SlideShare a Scribd company logo
 
ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราช สังคมสยาม มิได้ถูกคุกคามเฉพาะอำนาจทางทหาร / เศรษฐกิจ เทคโนโลยีของตะวันตก แต่รัฐสยามกลายเป็นพื้นที่ที่เปิดและถูกแทรกด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองของตะวันตก  โดยเฉพาะอุดมการณ์ประชาธิปไตย และอุดมการณ์สังคมนิยม ฌอง ฌาค รุสโซและคาร์ล มารกซ์ เข้ามาอยู่ในพื้นที่ของรัฐไทย
อุดมการณ์ประชาธิปไตย  ( รุสโซเป็นหนึ่งในนักคิดประชาธิปไตย )   ได้ข้ามพรมแดนจากยุโรปเข้าสู่สังคมไทย และแสดงพลังดังกล่าวผ่านคน  3  กลุ่ม คือ  1.  กลุ่ม รศ . 103 ร . ศ . 103  ตรงกับ พ . ศ . 2427  เป็นปีที่  17  ของการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีเจ้านายและข้าราชการ จำนวนหนึ่งที่รับราชการ ณ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอนและปารีสได้ร่วมกันลงชื่อในเอกสารกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน ร . ศ . 103  ทูลเกล้าฯ ถวาย ณ วันที่  9  เดือนมกราคม พ . ศ . 2427
เจ้านายและข้าราชการที่จัดทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นครั้งนั้น มีพระนามชื่อปรากฏอยู่ท้ายเอกสาร ได้แก่  (1)  พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์  (2)  พระเจ้าน้องยาเธอ  (3)  พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต  (4)  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ  (5)  พระองค์เจ้าปฤษฎางค์  (6)  นายนกแก้ว คชเสนี  (7)  บุศย์ เพ็ญกุล  ( จมื่นไวยวรนาถ )  (8)   หลวงเดชนายเวร  (9)  ขุนปฏิภาณพิจิตร  (10)  หลวงวิเสศสาลี  (11)  นายเปลี่ยน และ  (12)  สัปเลฟเตอร์แนนสะอาด
ในหนังสือกราบบังคมทูล ได้เสนอความเห็นที่เรียกว่าจัดการบ้านเมืองตามแบบยุโรป รวม  7  ข้อ ดังนี้  (1)   ให้เปลี่ยนการปกครองจาก Absolute Monarchy  เป็น  Constitutional Monarchy  (2)  การทำนุบำรุงแผ่นดินต้องมีพวกคาบิเนตรับผิดชอบ  (3)  ต้องหาทางป้องกันคอรัปชั่นให้ข้าราชการมีเงินเดือนพอใช้ตามฐานานุรูป  (4)  ต้องให้ประชาชนมีความสุขเสมอกันมีกฎหมายให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนทั่วไป  (5)  ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขขนบธรรมเนียม และกฎหมายที่กีดขวางความเจริญของบ้านเมือง  (6)  ให้มีเสรีภาพในทางความคิดเห็นและให้แสดงออกได้ในที่ประชุมหรือในหนังสือพิมพ์  (7)  ข้าราชการทุกระดับชั้นต้องเลือกเอาคนที่มีความรู้ มีความประพฤติดี อายุ  20  ขึ้นไป ผู้ที่เคยทำชั่วถูกถอดยศศักดิ์ หรือเคยประพฤติผิดกฎหมาย ไม่ควรรับเข้ารับราชการอีก และถ้าได้ ข้าราชการที่รู้ขนบธรรมเนียมยุโรปได้ยิ่งดี
2.  กบฏ ร . ศ . 130  ( พ . ศ .2454 ) “ เหตุการณ์ ร . ศ .130  เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยที่เริ่มต้นแล้วก็ล้มเหลว ... จริง แต่อย่าลืมว่าเหตุการณ์ ร . ศ .130  เกิดขึ้นหลังการสวรรคตของ ร .5  เพียง  15  เดือน จึงกล่าวได้ว่า เป็นเหตุที่เกิดจากผลของการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย” “  ร . ศ .130  เป็นนายร้อยที่เป็นกลุ่มสามัญชน กลุ่ม ร . ศ .130  ที่รวมตัวกัน ซึ่งประกอบด้วย ร . อ . เหล็ง ศรีจันทร์ ร้อยตรีจรูญ ษตะเมษ เป็นแกนนำ มีสมาชิกที่เป็นทหาร  90  คนในระยะเริ่มต้น ”
ร . ศ .130   เกิดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศของต่างประเทศที่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงในนานาประเทศ เริ่มจากญี่ปุ่นที่มีการปฏิรูปเมจิ ทำให้ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจอุตสาหกรรมทัดเทียมตะวันตก ส่วนที่เมืองจีนมีการปฏิวัติของ ดร . ซุนยัดเซ็นในปี  2454  การปฏิวัติของซุนยัดเซ็น มีอิทธิพลต่อกลุ่มทหาร ร . ศ .130  มาก พลทหารจะเรียกการปฏิวัตินี้ว่า ปฏิวัติเก็กเหม็ง ยังมีการเผยแพร่ข่าว ภาพความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของการปฏิวัติเก็กเหม็ง ที่เผยแพร่กันภายในกลุ่มทหาร ร . ศ .130  ในเวลาต่อมา
