SlideShare a Scribd company logo
1 of 43
Download to read offline
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
“ทำไมต้องใช้ระบบในการลงทุน … แล้วมันจะดีกว่าไม่ใช้ระบบอย่างไร
และมันจะช่วยให้เราทำกำไรจากตลาดในระยะยาวได้จริงๆอย่างนั้นหรือ!?”
คำถามเดิมๆเหล่านี้เป็นคำถามที่ผมมักพบเจออยู่บ่อยครั้ง สาเหตุก็คง
เป็นเพราะหลายๆคนถูกดึงดูดให้สนใจในการลงทุนอย่างเป็นระบบด้วยรูปแบบ
ของการโฆษณาทางการตลาดที่ว่า ระบบการลงทุนจะทำให้พวกเขามีกำไรอย่าง
รวดเร็ว, ง่ายดาย และไม่ต้องออกแรงมากมายเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า
คำกล่าวอ้างที่ว่านี้มักจะดูดีจนเกินจริงไป และมักกลายเป็นประเด็นซึ่งนำพาไปสู่
ความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนต่อ “ความจำเป็น” ในการที่เราควรจะต้องใช้ “ระบบ” ใน
การลงทุนไปไม่มากก็น้อย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เหตุผลที่เราควรจะต้องใช้
ระบบการลงทุนก็เนื่องมาจากขีดจำกัดในการซึมซับข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงขีด
ความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลภายใต้สถานการณ์ที่สลับ
ซับซ้อนและมีความแปรปรวนอย่างสูงในตลาดต่างหาก
ดังนั้นแล้ว ในบทความนี้ผมจึงจะขอใช้เวลาอธิบายถึงเหตุผลและความ
จำเป็นของการลงทุนอย่างเป็นระบบในเชิงลึกให้กับทุกคนได้อ่านกัน ซึ่งผมหวัง
ว่ามันจะช่วยสร้างความเข้าใจและมุมมองที่ถูกต้องต่อการลงทุนอย่างเป็นระบบ
ให้กับผู้ที่กำลังสนใจในการลงทุนอย่างเป็นระบบกันมากขึ้น ทั้งนี้ผมต้องขอบคุณ
เพื่อนๆนักลงทุนทุกคนที่เข้ามากดไลค์ www.facebook.com/mangmaoclub
จนในขณะนี้มียอดรวมไปถึงกว่า 167,000 Likes กันด้วยนะครับ สัญญาว่าจะ
พยายามอัพเดทบทความใหม่ๆให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะมีเวลาเขียนออกมาได้ครับ
มด แมงเม่าคลับ
www.mangmaoclub.com

1
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

เว็บไซท์
แมงเม่าคลับ www.mangmaoclub.com
สื่อสังคมออนไลน์
แมงเม่าคลับแฟนเพจ www.facebook.com/mangmaoclub
แมงเม่าทวีท www.twitter.com/mangmaoclub
แมงเม่าแชนแนล www.youtube.com/mangmaoclub

2
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

การลงทุนไม่ใช่แค่เรื่องของความสามารถในการเลือก
หุ้นเท่านั้น
คุณป้านิรนาม : “ฮัลโหล … อยากขอคำแนะนำเกี่ยวกับหุ้น XYZ ค่ะ”
สุดยอดนักวิเคราะห์ : “ครับ หุ้นตัวนี้มีปันผลดี กิจการกำลังเติบโต กราฟกำลังทำ
รูปแบบ “หัวไหล่ตูด” อยู่นะครับ แนะนำให้ซื้อ ถือ แล้วลืมไปเลยครับ”
คุณป้านิรนาม : “อ๋อ ขอบคุณค่ะ ไว้จะโทรมาปรึกษาใหม่นะคะ … ตู๊ดดดด”
ใช่แล้วครับ! นี่คือบทสนทนาในรายการหุ้นทั่วๆไปที่ผมเชื่อว่าหลายๆคน
คงจะคุ้นชินอยู่ไม่น้อย แต่คุณจะเคยนึกสงสัยเหมือนผมบ้างไหมครับว่า อะไรที่
ทำให้รูปแบบรายการหุ้นหรือการลงทุนแบบนี้ถึงได้อยู่ยงคงกระพันมาได้หลาย
สิบปี (และน่าจะคงอยู่ต่อไปอีกนาน) ผมเองเคยนึกแปลกใจอยู่ไม่น้อยว่าทำไมคน
ที่มีเงินและมีความรู้ในสาขาต่างๆจึงได้ให้ความไว้วางใจและฝากฝังอนาคตของ
ผลการลงทุนเอาไว้กับ กูรู้หุ้น, นักวิเคราะห์ หรือแม้แต่เพื่อนพ้องนักลงทุนที่รู้จัก
ใกล้ชิดสนิทสนมกันมานานเพียงไม่กี่คน ทั้งๆที่จริงๆแล้วพวกเขาอาจไม่ได้มี
ความสามารถในการวิเคราะห์หุ้นที่ด้อยไปกว่าคนอื่นเลยก็ตาม
อย่าพึ่งเข้าใจผมผิดไปนะครับ!! ผมเองไม่ได้กำลังจะหาเรื่องโจมตีหรือ
ต้องการจะเป็นปฏิปักษ์กับนักวิเคราะห์หรือกูรูท่านใดทั้งสิ้น … อันที่จริงแล้วผม
พยายามที่จะทำให้งานของพวกเขาเป็นเรื่องง่ายขึ้นและโดนด่าน้อยลงต่างหาก
อย่างไรน่ะหรือครับ??
นั่นก็เพราะผมกำลังพยายามที่จะชี้ประเด็นให้หลายๆคนได้เห็นว่า นัก
ลงทุนส่วนใหญ่นั้นมีทัศนคติความเชื่อที่ไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่นักเกี่ยวกับการที่

3
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

จะได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอในระยะยาวจากการลงทุนในตลาดนั่นเอง
ประเด็นที่ผมอยากจะเกริ่นนำสักเล็กน้อยนี้ก็คือ จากประสบการณ์ที่ผมได้
พบเจอกับนักลงทุนหลายๆคนนั้น ผมได้พบว่า “นักลงทุนส่วนใหญ่มักใช้เวลา
มากมายไปกับการหาหุ้นและหาสูตรวิเคราะห์หุ้นในรูปแบบต่างๆ แต่พวกเขา
กลับแทบไม่เคยใช้เวลาที่จะหยุดคิดถึงกระบวนการในการตัดสินใจในการลงทุน
ของพวกเขาเลย!” ซึ่งนั่นก็เพราะพวกเขามักเชื่อกันว่าในการที่พวกเขาจะสามารถ
เอาชนะตลาดได้นั้น พวกเขาจะต้องมีความสามารถในการซึมซับข้อมูลข่าวสาร
ต่างๆและสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในตลาดได้ดีกว่าคนอื่นๆ
อยู่เสมอ นี่คือสาเหตุที่ทำให้พวกเขาพยายามที่จะรับฟังคำแนะนำหุ้นจากกูรู
ต่างๆ, พยายามที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นมากมายในแต่ละวัน
รวมถึงพยายามที่จะเสาะแสวงหาวิธีการต่างๆที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถ
วิเคราะห์ตลาดได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆไม่ว่ามันจะดู
พิสดารเกินความเป็นจริงเพียงใดก็ตาม
อย่างไรเสีย ข่าวร้ายก็คือในความเป็นจริงแล้ว เรื่องของความสามารถใน
การวิเคราะห์หุ้นถือเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในการลงทุนเท่านั้น การลงทุนยังมี
องค์ประกอบอื่นๆที่มีความสำคัญไม่แพ้กันอยู่อีกมาก ยกตัวอย่างเช่น การบริหาร
ความเสี่ยง, การบริหารเงินทุน หรือแม้กระทั่งการจัดการกับจิตวิทยาการลงทุน
ของเราให้สามารถดำรงอยู่ในความเหมาะสมอยู่ตลอดเวลาด้วย นอกจากนี้แล้ว
สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ กระบวนการลงทุนอย่างถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่
เราจะควรจะต้องคาดหวังผลลัพธ์ของมันออกมาในระยะเวลาที่ยาวนานพอ
สมควร (ซึ่งมันมักจะยาวนานกว่าที่หลายๆคนคิดเอาเสียด้วย)
ดังนั้นแล้วไม่ว่าเราจะทำการลงทุนอยู่ในรูปแบบหรือสไตล์ใดๆ มันจึง
เปรียบเสมือนกับการผจญภัยหรือการเดินทางไกลในตลาดอย่างไรอย่างนั้น
ผลลัพธ์ของการลงทุนในระยะยาวจึงกลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาจากคุณภาพของ

4
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

“กระบวนการในการตัดสินใจที่ต่อเนื่อง” แทนที่จะเป็นเพียงแค่การฝากความหวัง
ไว้กับผลลัพธ์ของการวิเคราะห์หุ้นไม่กี่ครั้ง, คำแนะนำเกี่ยวกับหุ้นจากใครคนใด
คนหนึ่ง หรือแม้แต่ผลกำไรจากหุ้นเพียงตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น นี่จึงทำให้ “ความ
สม่ำเสมอของคุณภาพในการตัดสินใจ” กลายเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวดใน
การลงทุนขึ้นมานั่นเอง
น่าเสียดายว่าความสม่ำเสมอของคุณภาพในการตัดสินใจเป็นสิ่งที่ดูจะไม่
น่าตื่นเต้นเร้าใจสักเท่าไหร่นัก เมื่อเทียบกับการเฝ้ามองหาและวิเคราะห์ว่าหุ้นตัว
ใดจะกลายเป็นสุดยอดหุ้นทำกำไรให้กับเราในวันข้างหน้า เรื่องราวของมันจึงมัก
กลายเป็นเพียงแค่ไม้ประดับสำหรับการพูดคุยในช่วงหนึ่งๆของวงสนทนาเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมอยากจะบอกกับพวกเราทุกคนก็คือ การพยายามทำความ
เข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและขีดจำกัดในการตัดสินใจของมนุษย์ ซึ่งมีผลต่อ
ความสม่ำเสมอของคุณภาพในการตัดสินใจนั้น จะกลายเป็นเรื่องที่ทำให้คุณมี
ความได้เปรียบในตลาดเหนือผู้เล่นคนอื่นๆได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว เพราะ
ในขณะที่คุณได้เข้าใจและทราบถึงวิธีการปิดจุดอ่อนในการลงทุนของคุณอยู่นั้น
ในทางกลับกันแล้วคุณก็กำลังสร้างความได้เปรียบในการลงทุนที่เหนือนักลงทุน
คนอื่นๆจากกระบวนการตัดสินใจของคุณไปด้วยในเวลาเดียวกันนั่นเอง ซึ่งนี่ก็
คือสิ่งที่ผมต้องการที่จะสื่อสารให้กับทุกคนได้เข้าใจจากบทความนี้ครับ
Note 1 : ในบทความนี้คำว่านักลงทุนและการลงทุน จะหมายรวมถึง
คำว่านักเก็งกำไรและการเก็งกำไรในคราวเดียวกัน เนื่องจากบทความนี้มี
เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของกระบวนการในการตัดสินใจโดยไม่ได้มีความหมาย
เจาะจงลงไปในวิธีการลงทุนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนั่นก็เพราะ
กระบวนการตัดสินใจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการลงทุนทุกรูปแบบ ไม่
ว่าจะคุณจะเป็นนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรอยู่ก็ตาม

5
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดใช้วิจารณญาณในการ
ตัดสินใจ!
“การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ” นี่คือคำ
แนะนำโดยทั่วไปสำหรับคอลลัมน์หรือบทวิเคราะห์ในการลงทุนที่เรามักเห็นกัน
อย่างดาดดื่น แล้วมันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึงอย่างไรน่ะหรือครับ!? คำ
ตอบก็เพราะมันเป็นคำแนะนำที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการตัดสินใจในการ
ลงทุนโดยทั่วไปของคนส่วนใหญ่อย่างพวกเรา ซึ่งมันก็คือการคิด, วิเคราะห์ และ
ตัดสินใจไปตามกลไกในสมองของเราจนเสร็จสิ้นกระบวนการนั่นเอง
หากว่าคุณมักที่จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลดิบซึ่ง
เป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือ, ข่าวสารเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆ,
ตัวเลขจากงบการเงิน หรือแม้แต่ลักษณะของกราฟในรูปแบบต่างๆ โดยอาศัย
การอ้างอิงจากประสบการณ์, ความรู้, ความรู้สึก หรือแม้แต่สัญชาตญาณของคุณ
เองแล้วล่ะก็ คุณคือนักลงทุนที่ใช้กระบวนการตัดสินใจตามวิจารณญาณของคุณ
เป็นหลัก (Clinical - Discretional Decision Making)
ที่ผมต้องพูดถึงกระบวนการตัดสินใจในลักษณะการตัดสินใจเช่นนี้ขึ้นมา
เสียก่อน ก็เนื่องมาจากมันเป็นลักษณะการตัดสินใจโดยธรรมชาติของนักลงทุน
ส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ โดยที่กระบวนการการตัดสินใจของคุณนั้นจะเป็นไปในรูป
แบบครั้งต่อครั้ง (Trade by Trade) นั่นจึงทำให้กิจวัตรประจำวันของคุณในฐานะ
นักลงทุนคือการพยายามตัดสินใจให้ดีที่สุดในแต่ละครั้ง เพื่อที่จะทำการเลือกหุ้น,
เลือกจังหวะซื้อขายหุ้น หรือแม้แต่เลือกกองทุนที่คุณสนใจจะวางเงินลงทุนลงไป
นั่นเอง

6
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ภาพที่ 1 : ลักษณะการตัดสินใจตามวิจารณญาณ
เมื่อพูดถึงลักษณะเด่นของการตัดสินใจในรูปแบบนี้แล้ว “คุณภาพในการ
ตัดสินใจ” คือสิ่งที่คุณมักจะได้รับจากการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของคุณเอง
เนื่องจากสมองของมนุษย์มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ที่สูง และยังสามารถ
พัฒนาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์
หรือจากการสัมผัสผ่านประสาทสัมผัสต่างๆได้ นอกจากนี้แล้วมันยังมีความซับ
ซ้อนจนยากที่โมเดลทางคณิตศาสตร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะลอกเลียน
แบบได้อีกด้วย
แน่นอนว่าเมื่อมองจากประสิทธิภาพและข้อดีของการตัดสินใจจาก
วิจารณญาณของตัวเราเองนั้น มันดูจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับสภาพ

7
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลาอย่างในตลาดหุ้นพอสมควรเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ข่าวร้ายมากๆอย่างหนึ่งก็คือกระบวนการตัดสินใจจาก
วิจารณญาณของเรานั้นมีจุดอ่อนอยู่อย่างหนึ่งซึ่งทำให้มันกลายเป็นจุดตาย
สำหรับคนส่วนใหญ่มานักต่อนัก ซึ่งนั่นก็คือการที่กลไกการตัดสินใจด้วย
วิจารณญาณของเรามักที่จะเกิดความสับสนและผิดพลาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อ
มันต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน (Complex) และมีความไม่
แน่นอนของเหตุการณ์อยู่ในระดับที่สูงมาก (Randomness)
หากจะถามว่า “แล้วเรามักจะพบเจอกับสถานการณ์ที่ว่านี้ได้จากที่ไห
นบ้างน่ะหรือครับ?” คำตอบก็คือในตลาดหุ้นนั่นเอง! ตลาดเป็นที่ซึ่งได้รวบรวม
เอาสถานการณ์ที่เป็นขีดจำกัดทั้งสองอย่างเอาไว้ในคราวเดียวกันอยู่ตลอดเวลา
ด้วยเหตุนี้ตลาดหุ้นจึงกลายเป็นสถานที่ปราบเซียนของคนส่วนใหญ่มานักต่อนัก
ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาดหรือเคยประสบความสำเร็จในวงการ
ใดๆมาก็ตามแต่
ด้วยเหตุผลเบื้องต้นที่ผมได้กล่าวมานี้ เราจะเห็นได้ว่าถึงแม้กระบวนการ
ตัดสินใจด้วยวิจารณญาณโดยทั่วไปของพวกเรานั้นจะมีประโยชน์และมี
ประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆรอบตัวเรา แต่ด้วย
ความที่มันมีขีดจำกัดที่อ่อนไหวและอันตรายมากๆกับการลงทุนในตลาดหุ้น มัน
จึงมักที่จะทำให้เราต้องขาดทุนจากตลาดในระยะยาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ
ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับวิธีที่จะช่วยลดผลกระทบจากความ
ผิดพลาดเพราะกลไกในสมองของเราเกิดขึ้นอย่างมากมาย (หนังสือเกี่ยวกับ
จิตวิทยาการลงทุนทั้งหลาย) แต่ในท้ายที่สุดแล้วมันก็มีคนอยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น
ที่สามารถจะเอาชนะและควบคุมจิตใจของพวกเขาได้ในระยะยาวเมื่อต้องคลุกคลี
อยู่กับตลาดเป็นเวลาอย่างยาวนาน1 ดังนั้นแล้วทางเลือกใหม่อย่างหนึ่งจึงค่อยๆ
ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อที่จะจัดการกับปัญหาซึ่งเกิดขึ้นจากกลไกในสมองของตัวเรา

