SlideShare a Scribd company logo
 
 
 
 
 
 
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๙
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
รายละเอียดของหลักสูตร
หลักสูตร นิเทศศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๙
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
คณะ/ สาขาวิชา คณะนิเทศศาสตร์ / สาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล
หมวดที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Communication Arts Program in Broadcasting and Digital Media
๒. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ขื่อเต็มภาษาไทย นิเทศศาสตรบัณฑิต (วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล)
ชื่อย่อภาษาไทย นศ.บ. (วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Communication Arts (Broadcasting and Digital Media)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.Com.Arts (Broadcasting and Digital Media)
จํานวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ๑๓๕ หน่วยกิต
๓ หลักสูตร
๓.๑ หลักสูตร
๓.๑.๑ จํานวนหน่วยกิต
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๑๓๕ หน่วยกิต เป็นหลักสูตรแบบศึกษาเต็มเวลา สอดคล้องกับ
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
๓.๑.๒ โครงสร้างหลักสูตร
จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๑๓๕ หน่วยกิต
ก.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
ประกอบด้วยวิชาศึกษาทั่วไปบังคับและวิชาศึกษาทั่วไปเลือก ดังนี้
๑) วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ ๒๔ หน่วยกิต
(๑) กลุ่มวิชาภาษา จํานวน ๔ รายวิชา ๑๐ หน่วยกิต
- วิชาภาษาอังกฤษ จํานวน ๒ รายวิชา ๖ หน่วยกิต
- วิชาภาษาไทย จํานวน ๒ รายวิชา ๔ หน่วยกิต
(๒) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ จํานวน ๒ รายวิชา ๖ หน่วยกิต
(๓) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ จํานวน ๑ รายวิชา ๓ หน่วยกิต
(๔) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จํานวน ๒ รายวิชา ๔ หน่วยกิต
(๕) กลุ่มวิชาพลานามัย จํานวน ๑ รายวิชา ๑ หน่วยกิต
๒) วิชาศึกษาทั่วไปเลือก ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของผู้เรียนได้ตามความสนใจจากรายวิชา
ต่างๆ ใน ๕ กลุ่มวิชา คือ กลุ่มวิชาภาษา กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
กลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และกลุ่มวิชาพลานามัย
ข. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า ๙๙ หน่วยกิต
ประกอบด้วย ๓ กลุ่มวิชา ดังนี้
-กลุ่มวิชาแกน ๓๐ หน่วยกิต
-กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (ไม่น้อยกว่า) ๕๔ หน่วยกิต
-กลุ่มวิชาเลือก (ไม่น้อยกว่า) ๑๕ หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
ประกอบด้วยกลุ่มวิชาเลือกภายในคณะฯ และ/หรือกลุ่มวิชาเลือกภายนอกคณะฯ
๓.๑.๓ รายวิชา
หลักเกณฑ์การใช้รหัสวิชาในหลักสูตร
เลขหลักหน่วย หมายถึง ลําดับของรายวิชา
เลขหลักสิบ หมายถึง ลําดับของรายวิชา
เลขหลักร้อย หมายถึง ชั้นปีที่เปิดสอนรายวิชาโดยประมาณ
ตัวอักษร ศท. (GE.) หมายถึง หมวดวิชาศึกษาทั่วไปทุกวิชา
ตัวอักษร นศ. (CA.) หมายถึง กลุ่มวิชาของคณะนิเทศศาสตร์ (กลุ่มวิชาเฉพาะ)
ตัวอักษร วท. (BC.) หมายถึง กลุ่มวิชาของสาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล
๓.๑.๓.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไปบังคับ ไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต
(๑) รายวิชาในกลุ่มวิชาภาษา จํานวน ๑๐ หน่วยกิต
ศท. ๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๒(๒-๐-๔)
GE 101 THAI FOR COMMUNICATION
ศท. ๑๐๒ การใช้ภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ ๒(๒-๐-๔)
GE 102 THAI USAGE FOR CREATION
ศท. ๑๐๐ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๓(๓-๐-๖)
GE 100 ENGLISH FOR COMMUNICATION
ศท. ๑๑๐ ภาษาอังกฤษเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 110 ENGLISH FOR DAILY LIFE
(๒) รายวิชาในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ จํานวน ๖ หน่วยกิต
ศท. ๑๒๑ วิถีแห่งเกษม ๓(๓-๐-๖)
GE 121 WAYS OF KASEM
ศท. ๑๒๓ กฎหมายเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 123 LAWS FOR DAILY LIFE
(๓) รายวิชาในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ จํานวน ๓ หน่วยกิต
ศท. ๑๓๑ ศิลปะการพัฒนาชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 131 ARTS OF LIFE DEVELOPMENT
(๔) รายวิชาในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จํานวน ๔ หน่วยกิต
ศท. ๑๔๑ คณิตศาสตร์ร่วมสมัย ๒(๒-๐-๔)
GE 141 CONTEMPORARY MATHEMATICS
ศท. ๑๔๒ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อโลกยั่งยืน ๒(๒-๐-๔)
GE 142 ENVIRONMENTAL SCIENCE FOR SUSTAINABLE WORLD
(๕) รายวิชาในกลุ่มวิชาพลานามัย จํานวน ๑ หน่วยกิต
นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาดังต่อไปนี้ จํานวน ๑ รายวิชา
ศท. ๑๕๒ กิจกรรมนันทนาการ ๑(๐-๒-๒)
GE 152 RECREATION ACTIVITIES
ศท. ๑๕๓ ศิลปะป้องกันตัว ๑(๐-๒-๒)
GE 153 ARTS OF SELF DEFENCE
ศท. ๑๕๕ ลีลาศ ๑(๐-๒-๒)
GE 155 BALLROOM DANCING
ศท. ๑๕๖ โบว์ลิ่ง ๑(๐-๒-๒)
GE 156 BOWLING
ศท. ๑๕๗ ว่ายน้ํา ๑(๐-๒-๒)
GE 157 SWIMMING
๒. วิชาศึกษาทั่วไปเลือก จํานวนไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของผู้เรียนได้ตามความสนใจจากรายวิชาต่างๆ
ใน ๕ กลุ่มวิชา ดังนี้
(๑) รายวิชาในกลุ่มวิชาภาษา
ศท. ๑๐๖ การเขียนในชีวิตประจําวัน ๓(๓-๐-๖)
GE 106 WRITING IN DAILY LIFE
ศท. ๑๐๗ วรรณศิลป์ในภาษาไทย ๓(๓-๐-๖)
GE 107 LITERATURE IN THAI CREATED LANGUAGE
ศท. ๑๐๘ วิถีภาษาไทยร่วมสมัย ๓(๓-๐-๖)
GE 108 WAYS OF CONTEMPORARY THAI LANGUAGE
ศท. ๑๐๙ สุนทรียะทางการฟังและการพูดภาษาไทย ๓(๓-๐-๖)
GE 109 THE AESTHETIC OF LISTENING AND SPEAKING
THAI LANGUAGE
ศท. ๒๑๓ ทักษะการพูดภาษาอังกฤษในองค์กร ๓(๓-๐-๖)
GE 213 ENGLISH CONVERSATION SKILLS IN WORKPLACES
ศท. ๒๑๔ ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษในองค์กร ๓(๓-๐-๖)
GE 214 ENGLISH COMPOSITION SKILLS IN WORKPLACES
ศท. ๑๖๐ ภาษาและวัฒนธรรมมลายู ๒(๒-๐-๔)
GE 160 MALAY LANGUAGE AND CULTURE
ศท. ๑๖๑ ภาษาและวัฒนธรรมพม่า ๒(๒-๐-๔)
GE 161 MYANMAR LANGUAGE AND CULTURE
ศท. ๑๖๒ ภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม ๒(๒-๐-๔)
GE 162 VIETNAMESE LANGUAGE AND CULTURE
ศท. ๑๖๓ ภาษาและวัฒนธรรมจีน ๒(๒-๐-๔)
GE 163 CHINESE LANGUAGE AND CULTURE
ศท. ๑๖๔ ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ๒(๒-๐-๔)
GE 164 JAPANESE LANGUAGE AND CULTURE
ศท. ๑๖๕ ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี ๒(๒-๐-๔)
GE 165 KOREAN LANGUAGE AND CULTURE
ศท. ๑๖๖ ภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ ๒(๒-๐-๔)
GE 166 ARABIC LANGUAGE AND CULTURE
ศท. ๑๖๗ ภาษาและวัฒนธรรมรัสเซีย ๒(๒-๐-๔)
GE 167 RUSSIAN LANGUAGE AND CULTURE
(๒) รายวิชาในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
ศท. ๑๒๒ จิตวิทยาเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 122 PSYCHOLOGY FOR DAILY LIFE
ศท. ๑๒๔ เศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 124 SUFFICIENCY ECONOMY AND QUALITY OF LIFE
ศท. ๑๒๕ การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ ๓(๓-๐-๖)
GE 125 COMMUNICATION AND HUMAN RELATIONS
ศท. ๑๒๖ กระบวนการกลุ่มและเทคนิคการทํางานเป็นทีม ๓(๓-๐-๖)
GE 126 GROUP PROCESS AND TEAM WORKING TECHNIQUES
ศท. ๑๒๗ หลักเศรษฐศาสตร์อิสลาม ๓(๓-๐-๖)
GE 127 INTRODUCTION TO ISLAMIC ECONOMICS
ศท. ๑๒๘ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม (ซะรีอะฮ์) ๓(๓-๐-๖)
GE 128 INTRODUCTION TO ISLAMIC LAWS “SHARI-AH”
ศท. ๑๒๙ พลเมืองกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ๓(๓-๐-๖)
GE 129 CITIZEN DUTIES AND RESPONSIBILITIES
ศท. ๒๒๑ พลวัตการย้ายถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๓(๓-๐-๖)
GE 221 DYNAMICS OF MIGRATION IN SOUTHEAST ASIA
(๓) รายวิชาในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
ศท. ๑๓๒ การคิดกับคนรุ่นใหม่ ๓(๓-๐-๖)
GE 132 THINKING AND THE NEW GENERATION
ศท. ๑๓๓ ศาสนาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓(๓-๐-๖)
GE 133 RELIGIONS FOR HUMAN DEVELOPMENT
ศท. ๑๓๔ ประวัติศาสตร์ไทยและความเป็นชาติไทย ๓(๓-๐-๖)
GE 134 THAI HISTORY AND NATIONAL IDENTITY
ศท. ๑๓๕ มรดกไทยและภูมิปัญญาไทย ๓(๓-๐-๖)
GE 135 THAI HERITAGE AND WISDOM
ศท. ๑๓๖ สุนทรียศาสตร์ ๒(๒-๐-๔)
GE 136 AESTHETICS
ศท. ๑๓๗ ดนตรีกับมนุษยชาติ ๒(๒-๐-๔)
GE 137 MUSIC AND HUMANITIES
ศท. ๑๓๘ ศิลปะกับมนุษยชาติ ๒(๒-๐-๔)
GE 138 ARTS AND HUMANITIES
ศท. ๑๓๙ หลักการอิสลามเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖)
GE 139 INTRODUCTION TO PRINCIPLES OF ISLAM
ศท. ๒๓๑ พลังความคิดกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ๓(๓-๐-๖)
GE 231 POWER OF THOUGHT AND DEVELOPMENT OF HUMAN POTENTIAL
ศท. ๒๓๒ อารยธรรมโลก ๓(๓-๐-๖)
GE 232 WORLD CIVILIZATION
ศท. ๒๓๓ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๓(๓-๐-๖)
GE 233 SOUTHEAST ASIA HISTORY AND CULTURE
ศท. ๒๓๔ คติชนเพื่อชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 234 FOLKLORE FOR LIFE
(๔) รายวิชาในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ศท. ๑๔๐ การประยุกต์สถิติในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔)
GE 140 APPLIED STATISTICS IN EVERYDAY LIFE
ศท. ๑๔๓ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจําวัน ๒(๑-๒-๔)
GE 143 APPLIED COMPUTER IN EVERYDAY LIFE
ศท. ๑๔๔ สุขภาพเพื่อชีวิต ๒(๒-๐-๔)
GE 144 HEALTH FOR LIFE
ศท. ๑๔๕ การประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔)
GE 145 APPLIED PHYSICS IN EVERYDAY LIFE
ศท. ๑๔๖ เคมีกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔)
GE 146 APPLIED CHEMISTRY IN EVERYDAY LIFE
ศท. ๑๔๗ วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ ๒(๒-๐-๔)
GE 147 EARTH SCIENCE AND ASTRONOMY
ศท. ๑๔๘ การเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ ๒(๑-๒-๖)
GE 148 STRENGTHENING MATHEMATICAL SKILLS
(๕) รายวิชาในกลุ่มวิชาพลานามัย
นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาดังต่อไปนี้ โดยต้องไม่ซ้ํากับรายวิชาที่เลือกเรียนไปแล้ว
ศท. ๑๕๒ กิจกรรมนันทนาการ ๑(๐-๒-๒)
GE 152 RECREATION ACTIVITIES
ศท. ๑๕๓ ศิลปะป้องกันตัว ๑(๐-๒-๒)
GE 153 ARTS OF SELF DEFENCE
ศท. ๑๕๕ ลีลาศ ๑(๐-๒-๒)
GE 155 BALLROOM DANCING
ศท. ๑๕๖ โบว์ลิ่ง ๑(๐-๒-๒)
GE 156 BOWLING
ศท. ๑๕๗ ว่ายน้ํา ๑(๐-๒-๒)
GE 157 SWIMMING
๓.๑.๓.๒ หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า ๙๙ หน่วยกิต
๓.๑.๓.๒.๑ กลุ่มวิชาแกน จํานวน ๓๐ หน่วยกิต
นศ. ๑๐๐ หลักและทฤษฎีนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖)
CA.100 PRINCIPLES AND THEORIES OF COMMUNICATION
นศ.๑๐๘ การประชาสัมพันธ์และการโฆษณาเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖)
CA.108 INTRODUCTION TO PUBLIC RELATIONS AND ADVERTISING
นศ.๑๐๙ ทักษะการสื่อสารเพื่องานนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖)
CA.109 COMMUNICATION SKILLS FOR COMMUNICATION ARTS
นศ. ๑๑๐ สื่อสารมวลชนเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖)
CA.110 INTRODUCTION TO MASS COMMUNICATION
นศ. ๒๐๖ คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสําหรับงานนิเทศศาสตร์ ๓(๒-๒-๖)
CA.206 INTRODUCTION TO COMPUTER FOR COMMUNICATION ARTS
นศ. ๒๐๙ กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน ๓(๓-๐-๖)
CA.209 LAWS AND ETHICS FOR MASS COMMUNICATION
นศ.๒๑๑ การถ่ายภาพทางนิเทศศาสตร์ ๓(๒-๒-๐)
CA.211 PHOTOGRAPHY FOR COMMUNICATION ARTS
นศ. ๒๑๒ การวิจัยทางนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖)
CA.212 COMMUNICATION RESEARCH
นศ.๒๑๔ การวิเคราะห์ผู้รับสาร ๓(๓-๐-๖)
CA.214 AUDIENCE ANALYSIS
นศ.๓๐๐ ภาษาอังกฤษสําหรับนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖)
CA.300 ENGLISH FOR COMMUNICATION ARTS
๓.๑.๓.๒.๒ กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า ๕๔ หน่วยกิต
(โดยให้เรียนรายวิชาต่อไปนี้และมีจํานวนหน่วยกิตรวมกันไม่ต่ํากว่า ๕๔ หน่วยกิต)
วท.๑๑๑ หลักวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.111 PRINCIPLES OF BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA
วท.๑๑๒ สุนทรียศาสตร์ในงานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.112 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA AESTHETICS
วท.๒๑๑ การเขียนบทวิทยุ และโทรทัศน์ ๓(๓-๐-๖)
BC.211 BROADCAST WRITING
วท.๒๑๒ การประกาศและการดําเนินรายการวิทยุและโทรทัศน์ ๓(๓-๐-๖)
BC.212 BROADCAST ANNOUNCING AND PERFORMANCE
วท.๒๑๓ การผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๑ ๓(๒-๒-๖)
BC.213 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PRODUCTION 1
วท.๒๑๔ การบริหารและการจัดการธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.214 BUSINESS ADMINISTRATION FOR BROADCASTING AND
DIGITAL MEDIA MANAGEMENT
วท.๒๑๕ การผลิตรายการวิทยุดิจิทัล ๓(๒-๒-๖)
BC.215 DIGITAL RADIO PRODUCTION
วท.๓๑๑ ภาษาอังกฤษสําหรับวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.311 ENGLISN FOR BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA
วท.๓๑๒ การตัดต่อภาพเคลื่อนไหวในระบบคอมพิวเตอร์ ๓(๒-๒-๖)
BC.312 EDITING ON THE COMPUTER SYSTEM
วท.๓๑๓ การผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๒ ๓(๒-๒-๖)
BC.313 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PRODUCTION 2
วท.๓๑๔ คอมพิวเตอร์เพื่อการสร้างสรรค์ภาพทางโทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๒-๒-๖)
