SlideShare a Scribd company logo
1 of 5
สรุปการสัมมนาจากวิทยากร<br />วิทยากรแต่ละท่านได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสัมมนา “พัฒนาเรียนรู้ ก้าวสู่งานวิจัย” ได้อย่างกว้างขวาง <br />ประธานในพิธี (ผศ.กิตติคุณ)  ส่วนใหญ่ นักศึกษา ปริญญาโท ที่มีปัญหาในการทำวิจัยทุกรุ่นค่อนข้าที่จะประสบปัญหา บางคนก็ทำได้รวดเร็ว บางคนก็ช้า ทำให้ท้อแท้ ซึ่งปัญหาในการทำวิจัย มีหลายองค์ประกอบ เช่น<br />1.ปัญหาตัวผู้วิจัยเอง คือความพร้อมในการทำวิจัย ความเข้าใจ เวลาที่จะทำหรือรวบรวมข้อมูล<br />2.ปัญหากระบวนการในการทำวิจัย ผู้ทำยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าที่ควรในเรื่องที่จะทำ เช่นระเบียบวิธีวิจัย สถิติที่ใช้ในการทำวิจัย การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การสร้างเครื่องมือ ทดสอบ ทดลอง เป็นต้น<br />3.ทิศทางของการวิจัย ไม่ค่อยชัดเจน ณ ยุคนี้เราควรทำวิจัยเรื่องใด หัวใดสมควรเป็นต้น<br />4.เวลา คือผู้ทำวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษา มีเวลาไม่ตรงกัน การพบปะกันน้อย<br />5.ทุนในการดำเนินการวิจัย ควรมีทุนในการสนับสนุนในการทำวิจัยจากหน่วยงานต้นสังกัด<br />วิทยากร (สุธี)  เสนอแนะ การทำอย่างไรเพื่อให้งานวิจัยประสบความสำเร็จ<br />1.การกำหนดหัวข้อในการทำวิจัย ที่ยังไม่ลงตัว<br />2.เมื่อสอบผ่านหัวข้อไปแล้ว ปล่อยทิ้งไว้นานทำให้เนิ่นช้า<br />3.เวลาของนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา การพบปะพูดคุยกันมีน้อย ทำให้ขาดการติดต่อสื่อ<br />แนวโน้มการทำวิจัยในปัจจุบันและอนาคต<br />1.สื่อที่เราจะทำมีอะไร<br />2.มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอะไร ขอบเขตเป็นอย่างไร<br />3.การทำวิจัยอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ในการทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้วิจัยต้องหมั่น ดูงานวิจัยของตนเอง หมั่นศึกษา หมั่นพบอาจารย์ หมั่นหาผู้เชี่ยวชาญ และที่สำคัญผู้วิจัยต้องมีความขยันเพิ่มเป็นสองเท่าของการทำงานนอกจากคนที่ทำงานแล้ว เพราะงานที่เราทิ้งไว้นาน การจะกลับมาแก้ไขเป็นไปได้ยาก หลังจากพบกับอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ควรปรับปรุงแก้ไข ทำให้งานสมบูรณ์ เพื่อจะได้พัฒนาสื่อของเราต่อไป ซึ่งในการพัฒนาสื่อนั้น ต้องมีขั้นตอนในการวางแผนตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงขั้นสุดท้าย หลังจากนั้นจะได้มีการทดลอง และวิเคราะห์สรุปผลเป็นลำดับไป<br />วิทยากร (คุณเฉลิม รุ่นที่ 6) เสนอแนะ ปัจจุบันยังไม่จบ สาเหตุที่ไม่จบหรือล่าช้าในการทำวิจัย มีเหตุหลายประการ เช่น<br />1.เรื่องหัวข้อที่จะใช้สอบ เค้าโครงร่างที่จะให้สอบวิทยานิพนธ์ เรามักมีคำถามว่า จะทำเรื่องอะไรดี เช่นเราจบมาไม่ตรงกับสาขาที่เราเรียน จึงต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ตรงกับสาขา และต้องหาวัตถุประสงค์ว่าเราทำเพื่ออะไร ทำแล้วได้อะไร ใครได้ประโยชน์จากงานวิจัยของเรา เพื่อจะได้รวบรวมเนื้อหา และไม่ควรมีความโลเลในจิตใจ คือควรมีจิตใจที่หนักแน่น<br />2.การเตรียมตัวสอบหัวข้อ ควรศึกษาเนื้อหา รวบรวมข้อมูล ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต เพราะสาขาเราเป็นเทคโนโลยี จึงควรมีความแปลกใหม่ มีจุดเด่น เพื่อเขียนบทที่ 1-3 ตามหลักสูตรสาขาของเรา ที่สำคัญคือเอกสารอ้างอิง และควรปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาตลอดเวลา<br />3.ขั้นตอนในการดำเนินการ มีหลายขั้นตอน เช่น<br />-การสร้างสื่อ ควรจะทำความเข้าใจว่าสื่อของเราเป็นแบบไหน การออกแบบของเราเป็นอย่างไร<br />-แบบประเมินสื่อ ข้อความที่จะประเมินสื่อควรให้ตรงกับสื่อของเรา<br />-ผู้เชี่ยวชาญ นำความรู้ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญภายนอก มารวบรวม แยกเป็นข้อๆ ว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน เพื่อปรับปรุงสื่อของเรา จะทำให้สื่อของเราผ่านไปด้วยดี<br />4.