8
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ซึ่งนั่นก็คือการลงทุนโดยอาศัยกระบวนการตัดสินใจด้วยกฏหรือการลงทุนอย่าง
เป็นระบบนั่นเองครับ
ข้อดีของการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณ
▪

คุณภาพในการตัดสินใจ เป็นไปตามความสามารถของผู้ลงทุน

▪

มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่างๆสูง

▪

เกิดจากความสามารถเฉพาะตัว จึงยากที่ผู้อื่นหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จะเลียนแบบได้

ข้อเสียของการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณ
▪

การตัดสินใจให้มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอในระยะยาวเป็นเรื่องยาก

▪

มีความลำเอียงในการตัดสินใจ (Bias) ซึ่งเป็นผลจากกลไกของสมอง

▪

สมองของเรามีขีดจำกัดในการตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล
Note 2 : ขอสังเกตคือไม่ว่าคุณจะใช้ข้อมูลซึ่งอยู่ในเชิงคุณภาพหรือ

เชิงปริมาณ หรือมีการประมวลผลข้อมูลด้วยสูตรคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนสักแค่
ไหนก็ตาม แต่หากว่าในขั้นสุดท้ายแล้วคุณคือผู้ที่พิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับ
การลงทุนในแต่ละครั้ง นั่นจะถือว่าคุณคือผู้ที่ตัดสินใจใด้วยวิจารณญาณของ
คุณเองเช่นกัน

9
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

SPM กระบวนการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบการ
ลงทุน
เพื่อที่จะแก้ปัญหาเกี่ยวกับจุดอ่อนในการลงทุนต่างๆซึ่งเกิดขึ้นจาก
กระบวนการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของเราเองนั้น ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นของ
ศตวรรษที่ 20 (ตั้งแต่ช่วงราวปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา) นักลงทุนรวมถึงนักเก็ง
กำไรกลุ่มหนึ่ง จึงได้เริ่มทำการสร้างกฎหรือระบบในการลงทุนของพวกเขาขึ้น
เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการตัดสินใจออกมา โดยแนวคิดในการอาศัยกระบวนการ
ตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบการลงทุนเช่นนี้ ได้ค่อยถูกพัฒนาและวิวัฒนาการขึ้น
มาตามยุคสมัย จนในที่สุดแล้วมันก็เริ่มกลายเป็นรูปร่างที่เด่นชัดขึ้นในช่วงปี
ค.ศ. 1970 (ซึ่งเป็นยุคที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มถือกำเนิดและเป็นที่นิยมขึ้น
ในประเทศสหรัฐอเมริกา) โดยการนำเอากระบวนการศึกษาวิจัยข้อมูลต่างๆ
อย่างเป็นวิทยาศาสตร์และหลักการทางสถิติศาสตร์เข้ามาไว้ด้วยกัน ซึ่งผมจะขอ
เรียกกระบวนการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบการลงทุนในลักษณะนี้อย่างสั้นๆใน
บทความว่า SPM โดยย่อมาจากคำว่า Statistical Prediction Method
นั่นเอง2

10
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ภาพที่ 2 : ลักษณะของกระบวนการตัดสินใจตามกฎหรือระบบการลงทุน แสดง
ให้เห็นถึงการตัดช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารในทางตรงออกจากสมองของเรา
สำหรับการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบการลงทุนนั้น เพื่อที่จะปิดจุดอ่อนซึ่ง
เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของระบบการประมวลผลจากสมองของพวกเรา พวก
มันจึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อที่จะตัดเอาการรับรู้ข่าวสารและข้อมูลดิบต่างๆในทาง
ตรงออกไปจากตัวเราโดยสิ้นเชิง และทำการประมวลรวมผลรวมถึงการตัดสินใน
ขั้นสุดท้ายผ่านตัวแทนซึ่งก็คือ “กฎและเงื่อนไขของระบบ” ที่ถูกสร้างขึ้นมารองรับ
เอาไว้กับสถานการณ์ต่างๆเอาไว้ (ภาพที่ 2)
โดยเมื่อคุณอาศัยกระบวนการตัดสินใจตามกฎหรือระบบการลงทุนนั้น
ลักษณะการตัดสินใจของคุณจะเปลี่ยนแปลงไปจากการใช้วิจารณญาณส่วนตัว

11
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ของคุณเป็นอย่างมาก กล่าวก็คือคุณจะไม่อาศัยการตัดสินใจแบบครั้งต่อครั้งอีก
ต่อไป (คุณจะไม่ทำการตัดสินใจวิเคราะห์หุ้นเป็นรายตัวอีกต่อไป) และในทาง
กลับกันแล้วกิจวัตรประจำวันของคุณจะกลายเป็นการค้นคว้าและวิจัย
ประสิทธิภาพของระบบหรือกลยุทธ์ในการลงทุนต่างๆ (ภาพที่ 3) หลังจากนั้นจึง
ทำการตัดสินใจเพื่อเลือกระบบการลงทุนเหล่านั้นออกมาใช้งานแทน โดยปล่อย
ให้ระบบได้ตัดสินใจในภาพเล็กแบบ Trade by Trade แทนตัวคุณเอง

ภาพที่ 3 : เป้าหมายในการค้นคว้าและกิจวัตรประจำวันของการลงทุนด้วยระบบ
คือการค้นคว้าหาตัวแปรต่างๆเพื่อพัฒนาปรับปรุงและนำเอาระบบที่มี
ประสิทธิภาพออกมาใช้
ดังนั้นเมื่อจะพูดถึงกระบวนการตัดสินใจตามกฎหรือระบบการลงทุนแล้ว
ล่ะก็ จุดเด่นที่สุดของของมันจึงมักไม่ได้อยู่ที่ “คุณภาพของการตัดสินใจที่สูง

12
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ที่สุด” เหมือนกับการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของคุณ แต่จุดแข็งที่ได้กลับมาจะ
กลายเป็น “ความสม่ำเสมอของคุณภาพในการตัดสินใจในระยะยาว" ออกมา
แทน นอกจากนี้แล้ว จุดเด่นที่สุดของกระบวนการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบใน
การลงทุนก็คือ การสรุปผลและทำการคาดการณ์สิ่งต่างๆนั้นจะตั้งอยู่บน
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และหลักของสถิติศาสตร์เสมอ นี่จึงทำให้
กระบวนการตัดสินใจในลักษณะนี้มีความเป็นรูปธรรมจับต้องได้ขึ้นเป็นอย่างมาก
แน่นอนว่าข้อเสียของการตัดสินใจด้วยระบบการลงทุนย่อมต้องมีเช่นกัน
เพราะด้วยความที่เงื่อนไขของระบบเป็นสิ่งที่ตายตัว แต่ตลาดนั้นมักมีการ
เปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของมันอยู่ตลอดเวลา กระบวนการตัดสินใจในรูป
แบบนี้จึงอาจมีจุดอ่อนที่เป็นข้อแลกเปลี่ยนของมันเกิดขึ้นในบางครั้ง ซึ่งนั่นก็คือ
เรื่องของความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ และการที่ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ทางตัวเลข
และสถิติเบื้องต้นอยู่บ้างพอสมควร มิเช่นนั้นแล้วคุณก็อาจตกเป็นเหยื่อของ
ตัวเลขทางสถิติและความผิดพลาดในการวิจัยได้อย่างไม่ยากเย็นนัก อย่างไร
ก็ตาม เมื่อหักลบกลบหนี้ระหว่างผลดีและผลเสียที่คุณจะได้รับแล้ว การอาศัย
กระบวนการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบการลงทุน ก็มักจะกลายเป็นทางเลือกที่ดี
กว่าสำหรับคนส่วนใหญ่โดยทั่วไปที่ไม่ได้มีสัญชาติญาณพิเศษหรือประสบการณ์
ข้องเกี่ยวกับตลาดมาเป็นเวลานานอยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้นแล้วในส่วนต่อไปของ
บทความชิ้นนี้ ผมจึงจะขออธิบายถึงเหตุผลเชิงลึกที่จะทำให้คุณเข้าใจถึงความ
สำคัญและความจำเป็นของการใช้กระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในรูป
แบบนี้ให้มากขึ้นไปอีก เผื่อว่ามันจะทำให้คุณหรือใครหลายๆคนได้ลองหันกลับ
มาพิจารณาและทบทวนถึงกระบวนการตัดสินใจในการลงทุนของตนเองมากขึ้น
กว่าที่เคยเป็นกัน
ข้อดีของการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบโดยอิงจากหลักสถิติ SPM
▪

มีความสม่ำเสมอและเที่ยงตรงในการตัดสินใจ

13
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

▪

คุณภาพในการตัดสินใจไม่ขึ้นอยู่กับการแปรผลหรือตีความของผู้ใช้

▪

สามารถคาดการณ์ถึงสิ่งต่างๆได้ตามเหตุผลเชิงสถิติอย่างเป็น
วิทยาศาสตร์

ข้อเสียของการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบโดยอิงจากหลักสถิติ SPM
▪

ในบางกรณี คุณภาพการตัดสินใจอาจไม่เท่าเทียมมนุษย์

▪

มีความยืดหยุ่นที่น้อยกว่า

▪

จำเป็นต้องใช้ความรู้ในเชิงสถิติและตัวเลขต่างๆ
Note 3 : SPM ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของระบบหรือกลยุทธ์ของคุณ

มันเป็นเรื่องของกระบวนการในการตัดสินใจเท่านั้น คุณสามารถนำ SPM ไป
ปรับใช้กับวิธีการลงทุนของคุณได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าคุณจะใช้การลงทุนแบบพื้นฐาน,
การลงทุนด้วยหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือแม้แต่หรือแม้แต่รูปแบบการ
ลงทุนเชิงผสมผสานอื่นๆก็เป็นได้
Note 4 : ข้อสังเกตที่ง่ายที่สุดว่าคุณกำลังใช้กระบวนการตัดสินใจ
ด้วยกฎหรือระบบอยู่จริงๆหรือไม่ก็คือ มันจะต้องไม่มีความแตกต่างในคุณภาพ
ของการตัดสินใจไม่ว่าคุณหรือใครก็ตามจะกำลังเป็นผู้ที่ใช้ระบบนั้นๆอยู่
เพราะนั่นกำลังหมายความว่าคุณได้ใช้วิจารณญาณส่วนตัวเข้ามาตัดสินในขั้น
ตอนสุดท้ายไปเรียบร้อยแล้ว

14
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ทำไมต้อง SPM มันจำเป็นขนาดนั้นในการลงทุนจริงๆ
หรือ?
เหตุผลง่ายๆที่ว่าทำไมคุณจึงควรนำ SPM เข้ามาปรับใช้ในการลงทุนของ
คุณก็เนื่องมาจากว่ามันให้ประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่เหนือกว่าการใช้
วิจารณญาณในระยะยาวเป็นอย่างมาก ซึ่งนอกเหนือไปจากการปรับใช้ SPM ใน
แวดวงการลงทุนแล้ว จากผลการศึกษาและงานวิจัยหลายๆชิ้นและในหลายๆ
สาขายังพบว่า SPM ให้ประสิทธิภาพในการตัดสินใจเหนือกว่าวิจารณญาณใน
ระยะยาวด้วยเช่นกัน
สำหรับคนที่กำลังสงสัยหรือชั่งใจอยู่ว่าคุณควรที่จะลองปรับเปลี่ยน
กระบวนการลงทุนของคุณให้ออกมาอยู่ในรูปแบบของกฎหรือระบบที่ชัดเจนเป็น
รูปธรรมจับต้องได้แบบ SPM ดีหรือไม่นั้น เนื้อหาต่อไปนี้จะเป็นเหตุผลหลักๆที่ผม
คิดว่ามีความน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับการลงทุนอยู่พอสมควร โดยนอกจากที่ผม
จะได้กล่าวถึงปัจจัยซึ่งมีผลกระทบต่อผลการลงทุนของคุณในระยะยาวแล้ว ผมยัง
ได้นำเอาเนื้อหาที่น่าสนใจจากงานวิจัยนอกตลาดหุ้นบางชิ้นเข้ามาเป็นข้อมูล
ประกอบเอาไว้ด้วย ซึ่งผมคิดว่าน่าจะทำให้พวกเราได้เห็นภาพความสำคัญของ
การตัดสินใจในรูปแบบนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก และต่อไปนี้ก็คือเหตุผลบาง
ประการที่ว่าทำไมคุณจึงควรที่จะใช้กระบวนการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบแบบ
SPM ในการลงทุนของคุณเองครับ

SPM กับความสม่ำเสมอของคุณภาพในการตัดสินใจ
ผลงานวิจัยหลายๆชิ้นได้พิสูจน์ออกมาแล้วว่า กระบวนการตัดสินใจอย่าง
เป็นระบบภายใต้หลักของวิชาสถิติศาสตร์หรือ SPM คือสิ่งที่จะช่วยให้คุณภาพ
ของการตัดสินใจมีความสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพมากกว่าการตัดสินใจด้วย

15
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

วิจารณญาณในระยะยาว นอกจากนี้แล้ว กระบวนการตัดสินใจแบบ SPM ไม่
เพียงแต่จะมีประโยชน์กับการลงทุนเท่านั้น แต่มันยังมีประโยชน์กับสถานการณ์
อื่นๆอีกมากมายเช่นเดียวกัน
โดยเมื่อพูดถึงประสิทธิภาพของการตัดสินใจระหว่าง SPM และ
วิจารณญาณแล้ว Paul E. Meehl คือบุคคลแรกที่ได้ทำการทดสอบและวิจัย
เปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพของกระบวนการตัดสินใจทั้งสองรูปแบบเอาไว้
โดยที่งานวิจัยหลายๆชิ้นของเขาได้ถูกเรียบเรียงเอาไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า Clinical
Versus Statistical Prediction : A Theoretical Analysis and a
Review of the Evidence ซึ่งถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954

ภาพที่ 4 : หนังสือ Clinical vs. Statistical Prediction แต่งโดย Paul E.
Meehl
ในหนังสือเล่มนี้ Meehl ได้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าของ SPM
และแนะนำให้ทุกคนทำการตัดสินใจรหรือทำการพยากรณ์ถึงสิ่งต่างๆด้วยหลัก

16
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

การทางสถิติแทนที่จะใช้วิจารณญาณของตนเองอยู่เสมอ เนื่องจากเขาค้นพบ
ว่าการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของคนเรามักเกิดความผิดพลาดได้ง่ายและ
บ่อยครั้งกว่าการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบที่ได้ถูกออกแบบและวางเงื่อนไขเอา
ไว้ นอกจากนี้เขายังค้นพบอีกว่าเมื่อต้องทำการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณส่วนตัว
นั้น คนเรายังมักที่จะมีการตัดสินใจที่แตกต่างกันไปทั้งที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือ
สถานการณ์เดียวกันอีกด้วย
การค้นพบและตีพิมพ์งานวิจัยของเขาออกมาในยุคนั้นได้ทำให้วงการ
จิตวิทยารวมไปถึงแวดวงการแพทย์ในสาขาต่างๆถึงกับสั่นสะเทือนเลยก็ว่าได้
งานวิจัยของเขามีแรงต้านทานเป็นอย่างมากจากบุคลากรในหลายๆสาขาวิชาชีพ
แต่ในที่สุดแล้วทุกๆวันนี้มันก็ได้เป็นมาตรฐานของการตัดสินใจที่มีคุณภาพใน
สาขาวิชาชีพต่างๆไปโดยปริยายเรียบร้อยแล้ว
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันเกิดขึ้นหลังจากงานของ Meehl
เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น ซึ่งมันก็คืองานวิจัยของ Robyn Dawes ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงใน
วารสาร Journal of Clinical Psychology ในปี ค.ศ. 2005 โดยที่สิ่งที่ทำให้
งานวิจัยชิ้นนี้มีความน่าสนใจขึ้นมาก็คือ มันได้ย้ำให้เห็นถึงความถูกต้องในข้อ
สรุปของ Meehl อย่างชัดเจน โดยในงานวิจัยของ Dawes พบว่าจากการเก็บ
สถิติเกี่ยวกับการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการตัดสินใจ
ระหว่าง SPM และการใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลกว่า 135 ชิ้นนั้น กระบวนการ
ตัดสินใจแบบ SPM ให้ผลลัพธ์ซึ่งมีประสิทธิภาพเหนือกว่าการตัดสินใจด้วย
วิจารณญาณแทบทั้งสิ้น มิหนำซ้ำแล้วสำหรับในงานวิจัยชิ้นที่การตัดสินใจด้วย
วิจารณญาณมีประสิทธิภาพเหนือกว่า SPM นั้น พวกมันแทบไม่มีความแตกต่าง
กันจนสามารถอธิบายตามหลักสถิติได้ว่า ผลลัพธ์ของมันอาจเกิดขึ้นโดยความ
บังเอิญเท่านั้น (ไม่มีนัยยะสำคัญทางสถิติ) ซึ่งต่อมาในภายหลัง Dowes ก็ได้
ทำการสรุปรวบรวมผลของงานวิจัยหลายๆชิ้นเอาไว้ในหนังสือขายดีของเขาที่ชื่อ

