SlideShare a Scribd company logo
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เป็นหน่วยงานหนึ่งในเครือข่ายองค์กรบริหารการวิจัยแห่งชาติ(คอบช.) ซึ่งมีหน้าที่ในการ
บริหารจัดการทุนวิจัยด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของการพัฒนางานวิจัยเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนนโยบาย
ในการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศในประเด็นต่างๆ อาทิ การรองรับการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน
การค้นหา/พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวใหม่ๆ เป็นต้น และไกลไปกว่านั้น สกว. ได้มองเห็นถึงความจ�ำเป็นในการน�ำข้อค้นพบ/
ผลจากการวิจัยไปเชื่อมต่อกับภาคนโยบาย พร้อมๆ ไปกับการใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ในขณะนี้มีชุดโครงการวิจัยหลายชุดที่ได้
ด�ำเนินการไปแล้ว และบางชุดมีผลการศึกษา/ข้อค้นพบที่ค่อนข้างสมบูรณ์ หรือสามารถน�ำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้
โดยใน TAT Tourism Journal ฉบับไตรมาส 4/2557 จะหยิบยกผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่น ได้แก่ การยกระดับความปลอดภัยในการ
ท่องเที่ยวของชาวต่างชาติตามมาตรฐานสากล ดังนี้
องค์กร Make Road Safe ได้ศึกษาการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยว
อเมริกันในต่างประเทศจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่าการเสียชีวิต
ดังกล่าวในประเทศไทยมากเป็นอันดับสอง จึงมีความจ�ำเป็น
อย่างมากที่จะต้องเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว
เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตการวิจัยครอบคลุมเรื่อง (1) การพัฒนาแผนที่ที่ระบุ
จุดอันตรายเพื่อการท่องเที่ยวทางถนนที่ปลอดภัย (2) การยกระดับ
ความปลอดภัยในการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติตามมาตรฐาน
สากลด้วยการศึกษาด้านพฤติกรรมและความพึงพอใจ (3) การ
ศึกษาระบบที่เอื้อต่อความปลอดภัยเพื่อการท่องเที่ยวทางถนน
อย่างยั่งยืน และ (4) การศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการช่วยเหลือ
และดูแลรักษานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลังประสบอุบัติเหตุ
ผลผลิตของการวิจัยได้จัดท�ำแผนที่ความเสี่ยงทางถนนของ
ประเทศ ซึ่งสามารถบ่งบอกจุดเสี่ยงและจัดล�ำดับความเสี่ยงในแต่ละ
จุดได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมีความส�ำคัญอย่างมากในการก�ำหนด
แนวทางในการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม
สิ่งที่เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากคือ ปัจจัยในด้านของตัวนักท่องเที่ยว
เอง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อม/ศึกษาข้อมูลก่อนการ
ท่องเที่ยว และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวซึ่งอาจถูกก�ำหนด
โดยมาตรฐานการเคารพกฎหมายในประเทศของนักท่องเที่ยว
ปัญหาที่ค้นพบจากการวิจัย พบว่า ยังมีปัญหาอยู่ในหลาย ๆ ด้าน
โดย 1) ด้านการขนส่ง พบว่า ผู้ให้บริการด้านการขนส่งขาดทักษะ
ทางภาษาที่จะสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยานพาหนะ
ยังไม่เพียงพอ ปัญหาความช�ำรุดทรุดโทรมของถนนหนทาง ฯลฯ
2) ด้านการจัดการ พบว่า ขาดระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเกิด
อุบัติเหตุของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ดีพอ มีอุปสรรคด้านการ
สื่อสารของบุคลากรในการเยียวยารักษานักท่องเที่ยว ขาดแคลน
บุคลากร เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาลนักท่องเที่ยว
3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวไม่สามารถสื่อสาร
และเข้าใจกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ท�ำให้ไม่ทราบสิทธิและ
หน้าที่ของตนในเรื่องการฟ้องร้องและการเอาประกันภัย นอกจากนี้
กระบวนการทางกฎหมายหลังจากเกิดอุบัติเหตุยังมีความล่าช้า
และไม่ต่อเนื่อง
บรรณาธิการ
ยุวดี นิรัตน์ตระกูล	 ผู้อำ�นวยการกองวิจัยการตลาด
กองบรรณาธิการ
วไลลักษณ์ น้อยพยัคฆ์ 	 ผู้อำ�นวยการกองติดตามและประเมินผล
ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์	 ผู้อำ�นวยการกองสารสนเทศการตลาด
จรัญ ชื่นในธรรม	 ผู้อำ�นวยการกลุ่มฐานข้อมูลการตลาด
บุษกร พรหมมาโนช	 ผู้อำ�นวยการกองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว
พิชยา สายแสงจันทร์	 ผู้อำ�นวยการกองประชาสัมพันธ์ในประเทศ
ปรัชญากรณ์ ไชยคช	 หัวหน้างานวิชาการ
ณัฎฐิรา อำ�พลพรรณ	 พนักงานวางแผน
สุจิตรา แย้มงามเหลือ	 พนักงานบันทึกข้อมูล
เจ้าของ
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
คณะที่ปรึกษา
ธวัชชัย อรัญญิก	 ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
จุฑาพร เริงรณอาษา	 รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา 
	 ตะวันออกกลาง และอเมริกา
วิไลวรรณ ทวิชศรี	 รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว
อภิชาติ อินทร์พงษ์พันธุ์	 รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน
พงศธร เกษสำ�ลี	 รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้
ศุกรีย์ สิทธิวนิช	 รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด
สมรัก คำ�พุทธ	 รองผู้ว่าการด้านบริหาร
อานุภาพ ธีรรัฐ  	 รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ
| From the Cover
•	การท่องเที่ยวแบบหน้าสด
		 | Tourism Situation
•	สถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศไตรมาสที่ 2/2557
•	สถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดในประเทศไตรมาสที่ 2/2557
		 | Tourism Trend
•	แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2014
•	Tourism, Camera, and Death
Contents
Tourism Authority of Thailand
1600 New Phetchaburi Road,
Makkasan, Ratchathewi,
Bangkok 10400, Thailand
tel: +66 2250 5500 ext. 2620-2
fax: +66 2253 7468
email: etatjournal@tat.or.th
website: etatjournal.com
ebook: www.issuu.com/etatjournal
www.ebooks.in.th/etatjournal
twitter: @etatjournal
จุลสารฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้กระดาษ EPO (EcoPaque Offset)
และหมึกพิมพ์จากนํ้ามันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตราสัญลักษณ์ จากเล่มเดิมอนุญาต
ให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟ
คอมมอนส์แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า-
อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
Tourism Journal 4/2014
จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
1600 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0 2250 5500 ต่อ 2620-2
โทรสาร : 0 2253 7468
8-15
32-39
26-31
		 | Tourism Research
•	Destination Thailand ดัชนีชี้วัดของประเทศไทย
	 ในฐานะจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว
16-25
| Special
•	กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร
	 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
		 | Low Carbon Tourism
•	Black Tourism การท่องเที่ยวที่ต้องจับตามอง !
		
		 | Tourism @ AEC
• เมืองท่องเที่ยวชายแดนไทย - มาเลเซีย ประตูสู่ AEC
• การบริหารจัดการภาวะวิกฤติด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศ ASEAN
Contents
60-61
62-65
66-73
		 | Tourism Seminar
•	Cannes Lions International Festival of 2014
•	Brand USA
•	แนวทางการปฏิรูปการท่องเที่ยวไทย
		
