอเชีย-ยุโรปศึกษา ภายใต้การสนับสนุน
ของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2546), หน้า 69-110.
	        3
           	ส�ำนวนแปลทังหมดทีใช้ประกอบบทความนีเ้ ป็นของผูวจย เว้นแต่จะระบุ
                           ้        ่                            ้ิั
เป็นอื่น
	        4
           	เรื่องสั้นอีก 2 เรื่อง ได้แก่ “รอยยิ้มของมาร์โก” หรือ “Le sourire de
Marko” และ “จุดจบของเจ้าชายมาร์โก” หรือ “La fin de Marko Kralievitch”
5


บอลข่านยุคกลาง5 เนือเรืองกล่าวถึงต�ำนานการสร้างหอคอยแห่งสกูตาริ
                            ้ ่
(Scutari) ซึ่งต้องฝังคนทั้งเป็นไว้ภายในเพื่อใช้เป็นโครงยึดอาคารมิให้
ถล่มลงมา ผู้สนใจผลงานเรื่องนี้ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ นิยมเปรียบ
เทียบเรื่องสั้นเรื่องนี้กับอีก 2 เรื่องซึ่งมีที่มาจากภูมิภาคเดียวกัน ศึกษา
อิทธิพลต�ำนานสลาฟในเรื่องสั้นเรื่องนี้ หรือวิเคราะห์แก่นเรื่องกับ
ตัวละคร6
	       บทความนี้น�ำเสนอการวิเคราะห์ตัวบท (l’analyse textuelle)
ทั้งในมิติของการเล่าเรื่องและในมิติของเรื่องเล่า ประเด็นศึกษาได้แก่
สถานการณ์ของการเล่าเรื่องและบทเจรจาของตัวละครที่เกี่ยวข้องกับ
การฆ่า ในการเล่าเรืองผูประพันธ์ใช้กลวิธการเล่าเรืองซ้อนเพือน�ำเสนอ
                          ่ ้                    ี       ่       ่
เรื่องราวของการฆ่า และในเรื่องเล่าอ�ำนาจของค�ำพูดท�ำให้ตัวละคร
เป็นได้ทั้งผู้สั่งฆ่า ผู้ถูกฆ่า และผู้รอดจากการฆ่า มาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์
ใช้รูปแบบการเล่าเรื่องซ้อนหรือเรียกตามศัพท์ของผู้ประพันธ์ว่า “เรื่อง
สั้นในกรอบ”7 กล่าวคือ เรื่องเล่าระดับที่ 1 เป็นเสมือนกรอบชั้นนอกที่

	      5
         	Marguerite Yourcenar, “Post-Scriptum de 1978,” in Œuvres
romanesques (Paris: Gallimard, 1982), pp. 1247-1248.
	      6
         	ดูรายชื่อบทความที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้ในรายการบรรณานุกรมท้าย
บทความ
	      7
         	มาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ ใช้ค�ำว่า “nouvelle à cadre” อ้างตาม
Mihailo Pavlovic, “Marguerite Yourcenar et la poésie populaire des
Serbes et d’autres peuples balkaniques,” in Marguerite Yourcenar,
écrivain du XIXe?, actes du colloque international de Thessalonique,
Université Aristote (2-4 novembre 2000), éds. Georges Fréris et Rémy
Poignault (Clermont-Ferrand: SIEY, 2004), p. 327.
6


ปรากฏสถานการณ์การเล่าเรืองระดับที่ 2 ผูเ้ ล่าเรืองระดับที่ 1 เป็นเสียง
                               ่                 ่
ผู้เล่านิรนามที่มิใช่ตัวละครในเรื่องและท�ำหน้าที่พรรณนาฉากสถานที่
และแนะน�ำตัวละครที่จะเป็นผู้เล่าและผู้ฟังเรื่องเล่าระดับที่ 2 หรือ
เรื่องเล่าซ้อนซึ่งกล่าวถึงต�ำนานแห่งหอคอยสกูตาริ ในการเล่าเรื่องทั้ง
2 ระดับ มาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ ใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 และก�ำหนด
มิติสถานที่และเวลาให้แตกต่างกันแต่คงเอกภาพภายในแต่ละระดับไว้
อย่างชัดเจน
	        ข้อความภาษาฝรั่งเศสจากเรื่อง ธารน�้ำนมจากความตาย ที่
ก�ำกับส�ำนวนแปลภาษาไทยของผู้วิจัยในบทความนี้ อ้างอิงจากชุด
Œuvres romanesques หรือ นวนิยายรวมเล่ม ของมาร์เกอริต
ยูร์เซอนาร์ ซึ่งส�ำนักพิมพ์กาลิมารด์ (Gallimard) เป็นผู้จัดพิมพ์เมื่อ
ค.ศ. 1982 เลขหน้าที่ใช้อ้างอิงปรากฏในวงเล็บต่อท้าย และข้อความที่
เน้นเป็นของผู้วิจัย เว้นแต่จะระบุเป็นอื่น ชื่อจากเทพปกรณัมสะกด
ตามเสียงอ่านซึงเป็นทีรจกจากภาษาอังกฤษแต่กำกับด้วยภาษาฝรังเศส
                 ่      ่ ู้ ั                 �                 ่
ตามต้นฉบับในวงเล็บต่อท้าย

