SlideShare a Scribd company logo
1 of 14
Download to read offline
J Med Tech Assoc Thailand, Vol. 43 No. 1, April 2015 Review Article
The Differences of Nine Blood Groups System in the
Three Major Ethnicities of Human
Kallaya Kerdkaewngam* and Jintana Tubrod
Antiserum and Standard Cells Production Section, National Blood Centre, Thai Red Cross Society,
Bangkok, Thailand.
Abstract
The Homo sapiens is classified into three main ethnicities: Caucasoids, Negroids and
Mongoloids.Eachethnicgroupisdifferentingenetictraitsandbloodtypes.Studyofbloodtypes
inhumansfromvariousethnicgroupsgivesbenefitinmanyfieldsofscience.TheNationalBlood
Centre, Thai Red Cross Society, with its important role in blood banks and transfusion services
has seriously studied the differences in blood types in response to availability of various ethnic
blood donors. Each ethnic group has specific differences in rare blood types. Some rare blood
types exist predominantly in Mongoloids such as variant MNS or Miltenberger subclasses and
Dia positive which were found in Thais at about 9.1 and 2.99%, respectively. Rare blood types
Fy(a-b-) were found in Negroids at about 67%. Caucasoids also have 15% of Rh negative blood
type. The study of rare blood types is absolutely essential for management of rare blood types
for transfusion services and reducing the risk of rare blood types shortage. Antiserum and
Standard Cells Production Section, National Blood Centre, produces standard cells including
screening cells, pool O cells and identification panel cells that require rare blood types as raw
materials in production. These products are distributed to blood banks in various hospitals
throughout Thailand for red blood cell antibodies screening and identification in blood donors
and patients who need blood transfusion.
Key words: 	Ethnicities, Caucasoids, Negroids, Mongoloids, Rare blood types
*Corresponding author E-mail address: kallayak@yahoo.com
วารสารเทคนิคการแพทย์ ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 เมษายน 2558 บทความปริทัศน์
ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบ
ในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก
กัลยา เกิดแก้วงาม* และ จินตนา ทับรอด
ฝ่ายผลิตน้ำ�ยาแอนติซีรัมและผลิตภัณฑ์เซลล์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
บทคัดย่อ
มนุษย์แบ่งเป็นสามชาติพันธุ์ใหญ่ๆ ได้แก่ คนผิวขาว(Caucasoids) คนผิวดำ�(Negroids) และ
คนผิวเหลือง(Mongoloids) แต่ละกลุ่มมีพันธุกรรมที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีหมู่เลือดชนิดต่างๆ แตกต่าง
กันด้วย การศึกษาชนิดของหมู่เลือดในมนุษย์ชาติพันธุ์ต่างๆ เป็นประโยชน์ต่องานด้านวิทยาศาสตร์หลาย
แขนง ในงานธนาคารเลือดและการบริการโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย การศึกษา
หมู่เลือดชนิดต่างๆ เป็นงานสำ�คัญ เนื่องจากมีผู้บริจาคโลหิตหลายเชื้อชาติ และแต่ละเชื้อชาติมีหมู่เลือด
หายาก(rarebloodtypes) ที่ไม่เหมือนกัน หมู่เลือดหายากบางชนิดพบมากในคนผิวเหลือง เช่น ในคนไทย
พบ variant MNS หรือ Miltenberger subclasses ประมาณร้อยละ 9.1 และ Dia positive ประมาณ
ร้อยละ 2.99 หมู่เลือดหายากบางชนิดพบมากในคนผิวดำ� เช่น พบ Fy(a-b-) ประมาณร้อยละ 67 และ
บางชนิดพบมากในคนผิวขาว เช่น พบ Rh negative ประมาณร้อยละ 15 เป็นต้น การศึกษาร้อยละของ
หมู่เลือดต่างๆ จะทำ�ให้สามารถจัดหาเลือดที่หาได้ยากที่มักจะขาดแคลนอยู่บ่อยครั้งให้เพียงพอกับความ
ต้องการได้ สำ�หรับฝ่ายผลิตน้ำ�ยาแอนติซีรัมและผลิตภัณฑ์เซลล์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ การตรวจ
หาrarebloodtypes เป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตเซลล์มาตรฐาน ได้แก่screeningcells,
pool O cells และ identification panel cells ผลิตภัณฑ์ทั้งสามชนิดนี้ต้องใช้ rare blood types เป็น
วัตถุดิบในการผลิต เพื่อแจกจ่ายให้แก่ธนาคารเลือดของโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศใช้ในการตรวจ
กรองและตรวจแยกชนิดของแอนติบอดีต่อหมู่เลือดบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ในโลหิตบริจาคและ
ผู้ป่วยที่ต้องรับเลือด
คำ�รหัส: ชาติพันธ์ุ คนผิวขาว คนผิวดำ� คนผิวเหลือง หมู่เลือดหายาก
*ผู้รับผิดชอบบทความ: E-mail address: kallayak@yahoo.com
ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5129
บทน�ำ
การศึกษาหมู่เลือดในคนเชื้อชาติต่างๆ
มีความสำ�คัญอย่างยิ่งสำ�หรับการให้เลือด (blood
transfusion) และการปลูกถ่ายอวัยวะ (organ
transplant) และเป็นส่วนสำ�คัญในการศึกษาด้าน
พันธุศาสตร์ของมนุษย์ (human genetics) การกระจายตัว
ของประชากร (human migration) มานุษยวิทยา
(anthropology) วิวัฒนาการของมนุษย์ (human
evolution) นิติวิทยาศาสตร์ (forensics science)
นอกจากนั้นหมู่เลือดยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค
บางชนิด เช่น ภาวะตัวเหลืองของทารกในครรภ์และ
แรกคลอด (hemolytic disease of fetus and
newborn: HDFN)(1),(2) หมู่เลือดของแต่ละบุคคล
เป็นลักษณะประจำ�ตัวซึ่งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ตลอดชีวิต โดยยีนที่ควบคุมการแสดงออกของ
หมู่เลือดต่างๆ จะถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน
ดังนั้นหมู่เลือดจึงเป็นเครื่องมือสำ�คัญชิ้นหนึ่งในการ
ชี้บ่งชาติพันธุ์และวิวัฒนาการของมนุษย์ได้ สาม
ชาติพันธุ์ใหญ่ของมนุษย์ ได้แก่ คนผิวขาว (Cauca-
soids) คนผิวดำ� (Negroids) และคนผิวเหลือง
(Mongoloids) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีพันธุกรรมที่แตกต่าง
กัน และมีร้อยละของหมู่เลือดต่างๆ ที่แตกต่างกัน
ด้วย(1), (3-5) ตามทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่าง
กว้างขวางในปัจจุบันเชื่อว่ามนุษย์กลุ่มแรกมีต้นกำ�เนิด
จากทวีปแอฟริกาแล้วจึงกระจายออกสู่ภูมิภาคต่างๆ
ทั่วโลก โดยมีภูมิอากาศ อาหาร และวิธีการในการดำ�รง
ชีวิตเพื่อความอยู่รอดเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางพันธุกรรมหรือการกลายพันธุ์ (mutation) ทำ�ให้
มนุษย์แต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันได้ แม้จะยังคง
เป็นสปีชีย์ (species) เดียวกัน(4-7) ในงานธนาคาร
เลือดและการบริการโลหิตของศูนย์บริการโลหิต
แห่งชาติ สภากาชาดไทย การศึกษาหมู่เลือดชนิด
ต่างๆ เป็นงานสำ�คัญ เนื่องจากมีผู้บริจาคโลหิตหลาย
เชื้อชาติ และแต่ละเชื้อชาติมีหมู่เลือดหายาก (rare
bloodtype) ที่ไม่เหมือนกัน หมู่เลือดหายากบางชนิด
พบมากในคนผิวเหลือง เช่น ในคนไทยพบ variant
MNS ประมาณร้อยละ 9.1 และ Dia positive
ประมาณร้อยละ2.99 หมู่เลือดหายากบางชนิดพบมาก
ในคนผิวดำ� เช่น Fy(a-b-) ประมาณร้อยละ 67 และ
บางชนิดพบมากในคนผิวขาว เช่น Rh negative
ประมาณร้อยละ 15 เป็นต้น การศึกษาร้อยละของ
หมู่เลือดต่างๆ จะทำ�ให้สามารถจัดหาเลือดที่หาได้ยาก
และมักจะขาดแคลนอยู่บ่อยครั้ง เช่น Rh negative,
Fy(a-b+) และrarebloodtypes อื่นๆ ให้เพียงพอ
กับความต้องการได้ ส่วนฝ่ายผลิตน้ำ�ยาแอนติซีรัม
และผลิตภัณฑ์เซลล์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ซึ่ง
มีหน้าที่ผลิตเซลล์มาตรฐาน ได้แก่ screening cells,
pool O cells และ identification panel cells
การตรวจหา rare blood types เป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่ง
เพราะต้องใช้ rare blood types เป็นวัตถุดิบในการ
ผลิต เซลล์มาตรฐานทั้งสามชนิดเพื่อแจกจ่ายให้แก่
โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศใช้ในการตรวจกรอง
และตรวจแยกชนิดของแอนติบอดีต่อหมู่เลือดบนผิว
เซลล์เม็ดเลือดแดง ทั้งในโลหิตบริจาคและผู้ป่วยที่
ต้องรับเลือด
หมู่เลือดระบบ ABO
ในปี 1900 Landsteiner ได้ทดลองผสม
เซลล์เม็ดเลือดแดงของนักศึกษาคนหนึ่งกับน้ำ�เหลือง
ของนักศึกษาคนอื่นๆ แล้วสังเกตการเกิดปฏิกิริยา
agglutination ผลการทดลองทำ�ให้สามารถแบ่งการ
เกิดปฏิกิริยา agglutination ออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่ม
แรกเรียกว่ากลุ่ม A กลุ่มที่สองเรียกว่ากลุ่ม B ส่วน
กลุ่มที่สามไม่เกิดปฏิกิริยาagglutination เรียกว่ากลุ่ม
C ซึ่งภายหลังเรียกว่ากลุ่ม O การค้นพบหมู่เลือด
ABO เป็นจุดเริ่มต้นของงานธนาคารเลือดและการ
บริการโลหิต นอกจากนั้นหมู่เลือด ABO ยังเป็น
เครื่องมือที่สำ�คัญยิ่งในการศึกษาชาติพันธุ์และ
กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5130
วิวัฒนาการของมนุษย์ เพราะมนุษย์แต่ละเชื้อชาติ
จะมีร้อยละของหมู่เลือด ABO แตกต่างกันดังนี้
หมู่เลือด O พบในคนผิวขาวร้อยละ 44 คนผิวดำ�
ร้อยละ 49 และคนผิวเหลืองร้อยละ 43 หมู่เลือด A
พบในคนผิวขาวร้อยละ 43 คนผิวดำ�ร้อยละ 27 และ
คนผิวเหลืองร้อยละ 27 หมู่เลือด B พบในคนผิวขาว
ร้อยละ 9 คนผิวดำ�ร้อยละ 20 และคนผิวเหลืองร้อยละ
25 หมู่เลือด AB พบในคนผิวขาวร้อยละ 4 คนผิวดำ�
ร้อยละ 4 และคนผิวเหลืองร้อยละ 5(2), (6), (8), (9)
ในระบบ ABO มี แอนติเจนที่สำ�คัญ 3 ชนิดคือ A,
B และ A1 โดยแต่ละแอนติเจนมี oligosaccharide
ที่แตกต่างกัน ยีนที่ควบคุมการสร้างแอนติเจนใน
ระบบ ABO มี 3 อัลลีล อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 9
ตำ�แหน่ง 9q34.1-q34.2 โดยแต่ละอัลลีลไม่ได้สร้าง
แอนติเจน A หรือแอนติเจน B โดยตรง แต่สร้าง
เอนไซม์ glycosyl transferase ที่แตกต่างกันคือ A
transferase และ B transferase เอนไซม์นำ�น้ำ�ตาล
ต่างชนิดกัน คือ N-acetyl-D-galactosamine ที่พบ
ในแอนติเจนA และD-galactose ที่พบในแอนติเจน
B ไปติดที่แอนติเจน H บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง
ซึ่งแอนติเจน H เป็น precursor สำ�หรับหมู่เลือด
ABO(9), (10) ทำ�ให้แอนติเจน A และแอนติเจน B
มีน้ำ�ตาลชนิดโอลิโกแซกคาไรด์แตกต่างกัน ส่วน
อัลลีล O สร้างเอนไซม์ glycosyl transferase ที่ไม่
สามารถทำ�งานได้เพราะเกิดการกลายพันธุ์แบบ
deletion ของยีนควบคุมการสร้างเอนไซม์ดังกล่าว
โดย single nucleotide ที่ขาดหายไปทำ�ให้เกิด
reading frame shift กลายเป็น stop codon อย่าง
ถาวร ดังนั้นgroupO จึงถูกจัดเป็นnullphenotype
ของระบบABO(8) ด้วยเหตุนี้บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง
ของ group O จึงมีแต่แอนติเจน H ไม่มีแอนติเจน
A หรือแอนติเจน B นอกจากนี้ในระบบ ABO ยังมี
แอนติเจนอื่นๆ เช่น A2, A3, B3 เป็นต้น คนที่มี
แอนติเจนเหล่านี้เรียกว่า subgroup ซึ่งเกิดจากการ
กลายพันธุ์ ของอัลลีลA และ อัลลีลB ทำ�ให้เอนไซม์
A transferase และ B transferase ผิดปกติทำ�งาน
ได้ไม่เต็มที่ แอนติเจน A และแอนติเจน B บนผิว
เซลล์เม็ดเลือดแดงจึงมีความแรงอ่อน บางครั้งยาก
ต่อการตรวจด้วยวิธีทาง serology(8-10)
หมู่เลือดระบบ Rh
Rh เป็นระบบหมู่เลือดที่สำ�คัญรองจาก
ระบบ ABO เพราะมีความเป็นแอนติเจนสูงโดย
เฉพาะอย่างยิ่ง แอนติเจน D สามารถกระตุ้นให้คนที่
มีหมู่เลือด Rh negative สร้าง anti-D ได้ดีมาก หมู่
เลือดRhnegative พบในคนผิวขาวมากกว่าเชื้อชาติ
อื่นๆ ประมาณร้อยละ 15 ทำ�ให้เกิดปัญหาในการให้
เลือดและสามารถทำ�ให้เกิดภาวะตัวเหลืองของทารก
ในครรภ์และแรกคลอด ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีหมู่เลือด
Rh negative ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ แบบ
deletion โดยยีน RHD ขาดหายไปจาก genome
ทำ�ให้ไม่สามารถสร้างโปรตีน D ได้ และเนื่องจากยีน
RHCE ที่ควบคุมการสร้างโปรตีนCc และโปรตีนEe
อยู่ชิดติดกับยีน RHD มาก เมื่อเกิดครอสซิงโอเวอร์
(crossing over) ในระยะ meiosis I ของการแบ่ง
เซลล์ อาจมีส่วนของยีน RHCE เข้าแทรกในยีน
RHD ทำ�ให้เกิดการกลายพันธุ์ แบบอื่นๆ ได้อีกหลาย
แบบ เกิดเป็น variant alleles ที่แตกต่างกันไป
หมู่เลือดในระบบ Rh มีอัลลีลที่แตกต่างกันจำ�นวน
มากและมีความหลากหลายของยีนสูง ทำ�ให้เกิด
phenotype ที่แตกต่างกันหลายแบบ(9), (11), (12)
ได้แก่ Rhnull, Rh DEL, Partial D และ weak D
คนที่เป็น Rhnull จะไม่มีแอนติเจนในระบบ
Rh เนื่องจากเกิดการกลายพันธุ์ของ ยีน RHAG
(Rh-associatedglycoprotein) บนโครโมโซมคู่ที่6
ตำ�แหน่ง 6p11-p21.1 ยีน RHAG ไม่ได้เป็นยีนที่
สร้างแอนติเจนหมู่เลือดแต่สร้าง glycoprotein ที่มี
ปลายข้างหนึ่งเป็นสาย N-glycan ทำ�งานร่วมกับ
ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5131
แอนติเจน D, C และ E เป็นโครงสร้างของเยื่อหุ้ม
เซลล์เม็ดเลือดแดง การที่ยีน RHAG กลายพันธุ์
ไม่สร้าง RhAG ทำ�ให้แอนติเจน RhD และ RhCE
แสดงออกไม่ได้ ทำ�ให้เกิด Rhnull phenotype ไม่มี
แอนติเจนในระบบ Rh บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง
ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อโครงสร้างและความแข็งแรงของ
เยื่อหุ้มเซลล์ เม็ดเลือดแดงจะมีรูปร่างและการทำ�งาน
ที่ผิดปกติ(stomato-spherocytosis) รวมทั้งมีภาวะ
ซีดร่วมด้วย(12) คนไข้ที่เป็น Rhnull ต้องรับเลือด
บริจาคที่เป็น Rhnull เท่านั้นซึ่งเลือดบริจาคชนิดนี้หา
ได้ยากมาก บางครั้งต้องขอเลือดที่แช่แข็งเก็บไว้จาก
ประเทศญี่ปุ่น
สำ�หรับคนที่เป็น Rh DEL หรือมี DEL
phenotype จะมีความแรงของแอนติเจนD อ่อนมาก
เพราะเกิดการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างโปรตีน D
จนไม่สามารถตรวจพบแอนติเจน D ด้วยวิธี anti-
globulin test ซึ่งเป็นวิธีปกติที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
ธนาคารเลือดทั่วไป แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยวิธี
Absorption-elution ซึ่งค้นพบครั้งแรกในประเทศ
ญี่ปุ่นโดยOkubo และคณะ ในปี1984(13) ความสำ�คัญ
ของ Rh DEL คือสามารถกระตุ้นให้คนที่เป็น Rh
negative แท้สร้าง Anti-D ได้ ถ้าได้รับเลือดที่เป็น
RhDEL แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถแยกRh
DEL ออกจาก Rh negative แท้ได้ ดังนั้นการให้
เลือดบริจาคที่เป็น Rh DEL แก่คนไข้ที่เป็น Rh
negative แท้ยังคงมีอยู่ แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ
คนที่เป็นRhnegative แท้มักจะมีphenotype ของ
ระบบRh เป็นrr(D-C-E-c+e+) ส่วนคนที่เป็นRh
DEL มักจะมีphenotype เป็นr′r(D-C+E-c+e+),
r′′r (D-C-E+c+e+) และ r′r′′(D-C+E+c+e+)
ดังนั้นถ้าคนไข้มี phenotype ของระบบ Rh เป็น rr
(D-C-E-c+e+) ก็ควรหาเลือดบริจาคที่มีphenotype
ของระบบ Rh แบบเดียวกันให้แก่คนไข้ เพื่อป้องกัน
การสร้าง Anti-D(12)
partial D และ weak D phenotype
เกิดจากการกลายพันธุ์ ของยีน RHD ทำ�ให้ไม่สามารถ