17
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ว่า House of Cards : Psychology and Psychotherapy Built on Myth
นั่นเอง

ภาพที่ 5 : หนังสือ House of Cards : Psychology and Psychotherapy
Built on Myth แต่งโดย Robyn Dawes
หากว่าในขณะนี้คุณยังไม่เห็นถึงความสำคัญของความสม่ำเสมอของ
คุณภาพในการตัดสินใจอีกล่ะก็ ตัวอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าชัดเจนที่สุดในวงการการ
ลงทุน ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องราวโศกนาฏกรรมของ Jesse Livermore ผู้ที่เป็น
ดั่งตำนานแห่งตลาดหุ้นวอลล์สตรีทในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1900 1940) ซึ่งนั่นก็เพราะถึงแม้ว่า Livermore จะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเก็ง
กำไรและลงทุนเป็นอย่างมาก รวมถึงเขายังเป็นผู้ที่บุกเบิกแนวคิดในการเก็งกำไร
หลายๆอย่างที่พวกเรารวมถึงนักเก็งกำไรระดับโลกนำมาใช้กันในทุกวันนี้ (ยก
ตัวอย่างเช่นการเก็งกำไรไปตามแนวโน้มใหญ่ของเศรษฐกิจ, การตัดขาดทุน,
การทยอยเข้าซื้อขายเป็นส่วนๆ หรือแม้แต่การบริหารหน้าตักในการเก็งกำไร)
เรื่องที่น่าเศร้าที่สุดของเขาก็คือในช่วงสุดท้ายของชีวิตที่ Livermore ต้องเจ็บ

18
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ปวดจากปัญหาต่างๆเกี่ยวกับครอบครัวและสภาพจิตใจของเขาอยู่นั้น เขายังต้อง
สูญเสียเงินทุนและผลกำไรแทบทั้งหมดไปจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างต่อ
เนื่องอันเนื่องมาจากสติและอารมณ์ที่ผิดปกติของเขา จนในที่สุดแล้วมันก็ทำให้
เขาแทบไม่เหลือความมั่งคั่งอยู่เลยจนไม่สามารถรับกับความล้มเหลวของชีวิตได้
และตัดสินใจจบชีวิตตนเองด้วยการยิงตัวตายในที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1940

ประสิทธิภาพในการตัดสินใจ ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับ
ปริมาณของข้อมูลเสมอไป
“Less is more” ความเรียบง่ายมักเป็นคำตอบที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งใน
การลงทุนรวมไปถึงการดำรงค์ชีวิตในหลายๆด้านของคนเราเสมอ หลายต่อ
หลายคนมักเข้าใจผิดไปว่าพวกเขาต้องการข้อมูลทุกๆอย่างในทุกๆด้านให้มาก
ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถทำการวิเคราะห์และตัดสินใจในสิ่ง
ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นี่กลับกลายเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักฐานข้อเท็จ
จริงของประสิทธิภาพในการตัดสินใจในหลายๆรูปแบบ นั่นก็เพราะกลไกการ
ตัดสินใจที่มีเงื่อนไขซับซ้อนและมีรายละเอียดปลีกย่อยที่มากมายจนเกินไปนั้น
มักที่จะทำให้การตัดสินใจขาดความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปหรือ
อยู่นอกเหนือไปจากฐานข้อมูลเดิมที่เคยได้ค้นคว้าเอาไว้ได้ไม่ยากนัก และนั่นมี
ผลทำให้กระบวนการตัดสินใจมักต้องพังทลายลงอย่างง่ายดายเมื่อต้องเจอกับ
ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาดในอนาคต
ตัวอย่างนอกตลาดหุ้นที่ดีที่สุดตัวอย่างหนึ่งของเรื่องนี้คือผลงานวิจัยของ
นักรัฐศาสตร์สองคนที่ชื่อว่า Andrew Martin และ Kavin Quinn ในปี ค.ศ.
2001 โดยที่ในขณะนั้นพวกเขาได้กล่าวอ้างว่าพวกเขาสามารถที่จะสร้างโมเดล
แบบ SPM ซึ่งสามารถที่จะทำนายผลคำพิพากษาของศาลฎีกาได้อย่างแม่นยำ
ด้วยข้อมูลที่จำกัดมากๆออกมาได้

19
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

แน่นอนว่าคำกล่าวอ้งของพวกเขาย่อมทำให้เกิดแรงกระเพื่อมในวงการ
ยุติธรรมเป็นอย่างมาก “ไร้สาระ!” คือคำวิจารณ์ที่พวกเขามักจะได้รับจากทนาย
หลายๆคน จนในที่สุดแล้วพวกเขาก็ได้รับคำท้าจากทีมทนายซึ่งประกอบไปด้วย
ทนายความชั้นยอดกว่า 38 คน เพื่อที่จะทำการทดสอบถึงประสิทธิภาพของ
ระบบ SPM ในการทำนายผลคำพิพากษาออกมา โดยทำการเปรียบเทียบ
ผลลัพธ์ของ SPM กับการลงความเห็นและฟันธงด้วยวิจารณญาณของทีม
ทนายความเหล่านี้ด้วยในขณะเดียวกัน
สิ่งที่น่าสนใจจากระบบ SPM ที่ใช้ทำนายผลคำพิพากษาของพวกเขาก็
คือพวกมันมีตัวแปรเพียงแค่ 6 ตัวเท่านั้น ซึ่งก็คือ
1.

พื้นที่เขตปกครองของศาล

2.

พื้นที่เกิดเหตุ

3.

ประเภทของผู้ยื่นฟ้อง ยื่นคำร้อง

4.

ประเภทของจำเลย ฝ่ายจำเลย

5.

แนวทางการตัดสินของศาลขั้นต้น (เสรีนิยม หรืออนุรักษ์นิยม)

6.

มีการโต้แย้งว่าคำพิพากษาไม่ได้ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้หรือไม่
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นน่ะหรือครับ? สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทีมทนายความชั้นยอดทั้ง

38 คนพ่ายแพ้ให้กับระบบ SPM ของพวกเขาอย่างสิ้นเชิง โดยที่ทีมทนายความ
เหล่านี้สามารถที่จะทำนายผลของคำพิพากษาได้อย่างถูกต้องราว 59% ของคดี
ทั้งหมดที่อยู่ในช่วงการแข่งขัน ส่วนระบบ SPM นั้นสามารถที่จะให้คำทำนายที่
ถูกต้องแม่นยำถึงกว่า 75% เลยทีเดียว3 สรุปแล้วใจความง่ายๆของเรื่องนี้ก็คือ
การมีข้อมูลที่มากมายเกินไปอาจจะไม่ได้ช่วยให้คำทำนายของคุณมีประสิทธิภาพ
ขึ้นเลยก็เป็นได้!

20
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

เมื่อย้อนมองกลับมายังวงการการลงทุนนั้น สถานการณ์และหลักฐานบ่งชี้
ต่างๆก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเรื่องนี้สักเท่าไหร่นัก ระบบการลงทุนที่เรียบง่ายก็คือ
คำตอบของการลงทุนเช่นเดียวกัน แน่นอนว่านี่เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความเชื่อของ
คนส่วนใหญ่อย่างสิ้นเชิง หลายคนมักคิดว่าระบบการลงทุนชั้นยอดจะต้องมี
ความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมากจนยากที่จะทำความเข้าใจได้ ข่าวดีก็คือความ
เชื่อเหล่านี้มักเป็นผลมาจากการทำการตลาดของบรรดากองทุนหรือนักลงทุนบาง
คนเท่านั้น นั่นก็เพราะกลยุทธ์หรือระบบการลงทุนส่วนใหญ่ที่มีความเสถียรยั่งยืน
ในระยะยาวซึ่งสามารถที่จะเอาตัวรอดจากสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่แตก
ต่างกันไปของตลาดในแต่ละช่วงเวลาได้นั้นมักจะเป็นระบบที่มีความเรียบง่าย
เป็นอย่างมาก ระบบที่มีความเสถียรยั่งยืน (Robustness) มักมีตัวแปรและ
เงื่อนไขอยู่เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น เพราะมิเช่นนั้นแล้วระบบจะขาดความยืดหยุ่นต่อ
สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาด หรืออาจตกอยู่ภายใต้หลุมพรางของสิ่งที่
เรียกว่าการ Over-Fitting ของระบบก็เป็นได้
และเพื่อที่จะทำให้คุณเห็นภาพของการ Over-Fitting กฎของระบบการ
ลงทุนกับข้อมูลดิบของตลาดมากจนเกินไปนั้น ผมได้นำเอาผลการทดสอบย้อน
หลังของระบบการลงทุนภายใต้ความซับซ้อนจากเงื่อนไขและจำนวนตัวแปรที่
มากน้อยต่างกันมาลงเอาไว้ในภาพและตารางด้านล่างนี้ สรุปโดยย่อแล้วสิ่งที่
คุณกำลังจะได้เห็นก็คือ ระบบที่เรียบง่ายและไม่มีเงื่อนไขหรือตัวแปรจนมากมาย
เกินไปต่างหากที่จะสามารถเอาชนะตลาดได้ดีกว่าในระยะยาว (ระบบ System
2 ซึ่งมีตัวแปรเพียง 4 ตัว) โดยหากว่าคุณสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมนั้น คุณ
สามารถที่จะเข้าไปอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ผมเคยได้เขียนลงเอาไว้ในเว็บ
ไซท์แมงเม่าคลับได้จาก Link ด้านล่างกันได้ตามอัธยาศัยครับ

21
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ภาพที่ 6 : ตัวอย่างของการ Over Fitting กฎหรือเงื่อนไขของระบบกับข้อมูล
ดิบของตลาด สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://
www.mangmaoclub.com/overfitting-effect/

สมองของมนุษย์มีจุดอ่อนและขีดจำกัดในการตัดสิน
ใจ
เหตุผลสำคัญเรื่องสุดท้ายที่ผมอยากจะฝากเอาไว้ก็คือเรื่องของขีดจำกัด
ในการประมวลผลและตัดสินใจของมนุษย์อย่างพวกเรา ซึ่งสามารถจำแนกจุด
อ่อนซึ่งทำให้เกิดความผิดพลาดต่างๆออกเป็นจุดอ่อนได้ใน 3 ระดับใหญ่ๆ

22
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

1.

ความผิดพลาดจากกลไกในการประมาณการของสมอง (Heuristic
Judgment Errors or Fuzzy Thinking)

2.

ความผิดพลาดจากขาดความเข้าใจในแนวคิดที่ซับซ้อน (Complexity
Thinking Errors)

3.

ความผิดพลาดจากขีดจำกัดในการประมวลผลของสมอง (Intractable
Thinking Errors)
ระดับของความผิดพลาดในแต่ละระดับนั้นมีความบ่อย, ความเสียหาย

และแนวทางแก้ไขที่แตกต่างกันไปเป็นขั้นๆ โดยต่อจากนี้ผมจะค่อยๆพูดถึงราย
ละเอียดโดยย่อของขีดจำกัดและความผิดพลาดในแต่ละระดับไล่ไปตามหัวข้อกัน
นะครับ

ความผิดพลาดจากกลไกในการประมาณการของ
สมอง (Heuristic Judgment Errors or Fuzzy
Thinking)
ความผิดพลาดจากกลไกในการคาดเดาและประมาณการของสมอง
(Heuristic Judgement Error) คือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ
รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆและตัดสินใจผ่านทางวิจารณญาณของเราโดยอาศัย
สามัญสำนึก, สัญชาตญาณ และประสบการณ์ความรู้ของเราเป็นกลไกในการ
ช่วยตัดสินใจ
ในช่วงเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมานั้น งานวิจัยจากสาขาวิชาจิตวิทยาการ
รู้คิด (Cognitive Psychology) ได้ค้นพบว่าสาเหตุที่มักทำให้เกิดความผิด
พลาดหรือความลำเอียงในการตัดสินใจขึ้นอยู่บ่อยครั้งก็เนื่องมาจาก โดย

23
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ธรรมชาติแล้วสมองของเรามีขีดจำกัดในการที่จะรับรู้ ,ซึมซับข้อมูลข่าวสาร รวม
ถึงทำการประมวลผลเพื่อแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนเกินไป นั่นจึงทำให้พวก
เราได้วิวัฒนาการกลไกของสมองในการแก้ไขปัญหาด้วยการประมาณการแบบ
“คิดลัด” (Heuristic Judgement) เพื่อช่วยลดขั้นตอนของการประมวลผลและ
ตัดสินใจออกมา
กระบวนการคิดลัดด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆอย่าง
ง่ายๆนี้จะทำหน้าที่ในการคิดคำนวณถึงสิ่งต่างๆจนกลายมาเป็นกลไกพื้นฐานใน
การตัดสินใจด้วยสามัญสำนึกรวมถึงการประมาณการถึงความน่าจะเป็นต่างๆ
รอบตัวเราโดยอัตโนมัติ กลไกที่เกิดขึ้นนี้ได้กลายมาเป็นจุดเด่นของความฉลาด
ของเผ่าพันธ์มนุษย์และยังมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการดำรงชีวิตประจำวัน
ของพวกเรา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ามันจะมีประโยชน์อย่างมากในการดำรงชีวิต
โดยทั่วไปในแต่ละวันของพวกเรา แต่กลไกการคิดลัดแบบนี้ก็กลับมีจุดอ่อนเมื่อ
ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนและความไม่แน่นอนมากจนเกินไป
(Complex and Random) จนในที่สุดแล้วมันก็มักที่จะทำให้เราเกิดความผิด
พลาดและความลำเอียง (Bias) ในการตัดสินใจขึ้นอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง
โดยตัวอย่างของความลำเอียงซึ่งมักทำให้เกิดอคติในการตัดสินใจต่างๆนั้น ก็
มักจะเป็นสิ่งที่พวกเราเคยได้ยินและพบเจอกันอย่างคุ้นเคยในการลงทุนอยู่เสมอ
เช่น
⁃

ความมั่นใจเกินเหตุ (Over Confident Bias) เช่น ความมั่นใจในการ
พยากรณ์ต่างๆ

⁃

ความจมปลักอยู่กับบางอย่าง หรือพูดง่ายๆว่าความ
“อิน” (Commitment Bias) เช่น ความยึดมั่นถือมั่นในคำพยากรณ์
แม้ว่าสถานการณ์จะไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้

⁃

ความกลัวที่จะแปลกแยกจากกลุ่ม (Herding Bias) เช่น ความกลัวที่จะ

24
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ตกรถ เมื่อเห็นว่าคนส่วนใหญ่ต่างพากันกว้านซื้อหุ้นในตลาด
⁃

ความเคยชินยึดติด (Anchoring Bias) เช่น การไม่กล้าซื้อหุ้นที่มีราคา
สูงกว่าเดิม ทั้งๆที่พื้นฐานของมันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอย่างมีนัยยะ
สำคัญ

⁃

ความสัมพันธ์ทางอารมณ์ (Emotional Connection Bias) เช่น ความ
ลำเอียงเนื่องจากความคุ้นเคยกับบริษัทนั้นๆ

⁃

ความประจักษ์ชัดเจนของข้อมูล (Avaliability Bias) เช่น ความลำเอียง
ในการให้น้ำหนักกับข่าวสารจากหุ้นของบริษัทที่มีชื่อเสียงมากกว่าอีก
บริษัทหนึ่ง

⁃

ความลำเอียงต่อสถานการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้น (Recency Event) เช่น การ
ให้น้ำหนักกับผลการดำเนินงานของหุ้นในช่วงสั้นๆที่พึ่งเกิดขึ้นมา
มากกว่าผลการดำเนินงานที่แท้จริงในระยะยาว