BC.314 COMPUTER GRAPHIC FOR TELEVISION AND DIGITAL MEDIA
วท.๓๑๕ วิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ๓(๒-๒-๖)
BC.315 STREAMING PROGRAMME
วท.๓๑๖ การประยุกต์งานวิจัยในงานวิทยุและโทรทัศน์ ๓(๓-๐-๖)
BC.316 APPLIED RESEARCH IN BROADCASTING
วท.๓๑๗ การสื่อข่าวและเขียนข่าววิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.317 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA NEWS REPORTING AND WRITING
วท.๔๑๑ การวิเคราะห์และวิจารณ์รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.411 ANALYSIS AND CRITICISM OF BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PROGRAM
วท.๔๑๒ ศิลปการพูดและการนําเสนอในงานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.412 ARTS OF SPEAKING AND PRESENTATION IN BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA
วท.๔๑๓ การผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓ ๓(๒-๒-๖)
BC.413 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PRODUCTION 3
วท.๔๑๔ สัมมนาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.414 SEMINAR IN BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA
วท.๔๑๕ โครงงานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๒-๒-๖)
BC.415 BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA PROJECT
วท.๔๑๖ สหกิจศึกษาสาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๖(๖๐๐ ชั่วโมง)
BC.416 COOPERATIVE EDUCATION FOR BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA
วท.๔๑๗ วิทยุและโทรทัศน์เพื่อสันติภาพ ๓(๓-๐-๖)
BC.417 PEACE BROADCASTING
วท.๔๑๘ การศึกษาเฉพาะเรื่อง ๑ ๓(๓-๐-๖)
BC.418 SELECTED TOPIC 1
วท. ๔๑๙ การศึกษาเฉพาะเรื่อง ๒ ๓(๒-๒-๖)
BC.419 SELECTED TOPIC 2
๓.๑.๓.๒.๓ กลุ่มวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๑๕ หน่วยกิต
นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเป็นกลุ่มวิชาหรือสามารถเลือกเรียนแบบคละกลุ่มวิชาก็ได้ ดังต่อไปนี้
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
ปช.๓๑๙ การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด ๓(๓-๐-๖)
PR.319 MARKETING PUBLIC RELATIONS
ปช.๓๒๔ กลยุทธ์การบริหารภาพลักษณ์องค์กร ๓(๓-๐-๖)
PR.324 CORPORATE IMAGE MANAGEMENT STRATEGY
ปช.๔๑๕ การจัดการภาวะวิกฤตและความเสี่ยง ๓(๓-๐-๖)
PR.415 ISSUE RISK AND CRISIS MANAGEMENT
ปช.๔๑๙ การพัฒนาบุคลิกภาพสําหรับนักประชาสัมพันธ์ ๓(๓-๐-๖)
PR.419 PERSONALITY DEVELOPMENT FOR PUBLIC RELATIONS PRACTITIONERS
ปช.๔๒๕ เทคนิคการนําเสนอเพื่อการประชาสัมพันธ์ ๓(๓-๐-๖)
PR.425 PRESENTATION TECHINQUES FOR PUBLIC RELATIONS
สาขาวิชาการโฆษณา
ฆณ.๑๑๒ ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการโฆษณา ๓(๓-๐-๖)
AD.112 CREATIVE THINKING FOR ADVERTISING
ฆณ.๒๑๓ เทคนิคการนําเสนองานโฆษณา ๓(๒-๒-๖)
AD.213 PRESENTATION TECHNIQUES FOR ADVERTISING
ฆณ.๓๑๘ การสํารวจพฤติกรรมผู้บริโภคและการตลาด ๓(๓-๐-๖)
AD.318 CONSUMER BEHAVIOR AND MARKETING SURVEY
ฆณ.๔๑๒ การสื่อสารแบรนด์ ๓(๒-๒-๖)
AD.412 BRAND COMMUNICATION
ฆณ.๔๑๓ การรณรงค์โฆษณา ๓(๒-๒-๖)
AD.413 ADVERTISING CAMPAIGN
สาขาวิชาสื่อสังคมออนไลน์และสารสนเทศดิจิทัล
มด.๑๐๑ แนวคิดของสื่อสังคมออนไลน์และสารสนเทศดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
MD.101 CONCEPT OF SOCIAL MEDIA AND DIGITAL CONTENT
มด.๑๐๒ การออกแบบงานกราฟิกเพื่อสื่อสังคมออนไลน์และสารสนเทศดิจิทัล ๓(๒-๒-๖)
MD.102 GRAPHIC DESIGN FOR SOCIAL MEDIA AND DIGITAL CONTENT
มด.๒๐๑ การสืบค้นและการคัดเลือกประเด็นเพื่องานสื่อสังคมออนไลน์และ
สารสนเทศดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
MD.201 INFORMATION GATHERING AND ISSUES SELECTION FOR
SOCIAL MEDIA AND DIGITAL CONTENT
มด.๓๐๕ ศิลปะของการเขียนเล่าเรื่องข้ามสื่อ ๓(๓-๐-๖)
MD.305 ART OF WRITING STORYTELLING FOR MEDIA CROSS
มด.๓๐๗ การตลาดออนไลน์ ๓(๓-๐-๖)
MD.307 ONLINE MARKETING
สาขาวิชาสื่อสารการแสดงร่วมสมัย
สร.๑๑๑ สื่อสารการแสดงร่วมสมัยเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖)
PF.111 INTRODUCTION TO CONTEMPORARY PERFORMING ARTS COMMUNICATION
สร.๒๑๑ การเขียนและวิเคราะห์บทสําหรับงานสื่อสารการแสดง ๓(๓-๐-๖)
PF.211 SCRIPT WRITING AND ANALYSIS FOR PERFORMING ARTS COMMUNICATION
สร.๒๒๒ การผลิตงานทางด้านสื่อสารการแสดง ๓(๒-๒-๖)
PF.222 PERFORMING ARTS PRODUCTION
สร.๒๒๔ การบริหารจัดการงานสื่อสารการแสดง ๓(๓-๐-๖)
PF.224 PERFORMING ARTS STUDIES MANAGEMENT
สร.๔๑๔ ละครสําหรับงานนิเทศศาสตร์ ๓(๒-๒-๖)
PF.414 DRAMA FOR COMMUNICATION ARTS
สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
ภด.๑๐๑ ภาพยนตร์เบื้องต้น ๓(๓-๐-๖)
FM.101 INTRODUCTION TO FILM
ภด.๒๐๑ ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์ ๓(๓-๐-๖)
FM.201 FILM THEORIES & CRITICISM
ภด.๒๐๕ ภาษาภาพยนตร์ ๓(๒-๒-๖)
FM.205 FILM LANGUAGE
ภด.๓๐๐ ภาพยนตร์กับสังคม ๓(๓-๐-๖)
FM.300 FILM AND SOCIETY
ภด.๓๑๓ ภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์และโทรทัศน์ ๓(๒-๒-๖)
FM.313 SOCIAL MEDIA AND TV COMMERCIAL
๓.๑.๓.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาที่เปิดสอนภายในคณะนิเทศศาสตร์ และ/หรือรายวิชาอื่น ๆ
ที่เปิดสอนตามคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยต้องมีจํานวนหน่วยกิตรวมกันไม่ต่ํากว่า ๖ หน่วยกิต
๓.๑.๕ คําอธิบายรายวิชา (Course Description)
๓.๑.๕.๑ วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ
(๑) กลุ่มวิชาภาษา
ศท. ๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๒(๒-๐-๔)
GE 101 THAI FOR COMMUNICATION
ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาสําหรับการสื่อสาร หลักการวิเคราะห์ สรุปข้อความ กลวิธีการพูดตาม
วาระโอกาสต่างๆ การสนทนา การอภิปราย หลักการเขียนความเรียง การเขียนรายงานทางวิชาการ การเขียนโครงงาน
การเขียนหนังสือราชการ และการเขียนจดหมายธุรกิจ
ศท. ๑๐๒ การใช้ภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ ๒(๒-๐-๔)
GE 102 THAI USAGE FOR CREATION
ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยอย่างสร้างสรรค์ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ การวิเคราะห์ เชิงลึก การ
วิจารณ์ การวิพากษ์คุณค่าจากการรับสารและการส่งสารทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง การพูดและ การเขียนอย่างมีศิลปะ
และสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน
ศท. ๑๐๐ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๓(๓-๐-๖)
GE 100 ENGLISH FOR COMMUNICATION
ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจําวัน ทั้งในสถานการณ์จริง
และสถานการณ์จําลอง ไวยากรณ์ขั้นพื้นฐานเพื่อนําไปใช้ในการพูด การอ่าน และการเขียนได้อย่างถูกต้อง การหา
ความหมายผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สํานวนและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ศท. ๑๑๐ ภาษาอังกฤษเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 110 ENGLISH FOR DAILY LIFE
การพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน เพื่อการนําไปใช้ในชีวิตประจําวันใน
หลากหลายสถานการณ์ กลวิธีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เทคนิคการอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ
(๒) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
ศท. ๑๒๑ วิถีแห่งเกษม ๓(๓-๐-๖)
GE 121 WAYS OF KASEM
พื้นฐานการดํารงชีวิตของมนุษย์อย่างมีความสุข การพัฒนาตนเอง การเรียนรู้สู่นักปฏิบัติ การใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม การดําเนินชีวิตโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียง ตามแนวพระบรมราโชวาทและพระราชดํารัส บทบาทหน้าที่พลเมืองในสังคมไทยและสังคมโลก
ศท. ๑๒๓ กฎหมายเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 123 LAWS FOR DAILY LIFE
ความหมาย บทบาท ความสําคัญ ที่มา การแบ่งแยกประเภทของกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตในสังคม กฎหมายว่าด้วยสถานภาพและความสามารถของบุคคลทั่วไป
หลักการและแนวทางการปฏิบัติให้ถูกต้องและสมบูรณ์ตามกฎหมาย การบังคับใช้สิทธิทางกฎหมาย โทษทางกฎหมาย
ตลอดจนกฎหมายสิทธิหน้าที่ขั้นพื้นฐานของพลเมือง
(๓) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
ศท. ๑๓๑ ศิลปะการพัฒนาชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 131 ARTS OF LIFE DEVELOPMENT
การกําเนิดของชีวิตมนุษย์ คุณธรรมจริยธรรมเพื่อการดําเนินชีวิตที่มีคุณค่าและเป้าหมาย การพัฒนา
คุณภาพชีวิตและเศรษฐทรัพย์ การฝึกฝนทักษะการคิดเชิงเหตุผล หลักการพื้นฐานในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา
ชีวิต สุนทรียภาพ ความสุขและเกณฑ์ตัดสินความสุข และดุลยภาพแห่งชีวิต
(๔) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ศท. ๑๔๑ คณิตศาสตร์ร่วมสมัย ๒(๒-๐-๔)
GE 141 CONTEMPORARY MATHEMATICS
หลักคิดทางคณิตศาสตร์ จํานวนเต็ม เศษส่วน ทศนิยม บัญชีเงินฝาก การตรวจสอบการคิดภาระ
ดอกเบี้ยจากการใช้บัตรเครดิต การใช้สมการแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน การคํานวณเปอร์เซ็นต์ ประเภทต่างๆในราคา
สินค้า การคํานวณดอกเบี้ยชนิดต่างๆ การคํานวณภาระภาษี การคํานวณและการตรวจสอบเอกสารเงินเดือน
การตรวจสอบภาระทุนจํานองและดอกเบี้ย การประกันภัย การคํานวณพื้นฐานเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการลงทุน
ในหุ้นและตราสารประเภทต่างๆ และกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจําวันอื่นๆ
ศท. ๑๔๒ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อโลกยั่งยืน ๒(๒-๐-๔)
GE 142 ENVIRONMENTAL SCIENCE FOR SUSTAINABLE WORLD
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติบนโลก สสารและพลังงาน ระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ผลกระทบ
ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน แนวทางการแก้ไขเพื่อโลกยั่งยืน การควบคุมและกําจัด
มลพิษ การพัฒนาที่ยั่งยืน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม กฎหมายและนโยบายของรัฐด้านสิ่งแวดล้อม
(๕) กลุ่มวิชาพลานามัย (บังคับเรียน ๑ รายวิชา)
ศท. ๑๕๒ กิจกรรมนันทนาการ ๑(๐-๒-๒)
GE 152 RECREATION ACTIVITIES
ศึกษาความหมาย ลักษณะ ขอบข่าย ประวัติความเป็นมา ประเภท รูปแบบ ประโยชน์คุณค่าของ
นันทนาการและการออกแบบกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม และคุณสมบัติของผู้นํากิจกรรม
นันทนาการ
ศท. ๑๕๓ ศิลปะป้องกันตัว ๑(๐-๒-๒)
GE 153 ARTS OF SELF DEFENCE
ศึกษาความหมาย ความมุ่งหมาย กฎระเบียบและคุณประโยชน์ของศิลปะป้องกันตัว การฝึกศิลปะ
ป้องกันตัวเพื่อพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม หลักการและทักษะการป้องกันตัวจากการถูกทําร้ายทั้งทางด้านหน้าและ
ทางด้านหลัง วิธีการแก้ไขและป้องกันตนเองในสถานการณ์เฉพาะหน้า
ศท. ๑๕๕ ลีลาศ ๑(๐-๒-๒)
GE 155 BALLROOM DANCING
ศึกษาความหมาย ความมุ่งหมาย ประวัติ ขอบข่ายและประโยชน์ของการลีลาศ การฝึกลีลาศจังหวะ
ต่างๆ การประยุกต์ใช้ลีลาศเพื่อการเข้าสังคม และการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม
ศท. ๑๕๖ โบว์ลิ่ง ๑(๐-๒-๒)
GE 156 BOWLING
ศึกษาความหมาย ประวัติความเป็นมา ทักษะเบื้องต้น เทคนิคการเล่นโบว์ลิ่งเพื่อพัฒนาสุขภาพแบบ
องค์รวม การบํารุงรักษาอุปกรณ์ กติกามารยาท ความปลอดภัยและการปฐมพยาบาลในการเล่นโบว์ลิ่ง
ศท. ๑๕๗ ว่ายน้ํา ๑(๐-๒-๒)
GE. 157 SWIMMING
ศึกษาความหมาย ประวัติความเป็นมา หลักการและวิธีการว่ายน้ําในท่าฟรีสไตล์ ท่า
กรรเชียง ท่าผีเสื้อ ท่ากบ การว่ายน้ําเพื่อพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม การบํารุงรักษาอุปกรณ์ กติกามารยาท ความ
ปลอดภัยและการปฐมพยาบาลในการว่ายน้ํา
๓.๑.๕.๒ วิชาศึกษาทั่วไปเลือก
(๑) กลุ่มภาษา
ศท. ๑๐๖ การเขียนในชีวิตประจําวัน ๓(๓-๐-๖)
GE 106 WRITING IN DAILY LIFE
หลักการและความสําคัญเกี่ยวกับการเขียนในชีวิตประจําวัน วัฒนธรรมในการเขียนภาษาไทย การใช้
ภาษาในการเขียนทางวิชาการ การเขียนภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้ การเขียนบันทึกติดต่อ การใช้ภาษาไทยในสื่อมวลชน
และการใช้ภาษาไทยในสื่อสังคมออนไลน์
ศท. ๑๐๗ วรรณศิลป์ในภาษาไทย ๓(๓-๐-๖)
GE 107 LITERATURE IN THAI CREATED LANGUAGE
ศิลปะการประพันธ์งานบันเทิงคดี การใช้ภาษาในงานเขียนร้อยแก้วและร้อยกรอง การแต่งนวนิยาย
เรื่องสั้น บทกวี ศิลปะการประพันธ์งานสารคดี การเขียนบทความ หลักการวิจารณ์อย่างมีวรรณศิลป์
ศท. ๑๐๘ วิถีภาษาไทยร่วมสมัย ๓(๓-๐-๖)
GE 108 WAYS OF CONTEMPORARY THAI LANGUAGE
วิถีภาษาไทยตามยุคสมัยของสังคมไทย บริบทการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการใช้ภาษาไทยการ
ประยุกต์ใช้ภาษาไทยตามวิธภาษาในสังคมปัจจุบัน การสัมผัสภาษาในมิติภูมิปัญญา วัฒนธรรมและความเชื่อที่
แสดงออกผ่านทางภาษา และเชื่อมโยงกับการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน
ศท. ๑๐๙ สุนทรียะทางการฟังและการพูดภาษาไทย ๓(๓-๐-๖)
GE 109 THE AESTHETIC OF LISTENING AND SPEAKING THAI LANGUAGE
สุนทรียะทางการฟังและการพูดภาษาไทย เน้นทักษะการรับสารและการส่งสารให้สัมพันธ์กันอย่าง
สร้างสรรค์ ได้แก่ สุนทรียะทางภาษา การฟังอย่างลึกซึ้ง การพูดอย่างสร้างสรรค์ และการประยุกต์สุนทรียะทางภาษา
มาใช้กับการดํารงชีวิตอย่างมีความสุข
ศท. ๒๑๓ ทักษะการพูดภาษาอังกฤษในองค์กร ๓(๓-๐-๖)
GE 213 ENGLISH CONVERSATION SKILLS IN WORKPLACES
ทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษที่จําเป็นต่อการทํางาน การแนะนําตนเอง การแนะนําเพื่อน การ
ทักทายและพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน การตั้งและตอบคําถามอย่างเป็นทางการ การนําเสนองาน การแสดงความคิดเห็น
ในที่ประชุม และการเจรจาต่อรอง
ศท. ๒๑๔ ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษในองค์กร ๓(๓-๐-๖)
GE 214 ENGLISH COMPOSITION SKILLS IN WORKPLACES
ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่จําเป็นต่อการทํางาน การเขียนแนะนําตนเองในการสมัครงาน
