SlideShare a Scribd company logo
1 of 115
Download to read offline
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริต
ของกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช ๒๕๕๙
คณะทํางานจัดทําและดําเนินการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ
พุทธศักราช ๒๕๕๙
ข
คํานํา
ด้วย สํานักนายกรัฐมนตรีได้มีคําสั่งที่ ๑๙๓/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เรื่อง
มอบหมายความรับผิดชอบในการดําเนินการเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูประบบการศึกษา ซึ่งคําสั่ง
ดังกล่าวได้กําหนดให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) รับผิดชอบใน
การพิจารณาจัดการแก้ไขปัญหาการทุจริตในกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้กําหนดเป้าหมายให้แล้วเสร็จ
อย่างน้อยร้อยละ ๕๐ ตามแผนงานภายในสามเดือน และร้อยละ ๗๕ ภายในหกเดือน นับแต่วันที่
คําสั่งมีผลใช้บังคับ เพื่อให้การขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ
กระทรวงศึกษาธิการซึ่งประกอบด้วยหลายส่วนราชการและหน่วยงานในกํากับเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพและบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์แห่งคําสั่งดังกล่าวข้างต้น ต่อมา
กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคําสั่งที่ สป ๑๑๑๘/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้ง
คณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่า
การกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) เป็นประธาน และประธานคณะกรรมการ
อํานวยการฯ ได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะทํางานจัดทําและดําเนินการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตกระทรวงศึกษาธิการ ตามคําสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๑๘/๒๕๕๘
ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘
เพื่อให้การดําเนินงานจัดทําและดําเนินการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตกระทรวงศึกษาธิการ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล คณะทํางานฯ จึงได้
จัดทําแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกระทรวงศึกษาธิการ
พุทธศักราช ๒๕๕๙ ขึ้น โดยให้มีกําหนดระยะเวลาสิ้นสุดในเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ อันเป็น
วาระการสิ้นสุดปีงบประมาณพุทธศักราช ๒๕๕๙ ในแผนดังกล่าวประกอบด้วยแนวคิดและหลักการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แผนงานโครงการ รายละเอียด การติดตามผล
โครงการ ตลอดจนการสรุปผลความก้าวหน้า สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อให้การขับเคลื่อนการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นไปอย่างยั่งยืนสืบไป
คณะทํางานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนปฏิบัติการฉบับนี้จะสามารถเป็นกลไกสําคัญในการ
ขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อเกิด
ผลสัมฤทธิ์สมตามเจตนารมณ์ทุกประการ
(นายพิษณุ ตุลสุข)
ประธานคณะทํางานจัดทําและดําเนินการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
กระทรวงศึกษาธิการ
ค
สารบัญ
หน้า
คํานํา
สารบัญ
ส่วนที่ ๑ บทนํา ๑
๑. ความเป็นมา ๑
๒. นิยามและความหมายเกี่ยวกับการทุจริต ๑๑
๓. รูปแบบการทุจริต ๑๒
๔. มูลเหตุการทุจริต ๑๒
๕. ผลกระทบอันเกิดจากการทุจริต ๑๒
๖. หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ๑๓
๗. หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ ๒๐
๘. นโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ ๒๒
๙. การดําเนินการที่ผ่านมา ๒๕
๑๐. ตัวอย่างคดีในกระทรวงศึกษาธิการ ๒๘
ส่วนที่ ๒ แนวคิด หลักการ ๒๙
๑. แนวคิดการป้องกันและปราบปรามทุจริต ๒๙
๒. แนวคิดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๓๐
๓. ยุทธศาสตร์ชาติ ๓๒
๔. แนวคิดหลักการของ ป.ป.ช. ๓๙
๕. แนวคิดเกี่ยวกับ ปัจจัยที่ทําให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัว ๔๐
กับผลประโยชน์ ส่วนรวมจากการใช้อํานาจในตําแหน่งหน้าที่สาธารณะ
(ผลประโยชน์ทับซ้อน)
ส่วนที่ ๓ แผนการดําเนินการ ๔๑
กลยุทธ์ที่ ๑ ป้องปรามและป้องกัน ๔๓
กลยุทธ์ที่ ๒ ปราบปราม ๔๖
กลยุทธ์ที่ ๓ พัฒนาระบบการดําเนินการทางวินัยและคดี ๔๘
กลยุทธ์ที่ ๔ สร้างกลไกการบริหารงานบุคคลเพื่อการป้องกัน ๕๐
และปราบปรามการทุจริต
กลยุทธ์ที่ ๕ การติดตามประเมินผลการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ๕๓
กิจกรรมของส่วนราชการที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ ๕๔
ง
ส่วนที่ ๔ การบูรณาการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ๖๕
ของกระทรวงศึกษาธิการ
การดําเนินการตามแผนการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริต ๗๙
ของกระทรวงวศึกษาธิการ
ข้อเสนอแนะ ๘๒
แบบรายงานผลการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปราม ๘๓
การทุจริตของหน่วยงาน
มาตรฐานและระยะเวลาการดําเนินการเรื่องที่กล่าวหาและเรื่องร้องเรียน ๘๔
ภาคผนวก ๘๘
๑
ส่วนที่ ๑
บทนํา
๑. ความเป็นมา
“การทุจริต” เป็นภัยร้ายแรงสําคัญที่ทําลายความมั่นคงของชาติ รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะสร้าง
มาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และระบบธรรมาภิบาล ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
พร้อมทั้งพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของ
ประชาชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
และประพฤติมิชอบ ตลอดจนสนับสนุนการสร้างค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและ
ถูกต้องชอบธรรม
จากการที่การทุจริตเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมประเทศไทยมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นเรื่องที่
ยากจะขจัดหรือแก้ไขให้หมดสิ้นไปได้จนในบางครั้งบางเวลาสังคมอาจจะลืมไปว่าเป็นเรื่องที่ผิด แต่
กลับมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของทุกสังคมที่จะมีการทุจริตเกิดขึ้นบ้าง ประเพณีและวัฒนธรรมบาง
แห่งได้ก่อให้เกิดทัศนคติ หรือค่านิยมที่เรียกว่า “กินตามน้ํา” จนถึงขนาดที่ว่าการกินตามน้ําไม่ใช่เป็น
การกระทําที่ผิดกฎหมายหรือผิดปกติแต่อย่างใด สังคมไทยมีทัศนคติหรือค่านิยมในลักษณะที่เป็น
สังคมอุปถัมภ์ ซึ่งจะมีการอนุเคราะห์และช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้อาจเกิดจาก
สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมของระบบศักดินา ซึ่งผู้มีอํานาจปกครองหรือพระมหากษัตริย์ในอดีตจะทรง
พระราชทานที่ดินให้แก่บรรดาขุนนางข้าราชการที่ปกครองดูแลแทนเบี้ยหวัดเงินเดือนตามตําแหน่งชั้น
ยศ ส่วนทรัพย์สินเงินทองนั้น บรรดาขุนนางข้าราชการดังกล่าวก็ได้จากราษฎรที่ร้องขอความช่วยเหลือ
เป็นค่าตอบแทน จึงทําให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นระบบอุปถัมภ์ขึ้น ดังนั้นวัฒนธรรมการให้
ทรัพย์สินเงินทองตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของขุนนางข้าราชการจึงยังคงมีอยู่มาจนกระทั่งปัจจุบัน
ทัศนคติหรือค่านิยมทางสังคมที่ยอมรับการทุจริตในภาครัฐดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งค่านิยมอื่น เช่น
ความคิดที่ว่า การทุจริตเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เรียก
ทรัพย์สินในจํานวนที่มากเกินไป หรือรู้จักยกเว้นไม่เรียกร้องเอาจาก “พรรคพวก เพื่อนฝูง” หรือไม่
กระทําการในลักษณะ “รีดไถ” จากบุคคลที่ยากไร้หรือไม่อยู่ในฐานะที่จะจ่ายได้ ความคิดเช่นนี้ทําให้
การทุจริตในหลายลักษณะ กลับถูกมองจากสังคมไทยด้วยทัศนคติเชิงบวก ทรัพย์สินเงินทองที่จ่าย
ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเป็นการตอบแทนการประพฤติมิชอบหรือที่ควรจะเรียกว่า “สินบน” แต่
กลับถูกเรียกว่า “สินน้ําใจ” ซึ่งผลที่ตามมาจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างทัศนคติหรือค่านิยม
ทางสังคมกับระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในสังคม ทําให้เกิดปัญหาอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการบังคับใช้
กฎหมายที่ถือว่าเป็นมาตรการสูงสุดสําหรับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมทั้ง
เป็นปัญหาใหญ่ที่ทําให้การทุจริตคอร์รัปชั่นลุกลามขยายตัวไปยังทุกภาคส่วนของการบริหารงานภาครัฐ
เกิดการแสวงหาประโยชน์จากการใช้อํานาจหน้าที่อย่างเป็นระบบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกระดับ
๒
ตลอดจนกระทั่งผู้ที่ดํารงตําแหน่งทางการเมืองได้ใช้อํานาจหรืออิทธิพลของตนแสวงหาประโยชน์
สําหรับตนเองหรือครอบครัวหรือพวกพ้องในรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลายและพลิกแพลงเพื่อไม่ให้
การกระทําดังกล่าวเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมายมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันสังคมไทยได้ถูกจัดว่ามีการทุจริต
คอร์รัปชั่นในภาครัฐในระดับที่รุนแรงและเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ จําเป็นต้องได้รับ
การแก้ไขเยียวยาด้วยมาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยเร่งด่วนก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้
การทุจริตในภาครัฐในสังคมไทย มีมาแต่ครั้งบรรพกาล ในอดีตจะนิยมเรียกว่า “การฉ้อราษฎร์
บังหลวง” ถือเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งตามพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้
ความหมายว่า “การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บเงินจากราษฎร์แล้ว ไม่ส่งหลวงหรือเบียดบังเงินหลวง”
หรือหมายความว่า “รีดนาทาเร้นประชาชนและเบียดบังทรัพย์ของหลวงเป็นของตน” โดยยังให้
ความหมายของคําว่า “คอร์รัปชั่น” หมายถึง การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเบียดบังเอาโดยอํานาจหน้าที่
ราชการ การที่เจ้าพนักงานเรียกและรับสินบนจากราษฎรจัดได้เป็น “ฉ้อราษฎร์” เพราะเป็นการเรียก
หรือรับเอาเงินหรืออามิสอย่างอื่นเพื่อปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติราชการ แต่การ “บังหลวง” เป็นการที่เจ้า
พนักงานทําทุจริตต่อหน้าที่ เสียหายต่อผลประโยชน์ของแผ่นดิน ทั้งนี้จะเป็นการสมคบกับราษฎรเบียด
บังผลประโยชน์นั้นหรือไม่ก็ได้ การฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นเรื่องที่เน้นไปทางด้านความรู้สึกเป็นเรื่องที่
เกี่ยวกับระบบคุณค่า (Value system) ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากต่อการกําหนด
การที่จะบอกว่าอะไรคือฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้น ย่อมจะขึ้นอยู่กับจุดอ้างอิง (Reference point)
ที่ใช้การที่เอามาตรฐานของสังคมหนึ่งไปวัดพฤติกรรมของอีกสังคมหนึ่งว่าเป็นฉ้อราษฎร์บังหลวง
หรือไม่นั้นต้องทําด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง นอกจากนี้แนวความคิดที่ใช้เกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บัง
หลวงนั้นจะใช้แบบสมบูรณนัย (Absolute concept) ไม่ได้เพราะการฉ้อราษฎร์บังหลวงไม่ว่าจะเกิด
ในสังคมใดก็ตามย่อมมีพลวัตภาพ (Dynamism) ในตัวเอง นั่นคือ ความหมายของการฉ้อราษฎร์บัง
หลวงขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานของสังคมนั้นๆ ซึ่งแตกต่างกันตามเวลาและสถานที่ ปัจจัยทางการเมือง
สังคม เศรษฐกิจ และสําคัญที่สุดคือวัฒนธรรม เพราะว่า ระเบียบสังคม วัฒนธรรมและค่านิยมในสังคม
ของประเทศต่างๆ ผิดกัน พฤติกรรมที่เรียกว่าเป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงมีลักษณะอย่างไรเป็นเรื่องที่
ขึ้นอยู่กับค่านิยมของแต่ละสังคม เพราะในสังคมบางสังคม มีวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมที่ไม่ถือ
ว่าพฤติกรรมที่สังคมอื่นถือว่าเป็นการคอร์รัปชั่นนั้นเป็นความผิดหากเห็นว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ
ธรรมดาเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมของประเทศตะวันตกและประเทศที่มิใช่ตะวันตก
ตัวอย่างเช่น ในสังคมของประเทศตะวันตกนั้น การให้สินจ้างรางวัลในการปฏิบัติหน้าที่ราชการมีความ
ละเอียดอ่อนกว่า กล่าวคือ ถึงแม้ว่าไม่ผิดหน้าที่ราชการ ก็ยังถือว่าเป็นการคอร์รัปชั่น ส่วนสังคมของ
ประเทศที่มิใช่ตะวันตก เช่น อินเดีย จีน กลับมองว่าเป็นธรรมเนียมที่จะขาดเสียมิได้ เพราะเป็นการ
แสดงน้ําใจหรือไมตรีจิตอย่างหนึ่งในสมัยก่อน
เนื่องจากความแตกต่างของระดับการศึกษาของเจ้าพนักงานของรัฐกับประชาชน รวมทั้งความ
แตกต่างในชนชั้นระหว่างบุคคลทั้งสองกลุ่ม ทําให้ประชาชนผู้มาติดต่องานราชการไม่ทราบสิทธิของ
ตนเองที่พึงจะได้รับจากทางราชการ โดยประชาชนเหล่านั้นกลับคิดว่าตนเป็น “ข้าของแผ่นดิน” ที่
๓
จะต้องเอาอกเอาใจเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งขณะนั้นถืออํานาจของรัฐในการให้หรือไม่ให้บริการก็ได้
ดังนั้นสภาพที่ปรากฏเป็นประจําคือการที่ประชาชนต้องเกรงกลัวและร้องขอกราบกราน
ประจบประแจง เพื่อให้เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นเห็นใจและให้บริการตามหน้าที่ของเขา ซึ่งทั้งๆ ที่เจ้า
พนักงานผู้นั้นมีหน้าที่เช่นนี้อยู่แล้ว การที่เจ้าหน้าที่มีความคิดว่าตนเป็น “ข้าของแผ่นดิน” จึงเป็น
ปัจจัยสําคัญในการเกิดความสําคัญผิดในสถานภาพของเจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้น และสามารถเป็น
ปัจจัยให้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงของเจ้าพนักงานของรัฐได้ รัฐได้ให้คํานิยามของคําว่า “การฉ้อ
ราษฎร์บังหลวง” ว่าเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการกระทําที่ชั่วช้าและฉ้อโกง โดย
เจตนาที่จะหลีกเลี่ยงกฎหมาย รวมทั้งการกระทําที่ขัดต่อตําแหน่งหน้าที่และสิทธิของผู้อื่น และรวมถึง
การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งประชาชนไว้วางใจกระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ โดยการรับหรือ
ยอมรับประโยชน์สําหรับตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะเห็นว่ารัฐกําหนดพฤติกรรมในความผิดนี้ไว้อย่างชัดเจน
แต่ขณะเดียวกันจะเห็นลักษณะปทัสถานของพฤติกรรมนี้ว่ารัฐไม่พึงประสงค์ให้มีการกระทําผิด
กฎหมายหรือหลีกเลี่ยงกฎหมายภายใต้เจตนาฉ้อโกง ซึ่งตามความหมายเดิมของคําว่า “ฉ้อราษฎร์บัง
หลวง” คือ การฉ้อโกงราษฎร และการฉ้อโกงหลวง อันหมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่กระทําต่อราษฎร์ไม่ว่า
เป็นไปตามตําแหน่งหน้าที่หรือไม่ก็ตาม โดยผู้นั้นได้อาศัยอํานาจหน้าที่นั้นเพื่อที่จะฉ้อโกงราษฎรผู้นั้น
และผู้นั้นได้ใช้อํานาจหน้าที่ของเขา หรือโอกาสที่เขามีอํานาจหน้าที่นั้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการฉ้อโกง
หลวง หรือการกระทําของเจ้าพนักงานของรัฐได้นําเงินผลประโยชน์ของราชการมาเป็นของส่วนตัว ทํา
ให้ราชการ (หลวง) เสียประโยชน์ ซึ่งบางกรณีไม่ปรากฏว่ามีราษฎรเข้าเป็นผู้เสียหาย เช่น การเบียดบัง
ยักยอกผลประโยชน์ของแผ่นดินมาเป็นของตน หรือหมายความว่า เป็นการรีดนาทาเร้นประชาชน เป็น
การเรียกหรือรับเอาเงินอามิสอย่างอื่น การฉ้อราษฎร์บังหลวงนี้ อาจอยู่ในรูปของการช่วยเหลือญาติพี่
