SlideShare a Scribd company logo
เรื่องสื่อและแหล่งการเรียนรู้จัดทำโดยนางสาวสุกัญญา  อาลัยรหัส521121012
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ หรือวิธีการ ซึ่งอาจจำแนกเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งการเรียนรู้หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่รู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพหรือทำให้บทเรียนง่ายขึ้นและในการจัดทำสื่อขึ้นใช้ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อที่ดี คือน่าสนใจ ประหยัดช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็วและถูกต้อง การเขียนสื่อและแหล่งการเรียนรู้ให้เขียนตามเรียงลำดับกิจกรรมการเรียนรู้
สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่และสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุเครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสื่อการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราตัวผู้เรียนที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้มีความเหมือนกันคือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สื่อการสอนสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้มีความแตกต่างกันคือ สื่อการสอนยังเป็นเพียงตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เท่านั้นและผู้สอนเป็นผู้นำมาหรือจัดเตรียมเพื่อประกอบการเรียนการสอน แต่สื่อการการเรียนเป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มพูนทักษะ ผู้เรียนสามารถค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
๑.สื่อการสอน 		นักวิชาการและนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้หลายท่านดังนี้    เชอรส์ (Shores.๑๙๖o:๑ ) กล่าวว่า สื่อการสอนเป็นเครื่องมือช่วยสื่อความหมายใดๆก็ตามที่จัดโดยครูและนักเรียน    ฮาส และแพคเกอร์ (Hass and PacKer.๑๙๖๔:๑๑) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่างๆที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ ทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ   ฯลฯหรือเป็นอุปกรณ์การสอนที่เราสามารถได้ยินและมองเห็นได้เท่าๆกัน 	บราวน์และคนอื่นๆ (Brown and other.๑๙๖๔:๕๘๔) กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น
๒.ประเภทของสื่อการสอน 		Dele (๑๙๖๓:๑o๗-๑๒๘) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11ประเภท โดยยึดหลักความเป็นรูปธรรมและนามธรรม ๑.ประสบการณ์โดยตรงที่มีความหมาย เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากความเป็นจริง ๒.ประสบการณ์จำลอง เป็นการจำลองประสบการณ์จากของจริง เพราะของจริงอาจใหญ่เกินไป เช่น หุ่นจำลอง ๓.ประสบการณ์นาฏการ เป็นการมีส่วนร่วมในการแสดงในการศึกษาเนื้อหาที่ต้องจะแสดง
๔.การสาธิต เป็นการให้ดูตัวอย่างประกอบการอธิบายการสาธิตที่ดีต้องมีอุปกรณ์ประกอบ เช่นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ๕.การศึกษานอกสถานที่หมายถึง การพาผู้เรียนไปศึกษานอกสถานที่เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์และความรู้กว้างขวางขึ้น ๖.นิทรรศการ หมายถึง การแสดงสิ่งของต่างๆเพื่อให้ความรู้ผู้ดู ไว้ให้ผู้ดูรับประสบการณ์จากสิ่งต่างๆเหล่านี้ ๗. โทรทัศน์การศึกษา รายการโทรทัศน์ที่จะทำให้ผู้เรียนได้เห็นภาพและได้ยินเสียงความเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆ ๘.ภาพยนตร์เป็นการจำลองเหตุการณ์มาให้ผู้เรียนได้ดูได้ฟังใกล้เคียงกับความเป็นจริง
๙.ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด แผ่นโปร่งใส สไลด์ ฯลฯ ๑0.ทัศนสัญลักษณ์ ได้แก่แผนภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับการถ่ายทอดความหมาย นำมาแทนความหมายที่เป็นข้อเท็จจริง ๑๑.วจนสัญลักษณ์ ได้แก่คำพูด ตัวหนังสือ ตัวอักษรผู้ที่จะเข้าใจสัญลักษณ์นี้ได้ต้องอาศัย ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานมากพอสมควร 	จากการที่นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งประเภทของการสื่อสารการสอนไว้นั้น พอจะสรุปได้ ๓ ประเภทดังนี้ ๑ประเภทของวัสดุ เป็นสื่ออยู่ในรูปภาพ เสียง หรืออักษร แยกได้เป็น ๒ ชนิดคือ
		๑.๑ ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่นรูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ เป็นต้น 		๑.๒ ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง  สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์เป็นต้น ๒.ประเภทเครื่องมือ หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่นเครื่องฉายชนิดต่างๆ เครื่องเสียงชนิดต่างๆ ฯลฯ ๓.ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือหรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอน เช่น การสาธิต การทดลอง ฯลฯ
๓.หลักการใช้สื่อการสอน แบ่งออกเป็น ๔ หลักดังนี้คือ  ๑หลักการเลือก(Selection) 		โนเอลและโอนาร์ด (Noel and Leonard.๑๙๖๔:๒๖-๒๘)ให้หลักการเลือกสื่อการสอน ไว้ดังนี้ 		๑.มีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของผู้เรียน 		๒.เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน 		๓.เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน 		๔.เหมาะสมกับเรื่องที่สอน
		๕.มีลักษณะที่น่าสนใจ 		๖.ตรงกับจุดประสงค์ในการเรียนการสอน 		๗.ไม่เสียเวลาในการใช้มากเกินไป 		๘.เป็นแบบง่ายๆและไม่ซับซ้อนจนเกินไป 		๙.ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น 		๑o.ช่วยให้การเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่ผู้เรียน 		๑๑.ช่วยเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เรียน 		๑๒.ให้ผลดีต่อการเรียนการสอนมากที่สุด 		๑๓.ราคาไม่แพงจนเกินไป