40-59
การติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยวเป็นภาระงานที่ถูกระบุไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ใน Job Description
ของกอง/งานที่สังกัดอยู่ (นั่นก็คือ กองวิจัยการตลาด ททท.) วิธีการติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยวที่ปฏิบัติอยู่ คือ การอ่าน
ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น Euromonitor / Trendwatching / Mintel และเว็บไซต์ข่าวต่างๆ เช่น Breakingtravelnews.
com /Travel Impact Newswire / eturbonews.com บางครั้งก็มีจากส�ำนักข่าวซินหัว และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อป้องกัน
ไม่ให้เกิดภาวะการอ่านแบบเรื่อยเปื่อย จึงมีการจัดท�ำเป็นรายงานการติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยวโลก (มี 2 หมวด คือ
หมวดสถานการณ์ท่องเที่ยว และหมวดพฤติกรรมผู้บริโภค) จัดท�ำเป็นรายเดือน เผยแพร่ในระบบ Intranet ของ ททท. และ
เรียบเรียงลงใน TAT Journal เป็นประจ�ำ
	 ทุกครั้งที่ได้อ่านรายงานการติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยวโลก โดยเฉพาะในหมวดพฤติกรรมนักท่องเที่ยว เราจะรู้ทัน
นักท่องเที่ยว รู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว บางพฤติกรรมก็เข้าใจได้ แต่หลายพฤติกรรมก็ไม่เข้าใจ ครั้งล่าสุด จ�ำได้ว่า 
เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวรัสเซียจ�ำนวนมากไปท่องเที่ยวที่อิตาลี และนักท่องเที่ยวรัสเซียมักมีพฤติกรรมค่อนข้างหยาบคาย
ไร้มารยาท ดังนั้น โรงแรมใน Tuscany ได้ท�ำโฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อให้ความรู้แก่ชาวรัสเซียผู้ร�่ำรวย ให้รู้ถึงมารยาท
ที่ควรปฏิบัติของอิตาลี  คล้ายๆ DO and DON‘T ที่เราเคยท�ำ ในการสั่งสอนคนรัสเซีย (รวยๆ) ที่ปรากฏในโฆษณา เช่น
	 l ให้ทิป แต่ไม่ต้องมากจนเกินไปนัก เพราะจะท�ำให้ดูเหมือนเป็นพวกเพิ่งรวยและดูไม่มีรสนิยม
	 l อย่าโอ้อวดโดยการสั่งไวน์ขวดที่แพงที่สุดในเมนู
	 l อย่าคาดหวังว่าอาหารที่คุณสั่งจะมาทันทีพร้อมๆ กัน เพราะปกติจะมาทีละจาน (Course by Course)
	 l อย่าใส่บิกินีกับรองเท้าส้นสูงเดินไปรอบๆ สระว่ายน�้ำ
	 นับว่าเป็นโฆษณาที่ฮือฮามาก โดยเผยแพร่ต่อเนื่องในสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์รัสเซีย และในโลกออนไลน์ ผลจาก
โฆษณานี้ จะท�ำให้พฤติกรรมคนรวยรัสเซียเปลี่ยนไปหรือไม่ คงต้องติดตามตอนต่อไป
	 สิ่งที่มากับการติดตามแนวโน้มอีกอย่างหนึ่งที่รู้สึกได้ คือ การบัญญัติศัพท์มากมายของส�ำนักวิจัย แรกๆ ก็รู้สึกสนุก
และจ�ำไปพูดบ้าง แต่หลังๆ เริ่มตามไม่ทัน เพราะมีการผลิตศัพท์ใหม่ทุกวัน โดยเฉพาะการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคของส�ำนักวิจัย
ต่างๆ ยกตัวอย่าง ของส�ำนัก Euromonitor แบ่งนักท่องเที่ยวออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Undaunted Striver / Savvy Maximiser /
Content Streamer / Secure Traditionalist
	 ย้อนกลับมาพิจารณาในส่วนของ ททท. พบว่า ในงานวิจัยของ ททท. ได้สถาปนาค�ำศัพท์มากมาย ส่วนใหญ่เป็นค�ำศัพท์
ที่ใช้ในการจัดกลุ่มนักท่องเที่ยว เช่น Succeeder / Reformer ในงานวิจัยตลาดศักยภาพสูงอาเซียน หรือในงานวิจัย
เรื่องนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มเดินทางซ�้ำ ททท. แบ่งกลุ่มเดินทางซ�้ำเป็น 4 กลุ่ม คือ Old Habit / Location Fanatic /
Activity Compulsive / True Explorer การจัดแบ่งดังกล่าวคือการแบ่ง Segment โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเจาะกลุ่มตลาด
อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จากการติดตามแนวโน้มโลก ได้ระบุว่า อนาคตนักท่องเที่ยวจะ Segment ไม่ได้ เพราะมัน Fragment
มากๆ ส�ำหรับนักวิจัยและนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวคงจะเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก ไม่แน่นะ ในอนาคตนักท่องเที่ยว
จะเป็น 1 คน 1 แบบ (หรือขณะนี้ได้เป็นเช่นนี้ไปแล้ว)  
	 มาถึง TAT Journal ไตรมาสนี้ คุณโตมร ศุขปรีชา เขียนถึง Black Tourism ไม่ใช่ Dark Tourism ที่เราคุ้นๆ กัน
ส่วนผู้ก�ำกับหนุ่มฮอตแห่งปี นวพล ธ�ำรงรัตนฤทธิ์ ยืนยันลายเซ็นตัวเอง ด้วยบทความเรื่อง การท่องเที่ยวแบบหน้าสด และ
บ.ก. วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ มาทั้งแนวDark&Death ในบทความเรื่องTourism,Camera,andDeath อยากให้ลองอ่านดู
	 จะว่าไป การได้พูดศัพท์แปลกๆ ใหม่ๆ มันก็ดูเซ็กซี่ เร้าใจ หายง่วง ได้เหมือนกัน
บทบรรณาธิการ
ยุวดี นิรัตน์ตระกูล
บรรณาธิการ
8 | Tourism Journal
Tourism Situation
สถานการณ์การท่องเที่ยว
ตลาดต่างประเทศไตรมาสที่ 2/2557
เรียบเรียง : งานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ กองกลยุทธ์การตลาด
8 | Tourism Journal
9|Tourism Journal
Tourism Situation
จ�ำนวนนักท่องเที่ยว 5.32 ล้านคน (-12%)
สร้างรายได้ 2.35 แสนล้านบาท (-10%) (ข้อมูล
ประมาณการจากกรมการท่องเที่ยว) ทุกภูมิภาค
ล้วนมีการชะลอตัว ยกเว้น แอฟริกา ยุโรป และ
โอเชียเนีย
จ�ำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
จีน มาเลเซีย สปป.ลาว รัสเซีย และญี่ปุ่น
ส่วนตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด ได้แก่ อิสราเอล
สปป.ลาว และบราซิล ส่วนตลาดที่หดตัวมากที่สุด
คือ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต และไต้หวัน ตามล�ำดับ
สาเหตุหลักของการชะลอตัว มีดังนี้
	 ผลกระทบจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก
(20พ.ค.2557)และการเข้าควบคุมอ�ำนาจการบริหาร
ประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
(22 พ.ค. 2557) ส่งผลให้มีการประกาศเคอร์ฟิว
(บางพื้นที่) และต่อมาแม้จะมีการยกเลิกเคอร์ฟิว
ทั่วประเทศในวันที่ 13 มิ.ย. 2557 แต่นักท่องเที่ยว
ได้ชะลอการเดินทางทันทีที่มีการประกาศไปแล้ว
	 เหตุแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกในจังหวัด
เชียงราย
	 เหตุระเบิดหลายจุดในพื้นที่อ�ำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา
	 การหันเหการเดินทางไปยังประเทศคู่แข่งขัน
ในตลาดตะวันออกกลางและออสเตรเลีย
	 ปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ของตลาดหลัก เช่น รัสเซีย และญี่ปุ่น
Africa, +6.11
หมายเหตุ : สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย (รายสัญชาติ) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย
(รายภูมิภาค) ช่วงไตรมาสที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ปี 2557
Middle East, -16.97
Oceania, +3.62
South Asia, -12.51
The Americas, -3.16
Europe, +6.25
NEA, -25.71
ASEAN, -11.21
-30.00 -25.00 -20.00 -15.00 -10.00 -5.00 +5.00+0.00 +10.00
สถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศไตรมาสที่ 2/2557
ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2557
10 | Tourism Journal
Tourism Situation
จ�ำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวครึ่งปีแรก และเป้าหมายปี 2557
จากแนวโน้มสถานการณ์การท่องเที่ยวในปัจจุบัน ท�ำให้มีการ
ปรับเป้าหมายปี 2557 ให้เหลือรายได้ 1.17 ล้านล้านบาท
และจ�ำนวนนักท่องเที่ยว25 ล้านคน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์
การท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรกของเกือบทุกภูมิภาค มีแนวโน้ม
ใกล้ร้อยละ50 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ภูมิภาคยุโรป’ และ ‘ภูมิภาค
อเมริกา’ ที่มีความเป็นไปได้มากกว่าเป้าหมายเดิมที่ก�ำหนดก่อน
เกิดวิกฤติ
จากข้อมูลประมาณการจากกรมการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรก
ของปี 2557 สร้างรายได้ 5.47 แสนล้านบาท (-7%) และ
มีจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 11.76 ล้านคน (-10%)
ไตรมาสที่ 2 จ�ำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ต�่ำกว่าเป้าหมาย
ที่ตั้งไว้ สาเหตุหลักจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก และการ
เข้าควบคุมอ�ำนาจการบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ (คสช.) ส่งผลให้รัฐบาลของแต่ละประเทศประกาศ
ค�ำแนะน�ำนักท่องเที่ยว (Travel Advisory) ในระดับที่แตกต่าง
ภาพรวมยอดการจองบัตรโดยสารเครื่องบินล่วงหน้าในไตรมาส
ที่ 3 ชะลอตัว 22%
ทุกภูมิภาคมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
แนวโน้มการเดินทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภูเก็ต และสมุย
ยังส่งสัญญาณการชะลอตัว ยกเว้นท่าอากาศยานกระบี่ แต่เมื่อ
เปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งหลักของประเทศไทย สิงคโปร์
เวียดนาม และมาเลเซีย ประเทศไทยยังได้ส่วนแบ่งเหนือคู่แข่งขัน
คาดว่าตลาดจะกลับมาฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่4 หลังจากมาตรการ
ฟื้นฟูความเชื่อมั่นในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รวมทั้งการ
ด�ำเนินการด้านการตลาดที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ของการ
ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ส�ำนักงานต่างประเทศ
แนวโน้มยอดการจองบัตรโดยสารเครื่องบินในไตรมาสที่ 3 ปี 2557
กัน ปัจจุบันมีทั้งหมด65 ประเทศที่ประกาศให้หลีกเลี่ยงการเดินทาง
แต่ยังไม่ถึงขั้นยกเลิกการเดินทางเข้าประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่
22 ก.ค. 2557)
ในไตรมาสที่ 3 สถานการณ์การท่องเที่ยวของตลาดต่างประเทศ
คาดว่าจะยังคงชะลอตัว โดยมีปัจจัยหลักมาจากความไม่เข้าใจ
ในสถานการณ์ทางการเมืองของไทยภายใต้การรัฐประหาร ท�ำให้
บางตลาดหันเหไปยังแหล่งท่องเที่ยวคู่แข่ง (Shift Destination)
อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการฟื้นตัวกลับมาอย่างช้าๆ ในไตรมาสที่4
ตลาดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ ตลาดในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน
ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กลุ่มสแกนดิเนเวีย และตลาด
ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ตลาดที่คาดว่าจะยังคงขยายตัว คือ ภูมิภาคลาตินอเมริกา (บราซิล
และอาร์เจนตินา) และภูมิภาคยุโรปใต้ (อิตาลี และสเปน)
11|Tourism Journal
Tourism Situation
11|Tourism Journal
12 | Tourism Journal
	 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการไตรมาสที่2/2557 เท่ากับ87 เป็นการประเมินที่ต�่ำที่สุด
นับตั้งแต่ปี 2554 สะท้อนถึงสถานการณ์และความกังวลของผู้ประกอบการ
	 ในไตรมาสที่3/2557 มีระดับการคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นที่95 ซึ่งลดลงจากไตรมาส
ก่อนเพียงเล็กน้อย (98)
	 หากสร้างความเชื่อมั่นกับชาวต่างชาติได้ คาดว่าในไตรมาสที่3 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ
6.84 ล้านคน ท�ำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งปี 26.84 ล้านคน
	 แต่หากไม่มีมาตรการที่เหมาะสมทันเวลาอาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวทั้งปี2557 ลดลงไป
เหลือเพียง 25.59 ล้านคน และรายได้ลดลงถึง 58,400 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมาย
ที่ ททท. ก�ำหนดไว้
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ
Tourism Situation
12 | Tourism Journal
13|Tourism Journal
Tourism Situation
13|Tourism Journal
14 | Tourism Journal
Tourism Situation
สถานการณ์ตลาดในประเทศ
	 นักท่องเที่ยวชาวไทยร้อยละ 78 เดินทาง
ท่องเที่ยวในประเทศ ถือเป็นสัดส่วนที่สูงซึ่งเป็นผล
มาจากเทศกาลสงกรานต์ อีกทั้งยังเป็นช่วงปิดเทอม
และมีวันหยุดยาวหลายช่วงในเดือนพฤษภาคม
	 อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการท่องเที่ยวโดยรวม
ไม่คึกคักเท่าที่ควร สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาและ
ปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อท�ำให้นักท่องเที่ยวชาวไทย
ลดค่าใช้จ่ายในการเที่ยวแต่ละครั้งลง (ร้อยละ 24)
และท่องเที่ยวน้อยลง(ร้อยละ23)(ที่มา: ดัชนีความ
เชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทย) บวกกับมีการประกาศเคอร์ฟิว (23
พฤษภาคม2557) ท�ำให้นักท่องเที่ยวบางส่วนยกเลิก
และเลื่อนการเดินทางอย่างไม่มีก�ำหนด โดยเฉพาะ
กลุ่มประชุมและสัมมนา
สถานการณ์การท่องเที่ยว
ตลาดในประเทศไตรมาสที่ 2/2557
	 ภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ (22 พฤษภาคม
2557) และยกเลิกเคอร์ฟิว (13 มิถุนายน 2557)
คนไทยจึงมั่นใจในเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น
ประกอบกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย( ททท.)
จัดงานวันธรรมดา...ที่ไม่ธรรมดา และเทศกาล
เที่ยวเมืองไทย ส่งผลให้การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น
สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในการ
ใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในเดือนมิถุนายนที่ปรับตัว
สูงสุดในรอบ 5 เดือน
15|Tourism Journal
Tourism Situation
	 ไตรมาสที่ 3 นักท่องเที่ยวชาวไทยร้อยละ 41 มีแผนการเดินทาง
ท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา
และวันแม่ ซึ่งมีการเพิ่มวันหยุดเป็น4 วัน จุดหมายที่ได้รับความนิยมมาก
ที่สุด คือ ภาคกลาง รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
และภาคตะวันตก
	 นอกจากนี้ ภาครัฐและภาคเอกชนยังให้ความส�ำคัญกับการฟื้นฟู
การท่องเที่ยว อาทิ การบินไทยเตรียมจัดโปรโมชั่นรายสัปดาห์ ตั้งแต่เดือน
สิงหาคมเป็นต้นไป เช่น แคมเปญสิงหาพาแม่เที่ยว ซึ่งสอดรับกับการส่งเสริม
การท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)และอาจจะช่วยกระตุ้น
การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศในภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้
	 อย่างไรก็ตาม ความนิยมเดินทางไปต่างประเทศของคนไทยยังคงมี
อย่างต่อเนื่อง โดยยอดจองการเดินทางท่องเที่ยว ในช่วงวันเข้าพรรษาและ
วันแม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ10 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การท่องเที่ยวแห่ง
ประเทศไทย(ททท.) ก�ำหนดจัดมหกรรม ‘ThailandHappiness:Street
Festival’ ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2557 บริเวณถนนพระรามที่ 1
ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนจนถึงสี่แยกราชประสงค์ เพื่อ
สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวและเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาภายหลัง
สถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังก�ำหนดจัด
FAMTrip ‘ThailandBestFriendsForever’ น�ำสื่อมวลชน บริษัทน�ำเที่ยว
บล็อกเกอร์Celebrity และFriendofThailand จ�ำนวนไม่ต�่ำกว่า800 ราย
จากทั่วโลกเดินทางมายังประเทศไทยและเข้าร่วมงาน ‘Thailand
Happiness : Street Festival’ เพื่อสัมผัสสถานการณ์จริงในประเทศไทย
ว่ายังสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยคลายความกังวลของ
นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มที่เดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งแรก รวมถึง
ตลาดที่มีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงบวก
ต่อการท่องเที่ยวมากขึ้น
แนวโน้มสถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดในประเทศไตรมาสที่ 3 ปี 2557
16 | Tourism Journal
Tourism Research
Destination
Thailand
ดัชนีชี้วัดของประเทศไทย
ในฐานะจุดหมายปลายทาง
ของนักท่องเที่ยว
เรียบเรียง : จิรา บัวทอง1
1 หัวหน้างานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ
กองกลยุทธ์การตลาด ททท.
16 | Tourism Journal
17|Tourism Journal
Tourism Research
ในแต่ละปี กองเผยแพร่โฆษณา
ต่างประเทศ ฝ่ายโฆษณาและ
ประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย (ททท.)
ได้มีการจัดท�ำ รายงาน
โครงการประเมินผลและวิจัย
แผนโฆษณาประชาสัมพันธ์
ตลาดต่างประเทศ และ
ในปี 2556 บริษัท Envirosell
(Thailand) เป็นผู้ศึกษาวิจัย
ถึงผลตอบรับของ
นักท่องเที่ยวที่มีต่อการ
โฆษณาประชาสัมพันธ์
ของ ททท. ตามแคมเปญ
‘Amazing Thailand’
หัวข้อหนึ่งของการวิจัย
ที่น่าสนใจ และจะน�ำเสนอ
ในบทความนี้ คือ ดัชนีชี้วัด
ของประเทศไทยในฐานะ
จุดหมายปลายทางของ
นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเรื่อง
ของการรับรู้แคมเปญ
ความผูกพัน และความภักดี
ต่อการเดินทางมาท่องเที่ยว
ประเทศไทยในปี 2556
17|Tourism Journal
18 | Tourism Journal
Tourism Research
	 ดัชนีชี้วัดของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ศึกษาโดยการ
สัมภาษณ์ออนไลน์ 2,094 ตัวอย่าง และการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว 451 ตัวอย่าง พิจารณา
ภายใต้ 3 หัวข้อหลัก คือ
ประเมินจากมุมมองและประสบการณ์ (Perception & Experience)
ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อประเทศ ว่าเป็นประเทศที่น่าจดจ�ำ มีเอกลักษณ์
และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่จะแนะน�ำให้ผู้อื่นไปเยือนหรือไม่
โดยเปรียบเทียบคะแนนความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่า
ระหว่างนักท่องเที่ยวที่เคยเห็นและไม่เคยเห็นแคมเปญของประเทศไทย
ประเมินในเชิงของการสื่อสาร (Communication) อันเกิดจากมุมมอง
ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อประเทศนั้นๆ โดยที่อาจจะมีหรือไม่มี
ประสบการณ์ในการมาเยือนก็ได้ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความชอบ
และความสัมพันธ์ต่อประเทศนั้นๆ โดยอาจเป็นผลมาจากสื่อโฆษณา
หรือจากการพูดถึงของนักท่องเที่ยวรอบข้างที่ท�ำให้เกิดความรู้สึก
เชิงบวกต่อประเทศ จนท�ำให้อยากไปเยือนประเทศนั้นๆ
ประเมินในเชิงประสบการณ์ และการรักษาความสัมพันธ์ (Retention)
ซึ่งเกิดจากมุมมองของนักท่องเที่ยวที่ได้เคยไปเยือนประเทศนั้นๆ แล้ว
และสามารถบ่งบอกถึงความแข็งแรงของแบรนด์ของประเทศที่สามารถ
ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากกลับมาเที่ยวอีก หรือแนะน�ำประเทศให้กับ
นักท่องเที่ยวรอบข้าง
ความเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ที่ทรงคุณค่า
(Esteemed Destination)
ดัชนีวัดความสัมพันธ์
ที่มีต่อประเทศ
(Affinity)
ดัชนีวัดความซื่อสัตย์
ของนักท่องเที่ยว
ที่มีต่อประเทศนั้นๆ
(Loyalty Index)
19|Tourism Journal
Tourism Research
	 ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวทรงคุณค่า
	 จากการส�ำรวจ พบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ยอมรับประเทศไทยในฐานะแหล่งท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่าในกลุ่ม
ที่รับรู้แคมเปญมีถึงร้อยละ 44 และมีผู้ประสงค์ที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวภายใน 2 ปีข้างหน้าถึงร้อยละ 30
การยอมรับและประสงค์ที่จะเดินทาง
ไปท่องเที่ยวประเทศไทยภายใน 2 ปี
รับรู้แคมเปญ
Amazing Thailand
การยอมรับประเทศไทย
ในฐานะแหล่งท่องเที่ยว
ทรงคุณค่า
52%
30%
ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่า สามารถวัดจาก
3 ปัจจัยหลักคือ เป็นประเทศที่ถูกแนะน�ำ, เป็นประเทศที่น่าจดจ�ำ
และเป็นประเทศที่มีความแตกต่าง เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง
ประเทศที่ถูกแนะน�ำ ประเทศที่น่าจดจ�ำ ประเทศที่มีความแตกต่าง ENVIROSELL
กลุ่มนักท่องเที่ยวที่รับรู้แคมเปญ Amazing Thailand
44%
+ +
20 | Tourism Journal
Tourism Research
	 ดัชนีความสัมพันธ์ (Affinity)
	 •	 ปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีความสัมพันธ์ (Affinity Importance)
	 ส�ำหรับปัจจัยที่มีความส�ำคัญที่จะท�ำให้นักท่องเที่ยวเกิดความสัมพันธ์
อันดีกับแหล่งท่องเที่ยวนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากมุมมองที่เห็นว่า แหล่ง
ท่องเที่ยวมีความคุ้มค่าเงิน เป็นที่ที่ใช้ชีวิตในวันพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
แหล่งท่องเที่ยวมีความสดใหม่ มีบรรยากาศที่สนุกสนาน มีสีสัน คนท้องถิ่น
มีอัธยาศัยไมตรีและมีน�้ำใจ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งส�ำคัญส�ำหรับนักท่องเที่ยว
ในการเลือกเดินทางไปประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งปัจจัยส�ำคัญดังกล่าว
มักจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ ดังนั้น กลยุทธ์
การสร้างประสบการณ์ ความรู้สึกที่ดี สนุกสนาน จึงเป็นสิ่งที่ควร
มุ่งพัฒนาต่อไป
	 •	ศักยภาพของแต่ละประเทศ
	 	 ในปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสัมพันธ์
	 เมื่อเทียบภาพลักษณ์ของประเทศไทยกับอีก 3 ประเทศที่มีดัชนี
ความสัมพันธ์สูง คือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ พบว่าประเทศไทย
เป็นประเทศที่มีภาพลักษณ์ที่แข็งแรงกว่าในปัจจัยส�ำคัญหลักๆ คือ การ
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มค่าเงิน เป็นที่ที่ใช้ชีวิตในวันพักผ่อนได้อย่างเต็มที่
ความมีน�้ำใจของผู้คน บรรยากาศที่สนุกสนาน มีสีสัน อัธยาศัยไมตรีของ
คนท้องถิ่น จึงจัดว่าประเทศไทยท�ำได้ดีมากในเรื่องการสร้างความรู้สึก
และการสร้างประสบการณ์ที่ดี
	 เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งหลัก เรื่องที่ประเทศไทยยังคงสู้สิงคโปร์
ญี่ปุ่น และออสเตรเลียไม่ได้ คือแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น บริการ
ทางการแพทย์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ระบบเศรษฐกิจที่พร้อมด้วย
โครงสร้างพื้นฐาน ถึงแม้ว่าปัจจัยดังกล่าวจะไม่ได้มีความส�ำคัญในอันดับ
ต้นๆ ส�ำหรับการเลือกสถานที่ท่องเที่ยว แต่หากประเทศไทยสามารถ
พัฒนาและสร้างขึ้นได้ ก็จะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวไทยมากยิ่งขึ้น
	 ประเด็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่ง คือ ออสเตรเลีย ซึ่งมีความโดดเด่น
กว่าประเทศไทยในเรื่องความสวยงามของโลกใต้น�้ำ สนามกอล์ฟที่ทันสมัย
ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดขายของประเทศไทยเช่นเดียวกัน ประเทศไทยจึงควร
รณรงค์อนุรักษ์ความสวยงามของท้องทะเล รวมถึงความเป็นธรรมชาติ
ของสนามกอล์ฟที่พร้อมด้วยสิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่ทันสมัย เพื่อเพิ่ม
ศักยภาพในการแข่งขันกับออสเตรเลีย
	 ในส่วนของคู่แข่งขันประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากทั้ง 3 ประเทศ
ที่กล่าวไปนั้น สามารถสรุปได้ว่า ฮ่องกงมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนเรื่องแหล่ง
ช้อปปิ้ง แหล่งบันเทิงทันสมัยที่สร้างขึ้นพร้อมโครงสร้างพื้นฐานรองรับ
ระบบเศรษฐกิจที่แข็งแรง ในขณะที่มาเลเซียเป็นประเทศที่ดูเหมือนมีข้อดี
หลายด้าน แต่กลับไม่มีเรื่องใดที่โดดเด่นขึ้นมาเป็นพิเศษ ส่วนเกาหลีใต้
นอกจากเรื่องการแพทย์แล้ว เกาหลีใต้ไม่ได้มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวใด
ที่จัดเป็นเอกลักษณ์ และไต้หวันยังไม่มีจุดขายใดๆ ที่แตกต่าง ดังนั้น
ประเทศเหล่านี้ จึงจัดอยู่ในกลุ่มคู่แข่งรองที่ยังไม่น่ากลัวเท่ากับในกลุ่มแรก
21|Tourism Journal
Tourism Research
22 | Tourism Journal
Tourism Research
	 ส่วนประเทศจีนและอินเดีย มีความโดดเด่นเรื่องแหล่ง
ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางธรรมชาติ อินโดนีเซียมีชื่อเสียง
เรื่องชายหาดที่เงียบสงบ สวยงาม แต่ในด้านอื่นๆ เมื่อเทียบ
กับไทยแล้ว ยังไม่มีอะไรโดดเด่นในสายตานักท่องเที่ยว
ที่ท�ำการส�ำรวจ ในขณะที่เวียดนามและมาเก๊า ไม่มีจุดเด่น
เป็นเอกลักษณ์ที่สามารถแข่งขันกับประเทศไทยได้ในขณะนี้
	 •	ปัจจัยส�ำคัญในการเลือกเดินทาง
	 	 เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถ
	 	 ของประเทศต่างๆ
	 ประเทศไทยควรรักษาความสามารถทางการแข่งขัน
ในเรื่องการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มค่าเงิน เป็นประเทศ
ที่มีสีสันสนุกสนาน มีอิสระและสะดวกในการเดินทาง เป็น
แหล่งรักษาสุขภาพ สปา มีบรรยากาศที่ใช้ชีวิตพักผ่อนได้
อย่างเต็มที่ ในขณะที่ควรเร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ
เพื่อสร้างความสดใหม่ และไม่ซ�้ำซากจ�ำเจ
						