น้องเพื่อนฝูงให้ได้รับประโยชน์จากตําแหน่งหน้าที่ราชการของตน โดยผู้กระทําอาจมิได้รับทรัพย์สิน
อามิสแต่อย่างได แต่เขาก็ได้รับความสบายใจ ซึ่งอาจเป็นการตอบแทนบุญคุณต่อครอบครัวก็ได้ การ
ฉ้อราษฎร์บังหลวงมีหลายประเภท
ประเภทแรกเป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงสีขาว เป็นการกระทําโดยอ้างอิงวัฒนธรรมไทยที่ถูก
นํามาใช้ในราชการไทยในลักษณะเป็นการแสดงน้ําใจ เช่นการให้ของกํานัลหรือของขวัญโดยเจ้า
พนักงานนั้นมิได้เรียกร้อง ซึ่งอาจจะเข้าลักษณะการตอบแทนหรือสมนาคุณ ซึ่งในส่วนนี้กลับมีมติ
คณะรัฐมนตรีที่กําหนดว่าของขวัญที่ให้แก่เจ้าพนักงานของรัฐต้องไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท เป็นลักษณะ
การรับรองว่าสามารถกระทําได้โดยมิได้ระบุว่า ผู้ใดให้ของขวัญแก่เจ้าพนักงานของรัฐเป็นการกระทําที่
ผิดกฎหมาย (ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.
๒๕๔๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๐๔ ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๔)
ลักษณะเช่นนี้เป็นการกระทําที่ประชาชนยอมรับได้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่สําคัญและดูเหมือนกับจะ
สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยที่โอบอ้อมอารีแก่ผู้คนในสังคมเดียวกัน ซึ่งทั้งๆ ที่หากบุคคลนั้นไม่เป็นเจ้า
พนักงานของรัฐ ผู้ให้ก็คงจะไม่ให้ เพราะเห็นว่าไม่มีประโยชน์แก่ผู้ให้ซึ่งการให้สิ่งของหรือทรัพย์
ดังกล่าวนี้อาจขยายตัวเป็นการให้บริการแก่เจ้าพนักงานของรัฐ เช่น พาไปรับประทานอาหาร
ให้บริการอย่างอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
๔
ประเภทที่สอง คือ การฉ้อราษฎร์บังหลวงสีเทา เป็นการกระทําที่สังคมบางส่วนเห็นว่า เป็น
การกระทําผิด แต่ประชาชนทั่วไปยังสองจิตสองใจอยู่ กล่าวคือเป็นการใช้อํานาจหน้าที่แสวงหา
ประโยชน์ให้แก่ตนและครอบครัวหรือพวกพ้อง แต่เนื่องจากประชาชนที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะสมยอม
กับการใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบเหล่านี้ โดยนักวิชาการบางท่านเรียกกิจการเหล่านี้ว่า เป็นการค้า
สินค้าทางการเมือง เพราะว่าผู้ให้ทรัพย์สินจะได้รับประโยชน์จากพนักงานของรัฐในรูปของการ
ให้บริการตามหน้าที่หรือการพิจารณาอนุญาต อนุมัติเป็นกรณีพิเศษ เช่น การพิจารณากําหนดพิกัด
สินค้าขาเข้าหรือขาออกของกรมศุลกากร ในกรณีที่สินค้าชนิดนั้นๆ ไม่ปรากฏในพิกัดอย่างชัดแจ้ง การ
พิจารณาตรวจรับพัสดุหรือการก่อสร้างของหน่วยราชการ การพิจารณาคําร้องต่างๆ ของพนักงานของ
รัฐ และการให้ทรัพย์สิน เงิน การให้บริการนี้อาจอยู่ในรูปของการให้ค่าน้ําร้อนน้ําชา การให้ค่า
นายหน้าหรือค่าคอมมิชชั่น การให้เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยากแก่การเอาโทษกับผู้กระทําผิด และทําให้ดูเหมือน
ประชาชนยอมรับสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์หรือหาประโยชน์ใส่
ตนโดยไม่มีหลักฐาน ซึ่งบางลักษณะประชาชนทั่วไปกลับเห็นว่าเป็นโอกาสที่เจ้าพนักงานของรัฐนั้นควร
จะต้องได้รับผลประโยชน์และเป็นเรื่องปกติ
ประเภทสุดท้าย เป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงสีดํา ซึ่งเป็นการกระทําที่ทุกฝ่ายในสังคมเห็นว่า
เป็นการกระทําผิดและสมควรได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการใช้อํานาจหน้าที่หรือตําแหน่ง หรือหา
ประโยชน์ให้แก่ตนและครอบครัวหรือพวกพ้อง โดยไม่คํานึงถึงกฎหมาย ซึ่งเป็นการกระทําที่ขัดต่อ
ตําแหน่งหน้าที่ของตน เช่น การเรียกรับทรัพย์สิน หรือ เงิน จากประชาชนทั่วไปที่เขาไม่ประสงค์จะให้
ซึ่งในส่วนนี้จะต่างไปจากประเภทที่สอง เป็นการใช้อํานาจหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นทางการเมืองหรือทางการ
ปกครองเรียกทรัพย์สินโดยอาศัยอํานาจจากตําแหน่งของตน เช่นเรียกรับเงินจากผู้เข้าสอบบรรจุเป็น
พนักงานของรัฐ, เรียกเงินจากข้าราชการเพื่อย้ายไปรับราชการอีกที่หนึ่ง, หรือไม่มีการเรียกรับ
ทรัพย์สิน แต่เป็นการเลือกปฏิบัติ เช่น เลือกรับแต่ญาติของตนเป็นพนักงานของรัฐในการสอบคัดเลือก
เป็นพนักงานขององค์การบริหารส่วนตําบล หรือเป็นการใช้โอกาสที่ตนเป็นพนักงานของรัฐเพื่อฉวย
โอกาสในทางเศรษฐกิจ เช่น เป็นเจ้าหน้าที่ที่สํานักผังเมืองเลือกซื้อที่ดินที่ตนทราบว่าจะมีถนนตัดผ่าน
ในแผนของสํานักผังเมือง เป็นต้น
นอกจากลักษณะการฉ้อราษฎร์บังหลวงข้างต้นแล้ว ยังมีอีกระบบหนึ่งซึ่งประเทศที่อยู่ในกลุ่ม
เอเชียยังยอมรับกันอยู่มาก คือระบบอุปถัมภ์ (Patronage system) ซึ่งเป็นระบบการช่วยเหลือพวก
พ้อง ที่ตรงข้ามกับระบบคุณธรรม (Merit system) ที่ยึดเอาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเป็น
สําคัญ ซึ่งสังคมไทยมีรูปแบบดังกล่าวจํานวน ๔ รูปแบบคือ ระบบอุปถัมภ์ที่อยู่ในหมู่ญาติ ระบบ
อุปถัมภ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมิตรสหาย ระบบอุปถัมภ์ที่เกิดขึ้นในองค์กรต่าง ๆ ระบบ อุปถัมภ์ระหว่าง
อาชีพ ซึ่งระบบอุปถัมภ์ที่อยู่ในหมู่ญาตินี้ เป็นวัฒนธรรมที่สําคัญในสังคมไทย และ เป็นระบบเก่าแก่
ที่สุดในสังคมไทย ระบบดังกล่าวทําให้พนักงานของรัฐกระทําการในการให้บริการประชาชนในลักษณะ
การเลือกการปฏิบัติได้ง่ายที่สุด ดังนั้นถึงแม้พนักงานของรัฐนั้นจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงทรัพย์สินก็ตาม
แต่ก็ถือเป็นการ “ฉ้อราษฎร์”ได้เช่นกัน ในสังคมไทยมีวัฒนธรรมในการยกย่องบุคคลในสังคม ซึ่งแต่
๕
เดิมสังคมไทยยกย่องบุคคลที่มีความดี ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ มีความรักชาติรักแผ่นดิน แต่ต่อมา
ระบบทุนนิยมเข้ามาในสังคมไทย วัฒนธรรมในการยกย่องบุคคลในสังคมเปลี่ยนแปลงไป สังคมใน
สายตาของระบบทุนนิยมซึ่งนิยมวัตถุมากขึ้น ได้ยอมรับบุคคลที่มีเงินและอํานาจโดยไม่เกี่ยงว่าบุคคล
นั้นจะได้ทรัพย์เหล่านี้มาจากที่ใด และนิยมชมชอบบุคคลผู้มีวาสนาซึ่งผู้นั้นจะสามารถเข้าพึ่งพิงและขอ
ความช่วยเหลือบางอย่างจากผู้มีวาสนาได้ ย่อมทําให้ระบบอุปถัมภ์ขยายตัวมากขึ้น ทั้งวัฒนธรรมไทย
รวมทั้งวัฒนธรรมของประเทศทางตะวันออกยังส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์อย่างแน่นเหนียวในระบบ
ครอบครัว ญาติพี่น้อง ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบความสําคัญระหว่างญาติพี่น้องหรือพรรคพวกกับ
ประเทศชาติหรือรัฐ ชาวไทยส่วนใหญ่จะเลือกเอาญาติพี่น้องหรือพรรคพวกมากกว่าประเทศชาติ หรือ
รัฐ ในกรณีนี้หากเจ้าพนักงานของรัฐได้ฉ้อราษฎร์บังหลวงเพื่อญาติพี่น้องหรือพรรคพวกของตน หรือ
เจ้าพนักงานผู้นั้นเลือกที่จะต้องเข้าไปในอยู่ระบบอุปถัมภ์กับผู้มีวาสนาบางราย แม้ผู้มีวาสนานั้นอาจ
กระทําการฉ้อราษฎร์บังหลวงบ้างก็ตาม สังคมไทยยังสามารถรับพฤติกรรมเหล่านี้ได้ โดยเห็นว่าเป็น
เรื่องธรรมดาที่เป็นไปตามวัฒนธรรมไทย
ใน พ.ศ. ๒๕๔๖ Transparency international ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในต่างประเทศได้
จัดลําดับประเทศทั้งหมดจํานวน ๑๓๓ ประเทศ โดยใช้ Corruption perceptions index เป็น
เครื่องมือวัดค่าบอกลําดับของประเทศในด้านการฉ้อราษฎรบังหลวงโดยอิงมุมมองของเจ้าหน้าที่ของ
ภาครัฐ นักธุรกิจ ประชาชน ในประเทศต่างๆ ปรากฏว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ ๗๐ ของโลก และ
Transparency Thailand (องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย) ได้เปิดเผยผลการจัดอันดับดัชนีชี้
วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ปรากฏว่า ประเทศไทยได้ ๓.๕ คะแนน จากคะแนน
เต็ม ๑๐ คะแนน และอยู่ใน อันดับ ๘๐ จาก ๑๘๐ ประเทศ และอยู่ในอันดับ ๑๐ จาก ๒๑ ประเทศใน
ภูมิภาคเอเชียและเพิร์ค (Political and economic risk consultancy Ltd.) บริษัทที่ปรึกษาความ
เสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ ได้สํารวจถึงความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของ ๑๒
ประเทศและเขตเศรษฐกิจพิเศษในเอเชียใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปรากฏว่า ไทยอยู่ในลําดับที่ ๙ และนับแต่
พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๕๑ ประเทศไทยได้คะแนนสูงสุดเพียง ๓.๘ จากคะแนน เต็ม ๑๐ คะแนน โดยในปี
๒๕๕๑ ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นสูงที่สุดเป็น อันดับ ๒ จากตัวอย่าง ๑๓
ประเทศในเอเชีย โดยระบุว่าประเทศไทยในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๕๑ การคอร์รัปชั่นมีแนวโน้มที่
เลวลงกว่าเดิม ช่วงที่แย่ที่สุดอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๓ -๒๕๔๖ ที่คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ ๘.๒,
๘.๕๕, ๘.๘๙ และ ๘,๗๕ ตามลําดับ (เป็นเกรดที่ดีที่สุดและ ๑๐ เป็นเกรดที่แย่ที่สุด) ดร.นภดล
กรรณิกา ผู้อํานวยการสํานักวิจัยเอแบคโพล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ทําการสํารวจ เสียงสะท้อนของ
สาธารณชน ทําไมคนไทยเอนเอียงยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่น กรณีศึกษา ประชาชนที่มีอายุ ๑๘ ปี
ขึ้นไป ใน ๑๗ จังหวัดของประเทศ (กรุงเทพฯ, ตาก,กําแพงเพชร, เพชรบูรณ์, เชียงใหม่,
ประจวบคีรีขันธ์, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี,ชลบุรี, เลย,กาฬสินธุ์, สุรินทร์, บุรีรัมย์, อุดรธานี,
ขอนแก่น , สตูลและสงขลา ) รวม ๑,๕๘๒ ครัวเรือน ดําเนินการสํารวจในวันที่ ๑-๔ กรกฎาคม
๒๕๕๒ พบว่า คนไทยจํานวนถึงร้อยละ ๕๖.๔ ยอมรับในเรื่องการเลี้ยงดูคณะกรรมการจัดซื้อ จัดจ้าง
ของหน่วยราชการโดยกลุ่มประชาชนจํานวนมากที่ยอมรับได้นี้เป็นประชาชนที่มีอายุต่ํากว่า ๒๐ ปีใน
๖
อัตราส่วนร้อยละ ๖๑.๗ และเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษาในอัตราส่วนถึงร้อยละ ๖๖.๑ และเป็น กลุ่มที่
มีความรู้ต่ํากว่าปริญญาตรีในอัตราส่วนร้อยละ ๕๗.๘ และเป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ํากว่า ๕,๐๐๐ บาท ต่อ
เดือนในอัตราส่วนร้อยละ ๖๑.๗ และจากผลการสํารวจในชุดเดียวกันนี้เองทําให้ทราบว่า ประชาชนใน
อัตราส่วนร้อยละ ๖๑ ที่เห็นว่าการติดสินบนทําให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่างกัน และเห็นว่า
คอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการชั้นสูงในอัตราส่วนร้อยละ ๖๗.๕ และ เห็นว่าคอร์รัปชั่น
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในหมู่ข้าราชการชั้นผู้น้อยในอัตราส่วนร้อยละ ๕๓ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลที่เคย
สํารวจไว้ใน พ.ศ. ๒๕๔๘ กลับเห็นว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างนี้ต้องการแจ้งความเอาผิดกับนักการเมือง
ที่ทุจริตคอร์รัปชั่น,รัฐมนตรีที่ทุจริตคอร์รัปชั่น ,แกนนําในชุมชนที่ทุจริต คอร์รัปชั่น ,เพื่อนบ้านที่ทุจริต
คอร์รัปชั่น มีอัตราส่วนลดลงกว่าผลการสํารวจในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ประมาณร้อยละ ๑๕ แต่ความ
ต้องการที่ดําเนินคดีกับคนที่มีบุญคุณช่วยเหลือกันมาที่ทุจริตคอร์รัปชั่น มีอัตราส่วนคงเดิมที่อัตราร้อย
ละ ๓๖.๙ โดยมีการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนในการสํารวจจากเรื่องความ ต้องการเอาผิดกับญาติสนิทใน
บ้านเดียวกันที่ทุจริตคอร์รัปชั่น และคนในครอบครัวที่ทุจริต คอร์รัปชั่น ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ
ร้อยละ ๑ ถึงร้อยละ ๑๔ เท่านั้น และใน พ.ศ.๒๕๕๑ ดร. นภดล กรรณิกา ได้ทําการสํารวจเรื่อง
ทัศนคติของประชาชนต่อรัฐบาลที่ทุจริตคอร์รัปชั่น กรณีศึกษา ประชาชนอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ๑๘ จังหวัด
ของประเทศ (กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ, พระนครศรีอยุธยา, ระยอง, ปราจีนบุรี, นครราชสีมา ,
สุรินทร์ขอนแก่น ,อุดรธานี, หนองคาย, สกลนคร, เชียงใหม่ , อุตรดิตถ์,กําแพงเพชร , เพชรบูรณ์,
สุพรรณบุรี,กระบี่, สุราษฎร์ธานี) จํานวนตัวอย่าง ๓,๘๘๐ ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๔
ตุลาคม ๒๕๕๑ ซึ่งผลการสํารวจปรากฏว่า ประชาชนในอัตรา ร้อยละ ๖๓.๒ เห็นว่ารัฐบาลทุจริต
คอร์รัปชั่นได้ทั้งนั้น แต่ถ้าคอร์รัปชั่นแล้วทําให้ประเทศชาติ รุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี ก็เป็นเรื่องที่
ยอมรับได้ ซึ่งประชาชนที่มีความเห็นเช่นนี้เป็นประชาชนที่มีอายุระหว่าง ๔๐ ถึง ๔๙ ปีในอัตราส่วน
๖๗.๗ และเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีถึงร้อยละ ๕๒.๒ ในขณะที่ผู้ที่เห็นด้วยเช่นกันที่มี
ความรู้ต่ํากว่าปริญญาตรีมีอัตราร้อยละ ๖๔.๓ และจํานวน ประชากรนี้มีอาชีพเป็นข้าราชการถึงร้อย
ละ ๖๐.๘ และผู้ที่เห็นด้วยเช่นนั้นเป็นประชากรที่มีรายได้ระหว่าง ๑๐.๐๐๑ ถึง ๑๕,๐๐๐ บาทถึงร้อย
ละ ๖๕.๒ ดังนั้นจากผลการสํารวจทําให้เห็นว่าประชาชนในประเทศยังไม่เห็นความแตกต่างระหว่าง
การฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือคอร์รัปชั่นในวงราชการกับการปฏิบัติหน้าที่ตามหน้าที่ในกฎหมาย โดยพวก
เขากลับเห็นว่ารัฐจะดําเนินการอย่างไรก็ได้ เพียงแต่ให้พวกเขามีชีวิตที่อยู่ดีกินดีเท่านั้นซึ่งทําให้เห็น
โครงสร้างการปกครองของไทยว่าเป็นการปกครองในลักษณะที่มีส่วนร่วมของประชาชนอยู่น้อย
ประชาชนส่วนใหญ่กลับเห็นว่ารัฐเป็นผู้ชี้ทางในการดําเนินการกิจกรรมของชีวิต ซึ่งลักษณะเช่นนี้ย่อม
ก่อให้เกิดพฤติกรรมการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ง่าย
จนถึงปัจจุบัน จากข้อมูลของมูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (Transparency
Thailand) เปิดเผยผลการจัดอันดับในการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจําปี ๒๕๕๗
ประเทศไทยได้คะแนน ๓๘ คะแนนจากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน อยู่อันดับที่ ๘๕ จากการจัดอันดับ
ทั้งหมด ๑๗๕ ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ ๑๒ จาก ๒๘ ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
๗
๘
จากผลลัพธ์ดังกล่าว หลายภาคส่วนได้พยายามมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและเห็นผลของ
การแก้ปัญหาบางด้าน เช่น การปลูกฝังความดีให้เด็ก ๆ ในการเรียนการสอนหลักสูตร “โตไปไม่โกง”
และการดําเนิน “โรงเรียนคุณธรรม” รวมถึงการตื่นตัวของภาคธุรกิจในการต่อต้านการทุจริต อีกทั้งคน
ไทยจํานวนมากได้แสดงความรู้สึกไม่พอใจต่อการทุจริตคอร์รัปชัน และแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนไม่
ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชัน การที่คนในสังคมตื่นตัวต่อปัญหาร่วมกันเช่นนี้เป็นสัญญาณที่ดีว่าประเทศ
ไทยได้นําพลังร่วมของคนในสังคมมาผลักดันการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันให้เป็นวาระแห่งชาติที่
แท้จริง ทั้งนี้ รวมถึงการไม่ยอมรับการโกงทุกรูปแบบและไม่ให้คนโกงมีที่ยืนในสังคม และมีการ
กลั่นกรองและตรวจสอบผู้บริหารประเทศให้ทํางานด้วยความรับผิดชอบและโปร่งใส นึกถึง
ผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
๙
รัฐบาลได้ตระหนักในสถานการณ์การทุจริตทั้งในภาครัฐและในระดับชาติ พลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศนโยบายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ปรากฏในด้าน
การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและ
ประพฤติมิชอบในภาครัฐ : ข้อ ๑๐.๕ ใช้มาตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม
จริยธรรมและจิตสํานึกในการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับ
การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างเคร่งครัด ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ไม่
จําเป็น สร้างภาระแก่ประชาชนเกินควร หรือเปิดช่องโอกาสการทุจริต เช่น ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง
การอนุญาต อนุมัติ และการขอรับบริการจากรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนยืดยาวใช้เวลานาน ซ้ําซ้อนและเสีย
ค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและประชาชน ประกอบกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม
การทุจริต ระยะที่ ๒ (๒๕๕๖ – ๒๕๖๐) ซึ่งเป็นกรอบทิศทางการดําเนินการของทุกภาคส่วนในการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริต และนโยบายปราบปรามการทุจริตของรัฐบาล ที่มุ่งส่งเสริมปลูก
จิตสํานึกให้สังคมไทยมีวินัย และยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่กับการพัฒนาเครือข่ายป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตอย่างบูรณาการโดยให้ประชาชนมีบทบาทสําคัญในกระบวนการดําเนินงาน
อย่างมีส่วนร่วม โปร่งใส เสมอภาคและเป็นธรรม สร้างระบบและกลไกที่มีอิสระอย่างแท้จริงในการ
ตรวจสอบ ควบคุม กระจาย ถ่วงดุลอํานาจ ควบคู่กับการพัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบ ตลอดจน
พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระบบข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตอย่างมีจรรยาบรรณและต่อเนื่อง โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีสาระสําคัญ ดังนี้
๑. ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกําหนดมาตรการ แนวทางในการป้องกันและ
แก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ มุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริม
การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง สกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริต ดูแลการจัดซื้อจัด
จ้างให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด
๒. ปรับปรุงระบบราชการให้ทันสมัยมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ประชาชนสามารถเข้าถึง
บริการสาธารณะได้โดยรวดเร็ว ประหยัด สะดวก และการให้บริการเชิงรุก ปลูกฝังค่านิยมคุณธรรม
จริยธรรมจิตสํานึกความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต ปรับปรุงระเบียบกฎหมายให้ครอบคลุม
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและการมีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยถือว่าเป็นวาระสําคัญเร่งด่วน
ของชาติที่จะต้องแทรกอยู่ในการปฏิรูปทุกด้าน
๓. ยุทธศาสตร์ต้องสอดคล้องกับแนวทางกับแนวทางในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและ
ต้องสามารถนําไปสู่การแก้ปัญหาที่นํามาสู่การทุจริตในประเทศไทย
๔. เน้นการบูรณาการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงเครือข่ายภาค
ประชาสังคม
๕. ยุทธศาสตร์ฉบับนี้จะต้องมีส่วนในการสร้างค่านิยมวัฒนธรรมสุจริตให้มีความต่อเนื่อง
และยั่งยืน ส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักต่อวัฒนธรรมซื่อสัตย์สุจริต
๑๐
กอปรกับประเทศไทยได้ให้สัตยาบันร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้าน
การทุจริต ค.ศ. ๒๐๐๓ (United Nations Convention against Corruption : UNCAC) เมื่อวันที่ ๑
มีนาคม ๒๕๕๔ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ อันก่อให้เกิดหน้าที่ในการปฏิบัติตาม
พันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย
ภายในของประเทศไทยเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญา ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล อีกทั้งในขณะนี้ประเทศ
ไทยอยู่ระหว่างการเป็นผู้ถูกประเมินและติดตามผลการปฏิบัติตามอนุสัญญา การที่ประเทศไทยยังไม่มี
กฎหมายเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
ไทยในเรื่องความพยายามและความจริงจังในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายใน เพื่อให้เป็นไปตาม
มาตรฐานสากล นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตรวมถึงการแก้ไขปัญหาการทุจริตภายในประเทศ จึงมีความ
จําเป็นต้องแก้ไขกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าว โดยเฉพาะในเรื่องการกําหนด
ความผิดการให้หรือรับสินบนที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่าง
ประเทศ การกําหนดอายุความในกรณีหลบหนีและอายุความล่วงเลยการลงโทษการกําหนดการริบ
ทรัพย์สินในคดีทุจริตให้เป็นไปตามหลักการริบทรัพย์ตามมูลค่า อีกทั้งยังเป็นการสอดคล้องกับ
เจตนารมณ์ของการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช
๒๕๕๗ ในการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีกลไกในการขจัดการทุจริต
และประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเนื่องจากการปรับปรุง
แก้ไขกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวถือเป็นอาชญากรรมที่มีลักษณะพิเศษ จึง
ควรบัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นการ
เฉพาะ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระและความเชี่ยวชาญของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทํางาน และเป็นหลักประกันมิให้เกิดการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของ
บุคคลมากเกินความจําเป็น นอกจากนี้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบความ
ถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินให้ถูกต้อง จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญนี้
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการทุจริตในกระทรวงศึกษาธิการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์และ
นโยบายของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) จึงได้มีคําสั่ง ที่ ๑๙๓/๒๕๕๘ ลง
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เรื่องการมอบหมายความรับผิดชอบในการดําเนินการเพื่อประโยชน์ใน
การปฏิรูประบบการศึกษา โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับ
มอบหมาย (พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) รับผิดชอบในการพิจารณาจัดการแก้ไขปัญหาการทุจริตใน
กระทรวงศึกษาธิการ และการลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ต่อมารัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคําสั่ง ที่ สป.๑๑๑๘/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เรื่องแต่งตั้ง
คณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถ
ดําเนินงานจัดทําและดําเนินการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
๑๑
กระทรวงศึกษาธิการ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพตามนโยบายของรัฐบาล รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ (พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) จึงได้มีคําสั่งที่ สร ๑๘/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม
๒๕๕๘ เรื่องการแต่งตั้งคณะทํางานจัดทําและดําเนินการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดทําและดําเนินการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กําหนด
๒. นิยามและความหมายเกี่ยวกับการทุจริต
คําว่า “ทุจริต” ปรากฏนิยามและความหมายในกฎหมายหลายฉบับดังนี้
๑) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑) หมายถึง “เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดย
ชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่น”
๒) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.
๒๕๔๒ มาตรา ๔ คําว่า “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายถึง “การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดใน
ตําแหน่ง หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่
ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้
โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น”
๓) ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.
๒๕๕๑ มาตรา ๓ “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่ง
หรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือ
หน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหา
ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทําการอันเป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่
ราชการหรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
๔) ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.
๒๕๕๑ ได้ให้นิยามและความหมายของคําว่า ทุจริตในภาครัฐ และทุจริตต่อหน้าที่ ไว้ในมาตรา ๓ ดังนี้
“ทุจริตในภาครัฐ” หมายความว่า ทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ
“ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่
หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้ง
ที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิ
ควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทําการอันเป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือ
ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น
ดังนั้น “การทุจริตในกระทรวงศึกษาธิการ” จึงหมายถึง การที่ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน
หรือบุคลากร ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดและในกํากับกระทรวงศึกษาธิการ
ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่ง หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทํา
ให้ ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อํานาจในตําแหน่ง
๑๒
หน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น ส่งผลให้เกิดผลร้ายต่อ
ประเทศชาติ และมีผลกระทบต่อการจัดการศึกษา
๓. รูปแบบการทุจริต
การทุจริตในวงราชการมีหลายรูปแบบ ได้แก่
๑) ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง หรือบิดเบือนระเบียบแบบแผน หรือกฎข้อบังคับ
๒) จูงใจ เรียกร้อง บังคับ ข่มขู่ หน่วงเหนี่ยว กลั่นแกล้ง หรือหาประโยชน์ใส่ตน/พวก
๓) การสมยอม รู้เห็นเป็นใจ เพิกเฉย ละเว้นการกระทําในการที่ต้องปฏิบัติ หรือรับผิดชอบตาม
หน้าที่
๔) ยักยอก เบียดบังซึ่งทรัพย์สินของราชการ
๕) ปลอมแปลง/กระทําใด ๆ อันเป็นเท็จ
๖) มีผลประโยชน์ร่วมในกิจการบางประเภทที่สามารถใช้อํานาจหน้าที่ของตนบันดาลประโยชน์
ได้
๔. มูลเหตุการทุจริต
การทุจริตในวงราชการมีมูลเหตุหลายประการ เช่น
๑) เจ้าหน้าที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม
๒) ขาดกลไกในการลงโทษและการบังคับใช้กฎหมาย
๓) ขาดการตรวจสอบ และการควบคุม กํากับ ดูแล
๔) เจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทน/เงินเดือน ไม่พอกับการครองชีพ และมีปัญหาทางเศรษฐกิจ
หรือ อบายมุข
๕) สภาพการทํางานเปิดโอกาส เอื้ออํานวยต่อการกระทําทุจริต กระบวนการปฏิบัติงานมีช่อง
โหว่
๕. ผลกระทบอันเกิดจากการทุจริต
การทุจริตมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และยังส่งผลถึงเสถียรภาพทางการเมืองของ
ประเทศ ๘ ประการ คือ
๑) เกิดความไม่ยุติธรรม
๒) ทําให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพของหน่วย
๓) ประชาชนขาดความไว้วางใจรัฐบาล
๔) เกิดความสูญเปล่าในทรัพยากรของประเทศ
๕) ขาดการจูงใจในการลงทุนจากภาคเอกชนต่างประเทศ
๖) ขาดเสถียรภาพทางการเมือง เนื่องจากปัญหาเงินสินบน
๗) ความไม่ประสิทธิภาพของมาตรการควบคุมการทุจริต และ
๑๓
๘) ข้อจํากัดจากการนํานโยบายไปใช้เนื่องจากการทุจริตของข้าราชการ
ในการขับเคลื่อนกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีกลไกสําคัญประการหนึ่ง คือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตต้องได้รับการพัฒนาให้ไปใน
ทิศทางที่ชัดเจน ต้องมีระบบการประสานงานที่ดี มีการแบ่งโครงสร้างและกําหนดอํานาจหน้าที่ให้
ชัดเจน นอกจากนี้แล้วยังจําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีทุกภาคส่วนเพื่อให้ขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
จากการศึกษาสาระสําคัญของยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าการให้ความร่วมมือดําเนินการตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติกําหนดจะทําให้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นน้อยลงได้ ประชาชนจะได้รับประโยชน์
จากราชการอย่างเต็มที่ สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการสามารถดําเนินการโดยยึดหลักการตามที่
ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกําหนดและพัฒนาให้สอดคล้องกับ
ข้อเท็จจริง วัฒนธรรมและค่านิยมของหน่วยงานได้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์
ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดังกล่าว ประกอบกับสถานการณ์การทุจริตในชาติ
จึงเป็นเหตุให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทําแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตให้
มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสมดังนโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติอย่างสูงสุด
๖. หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
๑) สํานักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
เมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งมีการ
กําหนดองค์กรอิสระขึ้นรวม ๘ องค์กรหนึ่งในจํานวนนั้นได้มีองค์กรหนึ่งที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริต เรียกว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มี
สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นหน่วยธุรการ ที่เป็นอิสระในการ
บริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดําเนินการอื่น ต่อมาในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ (ได้
ประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.
๒๕๔๒ ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๑๑๔ ก วันที่ ๑๗ พ.ย. ๒๕๔๒) เป็นผลให้
สํานักงานป.ป.ป.ได้ถูกยุบเลิกไป และได้มีการจัดตั้งเป็นสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ ที่เรียกโดยย่อว่า "สํานักงาน ป.ป.ช." ขึ้น
การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งยังคงบัญญัติ
ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและให้มี
อํานาจหน้าที่นอกเหนือไปจากที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๔๐ บางประการ ที่สําคัญคือให้มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดํารง
ตําแหน่งทางการเมืองรวมอยู่ด้วย เพื่อให้สอดรับกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ในพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๕๔ ซึ่งได้ประกาศและมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔ จึงได้ปรับปรุงกลไก และ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ
แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ

More Related Content

Viewers also liked

บรรยายวินัยเชิงบวก
บรรยายวินัยเชิงบวกบรรยายวินัยเชิงบวก
บรรยายวินัยเชิงบวกWiwat Ch
 
โครงงานภาษาไทย 1
โครงงานภาษาไทย  1โครงงานภาษาไทย  1
โครงงานภาษาไทย 1knnkung
 
คุณธรรมสำหรับครู
คุณธรรมสำหรับครูคุณธรรมสำหรับครู
คุณธรรมสำหรับครูsuwantan
 
โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์Aphinya Tantikhom
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแวมไพร์ แวมไพร์
 
ติวสอบครูผู้ช่วย (บ้านสอบครู อ.บวร)เอกสารบรรยายวิชาชีพครู (เก่าแล้วใช้ได้บางส...
ติวสอบครูผู้ช่วย (บ้านสอบครู อ.บวร)เอกสารบรรยายวิชาชีพครู (เก่าแล้วใช้ได้บางส...ติวสอบครูผู้ช่วย (บ้านสอบครู อ.บวร)เอกสารบรรยายวิชาชีพครู (เก่าแล้วใช้ได้บางส...
ติวสอบครูผู้ช่วย (บ้านสอบครู อ.บวร)เอกสารบรรยายวิชาชีพครู (เก่าแล้วใช้ได้บางส...สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงานpam123145
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานRawinnipha Joy
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานKanistha Chudchum
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนพัน พัน
 
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติกโครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติกพัน พัน
 
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้thanapisit marakul na ayudhya
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนมโครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนมChok Ke
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทAekapoj Poosathan
 
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดพัน พัน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกพัน พัน
 
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บทตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บทchaipalat
 

Viewers also liked (18)

บรรยายวินัยเชิงบวก
บรรยายวินัยเชิงบวกบรรยายวินัยเชิงบวก
บรรยายวินัยเชิงบวก
 
โครงงานภาษาไทย 1
โครงงานภาษาไทย  1โครงงานภาษาไทย  1
โครงงานภาษาไทย 1
 
คุณธรรมสำหรับครู
คุณธรรมสำหรับครูคุณธรรมสำหรับครู
คุณธรรมสำหรับครู
 
โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
 
ติวสอบครูผู้ช่วย (บ้านสอบครู อ.บวร)เอกสารบรรยายวิชาชีพครู (เก่าแล้วใช้ได้บางส...
ติวสอบครูผู้ช่วย (บ้านสอบครู อ.บวร)เอกสารบรรยายวิชาชีพครู (เก่าแล้วใช้ได้บางส...ติวสอบครูผู้ช่วย (บ้านสอบครู อ.บวร)เอกสารบรรยายวิชาชีพครู (เก่าแล้วใช้ได้บางส...
ติวสอบครูผู้ช่วย (บ้านสอบครู อ.บวร)เอกสารบรรยายวิชาชีพครู (เก่าแล้วใช้ได้บางส...
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงาน
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
 
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติกโครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
โครงงานกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
 
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนมโครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
 
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บทรูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงาน 5 บท
 
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
 
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บทตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
 

Similar to แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ

แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563
แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  ในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  ในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563
แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563โรงเรียนพานพร้าว สพม
 
คู่มือ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
คู่มือ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐคู่มือ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
คู่มือ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐNirut Uthatip
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยTaraya Srivilas
 
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563KppPrimaryEducationa
 
รายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report)โครงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ตามแผนปฏิบัติการ...
รายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report)โครงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ตามแผนปฏิบัติการ...รายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report)โครงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ตามแผนปฏิบัติการ...
รายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report)โครงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ตามแผนปฏิบัติการ...ประพันธ์ เวารัมย์
 
กฏกระทรวงการดูแลนักเรียน
กฏกระทรวงการดูแลนักเรียนกฏกระทรวงการดูแลนักเรียน
กฏกระทรวงการดูแลนักเรียนAlongkorn WP
 
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตWatcharasak Chantong
 
Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017NIMT
 
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือนรายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือนKppPrimaryEducationa
 
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมPoramate Minsiri
 
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตรายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตWatcharasak Chantong
 
เทคนิคการบริหารรา
เทคนิคการบริหารราเทคนิคการบริหารรา
เทคนิคการบริหารราguest4439f1
 
恐怖份子的家園
恐怖份子的家園恐怖份子的家園
恐怖份子的家園honan4108
 
โครงการขับเคลื่อนนโยบายการปฎิรูปการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
โครงการขับเคลื่อนนโยบายการปฎิรูปการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรีโครงการขับเคลื่อนนโยบายการปฎิรูปการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
โครงการขับเคลื่อนนโยบายการปฎิรูปการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรีนิรุทธิ์ อุทาทิพย์
 
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงกองพัน ตะวันแดง
 
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการAffiya Aming
 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๙/๒๕๕๗
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๙/๒๕๕๗คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๙/๒๕๕๗
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๙/๒๕๕๗ประพันธ์ เวารัมย์
 
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทยทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทยเทศบาลเมืองวังสะพุง จังหวัดเลย
 

Similar to แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ (20)

แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563
แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  ในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต  ในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563
แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2563
 
คู่มือ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
คู่มือ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐคู่มือ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
คู่มือ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
 
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
 
รายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report)โครงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ตามแผนปฏิบัติการ...
รายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report)โครงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ตามแผนปฏิบัติการ...รายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report)โครงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ตามแผนปฏิบัติการ...
รายงานฉบับสมบูรณ์(Final Report)โครงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ตามแผนปฏิบัติการ...
 
