SlideShare a Scribd company logo
1 of 20
Download to read offline
รายงาน
เรื่อง กรณีศึกษาบริษัท TOYOTA
จัดทาโดย
1) นางสาวกนกวรรณ คุ้มทิม 5780141101
2) นางสาวกุสุมา ชูสุข 5780141104
3) นางสาวฉวีวรรณ เกิดควน 5780141107
4) นายญาณะภัทร จารุธนสารกุล 5780141108
5) นายณภัทร กิตติทวีกุล 5780141109
6) นายธนเดช กาลพัฒน์ 5780141111
7) นายเมธาวี แก้วตั้ง 5780141115
8) นางสาวรัชชุดา สุทธินันท์ 5780141116
9) นางสาวศรินภัสร์ ธนาพันธ์สิริ 5780141121
10) นางสาวอรอนงค์ จิตจา 5780141126
11) พระมหาอัญเชิญ ไชยพลบาล 5780141129
นาเสนอ
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ รหัสวิชา 4472141 การบริหารองค์การและการเปลี่ยนแปลง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ประวัติ 1
ปรัชญา 5
ความเชื่อ 5
วัฒนธรรม 9
ค่านิยมหรือวิถีองค์กร 10
CBL
- Big Idea 11
- แถลงแผนงานประจาปี 2556 11
- การวิเคราะห์ด้วยหลัก 4 P 17
-โซลูชั่น 20
กรณีศึกษาบริษัท TOYOTA
ประวัติการก่อตั้งบริษัท
โตโยต้า มอเตอร์ เป็นบริษัทผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น มีฐานการผลิตที่เมืองโตโยต้า จังหวัดไอ
จิ ยี่ห้อรถยนต์ในเครือได้แก่ โตโยต้า, เล็กซัส (Lexus) , ฮีโน่ (Hino) , ไดฮัตสุ (Daihatsu) เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่
ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น และเป็นอันดับสามของโลก[1] ซึ่งโตโยต้ามีความสามารถในการผลิตรถได้ประมาณ
แปดล้านคันต่อปี และเป็นบริษัทที่ให้กาเนิด ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System:TPS)
และ วิถีแห่งโตโยต้า (Toyota Way) ที่โด่งดังไปทั่วโลก เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933)
เมื่อบริษัทผลิตเครื่องทอผ้าโตโยดะนาโดยคีชิโระ โตะโยะดะได้ทาการตั้งแผนกใหม่ในปี พ.ศ. 2477
(ค.ศ. 1934) เพื่อทุ่มเทให้กับการพัฒนาเครื่องยนต์ Type A ซึ่งได้นาไปใช้ใน Model A1 ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งคัน
แรกของบริษัทในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) และรถบรรทุก G1 ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน
ซึ่ง Model A1 ได้พัฒนามาผลิตเพื่อการค้าเต็มรูปแบบซึ่งคือ Model AA ในปี พ.ศ. 2479
ความยิ่งใหญ่ของรถยนต์โตโยต้าเริ่มจากความฝันอันยิ่งใหญ่ของนายซาคิชิ โตโยดะ
ซึ่งถือกาเนิดมาในปี 2410 และจบเพียงแค่ระดับประถมศึกษา จากนั้นก็เริ่มฝึกงานกับบิดาเพื่อเป็นช่างไม้แม้
มีการศึกษาน้อย แต่เข้าได้พยายามค้นคว้าเพื่อประดิษฐ์เครื่องทอผ้า และต่อมาได้ก่อตั้ง บริษัทโตโยดะซึ่ง
ได้เติบโตกลายเป็นผู้ผลิตเครื่องทอผ้ารายใหญ่ของโลก
นายซาคิชิได้เดินทางไปสหรัฐฯ และพบว่าประชาชนใช้รถยนต์จานวนมาก จึงเกิดความฝันอัน
ยิ่งใหญ่ที่จะก่อตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ขึ้นในญี่ปุ่น โดยได้นาเงินจากการขายสิทธิบัตรเครื่องทอผ้าเพื่อนามา
วิจัยและพัฒนาด้านรถยนต์ แต่เขาเสียชีวิตลงเมื่อปี 2473 ก่อนที่จะสร้างความฝันให้เป็นความจริง
อย่างไรก็ตาม ความฝันอันยิ่งใหญ่ยังไม่ได้ดับมอดไป โดยมีผู้สืบทอดเจตนารมณ์เป็นบุตรชาย คือ
นายคีชิโร โตโยดะ ซึ่งจบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์เครื่องกล จากมหาวิทยาลัยโตเกียวได้จัดตั้งแผนก
วิจัยด้านยานยนต์ขึ้นภายในโรงงานผลิตเครื่องทอผ้าเมื่อปี 2476 ดาเนินการ ในรูปแบบวิศวกรรมย้อนรอย
หรือ Reverse Engineering โดยเริ่มจากนารถยนต์เชฟโรเลตรุ่น ปี 2476 มารื้อออกดูทีละชิ้นแล้ววาดภาพ
สเกตของชิ้นส่วนแต่ละชิ้น
ต่อมาเมื่อเดือนกันยายน 2477 นายคีชิโรได้ผลิตเครื่องยนต์ต้นแบบออกมา มีขนาด 6 สูบ 3,387 ซีซี
แต่เครื่องยนต์ที่ผลิตได้มีกาลังเพียง 30 แรงม้า นับว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์เชฟโรเลตซึ่งมี
กาลังสูงถึง 60 แรงม้า แต่จากการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทาให้กาลัง ของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็น 50
แรงม้า และในที่สุดก็เพิ่มขึ้นเป็น 62 แรงม้า มากกว่าเครื่องยนต์ที่ตนเองได้ลอกแบบถึง2 แรงม้า
ต่อมาในปี 2480 นายคีชิโรได้จัดตั้งบริษัทชื่อโตโยต้ามอเตอร์ขึ้น แม้ในระยะเริ่มต้นกิจการดีมาก
เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นซื้อรถยนต์จานวนมากเพื่อใช้ในราชการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ต่อมา
บริษัทโตโยต้าได้เผชิญกับวิกฤติการณ์มากมาย โดยในวันที่ 14 สิงหาคม 2488 ก่อนที่ญี่ปุ่นจะประกาศยอม
แพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเพียงวันเดียว เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้บินมาทิ้งระเบิดที่โรงงานโตโยต้าเพื่อส่ง
ท้ายสงคราม ทาให้กาลังผลิตเสียหายไป 50%
สถานการณ์ภายหลังสงครามเลวร้ายลงตามลาดับ เนื่องจากรถยนต์ขายไม่ค่อยได้ จนต้องประสบ
ปัญหาทางการเงินอย่างร้ายแรงใกล้ล้มละลาย จนถึงขั้นไม่มีเงินจ่ายแก่เจ้าหนี้และไม่มีเงินเดือนให้แก่
พนักงาน
อย่างไรก็ตาม เหมือนกับมีโชคช่วย เกิดสงครามเกาหลีขึ้นทาให้ขายรถบรรทุกจานวนมากแก่
กองทัพสหรัฐฯ เพื่อใช้ในราชการสงคราม ทาให้สถานการณ์ทางการเงินของบริษัทดีขึ้นมาก แต่เป็นที่น่า
เสียใจที่ว่าเมื่อปี 2495 นายคีชิโรได้เสียชีวิตลงเมื่ออายุ 57 ปี ด้วยโรคหัวใจ ยังไม่ทันที่จะเห็นความสาเร็จของ
โตโยต้าตามที่ได้วาดฝันเอาไว้
แม้โตโยต้าจะสามารถฝ่าวิกฤติเพราะโชคช่วย แต่การก้าวขึ้นสู่ตาแหน่งบริษัทรถยนต์ชั้นแนวหน้า
ของโลก จะอาศัยโชคช่วยต่อไปไม่ได้อีกแล้ว แต่จะต้องพิสูจน์ฝีมือว่าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขัน
ในระดับนานาชาติและรถยนต์โตโยต้ามีคุณภาพดีเยี่ยม
ปัญหาสาคัญ คือ รถยนต์ญี่ปุ่นในช่วงนั้นมีคุณภาพต่ามาก จนถึงขั้นสานักงานตารวจของญี่ปุ่นต้อง
ขออนุญาตต่อรัฐบาลให้สั่งซื้อรถเก๋งผลิตจากต่างประเทศมาเป็นรถสายตรวจ โดยยกเหตุผลว่ารถเก๋งที่ผลิต
ในญี่ปุ่นแล่นช้า ความเร็วต่ากว่า 100 กม./ชั่วโมง ไม่สามารถไล่ทันรถยนต์ของผู้ร้ายได้ ส่วนบริษัทแท็กซี่
ของญี่ปุ่นจึงขออนุญาตจากรัฐบาลเพื่อนาเข้ารถยนต์จากต่างประเทศบ้าง โดยอ้างว่ารถยนต์ผลิตในประเทศมี
คุณภาพต่า ไม่ทนทานต่อการใช้งาน
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นธนาคารกลางของประเทศ ถึงกับพยากรณ์ในช่วงนั้นว่า
อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของญี่ปุ่นได้หมดอนาคตแล้ว ประเทศญี่ปุ่นควรเน้นผลิตเฉพาะ
รถบรรทุกจะดีกว่า ไม่คุ้มที่จะผลิตรถเก๋งเพื่อใช้เองภายในประเทศ
บริษัทโตโยต้าได้ปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่จากเดิมที่ผลิตลอกเลียนแบบรถยนต์ต่างประเทศมาเป็นวิจัย
และพัฒนารถยนต์ขึ้นมาเอง พร้อมกับพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพ โดยได้ติดต่อ ดร.เอ็ดวาร์ด เดม
มิ่ง ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ เพื่อให้คาแนะนาเรื่องควบคุมคุณภาพโดยกาจัดจุดบกพร่องที่ต้นเหตุ จากนั้นได้นา
ระบบควบคุมคุณภาพมาใช้อย่างประสบผลสาเร็จ เพียงแค่ปีแรกของการดาเนินการ ปรากฏว่าจุดบกพร่อง
ของรถยนต์ได้ลดลงมากถึง 50%
เดิมภาคอุตสาหกรรมมี 2 รูปแบบการผลิต รูปแบบแรก คือ รูปแบบการผลิตขนาดเล็ก ผลิตไม่มาก
นักตามแบบของ SMEs ส่วนอีกรูปแบบการผลิตหนึ่ง เป็นการผลิตขนาดใหญ่หรือที่มีคาศัพท์ว่า Mass
Production แต่ผู้เชี่ยวชาญของบริษัทโตโยต้าได้คิดค้นรูปแบบการผลิตแบบใหม่ ซึ่งมีปรัชญาการผลิตว่าจะ
พยายามใช้ประโยชน์จากเวลา ทรัพยากรมนุษย์ สินทรัพย์ และผลิตภาพ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ขณะเดียวกันก็พยายามปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงสุด ทาให้สามารถลด
จุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ สามารถใช้พื้นที่โรงงานเพียงครึ่งหนึ่งของที่ใช้เดิม และลดเวลาที่ใช้ด้าน
วิศวกรรมลงเพลือเพียงครึ่งหนึ่งเช่นกัน
เดิมเราเรียกรูปแบบนี้ว่า “การผลิตแบบโตโยต้า” เนื่องจากเริ่มใช้ในบริษัทโตโยต้าเป็นครั้งแรก แต่
ปัจจุบันรูปแบบการผลิตนี้ได้มีการตั้งชื่อว่า “การผลิตแบบ Lean” มีจุดเด่น คือ ต้นทุนการผลิตต่ากว่า ใช้
แรงงานน้อยกว่า คุณภาพรถยนต์เหนือกว่า และจุดบกพร่องต่ากว่า ส่งผลให้โตโยต้าก้าวขึ้นสู่ตาแหน่งผู้นา
ของโลกในด้านยนตรกรรม
อย่างไรก็ตาม เดิมโตโยต้ามีภาพลักษณ์ว่าเป็นผู้ผลิตรถยนต์ราคาประหยัดที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ แต่
ไม่มีรถยนต์ในระดับหรูหรา ศักดิ์ศรียังเป็นรองรถยนต์ยุโรป เช่น เมอร์เซเดส-เบนส์, BMW, โรลสรอยส์
หรือจากัวร์ ทั้งๆ ที่หากวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถด้านยนตรกรรมแล้ว โตโยต้าไม่ได้เป็นที่สองรอง
ใคร อาจจะเหนือกว่าด้วยซ้า
ในปี 2526 บริษัทโตโยต้าได้ตัดสินใจจะผลิตรถยนต์หรูหราที่ดีเยี่ยมที่สุดในโลก กาหนดวิสัยทัศน์
ว่าต้องเป็นรถยนต์ที่ยอดเยี่ยมในทุกด้านไม่ว่าจะด้านความเร็ว ความปลอดภัย ความสบายในห้องโดยสาร
รูปลักษณ์ที่สง่างาม ตลอดจนถึงการบริการลูกค้าภายหลังขาย ซึ่งนับว่าเป็นการตัดสินใจที่เสี่ยงมาก เนื่องจาก
ที่ผ่านมารถยนต์หรูหราจะต้องมีสัญชาติเยอรมนีหรืออังกฤษเท่านั้น บริษัทโตโยต้าได้ปรับปรุงในด้านยนตร
กรรมอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าการลดช่องว่างระหว่างตัวถังจากเดิม 7 มม. ลดลงเหลือเพียง 4 มม. เพื่อให้
รถยนต์มีเสียงเงียบลงขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูง ชิ้นส่วนเครื่องยนต์จะต้องมีความเที่ยงตรงแม่นยาถึงขั้นวัด
เป็นไมครอน เพื่อให้มั่นใจถึงสมรรถนะและความเงียบ
ผลที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ เมื่อรถยนต์เล็กซัสของโตโยต้าเริ่มผลิตและวางจาหน่ายในปี2532
วารสารรถยนต์ทุกฉบับได้กล่าวยกย่องชมเชยว่าแล่นได้รวดเร็วกว่าและนุ่มนวลกว่ารถยนต์คู่แข่ง โดยเฉพาะ
เสียงเครื่องยนต์ที่เงียบมากจนแทบจะรู้ว่ากาลังติดเครื่องหรือไม่ กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของรถยนต์หรูหรา
ราคาแพง โดยได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐฯ เนื่องจากคนสหรัฐฯ จะซื้อรถยนต์เพื่อใช้งาน ไม่ได้ซื้อ
มาเพื่ออวดความมั่งมี ดังนั้น หากรถยนต์ใดก็ตามที่มีสมรรถนะเป็นเยี่ยมและมีความสบายในห้องโดยสาร
เหนือกว่าแล้ว รถยนต์แบบนั้นๆ จะขายดีมากในสหรัฐฯ
จากผลสาเร็จอันท่วมท้น ทาให้บริษัทโตโยต้าก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก
รองจากบริษัท GM และบริษัทฟอร์ดเท่านั้น และต่อมาในปี 2546 บริษัทโตโยต้าได้แซงหน้าฟอร์ดกลายเป็น
ผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก กล่าวคือ โตโยต้า (รวมถึงบริษัทในเครือ คือ ฮีโน่และไดฮัทสุ) มี
ยอดผลิตรถยนต์ในปี 2546 จานวน 6.78 ล้านคัน เฉือนเอาชนะฟอร์ดที่มียอดผลิต 6.72 ล้านคัน แต่ยัง
ตามหลัง GM ค่อนข้างห่าง โดยในปี 2546 บริษัท GM ผลิตรถยนต์ 8.8 ล้านคัน
ต่อมาในปี 2547 โตโยต้าเริ่มทิ้งห่างบริษัทฟอร์ด โดยโตโยต้ามียอดผลิตรถยนต์ 7.52 ล้านคัน ขณะ
ที่ฟอร์ดผลิตรถยนต์ 6.8 ล้านคันเท่านั้น ส่วน GM ยังคงครองความยิ่งใหญ่เป็นอันดับ 1 โดยผลิตรถยนต์ 9.1
ล้านคัน
แต่ปัจจุบันความยิ่งใหญ่ของโตโยต้าอยู่ในสภาพไปไม่หยุดฉุดไม่อยู่ ขณะที่บริษัทคู่แข่งสาคัญ คือ
บริษัทจีเอ็มและบริษัทฟอร์ดกาลังเผชิญวิกฤติการณ์ทางการเงินเข้าขั้นโคม่า โดยเฉพาะบริษัท GM ขาดทุน
มากถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 160,000 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 แต่บริษัทโตโยต้าก
ลับมีกาไรมากเป็นประวัติการณ์
สาหรับบริษัท GM ครองตาแหน่งผู้ผลิตรถยนต์อันดับ1 ของโลกติดต่อกันมานานถึง 73 ปี เริ่มมี
คาถามมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าจะยังคงเป็นอันดับ 1 ของโลกอีกนานแค่ไหน เนื่องจากถูกท้าทายจากบริษัทโตโยต้า
อย่างไม่เคยมีก่อน โดยในปี 2548 คาดว่า GM ผลิตรถยนต์ 9 ล้านคัน ขณะที่โตโยต้าเริ่มไล่ตามมาติดๆ คือ
8.1 ล้านคัน
ยิ่งไปกว่านั้น ยอดการจาหน่ายรถยนต์โตโยต้ามีแนวโน้มสูงขึ้นอีกในปี 2549 เนื่องจากเป็นรถยนต์
ประหยัดน้ามัน ทาให้ขายดีในยุคน้ามันแพง ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงคาดว่าโตโยต้ามีโอกาสสูงที่จะแซงหน้า
GM ขึ้นเป็นบริษัทรถยนต์ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วง 2 – 3 ปีข้างหน้า
ปรัชญา
วางรากฐานการตัดสินใจเชิงบริหารบนปรัชญาระยะยาว แม้ว่าจะเป็นภาระแก่เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น
 ระลึกถึงปรัชญาอยู่เสมอ แม้แต่ในการตัดสินใจระยะสั้น โดยมีการดาเนินงานสร้างการเติมโต และ
จัดระเบียบองค์กรทั้งหมดฝ่านจุดประสงค์ร่วมกัน มากกว่าการมุ่งผลกาไรเพียงอย่างเดียว ทาความ
เข้าใจองค์กรฝ่านประวัติของบริษัท และแผนงานที่จะนาพาบริษัท พัฒนาขึ้นไปยังระดับถัดไป โดย
พันธกิจในปรัชญา คือ พื้นฐานสาหรับหลักการอื่นๆที่เหลือทั้งหมด
 สร้างคุณค่าสาหรับลูกค้า สังคม และเศรษฐกิจ
 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ปฏิบัติงานด้วยความ เชื่อมั่นในตัวเอง และความสามารถที่มีอยู่อีกทั้ง
ดารงไว้ และปรับปรุงทักษะต่างๆเพื่อสร้างคุณค่าให้เพิ่มขึ้น
ความเชื่อ
สรุปหลักการ 14 ข้อ หรือที่เรียกว่าวิถีแห่งโตโยต้า 14 ประการ
สรุปหลักการ 14 ข้อ หรือที่เรียกว่าวิถีแห่งโตโยต้า 14 ประการ ซึ่งเกิดจากการศึกษาของคุณ Jeffrey
K. liker, Ph.D. และผู้เขียนนามาสรุปอีกครั้งหนึ่งตามความเข้าใจ ของผู้เขียน โดยหลักการดังกล่าวประกอบ
ไปด้วย 4 กลุ่ม และ 14 ข้อ ดังนี้
หลักการข้อที่ 3 ใช้ระบบ “ดึง” เพื่อหลีกเลี่ยงการผลิตมากเกินความต้องการ
 มีการผลิตและส่งมอบให้แก่ผู้ที่รับงานต่อจากเรา ในกระบวนการผลิต (ซึ่งเราเปรียบพวกเขา
เหล่านั้นเหมือนลูกค้าของเรา) ด้วยสิ่งที่เขาต้องการ ณ เวลาที่เขาต้องการ และในจานวนที่ต้องการ
ในขณะที่มีการดาเนินการเสริมวัตถุดิบ ในปริมาณเท่ากับจุดเริ่มต้นก่อนการใช้งาน ซึ่งที่กล่าวมา
เป็นหลักการพื้นฐานของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time)
 ลดงานระหว่างทาและในคลังสินค้าให้น้อยที่สุด โดยการสารองชิ้นงานแต่ละอย่างในจานวนน้อยๆ
และตรวจตราบ่อยๆ เพื่อเติมส่วนที่พร่องไปจากการที่ลูกค้านาชิ้นงานนั้น ออกไปตามความเป็นจริง
หลักการข้อที่ 4 ปรับเรียบการผลิต “Heijunka” (ทางานให้สม่าเสมอเหมือนกับเต่า มิใช่กระต่าย)
 นอกจากการกาจัดความสูญเปล่า และการกาจัดภาวะงานล้นมือของคนและเครื่องจักรที่เป็นปัจจัยที่
ทาให้ ระบบลีนประสบความสาเร็จแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่มีความ สาคัญไม่แพ้กัน คือ การกาจัดความ
ไม่เท่ากันในตารางการผลิตให้ราบเรียบเสมอกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสิ่งนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจ กันนัก
สาหรับหลายบริษัทที่พยายามใช้ปฏิบัติการลีน
 ทางานเพื่อปรับเรียบการผลิตและบริการให้เป็น ทางเลือกหนึ่งของแนวทาง “หยุดและเริ่ม”
(Stop/Start) ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการผลิตแบบเป็นชุด (Batch) อันเป็นสิ่งที่กระทา
ในบริษัทส่วนใหญ่
หลักการข้อที่ 7 ใช้การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) เพื่อไม่ให้ปัญหาถูกซ่อนไว้
 ใช้ตัวชี้วัดที่เห็นได้ง่าย เพื่อช่วยให้คนสามารถ ตัดสินใจได้ทันทีว่าการทางานอยู่ในสภาวะ
มาตรฐานปกติ หรือเบี่ยงเบนจากมาตรฐานออกไป
 หลีกเลี่ยงการใช้จอคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่มันอาจเบี่ยงเบนความสนใจของพนักงานออกจากงานที่
ปฏิบัติ
 ออกแบบระบบที่เห็นได้ง่าย ณ สถานที่ทางาน เพื่อสนับสนุนการไหลของกระบวนการและระบบ
การผลิตแบบดึง
 พยายามลดรายงานให้อยู่ในกระดาษเพียงแผ่นเดียว เพื่อไม่ต้องเสียเวลามากและเข้าใจได้ทันที
แม้กระทั่งรายงานที่มีความสาคัญที่สุดทางการเงิน
หลักการข้อที่ 8 ใช้เทคโนโลยีที่เชื่อถือได้ และผ่านการตรวจสอบมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วเท่านั้น เพื่อ
สนับสนุนคนและกระบวนการ
 ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนบุคลากร มิใช่เพื่อแทนที่บุคลากร
 บ่อยครั้งที่เทคโนโลยีใหม่ขาดความน่าเชื่อถือและยากที่จะทาให้เป็นมาตรฐานได้ อีกทั้งยังอาจทา
ให้กระทบต่อการไหลของงานได้ กระบวนการที่ผ่านการตรวจสอบว่าดาเนินงานได้ตามปกตินั้น
โดยทั่วไปแล้วเป็นสิ่งที่ควรเลือกมากกว่าเทคโนโลยีที่ใหม่และยังไม่ได้ผ่านการทดสอบ
 ดาเนินการทดสอบจริงก่อนที่จะรับเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ ระบบการ
ผลิต หรือ ผลิตภัณฑ์
 ปฏิเสธ หรือดัดแปลงเทคโนโลยีที่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมองค์กร หรือส่งผลเสียต่อความมีเสถียรภาพ