กลุ่ม ร . ศ . 130  มีปณิธานและความมุ่งหมาย ในการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ริเริ่มก่อการปฎิวัติก็วางแผนชักจูงทหารทั่วประเทศ และเกลี้ยงกล่อมทหารเกญฑ์ที่เข้ารับราชการทุกรุ่น ให้มีความเข้าใจถึงความเป็นอยู่ของประเทศชาติ และความเสื่อมทรามในขณะนั้น และความเป็นไปของลัทธิประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ว่ามีประโยชน์อย่างไร รวมถึงอธิบายให้เขาเหล่านั้นเข้าใจถึงเรื่องสิทธิและเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นได้แพร่ข่าวกระจายไปทั่วประเทศ เพื่อให้ราษฎรตระหนักว่า ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเป็นลัทธิที่ไม่เหมาะสมแก่การปกครองประเทศ จนจะไม่มีเหลืออยู่แล้วในโลกนี้
3.  คณะราษฎร พ . ศ .2475 “ แผนการณ์ใหญ่ในการปฎิวัติโค่นล้มพระราชบัลลังก์เมื่อ ร . ศ . 130  ของคณะผู้ก่อการคือการลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และความล้มเหลวคือจุดจบของคณะปฎิวัติในครั้งนั้น การถูกจับกุมและถูกจำคุกตลอดชีวิตหรือความทุกข์ทรมานด้วยประการทั้งปวง ไม่ได้เป็นหมายความว่าจะไม่มีการก่อการเช่นนั้นอีก ... ด้วยปรารถนาเดียวกัน ... โดยหลักการที่ต่างกันในอีกไม่กี่ปีต่อมา ...”  คณะราษฎร์
จากสถานการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก และจากกรณีที่มหาสงครามโลกครั้งที่ 1  สงบลงที่ทำให้ทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง   เช่นในรัสเซีย โดยพวกบอลเชวิค ในเยอรมันก็เปลี่ยนการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นมหาชนรัฐ และรวมทั้งในยุโรปและภาคพื้นเอเชีย ได้เกิดการปฎิวัติ เช่น การปฎิวัติในจีนเพื่อโค่นบัลลังแมนจู ที่ประเทศญี่ปุ่นจักรพรรดิทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน ทั้งหมดนี้ได้อยู่ในความสนใจและติดตามข่าวของคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งในประเทศสยาม และประกอบกับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัฐบาลในขณะนั้น   ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาสภาวะเศรษฐกิจ ที่ตกต่ำได้ เป็นเหตุให้ผู้รักชาติ รักแผ่นดิน และคณะบุคคลกลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วยทหารและพลเรือนผู้มีความคิดเห็นและอุดมการณ์เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไม่สามารถทนเพิกเฉย ต่อความอัตคัดขัดสนของประชาชนและความเสื่อมของประเทศได้ ...
คณะบุคคลคณะนี้จึงได้คิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ต้องการให้มีรัฐสภา ต้องการให้ประชาชนปกครองตนเอง โดยมีรัฐธรรมนูญปกครองประเทศ และต้องการให้พลเมืองมีสิทธิ เสรีภาพเสมอภาค ภราดรภาพ ต้องการที่จะวางโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แก้ปัญหาคนว่างงาน เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางที่เรียกกันว่า  " ประชาธิปไตย "   
ผู้คิดโค่นล้มราชบัลลังของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคณะนี้ นำโดย พ . อ .  พระยาพหลพลพยุหเสนา พ . อ .  พระยาทรงสุรเดช พ . อ .  พระยาฤทธิ์อัคเนย์ พ . ท .  พระประศาสนพิทยายุทธ์ พ . ต .  หลวงพิบูลสงครามและหลวงประดิษฐ์มนูธรรม  คณะราษฎร์ได้เข้ายึดอำนาจรัฐและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อ   24   มิถุนายน พ . ศ . 2475 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม   นายประยูร ภมรมนตรี หนึ่งในคณะราษฎร์
บางคนเรียกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  24  มิถุนายน พ . ศ . 2475  ว่า การ ปฏิวัติสยาม  พ . ศ . 2475  เพราะเป็นการกระทำเพื่อเปลี่ยนระบอบการปกครอง คือ เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย  ที่สำคัญยิ่งก็คือ การเปลี่ยนแนวคิดว่าด้วยอำนาจอธิปไตย ที่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์มาเป็นอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน กล่าวอีกนัย การปฏิวัติ  2475  คือ การวางรากฐานแนวคิดว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งเป็นรากฐานของการเมืองไทยในปัจจุบัน
