SlideShare a Scribd company logo
1 of 36
 
 
การดำเนินงานขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  ( องค์การมหาชน )  เน้นการรักษาสมดุล ๓ มิติ ที่เป็นเสาหลัก คือเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการมีส่วนร่วม เป็นหน่วยงานที่พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยนำแหล่งท่องเที่ยวนั้นไปทำการตลาด โดยกลุ่มที่ อพท . จะเข้าไปพัฒนามีด้วยกัน ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑ .  กลุ่มนักท่องเที่ยว อพท . จะให้ความรู้การท่องเที่ยวที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และให้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ๒ .  กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ อพท .  จะให้จัดหลักสูตรการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งแนะนำการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดีจะส่งผลดีอย่างไร และ ๓ . กลุ่มเยาวชน อพท .  จะพัฒนาเยาวชนให้เข้าใจเรื่องนักท่องเที่ยว ธุรกิจ เศรษฐกิจ รู้จักการท่องเที่ยวแบบสบายกระเป๋า พร้อมกับใส่ใจสิ่งแวดล้อม
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่มีการดำเนินการสืบเนื่องต่อไปยังอนาคต ดังนั้นการเตรียมพร้อมของคนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นโครงการเยาวชน อพท .  ไม่ใช่เป็นโครงการที่จัดค่ายเยาวชนแล้วจบไป แต่การดำเนินการของโครงการเป็นการมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน เพื่อเตรียมตัวรองรับการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนของตนเอง สามารถดูแลสภาพแวดล้อมของชุมชนตนเองให้ยั่งยืน แต่เนื่องจากการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายจะมีความแตกต่างกัน สำหรับกลุ่มเยาวชนจำเป็นต้องใช้การเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน โดยแบ่งกลุ่มเยาวชนออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่
1.  น้องค่าย ได้แก่ เยาวชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมค่ายเยาวชน เมื่อจบกิจกรรมค่ายเยาวชนแล้วก็ยังพร้อมจะกลับมาเข้าเข้าร่วมกิจกรรมของ อพท .  2.  พี่เลี้ยง ได้แก่ กลุ่มแกนนำในการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน เป็นกลุ่มที่รับผิดชอบการขับเคลื่อนกระบวนการกิจกรรมค่ายให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการทำค่ายเยาวชน เยาวชนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ อพท .  มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพต่อยอดให้มีความสามารถในการรองรับการจัดการท่องเที่ยวและสามารถดูแลสภาพแวดล้อมของชุมชนตนเองให้ยั่งยืน เพราะรู้จักกระบวนการทำงาน การเสนอความคิดเห็น การแก้ไขปัญหา และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกันได้
การดำเนินโครงการเยาวชน อพท .  เป็นการดำเนินงานภายใต้พันธกิจที่ ๓ และ ๕ ของ อพท .  กล่าวคือ พันธกิจที่ ๓ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และพันธกิจที่ ๕ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตน โดยมียุทธศาสตร์ที่ ๖ การให้บริการด้านองค์ความรู้เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นแนวทางการดำเนินโครงการ
โครงการเยาวชน อพท .  เริ่มต้นในปี พ . ศ . ๒๕๕๑ ตลอด ๔ ปีที่ผ่านมา อพท .  ได้การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ๑ . ๖๘๐ คน จาก ๓๒ โรงเรียน และ ๗ สภาเด็กและเยาวชนตำบล จำนวนทั้งสิ้น ๒๗ โครงการ มีการเรียนรู้ทั้งในห้องบรรยาย ห้องเรียนจริง มีการปฏิบัติจริง รวมไปถึงการให้การสนันสนุนกิจกรรมของเยาวชนที่มีความความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดจากการอบรมให้เกิดเป็นรูปธรรมจำนวนทั้งสิ้น ๒๔ โครงการ สร้างแกนนำเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ จำนวนประมาณ ๓๐ คน โดยแนวทางการพัฒนาศักภาพของเยาวชนมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
ปีที่ ๑ ให้ความรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวเยาวชน ให้เกิดความเข้าใจ รู้คุณค่า เกิดความรัก ความหวงแหน โดยเป็นการให้ความรู้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ แรก สร้างความรู้ คุณค่า ทรัพยากรในท้องถิ่น มุ้งเน้น ป่าชายเลน ปะการัง
ปีที่ ๒ สร้างความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อให้มีความเข้าใจความสำคัญของการท่องเที่ยวที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน รวมทั้งการดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวให้มีการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ปีที่ ๓ พัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถให้แกนนำเยาวชน ที่เป็นแกนนำในดำเนินการกิจกรรมค่าย โดยเพิ่มเติมความรู้และประสบการณ์ที่นอกเหนือจากการทำงาน ได้แก่ การเรียนรู้การทำวิสัยทัศน์ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค การสอบถามความต้องการ การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง การเขียนโครงการ รวมทั้งการทัศนศึกษาการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ที่ อพท .  เข้าไปมีส่วนร่วม
ปีที่ ๔ คัดเลือกแกนนำเยาวชน อพท .  เพื่อเป็นตัวแทน อพท .  ในการดำเนินกิจกรรมเยาวชนของ อพท .  โดยใช้ชื่อเรียกว่า “ยุวชน อพท” หรือ “ DASTA gen-z gang”  เป็นทีมงานที่จะดำเนินกิจกรรมเยาวชนในพื้นที่พิเศษของ อพท .
เป้าหมาย ปรัชญาการดำเนินงานของ อพท .  คือ การพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างสมดุล ๓ ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นั่นคือ การมีรายได้เพิ่มขึ้นจะต้องไม่ได้มาจากแหล่งเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป สิ่งสำคัญที่จำเป็นที่สุดในกระบวนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแต่ละพื้นที่นั้น คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับปี พ . ศ .  ๒๕๕๔ อพท .  เน้นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยแผนงานของ อพท .  จะเป็นการท่องเที่ยวแบบ  Low Carbon  ซึ่งจะได้ผลลัพธ์คือประเด็นเรื่องการลดภาวะโลกร้อน เพราะฉะนั้นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในปี พ . ศ . ๒๕๕๔ จะเป็นการท่องเที่ยวที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
สำหรับแผนงานด้านเยาวชนของ อพท .  ในปี พ . ศ .  ๒๕๕๔ มุ่งเน้นการพัฒนา ยุวชน อพท .  จำนวน ๒๐ คน ให้เป็นตัวแทนของ อพท .  สามารถสร้างเครือข่ายและดำเนินกิจกรรมเยาวชนได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะเป็นผู้นำความรู้ต่างๆ ที่ อพท .  ถ่ายทอดให้ไปถ่ายทอดต่อให้กับเยาวชนรุ่นน้องหรือชุมชนของตนเอง ทั้งนี้เป็นการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้เป็นผู้ที่รู้จักถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้แพร่หลาย สามารถทำร่วมกับชุมชนได้ อีกทั้งรู้จักคิดสร้างสรรค์โครงการต่างๆ ในการพัฒนาชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง ถือได้ว่าเป็นการสร้างเครือข่ายในอนาคตของ อพท .  อีกช่องทางหนึ่ง และเป็นการสร้างคนในอนาคตให้มีความพร้อม สู่ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
แนวทางการดำเนินงานแนวทางการพัฒนายุวชน อพท . การดำเนินการพัฒนาเยาวชนแบ่งออกเป็น ๔ ขั้นตอน ได้แก่