กฏกระทรวงการดูแลนักเรียน
กฏกระทรวงการดูแลนักเรียนกฏกระทรวงการดูแลนักเรียน
กฏกระทรวงการดูแลนักเรียน
 
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
 
Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017Annual report nimt 2017
Annual report nimt 2017
 
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือนรายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี รอบ 6 เดือน
 
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม
 
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตรายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริต
 
เทคนิคการบริหารรา
เทคนิคการบริหารราเทคนิคการบริหารรา
เทคนิคการบริหารรา
 
恐怖份子的家園
恐怖份子的家園恐怖份子的家園
恐怖份子的家園
 
โครงการขับเคลื่อนนโยบายการปฎิรูปการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
โครงการขับเคลื่อนนโยบายการปฎิรูปการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรีโครงการขับเคลื่อนนโยบายการปฎิรูปการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
โครงการขับเคลื่อนนโยบายการปฎิรูปการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี
 
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
5.2 พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวง
 
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
 
RSU SE CENTER
RSU SE CENTERRSU SE CENTER
RSU SE CENTER
 
Ntu2554
Ntu2554Ntu2554
Ntu2554
 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๙/๒๕๕๗
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๙/๒๕๕๗คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๙/๒๕๕๗
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๙/๒๕๕๗
 
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทยทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
 

More from สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
สรุปสาระสำคัญนโยบายการศึกษารัฐบาล(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)และแนวทางการขับเคล...
สรุปสาระสำคัญนโยบายการศึกษารัฐบาล(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)และแนวทางการขับเคล...สรุปสาระสำคัญนโยบายการศึกษารัฐบาล(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)และแนวทางการขับเคล...
สรุปสาระสำคัญนโยบายการศึกษารัฐบาล(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)และแนวทางการขับเคล...สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 

More from สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ (20)

รวมแนวข้อสอบกรุข้อสอบผู้บริหาร
รวมแนวข้อสอบกรุข้อสอบผู้บริหารรวมแนวข้อสอบกรุข้อสอบผู้บริหาร
รวมแนวข้อสอบกรุข้อสอบผู้บริหาร
 
รวมแนวข้อสอบบริหารเก็งข้อสอบผู้บริหาร
รวมแนวข้อสอบบริหารเก็งข้อสอบผู้บริหารรวมแนวข้อสอบบริหารเก็งข้อสอบผู้บริหาร
รวมแนวข้อสอบบริหารเก็งข้อสอบผู้บริหาร
 
รวมแนวข้อสอบเจาะข้อสอบบริหาร
รวมแนวข้อสอบเจาะข้อสอบบริหารรวมแนวข้อสอบเจาะข้อสอบบริหาร
รวมแนวข้อสอบเจาะข้อสอบบริหาร
 
แนวข้อสอบเจาะข้อสอบผู้บริหาร
แนวข้อสอบเจาะข้อสอบผู้บริหารแนวข้อสอบเจาะข้อสอบผู้บริหาร
แนวข้อสอบเจาะข้อสอบผู้บริหาร
 
แนวข้อสอบเก็งข้อสอบผู้บริหาร
แนวข้อสอบเก็งข้อสอบผู้บริหารแนวข้อสอบเก็งข้อสอบผู้บริหาร
แนวข้อสอบเก็งข้อสอบผู้บริหาร
 
รวมแบบทดสอบกฎหมายสำหรับนักการศึกษา
รวมแบบทดสอบกฎหมายสำหรับนักการศึกษารวมแบบทดสอบกฎหมายสำหรับนักการศึกษา
รวมแบบทดสอบกฎหมายสำหรับนักการศึกษา
 
รวมแนวข้อสอบเตรียมผู้บริหารศึกษานิเทศก์
รวมแนวข้อสอบเตรียมผู้บริหารศึกษานิเทศก์รวมแนวข้อสอบเตรียมผู้บริหารศึกษานิเทศก์
รวมแนวข้อสอบเตรียมผู้บริหารศึกษานิเทศก์
 
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารการศึกษา
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารการศึกษาคู่มือเตรียมสอบผู้บริหารการศึกษา
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารการศึกษา
 
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ก
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค กคู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ก
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา ภาค ก
 
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษาคู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา
คู่มือเตรียมสอบผู้บริหารสถานศึกษา
 
คู่มือเตรียมสอบศึกษานิเทศก์
คู่มือเตรียมสอบศึกษานิเทศก์คู่มือเตรียมสอบศึกษานิเทศก์
คู่มือเตรียมสอบศึกษานิเทศก์
 
รวมแนวข้อสอบครูผู้ช่วยฉบับปรับปรุง
รวมแนวข้อสอบครูผู้ช่วยฉบับปรับปรุงรวมแนวข้อสอบครูผู้ช่วยฉบับปรับปรุง
รวมแนวข้อสอบครูผู้ช่วยฉบับปรับปรุง
 
คู่มือเตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วยฉบับพร้อมสอบ
คู่มือเตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วยฉบับพร้อมสอบคู่มือเตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วยฉบับพร้อมสอบ
คู่มือเตรียมสอบบรรจุครูผู้ช่วยฉบับพร้อมสอบ
 
คู่มือเตรียมสอบพนักงานราชการครูผู้สอน
คู่มือเตรียมสอบพนักงานราชการครูผู้สอนคู่มือเตรียมสอบพนักงานราชการครูผู้สอน
คู่มือเตรียมสอบพนักงานราชการครูผู้สอน
 
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
 
สรุปสาระสำคัญนโยบายการศึกษารัฐบาล(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)และแนวทางการขับเคล...
สรุปสาระสำคัญนโยบายการศึกษารัฐบาล(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)และแนวทางการขับเคล...สรุปสาระสำคัญนโยบายการศึกษารัฐบาล(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)และแนวทางการขับเคล...
สรุปสาระสำคัญนโยบายการศึกษารัฐบาล(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)และแนวทางการขับเคล...
 
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ 2560
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ 2560แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ 2560
แผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการปีงบประมาณ 2560
 
แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการแนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
 
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...
สาระสำคัญปรับโครงสร้าง ระบบและกลไกของหน่วยงานทุกระดับ ตามแผนขั้นตอนการดำเนินง...
 
