SlideShare a Scribd company logo
1 of 211
Download to read offline
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
(PEACE SOCIETY)
นักศึกษา หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5
เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม
หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5
สถาบันบันพระปกเกล้า
พ.ศ. 2557
ลิขสิทธิ์ของสถาบันพระปกเกล้า
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข (PEACE SOCIETY)
โดย
นักศึกษา หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5
ก
บทคัดย่อ
ผู้จัดทำ: นักศึกษำสถำบันพระปกเกล้ำ หลักสูตรกำรเสริมสร้ำงสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5
หัวข้อเอกสำร: กระบวนกำรประชำเสวนำเพื่อสร้ำงสังคมสันติสุข (PEACE SOCIETY)
อำจำรย์ที่ปรึกษำ: 1) พลเอก เอกชัย ศรีวิลำส 2) นำงจิรำพร บุนนำค 3) รศ. เสำวนีย์จิตต์หมวด
4) รศ. ดร. ฉันทนำ บรรพศิริโชติ หวันแก้ว 5) นำงประกำยรัตน์ ต้นธีรวงศ์
6) ดร. นพ. บรรพต ต้นธีรวงศ์ 7) นำยอภินันท์ ตั้งศรีอนุกุล
กำรศึกษำเรื่อง กระบวนกำรประชำเสวนำเพื่อสร้ำงสังคมสันติสุข (PEACE SOCIETY)
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษำทบทวนสถำนกำรณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับควำมขัดแย้งในประเทศไทยทั้ง
ด้ำนกำรเมืองและสังคม ประเด็น รำกฐำนควำมขัดแย้ง ผลกระทบทำงควำมขัดแย้งที่เกิดขึ้นต่อกำร
สร้ำงควำมเปลี่ยนแปลงทำงสังคม 2) ศึกษำรูปแบบกระบวนกำรมีส่วนร่วมในรูปแบบของประชำ
เสวนำ (Citizen Dialogue) ทั้งในรูปแบบของกำรสำนเสวนำ (Dialogue) และประชำเสวนำหำทำง
ออก (Deliberation) 3) พัฒนำรูปแบบ (Model) กระบวนกำรประชำเสวนำที่สำมำรถสนับสนุนกำร
เปลี่ยนผ่ำน (Transition) สังคมไทยสู่สังคมสันติสุขอย่ำงเป็นระบบ (Systematic) และนำไปทดลอง
ใช้ในพื้นที่เป้ ำหมำยระดับชุมชน (Civic Participation) และ 4) จัดทำข้อเสนอแนะ
(Recommendation) จำกข้อค้นพบจำกกำรศึกษำ สู่ตัวแทนภำครัฐ สำธำรณะชนและองค์กรที่
เกี่ยวข้อง โดยกำรจัดสัมมนำวิชำกำร เป็นกำรประยุกต์ใช้กำรวิจัยเชิงปฏิบัติกำรแบบมีส่วนร่วม
(Participatory Action Research) โดยศึกษำในพื้นที่ 4 ภำค คือ ภำคเหนือ ภำคตะวันออก ภำค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และภำคใต้ ใน 7 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พะเยำ ฉะเชิงเทรำ นครรำชสีมำ
อุบลรำชธำนี และขอนแก่น ในช่วงเดือนมิถุนำยน-ธันวำคม 2557 ผลกำรศึกษำพบว่ำ
1) ควำมขัดแย้งทำงกำรเมืองเกิดขึ้นอย่ำงต่อเนื่อง เกิดผลเสียทำงด้ำนเศรษฐกิจ สังคม
กำรเมือง และควำมมั่นคงในระดับสูง ทำให้ประเทศขำดควำมมั่นคงและสูญเสียอำนำจกำรแข่งขัน
ระบบเศรษฐกิจเสียหำยมหำศำล จำกกำรศึกษำปัญหำควำมขัดแย้ง มีสำเหตุ 9 ประกำร ดังนี้ ควำม
เข้ำใจประชำธิปไตยที่แตกต่ำงกัน ควำมเคลือบแคลงในหลักนิติธรรม (Rule of Law) ของประเทศ
ไทย ตุลำกำรภิวัฒน์ กำรแทรกแซงองค์กรอิสระ กำรรัฐประหำร และบทบำทของทหำรในกำร
จัดกำรควำมขัดแย้ง ควำมเหลื่อมล้ำทำงเศรษฐกิจและสังคม กำรขยำยตัวของสื่อกำรเมืองและสื่อ
บุคคล กำรกล่ำวอ้ำงสถำบันพระมหำกษัตริย์เพื่อประโยชน์ทำงกำรเมือง สังคมขำดควำมรู้ในกำร
จัดกำรควำมขัดแย้งและสันติวิธี และควำมขัดแย้งแบบเดิมพันสูง 2) ควรยุติควำมขัดแย้งและสร้ำง
บรรยำกำศในกำรเสวนำหำทำงออกให้เกิดขึ้น โดยจัดให้มีพื้นที่พูดคุยที่ปลอดภัย จัดพื้นที่สำธำรณะ
ในกำรศึกษำครั้งนี้ ค้นพบกระบวนกำรเสวนำเพื่อเปลี่ยนผ่ำน
ข
สังคมไทย ใน 10 องค์ประกอบ ได้แก่ ประเด็นพูดคุย ผู้อำนวยควำมสะดวก รูปแบบเวที กำรบริหำร
จัดกำร กิจกรรมเสริม รำยละเอียดกระบวนกำร เครื่องมือ กลุ่มคนที่เข้ำมำ ปริมำณคนที่เข้ำร่วม และ
สภำพแวดล้อม 3) องค์ควำมรู้ใน 8 ประเด็น ที่ค้นพบจำกกำรศึกษำครั้งนี้ คือ กำรจัดเวทีให้มีพื้นที่
ปลอดภัย และไว้วำงใจ กำรจัดเวทีที่มีกำรบูรณำกำรแบบเครือข่ำยจะมีพลังขับเคลื่อนกำรทำงำน
แบบมีส่วนร่วมจะประสบควำมสำเร็จ กำรประสำนเชิญผู้เชี่ยวชำญเข้ำร่วมเสวนำ โดยผู้ที่ได้รับกำร
ไว้วำงใจ กำรฟังอย่ำงลึกซึ้งก่อให้เกิดบรรยำกำศแห่งควำมไว้วำงใจ ผู้อำนวยควำมสะดวกต้องรับฟัง
และเชื่อมโยงประเด็น และประสบกำรณ์ของผู้อำนวยควำมสะดวกจะเป็นปัจจัยสำคัญในกำรเสวนำ
ประสบควำมสำเร็จ 4) ข้อเสนอจำกกำรจัดเวทีมี 9 ประเด็น ดังนี้ ด้ำนกำรเมือง ด้ำนกฎหมำยและ
กระบวนกำรยุติธรรม ด้ำนกำรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้ำนกำรศึกษำ ด้ำนเศรษฐกิจ ด้ำนพลังงำน
ด้ำนสำธำรณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้ำนสังคม และด้ำนอื่นๆ 5) กำรจัดกระบวนกำรเสวนำ ทำให้
เกิดผลกระทบระยะสั้น 8 ประกำรคือ บรรยำกำศกำรมีส่วนร่วมของประชำชน กำรมีพื้นที่ปลอดภัย
ของควำมเห็นต่ำง ประชำชนมีโอกำสในกำรสะท้อนปัญหำ เกิดข้อเสนอเชิงประเด็นเพื่อกำรปฏิรูป
เกิดข้อเสนอเชิงกลไกเพื่อกำรปฏิรูป เกิดกำรเชื่อมโยงเครือข่ำยร่วมเป็นขบวนขับเคลื่อนกำรปฏิรูป
เกิดแนวทำงกำรจัดเวทีสำธำรณะอย่ำงมีส่วนร่วม และบทบำทของสื่อมวลชนในเวทีสำธำรณะ
ส่งผลให้เกิดกำรรับรู้ข้อมูลอย่ำงกว้ำงขวำงในกำรขับเคลื่อนเพื่อกำรปฏิรูปของเครือข่ำย และเกิดผล
กระทบระยะยำว 3 ด้ำน ดังนี้ ด้ำนบรรยำกำศกำรมีส่วนร่วมของประชำชน ประชำชนได้เรียนรู้วิถี
ประชำธิปไตยแบบมีส่วนร่วมนำไปสู่สังคมสันติสุข พื้นที่สำธำรณะของคนทุกกลุ่มฝ่ำย กำรใช้
กระบวนกำรพูดคุยในรูปแบบต่ำงๆ นำไปเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหำควำมขัดแย้งในมุกระดับ และ
ข้อเสนอเพื่อกำรขับเคลื่อนของภำคประชำชน เกิดกำรเชื่อมโยงระหว่ำงรัฐ ภำคประชำสังคม และ
ภำคประชำชนในกำรพัฒนำประเทศ 6) ข้อเสนอแนะในกำรปฏิรูปและเปลี่ยนผ่ำนสังคมไทยมี 2
ระยะ คือ ในระยะสั้นควรสร้ำงกลไกกำรมีส่วนร่วมของประชำชน ควรพัฒนำรูปแบบ กระบวนกำร
สำนเสวนำที่เหมำะสมและมีหน่วยงำนขับเคลื่อน ควรสร้ำงบรรยำกำศกำรเป็นเจ้ำของและมีส่วน
ร่วม กำรนำข้อเสนอสู่กำรสร้ำงบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ กำรประชำสัมพันธ์ เสริมสร้ำงควำมรู้
ควำมเข้ำใจในกระบวนกำรสำนเสวนำ ในระยะยำว ควรจัดทำ Roadmap กำรเปลี่ยนผ่ำนสังคมไทย
กำรสร้ำงอุดมกำรณ์ควำมเป็นเจ้ำของและกำรมีส่วนร่วมในกำรบริหำรจัดกำร ควรผนึกกำลัง
ขับเคลื่อนทั้งภำครัฐและเอกชนชั้นนำ ภำคประชำสังคมและสื่อมวลชน และภำคประชำชน ชุมชน
และท้องถิ่น และต้องสร้ำงควำมเข้มแข็งของกำรเมืองภำคประชำชน อำทิ สภำพลเมืองในระดับ
พื้นที่ สภำประชำชนในระดับประเทศ
ค
กิตติกรรมประกาศ
เอกสารวิชาการเรื่อง กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข (PEACE
SOCIETY) ฉบับนี้ จัดทาขึ้นเพื่อถอดบทเรียนจากการจัดกระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคม
สันติสุข (PEACE SOCIETY) ซึ่งได้ดาเนินการใน 7 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พะเยา ฉะเชิงเทรา
นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และสงขลา ร่วมกับเครือข่ายการทางาน ได้แก่ สถานีโทรทัศน์
ไทยพีบีเอส มูลนิธิ ฟรีดิช เนามัน สถาบันอาศรมศิลป์ และเครือข่ายภาคประชาสังคมที่อยู่ในพื้นที่ที่
ได้กล่าวในเบื้องต้น ซึ่งนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5 ใคร่ขอขอบพระคุณ
เป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้
ผลงานชิ้นนี้จะสาเร็จไม่ได้หากนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5
ไม่ได้รับความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ เกื้อกูล เติมข้อมูล เสริมความคิด และกระตุ้นให้คิดต่อยอด หา
วิธีการ แนวทางที่ลึกซึ้งขึ้น จากอาจารย์ที่ปรึกษาอันประกอบด้วย 1) พลเอก เอกชัย ศรีวิลาส 2) นาง
จิราพร บุนนาค 3) รศ. เสาวนีย์ จิตต์หมวด 4) รศ. ดร. ฉันทนา บรรพศิริโชติหวันแก้ว 5) นาง
ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ 6) ดร. นพ. บรรพต ต้นธีรวงศ์ และ7) นายอภินันท์ ตั้งศรีอนุกุล พวกเรา
ซาบซึ้งในความเมตตาเป็นอย่างสูง และที่สาคัญพวกเราได้เห็นแบบอย่างการเสียสละ เห็นต้นแบบ
ของการให้อย่างเปี่ยมสุขของอาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่าน ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง มา ณ
โอกาสนี้
ข้อมูลอันหลากหลาย มีคุณค่า ที่เรียงร้อยในเอกสารฉบับนี้ได้จากผู้เข้าร่วมเวทีที่มีความกล้า
หาญ มุ่งมั่นที่จะทาให้ข้อมูล มุมคิด และแนวทางปฏิบัติลึกซึ้ง เพื่อการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยสู่สังคม
สันติสุข พวกเราขอคารวะและกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงยิ่ง
ขอขอบคุณผู้บริหาร กรรมการ และบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้า ที่ให้ความอนุเคราะห์
ช่วยเหลือ และเมตตาอย่างมากมาย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนางานจนสาเร็จลงได้ สุดท้าย
นี้ขอขอบคุณ นักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5 ที่รวมเป็นหนึ่งเดียว พัฒนา
งานจนสาเร็จตามเป้ าหมายที่วางร่วมกัน
ขอมอบคุณความดีที่เกิดจากผลงานชิ้นนี้ แก่ผู้มีพระคุณทุกท่าน ทั้งที่ได้กล่าวถึงข้างต้น
และไม่ได้กล่าวถึง ขอให้ผู้คนในสังคมจงมีความรัก ความสามัคคี ใส่ใจ เอื้ออาทร เคารพในความมี
ความเป็นและความต่างของกันและกันอันจะนาไปสู่สังคมสันติสุขซึ่งเป็นที่ปรารถนาของทุกคน
นักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5
สถาบันพระปกเกล้า
11 ธันวาคม 2557
ง
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญ
สารบัญตาราง
สารบัญภาพ
บทที่ 1 บทนา
ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์
นิยามคาสาคัญ
ขอบเขตการศึกษา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวข้อง
แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
แนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคม
แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความปรองดองของต่างประเทศ
รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย
การจัดกิจกรรมปรองดอง สมานฉันท์ เพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้าง
ความปรองดอง
บทที่ 3 วิธีการดาเนินการศึกษา
วิธีการศึกษา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนการวิจัย
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
ก
ค
ง
ฉ
ซ
1
1
2
3
4
5
6
6
14
42
47
52
63
68
68
71
72
72
74
75
75
จ
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการศึกษา และข้อค้นพบ
การจัดเวทีเสวนาของนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข (สสสส.) รุ่นที่ 5
และเวทีเสวนา “เสียงประชาชนที่ต้องฟังก่อนการปฏิรูป”
ผลการวิเคราะห์กระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมไทยจาก
องค์ประกอบ 10 ประการ
ข้อเสนอที่ได้จากการจัดเวทีเสวนาของนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข
(สสสส.) รุ่นที่ 5 และเวทีเสวนา “เสียงประชาชนที่ต้องฟังก่อนการปฏิรูป”
บทที่ 5 ผลกระทบต่อแนวทางการปฏิรูปและการเปลี่ยนผ่านสังคมไทย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคมระยะสั้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลดาเนินแนวทางปฏิรูป
ประเทศ
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสังคมในระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย จากการวิเคราะห์ผลกระทบระยะสั้นเพื่อการปฏิรูป ทาให้สามารถวิเคราะห์ถึง
ผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะเปลี่ยนผ่านสังคมไทยออกจากสภาวะความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ
บทที่ 6 สรุป และข้อเสนอแนะ
สรุปข้อเสนอตัวแบบกระบวนการประชาเสวนาฯ และข้อค้นพบจากเวทีประชาเสวนา
เพื่อการเปลี่ยนผ่านสังคมไทย
ผลกระทบต่อแนวทางการปฏิรูปและการเปลี่ยนผ่านสังคมไทย แยกเป็นผลกระทบ
ระยะสั้น และผลกระทบระยะกลางและระยะยาว
ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปที่ได้จากเวทีสานเสวนา
ภาคผนวก ข รายละเอียดการจัดงาน สานเสวนา สานใจประชา สู่การปฏิรูป
ประเทศไทย
ประวัติคณะผู้จัดทา
76
78
79
110
113
113
118
121
121
125
126
128
132
144
165
ฉ
สารบัญตาราง
ตาราง หน้า
1. ระยะเวลาในการศึกษา
2. เปรียบเทียบประสบการณ์การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความปรองดองของ
ต่างประเทศ
3. ภาพรวมการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความปรองดองวิเคราะห์เป็นรายภาค (หน่วยเป็น
ร้อยละ)
4. พื้นที่การจัดเวที
5. แผนการดาเนินงาน
6. กลุ่มตัวอย่างและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
7. สรุปการจัดเวทีเสวนา 4 ภาค ของนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5
8. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดนครราชสีมา
9. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1
10. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 2
11. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดขอนแก่น
12. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดเชียงใหม่
13. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดฉะเชิงเทรา
14.ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดสงขลา
15. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดพะเยา
16. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย องค์ประกอบด้านประเด็นพูดคุย
4
50
66
68
71
72
78
79
82
84
86
88
90
92
94
95
ช
สารบัญตาราง (ต่อ)
ตาราง หน้า
17. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทยองค์ประกอบด้านผู้อานวยความสะดวก
18. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย องค์ประกอบด้านรูปแบบเวที
19. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ
20. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย องค์ประกอบด้านกิจกรรมเสริม
21. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย องค์ประกอบด้านรายละเอียดกระบวนการ
22. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย องค์ประกอบด้านเครื่องมือ
23. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย องค์ประกอบด้านกลุ่มคนที่เข้ามา
24. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย องค์ประกอบด้านปริมาณคนที่เข้าร่วม
25. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน
สังคมไทย องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม
26. สรุปข้อเสนอตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมไทย
10 องค์ประกอบ
27. ผลกระทบในห้วงเวลาปฏิรูป และผลต่อเนื่องในระยะเปลี่ยนผ่านสังคมไทย
28. ข้อเสนอตัวแบบกระบวนการประชาเสวนาเพื่อการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยในแต่ละ
ด้าน
96
97
97
99
99
100
101
102
102
103
118
121
ซ
สารบัญแผนภาพ
แผนภาพ หน้า
1. ร้อยละของสัดส่วนขนาดของผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ของ
ศปป.กอ.รมน.ภาค 1-4 และ การจัดกิจกรรมของ ศปป
2. ร้อยละของสัดส่วนการจัดกิจกรรมจาแนกตามภาค
3. ร้อยละของสัดส่วนการจัดกิจกรรม
64
65
66
บทที่ 1
บทนำ
1. ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ
ปัญหาความขัดแย้งที่มีในสังคมไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ก่อนการทารัฐประหารใน พ.ศ.
2549 มาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา กว่า 8 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถคลี่คลายความขัดแย้งได้ เพราะ
ต่างฝ่ายต่างยืนหลังพิงอยู่กับความเชื่อของตนเอง และซุกซ่อนความขัดแย้งในระดับต่างๆ ไว้ด้วย
ข้อจากัดในการแสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ปัจจุบัน ทาให้ความขัดแย้ง และความโกรธแค้น
นั้นลงรากฝังลึกในสังคม การพูดคุยกันหลายเวทีโดยเฉพาะในระดับภูมิภาคกลายเป็นเวทีแห่ง
การวิวาทะ แม้ว่าผลการสารวจความคิดเห็น (polls) เกือบทุกสานักระบุว่า ประชาชนส่วนใหญ่อยาก