๑ .  การสร้างความรู้ความเข้าใจ  ให้เยาวชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นตนเอง อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่าย โดยการเชิญนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่พิเศษเข้ารับการอบรมภายใต้โครงการที่จัดโดย อพท .  ทั้งนี้การเข้าค่ายแต่ละรุ่นจะมีการผสมผสานนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ เพื่อได้รู้จักกันและมีความคุ้นเคยเพื่อวันข้างหน้าที่พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะสามารถช่วยเหลือการทำงานซึ่งกันและกันได้ ในขั้นตอนนี้จะมีการพิจารณาหาเยาวชนที่มีความความเป็นผู้นำ เพื่อชักชวนมาเป็นพี่เลี้ยงค่ายเยาวชนในรุ่นต่อไป
๒ .  การสร้างความสามารถนำความรู้ไปบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของตนเองได้  และเป็นการพัฒนาศักยภาพเยาวชน การให้เยาวชนที่คัดเลือกทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงค่าย เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานทั้งหมด รวมทั้งการรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หากเยาวชนสามารถรับผิดชอบงานได้อย่างครบถ้วนก็จะเชิญมาเป็นพี่เลี้ยงในรุ่นต่อๆ ไป รวมทั้งให้เยาวชนเสนอโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นตนเอง โดย อพท .  จะร่วมดำเนินการโครงการที่เยาวชนเสนอมาให้เกิดเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
๓ .  การสร้างแกนนำเยาวชน  เป็นการพิจารณาคัดเลือกเยาวชนจากขั้นตอนที่ ๒ ที่ได้มีการเสนอโครงการที่นำความรู้ไปใช้ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นตนเองหลังจากจบการอบรม และขอรับการสนับสนุนจาก อพท .  ทั้งนี้ อพท .  จะร่วมดำเนินการโครงการที่เยาวชนเสนอมาให้เกิดเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งเยาวชนที่เสนอโครงการเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นกลุ่มเยาวชนที่เป็นแกนนำเยาวชน มีความเป็นผู้นำในการคิดริเริ่ม การแสดงออก มีความรับผิดชอบต่อโครงการที่นำเสนอโดยการ สามารถขับเคลื่อนโครงการได้จนเสร็จสิ้นตามวัตถุประสงค์โครงการ อพท .  จะแต่งตั้งเป็น “ยุวชน อพท .”  เพื่อเป็นตัวแทน อพท .  ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน รวมทั้งเป็นการส่งผ่านความรู้เข้าถึงชุมชนอีกช่องทาง
๔ .  สนับสนุนการดำเนินงานของ “ยุวชน อพท .”   ซึ่งดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ตั้งแต่การคิด จัดทำและเสนอโครงการ ร่วมกับชุมชน การดำเนินการกิจกรรม โดย อพท .  จะเป็นพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อที่ “ยุวชน อพท .”  เติบโตจะสามารถเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน และเป็นตัวแทนของชุมชนที่จะร่วมกันทำงานกับ อพท .  ในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างเข้มแข็งและเข้าใจถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
แนวทางการพัฒนายุวชน อพท . การพัฒนายุวชนของ อพท .  ที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา ๓ ปี ทำให้ได้รูปแบบของการพัฒนาเยาวชนที่จะนำไปใช้กับเยาวชนในพื้นที่พิเศษอื่นต่อไป โดยดำเนินการพัฒนา ๔ ขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว การให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ฝึกฝนให้สามารถคิดและเขียน การเสนอความคิดและรับฟังความเห็นของชุมชนเพื่อรู้จักการทำงานร่วมกับชุมชน และเป็นการเตรียมความพร้อมของเยาวชนที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต การพัฒนาแกนนำเยาวชนจะเป็นการนำเยาวชนเข้ารับการอบรมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยื่นร่วมกับผู้นำชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนและผู้นำชุมชนได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการร่วมกันคิดโครงการพัฒนาชุมชนของตนเองระหว่างที่ได้รับการอบรมองค์ความรู้ต่างๆ และเป็นการสร้างการยอมรับของผู้นำชุมชนให้ยอมรับความสามารถของเยาวชน อพท .  สามารถเป็นแกนนำในการดำเนินการกิจกรรมบางอย่างได้ โดยเน้นที่การดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชน
โครงการที่แกนนำเยาวชนเสนอจะเป็นโครงการที่นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาใช้ในการจัดการร่วมกับชุมชน เป็นการคิดโครงการร่วมกันกับชุมชนโดยมีแกนนำเยาวชน อพท .  เป็นผู้ขับเคลื่อน หรือเป็นโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่แกนนำเยาวชน อพท .  ได้รับจากการอบรมไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนรุ่นน้อง หรือ คนในชุมชน และในปีต่อๆ ไปแกนนำเหล่านี้ก็จะดำเนินการร่วมกับชุมชนในการคิดโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมหรือแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน เพื่อเป็นการรักษาสมดุล ๓ มิติ ที่เป็นเสาหลัก คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
จากกระแสการท่องเที่ยวมุ่งเน้นการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว การสร้างรายได้ และการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ก่อให้เกิดผลลบต่อชุมชน ทั้งเรื่องความแตกต่างและช่องว่างของฐานะทางเศรษฐกิจ ความเสื่อมโทรมทางศิลปะ การสูญหายทางวัฒนธรรม ปัญหาสังคม ตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องมีการแก้ไขตามปัญหาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น อพท .  จึงได้เน้นการพัฒนาด้านสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาสมดุลทั้ง ๓ มิติ หากมีการโตของมิติเพียงด้านเดียวจะทำให้ชุมชนนั้นเกิดการเสียสมดุลและนำไปสู่ความล้มเหลวในการพัฒนาชุมชน
จากการดำเนินงานได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้มากมายจากการทำงานร่วมกัน จึงได้มีการรวบรวมความรู้ต่างๆ ที่เกิดจากการทำงาน และจัดทำเป็นคู่มือสำหรับการพัฒนาเยาวชน รวมทั้งเป็นคู่มือประจำตัวของเยาวชนในพื้นที่พิเศษ
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน  ( Sustainable Tourism)              บุญเลิศ   จิตตั้งวัฒนา    (2542)    ได้ให้ความหมายการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน  ( Sustainable Tourism)  ว่าหมายถึงการท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็กที่มีการจัดการอย่างดีเยี่ยม เพราะสามารถดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรท่องเที่ยวให้มีความดึงดูดใจอย่างไม่เสื่อมคลาย และธุรกิจท่องเที่ยวมีการปรับปรุง คุณภาพให้ได้ผลกำไรอย่างเป็นธรรม โดยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนสม่ำเสมออย่างเพียงพอ แต่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดอย่างยืนยาว
   ลักษณะการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน                 การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีลักษณะสำคัญอยู่  6  ประการดังนี้ คือ                 1.1   เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทุกประเภท ทุกแห่ง                 1.2   เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าและความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว                 1.3   เป็นการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม                 1.4   เป็นการท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและวัฒนธรรม                 1.5   เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยืนยาว                 1.6   เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น และคืนผลประโยชน์กลับสู่ทรัพยากรท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
หลักการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน                  การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีหลักการดังนี้                 2.1   การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี  ( Using Resource Sustainable ) ทั้งในส่วนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญและเน้นการทำธุรกิจในระยะยาว                 2.2   การลดการบริโภคที่เกินความจำเป็นและการลดของเสีย  ( Reducing Over-consumption and Waste)  จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายในระยะยาว และเป็นการเพิ่มคุณภาพของการท่องเที่ยวด้วย
2.3   การรักษาและส่งเสริมความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ  ( Maintaining Diversity ) สังคม และวัฒนธรรม จะช่วยขยายฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต                 2.4   การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว  ( Integrating Tourism into Planning)  เข้ากับกรอบแผนกลยุทธ์การพัฒนาแห่งชาติ การพัฒนาท้องถิ่น และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะช่วยขยายศักยภาพการท่องเที่ยว                 2.5   การท่องเที่ยวที่รองรับกิจกรรมในท้องถิ่น ( Supporting Local Economic) โดยคำนึงถึงราคาและพัฒนาคุณค่าของสิ่งแวดล้อมไว้ ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการประหยัด แต่ยังป้องกันสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทำลายอีกด้วย
2.6  เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น (  Involving Local Communities)  ในด้านการจัดการผลตอบแทนของประชาชน และสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและการจัดการการท่องเที่ยว                 2.7   การประสานความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ประชาชนท้องถิ่น องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง  ( Consulting Stakeholders and the Public)  เพื่อลดข้อขัดแย้งและร่วมแก้ปัญหา               
2.8   เป็นการฝึกอบรมบุคลากร  ( Training Staff ) โดยสอดแทรกแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการพัฒนาแบบยั่งยืนแก่บุคลากรท้องถิ่นทุกๆระดับ เพื่อยกระดับการบริการการท่องเที่ยว                 2.9   ข้อมูลข่าวสารที่สื่อให้กับนักท่องเที่ยว โดยมุ่งสร้างความเข้าใจในการเคารพต่อธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว  ( Marketing Tourism Responsibly)  อีกทั้งเป็นการช่วยยกระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง                 2.10  การวิจัยและติดตามผล  ( Undertaking Research)   เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินงาน  รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่างๆ  เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
หลักการของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดย            การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  ( sustainable tourism)  มีหลักการที่สอดคล้องกับการ พัฒนาอย่างยั่งยืน  ( sustainable development)  ซึ่งเป็นกระแสความคิดหลักของโลกในช่วง  ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา และได้รับความสนับ - สนุนจากคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ( Commission on Sustainable Development)  ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งหลักการโดยทั่วไปของการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนคือ จะต้องมีการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลายาวนาน และมีการกระจายผลประโยชน์ให้แก่คนส่วน ใหญ่ รวมทั้งมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อนำหลักการนี้มาปรับใช้กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จึงมีจุดเน้นที่สำคัญดังนี้
๑ .  จะต้องดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยว ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลา ยาวนานจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน มิใช่เพียงเพื่อคนรุ่นปัจจุบันเท่านั้น           
๒ .  ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และลดปริมาณของเสียที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม           
๓ .  มีการกระจายรายได้และผลประโยชน์ให้แก่คนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ เปิดโอกาสให้ชุมชนในท้องถิ่นได้เข้าร่วมในการจัดการ และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว         
๔ .  มีการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว และชุมชนในท้องถิ่น  เพื่อการวางแผนงาน การจัดสรรงบประมาณ และการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม          
    ๕ .  มีการสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่ แนวคิด การศึกษาวิจัย และความรู้เกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ออกไปในหมู่ประชาชน ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กับการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ก็คือ   คำว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเองนั้นเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งในส่วนใหญ่ ๆ ของการท่องเที่ยว ในขณะที่หลักการเพื่อความยั่งยืนควรนำไปใช้กับทุกรูปแบบของกิจกรรม การดำเนินกิจการ สถานประกอบการ ตลอดจนโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว รวมถึงรูปแบบที่มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาและรูปแบบที่เสนอให้เป็นตัวเลือกด้วย
สำหรับการท่องเที่ยวยั่งยืนนั้น องค์การท่องเที่ยวโลก ( WTO)  ได้กำหนดหลักการของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนไว้ตั้งแต่ พ . ศ . 2531 ว่า ลักษณะของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนนั้น  " ได้รับการคาดหมายให้นำไปสู่การจัดการทรัพยากรทั้งมวลด้วยวิถีทางที่ตอบสนองต่อความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุนทรียะ ในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งบูรณภาพทางวัฒนธรรม กระบวนการทางนิเวศวิทยาที่จำเป็น ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบต่าง ๆ ที่เอื้อต่อชีวิต "  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แนวความคิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนจึงได้รับความนิยมและแพร่หลายค่อนข้างมากในการประชุม  Globe'90  ณ ประเทศคานาดา ได้ให้คำจำกัดความ การท่องเที่ยวแบบยังยืนว่าหมายถึง  " การพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยมีการปกป้องและสงวนรักษาโอกาสต่าง ๆ ของอนุชนรุ่นหลัง การท่องเที่ยวนี้มีความหมายถึง การจัดการทรัพยากรเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความงามทางสุนทรียภาพ ในขณะที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศด้วย "