การเขียนโต้ตอบจดหมายทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การเขียนเอกสารการจัดการประชุม การเขียน รายงานการ
ประชุม การเขียนรายงานในสถานการณ์ต่างๆ และการแปลเอกสาร
ศท. ๑๖๐ ภาษาและวัฒนธรรมมลายู ๒(๒-๐-๔)
GE 160 MALAY LANGUAGE AND CULTURE
โครงสร้างพื้นฐานของภาษามลายูในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน การส่งสาร
ด้วยการพูดและการเขียน โดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ศท. ๑๖๑ ภาษาและวัฒนธรรมพม่า ๒(๒-๐-๔)
GE 161 MYANMAR LANGUAGE AND CULTURE
โครงสร้างพื้นฐานของภาษาพม่าในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน
การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ศท. ๑๖๒ ภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม ๒(๒-๐-๔)
GE 162 VIETNAMESE LANGUAGE AND CULTURE
โครงสร้างพื้นฐานของภาษาเวียดนามในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน
การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ศท. ๑๖๓ ภาษาและวัฒนธรรมจีน ๒(๒-๐-๔)
GE 163 CHINESE LANGUAGE AND CULTURE
โครงสร้างพื้นฐานของภาษาจีนในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน
การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ศท. ๑๖๔ ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ๒(๒-๐-๔)
GE 164 JAPANESE LANGUAGE AND CULTURE
โครงสร้างพื้นฐานของภาษาญี่ปุ่นในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน
การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ศท. ๑๖๕ ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี ๒(๒-๐-๔)
GE 165 KOREAN LANGUAGE AND CULTURE
โครงสร้างพื้นฐานของภาษาเกาหลีในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน
การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ศท. ๑๖๖ ภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ ๒(๒-๐-๔)
GE 166 ARABIC LANGUAGE AND CULTURE
โครงสร้างพื้นฐานของภาษาอาหรับในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน
การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
ศท. ๑๖๗ ภาษาและวัฒนธรรมรัสเซีย ๒(๒-๐-๔)
GE 167 RUSSIAN LANGUAGE AND CULTURE
ความรู้และทักษะการใช้ภาษารัสเซียในระดับเบื้องต้น การสื่อสาร การทักทาย การแนะนําตัว
ไวยากรณ์พื้นฐาน และการใช้สํานวนภาษารัสเซียในชีวิตประจําวัน ความรู้และความเข้าใจในวัฒนธรรม ชีวิตความ
เป็นอยู่และสังคมของกลุ่มชนในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษารัสเซีย
(๒) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
ศท. ๑๒๒ จิตวิทยาเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 122 PSYCHOLOGY FOR DAILY LIFE
ศึกษาแนวคิดทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล วุฒิ
ภาวะและการเรียนรู้ การคิด การพัฒนาบุคลิกภาพ สุขภาพจิตและการปรับตัว การเห็นคุณค่าในตนเอง และการนํา
จิตวิทยามาใช้เพื่อการดํารงชีวิต
ศท. ๑๒๔ เศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 124 SUFFICIENCY ECONOMY AND QUALITY OF LIFE
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาและพฤติกรรมความไม่พอเพียง
ในสังคมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิต การนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
มาประยุกต์ในการดําเนินชีวิตทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กรและชุมชน
ศท. ๑๒๕ การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ ๓(๓-๐-๖)
GE 125 COMMUNICATION AND HUMAN RELATIONS
รูปแบบวิธีการสื่อสารในเชิงวัจนะและอวัจนะของบุคคลและกลุ่มสังคม ที่มีความสัมพันธ์ในชีวิต
ส่วนตัว ครอบครัว และการงาน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของมนุษย์ การสร้างและการพัฒนามนุษย
สัมพันธ์
ศท. ๑๒๖ กระบวนการกลุ่มและเทคนิคการทํางานเป็นทีม ๓(๓-๐-๖)
GE 126 GROUP PROCESS AND TEAM WORKING TECHNIQUES
ธรรมชาติของกระบวนการกลุ่ม หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการทํางานเป็นทีม และการพัฒนาทีมงาน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของทีม การวิเคราะห์การปฏิบัติงานของทีม วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของทีมและ
ภาวะผู้นํา
ศท. ๑๒๗ หลักเศรษฐศาสตร์อิสลาม ๓(๓-๐-๖)
GE 127 INTRODUCTION TO ISLAMIC ECONOMICS
ศึกษาพื้นฐานและโครงสร้างระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม แนวคิดและแนวทางแก้ไขตามเศรษฐศาสตร์
และหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักการอิสลาม กรรมสิทธิ์ ระบบดอกเบี้ย ระบบธนาคารอิสลาม และระบบ
ประกันสังคมในอิสลาม
ศท. ๑๒๘ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม (ซะรีอะฮ์) ๓(๓-๐-๖)
GE 128 INTRODUCTION TO ISLAMIC LAWS (SHARI-AH)
ศึกษาหลักการกฎหมายซะรีอะฮ์ ความหมายของซะรีอะฮ์ ข้อคิดพื้นฐาน เป้าหมาย แหล่งที่มา การ
บังคับใช้และการลงโทษ
ศท. ๑๒๙ พลเมืองกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ๓(๓-๐-๖)
GE 129 CITIZEN DUTIES AND RESPONSIBILITIES
ความหมายของพลเมือง องค์ประกอบพลเมืองที่ดีตามระบบประชาธิปไตย ลักษณะวัฒนธรรมไทยที่มี
ผลต่อความเป็นพลเมือง การส่งเสริมและปลูกฝังคุณลักษณะของพลเมืองที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติ
หน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมืองในสังคมไทย ปัญหาการศึกษาความเป็นพลเมืองในสังคมไทย และแนวโน้มการ
พัฒนาหน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมืองในสังคมและวัฒนธรรมไทย
ศท. ๒๒๑ พลวัตการย้ายถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๓(๓-๐-๖)
GE 221 DYNAMICS OF MIGRATION IN SOUTHEAST ASIA
สถานการณ์การย้ายถิ่นแบบต่างๆ ปัจจัยการย้ายถิ่นตลาดแรงงาน ข้อตกลงทางการค้า
การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยทางด้านประชากร โลกาภิวัตน์ สิทธิ ความเท่าเทียม แนวคิด
ตลาดแรงงานทุนมนุษย์และทุนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สัญลักษณ์ รวมทั้งผลกระทบการย้ายถิ่นในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(๓) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
ศท. ๑๓๒ การคิดกับคนรุ่นใหม่ ๓(๓-๐-๖)
GE 132 THINKING AND THE NEW GENERATION
หลักการและกระบวนการคิดของมนุษย์ในการวิเคราะห์และการวิพากษ์ การคิดเชิงเหตุผลแบบนิรนัย
และอุปนัย กระบวนการคิดแบบเหตุผลนิยมและประสบการณ์นิยม หลักการตัดสินปัญหา จริยธรรมในมิติทางปรัชญา
ศาสนา และความเชื่อ การประยุกต์ใช้วิธีการคิดเพื่อการแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน
ศท. ๑๓๓ ศาสนาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓(๓-๐-๖)
GE 133 RELIGIONS FOR HUMAN DEVELOPMENT
ศึกษาแนวคิดและหลักธรรมที่สําคัญของศาสนาต่างๆ เพื่อการพัฒนามนุษย์ ความสัมพันธ์
ระหว่างศาสนากับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และพิธีกรรมที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต การปฏิบัติตามหลัก
คําสอนของศาสนาเพื่อพัฒนาคุณค่า คุณภาพตนเองในการดํารงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ศท. ๑๓๔ ประวัติศาสตร์ไทยและความเป็นชาติไทย ๓(๓-๐-๖)
GE 134 THAI HISTORY AND NATIONAL IDENTITY
ความเป็นมาของราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน พัฒนาการด้านการเมือง การ
ปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ การสร้างความมั่นคงแก่ชาติไทย
ศท. ๑๓๕ มรดกไทยและภูมิปัญญาไทย ๓(๓-๐-๖)
GE 135 THAI HERITAGE AND WISDOM
ความสําคัญ ความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีผลต่อการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย
ภูมิปัญญาไทยด้านปัจจัยสี่ หัตถกรรม วรรณคดี ศิลปกรรม นาฏศิลป์และคีตศิลป์ เทศกาลงานประเพณีไทย ผลกระทบของ
วัฒนธรรมต่างชาติต่อวัฒนธรรมไทย การธํารงรักษาและพัฒนามรดกวัฒนธรรมของชาติ
ศท. ๑๓๖ สุนทรียศาสตร์ ๒(๒-๐-๔)
GE 136 AESTHETICS
ความหมายของสุนทรียศาสตร์ มนุษย์กับประสบการณ์ทางความงาม การพัฒนาประสาทสัมผัสและ
เลือกสรรค่าของความงาม คุณค่าและความเข้าใจในศิลปะ โดยการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ตามหลักการทาง
สุนทรียศาสตร์เพื่อนํามาปลูกฝังและพัฒนาตนเองไปสู่คุณค่าของความเป็นมนุษย์
ศท. ๑๓๗ ดนตรีกับมนุษยชาติ ๒(๒-๐-๔)
GE 137 MUSIC AND HUMANITIES
การสร้างและพัฒนาการทางดนตรีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน องค์ประกอบของดนตรีประเภทของดนตรี
ความแตกต่างของดนตรีในยุคต่างๆ ดนตรีไทย ดนตรีสากล ดนตรีนานาชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับความเป็น
มนุษยชาติ การรับฟังจากสื่อต่างๆ รวมทั้งการชมการแสดงคอนเสิร์ต และดนตรีดังกล่าว
ศท. ๑๓๘ ศิลปะกับมนุษยชาติ ๒(๒-๐-๔)
GE 138 ARTS AND HUMANITIES
ศึกษาพื้นฐานการแสดงนาฏศิลป์แขนงต่างๆ ทั้งไทยและสากล ดนตรีกับนาฏยศิลป์ เพื่อพัฒนาคุณค่า
ความเป็นมนุษย์ของสังคมไทยและสังคมโลก
ศท. ๑๓๙ หลักการอิสลามเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖)
GE 139 INTRODUCTION TO PRINCIPLES OF ISLAM
ศึกษาความหมายของอิสลาม มุสลิม หลักการศรัทธาในอิสลาม หลักการปฏิบัติของมุสลิม การปฏิบัติ
ตน ศึกษาข้อกําหนดต่างๆ ในเรื่องการละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต การประกอบพิธีฮัจย์ สิทธิและหน้าที่ของ
มนุษย์กับพระเจ้า มนุษย์กับมนุษย์ในสังคม อิสลามกับการปฏิบัติตนในชีวิตประจําวัน การอยู่ร่วมกันในสังคม มารยาท
ต่างๆตามหลักการของอิสลาม
ศท. ๒๓๑ พลังความคิดกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ๓(๓-๐-๖)
GE 231 POWER OF THOUGHT AND DEVELOPMENT OF HUMAN POTENTIAL
กําเนิดความคิดในศาสตร์ต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างสมอง จิตกับกระบวนการคิด ประเภทของการ
คิด การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ด้วยเทคนิคการพัฒนาสมองและพลังความคิดในรูปแบบต่างๆ
ศท. ๒๓๒ อารยธรรมโลก ๓(๓-๐-๖)
GE 232 WORLD CIVILIZATION
ศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ เปรียบเทียบพัฒนาการของอารยธรรมตะวันตกและตะวันออก ตั้งแต่ยุค
โบราณจนถึงปัจจุบัน การแผ่ขยาย ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนอารยธรรมในดินแดนต่างๆ อันมีผลต่อการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรมของโลกยุคปัจจุบัน
ศท. ๒๓๓ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๓(๓-๐-๖)
GE 233 SOUTHEAST ASIA HISTORY AND CULTURE
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย
จีน อิสลาม และตะวันตก ที่มีต่อการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และบทบาทของภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ต่อสังคมโลก
ศท. ๒๓๔ คติชนเพื่อชีวิต ๓(๓-๐-๖)
GE 234 FOLKLORE FOR LIFE
ความหมาย ประวัติความเป็นมา ประเภท คุณค่าและภูมิปัญญาไทยของคติชนวิทยาในแต่ละท้องถิ่น
ศึกษาวิธีการรวบรวม การจําแนกและการวิเคราะห์ข้อมูลทางคติชนวิทยา วิวัฒนาการทางคติชนวิทยา ความสัมพันธ์กับ
ศาสตร์แขนงอื่น และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
(๔) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ศท. ๑๔๐ การประยุกต์สถิติในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔)
GE 140 APPLIED STATISTICS IN EVERYDAY LIFE
สถิติและข้อมูล การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง การเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น การกําหนดประชากร
และการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การวัดการกระจายของข้อมูล สถิติกับการตัดสินใจ สมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน
การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น การนําเสนอข้อมูล การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย การวิเคราะห์ผลสํารวจความ
คิดเห็น ปัญหาที่ต้องใช้สถิติ สถิติกับการแก้ปัญหา
ศท. ๑๔๓ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจําวัน ๒(๑-๒-๔)
GE 143 APPLIED COMPUTER IN EVERYDAY LIFE
การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูล
การสร้างภาพกราฟฟิก การตัดต่อ การใช้สื่อออนไลน์เพื่อการศึกษา การทํางาน และนันทนาการ
ศท. ๑๔๔ สุขภาพเพื่อชีวิต ๒(๒-๐-๔)
GE 144 HEALTH FOR LIFE
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ การจัดการสุขภาพ พัฒนาการของมนุษย์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ
ความปลอดภัยในชีวิต การป้องกันภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของบุคคล โภชนาการกับการป้องกันโรค การสร้างเสริม
สุขภาพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม อนามัยสิ่งแวดล้อม การแพทย์ทางเลือก
ศท. ๑๔๕ การประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔)
GE 145 APPLIED PHYSICS IN EVERYDAY LIFE
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสสารและสถานะของสสาร ระบบหน่วยระหว่างชาติ ธรรมชาติของแรงและกฎ
การเคลื่อนที่ของนิวตัน งานและพลังงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวัน กลศาสตร์ภาคของไหล คลื่น ความร้อนและ
บรรยากาศรอบตัวเรา เสียงกับการได้ยิน ธรรมชาติของแสง ไฟฟ้าและการสื่อสาร ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฟิสิกส์ยุคใหม่
พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
ศท. ๑๔๖ เคมีกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔)
GE 146 APPLIED CHEMISTRY IN EVERYDAY LIFE
ความรู้ทางเคมีเบื้องต้นและปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจําวัน ความสําคัญ ผลกระทบของเคมีกับ
การดําเนินชีวิต ศึกษาผลิตภัณฑ์เคมี และผลกระทบในชีวิตประจําวัน การใช้งานและการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพที่
เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องอุปโภคและบริโภคในครัวเรือน ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสําอาง การ
ตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เคมีอย่างถูกต้อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ไฟฟ้าเคมีประยุกต์ เคมีกับมลพิษ