	 • แนวโน้มที่จะกลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง
	 ส่วนใหญ่แล้ว นักท่องเที่ยวต่างชาติ คาดว่าจะกลับ
มาเยือนประเทศไทยภายในปีครึ่งถึงสองปี โดยเฉพาะ
ในกลุ่มชาวเอเชีย ดังนั้น ประเทศไทยควรจะพัฒนาแหล่ง
ท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ในทุกๆ
2 ปีเพื่อสร้างความสดใหม่ และกระตุ้นให้นักท่องเที่ยว
กลับมาที่ประเทศไทยอย่างสม�่ำเสมอ
	 ดัชนีชี้วัดความจงรักภักดี
	 (Loyalty Index)
	 ดัชนีชี้วัดความจงรักภักดี ค�ำนวณโดยใช้หลักการ
ที่ใช้วัดเมื่อปี2555 เพื่อประเมินผลความพึงพอใจและความ
น่าประทับใจของประเทศ ที่สามารถท�ำให้เกิดการแนะน�ำ
(Recommend) และกลับมาเยือนอีก (Revisit)
23|Tourism Journal
Tourism Research
	 จากการส�ำรวจ พบว่า ประเทศไทยยังมี
Loyalty Index เป็นอันดับต้น อย่างไรก็ตาม
ประเทศญี่ปุ่นได้ตีตื้นขึ้นมาเทียบเท่ากับ
ประเทศไทย อีกประเทศที่ควรติดตามคือ
ออสเตรเลีย ซึ่งมีการวัดเป็นปีแรก ออสเตรเลีย
มีคะแนนLoyaltyIndex ที่สูงเป็นอันดับหนึ่ง และ
สูงกว่าประเทศไทย
ออสเตรเลีย
ไทย
ญี่ปุ่น
สิงคโปร์
ฮ่องกง
ไต้หวัน
อินเดีย
มาเลเซีย
เกาหลีใต้
มาเก๊า
อินโดนีเซีย
เวียดนาม
จีน
ปี 2555	 4.89	 5.18	 4.45	 4.16	 5.15	 4.94	 5.42	 5.43	 5.91	 5.97	 6.26	 7.70
4.15
4.92
4.25
5.22
4.27
5.51
4.62
5.63
5.99
6.09
6.75
6.75
7.89
24 | Tourism Journal
Tourism Research
	 ปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีชี้วัด
	 ความจงรักภักดี
	 ปัจจัยที่ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวกลับไปเที่ยวประเทศใดประเทศหนึ่ง
มากกว่าหนึ่งครั้ง ประกอบไปด้วย
	 ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มค่าเงิน เป็นประเทศที่มีสีสัน สนุกสนาน
มีอิสระ สะดวกในการเดินทาง ผู้คนเป็นมิตรและมีน�้ำใจ รวมทั้งเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวที่สดใหม่เสมอ ซึ่งประเทศไทยมีจุดแข็งเกือบทุกด้าน ยกเว้นความ
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สดใหม่เสมอ จึงควรพัฒนาเพื่อคงความตื่นตาตื่นใจและ
สร้างความภักดีให้นักท่องเที่ยวกลับมาประเทศไทยอีก
25|Tourism Journal
	 การเป็นแหล่งท่องเที่ยว
	 ที่มีคุณภาพ
	 เมื่อเทียบกับออสเตรเลีย นอกเหนือจากเรื่องความสวยงาม
ของโลกใต้ทะเล และสนามกอล์ฟที่ทันสมัยแล้ว ประเทศไทย
ยังจัดว่าด้อยกว่าออสเตรเลียเล็กน้อยในเรื่องภาพลักษณ์ความ
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ส�ำหรับความหมายของแหล่ง
ท่องเที่ยวที่มีคุณภาพนั้น คือ แหล่งท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัย
ซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญอันดับหนึ่ง และออสเตรเลียมีภาพลักษณ์
ที่แข็งแกร่งในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มี
ภาพลักษณ์เรื่องความปลอดภัยที่ชัดเจนนัก
	 อย่างไรก็ตาม ยังมีความหมายของแหล่งท่องเที่ยวที่มี
คุณภาพด้านอื่นประกอบไปด้วย ได้แก่ ประสบการณ์ที่สนุกสนาน
ความคุ้มค่าเงิน การบริการที่ยอดเยี่ยมในราคาสมเหตุผล โดย
ชาวเอเชียที่เน้นพักผ่อน ยังให้ความส�ำคัญกับโรงแรมหรูในราคา
ที่เหมาะสม ในขณะที่ชาวตะวันตก เช่น ยุโรป อเมริกา ให้ความ
ส�ำคัญกับกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์หลากหลายในการเยือน
ในปัจจัยเหล่านี้ ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันค่อนข้าง
สูง เพียงต้องปรับปรุงเรื่องภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัย
เพิ่มเติม
	 บทสรุป
	