ความน่าเชื่อถือ
 พยายามกระตุ้นให้บุคลากรพิจารณาเทคโนโลยีใหม่ เมื่อกาลังมองหาแนวทางใหม่ในการทางาน ให้
รีบนาเทคโนโลยีนั้นมาใช้ ถ้ามันได้ผ่านการพิสูจน์ในช่วงการทดลองแล้วว่า ช่วยปรับปรุงการไหล
ของกระบวนการให้ดีขึ้น
กลุ่มที่ 3 เพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กร โดยการพัฒนาบุคลากร และพันธมิตร
หลักการข้อที่ 9 ส่งเสริมผู้นาซึ่งมีความเข้าใจในการดาเนินงานโดยตลอด อีกทั้งซึมซับปรัชญาในการ
ดาเนินงาน และสามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้
 เน้นการสร้างผู้นาที่เติบโตมาจากองค์กรมากกว่า การเฟ้นหาจากภายนอกองค์กร
 อย่ามองว่างานของผู้นาคือแค่การทาให้บรรลุหน้าที่ หรือเป็นคนที่มีทักษะในการจัดการบุคคลที่ดี
แต่ผู้นาที่ดี จะต้องสะท้อนถึงปรัชญาและวิถีการทางานของบริษัทได้
 ผู้นาที่ดีต้องเข้าใจในรายละเอียดของงานประจาวัน หากเป็นเช่นนั้นได้ จะสามารถเป็นครูที่ดีที่สุดที่
สามารถสะท้อนถึงปรัชญาและวิถีการทางานของบริษัทได้
หลักการข้อที่ 10 พัฒนาบุคลากรและทีมงานที่โดดเด่น ซึ่งเขาเหล่านั้นยึดถือปรัชญาของบริษัท
 ต้องสร้างวัฒนธรรมที่เข้มแข็งมั่นคง ซึ่งประกอบด้วยค่านิยมและความเชื่อของบริษัทที่เกิดขึ้น
ร่วมกันอย่างกว้างขวาง และได้บ่มเพาะมานานนับปี
 ฝึกอบรมทีมงานที่มีความโดดเด่น เพื่อดาเนินการ ตามปรัชญาของบริษัทให้บรรลุผลอันยอดเยี่ยม
รวมถึง ทางานหนักเพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
 ใช้ทีมงานต่างสายงานกันเพื่อปรับปรุงคุณภาพและผลิตภาพ อีกทั้งยกระดับการไหลของ
กระบวนการโดยการ แก้ปัญหายากๆ ทางเทคนิค
 สร้างความพยายามอย่างต่อเนื่องในการสอนบุคลากรให้เรียนรู้ถึงการทางานเป็นทีมเพื่อบรรลุ
เป้าหมายร่วมกัน การทางานเป็นทีมเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้
หลักการข้อที่ 11 ให้ความใส่ใจต่อพันธมิตรและผู้จัดส่งวัตถุดิบของบริษัท โดยชักจูงและช่วยเหลือพวก
เขาในการ ปรับปรุง
 เอาใจใส่พันธมิตรและผู้จัดส่งวัตถุดิบ โดยปฏิบัติ กับพวกเขาเสมือนเป็นธุรกิจของคุณที่ขยาย
ออกไป
 ชักจูงพันธมิตรภายนอกองค์กรให้พัฒนาและเติบโตไปข้างหน้าด้วยกัน ช่วยตั้งเป้าหมายที่ท้าทายให้
และช่วย ให้พันธมิตรสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็น การแสดงให้เห็นว่าเขามี
ความสาคัญต่อบริษัทของเรามาก เพียงใด
กลุ่มที่ 4 การแก้ไขปัญหารากเหง้าอย่างต่อเนื่อง ช่วยผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ขององค์กร
หลักการข้อที่ 12 ลงไปคลุกคลีกับปัญหาด้วยตนเอง เพื่อทาความเข้าใจกับสถานการณ์อย่างถ่องแท้
(Genchi Genbutsu)
 แก้ปัญหาและปรับปรุงกระบวนการโดยไปที่แหล่งกาเนิดของปัญหา พยายามสังเกตและตรวจสอบ
ข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งจะเกิดผลดีมากกว่าการสร้างทฤษฎี โดยมีพื้นฐาน จากสิ่งที่ผู้อื่นหรือ
คอมพิวเตอร์บอกคุณ
 คิดและพูดถึงสิ่งต่างๆ โดยมีพื้นฐานมาจากข้อมูล ที่พิสูจน์แล้วด้วยตนเอง
 แม้จะเป็นผู้บริหารระดับสูงแค่ไหนก็ต้องเข้าไปสัมผัสปัญหาด้วยตนเองจะเข้าใจสถานการณ์ได้
อย่างแจ่มแจ้ง
หลักการข้อที่ 13 ตัดสินใจอย่างรอบคอบด้วยฉันทามติ พิจารณาให้รอบคอบถึงทางเลือกทั้งหมดที่มีอยู่
และดาเนินการในสิ่งที่ตัดสินใจแล้วอย่างรวดเร็ว (Nemawashi)
 อย่ามองเพียงมุมเดียวจนกว่าจะพิจารณาตัวเลือก หรือมุมอื่นๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ก่อน เมื่อเลือกได้แล้ว
ต้อง ดาเนินการอย่างรวดเร็วด้วยความระมัดระวัง
 Nemawashi เป็นกระบวนการอภิปรายเกี่ยวกับปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นไปได้
พร้อมกับผลที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดจากการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมี จุดประสงค์เพื่อรวบรวมความคิด
ต่างๆ และหารือข้อตกลง เกี่ยวกับการดาเนินกระบวนการโดยการจัดประชุมเพื่อหาฉันทามติ
ถึงแม้ว่าจะกินเวลาบ้างพอสมควร แต่ก็ช่วยเปิด มุมมองให้กว้างขึ้นในการค้นหาวิธีการแก้ปัญหา
และเมื่อได้ตัดสินใจแล้วจะต้องนาไปใช้ปฏิบัติอย่างทันท่วงที
หลักการข้อที่ 14 พัฒนาเพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการ เรียนรู้ โดยผ่านการพิจารณาอย่างไม่รู้จบ (Hansei)
และ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen)
 เมื่อมีกระบวนการที่เสถียรแล้ว ให้ใช้เครื่องมือ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาสาเหตุรากเหง้าของ
ความไม่มีประสิทธิภาพ และประยุกต์ใช้ทางแก้อย่างมีประสิทธิผล
 ออกแบบกระบวนการต่างๆ โดยแทบจะไม่ต้องมี พัสดุคงคลัง ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นเวลาและ
ทรัพยากร ที่สูญเปล่าทั้งหมด เมื่อพบความสูญเปล่าให้พนักงานใช้กระบวนการปรับปรุงอย่าง
ต่อเนื่อง (Kaizen) เพื่อกาจัด ความสูญเปล่านั้น
 ปกป้องฐานความรู้ขององค์กร โดยการพัฒนาบุคลากรให้มั่นคงกับองค์กร กาหนดให้มีการเลื่อน
ตาแหน่งอย่างช้าๆ และสร้างระบบการสืบทอดตาแหน่งอย่างรอบคอบให้มาก
 ใช้ Hansei (ภาพสะท้อน) ในแต่ละช่วงของการดาเนินงานและหลังจากจบโครงการเพื่อบ่งชี้ถึง
ข้อบกพร่องและจุดอ่อนของโครงการอย่างเปิดกว้าง พัฒนาแนวทางแก้ไขเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้
ข้อผิดพลาดเดิมๆ เกิดซ้าอีก
 เรียนรู้โดยการสร้างมาตรฐานวิธีปฏิบัติงานที่ดีที่สุด ซึ่งมีความเหมาะสมมากกว่าการคิดค้นแนวทาง
ใหม่ในทุกครั้งที่ขึ้นโครงการใหม่ หรือเปลี่ยนผู้จัดการใหม่
 จากหลักการทั้ง 14 ข้อที่กล่าวมา ผู้เขียนเห็นว่า ถ้าผู้อ่านที่เป็นผู้ประกอบการโดยเฉพาะ
ผู้ประกอบการ ด้านยานยนต์และชิ้นส่วนนาไปประยุกต์ใช้กับบริษัทของท่านตามวิถีทางและ
วัฒนธรรมองค์กรของบริษัทท่านเองแล้ว ก็จะทาให้เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนให้บริษัท
ของท่านไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนต่อไป และเมื่ออุตสาหกรรมยาน
ยนต์และชิ้นส่วน ในประเทศมีการพัฒนาเป็นลาดับแล้ว ก็จะทาให้เราก้าว เข้าสู่การเป็น Detroit of
Asia ได้อย่างแน่นอน
วัฒนธรรม
 หยุดทันทีเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพ
 คุณภาพสาหรับลูกค้าผลักดันสู่การนาเสนอคุณค่าของบริษัท
 ใช้วิธีการประกันคุณภาพสมัยใหม่ทั้งหมดที่มีอยู่
 สร้างอุปกรณ์ที่มีความสามารถของการตรวจจับปัญหา และหยุดปัญหาได้ด้วยตนเอง พัฒนาระบบ
แสดงผล การดาเนินงานเพื่อแจ้งเตือนให้ทีมงานหรือผู้นาทราบว่าต้องเข้าไปตรวจสอบแก้ไข
เครื่องจักรหรือกระบวนการในจุดใดๆ “Jidoka” ซึ่งเป็นพื้นฐานของ Built-in Quality
 สร้างระบบสนับสนุนของการหยุด หรือผ่อนการผลิตให้ช้าลงเพื่อให้ได้คุณภาพที่ถูกต้องตั้งแต่ครั้ง
แรก เพื่อยกระดับผลิตผลในระยะยาว
ค่านิยมหรือวิถีองค์กร
ส่วนหัวใจหลักที่จัดเป็น DNA หรือสายเลือดพนักงานโตโยต้าทุกคน คือ วิถีแห่งโตโยต้า
(Toyota Way) เป็นเสมือนคู่มือกากับการทางานของพนักงานโตโยต้าทุกคน ประธาน Toyota
Motor Corp. คนก่อนคือ Mr. Fujio Cho ได้ประกาศ The Toyota Way 2001 เพื่อให้เป็นแนวทางร่วมกันของ
บริษัทในเครือโตโยต้าทั้งหมด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคาว่า Toyota Way โดย Mr. Fujio Cho กล่าวว่าที่ต้องนา
Toyota Way มาพูดอย่างเป็นทางการเพราะบริษัทได้เติบโตมากจนกลายเป็นองค์กรระดับโลก ซึ่งมีบริษัทใน
เครือมากในหลายประเทศที่มีความหลากหลายวัฒนธรรม เดิมปรัชญาพื้นฐานการทางานมีจุดเริ่มต้นจาก
บริษัทแม่ในญี่ปุ่นที่เกิดจากการทางานจริงและถ่ายทอดสู่รุ่นต่อรุ่นที่มีความใกล้ชิดระหว่างพนักงานกับ
ผู้บริหาร
แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอาจมีความเบี่ยงเบน ทาให้ต้องกาหนดแนวทางให้ชัดเจนและ
แจ้งเป็นทางการไปยังพนักงานทุกคนเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรโตโยต้าทั่วโลกภายใต้วิถีแห่งโตโยต้า ซึ่ง
ใช้เป็นแบบแผนร่วมกัน อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ Mr. Fujio Cho เน้นย้าคือ Toyota Way ไม่ใช่แนวทางแบบ
ญี่ปุ่น (Japanese Way) แต่เป็นพื้นฐานที่ใช้กับโตโยต้าทั่วโลกซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เสาหลัก
สนับสนุนวิถีแห่งโตโยต้าประกอบด้วย 2 เสาหลัก คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous
Improvement) และความยอมรับผู้อื่น (Respect for People) เสาหลักทั้งสองเกื้อหนุนกันตลอดเวลา
คาว่า “มนุษย์” ในเสาหลักต้นที่สองหมายถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ พนักงาน ผู้ส่งมอบ และลูกค้า
ดังนั้นหลักพื้นฐานข้อที่หนึ่งของโตโยต้าที่ว่าลูกค้าต้องมาก่อน (Customer First) ไม่ได้หมายความเพียงแค่
ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพนักงานในกระบวนการทางานถัดไปซึ่งเป็นผู้ใช้ข้อมูล ชิ้นงาน
หรือผลิตผลด้วย หัวใจของ “วิถีแห่งโตโยต้า” คือ ความไม่พึงพอใจกับสิ่งที่ดารงอยู่ บุคลากรของโตโยต้า
ต้องถามตัวเองเสมอว่า เหตุใดเราจึงทาแบบนี้ ยังมีวิธีการอื่นที่ดีกว่านี้หรือไม่ พนักงานที่มีความเชื่อวิถีแห่ง
โตโยต้าในสายเลือดจะพยายามทางานด้วยความระมัดระวังและวิเคราะห์คุณภาพงานอย่างต่อเนื่องเพื่อมิให้
งานในกระบวนการถัดไปเกิดความผิดพลาด การวิเคราะห์คุณภาพงานจะนาไปสู่การปรับปรุงงานทีละเล็กที
ละน้อยอย่างต่อเนื่องที่เป็นเสาหลักต้นหนึ่งของโตโยต้า
แต่ข้อที่น่าสังเกตเสาหลักที่ 1 เน้นการปรับปรุงพัฒนางานด้วยความคิดที่ไม่เคยพอใจกับสภาพ
ปัจจุบันและแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าตลอดเวลา ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และทุ่มเทความพยายาม ขณะเสาหลักที่
2 กล่าวถึง “คน” หรือพนักงาน มาจากความเชื่อว่า ความสาเร็จในธุรกิจนั้นเกิดจากการสร้างสรรค์ของ
พนักงานแต่ละคน และเมื่อรวมตัวกันขึ้นมาเป็นทีมที่เข้มแข็งจะยิ่งมีพลังมากขึ้น สองเสาหลักดังกล่าวยัง
แบ่งย่อยเป็นความท้าทาย (Challenge) ไคเซ็น (Kaizen) การสารวจปัญหาด้วยข้อเท็จจริงในพื้นที่ทางาน
(Genba Genbutsu) ความยอมรับนับถือ (Respect) และทางานเป็นทีม(Teamwork)
Big Idea
ผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดจาหน่ายสูงสุดในโลกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557
แถลงแผนงานประจาปี 2556
Toyota คาดการณ์ตลาดรถยนต์โดยรวมในประเทศไทยปี พ.ศ. 2556 จะมียอดจาหน่ายมากกว่า 1.2
ล้านคัน โดยตั้งเป้าหมายการเติบโตที่ 500,000 คัน ส่วนยอดขายปี 2555 รวมทั้งสิ้น 1,436,335 คัน เพิ่ม
80.9%...
เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota Motor Thailand co,ltd. แถลงข่าวต่อ
สื่อมวลชนถึงสถิติการจาหน่ายรถยนต์ในปี พ.ศ.2555 คาดการณ์ตลาดรถยนต์ในไทยของปีนี้ เมื่อวันที่ 21
มกราคม 2556 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมโอกุระ กรุงเทพมหานคร
สาหรับยอดขายรถยนต์ในปี 2555 ได้สร้างสถิติใหม่ของยอดขายรถยนต์ในประเทศไทย ด้วยตัว
เลขที่สูงถึง 1,436,335 คัน สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ยอดขายรถยนต์ของไทย ทั้งนี้ ความต้องการของตลาด
รถยนต์ในประเทศที่สูงขึ้นมากในปีที่ผ่านมา (2555) เป็นผลที่เกิดจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก
การกระตุ้นของรัฐ รวมถึงโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาลที่ช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ให้ทะลุเพดาน
ด้วยตัวเลข 1.4 ล้านคัน ตามด้วยความต้องการสะสมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทาง
ธรรมชาติในช่วงปลายปี 2554 จากสาเหตุน้าท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย ประกอบกับกาลังของการผลิตใน
ประเทศที่เพิ่มขึ้น ทาให้ค่ายรถยนต์ต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น
สาหรับตัวเลขสถิติยอดขายรถยนต์ในปี 2555 มีดังนี้
ปริมาณการขายรวม...........................................1,436,335 คัน เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2554 +80.9%
รถยนต์นั่ง.............................................................672,460 คัน เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2554 +86.6%
รถยนต์พาณิชย์.....................................................763,875 คัน เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2554 +72.2%
รถกระบะขนาด 1 ตันรวมรถดัดแปลง.................666,106 คัน เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2554 +82.2%
รถกระบะขนาด 1 ตัน ไม่รวมรถดัดแปลง............592,725 คัน เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2554 +81.0%
โดย Toyota มียอดขายรวม 516,086 คัน เพิ่มขึ้น 77.9% แบ่งออกเป็นรถยนต์นั่ง 224,816 คัน เพิ่มขึ้น
62.8% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 294,270 คัน เพิ่มขึ้น 91.1% และรถยนต์กระบะขนาด 1 ตัน รวมรถยนต์
กระบะดัดแปลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 269,772 คัน เพิ่มขึ้น 99.8%
สถิติการขายรถยนต์ของ Toyota ในปี พศ 2555
ปริมาณการขายรวม.............................................516,086 คัน เพิ่มขึ้น 77.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
รถยนต์นั่ง.............................................................224,816 คัน เพิ่มขึ้น 62.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
รถเพื่อการพาณิชย์.................................................291,270 คัน เพิ่มขึ้น 91.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.1%
รถกระบะขนาด 1 ตันรวมรถดัดแปลง..................269,772 คัน เพิ่มขึ้น 99.8% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
รถกระบะขนาด 1 ตันไม่รวมรถดัดแปลง.............233,393 คัน เพิ่มขึ้น 91.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.4%
ในด้านการส่งออกรถยนต์ไปขายยังต่างประเทศของปี พ.ศ. 2555 บริษัท Toyota ได้ส่งออกรถยนต์
สาเร็จรูปจานวนทั้งสิ้น 405,892 คัน เพิ่มขึ้น 61.8% คิดเป็นมูลค่า 179,572 ล้านบาท รวมถึงการส่งออก
ชิ้นส่วนมูลค่า 63,023 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าส่งออกที่นารายได้กลับสู่ประเทศไทยเป็นเงินทั้งสิ้น 242,595
ล้านบาท สาหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ในประเทศไทยของปี 2556 เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท Toyota Motor Thailand กล่าวว่า แนวโน้มตลาดรถยนต์ในปี พ.ศ. 2556 ของประเทศไทยนั้น คาดว่า
จะมียอดรวมทั้งหมดมากกว่า 1,200,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 10% โดย Toyota ตั้งเป้าหมาย
ของยอดขายรวมในปีนี้ (2556) ไวที่ 5 แสนคัน สาหรับยอดขายภายในประเทศ และ 4 แสนคันสาหรับ
รถยนต์สาเร็จรูปที่จะทาการส่งออกไปขายทั่วโลก
การก้าวเข้าสู่ปีที่ 51 ของการประกอบการในประเทศไทย บริษัท Toyota มีโครงการร่วมส่งความสุข
หรือ Mobility Of Happiness ให้กับลูกค้าและสังคมไทย และเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตลาดรถยนต์
ภายในประเทศ ส่วนการขยายกิจการเพื่อรองรับการเติบโตในโครงการ TAW ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงต้นปีที่
ผ่านมาเพื่อดาเนินการผลิตยานยนต์รุ่นใหม่ๆ ในประเทศ รวมถึงการตั้งฐานการผลิตยนตรกรรม Hybrid ในปี
ที่ผ่านมา และโรงงานของ Toyota ที่เกตเวย์สอง เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ของ Toyota ในไตรมาตรที่ 3
ส่วนนวัตกรรมยานยนต์ใหม่ของปี 2556 ค่าย Toyota จะเปิดตัวรถยนต์ราคาประหยัดแบบ ECO CAR
รวมถึง Toyota Smart G Book แบบสามมิติที่ให้ความชัดเจนและมีความสมบูรณ์แบบของการใช้งานมาก
ยิ่งขึ้น และเพื่อรองรับการเติบโตของยอดขายที่เพิ่มขึ้น การให้บริการต่อลูกค้าที่มีจานวนเพิ่มมากขึ้น Toyota
จะเพิ่มโชว์รูมจากจานวน 350 แห่งทั่วประเทศ เป็น 400 แห่งภายในปี 2556 นี้ รวมถึงการขยายโชว์รูมรถ
ยนต์มือสองหรือ Toyota Sure เพิ่มอีก 5 แห่งเป็น 100 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ Toyota ยังมีการถ่ายทอด
องค์ความรู้ต่างๆ รวมถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน เพื่อสร้างมาตรฐานที่ดีในการผลิตรถยนต์ที่
เน้นในเรื่องของการลดการปล่อยมลพิษ ทั้งหมดนี้ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของสังคมไทยต่อไป
เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota Motor Thailand
เนื่องจากปีนี้เป็นปีสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาลซึ่งอาจทาให้ยอดขายโดยรวมลดลง
10% แต่ไลน์การผลิตภายในโรงงานประกอบรถยนต์ของ Toyota สาหรับการส่งออกยังคงเดิมหรืออาจดีขึ้น