สร้างแอนติเจน D ที่สมบูรณ์ได้ โดยอาจสร้าง
แอนติเจน D ได้ไม่ครบทุก epitope มีบาง epitope
ที่ขาดหายไป คนที่เป็นpartialD เกิดจาก การกลาย
พันธุ์ของยีน RHD และ hybrid ของยีน RHCE
ทำ�ให้มีลักษณะของแอนติเจน D ที่ผิดปกติ คือ
สามารถสร้าง anti-D ต่อ epitope ของแอนติเจน D
ที่ตัวเองไม่มีได้ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน D
โมเลกุลที่สมบูรณ์ รวมทั้งไม่เกิดปฏิกิริยาagglutina-
tion กับ monoclonal anti-D บางชนิด ส่วนคน
ที่เป็น weak D จะมีความหนาแน่นของโมเลกุล
แอนติเจน D บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยผิดปกติ
คือมีเพียง 70 โมเลกุลถึง 5,200 โมเลกุลต่อเซลล์
เท่านั้น แต่คนที่มีแอนติเจนD สมบูรณ์ หรือคนที่เป็น
Rhpositive ปกติ จะมีความหนาแน่นของแอนติเจน
D บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงระหว่าง15,000 โมเลกุล
(R1r) ถึง 33,000 โมเลกุล (R2R2) ต่อเซลล์(12)
รายละเอียดการเกิด การกลายพันธุ์ ของหมู่เลือดระบบ
Rh แบบต่างๆ ได้เคยเขียนไว้อย่างละเอียดแล้วใน
เอกสารอ้างอิงหมายเลข 12
หมู่เลือดระบบ MNS
แอนติเจนในระบบ MNS ได้แก่ M, N, S
และ s โดยแอนติเจน M และ N อยู่บนโมเลกุลของ
โปรตีน glycophorins A และ แอนติเจน S และ s
อยู่บนโมเลกุลของโปรตีน glycophorins B บนผิว
เซลล์เม็ดเลือดแดง หมู่เลือดในระบบนี้มี variant
alleles ที่แตกต่างกันหลากหลายชนิดเช่นเดียวกับ
ระบบ Rh เพราะเกิดการกลายพันธุ์ ของยีน GYPA
และ GYPB ซึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 4 ตำ�แหน่ง
4q28.2-q13.1 ยีน GYPA ประกอบด้วย 6 exons
ความยาว60Kbp ยีน GYPB ประกอบด้วย5exons
แต่มี 1 exon เป็น pseudoexon ความยาว
กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5132
58 kbp(8), (9) โดยยีน GYPA ที่ควบคุมการสร้าง
โปรตีนglycophorinsA เกิดครอสซิงโอเวอร์ กับยีน
GYPB ที่ควบคุมการสร้างglycophorinsB ในระยะ
meiosis I ของการแบ่งเซลล์ ทำ�ให้เกิดการจัดเรียง
ตัวใหม่ของยีน(generearrangement) ได้โครโมโซม
ลูกผสม (hybrid) ซึ่งมีบางส่วนเป็น glycophorins
A และบางส่วนเป็น glycophorins B ทำ�ให้ได้
variant alleles ที่แตกต่างกันเกิดเป็นแอนติเจนที่
เรียกกันในอดีตว่า Miltenberger series หรือ Mia
ปัจจุบันเรียกว่า variant MNS โดยมีแอนติเจนที่
สำ�คัญคือ Verweyst (Vw), Miltenberger (Mia),
Murrell (Mur), Hill (Hil), Hut, Hop, Nob,
DANE, MUT, TSEN และ MINY(14), (15) การ
กลายพันธุ์ ของยีน GYPA และ GYPB แบ่งเป็น
สามแบบใหญ่คือ single crossing over, double
crossing over และ gene conversion การเกิด
single crossing over คือยีน GYPA และ GYPB
ไขว้กันและแลกชิ้นส่วนกันเพียงครั้งเดียวในระยะ
meiosis I ของการแบ่งเซลล์ทำ�ให้เกิดอัลลีล GYP
(B-A) ซึ่งเป็น hybrid ของยีน GYPA และ GYPB
การเกิด double crossing over คือยีน GYPA และ
GYPB ไขว้กันและแลกชิ้นส่วนกันสองครั้ง เป็นผล
ทำ�ให้เกิดอัลลีล GYP(A-B-A) และอัลลีล GYP
(B-A-B) อัลลีลทั้งสองแบบนี้ยังสามารถเกิดจาก
gene conversion ได้เช่นเดียวกัน hybrid alleles
ของ glycophorins ทำ�ให้เกิด phenotype ต่างๆ
นอกจากการกลายพันธุ์ ที่กล่าวมาแล้ว ในระบบMNS
ยังมีการกลายพันธุ์แบบอื่นๆ อีก เช่น
phenotype En (a-) บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่มี
โมเลกุล glycophorins A phenotype S-s-U- เกิด
จากการกลายพันธุ์แบบ deletion ที่ยีน GYPB ขาด
หายไปทั้งยีน phenotype MkMk บนผิวเซลล์เม็ด
เลือดแดงไม่มีทั้งโมเลกุล glycophorins A และ
glycophorins B เพราะยีน GYPA และ GYPB
เกิดการกลายพันธุ์แบบ deletion ขาดหายไปทั้งสอง
ยีน phenotype ทั้งสามชนิดนี้หาได้ยากมาก(8)
แอนติเจนในvariantMNS ทั้งหมด11classes พบ
มากในคนผิวเหลือง ในคนไทยส่วนใหญ่เป็น class
MiIII(16) แอนติเจนในระบบนี้เป็นปัญหาต่อการให้
เลือดเพราะสามารถกระตุ้นให้ผู้รับสร้างแอนติบอดีได้
ดีและสามารถทำ�ให้เกิดภาวะตัวเหลืองของทารกใน
ครรภ์และแรกคลอด(14) คนผิวเหลืองในภูมิภาคเอเซีย
กลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบ hybrid ของ
glycosphorins A และ glycosphorins B จำ�นวน
มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบ
มากถึงร้อยละ10 แตกต่างจากคนผิวขาวและผิวดำ�ที่
พบน้อยมาก(17), (18)
หมู่เลือดระบบ P และ GLOB Collection
เดิมเข้าใจกันว่าหมู่เลือดในระบบP ประกอบ
ด้วยแอนติเจน 5 ชนิด คือ P, P1, Pk, LKE (Luke)
และ p แอนติเจน P1 ค้นพบโดย Landsteiner และ
Levine ในปี 1927 ส่วนแอนติเจน Pk พบโดย
Sanger ในปี 1955 อีกสี่ปีต่อมา Matson และคณะ
ค้นพบ P แอนติเจน และในปี 1965 Tippett และ
คณะค้นพบแอนติเจน LKE (Luke) ภายหลังทราบ
ว่ายีนที่ควบคุมการสร้างแต่ละแอนติเจนเป็นคนละยีน
และอยู่คนละโครโมโซม ในปี 1990 คณะทำ�งานของ
International Society of Blood Transfusion
(ISBT) ซึ่งมีหน้าที่ตั้งชื่อแอนติเจนบนผิวเซลล์เม็ด
เลือดแดงได้กำ�หนดว่าหมู่เลือดระบบ P มีแอนติเจน
ชนิดเดียวคือ P1 และจัดให้แอนติเจน P, Pk และ
LKE (Luke) อยู่ในกลุ่ม “unnamed collection”
ต่อมาในปี 1991 ได้มีการตั้งชื่อ collection นี้ว่า
globoside(GLOBO) และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่ง
ในปี 1996 เป็น GLOB ปัจจุบันเรียกว่าหมู่เลือด
ระบบP และGLOBCollection การสร้างแอนติเจน
P, P1 และ Pk มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากเพราะ
ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5133
เริ่มจาก precursor เดียวกัน กระบวนการสร้าง
แอนติเจนทั้งสามชนิดนี้ เริ่มจากglucosylation ของ
ceramide เติม beta-galactose เป็น lactosylce-
ramide (Laccer) ซึ่งเป็น precursor ของทั้ง
globoside และ paragloboside โดยแอนติเจน P
และ Pk คือ globoside และ P1 คือ paraglobo-
side(19) P1, P2, p, P1
k และ P2
k phenotype จะพบ
แตกต่างกันไปในแต่ละเชื้อชาติnullphenotype ของ
หมู่เลือดระบบ P และ GLOB Collection คือ p
phenotype จะไม่มีทั้งแอนติเจนPk,P และP1 rare
phenotype อื่นๆ ได้แก่ P2
k phenotype จะไม่มีทั้ง
แอนติเจน P และ P1 ส่วน P1
k phenotype ไม่มี
แอนติเจน P บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงpphenotype
พบได้น้อยมากประมาณ5.8 คนต่อประชากรหนึ่งล้าน
คนในยุโรป ยกเว้นประเทศสวีเดนในชนบททางเหนือ
แถบ Västerbotten พบ p phenotype สูงกว่าที่อื่น
อย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติคือประมาณ 141 คนต่อ
ประชากรหนึ่งล้านคน ซึ่งอาจจะเกิดจากการแต่งงาน
กันในระหว่างเครือญาติทำ�ให้ลักษณะด้อยปรากฏเป็น
จำ�นวนมาก นอกจากนั้น p phenotype ยังพบได้
บ่อยๆ ในคนญี่ปุ่นและชาว Amish คนที่เป็น p
phenotype จะสามารถสร้างแอนติบอดีที่เดิมเรียกว่า
anti-Tja ปัจจุบันเรียกว่าanti-P1PPk ได้ แอนติบอดี
ชนิดนี้เป็นปัญหาต่อการให้เลือดและสามารถทำ�ให้เกิด
HDFN ได้ โดย anti-P1PPk ส่วนใหญ่เป็น IgM
จะทำ�ให้เกิดปฏิกิริยา potent hemolysis กับเซลล์
เม็ดเลือดแดงที่มีแอนติเจน P1, P และ Pk ทำ�ให้เกิด
ปฏิกิริยาจากการรับเลือด (hemolytic transfusion
reaction: HTR) คนที่เป็น p phenotype จึงไม่
สามารถรับเลือดที่มีแอนติเจนเหล่านี้ที่พบในคน
ส่วนใหญ่ได้เพราะจะทำ�ให้เกิดปฏิกิริยา hemolysis
อย่างรุนแรงจนอาจถึงเสียชีวิตได้ ส่วนในหญิงตั้งครรภ์
ที่เป็นpphenotype มักเกิดการแท้งอย่างเฉียบพลัน
ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ และเนื่องจากในประเทศ
สวีเดนพบpphenotype เป็นจำ�นวนมากดังที่ได้กล่าว
แล้วข้างต้น สาขาบริการโลหิตใน Umeå จึงต้องเป็น
ผู้จัดหาเลือด p phenotype สำ�หรับคนที่มี Anti-
P1PPk ทั่วโลก(19), (20) ยีน B3GALNT1 เป็นยีนที่
ควบคุมการสร้างแอนติเจน P อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 3
ความยาวอย่างน้อย 5 exons สร้างโปรตีนสามชนิด
คือ 3-β-N-acetylgalactosaminyltransferase
เชื่อว่าเอนไซม์นี้สร้างgloboside4 หรือP แอนติเจน
โปรตีนชนิดที่สองคือ type II transmembrane
glycoprotein (β 3GalNAc-T1, EC 2.4.1.79)
ประกอบด้วยกรดอะมิโน 331 เรสิดิวส์และ N-gly-
cosylation sites เป็นโปรตีนโครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์
เม็ดเลือดแดง ยีน A4GALT เป็นยีนที่ควบคุมการ
สร้างแอนติเจน Pk อยู่บนแขนข้างยาวของโครโมโซม
คู่ที่ 22 ประกอบด้วย 2 หรือ 3 exons สร้างโปรตีน
โครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงคือ type II
transmembrane glycoprotein ประกอบด้วยกรด
อะมิโน353 เรสิดิวส์ ยีน A4GALT มีการกลายพันธุ์
4 แบบ คือ 548T>A (M183K), 560G>A
(G187D), 752C>T(P251L) และ 783G>A
(W261X) ทำ�ให้เอนไซม์ทำ�งานไม่ได้เป็นสาเหตุของ
การเกิด p phenotype ส่วนยีนที่ควบคุมการสร้าง
แอนติเจนP1 และLKE ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นยีน
ใด ทราบเพียงแต่ว่ายีนควบคุมการสร้างแอนติเจน
P1 น่าจะอยู่บนโครโมโซมเดียวกับยีน A4GALT
ที่ควบคุมการสร้างแอนติเจน Pk สันนิษฐานว่าอาจ
เป็นตำ�แหน่ง 22q11.3 หรือ 22q13.2 ส่วนยีนที่
ควบคุมการสร้างแอนติเจนLKE ปัจจุบันยังไม่ทราบ
ว่าอยู่บนโครโมโซมใด(20)
หมู่เลือดระบบ Lewis
แอนติเจนของหมู่เลือดในระบบ Lewis
ไม่ใช่โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงแต่เป็น
โมเลกุลของ glycolipids ที่อยู่ในพลาสมาถูกดูดซับ
กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5134
มาอยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง(15) นอกจากนั้น
แอนติเจนในระบบนี้ยังสามารถพบได้ในเนื้อเยื่ออื่นๆ
และสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ แอนติบอดีในระบบ
Lewis มีความสำ�คัญทางคลินิกน้อยเนื่องจากส่วน
ใหญ่เป็นแอนติบอดีชนิด IgM ซึ่งมักพบในคนที่มี
phenotype Le(a-b-) ส่วนคนที่มี phenotype
Le(a+b-) หรือ phenotype Le(a-b+) พบ
anti-Lewis ได้ยากมาก แอนติบอดีในระบบนี้สามารถ
ทำ�ให้เกิดHTR และHDFN ได้ อีกทั้งสามารถทำ�ให้
เกิด renal transplant rejection จาก anti-Lea ได้
ด้วย พบครั้งแรกในปี 1946 โดย Mourant รายงาน
ว่าพบแอนติบอดีชนิดใหม่ที่เกิดปฏิกิริยา agglutina-
tion กับเซลล์เม็ดเลือดแดงทั้งที่อุณหภูมิห้องและที่
อุณหภูมิ37 องศาเซลเซียส จากผู้หญิงสองคนคลอด
ทารกซึ่งสงสัยว่าเป็น HDFN แต่เม็ดเลือดแดงของ
ทารกคนหนึ่งไม่เกิดปฏิกิริยากับน้ำ�เหลืองของแม่
จึงสันนิษฐานว่าแอนติบอดีชนิดนี้เป็น natural
occurring antibody แอนติบอดีชนิดใหม่นี้ทำ�
ปฏิกิริยา agglutination กับเม็ดเลือดแดงของคน
อังกฤษร้อยละ 25 อีกสองปีต่อมา Andresen พบ
anti-Leb ที่เกิดปฏิกิริยาagglutination กับเม็ดเลือด
แดงหมู่O หรือA2 Le(a-b+) ต่อมาBrendemoen
รายงานว่าanti-Leb เกิดปฏิกิริยาagglutination กับ
เม็ดเลือดแดงหมู่ A หมู่ B และหมู่ O ภายหลัง
anti-Leb ทั้งสองชนิดนี้ได้รับชื่อใหม่ว่า anti-LebH
และ anti-LebL ปัจจุบันแอนติบอดีในระบบ Lewis
จัดเป็นแอนติบอดีที่มีความสำ�คัญทางคลินิกน้อย
เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแอนติบอดีชนิด IgM ระบบ
Lewis เป็นหมู่เลือดที่มีความซับซ้อนมากระบบหนึ่ง
เพราะ phenotype ของหมู่เลือดระบบนี้ควบคุมการ
แสดงออกโดยยีน FUT2 หรือ secretor (SE) gene
และ FUT3 หรือ Lewis (LE) gene ทำ�ให้เกิด
แอนติเจนทั้งหมด 6 ชนิดคือ Lea Leb Leab LebH
A Leb และ B Leb แอนติเจนในระบบ Lewis มี
ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแอนติเจน ABH ในระบบ
ABO เพราะแอนติเจนทั้งสามนี้ก็สามารถพบใน
เนื้อเยื่ออื่นๆ เช่นเดียวกับแอนติเจน Lewis โดย
ควบคุมด้วยยีนเดียวกันคือยีน secretor (SE) โดย
phenotypeLe(a+b-) เป็นnon-secretor เพราะยีน
FUT2 ไม่ทำ�งานphenotypeLe(a-b+) เป็นsecretor
และphenotypeLe(a-b-) เป็นได้ทั้งsecretor และ
non-secretor ส่วน phenotype Le(a+b+) ซึ่งเป็น
secretor หาได้ยากมาก(20), (22) ในคนไทยพบ
phenotype Le(a-b-) ประมาณร้อยละ 30(21)
แอนติบอดีในระบบLewis มักพบได้บ่อยในผู้บริจาค
โลหิต เป็นแอนติบอดีที่เกิดขึ้นเอง ส่วนใหญ่เป็น
anti-Lea+b ในคนที่มี phenotype Le(a-b-)(22)
หมู่เลือดระบบ Kidd
หมู่เลือดระบบ Kidd ค้นพบในปี 1951
โดยพบแอนติบอดีชนิดใหม่ คือanti-Jka ในน้ำ�เหลือง
ของ Mrs. Kidd ผู้ซึ่งเคยมี anti-K มาก่อนและเป็น
สาเหตุทำ�ให้เกิด HDFN กับลูกทั้งหกคนของเธอ
anti-Jkb พบอีกสองปีต่อมาทำ�ให้เกิดHTR ในผู้หญิง
ที่เคยมี anti-Fya มาก่อน แอนติบอดีในระบบ Kidd
มักเกิดร่วมกับแอนติบอดีของหมู่เลือดระบบอื่นๆ
ชี้ให้เห็นว่าแอนติเจนในระบบ Kidd ไม่ได้เป็น
immunogen โดยตรง ความสำ�คัญของแอนติบอดีใน
ระบบKidd คือสามารถกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของ
ผู้รับเลือดเกิด delayed HTR อย่างรุนแรงได้
แอนติเจนที่สำ�คัญในระบบ Kidd มีสองชนิดคือ Jka
และJkb ทำ�ให้เกิดphenotype ปกติที่พบเป็นประจำ�
3 แบบ คือ Jk(a+b-) Jk(a-b+) และ Jk(a+b+)
ส่วน phenotype Jk(a-b-) หาได้ยากมากแต่พบได้
บ้างในคนผิวเหลืองชาวเอเชียและพวกโพลินีเชี่ยน
ในคนฟินแลนด์ การแทนที่ของ single amino acid
(Ser291Pro) มีผลต่อการแสดงออกของแอนติเจน
Jkb ร้อยละของแอนติเจน Kidd ในคนเชื้อชาติ
ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5135
ต่างๆ มีความแตกต่างกันคือ phenotype Jk(a+b-)
พบร้อยละ 26.3 ในคนผิวขาว ร้อยละ 51.1 ในคน
ผิวดำ� และร้อยละ 23.2 ในคนผิวเหลือง phenotype
Jk(a-b+) พบร้อยละ23.4 ในคนผิวขาว ร้อยละ8.1
ในคนผิวดำ� และร้อยละ 26.8 ในคนผิวเหลือง
phenotypeJk(a+b+) พบร้อยละ50.3 ในคนผิวขาว
ร้อยละ 40.8 ในคนผิวดำ� และร้อยละ 49.1 ในคน
ผิวเหลืองphenotypeJk(a-b-) หาได้ยากมาก ในคน
ผิวขาว และคนผิวดำ� ส่วนคนผิวเหลืองโพลินีเชี่ยน
พบร้อยละ 0.9 ยีนที่ควบคุมการแสดงออกของ
แอนติเจน Kidd มี polymorphism มาก การเกิด
null phenotype หรือ Jk(a-b-) มาจากสาเหตุทาง
พันธุกรรมที่แตกต่างกันสองแบบคือแบบที่หนึ่ง
ได้รับการถ่ายทอดยีนที่เป็น homozygous silent
allele โดยsilentallele เกิดจากการกลายพันธุ์แบบ
splicesite จากการกระโดดข้ามของexon ที่6 หรือ
exon ที่7 ทำ�ให้เกิดgenomicdeletions ครอบคลุม
ถึงexon ที่4 หรือ5 หรือเกิดจากการกลายพันธุ์แบบ
nonsense ใน exon ที่ 7 เป็นสาเหตุให้เกิด stop
codon แบบที่สองมียีนdominantinhibitor In(Jk)
ที่ไม่ได้ linked กับยีน Jk (HUT11)(23)
หมู่เลือดระบบ Duffy
หมู่เลือดระบบDuffy เริ่มรู้จักกันในปี1950
เมื่อพบ anti-Fya ที่ทำ�ให้เกิด HTR ในคนไข้
hemophilia หมู่เลือดORhnegative ที่ได้รับเลือด
3unit เพื่อรักษาอาการห้อเลือดและเลือดไหลไม่หยุด
ที่เกิดขึ้นเอง หลังจากได้รับเลือดคนไข้เกิดปฏิกิริยา
จากการรับเลือดอย่างรุนแรง มีอาการตัวเหลืองในวัน
ที่ได้รับเลือด การตรวจหาแอนติบอดีพบว่าเป็น
แอนติบอดีที่เกิดปฏิกิริยากับ indirect antiglobulin