ขั้นสรุป เมื่อรวบรวมเสร็จแล้ว เราจะใช้ข้อมูลทางสถิติ หลังจากที่เราได้นำแบบทดสอบ แบบประเมินไปไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างแล้ว เพื่อที่จะทำบทที่ 4-5 แต่ผู้บรรยายกำลังดำเนินการอยู่ จึงไม่ขออธิบายในส่วนนี้<br />แนวโน้มในการทำวิจัยให้สำเร็จ คือ ควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่น คือแต่ละรุ่นควรช่วยเหลือกัน ผลักดันกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละคน เอาองค์ความรู้มาแชร์กัน ก็น่าจะประสบความสำเร็จ<br />การวางแผนก่อนการเรียน ถือว่ามีความสำคัญ ถ้าเราไม่วางแผน จะไม่รู้ว่าเราจะทำอะไร ในแต่ละเทอม<br />อย่าใช้เวลาให้เปล่าประโยชน์ หรือละเลย เพราะจะทำให้งานช้าอย่างแน่นอน ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย คือกระบวนการที่ทุกคนต้องเจอ และควรมีแนวทางแก้ไขแตกต่างกันไป และปัญหาที่สำคัญที่สุดคือปัญหาจากตัวของเราเอง ถ้าเราไม่มีความมุ่งมั่นที่จะทำ งานวิจัยก็ไม่ประสบความสำเร็จ<br />วิทยากร (คุณสิริวัลย์) เสนอแนะ ในการทำวิทยานิพนธ์ ค่อนข้างจะเหมือนกับวิทยากรท่านอื่น เพราะกำลังจะนำเสนอหัวข้อ ส่วนที่ประสบปัญหา คือยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนเองทำ จึงควรปรึกษากับท่านผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อขอคำแนะนำ ซึ่งกว่าจะได้หัวข้อก็ต้องมีความพยายามเป็นอย่างมาก จึงต้องขอบคุณท่านอาจารย์ที่คอยแนะนำ ให้แสงสว่าง ทำให้เกิดแนวคิดในการทำวิจัย โดยเฉพาะในรายวิชาที่เรียนนั้น นับว่าก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก ในการหาหัวข้อทำวิจัย และที่สำคัญคือเราต้องต่อสู้ด้วยตัวของเราเอง ส่วนปัญหาที่พบเจอในขณะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม คือ<br />เอกสารอ้างอิงที่เป็นปัจจุบัน เพราะหายาก เอกสารส่วนใหญ่เป็นภาษาต่างประเทศ ข้อเสนอแนะคือหาวิทยานิพนธ์ที่เขาทำสำเร็จแล้วจากมหาวิทยาลัยอื่น ให้ตรงกับหัวข้อของเรา และศึกษาเฉพาะจุดที่เราต้องการทำ เช่นชุดฝึกอบรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดอย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น<br />เมื่อเราได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพียงพอแล้ว ต้องเข้าหาท่านผู้รู้ เช่นอาจารย์ในสาขา ซึ่งทุกท่านยินดีให้คำปรึกษา <br />การเข้าหาผู้เชี่ยวชาญ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เราได้รับคำแนะนำที่ดี การได้เทคนิคต่างๆ ในการทำวิจัย<br />การทำวิจัยที่คล้ายคลึงกันสามารถแชร์ความรู้หรือสืบค้นข้อมูลร่วมกันได้ ทำให้งานเสร็จรวดเร็ว<br />เอกสารในสาขาจะมีน้อยมาก จึงอยากให้มีห้องสมุดที่เป็นเอกสารอ้างอิง เพราะในการไปสืบค้นยังสถานที่ต่างๆ ทำให้เหนื่อยมากทั้งเรื่องเวลา และการเดินทาง บางครั้งการไปทำงานเราไปด้วยความตั้งใจแต่ถ้าเจอปัญหาอาจทำให้เราท้อได้เหมือนกัน จึงอยากให้เพื่อนๆ สร้างกำลังใจให้ตนเองและเพื่อนร่วมรุ่นด้วย<br />ปัญหาเวลาที่ไม่ตรงกัน ระหว่างผู้ทำวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษา แต่บางครั้งการติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ทำวิจัยก็ต้องคำนึงถึงเวลาที่เป็นส่วนตัวของอาจารย์ด้วยเช่นกัน<br />ถาม-ตอบ<br />อุปสรรคในการค้นหาเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง<br />ดร.เกียรติศักดิ์  การหาเอกสารที่นักศึกษาบอกว่าหายากนั้น ในโลกนี้มีเอกสารมากมาย เราจึงต้องพยายามค้นหา เริ่มต้นการค้นหาที่เว็บไซต์ก่อน โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพราะเหตุไรเราจึงไม่กล้าใช้ภาษาอังกฤษกัน ควรพยายามแปลเพิ่มเติม เคยพูดเสมอว่าอะไรที่แปลกใหม่และหาไม่เจอ แสดงว่าอันนั้นคือสิ่งที่สุดยอด <br />ในการหาเอกสาร ไม่ใช่เราเดินไปหา เราอยู่ในยุคเทคโนโลยีการจะไปหาในห้องสมุดก็ไม่จำเป็นต้องไปก่อนก็ได้ ควรค้นหาในเว็บไซต์ก่อน ห้องสมุดออนไลน์มีทุกมหาวิทยาลัย สามารถสืบค้นได้ ถ้าเจอแล้วค่อยเดินทางไป หรือใช้วิธียืม ใช้บริการได้ ซึ่งมีวิธีการเยอะแยะ แต่ส่วนใหญ่เราใช้วิธีแบบลูกทุ่ง คือเฮกันไปเป็นกลุ่ม <br />เราจะสร้างห้องสมุดใหญ่เท่าไรก็ไม่เพียงพอ เพราะไม่ตรงกับความต้องการของเรา<br />ในการสืบค้นทางเว็บไซต์ ควรใช้คำหลายๆ คำ อย่าใช้คำเดียว หรือคำที่ใกล้เคียงกัน แต่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ จะใช้คำเดียวกัน ก็ควรใช้ภาษาอังกฤษสืบค้น เพราะรากฐานมาจากภาษาอังกฤษ เช่นความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น<br />อ.