สิ่งแวดล้อม เคมีกับความปลอดภัยในการดํารงชีวิต
ศท. ๑๔๗ วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ ๒(๒-๐-๔)
GE 147 EARTH SCIENCE AND ASTRONOMY
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ความสําคัญของดาราศาสตร์กับมนุษย์ ระบบสุริยะ ระบบดาว
ฤกษ์ ระบบกาแล็กซี่ เอกภพ ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ โลกและการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค อุทกภาคและ
สภาวะภูมิอากาศ พัฒนาการเทคโนโลยีอวกาศ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ ภัย
พิบัติและการเตรียมความพร้อม
ศท. ๑๔๘ การเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ ๒(๑-๒-๖)
GE 148 STRENGTHENING MATHEMATICAL SKILLS
ฟังก์ชัน ฟังก์ชันกําลัง ฟังก์ชันลอกกาลิทึม ฟังก์ชันตรีโกณมิติ การประยุกต์ใช้ฟังก์ชันต่างๆใน
ชีวิตประจําวัน ระบบสมการเชิงเส้น เมทริก และการประยุกต์ใช้ จํานวนเชิงเส้น รูปแบบของโพลาร์ของจํานวนเชิงเส้น
เวกเตอร์และการประยุกต์ใช้เวกเตอร์ในชีวิตประจําวัน ระบบอสมการเชิงเส้นและการประยุกต์ใช้
หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า ๙๙ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาแกน ๓๐ หน่วยกิต
นศ.๑๐๐ หลักและทฤษฎีนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖)
CA.100 PRINCIPLES AND THEORIES OF COMMUNICATION
ความหมาย ความสําคัญและประเภทของการสื่อสาร ประวัติและวิวัฒนาการทฤษฎีการสื่อสารและ
การสื่อสารของมนุษย์ กระบวนการและองค์ประกอบของการสื่อสาร อิทธิพลและผลกระทบของการสื่อสารที่มีต่อ
บุคคลและสังคม ตลอดจนแบบจําลอง แนวคิดและทฤษฎีทางการสื่อสารพื้นฐานที่ใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์
ระหว่างการสื่อสาร บุคคลและสังคมในปัจจุบันและอนาคต
นศ.๑๐๘ การประชาสัมพันธ์และการโฆษณาเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖)
CA.108 INTRODUCTION TO PUBLIC RELATIONS AND ADVERTISING
แนวคิด ทฤษฎี หลักการพื้นฐานและวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา กระบวนการ
ดําเนินงานและพื้นฐานการสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์และ งานโฆษณา ความสําคัญของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ในการ
ประชาสัมพันธ์และการโฆษณาขององค์กร อิทธิพลของการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา ที่มีต่อกลุ่มเป้าหมาย การ
เปรียบเทียบความแตกต่างด้านวัตถุประสงค์ รูปแบบของการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา รวมทั้งจรรยาบรรณของ
นักประชาสัมพันธ์และนักโฆษณา
นศ.๑๐๙ ทักษะการสื่อสารเพื่องานนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖)
CA.109 COMMUNICATION SKILLS FOR COMMUNICATION ARTS
หลักการและทักษะด้านการสื่อสารทางนิเทศศาสตร์เบื้องต้น ศึกษากระบวนการทางความคิดเพื่อ
นําไปสู่การสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ในวิชาชีพด้าน นิเทศศาสตร์ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียนภายใต้วัตถุประสงค์การสื่อสาร
ผ่านสื่อปัจจุบันที่หลากหลาย
นศ.๑๑๐ สื่อสารมวลชนเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖)
CA.110 INTRODUCTION TO MASS COMMUNICATION
กระบวนการสื่อสารทั้งผู้ส่งสาร ตัวสาร ช่องทางการสื่อสารและผู้รับสาร กําเนิด วิวัฒนาการ บทบาท
หน้าที่ อิทธิพล ผลกระทบต่อสังคม โครงสร้าง และกระบวนการผลิตของสื่อมวลชนประเภทต่างๆ ได้แก่
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สื่อสารการแสดง สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อสมัยใหม่อื่นๆ
นศ. ๒๐๖ คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสําหรับงานนิเทศศาสตร์ ๓(๒-๒-๖)
CA. 206 INTRODUCTION TO COMPUTER FOR COMMUNICATION ARTS
การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร การสร้างสรรค์พัฒนาและนําเสนอผลงาน
ดิจิทัลเพื่อใช้ในงานนิเทศศาสตร์ รูปแบบนวัตกรรมสื่อ การสืบค้นข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
นศ.๒๐๙ กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน ๓(๓-๐-๖)
CA.209 LAWS AND ETHICS FOR MASS COMMUNICATION
สิทธิเสรีภาพของบุคคลและสื่อสารมวลชนตามรัฐธรรมนูญ ความรับผิดชอบต่อสังคมรวมทั้งจริยธรรม
ของสื่อมวลชน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายสื่อสารมวลชน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทํางานของสื่อสารมวลชน
แขนงต่างๆ และกรณีศึกษาทางกฎหมายและจริยธรรมในวิชาชีพ
นศ.๒๑๑ การถ่ายภาพทางนิเทศศาสตร์ ๓(๒-๒-๖)
CA.211 PHOTOGRAPHY FOR COMMUNICATION ARTS
หลักการพื้นฐานในการถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพื่อใช้ในการสื่อความหมายจากผู้ส่งสารถึง
ผู้รับสารให้เข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ของการถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งการฝึกปฏิบัติทั้งภายใน และ
ภายนอกสถานที่
นศ.๒๑๒ การวิจัยทางนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖)
CA.212 COMMUNICATION RESEARCH
แนวคิด ความหมาย ความสําคัญ ประเภทและลักษณะทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัยทางนิเทศศาสตร์
การออกแบบระเบียบวิธีวิจัยทางนิเทศศาสตร์ การตั้งสมมติฐาน ประเภทของข้อมูล การสร้างเครื่องมือการวิจัย การ
ประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานวิจัย ตลอดจนศึกษาถึงแนวโน้มของการวิจัยทางนิเทศศาสตร์
นศ.๒๑๔ การวิเคราะห์ผู้รับสาร ๓(๓-๐-๖)
CA.214 AUDIENCE ANALYSIS
แนวคิด ทฤษฏี เพื่อการวิเคราะห์ผู้รับสาร ตามลักษณะทางโครงสร้างทางสังคม จิตวิทยา
วิถีชีวิต การเมือง และวัฒนธรรม ตลอดจนวิเคราะห์พฤติกรรมการสื่อสารของผู้รับสารในมิติต่างๆ ที่สัมพันธ์กับ
สื่อมวลชน เพื่อนําไปใช้ในงานด้านนิเทศศาสตร์
นศ.๓๐๐ ภาษาอังกฤษเพื่อนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖)
CA.300 ENGLISH FOR COMMUNICATION ARTS
หลักการและรูปแบบการฟัง พูด อ่าน เขียน และแปล ข่าว ข้อความและบทความที่นําเสนอผ่านสื่อ
ต่างๆ เพื่อนําไปใช้ในงานด้านนิเทศศาสตร์
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า ๕๔ หน่วยกิต
วท.๑๑๑ หลักวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.111 PRINCIPLES OF BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ประวัติและวิวัฒนาการ ระบบกระจายเสียง การแพร่ภาพ
แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ อิทธิพลของการกระจายเสียงและแพร่ภาพในสังคมยุคข้อมูล
ข่าวสาร ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการออกอากาศ การจัดรายการ และการแบ่งประเภทรายการ
วท.๑๑๒ สุนทรียศาสตร์ในงานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.112 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA AESTHETICS
พื้นฐานทางองค์ประกอบศิลป์ ศิลปะ ดนตรีและเสียงประกอบที่มีผลทางจิตวิทยา การผลิตเสียงเพลงและ
ดนตรีประกอบ สําหรับประกอบการนําเสนอในรายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล เพื่อนํามา
ประยุกต์ใช้สอดคล้องกับรายการที่ทําให้กลุ่มเป้าหมายพึงพอใจในการรับชมรายการ
วท.๒๑๑ การเขียนบทวิทยุ และโทรทัศน์ ๓(๓-๐-๖)
BC.211 BROADCAST WRITING
หลักการ วิธีการ และเทคนิคการเขียนบทสําหรับรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลประเภทต่างๆ โดยเน้น
ความสําคัญกับการสร้างสรรค์รายการ การค้นคว้าข้อมูล ความคิดสร้างสรรค์ การใช้ภาษา การถ่ายทอดเรื่องราวด้วย
ภาพและเสียงที่เหมาะสมกับผู้รับสารและรูปแบบรายการ การให้ความรู้และความบันเทิงแก่ผู้รับสาร ตลอดจนสร้าง
ทักษะในการวิเคราะห์สาระสําคัญของบทรายการในแง่มุมต่างๆ
วท.๒๑๒ การประกาศและการดําเนินรายการวิทยุและโทรทัศน์ ๓(๓-๐-๖)
BC.212 BROADCAST ANNOUNCING AND PERFORMANCE
วิธีการประกาศ การอ่านบทความ และสารคดี การอ่านข่าว การดําเนินรายการวิทยุโทรทัศน์ และสื่อ
ออนไลน์ประเภทต่างๆ เทคนิคการใช้ไมโครโฟน การใช้น้ําเสียง การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา บุคลิกภาพของผู้
ประกาศและผู้ดําเนินรายการ รวมถึงฝึกหัดการเป็นผู้ประกาศรายการ นักจัดรายการวิทยุ
วท.๒๑๓ การผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๑ ๓(๒-๒-๖)
BC.213 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PRODUCTION 1
การวางแผนกระบวนการผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลเบื้องต้น ขั้นตอนการผลิตรายการ
การคิดสร้างสรรค์รายการ การใช้เพลง เสียง และภาพอย่างมืออาชีพ โดยใช้อุปกรณ์ดิจิทัลที่ทันสมัย
วท.๒๑๔ การบริหารและการจัดการธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.214 BUSINESS ADMINISTRATION FOR BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA MANAGEMENT
การบริหาร การจัดการธุรกิจของสื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพในระบบต่างๆ อาทิ วิทยุ โทรทัศน์ วิทยุ
ชุมชน เคเบิ้ลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม ฯลฯ โดยเน้นศึกษาการบริหารงาน กระบวนการจัดการตามลักษณะของ
องค์กร ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงานทางธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและนโยบายในยุคปัจจุบัน
วท.๒๑๕ การผลิตรายการวิทยุดิจิทัล ๓(๒-๒-๖)
BC.215 DIGITAL RADIO PRODUCTION
กระบวนการ เทคนิค และวิธีการผลิตรายการวิทยุดิจิทัล ขั้นพื้นฐาน ทั้งการเตรียมตัวก่อนการผลิต
การผลิต และขั้นตอนหลังการผลิต ศึกษาประเภท รูปแบบรายการ การตัดต่อ และการผสมเสียง ตลอดจนฝึกผลิต
รายการวิทยุดิจิทัล ประเภทต่างๆ
วท.๓๑๑ ภาษาอังกฤษสําหรับวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.311 ENGLISH FOR BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA
การฟัง การอ่าน การเขียน และการรายงานข่าวภาษาอังกฤษ รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ที่นําเสนอ
เป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งการสนทนาและการสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องกับคําศัพท์ด้านนิเทศศาสตร์
วท.๓๑๒ การตัดต่อภาพเคลื่อนไหวในระบบคอมพิวเตอร์ ๓(๒-๒-๖)
BC.312 EDITING ON THE COMPUTER SYSTEM
การเลือกใช้โปรแกรม คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการตัดต่อ การลําดับภาพเคลื่อนไหว
แบบต่างๆ การใช้เทคนิค ตกแต่งภาพ เสียง และข้อความประกอบ เพื่องานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล
วท.๓๑๓ การผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๒ ๓(๒-๒-๖)
BC.313 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PRODUCTION 2
การวางแผน ออกแบบองค์ประกอบทางศิลปะในงานฉาก แสง การออกแบบ และการใช้สีสําหรับการผลิต
รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลในห้องผลิตรายการ (Studio) และนอกสถานที่ (Outdoor) ฝึกปฏิบัติออกแบบ
ฉากรายการด้านการจัดแสง สี และเสียง เทคนิค Chroma key, Video Wall, Laser mapping สามารถบูรณาการ
และประยุกต์ใช้ในการผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ
วท.๓๑๔ คอมพิวเตอร์เพื่อการสร้างสรรค์ภาพทางโทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๒-๒-๖)
BC.314 COMPUTER GRAPHIC FOR TELEVISION AND DIGITAL MEDIA
การออกแบบงานโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างสรรค์งานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล โดยอาศัย
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก การสร้างฉากเสมือน การสร้างภาพด้วยเทคนิคพิเศษ และงานแอนนิเมชั่นเบื้องต้น
วท.๓๑๕ วิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ๓(๒-๒-๖)
BC.315 STREAMING PROGRAM
กระบวนการผลิตรายการต่างๆบนอินเตอร์เน็ตทั้งรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์ ปฎิบัติการผลิตรายการ
วิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคนิคการตัดต่อสําหรับนําไปใช้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม
การใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการบริหารสถานีออนไลน์ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องรายการให้เป็นที่รู้จัก
การนําไปประยุกต์ใช้ร่วมกับงานอื่นๆอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งศึกษากฏหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องและจริยธรรมในงาน
วิทยุโทรทัศน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
วท.๓๑๖ การประยุกต์งานวิจัยในงานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.316 APPLIED RESEARCH IN BROADCASTING
เรียนรู้การค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล เพื่อนํามาประยุกต์เป็นโครงสร้าง
รายการ ที่เน้นการนําความรู้เชิงทฤษฎีมาผลิตเป็นรายการที่ง่ายต่อความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งการ
วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ชมรายการ การวิเคราะห์ช่องทางการออกอากาศ การประเมินผลสําเร็จของรายการเพื่อให้
การสร้างสรรค์รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลประสบความสําเร็จตรงต่อความต้องการของผู้ชมรายการมากที่สุด
วท.๓๑๗ การสื่อข่าวและเขียนข่าววิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.317 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA NEWS REPORTING AND WRITING
ทฤษฎีและหลักการในการสื่อข่าว เขียนข่าววิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล โดยศึกษากระบวนการแสวงหาข่าว
การประเมินคุณค่า การกําหนดประเด็นข่าว การเขียนข่าวประเภทต่างๆ การรายงานข่าวทางวิทยุกระจายเสียงและ
วิทยุโทรทัศน์ จริยธรรมและแนวปฏิบัติ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อข่าวและเขียนข่าว และการวิเคราะห์
ผลกระทบและคุณค่าของข่าวที่มีต่อสังคม
วท.๔๑๑ การวิเคราะห์และวิจารณ์รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖)
BC.411 ANALYSIS AND CRITICISM OF BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PROGRAM
การวิเคราะห์และวิจารณ์รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงประเด็นที่สําคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อใช้ในการผลิตรายการในยุคดิจิทัลให้ประสบ
Bc 2559
Bc 2559
Bc 2559
Bc 2559
Bc 2559
Bc 2559
Bc 2559