More Related Content

Similar to งานธุรกิจการท่องเที่ยว

บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้Weerachat Martluplao
 
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้Weerachat Martluplao
 
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีนางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีPayped คิคิ
 
เสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมเสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมchanhom357
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมจตุรพล ชานันโท
 
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)Kobwit Piriyawat
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
Young Influencer Pathumthani
Young Influencer PathumthaniYoung Influencer Pathumthani
Young Influencer PathumthaniInfluencer TH
 
2554 ผลการดำเนินโครงการทำดีไร้ยางอายกับเด็กชายแว่นโต
2554 ผลการดำเนินโครงการทำดีไร้ยางอายกับเด็กชายแว่นโต2554 ผลการดำเนินโครงการทำดีไร้ยางอายกับเด็กชายแว่นโต
2554 ผลการดำเนินโครงการทำดีไร้ยางอายกับเด็กชายแว่นโตmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
โครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วมรวม
โครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วมรวมโครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วมรวม
โครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วมรวมJustarn Pd
 
Youth project documents
Youth project documentsYouth project documents
Youth project documentsworachak11
 
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือwatdang
 
จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4Suwakhon Phus
 

Similar to งานธุรกิจการท่องเที่ยว (20)

บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
 
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
บทที่ 1 การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
 
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดีนางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
นางสาวรุ่งนภา ปัญญาดี
 
เสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรมเสริมสร้างคุณธรรม
เสริมสร้างคุณธรรม
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
 
01
 01 01
01
 
01
 01 01
01
 
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
เอกสารนำเสนอนวัตกรรมNonsi 3 s together(20แผ่น)
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
Young Influencer Pathumthani
Young Influencer PathumthaniYoung Influencer Pathumthani
Young Influencer Pathumthani
 
2554 ผลการดำเนินโครงการทำดีไร้ยางอายกับเด็กชายแว่นโต
2554 ผลการดำเนินโครงการทำดีไร้ยางอายกับเด็กชายแว่นโต2554 ผลการดำเนินโครงการทำดีไร้ยางอายกับเด็กชายแว่นโต
2554 ผลการดำเนินโครงการทำดีไร้ยางอายกับเด็กชายแว่นโต
 
โครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วมรวม
โครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วมรวมโครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วมรวม
โครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วมรวม
 
แนวสรุปนักพัฒนาชุมชน99
แนวสรุปนักพัฒนาชุมชน99แนวสรุปนักพัฒนาชุมชน99
แนวสรุปนักพัฒนาชุมชน99
 