1. เรื่องเล่าการฆ่า
	        เนื้อเรื่องหลักของ ธารน�้ำนมจากความตาย ซึ่งกล่าวถึงต�ำนาน
การสร้างหอคอยสกูตาริ ปรากฏในเรื่องเล่าระดับที่ 2 เมื่อพิจารณา
จากล�ำดับการเกิดเหตุการณ์ก่อน-หลัง มิติเวลาของเรื่องเล่าระดับที่ 2
จึงอยู่ในอดีตและเกิดขึ้นก่อนเรื่องเล่าระดับที่ 1 ซึ่งเป็นพื้นที่ของการ
เล่าเรื่อง
7


	       ตัวละครในเรื่องเล่าระดับที่ 2 มีจ�ำนวน 7 คน ได้แก่ ชาย 3 คน
พี่น้อง ภรรยาของแต่ละคน และลูกของน้องชายคนเล็ก เนื่องจาก
ผู้ประพันธ์ใช้ต�ำนานเป็นที่มาของเรื่องสั้น จึงไม่มีบทพรรณนากายภาพ
ของตัวละครโดยละเอียด ตัวละครทั้งหมดไม่มีชื่อเรียกเฉพาะยกเว้น
ลูกของน้องชายคนเล็ก เหตุการณ์ตามเนื้อเรื่องคือชายทั้งสามได้รับ
มอบหมายให้สร้างหอสังเกตการณ์เพื่อเฝ้าระวังการบุกโจมตีจากพวก
เติร์ก ทว่าทุกครั้งที่งานล่วงเลยมาถึงขั้นมุงหลังคาซึ่งหมายความว่า
การก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ตัวอาคารก็จะพังลงมา ตามความเชื่อพื้นถิ่น
จ�ำเป็นต้องฝังทังเป็นชายหรือหญิงจ�ำนวน 1 คน ไว้ภายในก�ำแพงอาคาร
                 ้
เพื่อให้โครงกระดูกมนุษย์เป็นแกนยึดสิ่งก่อสร้างนั้น ๆ ไว้ ในท้ายที่สุด
ผู้ถูก “สังเวย” ต่อการสร้างหอคอยคือภรรยาของน้องชายคนเล็ก
บทบาทของตัวละครในเรื่องเล่าระดับที่ 2 แสดงออกมิใช่ด้วยการ
กระท�ำ ทว่าเป็นด้วยวาจาซึ่งประกอบด้วยคู่ตรงข้ามคือ “พูด/ไม่พูด”
“จริง/ลวง” และ “เชื่อฟัง/ฝ่าฝืน” เดิมพันในการเจรจาของตัวละคร
เกี่ยวข้องกับความตายและการอยู่รอด ตัวละครแต่งอุบายแสวงหา
“เหยื่อ” ที่จะตายแทนตน ใช้กลลวงเพื่อเจรจาเอาตัวรอดจากการถูก
ฆ่า และต่อรองเมื่อจะต้องถูกฆ่า ค�ำพูดของตัวละครวิเคราะห์ได้ตาม
ทัศนภาวะ (la modalité) 3 ประการ อันได้แก่ ตัวละครปรารถนาที่จะ
พูด (le vouloir dire) รู้วิธีการพูด (le savoir dire) กล่าวคือ รู้จักใช้
เหตุผลประกอบการพูด และมีความสามารถที่จะพูด (le pouvoir
dire) ซึ่งหมายความว่ามีสิทธิ์หรือโอกาสที่จะพูดรวมทั้งกล้าพูด วิธีการ
ใช้เหตุผลอ้างอิงผลประโยชน์ของสังคมจากระดับใหญ่สู่ระดับเล็ก
ได้แก่ ชุมชน ครอบครัว และบุคคล สิทธิ์และโอกาสในการเจรจาของ
ตัวละครขึ้นอยู่กับสถานภาพภายในครอบครัวและล�ำดับอาวุโสจาก
8


ผู้ใหญ่สู่ผู้น้อย สถานะถ้อยค�ำของตัวละครปรากฏในรูปแบบที่แตกต่าง
กันและสะท้อนทัศนภาวะของการเจรจา ผู้ประพันธ์ใช้รูปแบบวัจนะ
โดยตรง (le discours rapporté) กับตัวละครที่มีทั้งโอกาสและรู้วิธี
เจรจาแล้วมีชีวิตรอด และใช้รูปแบบวัจนะผ่านการเล่า (le discours
narrativisé) กับตัวละครที่ไม่พูดและต้องเสียชีวิต8