More Related Content

More from นู๋หนึ่ง nooneung

กรอบความรู้Km57 ด้านวิจัย
กรอบความรู้Km57 ด้านวิจัยกรอบความรู้Km57 ด้านวิจัย
กรอบความรู้Km57 ด้านวิจัย
นู๋หนึ่ง nooneung
 
กรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอน
กรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอนกรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอน
กรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอน
นู๋หนึ่ง nooneung
 
องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศ
องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศองค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศ
องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศนู๋หนึ่ง nooneung
 
องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการบริการทางวิชาการ ปี 56
องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการบริการทางวิชาการ ปี 56องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการบริการทางวิชาการ ปี 56
องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการบริการทางวิชาการ ปี 56นู๋หนึ่ง nooneung
 
ประกาศคณะนิเทศศาสตร์
ประกาศคณะนิเทศศาสตร์ประกาศคณะนิเทศศาสตร์
ประกาศคณะนิเทศศาสตร์
นู๋หนึ่ง nooneung
 
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่นู๋หนึ่ง nooneung
 
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่นู๋หนึ่ง nooneung
 
สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลสาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลนู๋หนึ่ง nooneung
 
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์นู๋หนึ่ง nooneung
 

More from นู๋หนึ่ง nooneung (20)

กรอบความรู้Km57 ด้านวิจัย
กรอบความรู้Km57 ด้านวิจัยกรอบความรู้Km57 ด้านวิจัย
กรอบความรู้Km57 ด้านวิจัย
 
กรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอน
กรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอนกรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอน
กรอบความรู้Km57 ด้านการเรียนการสอน
 
knowledge management 56
knowledge management 56knowledge management 56
knowledge management 56
 
Km56
Km56Km56
Km56
 
องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศ
องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศองค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศ
องค์ความรู้จากโครงการผู้ประกาศ
 
องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการบริการทางวิชาการ ปี 56
องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการบริการทางวิชาการ ปี 56องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการบริการทางวิชาการ ปี 56
องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการบริการทางวิชาการ ปี 56
 
ประกาศคณะนิเทศศาสตร์
ประกาศคณะนิเทศศาสตร์ประกาศคณะนิเทศศาสตร์
ประกาศคณะนิเทศศาสตร์
 
จรรยาบรรณนักวิจัย
จรรยาบรรณนักวิจัยจรรยาบรรณนักวิจัย
จรรยาบรรณนักวิจัย
 
หลักสูตรMca
หลักสูตรMcaหลักสูตรMca
หลักสูตรMca
 
ประกาศที่ 2 2556
ประกาศที่ 2 2556ประกาศที่ 2 2556
ประกาศที่ 2 2556
 
Pf
PfPf
Pf
 
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่
สาขาวิชาการแสดงและสื่อสมัยใหม่
 
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่
สาขาวิชาวารสารศาสตร์และสื่อใหม่
 
สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลสาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
 
สาขาวิชาการโฆษณา
สาขาวิชาการโฆษณาสาขาวิชาการโฆษณา
สาขาวิชาการโฆษณา
 
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
 
ประกาศ
ประกาศประกาศ
ประกาศ
 
Kmหนังลาว2
Kmหนังลาว2Kmหนังลาว2
Kmหนังลาว2
 
Km หนังลาว
Km หนังลาวKm หนังลาว
Km หนังลาว
 
Flow thepleela m3
Flow thepleela m3Flow thepleela m3
Flow thepleela m3
 

Recently uploaded

งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
Bangkok, Thailand
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 

Recently uploaded (10)

งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 

Bc 2559

  • 2. รายละเอียดของหลักสูตร หลักสูตร นิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๙ ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะ/ สาขาวิชา คณะนิเทศศาสตร์ / สาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล หมวดที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป ๑. ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ภาษาอังกฤษ Bachelor of Communication Arts Program in Broadcasting and Digital Media ๒. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ขื่อเต็มภาษาไทย นิเทศศาสตรบัณฑิต (วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล) ชื่อย่อภาษาไทย นศ.บ. (วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล) ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Communication Arts (Broadcasting and Digital Media) ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.Com.Arts (Broadcasting and Digital Media) จํานวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ๑๓๕ หน่วยกิต
  • 3. ๓ หลักสูตร ๓.๑ หลักสูตร ๓.๑.๑ จํานวนหน่วยกิต หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๑๓๕ หน่วยกิต เป็นหลักสูตรแบบศึกษาเต็มเวลา สอดคล้องกับ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ๓.๑.๒ โครงสร้างหลักสูตร จํานวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๑๓๕ หน่วยกิต ก.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาศึกษาทั่วไปบังคับและวิชาศึกษาทั่วไปเลือก ดังนี้ ๑) วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ ๒๔ หน่วยกิต (๑) กลุ่มวิชาภาษา จํานวน ๔ รายวิชา ๑๐ หน่วยกิต - วิชาภาษาอังกฤษ จํานวน ๒ รายวิชา ๖ หน่วยกิต - วิชาภาษาไทย จํานวน ๒ รายวิชา ๔ หน่วยกิต (๒) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ จํานวน ๒ รายวิชา ๖ หน่วยกิต (๓) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ จํานวน ๑ รายวิชา ๓ หน่วยกิต (๔) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จํานวน ๒ รายวิชา ๔ หน่วยกิต (๕) กลุ่มวิชาพลานามัย จํานวน ๑ รายวิชา ๑ หน่วยกิต ๒) วิชาศึกษาทั่วไปเลือก ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของผู้เรียนได้ตามความสนใจจากรายวิชา ต่างๆ ใน ๕ กลุ่มวิชา คือ กลุ่มวิชาภาษา กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และกลุ่มวิชาพลานามัย ข. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า ๙๙ หน่วยกิต ประกอบด้วย ๓ กลุ่มวิชา ดังนี้ -กลุ่มวิชาแกน ๓๐ หน่วยกิต -กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน (ไม่น้อยกว่า) ๕๔ หน่วยกิต -กลุ่มวิชาเลือก (ไม่น้อยกว่า) ๑๕ หน่วยกิต ค. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต ประกอบด้วยกลุ่มวิชาเลือกภายในคณะฯ และ/หรือกลุ่มวิชาเลือกภายนอกคณะฯ ๓.๑.๓ รายวิชา หลักเกณฑ์การใช้รหัสวิชาในหลักสูตร เลขหลักหน่วย หมายถึง ลําดับของรายวิชา เลขหลักสิบ หมายถึง ลําดับของรายวิชา เลขหลักร้อย หมายถึง ชั้นปีที่เปิดสอนรายวิชาโดยประมาณ ตัวอักษร ศท. (GE.) หมายถึง หมวดวิชาศึกษาทั่วไปทุกวิชา ตัวอักษร นศ. (CA.) หมายถึง กลุ่มวิชาของคณะนิเทศศาสตร์ (กลุ่มวิชาเฉพาะ) ตัวอักษร วท. (BC.) หมายถึง กลุ่มวิชาของสาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล
  • 4. ๓.๑.๓.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไปบังคับ ไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต (๑) รายวิชาในกลุ่มวิชาภาษา จํานวน ๑๐ หน่วยกิต ศท. ๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๒(๒-๐-๔) GE 101 THAI FOR COMMUNICATION ศท. ๑๐๒ การใช้ภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ ๒(๒-๐-๔) GE 102 THAI USAGE FOR CREATION ศท. ๑๐๐ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๓(๓-๐-๖) GE 100 ENGLISH FOR COMMUNICATION ศท. ๑๑๐ ภาษาอังกฤษเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 110 ENGLISH FOR DAILY LIFE (๒) รายวิชาในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ จํานวน ๖ หน่วยกิต ศท. ๑๒๑ วิถีแห่งเกษม ๓(๓-๐-๖) GE 121 WAYS OF KASEM ศท. ๑๒๓ กฎหมายเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 123 LAWS FOR DAILY LIFE (๓) รายวิชาในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ จํานวน ๓ หน่วยกิต ศท. ๑๓๑ ศิลปะการพัฒนาชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 131 ARTS OF LIFE DEVELOPMENT (๔) รายวิชาในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จํานวน ๔ หน่วยกิต ศท. ๑๔๑ คณิตศาสตร์ร่วมสมัย ๒(๒-๐-๔) GE 141 CONTEMPORARY MATHEMATICS ศท. ๑๔๒ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อโลกยั่งยืน ๒(๒-๐-๔) GE 142 ENVIRONMENTAL SCIENCE FOR SUSTAINABLE WORLD (๕) รายวิชาในกลุ่มวิชาพลานามัย จํานวน ๑ หน่วยกิต นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาดังต่อไปนี้ จํานวน ๑ รายวิชา ศท. ๑๕๒ กิจกรรมนันทนาการ ๑(๐-๒-๒) GE 152 RECREATION ACTIVITIES ศท. ๑๕๓ ศิลปะป้องกันตัว ๑(๐-๒-๒) GE 153 ARTS OF SELF DEFENCE ศท. ๑๕๕ ลีลาศ ๑(๐-๒-๒) GE 155 BALLROOM DANCING ศท. ๑๕๖ โบว์ลิ่ง ๑(๐-๒-๒) GE 156 BOWLING ศท. ๑๕๗ ว่ายน้ํา ๑(๐-๒-๒) GE 157 SWIMMING
  • 5. ๒. วิชาศึกษาทั่วไปเลือก จํานวนไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของผู้เรียนได้ตามความสนใจจากรายวิชาต่างๆ ใน ๕ กลุ่มวิชา ดังนี้ (๑) รายวิชาในกลุ่มวิชาภาษา ศท. ๑๐๖ การเขียนในชีวิตประจําวัน ๓(๓-๐-๖) GE 106 WRITING IN DAILY LIFE ศท. ๑๐๗ วรรณศิลป์ในภาษาไทย ๓(๓-๐-๖) GE 107 LITERATURE IN THAI CREATED LANGUAGE ศท. ๑๐๘ วิถีภาษาไทยร่วมสมัย ๓(๓-๐-๖) GE 108 WAYS OF CONTEMPORARY THAI LANGUAGE ศท. ๑๐๙ สุนทรียะทางการฟังและการพูดภาษาไทย ๓(๓-๐-๖) GE 109 THE AESTHETIC OF LISTENING AND SPEAKING THAI LANGUAGE ศท. ๒๑๓ ทักษะการพูดภาษาอังกฤษในองค์กร ๓(๓-๐-๖) GE 213 ENGLISH CONVERSATION SKILLS IN WORKPLACES ศท. ๒๑๔ ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษในองค์กร ๓(๓-๐-๖) GE 214 ENGLISH COMPOSITION SKILLS IN WORKPLACES ศท. ๑๖๐ ภาษาและวัฒนธรรมมลายู ๒(๒-๐-๔) GE 160 MALAY LANGUAGE AND CULTURE ศท. ๑๖๑ ภาษาและวัฒนธรรมพม่า ๒(๒-๐-๔) GE 161 MYANMAR LANGUAGE AND CULTURE ศท. ๑๖๒ ภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม ๒(๒-๐-๔) GE 162 VIETNAMESE LANGUAGE AND CULTURE ศท. ๑๖๓ ภาษาและวัฒนธรรมจีน ๒(๒-๐-๔) GE 163 CHINESE LANGUAGE AND CULTURE ศท. ๑๖๔ ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ๒(๒-๐-๔) GE 164 JAPANESE LANGUAGE AND CULTURE ศท. ๑๖๕ ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี ๒(๒-๐-๔) GE 165 KOREAN LANGUAGE AND CULTURE ศท. ๑๖๖ ภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ ๒(๒-๐-๔) GE 166 ARABIC LANGUAGE AND CULTURE ศท. ๑๖๗ ภาษาและวัฒนธรรมรัสเซีย ๒(๒-๐-๔) GE 167 RUSSIAN LANGUAGE AND CULTURE (๒) รายวิชาในกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ศท. ๑๒๒ จิตวิทยาเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 122 PSYCHOLOGY FOR DAILY LIFE ศท. ๑๒๔ เศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 124 SUFFICIENCY ECONOMY AND QUALITY OF LIFE
  • 6. ศท. ๑๒๕ การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ ๓(๓-๐-๖) GE 125 COMMUNICATION AND HUMAN RELATIONS ศท. ๑๒๖ กระบวนการกลุ่มและเทคนิคการทํางานเป็นทีม ๓(๓-๐-๖) GE 126 GROUP PROCESS AND TEAM WORKING TECHNIQUES ศท. ๑๒๗ หลักเศรษฐศาสตร์อิสลาม ๓(๓-๐-๖) GE 127 INTRODUCTION TO ISLAMIC ECONOMICS ศท. ๑๒๘ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม (ซะรีอะฮ์) ๓(๓-๐-๖) GE 128 INTRODUCTION TO ISLAMIC LAWS “SHARI-AH” ศท. ๑๒๙ พลเมืองกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ๓(๓-๐-๖) GE 129 CITIZEN DUTIES AND RESPONSIBILITIES ศท. ๒๒๑ พลวัตการย้ายถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๓(๓-๐-๖) GE 221 DYNAMICS OF MIGRATION IN SOUTHEAST ASIA (๓) รายวิชาในกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ศท. ๑๓๒ การคิดกับคนรุ่นใหม่ ๓(๓-๐-๖) GE 132 THINKING AND THE NEW GENERATION ศท. ๑๓๓ ศาสนาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓(๓-๐-๖) GE 133 RELIGIONS FOR HUMAN DEVELOPMENT ศท. ๑๓๔ ประวัติศาสตร์ไทยและความเป็นชาติไทย ๓(๓-๐-๖) GE 134 THAI HISTORY AND NATIONAL IDENTITY ศท. ๑๓๕ มรดกไทยและภูมิปัญญาไทย ๓(๓-๐-๖) GE 135 THAI HERITAGE AND WISDOM ศท. ๑๓๖ สุนทรียศาสตร์ ๒(๒-๐-๔) GE 136 AESTHETICS ศท. ๑๓๗ ดนตรีกับมนุษยชาติ ๒(๒-๐-๔) GE 137 MUSIC AND HUMANITIES ศท. ๑๓๘ ศิลปะกับมนุษยชาติ ๒(๒-๐-๔) GE 138 ARTS AND HUMANITIES ศท. ๑๓๙ หลักการอิสลามเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖) GE 139 INTRODUCTION TO PRINCIPLES OF ISLAM ศท. ๒๓๑ พลังความคิดกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ๓(๓-๐-๖) GE 231 POWER OF THOUGHT AND DEVELOPMENT OF HUMAN POTENTIAL ศท. ๒๓๒ อารยธรรมโลก ๓(๓-๐-๖) GE 232 WORLD CIVILIZATION ศท. ๒๓๓ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๓(๓-๐-๖) GE 233 SOUTHEAST ASIA HISTORY AND CULTURE ศท. ๒๓๔ คติชนเพื่อชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 234 FOLKLORE FOR LIFE (๔) รายวิชาในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ศท. ๑๔๐ การประยุกต์สถิติในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔)
  • 7. GE 140 APPLIED STATISTICS IN EVERYDAY LIFE ศท. ๑๔๓ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจําวัน ๒(๑-๒-๔) GE 143 APPLIED COMPUTER IN EVERYDAY LIFE ศท. ๑๔๔ สุขภาพเพื่อชีวิต ๒(๒-๐-๔) GE 144 HEALTH FOR LIFE ศท. ๑๔๕ การประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔) GE 145 APPLIED PHYSICS IN EVERYDAY LIFE ศท. ๑๔๖ เคมีกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔) GE 146 APPLIED CHEMISTRY IN EVERYDAY LIFE ศท. ๑๔๗ วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ ๒(๒-๐-๔) GE 147 EARTH SCIENCE AND ASTRONOMY ศท. ๑๔๘ การเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ ๒(๑-๒-๖) GE 148 STRENGTHENING MATHEMATICAL SKILLS (๕) รายวิชาในกลุ่มวิชาพลานามัย นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาดังต่อไปนี้ โดยต้องไม่ซ้ํากับรายวิชาที่เลือกเรียนไปแล้ว ศท. ๑๕๒ กิจกรรมนันทนาการ ๑(๐-๒-๒) GE 152 RECREATION ACTIVITIES ศท. ๑๕๓ ศิลปะป้องกันตัว ๑(๐-๒-๒) GE 153 ARTS OF SELF DEFENCE ศท. ๑๕๕ ลีลาศ ๑(๐-๒-๒) GE 155 BALLROOM DANCING ศท. ๑๕๖ โบว์ลิ่ง ๑(๐-๒-๒) GE 156 BOWLING ศท. ๑๕๗ ว่ายน้ํา ๑(๐-๒-๒) GE 157 SWIMMING ๓.๑.๓.๒ หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า ๙๙ หน่วยกิต ๓.๑.๓.๒.๑ กลุ่มวิชาแกน จํานวน ๓๐ หน่วยกิต นศ. ๑๐๐ หลักและทฤษฎีนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖) CA.100 PRINCIPLES AND THEORIES OF COMMUNICATION นศ.๑๐๘ การประชาสัมพันธ์และการโฆษณาเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖) CA.108 INTRODUCTION TO PUBLIC RELATIONS AND ADVERTISING นศ.๑๐๙ ทักษะการสื่อสารเพื่องานนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖) CA.109 COMMUNICATION SKILLS FOR COMMUNICATION ARTS นศ. ๑๑๐ สื่อสารมวลชนเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖) CA.110 INTRODUCTION TO MASS COMMUNICATION นศ. ๒๐๖ คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสําหรับงานนิเทศศาสตร์ ๓(๒-๒-๖) CA.206 INTRODUCTION TO COMPUTER FOR COMMUNICATION ARTS
  • 8. นศ. ๒๐๙ กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน ๓(๓-๐-๖) CA.209 LAWS AND ETHICS FOR MASS COMMUNICATION นศ.๒๑๑ การถ่ายภาพทางนิเทศศาสตร์ ๓(๒-๒-๐) CA.211 PHOTOGRAPHY FOR COMMUNICATION ARTS นศ. ๒๑๒ การวิจัยทางนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖) CA.212 COMMUNICATION RESEARCH นศ.๒๑๔ การวิเคราะห์ผู้รับสาร ๓(๓-๐-๖) CA.214 AUDIENCE ANALYSIS นศ.๓๐๐ ภาษาอังกฤษสําหรับนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖) CA.300 ENGLISH FOR COMMUNICATION ARTS ๓.๑.๓.๒.๒ กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า ๕๔ หน่วยกิต (โดยให้เรียนรายวิชาต่อไปนี้และมีจํานวนหน่วยกิตรวมกันไม่ต่ํากว่า ๕๔ หน่วยกิต) วท.๑๑๑ หลักวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.111 PRINCIPLES OF BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA วท.๑๑๒ สุนทรียศาสตร์ในงานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.112 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA AESTHETICS วท.๒๑๑ การเขียนบทวิทยุ และโทรทัศน์ ๓(๓-๐-๖) BC.211 BROADCAST WRITING วท.๒๑๒ การประกาศและการดําเนินรายการวิทยุและโทรทัศน์ ๓(๓-๐-๖) BC.212 BROADCAST ANNOUNCING AND PERFORMANCE วท.๒๑๓ การผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๑ ๓(๒-๒-๖) BC.213 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PRODUCTION 1 วท.๒๑๔ การบริหารและการจัดการธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.214 BUSINESS ADMINISTRATION FOR BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA MANAGEMENT วท.๒๑๕ การผลิตรายการวิทยุดิจิทัล ๓(๒-๒-๖) BC.215 DIGITAL RADIO PRODUCTION วท.๓๑๑ ภาษาอังกฤษสําหรับวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.311 ENGLISN FOR BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA วท.๓๑๒ การตัดต่อภาพเคลื่อนไหวในระบบคอมพิวเตอร์ ๓(๒-๒-๖) BC.312 EDITING ON THE COMPUTER SYSTEM วท.๓๑๓ การผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๒ ๓(๒-๒-๖) BC.313 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PRODUCTION 2 วท.๓๑๔ คอมพิวเตอร์เพื่อการสร้างสรรค์ภาพทางโทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๒-๒-๖) BC.314 COMPUTER GRAPHIC FOR TELEVISION AND DIGITAL MEDIA วท.๓๑๕ วิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ๓(๒-๒-๖) BC.315 STREAMING PROGRAMME วท.๓๑๖ การประยุกต์งานวิจัยในงานวิทยุและโทรทัศน์ ๓(๓-๐-๖)
  • 9. BC.316 APPLIED RESEARCH IN BROADCASTING วท.๓๑๗ การสื่อข่าวและเขียนข่าววิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.317 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA NEWS REPORTING AND WRITING วท.๔๑๑ การวิเคราะห์และวิจารณ์รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.411 ANALYSIS AND CRITICISM OF BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PROGRAM วท.๔๑๒ ศิลปการพูดและการนําเสนอในงานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.412 ARTS OF SPEAKING AND PRESENTATION IN BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA วท.๔๑๓ การผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓ ๓(๒-๒-๖) BC.413 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PRODUCTION 3 วท.๔๑๔ สัมมนาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.414 SEMINAR IN BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA วท.๔๑๕ โครงงานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๒-๒-๖) BC.415 BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA PROJECT วท.๔๑๖ สหกิจศึกษาสาขาวิชาวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๖(๖๐๐ ชั่วโมง) BC.416 COOPERATIVE EDUCATION FOR BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA วท.๔๑๗ วิทยุและโทรทัศน์เพื่อสันติภาพ ๓(๓-๐-๖) BC.417 PEACE BROADCASTING วท.๔๑๘ การศึกษาเฉพาะเรื่อง ๑ ๓(๓-๐-๖) BC.418 SELECTED TOPIC 1 วท. ๔๑๙ การศึกษาเฉพาะเรื่อง ๒ ๓(๒-๒-๖) BC.419 SELECTED TOPIC 2 ๓.๑.๓.๒.๓ กลุ่มวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๑๕ หน่วยกิต นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเป็นกลุ่มวิชาหรือสามารถเลือกเรียนแบบคละกลุ่มวิชาก็ได้ ดังต่อไปนี้ สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ ปช.๓๑๙ การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด ๓(๓-๐-๖) PR.319 MARKETING PUBLIC RELATIONS ปช.๓๒๔ กลยุทธ์การบริหารภาพลักษณ์องค์กร ๓(๓-๐-๖) PR.324 CORPORATE IMAGE MANAGEMENT STRATEGY ปช.๔๑๕ การจัดการภาวะวิกฤตและความเสี่ยง ๓(๓-๐-๖) PR.415 ISSUE RISK AND CRISIS MANAGEMENT ปช.๔๑๙ การพัฒนาบุคลิกภาพสําหรับนักประชาสัมพันธ์ ๓(๓-๐-๖) PR.419 PERSONALITY DEVELOPMENT FOR PUBLIC RELATIONS PRACTITIONERS ปช.๔๒๕ เทคนิคการนําเสนอเพื่อการประชาสัมพันธ์ ๓(๓-๐-๖) PR.425 PRESENTATION TECHINQUES FOR PUBLIC RELATIONS สาขาวิชาการโฆษณา ฆณ.๑๑๒ ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการโฆษณา ๓(๓-๐-๖) AD.112 CREATIVE THINKING FOR ADVERTISING