⁃

ความลำเอียงต่อสิ่งที่ดูมีเรื่องราว (Stories) เช่น ความลำเอียงในการ
ตัดสินใจเนื่องจากได้รับฟังถึงเรื่องราวที่ดูน่าสนใจกับหุ้นตัวนั้นๆ ทั้งที่อาจ
ไม่มีข้อเท็จจริงใดๆสนับมากนัก
Note 5 : เนื่องจากบทความนี้ต้องการพูดถึงจุดอ่อนของสมองในภา

พกว้างๆผมจึงยังไม่ขอลงรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ ซึ่งหากมีโอกาสผมจะ
เขียนอธิบายถึงผลกระทบจากความลำเอียงในการตัดสินใจของสมองเหล่านี้
กับการลงทุนให้อ่านกันในคราวต่อไปนะครับ
ทั้งนี้นั้น สิ่งที่น่าสนใจก็คือนอกจากสมองของเรามีโอกาสที่จะเกิดความ
ลำเอียงขึ้นในหลายๆรูปแบบแล้ว พวกมันก็ยังมักที่จะเกิดความลำเอียงใน
หลายๆรูปแบบขึ้นในขณะเดียวกันอีกด้วย การตัดสินใจด้วยวิจารณญาณผ่าน
สามัญสำนึก, สัญชาตญาณ และประสบการณ์ความรู้ของพวกเราเพียงสิ่งเดียวจึง
เป็นสิ่งที่มีความอันตรายมากในการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้นซึ่งมีความซับ

25
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ซ้อนและไม่แน่นอนอย่างสูง เนื่องจากความผิดพลาดอย่างหนึ่งมักจะมีผลนำเรา
เข้าไปสู่ความผิดพลาดอีกอย่างหนึ่งไปเรื่อยๆไม่จบไม่สิ้น และต้นทุนของความผิด
พลาดที่เกิดขึ้นในตลาดก็มักมีราคาแพงและยังทำให้เกิดความเจ็บปวดต่อสภาพ
จิตใจเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ข่าวดีเล็กน้อยของความผิดพลาดด้วยกลไกการคิดลัดจาก
การประมาณการของสมองในลักษณะนี้ยังอยู่ในระดับที่พวกเราสามารถที่จะ
ตระหนักหรือตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างไม่ยากเย็นนัก นอกจากนี้แล้วเรายัง
อาจสามารถที่จะหลีกเลี่ยงถึงความลำเอียงที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้ได้หากว่าจิตใจของ
เรามีการตระหนักรู้เพียงพอในสถานการณ์นั้นๆโดยการพยายามใช้เหตุผลและ
สติให้มากกว่าอารมณ์ของพวกเราให้ได้มากที่สุด
ความผิดพลาดในระดับนี้คือความผิดพลาดที่หนังสือจิตวิทยาการลงทุน
ส่วนใหญ่ได้กล่าวถึงและให้คำแนะนำในการตระหนัก, หลีกเลี่ยง และแก้ไขเอาไว้
อย่างไรก็ตามอุปสรรคของการใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน
ในตลาดหุ้นนั้นยังไม่จบเพียงเท่านี้ ซึ่งมันก็คือความผิดพลาดในระดับขั้นอื่นๆที่
ผมกำลังจะพูดถึงต่อไป

ความผิดพลาดจากขาดความเข้าใจต่อแนวคิดที่มี
ความสลับซับซ้อน (Complexity Thinking
Errors)
⁃

การพยากรณ์อย่างสุดโต่งจากข้อมูลที่ไม่เพียงพอ (Extreme
Prediction Based on Insufficient Data)

⁃

ความเมินเฉยต่อสิ่งที่เป็นบรรทัดฐานหรือความน่าจะเป็นของสถานการณ์
นั้นๆ (Ignoring The Base Line)

26
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

⁃

ความหลงผิดจากกลุ่มตัวอย่างที่น้อยเกินไป (Failure to Understand
The Law of Large Number)
ความผิดพลาดในระดับที่สองของการตัดสินใจคือการที่คนส่วนใหญ่ขาด

ความเข้าใจต่อแนวคิดที่มีความสลับซับซ้อนเช่น หลักการทางสถิติศาสตร์ ยก
ตัวอย่างเช่น จากผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งของ Kahneman และ Tversky เกี่ยวกับ
กระบวนการรู้คิดของมนุษย์ในปี ค.ศ. 1974 พวกเขาได้ค้นพบว่าคนส่วนใหญ่มี
ความโน้มเอียงที่จะเกิดความมั่นใจถึงความแม่นยำในการพยากรณ์อย่างสุดโต่ง
จากข้อมูลที่ไม่เพียงพออยู่เสมอ แน่นอนว่าในตลาดหุ้นนั้นความผิดพลาดแบบนี้
มักเกิดขึ้นในการลงทุนของคนส่วนใหญ่อยู่เป็นปกติเช่นกัน พวกเรามักที่จะเห็น
คนที่มีความมั่นใจและทำการพยากรณ์อย่างสุดโต่งด้วยการฟันธงเกี่ยวกับ
อนาคตของราคาหุ้นอยู่เป็นกิจวัตรประจำวัน ทั้งที่ในหลายๆครั้งแล้วข้อมูลที่พวก
เขามีอยู่อาจเป็นเพียงข้อมูลจากรูปแบบของราคาหุ้นบางรูปแบบที่ไม่ค่อยได้เกิด
ขึ้น (รูปแบบราคาที่เกิดขึ้นได้ยาก ไม่จำเป็นต้องให้ความแม่นยำที่มากกว่ารูปแบ
บอื่นๆ) หรือมันอาจเป็นเพียงแค่ข้อมูลวงในที่ได้ยินผ่านๆมาซึ่งอาจไม่ได้มีน้ำ
หนักมากพอที่จะคิดเช่นนั้นเลยด้วยซ้ำ
ความเพิกเฉยหรือหลงลืมต่อสิ่งที่เป็นบรรทัดฐานและความน่าจะเป็นของ
สถานการณ์นั้นๆก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งทำให้เกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจ
ของคนส่วนใหญ่ ตัวอย่างที่มักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในการลงทุนก็คือสิ่งที่เรียก
ว่า “ความหลงผิดของนักพนัน” หรือ Gambler’s Fallacy นั่นเอง ความหลงผิด
ของนักพนัน คือความเชื่อผิดๆของคนส่วนใหญ่ที่ว่า ความเป็นไปได้ของ
เหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะได้รับอิทธิพลบางอย่างจากเหตุการณ์ในอดีต ทั้งๆ
ที่เหตุการณ์เหล่านั้นเป็นอิสระจากกันในทางสถิติ ยกตัวอย่างเช่นในการโยน
เหรียญหัวก้อยซึ่งมีความน่าจะเป็นที่ 50 : 50 นั้น เมื่อนักพนันเห็นเหรียญออก
หัวหรือก้อยในทางใดทางหนึ่งติดๆกันหลายๆครั้ง พวกเขามักจะเชื่อกันว่าโอกาส

27
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ที่เหรียญจะออกด้านตรงข้ามในครั้งต่อไปจะสูงขึ้น ทั้งที่โอกาสออกหัวและก้อย
ในแต่ละครั้งนั้นยังคงเท่าเทียมกันเช่นเดิม
เมื่อมองกลับมายังการลงทุนนั้นคุณจึงมักที่จะเห็นคนที่พยายามเดิมพัน
ด้วยเงินทุนก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่เขาพึ่งขาดทุนติดๆกันมาหลายๆครั้ง
ด้วยความเชื่อที่ว่าโอกาสที่เขาจะได้กำไรในครั้งต่อไปนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นมากๆทั้งๆ
ที่ความน่าจะเป็นในการได้กำไรในการซื้อขายครั้งต่อไปของเขานั้นยังอยู่เท่าเดิม
เสมอ เพราะผลการลงทุนในแต่ละครั้งหรือครั้งก่อนหน้าอาจไม่ได้มีผลต่อผลกำไร
ในครั้งต่อไปเลย (ผมพูดถึงในกรณีของระบบการลงทุนส่วนใหญ่ซึ่งผลการซื้อ
ขายในแต่ละครั้งไม่มีสหสัมพันธ์แบบ Serial Correlation ต่อกัน) นอกจากนี้
แล้วเรายังมักที่จะเห็นว่าคนที่ไม่มีความรู้ด้านการเงินส่วนใหญ่มักปฎิเสธที่จะ
ทำการลงทุนใดๆทั้งสิ้นนอกเหนือจากการเก็บเงินสดออมเอาไว้กับตัว ทั้งๆที่ตาม
สถิติแล้วอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในระยะยาวระหว่างการเก็บออมเงินเอาไว้
เฉยๆกับการซื้อหรือถือกองทุนเอาไว้นั้นแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
กรณีตัวอย่างความผิดพลาดในการตัดสินใจจากการความความเข้าใจ
ต่อแนวคิดที่ซับซ้อนตัวอย่างสุดท้ายก็คือเรื่องของ ความหลงผิดจากกลุ่มตัวอย่าง
ที่น้อยจนเกินไป (Crime of Small Numbers) คนส่วนใหญ่นั้นไม่มีความ
เข้าใจต่อผลกระทบของจำนวนตัวอย่าง (Sample Size) ในการประมาณการถึง
ความน่าจะเป็นต่างๆ หรือพูดง่ายๆก็คือพวกเขาไม่เข้าใจถึงทฤษฎีที่กล่าวไว้ว่า
“ความคลาดเคลื่อนของการประมาณการจะลดลงตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่
เพิ่มขึ้น”
ความตื่นเต้นและฝันหวานหลังจากที่ได้เห็นผลการลงทุนหรือผลการ
ทดสอบระบบย้อนหลังที่ดีเยี่ยมภายในเวลาไม่กี่เดือนหรือกี่ปีคือผลลัพธ์ของการ
ขาดความเข้าใจในเรื่องนี้ นอกจากนี้แล้วคนส่วนใหญ่ยังมักเคยชินกับการ

28
SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

ประมาณการแบบจุด (Point Estimation) แทนการประมาณการแบบช่วง
(Range Estimation) พวกเขาไม่เข้าใจถึงความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นได้
ในการประมาณการถึงสิ่งต่างๆสักเท่าไหร่นัก ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเห็นอัตราผล
ตอบแทนของหุ้นหรือระบบการลงทุนบางรูปแบบในอดีต (เช่นมีผลตอบแทนทบ
ต้นที่ 10%) พวกเขามักไม่แน่ใจว่าพวกเขาควรจะเผื่อความคลาดเคลื่อนในการ
ประมาณการผลตอบแทนในอนาคตบวกลบไว้ที่เท่าไหร่ด้วยระดับของความ
มั่นใจที่มากแค่ไหน (ไม่เขาใจแนวคิดของการประมาณการ Confidence
Interval) นอกจากนี้แล้ว พวกเขายังมักหลงลืมที่จะนำเอาแปรปรวนของกลุ่ม
ตัวอย่าง (Variance) และจำนวนข้อมูลตัวอย่าง (Number of
Observations) เข้ามาเป็นตัวแปรส่วนหนึ่งในการคำนวณถึงความคลาด
เคลื่อนในการประมาณการอีกด้วย
กรณีสุดคลาสสิคของการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทางสถิติก็คือ
เรื่องของการประเมินและวัดผลตอบแทนในระยะสั้นๆระหว่างการลงทุนนั่นเอง
นักลงทุนส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการลงทุนของพวกเขาใน
เวลาอันรวดเร็วจนเกินไปเป็นอย่างมาก พวกเขามักคาดหวังว่าผลการลงทุนระยะ
สั้นนั้นจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกับสถิติของผลการลงทุนในระยะยาวอยู่
เสมอเนื่องจากพวกเขาไม่เข้าใจกฎของความบ่อยที่ว่า (Law of Large
Numbers) ผลลัพธ์คาดหวังของเหตุการณ์ใดๆจะวิ่งเข้าใกล้ค่าสถิติที่แท้จริงของ
มันขึ้นเรื่อยๆเมื่อจำนวนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีจำนวนมากในระดับหนึ่ง นี่จึง
ทำให้เมื่อผลการลงทุนไม่เป็นไปอย่างที่พวกเขาเคยรับรู้มา (ทั้งที่แทบไม่เคย
สังเกตและตั้งคำถามว่าผลตอบแทนเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาน้อย
ที่สุดแค่ไหน!!) พวกเขาจะเกิดความหวั่นไหวเป็นอย่างมากจนเสื่อมศรัทธาและล้ม
เลิกที่จะใช้วิธีการลงทุนนั้นๆไปอย่างรวดเร็ว
ความผิดพลาดในการตัดสินใจในระดับนี้นั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจสัก

29
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน
Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

More Related Content

What's hot

1.Demand Supply 2023 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
1.Demand Supply 2023 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf1.Demand Supply 2023 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
1.Demand Supply 2023 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdfMicro4you
 
กูรูหุ้นพันล้าน วิชัย วชิรพงศ์
กูรูหุ้นพันล้าน วิชัย วชิรพงศ์กูรูหุ้นพันล้าน วิชัย วชิรพงศ์
กูรูหุ้นพันล้าน วิชัย วชิรพงศ์Akarawat Thanachitnawarat
 
4.Demand Supply 2021 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
4.Demand Supply 2021 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf4.Demand Supply 2021 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
4.Demand Supply 2021 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdfMicro4you
 
Much and many by supawadee
Much and many by supawadeeMuch and many by supawadee
Much and many by supawadeeyuiSupawadee
 
11.วิธีสร้างระบบเทรด เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
11.วิธีสร้างระบบเทรด เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf11.วิธีสร้างระบบเทรด เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
11.วิธีสร้างระบบเทรด เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdfMicro4you
 
SMC DnS QM - Free Knowledge [Forex Library].pdf
SMC DnS QM - Free Knowledge [Forex Library].pdfSMC DnS QM - Free Knowledge [Forex Library].pdf
SMC DnS QM - Free Knowledge [Forex Library].pdfMicro4you
 
40 pip parabolic sar forex strategy (1)
40 pip parabolic sar forex strategy (1)40 pip parabolic sar forex strategy (1)
40 pip parabolic sar forex strategy (1)pipsumo traderfx
 
14.Read The Market เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
14.Read The Market เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf14.Read The Market เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
14.Read The Market เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdfMicro4you
 
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้าการออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้าBoohsapun Thopkuntho
 
9.Dow Theory เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
9.Dow Theory เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf9.Dow Theory เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
9.Dow Theory เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdfMicro4you
 
การขายเบื้องต้น.ppt
การขายเบื้องต้น.pptการขายเบื้องต้น.ppt
การขายเบื้องต้น.pptSuppanut Wannapong
 
เริ่มต้นลงทุนหุ้นแนวพื้นฐาน - Mr.LikeStock (Start Invest by Fundamental)
เริ่มต้นลงทุนหุ้นแนวพื้นฐาน - Mr.LikeStock (Start Invest by Fundamental)เริ่มต้นลงทุนหุ้นแนวพื้นฐาน - Mr.LikeStock (Start Invest by Fundamental)
เริ่มต้นลงทุนหุ้นแนวพื้นฐาน - Mr.LikeStock (Start Invest by Fundamental)Earn LikeStock
 
7.Harmonic เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
7.Harmonic เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf7.Harmonic เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
7.Harmonic เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdfMicro4you
 
บทที่ 3 วิธีจัดซื้อจัดจ้าง
บทที่ 3 วิธีจัดซื้อจัดจ้างบทที่ 3 วิธีจัดซื้อจัดจ้าง
บทที่ 3 วิธีจัดซื้อจัดจ้างTeetut Tresirichod
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจรับจัดดอกไม้สด
ตัวอย่างแผนธุรกิจรับจัดดอกไม้สดตัวอย่างแผนธุรกิจรับจัดดอกไม้สด
ตัวอย่างแผนธุรกิจรับจัดดอกไม้สดNattakorn Sunkdon
 

What's hot (20)

Candlesticks
CandlesticksCandlesticks
Candlesticks
 
1.Demand Supply 2023 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
1.Demand Supply 2023 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf1.Demand Supply 2023 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
1.Demand Supply 2023 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
 
กูรูหุ้นพันล้าน วิชัย วชิรพงศ์
กูรูหุ้นพันล้าน วิชัย วชิรพงศ์กูรูหุ้นพันล้าน วิชัย วชิรพงศ์
กูรูหุ้นพันล้าน วิชัย วชิรพงศ์
 
4.Demand Supply 2021 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
4.Demand Supply 2021 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf4.Demand Supply 2021 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
4.Demand Supply 2021 เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
 