test เท่านั้น แอนติบอดีชนิดนี้เรียกว่า anti-Duffy
(anti-Fya) ตามชื่อของคนไข้ อีกหนึ่งปีต่อมา Ikin
และคณะ ค้นพบ anti-Fyb ในทารกแรกเกิดอายุ
สองวันเป็นบุตรคนที่สามของมารดา มีอาการบ่งชี้ว่า
เป็น HDFN ยีนที่ควบคุมการสร้างแอนติเจน Duffy
คือ FYA และ FYB อยู่บนแขนข้างยาวของโครโมโซม
คู่ที่ 1 ตำ�แหน่ง 1q22→ q23 ทำ�ให้เกิด phenotype
สี่แบบคือ Fy(a+b-), Fy(a-b+), Fy(a+b+) และ
Fy(a-b-)(24) โดย Fy(a-b-) เป็น phenotype หลัก
ที่พบในคนผิวดำ�มากถึงร้อยละ 67(24) แต่หาได้ยาก
มากในคนผิวขาวและคนผิวเหลือง ปกติแอนติเจน
ในระบบ Duffy จะพบอยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง
และเซลล์อื่นๆ ทั่วร่างกาย แต่ในคนผิวดำ�ที่มี
phenotype Fy(a-b-) จะไม่พบแอนติเจน Fyb บน
ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่านั้น ส่วนเซลล์เนื้อเยื่ออื่นๆ
พบแอนติเจน Fyb ตามปกติ ซึ่งแตกต่างจาก
phenotypeFy(a-b-) ในคนผิวขาวที่ไม่พบแอนติเจน
Duffy ทั้งบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงและเนื้อเยื่ออื่นๆ
phenotype Fy(a-b-) ที่พบในคนผิวดำ�เกิดจาก
การกลายพันธุ์ของยีนที่อยู่เหนือ GATA promoter
region ของ FY allele การกลายพันธุ์นี้ยับยั้งการ
แสดงออกของ Duffy glycoprotein บนผิวเซลล์
เม็ดเลือดแดงเท่านั้น ส่วน phenotype Fy(a-b-)
ในคนผิวขาวเกิดจากการกลายพันธุ์แบบ point
mutation ใน allele FYA และ FYB เกิดเป็น stop
codon ทำ�ให้ไม่สามารถสร้าง Duffy glycoprotein
ได้ ในคนผิวดำ�ที่มี phenotype Fy(a-b-) เมื่อได้รับ
เลือดที่มีแอนติเจน Duffy สามารถสร้าง anti-Fya
และ anti-Fy3 ได้แต่ไม่สร้าง anti-Fyb เนื่องจากมี
แอนติเจน Fyb อยู่บนเนื้อเยื่ออื่นๆ(24)
หมู่เลือดระบบ Kell และ Kx
หมู่เลือดในระบบ Kell ค้นพบในปี 1946
หลังการค้นพบ antiglobulin test เพียงไม่กี่สัปดาห์
คนไข้ทารกแรกเกิดที่เป็น HDFN เมื่อนำ�เม็ดเลือด
แดงมาทำ� antiglobulin test ปรากฏว่าให้ปฏิกิริยา
DAT positive น้ำ�เหลืองจากแม่เด็กทำ�ปฏิกิริยากับ
กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5136
เลือดจากพ่อเด็กและเลือดจากลูกคนโต เมื่อนำ�มา
ทดสอบกับเลือดจากผู้บริจาคโลหิตคนอื่นพบว่าทำ�
ปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดงของผู้บริจาคโลหิตอื่นๆ
ร้อยละ 9 จึงตั้งชื่อหมู่เลือดระบบนี้ว่า Kell ตาม
นามสกุลของแม่เด็กคือ Kelleher และตั้งชื่อ
แอนติเจนที่พบเป็นตัวแรกว่า K (synonyms: Kell,
K1) อีกสามปีต่อมาก็พบแอนติเจนที่สองคือ k
(synonyms:Cellano,K2) ซึ่งเป็นhighincidence
antigen ในทุกๆ ประชากร ต่อมาในปี 1957 จึงได้
ค้นพบแอนติเจน Kpa, Kpb และ K0 (Kellnull)
phenotype ปัจจุบันพบว่ามี 24 แอนติเจน โดยเป็น
high-incidence antigen คือ k, Kpb, Jsb, K11
และK14 เป็นต้น และlow-incidenceantigen คือ
K,Kpa,Kpc,Jsa,K17 และK24 เป็นต้น แอนติเจน
ในระบบ Kell อยู่บน Kell glycoprotein พบ
ประมาณ3,500 ถึง17,000 โมเลกุลต่อเม็ดเลือดแดง
หนึ่งเซลล์ null phenotype ของระบบ Kell คือ K0
จะไม่มีแอนติเจน Kell และ Kmod phenotype จะมี
แอนติเจน Kell ที่มีความแรงอ่อน เซลล์เม็ดเลือด
แดงที่ขาดKellglycoprotein ยังคงมีรูปร่างปกติแต่
เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ขาดโปรตีน XK ซึ่งเป็นโปรตีน
Kell ที่สร้างจากโคโมโซม X จะทำ�ให้เป็นโรคทาง
พันธุกรรม McLeod syndrome เยื่อหุ้มเซลล์เม็ด
เลือดแดงมีความผิดปกติ อายุของเซลล์เม็ดเลือดแดง
สั้นลง รวมถึงมีความผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อและ
เซลล์ประสาท แอนติเจนKell หรือK1 พบประมาณ
ร้อยละ 9 ในคนผิวขาวและมักเป็นปัญหาต่อการ
ให้เลือดทำ�ให้เกิด HDFN เนื่องจากแอนติเจน Kell
มีความเป็นแอนติเจนสูงมาก (high immunogenic)
กระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของผู้รับเลือดสร้างแอนติบอดี
ได้ดี อย่างไรก็ตามการหาเลือดที่มีแอนติเจน K1
negative ให้คนไข้นั้นทำ�ได้ไม่ยากเนื่องจากผู้บริจาค
โลหิตส่วนใหญ่มีแอนติเจน K1 negative(23) ใน
ประเทศไทย anti-K1 ไม่เป็นปัญหาต่อการให้เลือด
เนื่องจากในคนไทยพบแอนติเจน Kell หรือ K1
น้อยมาก จากข้อมูลของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ พบ
ผู้บริจาคโลหิตที่เป็น KK ร้อยละ 0.07 และผู้บริจาค
ที่เป็นKk ร้อยละ1.78(18) แต่เนื่องจากผู้บริจาคโลหิต
ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ มีชาวต่างชาติทั้งผิวขาว
และผิวดำ�รวมอยู่ด้วยจึงทำ�ให้ร้อยละของแอนติเจน
Kell หรือ K1 สูงกว่าที่จะพบจริงในคนไทย ยีน
ควบคุมการสร้างแอนติเจน Kell หรือ KEL gene
อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 7 ตำ�แหน่ง q33 ความยาว 19
exons 21.5 kb การขาดโปรตีน Kell (K0) บนผิว
เซลล์เม็ดเลือดแดง เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน
KEL แบบต่างๆ ได้หลายแบบได้แก่ nucleotide
deletion, defective splicing, premature stop
codons และ amino acid substitutions ส่วนยีน
ควบคุมการสร้างโปรตีน XK หรือ XK gene อยู่บน
แขนข้างสั้นของโครโมโซม X ตำ�แหน่ง Xp21
ความยาว 3 exons เกิด การกลายพันธุ์ได้หลายแบบ
เช่นเดียวกัน ได้แก่ major deletions, minor
deletions, point mutations, splice site และ
frameshiftmutations การขาดXK โปรตีนจะทำ�ให้
เป็นโรค McLeod syndrome ดังที่ได้กล่าวแล้ว
เนื่องจากยีนXK เป็นX-linkedgene จึงพบโรคใน
เพศชายเท่านั้น เพศหญิงจะเป็น carrier23
หมู่เลือดระบบ Diego
หมู่เลือดในระบบ Diego พบครั้งแรกในปี
1955 โดยสตรีชาวเวเนซุเอลา Mrs. Diego สร้าง
แอนติบอดีชนิดใหม่ที่ทำ�ให้เกิด HDFN แอนติเจน
Dia เป็น low-incidence antigen ที่พบได้บ่อยใน
คนผิวเหลือง หลังจากนั้นในปี1967 ก็พบแอนติเจน
Dib ซึ่งเป็นhigh-incidenceantigen ในคนทุกสีผิว
ในปี 1995 พบแอนติเจนอีกสองชนิดคือ Wra/Wrb
ที่จริงแอนติเจน Wra เป็น low-incidence antigen
ที่พบตั้งแต่ปี 1953 ก่อนการพบแอนติเจน Dia สอง
ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5137
ปี แต่ยังไม่ได้จัดแอนติเจน Wra ไว้ในระบบ Diego
ตั้งแต่ปี1955 เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาเยื่อหุ้มเซลล์
ของเม็ดเลือดแดงมากพอที่จะระบุได้ว่าแอนติเจนทั้ง
สองชนิดเป็นโปรตีนบนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง
ชนิดเดียวกัน ปัจจุบันพบแอนติเจนในระบบ Diego
แล้ว 19 ชนิด แอนติเจน Dia มีความสำ�คัญอย่างยิ่ง
ต่อการศึกษาทางมานุษยวิทยาเพราะเป็น marker ที่
ดีในคนผิวเหลือง ในคนผิวขาวพบแอนติเจน Dia ได้
น้อยมาก อย่างไรก็ตามเคยพบคนไข้ชาวโปแลนด์มี
phenotype Di(a+b-) และสร้าง anti-Dib จากการ
ศึกษาก่อนหน้าในประชากรทางตะวันตกเฉียงใต้ของ
ประเทศโปแลนด์พบแอนติเจน Dia ร้อยละ 0.47
ซึ่งสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับคนผิวขาวโดยทั่วไป
จากการศึกษาทางชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์พบว่า
ในศตวรรษที่ 13 ศตวรรษที่ 15 และศตวรรษที่ 17
น่าจะมีการแต่งงานกันระหว่างชาวโปแลนด์ผิวขาวกับ
ชาวมองโกเลียตาร์ตาร์ผู้รุกราน ทำ�ให้อุบัติการณ์ของ
แอนติเจนDia ของประชากรในแถบตะวันตกเฉียงใต้
ของประเทศโปแลนด์สูงผิดปกติ แอนติบอดีในระบบ
Diego คือ anti-Dia anti-Dib anti-Wra และ anti-
Wrb เป็นแอนติบอดีที่มีความสำ�คัญทางคลินิกเพราะ
สามารถทำ�ให้เกิด HTR และ HDFN ได้ anti-Dia
เป็น rare antibody ที่เกิดเพราะถูกกระตุ้นจากการ
รับเลือดเท่านั้น ตรงกันข้ามกับ anti-Wra ที่เป็น
naturallyoccurringantibody และมักพบในคนไข้
autoimmunehemolyticanemia การพบanti-Dib
และ anti-Wrb ในคนไข้แอนติเจน Dib negative
และแอนติเจนWrbnegative ทำ�ให้มีความยากลำ�บาก
ในการหาเลือดที่เหมาะสมให้แก่คนไข้เพราะผู้บริจาค
โลหิตส่วนใหญ่มีแอนติเจน Dib positive และ Wrb
positive ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่นที่มีผู้บริจาคโลหิตที่
มีแอนติเจน Dib negative มากกว่า 700 ราย(25)
สำ�หรับผู้บริจาคโลหิตชาวไทย ฝ่ายผลิตน้ำ�ยาแอนติ
ซีรัมและผลิตภัณฑ์เซลล์ได้ตรวจพบผู้ที่มีแอนติเจน
Dib negative หมู่O1 ราย และได้เก็บตัวอย่างเลือด
แช่แข็งไว้เป็น rare cells แล้ว
จากที่ได้บรรยายมาทั้งหมดสามารถสรุป
ความแตกต่างของ rare blood types ในมนุษย์ทั้ง
สามสีผิว ดังแสดงใน Table 1
จะเห็นว่าrarebloodtypes ที่หาได้ยากมาก
ในคนเชื้อชาติหนึ่ง อาจหาได้ไม่ยากนักในคนอีกเชื้อ
ชาติหนึ่ง ในกรณีที่ธนาคารเลือดของโรงพยาบาลต่างๆ
พบคนไข้ที่มีหมู่เลือดหายากแล้วไม่สามารถหาเลือดที่
เข้ากันได้ให้แก่คนไข้ ก็สามารถขอเลือดบริจาคที่หา
ยากนั้นมาที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
ทั้งนี้เนื่องจากศูนย์บริการโลหิตฯ ได้ตรวจหา rare
blood types ไว้เป็นจำ�นวนมาก อีกทั้งสามารถเชิญ
ผู้บริจาคโลหิตมาบริจาคได้ หรือถ้าrarebloodtypes
นั้นหาได้ยากมาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ก็
สามารถเป็นตัวกลางประสานงานเพื่อขอเลือดบริจาค
หายากนั้นไปยังองค์กรต่างประเทศ ได้แก่American
Rare Donor Program (ARDP) ประเทศ
สหรัฐอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ในยุโรป ส่วนใน
เอเซียก็มีสภากาชาดญี่ปุ่น (Japanese Red Cross)
ที่ทางศูนย์บริการโลหิตฯ เคยขอ rare blood types
อยู่บ่อยครั้ง(26) ในกรณีที่ธนาคารเลือดต้องการหาrare
blood types จากญาติของคนไข้ โดยสามารถเชิญ
ญาติมาตรวจแต่ไม่มี monoclonal antibodies ที่จะ
ทำ� phenotyping ก็สามารถติดต่อมายังฝ่ายผลิต
น้ำ�ยาแอนติซีรัมและผลิตภัณฑ์เซลล์เพื่อขอ rare
antibodies ชนิดต่างๆ ได้เช่นกัน
กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5138
สรุปการศึกษาร้อยละของหมู่เลือดชนิดต่างๆ
มีความจำ�เป็นต่องานธนาคารเลือดและบริการโลหิต
เนื่องจากจะทำ�ให้สามารถหาrarebloodtypes ชนิด
ต่างๆ ที่มักจะขาดแคลนอยู่บ่อยครั้งให้เพียงพอกับ
ความต้องการได้
เอกสารอ้างอิง
1.	 Khan MS, Ahmed Z, Hanif R, et al.
Relationship between Blood Group and
Male Infertility. J Ayub Med Coll
Abbottabad 2010; 22: 154-6.
2.	 Patel PA, Patel SP, Shah JV, Oza HV.
Frequency and Distribution of Blood
Groups in Blood Donors in Western
Ahmedabad-A Hospital Based Study.
Natl J of Med Res 2012; 2: 202-6.
3.	 Nei M, Roychoudhury AK. Evolution
Relationships of Human Populations on a
Global Scale. Mol Biol Evol 1993; 10:
927-43.
4.	 Nei M, Roychoudhury AK. Genic
Variation Within and Between the Three
MajorRacesofMan,Caucasoids,Negroids
and Mongoloids. Am J Hum Genet 1974;
26: 421-43.
5.	 Saldanha SG. ABO Blood Groups and
Salivary Secretion of ABH Substance
among Three Radical Groups in Sao
Paulo City. Rev Brasil Genet 1982; 1:
175-86.
Table 1  Differences among rare blood types in the three major ethnicities of human
Phenotypes Caucasoids Negroids Mongoloids (Thais)
Rh D (-) 15% 8% 0.3%
p 141 per million
(Sweden)
Not found Very rare
Mia(+)
Variant MNS or
Miltenberger Subclasses
Very rare Not found 9.1%
Jk(a-b-) Not found Not found 0.06%
Fy(a-b-) Very rare 67% Not found
K(+) 9% 2% 1.85%
k(-) 0.2% Very rare Not Found
Dia(+) 0.46%
(Poland)
Not found 2.99%
Dib(-) Very rare Not found Very rare
ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5139
6.	 Adeyemo OA, Soboyejo OB. Frequency
distributionofABO,RHbloodgroupsand
blood genotypes among the cell biology
and genetics students of University of
Lagos, Nigeria. Afr J Biotechnol 2006; 5:
2062-5.
7.	 Mouhaus HA, Abbhar SH, Musa AS,
MahawiHK.AstudyofABObloodgroup
and Rhesus factors distribution among
samples of Missan province population.
Journal of Basrah Research (Sciences)
2010; 36: 48-53.
8.	 Dean L. Blood Groups and Red Cell
Antigens. Bethesda (MD): National
Center for Biotechnology Information
US; 2005.
9.	 Reid ME, Lomas-Francis C. The Blood
Group Antigen: Facts Book. 2nd ed.
Amsterdam: Elsevier; 2004.
10.	Nagai M, Dave V, Muensch H, Yoshida
A.HumanBloodGroupGlycosyltransfer-
ase. The J Biol Chem 1978; 253: 380-1.
11.	Lambert SWJ. Rh Variability in Multi-
Ethnic Perspective Consequences for RH
Genotyping.TheNetherlandsOganization
for Health Research and Development.
Erasmus University. Rotterdam. Nether-
lands; 2005.
12.	Kerdkaewngam K. Mutation in Rh Blood
Group System. J Hematol Transfus Med
2012; 22: 283-8. (in Thai)
13.	Okubo Y, Yamaguchi H, Tomita T, et al.
A D variant, Del? Transfusion 1984;
24: 542.
14.	Kerdkaewngam K, Tubrod J, Tingtoy U,
Termchairoj W, Oota S. Testing of
Synthetic Blood Group Antigens MUT/
Mur Kodecytes with Anti-Mia in Blood
Donors. J Hematol Transfus Med 2011;
21: 229-33. (in Thai)
15.	Kerdkaewngam K. KODETM Biosurface
EngineeringTechnologyandAntigenson
Red Blood Cells synthesis. J Hematol
Transfus Med 2011; 21: 223-7. (in Thai)
16.	Chandanyingyong D. Transfusion Medi-
cine. Faculty of Medicine Siriraj Hospital
Mahidol University. Thailand; 1998:
86-96. (in Thai)
17.	Reid ME. MNS blood group system: a
review. Immunohematology 2009;
25: 95-101.
18.	Fongsarum J, Nuchprayoon I, Yod-in S,
Kupatawintu P, Kidprasirt C. Blood
Groups in Thai Blood Donors. J Hematol
TransfusMed2002;12:277-86.(inThai)
19.	Bejrachandra S. Review of P Blood
Group System. J Hematol Transfus Med
2005; 15: 83-8. (in Thai)
20.	HellbergA.StudiesontheGeneticsBasis
of Pk, P and P1 Blood Group Antigen
Expression. Doctoral thesis. Division of
Hematology and Transfusion Medicine.
Deparment of Laboratory Medicine.
Lund University. Sweden; 2007.
21.	Combs MR. Lewis blood group system
review. Immunohematology 2009; 25:
112-8.
กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5140
22.	Laura C. The Lewis system. In: Roback
JD, Combs, Grossman BJ, Hillyer CD,
eds. Technical Manual. 16th ed. Bethesda,
MD. AABB 2008: 374.
23.	Westhoff CM. and Reid ME. Review: the
Kell,Duffy,andKiddbloodgroupsystems.
Immunohematology 2004; 20: 37-49.
24.	MenyGM.TheDuffybloodgroup system:
a review. Immunohematology 2010; 26:
51-6.
25.	PooleJ.TheDiegobloodgroupsystem-an
update.Immunohematology1999;15:1-9.
26.	Bejrachandra S. International Rare Red
Cell Exchange. J Hematol Transfus Med
2008; 18: 67-72. (in Thai)