	 จากงานวิจัยในเรื่อง ดัชนีชี้วัดของประเทศไทยในฐานะ
จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว สามารถกล่าวได้ว่า
ประเทศไทยมีจุดแข็งค่อนข้างมากที่ท�ำให้นักท่องเที่ยวตระหนัก
ว่า ประเทศไทยไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่า มีการจดจ�ำ
ที่ดี มีความผูกพันและจงรักภักดี อยากกลับมาเยือนอีกครั้ง
แต่ต้องก�ำจัดจุดอ่อนที่ยังด้อยกว่าคู่แข่งขัน อันได้แก่ การพัฒนา
แหล่งท่องเที่ยวและการดูแลด้านความปลอดภัย หากเพิกเฉย
อาจสูญเสียอันดับและความสามารถด้านการแข่งขันให้กับ
คู่แข่งขันอื่นๆ ได้ในอนาคต
Tourism Research
มาเก๊า
เวียดนาม
อินเดียอินโดนีเซีย
ไต้หวัน
จีน
มาเลเซีย
เกาหลีใต้
ฮ่องกง
สิงคโปร์
ญี่ปุ่น
ประเทศไทย
ออสเตรเลีย
ไม่มี
%%1%2%2%
3%
4%
4%
5%
6%
14%
18%
19%
21%
26 | Tourism Journal
From the Cover
26 | Tourism Journal
27|Tourism Journal
From the Cover
การท่องเที่ยว
แบบหน้าสด
ทำ�ไม
ความจริงมักจะมากับความไม่สวยงาม
อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์กันก่อน
มนุษย์เรามีความไม่สมบูรณ์เป็นเรื่อง
ธรรมชาติ ส่วนเรื่องที่ผิดธรรมชาติ
คือการไปสู่ความสมบูรณ์แบบ
งดงามทุกกระเบียด กริ๊บทุกตารางเมตร
ความเพอร์เฟ็กต์นั้นเป็นเรื่องที่มนุษย์
ต้องออกแรงสร้างมันขึ้นมา
ที่ใช้คำ�ว่า ‘ออกแรง’ ก็เพราะว่า
มันผิดธรรมชาติ มันต้องใช้ระเบียบ
อันแข็งแกร่งในการสร้าง
ความสมบูรณ์นั้นขึ้นมา
เรื่อง : นวพล ธำ�รงรัตนฤทธิ์
27|Tourism Journal
28 | Tourism Journal
From the Cover
	 ลองสังเกตโบสถ์วัดต่างๆ ที่มีการแกะสลักมากมายหรือก่อสร้างแบบ
อลังการใหญ่โตวิจิตรนั้น ล้วนได้มาจากหยาดเหงื่อแรงงานของคนจ�ำนวนมาก
ได้มาจากช่วงเวลาการสร้างหลายร้อยปี หรืออาจจะได้มาจากเลือดเนื้อของ
คนงานที่ต้องพลีชีพเพื่อความงามทุกเหลี่ยมมุมที่เจ้าของงานจินตนาการไว้
	 แต่ก็นั่นแหละครับ ใครจะอยากปล่อยให้ตัวเองดูไม่ดี ทุกคนก็อยากแต่งสวย
แต่งหล่อเป็นธรรมชาติ (ทั้งๆ ที่ผิดธรรมชาติ) ธรรมชาติของมนุษย์เราจริงๆ
ก็คือสภาพเพิ่งตื่นนอน หน้าสด นั่นแหละ ซึ่งสุดท้ายคนที่รักกันมากๆ และอยาก
จะแต่งงานกัน ก็ต้องรับสภาพหน้าสดหลังตื่นนอนของแต่ละคนให้ได้ เพราะนั่น
คือความจริงที่คุณจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ซึ่งบางทีหน้าสดก็สวยกว่าหน้าแต่งนะ)
	 ที่เกริ่นน�ำมาขนาดนี้ เพราะอยากจะท�ำความเข้าใจว่า ท�ำไมคนยุคนี้ถึงชอบ
ไปท่องเที่ยวแนวเรียลๆ เละๆ จนกลายเป็นเทรนด์การเที่ยวแบบใหม่อีกอย่างของ
ยุคนี้ เที่ยวสวยๆ สบายๆ อยู่ดีๆ ท�ำไมไม่ชอบ
	 โดยโหมดปกติแห่งการโปรโมตการท่องเที่ยวแล้ว แน่นอนว่าเราย่อมอยาก
โชว์สิ่งที่ดีที่สุดในประเทศ
	 ว่าง่ายๆ ถ้าสมมุติว่ามีแขกมาเยี่ยมเยียนบ้านผม ยังไงผมก็ต้องจัดบ้าน
กันสักหน่อยละครับ คงไม่ปล่อยเละเทะรกสัดๆ เหมือนดั่งปกตินิสัยหรือตาม
ธรรมดาของทุกๆ วัน
	 ดังนั้น จึงเป็นปกติสามัญของทุกๆ ชาติที่จะต้องโชว์ภาพความสะอาดสะอ้าน
ของเมืองตัวเอง หรือถ้ามีภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวส�ำคัญก็จะต้องเป็นมุมที่สวย
ที่สุด ถ่ายต้องแสงเย็นๆ พระอาทิตย์ก�ำลังจะตก ถ้ายังไม่สวยพอก็ใช้โฟโตชอป
แต่งเข้าไป เร่งสีเร่งวุ้นกันเข้าไปอีก ตรงไหนมืดไป ก็เพิ่มความสว่างเข้าไปอีก
บางทีเพิ่มจนพระอาทิตย์จะมี 2 ดวงอยู่ละ ตรงไหนของภาพขยะเยอะก็ลบออก
คนต่างชาติมาเห็นรูปนี้เข้าไปก็ตกใจว่า โอ้....ประเทศนี้ มีที่ที่เป็นสวรรค์แบบนี้
อยู่ด้วยเหรอ พอบินมาเที่ยวจริงๆ โห! ท�ำไมแม่งโคตรเละ ท�ำไมไม่เหมือนกับ
ที่เห็นในกูเกิลเลย
	 นี่เรายังไม่นับไอ้โรงแรมหรือที่พักประเภทใช้เลนส์ไวด์ถ่ายห้องพัก ท�ำให้
ห้องรูหนูกลายเป็นห้องนอนของสุลต่าน กว้างสุดๆ ด้วยอานุภาพของเลนส์
Canon และNikon หรือการถ่ายภาพแบบเจาะเฉพาะมุมที่จะตัดความขี้เหร่รอบๆ
ออกได้
	 จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อยุคนี้มีอินเทอร์เน็ตแล้ว เวลาผู้คนเสิร์ชข้อมูลต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นซื้อของหรือท่องเที่ยว ผู้คนเลือกที่จะฟังเสียงจากลูกค้ากันเอง
หรืออ่านคอมเมนต์ของนักท่องเที่ยวจริงๆ ซึ่งมันก็มักจะได้อะไรที่ ‘จริงๆ’
กว่าที่เว็บไซต์เจ้าของสินค้าและสถานที่บรรยายสรรพคุณเอาไว้ บางครั้งรีวิวที่
นักท่องเที่ยวหรือผู้บริโภคเขียนไว้นั้นแม้จะไม่สวยงามหรือด่าเละ แต่จุดที่ไม่ชอบ
บางอย่างของคนคนหนึ่ง ก็กลับเป็นสิ่งที่คนคนหนึ่งรับได้ (เช่น คนหนึ่งบอกว่า
สถานที่นี้แดดร้อนมากๆ เลย แต่อีกคนอาจจะชอบเพราะว่าอยากตากแดด
อาบแดดอยู่แล้ว ก็เลยกลายเป็นข้อดีไป) กลายเป็นว่าการบรรยายสรรพคุณ
แบบเรียลๆ เนี่ย เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ
เพราะเอาเข้าจริงแล้วก็ไม่มีใครอยากถูกหลอก
หรอกครับ คือว่าง่ายๆ ถ้าบ้านจนก็บอกว่าบ้านจน
อย่าโกหกว่ารวย เพราะสุดท้ายพอไปเห็นบ้านจริง
มันก็คือบ้านจนอยู่ดี...แต่บางทีการที่เธอบ้านจน
มันก็ไม่ได้เป็นปัญหาเท่าไหร่นะ เราโอเค
	 ยุคนี้เลยเป็นยุคแห่งการเสพข้อมูลเรียลๆ
เราจะหลีกห่างศูนย์นักท่องเที่ยวของประเทศ
28 | Tourism Journal
29|Tourism Journal
From the Cover
ต่างๆ เพราะเราจะรู้สึกว่ามันไม่เรียล และมันก็ไม่ลึกพอ
เราเลือกที่จะอ่านบล็อกของคนที่เคยไปเที่ยวประเทศนั้น
มาแล้วมากกว่า เพราะมันบ้านกว่าและลึกกว่า บล็อก-
เกอร์นักท่องเที่ยวเหล่านั้นมักจะได้เห็นในสิ่งที่ศูนย์
ข้อมูลท่องเที่ยวไม่เคยกล่าวถึง (อาจจะคิดว่าเพราะ
มันไม่สวยหรือไม่น่ามองหรือไม่น่าสนใจ) แต่บางที
มันกลับน่าสนใจมากกว่าสถานที่ท่องเที่ยวส�ำคัญของ
เมืองนั้นอีก
	 นอกจากนี้พวกข้อมูลการท่องเที่ยวจากบล็อกเกอร์
บางครั้งเราสามารถระบุความสนใจส่วนตัวของเราไปได้
เช่น เราอยากทัวร์ร้านหนังสือเล็กๆ ในเมืองนี้ เราก็
เสิร์ชหาคนที่คล้ายๆ เรา เราก็จะสามารถเลือกสไตล์การ
ท่องเที่ยวที่เหมาะกับเราได้(ซึ่งศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว
ก็ให้เราไม่ได้เช่นกัน)
	 ถ้าเป็นเรื่องการดูสภาพบ้านเมืองต่างๆ ของ
ประเทศนั้นๆ แบบจริงๆ เราก็มักจะเลือกดูจากเว็บไซต์
เก็บภาพและแชร์ภาพอย่าง Flickr เพราะเราจะได้ภาพ
จากกล้องของนักท่องเที่ยวจริงๆ มา คือขอเห็นภาพ
ถนนหนทางบ้านๆ จริงๆ ไปก่อนเลย จะได้ปรับจิตถูก
ก่อนไปเที่ยว เพราะเวลาดูรูปแบบกูเกิลชอบให้ภาพถนน
หนทางสวยงาม แต่พอไปเห็นจริงๆ ชอบธรรมดา ท�ำไม
ถนนมันเหมือนถนนบ้านกูเลยวะ ไม่เห็นเอ็กโซติคเลย
	 เทรนด์นี้น�ำมาซึ่งการไปหาที่พักแนว Airbnb คือ
พักกับบ้านคน Local จริงๆ บางทีก็จะล�ำบากหน่อย
เพราะการไปพักบ้านคนจริงๆ ก็จะต้องนัดเวลากับ
เจ้าของบ้าน บางครั้งเตียงนอนไม่ค่อยสบายบ้าง หรือ
ข้างห้องแม่งเสียงดังตลอดเวลา อีกทั้งห้องเจ้าของบ้าน
อยู่ชั้น 7 ในตึกที่ไม่มีลิฟต์ แม้ว่ามันจะไม่สะดวกสบาย
เหมือนการพักโรงแรม แต่มันก็เรียลกว่า (แกๆ ฉันได้
มาพักในบ้านคนฝรั่งเศสจริงๆ นะเว่ย) ถึงมันจะเละๆ
หน่อยก็เถอะนะ
	 เทรนด์เรียลๆ นี้จึงเติบโตอย่างรวดเร็วตาม
ความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ท�ำให้เจ้าของบ้าน Local
ติดต่อกับนักท่องเที่ยวต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบายโดยที่
ไม่ต้องขึ้นกับโรงแรมใดๆ และท�ำให้นักท่องเที่ยวได้เห็น
ภาพจริงของประเทศนั้นๆ ประกอบการตัดสินใจในการ
เดินทาง รวมทั้งยอมรับข้อบกพร่องของสถานที่นั้นๆ
ก่อนที่จะเดินทางไป ช่วยให้รู้สึกมั่นอกมั่นใจก่อนไป
ได้มากขึ้น ราวกับมีเพื่อนสนิทมาให้ข้อมูลและคุย
ให้ฟัง ซึ่งแน่นอนว่าเราย่อมเชื่อเพื่อนเรามากกว่า
คนแปลกหน้าคนอื่นๆ(ที่คล้ายๆ เซลล์ขายทัวร์) อยู่แล้ว
	 และจากเทรนด์เรียลๆ มันก็ค่อยๆ ถูกพัฒนา
กลายเป็นเทรนด์เละๆ...หมายถึงว่า เที่ยวที่สวยงาม
มันไม่สนุกอีกต่อไปแล้ว แม่งต้องเที่ยวที่เละๆ ยิ่งเละ
ยิ่งดี ยิ่งรั่วยิ่งสนุก ยิ่งสกปรกยิ่งจริง ยิ่งตั๋วเครื่องบิน
29|Tourism Journal
30 | Tourism Journal
From the Cover
30 | Tourism Journal
31|Tourism Journal
From the Cover
ถูกลงเท่าไหร่ นักท่องเที่ยวก็มีแนวโน้มว่าจะอายุลดลงเรื่อยๆ กลายเป็นว่านักท่องเที่ยวัยรุ่นเกลื่อนเมือง
เกลื่อนโลก แน่นอนว่าเด็กพวกนี้เวลาเที่ยวก็ไม่ได้อยากจะไปสถานที่ที่มันทัวริสตี้มากนัก พวกเขาต้องการ
พักง่ายๆ ถูกๆ เมาๆ สนุกๆ (เวลาพูดถึงเมืองไทย ชาวต่างชาติจึงมักนึกถึงถนนข้าวสาร สีลม พัฒน์พงษ์
ซอยคาวบอย และซอยนานามากกว่าสถานที่พระๆ ที่อื่นในเมืองไทย) พวกเขาอาจจะไม่ได้อยากมากิน
ยาดองหรือซื้อบริการหญิงใดๆ บางทีพวกเขาก็แค่อยากมาเดินผ่าน มองไฟนีออนสะท้อนแสงข้างทาง
ดูโหลยาดองที่ฝาปิดมันสีสวยดี
	 เพราะว่าอะไร? เพราะของเหล่านี้เหมือนเป็นของที่ทางการปกปิดและไม่ให้คนอื่นดู ซึ่งส�ำหรับ
วัยรุ่นแล้ว อะไรที่ยิ่งปิด ก็ยิ่งอยากดู เพราะเราจะรู้สึกว่านั่นคือของจริง ตัวตนจริงๆ ว่าง่ายๆ คือ
มันคือสภาพหน้าสดของประเทศนั้นๆ นั่นเอง
	 เป้าหมายแห่งการท่องเที่ยวของโลกจึงไม่ได้รวมศูนย์อยู่ที่นิวยอร์ก ปารีส ลอนดอน โตเกียว หรือ
กรุงเทพฯ อีกต่อไป เพราะประเทศฮิตๆ ที่ก�ำลังจะมา มักจะประกอบไปด้วย เม็กซิโก แอฟริกาใต้ โมร็อกโก
เนปาล อินเดีย อียิปต์ บราซิล และอื่นๆ ที่เป็นประเทศแนวก�ำลังพัฒนาทั้งหลาย ก็เพราะว่ามันก�ำลังพัฒนา
นี่แหละ มันเลยเรียลๆ เละๆ ถ้าเกิดมันพัฒนาไปเรียบร้อยแล้ว ไอ้สภาพเละๆ ก็คงโดนปกปิดอีกครั้งหนึ่ง
	 หลายคนอาจจะคิดในใจว่าไอ้ความเรียลเละที่ว่านี่มันงดงามยังไง พวกนายแค่อยากจะแนวๆ ติสท์ๆ
รึเปล่า ค�ำตอบคือว่า มันอาจจะไม่ได้งดงามหรือสวยส�ำหรับทุกคน (เพราะความสวยเป็นเรื่องปัจเจก)
แต่แน่นอนว่า ไอ้เมืองเละๆ พวกนี้มีลักษณะเฉพาะตัวและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองอยู่สูง ก็เพราะมัน
ยังไม่เจริญมากนัก ยังไม่ถูกปรับให้กลายเป็นเมืองการค้าที่แสนปลอดภัย ซึ่งถ้ามันเจริญเมื่อไหร่ รับรอง
ว่าหน้าตาของเมืองเหล่านั้นก็จะไม่ได้แตกต่างจากนิวยอร์ก ปารีส ลอนดอน โตเกียว หรือกรุงเทพฯ
ว่าง่ายๆ คือมันยังไม่ถูกท�ำให้เป็นสากลนั่นเอง
	 แต่แม้ว่านักท่องเที่ยวจะต้องการเละแค่ไหน สิ่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวมักจะลืมไปคือ บางครั้งสถานที่นั้น
ยิ่งเละเท่าไหร่คุณก็ต้องยิ่งระวังตัว ยิ่ง Local เท่าไหร่ คุณยิ่งเป็นคนแปลกหน้าของสถานที่นั้นมากขึ้น
หลายคนอยากไปเที่ยวสลัมคลองเตยแห่งรีโอเดจาเนโร เพราะดูในรูปแล้วขยะเป็นตันๆ เรียงตัวกัน
เป็นก�ำแพงสวยงามมาก หรืออยากไปลองพิสูจน์ถนนที่มีการค้ายาแห่งออสเตรียซึ่งได้ข่าวว่าคนแถวนั้น
แต่งตัวกันชิคมาก และบางคนอยากไปเมืองที่มีการสู้รบกันกลางเมืองอย่างยูเครน เพราะซากตึกที่เละเทะนั้น
ท�ำให้รับรู้ได้ถึงการต่อสู้ทางการเมืองของผู้คนที่นั่นมากจริงๆ คือดูในภาพมันก็สวยดีหรอก แต่พอให้ไปเดิน
จริงๆ อาจจะเอาชีวิตไม่รอดกัน อาจจะโดนปล้น โดนแทง หรือโดนยิงโดยไม่รู้ตัว นี่คืออีกคมดาบหนึ่งที่มา
พร้อมกับความสวยงามในสถานที่เรียลๆ เละๆ คือมันอยู่เหนือการควบคุมดูแลจากส่วนกลาง หรือแถวนั้น
อาจจะไม่มีไฟทางส่องให้คุณเดินกลับโรงแรมหรือที่พักยามดึก
	 อาจจะเป็นเรื่องที่บาลานซ์ได้ยาก กับการที่จะท�ำให้สถานที่ที่เละนั้นดูปลอดภัยมากขึ้น แต่ต้องไม่ท�ำให้
ปลอดภัยมากซะจนสูญเสียความเละ ส่วนกลางจะควบคุมอย่างไรให้มันพอดี หรือจริงๆ ไม่ต้องควบคุม
แค่แนะน�ำและเตือนนักท่องเที่ยวก่อนที่พวกเขาจะตัดสินใจเดินทางเข้าไปยังโซนนั้น เพราะเอาเข้าจริง
สิทธิแห่งการท่องเที่ยวก็ไม่ควรถูกจ�ำกัดหรือถูกข่มขู่โดยใครทั้งนั้น เพราะบางครั้งนักท่องเที่ยวอาจจะเป็น
ทหารเก่า ก็เลยไม่กลัวที่จะเข้าไปเที่ยวในประเทศที่มีการรบรากันอยู่
	 จริงๆ แล้วมันอาจจะยังไม่ต้องไปถึงจุดนั้นก็ได้ เอาแค่เวลาถ่ายรูปสถานที่ท่องเที่ยวหรือแนะน�ำที่พัก
อะไรก็ตาม แค่พูดกันตามจริง ยอมรับข้อบกพร่องกันจริงๆ หรือพัฒนาสถานที่นั้นๆ ให้ดีจริงๆ จนไม่ว่า
ถ่ายรูปจากมุมไหนเวลาใดก็ดูสวยโดยธรรมชาติ แค่นั้นก็อาจจะแสดงความจริงใจในการเชื้อเชิญผู้คน
มาท่องเที่ยวได้แล้ว
	 จะเรียกง่ายๆ ว่า ‘หน้าสดแต่ก็ยังสวย’ ก็ไม่ผิดนัก และนั่นคือวิธีการที่ธรรมชาติที่สุด
32 | Tourism Journal
Tourism Trend
Solo Travel
:: 	 นักท่องเที่ยวมีแนวโน้มนิยมเดินทางคนเดียวมากขึ้น โดยเฉพาะ
กลุ่มผู้มีอายุน้อยที่มีรายได้ดี แต่มีตารางเวลาที่ไม่แน่นอน ท�ำให้หาเพื่อน
เดินทางท่องเที่ยวในเวลาที่ว่างตรงกันได้ค่อนข้างยาก เป็นผลให้กลุ่มคน
เหล่านี้เลือกเดินทางเอง ประกอบกับเทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่น
ที่อ�ำนวยความสะดวกในการเดินทางมีมากขึ้น ท�ำให้การเดินทางล�ำพัง
เป็นไปอย่างง่ายดาย
Go Girls
:: 	 แนวโน้มที่พบเห็นมากขึ้นในปัจจุบัน คือ ผู้หญิงที่นิยมเดินทางกัน
เป็นกลุ่ม เริ่มมีการจัดรายการน�ำเที่ยวเฉพาะผู้หญิงขึ้น ตั้งแต่การเดินทาง
เพื่อผจญภัย ไปจนถึงการพักผ่อนท�ำสปา เนื่องจากกลุ่มผู้หญิงนิยม
ใช้จ่ายเงินในการช้อปปิ้งเป็นทุนเดิม ท�ำให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นศักยภาพ
ในกลุ่มนี้
แนวโน้มพฤติกรรม
ผู้บริโภคในปี 2014
Destination Unknown
:: 	 แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแม้ยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว
ทั่วไปอยู่ แต่นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งเริ่มมองหาแหล่งท่องเที่ยวที่มี
นักท่องเที่ยวไปเยือนไม่มากนัก เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ลาดักห์ (Ladakh)
ซึ่งตั้งอยู่เหนือระดับน�้ำทะเลทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นสถานที่
ที่นักท่องเที่ยวผู้รักการผจญภัยต้องไปเยือน ปัจจุบัน เริ่มมีนักท่องเที่ยว
ไปเยือนมากขึ้น จนท�ำให้นักท่องเที่ยวเริ่มมองหาแหล่งท่องเที่ยวขนาดเล็ก
อื่นๆ ที่มีนักท่องเที่ยวไม่มากนักต่อไป เช่น ฟิจิ และอาร์มีเนีย
With My Buddies
::	 แหล่งท่องเที่ยว เช่นGoa-อินเดีย, สิงคโปร์ กรุงเทพฯ พัทยา ได้รับ
ความนิยมอย่างมากในกลุ่มเพื่อนที่เดินทางท่องเที่ยวร่วมกัน โดยกลุ่ม
นักท่องเที่ยวที่มีอายุน้อยกลุ่มนี้ มักนิยมเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยว
ที่มีชื่อเสียงระดับโลกส�ำหรับปาร์ตี้
DNAIndia.com ได้กล่าวถึงแนวโน้มพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยว
ของนักท่องเที่ยวในปี 2014 โดยสรุปได้ดังนี้
เรื่อง : DNAIndia.com / เรียบเรียง : กองวิจัยการตลาด
33|Tourism Journal
Tourism Trend
For the Love of Music
::	 เทศกาลดนตรีมีส่วนเป็นอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง
ท่องเที่ยว เทศกาลดนตรีที่โด่งดัง เช่น Oktoberfest ในเยอรมนี
หรือเทศกาลดนตรีอื่นๆ ล้วนได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจากผู้รัก
เสียงดนตรีในการเดินทางเข้าร่วมงาน
Appsolutely Fun
::	 การวางแผนเดินทางเป็นเรื่องง่ายและสนุกขึ้น เนื่องจากมีแอพพลิเคชั่น
ที่เกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวออกมาในท้องตลาดมากมายโดยผู้ประกอบการ
ต่างผลักดันแอพพลิเคชั่นของตนออกมาเพื่อให้ธุรกิจมียอดขายที่สูงขึ้น
เช่นGoogleMaps,MakeMyTrip,FlightTrack และViber เป็นตัวอย่าง
ของแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมในอินเดียมาก
Spread the Bug
::	 การแชร์รูปและเรื่องราวผ่านสังคมออนไลน์และบล็อก ทันทีทันใด
ขณะเดินทางท่องเที่ยวกลายเป็นเรื่องธรรมดาในปัจจุบัน และดูเหมือนว่า
‘TravelBug’ หรือแมลงท่องเที่ยว จะแพร่พันธุ์กระจายเติบโตไปได้กว้าง
และไกล การวางแผนการเดินทาง การศึกษาเรื่องราวผู้อื่น และวางแผน
งบประมาณการเดินทางโดยเลียนแบบผู้อื่นจึงเป็นไปได้อย่างง่ายดาย
34 | Tourism Journal
Tourism Trend
Tourism
Camera
andDeathเรื่อง : วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ
34 | Tourism Journal
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014
TAT Tourism Journal 4/2014

More Related Content

Viewers also liked

TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015
Zabitan
 
Gunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 ThailandGunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Zabitan
 
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Zabitan
 
TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016
Zabitan
 
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
Zabitan
 
TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015
Zabitan
 
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
Zabitan
 
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
Zabitan
 
โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10
Zabitan
 
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศInfographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Zabitan
 
How English Can Change Your Life For The Better
How English Can Change Your Life For The BetterHow English Can Change Your Life For The Better
How English Can Change Your Life For The Better
WallStreet English
 
StrengthsFinder Slides for Champ 2014
StrengthsFinder Slides for Champ 2014  StrengthsFinder Slides for Champ 2014
StrengthsFinder Slides for Champ 2014
Kriengsak Niratpattanasai
 
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร
WallStreet English
 
Present pnok 2015
Present pnok 2015Present pnok 2015
Present pnok 2015
Parinya Kamta
 
Art of innovation
Art of innovationArt of innovation
Art of innovation
Kriengsak Niratpattanasai
 
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพ
Thanom Ketem
 
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพ
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพStartup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพ
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพ
Startup Bangkok
 
Executive Coaching in Thailand
Executive Coaching in ThailandExecutive Coaching in Thailand
Executive Coaching in Thailand
Kriengsak Niratpattanasai
 
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพ
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพเกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพ
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพ
Supakrit Wangkahard
 
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
jeyjanejane
 

Viewers also liked (20)

TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015TAT Review Magazine 1/2015
TAT Review Magazine 1/2015
 
Gunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 ThailandGunpla navigation catalogue 2014 Thailand
Gunpla navigation catalogue 2014 Thailand
 
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
Chang-Argad ช่างอากาศ เดือนมิถุนายน ปีพศ. 2500
 
TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016TAT Review Magazine 3/2016
TAT Review Magazine 3/2016
 
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
TAT Review Magazine 4/2016 [39 MB]
 
TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015TAT Review Magazine 2/2015
TAT Review Magazine 2/2015
 
TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014TAT Tourism Journal 3/2014
TAT Tourism Journal 3/2014
 
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
รายงานวิจัย บทสรุปผู้บริหาร "การศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน"
 
โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10โลกวิทยาศาสตร์ 10
โลกวิทยาศาสตร์ 10
 
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศInfographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
Infographic โครงการศึกษาตลาดท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน (ศักยภาพสูง) 9 ประเทศ
 
How English Can Change Your Life For The Better
How English Can Change Your Life For The BetterHow English Can Change Your Life For The Better
How English Can Change Your Life For The Better
 
StrengthsFinder Slides for Champ 2014
StrengthsFinder Slides for Champ 2014  StrengthsFinder Slides for Champ 2014
StrengthsFinder Slides for Champ 2014
 
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร
ภาษาอังกฤษช่วยสานฝันลูกของคุณได้อย่างไร
 
Present pnok 2015
Present pnok 2015Present pnok 2015
Present pnok 2015
 
Art of innovation
Art of innovationArt of innovation
Art of innovation
 
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจที่ดี "ต้องมี" อะไร : การบริหารจัดการ SMEs อย่างมีประสิทธิภาพ
 
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพ
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพStartup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพ
Startup Capital Raising Explained - การระดมทุนในสตาร์ทอัพ
 
Executive Coaching in Thailand
Executive Coaching in ThailandExecutive Coaching in Thailand
Executive Coaching in Thailand
 
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพ
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพเกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพ
เกษตรผสมผสาน มีรายได้ สร้างอาชีพ
 
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
ทฤษฎีการเลือกอาชีพของฮอลแลนด์
 

Similar to TAT Tourism Journal 4/2014

TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015
Zabitan
 
เที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศเที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศSaran Yuwanna
 
TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016
Zabitan
 
ธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวPornpan Larbsib
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวPornpan Larbsib
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวPornpan Larbsib
 
TAT The Journey
TAT The JourneyTAT The Journey
TAT The Journey
Peerasak C.
 
eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554
Zabitan
 
TAT 2/2014
TAT 2/2014TAT 2/2014
TAT 2/2014
Zabitan
 
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
Zabitan
 
eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554
Zabitan
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงาน
AjBenny Pong
 
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
Peerasak C.
 