การฝึกบุคคลท่าอาวุธ
การฝึกบุคคลท่าอาวุธการฝึกบุคคลท่าอาวุธ
การฝึกบุคคลท่าอาวุธ
 
SMC.pdf
SMC.pdfSMC.pdf
SMC.pdf
 
Much and many by supawadee
Much and many by supawadeeMuch and many by supawadee
Much and many by supawadee
 
11.วิธีสร้างระบบเทรด เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
11.วิธีสร้างระบบเทรด เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf11.วิธีสร้างระบบเทรด เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
11.วิธีสร้างระบบเทรด เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
 
SMC DnS QM - Free Knowledge [Forex Library].pdf
SMC DnS QM - Free Knowledge [Forex Library].pdfSMC DnS QM - Free Knowledge [Forex Library].pdf
SMC DnS QM - Free Knowledge [Forex Library].pdf
 
40 pip parabolic sar forex strategy (1)
40 pip parabolic sar forex strategy (1)40 pip parabolic sar forex strategy (1)
40 pip parabolic sar forex strategy (1)
 
14.Read The Market เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
14.Read The Market เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf14.Read The Market เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
14.Read The Market เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
 
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้าการออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า
การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า
 
สรุป Master the market
สรุป  Master the marketสรุป  Master the market
สรุป Master the market
 
9.Dow Theory เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
9.Dow Theory เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf9.Dow Theory เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
9.Dow Theory เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
 
การขายเบื้องต้น.ppt
การขายเบื้องต้น.pptการขายเบื้องต้น.ppt
การขายเบื้องต้น.ppt
 
เริ่มต้นลงทุนหุ้นแนวพื้นฐาน - Mr.LikeStock (Start Invest by Fundamental)
เริ่มต้นลงทุนหุ้นแนวพื้นฐาน - Mr.LikeStock (Start Invest by Fundamental)เริ่มต้นลงทุนหุ้นแนวพื้นฐาน - Mr.LikeStock (Start Invest by Fundamental)
เริ่มต้นลงทุนหุ้นแนวพื้นฐาน - Mr.LikeStock (Start Invest by Fundamental)
 
7.Harmonic เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
7.Harmonic เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf7.Harmonic เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
7.Harmonic เพจ กัปตัน เทรดดิ้ง.pdf
 
บทที่ 3 วิธีจัดซื้อจัดจ้าง
บทที่ 3 วิธีจัดซื้อจัดจ้างบทที่ 3 วิธีจัดซื้อจัดจ้าง
บทที่ 3 วิธีจัดซื้อจัดจ้าง
 
Question tag
Question tagQuestion tag
Question tag
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจรับจัดดอกไม้สด
ตัวอย่างแผนธุรกิจรับจัดดอกไม้สดตัวอย่างแผนธุรกิจรับจัดดอกไม้สด
ตัวอย่างแผนธุรกิจรับจัดดอกไม้สด
 

More from Rose Banioki

More from Rose Banioki (20)

2013ar-Berkshire Hathaway
2013ar-Berkshire Hathaway2013ar-Berkshire Hathaway
2013ar-Berkshire Hathaway
 
Instant tax
Instant taxInstant tax
Instant tax
 
Techinque mutual-fund
Techinque mutual-fundTechinque mutual-fund
Techinque mutual-fund
 
หนังสือความทรงอภิญญา
หนังสือความทรงอภิญญาหนังสือความทรงอภิญญา
หนังสือความทรงอภิญญา
 
Nutritive values of foods
Nutritive values of foodsNutritive values of foods
Nutritive values of foods
 
Thaifood table
Thaifood tableThaifood table
Thaifood table
 
Ipad user guide ios7
Ipad user guide ios7Ipad user guide ios7
Ipad user guide ios7
 
Iphone user guide th
Iphone user guide thIphone user guide th
Iphone user guide th
 
P4
P4P4
P4
 
P3
P3P3
P3
 
P1
P1P1
P1
 
To myfriends
To myfriendsTo myfriends
To myfriends
 
The differencebetweenbeachesinindia&greece
The differencebetweenbeachesinindia&greeceThe differencebetweenbeachesinindia&greece
The differencebetweenbeachesinindia&greece
 
Toilets pierre daspe
Toilets pierre daspeToilets pierre daspe
Toilets pierre daspe
 
Tibet
TibetTibet
Tibet
 
Pps hollywood dorado_bea
Pps hollywood dorado_beaPps hollywood dorado_bea
Pps hollywood dorado_bea
 
Photosdutempspass
PhotosdutempspassPhotosdutempspass
Photosdutempspass
 
Photo mix7
Photo mix7Photo mix7
Photo mix7
 
Photos carlosalbertobau
Photos carlosalbertobauPhotos carlosalbertobau
Photos carlosalbertobau
 