ประนอม <br />สถิติที่ใช้ในการวิจัย ให้ดูตามวัตถุประสงค์ของเราเอง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์<br />ในการทำวิจัย ควรมีคำถามกับตัวเองว่า<br />1.ทำไมเราถึงทำเรื่องนั้น ตอบตัวเองให้ได้ว่าทำไมจึงทำ<br />2.อยากรู้อะไรในสิ่งที่ทำ เช่นสื่อมีประสิทธิภาพอย่างไร<br />3.สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือกระบวนการในการทำตามขั้นตอนต่างๆ<br />สิ่งสำคัญคือ นักศึกษามีความรู้ในสิ่งที่จะทำแค่ไหน เช่น เนื้อหา กระบวนการวิจัย ส่วนใหญ่ที่ฟังมาสักครู่ นักศึกษาไม่มีปัญหาเรื่องเงิน แต่มีปัญหาเรื่องความรู้ กับเวลา แต่บางครั้งเราก็ติดขัดในเรื่องของกระบวนการต่างๆ ฉะนั้นก็ต้องพยายามแก้ปัญหาต่อไป<br />การยึดหลักในการทำวิจัย สิ่งที่ควรคำนึงถึง<br />ดร.เกียรติศักดิ์  ส่วนใหญ่เราทำอะไร เรามักทำตามๆ กัน บางครั้งไปเป็นหรือฟังงานวิจัยของเพื่อนแล้วเกิดความลังเลในงานวิจัยของตนเอง ในการทำวิจัยครั้งแรก เรามักไม่ค่อยมีความมั่นใจในสิ่งที่เราถนัด ในสิ่งที่เราอยากรู้ อยากค้นพบ ความใหม่กับความถนัดไม่เหมือนกัน ฉะนั้นในการทำวิจัยเราควรมีความมั่นใจในสิ่งที่เรากำลังจะทำ<br />กระบวนการในการสอบงานวิจัย<br />ดร.สุกัญญา  ในการสอบผู้วิจัยมีความสามารถรู้กระบวนการทุกขั้นตอนเพียงใด<br />ในการสอบ เรื่องการส่งเอกสารให้ผู้ดำเนินการสอบบางครั้งล่าช้ามาก ส่งก่อนเพียงวันเดียวก็มี<br />การอ้างอิงเอกสารหรือชื่อของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทำวิจัยต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ควรอ้างอิงอย่างเลื่อนลอย จะเกิดความเสียหายในภายหลัง<br />การคัดลอกเอกสารจากงานคนอื่น ควรมีการสังเคราะห์ด้วย แล้วอภิปรายผล วิธีการที่ดีที่สุดคือการค้นหาต้นฉบับให้เจอ อ้างอิงให้ชัดเจน บางมหาวิทยาลัย การอ้างอิงต้องมีทั้งในเล่มและในบรรณานุกรม <br />การทำวิจัยต้องตอบให้ได้ว่า ทำทำไม ทำแล้วเกิดอะไรขึ้น เพื่อจะได้เขียนที่มาของความสำคัญของปัญหา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการทำตามขั้นตอนต่อไป<br />ผศ.กิตติคุณ  การทำงานวิจัย ไม่ทำตามความมันส์ ความอยาก ความชอบ หรือตามกิเลส แต่ให้ดูที่ประโยชน์เป็นสำคัญว่า งานที่เราทำสำเร็จแล้ว มีประโยชน์อย่างไร เช่นการทำงานวิจัย ที่เราไปศึกษาค้นคว้างานวิจัยของคนอื่น และดูบทสรุปข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดอย่างไร ในงานวิจัยของเราเอง โดยเฉพาะงานวิจัยด้านผู้ด้อยโอกาส <br />ความน่าเชื่อถือของงานวิจัย งานวิจัยเหมือนกับโพลล์ ที่มีหลายสำนัก แต่นักวิจัยต้องมีคุณธรรม โดยเฉพาะความซื่อสัตย์ ถ้าเราไม่ซื่อสัตย์ต่อเราเอง แสดงว่าเราก็ไม่ซื่อสัตย์ต่อบุคคลอื่น เพราะเรายังโกหกเราเองได้<br />ผศ.ประนอม  การทำงานวิจัย เน้นเรื่องจรรยาบรรณนักวิจัยด้วย การสอบเป็นไปตามกระบวนการ และระเบียบวิธีวิจัย ควรศึกษาให้เข้าใจชัดเจน<br />ในการสอบครั้งแรก ควรเตรียมเครื่องมือ (สื่อ) มานำเสนอหรือไม่<br />ดร.สุกัญญา  ในการสอบครั้งแรก เป็นขั้นตอนเตรียมการสร้าง เช่นชุดการสอน เป็นต้น ฉะนั้นการสอบครั้งแรก ขอให้มีแค่ 3 บทเท่านั้น แต่ต้องชัดเจน โดยเฉพาะบทที่ 3 กระบวนการวิจัยต้องชัดเจนที่สุด<br />ผู้กำกับการสอบสามารถดูงานวิจัยของเราจากเอกสารบทที่ 1-3 ได้ว่ากระบวนการในการสร้างเครื่องมือของเราเป็นอย่างไร มีปัญหาตรงจุดไหน <br />ในการนำเสนอในเพาเวอร์พ้อยท์ ควรนำเสนอแบบนักเทคโนฯ ไม่มีแต่ตัวหนังสืออย่างเดียว<br />วิทยากรร่วม (พระมหาปิยภัทร์) นักศึกษา ป.โท สาขา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร รหัส 52<br />การทำวิจัยมักเจอปัญหากันทุกคน แต่มีคติว่า “กว่าจะฉลาด ก็พลาดพลั้งมาหลายสิ่ง กว่าจะรู้ว่าอะไรคือความจริง บางสิ่งก็สูญเสียไป” <br />การทำวิจัยคือการลอกอย่างมีระบบ แต่การอ้างอิงนั้นต้องชัดเจน เมื่อเราสอบผ่านแล้ว เราสามารถถ่ายทอดต่อคนอื่นได้หรือไม่<br />งานวิจัยที่ทำ บทเรียนออนไลน์ วิชาวัฒนธรรมเพื่อชีวิต แต่ที่สับสนในขณะทำ คือคำว่า โมเดล กับ รูปแบบ ซึ่งต้องเสียเวลาศึกษาค้นคว้าเอกสารนานพอสมควรจึงจะเข้าใจ<br />การสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ มีความจำเป็นเพราะจะทำให้งานของเรามีความก้าวหน้า<br />
Semina
Semina
Semina
Semina