กว่าปีที่ผ่านมา เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota Motor Thailand ให้ความคิดเห็นต่อ
ผู้สื่อข่าวว่า สายการผลิตอาจไม่ลดลงมากนักและอาจรักษาตัวเลขไม่ให้ตกลงไปมากกว่าตัวเลขเดิม ของปี
2555 สาหรับงบลงทุนของปี 2556 อยู่ที่ 12,000 ล้านบาท โรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ที่จะ
เสร็จลงในช่วงกลางปี 2556 และโรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่ในประเทศอินโดนีเซียถือเป็นการขยาย
ฐานการผลิต ของ Toyota ที่จะเข้ามาช่วยเสริมกาลังการผลิตให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มี ความ
แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น การสร้างโรงงานแห่งใหม่ของ Toyota Motor ในทวีปเอเชียจะเกิดขึ้นเพียงแค่ 2 แห่ง
เท่านั้นในปี 2556 นี้
วีเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota Motor Thailand
ย้อนกลับไปในปี 2553 ยอดขายรวมของรถยนต์ประมาณ 800,000 คัน ในขณะที่ปี 2554 ถึงแม้จะ
ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสภาวะน้าท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย แต่ยอดขายรวมของรถยนต์ก็ยังคง
อยู่ในระดับ 794,000 คัน และหากไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ยอดขายรถยนต์คงจะพุ่งสูงถึง 1 ล้านคันอย่าง
แน่นอน วีเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota Motor Thailand co,ltd.แถลงต่อ
ผู้สื่อข่าวว่า กรณีรถยนต์ New Vios 2013 นั้น มียอดจองทั้งหมด 11,000 คัน เป็นการจองที่ถูกต้องตาม
ขั้นตอนและกฎเกณฑ์ของกรมสรรพสามิตทุกประการ ขณะเดียวกันรถ New Vios ที่เปิดใช้สิทธิ์การจองใน
โครงการรถยนต์คันแรก (สิ้นสุดลงแล้ว) จะเริ่มต้นเดินสายการผลิตในเดือนมีนาคมนี้ แต่ในความเป็นจริง
นั้น รถ New Vios ได้เริ่มต้นผลิตออกมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2555 แล้ว รวมถึงการทดสอบ
ต่างๆ เพื่อให้ทันต่อการจองรถยนต์ในโครงการรถคันแรกของเดือนสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นสุดโครงการลง วี
เชียร เอมประเสริฐสุข แจ้งว่ารถ New Vios 2013 โมเดลใหม่ล่าสุดนั้น มีการจัดจาหน่ายให้กับลูกค้าเฉพาะ
กลุ่ม มีการเสียภาษีถูกต้อง กรมสรรพสามิตจึงได้อนุญาตให้บริษัท Toyota เปิดทาการรับจองจากลูกค้าได้
เพราะบางดีลเลอร์ของ Toyota นั้น รถ Viosโมเดลปัจจุบันไม่มีจาหน่ายให้กับลูกค้าอีกแล้วเนื่องจากรถหมด
จึงจาเป็นต้องเปิดจองตัวรถรุ่นใหม่แล้วให้ลูกค้ารออีกสองถึงสามเดือนหลังจาก โมเดลปัจจุบันปิด
สายการผลิตลงเรียบร้อย สาหรับแผนการผลิต ECO CAR ในโรงงานเกตเวย์แห่งที่สองของ Toyota ตัวเลขที่
ชัดเจนสาหรับสายการผลิต ECO CAR ของ Toyota ยังคงไม่สามารถตอบได้และอยู่ในขั้นตอนของการ
ประเมินกับกลุ่มผู้บริหาร เพื่อให้ปริมาณการผลิตรถยนต์ Toyota มีความสมดุลกันกับรถยนต์นั่งรุ่นอื่นๆ ของ
บริษัท ทั้งการผลิตขายในประเทศกับการส่งออกไปขายต่อยัง
ต่างประเทศ สาหรับการผลิตรถยนต์ Vios ในโมเดลปัจจุบัน บริษัทฯ สามารถผลิตได้เดือนละ 10,000 คัน
สาหรับตลาดในประเทศ ซึ่งในขณะนี้รถ Vios โฉมปัจจุบันมียอดจองค้างอยู่อีกสามเดือน
นินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานบริหาร บริษัท Toyota Motor Thailand
นินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานบริหาร บริษัท Toyota Motor Thailand co,ltd. แถลงต่อ
ผู้สื่อข่าวว่า Toyota Motor เห็นด้วยกับการปรับโครงสร้างของภาษีรถยนต์ใหม่โดยใช้การปล่อย CO2 เป็น
มาตรฐานในการกาหนดอัตราภาษี ส่วนระยะเวลาที่รัฐบาลได้ประกาศให้เวลา 3 ปี ในการปรับตัวของค่าย
รถยนต์นั้นอาจน้อยเกินไป ผู้บริหารของค่ายรถส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์บางราย
มีความพร้อมที่จะปรับตัวเองแต่ขอยืดระยะเวลาออกไป อีกเล็กน้อยเพื่อการปรับปรุงระบบเครื่องยนต์ให้
ปล่อยของเสียน้อยลง เพื่อจะช่วยลดมลพิษที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของรถยนต์จานวนมหาศาลที่ออกสู่ ท้อง
ถนน เนื่องจากวงจรของการเปลี่ยนโมเดลในแต่ละรุ่นจะอยู่ที่ 4-5 ปี โดยเฉลี่ย
วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท Toyota Motor Thailand
co,ltd.แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า สาหรับ Social Innovation ของ Toyota นั้น เป็นการขับเคลื่อนความสุขให้กับ
สังคมส่วนรวมของประเทศไทย Toyota Motor มองว่าสิ่งที่เป็นความรู้และประสบการณ์ของค่ายสามห่วงจะ
เป็นประโยชน์ต่อการ ช่วยพัฒนาชุมชนท้องถิ่นต่างๆ เช่นขีดความสามารถในการทากิจกรรมที่มีประโยชน์
ต่อสังคมโดยรวมที่ Toyota ปฏิบัติมาเป็นระยะเวลานานหลายปีแล้ว จะช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต
ของชุมชนนั้นๆ ให้ดารงอยู่ต่อไป รวมถึงการช่วยสร้างเสริมธุรกิจท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง เพื่อที่จะสร้าง
ความมั่นคงและมั่งคั่งกลับไปสู่ผู้คนในชุมชนนั้นๆ ต่อไป
ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจากเงินทุนที่ไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกทาให้ทั้ง
สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกายังคงเปราะบาง และยังคงต้องใช้ระยะเวลาในการพื้นตัวพอสมควร บริษัท
Toyota จะต้องสร้างแนวคิดการทางานใหม่ๆ ให้กับซัพพลายเออร์และพนักงานของ Toyota เอง เพื่อปรับตัว
เองให้ก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่ของหลักการทางานในการผลิตยานยนต์ เพื่อดารงความเป็นผู้นาด้านยนตร
กรรม ส่วนผลกระทบของค่าแรงขั้นต่าจานวน 300 บาท ที่มีต่อบริษัทซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนราย
ย่อยที่ส่งชิ้นส่วน อะไหล่ให้กับ Toyota นั้น ทางโรงงานของค่ายสามห่วงใด้มีแผนงานที่จะรองรับการขึ้น
ค่าแรงขั้นต่าเอาไว้ ตั้งแต่เดือนเมษายนของปีที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น ระยะเวลาของการผลิตรถยนต์หนึ่งคัน
ซึ่งแต่ก่อนใช้เวลาตามที่กาหนด ระยะเวลาดัวกล่าวจะถูกปรับให้มีความสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของบริษัทที่
เพิ่ม มากขึ้นด้วยการลดเวลาการประกอบให้น้อยลงไปอีก บริษัทซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนรายย่อยที่
เริ่มได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว ทาง Toyota ได้มีการให้แนวทางของการทางานด้วยการผลิต
ชิ้นส่วนให้มีคุณภาพสูงมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ให้มี
ความก้าวหน้า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าไปในตัว การเพิ่มค่าแรงจะต้องมีการปรับตัวด้วยการนาเอาเครื่องจักร
ที่มีความทันสมัยเข้ามาใช้งาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรให้มีฝีมือด้านแรงงานที่สูงขึ้น ในระยะสั้นๆ
นั้นอาจส่งผลกระทบบ้าง แต่ในระยะยาวจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันและมีพัฒนาการที่ดี
ขึ้น
สาหรับ ในปี 2556 นั้น Toyota จะตอบแทนลูกค้าด้วยคอนเซปต์ Mobility Of Happiness เพื่อแสดง
ความขอบคุณต่อลูกค้าที่ให้การสนับสนุนตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา เป็นการส่งมอบความสุขเพื่อก้าวสู่
อนาคตที่สดใส toyota จึงจัดแคมเปญขอบคุณลูกค้า Toyota มอบของขวัญแทนคาขอบคุณ กับลูกค้าที่จองซื้อ
รถยนต์ Toyota โดยมีรายละเอียดดังนี้
Samsung GALAXY Tab ขนาด 7.0 นิ้ว
สิทธิ์ในการใช้บริการ Toyota Smart G-Book เวอร์ชั่นใหม่ พร้อมแผนที่สามมิติ เป็นระยะเวลานาน 1 ปี แอพ
Toyota Smart G-Book ครอบคลุมบริการต่างๆ เช่น
บริการค้นหาจุดหมายปลายทางโดยโอเปอร์เรเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมง
ระบบนาทางอัจฉริยะหลีกเลี่ยงรถติดด้วยข้อมูลสภาพการจราจรล่าสุดแบบ Real Time
บริการติดต่อให้ความช่วยเหลือบนท้องถนนและช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน
สาหรับลูกค้าที่จองและรับรถตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2556
รุ่นรถที่ได้รับสิทธิ์ จานวน 10 รุ่น
-Toyota Camry
-Toyota Prius
-Toyota Prius C
-Toyota Corolla Altis (Auto)
-Toyota Vios รุ่นปรับปรุงโฉมปี 2553
-Toyota Yaris
-Toyota Avanza
-Toyota Innova
-Toyota Alphard
-Toyota GT86
การวิเคราะห์ด้วยหลัก 4 P
Product (ผลิตภัณฑ์)
1. ตัว สินค้า คือ รถยนต์ยี่ห้อ TOYOTA เป็นรถยนต์ที่มีราคาไม่สูงมากนัก เพียบพร้อมทั้งการออกแบบ
ที่สวยงามกว่ารุ่นก่อนๆที่เคยได้ผลิตออกมาและด้วย ตราสินค้าที่มีมานานแล้วจะทาให้ความน่าเชื่อถือของ
สินค้ามีมากตามไปด้วย การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวสินค้าสร้างการจดจาได้ง่ายขึ้น
2. ประ สิทธิภาพสาหรับรถยนต์ของToyotaนี้มีประสิทธิภาพในการใช้งานค่อนข้างเหมาะสม กับราคา
ที่ไม่สูงมากนัก และถ้านามาเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่นเล็กของยี่ห้ออื่นๆ ประสิทธิภาพก็ไม่ต่างกันมากนัก
3. ความ ทนทานด้วยตัวสินค้านั้นเป็นรถยนต์ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นในเรื่องของความ แข็งแรงของ
ตัวรถนั้น คงไม่สามารถเปรียบเทียบกับรถที่ผลิตจากแทบยุโรปได้ แต่ถึงตัวรถจะไม่แข็งแรงมากนัก แต่
ระบบรักษาความปลอดภัยภายในรถก็ยังคอยสนับสนุนลูกค้าได้อย่างดี และเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่น
เล็กในยี่ห้ออื่น ในเรื่องความทนทานของอะไหล่หรือตัวรถนั้นก็ไม่มีความแตกต่างกัน แต่อะไหล่ของ
TOYOTA นั้นจะมีราคาที่ถูกกว่ายี่ห้ออื่นๆ ซึ่งเป็นจุดที่ได้เปรียบกว่ารถยนต์ยี่ห้ออื่นๆ
4. รูป แบบสินค้า รถยนต์ TOYOTA นี้ ได้ออกแบบใหม่ให้รูปร่างดูทันสมัยมากขึ้นกว่ารุ่นก่อน ซึ่ง
เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า และด้วยรูปลักษณ์ที่ดูแปลกตาออกไปก็ได้ช่วยสร้างการจดจาในตัวสินค้าได้เป็น
อย่างดีซึ่งทางด้านคู่แข่งก็ได้ผลิตรถยนต์ที่มีรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยออกมา แข่งขันด้วยเช่นกัน
5. ความ สามรถในการอัพเกรดในการเพิ่มประสิทธิภาพของรถยนต์นั้นก็สามารถทาได้ อย่างกว้าง
ขว้าง มีอะไหล่ที่รองรับความต้องการในการปรับแต่งรถยนต์มากมาย ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพของ รถยนต์
นั้นจะช่วยทาให้รถยนต์นั้นมีสมรรถนะดีขึ้นอีกด้วย
6. ความ ช่วยเหลือทางเทคนิคการใช้งานของสินค้านั้นไม่ยากเพราะด้วยระบบเกียร์ออโต้ ที่นิยมใช้กัน
ในสมัยนี้ ทาให้การขับขี่รถยนต์เป็นไปได้อย่างไม่ยากลาบาก และทางด้านศูนย์บริการก็มีกระจายอยู่ทั่วไป
สามารถหาได้ง่ายและมีจานวนมาก
7. การ ติดตั้งในส่วนของการติดตั้งนั้น ได้ทาการประกอบมาตั้งแต่ศูนย์ผลิตแล้ว ซึ่งพร้อมให้ลูกค้าได้
ใช้งานได้โดยทันทีหลังจากที่ซื้อสินค้าแล้ว แต่ในส่วนของการติดตั้งอะไหล่ที่ได้ปรับเปลี่ยนภายหลังนั้น
จะต้องทาโดยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
Price (ราคา)
1. ทาง ด้านราคามีราคาที่ไม่สูงมากซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งด้วยกันแล้วจะมี ราคาที่ต่ากว่า ซึ่งจะ
ช่วยทาให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมีการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นด้วยเนื่อง จากกลุ่มเป้าหมายนั้นให้ความสาคัญกับราคา
ด้วยและด้วยราคาของสินค้าในขณะนี้ นั้นเหมาะสมกับ Product Life Cycle (วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ) ในขณะนี้
2. การตั้งราคาสินค้าตั้งตาม Product Line Place
Place ( สถานที่)
การ จัดจาหน่ายสินค้านั้นก็จะมีจาหน่ายทั่วไปตามโชว์รูมของ TOYOTA ซึ่งในปัจจุบันมีโชว์รูมเกิด
ขึ้นมามากมาย เพื่อทาให้ลูกค้าเกิดความสะดวกสบายมากที่สุดในการที่จะไปติดต่อสอบถามหรือ บริโภค
สินค้า มีการใช้กลยุทธ์เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาติดต่อหาข้อมูลที่โชว์รูม โดยใช้โฆษณาเป็นสื่อในการส่ง
ข่าวสารรูปแบบการจัดจาหน่ายนั้น ก็จะเริ่มต้นที่ผู้ผลิตซึ่งผลิตมาจากโรงงาน แล้วจากนั้นจะส่งสินค้ามาตาม
ตัวแทนจาหน่ายต่างๆ (Show Room) จากนั้นก็ติดต่อซื้อขายกับผู้บริโภค
Promotion (การส่งเสริมการตลาด)
1. สื่อ ที่ใช้ในการโฆษณาเป็นสื่อหลักคือโทรทัศน์เพราะว่าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ ง่าย และ
สามารถกระตุ่นความสนใจและความต้องการได้ด้วยการใช้ภาพและเสียง และสื่อเสริมจะเป็นพวกนิตยสาร
ต่าง ๆ ซึ่งภายในนิตยสารนั้นจะให้รายละเอียดต่างๆไว้มากกว่าในโทรทัศน์เพื่อที่จะ ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้
ข่าวสารอย่างเพียงพอแก่ความต้องการแต่สื่อที่น่า จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด คือ สื่อโทรทัศน์เพราะว่า
ในยุคปัจจุบันนี้โทรทัศน์นั้นเป็นสิ่งที่จาเป็นของ ทุกๆครอบครัว และการใช้สื่อประเภทนี้เข้าไปทาการ
โฆษณาจะช่วยได้มาในเรื่องของการสร้างภาพ ลักษณ์ การทาให้เกิดการจดจา
2. จุด ขายที่ใช้ในปัจจุบัน TOYOTA จะเน้นในเรื่องของการออกแบบรูปทรงของตัวรถยนต์ที่ดู
ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งในจุดเด่นตรงนี้ก็ยังสามารถนาไปใช้เป็นจุดขายต่อๆ ไปในอนาคตได้ เพราะ ส่วนมาก
แล้วผู้บริโภคค่อนข้างที่จะให้ความสาคัญต่อรูปร่างของผลิตภัณฑ์ ประเภทรถยนต์
3. จุด เด่นของสินค้าเป็นเรื่องของรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยมากขึ้นซึ่งเหมาะสมกับสภาพ สังคมในปัจจุบัน
และในการที่จะใช้จุดเด่นนี้มาใช้ในการโฆษณานั้น เราก็จาเป็นที่จะต้องทาโฆษณาโดยดึงเอาการออกแบบ
หรือทาให้ผู้บริโภคได้เห็นรูปร่างของรถยนต์สวยงาม นั้นเพื่อที่จะช่วยในการสร้างภาพลักษณ์และการจดจา
ที่ดีขึ้น
4. ภาพ ลักษณ์ของสินค้าเป็นสินค้าที่ได้รับความน่าเชื่อถือได้รับความไว้วางใจจาก ผู้บริโภคเพราะ
Brand หรือ ตราสินค้านั้นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จึงทาให้เกิดความจดจา และยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ไป
ด้วย
5. Positioning การจัดตาแหน่งของสินค้าคือ แนวคิดในการบริการที่ "พร้อมจะมอบความพอใจสูงสุด
ให้กับลูกค้าโดยประกันการสร้างคุณภาพในทุกกระบวน การ"ผสานกับความมุ่งมั่นของเหล่าพนักงานโต
โยต้าคือเบื้องหลังความสาเร็จของ โตโยต้า ที่ผลักดันให้บริษัทฯ ครองความเป็นอันดับหนึ่งของผู้ผลิต
รถยนต์ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง
3. โ ลูชั่น-การป ิบัติการ
โ ลูชั่น แนวทางการดาเนินกิจกรรม แนวทางการใช้ทรัพยากร การวัดความสาเรจ
1. กระบวนการผลิต - การทา ISO เพื่อควบคุมคุณภาพ
ของกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน
- มีการตรวจสอบคุณภาพการผลิตทุก
กระบวนการ
- อัตราการผลิตที่สูงขึ้น และมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น
2. การพัฒนาบุคคลากร - คัดเลือกบุคคลกรที่มี
ความสามารถและมีคุณภาพตรง
กับมาตรฐานที่กาหนด
- การฝึกอบรมเละพัฒนาคุณภาพงาน
- การทดสอบประสิทธิภาพของการ
ทางาน
- ปลูกจิตสานึกให้รักงานรักองค์กร
- อัตราความผิดพลาดในการ
ทางานลดลง คุณภาพของ
งานเพิ่มขึ้นในขณะที่อัตรา
การใช้เวลาในการทางาน
ลดลง
3. กลยุทธ์ทางการตลาด - การทาตารางกาหนดแผนการจัด
โฆษณาประชาสัมพันธ์
- กาหนดโปรโมชั่นพิเศษให้กับ
ลูกค้า
- กาหนดรูปแบบการทาตลาด
- การฝึกอบรมกลยุทธ์ทางด้านการตลาด
- การสารวจตลาดโดยวิเคราะห์คู่แข่งและ
ความต้องการของลูกค้า
- อัตราการจองและการสั่งซื้อ
เพิ่มขึ้น
- ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4. คุณภาพของการ
บริการหลังการขาย
- กาหนดแผนการติดตามลูกค้าตาม
ระยะเวลาที่เหมาะสม
- กาหนดมาตรฐาน เพื่อควบคุม
เวลาในการให้บริการหลังการขาย
อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- การฝึกอบรมการให้บริการหลังการขาย
อย่างมีคุณภาพ
- การทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพและ
เวลาในการให้บริการอย่างมี
ประสิทธิภาพ
- วัดความพึงพอใจของลูกค้า
เอกสารอ้างอิง
1. http://mbamk.blogspot.com/2013/07/2554.html
2. http://www.thairath.co.th/content/321768
3. http://doctorpookpiknaka.blogspot.com/2012/08/4.html?m=1
4. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000054194
5. http://www.engineeringtoday.net/magazine/articledetail.asp?arid=3084&pid=301
6. http://www.thailandindustry.com/guru/view.php?id=14461&section=9
7. http://202.183.190.2/FTPiWebAdmin/knw_pworld/image_content/58/Process2.doc
8. http://dc395.4shared.com/doc/XsWCyY2G/preview.html
9. http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1422&read=true&count=true