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
 

แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ

  • 2. ข คํานํา ด้วย สํานักนายกรัฐมนตรีได้มีคําสั่งที่ ๑๙๓/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เรื่อง มอบหมายความรับผิดชอบในการดําเนินการเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูประบบการศึกษา ซึ่งคําสั่ง ดังกล่าวได้กําหนดให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) รับผิดชอบใน การพิจารณาจัดการแก้ไขปัญหาการทุจริตในกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้กําหนดเป้าหมายให้แล้วเสร็จ อย่างน้อยร้อยละ ๕๐ ตามแผนงานภายในสามเดือน และร้อยละ ๗๕ ภายในหกเดือน นับแต่วันที่ คําสั่งมีผลใช้บังคับ เพื่อให้การขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของ กระทรวงศึกษาธิการซึ่งประกอบด้วยหลายส่วนราชการและหน่วยงานในกํากับเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์แห่งคําสั่งดังกล่าวข้างต้น ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคําสั่งที่ สป ๑๑๑๘/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) เป็นประธาน และประธานคณะกรรมการ อํานวยการฯ ได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะทํางานจัดทําและดําเนินการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตกระทรวงศึกษาธิการ ตามคําสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๑๘/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เพื่อให้การดําเนินงานจัดทําและดําเนินการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตกระทรวงศึกษาธิการ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล คณะทํางานฯ จึงได้ จัดทําแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช ๒๕๕๙ ขึ้น โดยให้มีกําหนดระยะเวลาสิ้นสุดในเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ อันเป็น วาระการสิ้นสุดปีงบประมาณพุทธศักราช ๒๕๕๙ ในแผนดังกล่าวประกอบด้วยแนวคิดและหลักการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต กฎหมายที่เกี่ยวข้อง แผนงานโครงการ รายละเอียด การติดตามผล โครงการ ตลอดจนการสรุปผลความก้าวหน้า สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะเพื่อให้การขับเคลื่อนการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นไปอย่างยั่งยืนสืบไป คณะทํางานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนปฏิบัติการฉบับนี้จะสามารถเป็นกลไกสําคัญในการ ขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อเกิด ผลสัมฤทธิ์สมตามเจตนารมณ์ทุกประการ (นายพิษณุ ตุลสุข) ประธานคณะทํางานจัดทําและดําเนินการ แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ
  • 3. ค สารบัญ หน้า คํานํา สารบัญ ส่วนที่ ๑ บทนํา ๑ ๑. ความเป็นมา ๑ ๒. นิยามและความหมายเกี่ยวกับการทุจริต ๑๑ ๓. รูปแบบการทุจริต ๑๒ ๔. มูลเหตุการทุจริต ๑๒ ๕. ผลกระทบอันเกิดจากการทุจริต ๑๒ ๖. หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ๑๓ ๗. หน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ ๒๐ ๘. นโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของกระทรวงศึกษาธิการ ๒๒ ๙. การดําเนินการที่ผ่านมา ๒๕ ๑๐. ตัวอย่างคดีในกระทรวงศึกษาธิการ ๒๘ ส่วนที่ ๒ แนวคิด หลักการ ๒๙ ๑. แนวคิดการป้องกันและปราบปรามทุจริต ๒๙ ๒. แนวคิดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๓๐ ๓. ยุทธศาสตร์ชาติ ๓๒ ๔. แนวคิดหลักการของ ป.ป.ช. ๓๙ ๕. แนวคิดเกี่ยวกับ ปัจจัยที่ทําให้เกิดการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัว ๔๐ กับผลประโยชน์ ส่วนรวมจากการใช้อํานาจในตําแหน่งหน้าที่สาธารณะ (ผลประโยชน์ทับซ้อน) ส่วนที่ ๓ แผนการดําเนินการ ๔๑ กลยุทธ์ที่ ๑ ป้องปรามและป้องกัน ๔๓ กลยุทธ์ที่ ๒ ปราบปราม ๔๖ กลยุทธ์ที่ ๓ พัฒนาระบบการดําเนินการทางวินัยและคดี ๔๘ กลยุทธ์ที่ ๔ สร้างกลไกการบริหารงานบุคคลเพื่อการป้องกัน ๕๐ และปราบปรามการทุจริต กลยุทธ์ที่ ๕ การติดตามประเมินผลการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ๕๓ กิจกรรมของส่วนราชการที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ ๕๔
  • 4. ง ส่วนที่ ๔ การบูรณาการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ๖๕ ของกระทรวงศึกษาธิการ การดําเนินการตามแผนการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริต ๗๙ ของกระทรวงวศึกษาธิการ ข้อเสนอแนะ ๘๒ แบบรายงานผลการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปราม ๘๓ การทุจริตของหน่วยงาน มาตรฐานและระยะเวลาการดําเนินการเรื่องที่กล่าวหาและเรื่องร้องเรียน ๘๔ ภาคผนวก ๘๘
  • 5. ๑ ส่วนที่ ๑ บทนํา ๑. ความเป็นมา “การทุจริต” เป็นภัยร้ายแรงสําคัญที่ทําลายความมั่นคงของชาติ รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะสร้าง มาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และระบบธรรมาภิบาล ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมทั้งพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของ ประชาชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ ตลอดจนสนับสนุนการสร้างค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและ ถูกต้องชอบธรรม จากการที่การทุจริตเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมประเทศไทยมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นเรื่องที่ ยากจะขจัดหรือแก้ไขให้หมดสิ้นไปได้จนในบางครั้งบางเวลาสังคมอาจจะลืมไปว่าเป็นเรื่องที่ผิด แต่ กลับมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของทุกสังคมที่จะมีการทุจริตเกิดขึ้นบ้าง ประเพณีและวัฒนธรรมบาง แห่งได้ก่อให้เกิดทัศนคติ หรือค่านิยมที่เรียกว่า “กินตามน้ํา” จนถึงขนาดที่ว่าการกินตามน้ําไม่ใช่เป็น การกระทําที่ผิดกฎหมายหรือผิดปกติแต่อย่างใด สังคมไทยมีทัศนคติหรือค่านิยมในลักษณะที่เป็น สังคมอุปถัมภ์ ซึ่งจะมีการอนุเคราะห์และช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้อาจเกิดจาก สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมของระบบศักดินา ซึ่งผู้มีอํานาจปกครองหรือพระมหากษัตริย์ในอดีตจะทรง พระราชทานที่ดินให้แก่บรรดาขุนนางข้าราชการที่ปกครองดูแลแทนเบี้ยหวัดเงินเดือนตามตําแหน่งชั้น ยศ ส่วนทรัพย์สินเงินทองนั้น บรรดาขุนนางข้าราชการดังกล่าวก็ได้จากราษฎรที่ร้องขอความช่วยเหลือ เป็นค่าตอบแทน จึงทําให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นระบบอุปถัมภ์ขึ้น ดังนั้นวัฒนธรรมการให้ ทรัพย์สินเงินทองตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของขุนนางข้าราชการจึงยังคงมีอยู่มาจนกระทั่งปัจจุบัน ทัศนคติหรือค่านิยมทางสังคมที่ยอมรับการทุจริตในภาครัฐดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งค่านิยมอื่น เช่น ความคิดที่ว่า การทุจริตเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เรียก ทรัพย์สินในจํานวนที่มากเกินไป หรือรู้จักยกเว้นไม่เรียกร้องเอาจาก “พรรคพวก เพื่อนฝูง” หรือไม่ กระทําการในลักษณะ “รีดไถ” จากบุคคลที่ยากไร้หรือไม่อยู่ในฐานะที่จะจ่ายได้ ความคิดเช่นนี้ทําให้ การทุจริตในหลายลักษณะ กลับถูกมองจากสังคมไทยด้วยทัศนคติเชิงบวก ทรัพย์สินเงินทองที่จ่าย ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเป็นการตอบแทนการประพฤติมิชอบหรือที่ควรจะเรียกว่า “สินบน” แต่ กลับถูกเรียกว่า “สินน้ําใจ” ซึ่งผลที่ตามมาจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างทัศนคติหรือค่านิยม ทางสังคมกับระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในสังคม ทําให้เกิดปัญหาอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการบังคับใช้ กฎหมายที่ถือว่าเป็นมาตรการสูงสุดสําหรับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมทั้ง เป็นปัญหาใหญ่ที่ทําให้การทุจริตคอร์รัปชั่นลุกลามขยายตัวไปยังทุกภาคส่วนของการบริหารงานภาครัฐ เกิดการแสวงหาประโยชน์จากการใช้อํานาจหน้าที่อย่างเป็นระบบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกระดับ
  • 6. ๒ ตลอดจนกระทั่งผู้ที่ดํารงตําแหน่งทางการเมืองได้ใช้อํานาจหรืออิทธิพลของตนแสวงหาประโยชน์ สําหรับตนเองหรือครอบครัวหรือพวกพ้องในรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลายและพลิกแพลงเพื่อไม่ให้ การกระทําดังกล่าวเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมายมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันสังคมไทยได้ถูกจัดว่ามีการทุจริต คอร์รัปชั่นในภาครัฐในระดับที่รุนแรงและเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ จําเป็นต้องได้รับ การแก้ไขเยียวยาด้วยมาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยเร่งด่วนก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ การทุจริตในภาครัฐในสังคมไทย มีมาแต่ครั้งบรรพกาล ในอดีตจะนิยมเรียกว่า “การฉ้อราษฎร์ บังหลวง” ถือเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งตามพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ ความหมายว่า “การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บเงินจากราษฎร์แล้ว ไม่ส่งหลวงหรือเบียดบังเงินหลวง” หรือหมายความว่า “รีดนาทาเร้นประชาชนและเบียดบังทรัพย์ของหลวงเป็นของตน” โดยยังให้ ความหมายของคําว่า “คอร์รัปชั่น” หมายถึง การฉ้อราษฎร์บังหลวง การเบียดบังเอาโดยอํานาจหน้าที่ ราชการ การที่เจ้าพนักงานเรียกและรับสินบนจากราษฎรจัดได้เป็น “ฉ้อราษฎร์” เพราะเป็นการเรียก หรือรับเอาเงินหรืออามิสอย่างอื่นเพื่อปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติราชการ แต่การ “บังหลวง” เป็นการที่เจ้า พนักงานทําทุจริตต่อหน้าที่ เสียหายต่อผลประโยชน์ของแผ่นดิน ทั้งนี้จะเป็นการสมคบกับราษฎรเบียด บังผลประโยชน์นั้นหรือไม่ก็ได้ การฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นเรื่องที่เน้นไปทางด้านความรู้สึกเป็นเรื่องที่ เกี่ยวกับระบบคุณค่า (Value system) ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากต่อการกําหนด การที่จะบอกว่าอะไรคือฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้น ย่อมจะขึ้นอยู่กับจุดอ้างอิง (Reference point) ที่ใช้การที่เอามาตรฐานของสังคมหนึ่งไปวัดพฤติกรรมของอีกสังคมหนึ่งว่าเป็นฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือไม่นั้นต้องทําด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง นอกจากนี้แนวความคิดที่ใช้เกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บัง หลวงนั้นจะใช้แบบสมบูรณนัย (Absolute concept) ไม่ได้เพราะการฉ้อราษฎร์บังหลวงไม่ว่าจะเกิด ในสังคมใดก็ตามย่อมมีพลวัตภาพ (Dynamism) ในตัวเอง นั่นคือ ความหมายของการฉ้อราษฎร์บัง หลวงขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานของสังคมนั้นๆ ซึ่งแตกต่างกันตามเวลาและสถานที่ ปัจจัยทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และสําคัญที่สุดคือวัฒนธรรม เพราะว่า ระเบียบสังคม วัฒนธรรมและค่านิยมในสังคม ของประเทศต่างๆ ผิดกัน พฤติกรรมที่เรียกว่าเป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงมีลักษณะอย่างไรเป็นเรื่องที่ ขึ้นอยู่กับค่านิยมของแต่ละสังคม เพราะในสังคมบางสังคม มีวัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยมที่ไม่ถือ ว่าพฤติกรรมที่สังคมอื่นถือว่าเป็นการคอร์รัปชั่นนั้นเป็นความผิดหากเห็นว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ธรรมดาเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมของประเทศตะวันตกและประเทศที่มิใช่ตะวันตก ตัวอย่างเช่น ในสังคมของประเทศตะวันตกนั้น การให้สินจ้างรางวัลในการปฏิบัติหน้าที่ราชการมีความ ละเอียดอ่อนกว่า กล่าวคือ ถึงแม้ว่าไม่ผิดหน้าที่ราชการ ก็ยังถือว่าเป็นการคอร์รัปชั่น ส่วนสังคมของ ประเทศที่มิใช่ตะวันตก เช่น อินเดีย จีน กลับมองว่าเป็นธรรมเนียมที่จะขาดเสียมิได้ เพราะเป็นการ แสดงน้ําใจหรือไมตรีจิตอย่างหนึ่งในสมัยก่อน เนื่องจากความแตกต่างของระดับการศึกษาของเจ้าพนักงานของรัฐกับประชาชน รวมทั้งความ แตกต่างในชนชั้นระหว่างบุคคลทั้งสองกลุ่ม ทําให้ประชาชนผู้มาติดต่องานราชการไม่ทราบสิทธิของ ตนเองที่พึงจะได้รับจากทางราชการ โดยประชาชนเหล่านั้นกลับคิดว่าตนเป็น “ข้าของแผ่นดิน” ที่
  • 7. ๓ จะต้องเอาอกเอาใจเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งขณะนั้นถืออํานาจของรัฐในการให้หรือไม่ให้บริการก็ได้ ดังนั้นสภาพที่ปรากฏเป็นประจําคือการที่ประชาชนต้องเกรงกลัวและร้องขอกราบกราน ประจบประแจง เพื่อให้เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นเห็นใจและให้บริการตามหน้าที่ของเขา ซึ่งทั้งๆ ที่เจ้า พนักงานผู้นั้นมีหน้าที่เช่นนี้อยู่แล้ว การที่เจ้าหน้าที่มีความคิดว่าตนเป็น “ข้าของแผ่นดิน” จึงเป็น ปัจจัยสําคัญในการเกิดความสําคัญผิดในสถานภาพของเจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้น และสามารถเป็น ปัจจัยให้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงของเจ้าพนักงานของรัฐได้ รัฐได้ให้คํานิยามของคําว่า “การฉ้อ ราษฎร์บังหลวง” ว่าเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการกระทําที่ชั่วช้าและฉ้อโกง โดย เจตนาที่จะหลีกเลี่ยงกฎหมาย รวมทั้งการกระทําที่ขัดต่อตําแหน่งหน้าที่และสิทธิของผู้อื่น และรวมถึง การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งประชาชนไว้วางใจกระทําผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ โดยการรับหรือ ยอมรับประโยชน์สําหรับตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะเห็นว่ารัฐกําหนดพฤติกรรมในความผิดนี้ไว้อย่างชัดเจน แต่ขณะเดียวกันจะเห็นลักษณะปทัสถานของพฤติกรรมนี้ว่ารัฐไม่พึงประสงค์ให้มีการกระทําผิด กฎหมายหรือหลีกเลี่ยงกฎหมายภายใต้เจตนาฉ้อโกง ซึ่งตามความหมายเดิมของคําว่า “ฉ้อราษฎร์บัง หลวง” คือ การฉ้อโกงราษฎร และการฉ้อโกงหลวง อันหมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่กระทําต่อราษฎร์ไม่ว่า เป็นไปตามตําแหน่งหน้าที่หรือไม่ก็ตาม โดยผู้นั้นได้อาศัยอํานาจหน้าที่นั้นเพื่อที่จะฉ้อโกงราษฎรผู้นั้น และผู้นั้นได้ใช้อํานาจหน้าที่ของเขา หรือโอกาสที่เขามีอํานาจหน้าที่นั้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการฉ้อโกง หลวง หรือการกระทําของเจ้าพนักงานของรัฐได้นําเงินผลประโยชน์ของราชการมาเป็นของส่วนตัว ทํา ให้ราชการ (หลวง) เสียประโยชน์ ซึ่งบางกรณีไม่ปรากฏว่ามีราษฎรเข้าเป็นผู้เสียหาย เช่น การเบียดบัง ยักยอกผลประโยชน์ของแผ่นดินมาเป็นของตน หรือหมายความว่า เป็นการรีดนาทาเร้นประชาชน เป็น การเรียกหรือรับเอาเงินอามิสอย่างอื่น การฉ้อราษฎร์บังหลวงนี้ อาจอยู่ในรูปของการช่วยเหลือญาติพี่ น้องเพื่อนฝูงให้ได้รับประโยชน์จากตําแหน่งหน้าที่ราชการของตน โดยผู้กระทําอาจมิได้รับทรัพย์สิน อามิสแต่อย่างได แต่เขาก็ได้รับความสบายใจ ซึ่งอาจเป็นการตอบแทนบุญคุณต่อครอบครัวก็ได้ การ ฉ้อราษฎร์บังหลวงมีหลายประเภท ประเภทแรกเป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงสีขาว เป็นการกระทําโดยอ้างอิงวัฒนธรรมไทยที่ถูก นํามาใช้ในราชการไทยในลักษณะเป็นการแสดงน้ําใจ เช่นการให้ของกํานัลหรือของขวัญโดยเจ้า พนักงานนั้นมิได้เรียกร้อง ซึ่งอาจจะเข้าลักษณะการตอบแทนหรือสมนาคุณ ซึ่งในส่วนนี้กลับมีมติ คณะรัฐมนตรีที่กําหนดว่าของขวัญที่ให้แก่เจ้าพนักงานของรัฐต้องไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท เป็นลักษณะ การรับรองว่าสามารถกระทําได้โดยมิได้ระบุว่า ผู้ใดให้ของขวัญแก่เจ้าพนักงานของรัฐเป็นการกระทําที่ ผิดกฎหมาย (ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๑๐๔ ลงวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๔) ลักษณะเช่นนี้เป็นการกระทําที่ประชาชนยอมรับได้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องไม่สําคัญและดูเหมือนกับจะ สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยที่โอบอ้อมอารีแก่ผู้คนในสังคมเดียวกัน ซึ่งทั้งๆ ที่หากบุคคลนั้นไม่เป็นเจ้า พนักงานของรัฐ ผู้ให้ก็คงจะไม่ให้ เพราะเห็นว่าไม่มีประโยชน์แก่ผู้ให้ซึ่งการให้สิ่งของหรือทรัพย์ ดังกล่าวนี้อาจขยายตัวเป็นการให้บริการแก่เจ้าพนักงานของรัฐ เช่น พาไปรับประทานอาหาร ให้บริการอย่างอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  • 8. ๔ ประเภทที่สอง คือ การฉ้อราษฎร์บังหลวงสีเทา เป็นการกระทําที่สังคมบางส่วนเห็นว่า เป็น การกระทําผิด แต่ประชาชนทั่วไปยังสองจิตสองใจอยู่ กล่าวคือเป็นการใช้อํานาจหน้าที่แสวงหา ประโยชน์ให้แก่ตนและครอบครัวหรือพวกพ้อง แต่เนื่องจากประชาชนที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะสมยอม กับการใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบเหล่านี้ โดยนักวิชาการบางท่านเรียกกิจการเหล่านี้ว่า เป็นการค้า สินค้าทางการเมือง เพราะว่าผู้ให้ทรัพย์สินจะได้รับประโยชน์จากพนักงานของรัฐในรูปของการ ให้บริการตามหน้าที่หรือการพิจารณาอนุญาต อนุมัติเป็นกรณีพิเศษ เช่น การพิจารณากําหนดพิกัด สินค้าขาเข้าหรือขาออกของกรมศุลกากร ในกรณีที่สินค้าชนิดนั้นๆ ไม่ปรากฏในพิกัดอย่างชัดแจ้ง การ พิจารณาตรวจรับพัสดุหรือการก่อสร้างของหน่วยราชการ การพิจารณาคําร้องต่างๆ ของพนักงานของ รัฐ และการให้ทรัพย์สิน เงิน การให้บริการนี้อาจอยู่ในรูปของการให้ค่าน้ําร้อนน้ําชา การให้ค่า นายหน้าหรือค่าคอมมิชชั่น การให้เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยากแก่การเอาโทษกับผู้กระทําผิด และทําให้ดูเหมือน ประชาชนยอมรับสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นการใช้อํานาจหน้าที่เพื่อเรียกร้องผลประโยชน์หรือหาประโยชน์ใส่ ตนโดยไม่มีหลักฐาน ซึ่งบางลักษณะประชาชนทั่วไปกลับเห็นว่าเป็นโอกาสที่เจ้าพนักงานของรัฐนั้นควร จะต้องได้รับผลประโยชน์และเป็นเรื่องปกติ ประเภทสุดท้าย เป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงสีดํา ซึ่งเป็นการกระทําที่ทุกฝ่ายในสังคมเห็นว่า เป็นการกระทําผิดและสมควรได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการใช้อํานาจหน้าที่หรือตําแหน่ง หรือหา ประโยชน์ให้แก่ตนและครอบครัวหรือพวกพ้อง โดยไม่คํานึงถึงกฎหมาย ซึ่งเป็นการกระทําที่ขัดต่อ ตําแหน่งหน้าที่ของตน เช่น การเรียกรับทรัพย์สิน หรือ เงิน จากประชาชนทั่วไปที่เขาไม่ประสงค์จะให้ ซึ่งในส่วนนี้จะต่างไปจากประเภทที่สอง เป็นการใช้อํานาจหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นทางการเมืองหรือทางการ ปกครองเรียกทรัพย์สินโดยอาศัยอํานาจจากตําแหน่งของตน เช่นเรียกรับเงินจากผู้เข้าสอบบรรจุเป็น พนักงานของรัฐ, เรียกเงินจากข้าราชการเพื่อย้ายไปรับราชการอีกที่หนึ่ง, หรือไม่มีการเรียกรับ ทรัพย์สิน แต่เป็นการเลือกปฏิบัติ เช่น เลือกรับแต่ญาติของตนเป็นพนักงานของรัฐในการสอบคัดเลือก เป็นพนักงานขององค์การบริหารส่วนตําบล หรือเป็นการใช้โอกาสที่ตนเป็นพนักงานของรัฐเพื่อฉวย โอกาสในทางเศรษฐกิจ เช่น เป็นเจ้าหน้าที่ที่สํานักผังเมืองเลือกซื้อที่ดินที่ตนทราบว่าจะมีถนนตัดผ่าน ในแผนของสํานักผังเมือง เป็นต้น นอกจากลักษณะการฉ้อราษฎร์บังหลวงข้างต้นแล้ว ยังมีอีกระบบหนึ่งซึ่งประเทศที่อยู่ในกลุ่ม เอเชียยังยอมรับกันอยู่มาก คือระบบอุปถัมภ์ (Patronage system) ซึ่งเป็นระบบการช่วยเหลือพวก พ้อง ที่ตรงข้ามกับระบบคุณธรรม (Merit system) ที่ยึดเอาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเป็น สําคัญ ซึ่งสังคมไทยมีรูปแบบดังกล่าวจํานวน ๔ รูปแบบคือ ระบบอุปถัมภ์ที่อยู่ในหมู่ญาติ ระบบ อุปถัมภ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมิตรสหาย ระบบอุปถัมภ์ที่เกิดขึ้นในองค์กรต่าง ๆ ระบบ อุปถัมภ์ระหว่าง อาชีพ ซึ่งระบบอุปถัมภ์ที่อยู่ในหมู่ญาตินี้ เป็นวัฒนธรรมที่สําคัญในสังคมไทย และ เป็นระบบเก่าแก่ ที่สุดในสังคมไทย ระบบดังกล่าวทําให้พนักงานของรัฐกระทําการในการให้บริการประชาชนในลักษณะ การเลือกการปฏิบัติได้ง่ายที่สุด ดังนั้นถึงแม้พนักงานของรัฐนั้นจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงทรัพย์สินก็ตาม แต่ก็ถือเป็นการ “ฉ้อราษฎร์”ได้เช่นกัน ในสังคมไทยมีวัฒนธรรมในการยกย่องบุคคลในสังคม ซึ่งแต่
  • 9. ๕ เดิมสังคมไทยยกย่องบุคคลที่มีความดี ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ มีความรักชาติรักแผ่นดิน แต่ต่อมา ระบบทุนนิยมเข้ามาในสังคมไทย วัฒนธรรมในการยกย่องบุคคลในสังคมเปลี่ยนแปลงไป สังคมใน สายตาของระบบทุนนิยมซึ่งนิยมวัตถุมากขึ้น ได้ยอมรับบุคคลที่มีเงินและอํานาจโดยไม่เกี่ยงว่าบุคคล นั้นจะได้ทรัพย์เหล่านี้มาจากที่ใด และนิยมชมชอบบุคคลผู้มีวาสนาซึ่งผู้นั้นจะสามารถเข้าพึ่งพิงและขอ ความช่วยเหลือบางอย่างจากผู้มีวาสนาได้ ย่อมทําให้ระบบอุปถัมภ์ขยายตัวมากขึ้น ทั้งวัฒนธรรมไทย รวมทั้งวัฒนธรรมของประเทศทางตะวันออกยังส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์อย่างแน่นเหนียวในระบบ ครอบครัว ญาติพี่น้อง ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบความสําคัญระหว่างญาติพี่น้องหรือพรรคพวกกับ ประเทศชาติหรือรัฐ ชาวไทยส่วนใหญ่จะเลือกเอาญาติพี่น้องหรือพรรคพวกมากกว่าประเทศชาติ หรือ รัฐ ในกรณีนี้หากเจ้าพนักงานของรัฐได้ฉ้อราษฎร์บังหลวงเพื่อญาติพี่น้องหรือพรรคพวกของตน หรือ เจ้าพนักงานผู้นั้นเลือกที่จะต้องเข้าไปในอยู่ระบบอุปถัมภ์กับผู้มีวาสนาบางราย แม้ผู้มีวาสนานั้นอาจ กระทําการฉ้อราษฎร์บังหลวงบ้างก็ตาม สังคมไทยยังสามารถรับพฤติกรรมเหล่านี้ได้ โดยเห็นว่าเป็น เรื่องธรรมดาที่เป็นไปตามวัฒนธรรมไทย ใน พ.ศ. ๒๕๔๖ Transparency international ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในต่างประเทศได้ จัดลําดับประเทศทั้งหมดจํานวน ๑๓๓ ประเทศ โดยใช้ Corruption perceptions index เป็น เครื่องมือวัดค่าบอกลําดับของประเทศในด้านการฉ้อราษฎรบังหลวงโดยอิงมุมมองของเจ้าหน้าที่ของ ภาครัฐ นักธุรกิจ ประชาชน ในประเทศต่างๆ ปรากฏว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ ๗๐ ของโลก และ Transparency Thailand (องค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย) ได้เปิดเผยผลการจัดอันดับดัชนีชี้ วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ปรากฏว่า ประเทศไทยได้ ๓.๕ คะแนน จากคะแนน เต็ม ๑๐ คะแนน และอยู่ใน อันดับ ๘๐ จาก ๑๘๐ ประเทศ และอยู่ในอันดับ ๑๐ จาก ๒๑ ประเทศใน ภูมิภาคเอเชียและเพิร์ค (Political and economic risk consultancy Ltd.) บริษัทที่ปรึกษาความ เสี่ยงทางการเมืองและเศรษฐกิจ ได้สํารวจถึงความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของ ๑๒ ประเทศและเขตเศรษฐกิจพิเศษในเอเชียใน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปรากฏว่า ไทยอยู่ในลําดับที่ ๙ และนับแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๕๑ ประเทศไทยได้คะแนนสูงสุดเพียง ๓.๘ จากคะแนน เต็ม ๑๐ คะแนน โดยในปี ๒๕๕๑ ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นสูงที่สุดเป็น อันดับ ๒ จากตัวอย่าง ๑๓ ประเทศในเอเชีย โดยระบุว่าประเทศไทยในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๕๑ การคอร์รัปชั่นมีแนวโน้มที่ เลวลงกว่าเดิม ช่วงที่แย่ที่สุดอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๓ -๒๕๔๖ ที่คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ ๘.๒, ๘.๕๕, ๘.๘๙ และ ๘,๗๕ ตามลําดับ (เป็นเกรดที่ดีที่สุดและ ๑๐ เป็นเกรดที่แย่ที่สุด) ดร.นภดล กรรณิกา ผู้อํานวยการสํานักวิจัยเอแบคโพล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ทําการสํารวจ เสียงสะท้อนของ สาธารณชน ทําไมคนไทยเอนเอียงยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่น กรณีศึกษา ประชาชนที่มีอายุ ๑๘ ปี ขึ้นไป ใน ๑๗ จังหวัดของประเทศ (กรุงเทพฯ, ตาก,กําแพงเพชร, เพชรบูรณ์, เชียงใหม่, ประจวบคีรีขันธ์, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี,ชลบุรี, เลย,กาฬสินธุ์, สุรินทร์, บุรีรัมย์, อุดรธานี, ขอนแก่น , สตูลและสงขลา ) รวม ๑,๕๘๒ ครัวเรือน ดําเนินการสํารวจในวันที่ ๑-๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ พบว่า คนไทยจํานวนถึงร้อยละ ๕๖.๔ ยอมรับในเรื่องการเลี้ยงดูคณะกรรมการจัดซื้อ จัดจ้าง ของหน่วยราชการโดยกลุ่มประชาชนจํานวนมากที่ยอมรับได้นี้เป็นประชาชนที่มีอายุต่ํากว่า ๒๐ ปีใน
  • 10. ๖ อัตราส่วนร้อยละ ๖๑.๗ และเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษาในอัตราส่วนถึงร้อยละ ๖๖.๑ และเป็น กลุ่มที่ มีความรู้ต่ํากว่าปริญญาตรีในอัตราส่วนร้อยละ ๕๗.๘ และเป็นกลุ่มที่มีรายได้ต่ํากว่า ๕,๐๐๐ บาท ต่อ เดือนในอัตราส่วนร้อยละ ๖๑.๗ และจากผลการสํารวจในชุดเดียวกันนี้เองทําให้ทราบว่า ประชาชนใน อัตราส่วนร้อยละ ๖๑ ที่เห็นว่าการติดสินบนทําให้ได้รับความสะดวกสบายที่แตกต่างกัน และเห็นว่า คอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในกลุ่มข้าราชการชั้นสูงในอัตราส่วนร้อยละ ๖๗.๕ และ เห็นว่าคอร์รัปชั่น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในหมู่ข้าราชการชั้นผู้น้อยในอัตราส่วนร้อยละ ๕๓ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลที่เคย สํารวจไว้ใน พ.ศ. ๒๕๔๘ กลับเห็นว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างนี้ต้องการแจ้งความเอาผิดกับนักการเมือง ที่ทุจริตคอร์รัปชั่น,รัฐมนตรีที่ทุจริตคอร์รัปชั่น ,แกนนําในชุมชนที่ทุจริต คอร์รัปชั่น ,เพื่อนบ้านที่ทุจริต คอร์รัปชั่น มีอัตราส่วนลดลงกว่าผลการสํารวจในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ประมาณร้อยละ ๑๕ แต่ความ ต้องการที่ดําเนินคดีกับคนที่มีบุญคุณช่วยเหลือกันมาที่ทุจริตคอร์รัปชั่น มีอัตราส่วนคงเดิมที่อัตราร้อย ละ ๓๖.๙ โดยมีการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนในการสํารวจจากเรื่องความ ต้องการเอาผิดกับญาติสนิทใน บ้านเดียวกันที่ทุจริตคอร์รัปชั่น และคนในครอบครัวที่ทุจริต คอร์รัปชั่น ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ ร้อยละ ๑ ถึงร้อยละ ๑๔ เท่านั้น และใน พ.ศ.๒๕๕๑ ดร. นภดล กรรณิกา ได้ทําการสํารวจเรื่อง ทัศนคติของประชาชนต่อรัฐบาลที่ทุจริตคอร์รัปชั่น กรณีศึกษา ประชาชนอายุ ๑๘ ปีขึ้นไป ๑๘ จังหวัด ของประเทศ (กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ, พระนครศรีอยุธยา, ระยอง, ปราจีนบุรี, นครราชสีมา , สุรินทร์ขอนแก่น ,อุดรธานี, หนองคาย, สกลนคร, เชียงใหม่ , อุตรดิตถ์,กําแพงเพชร , เพชรบูรณ์, สุพรรณบุรี,กระบี่, สุราษฎร์ธานี) จํานวนตัวอย่าง ๓,๘๘๐ ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ ซึ่งผลการสํารวจปรากฏว่า ประชาชนในอัตรา ร้อยละ ๖๓.๒ เห็นว่ารัฐบาลทุจริต คอร์รัปชั่นได้ทั้งนั้น แต่ถ้าคอร์รัปชั่นแล้วทําให้ประเทศชาติ รุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี ก็เป็นเรื่องที่ ยอมรับได้ ซึ่งประชาชนที่มีความเห็นเช่นนี้เป็นประชาชนที่มีอายุระหว่าง ๔๐ ถึง ๔๙ ปีในอัตราส่วน ๖๗.๗ และเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีถึงร้อยละ ๕๒.๒ ในขณะที่ผู้ที่เห็นด้วยเช่นกันที่มี ความรู้ต่ํากว่าปริญญาตรีมีอัตราร้อยละ ๖๔.๓ และจํานวน ประชากรนี้มีอาชีพเป็นข้าราชการถึงร้อย ละ ๖๐.๘ และผู้ที่เห็นด้วยเช่นนั้นเป็นประชากรที่มีรายได้ระหว่าง ๑๐.๐๐๑ ถึง ๑๕,๐๐๐ บาทถึงร้อย ละ ๖๕.๒ ดังนั้นจากผลการสํารวจทําให้เห็นว่าประชาชนในประเทศยังไม่เห็นความแตกต่างระหว่าง การฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือคอร์รัปชั่นในวงราชการกับการปฏิบัติหน้าที่ตามหน้าที่ในกฎหมาย โดยพวก เขากลับเห็นว่ารัฐจะดําเนินการอย่างไรก็ได้ เพียงแต่ให้พวกเขามีชีวิตที่อยู่ดีกินดีเท่านั้นซึ่งทําให้เห็น โครงสร้างการปกครองของไทยว่าเป็นการปกครองในลักษณะที่มีส่วนร่วมของประชาชนอยู่น้อย ประชาชนส่วนใหญ่กลับเห็นว่ารัฐเป็นผู้ชี้ทางในการดําเนินการกิจกรรมของชีวิต ซึ่งลักษณะเช่นนี้ย่อม ก่อให้เกิดพฤติกรรมการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้ง่าย จนถึงปัจจุบัน จากข้อมูลของมูลนิธิองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย (Transparency Thailand) เปิดเผยผลการจัดอันดับในการจัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ประจําปี ๒๕๕๗ ประเทศไทยได้คะแนน ๓๘ คะแนนจากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน อยู่อันดับที่ ๘๕ จากการจัดอันดับ ทั้งหมด ๑๗๕ ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ ๑๒ จาก ๒๘ ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  • 11.
  • 12. ๘ จากผลลัพธ์ดังกล่าว หลายภาคส่วนได้พยายามมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและเห็นผลของ การแก้ปัญหาบางด้าน เช่น การปลูกฝังความดีให้เด็ก ๆ ในการเรียนการสอนหลักสูตร “โตไปไม่โกง” และการดําเนิน “โรงเรียนคุณธรรม” รวมถึงการตื่นตัวของภาคธุรกิจในการต่อต้านการทุจริต อีกทั้งคน ไทยจํานวนมากได้แสดงความรู้สึกไม่พอใจต่อการทุจริตคอร์รัปชัน และแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนไม่ ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชัน การที่คนในสังคมตื่นตัวต่อปัญหาร่วมกันเช่นนี้เป็นสัญญาณที่ดีว่าประเทศ ไทยได้นําพลังร่วมของคนในสังคมมาผลักดันการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันให้เป็นวาระแห่งชาติที่ แท้จริง ทั้งนี้ รวมถึงการไม่ยอมรับการโกงทุกรูปแบบและไม่ให้คนโกงมีที่ยืนในสังคม และมีการ กลั่นกรองและตรวจสอบผู้บริหารประเทศให้ทํางานด้วยความรับผิดชอบและโปร่งใส นึกถึง ผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