คณะราษฎรได้วางรากฐานการเมืองยุคใหม่ของไทยหลายประการ หนึ่งในนั้นก็คือ การตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อ  27  มิถุนายน พ . ศ . 2477 แต่การปฏิวัติก็ใช่จะราบรื่น สิ่งที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติก็คือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ ความขัดแย้งดังกล่าวก็คือ ความขัดแย้งแนวทางการพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจหลังการปฏิวัติ ซึ่งก็คือความขัดแย้งของแนวทางการเมืองและเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์กับคนอื่นๆ
โดยในวันที่  15  มีนาคม พ . ศ .2476  นายปรีด พนมยงค์ได้เสนอ  " เค้าโครงเศรษฐกิจ "  เพื่อให้พิจารณาใช้เป็นหลัก สำหรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีลักษณะเป็นสหกรณ์เต็มรูปแบบ แต่ไม่ทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน โดยให้รัฐซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมด้วยพันธบัตร มีดอกเบี้ยประจำปี ให้การประกันแก่ราษฎร ตั้งแต่เกิดจนตาย ว่าเมื่อราษฎรผู้ใดไม่สามารถ ทำงานได้หรือทำงานไม่ได้เพราะเจ็บป่วย หรือชราหรืออ่อนอายุ ก็จะได้รับความอุปการะเลี้ยงดูจากรัฐบาล
แต่แนวความคิดดังกล่าว ฝ่ายพระยามโนปกกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีและขุนนางต่างๆ ไม่เห็นด้วยเนื่องจาก ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งเจ้าและขุนนาง ยังกุมอำนาจอยู่ เมื่อนำเข้าสู่สภาแล้วเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย นายปรีดีจึงได้ลาออก จากตำแหน่ง รัฐบาลร่วมกับทหารบางกลุ่ม ทำการยึดอำนาจปิดสภาและออก พ . ร . บ .  ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ . ศ .2476  ออกแถลงการณ์ประณาม นายปรีดีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ นายปรีดีจึงถูกเนรเทศออกนอกประเทศ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนที่  1
หลังการปฏิวัติ  2475  สังคมสยามมีการเลือกตั้งหลายครั้ง แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ดำเนินการปกครองเป็นไปแบบกระท่อนกระแท่น และจบลงด้วยการรัฐประหารของทหารในปี  2490 กล่าวอีกนัย หลังการปฏิวัติ  2475 – พ . ศ . 2490  แม้ประชาธิปไตยสยามจะไม่มั่นคง แต่ประชาธิปไตยก็คืออุดมการณ์ทางการเมืองของยุโรปที่อพยพข้ามพรมแดนรัฐสยามและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ชาวสยาม ความเป็นสยามในยุดนี้ ต่างไปจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะในยุคนี้ สยาม  =  ชาติ  +  ศาสนา  +  รัฐธรรมนูญ
ทางเดินของความเป็นไทย เมื่อสยามกลายเป็นไทย “ การสร้างความเป็นไทยแบบฝรั่ง   สมัยจอมพล ป .   พิบูลสงคราม ” 5
จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า  " จอมพล ป ."  เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีเวลาดำรงตำแหน่ง รวมกันมากที่สุดของไทย คือ  14  ปี  11  เดือน  18  วัน  เขาเป็นหนึ่งในคณะราษฎรและมีบทบาทสำคัญในการปราบปรามกบฏบวรเดชร ผลงานดังกล่าวผลักดันให้เขาก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่  3  ของไทย และเขาเป็นคนที่เปลี่ยนชื่อประเทศจากประเทศสยามมาเป็นประเทศไทยในวันที่  24  มิถุนายน พ . ศ . 2482   และเป็นผู้เปลี่ยน “เพลงชาติไทย "  มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ  " เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย "  และ  " ไทยอยู่คู่ฟ้า "
จอมพล ป .  มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยะประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย “รัฐนิยม "  หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],ถั่วงอก ก๋วยเตี๋ยว ช่วยชาติ
[object Object],ผ้าม่วงเป็นของสยาม กางเกงขายาวคือกางเกงฝรั่ง
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],อกหักเพราะรักชี รักวังผีเสื้อหอ  5 บวชชีหนีรัก เณรไม่เกี่ยว เจี้ยวยังเล็ก
4.  คนไทยอารยะต้องเลิกกินหมาก  เคี้ยวหมาก จะทำให้ฟันดำ
5. “ ชายไทยต้องไม่เปลือยกายในที่สาธารณะ” “ ห้ามใส่กางเกงในตัวเดียวในที่สาธารณะ”
สงขลา  2485
[object Object]
[object Object],[object Object]
รองเท้าสร้างชาติ
ความสำคัญของหมวก หมวกสร้างชาติ สมัยจอมพล ป .
 