More Related Content

What's hot

ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษา
ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษาใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษา
ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษาPiyarerk Bunkoson
 
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีแบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีmaethaya
 
เอกสารประกอบการเรียน ชุดระบบสุริยะ เล่มที่ 1 เรื่องส่วนประกอบของระบบสุริยะ ก...
เอกสารประกอบการเรียน ชุดระบบสุริยะ  เล่มที่ 1 เรื่องส่วนประกอบของระบบสุริยะ ก...เอกสารประกอบการเรียน ชุดระบบสุริยะ  เล่มที่ 1 เรื่องส่วนประกอบของระบบสุริยะ ก...
เอกสารประกอบการเรียน ชุดระบบสุริยะ เล่มที่ 1 เรื่องส่วนประกอบของระบบสุริยะ ก...mayureesongnoo
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...Prachoom Rangkasikorn
 
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ ภาคบริการ
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ ภาคบริการGuide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ ภาคบริการ
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ ภาคบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1prayut2516
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพณัฐะ หิรัญ
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนKruthai Kidsdee
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรBigbic Thanyarat
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 Bom Anuchit
 
นำเสนอการฝึกงาน
นำเสนอการฝึกงานนำเสนอการฝึกงาน
นำเสนอการฝึกงานPalm Jutamas
 
การวางแผนกำลังคน Manpower planning
การวางแผนกำลังคน Manpower planningการวางแผนกำลังคน Manpower planning
การวางแผนกำลังคน Manpower planningJirasap Kijakarnsangworn
 
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญPongpob Srisaman
 
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบบทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบJariya Jaiyot
 
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อยกรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อยChatchamon Uthaikao
 
แบบทดสอบ พระพุทธ ม.6
แบบทดสอบ พระพุทธ ม.6แบบทดสอบ พระพุทธ ม.6
แบบทดสอบ พระพุทธ ม.6teerachon
 

What's hot (20)

ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษา
ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษาใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษา
ใบลาป่วยลากิจนักเรียนนักศึกษา
 
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีแบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
 
เอกสารประกอบการเรียน ชุดระบบสุริยะ เล่มที่ 1 เรื่องส่วนประกอบของระบบสุริยะ ก...
เอกสารประกอบการเรียน ชุดระบบสุริยะ  เล่มที่ 1 เรื่องส่วนประกอบของระบบสุริยะ ก...เอกสารประกอบการเรียน ชุดระบบสุริยะ  เล่มที่ 1 เรื่องส่วนประกอบของระบบสุริยะ ก...
เอกสารประกอบการเรียน ชุดระบบสุริยะ เล่มที่ 1 เรื่องส่วนประกอบของระบบสุริยะ ก...
 
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
ใบความรู้+แผนการสอน และใบกิจกรรม ประถม 4-6 เรื่อง วงจรไฟฟ้า+ป.5+273+dltvscip5...
 
ปก
ปกปก
ปก
 
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ ภาคบริการ
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ ภาคบริการGuide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ ภาคบริการ
Guide notes on writing a business plan ข้อแนะนำในการเขียนแผนธุรกิจ ภาคบริการ
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
 
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
 
นำเสนอการฝึกงาน
นำเสนอการฝึกงานนำเสนอการฝึกงาน
นำเสนอการฝึกงาน
 
การวางแผนกำลังคน Manpower planning
การวางแผนกำลังคน Manpower planningการวางแผนกำลังคน Manpower planning
การวางแผนกำลังคน Manpower planning
 
Case Study : Serksu Thailand
Case Study : Serksu ThailandCase Study : Serksu Thailand
Case Study : Serksu Thailand
 
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
 
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบบทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
บทที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
 
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อยกรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
กรณีศึกษา เถ้าแก่น้อย
 
หน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญหน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญ
 
แบบทดสอบ พระพุทธ ม.6
แบบทดสอบ พระพุทธ ม.6แบบทดสอบ พระพุทธ ม.6
แบบทดสอบ พระพุทธ ม.6
 
วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่
 

More from DrDanai Thienphut

Change for the future : New concept and New management tools
Change for the future : New concept and New management toolsChange for the future : New concept and New management tools
Change for the future : New concept and New management toolsDrDanai Thienphut
 
Postgraduate education @ sju PhD 27 08-17
Postgraduate education @ sju  PhD 27 08-17Postgraduate education @ sju  PhD 27 08-17
Postgraduate education @ sju PhD 27 08-17DrDanai Thienphut
 
ไทยเที่ยวไทย :คอนซูเมอร์แฟร์ที่คิดไกลระดับนานาชาติ
ไทยเที่ยวไทย :คอนซูเมอร์แฟร์ที่คิดไกลระดับนานาชาติไทยเที่ยวไทย :คอนซูเมอร์แฟร์ที่คิดไกลระดับนานาชาติ
ไทยเที่ยวไทย :คอนซูเมอร์แฟร์ที่คิดไกลระดับนานาชาติDrDanai Thienphut
 
Result based HRM ฺ : Dr.Danai Thienphut
Result based HRM ฺ : Dr.Danai ThienphutResult based HRM ฺ : Dr.Danai Thienphut
Result based HRM ฺ : Dr.Danai ThienphutDrDanai Thienphut
 
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยังบทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยังDrDanai Thienphut
 
ท่องเที่ยวชุมชน : การตลาดเพิ่มมูลค่า หรือ ฉกฉวยวิถีชีวิตและสินทรัพย์ชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชน : การตลาดเพิ่มมูลค่า หรือ ฉกฉวยวิถีชีวิตและสินทรัพย์ชุมชนท่องเที่ยวชุมชน : การตลาดเพิ่มมูลค่า หรือ ฉกฉวยวิถีชีวิตและสินทรัพย์ชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชน : การตลาดเพิ่มมูลค่า หรือ ฉกฉวยวิถีชีวิตและสินทรัพย์ชุมชนDrDanai Thienphut
 
กลยุทธสำหรับการตลาดเมือง
กลยุทธสำหรับการตลาดเมือง  กลยุทธสำหรับการตลาดเมือง
กลยุทธสำหรับการตลาดเมือง DrDanai Thienphut
 
กลยุทธการวิจัยและพัฒนานำสู่ Digital Economy (R and D Strategy)
กลยุทธการวิจัยและพัฒนานำสู่ Digital Economy (R and D Strategy) กลยุทธการวิจัยและพัฒนานำสู่ Digital Economy (R and D Strategy)
กลยุทธการวิจัยและพัฒนานำสู่ Digital Economy (R and D Strategy) DrDanai Thienphut
 
