SlideShare a Scribd company logo
1 of 41
เนื้อหามูลนิธิโลกสีเขียว   สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา ๒  เรื่องของจักรยาน๔        ปั่น “จักรยาน” คันนี้ ได้ทั้งแรง ได้ทั้งไฟฟ้า๔        HYPERLINK  quot;
_Toc297195268quot;
 ๑๐ เส้นทางชวนปั่นทั่วกรุง (ตอน๑) ๖       ๑๐ เส้นทางชวนปั่นทั่วกรุง(ตอน๒) ๑๘        Movies quot;
The Perfect Circlequot;
๓๐                             Modine Kalkin Hyde Tent            Bike in a day : Shakariki สิงห์นักปั่น……๓๑<br />มูลนิธิโลกสีเขียว http://www.greenworld.or.th/relax/three-thing/view/1322<br />๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๔<br />มณฑารพ ป้อมแก้ว<br />ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ มูลนิธิซิเมนต์ไทย (SCG Foundation)<br />สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา<br />๑. การได้รู้จักผู้คนและความคิดดีๆ ผ่านการคลิก<br />หลังจากเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Social Network ก็รู้สึกได้เลยว่า ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป...ถามว่าดีไหม  คำตอบคือ “ดี” เพราะรู้สึกว่า โลกกว้างใบนี้ได้ถูกย่อให้แคบลง  ทำให้เราได้เจอกับเพื่อนเก่าหรือบางคนที่เคยรู้จักกันเมื่อนานมาแล้วแต่อาจห่างหายกันไป ผ่านทางเพื่อนของเพื่อน หรือจากรูปถ่ายเก่าๆ ที่เพื่อนเราอุตส่าห์ไปหามาแล้ว tag ทุกคนในรูปเพื่อย้อนความทรงจำและวันเวลาดีๆ ที่มีร่วมกัน ...รวมทั้งยังรู้สึกว่า ที่นี่เป็นเหมือนกระดานแผ่นใหญ่ ทำให้เราได้-เรียนรู้ความคิด ความเขียน วลีทีเด็ดของใครหลายๆ คน ที่ทำให้เราได้รู้จักพวกเขามากขึ้น  ได้รู้จักมากกว่าการสนทนากันโดยตรงเสียด้วยซ้ำ<br />มูลนิธิซิเมนต์ไทยเพิ่งจัดกิจกรรม “อ่าน เขียน เรียน คิด” ค่ายเยาวชนวรรณกรรมโดยมูลนิธิซิเมนต์ไทย ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนที่สนใจงานเขียนมาเรียนรู้สาระและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากวิทยากรผู้มีชื่อเสียงในแวดวงวรรณกรรม ซึ่งได้จัดโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ ๓ ค่ายนี้ได้ทำให้ก่อเกิดสายสัมพันธ์ ทั้งระหว่างนักเขียนรุ่นใหญ่กับนักเขียนรุ่นใหม่ และนักเขียนรุ่นใหม่ด้วยกันเอง ...ทุกวันนี้น้องๆ ในค่ายก็ได้อาศัย Facebook เป็นช่องทางส่งข่าวสารที่เป็นประโยชน์  พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติ และสานมิตรภาพต่อกันแม้ว่าค่ายจะจบไปแล้วก็ตาม ...เราเองในฐานะคนทำงานก็ดีใจที่เห็นความเป็นไปของสายใยอันอบอุ่นที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เมล็ดพันธุ์วรรณกรรมได้ถูกบ่มเพาะขึ้นเป็นต้นกล้าพร้อมเติบใหญ่ต่อไป<br />๒. ความรู้สึกดีๆ ที่ได้รับน้ำใจจากคนที่แม้จะไม่รู้จัก<br />นานมาแล้วเมื่อตอนเป็นนิสิตได้เคยไปช่วยงานมหาวิทยาลัยในซุ้มงานกาชาด กว่าทุกอย่างที่ได้รับมอบหมายจะเรียบร้อยก็ดึกดื่นตามวิสัยปกติของงานนี้ ...วันหนึ่งขณะเพิ่งออกจากงาน ฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก และแทบไม่มีรถวิ่ง ขณะที่เรากำลังรีบเดินหลบฝนและพยายามตั้งสติว่าจะหารถกลับยังไง ผู้หญิงที่เดินอยู่หลังเราก็เรียกรถแท็กซี่ได้และตะโกนบอกให้เราติดรถออกไปด้วยกัน   เมื่อประเมินอย่างเร็วๆ จากสถานการณ์ ณ ตอนนั้น เราจึงตัดสินใจขึ้นรถไปด้วยและลงในจุดที่หารถต่อจนถึงที่หมายในที่สุด<br />กระทั่งเมื่อเย็นวันนี้ วันที่ที่เราตัดสินใจขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารแน่นมากกลับบ้านพร้อมข้าวของพะรุงพะรัง ขณะกำลังเก้ๆกังๆ หาที่ยึดไม่ให้ล้ม ผู้ชายสูงอายุที่นั่งใกล้กับจุดที่เรายืนก็ได้ยิ้มให้เราพร้อมชี้ไปที่ห่วงจับ ...จากนั้นไม่นานคุณลุงคนนี้ก็สะกิดให้เราไปนั่งแทนก่อนที่เค้าจะลงรถ ไม่บอกก็คงเดาออกว่าเราดีใจจริงๆ เพราะเริ่มรู้สึกเจ็บมือจากถุงข้าวของที่เพิ่งซื้อมามากมายนั่นแล้ว กระทั่งก่อนเราลงรถก็เป็นจังหวะเดียวกับที่มีคุณป้าคนหนึ่งเพิ่งขึ้นรถมาพอดี เราจึงได้ลุกเพื่อให้คุณป้าได้นั่งเช่นกัน ... นี่อาจเป็นเรื่องธรรมดาๆ ของใครๆ แต่สำหรับเราแล้ว น้ำใจเหล่านี้ที่มนุษย์มีให้แก่กัน ล้วนเป็นเหมือนต้นทางของความตั้งใจที่จะทำสิ่งดีๆ ให้กับคนอื่นต่อไป ยิ่งเป็นน้ำใจจากผู้คนที่เราไม่รู้จัก ก็ยิ่งทำให้เรามีความหวังว่าสังคมนี้ยังพร้อมจะมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้น<br />๓. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีๆ สำหรับกำจัดขยะ<br />พี่มนรดา พี่สาวคนสวยในออฟฟิศได้ติดป้ายประกาศชวนให้พวกเราทุกคนแยกทิ้งขยะที่เป็นขวดพลาสติกและกระป๋องลงในกล่องอีกใบหนึ่ง เพื่อที่จะรวบรวมไปขายให้กับร้านที่รับซื้อของเก่า ...เคยถามเค้าว่าเงินที่ได้จากการขายคุ้มกับค่ารถที่ขนขยะไปร้านหรือไม่ คำตอบคือน้อยกว่าหรือใกล้เคียง แต่เค้าก็ยังอยากที่จะทำต่อไป ...พี่ๆ บางคนถึงกับรวบรวมขยะพลาสติกจากที่บ้านเป็นถุงใหญ่ๆ ติดใส่รถมาให้ถึงที่ออฟฟิศ ...นับแต่นั้นเราเองก็เริ่มแยกขยะพลาสติกที่บ้าน และทิ้งลงถังที่กำหนดไว้ให้ทิ้งขยะรีไซเคิล  ...ในใจก็นึกเสียดายที่ไม่ทำมาก่อนหน้านี้ พร้อมกับคิดว่า บางทีเราอาจไม่สามารถหลอกตัวเองที่จะปฏิเสธพลาสติกอย่างสิ้นเชิงได้ แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือ Lifestyle อย่างง่ายๆ เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับมันอย่างมีความสุขและเป็นวิถีที่ไม่ทำลายโลกได้ ... (ตอนนี้พวกเราในออฟฟิศก็กำลังคุยกันว่าจะทำอะไรกันเพิ่มเติมอีก ที่ทั้งน่ารักและรักษ์โลก...ไว้มีโอกาสอีกก็จะมาเล่าให้ฟังต่อนะคะ ^^)<br />เรื่องของจักรยาน<br />http://www.greenworld.or.th/greenworld/population/1332<br />ข่าวสิ่งแวดล้อม : เรื่องจากพลเมือง<br />ปั่น “จักรยาน” คันนี้ ได้ทั้งแรง ได้ทั้งไฟฟ้า<br />เรื่อง : ต้อยติ่ง<br />“เราอยากให้การปั่นจักรยานเป็นมากกว่าการออกกำลังกาย” สุพจน์ สิงห์โตศรี พูดถึงความตั้งใจง่ายๆ ของเขา และความคิดนั้นก็ค่อยๆ เติบโตจนออกมาเป็นต้นแบบ “จักรยานปั่นไฟฟ้า” -- จักรยานคันที่ปั่นแล้วได้ทั้ง “แรง” ได้ทั้ง “ไฟฟ้า”<br />ก่อนที่จะมาเป็น “จักรยานปั่นไฟฟ้า” คันนี้ แนวคิดข้างต้นเกิดขึ้นราวกลางปี๒๕๕๓ด้วยเงินงบประมาณจากรัฐที่ให้กับชุมชนไว้เพื่อใช้ประโยชน์  ชาวบ้านกลุ่มเล็กๆ หมู่ที่ ๙ บ้านหนองมะตูม ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จึงเริ่มต้นจากการร่วมมือกันของทีมงานหลายชีวิต อาศัยทักษะทางช่างเชื่อมเหล็ก ช่างไฟฟ้า และความคิดสร้างสรรค์ของเพื่อนๆ โดยมี ‘สุพจน์ สิงห์โตศรี’ เป็นผู้ดูแล<br />สุพจน์ เล่าว่า เมื่อมีงบประมาณจากรัฐจำนวน ๒๐,๐๐๐บาท เขาและทีมงานพยายามช่วยกันออกแบบจักรยานที่สามารถใช้ประโยชน์ที่มากกว่าการออกกำลังกาย เริ่มจากหาวัสดุเหลือใช้ และของเก่าที่ซ่อมได้ เพื่อให้มีต้นทุนน้อยที่สุด จนได้ออกมาเป็นจักรยานสูบน้ำเพื่อมาใช้ประโยชน์ในหมู่บ้านจำนวน ๔ คัน ก่อนจะได้รับการต่อยอดออกมาเป็นต้นแบบ “จักรยานปั่นไฟฟ้า” ในที่สุด<br />ต้นแบบ “จักรยานปั่นไฟฟ้า” ที่ปัจจุบันมีอยู่ ๑ คัน จะมีการใช้งาน # แบบ แบ่งออกเป็น<br />แบบแรก คือ ปั่นจักรยานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ เราสามารถนำอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบกระแสตรง (DC) มาต่อตรงกับแบตเตอรี่ได้เลย หรือต่อเข้าอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อแปลงให้เป็นกระแสสลับ (AC) แบบ ๒๐๐โวลต์ ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยใช้ตามครัวเรือน<br />แบบที่สอง คือ การปั่นจักรยานเพื่อลดค่าไฟฟ้าในบ้าน โดยปั่นให้กระแสไฟฟ้าส่งกลับไปยังสายส่งในรูปของความดันไฟฟ้า เราสามารถทำให้มิเตอร์หมุนช้าลงได้หรือหมุนถอยหลัง ถ้าสามารถปั่นด้วยความเร็วที่สูสีหรือมากกว่าขนาดของมอเตอร์  ถ้า ๑ วัน เราใช้ไฟฟ้า ๑๐ หน่วย เราผลิตได้ ๕ หน่วย เราก็ประหยัดไฟฟ้าได้ ๕ หน่วย แต่ถ้าเราผลิตไฟฟ้าได้ ๑๑ หน่วย เราก็ไม่เสียค่าไฟฟ้า และยังเผื่อไว้สำหรับพรุ่งนี้ได้อีก ๑ หน่วย<br />“มันเหมือนเรายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว” เขาเปรียบเทียบ “หากลงแรงปั่นจักรยานด้วยความเร็วพอประมาณเป็นระยะเวลา ๑ ชั่วโมง จะได้ไฟฟ้าครึ่งหน่วย คิดเป็นตัวเงินจะอยู่ราว ๒ บาท ครึ่งชั่วโมงเป็น ๑ บาท และ ๑๕ นาทีก็จะได้อยู่ที่ ๕๐ สตางค์ แต่มันคุ้มตรงที่ว่าเราได้ออกกำลัง ส่วนเงินที่ไปลดจ่ายเป็นเพียงผลพลอยได้มากกว่า”<br />แม้ “จักรยานปั่นไฟฟ้า” คันนี้ จะไม่สามารถเป็นตัวแปรของวิถีชีวิตในเมืองได้อย่างเต็มที่นัก ด้วยเหตุที่บ้านแต่ละหลังยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้ามากชิ้น และหลายหลังก็ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมหาศาลอย่างเครื่องปรับอากาศกัน กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่กี่หน่วยย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการ  แต่ถ้า “จักรยาน” คันนี้ไปตั้งอยู่ในบ้านที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าน้อยชิ้น การปั่นจักรยานเป็นเวลาไม่ถึง ๑ ชั่วโมง เพื่อแลกกับการใช้สอยตลอดคืนจากโทรทัศน์ พัดลม และหลอดไฟ ย่อมเป็นไปได้อย่าเหลือเฟือ<br />“ถ้าเราใช้ไฟฟ้าจากไฟ ๑ ดวง พัดลมหนึ่งตัว ทีวีหนึ่งเครื่อง ในเวลา ๖ โมงเย็น –๔ ทุ่ม ปั่นสักครึ่งชั่วโมงก็พอแล้ว อีกอย่าง ผมมองว่าในอนาคตเราจำเป็นต้องพึ่งตัวเองให้ได้ ถ้าเราจะมีบ้านสักหลัง เราควรที่จะผลิตน้ำ ผลิตไฟฟ้าเองด้วยตัวเองได้ ถ้ามีจักรยานแบบนี้เอาไปใส่ในบ้านพึ่งตัวเอง จะบ้านดิน หรือบ้านอะไรก็ตามที่เราสร้างขึ้นมา เรารู้ว่าถ้าจะใช้ไฟฟ้า เราก็ต้องออกแรงเท่านี้นะ บ้านที่ห่างไกลออกไปก็สามารถอยู่ได้แบบมีไฟฟ้าด้วย”<br />เรื่องในประเทศ http://www.greenworld.or.th/greenworld/local/1315<br />๑๐ เส้นทางชวนปั่นทั่วกรุง (ตอน๑)<br />ภาพ : ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ<br />เรื่อง : กรวิกา วีระพันธ์เทพา<br />หลังจากงาน bike in a day ผ่านไป เราเชื่อว่า คงไปกระตุ้นต่อม “ปั่น” ของใครหลายคน รีบออกไปหาจักรยานมาโดยพลัน<br />แต่ขึ้นชื่อว่าจักรยาน ซึ่งเป็นพาหนะชนิดหนึ่งแล้ว จะให้เอามาขัดถู แต่งตัวสวยๆ แล้วปั่นอยู่แค่หน้าบ้านมันก็ไม่สนุกสิ ! <br />ดังนั้น เราจึงไปเสาะหาข้อมูลจากนักปั่นทั้งหลาย รวบรวมเป็น “๑๐ เส้นทางน่าปั่นทั่วกรุง” มาฝากนักปั่นและนักอยากปั่นทั้งหลาย ซึ่งความ “น่าปั่น” นี้ เราขออนุญาตเหมารวมทั้งทางที่สวยงาม ชมวิวทิวทัศน์ มีจุดแวะกินของอร่อย หรือทางที่ไม่ได้สวยนัก แต่สามารถลัดเลาะไปได้เร็วกว่ารถยนต์หลายเท่าตัว ฯลฯ กระจายไปตามเขตต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้ชาวสองล้อได้เลือกเส้นทางไปปั่นกันได้ตามใจชอบ (และหากใครมีทางอื่นๆ เสนอมาประชันอีก เราก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง)<br />เอาล่ะ สองขาวางพร้อมบนบันได เลือกทางที่ใช่สำหรับตัวเอง แล้วก็...ปั่นไปพร้อมกันเลย !<br />๑. “ลัดเลาะกลางกรุง ชมสถาปัตยกรรมย้อนยุค ตระเวนหาร้านอร่อย”จุดเริ่มต้น : สถานีรถไฟฟ้าตากสินปลายทาง : เยาวราชระยะทาง : ประมาณ ๖ กิโลเมตร<br />หากไปถามความเห็นของมือใหม่หัดปั่น ทางที่หลายคนหวั่นวิตก ไม่กล้าเอาจักรยานไปใช้ คงหนีไม่พ้นโซน “ในเมือง” เพราะมีภาพของรถเมล์คันใหญ่ยักษ์ไล่หลัง รถยนต์ขับเบียด มอเตอร์ไซค์บีบแตรไล่ แต่สำหรับเส้นทางนี้ เราเข้าไปถึงเขต “บางรัก” ที่ขึ้นชื่อว่ารถราหนาแน่นไม่แพ้ใครอย่างสะดวกสบาย เพราะสามารถลัดเลาะซอกซอยได้อย่างสนุกสนาน<br />เส้นทางลัดเลาะกลางกรุงเริ่มต้นจาก บีทีเอสสถานีตากสิน ปั่นตามถนนเจริญกรุงมาแวะวัดสวนพลู เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่นี่มีอะไรให้ดูให้ศึกษามากมาย เช่น หลวงพ่อพระป่าเลไลย์ รูปปั้นพระโพธิสัตย์กวนอิมประดิษฐานอยู่ในตำหนักหอไตร สร้างเป็นเรือนไทยด้วยไม้สักทองทั้งหลัง<br />ปั่นต่อมาบางรัก แวะตึกเก่า ซอยโรงภาษี กองบังคับการตำรวจน้ำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม แม้จะเก่าไปตามกาลเวลาแล้วแต่ยังสะท้อนความยิ่งใหญ่ของการเดินทางค้าขายทางเรือในอดีต เสร็จแล้วปั่นตามถนนเจริญกรุง มาแวะชมสถาปัตยกรรมที่สง่างามอีกแห่งที่ไปรษณีย์กลาง<br />ปั่นไปตามทางอีกนิดก็ถึงสี่พระยา ตรงนี้สามารถเลี่ยงถนนใหญ่มาปั่นทางที่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาได้ แวะชมโบสถ์กาลหว่าร์  โบสถ์คริสต์เก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของ<br />ชาวคริสเตียนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพฯ และใกล้ๆ กันมีอาคารธนาคารไทยพาณิชย์ และกรมเจ้าท่าที่สวยงามและน่าศึกษา<br />ปั่นตรงมาอีกหน่อยถึงตลาดน้อยแล้วมีของกินมากมายให้เติมพลัง เช่น กุยช่าย ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา เป็ดตุ๋น ต่อจากนี้ก็สามารถใช้เส้นถนนทรงวาด ไปเที่ยวสำเพ็ง เยาวราชต่อได้อีก คุ้มอย่างนี้ต้องไปลองปั่นกันดูสักครั้งแนะนำ / ภาพ  : นนลนีย์ อึ้งวิวัฒนกุล<br />๒. “ผ่านรามคำแหงฉลุย เป็นไปได้ด้วยจักรยาน”จุดเริ่มต้น : วัดศรีบุญเรืองปลายทาง : แยกพระราม ๙ระยะทาง : ประมาณ ๑๒ กิโลเมตรผ่านถนนรามคำแหงมาหลายครั้ง หลายช่วงเวลา แต่ความสม่ำเสมอที่เส้นทางนี้มอบให้เรามาตลอด (โดยที่เราไม่ต้องการ) ก็คือ “รถติด” อยู่มิว่างเว้น แต่ปัญหานี้จะหมดไป เมื่อคุณเลือกใช้จักรยานเลียบคลองแสนแสบ<br />แนะนำให้ใช้ฝั่งรามคำแหง (ไม่ใช่ฝั่งลาดพร้าว) เริ่มจาก วัดศรีบุญเรืองหรือที่จอดรถเดอะมอลล์บางกะปิ ปั่นเลียบกับคลองแสนแสบไปถึงซอยวัดเทพลีลา จะเลี่ยงถนนรามคำแหงได้ถึงครึ่งทาง ทางกว้างพอควร แต่อาจมีสิ่งกีดขวางหรือคนเดินบ้างเพราะมีชุมชนริมคลอง ต้องยกข้ามสะพานเล็กๆ บ้าง แต่โดยทั่วไปสามารถทำความเร็วได้พอประมาณ จากนั้นสามารถไปทะลุเส้นประดิษฐมนูธรรม (เลียบทางด่วนเอกมัย - รามอินทรา) ที่มีทางจักรยานด้วย (ช่วยกันไปใช้อย่าให้มอเตอร์ไซค์มาเบียดเบียนไปหมด) ทะลุไปถึงแยกพระราม ๙ ได้เลย ประหยัดเวลา สุขภาพจิตดีเพราะไม่เครียดกับรถติดด้วยแนะนำ / ภาพ : ภูมิ ศิรประภาศิริ<br />๓. “ฟิตร่างกายเที่ยวทะเลกรุงเทพฯ”จุดเริ่มต้น : ถนนพระราม ๒ปลายทาง : ศาลพันท้ายนรสิงห์ จ.สมุทรสาครระยะทาง : ประมาณ ๒๗ กิโลเมตรทริปนี้ขอท้าผู้มีความอึด ใครอยากปั่นออกกำลังกายพร้อมชมวิวสบายตาไปด้วย ต้องไม่พลาดทางนี้ เลือกเวลาเช้าๆ จะเหมาะสุด เริ่มจากถนนพระราม ๒ เยื้องๆ เซ็นทรัลพระราม ๒ จะมีป้ายบอกทางไปบางขุนเทียน เส้นทางไม่ค่อยมีรถขวักไขว่ สามารถทำความเร็วได้ตามแต่ร่างกายอำนวย ตรงไปตามถนนบางขุนเทียน ถนนเทียนทะเล ผ่านโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ ที่มีข้อมูลเรื่องป่าชายเลนให้ศึกษากัน<br />สองข้างทางมีป่าชายเลนและนาเกลือ จนไปถึงชายทะเลกรุงเทพฯ จากนั้นสามารถปั่นต่อไปเขต จ.สมุทรสาคร สักการะศาลพันท้ายนรสิงห์ นายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยในสมัยพระเจ้าเสือ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดี และรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิตแนะนำ / ภาพ : ธเรศ ปิ่นนราทิพย์<br />๔. “ปั่นชิวๆ ริมเจ้าพระยาฝั่งธน ชุมชนหลากหลายศรัทธา”จุดเริ่มต้น : สะพานพุทธฯปลายทาง : วัดอรุณราชวรารามฯระยะทาง : ประมาณ ๒.๕กิโลเมตรเริ่มต้นจากสะพานพุทธฯ พูดถึงปั่นข้ามสะพานอย่าเพิ่งตกใจไป เพราะที่นี่เป็นสะพานที่ชันน้อยมากจนแทบจะรู้สึกเหมือนทางราบ แถมทางค่อนข้างกว้าง มือใหม่มือเก่าปั่นขึ้นได้สบายๆ เราเลือกชิดขวาฝั่งที่สวนกับรถยนต์ ลงสะพานแล้ววกกลับใต้สะพาน จะเจอทางจักรยานเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ขอบอกว่าทางเวิร์กทีเดียว เป็นทางคนและจักรยานจริงๆ ไม่ค่อยมีมอเตอร์ไซค์ แถมทางยังสภาพดีอยู่ ปั่นรับลมจากแม่น้ำมองเห็นวังจักรพงษ์อยู่ฝั่งพระนคร ไปถึงศาลาสีฟ้ามีลายฉลุสวยงาม เป็นสัญลักษณ์ว่ามาถึงโบสถ์ซางตาครู้สอายุเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว ปั่นตามทางจักรยานมาอีกนิด เราก็จะผ่านศาลเจ้าแม่กวนอิมซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3<br />ทะลุออกมาถนนอรุณอมรินทร์ที่วัดกัลยาณมิตรฯ (ฝั่งตรงข้ามมีร้านอาหารชื่อดัง “ร้านลุง” กลางวันขายก๋วยเตี๋ยว ตอนเย็นอาหารตามสั่ง) ข้ามฝั่งไป สามารถไปชมมัสยิดบางหลวง มัสยิดทรงไทยแห่งเดียวในโลกที่ชุมชนบางหลวง จากนั้นปั่นไปตามถนนเลี้ยวขวาเข้าไป วัดอรุณฯ ได้ เรียกว่าปั่นไป ได้เรียนรู้สถานที่สำคัญของแต่ละศาสนาไปด้วยแนะนำ : ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์<br />๕. “เส้นทางโรแมนติกบนเกาะรัตนโกสินทร์”จุดเริ่มต้น : สะพานปิ่นเกล้าปลายทาง : สะพานพระราม ๘   ระยะทาง : ประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร<br />เส้นทางคลาสสิกที่นักปั่นมือใหม่หลายคนไม่น่าพลาด สตาร์ทที่สะพานพระปิ่นเกล้า ให้เลือกลงทางขวาเพื่อใช้ฟุตบาทถนนราชดำเนินไปชมอนุสรณ์สถาน ๑๔ตุลา หรือเลี้ยวขวาไปนิดหน่อยแวะร้านหนังสือก็องดิดได้ หากเป็นวันปกติทั่วไปก็สามารถปั่นบนฟุตบาทได้ แต่ขอแนะนำวันอันตราย คือ ช่วงใกล้หวยออก ทางเดินจะมีพ่อค้า – แม่ค้า – ลูกค้า เดินเบียดเสียดกันเต็มไปหมด ดังนั้นเลี่ยงไปใช้ทางหลังตึกก็ได้เช่นกัน<br />จากตรงนี้จะปั่นตรงไปชมความสวยงามของโลหะปราสาทก็ได้ แต่เราขอเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกคอกวัวไปหาก๋วยเตี๋ยวกินแถวบางลำพู ที่มีให้เลือกมากมาย จากนั้นเลาะไปตามถนนพระสุเมรุ กะเวลาเย็นๆ ไปนั่งชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวนสันติชัยปราการ เห็นวิวเรือผ่านไปมากับสะพานพระราม ๘ อยู่เบื้องหลัง<br />มองสะพานพระราม ๘ ไว้ดีๆ เพราะเราจะปั่นไปที่นั่นกัน จากสวนสันติฯ มีทางลัดเข้าซอยวัดสังเวชจะไปโผล่ที่ถนนสามเสนได้ จากนี้ตรงไปตลอด จนเจอสี่แยกบางขุนพรม (แยกแบงก์ชาติ) เลี้ยวซ้ายไปขึ้นสะพานพระราม ๘ ซึ่งข้อดีของที่นี่คือ ข้างบันไดสำหรับคนเดินมีทางลาดให้จูงจักรยานได้ด้วย ขึ้นไปแล้วจะปั่นช้าๆ หรือเดินชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาก็ได้ ขอบอกว่า...