[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object]
จังหวัดพิบูลสงคราม  เป็น  1  ใน  4  จังหวัดที่ประเทศไทยได้ดินแดนคืนจากฝรั่งเศสในช่วง พ . ศ . 2484  จังหวัดพิบูลสงคราม คือ จังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดอุดรมีชัยและจังหวัดเตียเมียนเจยในประเทศกัมพูชา
 
[object Object],[object Object]
แต่จากภาพรณรงค์วัฒนธรรมไทย ณ ที่ว่าการจังหวัดสงขลา เมื่อปี พ . ศ . 2485  และรัฐนิยมอื่นๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น ย่อมสะท้อนให้เห็นชัดว่า จอมพล ป .  พยายามสร้างความเป็นไทยด้วยการสลัดทิ้งความเป็นไทยหรือวัฒนธรรมไทยแบบดั้งเดิม และสร้างวัฒนธรรมตะวันตกหรือความเป็นตะวันตกให้เป็นไทย ความเป็นไทยจึงถูกสร้างด้วยปัจจัยที่ข้ามพรมแดนมาจากตะวันตก
[object Object],[object Object]

More Related Content

What's hot

การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยอุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
Thongkum Virut
 
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยอุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
Thongkum Virut
 
ประเทศจีน
ประเทศจีน ประเทศจีน
ประเทศจีน
SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พฤษภาทมิฬ
พฤษภาทมิฬ พฤษภาทมิฬ
พฤษภาทมิฬ On-in Goh
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
Atiwit Siengkiw
 

What's hot (10)

นาย ปรีดี พนมยงค์
นาย ปรีดี   พนมยงค์นาย ปรีดี   พนมยงค์
นาย ปรีดี พนมยงค์
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยอุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
 
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยอุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
ประเทศจีน
ประเทศจีน ประเทศจีน
ประเทศจีน
 
พฤษภาทมิฬ
พฤษภาทมิฬ พฤษภาทมิฬ
พฤษภาทมิฬ
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
 
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยการเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทย
 
Key pr1 30109
Key pr1 30109Key pr1 30109
Key pr1 30109
 

Similar to Pw4 5

Cw059 13 ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (กิจกรรม)
Cw059 13 ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (กิจกรรม)Cw059 13 ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (กิจกรรม)
Cw059 13 ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (กิจกรรม)
Prapaporn Boonplord
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
History of Thailand
History of ThailandHistory of Thailand
History of Thailand
salintip pakdeekit
 
History of Thailand
History of ThailandHistory of Thailand
History of Thailand
salintip pakdeekit
 
การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ Is2 รัฐประหาร
การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ Is2 รัฐประหารการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ Is2 รัฐประหาร
การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ Is2 รัฐประหาร
BoBiw Boom
 
ธนบุรี
ธนบุรีธนบุรี
ธนบุรีsangworn
 
Thai Right of REVOLUTION & Political CORRUPTION
Thai   Right of REVOLUTION & Political CORRUPTIONThai   Right of REVOLUTION & Political CORRUPTION
Thai Right of REVOLUTION & Political CORRUPTIONVogelDenise
 
06 The War Of Historiography After 2475 1
06 The War Of Historiography After 2475   106 The War Of Historiography After 2475   1
06 The War Of Historiography After 2475 1ee
 
การปกครอง 604
การปกครอง 604การปกครอง 604
ศาสตราจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมท
ศาสตราจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมท ศาสตราจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมท
ศาสตราจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมท SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
การปฏิวิตัชินไฮ่
การปฏิวิตัชินไฮ่การปฏิวิตัชินไฮ่
การปฏิวิตัชินไฮ่Thammasat University
 