Laos
LaosLaos
Laos
 

Spm ระบบความคิดพิชิตการลงทุน

  • 1.
  • 2. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน “ทำไมต้องใช้ระบบในการลงทุน … แล้วมันจะดีกว่าไม่ใช้ระบบอย่างไร และมันจะช่วยให้เราทำกำไรจากตลาดในระยะยาวได้จริงๆอย่างนั้นหรือ!?” คำถามเดิมๆเหล่านี้เป็นคำถามที่ผมมักพบเจออยู่บ่อยครั้ง สาเหตุก็คง เป็นเพราะหลายๆคนถูกดึงดูดให้สนใจในการลงทุนอย่างเป็นระบบด้วยรูปแบบ ของการโฆษณาทางการตลาดที่ว่า ระบบการลงทุนจะทำให้พวกเขามีกำไรอย่าง รวดเร็ว, ง่ายดาย และไม่ต้องออกแรงมากมายเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า คำกล่าวอ้างที่ว่านี้มักจะดูดีจนเกินจริงไป และมักกลายเป็นประเด็นซึ่งนำพาไปสู่ ความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนต่อ “ความจำเป็น” ในการที่เราควรจะต้องใช้ “ระบบ” ใน การลงทุนไปไม่มากก็น้อย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เหตุผลที่เราควรจะต้องใช้ ระบบการลงทุนก็เนื่องมาจากขีดจำกัดในการซึมซับข้อมูลข่าวสาร รวมไปถึงขีด ความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลภายใต้สถานการณ์ที่สลับ ซับซ้อนและมีความแปรปรวนอย่างสูงในตลาดต่างหาก ดังนั้นแล้ว ในบทความนี้ผมจึงจะขอใช้เวลาอธิบายถึงเหตุผลและความ จำเป็นของการลงทุนอย่างเป็นระบบในเชิงลึกให้กับทุกคนได้อ่านกัน ซึ่งผมหวัง ว่ามันจะช่วยสร้างความเข้าใจและมุมมองที่ถูกต้องต่อการลงทุนอย่างเป็นระบบ ให้กับผู้ที่กำลังสนใจในการลงทุนอย่างเป็นระบบกันมากขึ้น ทั้งนี้ผมต้องขอบคุณ เพื่อนๆนักลงทุนทุกคนที่เข้ามากดไลค์ www.facebook.com/mangmaoclub จนในขณะนี้มียอดรวมไปถึงกว่า 167,000 Likes กันด้วยนะครับ สัญญาว่าจะ พยายามอัพเดทบทความใหม่ๆให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะมีเวลาเขียนออกมาได้ครับ มด แมงเม่าคลับ www.mangmaoclub.com 1
  • 4. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน การลงทุนไม่ใช่แค่เรื่องของความสามารถในการเลือก หุ้นเท่านั้น คุณป้านิรนาม : “ฮัลโหล … อยากขอคำแนะนำเกี่ยวกับหุ้น XYZ ค่ะ” สุดยอดนักวิเคราะห์ : “ครับ หุ้นตัวนี้มีปันผลดี กิจการกำลังเติบโต กราฟกำลังทำ รูปแบบ “หัวไหล่ตูด” อยู่นะครับ แนะนำให้ซื้อ ถือ แล้วลืมไปเลยครับ” คุณป้านิรนาม : “อ๋อ ขอบคุณค่ะ ไว้จะโทรมาปรึกษาใหม่นะคะ … ตู๊ดดดด” ใช่แล้วครับ! นี่คือบทสนทนาในรายการหุ้นทั่วๆไปที่ผมเชื่อว่าหลายๆคน คงจะคุ้นชินอยู่ไม่น้อย แต่คุณจะเคยนึกสงสัยเหมือนผมบ้างไหมครับว่า อะไรที่ ทำให้รูปแบบรายการหุ้นหรือการลงทุนแบบนี้ถึงได้อยู่ยงคงกระพันมาได้หลาย สิบปี (และน่าจะคงอยู่ต่อไปอีกนาน) ผมเองเคยนึกแปลกใจอยู่ไม่น้อยว่าทำไมคน ที่มีเงินและมีความรู้ในสาขาต่างๆจึงได้ให้ความไว้วางใจและฝากฝังอนาคตของ ผลการลงทุนเอาไว้กับ กูรู้หุ้น, นักวิเคราะห์ หรือแม้แต่เพื่อนพ้องนักลงทุนที่รู้จัก ใกล้ชิดสนิทสนมกันมานานเพียงไม่กี่คน ทั้งๆที่จริงๆแล้วพวกเขาอาจไม่ได้มี ความสามารถในการวิเคราะห์หุ้นที่ด้อยไปกว่าคนอื่นเลยก็ตาม อย่าพึ่งเข้าใจผมผิดไปนะครับ!! ผมเองไม่ได้กำลังจะหาเรื่องโจมตีหรือ ต้องการจะเป็นปฏิปักษ์กับนักวิเคราะห์หรือกูรูท่านใดทั้งสิ้น … อันที่จริงแล้วผม พยายามที่จะทำให้งานของพวกเขาเป็นเรื่องง่ายขึ้นและโดนด่าน้อยลงต่างหาก อย่างไรน่ะหรือครับ?? นั่นก็เพราะผมกำลังพยายามที่จะชี้ประเด็นให้หลายๆคนได้เห็นว่า นัก ลงทุนส่วนใหญ่นั้นมีทัศนคติความเชื่อที่ไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่นักเกี่ยวกับการที่ 3
  • 5. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน จะได้รับผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอในระยะยาวจากการลงทุนในตลาดนั่นเอง ประเด็นที่ผมอยากจะเกริ่นนำสักเล็กน้อยนี้ก็คือ จากประสบการณ์ที่ผมได้ พบเจอกับนักลงทุนหลายๆคนนั้น ผมได้พบว่า “นักลงทุนส่วนใหญ่มักใช้เวลา มากมายไปกับการหาหุ้นและหาสูตรวิเคราะห์หุ้นในรูปแบบต่างๆ แต่พวกเขา กลับแทบไม่เคยใช้เวลาที่จะหยุดคิดถึงกระบวนการในการตัดสินใจในการลงทุน ของพวกเขาเลย!” ซึ่งนั่นก็เพราะพวกเขามักเชื่อกันว่าในการที่พวกเขาจะสามารถ เอาชนะตลาดได้นั้น พวกเขาจะต้องมีความสามารถในการซึมซับข้อมูลข่าวสาร ต่างๆและสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในตลาดได้ดีกว่าคนอื่นๆ อยู่เสมอ นี่คือสาเหตุที่ทำให้พวกเขาพยายามที่จะรับฟังคำแนะนำหุ้นจากกูรู ต่างๆ, พยายามที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารทุกๆอย่างที่เกิดขึ้นมากมายในแต่ละวัน รวมถึงพยายามที่จะเสาะแสวงหาวิธีการต่างๆที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถ วิเคราะห์ตลาดได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆไม่ว่ามันจะดู พิสดารเกินความเป็นจริงเพียงใดก็ตาม อย่างไรเสีย ข่าวร้ายก็คือในความเป็นจริงแล้ว เรื่องของความสามารถใน การวิเคราะห์หุ้นถือเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในการลงทุนเท่านั้น การลงทุนยังมี องค์ประกอบอื่นๆที่มีความสำคัญไม่แพ้กันอยู่อีกมาก ยกตัวอย่างเช่น การบริหาร ความเสี่ยง, การบริหารเงินทุน หรือแม้กระทั่งการจัดการกับจิตวิทยาการลงทุน ของเราให้สามารถดำรงอยู่ในความเหมาะสมอยู่ตลอดเวลาด้วย นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ กระบวนการลงทุนอย่างถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่ เราจะควรจะต้องคาดหวังผลลัพธ์ของมันออกมาในระยะเวลาที่ยาวนานพอ สมควร (ซึ่งมันมักจะยาวนานกว่าที่หลายๆคนคิดเอาเสียด้วย) ดังนั้นแล้วไม่ว่าเราจะทำการลงทุนอยู่ในรูปแบบหรือสไตล์ใดๆ มันจึง เปรียบเสมือนกับการผจญภัยหรือการเดินทางไกลในตลาดอย่างไรอย่างนั้น ผลลัพธ์ของการลงทุนในระยะยาวจึงกลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาจากคุณภาพของ 4
  • 6. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน “กระบวนการในการตัดสินใจที่ต่อเนื่อง” แทนที่จะเป็นเพียงแค่การฝากความหวัง ไว้กับผลลัพธ์ของการวิเคราะห์หุ้นไม่กี่ครั้ง, คำแนะนำเกี่ยวกับหุ้นจากใครคนใด คนหนึ่ง หรือแม้แต่ผลกำไรจากหุ้นเพียงตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น นี่จึงทำให้ “ความ สม่ำเสมอของคุณภาพในการตัดสินใจ” กลายเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวดใน การลงทุนขึ้นมานั่นเอง น่าเสียดายว่าความสม่ำเสมอของคุณภาพในการตัดสินใจเป็นสิ่งที่ดูจะไม่ น่าตื่นเต้นเร้าใจสักเท่าไหร่นัก เมื่อเทียบกับการเฝ้ามองหาและวิเคราะห์ว่าหุ้นตัว ใดจะกลายเป็นสุดยอดหุ้นทำกำไรให้กับเราในวันข้างหน้า เรื่องราวของมันจึงมัก กลายเป็นเพียงแค่ไม้ประดับสำหรับการพูดคุยในช่วงหนึ่งๆของวงสนทนาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผมอยากจะบอกกับพวกเราทุกคนก็คือ การพยายามทำความ เข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและขีดจำกัดในการตัดสินใจของมนุษย์ ซึ่งมีผลต่อ ความสม่ำเสมอของคุณภาพในการตัดสินใจนั้น จะกลายเป็นเรื่องที่ทำให้คุณมี ความได้เปรียบในตลาดเหนือผู้เล่นคนอื่นๆได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว เพราะ ในขณะที่คุณได้เข้าใจและทราบถึงวิธีการปิดจุดอ่อนในการลงทุนของคุณอยู่นั้น ในทางกลับกันแล้วคุณก็กำลังสร้างความได้เปรียบในการลงทุนที่เหนือนักลงทุน คนอื่นๆจากกระบวนการตัดสินใจของคุณไปด้วยในเวลาเดียวกันนั่นเอง ซึ่งนี่ก็ คือสิ่งที่ผมต้องการที่จะสื่อสารให้กับทุกคนได้เข้าใจจากบทความนี้ครับ Note 1 : ในบทความนี้คำว่านักลงทุนและการลงทุน จะหมายรวมถึง คำว่านักเก็งกำไรและการเก็งกำไรในคราวเดียวกัน เนื่องจากบทความนี้มี เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของกระบวนการในการตัดสินใจโดยไม่ได้มีความหมาย เจาะจงลงไปในวิธีการลงทุนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งนั่นก็เพราะ กระบวนการตัดสินใจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการลงทุนทุกรูปแบบ ไม่ ว่าจะคุณจะเป็นนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรอยู่ก็ตาม 5
  • 7. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดใช้วิจารณญาณในการ ตัดสินใจ! “การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ” นี่คือคำ แนะนำโดยทั่วไปสำหรับคอลลัมน์หรือบทวิเคราะห์ในการลงทุนที่เรามักเห็นกัน อย่างดาดดื่น แล้วมันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึงอย่างไรน่ะหรือครับ!? คำ ตอบก็เพราะมันเป็นคำแนะนำที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการตัดสินใจในการ ลงทุนโดยทั่วไปของคนส่วนใหญ่อย่างพวกเรา ซึ่งมันก็คือการคิด, วิเคราะห์ และ ตัดสินใจไปตามกลไกในสมองของเราจนเสร็จสิ้นกระบวนการนั่นเอง หากว่าคุณมักที่จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลดิบซึ่ง เป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือ, ข่าวสารเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่างๆ, ตัวเลขจากงบการเงิน หรือแม้แต่ลักษณะของกราฟในรูปแบบต่างๆ โดยอาศัย การอ้างอิงจากประสบการณ์, ความรู้, ความรู้สึก หรือแม้แต่สัญชาตญาณของคุณ เองแล้วล่ะก็ คุณคือนักลงทุนที่ใช้กระบวนการตัดสินใจตามวิจารณญาณของคุณ เป็นหลัก (Clinical - Discretional Decision Making) ที่ผมต้องพูดถึงกระบวนการตัดสินใจในลักษณะการตัดสินใจเช่นนี้ขึ้นมา เสียก่อน ก็เนื่องมาจากมันเป็นลักษณะการตัดสินใจโดยธรรมชาติของนักลงทุน ส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ โดยที่กระบวนการการตัดสินใจของคุณนั้นจะเป็นไปในรูป แบบครั้งต่อครั้ง (Trade by Trade) นั่นจึงทำให้กิจวัตรประจำวันของคุณในฐานะ นักลงทุนคือการพยายามตัดสินใจให้ดีที่สุดในแต่ละครั้ง เพื่อที่จะทำการเลือกหุ้น, เลือกจังหวะซื้อขายหุ้น หรือแม้แต่เลือกกองทุนที่คุณสนใจจะวางเงินลงทุนลงไป นั่นเอง 6
  • 8. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ภาพที่ 1 : ลักษณะการตัดสินใจตามวิจารณญาณ เมื่อพูดถึงลักษณะเด่นของการตัดสินใจในรูปแบบนี้แล้ว “คุณภาพในการ ตัดสินใจ” คือสิ่งที่คุณมักจะได้รับจากการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของคุณเอง เนื่องจากสมองของมนุษย์มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ที่สูง และยังสามารถ พัฒนาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือจากการสัมผัสผ่านประสาทสัมผัสต่างๆได้ นอกจากนี้แล้วมันยังมีความซับ ซ้อนจนยากที่โมเดลทางคณิตศาสตร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะลอกเลียน แบบได้อีกด้วย แน่นอนว่าเมื่อมองจากประสิทธิภาพและข้อดีของการตัดสินใจจาก วิจารณญาณของตัวเราเองนั้น มันดูจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับสภาพ 7
  • 9. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลาอย่างในตลาดหุ้นพอสมควรเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ข่าวร้ายมากๆอย่างหนึ่งก็คือกระบวนการตัดสินใจจาก วิจารณญาณของเรานั้นมีจุดอ่อนอยู่อย่างหนึ่งซึ่งทำให้มันกลายเป็นจุดตาย สำหรับคนส่วนใหญ่มานักต่อนัก ซึ่งนั่นก็คือการที่กลไกการตัดสินใจด้วย วิจารณญาณของเรามักที่จะเกิดความสับสนและผิดพลาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อ มันต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน (Complex) และมีความไม่ แน่นอนของเหตุการณ์อยู่ในระดับที่สูงมาก (Randomness) หากจะถามว่า “แล้วเรามักจะพบเจอกับสถานการณ์ที่ว่านี้ได้จากที่ไห นบ้างน่ะหรือครับ?” คำตอบก็คือในตลาดหุ้นนั่นเอง! ตลาดเป็นที่ซึ่งได้รวบรวม เอาสถานการณ์ที่เป็นขีดจำกัดทั้งสองอย่างเอาไว้ในคราวเดียวกันอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ตลาดหุ้นจึงกลายเป็นสถานที่ปราบเซียนของคนส่วนใหญ่มานักต่อนัก ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นบุคคลที่เฉลียวฉลาดหรือเคยประสบความสำเร็จในวงการ ใดๆมาก็ตามแต่ ด้วยเหตุผลเบื้องต้นที่ผมได้กล่าวมานี้ เราจะเห็นได้ว่าถึงแม้กระบวนการ ตัดสินใจด้วยวิจารณญาณโดยทั่วไปของพวกเรานั้นจะมีประโยชน์และมี ประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในการตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆรอบตัวเรา แต่ด้วย ความที่มันมีขีดจำกัดที่อ่อนไหวและอันตรายมากๆกับการลงทุนในตลาดหุ้น มัน จึงมักที่จะทำให้เราต้องขาดทุนจากตลาดในระยะยาวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับวิธีที่จะช่วยลดผลกระทบจากความ ผิดพลาดเพราะกลไกในสมองของเราเกิดขึ้นอย่างมากมาย (หนังสือเกี่ยวกับ จิตวิทยาการลงทุนทั้งหลาย) แต่ในท้ายที่สุดแล้วมันก็มีคนอยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่สามารถจะเอาชนะและควบคุมจิตใจของพวกเขาได้ในระยะยาวเมื่อต้องคลุกคลี อยู่กับตลาดเป็นเวลาอย่างยาวนาน1 ดังนั้นแล้วทางเลือกใหม่อย่างหนึ่งจึงค่อยๆ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อที่จะจัดการกับปัญหาซึ่งเกิดขึ้นจากกลไกในสมองของตัวเรา 8
  • 10. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ซึ่งนั่นก็คือการลงทุนโดยอาศัยกระบวนการตัดสินใจด้วยกฏหรือการลงทุนอย่าง เป็นระบบนั่นเองครับ ข้อดีของการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณ ▪ คุณภาพในการตัดสินใจ เป็นไปตามความสามารถของผู้ลงทุน ▪ มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่างๆสูง ▪ เกิดจากความสามารถเฉพาะตัว จึงยากที่ผู้อื่นหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะเลียนแบบได้ ข้อเสียของการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณ ▪ การตัดสินใจให้มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอในระยะยาวเป็นเรื่องยาก ▪ มีความลำเอียงในการตัดสินใจ (Bias) ซึ่งเป็นผลจากกลไกของสมอง ▪ สมองของเรามีขีดจำกัดในการตัดสินใจอย่างเป็นเหตุเป็นผล Note 2 : ขอสังเกตคือไม่ว่าคุณจะใช้ข้อมูลซึ่งอยู่ในเชิงคุณภาพหรือ เชิงปริมาณ หรือมีการประมวลผลข้อมูลด้วยสูตรคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนสักแค่ ไหนก็ตาม แต่หากว่าในขั้นสุดท้ายแล้วคุณคือผู้ที่พิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับ การลงทุนในแต่ละครั้ง นั่นจะถือว่าคุณคือผู้ที่ตัดสินใจใด้วยวิจารณญาณของ คุณเองเช่นกัน 9
  • 11. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน SPM กระบวนการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบการ ลงทุน เพื่อที่จะแก้ปัญหาเกี่ยวกับจุดอ่อนในการลงทุนต่างๆซึ่งเกิดขึ้นจาก กระบวนการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของเราเองนั้น ย้อนกลับไปเมื่อช่วงต้นของ ศตวรรษที่ 20 (ตั้งแต่ช่วงราวปี ค.ศ. 1930 เป็นต้นมา) นักลงทุนรวมถึงนักเก็ง กำไรกลุ่มหนึ่ง จึงได้เริ่มทำการสร้างกฎหรือระบบในการลงทุนของพวกเขาขึ้น เพื่อใช้เป็นตัวแทนในการตัดสินใจออกมา โดยแนวคิดในการอาศัยกระบวนการ ตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบการลงทุนเช่นนี้ ได้ค่อยถูกพัฒนาและวิวัฒนาการขึ้น มาตามยุคสมัย จนในที่สุดแล้วมันก็เริ่มกลายเป็นรูปร่างที่เด่นชัดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1970 (ซึ่งเป็นยุคที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มถือกำเนิดและเป็นที่นิยมขึ้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา) โดยการนำเอากระบวนการศึกษาวิจัยข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์และหลักการทางสถิติศาสตร์เข้ามาไว้ด้วยกัน ซึ่งผมจะขอ เรียกกระบวนการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบการลงทุนในลักษณะนี้อย่างสั้นๆใน บทความว่า SPM โดยย่อมาจากคำว่า Statistical Prediction Method นั่นเอง2 10