More Related Content

Similar to Semina

ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2powe1234
 
01นำเสนอการวิจัยปฏิบัติการบท1 2 ดร.เกื้อ
01นำเสนอการวิจัยปฏิบัติการบท1 2 ดร.เกื้อ01นำเสนอการวิจัยปฏิบัติการบท1 2 ดร.เกื้อ
01นำเสนอการวิจัยปฏิบัติการบท1 2 ดร.เกื้อJeeraJaree Srithai
 
วิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียนวิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียนguestabb00
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Sompoii Tnpc
 
การทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้นการทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้นPongtong Kannacham
 
ความหมายของโครงงาน2
ความหมายของโครงงาน2ความหมายของโครงงาน2
ความหมายของโครงงาน2Paranee Srikhampaen
 
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัยการวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัยsudaphud
 
ใบงานที่ 2 - 8 โครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 2 - 8 โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่ 2 - 8 โครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 2 - 8 โครงงานคอมพิวเตอร์Thanatchaporn Yawichai
 

Similar to Semina (20)

Appreciative Inquiry Research A-Z
Appreciative Inquiry Research A-ZAppreciative Inquiry Research A-Z
Appreciative Inquiry Research A-Z
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
 
01นำเสนอการวิจัยปฏิบัติการบท1 2 ดร.เกื้อ
01นำเสนอการวิจัยปฏิบัติการบท1 2 ดร.เกื้อ01นำเสนอการวิจัยปฏิบัติการบท1 2 ดร.เกื้อ
01นำเสนอการวิจัยปฏิบัติการบท1 2 ดร.เกื้อ
 
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
 
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
 
วิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียนวิเคราะห์ผู้เรียน
วิเคราะห์ผู้เรียน
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
Commm
CommmCommm
Commm
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
การทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้นการทำโครงงาน 5 ขั้น
การทำโครงงาน 5 ขั้น
 
ความหมายของโครงงาน2
ความหมายของโครงงาน2ความหมายของโครงงาน2
ความหมายของโครงงาน2
 
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัยการวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
การวิจัยแบบง่ายสู่ครูนักวิจัย
 
Research-tools 2014
Research-tools 2014Research-tools 2014
Research-tools 2014
 
Com 1
Com 1Com 1
Com 1
 
ใบงานที่ 2 - 8 โครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 2 - 8 โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่ 2 - 8 โครงงานคอมพิวเตอร์
ใบงานที่ 2 - 8 โครงงานคอมพิวเตอร์
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 