More Related Content

Viewers also liked

OTHER BLOOD GROUP SYSTEMS
OTHER BLOOD GROUP SYSTEMSOTHER BLOOD GROUP SYSTEMS
OTHER BLOOD GROUP SYSTEMSFerdie Fatiga
 
Hemolytic anemia
Hemolytic anemiaHemolytic anemia
Hemolytic anemiasoftmail
 
The Lean Startup Model for Healthcare
The Lean Startup Model for HealthcareThe Lean Startup Model for Healthcare
The Lean Startup Model for HealthcareHugh MASON
 
10 Ways Your Boss Kills Employee Motivation
10 Ways Your Boss Kills Employee Motivation10 Ways Your Boss Kills Employee Motivation
10 Ways Your Boss Kills Employee MotivationOfficevibe
 
Privacy is an Illusion and you’re all losers! - Cryptocow - Infosecurity 2013
Privacy is an Illusion and you’re all losers! - Cryptocow - Infosecurity 2013Privacy is an Illusion and you’re all losers! - Cryptocow - Infosecurity 2013
Privacy is an Illusion and you’re all losers! - Cryptocow - Infosecurity 2013Cain Ransbottyn
 

Viewers also liked (6)

OTHER BLOOD GROUP SYSTEMS
OTHER BLOOD GROUP SYSTEMSOTHER BLOOD GROUP SYSTEMS
OTHER BLOOD GROUP SYSTEMS
 
Hemolytic anemia
Hemolytic anemiaHemolytic anemia
Hemolytic anemia
 
Hemolytic anemia
Hemolytic anemiaHemolytic anemia
Hemolytic anemia
 
The Lean Startup Model for Healthcare
The Lean Startup Model for HealthcareThe Lean Startup Model for Healthcare
The Lean Startup Model for Healthcare
 
10 Ways Your Boss Kills Employee Motivation
10 Ways Your Boss Kills Employee Motivation10 Ways Your Boss Kills Employee Motivation
10 Ways Your Boss Kills Employee Motivation
 
Privacy is an Illusion and you’re all losers! - Cryptocow - Infosecurity 2013
Privacy is an Illusion and you’re all losers! - Cryptocow - Infosecurity 2013Privacy is an Illusion and you’re all losers! - Cryptocow - Infosecurity 2013
Privacy is an Illusion and you’re all losers! - Cryptocow - Infosecurity 2013
 

More from Kallaya Kerdkaewngam

Anti-Jka that are detected by solid-phase red blood cell adherence but missed...
Anti-Jka that are detected by solid-phase red blood cell adherence but missed...Anti-Jka that are detected by solid-phase red blood cell adherence but missed...
Anti-Jka that are detected by solid-phase red blood cell adherence but missed...Kallaya Kerdkaewngam
 
Blood types of minorities in Bangkok
Blood types of minorities in BangkokBlood types of minorities in Bangkok
Blood types of minorities in BangkokKallaya Kerdkaewngam
 
Coombs' Crossmatch and Computer Crossmatch
Coombs' Crossmatch and Computer CrossmatchCoombs' Crossmatch and Computer Crossmatch
Coombs' Crossmatch and Computer CrossmatchKallaya Kerdkaewngam
 
Mutation in Rh blood group system (review)
Mutation in Rh blood group system (review)Mutation in Rh blood group system (review)
Mutation in Rh blood group system (review)Kallaya Kerdkaewngam
 
A STUDY OF ELUTING IgG ANTIBODIES FROM RED BLOOD CELLS: THE
A STUDY OF ELUTING IgG ANTIBODIES FROM RED BLOOD CELLS: THEA STUDY OF ELUTING IgG ANTIBODIES FROM RED BLOOD CELLS: THE
A STUDY OF ELUTING IgG ANTIBODIES FROM RED BLOOD CELLS: THEKallaya Kerdkaewngam
 
รายงานการฝึกอบรมดูงานการสร้างเซลล์สายพันธุ์ Monoclonal hybridoma เพื่อผลิตน้...
รายงานการฝึกอบรมดูงานการสร้างเซลล์สายพันธุ์ Monoclonal  hybridoma เพื่อผลิตน้...รายงานการฝึกอบรมดูงานการสร้างเซลล์สายพันธุ์ Monoclonal  hybridoma เพื่อผลิตน้...
รายงานการฝึกอบรมดูงานการสร้างเซลล์สายพันธุ์ Monoclonal hybridoma เพื่อผลิตน้...Kallaya Kerdkaewngam
 

More from Kallaya Kerdkaewngam (8)

Anti-Jka that are detected by solid-phase red blood cell adherence but missed...
Anti-Jka that are detected by solid-phase red blood cell adherence but missed...Anti-Jka that are detected by solid-phase red blood cell adherence but missed...
Anti-Jka that are detected by solid-phase red blood cell adherence but missed...
 