๒.หลักการเตรียม(Preparation) 	อีริคสันและเคิร์ล(EricksonandCurl.๑๙๗๒:๑๖๓-๑๗o)  ได้กล่าวถึงการเรียนก่อนการใช้สื่อการสอนต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนดังนี้ ๑.การพัฒนาสร้างความพร้อมเฉพาะอย่าง เช่น จะให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการสอน ตอนไหน อย่างไร ๒.แนะนำผู้เรียนเพื่อเป็นการเร้าให้เกิดการเรียนรู้จากสื่อที่ครูเลือกมา ๓.สร้างกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสื่อการสอน ๔.เลือกหาวิธีที่เหมาะสม ที่จะนำไปสู่การใช้สื่อการสอนนั้นๆ ๕.ใช้แหล่งการเรียนอื่นๆเพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน ๖.สามารถวางแผนกำหนดช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม
๓.หลักการนำเสนอ(Presentation) 	อีริคสันและเคิร์ล(EricksonandCurl.๑๙๗๒:๑๖๓-๑๗o)  ได้กล่าวว่าเพื่อให้การนำเสนอได้ผล ครูควรมีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐานดังนี้ ๑.เลือกกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากรู้ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ๒.ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นและชี้แนะ ๓.ใช้การอภิปรายเพื่อนำไปสู่เนื้อหาและการสร้างมโนมติ ๔.จัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมและสร้างกิจกรรมท้าทายในการแก้ปัญหา ๕.ใช้สื่ออย่างมีลำดับ
๖.สามารถดำเนินการจัดสภาพการณ์ต่างๆในการใช้สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ ๗.สามารถจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนหาความรู้จากสื่อต่างๆได้ เช่น จัดป้ายนิเทศจัดมุมวิชาการ ๔.หลักการประเมินผล (Evaluation) ไฮนิค.โมเลนดา,และรัชเซล(Heimich.Molenda and ussel.๑๙๘๕:๓๔-๓๕)กล่าวว่าการประเมินผลควรกระทำใน      ๓ ลักษณะดังต่อไปนี้ ๑.การประเมินผลกระบวนการสอน เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ทั้งในด้านผู้สอน สื่อการ
	สอน และวิธีสอน โดยการประเมินผลสามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังการสอน ๒.ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ว่ามีกฎเกณฑ์เท่าใด การประเมินผลทำได้ เช่น วัตถุประสงค์ที่เป็นเชิงทักษะพิสัยอาจเป็นการวัดกระบวนการของพฤติกรรม การตอบคำถามแบบปรนัย ๓.การประเมินผลสื่อและวิธีการใช้สื่อและวิธีการสอน เป็นการประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มประโยชน์ของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรับปรุงระยะสื่อ ระยะเวลาในการนำเสนอ การประเมินผลต่างๆเหล่านี้เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
การออกแบบสื่อ องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสื่อการการสอน สื่อการสอนแต่ละชนิดมีดังนี้ ๑.ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่ ๒.ความเข้าใจ สื่อที่ใช้จะช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่ ๓.ความเข้าใจ สื่อที่ใช้จะช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน ๔.ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
๕.เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้นๆเหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจและความพ้อมของนักเรียนหรือไม่ ๖.เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่ ๗.ใช้การได้ดี  สื่อจะนำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี ๘.คุ้มค่ากับราคา ผลที่จะได้คุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่ ๙.ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่มกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่ ๑o.สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ประโยชน์ของสื่อ ๑.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง ๒.กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น ๓.ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน ๔.ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ๕.นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
การออกแบบสื่อการสอน 		การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดีโดยอาศัยหลักการทางศิลปะ องค์ประกอบของการออกแบบ    ๑.จุด(Dots)         		      ๒. เส้น (Line)          ๓.รูปร่าง-รูปทรง(Shape-From)  ๔.ปริมาตร (Volume)          ๕.ลักษณะพื้นผิว(Texture)        ๖.บริเวณที่ว่าง(Space)              ๗.สี(color)     ๘.น้ำหนักสื่อ(Value)
การเลือกสื่อ การดัดแปลงและการออกแบบสื่อ (Select,Modify or Design Materials) การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก ๓ ประการ ดังนี้ ๑.การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ๒.การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย ๓.การออกแบบสื่อและผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลย
การออกแบบสื่อและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๑.จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร ๒.ผู้เรียนควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน ๓.ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่ ๔.ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด ๕.เครื่องมือและอุปกรณ์ มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่ ๖.เวลามีพอสำหรับการออกแบบหรือไม่  
จบการนำเสนอ แล้วคร้า