Semina

  • 1. สรุปการสัมมนาจากวิทยากร<br />วิทยากรแต่ละท่านได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสัมมนา “พัฒนาเรียนรู้ ก้าวสู่งานวิจัย” ได้อย่างกว้างขวาง <br />ประธานในพิธี (ผศ.กิตติคุณ) ส่วนใหญ่ นักศึกษา ปริญญาโท ที่มีปัญหาในการทำวิจัยทุกรุ่นค่อนข้าที่จะประสบปัญหา บางคนก็ทำได้รวดเร็ว บางคนก็ช้า ทำให้ท้อแท้ ซึ่งปัญหาในการทำวิจัย มีหลายองค์ประกอบ เช่น<br />1.ปัญหาตัวผู้วิจัยเอง คือความพร้อมในการทำวิจัย ความเข้าใจ เวลาที่จะทำหรือรวบรวมข้อมูล<br />2.ปัญหากระบวนการในการทำวิจัย ผู้ทำยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าที่ควรในเรื่องที่จะทำ เช่นระเบียบวิธีวิจัย สถิติที่ใช้ในการทำวิจัย การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การสร้างเครื่องมือ ทดสอบ ทดลอง เป็นต้น<br />3.ทิศทางของการวิจัย ไม่ค่อยชัดเจน ณ ยุคนี้เราควรทำวิจัยเรื่องใด หัวใดสมควรเป็นต้น<br />4.เวลา คือผู้ทำวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษา มีเวลาไม่ตรงกัน การพบปะกันน้อย<br />5.ทุนในการดำเนินการวิจัย ควรมีทุนในการสนับสนุนในการทำวิจัยจากหน่วยงานต้นสังกัด<br />วิทยากร (สุธี) เสนอแนะ การทำอย่างไรเพื่อให้งานวิจัยประสบความสำเร็จ<br />1.การกำหนดหัวข้อในการทำวิจัย ที่ยังไม่ลงตัว<br />2.เมื่อสอบผ่านหัวข้อไปแล้ว ปล่อยทิ้งไว้นานทำให้เนิ่นช้า<br />3.เวลาของนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา การพบปะพูดคุยกันมีน้อย ทำให้ขาดการติดต่อสื่อ<br />แนวโน้มการทำวิจัยในปัจจุบันและอนาคต<br />1.สื่อที่เราจะทำมีอะไร<br />2.มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอะไร ขอบเขตเป็นอย่างไร<br />3.การทำวิจัยอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ในการทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้วิจัยต้องหมั่น ดูงานวิจัยของตนเอง หมั่นศึกษา หมั่นพบอาจารย์ หมั่นหาผู้เชี่ยวชาญ และที่สำคัญผู้วิจัยต้องมีความขยันเพิ่มเป็นสองเท่าของการทำงานนอกจากคนที่ทำงานแล้ว เพราะงานที่เราทิ้งไว้นาน การจะกลับมาแก้ไขเป็นไปได้ยาก หลังจากพบกับอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ควรปรับปรุงแก้ไข ทำให้งานสมบูรณ์ เพื่อจะได้พัฒนาสื่อของเราต่อไป ซึ่งในการพัฒนาสื่อนั้น ต้องมีขั้นตอนในการวางแผนตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงขั้นสุดท้าย หลังจากนั้นจะได้มีการทดลอง และวิเคราะห์สรุปผลเป็นลำดับไป<br />วิทยากร (คุณเฉลิม รุ่นที่ 6) เสนอแนะ ปัจจุบันยังไม่จบ สาเหตุที่ไม่จบหรือล่าช้าในการทำวิจัย มีเหตุหลายประการ เช่น<br />1.เรื่องหัวข้อที่จะใช้สอบ เค้าโครงร่างที่จะให้สอบวิทยานิพนธ์ เรามักมีคำถามว่า จะทำเรื่องอะไรดี เช่นเราจบมาไม่ตรงกับสาขาที่เราเรียน จึงต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ตรงกับสาขา และต้องหาวัตถุประสงค์ว่าเราทำเพื่ออะไร ทำแล้วได้อะไร ใครได้ประโยชน์จากงานวิจัยของเรา เพื่อจะได้รวบรวมเนื้อหา และไม่ควรมีความโลเลในจิตใจ คือควรมีจิตใจที่หนักแน่น<br />2.