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)
Narong Chokwatana
 
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตยยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตยMild Jirachaya
 
Social M.2 term1
Social M.2 term1Social M.2 term1
เผด็จการ
เผด็จการเผด็จการ
เผด็จการthnaporn999
 
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทยปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
Thongkum Virut
 
ดุสิตธานี
ดุสิตธานีดุสิตธานี
ดุสิตธานี
Thongkum Virut
 
iyddddddบทความของ ดร
iyddddddบทความของ ดรiyddddddบทความของ ดร
iyddddddบทความของ ดร
khamaroon
 

Similar to Pw4 5 (20)

Cw059 13 ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (กิจกรรม)
Cw059 13 ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (กิจกรรม)Cw059 13 ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (กิจกรรม)
Cw059 13 ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง (กิจกรรม)
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
History of Thailand
History of ThailandHistory of Thailand
History of Thailand
 
History of Thailand
History of ThailandHistory of Thailand
History of Thailand
 
การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ Is2 รัฐประหาร
การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ Is2 รัฐประหารการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ Is2 รัฐประหาร
การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ Is2 รัฐประหาร
 
ธนบุรี
ธนบุรีธนบุรี
ธนบุรี
 
Thai Right of REVOLUTION & Political CORRUPTION
Thai   Right of REVOLUTION & Political CORRUPTIONThai   Right of REVOLUTION & Political CORRUPTION
Thai Right of REVOLUTION & Political CORRUPTION
 
Pw10
Pw10Pw10
Pw10
 
06 The War Of Historiography After 2475 1
06 The War Of Historiography After 2475   106 The War Of Historiography After 2475   1
06 The War Of Historiography After 2475 1
 
การปกครอง 604
การปกครอง 604การปกครอง 604
การปกครอง 604
 
ศาสตราจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมท
ศาสตราจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมท ศาสตราจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมท
ศาสตราจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมท
 
การปฏิวิตัชินไฮ่
การปฏิวิตัชินไฮ่การปฏิวิตัชินไฮ่
การปฏิวิตัชินไฮ่
 
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)
 
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตยยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
 
Social M.2 term1
Social M.2 term1Social M.2 term1
Social M.2 term1
 
เผด็จการ
เผด็จการเผด็จการ
เผด็จการ
 
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทยปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
ปฐมกาลการปกครองระบอบเผด็จการในประเทศไทย
 
ดุสิตธานี
ดุสิตธานีดุสิตธานี
ดุสิตธานี
 
iyddddddบทความของ ดร
iyddddddบทความของ ดรiyddddddบทความของ ดร
iyddddddบทความของ ดร
 
00ยุคภูมิ..[1] 6.2
00ยุคภูมิ..[1] 6.200ยุคภูมิ..[1] 6.2
00ยุคภูมิ..[1] 6.2
 

Recently uploaded

3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่นการเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
RSapeTuaprakhon
 

Recently uploaded (6)

3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่นการเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
 