เห็นความเปลี่ยนแปลง ประชาชนส่วนใหญ่เบื่อหน่ายกับความขัดแย้งที่มีอยู่ อาทิเช่นในเรื่องของ
พลังงานที่ข้อมูลโดนปิดบังและทาให้ประชาชนไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือ
ภาคอื่นๆ และการมีชุดข้อมูลคนละด้านที่ไม่ครบถ้วนจะเป็นชนวนสาคัญในความขัดแย้ง หรือกรณี
เกี่ยวกับไฟฟ้ า ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางไฟฟ้ า เนื่องจากเราไม่มีแหล่งไฟฟ้ าสารองใน
ประเทศ ต้องอาศัยประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่าและลาว ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็น
ตรงกันที่ต้องการเห็นประเทศก้าวไปข้างหน้า
ทั้งนี้การที่ประเทศจะก้าวไปข้างหน้าได้ จาเป็นอย่างยิ่งที่ทุกส่วนของสังคมไทยต้อง
พยายามร่วมกันหาทางออกในการก้าวข้ามความขัดแย้งและเรียนรู้ความคิดและข้อคิดเห็นของคน
อื่นๆ ในสังคม โดยในการศึกษางานวิชาการรุ่นของคณะนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง
การเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 5 (4ส5) จะมุ่งเน้นกระบวนการก้าวข้าม
ความขัดแย้ง ที่อาจนาไปสู่ความรุนแรง ไปสู่การฏิรูปประเทศไทยอย่างมีส่วนร่วมจากภาค
ประชาชน กล่าวคือจากเดิมนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ หรือเกิดความรุนแรงจากความขัดแย้งใน
ประเทศทั้งจากด้านการเมืองและสังคม รัฐจะเป็นผู้จัดการให้เกิดเวทีการพูดคุย ภายใต้กรอบของ
การทางานเชิงรัฐเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ตาม ภายใต้การศึกษาโดยคณะนักศึกษา 4ส5 ในครั้งนี้ จะ
มุ่งเน้นการริเริ่มจากภาคประชาสังคมและเครือข่ายในพื้นที่ในการเปิดเวทีสร้างพื้นที่ปลอดภัย และ
พูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการประชาเสวนา กระบวนการที่ใช้การฟังมากกว่าพูด
จากนั้นพิจารณาไตร่ตรอง สะท้อนด้วยเหตุผล ทาความเข้าใจค่านิยม มุมมองที่แตกต่างของคน
หลากหลายในวงเสวนา อันจะนาไปสู่ความร่วมมือในอนาคต ซึ่งจากการศึกษาภายใต้หลักสูตร
เสริมสร้างสังคมสันติสุขคณะนักศึกษา 4ส5 พบว่า วิธีนี้เป็นแนวทางหนึ่งที่น่าจะทาให้สังคมเกิด
ความสันติสุข ลดการเกิดวงจรความขัดแย้งทางด้านสังคมและการเมืองในอนาคต โดยกระบวนการ
2
ประชาเสวนามีรากฐานมาจากประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) ภายใต้
หลักการที่ว่าภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการพูดคุยแสดงความคิดเห็น มุ่งสร้างความสามัคคี ค้นหา
ความจริง ลดความขัดแย้ง และสร้างพลังประชาชนในการป้ องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ทั้งนั้น
กระบวนการที่ทาการศึกษานี้ไม่ได้มีเป้ าประสงค์จะให้ภาคประชาชนไปทาแทนรัฐบาลแต่ร่วมกัน
ไปด้วยกัน
สิ่งที่คณะนักศึกษาฯ เรียนรู้จากตัวอย่างความขัดแย้งที่นาไปสู่ความรุนแรง ทั้งจากใน
ประเทศและต่างประเทศ เราจะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
และสังคม ควรเกิดขึ้นจากผู้นา หรือปรากฏการณ์ใด ปรากฏการณ์หนึ่ง คณะนักศึกษาฯ จึงมุ่งหวัง
ให้การศึกษานี้เป็นแนวคิดทางเลือกทางหนึ่งในการร่วมเสริมสร้างสันติสุขในสังคมไทย โดยให้
ความสาคัญกับปฏิบัติการระดับปัจเจกและกลุ่มภาคประชาสังคมที่ในอดีตเป็นเพียงผู้ดู มากกว่าผู้
ร่วมคิด จากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องว่า ก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ก็มักจะมีความ
เคลื่อนไหว ของคนกลุ่มเล็กๆ ที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ปฏิบัติการของคนกลุ่มเล็ก
เหล่านี้เองที่อาจเป็นจุดคานงัด (Leverage) ในการเสริมสร้างสังคมสันติสุขได้อย่างยั่งยืน
ดังนั้น การศึกษางานวิชาการรุ่นภายใต้หัวข้อ “กระบวนการประชาเสวนา เพื่อสร้าง
สังคมสันติสุข (PEACE SOCIETY)” ในครั้งนี้จึงนับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ
ความตั้งใจในการปฏิรูปประเทศไทยสู่สังคมสันติสุข โดยเป็นการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งเชิงทฤษฎี
และเชิงปฏิบัติการ ดังนั้นข้อค้นพบที่จะได้จากการศึกษากระบวนการประชาเสวนาร่วมกับภาคี
เครือข่ายทั้งจากสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส และเครือข่ายภาคประชาสังคมในท้องถิ่น โดยคณะ
นักศึกษารุ่น 4ส5 จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสามารถนามาพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะด้านนโยบาย
ประเด็นเพื่อการพัฒนาในทุกพื้นที่ และการสร้างรูปแบบ (Model) กระบวนการประชาเสวนาให้กับ
สังคมไทยในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย และการพูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ อันจะเห็นหนทางไปสู่
สังคมสันติสุขอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้บริบทที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภูมิทัศน์ทางสังคมของ
ท้องถิ่นนั้นๆ
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาทบทวนสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับความขัดแย้งในประเทศไทยทั้งด้าน
การเมืองและสังคม ประเด็น รากฐานความขัดแย้ง ผลกระทบทางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นต่อการสร้าง
ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
2.2 เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมในรูปแบบของประชาเสวนา (Citizen
Dialogue) ทั้งในรูปแบบของการสานเสวนา (Dialogue) และประชาเสวนาหาทางออก
(Deliberation)
3
2.3 เพื่อพัฒนารูปแบบ (Model) กระบวนการประชาเสวนาที่สามารถสนับสนุนการ
เปลี่ยนผ่าน (Transition) สังคมไทยสู่สังคมสันติสุขอย่างเป็นระบบ (Systematic) และนาไปทดลอง
ใช้ในพื้นที่เป้ าหมายระดับชุมชน (Civic Participation)
2.4 เพื่อจัดทาข้อเสนอแนะ (Recommendation) จากข้อค้นพบจากการศึกษา สู่ตัวแทน
ภาครัฐ สาธารณะชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดสัมมนาวิชาการ
3. นิยำมคำสำคัญ
3.1 ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) เป็นแนวคิดทฤษฎีว่า
ด้วยเรื่องประชาธิปไตยแบบหนึ่ง ที่เน้น “กระบวนการสื่อสารระหว่างกัน” อยู่ร่วมกัน เข้าใจกัน อัน
เป็นฐานอันยั่งยืนของ “ความสามัคคี” นักคิดสาคัญที่เสนอตัวแบบนี้คือ เจอเก้น ฮาเบอร์มาส
(Jurgen Habermas) มีแนวคิดว่า ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเพื่อความสมานฉันท์นั้นมิได้อยู่ที่
การไป “ร้องขอ” มาจากอานาจที่อยู่ “เหนือ” ตัวเรา หรือ เป็นเรื่องของ “คาสั่ง” จากคนที่มีอานาจ
“เหนือ” กว่าเรา หากแต่เป็นเรื่องของการ “ใช้ชีวิตร่วมกัน” และพยายามที่จะ “เข้าใจกัน” ของทุกฝ่าย
3.2 ประชาเสวนา (Citizen Dialogue) คือ การสารวจความคิดเห็นของประชาชนโดย
แท้จริง โดยผ่านกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่หลากหลายและเป็นการ
รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกันจากหลากหลายมุมมอง การประชาเสวนาจึงเป็นการรับฟังพูดคุย
ความคิด เรียนรู้ระหว่างกันของประชาชนโดยตรง โดยมีการเสวนาอย่างจริงจังจากกลุ่มย่อยแล้ว
นาเสนอความคิดเห็นสู่กลุ่มใหญ่ ก่อนที่จะได้ภาพในอนาคตร่วมกันจากฉันทามติในทุกระดับ
3.3 การสานเสวนา (Dialogue) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสนทนา ที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจ
ทั้งมุมมองของตนและของผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น โดยรากศัพท์แล้ว dia แปลว่าผ่าน logos แปลว่าคาหรือ
ความหมาย เมื่อรวมกันได้เป็นคาว่า dialogue ซึ่งหมายถึงกระบวนการทาให้เกิดความหมาย ที่ไหล
ลื่นผ่านไปในหมู่ผู้สนทนา
3.4 ประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation) เป็นการสานเสวนาหาทางออกไม่ใช่
เพียงแต่การมาอภิปรายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดี แต่เป็นวิธีที่มาตัดสินใจร่วมกันเพื่อผู้เข้าร่วม
ประชาเสวนา ที่จะทาอะไรด้วยกัน เพื่อหาทางออกในเรื่องยากๆ เช่นเรื่องนโยบายสาธารณะ เรื่องที่
มีความเห็นต่างที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ง่ายๆ โดยการยกมือโหวตประชาชนจะได้รับการท้าทายให้
เผชิญกับผลตามมาของทางเลือกหลากหลายที่อาจจะไม่เป็นที่น่ารื่นรมย์นักและต้อง “ทางานร่วมกัน
ฟันฝ่าอารมณ์” ที่บางครั้งร้อนแรงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจของสาธารณชน
3.5 ความขัดแย้ง (Conflict) หมายถึง เหตุการณ์ที่ปรากฏขึ้นเมื่อบุคคลหรือคณะบุคคล มี
ความเห็นไม่สอดคล้องกัน ความขัดแย้งถือเป็นเหตุการณ์ธรรมดาที่เกิดขึ้น ในการอยู่ร่วมกัน คน
โดยทั่วไปมักนึกถึงความขัดแย้งในเชิงทาลาย แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า หากความขัดแย้งเกิดขึ้นใน
ปริมาณที่พอเหมาะ ความขัดแย้งนั้น จะนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์
4
3.6 การเปลี่ยนผ่าน (Transition) เกี่ยวข้องกับการสร้างประชาธิปไตยที่จาเป็นต้องมีห้วง
เวลาในการเปลี่ยนแปลงในทางวิชาการ เรียกว่า ระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) หรือ ช่วงหัว
เลี้ยวหัวต่อ ความล้มเหลว หรือ ความสาเร็จของ การสร้างประชาธิปไตยก็จะอยู่ที่ตรงจุดนี้
3.7 สังคมสันติสุข (Peace Society) สังคมที่คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ภายใต้ความ
แตกต่างทางความคิด วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา
4. ขอบเขตกำรศึกษำ
4.1 ด้านเนื้อหา
ศึกษาเกี่ยวกับความขัดแย้งทางสังคมการเมือง การสร้างตัวแบบสาหรับการสานเสวนา
และการเสนอแนะแนวทางในการปฏิรูปประเทศไทย ด้วยการให้เหตุผลแบบนิรนัย (deduction) ซึ่ง
เป็นการนาความรู้พื้นฐาน แนวคิด ทฤษฎีซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับเป็นจริง เพื่อหาเหตุ
นาไปสู่ข้อสรุป
4.2 ด้านพื้นที่ในการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้ได้กาหนดขอบเขตพื้นที่การศึกษาระดับ 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาค
ตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
4.3 ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือแกนนาที่เข้าร่วมโครงการ “เสียง
ประชาชาชนที่ต้องฟังก่อนปฏิรูป” ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จากพื้นที่การศึกษา 7 จังหวัด คือ
เชียงใหม่ พะเยา ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และสงขลา
4.4 ด้านระยะเวลา
ในด้านระยะเวลาการศึกษา ได้กาหนดขอบเขตระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือน
มิถุนายน 2557 ถึง เดือนธันวาคม 2557 รวมระยะเวลา 7 เดือน
ตำรำง 1 ระยะเวลำในกำรศึกษำ
กิจกรรม มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค
กิจกรรมที่ 1 การวางแผนงานและการศึกษาทบทวน
กิจกรรมที่ 2 การเก็บข้อมูลในพื้นที่ผ่านเวทีประชาเสวนา
กิจกรรมที่ 3 สังเคราะห์และทดลองใช้เครื่องมือในเวที
ประชาเสวนา
กิจกรรมที่ 4 วิเคราะห์ สรุปข้อเสนอแนะ
กิจกรรมที่ 5 เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะในรูปแบบ
สัมมนาวิชาการ
5
5. ผลที่คำดว่ำจะได้รับ
5.1 ผลการศึกษา รูปแบบ สถานการณ์การขัดแย้งในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งทั้งด้านสังคม
และการเมืองในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย รวมถึงผลการศึกษาแนวทางในการดาเนินการของ
กระบวนการประชาเสวนาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
5.2 ข้อเสนอแนะ รูปแบบ (Model) สาหรับการพัฒนากระบวนการประชาเสวนาอย่าง
เป็นระบบ (Systematic) มีส่วนร่วมในระดับชุมชน (Civic Participation) และอย่างมีประสิทธิภาพ
(Efficient) เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านของสังคมไทยสู่สังคมสันติสุข
5.3 การนาเสนอข้อเสนอแนะในเชิงประเด็นที่ภาครัฐควรให้ความสนใจ ในการสร้าง
กระบวนการประชาเสวนาให้เป็นทางเลือกในการสร้างการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นที่มีความ
แตกต่าง รวมไปถึงข้อเสนอแนะในการขยายผลและแนวคิดเข้าสู่โครงสร้างองค์กรที่มีอยู่แล้ว
ปัจจุบัน หรือในรูปแบบสภาเสริมสร้างสังคมสันติสุข ผ่านการประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่
องค์ความรู้ต่อสาธารณชน
บทที่ 2
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การศึกษางานวิชาการรุ่นภายใต้หัวข้อ “กระบวนการประชาเสวนา เพื่อสร้างสังคมสันติ
สุข (PEACE SOCIETY)” ในครั้งนี้ มีแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
1. แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
2. แนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคม
3. แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ
4. กรณีศึกษาการจัดการความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองในต่างประเทศ
5. รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย
6. การจัดกิจกรรมปรองดอง สมานฉันท์ เพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความ
ปรองดอง
1. แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
ในโลกปัจจุบันวัฒนธรรมไหลเลื่อนเคลื่อนที่ข้ามสังคมอย่างรวดเร็วกว่าในอดีต ผ่านสื่อ
หลากหลายที่ไม่อาจควบคุมได้ ทุนทางวัฒนธรรมของเรากาลังได้รับการท้าทายจากวัฒนธรรม
บริโภคนิยมและวัตถุนิยมระเบียบของสังคมกาลังไร้ระเบียบครอบครัวเริ่มระส่าระสาย ศาสนธรรม
ลดน้อยลงประเด็นหลักของชาติ หลังยุครัฐธรรมนูญจึงมิใช่ประเด็นทางการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว
อีกต่อไป หากเป็นประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมยุคหลังรัฐธรรมนูญ จึงเป็นยุคแห่งยุทธศาสตร์
การจัดการทางสังคมและวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับยุคแห่งยุทธศาสตร์การจัดการทางเศรษฐกิจที่อิง
ฐานความรู้
ทั้งหมดนี้มิใช่การสรุปว่ารัฐธรรมนูญไม่ใช่สิ่งที่มีความสาคัญ ในทางตรงกันข้ามการ
ปกครองและการจัดการโดยยึดหลักรัฐธรรมนูญสาคัญที่สุด ความคาดหวังของประชาชนส่วนใหญ่
ที่ยังด้อยโอกาสไร้สิทธิคือ การทาให้บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของพลเมืองเป็นความจริง บทพิสูจน์
ของรัฐบาลทุกรัฐบาลในยุคหลังรัฐธรรมนูญจึง ได้แก่ การนาบทบัญญัติที่ประชาชนร่วมกันกาหนด
ไว้ในรัฐธรรมนูญมาปฏิบัติให้เป็นจริง การบรรลุถึงสังคมคุณภาพ สังคมแห่งความสมานฉันท์และ
เอื้ออาทรจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการขับเคลื่อนทางปัญญาร่วมของสังคมครั้งใหญ่
การขับเคลื่อนในการสร้างความเข้มแข็งของพลเมือง (empower people) ดังกล่าว ได้
สะดุดหยุดลงหลังจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองนับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา รวมทั้ง
การรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และการมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งแม้จะมีบทบัญญัติใน
7
หลายส่วนที่คล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 หากแต่บรรยากาศทางการเมืองที่ไม่เอื้ออานวยต่อ
การร่างรัฐธรรมนูญและการขับเคลื่อนทางปัญญาร่วมของสังคมส่งผลให้บทบัญญัติในหลายส่วน
ไม่ได้รับการนามาปฏิบัติหรือถูกบิดเบือนในเรื่องการใช้และแทรกแซงจากอานาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม
ขาดมาตรฐาน และขาดหลักประกันในสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริง อันเนื่องมาจาก
โครงสร้างสังคมการเมืองไทยที่บิดเบี้ยวนั่นเอง
แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่รวมถึงนักวิชาการตะวันตกบางส่วนอาจมองว่า สังคมไทยเป็น
สังคมที่มีเอกภาพ ปราศจากความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติหรือศาสนาเหมือนกับประเทศอาณานิคม
อื่นๆ แต่หากเราศึกษาวิวัฒนาการของการสร้างรัฐไทยกันอย่างเป็นกลางแล้ว เราจะพบว่า
ภาพลักษณ์ของความเป็น “สังคมที่มีเอกภาพ” นี้ เป็นเพียงมายาคติ (myth) ที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้การ
เขียนประวัติศาสตร์ที่อาศัยโครงเรื่องแบบชาตินิยมเทานั้น ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เรียกว่า “รัฐ