More Related Content

What's hot

สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้poms0077
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7josodaza
 
Chapter 4 สื่อการเรียนรู้
Chapter 4 สื่อการเรียนรู้Chapter 4 สื่อการเรียนรู้
Chapter 4 สื่อการเรียนรู้Wuth Chokcharoen
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้Nat Thida
 
สรุปบทที่ 7
สรุปบทที่ 7สรุปบทที่ 7
สรุปบทที่ 7
Tsheej Thoj
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้Sujitra ComEdu
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้aumkpru45
 
แหล่งการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้แหล่งการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้
Duangraethai Suanya
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้yuapawan
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้yuapawan
 

What's hot (15)

สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
Chapter 4
Chapter 4Chapter 4
Chapter 4
 
สื่อการเรียนสอน
สื่อการเรียนสอนสื่อการเรียนสอน
สื่อการเรียนสอน
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
Chapter 4 สื่อการเรียนรู้
Chapter 4 สื่อการเรียนรู้Chapter 4 สื่อการเรียนรู้
Chapter 4 สื่อการเรียนรู้
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
สรุปบทที่ 7
สรุปบทที่ 7สรุปบทที่ 7
สรุปบทที่ 7
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
แหล่งการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้แหล่งการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
ซิก
ซิกซิก
ซิก
 
Chapter4 ppt
Chapter4 pptChapter4 ppt
Chapter4 ppt
 

Viewers also liked

Advanced energy technology for sustainable development. Part 2
Advanced energy technology for sustainable development. Part 2Advanced energy technology for sustainable development. Part 2
Advanced energy technology for sustainable development. Part 2
SSA KPI
 
Slaidi show
Slaidi showSlaidi show
Slaidi showTonu321
 
Sin eng-37 - hygiene
Sin eng-37 - hygieneSin eng-37 - hygiene
Sin eng-37 - hygienesochinaction
 
Handles pull handles stainless steel
Handles pull handles stainless steelHandles pull handles stainless steel
Handles pull handles stainless steel
estebro.com
 
Sin eng-46 - pet rangers photo
Sin eng-46 - pet rangers photoSin eng-46 - pet rangers photo
Sin eng-46 - pet rangers photosochinaction
 