Pw4 5

  • 1.  
  • 2. ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราช สังคมสยาม มิได้ถูกคุกคามเฉพาะอำนาจทางทหาร / เศรษฐกิจ เทคโนโลยีของตะวันตก แต่รัฐสยามกลายเป็นพื้นที่ที่เปิดและถูกแทรกด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองของตะวันตก โดยเฉพาะอุดมการณ์ประชาธิปไตย และอุดมการณ์สังคมนิยม ฌอง ฌาค รุสโซและคาร์ล มารกซ์ เข้ามาอยู่ในพื้นที่ของรัฐไทย
  • 3. อุดมการณ์ประชาธิปไตย ( รุสโซเป็นหนึ่งในนักคิดประชาธิปไตย ) ได้ข้ามพรมแดนจากยุโรปเข้าสู่สังคมไทย และแสดงพลังดังกล่าวผ่านคน 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่ม รศ . 103 ร . ศ . 103 ตรงกับ พ . ศ . 2427 เป็นปีที่ 17 ของการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีเจ้านายและข้าราชการ จำนวนหนึ่งที่รับราชการ ณ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอนและปารีสได้ร่วมกันลงชื่อในเอกสารกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน ร . ศ . 103 ทูลเกล้าฯ ถวาย ณ วันที่ 9 เดือนมกราคม พ . ศ . 2427
  • 4. เจ้านายและข้าราชการที่จัดทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นครั้งนั้น มีพระนามชื่อปรากฏอยู่ท้ายเอกสาร ได้แก่ (1) พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ (2) พระเจ้าน้องยาเธอ (3) พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (4) สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (5) พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (6) นายนกแก้ว คชเสนี (7) บุศย์ เพ็ญกุล ( จมื่นไวยวรนาถ ) (8) หลวงเดชนายเวร (9) ขุนปฏิภาณพิจิตร (10) หลวงวิเสศสาลี (11) นายเปลี่ยน และ (12) สัปเลฟเตอร์แนนสะอาด
  • 5. ในหนังสือกราบบังคมทูล ได้เสนอความเห็นที่เรียกว่าจัดการบ้านเมืองตามแบบยุโรป รวม 7 ข้อ ดังนี้ (1) ให้เปลี่ยนการปกครองจาก Absolute Monarchy เป็น Constitutional Monarchy (2) การทำนุบำรุงแผ่นดินต้องมีพวกคาบิเนตรับผิดชอบ (3) ต้องหาทางป้องกันคอรัปชั่นให้ข้าราชการมีเงินเดือนพอใช้ตามฐานานุรูป (4) ต้องให้ประชาชนมีความสุขเสมอกันมีกฎหมายให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนทั่วไป (5) ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขขนบธรรมเนียม และกฎหมายที่กีดขวางความเจริญของบ้านเมือง (6) ให้มีเสรีภาพในทางความคิดเห็นและให้แสดงออกได้ในที่ประชุมหรือในหนังสือพิมพ์ (7) ข้าราชการทุกระดับชั้นต้องเลือกเอาคนที่มีความรู้ มีความประพฤติดี อายุ 20 ขึ้นไป ผู้ที่เคยทำชั่วถูกถอดยศศักดิ์ หรือเคยประพฤติผิดกฎหมาย ไม่ควรรับเข้ารับราชการอีก และถ้าได้ ข้าราชการที่รู้ขนบธรรมเนียมยุโรปได้ยิ่งดี
  • 6. 2. กบฏ ร . ศ . 130 ( พ . ศ .2454 ) “ เหตุการณ์ ร . ศ .130 เป็นการปฏิวัติประชาธิปไตยที่เริ่มต้นแล้วก็ล้มเหลว ... จริง แต่อย่าลืมว่าเหตุการณ์ ร . ศ .130 เกิดขึ้นหลังการสวรรคตของ ร .5 เพียง 15 เดือน จึงกล่าวได้ว่า เป็นเหตุที่เกิดจากผลของการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย” “ ร . ศ .130 เป็นนายร้อยที่เป็นกลุ่มสามัญชน กลุ่ม ร . ศ .130 ที่รวมตัวกัน ซึ่งประกอบด้วย ร . อ . เหล็ง ศรีจันทร์ ร้อยตรีจรูญ ษตะเมษ เป็นแกนนำ มีสมาชิกที่เป็นทหาร 90 คนในระยะเริ่มต้น ”
  • 7. ร . ศ .130 เกิดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศของต่างประเทศที่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงในนานาประเทศ เริ่มจากญี่ปุ่นที่มีการปฏิรูปเมจิ ทำให้ญี่ปุ่นก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจอุตสาหกรรมทัดเทียมตะวันตก ส่วนที่เมืองจีนมีการปฏิวัติของ ดร . ซุนยัดเซ็นในปี 2454 การปฏิวัติของซุนยัดเซ็น มีอิทธิพลต่อกลุ่มทหาร ร . ศ .130 มาก พลทหารจะเรียกการปฏิวัตินี้ว่า ปฏิวัติเก็กเหม็ง ยังมีการเผยแพร่ข่าว ภาพความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของการปฏิวัติเก็กเหม็ง ที่เผยแพร่กันภายในกลุ่มทหาร ร . ศ .130 ในเวลาต่อมา