Tranining project at jrc kallaya
Tranining project at jrc   kallayaTranining project at jrc   kallaya
Tranining project at jrc kallaya
 
Blood types of minorities in Bangkok
Blood types of minorities in BangkokBlood types of minorities in Bangkok
Blood types of minorities in Bangkok
 
Coombs' Crossmatch and Computer Crossmatch
Coombs' Crossmatch and Computer CrossmatchCoombs' Crossmatch and Computer Crossmatch
Coombs' Crossmatch and Computer Crossmatch
 
Anti M and Anti-N
Anti M and Anti-NAnti M and Anti-N
Anti M and Anti-N
 
Mutation in Rh blood group system (review)
Mutation in Rh blood group system (review)Mutation in Rh blood group system (review)
Mutation in Rh blood group system (review)
 
A STUDY OF ELUTING IgG ANTIBODIES FROM RED BLOOD CELLS: THE
A STUDY OF ELUTING IgG ANTIBODIES FROM RED BLOOD CELLS: THEA STUDY OF ELUTING IgG ANTIBODIES FROM RED BLOOD CELLS: THE
A STUDY OF ELUTING IgG ANTIBODIES FROM RED BLOOD CELLS: THE
 
รายงานการฝึกอบรมดูงานการสร้างเซลล์สายพันธุ์ Monoclonal hybridoma เพื่อผลิตน้...
รายงานการฝึกอบรมดูงานการสร้างเซลล์สายพันธุ์ Monoclonal  hybridoma เพื่อผลิตน้...รายงานการฝึกอบรมดูงานการสร้างเซลล์สายพันธุ์ Monoclonal  hybridoma เพื่อผลิตน้...
รายงานการฝึกอบรมดูงานการสร้างเซลล์สายพันธุ์ Monoclonal hybridoma เพื่อผลิตน้...
 