  • 10. ฆณ.๒๑๓ เทคนิคการนําเสนองานโฆษณา ๓(๒-๒-๖) AD.213 PRESENTATION TECHNIQUES FOR ADVERTISING ฆณ.๓๑๘ การสํารวจพฤติกรรมผู้บริโภคและการตลาด ๓(๓-๐-๖) AD.318 CONSUMER BEHAVIOR AND MARKETING SURVEY ฆณ.๔๑๒ การสื่อสารแบรนด์ ๓(๒-๒-๖) AD.412 BRAND COMMUNICATION ฆณ.๔๑๓ การรณรงค์โฆษณา ๓(๒-๒-๖) AD.413 ADVERTISING CAMPAIGN สาขาวิชาสื่อสังคมออนไลน์และสารสนเทศดิจิทัล มด.๑๐๑ แนวคิดของสื่อสังคมออนไลน์และสารสนเทศดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) MD.101 CONCEPT OF SOCIAL MEDIA AND DIGITAL CONTENT มด.๑๐๒ การออกแบบงานกราฟิกเพื่อสื่อสังคมออนไลน์และสารสนเทศดิจิทัล ๓(๒-๒-๖) MD.102 GRAPHIC DESIGN FOR SOCIAL MEDIA AND DIGITAL CONTENT มด.๒๐๑ การสืบค้นและการคัดเลือกประเด็นเพื่องานสื่อสังคมออนไลน์และ สารสนเทศดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) MD.201 INFORMATION GATHERING AND ISSUES SELECTION FOR SOCIAL MEDIA AND DIGITAL CONTENT มด.๓๐๕ ศิลปะของการเขียนเล่าเรื่องข้ามสื่อ ๓(๓-๐-๖) MD.305 ART OF WRITING STORYTELLING FOR MEDIA CROSS มด.๓๐๗ การตลาดออนไลน์ ๓(๓-๐-๖) MD.307 ONLINE MARKETING สาขาวิชาสื่อสารการแสดงร่วมสมัย สร.๑๑๑ สื่อสารการแสดงร่วมสมัยเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖) PF.111 INTRODUCTION TO CONTEMPORARY PERFORMING ARTS COMMUNICATION สร.๒๑๑ การเขียนและวิเคราะห์บทสําหรับงานสื่อสารการแสดง ๓(๓-๐-๖) PF.211 SCRIPT WRITING AND ANALYSIS FOR PERFORMING ARTS COMMUNICATION สร.๒๒๒ การผลิตงานทางด้านสื่อสารการแสดง ๓(๒-๒-๖) PF.222 PERFORMING ARTS PRODUCTION สร.๒๒๔ การบริหารจัดการงานสื่อสารการแสดง ๓(๓-๐-๖) PF.224 PERFORMING ARTS STUDIES MANAGEMENT สร.๔๑๔ ละครสําหรับงานนิเทศศาสตร์ ๓(๒-๒-๖) PF.414 DRAMA FOR COMMUNICATION ARTS สาขาวิชาการภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล ภด.๑๐๑ ภาพยนตร์เบื้องต้น ๓(๓-๐-๖) FM.101 INTRODUCTION TO FILM ภด.๒๐๑ ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์ ๓(๓-๐-๖)
  • 11. FM.201 FILM THEORIES & CRITICISM ภด.๒๐๕ ภาษาภาพยนตร์ ๓(๒-๒-๖) FM.205 FILM LANGUAGE ภด.๓๐๐ ภาพยนตร์กับสังคม ๓(๓-๐-๖) FM.300 FILM AND SOCIETY ภด.๓๑๓ ภาพยนตร์โฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์และโทรทัศน์ ๓(๒-๒-๖) FM.313 SOCIAL MEDIA AND TV COMMERCIAL ๓.๑.๓.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาที่เปิดสอนภายในคณะนิเทศศาสตร์ และ/หรือรายวิชาอื่น ๆ ที่เปิดสอนตามคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยต้องมีจํานวนหน่วยกิตรวมกันไม่ต่ํากว่า ๖ หน่วยกิต ๓.๑.๕ คําอธิบายรายวิชา (Course Description) ๓.๑.๕.๑ วิชาศึกษาทั่วไปบังคับ (๑) กลุ่มวิชาภาษา ศท. ๑๐๑ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๒(๒-๐-๔) GE 101 THAI FOR COMMUNICATION ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาสําหรับการสื่อสาร หลักการวิเคราะห์ สรุปข้อความ กลวิธีการพูดตาม วาระโอกาสต่างๆ การสนทนา การอภิปราย หลักการเขียนความเรียง การเขียนรายงานทางวิชาการ การเขียนโครงงาน การเขียนหนังสือราชการ และการเขียนจดหมายธุรกิจ ศท. ๑๐๒ การใช้ภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ ๒(๒-๐-๔) GE 102 THAI USAGE FOR CREATION ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยอย่างสร้างสรรค์ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ การวิเคราะห์ เชิงลึก การ วิจารณ์ การวิพากษ์คุณค่าจากการรับสารและการส่งสารทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง การพูดและ การเขียนอย่างมีศิลปะ และสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน ศท. ๑๐๐ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ๓(๓-๐-๖) GE 100 ENGLISH FOR COMMUNICATION ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจําวัน ทั้งในสถานการณ์จริง และสถานการณ์จําลอง ไวยากรณ์ขั้นพื้นฐานเพื่อนําไปใช้ในการพูด การอ่าน และการเขียนได้อย่างถูกต้อง การหา ความหมายผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สํานวนและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ศท. ๑๑๐ ภาษาอังกฤษเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 110 ENGLISH FOR DAILY LIFE การพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน เพื่อการนําไปใช้ในชีวิตประจําวันใน หลากหลายสถานการณ์ กลวิธีการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เทคนิคการอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ
  • 12. (๒) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ศท. ๑๒๑ วิถีแห่งเกษม ๓(๓-๐-๖) GE 121 WAYS OF KASEM พื้นฐานการดํารงชีวิตของมนุษย์อย่างมีความสุข การพัฒนาตนเอง การเรียนรู้สู่นักปฏิบัติ การใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม การดําเนินชีวิตโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียง ตามแนวพระบรมราโชวาทและพระราชดํารัส บทบาทหน้าที่พลเมืองในสังคมไทยและสังคมโลก ศท. ๑๒๓ กฎหมายเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 123 LAWS FOR DAILY LIFE ความหมาย บทบาท ความสําคัญ ที่มา การแบ่งแยกประเภทของกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตในสังคม กฎหมายว่าด้วยสถานภาพและความสามารถของบุคคลทั่วไป หลักการและแนวทางการปฏิบัติให้ถูกต้องและสมบูรณ์ตามกฎหมาย การบังคับใช้สิทธิทางกฎหมาย โทษทางกฎหมาย ตลอดจนกฎหมายสิทธิหน้าที่ขั้นพื้นฐานของพลเมือง (๓) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ศท. ๑๓๑ ศิลปะการพัฒนาชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 131 ARTS OF LIFE DEVELOPMENT การกําเนิดของชีวิตมนุษย์ คุณธรรมจริยธรรมเพื่อการดําเนินชีวิตที่มีคุณค่าและเป้าหมาย การพัฒนา คุณภาพชีวิตและเศรษฐทรัพย์ การฝึกฝนทักษะการคิดเชิงเหตุผล หลักการพื้นฐานในการวิเคราะห์และการแก้ปัญหา ชีวิต สุนทรียภาพ ความสุขและเกณฑ์ตัดสินความสุข และดุลยภาพแห่งชีวิต (๔) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ศท. ๑๔๑ คณิตศาสตร์ร่วมสมัย ๒(๒-๐-๔) GE 141 CONTEMPORARY MATHEMATICS หลักคิดทางคณิตศาสตร์ จํานวนเต็ม เศษส่วน ทศนิยม บัญชีเงินฝาก การตรวจสอบการคิดภาระ ดอกเบี้ยจากการใช้บัตรเครดิต การใช้สมการแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน การคํานวณเปอร์เซ็นต์ ประเภทต่างๆในราคา สินค้า การคํานวณดอกเบี้ยชนิดต่างๆ การคํานวณภาระภาษี การคํานวณและการตรวจสอบเอกสารเงินเดือน การตรวจสอบภาระทุนจํานองและดอกเบี้ย การประกันภัย การคํานวณพื้นฐานเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการลงทุน ในหุ้นและตราสารประเภทต่างๆ และกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจําวันอื่นๆ ศท. ๑๔๒ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเพื่อโลกยั่งยืน ๒(๒-๐-๔) GE 142 ENVIRONMENTAL SCIENCE FOR SUSTAINABLE WORLD กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติบนโลก สสารและพลังงาน ระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ผลกระทบ ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน แนวทางการแก้ไขเพื่อโลกยั่งยืน การควบคุมและกําจัด มลพิษ การพัฒนาที่ยั่งยืน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม กฎหมายและนโยบายของรัฐด้านสิ่งแวดล้อม (๕) กลุ่มวิชาพลานามัย (บังคับเรียน ๑ รายวิชา) ศท. ๑๕๒ กิจกรรมนันทนาการ ๑(๐-๒-๒)
  • 13. GE 152 RECREATION ACTIVITIES ศึกษาความหมาย ลักษณะ ขอบข่าย ประวัติความเป็นมา ประเภท รูปแบบ ประโยชน์คุณค่าของ นันทนาการและการออกแบบกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม และคุณสมบัติของผู้นํากิจกรรม นันทนาการ ศท. ๑๕๓ ศิลปะป้องกันตัว ๑(๐-๒-๒) GE 153 ARTS OF SELF DEFENCE ศึกษาความหมาย ความมุ่งหมาย กฎระเบียบและคุณประโยชน์ของศิลปะป้องกันตัว การฝึกศิลปะ ป้องกันตัวเพื่อพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม หลักการและทักษะการป้องกันตัวจากการถูกทําร้ายทั้งทางด้านหน้าและ ทางด้านหลัง วิธีการแก้ไขและป้องกันตนเองในสถานการณ์เฉพาะหน้า ศท. ๑๕๕ ลีลาศ ๑(๐-๒-๒) GE 155 BALLROOM DANCING ศึกษาความหมาย ความมุ่งหมาย ประวัติ ขอบข่ายและประโยชน์ของการลีลาศ การฝึกลีลาศจังหวะ ต่างๆ การประยุกต์ใช้ลีลาศเพื่อการเข้าสังคม และการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม ศท. ๑๕๖ โบว์ลิ่ง ๑(๐-๒-๒) GE 156 BOWLING ศึกษาความหมาย ประวัติความเป็นมา ทักษะเบื้องต้น เทคนิคการเล่นโบว์ลิ่งเพื่อพัฒนาสุขภาพแบบ องค์รวม การบํารุงรักษาอุปกรณ์ กติกามารยาท ความปลอดภัยและการปฐมพยาบาลในการเล่นโบว์ลิ่ง ศท. ๑๕๗ ว่ายน้ํา ๑(๐-๒-๒) GE. 157 SWIMMING ศึกษาความหมาย ประวัติความเป็นมา หลักการและวิธีการว่ายน้ําในท่าฟรีสไตล์ ท่า กรรเชียง ท่าผีเสื้อ ท่ากบ การว่ายน้ําเพื่อพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม การบํารุงรักษาอุปกรณ์ กติกามารยาท ความ ปลอดภัยและการปฐมพยาบาลในการว่ายน้ํา ๓.๑.๕.๒ วิชาศึกษาทั่วไปเลือก (๑) กลุ่มภาษา ศท. ๑๐๖ การเขียนในชีวิตประจําวัน ๓(๓-๐-๖) GE 106 WRITING IN DAILY LIFE หลักการและความสําคัญเกี่ยวกับการเขียนในชีวิตประจําวัน วัฒนธรรมในการเขียนภาษาไทย การใช้ ภาษาในการเขียนทางวิชาการ การเขียนภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้ การเขียนบันทึกติดต่อ การใช้ภาษาไทยในสื่อมวลชน และการใช้ภาษาไทยในสื่อสังคมออนไลน์ ศท. ๑๐๗ วรรณศิลป์ในภาษาไทย ๓(๓-๐-๖) GE 107 LITERATURE IN THAI CREATED LANGUAGE ศิลปะการประพันธ์งานบันเทิงคดี การใช้ภาษาในงานเขียนร้อยแก้วและร้อยกรอง การแต่งนวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี ศิลปะการประพันธ์งานสารคดี การเขียนบทความ หลักการวิจารณ์อย่างมีวรรณศิลป์
  • 14. ศท. ๑๐๘ วิถีภาษาไทยร่วมสมัย ๓(๓-๐-๖) GE 108 WAYS OF CONTEMPORARY THAI LANGUAGE วิถีภาษาไทยตามยุคสมัยของสังคมไทย บริบทการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการใช้ภาษาไทยการ ประยุกต์ใช้ภาษาไทยตามวิธภาษาในสังคมปัจจุบัน การสัมผัสภาษาในมิติภูมิปัญญา วัฒนธรรมและความเชื่อที่ แสดงออกผ่านทางภาษา และเชื่อมโยงกับการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน ศท. ๑๐๙ สุนทรียะทางการฟังและการพูดภาษาไทย ๓(๓-๐-๖) GE 109 THE AESTHETIC OF LISTENING AND SPEAKING THAI LANGUAGE สุนทรียะทางการฟังและการพูดภาษาไทย เน้นทักษะการรับสารและการส่งสารให้สัมพันธ์กันอย่าง สร้างสรรค์ ได้แก่ สุนทรียะทางภาษา การฟังอย่างลึกซึ้ง การพูดอย่างสร้างสรรค์ และการประยุกต์สุนทรียะทางภาษา มาใช้กับการดํารงชีวิตอย่างมีความสุข ศท. ๒๑๓ ทักษะการพูดภาษาอังกฤษในองค์กร ๓(๓-๐-๖) GE 213 ENGLISH CONVERSATION SKILLS IN WORKPLACES ทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษที่จําเป็นต่อการทํางาน การแนะนําตนเอง การแนะนําเพื่อน การ ทักทายและพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน การตั้งและตอบคําถามอย่างเป็นทางการ การนําเสนองาน การแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุม และการเจรจาต่อรอง ศท. ๒๑๔ ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษในองค์กร ๓(๓-๐-๖) GE 214 ENGLISH COMPOSITION SKILLS IN WORKPLACES ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่จําเป็นต่อการทํางาน การเขียนแนะนําตนเองในการสมัครงาน การเขียนโต้ตอบจดหมายทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การเขียนเอกสารการจัดการประชุม การเขียน รายงานการ ประชุม การเขียนรายงานในสถานการณ์ต่างๆ และการแปลเอกสาร ศท. ๑๖๐ ภาษาและวัฒนธรรมมลายู ๒(๒-๐-๔) GE 160 MALAY LANGUAGE AND CULTURE โครงสร้างพื้นฐานของภาษามลายูในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน การส่งสาร ด้วยการพูดและการเขียน โดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ศท. ๑๖๑ ภาษาและวัฒนธรรมพม่า ๒(๒-๐-๔) GE 161 MYANMAR LANGUAGE AND CULTURE โครงสร้างพื้นฐานของภาษาพม่าในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ศท. ๑๖๒ ภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม ๒(๒-๐-๔) GE 162 VIETNAMESE LANGUAGE AND CULTURE โครงสร้างพื้นฐานของภาษาเวียดนามในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
  • 15. ศท. ๑๖๓ ภาษาและวัฒนธรรมจีน ๒(๒-๐-๔) GE 163 CHINESE LANGUAGE AND CULTURE โครงสร้างพื้นฐานของภาษาจีนในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ศท. ๑๖๔ ภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ๒(๒-๐-๔) GE 164 JAPANESE LANGUAGE AND CULTURE โครงสร้างพื้นฐานของภาษาญี่ปุ่นในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ศท. ๑๖๕ ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี ๒(๒-๐-๔) GE 165 KOREAN LANGUAGE AND CULTURE โครงสร้างพื้นฐานของภาษาเกาหลีในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ศท. ๑๖๖ ภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ ๒(๒-๐-๔) GE 166 ARABIC LANGUAGE AND CULTURE โครงสร้างพื้นฐานของภาษาอาหรับในระดับเบื้องต้น การรับสารด้วยการฟังและการอ่าน การส่งสารด้วยการพูดและการเขียนโดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจําวันและการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ศท. ๑๖๗ ภาษาและวัฒนธรรมรัสเซีย ๒(๒-๐-๔) GE 167 RUSSIAN LANGUAGE AND CULTURE ความรู้และทักษะการใช้ภาษารัสเซียในระดับเบื้องต้น การสื่อสาร การทักทาย การแนะนําตัว ไวยากรณ์พื้นฐาน และการใช้สํานวนภาษารัสเซียในชีวิตประจําวัน ความรู้และความเข้าใจในวัฒนธรรม ชีวิตความ เป็นอยู่และสังคมของกลุ่มชนในกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษารัสเซีย (๒) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ศท. ๑๒๒ จิตวิทยาเพื่อการดํารงชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 122 PSYCHOLOGY FOR DAILY LIFE ศึกษาแนวคิดทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างบุคคล วุฒิ ภาวะและการเรียนรู้ การคิด การพัฒนาบุคลิกภาพ สุขภาพจิตและการปรับตัว การเห็นคุณค่าในตนเอง และการนํา จิตวิทยามาใช้เพื่อการดํารงชีวิต ศท. ๑๒๔ เศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 124 SUFFICIENCY ECONOMY AND QUALITY OF LIFE ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาและพฤติกรรมความไม่พอเพียง
  • 16. ในสังคมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิต การนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ในการดําเนินชีวิตทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว องค์กรและชุมชน ศท. ๑๒๕ การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ ๓(๓-๐-๖) GE 125 COMMUNICATION AND HUMAN RELATIONS รูปแบบวิธีการสื่อสารในเชิงวัจนะและอวัจนะของบุคคลและกลุ่มสังคม ที่มีความสัมพันธ์ในชีวิต ส่วนตัว ครอบครัว และการงาน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของมนุษย์ การสร้างและการพัฒนามนุษย สัมพันธ์ ศท. ๑๒๖ กระบวนการกลุ่มและเทคนิคการทํางานเป็นทีม ๓(๓-๐-๖) GE 126 GROUP PROCESS AND TEAM WORKING TECHNIQUES ธรรมชาติของกระบวนการกลุ่ม หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการทํางานเป็นทีม และการพัฒนาทีมงาน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของทีม การวิเคราะห์การปฏิบัติงานของทีม วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของทีมและ ภาวะผู้นํา ศท. ๑๒๗ หลักเศรษฐศาสตร์อิสลาม ๓(๓-๐-๖) GE 127 INTRODUCTION TO ISLAMIC ECONOMICS ศึกษาพื้นฐานและโครงสร้างระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม แนวคิดและแนวทางแก้ไขตามเศรษฐศาสตร์ และหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักการอิสลาม กรรมสิทธิ์ ระบบดอกเบี้ย ระบบธนาคารอิสลาม และระบบ ประกันสังคมในอิสลาม ศท. ๑๒๘ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม (ซะรีอะฮ์) ๓(๓-๐-๖) GE 128 INTRODUCTION TO ISLAMIC LAWS (SHARI-AH) ศึกษาหลักการกฎหมายซะรีอะฮ์ ความหมายของซะรีอะฮ์ ข้อคิดพื้นฐาน เป้าหมาย แหล่งที่มา การ บังคับใช้และการลงโทษ ศท. ๑๒๙ พลเมืองกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ๓(๓-๐-๖) GE 129 CITIZEN DUTIES AND RESPONSIBILITIES ความหมายของพลเมือง องค์ประกอบพลเมืองที่ดีตามระบบประชาธิปไตย ลักษณะวัฒนธรรมไทยที่มี ผลต่อความเป็นพลเมือง การส่งเสริมและปลูกฝังคุณลักษณะของพลเมืองที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติ หน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมืองในสังคมไทย ปัญหาการศึกษาความเป็นพลเมืองในสังคมไทย และแนวโน้มการ พัฒนาหน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมืองในสังคมและวัฒนธรรมไทย ศท. ๒๒๑ พลวัตการย้ายถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๓(๓-๐-๖) GE 221 DYNAMICS OF MIGRATION IN SOUTHEAST ASIA สถานการณ์การย้ายถิ่นแบบต่างๆ ปัจจัยการย้ายถิ่นตลาดแรงงาน ข้อตกลงทางการค้า การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยทางด้านประชากร โลกาภิวัตน์ สิทธิ ความเท่าเทียม แนวคิด ตลาดแรงงานทุนมนุษย์และทุนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สัญลักษณ์ รวมทั้งผลกระทบการย้ายถิ่นในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • 17. (๓) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ศท. ๑๓๒ การคิดกับคนรุ่นใหม่ ๓(๓-๐-๖) GE 132 THINKING AND THE NEW GENERATION หลักการและกระบวนการคิดของมนุษย์ในการวิเคราะห์และการวิพากษ์ การคิดเชิงเหตุผลแบบนิรนัย และอุปนัย กระบวนการคิดแบบเหตุผลนิยมและประสบการณ์นิยม หลักการตัดสินปัญหา จริยธรรมในมิติทางปรัชญา ศาสนา และความเชื่อ การประยุกต์ใช้วิธีการคิดเพื่อการแก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน ศท. ๑๓๓ ศาสนาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓(๓-๐-๖) GE 133 RELIGIONS FOR HUMAN DEVELOPMENT ศึกษาแนวคิดและหลักธรรมที่สําคัญของศาสนาต่างๆ เพื่อการพัฒนามนุษย์ ความสัมพันธ์ ระหว่างศาสนากับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และพิธีกรรมที่มีผลเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต การปฏิบัติตามหลัก คําสอนของศาสนาเพื่อพัฒนาคุณค่า คุณภาพตนเองในการดํารงอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ศท. ๑๓๔ ประวัติศาสตร์ไทยและความเป็นชาติไทย ๓(๓-๐-๖) GE 134 THAI HISTORY AND NATIONAL IDENTITY ความเป็นมาของราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน พัฒนาการด้านการเมือง การ ปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ การสร้างความมั่นคงแก่ชาติไทย ศท. ๑๓๕ มรดกไทยและภูมิปัญญาไทย ๓(๓-๐-๖) GE 135 THAI HERITAGE AND WISDOM ความสําคัญ ความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีผลต่อการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทยด้านปัจจัยสี่ หัตถกรรม วรรณคดี ศิลปกรรม นาฏศิลป์และคีตศิลป์ เทศกาลงานประเพณีไทย ผลกระทบของ วัฒนธรรมต่างชาติต่อวัฒนธรรมไทย การธํารงรักษาและพัฒนามรดกวัฒนธรรมของชาติ ศท. ๑๓๖ สุนทรียศาสตร์ ๒(๒-๐-๔) GE 136 AESTHETICS ความหมายของสุนทรียศาสตร์ มนุษย์กับประสบการณ์ทางความงาม การพัฒนาประสาทสัมผัสและ เลือกสรรค่าของความงาม คุณค่าและความเข้าใจในศิลปะ โดยการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ตามหลักการทาง สุนทรียศาสตร์เพื่อนํามาปลูกฝังและพัฒนาตนเองไปสู่คุณค่าของความเป็นมนุษย์ ศท. ๑๓๗ ดนตรีกับมนุษยชาติ ๒(๒-๐-๔) GE 137 MUSIC AND HUMANITIES การสร้างและพัฒนาการทางดนตรีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน องค์ประกอบของดนตรีประเภทของดนตรี ความแตกต่างของดนตรีในยุคต่างๆ ดนตรีไทย ดนตรีสากล ดนตรีนานาชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับความเป็น มนุษยชาติ การรับฟังจากสื่อต่างๆ รวมทั้งการชมการแสดงคอนเสิร์ต และดนตรีดังกล่าว ศท. ๑๓๘ ศิลปะกับมนุษยชาติ ๒(๒-๐-๔) GE 138 ARTS AND HUMANITIES ศึกษาพื้นฐานการแสดงนาฏศิลป์แขนงต่างๆ ทั้งไทยและสากล ดนตรีกับนาฏยศิลป์ เพื่อพัฒนาคุณค่า ความเป็นมนุษย์ของสังคมไทยและสังคมโลก