การเตรียมตัวสอบหัวข้อ ควรศึกษาเนื้อหา รวบรวมข้อมูล ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต เพราะสาขาเราเป็นเทคโนโลยี จึงควรมีความแปลกใหม่ มีจุดเด่น เพื่อเขียนบทที่ 1-3 ตามหลักสูตรสาขาของเรา ที่สำคัญคือเอกสารอ้างอิง และควรปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาตลอดเวลา<br />3.ขั้นตอนในการดำเนินการ มีหลายขั้นตอน เช่น<br />-การสร้างสื่อ ควรจะทำความเข้าใจว่าสื่อของเราเป็นแบบไหน การออกแบบของเราเป็นอย่างไร<br />-แบบประเมินสื่อ ข้อความที่จะประเมินสื่อควรให้ตรงกับสื่อของเรา<br />-ผู้เชี่ยวชาญ นำความรู้ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญภายนอก มารวบรวม แยกเป็นข้อๆ ว่าเหมือนหรือแตกต่างกัน เพื่อปรับปรุงสื่อของเรา จะทำให้สื่อของเราผ่านไปด้วยดี<br />4.ขั้นสรุป เมื่อรวบรวมเสร็จแล้ว เราจะใช้ข้อมูลทางสถิติ หลังจากที่เราได้นำแบบทดสอบ แบบประเมินไปไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างแล้ว เพื่อที่จะทำบทที่ 4-5 แต่ผู้บรรยายกำลังดำเนินการอยู่ จึงไม่ขออธิบายในส่วนนี้<br />แนวโน้มในการทำวิจัยให้สำเร็จ คือ ควรสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่น คือแต่ละรุ่นควรช่วยเหลือกัน ผลักดันกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละคน เอาองค์ความรู้มาแชร์กัน ก็น่าจะประสบความสำเร็จ<br />การวางแผนก่อนการเรียน ถือว่ามีความสำคัญ ถ้าเราไม่วางแผน จะไม่รู้ว่าเราจะทำอะไร ในแต่ละเทอม<br />อย่าใช้เวลาให้เปล่าประโยชน์ หรือละเลย เพราะจะทำให้งานช้าอย่างแน่นอน ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย คือกระบวนการที่ทุกคนต้องเจอ และควรมีแนวทางแก้ไขแตกต่างกันไป และปัญหาที่สำคัญที่สุดคือปัญหาจากตัวของเราเอง ถ้าเราไม่มีความมุ่งมั่นที่จะทำ งานวิจัยก็ไม่ประสบความสำเร็จ<br />วิทยากร (คุณสิริวัลย์) เสนอแนะ ในการทำวิทยานิพนธ์ ค่อนข้างจะเหมือนกับวิทยากรท่านอื่น เพราะกำลังจะนำเสนอหัวข้อ ส่วนที่ประสบปัญหา คือยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ตนเองทำ จึงควรปรึกษากับท่านผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อขอคำแนะนำ ซึ่งกว่าจะได้หัวข้อก็ต้องมีความพยายามเป็นอย่างมาก จึงต้องขอบคุณท่านอาจารย์ที่คอยแนะนำ ให้แสงสว่าง ทำให้เกิดแนวคิดในการทำวิจัย โดยเฉพาะในรายวิชาที่เรียนนั้น นับว่าก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก ในการหาหัวข้อทำวิจัย และที่สำคัญคือเราต้องต่อสู้ด้วยตัวของเราเอง ส่วนปัญหาที่พบเจอในขณะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม คือ<br />เอกสารอ้างอิงที่เป็นปัจจุบัน เพราะหายาก เอกสารส่วนใหญ่เป็นภาษาต่างประเทศ ข้อเสนอแนะคือหาวิทยานิพนธ์ที่เขาทำสำเร็จแล้วจากมหาวิทยาลัยอื่น ให้ตรงกับหัวข้อของเรา และศึกษาเฉพาะจุดที่เราต้องการทำ เช่นชุดฝึกอบรม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดอย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น<br />เมื่อเราได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพียงพอแล้ว ต้องเข้าหาท่านผู้รู้ เช่นอาจารย์ในสาขา ซึ่งทุกท่านยินดีให้คำปรึกษา <br />การเข้าหาผู้เชี่ยวชาญ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เราได้รับคำแนะนำที่ดี การได้เทคนิคต่างๆ ในการทำวิจัย<br />การทำวิจัยที่คล้ายคลึงกันสามารถแชร์ความรู้หรือสืบค้นข้อมูลร่วมกันได้ ทำให้งานเสร็จรวดเร็ว<br />เอกสารในสาขาจะมีน้อยมาก จึงอยากให้มีห้องสมุดที่เป็นเอกสารอ้างอิง เพราะในการไปสืบค้นยังสถานที่ต่างๆ ทำให้เหนื่อยมากทั้งเรื่องเวลา และการเดินทาง บางครั้งการไปทำงานเราไปด้วยความตั้งใจแต่ถ้าเจอปัญหาอาจทำให้เราท้อได้เหมือนกัน จึงอยากให้เพื่อนๆ สร้างกำลังใจให้ตนเองและเพื่อนร่วมรุ่นด้วย<br />ปัญหาเวลาที่ไม่ตรงกัน ระหว่างผู้ทำวิจัยกับอาจารย์ที่ปรึกษา แต่บางครั้งการติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ทำวิจัยก็ต้องคำนึงถึงเวลาที่เป็นส่วนตัวของอาจารย์ด้วยเช่นกัน<br />ถาม-ตอบ<br />อุปสรรคในการค้นหาเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง<br />ดร.เกียรติศักดิ์ การหาเอกสารที่นักศึกษาบอกว่าหายากนั้น ในโลกนี้มีเอกสารมากมาย เราจึงต้องพยายามค้นหา เริ่มต้นการค้นหาที่เว็บไซต์ก่อน โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพราะเหตุไรเราจึงไม่กล้าใช้ภาษาอังกฤษกัน ควรพยายามแปลเพิ่มเติม เคยพูดเสมอว่าอะไรที่แปลกใหม่และหาไม่เจอ แสดงว่าอันนั้นคือสิ่งที่สุดยอด <br />ในการหาเอกสาร ไม่ใช่เราเดินไปหา เราอยู่ในยุคเทคโนโลยีการจะไปหาในห้องสมุดก็ไม่จำเป็นต้องไปก่อนก็ได้ ควรค้นหาในเว็บไซต์ก่อน ห้องสมุดออนไลน์มีทุกมหาวิทยาลัย สามารถสืบค้นได้ ถ้าเจอแล้วค่อยเดินทางไป หรือใช้วิธียืม ใช้บริการได้ ซึ่งมีวิธีการเยอะแยะ แต่ส่วนใหญ่เราใช้วิธีแบบลูกทุ่ง คือเฮกันไปเป็นกลุ่ม <br />เราจะสร้างห้องสมุดใหญ่เท่าไรก็ไม่เพียงพอ เพราะไม่ตรงกับความต้องการของเรา<br />ในการสืบค้นทางเว็บไซต์ ควรใช้คำหลายๆ คำ อย่าใช้คำเดียว หรือคำที่ใกล้เคียงกัน แต่ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ จะใช้คำเดียวกัน ก็ควรใช้ภาษาอังกฤษสืบค้น เพราะรากฐานมาจากภาษาอังกฤษ เช่นความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น<br />อ.ประนอม <br />สถิติที่ใช้ในการวิจัย ให้ดูตามวัตถุประสงค์ของเราเอง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์<br />ในการทำวิจัย ควรมีคำถามกับตัวเองว่า<br />1.ทำไมเราถึงทำเรื่องนั้น ตอบตัวเองให้ได้ว่าทำไมจึงทำ<br />2.อยากรู้อะไรในสิ่งที่ทำ เช่นสื่อมีประสิทธิภาพอย่างไร<br />3.สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือกระบวนการในการทำตามขั้นตอนต่างๆ<br />สิ่งสำคัญคือ นักศึกษามีความรู้ในสิ่งที่จะทำแค่ไหน เช่น เนื้อหา กระบวนการวิจัย ส่วนใหญ่ที่ฟังมาสักครู่ นักศึกษาไม่มีปัญหาเรื่องเงิน แต่มีปัญหาเรื่องความรู้ กับเวลา แต่บางครั้งเราก็ติดขัดในเรื่องของกระบวนการต่างๆ ฉะนั้นก็ต้องพยายามแก้ปัญหาต่อไป<br />การยึดหลักในการทำวิจัย สิ่งที่ควรคำนึงถึง<br />ดร.เกียรติศักดิ์ ส่วนใหญ่เราทำอะไร เรามักทำตามๆ กัน บางครั้งไปเป็นหรือฟังงานวิจัยของเพื่อนแล้วเกิดความลังเลในงานวิจัยของตนเอง ในการทำวิจัยครั้งแรก เรามักไม่ค่อยมีความมั่นใจในสิ่งที่เราถนัด ในสิ่งที่เราอยากรู้ อยากค้นพบ ความใหม่กับความถนัดไม่เหมือนกัน ฉะนั้นในการทำวิจัยเราควรมีความมั่นใจในสิ่งที่เรากำลังจะทำ<br />กระบวนการในการสอบงานวิจัย<br />ดร.