Differance of nine blood groups

  • 1. J Med Tech Assoc Thailand, Vol. 43 No. 1, April 2015 Review Article The Differences of Nine Blood Groups System in the Three Major Ethnicities of Human Kallaya Kerdkaewngam* and Jintana Tubrod Antiserum and Standard Cells Production Section, National Blood Centre, Thai Red Cross Society, Bangkok, Thailand. Abstract The Homo sapiens is classified into three main ethnicities: Caucasoids, Negroids and Mongoloids.Eachethnicgroupisdifferentingenetictraitsandbloodtypes.Studyofbloodtypes inhumansfromvariousethnicgroupsgivesbenefitinmanyfieldsofscience.TheNationalBlood Centre, Thai Red Cross Society, with its important role in blood banks and transfusion services has seriously studied the differences in blood types in response to availability of various ethnic blood donors. Each ethnic group has specific differences in rare blood types. Some rare blood types exist predominantly in Mongoloids such as variant MNS or Miltenberger subclasses and Dia positive which were found in Thais at about 9.1 and 2.99%, respectively. Rare blood types Fy(a-b-) were found in Negroids at about 67%. Caucasoids also have 15% of Rh negative blood type. The study of rare blood types is absolutely essential for management of rare blood types for transfusion services and reducing the risk of rare blood types shortage. Antiserum and Standard Cells Production Section, National Blood Centre, produces standard cells including screening cells, pool O cells and identification panel cells that require rare blood types as raw materials in production. These products are distributed to blood banks in various hospitals throughout Thailand for red blood cell antibodies screening and identification in blood donors and patients who need blood transfusion. Key words: Ethnicities, Caucasoids, Negroids, Mongoloids, Rare blood types *Corresponding author E-mail address: kallayak@yahoo.com
  • 2. วารสารเทคนิคการแพทย์ ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 เมษายน 2558 บทความปริทัศน์ ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบ ในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก กัลยา เกิดแก้วงาม* และ จินตนา ทับรอด ฝ่ายผลิตน้ำ�ยาแอนติซีรัมและผลิตภัณฑ์เซลล์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย บทคัดย่อ มนุษย์แบ่งเป็นสามชาติพันธุ์ใหญ่ๆ ได้แก่ คนผิวขาว(Caucasoids) คนผิวดำ�(Negroids) และ คนผิวเหลือง(Mongoloids) แต่ละกลุ่มมีพันธุกรรมที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีหมู่เลือดชนิดต่างๆ แตกต่าง กันด้วย การศึกษาชนิดของหมู่เลือดในมนุษย์ชาติพันธุ์ต่างๆ เป็นประโยชน์ต่องานด้านวิทยาศาสตร์หลาย แขนง ในงานธนาคารเลือดและการบริการโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย การศึกษา หมู่เลือดชนิดต่างๆ เป็นงานสำ�คัญ เนื่องจากมีผู้บริจาคโลหิตหลายเชื้อชาติ และแต่ละเชื้อชาติมีหมู่เลือด หายาก(rarebloodtypes) ที่ไม่เหมือนกัน หมู่เลือดหายากบางชนิดพบมากในคนผิวเหลือง เช่น ในคนไทย พบ variant MNS หรือ Miltenberger subclasses ประมาณร้อยละ 9.1 และ Dia positive ประมาณ ร้อยละ 2.99 หมู่เลือดหายากบางชนิดพบมากในคนผิวดำ� เช่น พบ Fy(a-b-) ประมาณร้อยละ 67 และ บางชนิดพบมากในคนผิวขาว เช่น พบ Rh negative ประมาณร้อยละ 15 เป็นต้น การศึกษาร้อยละของ หมู่เลือดต่างๆ จะทำ�ให้สามารถจัดหาเลือดที่หาได้ยากที่มักจะขาดแคลนอยู่บ่อยครั้งให้เพียงพอกับความ ต้องการได้ สำ�หรับฝ่ายผลิตน้ำ�ยาแอนติซีรัมและผลิตภัณฑ์เซลล์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ การตรวจ หาrarebloodtypes เป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตเซลล์มาตรฐาน ได้แก่screeningcells, pool O cells และ identification panel cells ผลิตภัณฑ์ทั้งสามชนิดนี้ต้องใช้ rare blood types เป็น วัตถุดิบในการผลิต เพื่อแจกจ่ายให้แก่ธนาคารเลือดของโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศใช้ในการตรวจ กรองและตรวจแยกชนิดของแอนติบอดีต่อหมู่เลือดบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ในโลหิตบริจาคและ ผู้ป่วยที่ต้องรับเลือด คำ�รหัส: ชาติพันธ์ุ คนผิวขาว คนผิวดำ� คนผิวเหลือง หมู่เลือดหายาก *ผู้รับผิดชอบบทความ: E-mail address: kallayak@yahoo.com
  • 3. ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5129 บทน�ำ การศึกษาหมู่เลือดในคนเชื้อชาติต่างๆ มีความสำ�คัญอย่างยิ่งสำ�หรับการให้เลือด (blood transfusion) และการปลูกถ่ายอวัยวะ (organ transplant) และเป็นส่วนสำ�คัญในการศึกษาด้าน พันธุศาสตร์ของมนุษย์ (human genetics) การกระจายตัว ของประชากร (human migration) มานุษยวิทยา (anthropology) วิวัฒนาการของมนุษย์ (human evolution) นิติวิทยาศาสตร์ (forensics science) นอกจากนั้นหมู่เลือดยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค บางชนิด เช่น ภาวะตัวเหลืองของทารกในครรภ์และ แรกคลอด (hemolytic disease of fetus and newborn: HDFN)(1),(2) หมู่เลือดของแต่ละบุคคล เป็นลักษณะประจำ�ตัวซึ่งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดชีวิต โดยยีนที่ควบคุมการแสดงออกของ หมู่เลือดต่างๆ จะถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน ดังนั้นหมู่เลือดจึงเป็นเครื่องมือสำ�คัญชิ้นหนึ่งในการ ชี้บ่งชาติพันธุ์และวิวัฒนาการของมนุษย์ได้ สาม ชาติพันธุ์ใหญ่ของมนุษย์ ได้แก่ คนผิวขาว (Cauca- soids) คนผิวดำ� (Negroids) และคนผิวเหลือง (Mongoloids) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีพันธุกรรมที่แตกต่าง กัน และมีร้อยละของหมู่เลือดต่างๆ ที่แตกต่างกัน ด้วย(1), (3-5) ตามทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับอย่าง กว้างขวางในปัจจุบันเชื่อว่ามนุษย์กลุ่มแรกมีต้นกำ�เนิด จากทวีปแอฟริกาแล้วจึงกระจายออกสู่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โดยมีภูมิอากาศ อาหาร และวิธีการในการดำ�รง ชีวิตเพื่อความอยู่รอดเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางพันธุกรรมหรือการกลายพันธุ์ (mutation) ทำ�ให้ มนุษย์แต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันได้ แม้จะยังคง เป็นสปีชีย์ (species) เดียวกัน(4-7) ในงานธนาคาร เลือดและการบริการโลหิตของศูนย์บริการโลหิต แห่งชาติ สภากาชาดไทย การศึกษาหมู่เลือดชนิด ต่างๆ เป็นงานสำ�คัญ เนื่องจากมีผู้บริจาคโลหิตหลาย เชื้อชาติ และแต่ละเชื้อชาติมีหมู่เลือดหายาก (rare bloodtype) ที่ไม่เหมือนกัน หมู่เลือดหายากบางชนิด พบมากในคนผิวเหลือง เช่น ในคนไทยพบ variant MNS ประมาณร้อยละ 9.1 และ Dia positive ประมาณร้อยละ2.99 หมู่เลือดหายากบางชนิดพบมาก ในคนผิวดำ� เช่น Fy(a-b-) ประมาณร้อยละ 67 และ บางชนิดพบมากในคนผิวขาว เช่น Rh negative ประมาณร้อยละ 15 เป็นต้น การศึกษาร้อยละของ หมู่เลือดต่างๆ จะทำ�ให้สามารถจัดหาเลือดที่หาได้ยาก และมักจะขาดแคลนอยู่บ่อยครั้ง เช่น Rh negative, Fy(a-b+) และrarebloodtypes อื่นๆ ให้เพียงพอ กับความต้องการได้ ส่วนฝ่ายผลิตน้ำ�ยาแอนติซีรัม และผลิตภัณฑ์เซลล์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ซึ่ง มีหน้าที่ผลิตเซลล์มาตรฐาน ได้แก่ screening cells, pool O cells และ identification panel cells การตรวจหา rare blood types เป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องใช้ rare blood types เป็นวัตถุดิบในการ ผลิต เซลล์มาตรฐานทั้งสามชนิดเพื่อแจกจ่ายให้แก่ โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศใช้ในการตรวจกรอง และตรวจแยกชนิดของแอนติบอดีต่อหมู่เลือดบนผิว เซลล์เม็ดเลือดแดง ทั้งในโลหิตบริจาคและผู้ป่วยที่ ต้องรับเลือด หมู่เลือดระบบ ABO ในปี 1900 Landsteiner ได้ทดลองผสม เซลล์เม็ดเลือดแดงของนักศึกษาคนหนึ่งกับน้ำ�เหลือง ของนักศึกษาคนอื่นๆ แล้วสังเกตการเกิดปฏิกิริยา agglutination ผลการทดลองทำ�ให้สามารถแบ่งการ เกิดปฏิกิริยา agglutination ออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่ม แรกเรียกว่ากลุ่ม A กลุ่มที่สองเรียกว่ากลุ่ม B ส่วน กลุ่มที่สามไม่เกิดปฏิกิริยาagglutination เรียกว่ากลุ่ม C ซึ่งภายหลังเรียกว่ากลุ่ม O การค้นพบหมู่เลือด ABO เป็นจุดเริ่มต้นของงานธนาคารเลือดและการ บริการโลหิต นอกจากนั้นหมู่เลือด ABO ยังเป็น เครื่องมือที่สำ�คัญยิ่งในการศึกษาชาติพันธุ์และ
  • 4. กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5130 วิวัฒนาการของมนุษย์ เพราะมนุษย์แต่ละเชื้อชาติ จะมีร้อยละของหมู่เลือด ABO แตกต่างกันดังนี้ หมู่เลือด O พบในคนผิวขาวร้อยละ 44 คนผิวดำ� ร้อยละ 49 และคนผิวเหลืองร้อยละ 43 หมู่เลือด A พบในคนผิวขาวร้อยละ 43 คนผิวดำ�ร้อยละ 27 และ คนผิวเหลืองร้อยละ 27 หมู่เลือด B พบในคนผิวขาว ร้อยละ 9 คนผิวดำ�ร้อยละ 20 และคนผิวเหลืองร้อยละ 25 หมู่เลือด AB พบในคนผิวขาวร้อยละ 4 คนผิวดำ� ร้อยละ 4 และคนผิวเหลืองร้อยละ 5(2), (6), (8), (9) ในระบบ ABO มี แอนติเจนที่สำ�คัญ 3 ชนิดคือ A, B และ A1 โดยแต่ละแอนติเจนมี oligosaccharide ที่แตกต่างกัน ยีนที่ควบคุมการสร้างแอนติเจนใน ระบบ ABO มี 3 อัลลีล อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 9 ตำ�แหน่ง 9q34.1-q34.2 โดยแต่ละอัลลีลไม่ได้สร้าง แอนติเจน A หรือแอนติเจน B โดยตรง แต่สร้าง เอนไซม์ glycosyl transferase ที่แตกต่างกันคือ A transferase และ B transferase เอนไซม์นำ�น้ำ�ตาล ต่างชนิดกัน คือ N-acetyl-D-galactosamine ที่พบ ในแอนติเจนA และD-galactose ที่พบในแอนติเจน B ไปติดที่แอนติเจน H บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งแอนติเจน H เป็น precursor สำ�หรับหมู่เลือด ABO(9), (10) ทำ�ให้แอนติเจน A และแอนติเจน B มีน้ำ�ตาลชนิดโอลิโกแซกคาไรด์แตกต่างกัน ส่วน อัลลีล O สร้างเอนไซม์ glycosyl transferase ที่ไม่ สามารถทำ�งานได้เพราะเกิดการกลายพันธุ์แบบ deletion ของยีนควบคุมการสร้างเอนไซม์ดังกล่าว โดย single nucleotide ที่ขาดหายไปทำ�ให้เกิด reading frame shift กลายเป็น stop codon อย่าง ถาวร ดังนั้นgroupO จึงถูกจัดเป็นnullphenotype ของระบบABO(8) ด้วยเหตุนี้บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ของ group O จึงมีแต่แอนติเจน H ไม่มีแอนติเจน A หรือแอนติเจน B นอกจากนี้ในระบบ ABO ยังมี แอนติเจนอื่นๆ เช่น A2, A3, B3 เป็นต้น คนที่มี แอนติเจนเหล่านี้เรียกว่า subgroup ซึ่งเกิดจากการ กลายพันธุ์ ของอัลลีลA และ อัลลีลB ทำ�ให้เอนไซม์ A transferase และ B transferase ผิดปกติทำ�งาน ได้ไม่เต็มที่ แอนติเจน A และแอนติเจน B บนผิว เซลล์เม็ดเลือดแดงจึงมีความแรงอ่อน บางครั้งยาก ต่อการตรวจด้วยวิธีทาง serology(8-10) หมู่เลือดระบบ Rh Rh เป็นระบบหมู่เลือดที่สำ�คัญรองจาก ระบบ ABO เพราะมีความเป็นแอนติเจนสูงโดย เฉพาะอย่างยิ่ง แอนติเจน D สามารถกระตุ้นให้คนที่ มีหมู่เลือด Rh negative สร้าง anti-D ได้ดีมาก หมู่ เลือดRhnegative พบในคนผิวขาวมากกว่าเชื้อชาติ อื่นๆ ประมาณร้อยละ 15 ทำ�ให้เกิดปัญหาในการให้ เลือดและสามารถทำ�ให้เกิดภาวะตัวเหลืองของทารก ในครรภ์และแรกคลอด ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีหมู่เลือด Rh negative ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ แบบ deletion โดยยีน RHD ขาดหายไปจาก genome ทำ�ให้ไม่สามารถสร้างโปรตีน D ได้ และเนื่องจากยีน RHCE ที่ควบคุมการสร้างโปรตีนCc และโปรตีนEe อยู่ชิดติดกับยีน RHD มาก เมื่อเกิดครอสซิงโอเวอร์ (crossing over) ในระยะ meiosis I ของการแบ่ง เซลล์ อาจมีส่วนของยีน RHCE เข้าแทรกในยีน RHD ทำ�ให้เกิดการกลายพันธุ์ แบบอื่นๆ ได้อีกหลาย แบบ เกิดเป็น variant alleles ที่แตกต่างกันไป หมู่เลือดในระบบ Rh มีอัลลีลที่แตกต่างกันจำ�นวน มากและมีความหลากหลายของยีนสูง ทำ�ให้เกิด phenotype ที่แตกต่างกันหลายแบบ(9), (11), (12) ได้แก่ Rhnull, Rh DEL, Partial D และ weak D คนที่เป็น Rhnull จะไม่มีแอนติเจนในระบบ Rh เนื่องจากเกิดการกลายพันธุ์ของ ยีน RHAG (Rh-associatedglycoprotein) บนโครโมโซมคู่ที่6 ตำ�แหน่ง 6p11-p21.1 ยีน RHAG ไม่ได้เป็นยีนที่ สร้างแอนติเจนหมู่เลือดแต่สร้าง glycoprotein ที่มี ปลายข้างหนึ่งเป็นสาย N-glycan ทำ�งานร่วมกับ
  • 5. ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5131 แอนติเจน D, C และ E เป็นโครงสร้างของเยื่อหุ้ม เซลล์เม็ดเลือดแดง การที่ยีน RHAG กลายพันธุ์ ไม่สร้าง RhAG ทำ�ให้แอนติเจน RhD และ RhCE แสดงออกไม่ได้ ทำ�ให้เกิด Rhnull phenotype ไม่มี แอนติเจนในระบบ Rh บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อโครงสร้างและความแข็งแรงของ เยื่อหุ้มเซลล์ เม็ดเลือดแดงจะมีรูปร่างและการทำ�งาน ที่ผิดปกติ(stomato-spherocytosis) รวมทั้งมีภาวะ ซีดร่วมด้วย(12) คนไข้ที่เป็น Rhnull ต้องรับเลือด บริจาคที่เป็น Rhnull เท่านั้นซึ่งเลือดบริจาคชนิดนี้หา ได้ยากมาก บางครั้งต้องขอเลือดที่แช่แข็งเก็บไว้จาก ประเทศญี่ปุ่น สำ�หรับคนที่เป็น Rh DEL หรือมี DEL phenotype จะมีความแรงของแอนติเจนD อ่อนมาก เพราะเกิดการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างโปรตีน D จนไม่สามารถตรวจพบแอนติเจน D ด้วยวิธี anti- globulin test ซึ่งเป็นวิธีปกติที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ธนาคารเลือดทั่วไป แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยวิธี Absorption-elution ซึ่งค้นพบครั้งแรกในประเทศ ญี่ปุ่นโดยOkubo และคณะ ในปี1984(13) ความสำ�คัญ ของ Rh DEL คือสามารถกระตุ้นให้คนที่เป็น Rh negative แท้สร้าง Anti-D ได้ ถ้าได้รับเลือดที่เป็น RhDEL แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่สามารถแยกRh DEL ออกจาก Rh negative แท้ได้ ดังนั้นการให้ เลือดบริจาคที่เป็น Rh DEL แก่คนไข้ที่เป็น Rh negative แท้ยังคงมีอยู่ แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ คนที่เป็นRhnegative แท้มักจะมีphenotype ของ ระบบRh เป็นrr(D-C-E-c+e+) ส่วนคนที่เป็นRh DEL มักจะมีphenotype เป็นr′r(D-C+E-c+e+), r′′r (D-C-E+c+e+) และ r′r′′(D-C+E+c+e+) ดังนั้นถ้าคนไข้มี phenotype ของระบบ Rh เป็น rr (D-C-E-c+e+) ก็ควรหาเลือดบริจาคที่มีphenotype ของระบบ Rh แบบเดียวกันให้แก่คนไข้ เพื่อป้องกัน การสร้าง Anti-D(12) partial D และ weak D phenotype เกิดจากการกลายพันธุ์ ของยีน RHD ทำ�ให้ไม่สามารถ สร้างแอนติเจน D ที่สมบูรณ์ได้ โดยอาจสร้าง แอนติเจน D ได้ไม่ครบทุก epitope มีบาง epitope ที่ขาดหายไป คนที่เป็นpartialD เกิดจาก การกลาย พันธุ์ของยีน RHD และ hybrid ของยีน RHCE ทำ�ให้มีลักษณะของแอนติเจน D ที่ผิดปกติ คือ สามารถสร้าง anti-D ต่อ epitope ของแอนติเจน D ที่ตัวเองไม่มีได้ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน D โมเลกุลที่สมบูรณ์ รวมทั้งไม่เกิดปฏิกิริยาagglutina- tion กับ monoclonal anti-D บางชนิด ส่วนคน ที่เป็น weak D จะมีความหนาแน่นของโมเลกุล แอนติเจน D บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยผิดปกติ คือมีเพียง 70 โมเลกุลถึง 5,200 โมเลกุลต่อเซลล์ เท่านั้น แต่คนที่มีแอนติเจนD สมบูรณ์ หรือคนที่เป็น Rhpositive ปกติ จะมีความหนาแน่นของแอนติเจน D บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงระหว่าง15,000 โมเลกุล (R1r) ถึง 33,000 โมเลกุล (R2R2) ต่อเซลล์(12) รายละเอียดการเกิด การกลายพันธุ์ ของหมู่เลือดระบบ Rh แบบต่างๆ ได้เคยเขียนไว้อย่างละเอียดแล้วใน เอกสารอ้างอิงหมายเลข 12 หมู่เลือดระบบ MNS แอนติเจนในระบบ MNS ได้แก่ M, N, S และ s โดยแอนติเจน M และ N อยู่บนโมเลกุลของ โปรตีน glycophorins A และ แอนติเจน S และ s อยู่บนโมเลกุลของโปรตีน glycophorins B บนผิว เซลล์เม็ดเลือดแดง หมู่เลือดในระบบนี้มี variant alleles ที่แตกต่างกันหลากหลายชนิดเช่นเดียวกับ ระบบ Rh เพราะเกิดการกลายพันธุ์ ของยีน GYPA และ GYPB ซึ่งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 4 ตำ�แหน่ง 4q28.2-q13.1 ยีน GYPA ประกอบด้วย 6 exons ความยาว60Kbp ยีน GYPB ประกอบด้วย5exons แต่มี 1 exon เป็น pseudoexon ความยาว