1.1	วาจาของพีชายคนโตและภรรยา : ความจริงปนความลวง
             ่

	      ความเชื่อพื้นเมืองเรื่องการฝังคนทั้งเป็นไว้ภายในก�ำแพงสิ่ง
ก่อสร้างซึ่งควรจะเป็นหนทางก� ำจัดอุปสรรคในการก่อสร้างหอคอย
กลับกลายเป็นภัยคุกคามชีวิตของตัวละคร ปฏิกิริยาของพี่น้องทั้ง 3
คนต่อความเชื่อเรื่องนี้แสดงออกอย่างต่อเนื่อง ในเวลากลางวัน ชาย
ทั้งสามคอยระวังมิให้เงาจากร่างของตนทอดไปทาบบนอาคารที่ยัง
ก่อสร้างค้างอยู่ ด้วยความเชื่อว่าเงาด�ำอาจเป็นวิญญาณของตนที่จะ
ถูกกักขังไว้ภายในสิ่งก่อสร้าง และแล้วเจ้าของเงาก็จะต้องตาย ในยาม

	       8
         	เฌรารด์ เฌอแนต (Gérard Genette) แยกสถานะของค�ำพูดตัวละคร
ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ วัจนะโดยตรง (le discours rapporté ou imité)
หรือค�ำพูดทีผเู้ ล่าเรืองเลียนแบบถ้อยค�ำทีออกจากปากของตัวละครโดยตรงเสมือน
            ่          ่                  ่
หนึ่งตัวละครปรากฏตัวต่อหน้าผู้อ่านและพูดเสียงดังให้ได้ยิน วัจนะผ่านการเล่า
(le discours narrativisé ou raconté) หรือค�ำพูดของตัวละครที่ผู้เล่าเรื่อง
สรุปข้อความและถ่ายทอดเสมือนเป็นเหตุการณ์หนึงทีเกิดขึน และวัจนะโดยอ้อม
                                                 ่ ่ ้
(le discours transposé ou indirect) หรือค�ำพูดของตัวละครที่ผู้เล่าเรื่องใช้
รูปประโยคโดยอ้อม (le style indirect) ดูรายละเอียดใน Gérard Genette,
Discours du récit (Paris: Seuil, 2007), pp. 172-176.
9


ค�่ำคืนแต่ละคนพยายามนั่งห่างจากกองไฟให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไป
ได้ด้วยเกรงว่าจะมีคนแอบย่องเงียบมาทางด้านหลังแล้วครอบถุงผ้า
จับเงาของตนไป เมื่อความหวาดวิตกเพิ่มมากขึ้น พี่ชายคนโตจึงเรียก
น้องชายทั้ง 2 คนมาเจรจาความ
	       กลยุทธ์การเจรจาของตัวละครอาศัยสถานภาพความเป็นพี่ชาย
คนโต ตัวละครใช้สทธิในฐานะ “พีใหญ่” หรือผูนำครอบครัวในการเรียก
                  ิ ์              ่         ้ �
น้อง 2 คนมาฟังข้อเสนอของตน ตัวละครจึงเป็นผู้ที่มีโอกาสพูดเป็น
คนแรก มีบทเจรจาขนาดยาวและปรากฏในรูปแบบของวัจนะโดยตรง
พี่ชายคนโตชักจูงให้ผู้เป็นน้องปฏิบัติตามค�ำพูดของตน แจกแจงผลเสีย
ที่จะเกิดขึ้นหากหอคอยสร้างไม่สำเร็จซึ่งได้แก่ พวกเติร์กจะยกทัพเข้า
                                 �
มาโจมตีอีก ข่มเหงพวกผู้หญิงของหมู่บ้าน เผาพืชผลในท้องทุ่ง และ
สังหารชาวบ้านอย่างทารุณ

      “(...) หากหอคอยของพวกเรายังสร้างมิรู้แล้ว พวกเติร์ก
      ก็จะเคลื่อนขึ้นฝั่งทะเลสาบแห่งนี้อีก เข้าซ่อนตัวด้านหลัง
      พงอ้อ พวกเขาจะย�่ำยีผู้หญิงของหมู่บ้านเรา พวกเขาจะ
      เผาธัญญาหารในวันหน้าของเราที่ยังอยู่ในท้องทุ่ง พวก
      เขาจะจับพวกชาวบ้านเราขึนตรึงร่างกับหุนขับนกในเรือก
                                ้               ่
      สวนแล้วทิ้งให้แปรสภาพเป็นอาหารของฝูงกา (...)”