Introduccion og
Introduccion ogIntroduccion og
Introduccion og
dpublicity
 
Camping De Elshof, door Fam. Ouwerkerk
Camping De Elshof, door Fam. OuwerkerkCamping De Elshof, door Fam. Ouwerkerk
Camping De Elshof, door Fam. Ouwerkerkdeelshof
 
здоровые глазки – мира краски!
здоровые глазки – мира краски!здоровые глазки – мира краски!
здоровые глазки – мира краски!Piroklass
 
Theralase white paper 2011
Theralase white paper 2011Theralase white paper 2011
Theralase white paper 2011
Theralase Technologies Inc.
 
Numeraliaslide
NumeraliaslideNumeraliaslide
Numeraliaslidedi-andrea
 
Powerpoint joko
Powerpoint jokoPowerpoint joko
Powerpoint jokotoppak
 
Modulo 1.video multimediale parte 4.proteine
Modulo 1.video multimediale parte 4.proteineModulo 1.video multimediale parte 4.proteine
Modulo 1.video multimediale parte 4.proteinedramella
 
ข้อมุลตัวละคร Reborn
ข้อมุลตัวละคร Rebornข้อมุลตัวละคร Reborn
ข้อมุลตัวละคร Reborn
Unity' Dear-d
 

Viewers also liked (16)

Advanced energy technology for sustainable development. Part 2
Advanced energy technology for sustainable development. Part 2Advanced energy technology for sustainable development. Part 2
Advanced energy technology for sustainable development. Part 2
 
Slaidi show
Slaidi showSlaidi show
Slaidi show
 
Sin eng-37 - hygiene
Sin eng-37 - hygieneSin eng-37 - hygiene
Sin eng-37 - hygiene
 
Handles pull handles stainless steel
Handles pull handles stainless steelHandles pull handles stainless steel
Handles pull handles stainless steel
 
Sin eng-46 - pet rangers photo
Sin eng-46 - pet rangers photoSin eng-46 - pet rangers photo
Sin eng-46 - pet rangers photo
 
Introduccion og
Introduccion ogIntroduccion og
Introduccion og
 
Camping De Elshof, door Fam. Ouwerkerk
Camping De Elshof, door Fam. OuwerkerkCamping De Elshof, door Fam. Ouwerkerk
Camping De Elshof, door Fam. Ouwerkerk
 
здоровые глазки – мира краски!
здоровые глазки – мира краски!здоровые глазки – мира краски!
здоровые глазки – мира краски!
 
Ma dibuix
Ma dibuixMa dibuix
Ma dibuix
 
Theralase white paper 2011
Theralase white paper 2011Theralase white paper 2011
Theralase white paper 2011
 
2015 resume-2
2015 resume-22015 resume-2
2015 resume-2
 
Numeraliaslide
NumeraliaslideNumeraliaslide
Numeraliaslide
 
Powerpoint joko
Powerpoint jokoPowerpoint joko
Powerpoint joko
 
Ccna 1 1
Ccna 1  1Ccna 1  1
Ccna 1 1
 
Modulo 1.video multimediale parte 4.proteine
Modulo 1.video multimediale parte 4.proteineModulo 1.video multimediale parte 4.proteine
Modulo 1.video multimediale parte 4.proteine
 
ข้อมุลตัวละคร Reborn
ข้อมุลตัวละคร Rebornข้อมุลตัวละคร Reborn
ข้อมุลตัวละคร Reborn
 

Similar to สื่อและแหล่งการเรียนรู้

สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้Sarawut Tikummul
 
งานบทที่ 7
งานบทที่ 7งานบทที่ 7
งานบทที่ 7hadesza
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7jujudy
 
บทที่7new
บทที่7newบทที่7new
บทที่7newjujudy
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7jujudy
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7jujudy
 
บทที่7ล่าสุด
บทที่7ล่าสุดบทที่7ล่าสุด
บทที่7ล่าสุดjujudy
 
บทที่7ใหม่4
บทที่7ใหม่4บทที่7ใหม่4
บทที่7ใหม่4Phuntita
 
บทที่7ใหม่2
บทที่7ใหม่2บทที่7ใหม่2
บทที่7ใหม่2Phuntita
 
บทที่7 ใหม่1
บทที่7 ใหม่1บทที่7 ใหม่1
บทที่7 ใหม่1Phuntita
 
บทที่7ใหม่3
บทที่7ใหม่3บทที่7ใหม่3
บทที่7ใหม่3Phuntita
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7puyss
 