โรแมนติกขนาดนี้ อย่าปั่นคนเดียวเลยแนะนำโดย : นิรมล มูนจินดา<br />http://www.greenworld.or.th/greenworld/local/1327<br />๑๐ เส้นทางชวนปั่นทั่วกรุง (ตอน๒)<br />ภาพ : บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช<br />เรื่อง : กรวิกา วีระพันธ์เทพา<br />๖. “ชมทุ่งกว้างและสนามบินสุวรรณภูมิระยะไกล”จุดเริ่มต้น : หอพักนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังปลายทาง : สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ลาดกระบัง หรือวัดลาดกระบังระยะทาง : ประมาณ ๖.๕ กิโลเมตรไปที่เขตลาดกระบังกันบ้าง เส้นทางนี้น่าจะถูกใจนักศึกษาย่านนั้น ใครเครียดก่อนสอบ นัดแกงค์เพื่อนๆ ไปออกกำลังกายพร้อมกับชมวิวสวยๆ ลองเส้นทางนี้ดู เริ่มต้นปั่นออกมาจากซอยเกกีงาม ซอยนี้มีหอพักนักศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก ปั่นถึงหน้าปากซอยเลี้ยวซ้ายไปตามถนนฉลองกรุง ผ่านคณะวิทยาศาสตร์ อาคารเรียนรวมพระเทพ อุทยานพระจอมเกล้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ปั่นจนสุดทางโดยไม่ต้องขึ้นสะพาน จะเจอทางคู่ขนานมอเตอร์เวย์ ให้เลี้ยวซ้าย จากนั้นก็ปั่นไปตามทางคู่ขนานมอเตอร์เวย์ เส้นทางนี้ค่อนข้างโล่ง มีรถวิ่งไม่มาก<br />ปั่นไปจนผ่านศูนย์กีฬาสถาบัน ผ่านทุ่งกว้าง จนประมาณกิโลเมตรที่ ๓ เป็นต้นไป โดยเฉพาะช่วงที่ปั่นขึ้นสะพาน จะมองเห็นสนามบินสุวรรณภูมิอย่างชัดเจน เป็นฉากหลังของทุ่งกว้างสุดสายตา จากนั้นปั่นเรื่อยๆ ไปตามทางจนถึงสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ลาดกระบัง ใกล้ๆ กันมีวัดลาดกระบัง ซึ่งมีสวนปลาธรรมชาติและวิหารหลวงพ่อขาวด้วยแนะนำ / ภาพ : ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล<br />๗. “กินของอร่อย ชมสวนเขียวขจี ย่านตลิ่งชัน”จุดเริ่มต้น : ตลาดบางขุนนนท์ปลายทาง : วัดสะพาน ตลิ่งชันระยะทาง : ประมาณ  ๙ กิโลเมตรเอาใจคนฝั่งธนฯ บ้าง เราเริ่มเส้นทางกันที่ตลาดบางขุนนนท์ ปั่นตามทางมาเรื่อยๆ ผ่านกรมบังคับคดี ข้ามคลองชักพระ ถึงสามแยกเลี้ยวซ้าย แวะเติมพลังกันที่ตลาดน้ำตลิ่งชัน จากตรงนี้สังเกตดีๆ มีทางลอดใต้สะพานทางรถไฟ ปั่นจักรยานเข้าไปได้เลย มีสะพานปูนเล็กๆ เข้าชุมชน เส้นทางนี้มีน้องหมาเจ้าถิ่นอยู่ประปราย ตามประสบการณ์ของผู้สำรวจ ขอแนะนำว่าหยุดแล้วลงจูงจักรยานบ้างก็ได้ แต่ใครสามารถปั่นให้เร็วกว่าเจ้าตูบได้ก็ไม่ว่ากัน<br />เราปั่นไปเรื่อยๆ จะไปถึงวัดช่างเหล็ก ใกล้ๆ กันก็มีวัดเรไร ทั้งสองวัดแม้ไม่ใหญ่โตโอ่อ่าแต่เพียบพร้อมไปด้วยธรรมชาติที่สงบและชาวชุมชนใจดีทุกคน ปั่นตามทางเรื่อยๆ จะทะลุถนนแก้วเงินทอง (เพราะถนนนี้มีวัดใหญ่ๆ ๓ วัดด้วยกัน คือ วัดแก้ว วัดเงิน วัดทอง) เลี้ยวขวาที่วัดแก้ว ออกถนนราชพฤษ์ไปยังซอยวัดกระโจมทอง ใครปั่นมาร้อนๆ ขอบอกว่าเข้าซอยนี้จะสดชื่นมาก เพราะสองข้างทางเป็นสวนของชาวบ้าน ต้นไม้ครึ้มเขียว รถผ่านน้อย ได้สูดออกซิเจนกันเต็มปอด<br />ปั่นตามทางไปเรื่อยๆ รับรองไม่หลงเพราะตรงอย่างเดียว จะเห็นโบสถ์ใหญ่โตของวัดสะพาน ข้างในมีตลาดน้ำที่บรรยากาศน่ารักมากๆ แวะซื้อหาของกิน ไหว้พระ และนั่งพักผ่อนกันได้ตามอัธยาศัยแนะนำโดย : สันติภาพ สุวนันธะ<br />๘. “ไหว้พระวัดเก่า ริมคลองภาษีเจริญ”จุดเริ่มต้น : สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ปลายทาง : วัดนิมมานนรดี ถนนเพชรเกษม   ระยะทาง : ประมาณ ๗ กิโลเมตรฟังดูเหมือนเส้นทางแสวงบุญ เพราะเราจะพาจักรยานคู่ใจไปปั่นสักการะวัดเก่าแก่ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวริมคลองภาษีเจริญ แต่นอกจากนี้ เส้นทางนี้ก็สามารถเป็นทางลัดจากวงเวียนใหญ่ไปบางแคได้ด้วยนะ<br />เริ่มเส้นทางที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ปั่นเลียบทางรถไฟไปสถานีรถไฟตลาดพลูได้สบายมาก ทางตรงอย่างเดียว รถผ่านน้อย<br />เข้าถนนเทอดไท สามารถปั่นไปได้บนถนน ระวังรถช่วงแรกๆ เพราะปริมาณรถเยอะหน่อย ถึงวัดปากน้ำภาษีเจริญ วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ใกล้ๆ กันก็มีวัดอัปสรสวรรค์ ที่มีพระพุทธรูปพระประธานถึง ๒๘ องค์<br />จากนั้นปั่นต่อไปตามถนนเทอดไทเรื่อยๆ ระหว่างทางเป็นไร่สวนบ้าง ชุมชนบ้าง แต่โดยรวมรถไม่ค่อยวุ่นวาย ไปถึงโรงเรียนพิทยานุสรณ์ เลี้ยวขวาเข้าไปถึงคลองภาษีเจริญ จูงจักรยานข้ามคลองทะลุออก ถ.เพชรเกษมได้ (หรือสามารถแยกไปวัดนิมมานนรดีก็ได้) โดยใช้เวลาน้อยกว่ารถยนต์ในเวลาเร่งด่วนแน่นอนแนะนำโดย : นันทนัช ชัยขันธ์<br />๙. “ชมวิวสวนหลวง ร.๙ รับลมริมบึง”จุดเริ่มต้น : สุขุมวิท ๑๐๑/๑ปลายทาง : บึงรับน้ำหนองบอนระยะทาง : ประมาณ ๖.๕ กิโลเมตร<br />สำหรับใครที่อยู่ย่านพระโขนง บางจาก ขอแนะนำเส้นทางอากาศดีและวิวสวย คือจากสุขุมวิท ๑๐๑/๑ จะปั่นไปออกท้ายซอย ถึงท้ายซอยเลี้ยวซ้ายไปสัก ๓๐๐ เมตรจะมีทางลัดเลี้ยวขวาไปออกถนนศรีนครินทร์ ช่วงนี้รถเข้าออกเยอะต้องระวังกันหน่อย จากนั้นวิ่งตรงไปในซอยทางลัดประมาณ ๗๐๐ เมตร จะมีสี่แยกแฟมิลี่มาร์ต เราเลี้ยวขวาไปออกฝั่งตรงข้ามพาราไดซ์ปาร์ค ด้านนี้จะไม่ค่อยมีรถใหญ่ แต่มีมอร์เตอร์ไซค์บ้าง<br />ปั่นต่อไปอีกไม่ไกลก็จะถึงถนนศรีนครินทร์ ข้ามแยกพาราไดซ์ ปั่นผ่านหมู่บ้านเสรีย์ ไปถึงสวนหลวง ร.๙ ในสวนหลวงพอปั่นเล่นได้บ้างด้านถนนรอบนอก ด้านในก็มีลู่จักรยานปั่นรอบได้ แต่ต้องระวังเด็กขี่จักรยานกันหน่อยนะ<br />จากสวนหลวง เราปั่นจนไปถึงทางออกด้านถนนประเวศ จากประตูฝั่งประเวศเลี้ยวซ้ายไปร้อยกว่าเมตร ก็จะถึงปากซอยที่มีป้ายใหญ่ว่าบึงรับน้ำหนองบอน ตรงเข้าไปเกือบหนึ่งกิโลเมตรก็จะถึงบึงกว้างใหญ่ นั่งพักรับลมได้สบายๆ เส้นทางนี้จะมาช่วงเวลาเช้าหรือเย็นก็ได้ตามความสะดวก ได้บรรยากาศไปคนละแบบแนะนำ / ภาพ : “หมาส้มสมหวัง”<br />๑๐. “ทริปทะลุใจกลางเมือง”จุดเริ่มต้น : สวนเบญกิตติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ปลายทาง : สยามสแควร์   ระยะทาง : ประมาณ ๓ กิโลเมตรมีจักรยานทั้งที อย่าคิดว่าต้องไปปั่นแถบชานเมืองเท่านั้น เราสามารถปั่นเท่ๆ ไปอวดวัยรุ่นย่านใจกลางเมืองได้ ให้ใครๆ เห็นกันไปเลยว่าพาหนะดีๆ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แถมยังถึงจุดหมายตรงเวลาเป็นยังไง<br />เราเริ่มต้นกันที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สามารถทะลุหลังที่จอดรถไปยังโรงงานยาสูบ ไปให้สุดทางที่มีรั้วกั้น จากนั้นจะเริ่มเห็นทางสีเขียวๆ (ซึ่งตอนนี้ออกไปทางเทาๆ ดำๆ เสียมากกว่า) ที่เรียกกันว่าทางเดินลอยฟ้านั่นเอง เราปั่นไปตามทางได้เลย ระหว่างทางมีต้นไม้เป็นหลังคาธรรมชาติบังแดดให้เราได้ด้วย เราจะพบกับทางยกระดับที่ลาดชันมากจำนวน ๓ ครั้งด้วยกัน ขอแนะนำให้ลงจูงดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้ร่วมเส้นทาง<br />เผลอแป๊ปเดียว มาถึงสวนลุมพินีแล้ว ที่นี่อนุญาตให้นำจักรยานเข้าไปได้ แต่ต้องระแวดระวังกันสักหน่อย เพราะคนเน้นมาเดิน – วิ่งกันมากกว่าใช้จักรยานอย่างที่สวนรถไฟ เลือกออกที่ประตูแยกสีลม แล้วปั่นเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สามารถไปออกที่ถนนอังรีดูนังต์ได้ เลี้ยวขวาแล้วตรงไปอีกนิดก็ถึงสยามสแควร์แล้ว หากจะจอดจักรยานเพื่อลงช็อปปิ้งควรจอดในจุฬาฯ มากกว่า เพราะตอนนี้ห้างแถวนั้นยังไม่มีที่จอดจักรยานเป็นกิจลักษณะเลย น่าเสียดายจริงๆ (รอชาวสองล้อปั่นแสดงตัวอยู่) แนะนำ : “นู๋นิดหน่อย” / ภาพ : ธเรศ ปิ่นนราทิพย์<br />http://www.bicycleforaday.org/movies.htm<br />Movies <br />quot;
The Perfect Circlequot;
<br />a short film directed by Daniel Leeb featuring Matthew Modine. <br />BFAD Container Project<br />Architect Adam Kalkin partnered with BFAD to create the 3-contained “BFAD Pup Tent.” Disused and broken bicycles are collected. These bikes are be packed into two 40 foot containers and sent to countries where they will serve people most in need. When the containers arrive, they are joined with two additional containers; the lower containers become a bike repair shop and a bike store to sell the rebuilt and repaired bikes. The upper container becomes a cultural exchange/educational room. Read the Brochure (1MB)<br />Modine Kalkin Hyde Tent 1<br /><iframe width=quot;
560quot;
 height=quot;
349quot;
 src=quot;
http://www.youtube.com/embed/0W7JIokVIxAquot;
 frameborder=quot;
0quot;
 allowfullscreen></iframe><br />http://www.youtube.com/watch?v=0W7JIokVIxA&feature=player_embedded: carrielee2112 <br />Bike in a day : ปั่นจักรยานไปดูหนัง Shakariki สิงห์นักปั่น<br />https://www.facebook.com/event.php?eid=199756630053626<br />
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา

More Related Content

More from dentyomaraj

ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น dentyomaraj
 
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailand
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in ThailandRational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailand
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailanddentyomaraj
 
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54dentyomaraj
 
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลักวัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลักdentyomaraj
 
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑dentyomaraj
 
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓dentyomaraj
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒dentyomaraj
 
Chaipattana tsunami
Chaipattana tsunamiChaipattana tsunami
Chaipattana tsunamidentyomaraj
 
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpubEndodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpubdentyomaraj
 
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัวหนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัวdentyomaraj
 
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุขร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุขdentyomaraj
 
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697dentyomaraj
 
โยคะหัวเราะ
โยคะหัวเราะโยคะหัวเราะ
โยคะหัวเราะdentyomaraj
 
การพูดที่อบอุ่น Warm Speech
การพูดที่อบอุ่น Warm Speechการพูดที่อบอุ่น Warm Speech
การพูดที่อบอุ่น Warm Speechdentyomaraj
 
หลวงตาบัว
หลวงตาบัวหลวงตาบัว
หลวงตาบัวdentyomaraj
 
Poster preprosthetic surgery
Poster preprosthetic surgeryPoster preprosthetic surgery
Poster preprosthetic surgerydentyomaraj
 
Poster ฟันเทียมถอดได้ rooj
Poster ฟันเทียมถอดได้  roojPoster ฟันเทียมถอดได้  rooj
Poster ฟันเทียมถอดได้ roojdentyomaraj
 
What goes around comes around
What goes around comes aroundWhat goes around comes around
What goes around comes arounddentyomaraj
 
ทำอย่างไรให้ฟันลูกน้อยแข็งแรง หน้า ๑,แผ่นพับ
ทำอย่างไรให้ฟันลูกน้อยแข็งแรง หน้า ๑,แผ่นพับทำอย่างไรให้ฟันลูกน้อยแข็งแรง หน้า ๑,แผ่นพับ
ทำอย่างไรให้ฟันลูกน้อยแข็งแรง หน้า ๑,แผ่นพับdentyomaraj
 