ท่องเที่ยว : พระเอกที่จะค้ำยันเศรษฐกิจไทยปีนี้จริงหรือ?
ท่องเที่ยว : พระเอกที่จะค้ำยันเศรษฐกิจไทยปีนี้จริงหรือ?ท่องเที่ยว : พระเอกที่จะค้ำยันเศรษฐกิจไทยปีนี้จริงหรือ?
ท่องเที่ยว : พระเอกที่จะค้ำยันเศรษฐกิจไทยปีนี้จริงหรือ?
nattatira
 
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
Zabitan
 
Travel 04 07-56
Travel 04 07-56Travel 04 07-56
Travel 04 07-56surdi_su
 
นักพัฒนาการท่องเที่ยว(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักพัฒนาการท่องเที่ยว(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักพัฒนาการท่องเที่ยว(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักพัฒนาการท่องเที่ยว(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
ประพันธ์ เวารัมย์
 
การท่องเที่ยวกับธุรกิจ
การท่องเที่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวกับธุรกิจ
การท่องเที่ยวกับธุรกิจa
 
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
Medhub 3 4 52  anchana na ranongMedhub 3 4 52  anchana na ranong
Medhub 3 4 52 anchana na ranongNithimar Or
 
15 clusters (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
15 clusters  (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา15 clusters  (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
15 clusters (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
Suthat Wannalert
 

Similar to TAT Tourism Journal 4/2014 (20)

TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015TAT Review Magazine 3/2015
TAT Review Magazine 3/2015
 
เที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศเที่ยวไทยสิบทิศ
เที่ยวไทยสิบทิศ
 
TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016TAT Review Magazine 2/2016
TAT Review Magazine 2/2016
 
ธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยวธุรกิจการท่องเที่ยว
ธุรกิจการท่องเที่ยว
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
 
TAT The Journey
TAT The JourneyTAT The Journey
TAT The Journey
 
eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554
 
TAT 2/2014
TAT 2/2014TAT 2/2014
TAT 2/2014
 
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
TAT TOURISM JOURNAL 3/2013
 
eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554eTAT journal 2/2554
eTAT journal 2/2554
 
รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงาน
 
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
STARTUP THAILAND MAGAZINE. Issue 12. June 2018.
 
ท่องเที่ยว : พระเอกที่จะค้ำยันเศรษฐกิจไทยปีนี้จริงหรือ?
ท่องเที่ยว : พระเอกที่จะค้ำยันเศรษฐกิจไทยปีนี้จริงหรือ?ท่องเที่ยว : พระเอกที่จะค้ำยันเศรษฐกิจไทยปีนี้จริงหรือ?
ท่องเที่ยว : พระเอกที่จะค้ำยันเศรษฐกิจไทยปีนี้จริงหรือ?
 
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
TAT TOURISM JOURNAL 2/2013
 
Travel 04 07-56
Travel 04 07-56Travel 04 07-56
Travel 04 07-56
 
นักพัฒนาการท่องเที่ยว(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักพัฒนาการท่องเที่ยว(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)นักพัฒนาการท่องเที่ยว(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
นักพัฒนาการท่องเที่ยว(ปฏิบัติการ เชี่ยวชาญ)
 
การท่องเที่ยวกับธุรกิจ
การท่องเที่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวกับธุรกิจ
การท่องเที่ยวกับธุรกิจ
 
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
Medhub 3 4 52  anchana na ranongMedhub 3 4 52  anchana na ranong
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
 
15 clusters (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
15 clusters  (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา15 clusters  (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
15 clusters (4) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา
 

More from Zabitan

TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015
Zabitan
 
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
Zabitan
 
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาวโพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
Zabitan
 
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
Zabitan
 
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood levelFatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
Zabitan
 
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
Zabitan
 
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
Zabitan
 
Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013
Zabitan
 
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
Zabitan
 
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
Zabitan
 
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
Zabitan
 

More from Zabitan (11)

TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015TAT Review Magazine 4/2015
TAT Review Magazine 4/2015
 
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014A day with StormTrooper in Bangkok 2014
A day with StormTrooper in Bangkok 2014
 
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาวโพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
โพล จับกระแสเที่ยวไทยในวันหยุดยาว
 
TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014TAT Tourism Journal 1/2014
TAT Tourism Journal 1/2014
 
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood levelFatty acid test for Omega-3 in blood level
Fatty acid test for Omega-3 in blood level
 
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
รายงานวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประ...
 
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
การศึกษาศักยภาพและขนาดของตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่ง...
 
Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013Gunpla Navigation Catalog 2013
Gunpla Navigation Catalog 2013
 
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
มัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
 
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับประถมศึกษา หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
 
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยวระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรการเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
 