Youth clever project
Youth clever                        projectYouth clever                        project
Youth clever project
 
Youth clever project
Youth clever projectYouth clever project
Youth clever project
 
Youth project documents
Youth project documentsYouth project documents
Youth project documents
 
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ
 
จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4
 
Youth council
Youth councilYouth council
Youth council
 

More from Pornpan Larbsib

งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คPornpan Larbsib
 
งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คPornpan Larbsib
 
นางสาว พรพรรณ ลาภสิบ ม.6/7 เลขที่ 9
นางสาว พรพรรณ ลาภสิบ ม.6/7 เลขที่ 9นางสาว พรพรรณ ลาภสิบ ม.6/7 เลขที่ 9
นางสาว พรพรรณ ลาภสิบ ม.6/7 เลขที่ 9Pornpan Larbsib
 
งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คPornpan Larbsib
 
งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คPornpan Larbsib
 
งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คPornpan Larbsib
 
งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คPornpan Larbsib
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวPornpan Larbsib
 
ครูเกษียณ
ครูเกษียณครูเกษียณ
ครูเกษียณPornpan Larbsib
 

More from Pornpan Larbsib (9)

งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.ค
 
งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.ค
 
นางสาว พรพรรณ ลาภสิบ ม.6/7 เลขที่ 9
นางสาว พรพรรณ ลาภสิบ ม.6/7 เลขที่ 9นางสาว พรพรรณ ลาภสิบ ม.6/7 เลขที่ 9
นางสาว พรพรรณ ลาภสิบ ม.6/7 เลขที่ 9
 
งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.ค
 
งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.ค
 
งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.ค
 
งานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.คงานนำเสนอ31ส.ค
งานนำเสนอ31ส.ค
 
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยวงานธุรกิจการท่องเที่ยว
งานธุรกิจการท่องเที่ยว
 