ไทยที่เป็นเอกภาพ” ในความหมายที่เราเข้าใจอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นประดิษฐกรรมที่พึ่งเกิดขึ้นจาก
การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้านั้น แต่ละภูมิภาค แต่ละท้องถิ่นที่ถูกเรียกกันภายหลังว่าประเทศไทย ต่างก็เป็นดินแดน
อิสระที่มีวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงประวัติศาสตร์ในแบบของตนอยู่ก่อนแล้วทั้งสิ้น ประชาชนใน
แต่ละท้องถิ่น ประกอบไปด้วยคนหลายกลุ่มหลากเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยใหญ่และชาวเขาใน
ภาคเหนือ ชาวลาวในภาคอีสาน หรือชาวมาเลย์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ การรวม
ดินแดนอิสระเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามในระยะแรกๆ ก็ใช่ว่าจะเป็นไปได้
โดยราบรื่น ดังที่นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของการสร้างรัฐไทยจานวนไม่น้อยต่างก็
ชี้ให้เห็นตรงกันว่า ความพยายามของท้องถิ่นที่จะต่อสู้ขัดขืนอานาจของรัฐบาลกลางนั้น เป็น
ปรากฏการณ์ที่พบให้เห็นได้ทั่วไปในทุกภูมิภาค ตัวอย่างเช่น กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ในภาคเหนือ กบฏ
ผีบุญในภาคอีสาน หรือกบฏเจ้าแขก 7 หัวเมืองในภาคใต้ อาจกล่าวได้ว่า ภาพของสังคมไทยที่
แท้จริงนั้น มิได้เป็นภาพของสังคมที่สงบสุขและมีเอกภาพอย่างที่มักจะเขาใจกัน ตรงกันข้าม
สังคมไทยเป็นสังคมเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างรัฐที่พยายามดึงอานาจเข้าสู่ส่วนกลางและ
ประชาชนในส่วนภูมิภาคที่ยังคงพยายามที่จะรักษาสิทธิและอานาจเหนือวิถีชีวิตของตนเอาไว้อย่าง
เหนียวแน่น ปรากฏการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ทัศนคติของรัฐไทยนับแต่อดีตมีแนวโน้มที่มอง
การรวมกลุ่มเป็นปฏิปักษ์หรือเป็นการต่อต้านรัฐมาโดยตลอด ส่งผลให้ขบวนการประชาสังคมของ
ไทยขาดการมีส่วนร่วม และขาดการสร้างประชาสังคมที่จะนาไปสู่ “ประชาธิปไตยที่มีความ
เข้มแข็ง” หรือ “ประชาธิปไตยที่ถูกรวมเป็นหนึ่ง” (consolidated democracy) อย่างแท้จริง
นอกจากปัญหาภายในแล้ว ความท้าทายจากภายนอกที่สาคัญซึ่งส่งผลกระทบต่อแนวคิด
ทางการเมืองและสังคมไทยอย่างมาก คือกระบวนการโลกาภิวัตน์ ที่ได้มีการพูดกันมากในช่วง
ทศวรรษที่ผ่านมา การถกเถียงนี้ลดความเข้มข้นลงไปภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจของโลก ซึ่งเริ่มจาก
วิกฤติเงินบาทในประเทศไทยในปี พ.ศ.2540 แต่ในความเป็นจริง กระบวนการโลกาภิวัตน์ในอีก
8
ความหมายหนึ่งจะยังคงดารงอยู่ โลกาภิวัตน์กระทบความเป็นชาติหลายด้านมากมายไม่ว่าจะเป็น
อธิปไตยธรรมรัฐอัตลักษณ์ร่วม(collective identity)ของผู้คนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการบริการ
หรือทาหน้าที่ของรัฐชาติ ตลอดจนความชอบธรรมในด้านต่างๆ ของรัฐชาติ
ในอีกทางหนึ่ง เนื่องจากประเทศชายขอบส่วนหนึ่งไม่ประสบความสาเร็จในการพัฒนา
ความเป็นชาติรัฐ รวมทั้งการผนวกรวมเข้ากับระบบทุนนิยมโลก พวกเขาจึงไม่มีทางออกอื่น
นอกจากการหวนเข้าหาวัฒนธรรมภาษา ศาสนา หรือวิถีความเป็นอยู่ดั้งเดิม เช่น ความเป็นชุมชน
ความ ขัดแย้งจึงจะปรากฏระหว่างอุดมการณ์โลกาภิวัตน์กับท้องถิ่นนิยม ระหว่างอุดมการณ์ตลาด
เสรีกับวัฒนธรรมนิยมหรือชุมชนนิยม
การครอบงาของตลาดเข้าไปในมิติชีวิตต้านต่างๆ ของมนุษย์ ทาให้ภาคการเมือง
ประชาธิปไตย สูญเสียความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กล่าวคือ
ประการแรก การสูญเสียบทบาทหน้าที่แก่ระบบตลาด ภาคเอกชนองค์กรระดับโลก
NGOs และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศรวมทั้งระบบบริโภคนิยม วัฒนธรรมประชา
นิยม ซึ่งทาให้รัฐมีฐานะเป็นเพียงผู้ประสานงานมากขึ้น
ประการที่สอง คือการขยายตัวของระบบบริโภคนิยม วัฒนธรรมประชา ซึ่งทาให้ภาค
การเมืองมีลักษณะขึ้นต่อโลกของสินค้ามากขึ้น จนเกิดทฤษฎีอย่างทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล
(rational choice) ที่มองการตัดสินใจทางการเมืองเป็นเสมือนสินค้าผลิตภัณฑ์ หรือยี่ห้อหนึ่งๆ ซึ่ง
เป็นการลดอานาจ ความน่าเชื่อถือของภาคการเมืองลงอย่างมาก ทั้งในประเทศตะวันตก และ
ประเทศโลกที่สาม
ประการที่สาม “ภาคประชาสังคม” (civil society) หรือ “พื้นที่สาธารณะ” (public sphere)
ซึ่งเคยทาหน้าที่ด้านการสร้างญัตติสาธารณะ การคัดค้านถ่วงดุลตลาดและภาครัฐ ก็กาลังถูกครอบงา
โดยกลไกตลาด หรือระบบสินค้าวัฒนธรรมมากขึ้น ทาให้เกิดการขาดดุลด้านการมีส่วนร่วมของ
ภาคสังคม (social deficit) ลงไปด้วย
มีความจริงในทางปฏิบัติอยู่ 2 ประการคือ ประชาคมโลกยอมรับอธิปไตยของรัฐ แต่
ไม่ได้ยอมรับความเป็นชาติ ในอีกทางหนึ่งประชาคมยอมรับสิทธิความเป็นพลเมืองของผู้คนในรัฐ
หนึ่งๆ แต่ไม่ได้ยอมรับพวกเขาในฐานะที่เป็นมนุษย์ จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เอง จึงมีการยอมรับ
การดารงอยู่ของปัญหาร่วมกันของความเป็นมนุษย์เช่น ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาสภาพแวดล้อม
ปัญหาประชาธิปไตย แต่ก็มีข้อกังวลว่าการแทรกแซงโดยข้ออ้างดังกล่าวข้างต้น เป็นไปเพื่อ
ผลประโยชน์แอบแฝงของบางรัฐหรือไม่ การแก้ปัญหานี้บางครั้งจึงนิยมใช้องค์กรพัฒนาเอกชน
(NGOs: Non-Governmental Organizations) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับรัฐ เป็นตัวกลาง แต่ในหลายกรณีก็มี
การจัดตั้งองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อเป็นฉากบังหน้าผลประโยชน์ของรัฐเช่นกัน มีการถกเถียงกันใน
เรื่องกฎเกณฑ์การแทรกแซงหรือสิทธิในการแทรกแซงว่าควรเขียนเป็นกฎปฏิบัติที่แน่นอน
9
อย่างเช่น กรณีขององค์กรกาชาดสากลหรือไม่ ถ้ามีการเขียนชัดเจนก็จะเป็นการขัดกับหลักอธิปไตย
ของรัฐที่ยึดถือกันมาช้านาน
องค์กรพัฒนาเอกชนมีบทบาทสาคัญในการนาเสนอแนวคิดใหม่ๆ ที่ เอื้อต่อการช่วยเหลือ
เชิงมนุษยธรรม อาทิ การเรียกร้องให้มี “การเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม” (humanitarian
access) หรือ “พื้นที่ทางมนุษยธรรม” (humanitarian space) ซึ่งฟังดูไม่รุนแรงเท่าการแทรกแซง
รวมทั้งการเสนอความคิดพลเมืองโลก (global citizen) อย่างไรก็ตาม ก็มีความแตกต่างภายใน
องค์กรเอกชน เช่น องค์กรกาชาดสากล ต้องการให้ทุกกลุ่มเคารพข้อตกลงตามกฎหมายระหว่าง
ประเทศ แต่องค์กรพัฒนาเอกชนบางกลุ่ม และเจ้าหน้าที่สหประชาชาติบางองค์กร ก็ต้องการให้ พล
เรือนมีสิทธิ และองค์กรช่วยเหลือต่างๆ มีหน้าที่และสิทธิ ที่จะทาการช่วยเหลือโดยไม่ต้องขอ
อนุญาตจากใคร
ประเด็นสภาพแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นวาทกรรมที่ใช้
กันมากทั้งภาคเอกชน รัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน แต่รัฐชาติต่างก็ยึดถือพรมแดนและ
ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในอธิปไตยของตนอย่างเหนียวแน่น ถึงแม้จะมีการยอมรับในประเด็นปัญหา
ต่างๆ มากขึ้น แต่การปฏิบัติก็ยังเป็นเรื่องของแต่ละรัฐมากกว่า ยกเว้นในบางประเด็น เช่น กรณีชั้น
โอโซน กรณีอุณหภูมิโลกสูงขึ้น การปกครองป่าเขตร้อน เป็นต้น
โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าแนวคิดทางสังคมและการเมืองของไทยในหลายประการยังคงมี
ความสืบเนื่องจากอดีตมาจนกระทั่งในปัจจุบัน และในหลายประการได้ถูกปรับ เปลี่ยนรูป หรือแปร
รูปจากแบบเดิมในอดีตมาสู่วาทกรรมแบบใหม่ในยุคปัจจุบัน หากแต่ปัญหาที่ยังคงตกค้างอยู่ใน
แนวคิดทางสังคมและการเมืองของไทยก็เป็นสิ่งที่นับวันจะเป็นปัจจัยสาคัญที่มีผลกระทบต่อความ
เป็นรัฐไทย ผนวกกับกระแสความท้าทายจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นกระแสโลกาภิวัตน์ กระแสความ
เป็นประชาธิปไตย (Democratization) และกระแสหลังสมัยใหม่ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามการ
เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของการส่งผ่านแนวความคิดทางสังคมและการเมืองในยุคเทคโนโลยีการ
สื่อสารไร้พรมแดนที่จะทาลายเขตแดนของความเป็นไทยและความเป็นอื่นลงไปอยู่ตลอดเวลา
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน มีความสาคัญอย่างยิ่งในประเทศที่ปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยและในระบอบการเมืองสมัยใหม่ การไม่ยอมรับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ประชาชนเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ประชาชนโดยทั่วไป
กล่าวถึงกันมากและเป็นสิ่งที่รู้จักกันดีก็คือ การลงคะแนนออกเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่กระทา
ได้ง่าย เพราะมีข้อผูกมัดน้อยมากเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่นกล่าวคือ ข้อผูกมัดนี้จะยุติหรือจบลงทันที
เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้หย่อนบัตรลงในหีบบัตรแล้ว1
1
Michael Rush. Politics and society: An introduction to political sociology. New York: Prentice-
Hall, 1992. p. 115.
10
ถึงกระนั้นก็ตาม การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองก็มิได้มีแค่เฉพาะการ
เลือกตั้งเท่านั้น นักวิชาการตะวันตกในอดีต เช่น Myron Weiner ได้ให้ความหมายการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองว่า การกระทาโดยสมัครใจใดๆ (any voluntary action) ที่ไม่ว่าจะประสบผลสาเร็จ
หรือไม่ มีการจัดองค์การอย่างเป็นระบบหรือไม่มี เกิดขึ้นครั้งคราวหรือต่อเนื่อง และจะใช้วิธีการที่
ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม เพื่อหวังผลในการที่ไปมีอิทธิพลต่อการ
กาหนดนโยบายสาธารณะ หรือต่อการบริหารงานของรัฐ หรือต่อการเลือกผู้นาทางการเมืองทั้งใน
ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ2
เมื่อดูความหมายจาก Weiner ให้ไว้ก็อาจจะแยกออกมาพิจารณาเป็น
ข้อๆ ได้ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นต้องมีลักษณะ ดังนี้3
1) การกระทาใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจ และถือว่าความสมัครใจนี้เป็น
เงื่อนไขที่สาคัญ นั่นคือการมีส่วนร่วมทางการเมืองจะมิใช่การกระทาที่เกิดจากการถูกบังคับ
2) การกระทาที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เน้นผลลัพธ์ว่าจะต้องประสบความสาเร็จเสมอไป
3) การกระทาจะจัดองค์การขึ้นอย่างเป็นระบบหรือไม่มีก็ได้
4) การกระทาดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ได้
5) การกระทาที่ว่าจะใช้วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ได้
6) การกระทานั้นต้องหวังผลในการที่จะมีอิทธิพลต่อการเลือกนโยบายของรัฐบาล หรือ
ต่อการบริหารงานของรัฐ หรือต่อการเลือกผู้นาทางการเมืองของรัฐบาล ฉะนั้นผลที่หวังจึงอยู่ที่การ
เลือกนโยบายหรือเลือกตัวบุคคล หรือเลือกทั้งนโยบายและตัวบุคคล
7) ผลที่หวังจากการกระทาทั้งในเรื่องนโยบายหรือตัวบุคคลนี้ จะเป็นเรื่องการเมืองระดับ
ท้องถิ่นหรือระดับชาติก็ได้
นักวิชาการตะวันตกซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองอีกสองท่านคือ
Lester W. Milbrath และ M. L. Goel ได้ให้คานิยามการมีส่วนร่วมทางการเมืองว่า เป็นการกระทา
ของบุคคลที่พยายามจะมีอิทธิพลหรือสนับสนุนต่อรัฐบาลและระบบการเมือง และมีความหมาย
กว้างไปถึงการมีส่วนร่วมแบบพิธีหรือเพื่อสนับสนุนรัฐบาล (ceremonial or support activities)
ด้วย4
อย่างไรก็ตาม เป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ประชาชนเป็นของคู่กัน และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ประชาธิปไตยอยู่ไม่ได้หรือพัฒนาไม่ได้ถ้า
ประชาชนยังมีความนิ่งเฉยทางการเมือง ไม่ตื่นตัวหรือต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่
2
Myron Weiner. Political participation: Crisis of the political process. in Crises and sequences in
political development. eds. Leonard Binder et al. Princeton NJ: Princeton University Press, 1971. p.164.
3
นรนิติ เศรษฐบุตร. แนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง. ใน เอกสารเผยแพร่ความรู้ทางการปกครอง
ท้องถิ่น ฉบับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น. ม.ป.ท. : ม.ป.ป. หน้า 3.
4
Lester W. Milbrath and M. L. Goel. Political participation: How and why do people get involved in
politics. 2nd
ed. Chicago: Rand McNally College Publishing, 1977. p. 2.
11
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องเป็นการมีส่วนร่วมแบบสมัครใจ5
(voluntary or autonomous participation) ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างการมีส่วนร่วมในทาง
ประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมแบบพิธีหรือเพื่อสนับสนุนรัฐบาลอยู่ที่ การมีส่วนร่วมแบบแรกนั้น
รัฐบาลเพียงแต่เปิ ดโอกาสแต่ไม่ได้เข้าไปเป็นผู้มีบทบาทนา ส่วนการมีส่วนร่วมแบบหลังนั้น
หมายถึงการกระทาที่ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมเพื่อแสดงการสนับสนุนรัฐบาลโดยถูกระดมหรือถูก
ชักจูงจากรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมของรัฐ เช่น การร่วมมือกันอย่างแข็งขันใน
การพัฒนาชนบทตามโครงการที่รัฐบาลจัดขึ้น เป็นต้น ซึ่งน่าจะขาดความสมัครใจของตนเอง
สาหรับการมีส่วนร่วมแบบแรกคือการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตยนั้นจะเน้นที่การกระทาที่เป็น
อิสระของมวลชนเอง เพื่อหวังผลและอิทธิพลต่อการกระทาของรัฐบาล โดยมิได้ถูกเร้าระดมจาก
ทางรัฐ6
นอกจากนั้น หากพิจารณาจากคานิยามของการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่กล่าวถึงประเด็น
การกระทาที่ทั้งถูกและไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ได้นั้น โดยดูว่าการกระทานั้นมีจุดมุ่งหมายที่เข้าไป
มีอิทธิพลต่อการกาหนดนโยบายของรัฐบาลหรือเลือกผู้นารัฐบาล ซึ่งการกระทาดังกล่าวนี้จะมี
ลักษณะต่างกันและอาจมีความสาคัญแตกต่างกันด้วย เช่น การไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนใน
ระดับต่างๆ ของประเทศ ซึ่งเป็นประเภทที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีความสาคัญอย่างมากด้วย
ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เช่น การเดินขบวนประท้วง และเรียกร้องในบางสิ่งบางอย่าง ก็อาจขยายตัว
เป็นการจลาจลที่ผิดกฎหมายได้ ซึ่งนักวิชาการบางคน เช่น Norman H. Nei และ Sidney Verba ก็ได้
มองข้ามกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ขัดต่อกฎหมายไป7
ดังนั้นการมีส่วนร่วมทางการ
เมืองจึงมีได้หลายรูปแบบและหลายระดับ Michael Rush ได้เสนอลาดับชั้นการมีส่วนร่วมทางการ
เมือง (hierarchy of political participation) ทั้งแบบที่ถูกต้องและขัดต่อกฎหมายไว้10 ขั้นตามลาดับ
คือ ขั้นแรกหรือขั้นสูงสุดเป็นพวกที่เข้าไปดารงตาแหน่งทางการเมืองหรือทางบริหารซึ่งมีจานวน
น้อยที่สุด พวกต่อๆ มาคือพวกที่กาลังแสวงหาตาแหน่งทางการเมืองหรือการบริหาร พวกที่เป็น
สมาชิกที่มีความตื่นตัว (active membership) ในองค์กรทางการเมือง พวกที่เป็นสมาชิกที่มีความ
ตื่นตัวในองค์กรกึ่งการเมือง เช่น กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น พวกที่มีส่วนร่วมในลักษณะการเข้าร่วม
ชุมนุมเดินขบวนประท้วงซึ่งก็ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความตื่นตัวทางการเมืองเช่นกัน พวกที่เป็นสมาชิก
องค์กรทางการเมืองแต่นิ่งเฉย (passive membership) พวกที่เป็นสมาชิกองค์กรแบบเฉื่อยชาใน
องค์กรกึ่งการเมือง พวกที่มีส่วนร่วมในการถกเถียงปัญหาทางการเมือง พวกที่มีความสนใจในทาง
5
สุจิต บุญบงการ. การพัฒนาทางการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง
และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2542. หน้า 38.
6
นรนิติ เศรษฐบุตร. “แนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง,” หน้า 3-4.
7
เรื่องเดียวกัน, หน้า 5.
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข
กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข

More Related Content

Viewers also liked

การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นการปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นTaraya Srivilas
 
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Taraya Srivilas
 
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Taraya Srivilas
 
iร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญiร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญTaraya Srivilas
 
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงTaraya Srivilas
 
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองTaraya Srivilas
 
กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)Taraya Srivilas
 
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีบทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีTaraya Srivilas
 
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบันรายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบันTaraya Srivilas
 
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานีTaraya Srivilas
 
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยพุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยTaraya Srivilas
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าTaraya Srivilas
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือTaraya Srivilas
 
การบริหารท้องถิ่น
การบริหารท้องถิ่นการบริหารท้องถิ่น
การบริหารท้องถิ่นTaraya Srivilas
 
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจTaraya Srivilas
 
อยุธยา เมืองมรดกโลก
อยุธยา เมืองมรดกโลกอยุธยา เมืองมรดกโลก
อยุธยา เมืองมรดกโลกTaraya Srivilas
 

Viewers also liked (18)

การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นการปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
 
Thai civic org
Thai civic orgThai civic org
Thai civic org
 
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
 
Framework 4ส6
Framework 4ส6Framework 4ส6
Framework 4ส6
 
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
 
iร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญiร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญ
 
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
 
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
 
กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)
 
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีบทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
 
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบันรายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
 
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
 
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยพุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
 
การบริหารท้องถิ่น
การบริหารท้องถิ่นการบริหารท้องถิ่น
การบริหารท้องถิ่น
 
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
การปฎิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ
 