TAT Tourism Journal 4/2014

  • 1.
  • 2. ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เป็นหน่วยงานหนึ่งในเครือข่ายองค์กรบริหารการวิจัยแห่งชาติ(คอบช.) ซึ่งมีหน้าที่ในการ บริหารจัดการทุนวิจัยด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ได้เล็งเห็นความส�ำคัญของการพัฒนางานวิจัยเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนนโยบาย ในการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศในประเด็นต่างๆ อาทิ การรองรับการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน การค้นหา/พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวใหม่ๆ เป็นต้น และไกลไปกว่านั้น สกว. ได้มองเห็นถึงความจ�ำเป็นในการน�ำข้อค้นพบ/ ผลจากการวิจัยไปเชื่อมต่อกับภาคนโยบาย พร้อมๆ ไปกับการใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ในขณะนี้มีชุดโครงการวิจัยหลายชุดที่ได้ ด�ำเนินการไปแล้ว และบางชุดมีผลการศึกษา/ข้อค้นพบที่ค่อนข้างสมบูรณ์ หรือสามารถน�ำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้ โดยใน TAT Tourism Journal ฉบับไตรมาส 4/2557 จะหยิบยกผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่น ได้แก่ การยกระดับความปลอดภัยในการ ท่องเที่ยวของชาวต่างชาติตามมาตรฐานสากล ดังนี้ องค์กร Make Road Safe ได้ศึกษาการเสียชีวิตของนักท่องเที่ยว อเมริกันในต่างประเทศจากอุบัติเหตุทางถนน พบว่าการเสียชีวิต ดังกล่าวในประเทศไทยมากเป็นอันดับสอง จึงมีความจ�ำเป็น อย่างมากที่จะต้องเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบเขตการวิจัยครอบคลุมเรื่อง (1) การพัฒนาแผนที่ที่ระบุ จุดอันตรายเพื่อการท่องเที่ยวทางถนนที่ปลอดภัย (2) การยกระดับ ความปลอดภัยในการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติตามมาตรฐาน สากลด้วยการศึกษาด้านพฤติกรรมและความพึงพอใจ (3) การ ศึกษาระบบที่เอื้อต่อความปลอดภัยเพื่อการท่องเที่ยวทางถนน อย่างยั่งยืน และ (4) การศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการช่วยเหลือ และดูแลรักษานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลังประสบอุบัติเหตุ ผลผลิตของการวิจัยได้จัดท�ำแผนที่ความเสี่ยงทางถนนของ ประเทศ ซึ่งสามารถบ่งบอกจุดเสี่ยงและจัดล�ำดับความเสี่ยงในแต่ละ จุดได้ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมีความส�ำคัญอย่างมากในการก�ำหนด แนวทางในการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากคือ ปัจจัยในด้านของตัวนักท่องเที่ยว เอง ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อม/ศึกษาข้อมูลก่อนการ ท่องเที่ยว และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวซึ่งอาจถูกก�ำหนด โดยมาตรฐานการเคารพกฎหมายในประเทศของนักท่องเที่ยว ปัญหาที่ค้นพบจากการวิจัย พบว่า ยังมีปัญหาอยู่ในหลาย ๆ ด้าน โดย 1) ด้านการขนส่ง พบว่า ผู้ให้บริการด้านการขนส่งขาดทักษะ ทางภาษาที่จะสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยานพาหนะ ยังไม่เพียงพอ ปัญหาความช�ำรุดทรุดโทรมของถนนหนทาง ฯลฯ 2) ด้านการจัดการ พบว่า ขาดระบบจัดเก็บข้อมูลสถิติการเกิด อุบัติเหตุของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ดีพอ มีอุปสรรคด้านการ สื่อสารของบุคลากรในการเยียวยารักษานักท่องเที่ยว ขาดแคลน บุคลากร เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาลนักท่องเที่ยว 3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวไม่สามารถสื่อสาร และเข้าใจกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ท�ำให้ไม่ทราบสิทธิและ หน้าที่ของตนในเรื่องการฟ้องร้องและการเอาประกันภัย นอกจากนี้ กระบวนการทางกฎหมายหลังจากเกิดอุบัติเหตุยังมีความล่าช้า และไม่ต่อเนื่อง
  • 3. บรรณาธิการ ยุวดี นิรัตน์ตระกูล ผู้อำ�นวยการกองวิจัยการตลาด กองบรรณาธิการ วไลลักษณ์ น้อยพยัคฆ์ ผู้อำ�นวยการกองติดตามและประเมินผล ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้อำ�นวยการกองสารสนเทศการตลาด จรัญ ชื่นในธรรม ผู้อำ�นวยการกลุ่มฐานข้อมูลการตลาด บุษกร พรหมมาโนช ผู้อำ�นวยการกองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว พิชยา สายแสงจันทร์ ผู้อำ�นวยการกองประชาสัมพันธ์ในประเทศ ปรัชญากรณ์ ไชยคช หัวหน้างานวิชาการ ณัฎฐิรา อำ�พลพรรณ พนักงานวางแผน สุจิตรา แย้มงามเหลือ พนักงานบันทึกข้อมูล เจ้าของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คณะที่ปรึกษา ธวัชชัย อรัญญิก ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จุฑาพร เริงรณอาษา รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา วิไลวรรณ ทวิชศรี รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว อภิชาติ อินทร์พงษ์พันธุ์ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน พงศธร เกษสำ�ลี รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ ศุกรีย์ สิทธิวนิช รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด สมรัก คำ�พุทธ รองผู้ว่าการด้านบริหาร อานุภาพ ธีรรัฐ   รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ
  • 4. | From the Cover • การท่องเที่ยวแบบหน้าสด | Tourism Situation • สถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศไตรมาสที่ 2/2557 • สถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดในประเทศไตรมาสที่ 2/2557 | Tourism Trend • แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2014 • Tourism, Camera, and Death Contents Tourism Authority of Thailand 1600 New Phetchaburi Road, Makkasan, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand tel: +66 2250 5500 ext. 2620-2 fax: +66 2253 7468 email: etatjournal@tat.or.th website: etatjournal.com ebook: www.issuu.com/etatjournal www.ebooks.in.th/etatjournal twitter: @etatjournal จุลสารฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้กระดาษ EPO (EcoPaque Offset) และหมึกพิมพ์จากนํ้ามันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตราสัญลักษณ์ จากเล่มเดิมอนุญาต ให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟ คอมมอนส์แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้า- อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย Tourism Journal 4/2014 จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 1600 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2250 5500 ต่อ 2620-2 โทรสาร : 0 2253 7468 8-15 32-39 26-31 | Tourism Research • Destination Thailand ดัชนีชี้วัดของประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว 16-25
  • 5. | Special • กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | Low Carbon Tourism • Black Tourism การท่องเที่ยวที่ต้องจับตามอง ! | Tourism @ AEC • เมืองท่องเที่ยวชายแดนไทย - มาเลเซีย ประตูสู่ AEC • การบริหารจัดการภาวะวิกฤติด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มประเทศ ASEAN Contents 60-61 62-65 66-73 | Tourism Seminar • Cannes Lions International Festival of 2014 • Brand USA • แนวทางการปฏิรูปการท่องเที่ยวไทย 40-59
  • 6.
  • 7. การติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยวเป็นภาระงานที่ถูกระบุไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏอยู่ใน Job Description ของกอง/งานที่สังกัดอยู่ (นั่นก็คือ กองวิจัยการตลาด ททท.) วิธีการติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยวที่ปฏิบัติอยู่ คือ การอ่าน ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น Euromonitor / Trendwatching / Mintel และเว็บไซต์ข่าวต่างๆ เช่น Breakingtravelnews. com /Travel Impact Newswire / eturbonews.com บางครั้งก็มีจากส�ำนักข่าวซินหัว และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะการอ่านแบบเรื่อยเปื่อย จึงมีการจัดท�ำเป็นรายงานการติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยวโลก (มี 2 หมวด คือ หมวดสถานการณ์ท่องเที่ยว และหมวดพฤติกรรมผู้บริโภค) จัดท�ำเป็นรายเดือน เผยแพร่ในระบบ Intranet ของ ททท. และ เรียบเรียงลงใน TAT Journal เป็นประจ�ำ ทุกครั้งที่ได้อ่านรายงานการติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยวโลก โดยเฉพาะในหมวดพฤติกรรมนักท่องเที่ยว เราจะรู้ทัน นักท่องเที่ยว รู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว บางพฤติกรรมก็เข้าใจได้ แต่หลายพฤติกรรมก็ไม่เข้าใจ ครั้งล่าสุด จ�ำได้ว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวรัสเซียจ�ำนวนมากไปท่องเที่ยวที่อิตาลี และนักท่องเที่ยวรัสเซียมักมีพฤติกรรมค่อนข้างหยาบคาย ไร้มารยาท ดังนั้น โรงแรมใน Tuscany ได้ท�ำโฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อให้ความรู้แก่ชาวรัสเซียผู้ร�่ำรวย ให้รู้ถึงมารยาท ที่ควรปฏิบัติของอิตาลี คล้ายๆ DO and DON‘T ที่เราเคยท�ำ ในการสั่งสอนคนรัสเซีย (รวยๆ) ที่ปรากฏในโฆษณา เช่น l ให้ทิป แต่ไม่ต้องมากจนเกินไปนัก เพราะจะท�ำให้ดูเหมือนเป็นพวกเพิ่งรวยและดูไม่มีรสนิยม l อย่าโอ้อวดโดยการสั่งไวน์ขวดที่แพงที่สุดในเมนู l อย่าคาดหวังว่าอาหารที่คุณสั่งจะมาทันทีพร้อมๆ กัน เพราะปกติจะมาทีละจาน (Course by Course) l อย่าใส่บิกินีกับรองเท้าส้นสูงเดินไปรอบๆ สระว่ายน�้ำ นับว่าเป็นโฆษณาที่ฮือฮามาก โดยเผยแพร่ต่อเนื่องในสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์รัสเซีย และในโลกออนไลน์ ผลจาก โฆษณานี้ จะท�ำให้พฤติกรรมคนรวยรัสเซียเปลี่ยนไปหรือไม่ คงต้องติดตามตอนต่อไป สิ่งที่มากับการติดตามแนวโน้มอีกอย่างหนึ่งที่รู้สึกได้ คือ การบัญญัติศัพท์มากมายของส�ำนักวิจัย แรกๆ ก็รู้สึกสนุก และจ�ำไปพูดบ้าง แต่หลังๆ เริ่มตามไม่ทัน เพราะมีการผลิตศัพท์ใหม่ทุกวัน โดยเฉพาะการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคของส�ำนักวิจัย ต่างๆ ยกตัวอย่าง ของส�ำนัก Euromonitor แบ่งนักท่องเที่ยวออกเป็น 4 กลุ่ม คือ Undaunted Striver / Savvy Maximiser / Content Streamer / Secure Traditionalist ย้อนกลับมาพิจารณาในส่วนของ ททท. พบว่า ในงานวิจัยของ ททท. ได้สถาปนาค�ำศัพท์มากมาย ส่วนใหญ่เป็นค�ำศัพท์ ที่ใช้ในการจัดกลุ่มนักท่องเที่ยว เช่น Succeeder / Reformer ในงานวิจัยตลาดศักยภาพสูงอาเซียน หรือในงานวิจัย เรื่องนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มเดินทางซ�้ำ ททท. แบ่งกลุ่มเดินทางซ�้ำเป็น 4 กลุ่ม คือ Old Habit / Location Fanatic / Activity Compulsive / True Explorer การจัดแบ่งดังกล่าวคือการแบ่ง Segment โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเจาะกลุ่มตลาด อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จากการติดตามแนวโน้มโลก ได้ระบุว่า อนาคตนักท่องเที่ยวจะ Segment ไม่ได้ เพราะมัน Fragment มากๆ ส�ำหรับนักวิจัยและนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวคงจะเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก ไม่แน่นะ ในอนาคตนักท่องเที่ยว จะเป็น 1 คน 1 แบบ (หรือขณะนี้ได้เป็นเช่นนี้ไปแล้ว) มาถึง TAT Journal ไตรมาสนี้ คุณโตมร ศุขปรีชา เขียนถึง Black Tourism ไม่ใช่ Dark Tourism ที่เราคุ้นๆ กัน ส่วนผู้ก�ำกับหนุ่มฮอตแห่งปี นวพล ธ�ำรงรัตนฤทธิ์ ยืนยันลายเซ็นตัวเอง ด้วยบทความเรื่อง การท่องเที่ยวแบบหน้าสด และ บ.ก. วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ มาทั้งแนวDark&Death ในบทความเรื่องTourism,Camera,andDeath อยากให้ลองอ่านดู จะว่าไป การได้พูดศัพท์แปลกๆ ใหม่ๆ มันก็ดูเซ็กซี่ เร้าใจ หายง่วง ได้เหมือนกัน บทบรรณาธิการ ยุวดี นิรัตน์ตระกูล บรรณาธิการ
  • 8. 8 | Tourism Journal Tourism Situation สถานการณ์การท่องเที่ยว ตลาดต่างประเทศไตรมาสที่ 2/2557 เรียบเรียง : งานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ กองกลยุทธ์การตลาด 8 | Tourism Journal
  • 9. 9|Tourism Journal Tourism Situation จ�ำนวนนักท่องเที่ยว 5.32 ล้านคน (-12%) สร้างรายได้ 2.35 แสนล้านบาท (-10%) (ข้อมูล ประมาณการจากกรมการท่องเที่ยว) ทุกภูมิภาค ล้วนมีการชะลอตัว ยกเว้น แอฟริกา ยุโรป และ โอเชียเนีย จ�ำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน มาเลเซีย สปป.ลาว รัสเซีย และญี่ปุ่น ส่วนตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด ได้แก่ อิสราเอล สปป.ลาว และบราซิล ส่วนตลาดที่หดตัวมากที่สุด คือ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต และไต้หวัน ตามล�ำดับ สาเหตุหลักของการชะลอตัว มีดังนี้ ผลกระทบจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก (20พ.ค.2557)และการเข้าควบคุมอ�ำนาจการบริหาร ประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) (22 พ.ค. 2557) ส่งผลให้มีการประกาศเคอร์ฟิว (บางพื้นที่) และต่อมาแม้จะมีการยกเลิกเคอร์ฟิว ทั่วประเทศในวันที่ 13 มิ.ย. 2557 แต่นักท่องเที่ยว ได้ชะลอการเดินทางทันทีที่มีการประกาศไปแล้ว เหตุแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกในจังหวัด เชียงราย เหตุระเบิดหลายจุดในพื้นที่อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา การหันเหการเดินทางไปยังประเทศคู่แข่งขัน ในตลาดตะวันออกกลางและออสเตรเลีย ปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ของตลาดหลัก เช่น รัสเซีย และญี่ปุ่น Africa, +6.11 หมายเหตุ : สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย (รายสัญชาติ) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทย (รายภูมิภาค) ช่วงไตรมาสที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย.) ปี 2557 Middle East, -16.97 Oceania, +3.62 South Asia, -12.51 The Americas, -3.16 Europe, +6.25 NEA, -25.71 ASEAN, -11.21 -30.00 -25.00 -20.00 -15.00 -10.00 -5.00 +5.00+0.00 +10.00 สถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศไตรมาสที่ 2/2557 ภาพรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติ ไตรมาสที่ 2 ปี 2557
  • 10. 10 | Tourism Journal Tourism Situation จ�ำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวครึ่งปีแรก และเป้าหมายปี 2557 จากแนวโน้มสถานการณ์การท่องเที่ยวในปัจจุบัน ท�ำให้มีการ ปรับเป้าหมายปี 2557 ให้เหลือรายได้ 1.17 ล้านล้านบาท และจ�ำนวนนักท่องเที่ยว25 ล้านคน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ การท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรกของเกือบทุกภูมิภาค มีแนวโน้ม ใกล้ร้อยละ50 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ภูมิภาคยุโรป’ และ ‘ภูมิภาค อเมริกา’ ที่มีความเป็นไปได้มากกว่าเป้าหมายเดิมที่ก�ำหนดก่อน เกิดวิกฤติ จากข้อมูลประมาณการจากกรมการท่องเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2557 สร้างรายได้ 5.47 แสนล้านบาท (-7%) และ มีจ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 11.76 ล้านคน (-10%) ไตรมาสที่ 2 จ�ำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ต�่ำกว่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ สาเหตุหลักจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก และการ เข้าควบคุมอ�ำนาจการบริหารประเทศของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (คสช.) ส่งผลให้รัฐบาลของแต่ละประเทศประกาศ ค�ำแนะน�ำนักท่องเที่ยว (Travel Advisory) ในระดับที่แตกต่าง ภาพรวมยอดการจองบัตรโดยสารเครื่องบินล่วงหน้าในไตรมาส ที่ 3 ชะลอตัว 22% ทุกภูมิภาคมีแนวโน้มปรับตัวลดลง แนวโน้มการเดินทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภูเก็ต และสมุย ยังส่งสัญญาณการชะลอตัว ยกเว้นท่าอากาศยานกระบี่ แต่เมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งหลักของประเทศไทย สิงคโปร์ เวียดนาม และมาเลเซีย ประเทศไทยยังได้ส่วนแบ่งเหนือคู่แข่งขัน คาดว่าตลาดจะกลับมาฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่4 หลังจากมาตรการ ฟื้นฟูความเชื่อมั่นในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รวมทั้งการ ด�ำเนินการด้านการตลาดที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ส�ำนักงานต่างประเทศ แนวโน้มยอดการจองบัตรโดยสารเครื่องบินในไตรมาสที่ 3 ปี 2557 กัน ปัจจุบันมีทั้งหมด65 ประเทศที่ประกาศให้หลีกเลี่ยงการเดินทาง แต่ยังไม่ถึงขั้นยกเลิกการเดินทางเข้าประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ก.ค. 2557) ในไตรมาสที่ 3 สถานการณ์การท่องเที่ยวของตลาดต่างประเทศ คาดว่าจะยังคงชะลอตัว โดยมีปัจจัยหลักมาจากความไม่เข้าใจ ในสถานการณ์ทางการเมืองของไทยภายใต้การรัฐประหาร ท�ำให้ บางตลาดหันเหไปยังแหล่งท่องเที่ยวคู่แข่ง (Shift Destination) อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการฟื้นตัวกลับมาอย่างช้าๆ ในไตรมาสที่4 ตลาดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ ตลาดในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย กลุ่มสแกนดิเนเวีย และตลาด ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ตลาดที่คาดว่าจะยังคงขยายตัว คือ ภูมิภาคลาตินอเมริกา (บราซิล และอาร์เจนตินา) และภูมิภาคยุโรปใต้ (อิตาลี และสเปน)