      « (…) si notre tour reste inachevée, les Turcs se
      glisseront de nouveau sur les berges de ce lac,
      dissimulés derrière les roseaux. Ils violeront nos
      filles de ferme; ils brûleront dans nos champs
10


      la promesse du pain future; ils crucifieront nos
      paysans aux épouvantails dressés dans nos
      vergers, et qui se transformeront ainsi en appâts
      pour corbeaux. (…)» (p. 1193)

	        ผูประพันธ์ใช้รปประโยคทีมโครงสร้างเดียวกัน ค�ำว่า “พวกเติรก/
           ้           ู            ่ี                            ์
les Turcs” รวมทังบุรษสรรพนาม “พวกเขา/Ils” ท�ำหน้าทีเ่ ป็นประธาน
                     ้ ุ
ของชุดประโยคซึ่งแสดงผลลัพธ์จากเงื่อนไขของการสร้างหอคอยไม่
ส�ำเร็จ ตัวละครพี่ชายคนโตเน้นให้เห็นว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นล้วนแล้วแต่
มาจากการกระท�ำอันเลวร้ายของพวกเติร์กทั้งสิ้นและจะก่อความเสีย
หายร้ายแรงแก่ผคนทังหมูบาน ค�ำพูดของตัวละครอิงกับประโยชน์ระดับ
                   ู้ ้ ่ ้
สังคม พี่ชายคนโตอ้างถึงความปลอดภัยของส่วนรวมและการอยู่รอด
ของทุกคนด้วยการใช้คำแสดงความเป็นเจ้าของว่า “ของพวกเรา/notre,
                         �
nos” ตัวละครชี้ให้น้องทั้ง 2 คนเห็นจ�ำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความ
เชื่อพื้นบ้านเรื่องการฝังคนทั้งเป็นไว้ในก�ำแพงหอคอย แต่ในขณะเดียว
กันตัวละครก็ไม่ยอมเสี่ยงชีวิตของตนและพยายามแสวงหาหนทางที่
ปลอดภัยแก่ตัวเองด้วย ตัวละครอ้างความเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิตด้วย
การเรียกน้องทั้งสองว่า “น้องชายข้า น้องร่วมสายเลือด นมแม่ และศีล
จุ่ม/Petits frères, frères par le sang, le lait et le baptême,
(…). (p. 1192)” ถ้อยวาจาของพีชายคนโตประกอบด้วยภาษาภาพพจน์
                                  ่
เปรียบเทียบความเป็นพี่น้องกับใบแชมร็อคที่มี 3 แฉก เพื่อเน้นว่าทั้ง 3
คนพี่น้องจะขาดซึ่งกันและกันมิได้ “น้องข้า เราต้องการกันและกัน
และไม่ใช่เรื่องที่ใบแชมร็อคจะต้องสังเวยส่วนหนึ่งส่วนใดของใบทั้ง 3
แฉกไป/Mes petits frères, nous avons besoin les uns des

More Related Content

Similar to 9789740330295

การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมWatcharapol Wiboolyasarin
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีRuangrat Watthanasaowalak
 
ประวัติที่มาของเรื่อง1
ประวัติที่มาของเรื่อง1ประวัติที่มาของเรื่อง1
ประวัติที่มาของเรื่อง1Tae'cub Rachen
 
เรื่อง การแสดงโขน
เรื่อง      การแสดงโขนเรื่อง      การแสดงโขน
เรื่อง การแสดงโขนCholticha Chatanon
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานRawinnipha Joy
 
การศึกษาข้อมูลคติชนประเภทนิทาน1
การศึกษาข้อมูลคติชนประเภทนิทาน1การศึกษาข้อมูลคติชนประเภทนิทาน1
การศึกษาข้อมูลคติชนประเภทนิทาน1Similun_maya
 

Similar to 9789740330295 (9)

การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
 
ประวัติที่มาของเรื่อง1
ประวัติที่มาของเรื่อง1ประวัติที่มาของเรื่อง1
ประวัติที่มาของเรื่อง1
 
เรื่อง การแสดงโขน
เรื่อง      การแสดงโขนเรื่อง      การแสดงโขน
เรื่อง การแสดงโขน
 
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วงใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
ใบความรู้ไตรภูมิพระร่วง
 
ละคร
ละครละคร
ละคร
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
การศึกษาข้อมูลคติชนประเภทนิทาน1
การศึกษาข้อมูลคติชนประเภทนิทาน1การศึกษาข้อมูลคติชนประเภทนิทาน1
การศึกษาข้อมูลคติชนประเภทนิทาน1
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740330295