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ 2559
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ  2559โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ  2559
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ 2559DrDanai Thienphut
 
Teaching and learning development strategy
Teaching and learning development strategyTeaching and learning development strategy
Teaching and learning development strategyDrDanai Thienphut
 
บทความ ความท้าทายใหม่ในการจัดทำกลยุทธ
บทความ ความท้าทายใหม่ในการจัดทำกลยุทธบทความ ความท้าทายใหม่ในการจัดทำกลยุทธ
บทความ ความท้าทายใหม่ในการจัดทำกลยุทธDrDanai Thienphut
 
Inter Human Capital Management Seminar PhD. Assignment
Inter Human Capital Management Seminar PhD. AssignmentInter Human Capital Management Seminar PhD. Assignment
Inter Human Capital Management Seminar PhD. AssignmentDrDanai Thienphut
 
สัมมนาหัวข้อ ธรรมาภิบาลภาคเอกชน หลักสูตรปธพ. รุ่นที่ 4
สัมมนาหัวข้อ ธรรมาภิบาลภาคเอกชน หลักสูตรปธพ. รุ่นที่ 4สัมมนาหัวข้อ ธรรมาภิบาลภาคเอกชน หลักสูตรปธพ. รุ่นที่ 4
สัมมนาหัวข้อ ธรรมาภิบาลภาคเอกชน หลักสูตรปธพ. รุ่นที่ 4DrDanai Thienphut
 
คำถามประจำสัปดาห์ที่ 22 พ.ย.58
คำถามประจำสัปดาห์ที่ 22 พ.ย.58 คำถามประจำสัปดาห์ที่ 22 พ.ย.58
คำถามประจำสัปดาห์ที่ 22 พ.ย.58 DrDanai Thienphut
 

More from DrDanai Thienphut (20)

Change for the future : New concept and New management tools
Change for the future : New concept and New management toolsChange for the future : New concept and New management tools
Change for the future : New concept and New management tools
 
PKRU Scenario 2040
PKRU Scenario 2040PKRU Scenario 2040
PKRU Scenario 2040
 
Planning with PDCA
Planning with PDCAPlanning with PDCA
Planning with PDCA
 
Postgraduate education @ sju PhD 27 08-17
Postgraduate education @ sju  PhD 27 08-17Postgraduate education @ sju  PhD 27 08-17
Postgraduate education @ sju PhD 27 08-17
 
Minimum wage 2018
Minimum wage 2018Minimum wage 2018
Minimum wage 2018
 
SMEs upscaling
SMEs upscaling SMEs upscaling
SMEs upscaling
 
Study trip at Angor Wat
Study trip at Angor WatStudy trip at Angor Wat
Study trip at Angor Wat
 
ไทยเที่ยวไทย :คอนซูเมอร์แฟร์ที่คิดไกลระดับนานาชาติ
ไทยเที่ยวไทย :คอนซูเมอร์แฟร์ที่คิดไกลระดับนานาชาติไทยเที่ยวไทย :คอนซูเมอร์แฟร์ที่คิดไกลระดับนานาชาติ
ไทยเที่ยวไทย :คอนซูเมอร์แฟร์ที่คิดไกลระดับนานาชาติ
 
Result based HRM ฺ : Dr.Danai Thienphut
Result based HRM ฺ : Dr.Danai ThienphutResult based HRM ฺ : Dr.Danai Thienphut
Result based HRM ฺ : Dr.Danai Thienphut
 
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยังบทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
บทความ ถึงเวลายกระดับการท่องเที่ยวชุมชนหรือยัง
 
ท่องเที่ยวชุมชน : การตลาดเพิ่มมูลค่า หรือ ฉกฉวยวิถีชีวิตและสินทรัพย์ชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชน : การตลาดเพิ่มมูลค่า หรือ ฉกฉวยวิถีชีวิตและสินทรัพย์ชุมชนท่องเที่ยวชุมชน : การตลาดเพิ่มมูลค่า หรือ ฉกฉวยวิถีชีวิตและสินทรัพย์ชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชน : การตลาดเพิ่มมูลค่า หรือ ฉกฉวยวิถีชีวิตและสินทรัพย์ชุมชน
 
กลยุทธสำหรับการตลาดเมือง
กลยุทธสำหรับการตลาดเมือง  กลยุทธสำหรับการตลาดเมือง
กลยุทธสำหรับการตลาดเมือง
 
Transformative HR 2016
Transformative HR 2016 Transformative HR 2016
Transformative HR 2016
 
กลยุทธการวิจัยและพัฒนานำสู่ Digital Economy (R and D Strategy)
กลยุทธการวิจัยและพัฒนานำสู่ Digital Economy (R and D Strategy) กลยุทธการวิจัยและพัฒนานำสู่ Digital Economy (R and D Strategy)
กลยุทธการวิจัยและพัฒนานำสู่ Digital Economy (R and D Strategy)
 
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ 2559
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ  2559โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ  2559
โปรไฟล์ ดร.ดนัย เทียนพุฒ 2559
 
Teaching and learning development strategy
Teaching and learning development strategyTeaching and learning development strategy
Teaching and learning development strategy
 
บทความ ความท้าทายใหม่ในการจัดทำกลยุทธ
บทความ ความท้าทายใหม่ในการจัดทำกลยุทธบทความ ความท้าทายใหม่ในการจัดทำกลยุทธ
บทความ ความท้าทายใหม่ในการจัดทำกลยุทธ
 
Inter Human Capital Management Seminar PhD. Assignment
Inter Human Capital Management Seminar PhD. AssignmentInter Human Capital Management Seminar PhD. Assignment
Inter Human Capital Management Seminar PhD. Assignment
 
สัมมนาหัวข้อ ธรรมาภิบาลภาคเอกชน หลักสูตรปธพ. รุ่นที่ 4
สัมมนาหัวข้อ ธรรมาภิบาลภาคเอกชน หลักสูตรปธพ. รุ่นที่ 4สัมมนาหัวข้อ ธรรมาภิบาลภาคเอกชน หลักสูตรปธพ. รุ่นที่ 4
สัมมนาหัวข้อ ธรรมาภิบาลภาคเอกชน หลักสูตรปธพ. รุ่นที่ 4
 
คำถามประจำสัปดาห์ที่ 22 พ.ย.58
คำถามประจำสัปดาห์ที่ 22 พ.ย.58 คำถามประจำสัปดาห์ที่ 22 พ.ย.58
คำถามประจำสัปดาห์ที่ 22 พ.ย.58
 

รายงานการศึกษา ปรัชญา ความเชื่อโตโยต้า

  • 1. รายงาน เรื่อง กรณีศึกษาบริษัท TOYOTA จัดทาโดย 1) นางสาวกนกวรรณ คุ้มทิม 5780141101 2) นางสาวกุสุมา ชูสุข 5780141104 3) นางสาวฉวีวรรณ เกิดควน 5780141107 4) นายญาณะภัทร จารุธนสารกุล 5780141108 5) นายณภัทร กิตติทวีกุล 5780141109 6) นายธนเดช กาลพัฒน์ 5780141111 7) นายเมธาวี แก้วตั้ง 5780141115 8) นางสาวรัชชุดา สุทธินันท์ 5780141116 9) นางสาวศรินภัสร์ ธนาพันธ์สิริ 5780141121 10) นางสาวอรอนงค์ จิตจา 5780141126 11) พระมหาอัญเชิญ ไชยพลบาล 5780141129 นาเสนอ ดร.ดนัย เทียนพุฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ รหัสวิชา 4472141 การบริหารองค์การและการเปลี่ยนแปลง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
  • 2. สารบัญ เรื่อง หน้า ประวัติ 1 ปรัชญา 5 ความเชื่อ 5 วัฒนธรรม 9 ค่านิยมหรือวิถีองค์กร 10 CBL - Big Idea 11 - แถลงแผนงานประจาปี 2556 11 - การวิเคราะห์ด้วยหลัก 4 P 17 -โซลูชั่น 20
  • 3. กรณีศึกษาบริษัท TOYOTA ประวัติการก่อตั้งบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เป็นบริษัทผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น มีฐานการผลิตที่เมืองโตโยต้า จังหวัดไอ จิ ยี่ห้อรถยนต์ในเครือได้แก่ โตโยต้า, เล็กซัส (Lexus) , ฮีโน่ (Hino) , ไดฮัตสุ (Daihatsu) เป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น และเป็นอันดับสามของโลก[1] ซึ่งโตโยต้ามีความสามารถในการผลิตรถได้ประมาณ แปดล้านคันต่อปี และเป็นบริษัทที่ให้กาเนิด ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System:TPS) และ วิถีแห่งโตโยต้า (Toyota Way) ที่โด่งดังไปทั่วโลก เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) เมื่อบริษัทผลิตเครื่องทอผ้าโตโยดะนาโดยคีชิโระ โตะโยะดะได้ทาการตั้งแผนกใหม่ในปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) เพื่อทุ่มเทให้กับการพัฒนาเครื่องยนต์ Type A ซึ่งได้นาไปใช้ใน Model A1 ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งคัน แรกของบริษัทในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) และรถบรรทุก G1 ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ซึ่ง Model A1 ได้พัฒนามาผลิตเพื่อการค้าเต็มรูปแบบซึ่งคือ Model AA ในปี พ.ศ. 2479 ความยิ่งใหญ่ของรถยนต์โตโยต้าเริ่มจากความฝันอันยิ่งใหญ่ของนายซาคิชิ โตโยดะ ซึ่งถือกาเนิดมาในปี 2410 และจบเพียงแค่ระดับประถมศึกษา จากนั้นก็เริ่มฝึกงานกับบิดาเพื่อเป็นช่างไม้แม้ มีการศึกษาน้อย แต่เข้าได้พยายามค้นคว้าเพื่อประดิษฐ์เครื่องทอผ้า และต่อมาได้ก่อตั้ง บริษัทโตโยดะซึ่ง ได้เติบโตกลายเป็นผู้ผลิตเครื่องทอผ้ารายใหญ่ของโลก นายซาคิชิได้เดินทางไปสหรัฐฯ และพบว่าประชาชนใช้รถยนต์จานวนมาก จึงเกิดความฝันอัน ยิ่งใหญ่ที่จะก่อตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ขึ้นในญี่ปุ่น โดยได้นาเงินจากการขายสิทธิบัตรเครื่องทอผ้าเพื่อนามา วิจัยและพัฒนาด้านรถยนต์ แต่เขาเสียชีวิตลงเมื่อปี 2473 ก่อนที่จะสร้างความฝันให้เป็นความจริง อย่างไรก็ตาม ความฝันอันยิ่งใหญ่ยังไม่ได้ดับมอดไป โดยมีผู้สืบทอดเจตนารมณ์เป็นบุตรชาย คือ นายคีชิโร โตโยดะ ซึ่งจบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์เครื่องกล จากมหาวิทยาลัยโตเกียวได้จัดตั้งแผนก วิจัยด้านยานยนต์ขึ้นภายในโรงงานผลิตเครื่องทอผ้าเมื่อปี 2476 ดาเนินการ ในรูปแบบวิศวกรรมย้อนรอย หรือ Reverse Engineering โดยเริ่มจากนารถยนต์เชฟโรเลตรุ่น ปี 2476 มารื้อออกดูทีละชิ้นแล้ววาดภาพ สเกตของชิ้นส่วนแต่ละชิ้น ต่อมาเมื่อเดือนกันยายน 2477 นายคีชิโรได้ผลิตเครื่องยนต์ต้นแบบออกมา มีขนาด 6 สูบ 3,387 ซีซี แต่เครื่องยนต์ที่ผลิตได้มีกาลังเพียง 30 แรงม้า นับว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์เชฟโรเลตซึ่งมี กาลังสูงถึง 60 แรงม้า แต่จากการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทาให้กาลัง ของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็น 50 แรงม้า และในที่สุดก็เพิ่มขึ้นเป็น 62 แรงม้า มากกว่าเครื่องยนต์ที่ตนเองได้ลอกแบบถึง2 แรงม้า ต่อมาในปี 2480 นายคีชิโรได้จัดตั้งบริษัทชื่อโตโยต้ามอเตอร์ขึ้น แม้ในระยะเริ่มต้นกิจการดีมาก เนื่องจากกองทัพญี่ปุ่นซื้อรถยนต์จานวนมากเพื่อใช้ในราชการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ต่อมา
  • 4. บริษัทโตโยต้าได้เผชิญกับวิกฤติการณ์มากมาย โดยในวันที่ 14 สิงหาคม 2488 ก่อนที่ญี่ปุ่นจะประกาศยอม แพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเพียงวันเดียว เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้บินมาทิ้งระเบิดที่โรงงานโตโยต้าเพื่อส่ง ท้ายสงคราม ทาให้กาลังผลิตเสียหายไป 50% สถานการณ์ภายหลังสงครามเลวร้ายลงตามลาดับ เนื่องจากรถยนต์ขายไม่ค่อยได้ จนต้องประสบ ปัญหาทางการเงินอย่างร้ายแรงใกล้ล้มละลาย จนถึงขั้นไม่มีเงินจ่ายแก่เจ้าหนี้และไม่มีเงินเดือนให้แก่ พนักงาน อย่างไรก็ตาม เหมือนกับมีโชคช่วย เกิดสงครามเกาหลีขึ้นทาให้ขายรถบรรทุกจานวนมากแก่ กองทัพสหรัฐฯ เพื่อใช้ในราชการสงคราม ทาให้สถานการณ์ทางการเงินของบริษัทดีขึ้นมาก แต่เป็นที่น่า เสียใจที่ว่าเมื่อปี 2495 นายคีชิโรได้เสียชีวิตลงเมื่ออายุ 57 ปี ด้วยโรคหัวใจ ยังไม่ทันที่จะเห็นความสาเร็จของ โตโยต้าตามที่ได้วาดฝันเอาไว้ แม้โตโยต้าจะสามารถฝ่าวิกฤติเพราะโชคช่วย แต่การก้าวขึ้นสู่ตาแหน่งบริษัทรถยนต์ชั้นแนวหน้า ของโลก จะอาศัยโชคช่วยต่อไปไม่ได้อีกแล้ว แต่จะต้องพิสูจน์ฝีมือว่าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขัน ในระดับนานาชาติและรถยนต์โตโยต้ามีคุณภาพดีเยี่ยม ปัญหาสาคัญ คือ รถยนต์ญี่ปุ่นในช่วงนั้นมีคุณภาพต่ามาก จนถึงขั้นสานักงานตารวจของญี่ปุ่นต้อง ขออนุญาตต่อรัฐบาลให้สั่งซื้อรถเก๋งผลิตจากต่างประเทศมาเป็นรถสายตรวจ โดยยกเหตุผลว่ารถเก๋งที่ผลิต ในญี่ปุ่นแล่นช้า ความเร็วต่ากว่า 100 กม./ชั่วโมง ไม่สามารถไล่ทันรถยนต์ของผู้ร้ายได้ ส่วนบริษัทแท็กซี่ ของญี่ปุ่นจึงขออนุญาตจากรัฐบาลเพื่อนาเข้ารถยนต์จากต่างประเทศบ้าง โดยอ้างว่ารถยนต์ผลิตในประเทศมี คุณภาพต่า ไม่ทนทานต่อการใช้งาน ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นธนาคารกลางของประเทศ ถึงกับพยากรณ์ในช่วงนั้นว่า อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของญี่ปุ่นได้หมดอนาคตแล้ว ประเทศญี่ปุ่นควรเน้นผลิตเฉพาะ รถบรรทุกจะดีกว่า ไม่คุ้มที่จะผลิตรถเก๋งเพื่อใช้เองภายในประเทศ บริษัทโตโยต้าได้ปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่จากเดิมที่ผลิตลอกเลียนแบบรถยนต์ต่างประเทศมาเป็นวิจัย และพัฒนารถยนต์ขึ้นมาเอง พร้อมกับพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพ โดยได้ติดต่อ ดร.เอ็ดวาร์ด เดม มิ่ง ผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ เพื่อให้คาแนะนาเรื่องควบคุมคุณภาพโดยกาจัดจุดบกพร่องที่ต้นเหตุ จากนั้นได้นา ระบบควบคุมคุณภาพมาใช้อย่างประสบผลสาเร็จ เพียงแค่ปีแรกของการดาเนินการ ปรากฏว่าจุดบกพร่อง ของรถยนต์ได้ลดลงมากถึง 50% เดิมภาคอุตสาหกรรมมี 2 รูปแบบการผลิต รูปแบบแรก คือ รูปแบบการผลิตขนาดเล็ก ผลิตไม่มาก นักตามแบบของ SMEs ส่วนอีกรูปแบบการผลิตหนึ่ง เป็นการผลิตขนาดใหญ่หรือที่มีคาศัพท์ว่า Mass Production แต่ผู้เชี่ยวชาญของบริษัทโตโยต้าได้คิดค้นรูปแบบการผลิตแบบใหม่ ซึ่งมีปรัชญาการผลิตว่าจะ พยายามใช้ประโยชน์จากเวลา ทรัพยากรมนุษย์ สินทรัพย์ และผลิตภาพ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
  • 5. ขณะเดียวกันก็พยายามปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงสุด ทาให้สามารถลด จุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ สามารถใช้พื้นที่โรงงานเพียงครึ่งหนึ่งของที่ใช้เดิม และลดเวลาที่ใช้ด้าน วิศวกรรมลงเพลือเพียงครึ่งหนึ่งเช่นกัน เดิมเราเรียกรูปแบบนี้ว่า “การผลิตแบบโตโยต้า” เนื่องจากเริ่มใช้ในบริษัทโตโยต้าเป็นครั้งแรก แต่ ปัจจุบันรูปแบบการผลิตนี้ได้มีการตั้งชื่อว่า “การผลิตแบบ Lean” มีจุดเด่น คือ ต้นทุนการผลิตต่ากว่า ใช้ แรงงานน้อยกว่า คุณภาพรถยนต์เหนือกว่า และจุดบกพร่องต่ากว่า ส่งผลให้โตโยต้าก้าวขึ้นสู่ตาแหน่งผู้นา ของโลกในด้านยนตรกรรม อย่างไรก็ตาม เดิมโตโยต้ามีภาพลักษณ์ว่าเป็นผู้ผลิตรถยนต์ราคาประหยัดที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ แต่ ไม่มีรถยนต์ในระดับหรูหรา ศักดิ์ศรียังเป็นรองรถยนต์ยุโรป เช่น เมอร์เซเดส-เบนส์, BMW, โรลสรอยส์ หรือจากัวร์ ทั้งๆ ที่หากวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถด้านยนตรกรรมแล้ว โตโยต้าไม่ได้เป็นที่สองรอง ใคร อาจจะเหนือกว่าด้วยซ้า ในปี 2526 บริษัทโตโยต้าได้ตัดสินใจจะผลิตรถยนต์หรูหราที่ดีเยี่ยมที่สุดในโลก กาหนดวิสัยทัศน์ ว่าต้องเป็นรถยนต์ที่ยอดเยี่ยมในทุกด้านไม่ว่าจะด้านความเร็ว ความปลอดภัย ความสบายในห้องโดยสาร รูปลักษณ์ที่สง่างาม ตลอดจนถึงการบริการลูกค้าภายหลังขาย ซึ่งนับว่าเป็นการตัดสินใจที่เสี่ยงมาก เนื่องจาก ที่ผ่านมารถยนต์หรูหราจะต้องมีสัญชาติเยอรมนีหรืออังกฤษเท่านั้น บริษัทโตโยต้าได้ปรับปรุงในด้านยนตร กรรมอย่างไม่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าการลดช่องว่างระหว่างตัวถังจากเดิม 7 มม. ลดลงเหลือเพียง 4 มม. เพื่อให้ รถยนต์มีเสียงเงียบลงขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูง ชิ้นส่วนเครื่องยนต์จะต้องมีความเที่ยงตรงแม่นยาถึงขั้นวัด เป็นไมครอน เพื่อให้มั่นใจถึงสมรรถนะและความเงียบ ผลที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ เมื่อรถยนต์เล็กซัสของโตโยต้าเริ่มผลิตและวางจาหน่ายในปี2532 วารสารรถยนต์ทุกฉบับได้กล่าวยกย่องชมเชยว่าแล่นได้รวดเร็วกว่าและนุ่มนวลกว่ารถยนต์คู่แข่ง โดยเฉพาะ เสียงเครื่องยนต์ที่เงียบมากจนแทบจะรู้ว่ากาลังติดเครื่องหรือไม่ กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของรถยนต์หรูหรา ราคาแพง โดยได้รับความนิยมอย่างมากในสหรัฐฯ เนื่องจากคนสหรัฐฯ จะซื้อรถยนต์เพื่อใช้งาน ไม่ได้ซื้อ มาเพื่ออวดความมั่งมี ดังนั้น หากรถยนต์ใดก็ตามที่มีสมรรถนะเป็นเยี่ยมและมีความสบายในห้องโดยสาร เหนือกว่าแล้ว รถยนต์แบบนั้นๆ จะขายดีมากในสหรัฐฯ จากผลสาเร็จอันท่วมท้น ทาให้บริษัทโตโยต้าก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากบริษัท GM และบริษัทฟอร์ดเท่านั้น และต่อมาในปี 2546 บริษัทโตโยต้าได้แซงหน้าฟอร์ดกลายเป็น ผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก กล่าวคือ โตโยต้า (รวมถึงบริษัทในเครือ คือ ฮีโน่และไดฮัทสุ) มี ยอดผลิตรถยนต์ในปี 2546 จานวน 6.78 ล้านคัน เฉือนเอาชนะฟอร์ดที่มียอดผลิต 6.72 ล้านคัน แต่ยัง ตามหลัง GM ค่อนข้างห่าง โดยในปี 2546 บริษัท GM ผลิตรถยนต์ 8.8 ล้านคัน
  • 6. ต่อมาในปี 2547 โตโยต้าเริ่มทิ้งห่างบริษัทฟอร์ด โดยโตโยต้ามียอดผลิตรถยนต์ 7.52 ล้านคัน ขณะ ที่ฟอร์ดผลิตรถยนต์ 6.8 ล้านคันเท่านั้น ส่วน GM ยังคงครองความยิ่งใหญ่เป็นอันดับ 1 โดยผลิตรถยนต์ 9.1 ล้านคัน แต่ปัจจุบันความยิ่งใหญ่ของโตโยต้าอยู่ในสภาพไปไม่หยุดฉุดไม่อยู่ ขณะที่บริษัทคู่แข่งสาคัญ คือ บริษัทจีเอ็มและบริษัทฟอร์ดกาลังเผชิญวิกฤติการณ์ทางการเงินเข้าขั้นโคม่า โดยเฉพาะบริษัท GM ขาดทุน มากถึง 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 160,000 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 แต่บริษัทโตโยต้าก ลับมีกาไรมากเป็นประวัติการณ์ สาหรับบริษัท GM ครองตาแหน่งผู้ผลิตรถยนต์อันดับ1 ของโลกติดต่อกันมานานถึง 73 ปี เริ่มมี คาถามมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าจะยังคงเป็นอันดับ 1 ของโลกอีกนานแค่ไหน เนื่องจากถูกท้าทายจากบริษัทโตโยต้า อย่างไม่เคยมีก่อน โดยในปี 2548 คาดว่า GM ผลิตรถยนต์ 9 ล้านคัน ขณะที่โตโยต้าเริ่มไล่ตามมาติดๆ คือ 8.1 ล้านคัน ยิ่งไปกว่านั้น ยอดการจาหน่ายรถยนต์โตโยต้ามีแนวโน้มสูงขึ้นอีกในปี 2549 เนื่องจากเป็นรถยนต์ ประหยัดน้ามัน ทาให้ขายดีในยุคน้ามันแพง ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงคาดว่าโตโยต้ามีโอกาสสูงที่จะแซงหน้า GM ขึ้นเป็นบริษัทรถยนต์ใหญ่ที่สุดในโลกในช่วง 2 – 3 ปีข้างหน้า ปรัชญา วางรากฐานการตัดสินใจเชิงบริหารบนปรัชญาระยะยาว แม้ว่าจะเป็นภาระแก่เป้าหมายทางการเงินระยะสั้น  ระลึกถึงปรัชญาอยู่เสมอ แม้แต่ในการตัดสินใจระยะสั้น โดยมีการดาเนินงานสร้างการเติมโต และ จัดระเบียบองค์กรทั้งหมดฝ่านจุดประสงค์ร่วมกัน มากกว่าการมุ่งผลกาไรเพียงอย่างเดียว ทาความ เข้าใจองค์กรฝ่านประวัติของบริษัท และแผนงานที่จะนาพาบริษัท พัฒนาขึ้นไปยังระดับถัดไป โดย พันธกิจในปรัชญา คือ พื้นฐานสาหรับหลักการอื่นๆที่เหลือทั้งหมด  สร้างคุณค่าสาหรับลูกค้า สังคม และเศรษฐกิจ  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ปฏิบัติงานด้วยความ เชื่อมั่นในตัวเอง และความสามารถที่มีอยู่อีกทั้ง ดารงไว้ และปรับปรุงทักษะต่างๆเพื่อสร้างคุณค่าให้เพิ่มขึ้น
  • 7. ความเชื่อ สรุปหลักการ 14 ข้อ หรือที่เรียกว่าวิถีแห่งโตโยต้า 14 ประการ สรุปหลักการ 14 ข้อ หรือที่เรียกว่าวิถีแห่งโตโยต้า 14 ประการ ซึ่งเกิดจากการศึกษาของคุณ Jeffrey K. liker, Ph.D. และผู้เขียนนามาสรุปอีกครั้งหนึ่งตามความเข้าใจ ของผู้เขียน โดยหลักการดังกล่าวประกอบ ไปด้วย 4 กลุ่ม และ 14 ข้อ ดังนี้ หลักการข้อที่ 3 ใช้ระบบ “ดึง” เพื่อหลีกเลี่ยงการผลิตมากเกินความต้องการ  มีการผลิตและส่งมอบให้แก่ผู้ที่รับงานต่อจากเรา ในกระบวนการผลิต (ซึ่งเราเปรียบพวกเขา เหล่านั้นเหมือนลูกค้าของเรา) ด้วยสิ่งที่เขาต้องการ ณ เวลาที่เขาต้องการ และในจานวนที่ต้องการ ในขณะที่มีการดาเนินการเสริมวัตถุดิบ ในปริมาณเท่ากับจุดเริ่มต้นก่อนการใช้งาน ซึ่งที่กล่าวมา เป็นหลักการพื้นฐานของระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time)  ลดงานระหว่างทาและในคลังสินค้าให้น้อยที่สุด โดยการสารองชิ้นงานแต่ละอย่างในจานวนน้อยๆ และตรวจตราบ่อยๆ เพื่อเติมส่วนที่พร่องไปจากการที่ลูกค้านาชิ้นงานนั้น ออกไปตามความเป็นจริง หลักการข้อที่ 4 ปรับเรียบการผลิต “Heijunka” (ทางานให้สม่าเสมอเหมือนกับเต่า มิใช่กระต่าย)  นอกจากการกาจัดความสูญเปล่า และการกาจัดภาวะงานล้นมือของคนและเครื่องจักรที่เป็นปัจจัยที่ ทาให้ ระบบลีนประสบความสาเร็จแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่มีความ สาคัญไม่แพ้กัน คือ การกาจัดความ ไม่เท่ากันในตารางการผลิตให้ราบเรียบเสมอกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสิ่งนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจ กันนัก สาหรับหลายบริษัทที่พยายามใช้ปฏิบัติการลีน  ทางานเพื่อปรับเรียบการผลิตและบริการให้เป็น ทางเลือกหนึ่งของแนวทาง “หยุดและเริ่ม” (Stop/Start) ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหาการผลิตแบบเป็นชุด (Batch) อันเป็นสิ่งที่กระทา ในบริษัทส่วนใหญ่ หลักการข้อที่ 7 ใช้การควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) เพื่อไม่ให้ปัญหาถูกซ่อนไว้  ใช้ตัวชี้วัดที่เห็นได้ง่าย เพื่อช่วยให้คนสามารถ ตัดสินใจได้ทันทีว่าการทางานอยู่ในสภาวะ มาตรฐานปกติ หรือเบี่ยงเบนจากมาตรฐานออกไป  หลีกเลี่ยงการใช้จอคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่มันอาจเบี่ยงเบนความสนใจของพนักงานออกจากงานที่ ปฏิบัติ  ออกแบบระบบที่เห็นได้ง่าย ณ สถานที่ทางาน เพื่อสนับสนุนการไหลของกระบวนการและระบบ การผลิตแบบดึง