  • 13. ๙ รัฐบาลได้ตระหนักในสถานการณ์การทุจริตทั้งในภาครัฐและในระดับชาติ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศนโยบายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ปรากฏในด้าน การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในภาครัฐ : ข้อ ๑๐.๕ ใช้มาตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมและจิตสํานึกในการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับ การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างเคร่งครัด ยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ไม่ จําเป็น สร้างภาระแก่ประชาชนเกินควร หรือเปิดช่องโอกาสการทุจริต เช่น ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง การอนุญาต อนุมัติ และการขอรับบริการจากรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนยืดยาวใช้เวลานาน ซ้ําซ้อนและเสีย ค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและประชาชน ประกอบกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต ระยะที่ ๒ (๒๕๕๖ – ๒๕๖๐) ซึ่งเป็นกรอบทิศทางการดําเนินการของทุกภาคส่วนในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต และนโยบายปราบปรามการทุจริตของรัฐบาล ที่มุ่งส่งเสริมปลูก จิตสํานึกให้สังคมไทยมีวินัย และยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่กับการพัฒนาเครือข่ายป้องกัน และปราบปรามการทุจริตอย่างบูรณาการโดยให้ประชาชนมีบทบาทสําคัญในกระบวนการดําเนินงาน อย่างมีส่วนร่วม โปร่งใส เสมอภาคและเป็นธรรม สร้างระบบและกลไกที่มีอิสระอย่างแท้จริงในการ ตรวจสอบ ควบคุม กระจาย ถ่วงดุลอํานาจ ควบคู่กับการพัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบ ตลอดจน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระบบข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตอย่างมีจรรยาบรรณและต่อเนื่อง โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีสาระสําคัญ ดังนี้ ๑. ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกําหนดมาตรการ แนวทางในการป้องกันและ แก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ มุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง สกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริต ดูแลการจัดซื้อจัด จ้างให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด ๒. ปรับปรุงระบบราชการให้ทันสมัยมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ประชาชนสามารถเข้าถึง บริการสาธารณะได้โดยรวดเร็ว ประหยัด สะดวก และการให้บริการเชิงรุก ปลูกฝังค่านิยมคุณธรรม จริยธรรมจิตสํานึกความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต ปรับปรุงระเบียบกฎหมายให้ครอบคลุม การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและการมีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยถือว่าเป็นวาระสําคัญเร่งด่วน ของชาติที่จะต้องแทรกอยู่ในการปฏิรูปทุกด้าน ๓. ยุทธศาสตร์ต้องสอดคล้องกับแนวทางกับแนวทางในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและ ต้องสามารถนําไปสู่การแก้ปัญหาที่นํามาสู่การทุจริตในประเทศไทย ๔. เน้นการบูรณาการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงเครือข่ายภาค ประชาสังคม ๕. ยุทธศาสตร์ฉบับนี้จะต้องมีส่วนในการสร้างค่านิยมวัฒนธรรมสุจริตให้มีความต่อเนื่อง และยั่งยืน ส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักต่อวัฒนธรรมซื่อสัตย์สุจริต
  • 14. ๑๐ กอปรกับประเทศไทยได้ให้สัตยาบันร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้าน การทุจริต ค.ศ. ๒๐๐๓ (United Nations Convention against Corruption : UNCAC) เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ อันก่อให้เกิดหน้าที่ในการปฏิบัติตาม พันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดําเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ภายในของประเทศไทยเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญา ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล อีกทั้งในขณะนี้ประเทศ ไทยอยู่ระหว่างการเป็นผู้ถูกประเมินและติดตามผลการปฏิบัติตามอนุสัญญา การที่ประเทศไทยยังไม่มี กฎหมายเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศ ไทยในเรื่องความพยายามและความจริงจังในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายใน เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรฐานสากล นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตรวมถึงการแก้ไขปัญหาการทุจริตภายในประเทศ จึงมีความ จําเป็นต้องแก้ไขกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าว โดยเฉพาะในเรื่องการกําหนด ความผิดการให้หรือรับสินบนที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่าง ประเทศ การกําหนดอายุความในกรณีหลบหนีและอายุความล่วงเลยการลงโทษการกําหนดการริบ ทรัพย์สินในคดีทุจริตให้เป็นไปตามหลักการริบทรัพย์ตามมูลค่า อีกทั้งยังเป็นการสอดคล้องกับ เจตนารมณ์ของการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ในการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามการทุจริตมีกลไกในการขจัดการทุจริต และประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเนื่องจากการปรับปรุง แก้ไขกฎหมายเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าวถือเป็นอาชญากรรมที่มีลักษณะพิเศษ จึง ควรบัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นการ เฉพาะ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระและความเชี่ยวชาญของหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทํางาน และเป็นหลักประกันมิให้เกิดการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของ บุคคลมากเกินความจําเป็น นอกจากนี้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบความ ถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินให้ถูกต้อง จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการทุจริตในกระทรวงศึกษาธิการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์และ นโยบายของรัฐบาล นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) จึงได้มีคําสั่ง ที่ ๑๙๓/๒๕๕๘ ลง วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เรื่องการมอบหมายความรับผิดชอบในการดําเนินการเพื่อประโยชน์ใน การปฏิรูประบบการศึกษา โดยมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับ มอบหมาย (พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) รับผิดชอบในการพิจารณาจัดการแก้ไขปัญหาการทุจริตใน กระทรวงศึกษาธิการ และการลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา ต่อมารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคําสั่ง ที่ สป.๑๑๑๘/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เรื่องแต่งตั้ง คณะกรรมการอํานวยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถ ดําเนินงานจัดทําและดําเนินการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  • 15. ๑๑ กระทรวงศึกษาธิการ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพตามนโยบายของรัฐบาล รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ (พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) จึงได้มีคําสั่งที่ สร ๑๘/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เรื่องการแต่งตั้งคณะทํางานจัดทําและดําเนินการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดทําและดําเนินการแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ ให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กําหนด ๒. นิยามและความหมายเกี่ยวกับการทุจริต คําว่า “ทุจริต” ปรากฏนิยามและความหมายในกฎหมายหลายฉบับดังนี้ ๑) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑) หมายถึง “เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดย ชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองหรือผู้อื่น” ๒) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔ คําว่า “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายถึง “การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดใน ตําแหน่ง หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น” ๓) ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓ “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่ง หรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือ หน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหา ประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทําการอันเป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ ราชการหรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ๔) ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้นิยามและความหมายของคําว่า ทุจริตในภาครัฐ และทุจริตต่อหน้าที่ ไว้ในมาตรา ๓ ดังนี้ “ทุจริตในภาครัฐ” หมายความว่า ทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ “ทุจริตต่อหน้าที่” หมายความว่า ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทําให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้ง ที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อํานาจในตําแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิ ควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทําการอันเป็นความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือ ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น ดังนั้น “การทุจริตในกระทรวงศึกษาธิการ” จึงหมายถึง การที่ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน หรือบุคลากร ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดและในกํากับกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตําแหน่ง หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทํา ให้ ผู้อื่นเชื่อว่ามีตําแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตําแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อํานาจในตําแหน่ง
  • 16. ๑๒ หน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น ส่งผลให้เกิดผลร้ายต่อ ประเทศชาติ และมีผลกระทบต่อการจัดการศึกษา ๓. รูปแบบการทุจริต การทุจริตในวงราชการมีหลายรูปแบบ ได้แก่ ๑) ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง หรือบิดเบือนระเบียบแบบแผน หรือกฎข้อบังคับ ๒) จูงใจ เรียกร้อง บังคับ ข่มขู่ หน่วงเหนี่ยว กลั่นแกล้ง หรือหาประโยชน์ใส่ตน/พวก ๓) การสมยอม รู้เห็นเป็นใจ เพิกเฉย ละเว้นการกระทําในการที่ต้องปฏิบัติ หรือรับผิดชอบตาม หน้าที่ ๔) ยักยอก เบียดบังซึ่งทรัพย์สินของราชการ ๕) ปลอมแปลง/กระทําใด ๆ อันเป็นเท็จ ๖) มีผลประโยชน์ร่วมในกิจการบางประเภทที่สามารถใช้อํานาจหน้าที่ของตนบันดาลประโยชน์ ได้ ๔. มูลเหตุการทุจริต การทุจริตในวงราชการมีมูลเหตุหลายประการ เช่น ๑) เจ้าหน้าที่ขาดคุณธรรมและจริยธรรม ๒) ขาดกลไกในการลงโทษและการบังคับใช้กฎหมาย ๓) ขาดการตรวจสอบ และการควบคุม กํากับ ดูแล ๔) เจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทน/เงินเดือน ไม่พอกับการครองชีพ และมีปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือ อบายมุข ๕) สภาพการทํางานเปิดโอกาส เอื้ออํานวยต่อการกระทําทุจริต กระบวนการปฏิบัติงานมีช่อง โหว่ ๕. ผลกระทบอันเกิดจากการทุจริต การทุจริตมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และยังส่งผลถึงเสถียรภาพทางการเมืองของ ประเทศ ๘ ประการ คือ ๑) เกิดความไม่ยุติธรรม ๒) ทําให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพของหน่วย ๓) ประชาชนขาดความไว้วางใจรัฐบาล ๔) เกิดความสูญเปล่าในทรัพยากรของประเทศ ๕) ขาดการจูงใจในการลงทุนจากภาคเอกชนต่างประเทศ ๖) ขาดเสถียรภาพทางการเมือง เนื่องจากปัญหาเงินสินบน ๗) ความไม่ประสิทธิภาพของมาตรการควบคุมการทุจริต และ
  • 17. ๑๓ ๘) ข้อจํากัดจากการนํานโยบายไปใช้เนื่องจากการทุจริตของข้าราชการ ในการขับเคลื่อนกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีกลไกสําคัญประการหนึ่ง คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตต้องได้รับการพัฒนาให้ไปใน ทิศทางที่ชัดเจน ต้องมีระบบการประสานงานที่ดี มีการแบ่งโครงสร้างและกําหนดอํานาจหน้าที่ให้ ชัดเจน นอกจากนี้แล้วยังจําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีทุกภาคส่วนเพื่อให้ขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จากการศึกษาสาระสําคัญของยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าการให้ความร่วมมือดําเนินการตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติกําหนดจะทําให้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นน้อยลงได้ ประชาชนจะได้รับประโยชน์ จากราชการอย่างเต็มที่ สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการสามารถดําเนินการโดยยึดหลักการตามที่ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตกําหนดและพัฒนาให้สอดคล้องกับ ข้อเท็จจริง วัฒนธรรมและค่านิยมของหน่วยงานได้ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดังกล่าว ประกอบกับสถานการณ์การทุจริตในชาติ จึงเป็นเหตุให้กระทรวงศึกษาธิการจัดทําแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามทุจริตให้ มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสมดังนโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติอย่างสูงสุด ๖. หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ๑) สํานักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เมื่อได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ ซึ่งมีการ กําหนดองค์กรอิสระขึ้นรวม ๘ องค์กรหนึ่งในจํานวนนั้นได้มีองค์กรหนึ่งที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริต เรียกว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มี สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นหน่วยธุรการ ที่เป็นอิสระในการ บริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดําเนินการอื่น ต่อมาในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ (ได้ ประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๑๑๔ ก วันที่ ๑๗ พ.ย. ๒๕๔๒) เป็นผลให้ สํานักงานป.ป.ป.ได้ถูกยุบเลิกไป และได้มีการจัดตั้งเป็นสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ ที่เรียกโดยย่อว่า "สํานักงาน ป.ป.ช." ขึ้น การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งยังคงบัญญัติ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและให้มี อํานาจหน้าที่นอกเหนือไปจากที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ บางประการ ที่สําคัญคือให้มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดํารง ตําแหน่งทางการเมืองรวมอยู่ด้วย เพื่อให้สอดรับกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ในพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งได้ประกาศและมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔ จึงได้ปรับปรุงกลไก และ