สุกัญญา ในการสอบผู้วิจัยมีความสามารถรู้กระบวนการทุกขั้นตอนเพียงใด<br />ในการสอบ เรื่องการส่งเอกสารให้ผู้ดำเนินการสอบบางครั้งล่าช้ามาก ส่งก่อนเพียงวันเดียวก็มี<br />การอ้างอิงเอกสารหรือชื่อของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทำวิจัยต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ควรอ้างอิงอย่างเลื่อนลอย จะเกิดความเสียหายในภายหลัง<br />การคัดลอกเอกสารจากงานคนอื่น ควรมีการสังเคราะห์ด้วย แล้วอภิปรายผล วิธีการที่ดีที่สุดคือการค้นหาต้นฉบับให้เจอ อ้างอิงให้ชัดเจน บางมหาวิทยาลัย การอ้างอิงต้องมีทั้งในเล่มและในบรรณานุกรม <br />การทำวิจัยต้องตอบให้ได้ว่า ทำทำไม ทำแล้วเกิดอะไรขึ้น เพื่อจะได้เขียนที่มาของความสำคัญของปัญหา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการทำตามขั้นตอนต่อไป<br />ผศ.กิตติคุณ การทำงานวิจัย ไม่ทำตามความมันส์ ความอยาก ความชอบ หรือตามกิเลส แต่ให้ดูที่ประโยชน์เป็นสำคัญว่า งานที่เราทำสำเร็จแล้ว มีประโยชน์อย่างไร เช่นการทำงานวิจัย ที่เราไปศึกษาค้นคว้างานวิจัยของคนอื่น และดูบทสรุปข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดอย่างไร ในงานวิจัยของเราเอง โดยเฉพาะงานวิจัยด้านผู้ด้อยโอกาส <br />ความน่าเชื่อถือของงานวิจัย งานวิจัยเหมือนกับโพลล์ ที่มีหลายสำนัก แต่นักวิจัยต้องมีคุณธรรม โดยเฉพาะความซื่อสัตย์ ถ้าเราไม่ซื่อสัตย์ต่อเราเอง แสดงว่าเราก็ไม่ซื่อสัตย์ต่อบุคคลอื่น เพราะเรายังโกหกเราเองได้<br />ผศ.ประนอม การทำงานวิจัย เน้นเรื่องจรรยาบรรณนักวิจัยด้วย การสอบเป็นไปตามกระบวนการ และระเบียบวิธีวิจัย ควรศึกษาให้เข้าใจชัดเจน<br />ในการสอบครั้งแรก ควรเตรียมเครื่องมือ (สื่อ) มานำเสนอหรือไม่<br />ดร.สุกัญญา ในการสอบครั้งแรก เป็นขั้นตอนเตรียมการสร้าง เช่นชุดการสอน เป็นต้น ฉะนั้นการสอบครั้งแรก ขอให้มีแค่ 3 บทเท่านั้น แต่ต้องชัดเจน โดยเฉพาะบทที่ 3 กระบวนการวิจัยต้องชัดเจนที่สุด<br />ผู้กำกับการสอบสามารถดูงานวิจัยของเราจากเอกสารบทที่ 1-3 ได้ว่ากระบวนการในการสร้างเครื่องมือของเราเป็นอย่างไร มีปัญหาตรงจุดไหน <br />ในการนำเสนอในเพาเวอร์พ้อยท์ ควรนำเสนอแบบนักเทคโนฯ ไม่มีแต่ตัวหนังสืออย่างเดียว<br />วิทยากรร่วม (พระมหาปิยภัทร์) นักศึกษา ป.โท สาขา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร รหัส 52<br />การทำวิจัยมักเจอปัญหากันทุกคน แต่มีคติว่า “กว่าจะฉลาด ก็พลาดพลั้งมาหลายสิ่ง กว่าจะรู้ว่าอะไรคือความจริง บางสิ่งก็สูญเสียไป” <br />การทำวิจัยคือการลอกอย่างมีระบบ แต่การอ้างอิงนั้นต้องชัดเจน เมื่อเราสอบผ่านแล้ว เราสามารถถ่ายทอดต่อคนอื่นได้หรือไม่<br />งานวิจัยที่ทำ บทเรียนออนไลน์ วิชาวัฒนธรรมเพื่อชีวิต แต่ที่สับสนในขณะทำ คือคำว่า โมเดล กับ รูปแบบ ซึ่งต้องเสียเวลาศึกษาค้นคว้าเอกสารนานพอสมควรจึงจะเข้าใจ<br />การสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ มีความจำเป็นเพราะจะทำให้งานของเรามีความก้าวหน้า<br />