ครูเกษียณ
ครูเกษียณครูเกษียณ
ครูเกษียณ
 

งานธุรกิจการท่องเที่ยว

  • 1.  
  • 2.  
  • 3. การดำเนินงานขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ( องค์การมหาชน ) เน้นการรักษาสมดุล ๓ มิติ ที่เป็นเสาหลัก คือเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการมีส่วนร่วม เป็นหน่วยงานที่พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยนำแหล่งท่องเที่ยวนั้นไปทำการตลาด โดยกลุ่มที่ อพท . จะเข้าไปพัฒนามีด้วยกัน ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑ . กลุ่มนักท่องเที่ยว อพท . จะให้ความรู้การท่องเที่ยวที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และให้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ๒ . กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ อพท . จะให้จัดหลักสูตรการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งแนะนำการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดีจะส่งผลดีอย่างไร และ ๓ . กลุ่มเยาวชน อพท . จะพัฒนาเยาวชนให้เข้าใจเรื่องนักท่องเที่ยว ธุรกิจ เศรษฐกิจ รู้จักการท่องเที่ยวแบบสบายกระเป๋า พร้อมกับใส่ใจสิ่งแวดล้อม
  • 4. การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่มีการดำเนินการสืบเนื่องต่อไปยังอนาคต ดังนั้นการเตรียมพร้อมของคนเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในอนาคตเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นโครงการเยาวชน อพท . ไม่ใช่เป็นโครงการที่จัดค่ายเยาวชนแล้วจบไป แต่การดำเนินการของโครงการเป็นการมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน เพื่อเตรียมตัวรองรับการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนของตนเอง สามารถดูแลสภาพแวดล้อมของชุมชนตนเองให้ยั่งยืน แต่เนื่องจากการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายจะมีความแตกต่างกัน สำหรับกลุ่มเยาวชนจำเป็นต้องใช้การเรียนรู้ผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน โดยแบ่งกลุ่มเยาวชนออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่
  • 5. 1. น้องค่าย ได้แก่ เยาวชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมค่ายเยาวชน เมื่อจบกิจกรรมค่ายเยาวชนแล้วก็ยังพร้อมจะกลับมาเข้าเข้าร่วมกิจกรรมของ อพท . 2. พี่เลี้ยง ได้แก่ กลุ่มแกนนำในการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน เป็นกลุ่มที่รับผิดชอบการขับเคลื่อนกระบวนการกิจกรรมค่ายให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการทำค่ายเยาวชน เยาวชนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ อพท . มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพต่อยอดให้มีความสามารถในการรองรับการจัดการท่องเที่ยวและสามารถดูแลสภาพแวดล้อมของชุมชนตนเองให้ยั่งยืน เพราะรู้จักกระบวนการทำงาน การเสนอความคิดเห็น การแก้ไขปัญหา และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกันได้
  • 6. การดำเนินโครงการเยาวชน อพท . เป็นการดำเนินงานภายใต้พันธกิจที่ ๓ และ ๕ ของ อพท . กล่าวคือ พันธกิจที่ ๓ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และพันธกิจที่ ๕ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตน โดยมียุทธศาสตร์ที่ ๖ การให้บริการด้านองค์ความรู้เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นแนวทางการดำเนินโครงการ
  • 7. โครงการเยาวชน อพท . เริ่มต้นในปี พ . ศ . ๒๕๕๑ ตลอด ๔ ปีที่ผ่านมา อพท . ได้การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ๑ . ๖๘๐ คน จาก ๓๒ โรงเรียน และ ๗ สภาเด็กและเยาวชนตำบล จำนวนทั้งสิ้น ๒๗ โครงการ มีการเรียนรู้ทั้งในห้องบรรยาย ห้องเรียนจริง มีการปฏิบัติจริง รวมไปถึงการให้การสนันสนุนกิจกรรมของเยาวชนที่มีความความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดจากการอบรมให้เกิดเป็นรูปธรรมจำนวนทั้งสิ้น ๒๔ โครงการ สร้างแกนนำเยาวชนจากโรงเรียนต่างๆ จำนวนประมาณ ๓๐ คน โดยแนวทางการพัฒนาศักภาพของเยาวชนมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
  • 8. ปีที่ ๑ ให้ความรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวเยาวชน ให้เกิดความเข้าใจ รู้คุณค่า เกิดความรัก ความหวงแหน โดยเป็นการให้ความรู้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ แรก สร้างความรู้ คุณค่า ทรัพยากรในท้องถิ่น มุ้งเน้น ป่าชายเลน ปะการัง
  • 9. ปีที่ ๒ สร้างความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อให้มีความเข้าใจความสำคัญของการท่องเที่ยวที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน รวมทั้งการดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวให้มีการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
  • 10. ปีที่ ๓ พัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถให้แกนนำเยาวชน ที่เป็นแกนนำในดำเนินการกิจกรรมค่าย โดยเพิ่มเติมความรู้และประสบการณ์ที่นอกเหนือจากการทำงาน ได้แก่ การเรียนรู้การทำวิสัยทัศน์ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค การสอบถามความต้องการ การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง การเขียนโครงการ รวมทั้งการทัศนศึกษาการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ที่ อพท . เข้าไปมีส่วนร่วม
  • 11. ปีที่ ๔ คัดเลือกแกนนำเยาวชน อพท . เพื่อเป็นตัวแทน อพท . ในการดำเนินกิจกรรมเยาวชนของ อพท . โดยใช้ชื่อเรียกว่า “ยุวชน อพท” หรือ “ DASTA gen-z gang” เป็นทีมงานที่จะดำเนินกิจกรรมเยาวชนในพื้นที่พิเศษของ อพท .
  • 12. เป้าหมาย ปรัชญาการดำเนินงานของ อพท . คือ การพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างสมดุล ๓ ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นั่นคือ การมีรายได้เพิ่มขึ้นจะต้องไม่ได้มาจากแหล่งเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป สิ่งสำคัญที่จำเป็นที่สุดในกระบวนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในแต่ละพื้นที่นั้น คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับปี พ . ศ . ๒๕๕๔ อพท . เน้นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยแผนงานของ อพท . จะเป็นการท่องเที่ยวแบบ Low Carbon ซึ่งจะได้ผลลัพธ์คือประเด็นเรื่องการลดภาวะโลกร้อน เพราะฉะนั้นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในปี พ . ศ . ๒๕๕๔ จะเป็นการท่องเที่ยวที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  • 13. สำหรับแผนงานด้านเยาวชนของ อพท . ในปี พ . ศ . ๒๕๕๔ มุ่งเน้นการพัฒนา ยุวชน อพท . จำนวน ๒๐ คน ให้เป็นตัวแทนของ อพท . สามารถสร้างเครือข่ายและดำเนินกิจกรรมเยาวชนได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะเป็นผู้นำความรู้ต่างๆ ที่ อพท . ถ่ายทอดให้ไปถ่ายทอดต่อให้กับเยาวชนรุ่นน้องหรือชุมชนของตนเอง ทั้งนี้เป็นการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้เป็นผู้ที่รู้จักถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้แพร่หลาย สามารถทำร่วมกับชุมชนได้ อีกทั้งรู้จักคิดสร้างสรรค์โครงการต่างๆ ในการพัฒนาชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง ถือได้ว่าเป็นการสร้างเครือข่ายในอนาคตของ อพท . อีกช่องทางหนึ่ง และเป็นการสร้างคนในอนาคตให้มีความพร้อม สู่ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
  • 14. แนวทางการดำเนินงานแนวทางการพัฒนายุวชน อพท . การดำเนินการพัฒนาเยาวชนแบ่งออกเป็น ๔ ขั้นตอน ได้แก่