  • 1. ค�ำเพื่อฆ่า ค่าแห่งค�ำใน ธารน�้ำนมจากความตาย ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ 1 วรุณี อุดมศิลป* บ ท คั ด ย่ อ ในเรื่องสั้น ธารน�้ำนมจากความตาย ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ ประเด็นเรื่องการฆ่าน�ำมาศึกษาได้ทั้งในมิติของการเล่าเรื่องและในมิติของ เรื่องเล่า ผู้ประพันธ์ใช้รูปแบบการเล่าเรื่องซ้อน กล่าวคือ เรื่องเล่าระดับที่ 1 ท�ำหน้าที่เป็นฉากเปิดเรื่องและฉากปิดเรื่องของเรื่องสั้นทั้งเรื่อง รวมทั้งเป็น พื้นที่ซึ่งสร้างสถานการณ์การเล่าเรื่องราวแห่งการฆ่าในเรื่องเล่าระดับที่ 2 หรือเรื่องเล่าซ้อนอันกล่าวถึงต�ำนานแห่งหอคอยสกูตาริ ในเรื่องเล่าระดับ ที่ 1 ผูประพันธ์ใช้เสียงผูเล่านิรนามท�ำหน้าทีเปิดเรืองและปิดเรือง พรรณนา ้ ้ ่ ่ ่ 1 ได้รบทุนสนับสนุนจากโครงการศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้าน ั ภาษา ภาษาศาสตร์ และวรรณคดี คณะอักษรศาสตร์ ตามแผนพัฒนาวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย * ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจ�ำภาควิชาภาษาตะวันตก สาขาวิชาภาษา ฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2. 4 ฉากสถานที่ และแนะน�ำตัวละครที่จะเป็นผู้เล่าและผู้ฟังเรื่องเล่าระดับที่ 2 ในเรื่องเล่าระดับที่ 2 บทบาทของตัวละครแสดงออกด้วยวาจาซึ่งประกอบ ด้วยคู่ตรงข้าม “พูด/ไม่พูด” “จริง/ลวง” และ “เชื่อฟัง/ฝ่าฝืน” ค�ำพูดของ ตัวละครวิเคราะห์ได้ตามทัศนภาวะ 3 ประการ อันได้แก่ ตัวละครปรารถนา ที่จะพูด รู้วิธีการพูด และมีโอกาสพูด เดิมพันในการเจรจาของตัวละคร เกี่ยวข้องกับความตายและการอยู่รอดทั้งของตนเองและผู้อื่น อ�ำนาจของ ค�ำพูดจึงท�ำให้ตัวละครเป็นได้ทั้งผู้สั่งฆ่า ผู้ถูกฆ่า และผู้รอดจากการฆ่า ในจ�ำนวนเรืองสัน 10 เรืองของผลงานรวมเรืองสันชุด Nouvelles ่ ้ ่ ่ ้ orientales หรือ เรื่องสั้นตะวันออก ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ (Marguerite Yourcenar)2 เรื่องสั้นชื่อ Le lait de la mort หรือ ธารน�้ำนมจากความตาย3 เป็นเรื่องหนึ่งจากจ�ำนวนเรื่องสั้น 3 เรื่อง4 ซึ่งผู้ประพันธ์ระบุว่ามีที่มาจากบทกวีประเภทบัลลาดของเซอร์เบียและ 2 มาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ (ค.ศ. 1903-1987) นักประพันธ์และสตรีคนแรก ที่ได้รับคัดเลือกและแต่งตั้งเป็นสมาชิกราชบัณฑิตยสภาแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ดูประวัติและผลงานโดยสังเขปของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ ในภาคผนวกบทความ ของผู้วิจัย เรื่อง “กาลีเศียรขาด” ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ : ตะวันออกโดย ตะวันตก ใน ธีระ นุชเปี่ยม, บรรณาธิการ, จากตะวันออก-ตะวันตก สู่โลกา- ภิวัตน์ทางปัญญา (กรุงเทพฯ : โครงการเอเชีย-ยุโรปศึกษา ภายใต้การสนับสนุน ของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2546), หน้า 69-110. 3 ส�ำนวนแปลทังหมดทีใช้ประกอบบทความนีเ้ ป็นของผูวจย เว้นแต่จะระบุ ้ ่ ้ิั เป็นอื่น 4 เรื่องสั้นอีก 2 เรื่อง ได้แก่ “รอยยิ้มของมาร์โก” หรือ “Le sourire de Marko” และ “จุดจบของเจ้าชายมาร์โก” หรือ “La fin de Marko Kralievitch”