  • 8. กลุ่ม ร . ศ . 130 มีปณิธานและความมุ่งหมาย ในการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ริเริ่มก่อการปฎิวัติก็วางแผนชักจูงทหารทั่วประเทศ และเกลี้ยงกล่อมทหารเกญฑ์ที่เข้ารับราชการทุกรุ่น ให้มีความเข้าใจถึงความเป็นอยู่ของประเทศชาติ และความเสื่อมทรามในขณะนั้น และความเป็นไปของลัทธิประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ว่ามีประโยชน์อย่างไร รวมถึงอธิบายให้เขาเหล่านั้นเข้าใจถึงเรื่องสิทธิและเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นได้แพร่ข่าวกระจายไปทั่วประเทศ เพื่อให้ราษฎรตระหนักว่า ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเป็นลัทธิที่ไม่เหมาะสมแก่การปกครองประเทศ จนจะไม่มีเหลืออยู่แล้วในโลกนี้
  • 9. 3. คณะราษฎร พ . ศ .2475 “ แผนการณ์ใหญ่ในการปฎิวัติโค่นล้มพระราชบัลลังก์เมื่อ ร . ศ . 130 ของคณะผู้ก่อการคือการลอบปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และความล้มเหลวคือจุดจบของคณะปฎิวัติในครั้งนั้น การถูกจับกุมและถูกจำคุกตลอดชีวิตหรือความทุกข์ทรมานด้วยประการทั้งปวง ไม่ได้เป็นหมายความว่าจะไม่มีการก่อการเช่นนั้นอีก ... ด้วยปรารถนาเดียวกัน ... โดยหลักการที่ต่างกันในอีกไม่กี่ปีต่อมา ...” คณะราษฎร์
  • 10. จากสถานการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก และจากกรณีที่มหาสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลงที่ทำให้ทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง   เช่นในรัสเซีย โดยพวกบอลเชวิค ในเยอรมันก็เปลี่ยนการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นมหาชนรัฐ และรวมทั้งในยุโรปและภาคพื้นเอเชีย ได้เกิดการปฎิวัติ เช่น การปฎิวัติในจีนเพื่อโค่นบัลลังแมนจู ที่ประเทศญี่ปุ่นจักรพรรดิทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน ทั้งหมดนี้ได้อยู่ในความสนใจและติดตามข่าวของคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งในประเทศสยาม และประกอบกับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัฐบาลในขณะนั้น   ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาสภาวะเศรษฐกิจ ที่ตกต่ำได้ เป็นเหตุให้ผู้รักชาติ รักแผ่นดิน และคณะบุคคลกลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วยทหารและพลเรือนผู้มีความคิดเห็นและอุดมการณ์เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไม่สามารถทนเพิกเฉย ต่อความอัตคัดขัดสนของประชาชนและความเสื่อมของประเทศได้ ...
  • 11. คณะบุคคลคณะนี้จึงได้คิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ต้องการให้มีรัฐสภา ต้องการให้ประชาชนปกครองตนเอง โดยมีรัฐธรรมนูญปกครองประเทศ และต้องการให้พลเมืองมีสิทธิ เสรีภาพเสมอภาค ภราดรภาพ ต้องการที่จะวางโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แก้ปัญหาคนว่างงาน เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางที่เรียกกันว่า " ประชาธิปไตย "  
  • 12. ผู้คิดโค่นล้มราชบัลลังของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคณะนี้ นำโดย พ . อ . พระยาพหลพลพยุหเสนา พ . อ . พระยาทรงสุรเดช พ . อ . พระยาฤทธิ์อัคเนย์ พ . ท . พระประศาสนพิทยายุทธ์ พ . ต . หลวงพิบูลสงครามและหลวงประดิษฐ์มนูธรรม คณะราษฎร์ได้เข้ายึดอำนาจรัฐและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อ 24 มิถุนายน พ . ศ . 2475 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม นายประยูร ภมรมนตรี หนึ่งในคณะราษฎร์
  • 13. บางคนเรียกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ . ศ . 2475 ว่า การ ปฏิวัติสยาม พ . ศ . 2475 เพราะเป็นการกระทำเพื่อเปลี่ยนระบอบการปกครอง คือ เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญยิ่งก็คือ การเปลี่ยนแนวคิดว่าด้วยอำนาจอธิปไตย ที่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์มาเป็นอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน กล่าวอีกนัย การปฏิวัติ 2475 คือ การวางรากฐานแนวคิดว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งเป็นรากฐานของการเมืองไทยในปัจจุบัน
  • 14. คณะราษฎรได้วางรากฐานการเมืองยุคใหม่ของไทยหลายประการ หนึ่งในนั้นก็คือ การตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อ 27 มิถุนายน พ . ศ . 2477 แต่การปฏิวัติก็ใช่จะราบรื่น สิ่งที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติก็คือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ ความขัดแย้งดังกล่าวก็คือ ความขัดแย้งแนวทางการพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจหลังการปฏิวัติ ซึ่งก็คือความขัดแย้งของแนวทางการเมืองและเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์กับคนอื่นๆ