  • 15. ๑ . การสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้เยาวชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นตนเอง อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่าย โดยการเชิญนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่พิเศษเข้ารับการอบรมภายใต้โครงการที่จัดโดย อพท . ทั้งนี้การเข้าค่ายแต่ละรุ่นจะมีการผสมผสานนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ เพื่อได้รู้จักกันและมีความคุ้นเคยเพื่อวันข้างหน้าที่พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะสามารถช่วยเหลือการทำงานซึ่งกันและกันได้ ในขั้นตอนนี้จะมีการพิจารณาหาเยาวชนที่มีความความเป็นผู้นำ เพื่อชักชวนมาเป็นพี่เลี้ยงค่ายเยาวชนในรุ่นต่อไป
  • 16. ๒ . การสร้างความสามารถนำความรู้ไปบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของตนเองได้ และเป็นการพัฒนาศักยภาพเยาวชน การให้เยาวชนที่คัดเลือกทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงค่าย เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานทั้งหมด รวมทั้งการรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หากเยาวชนสามารถรับผิดชอบงานได้อย่างครบถ้วนก็จะเชิญมาเป็นพี่เลี้ยงในรุ่นต่อๆ ไป รวมทั้งให้เยาวชนเสนอโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นตนเอง โดย อพท . จะร่วมดำเนินการโครงการที่เยาวชนเสนอมาให้เกิดเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
  • 17. ๓ . การสร้างแกนนำเยาวชน เป็นการพิจารณาคัดเลือกเยาวชนจากขั้นตอนที่ ๒ ที่ได้มีการเสนอโครงการที่นำความรู้ไปใช้ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นตนเองหลังจากจบการอบรม และขอรับการสนับสนุนจาก อพท . ทั้งนี้ อพท . จะร่วมดำเนินการโครงการที่เยาวชนเสนอมาให้เกิดเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งเยาวชนที่เสนอโครงการเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นกลุ่มเยาวชนที่เป็นแกนนำเยาวชน มีความเป็นผู้นำในการคิดริเริ่ม การแสดงออก มีความรับผิดชอบต่อโครงการที่นำเสนอโดยการ สามารถขับเคลื่อนโครงการได้จนเสร็จสิ้นตามวัตถุประสงค์โครงการ อพท . จะแต่งตั้งเป็น “ยุวชน อพท .” เพื่อเป็นตัวแทน อพท . ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน รวมทั้งเป็นการส่งผ่านความรู้เข้าถึงชุมชนอีกช่องทาง
  • 18. ๔ . สนับสนุนการดำเนินงานของ “ยุวชน อพท .” ซึ่งดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ตั้งแต่การคิด จัดทำและเสนอโครงการ ร่วมกับชุมชน การดำเนินการกิจกรรม โดย อพท . จะเป็นพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อที่ “ยุวชน อพท .” เติบโตจะสามารถเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน และเป็นตัวแทนของชุมชนที่จะร่วมกันทำงานกับ อพท . ในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างเข้มแข็งและเข้าใจถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้เป็นอย่างดี
  • 19. แนวทางการพัฒนายุวชน อพท . การพัฒนายุวชนของ อพท . ที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา ๓ ปี ทำให้ได้รูปแบบของการพัฒนาเยาวชนที่จะนำไปใช้กับเยาวชนในพื้นที่พิเศษอื่นต่อไป โดยดำเนินการพัฒนา ๔ ขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว การให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ฝึกฝนให้สามารถคิดและเขียน การเสนอความคิดและรับฟังความเห็นของชุมชนเพื่อรู้จักการทำงานร่วมกับชุมชน และเป็นการเตรียมความพร้อมของเยาวชนที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต การพัฒนาแกนนำเยาวชนจะเป็นการนำเยาวชนเข้ารับการอบรมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยื่นร่วมกับผู้นำชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนและผู้นำชุมชนได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการร่วมกันคิดโครงการพัฒนาชุมชนของตนเองระหว่างที่ได้รับการอบรมองค์ความรู้ต่างๆ และเป็นการสร้างการยอมรับของผู้นำชุมชนให้ยอมรับความสามารถของเยาวชน อพท . สามารถเป็นแกนนำในการดำเนินการกิจกรรมบางอย่างได้ โดยเน้นที่การดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชน
  • 20. โครงการที่แกนนำเยาวชนเสนอจะเป็นโครงการที่นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาใช้ในการจัดการร่วมกับชุมชน เป็นการคิดโครงการร่วมกันกับชุมชนโดยมีแกนนำเยาวชน อพท . เป็นผู้ขับเคลื่อน หรือเป็นโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่แกนนำเยาวชน อพท . ได้รับจากการอบรมไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนรุ่นน้อง หรือ คนในชุมชน และในปีต่อๆ ไปแกนนำเหล่านี้ก็จะดำเนินการร่วมกับชุมชนในการคิดโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมหรือแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน เพื่อเป็นการรักษาสมดุล ๓ มิติ ที่เป็นเสาหลัก คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • 21. จากกระแสการท่องเที่ยวมุ่งเน้นการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว การสร้างรายได้ และการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ก่อให้เกิดผลลบต่อชุมชน ทั้งเรื่องความแตกต่างและช่องว่างของฐานะทางเศรษฐกิจ ความเสื่อมโทรมทางศิลปะ การสูญหายทางวัฒนธรรม ปัญหาสังคม ตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องมีการแก้ไขตามปัญหาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น อพท . จึงได้เน้นการพัฒนาด้านสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาสมดุลทั้ง ๓ มิติ หากมีการโตของมิติเพียงด้านเดียวจะทำให้ชุมชนนั้นเกิดการเสียสมดุลและนำไปสู่ความล้มเหลวในการพัฒนาชุมชน
  • 22. จากการดำเนินงานได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้มากมายจากการทำงานร่วมกัน จึงได้มีการรวบรวมความรู้ต่างๆ ที่เกิดจากการทำงาน และจัดทำเป็นคู่มือสำหรับการพัฒนาเยาวชน รวมทั้งเป็นคู่มือประจำตัวของเยาวชนในพื้นที่พิเศษ
  • 23. การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ( Sustainable Tourism)             บุญเลิศ   จิตตั้งวัฒนา   (2542)   ได้ให้ความหมายการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ( Sustainable Tourism) ว่าหมายถึงการท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็กที่มีการจัดการอย่างดีเยี่ยม เพราะสามารถดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรท่องเที่ยวให้มีความดึงดูดใจอย่างไม่เสื่อมคลาย และธุรกิจท่องเที่ยวมีการปรับปรุง คุณภาพให้ได้ผลกำไรอย่างเป็นธรรม โดยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนสม่ำเสมออย่างเพียงพอ แต่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดอย่างยืนยาว
  • 24.   ลักษณะการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน                 การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีลักษณะสำคัญอยู่ 6 ประการดังนี้ คือ                1.1  เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทุกประเภท ทุกแห่ง                1.2  เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าและความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว                1.3  เป็นการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม                1.4  เป็นการท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและวัฒนธรรม                1.5  เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยืนยาว                1.6  เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น และคืนผลประโยชน์กลับสู่ทรัพยากรท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น