  • 12. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ภาพที่ 2 : ลักษณะของกระบวนการตัดสินใจตามกฎหรือระบบการลงทุน แสดง ให้เห็นถึงการตัดช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารในทางตรงออกจากสมองของเรา สำหรับการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบการลงทุนนั้น เพื่อที่จะปิดจุดอ่อนซึ่ง เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของระบบการประมวลผลจากสมองของพวกเรา พวก มันจึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อที่จะตัดเอาการรับรู้ข่าวสารและข้อมูลดิบต่างๆในทาง ตรงออกไปจากตัวเราโดยสิ้นเชิง และทำการประมวลรวมผลรวมถึงการตัดสินใน ขั้นสุดท้ายผ่านตัวแทนซึ่งก็คือ “กฎและเงื่อนไขของระบบ” ที่ถูกสร้างขึ้นมารองรับ เอาไว้กับสถานการณ์ต่างๆเอาไว้ (ภาพที่ 2) โดยเมื่อคุณอาศัยกระบวนการตัดสินใจตามกฎหรือระบบการลงทุนนั้น ลักษณะการตัดสินใจของคุณจะเปลี่ยนแปลงไปจากการใช้วิจารณญาณส่วนตัว 11
  • 13. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ของคุณเป็นอย่างมาก กล่าวก็คือคุณจะไม่อาศัยการตัดสินใจแบบครั้งต่อครั้งอีก ต่อไป (คุณจะไม่ทำการตัดสินใจวิเคราะห์หุ้นเป็นรายตัวอีกต่อไป) และในทาง กลับกันแล้วกิจวัตรประจำวันของคุณจะกลายเป็นการค้นคว้าและวิจัย ประสิทธิภาพของระบบหรือกลยุทธ์ในการลงทุนต่างๆ (ภาพที่ 3) หลังจากนั้นจึง ทำการตัดสินใจเพื่อเลือกระบบการลงทุนเหล่านั้นออกมาใช้งานแทน โดยปล่อย ให้ระบบได้ตัดสินใจในภาพเล็กแบบ Trade by Trade แทนตัวคุณเอง ภาพที่ 3 : เป้าหมายในการค้นคว้าและกิจวัตรประจำวันของการลงทุนด้วยระบบ คือการค้นคว้าหาตัวแปรต่างๆเพื่อพัฒนาปรับปรุงและนำเอาระบบที่มี ประสิทธิภาพออกมาใช้ ดังนั้นเมื่อจะพูดถึงกระบวนการตัดสินใจตามกฎหรือระบบการลงทุนแล้ว ล่ะก็ จุดเด่นที่สุดของของมันจึงมักไม่ได้อยู่ที่ “คุณภาพของการตัดสินใจที่สูง 12
  • 14. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ที่สุด” เหมือนกับการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของคุณ แต่จุดแข็งที่ได้กลับมาจะ กลายเป็น “ความสม่ำเสมอของคุณภาพในการตัดสินใจในระยะยาว" ออกมา แทน นอกจากนี้แล้ว จุดเด่นที่สุดของกระบวนการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบใน การลงทุนก็คือ การสรุปผลและทำการคาดการณ์สิ่งต่างๆนั้นจะตั้งอยู่บน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และหลักของสถิติศาสตร์เสมอ นี่จึงทำให้ กระบวนการตัดสินใจในลักษณะนี้มีความเป็นรูปธรรมจับต้องได้ขึ้นเป็นอย่างมาก แน่นอนว่าข้อเสียของการตัดสินใจด้วยระบบการลงทุนย่อมต้องมีเช่นกัน เพราะด้วยความที่เงื่อนไขของระบบเป็นสิ่งที่ตายตัว แต่ตลาดนั้นมักมีการ เปลี่ยนแปลงในรายละเอียดของมันอยู่ตลอดเวลา กระบวนการตัดสินใจในรูป แบบนี้จึงอาจมีจุดอ่อนที่เป็นข้อแลกเปลี่ยนของมันเกิดขึ้นในบางครั้ง ซึ่งนั่นก็คือ เรื่องของความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ และการที่ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ทางตัวเลข และสถิติเบื้องต้นอยู่บ้างพอสมควร มิเช่นนั้นแล้วคุณก็อาจตกเป็นเหยื่อของ ตัวเลขทางสถิติและความผิดพลาดในการวิจัยได้อย่างไม่ยากเย็นนัก อย่างไร ก็ตาม เมื่อหักลบกลบหนี้ระหว่างผลดีและผลเสียที่คุณจะได้รับแล้ว การอาศัย กระบวนการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบการลงทุน ก็มักจะกลายเป็นทางเลือกที่ดี กว่าสำหรับคนส่วนใหญ่โดยทั่วไปที่ไม่ได้มีสัญชาติญาณพิเศษหรือประสบการณ์ ข้องเกี่ยวกับตลาดมาเป็นเวลานานอยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้นแล้วในส่วนต่อไปของ บทความชิ้นนี้ ผมจึงจะขออธิบายถึงเหตุผลเชิงลึกที่จะทำให้คุณเข้าใจถึงความ สำคัญและความจำเป็นของการใช้กระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในรูป แบบนี้ให้มากขึ้นไปอีก เผื่อว่ามันจะทำให้คุณหรือใครหลายๆคนได้ลองหันกลับ มาพิจารณาและทบทวนถึงกระบวนการตัดสินใจในการลงทุนของตนเองมากขึ้น กว่าที่เคยเป็นกัน ข้อดีของการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบโดยอิงจากหลักสถิติ SPM ▪ มีความสม่ำเสมอและเที่ยงตรงในการตัดสินใจ 13
  • 15. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ▪ คุณภาพในการตัดสินใจไม่ขึ้นอยู่กับการแปรผลหรือตีความของผู้ใช้ ▪ สามารถคาดการณ์ถึงสิ่งต่างๆได้ตามเหตุผลเชิงสถิติอย่างเป็น วิทยาศาสตร์ ข้อเสียของการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบโดยอิงจากหลักสถิติ SPM ▪ ในบางกรณี คุณภาพการตัดสินใจอาจไม่เท่าเทียมมนุษย์ ▪ มีความยืดหยุ่นที่น้อยกว่า ▪ จำเป็นต้องใช้ความรู้ในเชิงสถิติและตัวเลขต่างๆ Note 3 : SPM ไม่ได้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของระบบหรือกลยุทธ์ของคุณ มันเป็นเรื่องของกระบวนการในการตัดสินใจเท่านั้น คุณสามารถนำ SPM ไป ปรับใช้กับวิธีการลงทุนของคุณได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าคุณจะใช้การลงทุนแบบพื้นฐาน, การลงทุนด้วยหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือแม้แต่หรือแม้แต่รูปแบบการ ลงทุนเชิงผสมผสานอื่นๆก็เป็นได้ Note 4 : ข้อสังเกตที่ง่ายที่สุดว่าคุณกำลังใช้กระบวนการตัดสินใจ ด้วยกฎหรือระบบอยู่จริงๆหรือไม่ก็คือ มันจะต้องไม่มีความแตกต่างในคุณภาพ ของการตัดสินใจไม่ว่าคุณหรือใครก็ตามจะกำลังเป็นผู้ที่ใช้ระบบนั้นๆอยู่ เพราะนั่นกำลังหมายความว่าคุณได้ใช้วิจารณญาณส่วนตัวเข้ามาตัดสินในขั้น ตอนสุดท้ายไปเรียบร้อยแล้ว 14
  • 16. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ทำไมต้อง SPM มันจำเป็นขนาดนั้นในการลงทุนจริงๆ หรือ? เหตุผลง่ายๆที่ว่าทำไมคุณจึงควรนำ SPM เข้ามาปรับใช้ในการลงทุนของ คุณก็เนื่องมาจากว่ามันให้ประสิทธิภาพในการตัดสินใจที่เหนือกว่าการใช้ วิจารณญาณในระยะยาวเป็นอย่างมาก ซึ่งนอกเหนือไปจากการปรับใช้ SPM ใน แวดวงการลงทุนแล้ว จากผลการศึกษาและงานวิจัยหลายๆชิ้นและในหลายๆ สาขายังพบว่า SPM ให้ประสิทธิภาพในการตัดสินใจเหนือกว่าวิจารณญาณใน ระยะยาวด้วยเช่นกัน สำหรับคนที่กำลังสงสัยหรือชั่งใจอยู่ว่าคุณควรที่จะลองปรับเปลี่ยน กระบวนการลงทุนของคุณให้ออกมาอยู่ในรูปแบบของกฎหรือระบบที่ชัดเจนเป็น รูปธรรมจับต้องได้แบบ SPM ดีหรือไม่นั้น เนื้อหาต่อไปนี้จะเป็นเหตุผลหลักๆที่ผม คิดว่ามีความน่าสนใจและเกี่ยวข้องกับการลงทุนอยู่พอสมควร โดยนอกจากที่ผม จะได้กล่าวถึงปัจจัยซึ่งมีผลกระทบต่อผลการลงทุนของคุณในระยะยาวแล้ว ผมยัง ได้นำเอาเนื้อหาที่น่าสนใจจากงานวิจัยนอกตลาดหุ้นบางชิ้นเข้ามาเป็นข้อมูล ประกอบเอาไว้ด้วย ซึ่งผมคิดว่าน่าจะทำให้พวกเราได้เห็นภาพความสำคัญของ การตัดสินใจในรูปแบบนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก และต่อไปนี้ก็คือเหตุผลบาง ประการที่ว่าทำไมคุณจึงควรที่จะใช้กระบวนการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบแบบ SPM ในการลงทุนของคุณเองครับ SPM กับความสม่ำเสมอของคุณภาพในการตัดสินใจ ผลงานวิจัยหลายๆชิ้นได้พิสูจน์ออกมาแล้วว่า กระบวนการตัดสินใจอย่าง เป็นระบบภายใต้หลักของวิชาสถิติศาสตร์หรือ SPM คือสิ่งที่จะช่วยให้คุณภาพ ของการตัดสินใจมีความสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพมากกว่าการตัดสินใจด้วย 15
  • 17. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน วิจารณญาณในระยะยาว นอกจากนี้แล้ว กระบวนการตัดสินใจแบบ SPM ไม่ เพียงแต่จะมีประโยชน์กับการลงทุนเท่านั้น แต่มันยังมีประโยชน์กับสถานการณ์ อื่นๆอีกมากมายเช่นเดียวกัน โดยเมื่อพูดถึงประสิทธิภาพของการตัดสินใจระหว่าง SPM และ วิจารณญาณแล้ว Paul E. Meehl คือบุคคลแรกที่ได้ทำการทดสอบและวิจัย เปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพของกระบวนการตัดสินใจทั้งสองรูปแบบเอาไว้ โดยที่งานวิจัยหลายๆชิ้นของเขาได้ถูกเรียบเรียงเอาไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า Clinical Versus Statistical Prediction : A Theoretical Analysis and a Review of the Evidence ซึ่งถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 ภาพที่ 4 : หนังสือ Clinical vs. Statistical Prediction แต่งโดย Paul E. Meehl ในหนังสือเล่มนี้ Meehl ได้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าของ SPM และแนะนำให้ทุกคนทำการตัดสินใจรหรือทำการพยากรณ์ถึงสิ่งต่างๆด้วยหลัก 16
  • 18. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน การทางสถิติแทนที่จะใช้วิจารณญาณของตนเองอยู่เสมอ เนื่องจากเขาค้นพบ ว่าการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณของคนเรามักเกิดความผิดพลาดได้ง่ายและ บ่อยครั้งกว่าการตัดสินใจด้วยกฎหรือระบบที่ได้ถูกออกแบบและวางเงื่อนไขเอา ไว้ นอกจากนี้เขายังค้นพบอีกว่าเมื่อต้องทำการตัดสินใจด้วยวิจารณญาณส่วนตัว นั้น คนเรายังมักที่จะมีการตัดสินใจที่แตกต่างกันไปทั้งที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือ สถานการณ์เดียวกันอีกด้วย การค้นพบและตีพิมพ์งานวิจัยของเขาออกมาในยุคนั้นได้ทำให้วงการ จิตวิทยารวมไปถึงแวดวงการแพทย์ในสาขาต่างๆถึงกับสั่นสะเทือนเลยก็ว่าได้ งานวิจัยของเขามีแรงต้านทานเป็นอย่างมากจากบุคลากรในหลายๆสาขาวิชาชีพ แต่ในที่สุดแล้วทุกๆวันนี้มันก็ได้เป็นมาตรฐานของการตัดสินใจที่มีคุณภาพใน สาขาวิชาชีพต่างๆไปโดยปริยายเรียบร้อยแล้ว งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันเกิดขึ้นหลังจากงานของ Meehl เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น ซึ่งมันก็คืองานวิจัยของ Robyn Dawes ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงใน วารสาร Journal of Clinical Psychology ในปี ค.ศ. 2005 โดยที่สิ่งที่ทำให้ งานวิจัยชิ้นนี้มีความน่าสนใจขึ้นมาก็คือ มันได้ย้ำให้เห็นถึงความถูกต้องในข้อ สรุปของ Meehl อย่างชัดเจน โดยในงานวิจัยของ Dawes พบว่าจากการเก็บ สถิติเกี่ยวกับการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการตัดสินใจ ระหว่าง SPM และการใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลกว่า 135 ชิ้นนั้น กระบวนการ ตัดสินใจแบบ SPM ให้ผลลัพธ์ซึ่งมีประสิทธิภาพเหนือกว่าการตัดสินใจด้วย วิจารณญาณแทบทั้งสิ้น มิหนำซ้ำแล้วสำหรับในงานวิจัยชิ้นที่การตัดสินใจด้วย วิจารณญาณมีประสิทธิภาพเหนือกว่า SPM นั้น พวกมันแทบไม่มีความแตกต่าง กันจนสามารถอธิบายตามหลักสถิติได้ว่า ผลลัพธ์ของมันอาจเกิดขึ้นโดยความ บังเอิญเท่านั้น (ไม่มีนัยยะสำคัญทางสถิติ) ซึ่งต่อมาในภายหลัง Dowes ก็ได้ ทำการสรุปรวบรวมผลของงานวิจัยหลายๆชิ้นเอาไว้ในหนังสือขายดีของเขาที่ชื่อ 17
  • 19. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ว่า House of Cards : Psychology and Psychotherapy Built on Myth นั่นเอง ภาพที่ 5 : หนังสือ House of Cards : Psychology and Psychotherapy Built on Myth แต่งโดย Robyn Dawes หากว่าในขณะนี้คุณยังไม่เห็นถึงความสำคัญของความสม่ำเสมอของ คุณภาพในการตัดสินใจอีกล่ะก็ ตัวอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าชัดเจนที่สุดในวงการการ ลงทุน ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องราวโศกนาฏกรรมของ Jesse Livermore ผู้ที่เป็น ดั่งตำนานแห่งตลาดหุ้นวอลล์สตรีทในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1900 1940) ซึ่งนั่นก็เพราะถึงแม้ว่า Livermore จะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเก็ง กำไรและลงทุนเป็นอย่างมาก รวมถึงเขายังเป็นผู้ที่บุกเบิกแนวคิดในการเก็งกำไร หลายๆอย่างที่พวกเรารวมถึงนักเก็งกำไรระดับโลกนำมาใช้กันในทุกวันนี้ (ยก ตัวอย่างเช่นการเก็งกำไรไปตามแนวโน้มใหญ่ของเศรษฐกิจ, การตัดขาดทุน, การทยอยเข้าซื้อขายเป็นส่วนๆ หรือแม้แต่การบริหารหน้าตักในการเก็งกำไร) เรื่องที่น่าเศร้าที่สุดของเขาก็คือในช่วงสุดท้ายของชีวิตที่ Livermore ต้องเจ็บ 18
  • 20. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ปวดจากปัญหาต่างๆเกี่ยวกับครอบครัวและสภาพจิตใจของเขาอยู่นั้น เขายังต้อง สูญเสียเงินทุนและผลกำไรแทบทั้งหมดไปจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างต่อ เนื่องอันเนื่องมาจากสติและอารมณ์ที่ผิดปกติของเขา จนในที่สุดแล้วมันก็ทำให้ เขาแทบไม่เหลือความมั่งคั่งอยู่เลยจนไม่สามารถรับกับความล้มเหลวของชีวิตได้ และตัดสินใจจบชีวิตตนเองด้วยการยิงตัวตายในที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1940 ประสิทธิภาพในการตัดสินใจ ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับ ปริมาณของข้อมูลเสมอไป “Less is more” ความเรียบง่ายมักเป็นคำตอบที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งใน การลงทุนรวมไปถึงการดำรงค์ชีวิตในหลายๆด้านของคนเราเสมอ หลายต่อ หลายคนมักเข้าใจผิดไปว่าพวกเขาต้องการข้อมูลทุกๆอย่างในทุกๆด้านให้มาก ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถทำการวิเคราะห์และตัดสินใจในสิ่ง ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นี่กลับกลายเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักฐานข้อเท็จ จริงของประสิทธิภาพในการตัดสินใจในหลายๆรูปแบบ นั่นก็เพราะกลไกการ ตัดสินใจที่มีเงื่อนไขซับซ้อนและมีรายละเอียดปลีกย่อยที่มากมายจนเกินไปนั้น มักที่จะทำให้การตัดสินใจขาดความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปหรือ อยู่นอกเหนือไปจากฐานข้อมูลเดิมที่เคยได้ค้นคว้าเอาไว้ได้ไม่ยากนัก และนั่นมี ผลทำให้กระบวนการตัดสินใจมักต้องพังทลายลงอย่างง่ายดายเมื่อต้องเจอกับ ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาดในอนาคต ตัวอย่างนอกตลาดหุ้นที่ดีที่สุดตัวอย่างหนึ่งของเรื่องนี้คือผลงานวิจัยของ นักรัฐศาสตร์สองคนที่ชื่อว่า Andrew Martin และ Kavin Quinn ในปี ค.ศ. 2001 โดยที่ในขณะนั้นพวกเขาได้กล่าวอ้างว่าพวกเขาสามารถที่จะสร้างโมเดล แบบ SPM ซึ่งสามารถที่จะทำนายผลคำพิพากษาของศาลฎีกาได้อย่างแม่นยำ ด้วยข้อมูลที่จำกัดมากๆออกมาได้ 19
  • 21. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน แน่นอนว่าคำกล่าวอ้งของพวกเขาย่อมทำให้เกิดแรงกระเพื่อมในวงการ ยุติธรรมเป็นอย่างมาก “ไร้สาระ!” คือคำวิจารณ์ที่พวกเขามักจะได้รับจากทนาย หลายๆคน จนในที่สุดแล้วพวกเขาก็ได้รับคำท้าจากทีมทนายซึ่งประกอบไปด้วย ทนายความชั้นยอดกว่า 38 คน เพื่อที่จะทำการทดสอบถึงประสิทธิภาพของ ระบบ SPM ในการทำนายผลคำพิพากษาออกมา โดยทำการเปรียบเทียบ ผลลัพธ์ของ SPM กับการลงความเห็นและฟันธงด้วยวิจารณญาณของทีม ทนายความเหล่านี้ด้วยในขณะเดียวกัน สิ่งที่น่าสนใจจากระบบ SPM ที่ใช้ทำนายผลคำพิพากษาของพวกเขาก็ คือพวกมันมีตัวแปรเพียงแค่ 6 ตัวเท่านั้น ซึ่งก็คือ 1. พื้นที่เขตปกครองของศาล 2. พื้นที่เกิดเหตุ 3. ประเภทของผู้ยื่นฟ้อง ยื่นคำร้อง 4. ประเภทของจำเลย ฝ่ายจำเลย 5. แนวทางการตัดสินของศาลขั้นต้น (เสรีนิยม หรืออนุรักษ์นิยม) 6. มีการโต้แย้งว่าคำพิพากษาไม่ได้ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้หรือไม่ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นน่ะหรือครับ? สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทีมทนายความชั้นยอดทั้ง 38 คนพ่ายแพ้ให้กับระบบ SPM ของพวกเขาอย่างสิ้นเชิง โดยที่ทีมทนายความ เหล่านี้สามารถที่จะทำนายผลของคำพิพากษาได้อย่างถูกต้องราว 59% ของคดี ทั้งหมดที่อยู่ในช่วงการแข่งขัน ส่วนระบบ SPM นั้นสามารถที่จะให้คำทำนายที่ ถูกต้องแม่นยำถึงกว่า 75% เลยทีเดียว3 สรุปแล้วใจความง่ายๆของเรื่องนี้ก็คือ การมีข้อมูลที่มากมายเกินไปอาจจะไม่ได้ช่วยให้คำทำนายของคุณมีประสิทธิภาพ ขึ้นเลยก็เป็นได้! 20