บทที่71
บทที่71บทที่71
บทที่71puyss
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7puyss
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7puyss
 
บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่puyss
 
บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่panisaae
 

Similar to สื่อและแหล่งการเรียนรู้ (20)

สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
งานบทที่ 7
งานบทที่ 7งานบทที่ 7
งานบทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทที่7new
บทที่7newบทที่7new
บทที่7new
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทที่7ล่าสุด
บทที่7ล่าสุดบทที่7ล่าสุด
บทที่7ล่าสุด
 
บทที่7ใหม่4
บทที่7ใหม่4บทที่7ใหม่4
บทที่7ใหม่4
 
บทที่7ใหม่2
บทที่7ใหม่2บทที่7ใหม่2
บทที่7ใหม่2
 
บทที่7 ใหม่1
บทที่7 ใหม่1บทที่7 ใหม่1
บทที่7 ใหม่1
 
บทที่7ใหม่3
บทที่7ใหม่3บทที่7ใหม่3
บทที่7ใหม่3
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทที่71
บทที่71บทที่71
บทที่71
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทที่7
บทที่7บทที่7
บทที่7
 
บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่
 
บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่บทที่7ใหม่
บทที่7ใหม่
 

More from yuapawan

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555yuapawan
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555yuapawan
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้yuapawan
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555yuapawan
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555yuapawan
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้yuapawan
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1yuapawan
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1yuapawan
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1yuapawan
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้yuapawan
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้yuapawan
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้yuapawan
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้yuapawan
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้yuapawan
 
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้yuapawan
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1yuapawan
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1yuapawan
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7yuapawan
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7yuapawan
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7yuapawan
 

More from yuapawan (20)

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้555
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้1
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
 
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 
บทที่ 7
บทที่ 7บทที่ 7
บทที่ 7
 