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวาน หน้า ๑ ,แผ่นพับ
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวาน หน้า ๑ ,แผ่นพับ การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวาน หน้า ๑ ,แผ่นพับ
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวาน หน้า ๑ ,แผ่นพับ dentyomaraj
 

More from dentyomaraj (20)

ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
 
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailand
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in ThailandRational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailand
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailand
 
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
 
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลักวัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
 
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑
 
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๓
 
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
 
Chaipattana tsunami
Chaipattana tsunamiChaipattana tsunami
Chaipattana tsunami
 
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpubEndodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpub
 
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัวหนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัว
 
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุขร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
 
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
 
โยคะหัวเราะ
โยคะหัวเราะโยคะหัวเราะ
โยคะหัวเราะ
 
การพูดที่อบอุ่น Warm Speech
การพูดที่อบอุ่น Warm Speechการพูดที่อบอุ่น Warm Speech
การพูดที่อบอุ่น Warm Speech
 
หลวงตาบัว
หลวงตาบัวหลวงตาบัว
หลวงตาบัว
 
Poster preprosthetic surgery
Poster preprosthetic surgeryPoster preprosthetic surgery
Poster preprosthetic surgery
 
Poster ฟันเทียมถอดได้ rooj
Poster ฟันเทียมถอดได้  roojPoster ฟันเทียมถอดได้  rooj
Poster ฟันเทียมถอดได้ rooj
 
What goes around comes around
What goes around comes aroundWhat goes around comes around
What goes around comes around
 
ทำอย่างไรให้ฟันลูกน้อยแข็งแรง หน้า ๑,แผ่นพับ
ทำอย่างไรให้ฟันลูกน้อยแข็งแรง หน้า ๑,แผ่นพับทำอย่างไรให้ฟันลูกน้อยแข็งแรง หน้า ๑,แผ่นพับ
ทำอย่างไรให้ฟันลูกน้อยแข็งแรง หน้า ๑,แผ่นพับ
 
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวาน หน้า ๑ ,แผ่นพับ
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวาน หน้า ๑ ,แผ่นพับ การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวาน หน้า ๑ ,แผ่นพับ
การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวาน หน้า ๑ ,แผ่นพับ
 

สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา

  • 1. เนื้อหามูลนิธิโลกสีเขียว สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา ๒ เรื่องของจักรยาน๔ ปั่น “จักรยาน” คันนี้ ได้ทั้งแรง ได้ทั้งไฟฟ้า๔ HYPERLINK quot; _Toc297195268quot; ๑๐ เส้นทางชวนปั่นทั่วกรุง (ตอน๑) ๖ ๑๐ เส้นทางชวนปั่นทั่วกรุง(ตอน๒) ๑๘ Movies quot; The Perfect Circlequot; ๓๐ Modine Kalkin Hyde Tent Bike in a day : Shakariki สิงห์นักปั่น……๓๑<br />มูลนิธิโลกสีเขียว http://www.greenworld.or.th/relax/three-thing/view/1322<br />๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๔<br />มณฑารพ ป้อมแก้ว<br />ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ มูลนิธิซิเมนต์ไทย (SCG Foundation)<br />สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา<br />๑. การได้รู้จักผู้คนและความคิดดีๆ ผ่านการคลิก<br />หลังจากเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ Social Network ก็รู้สึกได้เลยว่า ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป...ถามว่าดีไหม  คำตอบคือ “ดี” เพราะรู้สึกว่า โลกกว้างใบนี้ได้ถูกย่อให้แคบลง  ทำให้เราได้เจอกับเพื่อนเก่าหรือบางคนที่เคยรู้จักกันเมื่อนานมาแล้วแต่อาจห่างหายกันไป ผ่านทางเพื่อนของเพื่อน หรือจากรูปถ่ายเก่าๆ ที่เพื่อนเราอุตส่าห์ไปหามาแล้ว tag ทุกคนในรูปเพื่อย้อนความทรงจำและวันเวลาดีๆ ที่มีร่วมกัน ...รวมทั้งยังรู้สึกว่า ที่นี่เป็นเหมือนกระดานแผ่นใหญ่ ทำให้เราได้-เรียนรู้ความคิด ความเขียน วลีทีเด็ดของใครหลายๆ คน ที่ทำให้เราได้รู้จักพวกเขามากขึ้น  ได้รู้จักมากกว่าการสนทนากันโดยตรงเสียด้วยซ้ำ<br />มูลนิธิซิเมนต์ไทยเพิ่งจัดกิจกรรม “อ่าน เขียน เรียน คิด” ค่ายเยาวชนวรรณกรรมโดยมูลนิธิซิเมนต์ไทย ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนที่สนใจงานเขียนมาเรียนรู้สาระและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากวิทยากรผู้มีชื่อเสียงในแวดวงวรรณกรรม ซึ่งได้จัดโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ ๓ ค่ายนี้ได้ทำให้ก่อเกิดสายสัมพันธ์ ทั้งระหว่างนักเขียนรุ่นใหญ่กับนักเขียนรุ่นใหม่ และนักเขียนรุ่นใหม่ด้วยกันเอง ...ทุกวันนี้น้องๆ ในค่ายก็ได้อาศัย Facebook เป็นช่องทางส่งข่าวสารที่เป็นประโยชน์  พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติ และสานมิตรภาพต่อกันแม้ว่าค่ายจะจบไปแล้วก็ตาม ...เราเองในฐานะคนทำงานก็ดีใจที่เห็นความเป็นไปของสายใยอันอบอุ่นที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เมล็ดพันธุ์วรรณกรรมได้ถูกบ่มเพาะขึ้นเป็นต้นกล้าพร้อมเติบใหญ่ต่อไป<br />๒. ความรู้สึกดีๆ ที่ได้รับน้ำใจจากคนที่แม้จะไม่รู้จัก<br />นานมาแล้วเมื่อตอนเป็นนิสิตได้เคยไปช่วยงานมหาวิทยาลัยในซุ้มงานกาชาด กว่าทุกอย่างที่ได้รับมอบหมายจะเรียบร้อยก็ดึกดื่นตามวิสัยปกติของงานนี้ ...วันหนึ่งขณะเพิ่งออกจากงาน ฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก และแทบไม่มีรถวิ่ง ขณะที่เรากำลังรีบเดินหลบฝนและพยายามตั้งสติว่าจะหารถกลับยังไง ผู้หญิงที่เดินอยู่หลังเราก็เรียกรถแท็กซี่ได้และตะโกนบอกให้เราติดรถออกไปด้วยกัน   เมื่อประเมินอย่างเร็วๆ จากสถานการณ์ ณ ตอนนั้น เราจึงตัดสินใจขึ้นรถไปด้วยและลงในจุดที่หารถต่อจนถึงที่หมายในที่สุด<br />กระทั่งเมื่อเย็นวันนี้ วันที่ที่เราตัดสินใจขึ้นรถประจำทางที่มีผู้โดยสารแน่นมากกลับบ้านพร้อมข้าวของพะรุงพะรัง ขณะกำลังเก้ๆกังๆ หาที่ยึดไม่ให้ล้ม ผู้ชายสูงอายุที่นั่งใกล้กับจุดที่เรายืนก็ได้ยิ้มให้เราพร้อมชี้ไปที่ห่วงจับ ...จากนั้นไม่นานคุณลุงคนนี้ก็สะกิดให้เราไปนั่งแทนก่อนที่เค้าจะลงรถ ไม่บอกก็คงเดาออกว่าเราดีใจจริงๆ เพราะเริ่มรู้สึกเจ็บมือจากถุงข้าวของที่เพิ่งซื้อมามากมายนั่นแล้ว กระทั่งก่อนเราลงรถก็เป็นจังหวะเดียวกับที่มีคุณป้าคนหนึ่งเพิ่งขึ้นรถมาพอดี เราจึงได้ลุกเพื่อให้คุณป้าได้นั่งเช่นกัน ... นี่อาจเป็นเรื่องธรรมดาๆ ของใครๆ แต่สำหรับเราแล้ว น้ำใจเหล่านี้ที่มนุษย์มีให้แก่กัน ล้วนเป็นเหมือนต้นทางของความตั้งใจที่จะทำสิ่งดีๆ ให้กับคนอื่นต่อไป ยิ่งเป็นน้ำใจจากผู้คนที่เราไม่รู้จัก ก็ยิ่งทำให้เรามีความหวังว่าสังคมนี้ยังพร้อมจะมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้น<br />๓. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีๆ สำหรับกำจัดขยะ<br />พี่มนรดา พี่สาวคนสวยในออฟฟิศได้ติดป้ายประกาศชวนให้พวกเราทุกคนแยกทิ้งขยะที่เป็นขวดพลาสติกและกระป๋องลงในกล่องอีกใบหนึ่ง เพื่อที่จะรวบรวมไปขายให้กับร้านที่รับซื้อของเก่า ...เคยถามเค้าว่าเงินที่ได้จากการขายคุ้มกับค่ารถที่ขนขยะไปร้านหรือไม่ คำตอบคือน้อยกว่าหรือใกล้เคียง แต่เค้าก็ยังอยากที่จะทำต่อไป ...พี่ๆ บางคนถึงกับรวบรวมขยะพลาสติกจากที่บ้านเป็นถุงใหญ่ๆ ติดใส่รถมาให้ถึงที่ออฟฟิศ ...นับแต่นั้นเราเองก็เริ่มแยกขยะพลาสติกที่บ้าน และทิ้งลงถังที่กำหนดไว้ให้ทิ้งขยะรีไซเคิล  ...ในใจก็นึกเสียดายที่ไม่ทำมาก่อนหน้านี้ พร้อมกับคิดว่า บางทีเราอาจไม่สามารถหลอกตัวเองที่จะปฏิเสธพลาสติกอย่างสิ้นเชิงได้ แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือ Lifestyle อย่างง่ายๆ เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับมันอย่างมีความสุขและเป็นวิถีที่ไม่ทำลายโลกได้ ... (ตอนนี้พวกเราในออฟฟิศก็กำลังคุยกันว่าจะทำอะไรกันเพิ่มเติมอีก ที่ทั้งน่ารักและรักษ์โลก...ไว้มีโอกาสอีกก็จะมาเล่าให้ฟังต่อนะคะ ^^)<br />เรื่องของจักรยาน<br />http://www.greenworld.or.th/greenworld/population/1332<br />ข่าวสิ่งแวดล้อม : เรื่องจากพลเมือง<br />ปั่น “จักรยาน” คันนี้ ได้ทั้งแรง ได้ทั้งไฟฟ้า<br />เรื่อง : ต้อยติ่ง<br />“เราอยากให้การปั่นจักรยานเป็นมากกว่าการออกกำลังกาย” สุพจน์ สิงห์โตศรี พูดถึงความตั้งใจง่ายๆ ของเขา และความคิดนั้นก็ค่อยๆ เติบโตจนออกมาเป็นต้นแบบ “จักรยานปั่นไฟฟ้า” -- จักรยานคันที่ปั่นแล้วได้ทั้ง “แรง” ได้ทั้ง “ไฟฟ้า”<br />ก่อนที่จะมาเป็น “จักรยานปั่นไฟฟ้า” คันนี้ แนวคิดข้างต้นเกิดขึ้นราวกลางปี๒๕๕๓ด้วยเงินงบประมาณจากรัฐที่ให้กับชุมชนไว้เพื่อใช้ประโยชน์  ชาวบ้านกลุ่มเล็กๆ หมู่ที่ ๙ บ้านหนองมะตูม ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จึงเริ่มต้นจากการร่วมมือกันของทีมงานหลายชีวิต อาศัยทักษะทางช่างเชื่อมเหล็ก ช่างไฟฟ้า และความคิดสร้างสรรค์ของเพื่อนๆ โดยมี ‘สุพจน์ สิงห์โตศรี’ เป็นผู้ดูแล<br />สุพจน์ เล่าว่า เมื่อมีงบประมาณจากรัฐจำนวน ๒๐,๐๐๐บาท เขาและทีมงานพยายามช่วยกันออกแบบจักรยานที่สามารถใช้ประโยชน์ที่มากกว่าการออกกำลังกาย เริ่มจากหาวัสดุเหลือใช้ และของเก่าที่ซ่อมได้ เพื่อให้มีต้นทุนน้อยที่สุด จนได้ออกมาเป็นจักรยานสูบน้ำเพื่อมาใช้ประโยชน์ในหมู่บ้านจำนวน ๔ คัน ก่อนจะได้รับการต่อยอดออกมาเป็นต้นแบบ “จักรยานปั่นไฟฟ้า” ในที่สุด<br />ต้นแบบ “จักรยานปั่นไฟฟ้า” ที่ปัจจุบันมีอยู่ ๑ คัน จะมีการใช้งาน # แบบ แบ่งออกเป็น<br />แบบแรก คือ ปั่นจักรยานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ เราสามารถนำอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบกระแสตรง (DC) มาต่อตรงกับแบตเตอรี่ได้เลย หรือต่อเข้าอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อแปลงให้เป็นกระแสสลับ (AC) แบบ ๒๐๐โวลต์ ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยใช้ตามครัวเรือน<br />แบบที่สอง คือ การปั่นจักรยานเพื่อลดค่าไฟฟ้าในบ้าน โดยปั่นให้กระแสไฟฟ้าส่งกลับไปยังสายส่งในรูปของความดันไฟฟ้า เราสามารถทำให้มิเตอร์หมุนช้าลงได้หรือหมุนถอยหลัง ถ้าสามารถปั่นด้วยความเร็วที่สูสีหรือมากกว่าขนาดของมอเตอร์  ถ้า ๑ วัน เราใช้ไฟฟ้า ๑๐ หน่วย เราผลิตได้ ๕ หน่วย เราก็ประหยัดไฟฟ้าได้ ๕ หน่วย แต่ถ้าเราผลิตไฟฟ้าได้ ๑๑ หน่วย เราก็ไม่เสียค่าไฟฟ้า และยังเผื่อไว้สำหรับพรุ่งนี้ได้อีก ๑ หน่วย<br />“มันเหมือนเรายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว” เขาเปรียบเทียบ “หากลงแรงปั่นจักรยานด้วยความเร็วพอประมาณเป็นระยะเวลา ๑ ชั่วโมง จะได้ไฟฟ้าครึ่งหน่วย คิดเป็นตัวเงินจะอยู่ราว ๒ บาท ครึ่งชั่วโมงเป็น ๑ บาท และ ๑๕ นาทีก็จะได้อยู่ที่ ๕๐ สตางค์ แต่มันคุ้มตรงที่ว่าเราได้ออกกำลัง ส่วนเงินที่ไปลดจ่ายเป็นเพียงผลพลอยได้มากกว่า”<br />แม้ “จักรยานปั่นไฟฟ้า” คันนี้ จะไม่สามารถเป็นตัวแปรของวิถีชีวิตในเมืองได้อย่างเต็มที่นัก ด้วยเหตุที่บ้านแต่ละหลังยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้ามากชิ้น และหลายหลังก็ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมหาศาลอย่างเครื่องปรับอากาศกัน กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่กี่หน่วยย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการ  แต่ถ้า “จักรยาน” คันนี้ไปตั้งอยู่ในบ้านที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าน้อยชิ้น การปั่นจักรยานเป็นเวลาไม่ถึง ๑ ชั่วโมง เพื่อแลกกับการใช้สอยตลอดคืนจากโทรทัศน์ พัดลม และหลอดไฟ ย่อมเป็นไปได้อย่าเหลือเฟือ<br />“ถ้าเราใช้ไฟฟ้าจากไฟ ๑ ดวง พัดลมหนึ่งตัว ทีวีหนึ่งเครื่อง ในเวลา ๖ โมงเย็น –๔ ทุ่ม ปั่นสักครึ่งชั่วโมงก็พอแล้ว อีกอย่าง ผมมองว่าในอนาคตเราจำเป็นต้องพึ่งตัวเองให้ได้ ถ้าเราจะมีบ้านสักหลัง เราควรที่จะผลิตน้ำ ผลิตไฟฟ้าเองด้วยตัวเองได้ ถ้ามีจักรยานแบบนี้เอาไปใส่ในบ้านพึ่งตัวเอง จะบ้านดิน หรือบ้านอะไรก็ตามที่เราสร้างขึ้นมา เรารู้ว่าถ้าจะใช้ไฟฟ้า เราก็ต้องออกแรงเท่านี้นะ บ้านที่ห่างไกลออกไปก็สามารถอยู่ได้แบบมีไฟฟ้าด้วย”<br />เรื่องในประเทศ http://www.greenworld.or.th/greenworld/local/1315<br />๑๐ เส้นทางชวนปั่นทั่วกรุง (ตอน๑)<br />ภาพ : ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ<br />เรื่อง : กรวิกา วีระพันธ์เทพา<br />หลังจากงาน bike in a day ผ่านไป เราเชื่อว่า คงไปกระตุ้นต่อม “ปั่น” ของใครหลายคน รีบออกไปหาจักรยานมาโดยพลัน<br />แต่ขึ้นชื่อว่าจักรยาน ซึ่งเป็นพาหนะชนิดหนึ่งแล้ว จะให้เอามาขัดถู แต่งตัวสวยๆ แล้วปั่นอยู่แค่หน้าบ้านมันก็ไม่สนุกสิ ! <br />ดังนั้น เราจึงไปเสาะหาข้อมูลจากนักปั่นทั้งหลาย รวบรวมเป็น “๑๐ เส้นทางน่าปั่นทั่วกรุง” มาฝากนักปั่นและนักอยากปั่นทั้งหลาย ซึ่งความ “น่าปั่น” นี้ เราขออนุญาตเหมารวมทั้งทางที่สวยงาม ชมวิวทิวทัศน์ มีจุดแวะกินของอร่อย หรือทางที่ไม่ได้สวยนัก แต่สามารถลัดเลาะไปได้เร็วกว่ารถยนต์หลายเท่าตัว ฯลฯ กระจายไปตามเขตต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้ชาวสองล้อได้เลือกเส้นทางไปปั่นกันได้ตามใจชอบ (และหากใครมีทางอื่นๆ เสนอมาประชันอีก เราก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง)<br />เอาล่ะ สองขาวางพร้อมบนบันได เลือกทางที่ใช่สำหรับตัวเอง แล้วก็...ปั่นไปพร้อมกันเลย !<br />๑. “ลัดเลาะกลางกรุง ชมสถาปัตยกรรมย้อนยุค ตระเวนหาร้านอร่อย”จุดเริ่มต้น : สถานีรถไฟฟ้าตากสินปลายทาง : เยาวราชระยะทาง : ประมาณ ๖ กิโลเมตร<br />หากไปถามความเห็นของมือใหม่หัดปั่น ทางที่หลายคนหวั่นวิตก ไม่กล้าเอาจักรยานไปใช้ คงหนีไม่พ้นโซน “ในเมือง” เพราะมีภาพของรถเมล์คันใหญ่ยักษ์ไล่หลัง รถยนต์ขับเบียด มอเตอร์ไซค์บีบแตรไล่ แต่สำหรับเส้นทางนี้ เราเข้าไปถึงเขต “บางรัก” ที่ขึ้นชื่อว่ารถราหนาแน่นไม่แพ้ใครอย่างสะดวกสบาย เพราะสามารถลัดเลาะซอกซอยได้อย่างสนุกสนาน<br />เส้นทางลัดเลาะกลางกรุงเริ่มต้นจาก บีทีเอสสถานีตากสิน ปั่นตามถนนเจริญกรุงมาแวะวัดสวนพลู เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่นี่มีอะไรให้ดูให้ศึกษามากมาย เช่น หลวงพ่อพระป่าเลไลย์ รูปปั้นพระโพธิสัตย์กวนอิมประดิษฐานอยู่ในตำหนักหอไตร สร้างเป็นเรือนไทยด้วยไม้สักทองทั้งหลัง<br />ปั่นต่อมาบางรัก แวะตึกเก่า ซอยโรงภาษี กองบังคับการตำรวจน้ำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม แม้จะเก่าไปตามกาลเวลาแล้วแต่ยังสะท้อนความยิ่งใหญ่ของการเดินทางค้าขายทางเรือในอดีต เสร็จแล้วปั่นตามถนนเจริญกรุง มาแวะชมสถาปัตยกรรมที่สง่างามอีกแห่งที่ไปรษณีย์กลาง<br />ปั่นไปตามทางอีกนิดก็ถึงสี่พระยา ตรงนี้สามารถเลี่ยงถนนใหญ่มาปั่นทางที่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาได้ แวะชมโบสถ์กาลหว่าร์  โบสถ์คริสต์เก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของ<br />ชาวคริสเตียนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพฯ และใกล้ๆ กันมีอาคารธนาคารไทยพาณิชย์ และกรมเจ้าท่าที่สวยงามและน่าศึกษา<br />ปั่นตรงมาอีกหน่อยถึงตลาดน้อยแล้วมีของกินมากมายให้เติมพลัง เช่น กุยช่าย ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา เป็ดตุ๋น ต่อจากนี้ก็สามารถใช้เส้นถนนทรงวาด ไปเที่ยวสำเพ็ง เยาวราชต่อได้อีก คุ้มอย่างนี้ต้องไปลองปั่นกันดูสักครั้งแนะนำ / ภาพ  : นนลนีย์ อึ้งวิวัฒนกุล<br />๒. “ผ่านรามคำแหงฉลุย เป็นไปได้ด้วยจักรยาน”จุดเริ่มต้น : วัดศรีบุญเรืองปลายทาง : แยกพระราม ๙ระยะทาง : ประมาณ ๑๒ กิโลเมตรผ่านถนนรามคำแหงมาหลายครั้ง หลายช่วงเวลา แต่ความสม่ำเสมอที่เส้นทางนี้มอบให้เรามาตลอด (โดยที่เราไม่ต้องการ) ก็คือ “รถติด” อยู่มิว่างเว้น แต่ปัญหานี้จะหมดไป เมื่อคุณเลือกใช้จักรยานเลียบคลองแสนแสบ<br />แนะนำให้ใช้ฝั่งรามคำแหง (ไม่ใช่ฝั่งลาดพร้าว) เริ่มจาก วัดศรีบุญเรืองหรือที่จอดรถเดอะมอลล์บางกะปิ ปั่นเลียบกับคลองแสนแสบไปถึงซอยวัดเทพลีลา จะเลี่ยงถนนรามคำแหงได้ถึงครึ่งทาง ทางกว้างพอควร แต่อาจมีสิ่งกีดขวางหรือคนเดินบ้างเพราะมีชุมชนริมคลอง ต้องยกข้ามสะพานเล็กๆ บ้าง แต่โดยทั่วไปสามารถทำความเร็วได้พอประมาณ จากนั้นสามารถไปทะลุเส้นประดิษฐมนูธรรม (เลียบทางด่วนเอกมัย - รามอินทรา) ที่มีทางจักรยานด้วย (ช่วยกันไปใช้อย่าให้มอเตอร์ไซค์มาเบียดเบียนไปหมด) ทะลุไปถึงแยกพระราม ๙ ได้เลย ประหยัดเวลา สุขภาพจิตดีเพราะไม่เครียดกับรถติดด้วยแนะนำ / ภาพ : ภูมิ ศิรประภาศิริ<br />๓. “ฟิตร่างกายเที่ยวทะเลกรุงเทพฯ”จุดเริ่มต้น : ถนนพระราม ๒ปลายทาง : ศาลพันท้ายนรสิงห์ จ.สมุทรสาครระยะทาง : ประมาณ ๒๗ กิโลเมตรทริปนี้ขอท้าผู้มีความอึด ใครอยากปั่นออกกำลังกายพร้อมชมวิวสบายตาไปด้วย ต้องไม่พลาดทางนี้ เลือกเวลาเช้าๆ จะเหมาะสุด เริ่มจากถนนพระราม ๒ เยื้องๆ เซ็นทรัลพระราม ๒ จะมีป้ายบอกทางไปบางขุนเทียน เส้นทางไม่ค่อยมีรถขวักไขว่ สามารถทำความเร็วได้ตามแต่ร่างกายอำนวย ตรงไปตามถนนบางขุนเทียน ถนนเทียนทะเล ผ่านโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ ที่มีข้อมูลเรื่องป่าชายเลนให้ศึกษากัน<br />สองข้างทางมีป่าชายเลนและนาเกลือ จนไปถึงชายทะเลกรุงเทพฯ จากนั้นสามารถปั่นต่อไปเขต จ.สมุทรสาคร สักการะศาลพันท้ายนรสิงห์ นายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยในสมัยพระเจ้าเสือ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดี และรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิตแนะนำ / ภาพ : ธเรศ ปิ่นนราทิพย์<br />๔. “ปั่นชิวๆ ริมเจ้าพระยาฝั่งธน ชุมชนหลากหลายศรัทธา”จุดเริ่มต้น : สะพานพุทธฯปลายทาง : วัดอรุณราชวรารามฯระยะทาง : ประมาณ ๒.๕กิโลเมตรเริ่มต้นจากสะพานพุทธฯ พูดถึงปั่นข้ามสะพานอย่าเพิ่งตกใจไป เพราะที่นี่เป็นสะพานที่ชันน้อยมากจนแทบจะรู้สึกเหมือนทางราบ แถมทางค่อนข้างกว้าง มือใหม่มือเก่าปั่นขึ้นได้สบายๆ เราเลือกชิดขวาฝั่งที่สวนกับรถยนต์ ลงสะพานแล้ววกกลับใต้สะพาน จะเจอทางจักรยานเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ขอบอกว่าทางเวิร์กทีเดียว เป็นทางคนและจักรยานจริงๆ ไม่ค่อยมีมอเตอร์ไซค์ แถมทางยังสภาพดีอยู่ ปั่นรับลมจากแม่น้ำมองเห็นวังจักรพงษ์อยู่ฝั่งพระนคร ไปถึงศาลาสีฟ้ามีลายฉลุสวยงาม เป็นสัญลักษณ์ว่ามาถึงโบสถ์ซางตาครู้สอายุเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว ปั่นตามทางจักรยานมาอีกนิด เราก็จะผ่านศาลเจ้าแม่กวนอิมซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3<br />ทะลุออกมาถนนอรุณอมรินทร์ที่วัดกัลยาณมิตรฯ (ฝั่งตรงข้ามมีร้านอาหารชื่อดัง “ร้านลุง” กลางวันขายก๋วยเตี๋ยว ตอนเย็นอาหารตามสั่ง) ข้ามฝั่งไป สามารถไปชมมัสยิดบางหลวง มัสยิดทรงไทยแห่งเดียวในโลกที่ชุมชนบางหลวง จากนั้นปั่นไปตามถนนเลี้ยวขวาเข้าไป วัดอรุณฯ ได้ เรียกว่าปั่นไป ได้เรียนรู้สถานที่สำคัญของแต่ละศาสนาไปด้วยแนะนำ : ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์<br />๕. “เส้นทางโรแมนติกบนเกาะรัตนโกสินทร์”จุดเริ่มต้น : สะพานปิ่นเกล้าปลายทาง : สะพานพระราม ๘ ระยะทาง : ประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร<br />เส้นทางคลาสสิกที่นักปั่นมือใหม่หลายคนไม่น่าพลาด สตาร์ทที่สะพานพระปิ่นเกล้า ให้เลือกลงทางขวาเพื่อใช้ฟุตบาทถนนราชดำเนินไปชมอนุสรณ์สถาน ๑๔ตุลา หรือเลี้ยวขวาไปนิดหน่อยแวะร้านหนังสือก็องดิดได้ หากเป็นวันปกติทั่วไปก็สามารถปั่นบนฟุตบาทได้ แต่ขอแนะนำวันอันตราย คือ ช่วงใกล้หวยออก ทางเดินจะมีพ่อค้า – แม่ค้า – ลูกค้า เดินเบียดเสียดกันเต็มไปหมด ดังนั้นเลี่ยงไปใช้ทางหลังตึกก็ได้เช่นกัน<br />จากตรงนี้จะปั่นตรงไปชมความสวยงามของโลหะปราสาทก็ได้ แต่เราขอเลี้ยวซ้ายที่สี่แยกคอกวัวไปหาก๋วยเตี๋ยวกินแถวบางลำพู ที่มีให้เลือกมากมาย จากนั้นเลาะไปตามถนนพระสุเมรุ กะเวลาเย็นๆ ไปนั่งชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวนสันติชัยปราการ เห็นวิวเรือผ่านไปมากับสะพานพระราม ๘ อยู่เบื้องหลัง<br />มองสะพานพระราม ๘ ไว้ดีๆ เพราะเราจะปั่นไปที่นั่นกัน จากสวนสันติฯ มีทางลัดเข้าซอยวัดสังเวชจะไปโผล่ที่ถนนสามเสนได้ จากนี้ตรงไปตลอด จนเจอสี่แยกบางขุนพรม (แยกแบงก์ชาติ) เลี้ยวซ้ายไปขึ้นสะพานพระราม ๘ ซึ่งข้อดีของที่นี่คือ ข้างบันไดสำหรับคนเดินมีทางลาดให้จูงจักรยานได้ด้วย ขึ้นไปแล้วจะปั่นช้าๆ หรือเดินชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาก็ได้ ขอบอกว่า...