  • 6. กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5132 58 kbp(8), (9) โดยยีน GYPA ที่ควบคุมการสร้าง โปรตีนglycophorinsA เกิดครอสซิงโอเวอร์ กับยีน GYPB ที่ควบคุมการสร้างglycophorinsB ในระยะ meiosis I ของการแบ่งเซลล์ ทำ�ให้เกิดการจัดเรียง ตัวใหม่ของยีน(generearrangement) ได้โครโมโซม ลูกผสม (hybrid) ซึ่งมีบางส่วนเป็น glycophorins A และบางส่วนเป็น glycophorins B ทำ�ให้ได้ variant alleles ที่แตกต่างกันเกิดเป็นแอนติเจนที่ เรียกกันในอดีตว่า Miltenberger series หรือ Mia ปัจจุบันเรียกว่า variant MNS โดยมีแอนติเจนที่ สำ�คัญคือ Verweyst (Vw), Miltenberger (Mia), Murrell (Mur), Hill (Hil), Hut, Hop, Nob, DANE, MUT, TSEN และ MINY(14), (15) การ กลายพันธุ์ ของยีน GYPA และ GYPB แบ่งเป็น สามแบบใหญ่คือ single crossing over, double crossing over และ gene conversion การเกิด single crossing over คือยีน GYPA และ GYPB ไขว้กันและแลกชิ้นส่วนกันเพียงครั้งเดียวในระยะ meiosis I ของการแบ่งเซลล์ทำ�ให้เกิดอัลลีล GYP (B-A) ซึ่งเป็น hybrid ของยีน GYPA และ GYPB การเกิด double crossing over คือยีน GYPA และ GYPB ไขว้กันและแลกชิ้นส่วนกันสองครั้ง เป็นผล ทำ�ให้เกิดอัลลีล GYP(A-B-A) และอัลลีล GYP (B-A-B) อัลลีลทั้งสองแบบนี้ยังสามารถเกิดจาก gene conversion ได้เช่นเดียวกัน hybrid alleles ของ glycophorins ทำ�ให้เกิด phenotype ต่างๆ นอกจากการกลายพันธุ์ ที่กล่าวมาแล้ว ในระบบMNS ยังมีการกลายพันธุ์แบบอื่นๆ อีก เช่น phenotype En (a-) บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่มี โมเลกุล glycophorins A phenotype S-s-U- เกิด จากการกลายพันธุ์แบบ deletion ที่ยีน GYPB ขาด หายไปทั้งยีน phenotype MkMk บนผิวเซลล์เม็ด เลือดแดงไม่มีทั้งโมเลกุล glycophorins A และ glycophorins B เพราะยีน GYPA และ GYPB เกิดการกลายพันธุ์แบบ deletion ขาดหายไปทั้งสอง ยีน phenotype ทั้งสามชนิดนี้หาได้ยากมาก(8) แอนติเจนในvariantMNS ทั้งหมด11classes พบ มากในคนผิวเหลือง ในคนไทยส่วนใหญ่เป็น class MiIII(16) แอนติเจนในระบบนี้เป็นปัญหาต่อการให้ เลือดเพราะสามารถกระตุ้นให้ผู้รับสร้างแอนติบอดีได้ ดีและสามารถทำ�ให้เกิดภาวะตัวเหลืองของทารกใน ครรภ์และแรกคลอด(14) คนผิวเหลืองในภูมิภาคเอเซีย กลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบ hybrid ของ glycosphorins A และ glycosphorins B จำ�นวน มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบ มากถึงร้อยละ10 แตกต่างจากคนผิวขาวและผิวดำ�ที่ พบน้อยมาก(17), (18) หมู่เลือดระบบ P และ GLOB Collection เดิมเข้าใจกันว่าหมู่เลือดในระบบP ประกอบ ด้วยแอนติเจน 5 ชนิด คือ P, P1, Pk, LKE (Luke) และ p แอนติเจน P1 ค้นพบโดย Landsteiner และ Levine ในปี 1927 ส่วนแอนติเจน Pk พบโดย Sanger ในปี 1955 อีกสี่ปีต่อมา Matson และคณะ ค้นพบ P แอนติเจน และในปี 1965 Tippett และ คณะค้นพบแอนติเจน LKE (Luke) ภายหลังทราบ ว่ายีนที่ควบคุมการสร้างแต่ละแอนติเจนเป็นคนละยีน และอยู่คนละโครโมโซม ในปี 1990 คณะทำ�งานของ International Society of Blood Transfusion (ISBT) ซึ่งมีหน้าที่ตั้งชื่อแอนติเจนบนผิวเซลล์เม็ด เลือดแดงได้กำ�หนดว่าหมู่เลือดระบบ P มีแอนติเจน ชนิดเดียวคือ P1 และจัดให้แอนติเจน P, Pk และ LKE (Luke) อยู่ในกลุ่ม “unnamed collection” ต่อมาในปี 1991 ได้มีการตั้งชื่อ collection นี้ว่า globoside(GLOBO) และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่ง ในปี 1996 เป็น GLOB ปัจจุบันเรียกว่าหมู่เลือด ระบบP และGLOBCollection การสร้างแอนติเจน P, P1 และ Pk มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากเพราะ
  • 7. ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5133 เริ่มจาก precursor เดียวกัน กระบวนการสร้าง แอนติเจนทั้งสามชนิดนี้ เริ่มจากglucosylation ของ ceramide เติม beta-galactose เป็น lactosylce- ramide (Laccer) ซึ่งเป็น precursor ของทั้ง globoside และ paragloboside โดยแอนติเจน P และ Pk คือ globoside และ P1 คือ paraglobo- side(19) P1, P2, p, P1 k และ P2 k phenotype จะพบ แตกต่างกันไปในแต่ละเชื้อชาติnullphenotype ของ หมู่เลือดระบบ P และ GLOB Collection คือ p phenotype จะไม่มีทั้งแอนติเจนPk,P และP1 rare phenotype อื่นๆ ได้แก่ P2 k phenotype จะไม่มีทั้ง แอนติเจน P และ P1 ส่วน P1 k phenotype ไม่มี แอนติเจน P บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงpphenotype พบได้น้อยมากประมาณ5.8 คนต่อประชากรหนึ่งล้าน คนในยุโรป ยกเว้นประเทศสวีเดนในชนบททางเหนือ แถบ Västerbotten พบ p phenotype สูงกว่าที่อื่น อย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติคือประมาณ 141 คนต่อ ประชากรหนึ่งล้านคน ซึ่งอาจจะเกิดจากการแต่งงาน กันในระหว่างเครือญาติทำ�ให้ลักษณะด้อยปรากฏเป็น จำ�นวนมาก นอกจากนั้น p phenotype ยังพบได้ บ่อยๆ ในคนญี่ปุ่นและชาว Amish คนที่เป็น p phenotype จะสามารถสร้างแอนติบอดีที่เดิมเรียกว่า anti-Tja ปัจจุบันเรียกว่าanti-P1PPk ได้ แอนติบอดี ชนิดนี้เป็นปัญหาต่อการให้เลือดและสามารถทำ�ให้เกิด HDFN ได้ โดย anti-P1PPk ส่วนใหญ่เป็น IgM จะทำ�ให้เกิดปฏิกิริยา potent hemolysis กับเซลล์ เม็ดเลือดแดงที่มีแอนติเจน P1, P และ Pk ทำ�ให้เกิด ปฏิกิริยาจากการรับเลือด (hemolytic transfusion reaction: HTR) คนที่เป็น p phenotype จึงไม่ สามารถรับเลือดที่มีแอนติเจนเหล่านี้ที่พบในคน ส่วนใหญ่ได้เพราะจะทำ�ให้เกิดปฏิกิริยา hemolysis อย่างรุนแรงจนอาจถึงเสียชีวิตได้ ส่วนในหญิงตั้งครรภ์ ที่เป็นpphenotype มักเกิดการแท้งอย่างเฉียบพลัน ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ และเนื่องจากในประเทศ สวีเดนพบpphenotype เป็นจำ�นวนมากดังที่ได้กล่าว แล้วข้างต้น สาขาบริการโลหิตใน Umeå จึงต้องเป็น ผู้จัดหาเลือด p phenotype สำ�หรับคนที่มี Anti- P1PPk ทั่วโลก(19), (20) ยีน B3GALNT1 เป็นยีนที่ ควบคุมการสร้างแอนติเจน P อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 3 ความยาวอย่างน้อย 5 exons สร้างโปรตีนสามชนิด คือ 3-β-N-acetylgalactosaminyltransferase เชื่อว่าเอนไซม์นี้สร้างgloboside4 หรือP แอนติเจน โปรตีนชนิดที่สองคือ type II transmembrane glycoprotein (β 3GalNAc-T1, EC 2.4.1.79) ประกอบด้วยกรดอะมิโน 331 เรสิดิวส์และ N-gly- cosylation sites เป็นโปรตีนโครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ เม็ดเลือดแดง ยีน A4GALT เป็นยีนที่ควบคุมการ สร้างแอนติเจน Pk อยู่บนแขนข้างยาวของโครโมโซม คู่ที่ 22 ประกอบด้วย 2 หรือ 3 exons สร้างโปรตีน โครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงคือ type II transmembrane glycoprotein ประกอบด้วยกรด อะมิโน353 เรสิดิวส์ ยีน A4GALT มีการกลายพันธุ์ 4 แบบ คือ 548T>A (M183K), 560G>A (G187D), 752C>T(P251L) และ 783G>A (W261X) ทำ�ให้เอนไซม์ทำ�งานไม่ได้เป็นสาเหตุของ การเกิด p phenotype ส่วนยีนที่ควบคุมการสร้าง แอนติเจนP1 และLKE ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นยีน ใด ทราบเพียงแต่ว่ายีนควบคุมการสร้างแอนติเจน P1 น่าจะอยู่บนโครโมโซมเดียวกับยีน A4GALT ที่ควบคุมการสร้างแอนติเจน Pk สันนิษฐานว่าอาจ เป็นตำ�แหน่ง 22q11.3 หรือ 22q13.2 ส่วนยีนที่ ควบคุมการสร้างแอนติเจนLKE ปัจจุบันยังไม่ทราบ ว่าอยู่บนโครโมโซมใด(20) หมู่เลือดระบบ Lewis แอนติเจนของหมู่เลือดในระบบ Lewis ไม่ใช่โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงแต่เป็น โมเลกุลของ glycolipids ที่อยู่ในพลาสมาถูกดูดซับ
  • 8. กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5134 มาอยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง(15) นอกจากนั้น แอนติเจนในระบบนี้ยังสามารถพบได้ในเนื้อเยื่ออื่นๆ และสารคัดหลั่งจากร่างกายมนุษย์ แอนติบอดีในระบบ Lewis มีความสำ�คัญทางคลินิกน้อยเนื่องจากส่วน ใหญ่เป็นแอนติบอดีชนิด IgM ซึ่งมักพบในคนที่มี phenotype Le(a-b-) ส่วนคนที่มี phenotype Le(a+b-) หรือ phenotype Le(a-b+) พบ anti-Lewis ได้ยากมาก แอนติบอดีในระบบนี้สามารถ ทำ�ให้เกิดHTR และHDFN ได้ อีกทั้งสามารถทำ�ให้ เกิด renal transplant rejection จาก anti-Lea ได้ ด้วย พบครั้งแรกในปี 1946 โดย Mourant รายงาน ว่าพบแอนติบอดีชนิดใหม่ที่เกิดปฏิกิริยา agglutina- tion กับเซลล์เม็ดเลือดแดงทั้งที่อุณหภูมิห้องและที่ อุณหภูมิ37 องศาเซลเซียส จากผู้หญิงสองคนคลอด ทารกซึ่งสงสัยว่าเป็น HDFN แต่เม็ดเลือดแดงของ ทารกคนหนึ่งไม่เกิดปฏิกิริยากับน้ำ�เหลืองของแม่ จึงสันนิษฐานว่าแอนติบอดีชนิดนี้เป็น natural occurring antibody แอนติบอดีชนิดใหม่นี้ทำ� ปฏิกิริยา agglutination กับเม็ดเลือดแดงของคน อังกฤษร้อยละ 25 อีกสองปีต่อมา Andresen พบ anti-Leb ที่เกิดปฏิกิริยาagglutination กับเม็ดเลือด แดงหมู่O หรือA2 Le(a-b+) ต่อมาBrendemoen รายงานว่าanti-Leb เกิดปฏิกิริยาagglutination กับ เม็ดเลือดแดงหมู่ A หมู่ B และหมู่ O ภายหลัง anti-Leb ทั้งสองชนิดนี้ได้รับชื่อใหม่ว่า anti-LebH และ anti-LebL ปัจจุบันแอนติบอดีในระบบ Lewis จัดเป็นแอนติบอดีที่มีความสำ�คัญทางคลินิกน้อย เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแอนติบอดีชนิด IgM ระบบ Lewis เป็นหมู่เลือดที่มีความซับซ้อนมากระบบหนึ่ง เพราะ phenotype ของหมู่เลือดระบบนี้ควบคุมการ แสดงออกโดยยีน FUT2 หรือ secretor (SE) gene และ FUT3 หรือ Lewis (LE) gene ทำ�ให้เกิด แอนติเจนทั้งหมด 6 ชนิดคือ Lea Leb Leab LebH A Leb และ B Leb แอนติเจนในระบบ Lewis มี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแอนติเจน ABH ในระบบ ABO เพราะแอนติเจนทั้งสามนี้ก็สามารถพบใน เนื้อเยื่ออื่นๆ เช่นเดียวกับแอนติเจน Lewis โดย ควบคุมด้วยยีนเดียวกันคือยีน secretor (SE) โดย phenotypeLe(a+b-) เป็นnon-secretor เพราะยีน FUT2 ไม่ทำ�งานphenotypeLe(a-b+) เป็นsecretor และphenotypeLe(a-b-) เป็นได้ทั้งsecretor และ non-secretor ส่วน phenotype Le(a+b+) ซึ่งเป็น secretor หาได้ยากมาก(20), (22) ในคนไทยพบ phenotype Le(a-b-) ประมาณร้อยละ 30(21) แอนติบอดีในระบบLewis มักพบได้บ่อยในผู้บริจาค โลหิต เป็นแอนติบอดีที่เกิดขึ้นเอง ส่วนใหญ่เป็น anti-Lea+b ในคนที่มี phenotype Le(a-b-)(22) หมู่เลือดระบบ Kidd หมู่เลือดระบบ Kidd ค้นพบในปี 1951 โดยพบแอนติบอดีชนิดใหม่ คือanti-Jka ในน้ำ�เหลือง ของ Mrs. Kidd ผู้ซึ่งเคยมี anti-K มาก่อนและเป็น สาเหตุทำ�ให้เกิด HDFN กับลูกทั้งหกคนของเธอ anti-Jkb พบอีกสองปีต่อมาทำ�ให้เกิดHTR ในผู้หญิง ที่เคยมี anti-Fya มาก่อน แอนติบอดีในระบบ Kidd มักเกิดร่วมกับแอนติบอดีของหมู่เลือดระบบอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่าแอนติเจนในระบบ Kidd ไม่ได้เป็น immunogen โดยตรง ความสำ�คัญของแอนติบอดีใน ระบบKidd คือสามารถกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของ ผู้รับเลือดเกิด delayed HTR อย่างรุนแรงได้ แอนติเจนที่สำ�คัญในระบบ Kidd มีสองชนิดคือ Jka และJkb ทำ�ให้เกิดphenotype ปกติที่พบเป็นประจำ� 3 แบบ คือ Jk(a+b-) Jk(a-b+) และ Jk(a+b+) ส่วน phenotype Jk(a-b-) หาได้ยากมากแต่พบได้ บ้างในคนผิวเหลืองชาวเอเชียและพวกโพลินีเชี่ยน ในคนฟินแลนด์ การแทนที่ของ single amino acid (Ser291Pro) มีผลต่อการแสดงออกของแอนติเจน Jkb ร้อยละของแอนติเจน Kidd ในคนเชื้อชาติ