สื่อและแหล่งการเรียนรู้

  • 2. สื่อและแหล่งการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ หรือวิธีการ ซึ่งอาจจำแนกเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งการเรียนรู้หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสารสารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่รู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพหรือทำให้บทเรียนง่ายขึ้นและในการจัดทำสื่อขึ้นใช้ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อที่ดี คือน่าสนใจ ประหยัดช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็วและถูกต้อง การเขียนสื่อและแหล่งการเรียนรู้ให้เขียนตามเรียงลำดับกิจกรรมการเรียนรู้
  • 3. สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่และสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุเครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสื่อการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราตัวผู้เรียนที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้มีความเหมือนกันคือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สื่อการสอนสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้มีความแตกต่างกันคือ สื่อการสอนยังเป็นเพียงตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เท่านั้นและผู้สอนเป็นผู้นำมาหรือจัดเตรียมเพื่อประกอบการเรียนการสอน แต่สื่อการการเรียนเป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มพูนทักษะ ผู้เรียนสามารถค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
  • 4. ๑.สื่อการสอน นักวิชาการและนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้หลายท่านดังนี้ เชอรส์ (Shores.๑๙๖o:๑ ) กล่าวว่า สื่อการสอนเป็นเครื่องมือช่วยสื่อความหมายใดๆก็ตามที่จัดโดยครูและนักเรียน ฮาส และแพคเกอร์ (Hass and PacKer.๑๙๖๔:๑๑) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่างๆที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ ทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจ ฯลฯหรือเป็นอุปกรณ์การสอนที่เราสามารถได้ยินและมองเห็นได้เท่าๆกัน บราวน์และคนอื่นๆ (Brown and other.๑๙๖๔:๕๘๔) กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น
  • 5. ๒.ประเภทของสื่อการสอน Dele (๑๙๖๓:๑o๗-๑๒๘) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11ประเภท โดยยึดหลักความเป็นรูปธรรมและนามธรรม ๑.ประสบการณ์โดยตรงที่มีความหมาย เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากความเป็นจริง ๒.ประสบการณ์จำลอง เป็นการจำลองประสบการณ์จากของจริง เพราะของจริงอาจใหญ่เกินไป เช่น หุ่นจำลอง ๓.ประสบการณ์นาฏการ เป็นการมีส่วนร่วมในการแสดงในการศึกษาเนื้อหาที่ต้องจะแสดง
  • 6. ๔.การสาธิต เป็นการให้ดูตัวอย่างประกอบการอธิบายการสาธิตที่ดีต้องมีอุปกรณ์ประกอบ เช่นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ๕.การศึกษานอกสถานที่หมายถึง การพาผู้เรียนไปศึกษานอกสถานที่เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์และความรู้กว้างขวางขึ้น ๖.นิทรรศการ หมายถึง การแสดงสิ่งของต่างๆเพื่อให้ความรู้ผู้ดู ไว้ให้ผู้ดูรับประสบการณ์จากสิ่งต่างๆเหล่านี้ ๗. โทรทัศน์การศึกษา รายการโทรทัศน์ที่จะทำให้ผู้เรียนได้เห็นภาพและได้ยินเสียงความเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆ ๘.ภาพยนตร์เป็นการจำลองเหตุการณ์มาให้ผู้เรียนได้ดูได้ฟังใกล้เคียงกับความเป็นจริง
  • 7. ๙.ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด แผ่นโปร่งใส สไลด์ ฯลฯ ๑0.ทัศนสัญลักษณ์ ได้แก่แผนภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับการถ่ายทอดความหมาย นำมาแทนความหมายที่เป็นข้อเท็จจริง ๑๑.วจนสัญลักษณ์ ได้แก่คำพูด ตัวหนังสือ ตัวอักษรผู้ที่จะเข้าใจสัญลักษณ์นี้ได้ต้องอาศัย ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานมากพอสมควร จากการที่นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งประเภทของการสื่อสารการสอนไว้นั้น พอจะสรุปได้ ๓ ประเภทดังนี้ ๑ประเภทของวัสดุ เป็นสื่ออยู่ในรูปภาพ เสียง หรืออักษร แยกได้เป็น ๒ ชนิดคือ
  • 8. ๑.๑ ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่นรูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ เป็นต้น ๑.๒ ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์เป็นต้น ๒.ประเภทเครื่องมือ หมายถึงเครื่องมือที่ใช้ส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่นเครื่องฉายชนิดต่างๆ เครื่องเสียงชนิดต่างๆ ฯลฯ ๓.ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือหรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอน เช่น การสาธิต การทดลอง ฯลฯ
  • 9. ๓.หลักการใช้สื่อการสอน แบ่งออกเป็น ๔ หลักดังนี้คือ ๑หลักการเลือก(Selection) โนเอลและโอนาร์ด (Noel and Leonard.๑๙๖๔:๒๖-๒๘)ให้หลักการเลือกสื่อการสอน ไว้ดังนี้ ๑.มีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของผู้เรียน ๒.เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ๓.เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน ๔.เหมาะสมกับเรื่องที่สอน
  • 10. ๕.มีลักษณะที่น่าสนใจ ๖.ตรงกับจุดประสงค์ในการเรียนการสอน ๗.ไม่เสียเวลาในการใช้มากเกินไป ๘.เป็นแบบง่ายๆและไม่ซับซ้อนจนเกินไป ๙.ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น ๑o.ช่วยให้การเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่ผู้เรียน ๑๑.ช่วยเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เรียน ๑๒.ให้ผลดีต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ๑๓.ราคาไม่แพงจนเกินไป