  • 3. 5 บอลข่านยุคกลาง5 เนือเรืองกล่าวถึงต�ำนานการสร้างหอคอยแห่งสกูตาริ ้ ่ (Scutari) ซึ่งต้องฝังคนทั้งเป็นไว้ภายในเพื่อใช้เป็นโครงยึดอาคารมิให้ ถล่มลงมา ผู้สนใจผลงานเรื่องนี้ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ นิยมเปรียบ เทียบเรื่องสั้นเรื่องนี้กับอีก 2 เรื่องซึ่งมีที่มาจากภูมิภาคเดียวกัน ศึกษา อิทธิพลต�ำนานสลาฟในเรื่องสั้นเรื่องนี้ หรือวิเคราะห์แก่นเรื่องกับ ตัวละคร6 บทความนี้น�ำเสนอการวิเคราะห์ตัวบท (l’analyse textuelle) ทั้งในมิติของการเล่าเรื่องและในมิติของเรื่องเล่า ประเด็นศึกษาได้แก่ สถานการณ์ของการเล่าเรื่องและบทเจรจาของตัวละครที่เกี่ยวข้องกับ การฆ่า ในการเล่าเรืองผูประพันธ์ใช้กลวิธการเล่าเรืองซ้อนเพือน�ำเสนอ ่ ้ ี ่ ่ เรื่องราวของการฆ่า และในเรื่องเล่าอ�ำนาจของค�ำพูดท�ำให้ตัวละคร เป็นได้ทั้งผู้สั่งฆ่า ผู้ถูกฆ่า และผู้รอดจากการฆ่า มาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ ใช้รูปแบบการเล่าเรื่องซ้อนหรือเรียกตามศัพท์ของผู้ประพันธ์ว่า “เรื่อง สั้นในกรอบ”7 กล่าวคือ เรื่องเล่าระดับที่ 1 เป็นเสมือนกรอบชั้นนอกที่ 5 Marguerite Yourcenar, “Post-Scriptum de 1978,” in Œuvres romanesques (Paris: Gallimard, 1982), pp. 1247-1248. 6 ดูรายชื่อบทความที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้ในรายการบรรณานุกรมท้าย บทความ 7 มาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ ใช้ค�ำว่า “nouvelle à cadre” อ้างตาม Mihailo Pavlovic, “Marguerite Yourcenar et la poésie populaire des Serbes et d’autres peuples balkaniques,” in Marguerite Yourcenar, écrivain du XIXe?, actes du colloque international de Thessalonique, Université Aristote (2-4 novembre 2000), éds. Georges Fréris et Rémy Poignault (Clermont-Ferrand: SIEY, 2004), p. 327.
  • 4. 6 ปรากฏสถานการณ์การเล่าเรืองระดับที่ 2 ผูเ้ ล่าเรืองระดับที่ 1 เป็นเสียง ่ ่ ผู้เล่านิรนามที่มิใช่ตัวละครในเรื่องและท�ำหน้าที่พรรณนาฉากสถานที่ และแนะน�ำตัวละครที่จะเป็นผู้เล่าและผู้ฟังเรื่องเล่าระดับที่ 2 หรือ เรื่องเล่าซ้อนซึ่งกล่าวถึงต�ำนานแห่งหอคอยสกูตาริ ในการเล่าเรื่องทั้ง 2 ระดับ มาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ ใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 และก�ำหนด มิติสถานที่และเวลาให้แตกต่างกันแต่คงเอกภาพภายในแต่ละระดับไว้ อย่างชัดเจน ข้อความภาษาฝรั่งเศสจากเรื่อง ธารน�้ำนมจากความตาย ที่ ก�ำกับส�ำนวนแปลภาษาไทยของผู้วิจัยในบทความนี้ อ้างอิงจากชุด Œuvres romanesques หรือ นวนิยายรวมเล่ม ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ ซึ่งส�ำนักพิมพ์กาลิมารด์ (Gallimard) เป็นผู้จัดพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1982 เลขหน้าที่ใช้อ้างอิงปรากฏในวงเล็บต่อท้าย และข้อความที่ เน้นเป็นของผู้วิจัย เว้นแต่จะระบุเป็นอื่น ชื่อจากเทพปกรณัมสะกด ตามเสียงอ่านซึงเป็นทีรจกจากภาษาอังกฤษแต่กำกับด้วยภาษาฝรังเศส ่ ่ ู้ ั � ่ ตามต้นฉบับในวงเล็บต่อท้าย 1. เรื่องเล่าการฆ่า เนื้อเรื่องหลักของ ธารน�้ำนมจากความตาย ซึ่งกล่าวถึงต�ำนาน การสร้างหอคอยสกูตาริ ปรากฏในเรื่องเล่าระดับที่ 2 เมื่อพิจารณา จากล�ำดับการเกิดเหตุการณ์ก่อน-หลัง มิติเวลาของเรื่องเล่าระดับที่ 2 จึงอยู่ในอดีตและเกิดขึ้นก่อนเรื่องเล่าระดับที่ 1 ซึ่งเป็นพื้นที่ของการ เล่าเรื่อง