  • 12. 12 | Tourism Journal ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการไตรมาสที่2/2557 เท่ากับ87 เป็นการประเมินที่ต�่ำที่สุด นับตั้งแต่ปี 2554 สะท้อนถึงสถานการณ์และความกังวลของผู้ประกอบการ ในไตรมาสที่3/2557 มีระดับการคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นที่95 ซึ่งลดลงจากไตรมาส ก่อนเพียงเล็กน้อย (98) หากสร้างความเชื่อมั่นกับชาวต่างชาติได้ คาดว่าในไตรมาสที่3 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.84 ล้านคน ท�ำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งปี 26.84 ล้านคน แต่หากไม่มีมาตรการที่เหมาะสมทันเวลาอาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวทั้งปี2557 ลดลงไป เหลือเพียง 25.59 ล้านคน และรายได้ลดลงถึง 58,400 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมาย ที่ ททท. ก�ำหนดไว้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ Tourism Situation 12 | Tourism Journal
  • 14. 14 | Tourism Journal Tourism Situation สถานการณ์ตลาดในประเทศ นักท่องเที่ยวชาวไทยร้อยละ 78 เดินทาง ท่องเที่ยวในประเทศ ถือเป็นสัดส่วนที่สูงซึ่งเป็นผล มาจากเทศกาลสงกรานต์ อีกทั้งยังเป็นช่วงปิดเทอม และมีวันหยุดยาวหลายช่วงในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการท่องเที่ยวโดยรวม ไม่คึกคักเท่าที่ควร สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาและ ปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อท�ำให้นักท่องเที่ยวชาวไทย ลดค่าใช้จ่ายในการเที่ยวแต่ละครั้งลง (ร้อยละ 24) และท่องเที่ยวน้อยลง(ร้อยละ23)(ที่มา: ดัชนีความ เชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย) บวกกับมีการประกาศเคอร์ฟิว (23 พฤษภาคม2557) ท�ำให้นักท่องเที่ยวบางส่วนยกเลิก และเลื่อนการเดินทางอย่างไม่มีก�ำหนด โดยเฉพาะ กลุ่มประชุมและสัมมนา สถานการณ์การท่องเที่ยว ตลาดในประเทศไตรมาสที่ 2/2557 ภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ (22 พฤษภาคม 2557) และยกเลิกเคอร์ฟิว (13 มิถุนายน 2557) คนไทยจึงมั่นใจในเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น ประกอบกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย( ททท.) จัดงานวันธรรมดา...ที่ไม่ธรรมดา และเทศกาล เที่ยวเมืองไทย ส่งผลให้การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในการ ใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในเดือนมิถุนายนที่ปรับตัว สูงสุดในรอบ 5 เดือน
  • 15. 15|Tourism Journal Tourism Situation ไตรมาสที่ 3 นักท่องเที่ยวชาวไทยร้อยละ 41 มีแผนการเดินทาง ท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา และวันแม่ ซึ่งมีการเพิ่มวันหยุดเป็น4 วัน จุดหมายที่ได้รับความนิยมมาก ที่สุด คือ ภาคกลาง รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันตก นอกจากนี้ ภาครัฐและภาคเอกชนยังให้ความส�ำคัญกับการฟื้นฟู การท่องเที่ยว อาทิ การบินไทยเตรียมจัดโปรโมชั่นรายสัปดาห์ ตั้งแต่เดือน สิงหาคมเป็นต้นไป เช่น แคมเปญสิงหาพาแม่เที่ยว ซึ่งสอดรับกับการส่งเสริม การท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)และอาจจะช่วยกระตุ้น การเดินทางท่องเที่ยวในประเทศในภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ตาม ความนิยมเดินทางไปต่างประเทศของคนไทยยังคงมี อย่างต่อเนื่อง โดยยอดจองการเดินทางท่องเที่ยว ในช่วงวันเข้าพรรษาและ วันแม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ10 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย(ททท.) ก�ำหนดจัดมหกรรม ‘ThailandHappiness:Street Festival’ ระหว่างวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2557 บริเวณถนนพระรามที่ 1 ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนจนถึงสี่แยกราชประสงค์ เพื่อ สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวและเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาภายหลัง สถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ยังก�ำหนดจัด FAMTrip ‘ThailandBestFriendsForever’ น�ำสื่อมวลชน บริษัทน�ำเที่ยว บล็อกเกอร์Celebrity และFriendofThailand จ�ำนวนไม่ต�่ำกว่า800 ราย จากทั่วโลกเดินทางมายังประเทศไทยและเข้าร่วมงาน ‘Thailand Happiness : Street Festival’ เพื่อสัมผัสสถานการณ์จริงในประเทศไทย ว่ายังสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยคลายความกังวลของ นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มที่เดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งแรก รวมถึง ตลาดที่มีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์ และส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงบวก ต่อการท่องเที่ยวมากขึ้น แนวโน้มสถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดในประเทศไตรมาสที่ 3 ปี 2557
  • 16. 16 | Tourism Journal Tourism Research Destination Thailand ดัชนีชี้วัดของประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทาง ของนักท่องเที่ยว เรียบเรียง : จิรา บัวทอง1 1 หัวหน้างานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ กองกลยุทธ์การตลาด ททท. 16 | Tourism Journal
  • 17. 17|Tourism Journal Tourism Research ในแต่ละปี กองเผยแพร่โฆษณา ต่างประเทศ ฝ่ายโฆษณาและ ประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) ได้มีการจัดท�ำ รายงาน โครงการประเมินผลและวิจัย แผนโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตลาดต่างประเทศ และ ในปี 2556 บริษัท Envirosell (Thailand) เป็นผู้ศึกษาวิจัย ถึงผลตอบรับของ นักท่องเที่ยวที่มีต่อการ โฆษณาประชาสัมพันธ์ ของ ททท. ตามแคมเปญ ‘Amazing Thailand’ หัวข้อหนึ่งของการวิจัย ที่น่าสนใจ และจะน�ำเสนอ ในบทความนี้ คือ ดัชนีชี้วัด ของประเทศไทยในฐานะ จุดหมายปลายทางของ นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเรื่อง ของการรับรู้แคมเปญ ความผูกพัน และความภักดี ต่อการเดินทางมาท่องเที่ยว ประเทศไทยในปี 2556 17|Tourism Journal
  • 18. 18 | Tourism Journal Tourism Research ดัชนีชี้วัดของประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ศึกษาโดยการ สัมภาษณ์ออนไลน์ 2,094 ตัวอย่าง และการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว 451 ตัวอย่าง พิจารณา ภายใต้ 3 หัวข้อหลัก คือ ประเมินจากมุมมองและประสบการณ์ (Perception & Experience) ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อประเทศ ว่าเป็นประเทศที่น่าจดจ�ำ มีเอกลักษณ์ และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่จะแนะน�ำให้ผู้อื่นไปเยือนหรือไม่ โดยเปรียบเทียบคะแนนความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่า ระหว่างนักท่องเที่ยวที่เคยเห็นและไม่เคยเห็นแคมเปญของประเทศไทย ประเมินในเชิงของการสื่อสาร (Communication) อันเกิดจากมุมมอง ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อประเทศนั้นๆ โดยที่อาจจะมีหรือไม่มี ประสบการณ์ในการมาเยือนก็ได้ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความชอบ และความสัมพันธ์ต่อประเทศนั้นๆ โดยอาจเป็นผลมาจากสื่อโฆษณา หรือจากการพูดถึงของนักท่องเที่ยวรอบข้างที่ท�ำให้เกิดความรู้สึก เชิงบวกต่อประเทศ จนท�ำให้อยากไปเยือนประเทศนั้นๆ ประเมินในเชิงประสบการณ์ และการรักษาความสัมพันธ์ (Retention) ซึ่งเกิดจากมุมมองของนักท่องเที่ยวที่ได้เคยไปเยือนประเทศนั้นๆ แล้ว และสามารถบ่งบอกถึงความแข็งแรงของแบรนด์ของประเทศที่สามารถ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากกลับมาเที่ยวอีก หรือแนะน�ำประเทศให้กับ นักท่องเที่ยวรอบข้าง ความเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ทรงคุณค่า (Esteemed Destination) ดัชนีวัดความสัมพันธ์ ที่มีต่อประเทศ (Affinity) ดัชนีวัดความซื่อสัตย์ ของนักท่องเที่ยว ที่มีต่อประเทศนั้นๆ (Loyalty Index)
  • 19. 19|Tourism Journal Tourism Research ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวทรงคุณค่า จากการส�ำรวจ พบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ยอมรับประเทศไทยในฐานะแหล่งท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่าในกลุ่ม ที่รับรู้แคมเปญมีถึงร้อยละ 44 และมีผู้ประสงค์ที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวภายใน 2 ปีข้างหน้าถึงร้อยละ 30 การยอมรับและประสงค์ที่จะเดินทาง ไปท่องเที่ยวประเทศไทยภายใน 2 ปี รับรู้แคมเปญ Amazing Thailand การยอมรับประเทศไทย ในฐานะแหล่งท่องเที่ยว ทรงคุณค่า 52% 30% ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่า สามารถวัดจาก 3 ปัจจัยหลักคือ เป็นประเทศที่ถูกแนะน�ำ, เป็นประเทศที่น่าจดจ�ำ และเป็นประเทศที่มีความแตกต่าง เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ประเทศที่ถูกแนะน�ำ ประเทศที่น่าจดจ�ำ ประเทศที่มีความแตกต่าง ENVIROSELL กลุ่มนักท่องเที่ยวที่รับรู้แคมเปญ Amazing Thailand 44% + +
  • 20. 20 | Tourism Journal Tourism Research ดัชนีความสัมพันธ์ (Affinity) • ปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีความสัมพันธ์ (Affinity Importance) ส�ำหรับปัจจัยที่มีความส�ำคัญที่จะท�ำให้นักท่องเที่ยวเกิดความสัมพันธ์ อันดีกับแหล่งท่องเที่ยวนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากมุมมองที่เห็นว่า แหล่ง ท่องเที่ยวมีความคุ้มค่าเงิน เป็นที่ที่ใช้ชีวิตในวันพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ แหล่งท่องเที่ยวมีความสดใหม่ มีบรรยากาศที่สนุกสนาน มีสีสัน คนท้องถิ่น มีอัธยาศัยไมตรีและมีน�้ำใจ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งส�ำคัญส�ำหรับนักท่องเที่ยว ในการเลือกเดินทางไปประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งปัจจัยส�ำคัญดังกล่าว มักจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ ดังนั้น กลยุทธ์ การสร้างประสบการณ์ ความรู้สึกที่ดี สนุกสนาน จึงเป็นสิ่งที่ควร มุ่งพัฒนาต่อไป • ศักยภาพของแต่ละประเทศ ในปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีความสัมพันธ์ เมื่อเทียบภาพลักษณ์ของประเทศไทยกับอีก 3 ประเทศที่มีดัชนี ความสัมพันธ์สูง คือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ พบว่าประเทศไทย เป็นประเทศที่มีภาพลักษณ์ที่แข็งแรงกว่าในปัจจัยส�ำคัญหลักๆ คือ การ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มค่าเงิน เป็นที่ที่ใช้ชีวิตในวันพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ความมีน�้ำใจของผู้คน บรรยากาศที่สนุกสนาน มีสีสัน อัธยาศัยไมตรีของ คนท้องถิ่น จึงจัดว่าประเทศไทยท�ำได้ดีมากในเรื่องการสร้างความรู้สึก และการสร้างประสบการณ์ที่ดี เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งหลัก เรื่องที่ประเทศไทยยังคงสู้สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และออสเตรเลียไม่ได้ คือแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น บริการ ทางการแพทย์ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ระบบเศรษฐกิจที่พร้อมด้วย โครงสร้างพื้นฐาน ถึงแม้ว่าปัจจัยดังกล่าวจะไม่ได้มีความส�ำคัญในอันดับ ต้นๆ ส�ำหรับการเลือกสถานที่ท่องเที่ยว แต่หากประเทศไทยสามารถ พัฒนาและสร้างขึ้นได้ ก็จะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวไทยมากยิ่งขึ้น ประเด็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่ง คือ ออสเตรเลีย ซึ่งมีความโดดเด่น กว่าประเทศไทยในเรื่องความสวยงามของโลกใต้น�้ำ สนามกอล์ฟที่ทันสมัย ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดขายของประเทศไทยเช่นเดียวกัน ประเทศไทยจึงควร รณรงค์อนุรักษ์ความสวยงามของท้องทะเล รวมถึงความเป็นธรรมชาติ ของสนามกอล์ฟที่พร้อมด้วยสิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่ทันสมัย เพื่อเพิ่ม ศักยภาพในการแข่งขันกับออสเตรเลีย ในส่วนของคู่แข่งขันประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากทั้ง 3 ประเทศ ที่กล่าวไปนั้น สามารถสรุปได้ว่า ฮ่องกงมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนเรื่องแหล่ง ช้อปปิ้ง แหล่งบันเทิงทันสมัยที่สร้างขึ้นพร้อมโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ระบบเศรษฐกิจที่แข็งแรง ในขณะที่มาเลเซียเป็นประเทศที่ดูเหมือนมีข้อดี หลายด้าน แต่กลับไม่มีเรื่องใดที่โดดเด่นขึ้นมาเป็นพิเศษ ส่วนเกาหลีใต้ นอกจากเรื่องการแพทย์แล้ว เกาหลีใต้ไม่ได้มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวใด ที่จัดเป็นเอกลักษณ์ และไต้หวันยังไม่มีจุดขายใดๆ ที่แตกต่าง ดังนั้น ประเทศเหล่านี้ จึงจัดอยู่ในกลุ่มคู่แข่งรองที่ยังไม่น่ากลัวเท่ากับในกลุ่มแรก
  • 22. 22 | Tourism Journal Tourism Research ส่วนประเทศจีนและอินเดีย มีความโดดเด่นเรื่องแหล่ง ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางธรรมชาติ อินโดนีเซียมีชื่อเสียง เรื่องชายหาดที่เงียบสงบ สวยงาม แต่ในด้านอื่นๆ เมื่อเทียบ กับไทยแล้ว ยังไม่มีอะไรโดดเด่นในสายตานักท่องเที่ยว ที่ท�ำการส�ำรวจ ในขณะที่เวียดนามและมาเก๊า ไม่มีจุดเด่น เป็นเอกลักษณ์ที่สามารถแข่งขันกับประเทศไทยได้ในขณะนี้ • ปัจจัยส�ำคัญในการเลือกเดินทาง เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถ ของประเทศต่างๆ ประเทศไทยควรรักษาความสามารถทางการแข่งขัน ในเรื่องการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มค่าเงิน เป็นประเทศ ที่มีสีสันสนุกสนาน มีอิสระและสะดวกในการเดินทาง เป็น แหล่งรักษาสุขภาพ สปา มีบรรยากาศที่ใช้ชีวิตพักผ่อนได้ อย่างเต็มที่ ในขณะที่ควรเร่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ เพื่อสร้างความสดใหม่ และไม่ซ�้ำซากจ�ำเจ • แนวโน้มที่จะกลับมาเยือนประเทศไทยอีกครั้ง ส่วนใหญ่แล้ว นักท่องเที่ยวต่างชาติ คาดว่าจะกลับ มาเยือนประเทศไทยภายในปีครึ่งถึงสองปี โดยเฉพาะ ในกลุ่มชาวเอเชีย ดังนั้น ประเทศไทยควรจะพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ในทุกๆ 2 ปีเพื่อสร้างความสดใหม่ และกระตุ้นให้นักท่องเที่ยว กลับมาที่ประเทศไทยอย่างสม�่ำเสมอ ดัชนีชี้วัดความจงรักภักดี (Loyalty Index) ดัชนีชี้วัดความจงรักภักดี ค�ำนวณโดยใช้หลักการ ที่ใช้วัดเมื่อปี2555 เพื่อประเมินผลความพึงพอใจและความ น่าประทับใจของประเทศ ที่สามารถท�ำให้เกิดการแนะน�ำ (Recommend) และกลับมาเยือนอีก (Revisit)
  • 23. 23|Tourism Journal Tourism Research จากการส�ำรวจ พบว่า ประเทศไทยยังมี Loyalty Index เป็นอันดับต้น อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นได้ตีตื้นขึ้นมาเทียบเท่ากับ ประเทศไทย อีกประเทศที่ควรติดตามคือ ออสเตรเลีย ซึ่งมีการวัดเป็นปีแรก ออสเตรเลีย มีคะแนนLoyaltyIndex ที่สูงเป็นอันดับหนึ่ง และ สูงกว่าประเทศไทย ออสเตรเลีย ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน อินเดีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ มาเก๊า อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน ปี 2555 4.89 5.18 4.45 4.16 5.15 4.94 5.42 5.43 5.91 5.97 6.26 7.70 4.15 4.92 4.25 5.22 4.27 5.51 4.62 5.63 5.99 6.09 6.75 6.75 7.89
  • 24. 24 | Tourism Journal Tourism Research ปัจจัยที่มีผลต่อดัชนีชี้วัด ความจงรักภักดี ปัจจัยที่ส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวกลับไปเที่ยวประเทศใดประเทศหนึ่ง มากกว่าหนึ่งครั้ง ประกอบไปด้วย ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คุ้มค่าเงิน เป็นประเทศที่มีสีสัน สนุกสนาน มีอิสระ สะดวกในการเดินทาง ผู้คนเป็นมิตรและมีน�้ำใจ รวมทั้งเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวที่สดใหม่เสมอ ซึ่งประเทศไทยมีจุดแข็งเกือบทุกด้าน ยกเว้นความ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สดใหม่เสมอ จึงควรพัฒนาเพื่อคงความตื่นตาตื่นใจและ สร้างความภักดีให้นักท่องเที่ยวกลับมาประเทศไทยอีก