  • 25. หลักการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน                 การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีหลักการดังนี้                2.1   การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี ( Using Resource Sustainable ) ทั้งในส่วนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญและเน้นการทำธุรกิจในระยะยาว                2.2   การลดการบริโภคที่เกินความจำเป็นและการลดของเสีย ( Reducing Over-consumption and Waste) จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายในระยะยาว และเป็นการเพิ่มคุณภาพของการท่องเที่ยวด้วย
  • 26. 2.3  การรักษาและส่งเสริมความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ( Maintaining Diversity ) สังคม และวัฒนธรรม จะช่วยขยายฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต                2.4   การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว ( Integrating Tourism into Planning) เข้ากับกรอบแผนกลยุทธ์การพัฒนาแห่งชาติ การพัฒนาท้องถิ่น และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะช่วยขยายศักยภาพการท่องเที่ยว                2.5   การท่องเที่ยวที่รองรับกิจกรรมในท้องถิ่น ( Supporting Local Economic) โดยคำนึงถึงราคาและพัฒนาคุณค่าของสิ่งแวดล้อมไว้ ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการประหยัด แต่ยังป้องกันสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทำลายอีกด้วย
  • 27. 2.6 เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ( Involving Local Communities) ในด้านการจัดการผลตอบแทนของประชาชน และสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและการจัดการการท่องเที่ยว                2.7   การประสานความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ประชาชนท้องถิ่น องค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้อง ( Consulting Stakeholders and the Public) เพื่อลดข้อขัดแย้งและร่วมแก้ปัญหา               
  • 28. 2.8   เป็นการฝึกอบรมบุคลากร ( Training Staff ) โดยสอดแทรกแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการพัฒนาแบบยั่งยืนแก่บุคลากรท้องถิ่นทุกๆระดับ เพื่อยกระดับการบริการการท่องเที่ยว                2.9   ข้อมูลข่าวสารที่สื่อให้กับนักท่องเที่ยว โดยมุ่งสร้างความเข้าใจในการเคารพต่อธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ( Marketing Tourism Responsibly) อีกทั้งเป็นการช่วยยกระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง                2.10 การวิจัยและติดตามผล ( Undertaking Research)  เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินงาน  รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่างๆ  เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
  • 29. หลักการของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดย           การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ( sustainable tourism) มีหลักการที่สอดคล้องกับการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ( sustainable development) ซึ่งเป็นกระแสความคิดหลักของโลกในช่วง  ๒ ทศวรรษที่ผ่านมา และได้รับความสนับ - สนุนจากคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน ( Commission on Sustainable Development) ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งหลักการโดยทั่วไปของการพัฒนาอย่าง ยั่งยืนคือ จะต้องมีการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลายาวนาน และมีการกระจายผลประโยชน์ให้แก่คนส่วน ใหญ่ รวมทั้งมีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อนำหลักการนี้มาปรับใช้กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จึงมีจุดเน้นที่สำคัญดังนี้
  • 30. ๑ .  จะต้องดูแลทรัพยากรการท่องเที่ยว ให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ในระยะเวลา ยาวนานจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน มิใช่เพียงเพื่อคนรุ่นปัจจุบันเท่านั้น           
  • 31. ๒ .  ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และลดปริมาณของเสียที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม           
  • 32. ๓ .  มีการกระจายรายได้และผลประโยชน์ให้แก่คนในท้องถิ่นที่มีแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ เปิดโอกาสให้ชุมชนในท้องถิ่นได้เข้าร่วมในการจัดการ และการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว         
  • 33. ๔ .  มีการประชุมปรึกษาหารือกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว และชุมชนในท้องถิ่น  เพื่อการวางแผนงาน การจัดสรรงบประมาณ และการจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม          
  • 34.    ๕ .  มีการสร้างเครือข่ายเพื่อเผยแพร่ แนวคิด การศึกษาวิจัย และความรู้เกี่ยวกับการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ออกไปในหมู่ประชาชน ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง
  • 35. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กับการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ก็คือ คำว่าการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเองนั้นเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งในส่วนใหญ่ ๆ ของการท่องเที่ยว ในขณะที่หลักการเพื่อความยั่งยืนควรนำไปใช้กับทุกรูปแบบของกิจกรรม การดำเนินกิจการ สถานประกอบการ ตลอดจนโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว รวมถึงรูปแบบที่มีการปฏิบัติสืบต่อกันมาและรูปแบบที่เสนอให้เป็นตัวเลือกด้วย
  • 36. สำหรับการท่องเที่ยวยั่งยืนนั้น องค์การท่องเที่ยวโลก ( WTO) ได้กำหนดหลักการของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนไว้ตั้งแต่ พ . ศ . 2531 ว่า ลักษณะของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนนั้น " ได้รับการคาดหมายให้นำไปสู่การจัดการทรัพยากรทั้งมวลด้วยวิถีทางที่ตอบสนองต่อความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุนทรียะ ในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งบูรณภาพทางวัฒนธรรม กระบวนการทางนิเวศวิทยาที่จำเป็น ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบต่าง ๆ ที่เอื้อต่อชีวิต " เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แนวความคิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนจึงได้รับความนิยมและแพร่หลายค่อนข้างมากในการประชุม Globe'90 ณ ประเทศคานาดา ได้ให้คำจำกัดความ การท่องเที่ยวแบบยังยืนว่าหมายถึง " การพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยมีการปกป้องและสงวนรักษาโอกาสต่าง ๆ ของอนุชนรุ่นหลัง การท่องเที่ยวนี้มีความหมายถึง การจัดการทรัพยากรเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความงามทางสุนทรียภาพ ในขณะที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศด้วย "