  • 5. 7 ตัวละครในเรื่องเล่าระดับที่ 2 มีจ�ำนวน 7 คน ได้แก่ ชาย 3 คน พี่น้อง ภรรยาของแต่ละคน และลูกของน้องชายคนเล็ก เนื่องจาก ผู้ประพันธ์ใช้ต�ำนานเป็นที่มาของเรื่องสั้น จึงไม่มีบทพรรณนากายภาพ ของตัวละครโดยละเอียด ตัวละครทั้งหมดไม่มีชื่อเรียกเฉพาะยกเว้น ลูกของน้องชายคนเล็ก เหตุการณ์ตามเนื้อเรื่องคือชายทั้งสามได้รับ มอบหมายให้สร้างหอสังเกตการณ์เพื่อเฝ้าระวังการบุกโจมตีจากพวก เติร์ก ทว่าทุกครั้งที่งานล่วงเลยมาถึงขั้นมุงหลังคาซึ่งหมายความว่า การก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ตัวอาคารก็จะพังลงมา ตามความเชื่อพื้นถิ่น จ�ำเป็นต้องฝังทังเป็นชายหรือหญิงจ�ำนวน 1 คน ไว้ภายในก�ำแพงอาคาร ้ เพื่อให้โครงกระดูกมนุษย์เป็นแกนยึดสิ่งก่อสร้างนั้น ๆ ไว้ ในท้ายที่สุด ผู้ถูก “สังเวย” ต่อการสร้างหอคอยคือภรรยาของน้องชายคนเล็ก บทบาทของตัวละครในเรื่องเล่าระดับที่ 2 แสดงออกมิใช่ด้วยการ กระท�ำ ทว่าเป็นด้วยวาจาซึ่งประกอบด้วยคู่ตรงข้ามคือ “พูด/ไม่พูด” “จริง/ลวง” และ “เชื่อฟัง/ฝ่าฝืน” เดิมพันในการเจรจาของตัวละคร เกี่ยวข้องกับความตายและการอยู่รอด ตัวละครแต่งอุบายแสวงหา “เหยื่อ” ที่จะตายแทนตน ใช้กลลวงเพื่อเจรจาเอาตัวรอดจากการถูก ฆ่า และต่อรองเมื่อจะต้องถูกฆ่า ค�ำพูดของตัวละครวิเคราะห์ได้ตาม ทัศนภาวะ (la modalité) 3 ประการ อันได้แก่ ตัวละครปรารถนาที่จะ พูด (le vouloir dire) รู้วิธีการพูด (le savoir dire) กล่าวคือ รู้จักใช้ เหตุผลประกอบการพูด และมีความสามารถที่จะพูด (le pouvoir dire) ซึ่งหมายความว่ามีสิทธิ์หรือโอกาสที่จะพูดรวมทั้งกล้าพูด วิธีการ ใช้เหตุผลอ้างอิงผลประโยชน์ของสังคมจากระดับใหญ่สู่ระดับเล็ก ได้แก่ ชุมชน ครอบครัว และบุคคล สิทธิ์และโอกาสในการเจรจาของ ตัวละครขึ้นอยู่กับสถานภาพภายในครอบครัวและล�ำดับอาวุโสจาก
  • 6. 8 ผู้ใหญ่สู่ผู้น้อย สถานะถ้อยค�ำของตัวละครปรากฏในรูปแบบที่แตกต่าง กันและสะท้อนทัศนภาวะของการเจรจา ผู้ประพันธ์ใช้รูปแบบวัจนะ โดยตรง (le discours rapporté) กับตัวละครที่มีทั้งโอกาสและรู้วิธี เจรจาแล้วมีชีวิตรอด และใช้รูปแบบวัจนะผ่านการเล่า (le discours narrativisé) กับตัวละครที่ไม่พูดและต้องเสียชีวิต8 1.1 วาจาของพีชายคนโตและภรรยา : ความจริงปนความลวง ่ ความเชื่อพื้นเมืองเรื่องการฝังคนทั้งเป็นไว้ภายในก�ำแพงสิ่ง ก่อสร้างซึ่งควรจะเป็นหนทางก� ำจัดอุปสรรคในการก่อสร้างหอคอย กลับกลายเป็นภัยคุกคามชีวิตของตัวละคร ปฏิกิริยาของพี่น้องทั้ง 3 คนต่อความเชื่อเรื่องนี้แสดงออกอย่างต่อเนื่อง ในเวลากลางวัน ชาย ทั้งสามคอยระวังมิให้เงาจากร่างของตนทอดไปทาบบนอาคารที่ยัง ก่อสร้างค้างอยู่ ด้วยความเชื่อว่าเงาด�ำอาจเป็นวิญญาณของตนที่จะ ถูกกักขังไว้ภายในสิ่งก่อสร้าง และแล้วเจ้าของเงาก็จะต้องตาย ในยาม 8 เฌรารด์ เฌอแนต (Gérard Genette) แยกสถานะของค�ำพูดตัวละคร ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ วัจนะโดยตรง (le discours rapporté ou imité) หรือค�ำพูดทีผเู้ ล่าเรืองเลียนแบบถ้อยค�ำทีออกจากปากของตัวละครโดยตรงเสมือน ่ ่ ่ หนึ่งตัวละครปรากฏตัวต่อหน้าผู้อ่านและพูดเสียงดังให้ได้ยิน วัจนะผ่านการเล่า (le discours narrativisé ou raconté) หรือค�ำพูดของตัวละครที่ผู้เล่าเรื่อง สรุปข้อความและถ่ายทอดเสมือนเป็นเหตุการณ์หนึงทีเกิดขึน และวัจนะโดยอ้อม ่ ่ ้ (le discours transposé ou indirect) หรือค�ำพูดของตัวละครที่ผู้เล่าเรื่องใช้ รูปประโยคโดยอ้อม (le style indirect) ดูรายละเอียดใน Gérard Genette, Discours du récit (Paris: Seuil, 2007), pp. 172-176.