อยุธยา เมืองมรดกโลก
อยุธยา เมืองมรดกโลกอยุธยา เมืองมรดกโลก
อยุธยา เมืองมรดกโลก
 

Similar to กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข

รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...omsnooo
 
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...freelance
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1Taraya Srivilas
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมjirapom
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404gam030
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5nattawad147
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5benty2443
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5wanneemayss
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5nattawad147
 
นโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันตินโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันติsuthat22
 
ใต้สู่สันติสุขที่ยั่งยืน
ใต้สู่สันติสุขที่ยั่งยืนใต้สู่สันติสุขที่ยั่งยืน
ใต้สู่สันติสุขที่ยั่งยืนTeeranan
 

Similar to กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข (20)

รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
 
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
บ้านโคกอีโด่ย --โครงการวิจัยเอกสารชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐ...
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
นโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันตินโยบาย พรรครักษ์สันติ
นโยบาย พรรครักษ์สันติ
 
ใต้สู่สันติสุขที่ยั่งยืน
ใต้สู่สันติสุขที่ยั่งยืนใต้สู่สันติสุขที่ยั่งยืน
ใต้สู่สันติสุขที่ยั่งยืน
 

More from Taraya Srivilas

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกTaraya Srivilas
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกTaraya Srivilas
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมTaraya Srivilas
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6Taraya Srivilas
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานTaraya Srivilas
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนTaraya Srivilas
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจกTaraya Srivilas
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69Taraya Srivilas
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 Taraya Srivilas
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยTaraya Srivilas
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงTaraya Srivilas
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้Taraya Srivilas
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตTaraya Srivilas
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขTaraya Srivilas
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่Taraya Srivilas
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าTaraya Srivilas
 

More from Taraya Srivilas (20)

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
 
American first muslim
American first muslimAmerican first muslim
American first muslim
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคต
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 

กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข

  • 1. กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข (PEACE SOCIETY) นักศึกษา หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5 เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5 สถาบันบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2557 ลิขสิทธิ์ของสถาบันพระปกเกล้า
  • 2. กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข (PEACE SOCIETY) โดย นักศึกษา หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5
  • 3. ก บทคัดย่อ ผู้จัดทำ: นักศึกษำสถำบันพระปกเกล้ำ หลักสูตรกำรเสริมสร้ำงสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5 หัวข้อเอกสำร: กระบวนกำรประชำเสวนำเพื่อสร้ำงสังคมสันติสุข (PEACE SOCIETY) อำจำรย์ที่ปรึกษำ: 1) พลเอก เอกชัย ศรีวิลำส 2) นำงจิรำพร บุนนำค 3) รศ. เสำวนีย์จิตต์หมวด 4) รศ. ดร. ฉันทนำ บรรพศิริโชติ หวันแก้ว 5) นำงประกำยรัตน์ ต้นธีรวงศ์ 6) ดร. นพ. บรรพต ต้นธีรวงศ์ 7) นำยอภินันท์ ตั้งศรีอนุกุล กำรศึกษำเรื่อง กระบวนกำรประชำเสวนำเพื่อสร้ำงสังคมสันติสุข (PEACE SOCIETY) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษำทบทวนสถำนกำรณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับควำมขัดแย้งในประเทศไทยทั้ง ด้ำนกำรเมืองและสังคม ประเด็น รำกฐำนควำมขัดแย้ง ผลกระทบทำงควำมขัดแย้งที่เกิดขึ้นต่อกำร สร้ำงควำมเปลี่ยนแปลงทำงสังคม 2) ศึกษำรูปแบบกระบวนกำรมีส่วนร่วมในรูปแบบของประชำ เสวนำ (Citizen Dialogue) ทั้งในรูปแบบของกำรสำนเสวนำ (Dialogue) และประชำเสวนำหำทำง ออก (Deliberation) 3) พัฒนำรูปแบบ (Model) กระบวนกำรประชำเสวนำที่สำมำรถสนับสนุนกำร เปลี่ยนผ่ำน (Transition) สังคมไทยสู่สังคมสันติสุขอย่ำงเป็นระบบ (Systematic) และนำไปทดลอง ใช้ในพื้นที่เป้ ำหมำยระดับชุมชน (Civic Participation) และ 4) จัดทำข้อเสนอแนะ (Recommendation) จำกข้อค้นพบจำกกำรศึกษำ สู่ตัวแทนภำครัฐ สำธำรณะชนและองค์กรที่ เกี่ยวข้อง โดยกำรจัดสัมมนำวิชำกำร เป็นกำรประยุกต์ใช้กำรวิจัยเชิงปฏิบัติกำรแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยศึกษำในพื้นที่ 4 ภำค คือ ภำคเหนือ ภำคตะวันออก ภำค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภำคใต้ ใน 7 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พะเยำ ฉะเชิงเทรำ นครรำชสีมำ อุบลรำชธำนี และขอนแก่น ในช่วงเดือนมิถุนำยน-ธันวำคม 2557 ผลกำรศึกษำพบว่ำ 1) ควำมขัดแย้งทำงกำรเมืองเกิดขึ้นอย่ำงต่อเนื่อง เกิดผลเสียทำงด้ำนเศรษฐกิจ สังคม กำรเมือง และควำมมั่นคงในระดับสูง ทำให้ประเทศขำดควำมมั่นคงและสูญเสียอำนำจกำรแข่งขัน ระบบเศรษฐกิจเสียหำยมหำศำล จำกกำรศึกษำปัญหำควำมขัดแย้ง มีสำเหตุ 9 ประกำร ดังนี้ ควำม เข้ำใจประชำธิปไตยที่แตกต่ำงกัน ควำมเคลือบแคลงในหลักนิติธรรม (Rule of Law) ของประเทศ ไทย ตุลำกำรภิวัฒน์ กำรแทรกแซงองค์กรอิสระ กำรรัฐประหำร และบทบำทของทหำรในกำร จัดกำรควำมขัดแย้ง ควำมเหลื่อมล้ำทำงเศรษฐกิจและสังคม กำรขยำยตัวของสื่อกำรเมืองและสื่อ บุคคล กำรกล่ำวอ้ำงสถำบันพระมหำกษัตริย์เพื่อประโยชน์ทำงกำรเมือง สังคมขำดควำมรู้ในกำร จัดกำรควำมขัดแย้งและสันติวิธี และควำมขัดแย้งแบบเดิมพันสูง 2) ควรยุติควำมขัดแย้งและสร้ำง บรรยำกำศในกำรเสวนำหำทำงออกให้เกิดขึ้น โดยจัดให้มีพื้นที่พูดคุยที่ปลอดภัย จัดพื้นที่สำธำรณะ ในกำรศึกษำครั้งนี้ ค้นพบกระบวนกำรเสวนำเพื่อเปลี่ยนผ่ำน
  • 4. ข สังคมไทย ใน 10 องค์ประกอบ ได้แก่ ประเด็นพูดคุย ผู้อำนวยควำมสะดวก รูปแบบเวที กำรบริหำร จัดกำร กิจกรรมเสริม รำยละเอียดกระบวนกำร เครื่องมือ กลุ่มคนที่เข้ำมำ ปริมำณคนที่เข้ำร่วม และ สภำพแวดล้อม 3) องค์ควำมรู้ใน 8 ประเด็น ที่ค้นพบจำกกำรศึกษำครั้งนี้ คือ กำรจัดเวทีให้มีพื้นที่ ปลอดภัย และไว้วำงใจ กำรจัดเวทีที่มีกำรบูรณำกำรแบบเครือข่ำยจะมีพลังขับเคลื่อนกำรทำงำน แบบมีส่วนร่วมจะประสบควำมสำเร็จ กำรประสำนเชิญผู้เชี่ยวชำญเข้ำร่วมเสวนำ โดยผู้ที่ได้รับกำร ไว้วำงใจ กำรฟังอย่ำงลึกซึ้งก่อให้เกิดบรรยำกำศแห่งควำมไว้วำงใจ ผู้อำนวยควำมสะดวกต้องรับฟัง และเชื่อมโยงประเด็น และประสบกำรณ์ของผู้อำนวยควำมสะดวกจะเป็นปัจจัยสำคัญในกำรเสวนำ ประสบควำมสำเร็จ 4) ข้อเสนอจำกกำรจัดเวทีมี 9 ประเด็น ดังนี้ ด้ำนกำรเมือง ด้ำนกฎหมำยและ กระบวนกำรยุติธรรม ด้ำนกำรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้ำนกำรศึกษำ ด้ำนเศรษฐกิจ ด้ำนพลังงำน ด้ำนสำธำรณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้ำนสังคม และด้ำนอื่นๆ 5) กำรจัดกระบวนกำรเสวนำ ทำให้ เกิดผลกระทบระยะสั้น 8 ประกำรคือ บรรยำกำศกำรมีส่วนร่วมของประชำชน กำรมีพื้นที่ปลอดภัย ของควำมเห็นต่ำง ประชำชนมีโอกำสในกำรสะท้อนปัญหำ เกิดข้อเสนอเชิงประเด็นเพื่อกำรปฏิรูป เกิดข้อเสนอเชิงกลไกเพื่อกำรปฏิรูป เกิดกำรเชื่อมโยงเครือข่ำยร่วมเป็นขบวนขับเคลื่อนกำรปฏิรูป เกิดแนวทำงกำรจัดเวทีสำธำรณะอย่ำงมีส่วนร่วม และบทบำทของสื่อมวลชนในเวทีสำธำรณะ ส่งผลให้เกิดกำรรับรู้ข้อมูลอย่ำงกว้ำงขวำงในกำรขับเคลื่อนเพื่อกำรปฏิรูปของเครือข่ำย และเกิดผล กระทบระยะยำว 3 ด้ำน ดังนี้ ด้ำนบรรยำกำศกำรมีส่วนร่วมของประชำชน ประชำชนได้เรียนรู้วิถี ประชำธิปไตยแบบมีส่วนร่วมนำไปสู่สังคมสันติสุข พื้นที่สำธำรณะของคนทุกกลุ่มฝ่ำย กำรใช้ กระบวนกำรพูดคุยในรูปแบบต่ำงๆ นำไปเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหำควำมขัดแย้งในมุกระดับ และ ข้อเสนอเพื่อกำรขับเคลื่อนของภำคประชำชน เกิดกำรเชื่อมโยงระหว่ำงรัฐ ภำคประชำสังคม และ ภำคประชำชนในกำรพัฒนำประเทศ 6) ข้อเสนอแนะในกำรปฏิรูปและเปลี่ยนผ่ำนสังคมไทยมี 2 ระยะ คือ ในระยะสั้นควรสร้ำงกลไกกำรมีส่วนร่วมของประชำชน ควรพัฒนำรูปแบบ กระบวนกำร สำนเสวนำที่เหมำะสมและมีหน่วยงำนขับเคลื่อน ควรสร้ำงบรรยำกำศกำรเป็นเจ้ำของและมีส่วน ร่วม กำรนำข้อเสนอสู่กำรสร้ำงบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ กำรประชำสัมพันธ์ เสริมสร้ำงควำมรู้ ควำมเข้ำใจในกระบวนกำรสำนเสวนำ ในระยะยำว ควรจัดทำ Roadmap กำรเปลี่ยนผ่ำนสังคมไทย กำรสร้ำงอุดมกำรณ์ควำมเป็นเจ้ำของและกำรมีส่วนร่วมในกำรบริหำรจัดกำร ควรผนึกกำลัง ขับเคลื่อนทั้งภำครัฐและเอกชนชั้นนำ ภำคประชำสังคมและสื่อมวลชน และภำคประชำชน ชุมชน และท้องถิ่น และต้องสร้ำงควำมเข้มแข็งของกำรเมืองภำคประชำชน อำทิ สภำพลเมืองในระดับ พื้นที่ สภำประชำชนในระดับประเทศ
  • 5. ค กิตติกรรมประกาศ เอกสารวิชาการเรื่อง กระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคมสันติสุข (PEACE SOCIETY) ฉบับนี้ จัดทาขึ้นเพื่อถอดบทเรียนจากการจัดกระบวนการประชาเสวนาเพื่อสร้างสังคม สันติสุข (PEACE SOCIETY) ซึ่งได้ดาเนินการใน 7 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พะเยา ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และสงขลา ร่วมกับเครือข่ายการทางาน ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส มูลนิธิ ฟรีดิช เนามัน สถาบันอาศรมศิลป์ และเครือข่ายภาคประชาสังคมที่อยู่ในพื้นที่ที่ ได้กล่าวในเบื้องต้น ซึ่งนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5 ใคร่ขอขอบพระคุณ เป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ ผลงานชิ้นนี้จะสาเร็จไม่ได้หากนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5 ไม่ได้รับความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ เกื้อกูล เติมข้อมูล เสริมความคิด และกระตุ้นให้คิดต่อยอด หา วิธีการ แนวทางที่ลึกซึ้งขึ้น จากอาจารย์ที่ปรึกษาอันประกอบด้วย 1) พลเอก เอกชัย ศรีวิลาส 2) นาง จิราพร บุนนาค 3) รศ. เสาวนีย์ จิตต์หมวด 4) รศ. ดร. ฉันทนา บรรพศิริโชติหวันแก้ว 5) นาง ประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ 6) ดร. นพ. บรรพต ต้นธีรวงศ์ และ7) นายอภินันท์ ตั้งศรีอนุกุล พวกเรา ซาบซึ้งในความเมตตาเป็นอย่างสูง และที่สาคัญพวกเราได้เห็นแบบอย่างการเสียสละ เห็นต้นแบบ ของการให้อย่างเปี่ยมสุขของอาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่าน ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ ข้อมูลอันหลากหลาย มีคุณค่า ที่เรียงร้อยในเอกสารฉบับนี้ได้จากผู้เข้าร่วมเวทีที่มีความกล้า หาญ มุ่งมั่นที่จะทาให้ข้อมูล มุมคิด และแนวทางปฏิบัติลึกซึ้ง เพื่อการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยสู่สังคม สันติสุข พวกเราขอคารวะและกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงยิ่ง ขอขอบคุณผู้บริหาร กรรมการ และบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้า ที่ให้ความอนุเคราะห์ ช่วยเหลือ และเมตตาอย่างมากมาย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนางานจนสาเร็จลงได้ สุดท้าย นี้ขอขอบคุณ นักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5 ที่รวมเป็นหนึ่งเดียว พัฒนา งานจนสาเร็จตามเป้ าหมายที่วางร่วมกัน ขอมอบคุณความดีที่เกิดจากผลงานชิ้นนี้ แก่ผู้มีพระคุณทุกท่าน ทั้งที่ได้กล่าวถึงข้างต้น และไม่ได้กล่าวถึง ขอให้ผู้คนในสังคมจงมีความรัก ความสามัคคี ใส่ใจ เอื้ออาทร เคารพในความมี ความเป็นและความต่างของกันและกันอันจะนาไปสู่สังคมสันติสุขซึ่งเป็นที่ปรารถนาของทุกคน นักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5 สถาบันพระปกเกล้า 11 ธันวาคม 2557
  • 6. ง สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย กิตติกรรมประกาศ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ บทที่ 1 บทนา ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ นิยามคาสาคัญ ขอบเขตการศึกษา ผลที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวข้อง แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม แนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคม แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความปรองดองของต่างประเทศ รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย การจัดกิจกรรมปรองดอง สมานฉันท์ เพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้าง ความปรองดอง บทที่ 3 วิธีการดาเนินการศึกษา วิธีการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ก ค ง ฉ ซ 1 1 2 3 4 5 6 6 14 42 47 52 63 68 68 71 72 72 74 75 75
  • 7. จ สารบัญ (ต่อ) หน้า บทที่ 4 ผลการศึกษา และข้อค้นพบ การจัดเวทีเสวนาของนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข (สสสส.) รุ่นที่ 5 และเวทีเสวนา “เสียงประชาชนที่ต้องฟังก่อนการปฏิรูป” ผลการวิเคราะห์กระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมไทยจาก องค์ประกอบ 10 ประการ ข้อเสนอที่ได้จากการจัดเวทีเสวนาของนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข (สสสส.) รุ่นที่ 5 และเวทีเสวนา “เสียงประชาชนที่ต้องฟังก่อนการปฏิรูป” บทที่ 5 ผลกระทบต่อแนวทางการปฏิรูปและการเปลี่ยนผ่านสังคมไทย ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคมระยะสั้นในช่วงเวลาที่รัฐบาลดาเนินแนวทางปฏิรูป ประเทศ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสังคมในระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย จากการวิเคราะห์ผลกระทบระยะสั้นเพื่อการปฏิรูป ทาให้สามารถวิเคราะห์ถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะเปลี่ยนผ่านสังคมไทยออกจากสภาวะความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ บทที่ 6 สรุป และข้อเสนอแนะ สรุปข้อเสนอตัวแบบกระบวนการประชาเสวนาฯ และข้อค้นพบจากเวทีประชาเสวนา เพื่อการเปลี่ยนผ่านสังคมไทย ผลกระทบต่อแนวทางการปฏิรูปและการเปลี่ยนผ่านสังคมไทย แยกเป็นผลกระทบ ระยะสั้น และผลกระทบระยะกลางและระยะยาว ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก ภาคผนวก ก ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปที่ได้จากเวทีสานเสวนา ภาคผนวก ข รายละเอียดการจัดงาน สานเสวนา สานใจประชา สู่การปฏิรูป ประเทศไทย ประวัติคณะผู้จัดทา 76 78 79 110 113 113 118 121 121 125 126 128 132 144 165
  • 8. ฉ สารบัญตาราง ตาราง หน้า 1. ระยะเวลาในการศึกษา 2. เปรียบเทียบประสบการณ์การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความปรองดองของ ต่างประเทศ 3. ภาพรวมการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความปรองดองวิเคราะห์เป็นรายภาค (หน่วยเป็น ร้อยละ) 4. พื้นที่การจัดเวที 5. แผนการดาเนินงาน 6. กลุ่มตัวอย่างและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง 7. สรุปการจัดเวทีเสวนา 4 ภาค ของนักศึกษาหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5 8. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดนครราชสีมา 9. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1 10. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 2 11. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดขอนแก่น 12. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดเชียงใหม่ 13. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดฉะเชิงเทรา 14.ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดสงขลา 15. ผลการดาเนินงานและปัญหาของกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย 10 องค์ประกอบ ของเวทีจังหวัดพะเยา 16. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย องค์ประกอบด้านประเด็นพูดคุย 4 50 66 68 71 72 78 79 82 84 86 88 90 92 94 95
  • 9. ช สารบัญตาราง (ต่อ) ตาราง หน้า 17. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทยองค์ประกอบด้านผู้อานวยความสะดวก 18. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย องค์ประกอบด้านรูปแบบเวที 19. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการ 20. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย องค์ประกอบด้านกิจกรรมเสริม 21. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย องค์ประกอบด้านรายละเอียดกระบวนการ 22. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย องค์ประกอบด้านเครื่องมือ 23. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย องค์ประกอบด้านกลุ่มคนที่เข้ามา 24. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย องค์ประกอบด้านปริมาณคนที่เข้าร่วม 25. ผลการวิเคราะห์ตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่าน สังคมไทย องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม 26. สรุปข้อเสนอตัวแบบกระบวนการประชาเสวนา หนทางเพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมไทย 10 องค์ประกอบ 27. ผลกระทบในห้วงเวลาปฏิรูป และผลต่อเนื่องในระยะเปลี่ยนผ่านสังคมไทย 28. ข้อเสนอตัวแบบกระบวนการประชาเสวนาเพื่อการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยในแต่ละ ด้าน 96 97 97 99 99 100 101 102 102 103 118 121
  • 10. ซ สารบัญแผนภาพ แผนภาพ หน้า 1. ร้อยละของสัดส่วนขนาดของผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ของ ศปป.กอ.รมน.ภาค 1-4 และ การจัดกิจกรรมของ ศปป 2. ร้อยละของสัดส่วนการจัดกิจกรรมจาแนกตามภาค 3. ร้อยละของสัดส่วนการจัดกิจกรรม 64 65 66