  • 25. 25|Tourism Journal การเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีคุณภาพ เมื่อเทียบกับออสเตรเลีย นอกเหนือจากเรื่องความสวยงาม ของโลกใต้ทะเล และสนามกอล์ฟที่ทันสมัยแล้ว ประเทศไทย ยังจัดว่าด้อยกว่าออสเตรเลียเล็กน้อยในเรื่องภาพลักษณ์ความ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ส�ำหรับความหมายของแหล่ง ท่องเที่ยวที่มีคุณภาพนั้น คือ แหล่งท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัย ซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญอันดับหนึ่ง และออสเตรเลียมีภาพลักษณ์ ที่แข็งแกร่งในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มี ภาพลักษณ์เรื่องความปลอดภัยที่ชัดเจนนัก อย่างไรก็ตาม ยังมีความหมายของแหล่งท่องเที่ยวที่มี คุณภาพด้านอื่นประกอบไปด้วย ได้แก่ ประสบการณ์ที่สนุกสนาน ความคุ้มค่าเงิน การบริการที่ยอดเยี่ยมในราคาสมเหตุผล โดย ชาวเอเชียที่เน้นพักผ่อน ยังให้ความส�ำคัญกับโรงแรมหรูในราคา ที่เหมาะสม ในขณะที่ชาวตะวันตก เช่น ยุโรป อเมริกา ให้ความ ส�ำคัญกับกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์หลากหลายในการเยือน ในปัจจัยเหล่านี้ ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันค่อนข้าง สูง เพียงต้องปรับปรุงเรื่องภาพลักษณ์ด้านความปลอดภัย เพิ่มเติม บทสรุป จากงานวิจัยในเรื่อง ดัชนีชี้วัดของประเทศไทยในฐานะ จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว สามารถกล่าวได้ว่า ประเทศไทยมีจุดแข็งค่อนข้างมากที่ท�ำให้นักท่องเที่ยวตระหนัก ว่า ประเทศไทยไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่า มีการจดจ�ำ ที่ดี มีความผูกพันและจงรักภักดี อยากกลับมาเยือนอีกครั้ง แต่ต้องก�ำจัดจุดอ่อนที่ยังด้อยกว่าคู่แข่งขัน อันได้แก่ การพัฒนา แหล่งท่องเที่ยวและการดูแลด้านความปลอดภัย หากเพิกเฉย อาจสูญเสียอันดับและความสามารถด้านการแข่งขันให้กับ คู่แข่งขันอื่นๆ ได้ในอนาคต Tourism Research มาเก๊า เวียดนาม อินเดียอินโดนีเซีย ไต้หวัน จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ประเทศไทย ออสเตรเลีย ไม่มี %%1%2%2% 3% 4% 4% 5% 6% 14% 18% 19% 21%
  • 26. 26 | Tourism Journal From the Cover 26 | Tourism Journal
  • 27. 27|Tourism Journal From the Cover การท่องเที่ยว แบบหน้าสด ทำ�ไม ความจริงมักจะมากับความไม่สวยงาม อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์กันก่อน มนุษย์เรามีความไม่สมบูรณ์เป็นเรื่อง ธรรมชาติ ส่วนเรื่องที่ผิดธรรมชาติ คือการไปสู่ความสมบูรณ์แบบ งดงามทุกกระเบียด กริ๊บทุกตารางเมตร ความเพอร์เฟ็กต์นั้นเป็นเรื่องที่มนุษย์ ต้องออกแรงสร้างมันขึ้นมา ที่ใช้คำ�ว่า ‘ออกแรง’ ก็เพราะว่า มันผิดธรรมชาติ มันต้องใช้ระเบียบ อันแข็งแกร่งในการสร้าง ความสมบูรณ์นั้นขึ้นมา เรื่อง : นวพล ธำ�รงรัตนฤทธิ์ 27|Tourism Journal
  • 28. 28 | Tourism Journal From the Cover ลองสังเกตโบสถ์วัดต่างๆ ที่มีการแกะสลักมากมายหรือก่อสร้างแบบ อลังการใหญ่โตวิจิตรนั้น ล้วนได้มาจากหยาดเหงื่อแรงงานของคนจ�ำนวนมาก ได้มาจากช่วงเวลาการสร้างหลายร้อยปี หรืออาจจะได้มาจากเลือดเนื้อของ คนงานที่ต้องพลีชีพเพื่อความงามทุกเหลี่ยมมุมที่เจ้าของงานจินตนาการไว้ แต่ก็นั่นแหละครับ ใครจะอยากปล่อยให้ตัวเองดูไม่ดี ทุกคนก็อยากแต่งสวย แต่งหล่อเป็นธรรมชาติ (ทั้งๆ ที่ผิดธรรมชาติ) ธรรมชาติของมนุษย์เราจริงๆ ก็คือสภาพเพิ่งตื่นนอน หน้าสด นั่นแหละ ซึ่งสุดท้ายคนที่รักกันมากๆ และอยาก จะแต่งงานกัน ก็ต้องรับสภาพหน้าสดหลังตื่นนอนของแต่ละคนให้ได้ เพราะนั่น คือความจริงที่คุณจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ (ซึ่งบางทีหน้าสดก็สวยกว่าหน้าแต่งนะ) ที่เกริ่นน�ำมาขนาดนี้ เพราะอยากจะท�ำความเข้าใจว่า ท�ำไมคนยุคนี้ถึงชอบ ไปท่องเที่ยวแนวเรียลๆ เละๆ จนกลายเป็นเทรนด์การเที่ยวแบบใหม่อีกอย่างของ ยุคนี้ เที่ยวสวยๆ สบายๆ อยู่ดีๆ ท�ำไมไม่ชอบ โดยโหมดปกติแห่งการโปรโมตการท่องเที่ยวแล้ว แน่นอนว่าเราย่อมอยาก โชว์สิ่งที่ดีที่สุดในประเทศ ว่าง่ายๆ ถ้าสมมุติว่ามีแขกมาเยี่ยมเยียนบ้านผม ยังไงผมก็ต้องจัดบ้าน กันสักหน่อยละครับ คงไม่ปล่อยเละเทะรกสัดๆ เหมือนดั่งปกตินิสัยหรือตาม ธรรมดาของทุกๆ วัน ดังนั้น จึงเป็นปกติสามัญของทุกๆ ชาติที่จะต้องโชว์ภาพความสะอาดสะอ้าน ของเมืองตัวเอง หรือถ้ามีภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวส�ำคัญก็จะต้องเป็นมุมที่สวย ที่สุด ถ่ายต้องแสงเย็นๆ พระอาทิตย์ก�ำลังจะตก ถ้ายังไม่สวยพอก็ใช้โฟโตชอป แต่งเข้าไป เร่งสีเร่งวุ้นกันเข้าไปอีก ตรงไหนมืดไป ก็เพิ่มความสว่างเข้าไปอีก บางทีเพิ่มจนพระอาทิตย์จะมี 2 ดวงอยู่ละ ตรงไหนของภาพขยะเยอะก็ลบออก คนต่างชาติมาเห็นรูปนี้เข้าไปก็ตกใจว่า โอ้....ประเทศนี้ มีที่ที่เป็นสวรรค์แบบนี้ อยู่ด้วยเหรอ พอบินมาเที่ยวจริงๆ โห! ท�ำไมแม่งโคตรเละ ท�ำไมไม่เหมือนกับ ที่เห็นในกูเกิลเลย นี่เรายังไม่นับไอ้โรงแรมหรือที่พักประเภทใช้เลนส์ไวด์ถ่ายห้องพัก ท�ำให้ ห้องรูหนูกลายเป็นห้องนอนของสุลต่าน กว้างสุดๆ ด้วยอานุภาพของเลนส์ Canon และNikon หรือการถ่ายภาพแบบเจาะเฉพาะมุมที่จะตัดความขี้เหร่รอบๆ ออกได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อยุคนี้มีอินเทอร์เน็ตแล้ว เวลาผู้คนเสิร์ชข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซื้อของหรือท่องเที่ยว ผู้คนเลือกที่จะฟังเสียงจากลูกค้ากันเอง หรืออ่านคอมเมนต์ของนักท่องเที่ยวจริงๆ ซึ่งมันก็มักจะได้อะไรที่ ‘จริงๆ’ กว่าที่เว็บไซต์เจ้าของสินค้าและสถานที่บรรยายสรรพคุณเอาไว้ บางครั้งรีวิวที่ นักท่องเที่ยวหรือผู้บริโภคเขียนไว้นั้นแม้จะไม่สวยงามหรือด่าเละ แต่จุดที่ไม่ชอบ บางอย่างของคนคนหนึ่ง ก็กลับเป็นสิ่งที่คนคนหนึ่งรับได้ (เช่น คนหนึ่งบอกว่า สถานที่นี้แดดร้อนมากๆ เลย แต่อีกคนอาจจะชอบเพราะว่าอยากตากแดด อาบแดดอยู่แล้ว ก็เลยกลายเป็นข้อดีไป) กลายเป็นว่าการบรรยายสรรพคุณ แบบเรียลๆ เนี่ย เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ เพราะเอาเข้าจริงแล้วก็ไม่มีใครอยากถูกหลอก หรอกครับ คือว่าง่ายๆ ถ้าบ้านจนก็บอกว่าบ้านจน อย่าโกหกว่ารวย เพราะสุดท้ายพอไปเห็นบ้านจริง มันก็คือบ้านจนอยู่ดี...แต่บางทีการที่เธอบ้านจน มันก็ไม่ได้เป็นปัญหาเท่าไหร่นะ เราโอเค ยุคนี้เลยเป็นยุคแห่งการเสพข้อมูลเรียลๆ เราจะหลีกห่างศูนย์นักท่องเที่ยวของประเทศ 28 | Tourism Journal
  • 29. 29|Tourism Journal From the Cover ต่างๆ เพราะเราจะรู้สึกว่ามันไม่เรียล และมันก็ไม่ลึกพอ เราเลือกที่จะอ่านบล็อกของคนที่เคยไปเที่ยวประเทศนั้น มาแล้วมากกว่า เพราะมันบ้านกว่าและลึกกว่า บล็อก- เกอร์นักท่องเที่ยวเหล่านั้นมักจะได้เห็นในสิ่งที่ศูนย์ ข้อมูลท่องเที่ยวไม่เคยกล่าวถึง (อาจจะคิดว่าเพราะ มันไม่สวยหรือไม่น่ามองหรือไม่น่าสนใจ) แต่บางที มันกลับน่าสนใจมากกว่าสถานที่ท่องเที่ยวส�ำคัญของ เมืองนั้นอีก นอกจากนี้พวกข้อมูลการท่องเที่ยวจากบล็อกเกอร์ บางครั้งเราสามารถระบุความสนใจส่วนตัวของเราไปได้ เช่น เราอยากทัวร์ร้านหนังสือเล็กๆ ในเมืองนี้ เราก็ เสิร์ชหาคนที่คล้ายๆ เรา เราก็จะสามารถเลือกสไตล์การ ท่องเที่ยวที่เหมาะกับเราได้(ซึ่งศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว ก็ให้เราไม่ได้เช่นกัน) ถ้าเป็นเรื่องการดูสภาพบ้านเมืองต่างๆ ของ ประเทศนั้นๆ แบบจริงๆ เราก็มักจะเลือกดูจากเว็บไซต์ เก็บภาพและแชร์ภาพอย่าง Flickr เพราะเราจะได้ภาพ จากกล้องของนักท่องเที่ยวจริงๆ มา คือขอเห็นภาพ ถนนหนทางบ้านๆ จริงๆ ไปก่อนเลย จะได้ปรับจิตถูก ก่อนไปเที่ยว เพราะเวลาดูรูปแบบกูเกิลชอบให้ภาพถนน หนทางสวยงาม แต่พอไปเห็นจริงๆ ชอบธรรมดา ท�ำไม ถนนมันเหมือนถนนบ้านกูเลยวะ ไม่เห็นเอ็กโซติคเลย เทรนด์นี้น�ำมาซึ่งการไปหาที่พักแนว Airbnb คือ พักกับบ้านคน Local จริงๆ บางทีก็จะล�ำบากหน่อย เพราะการไปพักบ้านคนจริงๆ ก็จะต้องนัดเวลากับ เจ้าของบ้าน บางครั้งเตียงนอนไม่ค่อยสบายบ้าง หรือ ข้างห้องแม่งเสียงดังตลอดเวลา อีกทั้งห้องเจ้าของบ้าน อยู่ชั้น 7 ในตึกที่ไม่มีลิฟต์ แม้ว่ามันจะไม่สะดวกสบาย เหมือนการพักโรงแรม แต่มันก็เรียลกว่า (แกๆ ฉันได้ มาพักในบ้านคนฝรั่งเศสจริงๆ นะเว่ย) ถึงมันจะเละๆ หน่อยก็เถอะนะ เทรนด์เรียลๆ นี้จึงเติบโตอย่างรวดเร็วตาม ความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ท�ำให้เจ้าของบ้าน Local ติดต่อกับนักท่องเที่ยวต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบายโดยที่ ไม่ต้องขึ้นกับโรงแรมใดๆ และท�ำให้นักท่องเที่ยวได้เห็น ภาพจริงของประเทศนั้นๆ ประกอบการตัดสินใจในการ เดินทาง รวมทั้งยอมรับข้อบกพร่องของสถานที่นั้นๆ ก่อนที่จะเดินทางไป ช่วยให้รู้สึกมั่นอกมั่นใจก่อนไป ได้มากขึ้น ราวกับมีเพื่อนสนิทมาให้ข้อมูลและคุย ให้ฟัง ซึ่งแน่นอนว่าเราย่อมเชื่อเพื่อนเรามากกว่า คนแปลกหน้าคนอื่นๆ(ที่คล้ายๆ เซลล์ขายทัวร์) อยู่แล้ว และจากเทรนด์เรียลๆ มันก็ค่อยๆ ถูกพัฒนา กลายเป็นเทรนด์เละๆ...หมายถึงว่า เที่ยวที่สวยงาม มันไม่สนุกอีกต่อไปแล้ว แม่งต้องเที่ยวที่เละๆ ยิ่งเละ ยิ่งดี ยิ่งรั่วยิ่งสนุก ยิ่งสกปรกยิ่งจริง ยิ่งตั๋วเครื่องบิน 29|Tourism Journal
  • 30. 30 | Tourism Journal From the Cover 30 | Tourism Journal
  • 31. 31|Tourism Journal From the Cover ถูกลงเท่าไหร่ นักท่องเที่ยวก็มีแนวโน้มว่าจะอายุลดลงเรื่อยๆ กลายเป็นว่านักท่องเที่ยวัยรุ่นเกลื่อนเมือง เกลื่อนโลก แน่นอนว่าเด็กพวกนี้เวลาเที่ยวก็ไม่ได้อยากจะไปสถานที่ที่มันทัวริสตี้มากนัก พวกเขาต้องการ พักง่ายๆ ถูกๆ เมาๆ สนุกๆ (เวลาพูดถึงเมืองไทย ชาวต่างชาติจึงมักนึกถึงถนนข้าวสาร สีลม พัฒน์พงษ์ ซอยคาวบอย และซอยนานามากกว่าสถานที่พระๆ ที่อื่นในเมืองไทย) พวกเขาอาจจะไม่ได้อยากมากิน ยาดองหรือซื้อบริการหญิงใดๆ บางทีพวกเขาก็แค่อยากมาเดินผ่าน มองไฟนีออนสะท้อนแสงข้างทาง ดูโหลยาดองที่ฝาปิดมันสีสวยดี เพราะว่าอะไร? เพราะของเหล่านี้เหมือนเป็นของที่ทางการปกปิดและไม่ให้คนอื่นดู ซึ่งส�ำหรับ วัยรุ่นแล้ว อะไรที่ยิ่งปิด ก็ยิ่งอยากดู เพราะเราจะรู้สึกว่านั่นคือของจริง ตัวตนจริงๆ ว่าง่ายๆ คือ มันคือสภาพหน้าสดของประเทศนั้นๆ นั่นเอง เป้าหมายแห่งการท่องเที่ยวของโลกจึงไม่ได้รวมศูนย์อยู่ที่นิวยอร์ก ปารีส ลอนดอน โตเกียว หรือ กรุงเทพฯ อีกต่อไป เพราะประเทศฮิตๆ ที่ก�ำลังจะมา มักจะประกอบไปด้วย เม็กซิโก แอฟริกาใต้ โมร็อกโก เนปาล อินเดีย อียิปต์ บราซิล และอื่นๆ ที่เป็นประเทศแนวก�ำลังพัฒนาทั้งหลาย ก็เพราะว่ามันก�ำลังพัฒนา นี่แหละ มันเลยเรียลๆ เละๆ ถ้าเกิดมันพัฒนาไปเรียบร้อยแล้ว ไอ้สภาพเละๆ ก็คงโดนปกปิดอีกครั้งหนึ่ง หลายคนอาจจะคิดในใจว่าไอ้ความเรียลเละที่ว่านี่มันงดงามยังไง พวกนายแค่อยากจะแนวๆ ติสท์ๆ รึเปล่า ค�ำตอบคือว่า มันอาจจะไม่ได้งดงามหรือสวยส�ำหรับทุกคน (เพราะความสวยเป็นเรื่องปัจเจก) แต่แน่นอนว่า ไอ้เมืองเละๆ พวกนี้มีลักษณะเฉพาะตัวและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองอยู่สูง ก็เพราะมัน ยังไม่เจริญมากนัก ยังไม่ถูกปรับให้กลายเป็นเมืองการค้าที่แสนปลอดภัย ซึ่งถ้ามันเจริญเมื่อไหร่ รับรอง ว่าหน้าตาของเมืองเหล่านั้นก็จะไม่ได้แตกต่างจากนิวยอร์ก ปารีส ลอนดอน โตเกียว หรือกรุงเทพฯ ว่าง่ายๆ คือมันยังไม่ถูกท�ำให้เป็นสากลนั่นเอง แต่แม้ว่านักท่องเที่ยวจะต้องการเละแค่ไหน สิ่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวมักจะลืมไปคือ บางครั้งสถานที่นั้น ยิ่งเละเท่าไหร่คุณก็ต้องยิ่งระวังตัว ยิ่ง Local เท่าไหร่ คุณยิ่งเป็นคนแปลกหน้าของสถานที่นั้นมากขึ้น หลายคนอยากไปเที่ยวสลัมคลองเตยแห่งรีโอเดจาเนโร เพราะดูในรูปแล้วขยะเป็นตันๆ เรียงตัวกัน เป็นก�ำแพงสวยงามมาก หรืออยากไปลองพิสูจน์ถนนที่มีการค้ายาแห่งออสเตรียซึ่งได้ข่าวว่าคนแถวนั้น แต่งตัวกันชิคมาก และบางคนอยากไปเมืองที่มีการสู้รบกันกลางเมืองอย่างยูเครน เพราะซากตึกที่เละเทะนั้น ท�ำให้รับรู้ได้ถึงการต่อสู้ทางการเมืองของผู้คนที่นั่นมากจริงๆ คือดูในภาพมันก็สวยดีหรอก แต่พอให้ไปเดิน จริงๆ อาจจะเอาชีวิตไม่รอดกัน อาจจะโดนปล้น โดนแทง หรือโดนยิงโดยไม่รู้ตัว นี่คืออีกคมดาบหนึ่งที่มา พร้อมกับความสวยงามในสถานที่เรียลๆ เละๆ คือมันอยู่เหนือการควบคุมดูแลจากส่วนกลาง หรือแถวนั้น อาจจะไม่มีไฟทางส่องให้คุณเดินกลับโรงแรมหรือที่พักยามดึก อาจจะเป็นเรื่องที่บาลานซ์ได้ยาก กับการที่จะท�ำให้สถานที่ที่เละนั้นดูปลอดภัยมากขึ้น แต่ต้องไม่ท�ำให้ ปลอดภัยมากซะจนสูญเสียความเละ ส่วนกลางจะควบคุมอย่างไรให้มันพอดี หรือจริงๆ ไม่ต้องควบคุม แค่แนะน�ำและเตือนนักท่องเที่ยวก่อนที่พวกเขาจะตัดสินใจเดินทางเข้าไปยังโซนนั้น เพราะเอาเข้าจริง สิทธิแห่งการท่องเที่ยวก็ไม่ควรถูกจ�ำกัดหรือถูกข่มขู่โดยใครทั้งนั้น เพราะบางครั้งนักท่องเที่ยวอาจจะเป็น ทหารเก่า ก็เลยไม่กลัวที่จะเข้าไปเที่ยวในประเทศที่มีการรบรากันอยู่ จริงๆ แล้วมันอาจจะยังไม่ต้องไปถึงจุดนั้นก็ได้ เอาแค่เวลาถ่ายรูปสถานที่ท่องเที่ยวหรือแนะน�ำที่พัก อะไรก็ตาม แค่พูดกันตามจริง ยอมรับข้อบกพร่องกันจริงๆ หรือพัฒนาสถานที่นั้นๆ ให้ดีจริงๆ จนไม่ว่า ถ่ายรูปจากมุมไหนเวลาใดก็ดูสวยโดยธรรมชาติ แค่นั้นก็อาจจะแสดงความจริงใจในการเชื้อเชิญผู้คน มาท่องเที่ยวได้แล้ว จะเรียกง่ายๆ ว่า ‘หน้าสดแต่ก็ยังสวย’ ก็ไม่ผิดนัก และนั่นคือวิธีการที่ธรรมชาติที่สุด
  • 32. 32 | Tourism Journal Tourism Trend Solo Travel :: นักท่องเที่ยวมีแนวโน้มนิยมเดินทางคนเดียวมากขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มผู้มีอายุน้อยที่มีรายได้ดี แต่มีตารางเวลาที่ไม่แน่นอน ท�ำให้หาเพื่อน เดินทางท่องเที่ยวในเวลาที่ว่างตรงกันได้ค่อนข้างยาก เป็นผลให้กลุ่มคน เหล่านี้เลือกเดินทางเอง ประกอบกับเทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่น ที่อ�ำนวยความสะดวกในการเดินทางมีมากขึ้น ท�ำให้การเดินทางล�ำพัง เป็นไปอย่างง่ายดาย Go Girls :: แนวโน้มที่พบเห็นมากขึ้นในปัจจุบัน คือ ผู้หญิงที่นิยมเดินทางกัน เป็นกลุ่ม เริ่มมีการจัดรายการน�ำเที่ยวเฉพาะผู้หญิงขึ้น ตั้งแต่การเดินทาง เพื่อผจญภัย ไปจนถึงการพักผ่อนท�ำสปา เนื่องจากกลุ่มผู้หญิงนิยม ใช้จ่ายเงินในการช้อปปิ้งเป็นทุนเดิม ท�ำให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นศักยภาพ ในกลุ่มนี้ แนวโน้มพฤติกรรม ผู้บริโภคในปี 2014 Destination Unknown :: แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแม้ยังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว ทั่วไปอยู่ แต่นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งเริ่มมองหาแหล่งท่องเที่ยวที่มี นักท่องเที่ยวไปเยือนไม่มากนัก เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ลาดักห์ (Ladakh) ซึ่งตั้งอยู่เหนือระดับน�้ำทะเลทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นสถานที่ ที่นักท่องเที่ยวผู้รักการผจญภัยต้องไปเยือน ปัจจุบัน เริ่มมีนักท่องเที่ยว ไปเยือนมากขึ้น จนท�ำให้นักท่องเที่ยวเริ่มมองหาแหล่งท่องเที่ยวขนาดเล็ก อื่นๆ ที่มีนักท่องเที่ยวไม่มากนักต่อไป เช่น ฟิจิ และอาร์มีเนีย With My Buddies :: แหล่งท่องเที่ยว เช่นGoa-อินเดีย, สิงคโปร์ กรุงเทพฯ พัทยา ได้รับ ความนิยมอย่างมากในกลุ่มเพื่อนที่เดินทางท่องเที่ยวร่วมกัน โดยกลุ่ม นักท่องเที่ยวที่มีอายุน้อยกลุ่มนี้ มักนิยมเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงระดับโลกส�ำหรับปาร์ตี้ DNAIndia.com ได้กล่าวถึงแนวโน้มพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวในปี 2014 โดยสรุปได้ดังนี้ เรื่อง : DNAIndia.com / เรียบเรียง : กองวิจัยการตลาด
  • 33. 33|Tourism Journal Tourism Trend For the Love of Music :: เทศกาลดนตรีมีส่วนเป็นอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการเดินทาง ท่องเที่ยว เทศกาลดนตรีที่โด่งดัง เช่น Oktoberfest ในเยอรมนี หรือเทศกาลดนตรีอื่นๆ ล้วนได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจากผู้รัก เสียงดนตรีในการเดินทางเข้าร่วมงาน Appsolutely Fun :: การวางแผนเดินทางเป็นเรื่องง่ายและสนุกขึ้น เนื่องจากมีแอพพลิเคชั่น ที่เกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวออกมาในท้องตลาดมากมายโดยผู้ประกอบการ ต่างผลักดันแอพพลิเคชั่นของตนออกมาเพื่อให้ธุรกิจมียอดขายที่สูงขึ้น เช่นGoogleMaps,MakeMyTrip,FlightTrack และViber เป็นตัวอย่าง ของแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมในอินเดียมาก Spread the Bug :: การแชร์รูปและเรื่องราวผ่านสังคมออนไลน์และบล็อก ทันทีทันใด ขณะเดินทางท่องเที่ยวกลายเป็นเรื่องธรรมดาในปัจจุบัน และดูเหมือนว่า ‘TravelBug’ หรือแมลงท่องเที่ยว จะแพร่พันธุ์กระจายเติบโตไปได้กว้าง และไกล การวางแผนการเดินทาง การศึกษาเรื่องราวผู้อื่น และวางแผน งบประมาณการเดินทางโดยเลียนแบบผู้อื่นจึงเป็นไปได้อย่างง่ายดาย
  • 34. 34 | Tourism Journal Tourism Trend Tourism Camera andDeathเรื่อง : วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ 34 | Tourism Journal