  • 8.  พยายามลดรายงานให้อยู่ในกระดาษเพียงแผ่นเดียว เพื่อไม่ต้องเสียเวลามากและเข้าใจได้ทันที แม้กระทั่งรายงานที่มีความสาคัญที่สุดทางการเงิน หลักการข้อที่ 8 ใช้เทคโนโลยีที่เชื่อถือได้ และผ่านการตรวจสอบมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วเท่านั้น เพื่อ สนับสนุนคนและกระบวนการ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนบุคลากร มิใช่เพื่อแทนที่บุคลากร  บ่อยครั้งที่เทคโนโลยีใหม่ขาดความน่าเชื่อถือและยากที่จะทาให้เป็นมาตรฐานได้ อีกทั้งยังอาจทา ให้กระทบต่อการไหลของงานได้ กระบวนการที่ผ่านการตรวจสอบว่าดาเนินงานได้ตามปกตินั้น โดยทั่วไปแล้วเป็นสิ่งที่ควรเลือกมากกว่าเทคโนโลยีที่ใหม่และยังไม่ได้ผ่านการทดสอบ  ดาเนินการทดสอบจริงก่อนที่จะรับเอาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ ระบบการ ผลิต หรือ ผลิตภัณฑ์  ปฏิเสธ หรือดัดแปลงเทคโนโลยีที่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมองค์กร หรือส่งผลเสียต่อความมีเสถียรภาพ ความน่าเชื่อถือ  พยายามกระตุ้นให้บุคลากรพิจารณาเทคโนโลยีใหม่ เมื่อกาลังมองหาแนวทางใหม่ในการทางาน ให้ รีบนาเทคโนโลยีนั้นมาใช้ ถ้ามันได้ผ่านการพิสูจน์ในช่วงการทดลองแล้วว่า ช่วยปรับปรุงการไหล ของกระบวนการให้ดีขึ้น กลุ่มที่ 3 เพิ่มคุณค่าให้แก่องค์กร โดยการพัฒนาบุคลากร และพันธมิตร หลักการข้อที่ 9 ส่งเสริมผู้นาซึ่งมีความเข้าใจในการดาเนินงานโดยตลอด อีกทั้งซึมซับปรัชญาในการ ดาเนินงาน และสามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้  เน้นการสร้างผู้นาที่เติบโตมาจากองค์กรมากกว่า การเฟ้นหาจากภายนอกองค์กร  อย่ามองว่างานของผู้นาคือแค่การทาให้บรรลุหน้าที่ หรือเป็นคนที่มีทักษะในการจัดการบุคคลที่ดี แต่ผู้นาที่ดี จะต้องสะท้อนถึงปรัชญาและวิถีการทางานของบริษัทได้  ผู้นาที่ดีต้องเข้าใจในรายละเอียดของงานประจาวัน หากเป็นเช่นนั้นได้ จะสามารถเป็นครูที่ดีที่สุดที่ สามารถสะท้อนถึงปรัชญาและวิถีการทางานของบริษัทได้ หลักการข้อที่ 10 พัฒนาบุคลากรและทีมงานที่โดดเด่น ซึ่งเขาเหล่านั้นยึดถือปรัชญาของบริษัท  ต้องสร้างวัฒนธรรมที่เข้มแข็งมั่นคง ซึ่งประกอบด้วยค่านิยมและความเชื่อของบริษัทที่เกิดขึ้น ร่วมกันอย่างกว้างขวาง และได้บ่มเพาะมานานนับปี  ฝึกอบรมทีมงานที่มีความโดดเด่น เพื่อดาเนินการ ตามปรัชญาของบริษัทให้บรรลุผลอันยอดเยี่ยม รวมถึง ทางานหนักเพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
  • 9.  ใช้ทีมงานต่างสายงานกันเพื่อปรับปรุงคุณภาพและผลิตภาพ อีกทั้งยกระดับการไหลของ กระบวนการโดยการ แก้ปัญหายากๆ ทางเทคนิค  สร้างความพยายามอย่างต่อเนื่องในการสอนบุคลากรให้เรียนรู้ถึงการทางานเป็นทีมเพื่อบรรลุ เป้าหมายร่วมกัน การทางานเป็นทีมเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ หลักการข้อที่ 11 ให้ความใส่ใจต่อพันธมิตรและผู้จัดส่งวัตถุดิบของบริษัท โดยชักจูงและช่วยเหลือพวก เขาในการ ปรับปรุง  เอาใจใส่พันธมิตรและผู้จัดส่งวัตถุดิบ โดยปฏิบัติ กับพวกเขาเสมือนเป็นธุรกิจของคุณที่ขยาย ออกไป  ชักจูงพันธมิตรภายนอกองค์กรให้พัฒนาและเติบโตไปข้างหน้าด้วยกัน ช่วยตั้งเป้าหมายที่ท้าทายให้ และช่วย ให้พันธมิตรสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็น การแสดงให้เห็นว่าเขามี ความสาคัญต่อบริษัทของเรามาก เพียงใด กลุ่มที่ 4 การแก้ไขปัญหารากเหง้าอย่างต่อเนื่อง ช่วยผลักดันให้เกิดการเรียนรู้ขององค์กร หลักการข้อที่ 12 ลงไปคลุกคลีกับปัญหาด้วยตนเอง เพื่อทาความเข้าใจกับสถานการณ์อย่างถ่องแท้ (Genchi Genbutsu)  แก้ปัญหาและปรับปรุงกระบวนการโดยไปที่แหล่งกาเนิดของปัญหา พยายามสังเกตและตรวจสอบ ข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งจะเกิดผลดีมากกว่าการสร้างทฤษฎี โดยมีพื้นฐาน จากสิ่งที่ผู้อื่นหรือ คอมพิวเตอร์บอกคุณ  คิดและพูดถึงสิ่งต่างๆ โดยมีพื้นฐานมาจากข้อมูล ที่พิสูจน์แล้วด้วยตนเอง  แม้จะเป็นผู้บริหารระดับสูงแค่ไหนก็ต้องเข้าไปสัมผัสปัญหาด้วยตนเองจะเข้าใจสถานการณ์ได้ อย่างแจ่มแจ้ง หลักการข้อที่ 13 ตัดสินใจอย่างรอบคอบด้วยฉันทามติ พิจารณาให้รอบคอบถึงทางเลือกทั้งหมดที่มีอยู่ และดาเนินการในสิ่งที่ตัดสินใจแล้วอย่างรวดเร็ว (Nemawashi)  อย่ามองเพียงมุมเดียวจนกว่าจะพิจารณาตัวเลือก หรือมุมอื่นๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ก่อน เมื่อเลือกได้แล้ว ต้อง ดาเนินการอย่างรวดเร็วด้วยความระมัดระวัง  Nemawashi เป็นกระบวนการอภิปรายเกี่ยวกับปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นไปได้ พร้อมกับผลที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดจากการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมี จุดประสงค์เพื่อรวบรวมความคิด ต่างๆ และหารือข้อตกลง เกี่ยวกับการดาเนินกระบวนการโดยการจัดประชุมเพื่อหาฉันทามติ ถึงแม้ว่าจะกินเวลาบ้างพอสมควร แต่ก็ช่วยเปิด มุมมองให้กว้างขึ้นในการค้นหาวิธีการแก้ปัญหา และเมื่อได้ตัดสินใจแล้วจะต้องนาไปใช้ปฏิบัติอย่างทันท่วงที
  • 10. หลักการข้อที่ 14 พัฒนาเพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการ เรียนรู้ โดยผ่านการพิจารณาอย่างไม่รู้จบ (Hansei) และ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen)  เมื่อมีกระบวนการที่เสถียรแล้ว ให้ใช้เครื่องมือ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาสาเหตุรากเหง้าของ ความไม่มีประสิทธิภาพ และประยุกต์ใช้ทางแก้อย่างมีประสิทธิผล  ออกแบบกระบวนการต่างๆ โดยแทบจะไม่ต้องมี พัสดุคงคลัง ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นเวลาและ ทรัพยากร ที่สูญเปล่าทั้งหมด เมื่อพบความสูญเปล่าให้พนักงานใช้กระบวนการปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่อง (Kaizen) เพื่อกาจัด ความสูญเปล่านั้น  ปกป้องฐานความรู้ขององค์กร โดยการพัฒนาบุคลากรให้มั่นคงกับองค์กร กาหนดให้มีการเลื่อน ตาแหน่งอย่างช้าๆ และสร้างระบบการสืบทอดตาแหน่งอย่างรอบคอบให้มาก  ใช้ Hansei (ภาพสะท้อน) ในแต่ละช่วงของการดาเนินงานและหลังจากจบโครงการเพื่อบ่งชี้ถึง ข้อบกพร่องและจุดอ่อนของโครงการอย่างเปิดกว้าง พัฒนาแนวทางแก้ไขเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ ข้อผิดพลาดเดิมๆ เกิดซ้าอีก  เรียนรู้โดยการสร้างมาตรฐานวิธีปฏิบัติงานที่ดีที่สุด ซึ่งมีความเหมาะสมมากกว่าการคิดค้นแนวทาง ใหม่ในทุกครั้งที่ขึ้นโครงการใหม่ หรือเปลี่ยนผู้จัดการใหม่  จากหลักการทั้ง 14 ข้อที่กล่าวมา ผู้เขียนเห็นว่า ถ้าผู้อ่านที่เป็นผู้ประกอบการโดยเฉพาะ ผู้ประกอบการ ด้านยานยนต์และชิ้นส่วนนาไปประยุกต์ใช้กับบริษัทของท่านตามวิถีทางและ วัฒนธรรมองค์กรของบริษัทท่านเองแล้ว ก็จะทาให้เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนให้บริษัท ของท่านไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนต่อไป และเมื่ออุตสาหกรรมยาน ยนต์และชิ้นส่วน ในประเทศมีการพัฒนาเป็นลาดับแล้ว ก็จะทาให้เราก้าว เข้าสู่การเป็น Detroit of Asia ได้อย่างแน่นอน วัฒนธรรม  หยุดทันทีเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพ  คุณภาพสาหรับลูกค้าผลักดันสู่การนาเสนอคุณค่าของบริษัท  ใช้วิธีการประกันคุณภาพสมัยใหม่ทั้งหมดที่มีอยู่  สร้างอุปกรณ์ที่มีความสามารถของการตรวจจับปัญหา และหยุดปัญหาได้ด้วยตนเอง พัฒนาระบบ แสดงผล การดาเนินงานเพื่อแจ้งเตือนให้ทีมงานหรือผู้นาทราบว่าต้องเข้าไปตรวจสอบแก้ไข เครื่องจักรหรือกระบวนการในจุดใดๆ “Jidoka” ซึ่งเป็นพื้นฐานของ Built-in Quality  สร้างระบบสนับสนุนของการหยุด หรือผ่อนการผลิตให้ช้าลงเพื่อให้ได้คุณภาพที่ถูกต้องตั้งแต่ครั้ง แรก เพื่อยกระดับผลิตผลในระยะยาว
  • 11. ค่านิยมหรือวิถีองค์กร ส่วนหัวใจหลักที่จัดเป็น DNA หรือสายเลือดพนักงานโตโยต้าทุกคน คือ วิถีแห่งโตโยต้า (Toyota Way) เป็นเสมือนคู่มือกากับการทางานของพนักงานโตโยต้าทุกคน ประธาน Toyota Motor Corp. คนก่อนคือ Mr. Fujio Cho ได้ประกาศ The Toyota Way 2001 เพื่อให้เป็นแนวทางร่วมกันของ บริษัทในเครือโตโยต้าทั้งหมด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของคาว่า Toyota Way โดย Mr. Fujio Cho กล่าวว่าที่ต้องนา Toyota Way มาพูดอย่างเป็นทางการเพราะบริษัทได้เติบโตมากจนกลายเป็นองค์กรระดับโลก ซึ่งมีบริษัทใน เครือมากในหลายประเทศที่มีความหลากหลายวัฒนธรรม เดิมปรัชญาพื้นฐานการทางานมีจุดเริ่มต้นจาก บริษัทแม่ในญี่ปุ่นที่เกิดจากการทางานจริงและถ่ายทอดสู่รุ่นต่อรุ่นที่มีความใกล้ชิดระหว่างพนักงานกับ ผู้บริหาร แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอาจมีความเบี่ยงเบน ทาให้ต้องกาหนดแนวทางให้ชัดเจนและ แจ้งเป็นทางการไปยังพนักงานทุกคนเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรโตโยต้าทั่วโลกภายใต้วิถีแห่งโตโยต้า ซึ่ง ใช้เป็นแบบแผนร่วมกัน อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่ Mr. Fujio Cho เน้นย้าคือ Toyota Way ไม่ใช่แนวทางแบบ ญี่ปุ่น (Japanese Way) แต่เป็นพื้นฐานที่ใช้กับโตโยต้าทั่วโลกซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เสาหลัก สนับสนุนวิถีแห่งโตโยต้าประกอบด้วย 2 เสาหลัก คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) และความยอมรับผู้อื่น (Respect for People) เสาหลักทั้งสองเกื้อหนุนกันตลอดเวลา คาว่า “มนุษย์” ในเสาหลักต้นที่สองหมายถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ พนักงาน ผู้ส่งมอบ และลูกค้า ดังนั้นหลักพื้นฐานข้อที่หนึ่งของโตโยต้าที่ว่าลูกค้าต้องมาก่อน (Customer First) ไม่ได้หมายความเพียงแค่ ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพนักงานในกระบวนการทางานถัดไปซึ่งเป็นผู้ใช้ข้อมูล ชิ้นงาน หรือผลิตผลด้วย หัวใจของ “วิถีแห่งโตโยต้า” คือ ความไม่พึงพอใจกับสิ่งที่ดารงอยู่ บุคลากรของโตโยต้า ต้องถามตัวเองเสมอว่า เหตุใดเราจึงทาแบบนี้ ยังมีวิธีการอื่นที่ดีกว่านี้หรือไม่ พนักงานที่มีความเชื่อวิถีแห่ง โตโยต้าในสายเลือดจะพยายามทางานด้วยความระมัดระวังและวิเคราะห์คุณภาพงานอย่างต่อเนื่องเพื่อมิให้
  • 12. งานในกระบวนการถัดไปเกิดความผิดพลาด การวิเคราะห์คุณภาพงานจะนาไปสู่การปรับปรุงงานทีละเล็กที ละน้อยอย่างต่อเนื่องที่เป็นเสาหลักต้นหนึ่งของโตโยต้า แต่ข้อที่น่าสังเกตเสาหลักที่ 1 เน้นการปรับปรุงพัฒนางานด้วยความคิดที่ไม่เคยพอใจกับสภาพ ปัจจุบันและแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าตลอดเวลา ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และทุ่มเทความพยายาม ขณะเสาหลักที่ 2 กล่าวถึง “คน” หรือพนักงาน มาจากความเชื่อว่า ความสาเร็จในธุรกิจนั้นเกิดจากการสร้างสรรค์ของ พนักงานแต่ละคน และเมื่อรวมตัวกันขึ้นมาเป็นทีมที่เข้มแข็งจะยิ่งมีพลังมากขึ้น สองเสาหลักดังกล่าวยัง แบ่งย่อยเป็นความท้าทาย (Challenge) ไคเซ็น (Kaizen) การสารวจปัญหาด้วยข้อเท็จจริงในพื้นที่ทางาน (Genba Genbutsu) ความยอมรับนับถือ (Respect) และทางานเป็นทีม(Teamwork) Big Idea ผู้ผลิตรถยนต์ที่มียอดจาหน่ายสูงสุดในโลกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2557 แถลงแผนงานประจาปี 2556 Toyota คาดการณ์ตลาดรถยนต์โดยรวมในประเทศไทยปี พ.ศ. 2556 จะมียอดจาหน่ายมากกว่า 1.2 ล้านคัน โดยตั้งเป้าหมายการเติบโตที่ 500,000 คัน ส่วนยอดขายปี 2555 รวมทั้งสิ้น 1,436,335 คัน เพิ่ม 80.9%... เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota Motor Thailand co,ltd. แถลงข่าวต่อ สื่อมวลชนถึงสถิติการจาหน่ายรถยนต์ในปี พ.ศ.2555 คาดการณ์ตลาดรถยนต์ในไทยของปีนี้ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2556 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมโอกุระ กรุงเทพมหานคร สาหรับยอดขายรถยนต์ในปี 2555 ได้สร้างสถิติใหม่ของยอดขายรถยนต์ในประเทศไทย ด้วยตัว เลขที่สูงถึง 1,436,335 คัน สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ยอดขายรถยนต์ของไทย ทั้งนี้ ความต้องการของตลาด
  • 13. รถยนต์ในประเทศที่สูงขึ้นมากในปีที่ผ่านมา (2555) เป็นผลที่เกิดจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก การกระตุ้นของรัฐ รวมถึงโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาลที่ช่วยกระตุ้นยอดขายรถยนต์ให้ทะลุเพดาน ด้วยตัวเลข 1.4 ล้านคัน ตามด้วยความต้องการสะสมอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติในช่วงปลายปี 2554 จากสาเหตุน้าท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย ประกอบกับกาลังของการผลิตใน ประเทศที่เพิ่มขึ้น ทาให้ค่ายรถยนต์ต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดีขึ้น สาหรับตัวเลขสถิติยอดขายรถยนต์ในปี 2555 มีดังนี้ ปริมาณการขายรวม...........................................1,436,335 คัน เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2554 +80.9% รถยนต์นั่ง.............................................................672,460 คัน เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2554 +86.6% รถยนต์พาณิชย์.....................................................763,875 คัน เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2554 +72.2% รถกระบะขนาด 1 ตันรวมรถดัดแปลง.................666,106 คัน เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2554 +82.2% รถกระบะขนาด 1 ตัน ไม่รวมรถดัดแปลง............592,725 คัน เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2554 +81.0% โดย Toyota มียอดขายรวม 516,086 คัน เพิ่มขึ้น 77.9% แบ่งออกเป็นรถยนต์นั่ง 224,816 คัน เพิ่มขึ้น 62.8% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 294,270 คัน เพิ่มขึ้น 91.1% และรถยนต์กระบะขนาด 1 ตัน รวมรถยนต์ กระบะดัดแปลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 269,772 คัน เพิ่มขึ้น 99.8% สถิติการขายรถยนต์ของ Toyota ในปี พศ 2555 ปริมาณการขายรวม.............................................516,086 คัน เพิ่มขึ้น 77.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.9% รถยนต์นั่ง.............................................................224,816 คัน เพิ่มขึ้น 62.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.4% รถเพื่อการพาณิชย์.................................................291,270 คัน เพิ่มขึ้น 91.7% ส่วนแบ่งตลาด 38.1% รถกระบะขนาด 1 ตันรวมรถดัดแปลง..................269,772 คัน เพิ่มขึ้น 99.8% ส่วนแบ่งตลาด 40.5% รถกระบะขนาด 1 ตันไม่รวมรถดัดแปลง.............233,393 คัน เพิ่มขึ้น 91.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.4% ในด้านการส่งออกรถยนต์ไปขายยังต่างประเทศของปี พ.ศ. 2555 บริษัท Toyota ได้ส่งออกรถยนต์ สาเร็จรูปจานวนทั้งสิ้น 405,892 คัน เพิ่มขึ้น 61.8% คิดเป็นมูลค่า 179,572 ล้านบาท รวมถึงการส่งออก ชิ้นส่วนมูลค่า 63,023 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าส่งออกที่นารายได้กลับสู่ประเทศไทยเป็นเงินทั้งสิ้น 242,595 ล้านบาท สาหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ในประเทศไทยของปี 2556 เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota Motor Thailand กล่าวว่า แนวโน้มตลาดรถยนต์ในปี พ.ศ. 2556 ของประเทศไทยนั้น คาดว่า จะมียอดรวมทั้งหมดมากกว่า 1,200,000 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 10% โดย Toyota ตั้งเป้าหมาย ของยอดขายรวมในปีนี้ (2556) ไวที่ 5 แสนคัน สาหรับยอดขายภายในประเทศ และ 4 แสนคันสาหรับ รถยนต์สาเร็จรูปที่จะทาการส่งออกไปขายทั่วโลก
  • 14. การก้าวเข้าสู่ปีที่ 51 ของการประกอบการในประเทศไทย บริษัท Toyota มีโครงการร่วมส่งความสุข หรือ Mobility Of Happiness ให้กับลูกค้าและสังคมไทย และเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตลาดรถยนต์ ภายในประเทศ ส่วนการขยายกิจการเพื่อรองรับการเติบโตในโครงการ TAW ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงต้นปีที่ ผ่านมาเพื่อดาเนินการผลิตยานยนต์รุ่นใหม่ๆ ในประเทศ รวมถึงการตั้งฐานการผลิตยนตรกรรม Hybrid ในปี ที่ผ่านมา และโรงงานของ Toyota ที่เกตเวย์สอง เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ของ Toyota ในไตรมาตรที่ 3 ส่วนนวัตกรรมยานยนต์ใหม่ของปี 2556 ค่าย Toyota จะเปิดตัวรถยนต์ราคาประหยัดแบบ ECO CAR รวมถึง Toyota Smart G Book แบบสามมิติที่ให้ความชัดเจนและมีความสมบูรณ์แบบของการใช้งานมาก ยิ่งขึ้น และเพื่อรองรับการเติบโตของยอดขายที่เพิ่มขึ้น การให้บริการต่อลูกค้าที่มีจานวนเพิ่มมากขึ้น Toyota จะเพิ่มโชว์รูมจากจานวน 350 แห่งทั่วประเทศ เป็น 400 แห่งภายในปี 2556 นี้ รวมถึงการขยายโชว์รูมรถ ยนต์มือสองหรือ Toyota Sure เพิ่มอีก 5 แห่งเป็น 100 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ Toyota ยังมีการถ่ายทอด องค์ความรู้ต่างๆ รวมถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน เพื่อสร้างมาตรฐานที่ดีในการผลิตรถยนต์ที่ เน้นในเรื่องของการลดการปล่อยมลพิษ ทั้งหมดนี้ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของสังคมไทยต่อไป เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota Motor Thailand เนื่องจากปีนี้เป็นปีสิ้นสุดโครงการรถยนต์คันแรกของรัฐบาลซึ่งอาจทาให้ยอดขายโดยรวมลดลง 10% แต่ไลน์การผลิตภายในโรงงานประกอบรถยนต์ของ Toyota สาหรับการส่งออกยังคงเดิมหรืออาจดีขึ้น กว่าปีที่ผ่านมา เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota Motor Thailand ให้ความคิดเห็นต่อ ผู้สื่อข่าวว่า สายการผลิตอาจไม่ลดลงมากนักและอาจรักษาตัวเลขไม่ให้ตกลงไปมากกว่าตัวเลขเดิม ของปี 2555 สาหรับงบลงทุนของปี 2556 อยู่ที่ 12,000 ล้านบาท โรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ที่จะ เสร็จลงในช่วงกลางปี 2556 และโรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่ในประเทศอินโดนีเซียถือเป็นการขยาย ฐานการผลิต ของ Toyota ที่จะเข้ามาช่วยเสริมกาลังการผลิตให้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มี ความ แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น การสร้างโรงงานแห่งใหม่ของ Toyota Motor ในทวีปเอเชียจะเกิดขึ้นเพียงแค่ 2 แห่ง เท่านั้นในปี 2556 นี้ วีเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota Motor Thailand ย้อนกลับไปในปี 2553 ยอดขายรวมของรถยนต์ประมาณ 800,000 คัน ในขณะที่ปี 2554 ถึงแม้จะ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสภาวะน้าท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย แต่ยอดขายรวมของรถยนต์ก็ยังคง อยู่ในระดับ 794,000 คัน และหากไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ยอดขายรถยนต์คงจะพุ่งสูงถึง 1 ล้านคันอย่าง แน่นอน วีเชียร เอมประเสริฐสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Toyota Motor Thailand co,ltd.แถลงต่อ ผู้สื่อข่าวว่า กรณีรถยนต์ New Vios 2013 นั้น มียอดจองทั้งหมด 11,000 คัน เป็นการจองที่ถูกต้องตาม