  • 11. บทที่ 1 บทนำ 1. ควำมเป็นมำและควำมสำคัญของปัญหำ ปัญหาความขัดแย้งที่มีในสังคมไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ก่อนการทารัฐประหารใน พ.ศ. 2549 มาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา กว่า 8 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถคลี่คลายความขัดแย้งได้ เพราะ ต่างฝ่ายต่างยืนหลังพิงอยู่กับความเชื่อของตนเอง และซุกซ่อนความขัดแย้งในระดับต่างๆ ไว้ด้วย ข้อจากัดในการแสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ปัจจุบัน ทาให้ความขัดแย้ง และความโกรธแค้น นั้นลงรากฝังลึกในสังคม การพูดคุยกันหลายเวทีโดยเฉพาะในระดับภูมิภาคกลายเป็นเวทีแห่ง การวิวาทะ แม้ว่าผลการสารวจความคิดเห็น (polls) เกือบทุกสานักระบุว่า ประชาชนส่วนใหญ่อยาก เห็นความเปลี่ยนแปลง ประชาชนส่วนใหญ่เบื่อหน่ายกับความขัดแย้งที่มีอยู่ อาทิเช่นในเรื่องของ พลังงานที่ข้อมูลโดนปิดบังและทาให้ประชาชนไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือ ภาคอื่นๆ และการมีชุดข้อมูลคนละด้านที่ไม่ครบถ้วนจะเป็นชนวนสาคัญในความขัดแย้ง หรือกรณี เกี่ยวกับไฟฟ้ า ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางไฟฟ้ า เนื่องจากเราไม่มีแหล่งไฟฟ้ าสารองใน ประเทศ ต้องอาศัยประเทศเพื่อนบ้านทั้งพม่าและลาว ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็น ตรงกันที่ต้องการเห็นประเทศก้าวไปข้างหน้า ทั้งนี้การที่ประเทศจะก้าวไปข้างหน้าได้ จาเป็นอย่างยิ่งที่ทุกส่วนของสังคมไทยต้อง พยายามร่วมกันหาทางออกในการก้าวข้ามความขัดแย้งและเรียนรู้ความคิดและข้อคิดเห็นของคน อื่นๆ ในสังคม โดยในการศึกษางานวิชาการรุ่นของคณะนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 5 (4ส5) จะมุ่งเน้นกระบวนการก้าวข้าม ความขัดแย้ง ที่อาจนาไปสู่ความรุนแรง ไปสู่การฏิรูปประเทศไทยอย่างมีส่วนร่วมจากภาค ประชาชน กล่าวคือจากเดิมนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ หรือเกิดความรุนแรงจากความขัดแย้งใน ประเทศทั้งจากด้านการเมืองและสังคม รัฐจะเป็นผู้จัดการให้เกิดเวทีการพูดคุย ภายใต้กรอบของ การทางานเชิงรัฐเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ตาม ภายใต้การศึกษาโดยคณะนักศึกษา 4ส5 ในครั้งนี้ จะ มุ่งเน้นการริเริ่มจากภาคประชาสังคมและเครือข่ายในพื้นที่ในการเปิดเวทีสร้างพื้นที่ปลอดภัย และ พูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการประชาเสวนา กระบวนการที่ใช้การฟังมากกว่าพูด จากนั้นพิจารณาไตร่ตรอง สะท้อนด้วยเหตุผล ทาความเข้าใจค่านิยม มุมมองที่แตกต่างของคน หลากหลายในวงเสวนา อันจะนาไปสู่ความร่วมมือในอนาคต ซึ่งจากการศึกษาภายใต้หลักสูตร เสริมสร้างสังคมสันติสุขคณะนักศึกษา 4ส5 พบว่า วิธีนี้เป็นแนวทางหนึ่งที่น่าจะทาให้สังคมเกิด ความสันติสุข ลดการเกิดวงจรความขัดแย้งทางด้านสังคมและการเมืองในอนาคต โดยกระบวนการ
  • 12. 2 ประชาเสวนามีรากฐานมาจากประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) ภายใต้ หลักการที่ว่าภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการพูดคุยแสดงความคิดเห็น มุ่งสร้างความสามัคคี ค้นหา ความจริง ลดความขัดแย้ง และสร้างพลังประชาชนในการป้ องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ทั้งนั้น กระบวนการที่ทาการศึกษานี้ไม่ได้มีเป้ าประสงค์จะให้ภาคประชาชนไปทาแทนรัฐบาลแต่ร่วมกัน ไปด้วยกัน สิ่งที่คณะนักศึกษาฯ เรียนรู้จากตัวอย่างความขัดแย้งที่นาไปสู่ความรุนแรง ทั้งจากใน ประเทศและต่างประเทศ เราจะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และสังคม ควรเกิดขึ้นจากผู้นา หรือปรากฏการณ์ใด ปรากฏการณ์หนึ่ง คณะนักศึกษาฯ จึงมุ่งหวัง ให้การศึกษานี้เป็นแนวคิดทางเลือกทางหนึ่งในการร่วมเสริมสร้างสันติสุขในสังคมไทย โดยให้ ความสาคัญกับปฏิบัติการระดับปัจเจกและกลุ่มภาคประชาสังคมที่ในอดีตเป็นเพียงผู้ดู มากกว่าผู้ ร่วมคิด จากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องว่า ก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ก็มักจะมีความ เคลื่อนไหว ของคนกลุ่มเล็กๆ ที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ปฏิบัติการของคนกลุ่มเล็ก เหล่านี้เองที่อาจเป็นจุดคานงัด (Leverage) ในการเสริมสร้างสังคมสันติสุขได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การศึกษางานวิชาการรุ่นภายใต้หัวข้อ “กระบวนการประชาเสวนา เพื่อสร้าง สังคมสันติสุข (PEACE SOCIETY)” ในครั้งนี้จึงนับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ความตั้งใจในการปฏิรูปประเทศไทยสู่สังคมสันติสุข โดยเป็นการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติการ ดังนั้นข้อค้นพบที่จะได้จากการศึกษากระบวนการประชาเสวนาร่วมกับภาคี เครือข่ายทั้งจากสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส และเครือข่ายภาคประชาสังคมในท้องถิ่น โดยคณะ นักศึกษารุ่น 4ส5 จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสามารถนามาพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะด้านนโยบาย ประเด็นเพื่อการพัฒนาในทุกพื้นที่ และการสร้างรูปแบบ (Model) กระบวนการประชาเสวนาให้กับ สังคมไทยในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย และการพูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ อันจะเห็นหนทางไปสู่ สังคมสันติสุขอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้บริบทที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภูมิทัศน์ทางสังคมของ ท้องถิ่นนั้นๆ 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อศึกษาทบทวนสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับความขัดแย้งในประเทศไทยทั้งด้าน การเมืองและสังคม ประเด็น รากฐานความขัดแย้ง ผลกระทบทางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นต่อการสร้าง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม 2.2 เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมในรูปแบบของประชาเสวนา (Citizen Dialogue) ทั้งในรูปแบบของการสานเสวนา (Dialogue) และประชาเสวนาหาทางออก (Deliberation)
  • 13. 3 2.3 เพื่อพัฒนารูปแบบ (Model) กระบวนการประชาเสวนาที่สามารถสนับสนุนการ เปลี่ยนผ่าน (Transition) สังคมไทยสู่สังคมสันติสุขอย่างเป็นระบบ (Systematic) และนาไปทดลอง ใช้ในพื้นที่เป้ าหมายระดับชุมชน (Civic Participation) 2.4 เพื่อจัดทาข้อเสนอแนะ (Recommendation) จากข้อค้นพบจากการศึกษา สู่ตัวแทน ภาครัฐ สาธารณะชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดสัมมนาวิชาการ 3. นิยำมคำสำคัญ 3.1 ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) เป็นแนวคิดทฤษฎีว่า ด้วยเรื่องประชาธิปไตยแบบหนึ่ง ที่เน้น “กระบวนการสื่อสารระหว่างกัน” อยู่ร่วมกัน เข้าใจกัน อัน เป็นฐานอันยั่งยืนของ “ความสามัคคี” นักคิดสาคัญที่เสนอตัวแบบนี้คือ เจอเก้น ฮาเบอร์มาส (Jurgen Habermas) มีแนวคิดว่า ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเพื่อความสมานฉันท์นั้นมิได้อยู่ที่ การไป “ร้องขอ” มาจากอานาจที่อยู่ “เหนือ” ตัวเรา หรือ เป็นเรื่องของ “คาสั่ง” จากคนที่มีอานาจ “เหนือ” กว่าเรา หากแต่เป็นเรื่องของการ “ใช้ชีวิตร่วมกัน” และพยายามที่จะ “เข้าใจกัน” ของทุกฝ่าย 3.2 ประชาเสวนา (Citizen Dialogue) คือ การสารวจความคิดเห็นของประชาชนโดย แท้จริง โดยผ่านกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนจากกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่หลากหลายและเป็นการ รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างกันจากหลากหลายมุมมอง การประชาเสวนาจึงเป็นการรับฟังพูดคุย ความคิด เรียนรู้ระหว่างกันของประชาชนโดยตรง โดยมีการเสวนาอย่างจริงจังจากกลุ่มย่อยแล้ว นาเสนอความคิดเห็นสู่กลุ่มใหญ่ ก่อนที่จะได้ภาพในอนาคตร่วมกันจากฉันทามติในทุกระดับ 3.3 การสานเสวนา (Dialogue) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสนทนา ที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจ ทั้งมุมมองของตนและของผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น โดยรากศัพท์แล้ว dia แปลว่าผ่าน logos แปลว่าคาหรือ ความหมาย เมื่อรวมกันได้เป็นคาว่า dialogue ซึ่งหมายถึงกระบวนการทาให้เกิดความหมาย ที่ไหล ลื่นผ่านไปในหมู่ผู้สนทนา 3.4 ประชาเสวนาหาทางออก (Public Deliberation) เป็นการสานเสวนาหาทางออกไม่ใช่ เพียงแต่การมาอภิปรายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดี แต่เป็นวิธีที่มาตัดสินใจร่วมกันเพื่อผู้เข้าร่วม ประชาเสวนา ที่จะทาอะไรด้วยกัน เพื่อหาทางออกในเรื่องยากๆ เช่นเรื่องนโยบายสาธารณะ เรื่องที่ มีความเห็นต่างที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ง่ายๆ โดยการยกมือโหวตประชาชนจะได้รับการท้าทายให้ เผชิญกับผลตามมาของทางเลือกหลากหลายที่อาจจะไม่เป็นที่น่ารื่นรมย์นักและต้อง “ทางานร่วมกัน ฟันฝ่าอารมณ์” ที่บางครั้งร้อนแรงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจของสาธารณชน 3.5 ความขัดแย้ง (Conflict) หมายถึง เหตุการณ์ที่ปรากฏขึ้นเมื่อบุคคลหรือคณะบุคคล มี ความเห็นไม่สอดคล้องกัน ความขัดแย้งถือเป็นเหตุการณ์ธรรมดาที่เกิดขึ้น ในการอยู่ร่วมกัน คน โดยทั่วไปมักนึกถึงความขัดแย้งในเชิงทาลาย แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า หากความขัดแย้งเกิดขึ้นใน ปริมาณที่พอเหมาะ ความขัดแย้งนั้น จะนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สร้างสรรค์
  • 14. 4 3.6 การเปลี่ยนผ่าน (Transition) เกี่ยวข้องกับการสร้างประชาธิปไตยที่จาเป็นต้องมีห้วง เวลาในการเปลี่ยนแปลงในทางวิชาการ เรียกว่า ระยะเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) หรือ ช่วงหัว เลี้ยวหัวต่อ ความล้มเหลว หรือ ความสาเร็จของ การสร้างประชาธิปไตยก็จะอยู่ที่ตรงจุดนี้ 3.7 สังคมสันติสุข (Peace Society) สังคมที่คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ภายใต้ความ แตกต่างทางความคิด วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา 4. ขอบเขตกำรศึกษำ 4.1 ด้านเนื้อหา ศึกษาเกี่ยวกับความขัดแย้งทางสังคมการเมือง การสร้างตัวแบบสาหรับการสานเสวนา และการเสนอแนะแนวทางในการปฏิรูปประเทศไทย ด้วยการให้เหตุผลแบบนิรนัย (deduction) ซึ่ง เป็นการนาความรู้พื้นฐาน แนวคิด ทฤษฎีซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับเป็นจริง เพื่อหาเหตุ นาไปสู่ข้อสรุป 4.2 ด้านพื้นที่ในการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ได้กาหนดขอบเขตพื้นที่การศึกษาระดับ 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาค ตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ 4.3 ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือแกนนาที่เข้าร่วมโครงการ “เสียง ประชาชาชนที่ต้องฟังก่อนปฏิรูป” ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จากพื้นที่การศึกษา 7 จังหวัด คือ เชียงใหม่ พะเยา ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และสงขลา 4.4 ด้านระยะเวลา ในด้านระยะเวลาการศึกษา ได้กาหนดขอบเขตระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือน มิถุนายน 2557 ถึง เดือนธันวาคม 2557 รวมระยะเวลา 7 เดือน ตำรำง 1 ระยะเวลำในกำรศึกษำ กิจกรรม มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค กิจกรรมที่ 1 การวางแผนงานและการศึกษาทบทวน กิจกรรมที่ 2 การเก็บข้อมูลในพื้นที่ผ่านเวทีประชาเสวนา กิจกรรมที่ 3 สังเคราะห์และทดลองใช้เครื่องมือในเวที ประชาเสวนา กิจกรรมที่ 4 วิเคราะห์ สรุปข้อเสนอแนะ กิจกรรมที่ 5 เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะในรูปแบบ สัมมนาวิชาการ
  • 15. 5 5. ผลที่คำดว่ำจะได้รับ 5.1 ผลการศึกษา รูปแบบ สถานการณ์การขัดแย้งในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งทั้งด้านสังคม และการเมืองในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย รวมถึงผลการศึกษาแนวทางในการดาเนินการของ กระบวนการประชาเสวนาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ 5.2 ข้อเสนอแนะ รูปแบบ (Model) สาหรับการพัฒนากระบวนการประชาเสวนาอย่าง เป็นระบบ (Systematic) มีส่วนร่วมในระดับชุมชน (Civic Participation) และอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านของสังคมไทยสู่สังคมสันติสุข 5.3 การนาเสนอข้อเสนอแนะในเชิงประเด็นที่ภาครัฐควรให้ความสนใจ ในการสร้าง กระบวนการประชาเสวนาให้เป็นทางเลือกในการสร้างการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นที่มีความ แตกต่าง รวมไปถึงข้อเสนอแนะในการขยายผลและแนวคิดเข้าสู่โครงสร้างองค์กรที่มีอยู่แล้ว ปัจจุบัน หรือในรูปแบบสภาเสริมสร้างสังคมสันติสุข ผ่านการประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่ องค์ความรู้ต่อสาธารณชน
  • 16. บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การศึกษางานวิชาการรุ่นภายใต้หัวข้อ “กระบวนการประชาเสวนา เพื่อสร้างสังคมสันติ สุข (PEACE SOCIETY)” ในครั้งนี้ มีแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ 1. แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม 2. แนวคิดเกี่ยวกับประชาสังคม 3. แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ 4. กรณีศึกษาการจัดการความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองในต่างประเทศ 5. รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย 6. การจัดกิจกรรมปรองดอง สมานฉันท์ เพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความ ปรองดอง 1. แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ในโลกปัจจุบันวัฒนธรรมไหลเลื่อนเคลื่อนที่ข้ามสังคมอย่างรวดเร็วกว่าในอดีต ผ่านสื่อ หลากหลายที่ไม่อาจควบคุมได้ ทุนทางวัฒนธรรมของเรากาลังได้รับการท้าทายจากวัฒนธรรม บริโภคนิยมและวัตถุนิยมระเบียบของสังคมกาลังไร้ระเบียบครอบครัวเริ่มระส่าระสาย ศาสนธรรม ลดน้อยลงประเด็นหลักของชาติ หลังยุครัฐธรรมนูญจึงมิใช่ประเด็นทางการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว อีกต่อไป หากเป็นประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมยุคหลังรัฐธรรมนูญ จึงเป็นยุคแห่งยุทธศาสตร์ การจัดการทางสังคมและวัฒนธรรม ควบคู่ไปกับยุคแห่งยุทธศาสตร์การจัดการทางเศรษฐกิจที่อิง ฐานความรู้ ทั้งหมดนี้มิใช่การสรุปว่ารัฐธรรมนูญไม่ใช่สิ่งที่มีความสาคัญ ในทางตรงกันข้ามการ ปกครองและการจัดการโดยยึดหลักรัฐธรรมนูญสาคัญที่สุด ความคาดหวังของประชาชนส่วนใหญ่ ที่ยังด้อยโอกาสไร้สิทธิคือ การทาให้บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของพลเมืองเป็นความจริง บทพิสูจน์ ของรัฐบาลทุกรัฐบาลในยุคหลังรัฐธรรมนูญจึง ได้แก่ การนาบทบัญญัติที่ประชาชนร่วมกันกาหนด ไว้ในรัฐธรรมนูญมาปฏิบัติให้เป็นจริง การบรรลุถึงสังคมคุณภาพ สังคมแห่งความสมานฉันท์และ เอื้ออาทรจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการขับเคลื่อนทางปัญญาร่วมของสังคมครั้งใหญ่ การขับเคลื่อนในการสร้างความเข้มแข็งของพลเมือง (empower people) ดังกล่าว ได้ สะดุดหยุดลงหลังจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองนับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา รวมทั้ง การรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และการมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งแม้จะมีบทบัญญัติใน