  • 15. โดยในวันที่ 15 มีนาคม พ . ศ .2476 นายปรีด พนมยงค์ได้เสนอ " เค้าโครงเศรษฐกิจ " เพื่อให้พิจารณาใช้เป็นหลัก สำหรับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีลักษณะเป็นสหกรณ์เต็มรูปแบบ แต่ไม่ทำลายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน โดยให้รัฐซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมด้วยพันธบัตร มีดอกเบี้ยประจำปี ให้การประกันแก่ราษฎร ตั้งแต่เกิดจนตาย ว่าเมื่อราษฎรผู้ใดไม่สามารถ ทำงานได้หรือทำงานไม่ได้เพราะเจ็บป่วย หรือชราหรืออ่อนอายุ ก็จะได้รับความอุปการะเลี้ยงดูจากรัฐบาล
  • 16. แต่แนวความคิดดังกล่าว ฝ่ายพระยามโนปกกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีและขุนนางต่างๆ ไม่เห็นด้วยเนื่องจาก ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งเจ้าและขุนนาง ยังกุมอำนาจอยู่ เมื่อนำเข้าสู่สภาแล้วเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย นายปรีดีจึงได้ลาออก จากตำแหน่ง รัฐบาลร่วมกับทหารบางกลุ่ม ทำการยึดอำนาจปิดสภาและออก พ . ร . บ . ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ พ . ศ .2476 ออกแถลงการณ์ประณาม นายปรีดีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ นายปรีดีจึงถูกเนรเทศออกนอกประเทศ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนที่ 1
  • 17. หลังการปฏิวัติ 2475 สังคมสยามมีการเลือกตั้งหลายครั้ง แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ดำเนินการปกครองเป็นไปแบบกระท่อนกระแท่น และจบลงด้วยการรัฐประหารของทหารในปี 2490 กล่าวอีกนัย หลังการปฏิวัติ 2475 – พ . ศ . 2490 แม้ประชาธิปไตยสยามจะไม่มั่นคง แต่ประชาธิปไตยก็คืออุดมการณ์ทางการเมืองของยุโรปที่อพยพข้ามพรมแดนรัฐสยามและเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ชาวสยาม ความเป็นสยามในยุดนี้ ต่างไปจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เพราะในยุคนี้ สยาม = ชาติ + ศาสนา + รัฐธรรมนูญ
  • 18. ทางเดินของความเป็นไทย เมื่อสยามกลายเป็นไทย “ การสร้างความเป็นไทยแบบฝรั่ง สมัยจอมพล ป . พิบูลสงคราม ” 5
  • 19. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า " จอมพล ป ." เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีเวลาดำรงตำแหน่ง รวมกันมากที่สุดของไทย คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน เขาเป็นหนึ่งในคณะราษฎรและมีบทบาทสำคัญในการปราบปรามกบฏบวรเดชร ผลงานดังกล่าวผลักดันให้เขาก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของไทย และเขาเป็นคนที่เปลี่ยนชื่อประเทศจากประเทศสยามมาเป็นประเทศไทยในวันที่ 24 มิถุนายน พ . ศ . 2482 และเป็นผู้เปลี่ยน “เพลงชาติไทย " มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ " เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย " และ " ไทยอยู่คู่ฟ้า "
  • 20. จอมพล ป . มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยะประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย “รัฐนิยม " หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย
  • 21.
  • 22.
  • 23.
  • 24.
  • 25.
  • 26. 4. คนไทยอารยะต้องเลิกกินหมาก เคี้ยวหมาก จะทำให้ฟันดำ
  • 27. 5. “ ชายไทยต้องไม่เปลือยกายในที่สาธารณะ” “ ห้ามใส่กางเกงในตัวเดียวในที่สาธารณะ”
  • 29.
  • 30.
  • 33.  
  • 34.
  • 35.
  • 36. จังหวัดพิบูลสงคราม เป็น 1 ใน 4 จังหวัดที่ประเทศไทยได้ดินแดนคืนจากฝรั่งเศสในช่วง พ . ศ . 2484 จังหวัดพิบูลสงคราม คือ จังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดอุดรมีชัยและจังหวัดเตียเมียนเจยในประเทศกัมพูชา
  • 37.  
  • 38.
  • 39. แต่จากภาพรณรงค์วัฒนธรรมไทย ณ ที่ว่าการจังหวัดสงขลา เมื่อปี พ . ศ . 2485 และรัฐนิยมอื่นๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น ย่อมสะท้อนให้เห็นชัดว่า จอมพล ป . พยายามสร้างความเป็นไทยด้วยการสลัดทิ้งความเป็นไทยหรือวัฒนธรรมไทยแบบดั้งเดิม และสร้างวัฒนธรรมตะวันตกหรือความเป็นตะวันตกให้เป็นไทย ความเป็นไทยจึงถูกสร้างด้วยปัจจัยที่ข้ามพรมแดนมาจากตะวันตก
  • 40.