  • 11. ๒.หลักการเตรียม(Preparation) อีริคสันและเคิร์ล(EricksonandCurl.๑๙๗๒:๑๖๓-๑๗o) ได้กล่าวถึงการเรียนก่อนการใช้สื่อการสอนต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนดังนี้ ๑.การพัฒนาสร้างความพร้อมเฉพาะอย่าง เช่น จะให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการสอน ตอนไหน อย่างไร ๒.แนะนำผู้เรียนเพื่อเป็นการเร้าให้เกิดการเรียนรู้จากสื่อที่ครูเลือกมา ๓.สร้างกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสื่อการสอน ๔.เลือกหาวิธีที่เหมาะสม ที่จะนำไปสู่การใช้สื่อการสอนนั้นๆ ๕.ใช้แหล่งการเรียนอื่นๆเพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน ๖.สามารถวางแผนกำหนดช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม
  • 12. ๓.หลักการนำเสนอ(Presentation) อีริคสันและเคิร์ล(EricksonandCurl.๑๙๗๒:๑๖๓-๑๗o) ได้กล่าวว่าเพื่อให้การนำเสนอได้ผล ครูควรมีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐานดังนี้ ๑.เลือกกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากรู้ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ๒.ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นและชี้แนะ ๓.ใช้การอภิปรายเพื่อนำไปสู่เนื้อหาและการสร้างมโนมติ ๔.จัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมและสร้างกิจกรรมท้าทายในการแก้ปัญหา ๕.ใช้สื่ออย่างมีลำดับ
  • 13. ๖.สามารถดำเนินการจัดสภาพการณ์ต่างๆในการใช้สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ ๗.สามารถจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนหาความรู้จากสื่อต่างๆได้ เช่น จัดป้ายนิเทศจัดมุมวิชาการ ๔.หลักการประเมินผล (Evaluation) ไฮนิค.โมเลนดา,และรัชเซล(Heimich.Molenda and ussel.๑๙๘๕:๓๔-๓๕)กล่าวว่าการประเมินผลควรกระทำใน ๓ ลักษณะดังต่อไปนี้ ๑.การประเมินผลกระบวนการสอน เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ทั้งในด้านผู้สอน สื่อการ
  • 14. สอน และวิธีสอน โดยการประเมินผลสามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังการสอน ๒.ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ว่ามีกฎเกณฑ์เท่าใด การประเมินผลทำได้ เช่น วัตถุประสงค์ที่เป็นเชิงทักษะพิสัยอาจเป็นการวัดกระบวนการของพฤติกรรม การตอบคำถามแบบปรนัย ๓.การประเมินผลสื่อและวิธีการใช้สื่อและวิธีการสอน เป็นการประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มประโยชน์ของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรับปรุงระยะสื่อ ระยะเวลาในการนำเสนอ การประเมินผลต่างๆเหล่านี้เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
  • 15. การออกแบบสื่อ องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสื่อการการสอน สื่อการสอนแต่ละชนิดมีดังนี้ ๑.ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่ ๒.ความเข้าใจ สื่อที่ใช้จะช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่ ๓.ความเข้าใจ สื่อที่ใช้จะช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน ๔.ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
  • 16. ๕.เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้นๆเหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจและความพ้อมของนักเรียนหรือไม่ ๖.เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่ ๗.ใช้การได้ดี สื่อจะนำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี ๘.คุ้มค่ากับราคา ผลที่จะได้คุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่ ๙.ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่มกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่ ๑o.สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
  • 17. ประโยชน์ของสื่อ ๑.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง ๒.กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น ๓.ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน ๔.ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง ๕.นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
  • 18. การออกแบบสื่อการสอน การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดีโดยอาศัยหลักการทางศิลปะ องค์ประกอบของการออกแบบ ๑.จุด(Dots) ๒. เส้น (Line) ๓.รูปร่าง-รูปทรง(Shape-From) ๔.ปริมาตร (Volume) ๕.ลักษณะพื้นผิว(Texture) ๖.บริเวณที่ว่าง(Space) ๗.สี(color) ๘.น้ำหนักสื่อ(Value)
  • 19. การเลือกสื่อ การดัดแปลงและการออกแบบสื่อ (Select,Modify or Design Materials) การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก ๓ ประการ ดังนี้ ๑.การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ๒.การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้วให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย ๓.การออกแบบสื่อและผลิตภัณฑ์ใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลย
  • 20. การออกแบบสื่อและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๑.จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร ๒.ผู้เรียนควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน ๓.ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่ ๔.ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด ๕.เครื่องมือและอุปกรณ์ มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่ ๖.เวลามีพอสำหรับการออกแบบหรือไม่