  • 17. 7 หลายส่วนที่คล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 หากแต่บรรยากาศทางการเมืองที่ไม่เอื้ออานวยต่อ การร่างรัฐธรรมนูญและการขับเคลื่อนทางปัญญาร่วมของสังคมส่งผลให้บทบัญญัติในหลายส่วน ไม่ได้รับการนามาปฏิบัติหรือถูกบิดเบือนในเรื่องการใช้และแทรกแซงจากอานาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม ขาดมาตรฐาน และขาดหลักประกันในสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริง อันเนื่องมาจาก โครงสร้างสังคมการเมืองไทยที่บิดเบี้ยวนั่นเอง แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่รวมถึงนักวิชาการตะวันตกบางส่วนอาจมองว่า สังคมไทยเป็น สังคมที่มีเอกภาพ ปราศจากความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติหรือศาสนาเหมือนกับประเทศอาณานิคม อื่นๆ แต่หากเราศึกษาวิวัฒนาการของการสร้างรัฐไทยกันอย่างเป็นกลางแล้ว เราจะพบว่า ภาพลักษณ์ของความเป็น “สังคมที่มีเอกภาพ” นี้ เป็นเพียงมายาคติ (myth) ที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้การ เขียนประวัติศาสตร์ที่อาศัยโครงเรื่องแบบชาตินิยมเทานั้น ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เรียกว่า “รัฐ ไทยที่เป็นเอกภาพ” ในความหมายที่เราเข้าใจอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นประดิษฐกรรมที่พึ่งเกิดขึ้นจาก การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนหน้านั้น แต่ละภูมิภาค แต่ละท้องถิ่นที่ถูกเรียกกันภายหลังว่าประเทศไทย ต่างก็เป็นดินแดน อิสระที่มีวัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงประวัติศาสตร์ในแบบของตนอยู่ก่อนแล้วทั้งสิ้น ประชาชนใน แต่ละท้องถิ่น ประกอบไปด้วยคนหลายกลุ่มหลากเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยใหญ่และชาวเขาใน ภาคเหนือ ชาวลาวในภาคอีสาน หรือชาวมาเลย์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ การรวม ดินแดนอิสระเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามในระยะแรกๆ ก็ใช่ว่าจะเป็นไปได้ โดยราบรื่น ดังที่นักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของการสร้างรัฐไทยจานวนไม่น้อยต่างก็ ชี้ให้เห็นตรงกันว่า ความพยายามของท้องถิ่นที่จะต่อสู้ขัดขืนอานาจของรัฐบาลกลางนั้น เป็น ปรากฏการณ์ที่พบให้เห็นได้ทั่วไปในทุกภูมิภาค ตัวอย่างเช่น กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ในภาคเหนือ กบฏ ผีบุญในภาคอีสาน หรือกบฏเจ้าแขก 7 หัวเมืองในภาคใต้ อาจกล่าวได้ว่า ภาพของสังคมไทยที่ แท้จริงนั้น มิได้เป็นภาพของสังคมที่สงบสุขและมีเอกภาพอย่างที่มักจะเขาใจกัน ตรงกันข้าม สังคมไทยเป็นสังคมเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างรัฐที่พยายามดึงอานาจเข้าสู่ส่วนกลางและ ประชาชนในส่วนภูมิภาคที่ยังคงพยายามที่จะรักษาสิทธิและอานาจเหนือวิถีชีวิตของตนเอาไว้อย่าง เหนียวแน่น ปรากฏการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ทัศนคติของรัฐไทยนับแต่อดีตมีแนวโน้มที่มอง การรวมกลุ่มเป็นปฏิปักษ์หรือเป็นการต่อต้านรัฐมาโดยตลอด ส่งผลให้ขบวนการประชาสังคมของ ไทยขาดการมีส่วนร่วม และขาดการสร้างประชาสังคมที่จะนาไปสู่ “ประชาธิปไตยที่มีความ เข้มแข็ง” หรือ “ประชาธิปไตยที่ถูกรวมเป็นหนึ่ง” (consolidated democracy) อย่างแท้จริง นอกจากปัญหาภายในแล้ว ความท้าทายจากภายนอกที่สาคัญซึ่งส่งผลกระทบต่อแนวคิด ทางการเมืองและสังคมไทยอย่างมาก คือกระบวนการโลกาภิวัตน์ ที่ได้มีการพูดกันมากในช่วง ทศวรรษที่ผ่านมา การถกเถียงนี้ลดความเข้มข้นลงไปภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจของโลก ซึ่งเริ่มจาก วิกฤติเงินบาทในประเทศไทยในปี พ.ศ.2540 แต่ในความเป็นจริง กระบวนการโลกาภิวัตน์ในอีก
  • 18. 8 ความหมายหนึ่งจะยังคงดารงอยู่ โลกาภิวัตน์กระทบความเป็นชาติหลายด้านมากมายไม่ว่าจะเป็น อธิปไตยธรรมรัฐอัตลักษณ์ร่วม(collective identity)ของผู้คนประสิทธิภาพประสิทธิผลในการบริการ หรือทาหน้าที่ของรัฐชาติ ตลอดจนความชอบธรรมในด้านต่างๆ ของรัฐชาติ ในอีกทางหนึ่ง เนื่องจากประเทศชายขอบส่วนหนึ่งไม่ประสบความสาเร็จในการพัฒนา ความเป็นชาติรัฐ รวมทั้งการผนวกรวมเข้ากับระบบทุนนิยมโลก พวกเขาจึงไม่มีทางออกอื่น นอกจากการหวนเข้าหาวัฒนธรรมภาษา ศาสนา หรือวิถีความเป็นอยู่ดั้งเดิม เช่น ความเป็นชุมชน ความ ขัดแย้งจึงจะปรากฏระหว่างอุดมการณ์โลกาภิวัตน์กับท้องถิ่นนิยม ระหว่างอุดมการณ์ตลาด เสรีกับวัฒนธรรมนิยมหรือชุมชนนิยม การครอบงาของตลาดเข้าไปในมิติชีวิตต้านต่างๆ ของมนุษย์ ทาให้ภาคการเมือง ประชาธิปไตย สูญเสียความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กล่าวคือ ประการแรก การสูญเสียบทบาทหน้าที่แก่ระบบตลาด ภาคเอกชนองค์กรระดับโลก NGOs และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศรวมทั้งระบบบริโภคนิยม วัฒนธรรมประชา นิยม ซึ่งทาให้รัฐมีฐานะเป็นเพียงผู้ประสานงานมากขึ้น ประการที่สอง คือการขยายตัวของระบบบริโภคนิยม วัฒนธรรมประชา ซึ่งทาให้ภาค การเมืองมีลักษณะขึ้นต่อโลกของสินค้ามากขึ้น จนเกิดทฤษฎีอย่างทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล (rational choice) ที่มองการตัดสินใจทางการเมืองเป็นเสมือนสินค้าผลิตภัณฑ์ หรือยี่ห้อหนึ่งๆ ซึ่ง เป็นการลดอานาจ ความน่าเชื่อถือของภาคการเมืองลงอย่างมาก ทั้งในประเทศตะวันตก และ ประเทศโลกที่สาม ประการที่สาม “ภาคประชาสังคม” (civil society) หรือ “พื้นที่สาธารณะ” (public sphere) ซึ่งเคยทาหน้าที่ด้านการสร้างญัตติสาธารณะ การคัดค้านถ่วงดุลตลาดและภาครัฐ ก็กาลังถูกครอบงา โดยกลไกตลาด หรือระบบสินค้าวัฒนธรรมมากขึ้น ทาให้เกิดการขาดดุลด้านการมีส่วนร่วมของ ภาคสังคม (social deficit) ลงไปด้วย มีความจริงในทางปฏิบัติอยู่ 2 ประการคือ ประชาคมโลกยอมรับอธิปไตยของรัฐ แต่ ไม่ได้ยอมรับความเป็นชาติ ในอีกทางหนึ่งประชาคมยอมรับสิทธิความเป็นพลเมืองของผู้คนในรัฐ หนึ่งๆ แต่ไม่ได้ยอมรับพวกเขาในฐานะที่เป็นมนุษย์ จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เอง จึงมีการยอมรับ การดารงอยู่ของปัญหาร่วมกันของความเป็นมนุษย์เช่น ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาสภาพแวดล้อม ปัญหาประชาธิปไตย แต่ก็มีข้อกังวลว่าการแทรกแซงโดยข้ออ้างดังกล่าวข้างต้น เป็นไปเพื่อ ผลประโยชน์แอบแฝงของบางรัฐหรือไม่ การแก้ปัญหานี้บางครั้งจึงนิยมใช้องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs: Non-Governmental Organizations) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับรัฐ เป็นตัวกลาง แต่ในหลายกรณีก็มี การจัดตั้งองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อเป็นฉากบังหน้าผลประโยชน์ของรัฐเช่นกัน มีการถกเถียงกันใน เรื่องกฎเกณฑ์การแทรกแซงหรือสิทธิในการแทรกแซงว่าควรเขียนเป็นกฎปฏิบัติที่แน่นอน
  • 19. 9 อย่างเช่น กรณีขององค์กรกาชาดสากลหรือไม่ ถ้ามีการเขียนชัดเจนก็จะเป็นการขัดกับหลักอธิปไตย ของรัฐที่ยึดถือกันมาช้านาน องค์กรพัฒนาเอกชนมีบทบาทสาคัญในการนาเสนอแนวคิดใหม่ๆ ที่ เอื้อต่อการช่วยเหลือ เชิงมนุษยธรรม อาทิ การเรียกร้องให้มี “การเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม” (humanitarian access) หรือ “พื้นที่ทางมนุษยธรรม” (humanitarian space) ซึ่งฟังดูไม่รุนแรงเท่าการแทรกแซง รวมทั้งการเสนอความคิดพลเมืองโลก (global citizen) อย่างไรก็ตาม ก็มีความแตกต่างภายใน องค์กรเอกชน เช่น องค์กรกาชาดสากล ต้องการให้ทุกกลุ่มเคารพข้อตกลงตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ แต่องค์กรพัฒนาเอกชนบางกลุ่ม และเจ้าหน้าที่สหประชาชาติบางองค์กร ก็ต้องการให้ พล เรือนมีสิทธิ และองค์กรช่วยเหลือต่างๆ มีหน้าที่และสิทธิ ที่จะทาการช่วยเหลือโดยไม่ต้องขอ อนุญาตจากใคร ประเด็นสภาพแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นวาทกรรมที่ใช้ กันมากทั้งภาคเอกชน รัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน แต่รัฐชาติต่างก็ยึดถือพรมแดนและ ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในอธิปไตยของตนอย่างเหนียวแน่น ถึงแม้จะมีการยอมรับในประเด็นปัญหา ต่างๆ มากขึ้น แต่การปฏิบัติก็ยังเป็นเรื่องของแต่ละรัฐมากกว่า ยกเว้นในบางประเด็น เช่น กรณีชั้น โอโซน กรณีอุณหภูมิโลกสูงขึ้น การปกครองป่าเขตร้อน เป็นต้น โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าแนวคิดทางสังคมและการเมืองของไทยในหลายประการยังคงมี ความสืบเนื่องจากอดีตมาจนกระทั่งในปัจจุบัน และในหลายประการได้ถูกปรับ เปลี่ยนรูป หรือแปร รูปจากแบบเดิมในอดีตมาสู่วาทกรรมแบบใหม่ในยุคปัจจุบัน หากแต่ปัญหาที่ยังคงตกค้างอยู่ใน แนวคิดทางสังคมและการเมืองของไทยก็เป็นสิ่งที่นับวันจะเป็นปัจจัยสาคัญที่มีผลกระทบต่อความ เป็นรัฐไทย ผนวกกับกระแสความท้าทายจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นกระแสโลกาภิวัตน์ กระแสความ เป็นประชาธิปไตย (Democratization) และกระแสหลังสมัยใหม่ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามการ เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของการส่งผ่านแนวความคิดทางสังคมและการเมืองในยุคเทคโนโลยีการ สื่อสารไร้พรมแดนที่จะทาลายเขตแดนของความเป็นไทยและความเป็นอื่นลงไปอยู่ตลอดเวลา การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน มีความสาคัญอย่างยิ่งในประเทศที่ปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยและในระบอบการเมืองสมัยใหม่ การไม่ยอมรับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ประชาชนโดยทั่วไป กล่าวถึงกันมากและเป็นสิ่งที่รู้จักกันดีก็คือ การลงคะแนนออกเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่กระทา ได้ง่าย เพราะมีข้อผูกมัดน้อยมากเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่นกล่าวคือ ข้อผูกมัดนี้จะยุติหรือจบลงทันที เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้หย่อนบัตรลงในหีบบัตรแล้ว1 1 Michael Rush. Politics and society: An introduction to political sociology. New York: Prentice- Hall, 1992. p. 115.
  • 20. 10 ถึงกระนั้นก็ตาม การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองก็มิได้มีแค่เฉพาะการ เลือกตั้งเท่านั้น นักวิชาการตะวันตกในอดีต เช่น Myron Weiner ได้ให้ความหมายการมีส่วนร่วม ทางการเมืองว่า การกระทาโดยสมัครใจใดๆ (any voluntary action) ที่ไม่ว่าจะประสบผลสาเร็จ หรือไม่ มีการจัดองค์การอย่างเป็นระบบหรือไม่มี เกิดขึ้นครั้งคราวหรือต่อเนื่อง และจะใช้วิธีการที่ ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม เพื่อหวังผลในการที่ไปมีอิทธิพลต่อการ กาหนดนโยบายสาธารณะ หรือต่อการบริหารงานของรัฐ หรือต่อการเลือกผู้นาทางการเมืองทั้งใน ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ2 เมื่อดูความหมายจาก Weiner ให้ไว้ก็อาจจะแยกออกมาพิจารณาเป็น ข้อๆ ได้ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นต้องมีลักษณะ ดังนี้3 1) การกระทาใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจ และถือว่าความสมัครใจนี้เป็น เงื่อนไขที่สาคัญ นั่นคือการมีส่วนร่วมทางการเมืองจะมิใช่การกระทาที่เกิดจากการถูกบังคับ 2) การกระทาที่เกิดขึ้นนั้น ไม่เน้นผลลัพธ์ว่าจะต้องประสบความสาเร็จเสมอไป 3) การกระทาจะจัดองค์การขึ้นอย่างเป็นระบบหรือไม่มีก็ได้ 4) การกระทาดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ได้ 5) การกระทาที่ว่าจะใช้วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ได้ 6) การกระทานั้นต้องหวังผลในการที่จะมีอิทธิพลต่อการเลือกนโยบายของรัฐบาล หรือ ต่อการบริหารงานของรัฐ หรือต่อการเลือกผู้นาทางการเมืองของรัฐบาล ฉะนั้นผลที่หวังจึงอยู่ที่การ เลือกนโยบายหรือเลือกตัวบุคคล หรือเลือกทั้งนโยบายและตัวบุคคล 7) ผลที่หวังจากการกระทาทั้งในเรื่องนโยบายหรือตัวบุคคลนี้ จะเป็นเรื่องการเมืองระดับ ท้องถิ่นหรือระดับชาติก็ได้ นักวิชาการตะวันตกซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองอีกสองท่านคือ Lester W. Milbrath และ M. L. Goel ได้ให้คานิยามการมีส่วนร่วมทางการเมืองว่า เป็นการกระทา ของบุคคลที่พยายามจะมีอิทธิพลหรือสนับสนุนต่อรัฐบาลและระบบการเมือง และมีความหมาย กว้างไปถึงการมีส่วนร่วมแบบพิธีหรือเพื่อสนับสนุนรัฐบาล (ceremonial or support activities) ด้วย4 อย่างไรก็ตาม เป็นที่เข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนเป็นของคู่กัน และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ประชาธิปไตยอยู่ไม่ได้หรือพัฒนาไม่ได้ถ้า ประชาชนยังมีความนิ่งเฉยทางการเมือง ไม่ตื่นตัวหรือต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ 2 Myron Weiner. Political participation: Crisis of the political process. in Crises and sequences in political development. eds. Leonard Binder et al. Princeton NJ: Princeton University Press, 1971. p.164. 3 นรนิติ เศรษฐบุตร. แนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง. ใน เอกสารเผยแพร่ความรู้ทางการปกครอง ท้องถิ่น ฉบับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น. ม.ป.ท. : ม.ป.ป. หน้า 3. 4 Lester W. Milbrath and M. L. Goel. Political participation: How and why do people get involved in politics. 2nd ed. Chicago: Rand McNally College Publishing, 1977. p. 2.
  • 21. 11 การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นจะต้องเป็นการมีส่วนร่วมแบบสมัครใจ5 (voluntary or autonomous participation) ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างการมีส่วนร่วมในทาง ประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมแบบพิธีหรือเพื่อสนับสนุนรัฐบาลอยู่ที่ การมีส่วนร่วมแบบแรกนั้น รัฐบาลเพียงแต่เปิ ดโอกาสแต่ไม่ได้เข้าไปเป็นผู้มีบทบาทนา ส่วนการมีส่วนร่วมแบบหลังนั้น หมายถึงการกระทาที่ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมเพื่อแสดงการสนับสนุนรัฐบาลโดยถูกระดมหรือถูก ชักจูงจากรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมของรัฐ เช่น การร่วมมือกันอย่างแข็งขันใน การพัฒนาชนบทตามโครงการที่รัฐบาลจัดขึ้น เป็นต้น ซึ่งน่าจะขาดความสมัครใจของตนเอง สาหรับการมีส่วนร่วมแบบแรกคือการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตยนั้นจะเน้นที่การกระทาที่เป็น อิสระของมวลชนเอง เพื่อหวังผลและอิทธิพลต่อการกระทาของรัฐบาล โดยมิได้ถูกเร้าระดมจาก ทางรัฐ6 นอกจากนั้น หากพิจารณาจากคานิยามของการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่กล่าวถึงประเด็น การกระทาที่ทั้งถูกและไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ได้นั้น โดยดูว่าการกระทานั้นมีจุดมุ่งหมายที่เข้าไป มีอิทธิพลต่อการกาหนดนโยบายของรัฐบาลหรือเลือกผู้นารัฐบาล ซึ่งการกระทาดังกล่าวนี้จะมี ลักษณะต่างกันและอาจมีความสาคัญแตกต่างกันด้วย เช่น การไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนใน ระดับต่างๆ ของประเทศ ซึ่งเป็นประเภทที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีความสาคัญอย่างมากด้วย ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เช่น การเดินขบวนประท้วง และเรียกร้องในบางสิ่งบางอย่าง ก็อาจขยายตัว เป็นการจลาจลที่ผิดกฎหมายได้ ซึ่งนักวิชาการบางคน เช่น Norman H. Nei และ Sidney Verba ก็ได้ มองข้ามกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ขัดต่อกฎหมายไป7 ดังนั้นการมีส่วนร่วมทางการ เมืองจึงมีได้หลายรูปแบบและหลายระดับ Michael Rush ได้เสนอลาดับชั้นการมีส่วนร่วมทางการ เมือง (hierarchy of political participation) ทั้งแบบที่ถูกต้องและขัดต่อกฎหมายไว้10 ขั้นตามลาดับ คือ ขั้นแรกหรือขั้นสูงสุดเป็นพวกที่เข้าไปดารงตาแหน่งทางการเมืองหรือทางบริหารซึ่งมีจานวน น้อยที่สุด พวกต่อๆ มาคือพวกที่กาลังแสวงหาตาแหน่งทางการเมืองหรือการบริหาร พวกที่เป็น สมาชิกที่มีความตื่นตัว (active membership) ในองค์กรทางการเมือง พวกที่เป็นสมาชิกที่มีความ ตื่นตัวในองค์กรกึ่งการเมือง เช่น กลุ่มผลประโยชน์ เป็นต้น พวกที่มีส่วนร่วมในลักษณะการเข้าร่วม ชุมนุมเดินขบวนประท้วงซึ่งก็ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความตื่นตัวทางการเมืองเช่นกัน พวกที่เป็นสมาชิก องค์กรทางการเมืองแต่นิ่งเฉย (passive membership) พวกที่เป็นสมาชิกองค์กรแบบเฉื่อยชาใน องค์กรกึ่งการเมือง พวกที่มีส่วนร่วมในการถกเถียงปัญหาทางการเมือง พวกที่มีความสนใจในทาง 5 สุจิต บุญบงการ. การพัฒนาทางการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2542. หน้า 38. 6 นรนิติ เศรษฐบุตร. “แนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง,” หน้า 3-4. 7 เรื่องเดียวกัน, หน้า 5.