  • 9. ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5135 ต่างๆ มีความแตกต่างกันคือ phenotype Jk(a+b-) พบร้อยละ 26.3 ในคนผิวขาว ร้อยละ 51.1 ในคน ผิวดำ� และร้อยละ 23.2 ในคนผิวเหลือง phenotype Jk(a-b+) พบร้อยละ23.4 ในคนผิวขาว ร้อยละ8.1 ในคนผิวดำ� และร้อยละ 26.8 ในคนผิวเหลือง phenotypeJk(a+b+) พบร้อยละ50.3 ในคนผิวขาว ร้อยละ 40.8 ในคนผิวดำ� และร้อยละ 49.1 ในคน ผิวเหลืองphenotypeJk(a-b-) หาได้ยากมาก ในคน ผิวขาว และคนผิวดำ� ส่วนคนผิวเหลืองโพลินีเชี่ยน พบร้อยละ 0.9 ยีนที่ควบคุมการแสดงออกของ แอนติเจน Kidd มี polymorphism มาก การเกิด null phenotype หรือ Jk(a-b-) มาจากสาเหตุทาง พันธุกรรมที่แตกต่างกันสองแบบคือแบบที่หนึ่ง ได้รับการถ่ายทอดยีนที่เป็น homozygous silent allele โดยsilentallele เกิดจากการกลายพันธุ์แบบ splicesite จากการกระโดดข้ามของexon ที่6 หรือ exon ที่7 ทำ�ให้เกิดgenomicdeletions ครอบคลุม ถึงexon ที่4 หรือ5 หรือเกิดจากการกลายพันธุ์แบบ nonsense ใน exon ที่ 7 เป็นสาเหตุให้เกิด stop codon แบบที่สองมียีนdominantinhibitor In(Jk) ที่ไม่ได้ linked กับยีน Jk (HUT11)(23) หมู่เลือดระบบ Duffy หมู่เลือดระบบDuffy เริ่มรู้จักกันในปี1950 เมื่อพบ anti-Fya ที่ทำ�ให้เกิด HTR ในคนไข้ hemophilia หมู่เลือดORhnegative ที่ได้รับเลือด 3unit เพื่อรักษาอาการห้อเลือดและเลือดไหลไม่หยุด ที่เกิดขึ้นเอง หลังจากได้รับเลือดคนไข้เกิดปฏิกิริยา จากการรับเลือดอย่างรุนแรง มีอาการตัวเหลืองในวัน ที่ได้รับเลือด การตรวจหาแอนติบอดีพบว่าเป็น แอนติบอดีที่เกิดปฏิกิริยากับ indirect antiglobulin test เท่านั้น แอนติบอดีชนิดนี้เรียกว่า anti-Duffy (anti-Fya) ตามชื่อของคนไข้ อีกหนึ่งปีต่อมา Ikin และคณะ ค้นพบ anti-Fyb ในทารกแรกเกิดอายุ สองวันเป็นบุตรคนที่สามของมารดา มีอาการบ่งชี้ว่า เป็น HDFN ยีนที่ควบคุมการสร้างแอนติเจน Duffy คือ FYA และ FYB อยู่บนแขนข้างยาวของโครโมโซม คู่ที่ 1 ตำ�แหน่ง 1q22→ q23 ทำ�ให้เกิด phenotype สี่แบบคือ Fy(a+b-), Fy(a-b+), Fy(a+b+) และ Fy(a-b-)(24) โดย Fy(a-b-) เป็น phenotype หลัก ที่พบในคนผิวดำ�มากถึงร้อยละ 67(24) แต่หาได้ยาก มากในคนผิวขาวและคนผิวเหลือง ปกติแอนติเจน ในระบบ Duffy จะพบอยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์อื่นๆ ทั่วร่างกาย แต่ในคนผิวดำ�ที่มี phenotype Fy(a-b-) จะไม่พบแอนติเจน Fyb บน ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่านั้น ส่วนเซลล์เนื้อเยื่ออื่นๆ พบแอนติเจน Fyb ตามปกติ ซึ่งแตกต่างจาก phenotypeFy(a-b-) ในคนผิวขาวที่ไม่พบแอนติเจน Duffy ทั้งบนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดงและเนื้อเยื่ออื่นๆ phenotype Fy(a-b-) ที่พบในคนผิวดำ�เกิดจาก การกลายพันธุ์ของยีนที่อยู่เหนือ GATA promoter region ของ FY allele การกลายพันธุ์นี้ยับยั้งการ แสดงออกของ Duffy glycoprotein บนผิวเซลล์ เม็ดเลือดแดงเท่านั้น ส่วน phenotype Fy(a-b-) ในคนผิวขาวเกิดจากการกลายพันธุ์แบบ point mutation ใน allele FYA และ FYB เกิดเป็น stop codon ทำ�ให้ไม่สามารถสร้าง Duffy glycoprotein ได้ ในคนผิวดำ�ที่มี phenotype Fy(a-b-) เมื่อได้รับ เลือดที่มีแอนติเจน Duffy สามารถสร้าง anti-Fya และ anti-Fy3 ได้แต่ไม่สร้าง anti-Fyb เนื่องจากมี แอนติเจน Fyb อยู่บนเนื้อเยื่ออื่นๆ(24) หมู่เลือดระบบ Kell และ Kx หมู่เลือดในระบบ Kell ค้นพบในปี 1946 หลังการค้นพบ antiglobulin test เพียงไม่กี่สัปดาห์ คนไข้ทารกแรกเกิดที่เป็น HDFN เมื่อนำ�เม็ดเลือด แดงมาทำ� antiglobulin test ปรากฏว่าให้ปฏิกิริยา DAT positive น้ำ�เหลืองจากแม่เด็กทำ�ปฏิกิริยากับ
  • 10. กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5136 เลือดจากพ่อเด็กและเลือดจากลูกคนโต เมื่อนำ�มา ทดสอบกับเลือดจากผู้บริจาคโลหิตคนอื่นพบว่าทำ� ปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดงของผู้บริจาคโลหิตอื่นๆ ร้อยละ 9 จึงตั้งชื่อหมู่เลือดระบบนี้ว่า Kell ตาม นามสกุลของแม่เด็กคือ Kelleher และตั้งชื่อ แอนติเจนที่พบเป็นตัวแรกว่า K (synonyms: Kell, K1) อีกสามปีต่อมาก็พบแอนติเจนที่สองคือ k (synonyms:Cellano,K2) ซึ่งเป็นhighincidence antigen ในทุกๆ ประชากร ต่อมาในปี 1957 จึงได้ ค้นพบแอนติเจน Kpa, Kpb และ K0 (Kellnull) phenotype ปัจจุบันพบว่ามี 24 แอนติเจน โดยเป็น high-incidence antigen คือ k, Kpb, Jsb, K11 และK14 เป็นต้น และlow-incidenceantigen คือ K,Kpa,Kpc,Jsa,K17 และK24 เป็นต้น แอนติเจน ในระบบ Kell อยู่บน Kell glycoprotein พบ ประมาณ3,500 ถึง17,000 โมเลกุลต่อเม็ดเลือดแดง หนึ่งเซลล์ null phenotype ของระบบ Kell คือ K0 จะไม่มีแอนติเจน Kell และ Kmod phenotype จะมี แอนติเจน Kell ที่มีความแรงอ่อน เซลล์เม็ดเลือด แดงที่ขาดKellglycoprotein ยังคงมีรูปร่างปกติแต่ เซลล์เม็ดเลือดแดงที่ขาดโปรตีน XK ซึ่งเป็นโปรตีน Kell ที่สร้างจากโคโมโซม X จะทำ�ให้เป็นโรคทาง พันธุกรรม McLeod syndrome เยื่อหุ้มเซลล์เม็ด เลือดแดงมีความผิดปกติ อายุของเซลล์เม็ดเลือดแดง สั้นลง รวมถึงมีความผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อและ เซลล์ประสาท แอนติเจนKell หรือK1 พบประมาณ ร้อยละ 9 ในคนผิวขาวและมักเป็นปัญหาต่อการ ให้เลือดทำ�ให้เกิด HDFN เนื่องจากแอนติเจน Kell มีความเป็นแอนติเจนสูงมาก (high immunogenic) กระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของผู้รับเลือดสร้างแอนติบอดี ได้ดี อย่างไรก็ตามการหาเลือดที่มีแอนติเจน K1 negative ให้คนไข้นั้นทำ�ได้ไม่ยากเนื่องจากผู้บริจาค โลหิตส่วนใหญ่มีแอนติเจน K1 negative(23) ใน ประเทศไทย anti-K1 ไม่เป็นปัญหาต่อการให้เลือด เนื่องจากในคนไทยพบแอนติเจน Kell หรือ K1 น้อยมาก จากข้อมูลของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ พบ ผู้บริจาคโลหิตที่เป็น KK ร้อยละ 0.07 และผู้บริจาค ที่เป็นKk ร้อยละ1.78(18) แต่เนื่องจากผู้บริจาคโลหิต ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ มีชาวต่างชาติทั้งผิวขาว และผิวดำ�รวมอยู่ด้วยจึงทำ�ให้ร้อยละของแอนติเจน Kell หรือ K1 สูงกว่าที่จะพบจริงในคนไทย ยีน ควบคุมการสร้างแอนติเจน Kell หรือ KEL gene อยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 7 ตำ�แหน่ง q33 ความยาว 19 exons 21.5 kb การขาดโปรตีน Kell (K0) บนผิว เซลล์เม็ดเลือดแดง เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน KEL แบบต่างๆ ได้หลายแบบได้แก่ nucleotide deletion, defective splicing, premature stop codons และ amino acid substitutions ส่วนยีน ควบคุมการสร้างโปรตีน XK หรือ XK gene อยู่บน แขนข้างสั้นของโครโมโซม X ตำ�แหน่ง Xp21 ความยาว 3 exons เกิด การกลายพันธุ์ได้หลายแบบ เช่นเดียวกัน ได้แก่ major deletions, minor deletions, point mutations, splice site และ frameshiftmutations การขาดXK โปรตีนจะทำ�ให้ เป็นโรค McLeod syndrome ดังที่ได้กล่าวแล้ว เนื่องจากยีนXK เป็นX-linkedgene จึงพบโรคใน เพศชายเท่านั้น เพศหญิงจะเป็น carrier23 หมู่เลือดระบบ Diego หมู่เลือดในระบบ Diego พบครั้งแรกในปี 1955 โดยสตรีชาวเวเนซุเอลา Mrs. Diego สร้าง แอนติบอดีชนิดใหม่ที่ทำ�ให้เกิด HDFN แอนติเจน Dia เป็น low-incidence antigen ที่พบได้บ่อยใน คนผิวเหลือง หลังจากนั้นในปี1967 ก็พบแอนติเจน Dib ซึ่งเป็นhigh-incidenceantigen ในคนทุกสีผิว ในปี 1995 พบแอนติเจนอีกสองชนิดคือ Wra/Wrb ที่จริงแอนติเจน Wra เป็น low-incidence antigen ที่พบตั้งแต่ปี 1953 ก่อนการพบแอนติเจน Dia สอง
  • 11. ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5137 ปี แต่ยังไม่ได้จัดแอนติเจน Wra ไว้ในระบบ Diego ตั้งแต่ปี1955 เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาเยื่อหุ้มเซลล์ ของเม็ดเลือดแดงมากพอที่จะระบุได้ว่าแอนติเจนทั้ง สองชนิดเป็นโปรตีนบนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง ชนิดเดียวกัน ปัจจุบันพบแอนติเจนในระบบ Diego แล้ว 19 ชนิด แอนติเจน Dia มีความสำ�คัญอย่างยิ่ง ต่อการศึกษาทางมานุษยวิทยาเพราะเป็น marker ที่ ดีในคนผิวเหลือง ในคนผิวขาวพบแอนติเจน Dia ได้ น้อยมาก อย่างไรก็ตามเคยพบคนไข้ชาวโปแลนด์มี phenotype Di(a+b-) และสร้าง anti-Dib จากการ ศึกษาก่อนหน้าในประชากรทางตะวันตกเฉียงใต้ของ ประเทศโปแลนด์พบแอนติเจน Dia ร้อยละ 0.47 ซึ่งสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับคนผิวขาวโดยทั่วไป จากการศึกษาทางชาติพันธุ์และประวัติศาสตร์พบว่า ในศตวรรษที่ 13 ศตวรรษที่ 15 และศตวรรษที่ 17 น่าจะมีการแต่งงานกันระหว่างชาวโปแลนด์ผิวขาวกับ ชาวมองโกเลียตาร์ตาร์ผู้รุกราน ทำ�ให้อุบัติการณ์ของ แอนติเจนDia ของประชากรในแถบตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศโปแลนด์สูงผิดปกติ แอนติบอดีในระบบ Diego คือ anti-Dia anti-Dib anti-Wra และ anti- Wrb เป็นแอนติบอดีที่มีความสำ�คัญทางคลินิกเพราะ สามารถทำ�ให้เกิด HTR และ HDFN ได้ anti-Dia เป็น rare antibody ที่เกิดเพราะถูกกระตุ้นจากการ รับเลือดเท่านั้น ตรงกันข้ามกับ anti-Wra ที่เป็น naturallyoccurringantibody และมักพบในคนไข้ autoimmunehemolyticanemia การพบanti-Dib และ anti-Wrb ในคนไข้แอนติเจน Dib negative และแอนติเจนWrbnegative ทำ�ให้มีความยากลำ�บาก ในการหาเลือดที่เหมาะสมให้แก่คนไข้เพราะผู้บริจาค โลหิตส่วนใหญ่มีแอนติเจน Dib positive และ Wrb positive ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่นที่มีผู้บริจาคโลหิตที่ มีแอนติเจน Dib negative มากกว่า 700 ราย(25) สำ�หรับผู้บริจาคโลหิตชาวไทย ฝ่ายผลิตน้ำ�ยาแอนติ ซีรัมและผลิตภัณฑ์เซลล์ได้ตรวจพบผู้ที่มีแอนติเจน Dib negative หมู่O1 ราย และได้เก็บตัวอย่างเลือด แช่แข็งไว้เป็น rare cells แล้ว จากที่ได้บรรยายมาทั้งหมดสามารถสรุป ความแตกต่างของ rare blood types ในมนุษย์ทั้ง สามสีผิว ดังแสดงใน Table 1 จะเห็นว่าrarebloodtypes ที่หาได้ยากมาก ในคนเชื้อชาติหนึ่ง อาจหาได้ไม่ยากนักในคนอีกเชื้อ ชาติหนึ่ง ในกรณีที่ธนาคารเลือดของโรงพยาบาลต่างๆ พบคนไข้ที่มีหมู่เลือดหายากแล้วไม่สามารถหาเลือดที่ เข้ากันได้ให้แก่คนไข้ ก็สามารถขอเลือดบริจาคที่หา ยากนั้นมาที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ทั้งนี้เนื่องจากศูนย์บริการโลหิตฯ ได้ตรวจหา rare blood types ไว้เป็นจำ�นวนมาก อีกทั้งสามารถเชิญ ผู้บริจาคโลหิตมาบริจาคได้ หรือถ้าrarebloodtypes นั้นหาได้ยากมาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติฯ ก็ สามารถเป็นตัวกลางประสานงานเพื่อขอเลือดบริจาค หายากนั้นไปยังองค์กรต่างประเทศ ได้แก่American Rare Donor Program (ARDP) ประเทศ สหรัฐอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ในยุโรป ส่วนใน เอเซียก็มีสภากาชาดญี่ปุ่น (Japanese Red Cross) ที่ทางศูนย์บริการโลหิตฯ เคยขอ rare blood types อยู่บ่อยครั้ง(26) ในกรณีที่ธนาคารเลือดต้องการหาrare blood types จากญาติของคนไข้ โดยสามารถเชิญ ญาติมาตรวจแต่ไม่มี monoclonal antibodies ที่จะ ทำ� phenotyping ก็สามารถติดต่อมายังฝ่ายผลิต น้ำ�ยาแอนติซีรัมและผลิตภัณฑ์เซลล์เพื่อขอ rare antibodies ชนิดต่างๆ ได้เช่นกัน
  • 12. กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5138 สรุปการศึกษาร้อยละของหมู่เลือดชนิดต่างๆ มีความจำ�เป็นต่องานธนาคารเลือดและบริการโลหิต เนื่องจากจะทำ�ให้สามารถหาrarebloodtypes ชนิด ต่างๆ ที่มักจะขาดแคลนอยู่บ่อยครั้งให้เพียงพอกับ ความต้องการได้ เอกสารอ้างอิง 1. Khan MS, Ahmed Z, Hanif R, et al. Relationship between Blood Group and Male Infertility. J Ayub Med Coll Abbottabad 2010; 22: 154-6. 2. Patel PA, Patel SP, Shah JV, Oza HV. Frequency and Distribution of Blood Groups in Blood Donors in Western Ahmedabad-A Hospital Based Study. Natl J of Med Res 2012; 2: 202-6. 3. Nei M, Roychoudhury AK. Evolution Relationships of Human Populations on a Global Scale. Mol Biol Evol 1993; 10: 927-43. 4. Nei M, Roychoudhury AK. Genic Variation Within and Between the Three MajorRacesofMan,Caucasoids,Negroids and Mongoloids. Am J Hum Genet 1974; 26: 421-43. 5. Saldanha SG. ABO Blood Groups and Salivary Secretion of ABH Substance among Three Radical Groups in Sao Paulo City. Rev Brasil Genet 1982; 1: 175-86. Table 1  Differences among rare blood types in the three major ethnicities of human Phenotypes Caucasoids Negroids Mongoloids (Thais) Rh D (-) 15% 8% 0.3% p 141 per million (Sweden) Not found Very rare Mia(+) Variant MNS or Miltenberger Subclasses Very rare Not found 9.1% Jk(a-b-) Not found Not found 0.06% Fy(a-b-) Very rare 67% Not found K(+) 9% 2% 1.85% k(-) 0.2% Very rare Not Found Dia(+) 0.46% (Poland) Not found 2.99% Dib(-) Very rare Not found Very rare
  • 13. ความแตกต่างของหมู่เลือดเก้าระบบในมนุษย์สามชาติพันธุ์หลัก 5139 6. Adeyemo OA, Soboyejo OB. Frequency distributionofABO,RHbloodgroupsand blood genotypes among the cell biology and genetics students of University of Lagos, Nigeria. Afr J Biotechnol 2006; 5: 2062-5. 7. Mouhaus HA, Abbhar SH, Musa AS, MahawiHK.AstudyofABObloodgroup and Rhesus factors distribution among samples of Missan province population. Journal of Basrah Research (Sciences) 2010; 36: 48-53. 8. Dean L. Blood Groups and Red Cell Antigens. Bethesda (MD): National Center for Biotechnology Information US; 2005. 9. Reid ME, Lomas-Francis C. The Blood Group Antigen: Facts Book. 2nd ed. Amsterdam: Elsevier; 2004. 10. Nagai M, Dave V, Muensch H, Yoshida A.HumanBloodGroupGlycosyltransfer- ase. The J Biol Chem 1978; 253: 380-1. 11. Lambert SWJ. Rh Variability in Multi- Ethnic Perspective Consequences for RH Genotyping.TheNetherlandsOganization for Health Research and Development. Erasmus University. Rotterdam. Nether- lands; 2005. 12. Kerdkaewngam K. Mutation in Rh Blood Group System. J Hematol Transfus Med 2012; 22: 283-8. (in Thai) 13. Okubo Y, Yamaguchi H, Tomita T, et al. A D variant, Del? Transfusion 1984; 24: 542. 14. Kerdkaewngam K, Tubrod J, Tingtoy U, Termchairoj W, Oota S. Testing of Synthetic Blood Group Antigens MUT/ Mur Kodecytes with Anti-Mia in Blood Donors. J Hematol Transfus Med 2011; 21: 229-33. (in Thai) 15. Kerdkaewngam K. KODETM Biosurface EngineeringTechnologyandAntigenson Red Blood Cells synthesis. J Hematol Transfus Med 2011; 21: 223-7. (in Thai) 16. Chandanyingyong D. Transfusion Medi- cine. Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University. Thailand; 1998: 86-96. (in Thai) 17. Reid ME. MNS blood group system: a review. Immunohematology 2009; 25: 95-101. 18. Fongsarum J, Nuchprayoon I, Yod-in S, Kupatawintu P, Kidprasirt C. Blood Groups in Thai Blood Donors. J Hematol TransfusMed2002;12:277-86.(inThai) 19. Bejrachandra S. Review of P Blood Group System. J Hematol Transfus Med 2005; 15: 83-8. (in Thai) 20. HellbergA.StudiesontheGeneticsBasis of Pk, P and P1 Blood Group Antigen Expression. Doctoral thesis. Division of Hematology and Transfusion Medicine. Deparment of Laboratory Medicine. Lund University. Sweden; 2007. 21. Combs MR. Lewis blood group system review. Immunohematology 2009; 25: 112-8.
  • 14. กัลยา เกิดแก้วงาม และ จินตนา ทับรอด5140 22. Laura C. The Lewis system. In: Roback JD, Combs, Grossman BJ, Hillyer CD, eds. Technical Manual. 16th ed. Bethesda, MD. AABB 2008: 374. 23. Westhoff CM. and Reid ME. Review: the Kell,Duffy,andKiddbloodgroupsystems. Immunohematology 2004; 20: 37-49. 24. MenyGM.TheDuffybloodgroup system: a review. Immunohematology 2010; 26: 51-6. 25. PooleJ.TheDiegobloodgroupsystem-an update.Immunohematology1999;15:1-9. 26. Bejrachandra S. International Rare Red Cell Exchange. J Hematol Transfus Med 2008; 18: 67-72. (in Thai)