  • 15. ขั้นตอนและกฎเกณฑ์ของกรมสรรพสามิตทุกประการ ขณะเดียวกันรถ New Vios ที่เปิดใช้สิทธิ์การจองใน โครงการรถยนต์คันแรก (สิ้นสุดลงแล้ว) จะเริ่มต้นเดินสายการผลิตในเดือนมีนาคมนี้ แต่ในความเป็นจริง นั้น รถ New Vios ได้เริ่มต้นผลิตออกมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2555 แล้ว รวมถึงการทดสอบ ต่างๆ เพื่อให้ทันต่อการจองรถยนต์ในโครงการรถคันแรกของเดือนสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นสุดโครงการลง วี เชียร เอมประเสริฐสุข แจ้งว่ารถ New Vios 2013 โมเดลใหม่ล่าสุดนั้น มีการจัดจาหน่ายให้กับลูกค้าเฉพาะ กลุ่ม มีการเสียภาษีถูกต้อง กรมสรรพสามิตจึงได้อนุญาตให้บริษัท Toyota เปิดทาการรับจองจากลูกค้าได้ เพราะบางดีลเลอร์ของ Toyota นั้น รถ Viosโมเดลปัจจุบันไม่มีจาหน่ายให้กับลูกค้าอีกแล้วเนื่องจากรถหมด จึงจาเป็นต้องเปิดจองตัวรถรุ่นใหม่แล้วให้ลูกค้ารออีกสองถึงสามเดือนหลังจาก โมเดลปัจจุบันปิด สายการผลิตลงเรียบร้อย สาหรับแผนการผลิต ECO CAR ในโรงงานเกตเวย์แห่งที่สองของ Toyota ตัวเลขที่ ชัดเจนสาหรับสายการผลิต ECO CAR ของ Toyota ยังคงไม่สามารถตอบได้และอยู่ในขั้นตอนของการ ประเมินกับกลุ่มผู้บริหาร เพื่อให้ปริมาณการผลิตรถยนต์ Toyota มีความสมดุลกันกับรถยนต์นั่งรุ่นอื่นๆ ของ บริษัท ทั้งการผลิตขายในประเทศกับการส่งออกไปขายต่อยัง ต่างประเทศ สาหรับการผลิตรถยนต์ Vios ในโมเดลปัจจุบัน บริษัทฯ สามารถผลิตได้เดือนละ 10,000 คัน สาหรับตลาดในประเทศ ซึ่งในขณะนี้รถ Vios โฉมปัจจุบันมียอดจองค้างอยู่อีกสามเดือน นินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานบริหาร บริษัท Toyota Motor Thailand นินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานบริหาร บริษัท Toyota Motor Thailand co,ltd. แถลงต่อ ผู้สื่อข่าวว่า Toyota Motor เห็นด้วยกับการปรับโครงสร้างของภาษีรถยนต์ใหม่โดยใช้การปล่อย CO2 เป็น มาตรฐานในการกาหนดอัตราภาษี ส่วนระยะเวลาที่รัฐบาลได้ประกาศให้เวลา 3 ปี ในการปรับตัวของค่าย รถยนต์นั้นอาจน้อยเกินไป ผู้บริหารของค่ายรถส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่า บริษัทผู้ผลิตรถยนต์บางราย มีความพร้อมที่จะปรับตัวเองแต่ขอยืดระยะเวลาออกไป อีกเล็กน้อยเพื่อการปรับปรุงระบบเครื่องยนต์ให้ ปล่อยของเสียน้อยลง เพื่อจะช่วยลดมลพิษที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของรถยนต์จานวนมหาศาลที่ออกสู่ ท้อง ถนน เนื่องจากวงจรของการเปลี่ยนโมเดลในแต่ละรุ่นจะอยู่ที่ 4-5 ปี โดยเฉลี่ย วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท Toyota Motor Thailand co,ltd.แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า สาหรับ Social Innovation ของ Toyota นั้น เป็นการขับเคลื่อนความสุขให้กับ สังคมส่วนรวมของประเทศไทย Toyota Motor มองว่าสิ่งที่เป็นความรู้และประสบการณ์ของค่ายสามห่วงจะ เป็นประโยชน์ต่อการ ช่วยพัฒนาชุมชนท้องถิ่นต่างๆ เช่นขีดความสามารถในการทากิจกรรมที่มีประโยชน์ ต่อสังคมโดยรวมที่ Toyota ปฏิบัติมาเป็นระยะเวลานานหลายปีแล้ว จะช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต
  • 16. ของชุมชนนั้นๆ ให้ดารงอยู่ต่อไป รวมถึงการช่วยสร้างเสริมธุรกิจท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง เพื่อที่จะสร้าง ความมั่นคงและมั่งคั่งกลับไปสู่ผู้คนในชุมชนนั้นๆ ต่อไป ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจากเงินทุนที่ไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกทาให้ทั้ง สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกายังคงเปราะบาง และยังคงต้องใช้ระยะเวลาในการพื้นตัวพอสมควร บริษัท Toyota จะต้องสร้างแนวคิดการทางานใหม่ๆ ให้กับซัพพลายเออร์และพนักงานของ Toyota เอง เพื่อปรับตัว เองให้ก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่ของหลักการทางานในการผลิตยานยนต์ เพื่อดารงความเป็นผู้นาด้านยนตร กรรม ส่วนผลกระทบของค่าแรงขั้นต่าจานวน 300 บาท ที่มีต่อบริษัทซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนราย ย่อยที่ส่งชิ้นส่วน อะไหล่ให้กับ Toyota นั้น ทางโรงงานของค่ายสามห่วงใด้มีแผนงานที่จะรองรับการขึ้น ค่าแรงขั้นต่าเอาไว้ ตั้งแต่เดือนเมษายนของปีที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น ระยะเวลาของการผลิตรถยนต์หนึ่งคัน ซึ่งแต่ก่อนใช้เวลาตามที่กาหนด ระยะเวลาดัวกล่าวจะถูกปรับให้มีความสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของบริษัทที่ เพิ่ม มากขึ้นด้วยการลดเวลาการประกอบให้น้อยลงไปอีก บริษัทซัพพลายเออร์หรือผู้ผลิตชิ้นส่วนรายย่อยที่ เริ่มได้รับผลกระทบจากนโยบายดังกล่าว ทาง Toyota ได้มีการให้แนวทางของการทางานด้วยการผลิต ชิ้นส่วนให้มีคุณภาพสูงมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ให้มี ความก้าวหน้า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าไปในตัว การเพิ่มค่าแรงจะต้องมีการปรับตัวด้วยการนาเอาเครื่องจักร ที่มีความทันสมัยเข้ามาใช้งาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรให้มีฝีมือด้านแรงงานที่สูงขึ้น ในระยะสั้นๆ นั้นอาจส่งผลกระทบบ้าง แต่ในระยะยาวจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันและมีพัฒนาการที่ดี ขึ้น สาหรับ ในปี 2556 นั้น Toyota จะตอบแทนลูกค้าด้วยคอนเซปต์ Mobility Of Happiness เพื่อแสดง ความขอบคุณต่อลูกค้าที่ให้การสนับสนุนตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา เป็นการส่งมอบความสุขเพื่อก้าวสู่ อนาคตที่สดใส toyota จึงจัดแคมเปญขอบคุณลูกค้า Toyota มอบของขวัญแทนคาขอบคุณ กับลูกค้าที่จองซื้อ รถยนต์ Toyota โดยมีรายละเอียดดังนี้ Samsung GALAXY Tab ขนาด 7.0 นิ้ว สิทธิ์ในการใช้บริการ Toyota Smart G-Book เวอร์ชั่นใหม่ พร้อมแผนที่สามมิติ เป็นระยะเวลานาน 1 ปี แอพ Toyota Smart G-Book ครอบคลุมบริการต่างๆ เช่น บริการค้นหาจุดหมายปลายทางโดยโอเปอร์เรเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมง ระบบนาทางอัจฉริยะหลีกเลี่ยงรถติดด้วยข้อมูลสภาพการจราจรล่าสุดแบบ Real Time บริการติดต่อให้ความช่วยเหลือบนท้องถนนและช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน สาหรับลูกค้าที่จองและรับรถตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2556 รุ่นรถที่ได้รับสิทธิ์ จานวน 10 รุ่น
  • 17. -Toyota Camry -Toyota Prius -Toyota Prius C -Toyota Corolla Altis (Auto) -Toyota Vios รุ่นปรับปรุงโฉมปี 2553 -Toyota Yaris -Toyota Avanza -Toyota Innova -Toyota Alphard -Toyota GT86 การวิเคราะห์ด้วยหลัก 4 P Product (ผลิตภัณฑ์) 1. ตัว สินค้า คือ รถยนต์ยี่ห้อ TOYOTA เป็นรถยนต์ที่มีราคาไม่สูงมากนัก เพียบพร้อมทั้งการออกแบบ ที่สวยงามกว่ารุ่นก่อนๆที่เคยได้ผลิตออกมาและด้วย ตราสินค้าที่มีมานานแล้วจะทาให้ความน่าเชื่อถือของ สินค้ามีมากตามไปด้วย การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวสินค้าสร้างการจดจาได้ง่ายขึ้น 2. ประ สิทธิภาพสาหรับรถยนต์ของToyotaนี้มีประสิทธิภาพในการใช้งานค่อนข้างเหมาะสม กับราคา ที่ไม่สูงมากนัก และถ้านามาเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่นเล็กของยี่ห้ออื่นๆ ประสิทธิภาพก็ไม่ต่างกันมากนัก 3. ความ ทนทานด้วยตัวสินค้านั้นเป็นรถยนต์ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นในเรื่องของความ แข็งแรงของ ตัวรถนั้น คงไม่สามารถเปรียบเทียบกับรถที่ผลิตจากแทบยุโรปได้ แต่ถึงตัวรถจะไม่แข็งแรงมากนัก แต่ ระบบรักษาความปลอดภัยภายในรถก็ยังคอยสนับสนุนลูกค้าได้อย่างดี และเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์รุ่น เล็กในยี่ห้ออื่น ในเรื่องความทนทานของอะไหล่หรือตัวรถนั้นก็ไม่มีความแตกต่างกัน แต่อะไหล่ของ TOYOTA นั้นจะมีราคาที่ถูกกว่ายี่ห้ออื่นๆ ซึ่งเป็นจุดที่ได้เปรียบกว่ารถยนต์ยี่ห้ออื่นๆ 4. รูป แบบสินค้า รถยนต์ TOYOTA นี้ ได้ออกแบบใหม่ให้รูปร่างดูทันสมัยมากขึ้นกว่ารุ่นก่อน ซึ่ง เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า และด้วยรูปลักษณ์ที่ดูแปลกตาออกไปก็ได้ช่วยสร้างการจดจาในตัวสินค้าได้เป็น อย่างดีซึ่งทางด้านคู่แข่งก็ได้ผลิตรถยนต์ที่มีรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยออกมา แข่งขันด้วยเช่นกัน 5. ความ สามรถในการอัพเกรดในการเพิ่มประสิทธิภาพของรถยนต์นั้นก็สามารถทาได้ อย่างกว้าง ขว้าง มีอะไหล่ที่รองรับความต้องการในการปรับแต่งรถยนต์มากมาย ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพของ รถยนต์ นั้นจะช่วยทาให้รถยนต์นั้นมีสมรรถนะดีขึ้นอีกด้วย
  • 18. 6. ความ ช่วยเหลือทางเทคนิคการใช้งานของสินค้านั้นไม่ยากเพราะด้วยระบบเกียร์ออโต้ ที่นิยมใช้กัน ในสมัยนี้ ทาให้การขับขี่รถยนต์เป็นไปได้อย่างไม่ยากลาบาก และทางด้านศูนย์บริการก็มีกระจายอยู่ทั่วไป สามารถหาได้ง่ายและมีจานวนมาก 7. การ ติดตั้งในส่วนของการติดตั้งนั้น ได้ทาการประกอบมาตั้งแต่ศูนย์ผลิตแล้ว ซึ่งพร้อมให้ลูกค้าได้ ใช้งานได้โดยทันทีหลังจากที่ซื้อสินค้าแล้ว แต่ในส่วนของการติดตั้งอะไหล่ที่ได้ปรับเปลี่ยนภายหลังนั้น จะต้องทาโดยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น Price (ราคา) 1. ทาง ด้านราคามีราคาที่ไม่สูงมากซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งด้วยกันแล้วจะมี ราคาที่ต่ากว่า ซึ่งจะ ช่วยทาให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมีการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นด้วยเนื่อง จากกลุ่มเป้าหมายนั้นให้ความสาคัญกับราคา ด้วยและด้วยราคาของสินค้าในขณะนี้ นั้นเหมาะสมกับ Product Life Cycle (วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ) ในขณะนี้ 2. การตั้งราคาสินค้าตั้งตาม Product Line Place Place ( สถานที่) การ จัดจาหน่ายสินค้านั้นก็จะมีจาหน่ายทั่วไปตามโชว์รูมของ TOYOTA ซึ่งในปัจจุบันมีโชว์รูมเกิด ขึ้นมามากมาย เพื่อทาให้ลูกค้าเกิดความสะดวกสบายมากที่สุดในการที่จะไปติดต่อสอบถามหรือ บริโภค สินค้า มีการใช้กลยุทธ์เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาติดต่อหาข้อมูลที่โชว์รูม โดยใช้โฆษณาเป็นสื่อในการส่ง ข่าวสารรูปแบบการจัดจาหน่ายนั้น ก็จะเริ่มต้นที่ผู้ผลิตซึ่งผลิตมาจากโรงงาน แล้วจากนั้นจะส่งสินค้ามาตาม ตัวแทนจาหน่ายต่างๆ (Show Room) จากนั้นก็ติดต่อซื้อขายกับผู้บริโภค Promotion (การส่งเสริมการตลาด) 1. สื่อ ที่ใช้ในการโฆษณาเป็นสื่อหลักคือโทรทัศน์เพราะว่าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ ง่าย และ สามารถกระตุ่นความสนใจและความต้องการได้ด้วยการใช้ภาพและเสียง และสื่อเสริมจะเป็นพวกนิตยสาร ต่าง ๆ ซึ่งภายในนิตยสารนั้นจะให้รายละเอียดต่างๆไว้มากกว่าในโทรทัศน์เพื่อที่จะ ให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ ข่าวสารอย่างเพียงพอแก่ความต้องการแต่สื่อที่น่า จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด คือ สื่อโทรทัศน์เพราะว่า ในยุคปัจจุบันนี้โทรทัศน์นั้นเป็นสิ่งที่จาเป็นของ ทุกๆครอบครัว และการใช้สื่อประเภทนี้เข้าไปทาการ โฆษณาจะช่วยได้มาในเรื่องของการสร้างภาพ ลักษณ์ การทาให้เกิดการจดจา 2. จุด ขายที่ใช้ในปัจจุบัน TOYOTA จะเน้นในเรื่องของการออกแบบรูปทรงของตัวรถยนต์ที่ดู ทันสมัยมากขึ้น ซึ่งในจุดเด่นตรงนี้ก็ยังสามารถนาไปใช้เป็นจุดขายต่อๆ ไปในอนาคตได้ เพราะ ส่วนมาก แล้วผู้บริโภคค่อนข้างที่จะให้ความสาคัญต่อรูปร่างของผลิตภัณฑ์ ประเภทรถยนต์ 3. จุด เด่นของสินค้าเป็นเรื่องของรูปลักษณ์ที่ดูทันสมัยมากขึ้นซึ่งเหมาะสมกับสภาพ สังคมในปัจจุบัน และในการที่จะใช้จุดเด่นนี้มาใช้ในการโฆษณานั้น เราก็จาเป็นที่จะต้องทาโฆษณาโดยดึงเอาการออกแบบ หรือทาให้ผู้บริโภคได้เห็นรูปร่างของรถยนต์สวยงาม นั้นเพื่อที่จะช่วยในการสร้างภาพลักษณ์และการจดจา ที่ดีขึ้น
  • 19. 4. ภาพ ลักษณ์ของสินค้าเป็นสินค้าที่ได้รับความน่าเชื่อถือได้รับความไว้วางใจจาก ผู้บริโภคเพราะ Brand หรือ ตราสินค้านั้นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จึงทาให้เกิดความจดจา และยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ไป ด้วย 5. Positioning การจัดตาแหน่งของสินค้าคือ แนวคิดในการบริการที่ "พร้อมจะมอบความพอใจสูงสุด ให้กับลูกค้าโดยประกันการสร้างคุณภาพในทุกกระบวน การ"ผสานกับความมุ่งมั่นของเหล่าพนักงานโต โยต้าคือเบื้องหลังความสาเร็จของ โตโยต้า ที่ผลักดันให้บริษัทฯ ครองความเป็นอันดับหนึ่งของผู้ผลิต รถยนต์ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง
  • 20. 3. โ ลูชั่น-การป ิบัติการ โ ลูชั่น แนวทางการดาเนินกิจกรรม แนวทางการใช้ทรัพยากร การวัดความสาเรจ 1. กระบวนการผลิต - การทา ISO เพื่อควบคุมคุณภาพ ของกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน - มีการตรวจสอบคุณภาพการผลิตทุก กระบวนการ - อัตราการผลิตที่สูงขึ้น และมี ประสิทธิภาพมากขึ้น 2. การพัฒนาบุคคลากร - คัดเลือกบุคคลกรที่มี ความสามารถและมีคุณภาพตรง กับมาตรฐานที่กาหนด - การฝึกอบรมเละพัฒนาคุณภาพงาน - การทดสอบประสิทธิภาพของการ ทางาน - ปลูกจิตสานึกให้รักงานรักองค์กร - อัตราความผิดพลาดในการ ทางานลดลง คุณภาพของ งานเพิ่มขึ้นในขณะที่อัตรา การใช้เวลาในการทางาน ลดลง 3. กลยุทธ์ทางการตลาด - การทาตารางกาหนดแผนการจัด โฆษณาประชาสัมพันธ์ - กาหนดโปรโมชั่นพิเศษให้กับ ลูกค้า - กาหนดรูปแบบการทาตลาด - การฝึกอบรมกลยุทธ์ทางด้านการตลาด - การสารวจตลาดโดยวิเคราะห์คู่แข่งและ ความต้องการของลูกค้า - อัตราการจองและการสั่งซื้อ เพิ่มขึ้น - ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4. คุณภาพของการ บริการหลังการขาย - กาหนดแผนการติดตามลูกค้าตาม ระยะเวลาที่เหมาะสม - กาหนดมาตรฐาน เพื่อควบคุม เวลาในการให้บริการหลังการขาย อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ - การฝึกอบรมการให้บริการหลังการขาย อย่างมีคุณภาพ - การทดสอบเพื่อควบคุมคุณภาพและ เวลาในการให้บริการอย่างมี ประสิทธิภาพ - วัดความพึงพอใจของลูกค้า เอกสารอ้างอิง 1. http://mbamk.blogspot.com/2013/07/2554.html 2. http://www.thairath.co.th/content/321768 3. http://doctorpookpiknaka.blogspot.com/2012/08/4.html?m=1 4. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000054194 5. http://www.engineeringtoday.net/magazine/articledetail.asp?arid=3084&pid=301 6. http://www.thailandindustry.com/guru/view.php?id=14461&section=9 7. http://202.183.190.2/FTPiWebAdmin/knw_pworld/image_content/58/Process2.doc 8. http://dc395.4shared.com/doc/XsWCyY2G/preview.html 9. http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1422&read=true&count=true