  • 7. 9 ค�่ำคืนแต่ละคนพยายามนั่งห่างจากกองไฟให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไป ได้ด้วยเกรงว่าจะมีคนแอบย่องเงียบมาทางด้านหลังแล้วครอบถุงผ้า จับเงาของตนไป เมื่อความหวาดวิตกเพิ่มมากขึ้น พี่ชายคนโตจึงเรียก น้องชายทั้ง 2 คนมาเจรจาความ กลยุทธ์การเจรจาของตัวละครอาศัยสถานภาพความเป็นพี่ชาย คนโต ตัวละครใช้สทธิในฐานะ “พีใหญ่” หรือผูนำครอบครัวในการเรียก ิ ์ ่ ้ � น้อง 2 คนมาฟังข้อเสนอของตน ตัวละครจึงเป็นผู้ที่มีโอกาสพูดเป็น คนแรก มีบทเจรจาขนาดยาวและปรากฏในรูปแบบของวัจนะโดยตรง พี่ชายคนโตชักจูงให้ผู้เป็นน้องปฏิบัติตามค�ำพูดของตน แจกแจงผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นหากหอคอยสร้างไม่สำเร็จซึ่งได้แก่ พวกเติร์กจะยกทัพเข้า � มาโจมตีอีก ข่มเหงพวกผู้หญิงของหมู่บ้าน เผาพืชผลในท้องทุ่ง และ สังหารชาวบ้านอย่างทารุณ “(...) หากหอคอยของพวกเรายังสร้างมิรู้แล้ว พวกเติร์ก ก็จะเคลื่อนขึ้นฝั่งทะเลสาบแห่งนี้อีก เข้าซ่อนตัวด้านหลัง พงอ้อ พวกเขาจะย�่ำยีผู้หญิงของหมู่บ้านเรา พวกเขาจะ เผาธัญญาหารในวันหน้าของเราที่ยังอยู่ในท้องทุ่ง พวก เขาจะจับพวกชาวบ้านเราขึนตรึงร่างกับหุนขับนกในเรือก ้ ่ สวนแล้วทิ้งให้แปรสภาพเป็นอาหารของฝูงกา (...)” « (…) si notre tour reste inachevée, les Turcs se glisseront de nouveau sur les berges de ce lac, dissimulés derrière les roseaux. Ils violeront nos filles de ferme; ils brûleront dans nos champs
  • 8. 10 la promesse du pain future; ils crucifieront nos paysans aux épouvantails dressés dans nos vergers, et qui se transformeront ainsi en appâts pour corbeaux. (…)» (p. 1193) ผูประพันธ์ใช้รปประโยคทีมโครงสร้างเดียวกัน ค�ำว่า “พวกเติรก/ ้ ู ่ี ์ les Turcs” รวมทังบุรษสรรพนาม “พวกเขา/Ils” ท�ำหน้าทีเ่ ป็นประธาน ้ ุ ของชุดประโยคซึ่งแสดงผลลัพธ์จากเงื่อนไขของการสร้างหอคอยไม่ ส�ำเร็จ ตัวละครพี่ชายคนโตเน้นให้เห็นว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นล้วนแล้วแต่ มาจากการกระท�ำอันเลวร้ายของพวกเติร์กทั้งสิ้นและจะก่อความเสีย หายร้ายแรงแก่ผคนทังหมูบาน ค�ำพูดของตัวละครอิงกับประโยชน์ระดับ ู้ ้ ่ ้ สังคม พี่ชายคนโตอ้างถึงความปลอดภัยของส่วนรวมและการอยู่รอด ของทุกคนด้วยการใช้คำแสดงความเป็นเจ้าของว่า “ของพวกเรา/notre, � nos” ตัวละครชี้ให้น้องทั้ง 2 คนเห็นจ�ำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความ เชื่อพื้นบ้านเรื่องการฝังคนทั้งเป็นไว้ในก�ำแพงหอคอย แต่ในขณะเดียว กันตัวละครก็ไม่ยอมเสี่ยงชีวิตของตนและพยายามแสวงหาหนทางที่ ปลอดภัยแก่ตัวเองด้วย ตัวละครอ้างความเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิตด้วย การเรียกน้องทั้งสองว่า “น้องชายข้า น้องร่วมสายเลือด นมแม่ และศีล จุ่ม/Petits frères, frères par le sang, le lait et le baptême, (…). (p. 1192)” ถ้อยวาจาของพีชายคนโตประกอบด้วยภาษาภาพพจน์ ่ เปรียบเทียบความเป็นพี่น้องกับใบแชมร็อคที่มี 3 แฉก เพื่อเน้นว่าทั้ง 3 คนพี่น้องจะขาดซึ่งกันและกันมิได้ “น้องข้า เราต้องการกันและกัน และไม่ใช่เรื่องที่ใบแชมร็อคจะต้องสังเวยส่วนหนึ่งส่วนใดของใบทั้ง 3 แฉกไป/Mes petits frères, nous avons besoin les uns des