โรแมนติกขนาดนี้ อย่าปั่นคนเดียวเลยแนะนำโดย : นิรมล มูนจินดา<br />http://www.greenworld.or.th/greenworld/local/1327<br />๑๐ เส้นทางชวนปั่นทั่วกรุง (ตอน๒)<br />ภาพ : บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช<br />เรื่อง : กรวิกา วีระพันธ์เทพา<br />๖. “ชมทุ่งกว้างและสนามบินสุวรรณภูมิระยะไกล”จุดเริ่มต้น : หอพักนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังปลายทาง : สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ลาดกระบัง หรือวัดลาดกระบังระยะทาง : ประมาณ ๖.๕ กิโลเมตรไปที่เขตลาดกระบังกันบ้าง เส้นทางนี้น่าจะถูกใจนักศึกษาย่านนั้น ใครเครียดก่อนสอบ นัดแกงค์เพื่อนๆ ไปออกกำลังกายพร้อมกับชมวิวสวยๆ ลองเส้นทางนี้ดู เริ่มต้นปั่นออกมาจากซอยเกกีงาม ซอยนี้มีหอพักนักศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก ปั่นถึงหน้าปากซอยเลี้ยวซ้ายไปตามถนนฉลองกรุง ผ่านคณะวิทยาศาสตร์ อาคารเรียนรวมพระเทพ อุทยานพระจอมเกล้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ปั่นจนสุดทางโดยไม่ต้องขึ้นสะพาน จะเจอทางคู่ขนานมอเตอร์เวย์ ให้เลี้ยวซ้าย จากนั้นก็ปั่นไปตามทางคู่ขนานมอเตอร์เวย์ เส้นทางนี้ค่อนข้างโล่ง มีรถวิ่งไม่มาก<br />ปั่นไปจนผ่านศูนย์กีฬาสถาบัน ผ่านทุ่งกว้าง จนประมาณกิโลเมตรที่ ๓ เป็นต้นไป โดยเฉพาะช่วงที่ปั่นขึ้นสะพาน จะมองเห็นสนามบินสุวรรณภูมิอย่างชัดเจน เป็นฉากหลังของทุ่งกว้างสุดสายตา จากนั้นปั่นเรื่อยๆ ไปตามทางจนถึงสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ลาดกระบัง ใกล้ๆ กันมีวัดลาดกระบัง ซึ่งมีสวนปลาธรรมชาติและวิหารหลวงพ่อขาวด้วยแนะนำ / ภาพ : ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล<br />๗. “กินของอร่อย ชมสวนเขียวขจี ย่านตลิ่งชัน”จุดเริ่มต้น : ตลาดบางขุนนนท์ปลายทาง : วัดสะพาน ตลิ่งชันระยะทาง : ประมาณ ๙ กิโลเมตรเอาใจคนฝั่งธนฯ บ้าง เราเริ่มเส้นทางกันที่ตลาดบางขุนนนท์ ปั่นตามทางมาเรื่อยๆ ผ่านกรมบังคับคดี ข้ามคลองชักพระ ถึงสามแยกเลี้ยวซ้าย แวะเติมพลังกันที่ตลาดน้ำตลิ่งชัน จากตรงนี้สังเกตดีๆ มีทางลอดใต้สะพานทางรถไฟ ปั่นจักรยานเข้าไปได้เลย มีสะพานปูนเล็กๆ เข้าชุมชน เส้นทางนี้มีน้องหมาเจ้าถิ่นอยู่ประปราย ตามประสบการณ์ของผู้สำรวจ ขอแนะนำว่าหยุดแล้วลงจูงจักรยานบ้างก็ได้ แต่ใครสามารถปั่นให้เร็วกว่าเจ้าตูบได้ก็ไม่ว่ากัน<br />เราปั่นไปเรื่อยๆ จะไปถึงวัดช่างเหล็ก ใกล้ๆ กันก็มีวัดเรไร ทั้งสองวัดแม้ไม่ใหญ่โตโอ่อ่าแต่เพียบพร้อมไปด้วยธรรมชาติที่สงบและชาวชุมชนใจดีทุกคน ปั่นตามทางเรื่อยๆ จะทะลุถนนแก้วเงินทอง (เพราะถนนนี้มีวัดใหญ่ๆ ๓ วัดด้วยกัน คือ วัดแก้ว วัดเงิน วัดทอง) เลี้ยวขวาที่วัดแก้ว ออกถนนราชพฤษ์ไปยังซอยวัดกระโจมทอง ใครปั่นมาร้อนๆ ขอบอกว่าเข้าซอยนี้จะสดชื่นมาก เพราะสองข้างทางเป็นสวนของชาวบ้าน ต้นไม้ครึ้มเขียว รถผ่านน้อย ได้สูดออกซิเจนกันเต็มปอด<br />ปั่นตามทางไปเรื่อยๆ รับรองไม่หลงเพราะตรงอย่างเดียว จะเห็นโบสถ์ใหญ่โตของวัดสะพาน ข้างในมีตลาดน้ำที่บรรยากาศน่ารักมากๆ แวะซื้อหาของกิน ไหว้พระ และนั่งพักผ่อนกันได้ตามอัธยาศัยแนะนำโดย : สันติภาพ สุวนันธะ<br />๘. “ไหว้พระวัดเก่า ริมคลองภาษีเจริญ”จุดเริ่มต้น : สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ปลายทาง : วัดนิมมานนรดี ถนนเพชรเกษม ระยะทาง : ประมาณ ๗ กิโลเมตรฟังดูเหมือนเส้นทางแสวงบุญ เพราะเราจะพาจักรยานคู่ใจไปปั่นสักการะวัดเก่าแก่ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวริมคลองภาษีเจริญ แต่นอกจากนี้ เส้นทางนี้ก็สามารถเป็นทางลัดจากวงเวียนใหญ่ไปบางแคได้ด้วยนะ<br />เริ่มเส้นทางที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ปั่นเลียบทางรถไฟไปสถานีรถไฟตลาดพลูได้สบายมาก ทางตรงอย่างเดียว รถผ่านน้อย<br />เข้าถนนเทอดไท สามารถปั่นไปได้บนถนน ระวังรถช่วงแรกๆ เพราะปริมาณรถเยอะหน่อย ถึงวัดปากน้ำภาษีเจริญ วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ใกล้ๆ กันก็มีวัดอัปสรสวรรค์ ที่มีพระพุทธรูปพระประธานถึง ๒๘ องค์<br />จากนั้นปั่นต่อไปตามถนนเทอดไทเรื่อยๆ ระหว่างทางเป็นไร่สวนบ้าง ชุมชนบ้าง แต่โดยรวมรถไม่ค่อยวุ่นวาย ไปถึงโรงเรียนพิทยานุสรณ์ เลี้ยวขวาเข้าไปถึงคลองภาษีเจริญ จูงจักรยานข้ามคลองทะลุออก ถ.เพชรเกษมได้ (หรือสามารถแยกไปวัดนิมมานนรดีก็ได้) โดยใช้เวลาน้อยกว่ารถยนต์ในเวลาเร่งด่วนแน่นอนแนะนำโดย : นันทนัช ชัยขันธ์<br />๙. “ชมวิวสวนหลวง ร.๙ รับลมริมบึง”จุดเริ่มต้น : สุขุมวิท ๑๐๑/๑ปลายทาง : บึงรับน้ำหนองบอนระยะทาง : ประมาณ ๖.๕ กิโลเมตร<br />สำหรับใครที่อยู่ย่านพระโขนง บางจาก ขอแนะนำเส้นทางอากาศดีและวิวสวย คือจากสุขุมวิท ๑๐๑/๑ จะปั่นไปออกท้ายซอย ถึงท้ายซอยเลี้ยวซ้ายไปสัก ๓๐๐ เมตรจะมีทางลัดเลี้ยวขวาไปออกถนนศรีนครินทร์ ช่วงนี้รถเข้าออกเยอะต้องระวังกันหน่อย จากนั้นวิ่งตรงไปในซอยทางลัดประมาณ ๗๐๐ เมตร จะมีสี่แยกแฟมิลี่มาร์ต เราเลี้ยวขวาไปออกฝั่งตรงข้ามพาราไดซ์ปาร์ค ด้านนี้จะไม่ค่อยมีรถใหญ่ แต่มีมอร์เตอร์ไซค์บ้าง<br />ปั่นต่อไปอีกไม่ไกลก็จะถึงถนนศรีนครินทร์ ข้ามแยกพาราไดซ์ ปั่นผ่านหมู่บ้านเสรีย์ ไปถึงสวนหลวง ร.๙ ในสวนหลวงพอปั่นเล่นได้บ้างด้านถนนรอบนอก ด้านในก็มีลู่จักรยานปั่นรอบได้ แต่ต้องระวังเด็กขี่จักรยานกันหน่อยนะ<br />จากสวนหลวง เราปั่นจนไปถึงทางออกด้านถนนประเวศ จากประตูฝั่งประเวศเลี้ยวซ้ายไปร้อยกว่าเมตร ก็จะถึงปากซอยที่มีป้ายใหญ่ว่าบึงรับน้ำหนองบอน ตรงเข้าไปเกือบหนึ่งกิโลเมตรก็จะถึงบึงกว้างใหญ่ นั่งพักรับลมได้สบายๆ เส้นทางนี้จะมาช่วงเวลาเช้าหรือเย็นก็ได้ตามความสะดวก ได้บรรยากาศไปคนละแบบแนะนำ / ภาพ : “หมาส้มสมหวัง”<br />๑๐. “ทริปทะลุใจกลางเมือง”จุดเริ่มต้น : สวนเบญกิตติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ปลายทาง : สยามสแควร์ ระยะทาง : ประมาณ ๓ กิโลเมตรมีจักรยานทั้งที อย่าคิดว่าต้องไปปั่นแถบชานเมืองเท่านั้น เราสามารถปั่นเท่ๆ ไปอวดวัยรุ่นย่านใจกลางเมืองได้ ให้ใครๆ เห็นกันไปเลยว่าพาหนะดีๆ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แถมยังถึงจุดหมายตรงเวลาเป็นยังไง<br />เราเริ่มต้นกันที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สามารถทะลุหลังที่จอดรถไปยังโรงงานยาสูบ ไปให้สุดทางที่มีรั้วกั้น จากนั้นจะเริ่มเห็นทางสีเขียวๆ (ซึ่งตอนนี้ออกไปทางเทาๆ ดำๆ เสียมากกว่า) ที่เรียกกันว่าทางเดินลอยฟ้านั่นเอง เราปั่นไปตามทางได้เลย ระหว่างทางมีต้นไม้เป็นหลังคาธรรมชาติบังแดดให้เราได้ด้วย เราจะพบกับทางยกระดับที่ลาดชันมากจำนวน ๓ ครั้งด้วยกัน ขอแนะนำให้ลงจูงดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้ร่วมเส้นทาง<br />เผลอแป๊ปเดียว มาถึงสวนลุมพินีแล้ว ที่นี่อนุญาตให้นำจักรยานเข้าไปได้ แต่ต้องระแวดระวังกันสักหน่อย เพราะคนเน้นมาเดิน – วิ่งกันมากกว่าใช้จักรยานอย่างที่สวนรถไฟ เลือกออกที่ประตูแยกสีลม แล้วปั่นเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สามารถไปออกที่ถนนอังรีดูนังต์ได้ เลี้ยวขวาแล้วตรงไปอีกนิดก็ถึงสยามสแควร์แล้ว หากจะจอดจักรยานเพื่อลงช็อปปิ้งควรจอดในจุฬาฯ มากกว่า เพราะตอนนี้ห้างแถวนั้นยังไม่มีที่จอดจักรยานเป็นกิจลักษณะเลย น่าเสียดายจริงๆ (รอชาวสองล้อปั่นแสดงตัวอยู่) แนะนำ : “นู๋นิดหน่อย” / ภาพ : ธเรศ ปิ่นนราทิพย์<br />http://www.bicycleforaday.org/movies.htm<br />Movies <br />quot; The Perfect Circlequot; <br />a short film directed by Daniel Leeb featuring Matthew Modine. <br />BFAD Container Project<br />Architect Adam Kalkin partnered with BFAD to create the 3-contained “BFAD Pup Tent.” Disused and broken bicycles are collected. These bikes are be packed into two 40 foot containers and sent to countries where they will serve people most in need. When the containers arrive, they are joined with two additional containers; the lower containers become a bike repair shop and a bike store to sell the rebuilt and repaired bikes. The upper container becomes a cultural exchange/educational room. Read the Brochure (1MB)<br />Modine Kalkin Hyde Tent 1<br /><iframe width=quot; 560quot; height=quot; 349quot; src=quot; http://www.youtube.com/embed/0W7JIokVIxAquot; frameborder=quot; 0quot; allowfullscreen></iframe><br />http://www.youtube.com/watch?v=0W7JIokVIxA&feature=player_embedded: carrielee2112 <br />Bike in a day : ปั่นจักรยานไปดูหนัง Shakariki สิงห์นักปั่น<br />https://www.facebook.com/event.php?eid=199756630053626<br />