  • 22. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน เมื่อย้อนมองกลับมายังวงการการลงทุนนั้น สถานการณ์และหลักฐานบ่งชี้ ต่างๆก็ไม่ได้แตกต่างไปจากเรื่องนี้สักเท่าไหร่นัก ระบบการลงทุนที่เรียบง่ายก็คือ คำตอบของการลงทุนเช่นเดียวกัน แน่นอนว่านี่เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความเชื่อของ คนส่วนใหญ่อย่างสิ้นเชิง หลายคนมักคิดว่าระบบการลงทุนชั้นยอดจะต้องมี ความสลับซับซ้อนเป็นอย่างมากจนยากที่จะทำความเข้าใจได้ ข่าวดีก็คือความ เชื่อเหล่านี้มักเป็นผลมาจากการทำการตลาดของบรรดากองทุนหรือนักลงทุนบาง คนเท่านั้น นั่นก็เพราะกลยุทธ์หรือระบบการลงทุนส่วนใหญ่ที่มีความเสถียรยั่งยืน ในระยะยาวซึ่งสามารถที่จะเอาตัวรอดจากสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่แตก ต่างกันไปของตลาดในแต่ละช่วงเวลาได้นั้นมักจะเป็นระบบที่มีความเรียบง่าย เป็นอย่างมาก ระบบที่มีความเสถียรยั่งยืน (Robustness) มักมีตัวแปรและ เงื่อนไขอยู่เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น เพราะมิเช่นนั้นแล้วระบบจะขาดความยืดหยุ่นต่อ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาด หรืออาจตกอยู่ภายใต้หลุมพรางของสิ่งที่ เรียกว่าการ Over-Fitting ของระบบก็เป็นได้ และเพื่อที่จะทำให้คุณเห็นภาพของการ Over-Fitting กฎของระบบการ ลงทุนกับข้อมูลดิบของตลาดมากจนเกินไปนั้น ผมได้นำเอาผลการทดสอบย้อน หลังของระบบการลงทุนภายใต้ความซับซ้อนจากเงื่อนไขและจำนวนตัวแปรที่ มากน้อยต่างกันมาลงเอาไว้ในภาพและตารางด้านล่างนี้ สรุปโดยย่อแล้วสิ่งที่ คุณกำลังจะได้เห็นก็คือ ระบบที่เรียบง่ายและไม่มีเงื่อนไขหรือตัวแปรจนมากมาย เกินไปต่างหากที่จะสามารถเอาชนะตลาดได้ดีกว่าในระยะยาว (ระบบ System 2 ซึ่งมีตัวแปรเพียง 4 ตัว) โดยหากว่าคุณสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมนั้น คุณ สามารถที่จะเข้าไปอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ผมเคยได้เขียนลงเอาไว้ในเว็บ ไซท์แมงเม่าคลับได้จาก Link ด้านล่างกันได้ตามอัธยาศัยครับ 21
  • 23. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ภาพที่ 6 : ตัวอย่างของการ Over Fitting กฎหรือเงื่อนไขของระบบกับข้อมูล ดิบของตลาด สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http:// www.mangmaoclub.com/overfitting-effect/ สมองของมนุษย์มีจุดอ่อนและขีดจำกัดในการตัดสิน ใจ เหตุผลสำคัญเรื่องสุดท้ายที่ผมอยากจะฝากเอาไว้ก็คือเรื่องของขีดจำกัด ในการประมวลผลและตัดสินใจของมนุษย์อย่างพวกเรา ซึ่งสามารถจำแนกจุด อ่อนซึ่งทำให้เกิดความผิดพลาดต่างๆออกเป็นจุดอ่อนได้ใน 3 ระดับใหญ่ๆ 22
  • 24. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน 1. ความผิดพลาดจากกลไกในการประมาณการของสมอง (Heuristic Judgment Errors or Fuzzy Thinking) 2. ความผิดพลาดจากขาดความเข้าใจในแนวคิดที่ซับซ้อน (Complexity Thinking Errors) 3. ความผิดพลาดจากขีดจำกัดในการประมวลผลของสมอง (Intractable Thinking Errors) ระดับของความผิดพลาดในแต่ละระดับนั้นมีความบ่อย, ความเสียหาย และแนวทางแก้ไขที่แตกต่างกันไปเป็นขั้นๆ โดยต่อจากนี้ผมจะค่อยๆพูดถึงราย ละเอียดโดยย่อของขีดจำกัดและความผิดพลาดในแต่ละระดับไล่ไปตามหัวข้อกัน นะครับ ความผิดพลาดจากกลไกในการประมาณการของ สมอง (Heuristic Judgment Errors or Fuzzy Thinking) ความผิดพลาดจากกลไกในการคาดเดาและประมาณการของสมอง (Heuristic Judgement Error) คือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆและตัดสินใจผ่านทางวิจารณญาณของเราโดยอาศัย สามัญสำนึก, สัญชาตญาณ และประสบการณ์ความรู้ของเราเป็นกลไกในการ ช่วยตัดสินใจ ในช่วงเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมานั้น งานวิจัยจากสาขาวิชาจิตวิทยาการ รู้คิด (Cognitive Psychology) ได้ค้นพบว่าสาเหตุที่มักทำให้เกิดความผิด พลาดหรือความลำเอียงในการตัดสินใจขึ้นอยู่บ่อยครั้งก็เนื่องมาจาก โดย 23
  • 25. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ธรรมชาติแล้วสมองของเรามีขีดจำกัดในการที่จะรับรู้ ,ซึมซับข้อมูลข่าวสาร รวม ถึงทำการประมวลผลเพื่อแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนเกินไป นั่นจึงทำให้พวก เราได้วิวัฒนาการกลไกของสมองในการแก้ไขปัญหาด้วยการประมาณการแบบ “คิดลัด” (Heuristic Judgement) เพื่อช่วยลดขั้นตอนของการประมวลผลและ ตัดสินใจออกมา กระบวนการคิดลัดด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆอย่าง ง่ายๆนี้จะทำหน้าที่ในการคิดคำนวณถึงสิ่งต่างๆจนกลายมาเป็นกลไกพื้นฐานใน การตัดสินใจด้วยสามัญสำนึกรวมถึงการประมาณการถึงความน่าจะเป็นต่างๆ รอบตัวเราโดยอัตโนมัติ กลไกที่เกิดขึ้นนี้ได้กลายมาเป็นจุดเด่นของความฉลาด ของเผ่าพันธ์มนุษย์และยังมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการดำรงชีวิตประจำวัน ของพวกเรา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ามันจะมีประโยชน์อย่างมากในการดำรงชีวิต โดยทั่วไปในแต่ละวันของพวกเรา แต่กลไกการคิดลัดแบบนี้ก็กลับมีจุดอ่อนเมื่อ ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนและความไม่แน่นอนมากจนเกินไป (Complex and Random) จนในที่สุดแล้วมันก็มักที่จะทำให้เราเกิดความผิด พลาดและความลำเอียง (Bias) ในการตัดสินใจขึ้นอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง โดยตัวอย่างของความลำเอียงซึ่งมักทำให้เกิดอคติในการตัดสินใจต่างๆนั้น ก็ มักจะเป็นสิ่งที่พวกเราเคยได้ยินและพบเจอกันอย่างคุ้นเคยในการลงทุนอยู่เสมอ เช่น ⁃ ความมั่นใจเกินเหตุ (Over Confident Bias) เช่น ความมั่นใจในการ พยากรณ์ต่างๆ ⁃ ความจมปลักอยู่กับบางอย่าง หรือพูดง่ายๆว่าความ “อิน” (Commitment Bias) เช่น ความยึดมั่นถือมั่นในคำพยากรณ์ แม้ว่าสถานการณ์จะไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ⁃ ความกลัวที่จะแปลกแยกจากกลุ่ม (Herding Bias) เช่น ความกลัวที่จะ 24
  • 26. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ตกรถ เมื่อเห็นว่าคนส่วนใหญ่ต่างพากันกว้านซื้อหุ้นในตลาด ⁃ ความเคยชินยึดติด (Anchoring Bias) เช่น การไม่กล้าซื้อหุ้นที่มีราคา สูงกว่าเดิม ทั้งๆที่พื้นฐานของมันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอย่างมีนัยยะ สำคัญ ⁃ ความสัมพันธ์ทางอารมณ์ (Emotional Connection Bias) เช่น ความ ลำเอียงเนื่องจากความคุ้นเคยกับบริษัทนั้นๆ ⁃ ความประจักษ์ชัดเจนของข้อมูล (Avaliability Bias) เช่น ความลำเอียง ในการให้น้ำหนักกับข่าวสารจากหุ้นของบริษัทที่มีชื่อเสียงมากกว่าอีก บริษัทหนึ่ง ⁃ ความลำเอียงต่อสถานการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้น (Recency Event) เช่น การ ให้น้ำหนักกับผลการดำเนินงานของหุ้นในช่วงสั้นๆที่พึ่งเกิดขึ้นมา มากกว่าผลการดำเนินงานที่แท้จริงในระยะยาว ⁃ ความลำเอียงต่อสิ่งที่ดูมีเรื่องราว (Stories) เช่น ความลำเอียงในการ ตัดสินใจเนื่องจากได้รับฟังถึงเรื่องราวที่ดูน่าสนใจกับหุ้นตัวนั้นๆ ทั้งที่อาจ ไม่มีข้อเท็จจริงใดๆสนับมากนัก Note 5 : เนื่องจากบทความนี้ต้องการพูดถึงจุดอ่อนของสมองในภา พกว้างๆผมจึงยังไม่ขอลงรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ ซึ่งหากมีโอกาสผมจะ เขียนอธิบายถึงผลกระทบจากความลำเอียงในการตัดสินใจของสมองเหล่านี้ กับการลงทุนให้อ่านกันในคราวต่อไปนะครับ ทั้งนี้นั้น สิ่งที่น่าสนใจก็คือนอกจากสมองของเรามีโอกาสที่จะเกิดความ ลำเอียงขึ้นในหลายๆรูปแบบแล้ว พวกมันก็ยังมักที่จะเกิดความลำเอียงใน หลายๆรูปแบบขึ้นในขณะเดียวกันอีกด้วย การตัดสินใจด้วยวิจารณญาณผ่าน สามัญสำนึก, สัญชาตญาณ และประสบการณ์ความรู้ของพวกเราเพียงสิ่งเดียวจึง เป็นสิ่งที่มีความอันตรายมากในการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหุ้นซึ่งมีความซับ 25
  • 27. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ซ้อนและไม่แน่นอนอย่างสูง เนื่องจากความผิดพลาดอย่างหนึ่งมักจะมีผลนำเรา เข้าไปสู่ความผิดพลาดอีกอย่างหนึ่งไปเรื่อยๆไม่จบไม่สิ้น และต้นทุนของความผิด พลาดที่เกิดขึ้นในตลาดก็มักมีราคาแพงและยังทำให้เกิดความเจ็บปวดต่อสภาพ จิตใจเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข่าวดีเล็กน้อยของความผิดพลาดด้วยกลไกการคิดลัดจาก การประมาณการของสมองในลักษณะนี้ยังอยู่ในระดับที่พวกเราสามารถที่จะ ตระหนักหรือตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างไม่ยากเย็นนัก นอกจากนี้แล้วเรายัง อาจสามารถที่จะหลีกเลี่ยงถึงความลำเอียงที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้ได้หากว่าจิตใจของ เรามีการตระหนักรู้เพียงพอในสถานการณ์นั้นๆโดยการพยายามใช้เหตุผลและ สติให้มากกว่าอารมณ์ของพวกเราให้ได้มากที่สุด ความผิดพลาดในระดับนี้คือความผิดพลาดที่หนังสือจิตวิทยาการลงทุน ส่วนใหญ่ได้กล่าวถึงและให้คำแนะนำในการตระหนัก, หลีกเลี่ยง และแก้ไขเอาไว้ อย่างไรก็ตามอุปสรรคของการใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน ในตลาดหุ้นนั้นยังไม่จบเพียงเท่านี้ ซึ่งมันก็คือความผิดพลาดในระดับขั้นอื่นๆที่ ผมกำลังจะพูดถึงต่อไป ความผิดพลาดจากขาดความเข้าใจต่อแนวคิดที่มี ความสลับซับซ้อน (Complexity Thinking Errors) ⁃ การพยากรณ์อย่างสุดโต่งจากข้อมูลที่ไม่เพียงพอ (Extreme Prediction Based on Insufficient Data) ⁃ ความเมินเฉยต่อสิ่งที่เป็นบรรทัดฐานหรือความน่าจะเป็นของสถานการณ์ นั้นๆ (Ignoring The Base Line) 26
  • 28. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ⁃ ความหลงผิดจากกลุ่มตัวอย่างที่น้อยเกินไป (Failure to Understand The Law of Large Number) ความผิดพลาดในระดับที่สองของการตัดสินใจคือการที่คนส่วนใหญ่ขาด ความเข้าใจต่อแนวคิดที่มีความสลับซับซ้อนเช่น หลักการทางสถิติศาสตร์ ยก ตัวอย่างเช่น จากผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งของ Kahneman และ Tversky เกี่ยวกับ กระบวนการรู้คิดของมนุษย์ในปี ค.ศ. 1974 พวกเขาได้ค้นพบว่าคนส่วนใหญ่มี ความโน้มเอียงที่จะเกิดความมั่นใจถึงความแม่นยำในการพยากรณ์อย่างสุดโต่ง จากข้อมูลที่ไม่เพียงพออยู่เสมอ แน่นอนว่าในตลาดหุ้นนั้นความผิดพลาดแบบนี้ มักเกิดขึ้นในการลงทุนของคนส่วนใหญ่อยู่เป็นปกติเช่นกัน พวกเรามักที่จะเห็น คนที่มีความมั่นใจและทำการพยากรณ์อย่างสุดโต่งด้วยการฟันธงเกี่ยวกับ อนาคตของราคาหุ้นอยู่เป็นกิจวัตรประจำวัน ทั้งที่ในหลายๆครั้งแล้วข้อมูลที่พวก เขามีอยู่อาจเป็นเพียงข้อมูลจากรูปแบบของราคาหุ้นบางรูปแบบที่ไม่ค่อยได้เกิด ขึ้น (รูปแบบราคาที่เกิดขึ้นได้ยาก ไม่จำเป็นต้องให้ความแม่นยำที่มากกว่ารูปแบ บอื่นๆ) หรือมันอาจเป็นเพียงแค่ข้อมูลวงในที่ได้ยินผ่านๆมาซึ่งอาจไม่ได้มีน้ำ หนักมากพอที่จะคิดเช่นนั้นเลยด้วยซ้ำ ความเพิกเฉยหรือหลงลืมต่อสิ่งที่เป็นบรรทัดฐานและความน่าจะเป็นของ สถานการณ์นั้นๆก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งทำให้เกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจ ของคนส่วนใหญ่ ตัวอย่างที่มักจะเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในการลงทุนก็คือสิ่งที่เรียก ว่า “ความหลงผิดของนักพนัน” หรือ Gambler’s Fallacy นั่นเอง ความหลงผิด ของนักพนัน คือความเชื่อผิดๆของคนส่วนใหญ่ที่ว่า ความเป็นไปได้ของ เหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะได้รับอิทธิพลบางอย่างจากเหตุการณ์ในอดีต ทั้งๆ ที่เหตุการณ์เหล่านั้นเป็นอิสระจากกันในทางสถิติ ยกตัวอย่างเช่นในการโยน เหรียญหัวก้อยซึ่งมีความน่าจะเป็นที่ 50 : 50 นั้น เมื่อนักพนันเห็นเหรียญออก หัวหรือก้อยในทางใดทางหนึ่งติดๆกันหลายๆครั้ง พวกเขามักจะเชื่อกันว่าโอกาส 27
  • 29. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ที่เหรียญจะออกด้านตรงข้ามในครั้งต่อไปจะสูงขึ้น ทั้งที่โอกาสออกหัวและก้อย ในแต่ละครั้งนั้นยังคงเท่าเทียมกันเช่นเดิม เมื่อมองกลับมายังการลงทุนนั้นคุณจึงมักที่จะเห็นคนที่พยายามเดิมพัน ด้วยเงินทุนก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆหลังจากที่เขาพึ่งขาดทุนติดๆกันมาหลายๆครั้ง ด้วยความเชื่อที่ว่าโอกาสที่เขาจะได้กำไรในครั้งต่อไปนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นมากๆทั้งๆ ที่ความน่าจะเป็นในการได้กำไรในการซื้อขายครั้งต่อไปของเขานั้นยังอยู่เท่าเดิม เสมอ เพราะผลการลงทุนในแต่ละครั้งหรือครั้งก่อนหน้าอาจไม่ได้มีผลต่อผลกำไร ในครั้งต่อไปเลย (ผมพูดถึงในกรณีของระบบการลงทุนส่วนใหญ่ซึ่งผลการซื้อ ขายในแต่ละครั้งไม่มีสหสัมพันธ์แบบ Serial Correlation ต่อกัน) นอกจากนี้ แล้วเรายังมักที่จะเห็นว่าคนที่ไม่มีความรู้ด้านการเงินส่วนใหญ่มักปฎิเสธที่จะ ทำการลงทุนใดๆทั้งสิ้นนอกเหนือจากการเก็บเงินสดออมเอาไว้กับตัว ทั้งๆที่ตาม สถิติแล้วอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในระยะยาวระหว่างการเก็บออมเงินเอาไว้ เฉยๆกับการซื้อหรือถือกองทุนเอาไว้นั้นแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน กรณีตัวอย่างความผิดพลาดในการตัดสินใจจากการความความเข้าใจ ต่อแนวคิดที่ซับซ้อนตัวอย่างสุดท้ายก็คือเรื่องของ ความหลงผิดจากกลุ่มตัวอย่าง ที่น้อยจนเกินไป (Crime of Small Numbers) คนส่วนใหญ่นั้นไม่มีความ เข้าใจต่อผลกระทบของจำนวนตัวอย่าง (Sample Size) ในการประมาณการถึง ความน่าจะเป็นต่างๆ หรือพูดง่ายๆก็คือพวกเขาไม่เข้าใจถึงทฤษฎีที่กล่าวไว้ว่า “ความคลาดเคลื่อนของการประมาณการจะลดลงตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ เพิ่มขึ้น” ความตื่นเต้นและฝันหวานหลังจากที่ได้เห็นผลการลงทุนหรือผลการ ทดสอบระบบย้อนหลังที่ดีเยี่ยมภายในเวลาไม่กี่เดือนหรือกี่ปีคือผลลัพธ์ของการ ขาดความเข้าใจในเรื่องนี้ นอกจากนี้แล้วคนส่วนใหญ่ยังมักเคยชินกับการ 28
  • 30. SPM ระบบความคิดพิชิตการลงทุน ประมาณการแบบจุด (Point Estimation) แทนการประมาณการแบบช่วง (Range Estimation) พวกเขาไม่เข้าใจถึงความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ในการประมาณการถึงสิ่งต่างๆสักเท่าไหร่นัก ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเห็นอัตราผล ตอบแทนของหุ้นหรือระบบการลงทุนบางรูปแบบในอดีต (เช่นมีผลตอบแทนทบ ต้นที่ 10%) พวกเขามักไม่แน่ใจว่าพวกเขาควรจะเผื่อความคลาดเคลื่อนในการ ประมาณการผลตอบแทนในอนาคตบวกลบไว้ที่เท่าไหร่ด้วยระดับของความ มั่นใจที่มากแค่ไหน (ไม่เขาใจแนวคิดของการประมาณการ Confidence Interval) นอกจากนี้แล้ว พวกเขายังมักหลงลืมที่จะนำเอาแปรปรวนของกลุ่ม ตัวอย่าง (Variance) และจำนวนข้อมูลตัวอย่าง (Number of Observations) เข้ามาเป็นตัวแปรส่วนหนึ่งในการคำนวณถึงความคลาด เคลื่อนในการประมาณการอีกด้วย กรณีสุดคลาสสิคของการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทางสถิติก็คือ เรื่องของการประเมินและวัดผลตอบแทนในระยะสั้นๆระหว่างการลงทุนนั่นเอง นักลงทุนส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการลงทุนของพวกเขาใน เวลาอันรวดเร็วจนเกินไปเป็นอย่างมาก พวกเขามักคาดหวังว่าผลการลงทุนระยะ สั้นนั้นจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกับสถิติของผลการลงทุนในระยะยาวอยู่ เสมอเนื่องจากพวกเขาไม่เข้าใจกฎของความบ่อยที่ว่า (Law of Large Numbers) ผลลัพธ์คาดหวังของเหตุการณ์ใดๆจะวิ่งเข้าใกล้ค่าสถิติที่แท้จริงของ มันขึ้นเรื่อยๆเมื่อจำนวนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีจำนวนมากในระดับหนึ่ง นี่จึง ทำให้เมื่อผลการลงทุนไม่เป็นไปอย่างที่พวกเขาเคยรับรู้มา (ทั้งที่แทบไม่เคย สังเกตและตั้งคำถามว่าผลตอบแทนเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาน้อย ที่สุดแค่ไหน!!) พวกเขาจะเกิดความหวั่นไหวเป็นอย่างมากจนเสื่อมศรัทธาและล้ม เลิกที่จะใช้วิธีการลงทุนนั้นๆไปอย่างรวดเร็ว ความผิดพลาดในการตัดสินใจในระดับนี้นั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจสัก 29