  • 18. ศท. ๑๓๙ หลักการอิสลามเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖) GE 139 INTRODUCTION TO PRINCIPLES OF ISLAM ศึกษาความหมายของอิสลาม มุสลิม หลักการศรัทธาในอิสลาม หลักการปฏิบัติของมุสลิม การปฏิบัติ ตน ศึกษาข้อกําหนดต่างๆ ในเรื่องการละหมาด การถือศีลอด การจ่ายซะกาต การประกอบพิธีฮัจย์ สิทธิและหน้าที่ของ มนุษย์กับพระเจ้า มนุษย์กับมนุษย์ในสังคม อิสลามกับการปฏิบัติตนในชีวิตประจําวัน การอยู่ร่วมกันในสังคม มารยาท ต่างๆตามหลักการของอิสลาม ศท. ๒๓๑ พลังความคิดกับการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ๓(๓-๐-๖) GE 231 POWER OF THOUGHT AND DEVELOPMENT OF HUMAN POTENTIAL กําเนิดความคิดในศาสตร์ต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างสมอง จิตกับกระบวนการคิด ประเภทของการ คิด การพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ด้วยเทคนิคการพัฒนาสมองและพลังความคิดในรูปแบบต่างๆ ศท. ๒๓๒ อารยธรรมโลก ๓(๓-๐-๖) GE 232 WORLD CIVILIZATION ศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ เปรียบเทียบพัฒนาการของอารยธรรมตะวันตกและตะวันออก ตั้งแต่ยุค โบราณจนถึงปัจจุบัน การแผ่ขยาย ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนอารยธรรมในดินแดนต่างๆ อันมีผลต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของโลกยุคปัจจุบัน ศท. ๒๓๓ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๓(๓-๐-๖) GE 233 SOUTHEAST ASIA HISTORY AND CULTURE พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อิทธิพลของอารยธรรมอินเดีย จีน อิสลาม และตะวันตก ที่มีต่อการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และบทบาทของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ต่อสังคมโลก ศท. ๒๓๔ คติชนเพื่อชีวิต ๓(๓-๐-๖) GE 234 FOLKLORE FOR LIFE ความหมาย ประวัติความเป็นมา ประเภท คุณค่าและภูมิปัญญาไทยของคติชนวิทยาในแต่ละท้องถิ่น ศึกษาวิธีการรวบรวม การจําแนกและการวิเคราะห์ข้อมูลทางคติชนวิทยา วิวัฒนาการทางคติชนวิทยา ความสัมพันธ์กับ ศาสตร์แขนงอื่น และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน (๔) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ศท. ๑๔๐ การประยุกต์สถิติในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔) GE 140 APPLIED STATISTICS IN EVERYDAY LIFE สถิติและข้อมูล การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง การเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น การกําหนดประชากร และการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การวัดการกระจายของข้อมูล สถิติกับการตัดสินใจ สมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น การนําเสนอข้อมูล การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย การวิเคราะห์ผลสํารวจความ คิดเห็น ปัญหาที่ต้องใช้สถิติ สถิติกับการแก้ปัญหา
  • 19. ศท. ๑๔๓ การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจําวัน ๒(๑-๒-๔) GE 143 APPLIED COMPUTER IN EVERYDAY LIFE การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูล การสร้างภาพกราฟฟิก การตัดต่อ การใช้สื่อออนไลน์เพื่อการศึกษา การทํางาน และนันทนาการ ศท. ๑๔๔ สุขภาพเพื่อชีวิต ๒(๒-๐-๔) GE 144 HEALTH FOR LIFE ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ การจัดการสุขภาพ พัฒนาการของมนุษย์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ ความปลอดภัยในชีวิต การป้องกันภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของบุคคล โภชนาการกับการป้องกันโรค การสร้างเสริม สุขภาพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม อนามัยสิ่งแวดล้อม การแพทย์ทางเลือก ศท. ๑๔๕ การประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔) GE 145 APPLIED PHYSICS IN EVERYDAY LIFE ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสสารและสถานะของสสาร ระบบหน่วยระหว่างชาติ ธรรมชาติของแรงและกฎ การเคลื่อนที่ของนิวตัน งานและพลังงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวัน กลศาสตร์ภาคของไหล คลื่น ความร้อนและ บรรยากาศรอบตัวเรา เสียงกับการได้ยิน ธรรมชาติของแสง ไฟฟ้าและการสื่อสาร ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฟิสิกส์ยุคใหม่ พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ศท. ๑๔๖ เคมีกับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน ๒(๒-๐-๔) GE 146 APPLIED CHEMISTRY IN EVERYDAY LIFE ความรู้ทางเคมีเบื้องต้นและปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจําวัน ความสําคัญ ผลกระทบของเคมีกับ การดําเนินชีวิต ศึกษาผลิตภัณฑ์เคมี และผลกระทบในชีวิตประจําวัน การใช้งานและการวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพที่ เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องอุปโภคและบริโภคในครัวเรือน ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสําอาง การ ตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เคมีอย่างถูกต้อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ไฟฟ้าเคมีประยุกต์ เคมีกับมลพิษ สิ่งแวดล้อม เคมีกับความปลอดภัยในการดํารงชีวิต ศท. ๑๔๗ วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ ๒(๒-๐-๔) GE 147 EARTH SCIENCE AND ASTRONOMY ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ความสําคัญของดาราศาสตร์กับมนุษย์ ระบบสุริยะ ระบบดาว ฤกษ์ ระบบกาแล็กซี่ เอกภพ ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ โลกและการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาค อุทกภาคและ สภาวะภูมิอากาศ พัฒนาการเทคโนโลยีอวกาศ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ ภัย พิบัติและการเตรียมความพร้อม ศท. ๑๔๘ การเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ ๒(๑-๒-๖) GE 148 STRENGTHENING MATHEMATICAL SKILLS ฟังก์ชัน ฟังก์ชันกําลัง ฟังก์ชันลอกกาลิทึม ฟังก์ชันตรีโกณมิติ การประยุกต์ใช้ฟังก์ชันต่างๆใน ชีวิตประจําวัน ระบบสมการเชิงเส้น เมทริก และการประยุกต์ใช้ จํานวนเชิงเส้น รูปแบบของโพลาร์ของจํานวนเชิงเส้น เวกเตอร์และการประยุกต์ใช้เวกเตอร์ในชีวิตประจําวัน ระบบอสมการเชิงเส้นและการประยุกต์ใช้ หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า ๙๙ หน่วยกิต
  • 20. กลุ่มวิชาแกน ๓๐ หน่วยกิต นศ.๑๐๐ หลักและทฤษฎีนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖) CA.100 PRINCIPLES AND THEORIES OF COMMUNICATION ความหมาย ความสําคัญและประเภทของการสื่อสาร ประวัติและวิวัฒนาการทฤษฎีการสื่อสารและ การสื่อสารของมนุษย์ กระบวนการและองค์ประกอบของการสื่อสาร อิทธิพลและผลกระทบของการสื่อสารที่มีต่อ บุคคลและสังคม ตลอดจนแบบจําลอง แนวคิดและทฤษฎีทางการสื่อสารพื้นฐานที่ใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างการสื่อสาร บุคคลและสังคมในปัจจุบันและอนาคต นศ.๑๐๘ การประชาสัมพันธ์และการโฆษณาเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖) CA.108 INTRODUCTION TO PUBLIC RELATIONS AND ADVERTISING แนวคิด ทฤษฎี หลักการพื้นฐานและวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา กระบวนการ ดําเนินงานและพื้นฐานการสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์และ งานโฆษณา ความสําคัญของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ในการ ประชาสัมพันธ์และการโฆษณาขององค์กร อิทธิพลของการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา ที่มีต่อกลุ่มเป้าหมาย การ เปรียบเทียบความแตกต่างด้านวัตถุประสงค์ รูปแบบของการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา รวมทั้งจรรยาบรรณของ นักประชาสัมพันธ์และนักโฆษณา นศ.๑๐๙ ทักษะการสื่อสารเพื่องานนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖) CA.109 COMMUNICATION SKILLS FOR COMMUNICATION ARTS หลักการและทักษะด้านการสื่อสารทางนิเทศศาสตร์เบื้องต้น ศึกษากระบวนการทางความคิดเพื่อ นําไปสู่การสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ในวิชาชีพด้าน นิเทศศาสตร์ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียนภายใต้วัตถุประสงค์การสื่อสาร ผ่านสื่อปัจจุบันที่หลากหลาย นศ.๑๑๐ สื่อสารมวลชนเบื้องต้น ๓(๓-๐-๖) CA.110 INTRODUCTION TO MASS COMMUNICATION กระบวนการสื่อสารทั้งผู้ส่งสาร ตัวสาร ช่องทางการสื่อสารและผู้รับสาร กําเนิด วิวัฒนาการ บทบาท หน้าที่ อิทธิพล ผลกระทบต่อสังคม โครงสร้าง และกระบวนการผลิตของสื่อมวลชนประเภทต่างๆ ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สื่อสารการแสดง สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อสมัยใหม่อื่นๆ นศ. ๒๐๖ คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสําหรับงานนิเทศศาสตร์ ๓(๒-๒-๖) CA. 206 INTRODUCTION TO COMPUTER FOR COMMUNICATION ARTS การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร การสร้างสรรค์พัฒนาและนําเสนอผลงาน ดิจิทัลเพื่อใช้ในงานนิเทศศาสตร์ รูปแบบนวัตกรรมสื่อ การสืบค้นข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นศ.๒๐๙ กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน ๓(๓-๐-๖) CA.209 LAWS AND ETHICS FOR MASS COMMUNICATION สิทธิเสรีภาพของบุคคลและสื่อสารมวลชนตามรัฐธรรมนูญ ความรับผิดชอบต่อสังคมรวมทั้งจริยธรรม ของสื่อมวลชน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายสื่อสารมวลชน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทํางานของสื่อสารมวลชน แขนงต่างๆ และกรณีศึกษาทางกฎหมายและจริยธรรมในวิชาชีพ
  • 21. นศ.๒๑๑ การถ่ายภาพทางนิเทศศาสตร์ ๓(๒-๒-๖) CA.211 PHOTOGRAPHY FOR COMMUNICATION ARTS หลักการพื้นฐานในการถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพื่อใช้ในการสื่อความหมายจากผู้ส่งสารถึง ผู้รับสารให้เข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ของการถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งการฝึกปฏิบัติทั้งภายใน และ ภายนอกสถานที่ นศ.๒๑๒ การวิจัยทางนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖) CA.212 COMMUNICATION RESEARCH แนวคิด ความหมาย ความสําคัญ ประเภทและลักษณะทั่วไปเกี่ยวกับการวิจัยทางนิเทศศาสตร์ การออกแบบระเบียบวิธีวิจัยทางนิเทศศาสตร์ การตั้งสมมติฐาน ประเภทของข้อมูล การสร้างเครื่องมือการวิจัย การ ประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานวิจัย ตลอดจนศึกษาถึงแนวโน้มของการวิจัยทางนิเทศศาสตร์ นศ.๒๑๔ การวิเคราะห์ผู้รับสาร ๓(๓-๐-๖) CA.214 AUDIENCE ANALYSIS แนวคิด ทฤษฏี เพื่อการวิเคราะห์ผู้รับสาร ตามลักษณะทางโครงสร้างทางสังคม จิตวิทยา วิถีชีวิต การเมือง และวัฒนธรรม ตลอดจนวิเคราะห์พฤติกรรมการสื่อสารของผู้รับสารในมิติต่างๆ ที่สัมพันธ์กับ สื่อมวลชน เพื่อนําไปใช้ในงานด้านนิเทศศาสตร์ นศ.๓๐๐ ภาษาอังกฤษเพื่อนิเทศศาสตร์ ๓(๓-๐-๖) CA.300 ENGLISH FOR COMMUNICATION ARTS หลักการและรูปแบบการฟัง พูด อ่าน เขียน และแปล ข่าว ข้อความและบทความที่นําเสนอผ่านสื่อ ต่างๆ เพื่อนําไปใช้ในงานด้านนิเทศศาสตร์ กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า ๕๔ หน่วยกิต วท.๑๑๑ หลักวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.111 PRINCIPLES OF BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ประวัติและวิวัฒนาการ ระบบกระจายเสียง การแพร่ภาพ แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ อิทธิพลของการกระจายเสียงและแพร่ภาพในสังคมยุคข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการออกอากาศ การจัดรายการ และการแบ่งประเภทรายการ วท.๑๑๒ สุนทรียศาสตร์ในงานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.112 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA AESTHETICS พื้นฐานทางองค์ประกอบศิลป์ ศิลปะ ดนตรีและเสียงประกอบที่มีผลทางจิตวิทยา การผลิตเสียงเพลงและ ดนตรีประกอบ สําหรับประกอบการนําเสนอในรายการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล เพื่อนํามา ประยุกต์ใช้สอดคล้องกับรายการที่ทําให้กลุ่มเป้าหมายพึงพอใจในการรับชมรายการ
  • 22. วท.๒๑๑ การเขียนบทวิทยุ และโทรทัศน์ ๓(๓-๐-๖) BC.211 BROADCAST WRITING หลักการ วิธีการ และเทคนิคการเขียนบทสําหรับรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลประเภทต่างๆ โดยเน้น ความสําคัญกับการสร้างสรรค์รายการ การค้นคว้าข้อมูล ความคิดสร้างสรรค์ การใช้ภาษา การถ่ายทอดเรื่องราวด้วย ภาพและเสียงที่เหมาะสมกับผู้รับสารและรูปแบบรายการ การให้ความรู้และความบันเทิงแก่ผู้รับสาร ตลอดจนสร้าง ทักษะในการวิเคราะห์สาระสําคัญของบทรายการในแง่มุมต่างๆ วท.๒๑๒ การประกาศและการดําเนินรายการวิทยุและโทรทัศน์ ๓(๓-๐-๖) BC.212 BROADCAST ANNOUNCING AND PERFORMANCE วิธีการประกาศ การอ่านบทความ และสารคดี การอ่านข่าว การดําเนินรายการวิทยุโทรทัศน์ และสื่อ ออนไลน์ประเภทต่างๆ เทคนิคการใช้ไมโครโฟน การใช้น้ําเสียง การออกเสียงที่ถูกต้องตามหลักภาษา บุคลิกภาพของผู้ ประกาศและผู้ดําเนินรายการ รวมถึงฝึกหัดการเป็นผู้ประกาศรายการ นักจัดรายการวิทยุ วท.๒๑๓ การผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๑ ๓(๒-๒-๖) BC.213 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PRODUCTION 1 การวางแผนกระบวนการผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลเบื้องต้น ขั้นตอนการผลิตรายการ การคิดสร้างสรรค์รายการ การใช้เพลง เสียง และภาพอย่างมืออาชีพ โดยใช้อุปกรณ์ดิจิทัลที่ทันสมัย วท.๒๑๔ การบริหารและการจัดการธุรกิจวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.214 BUSINESS ADMINISTRATION FOR BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA MANAGEMENT การบริหาร การจัดการธุรกิจของสื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพในระบบต่างๆ อาทิ วิทยุ โทรทัศน์ วิทยุ ชุมชน เคเบิ้ลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม ฯลฯ โดยเน้นศึกษาการบริหารงาน กระบวนการจัดการตามลักษณะของ องค์กร ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงานทางธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและนโยบายในยุคปัจจุบัน วท.๒๑๕ การผลิตรายการวิทยุดิจิทัล ๓(๒-๒-๖) BC.215 DIGITAL RADIO PRODUCTION กระบวนการ เทคนิค และวิธีการผลิตรายการวิทยุดิจิทัล ขั้นพื้นฐาน ทั้งการเตรียมตัวก่อนการผลิต การผลิต และขั้นตอนหลังการผลิต ศึกษาประเภท รูปแบบรายการ การตัดต่อ และการผสมเสียง ตลอดจนฝึกผลิต รายการวิทยุดิจิทัล ประเภทต่างๆ วท.๓๑๑ ภาษาอังกฤษสําหรับวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.311 ENGLISH FOR BROADCASTING AND DIGITAL MEDIA การฟัง การอ่าน การเขียน และการรายงานข่าวภาษาอังกฤษ รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ที่นําเสนอ เป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งการสนทนาและการสัมภาษณ์ที่เกี่ยวข้องกับคําศัพท์ด้านนิเทศศาสตร์ วท.๓๑๒ การตัดต่อภาพเคลื่อนไหวในระบบคอมพิวเตอร์ ๓(๒-๒-๖) BC.312 EDITING ON THE COMPUTER SYSTEM การเลือกใช้โปรแกรม คุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการตัดต่อ การลําดับภาพเคลื่อนไหว แบบต่างๆ การใช้เทคนิค ตกแต่งภาพ เสียง และข้อความประกอบ เพื่องานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล
  • 23. วท.๓๑๓ การผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๒ ๓(๒-๒-๖) BC.313 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PRODUCTION 2 การวางแผน ออกแบบองค์ประกอบทางศิลปะในงานฉาก แสง การออกแบบ และการใช้สีสําหรับการผลิต รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลในห้องผลิตรายการ (Studio) และนอกสถานที่ (Outdoor) ฝึกปฏิบัติออกแบบ ฉากรายการด้านการจัดแสง สี และเสียง เทคนิค Chroma key, Video Wall, Laser mapping สามารถบูรณาการ และประยุกต์ใช้ในการผลิตรายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ วท.๓๑๔ คอมพิวเตอร์เพื่อการสร้างสรรค์ภาพทางโทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๒-๒-๖) BC.314 COMPUTER GRAPHIC FOR TELEVISION AND DIGITAL MEDIA การออกแบบงานโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างสรรค์งานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล โดยอาศัย คอมพิวเตอร์กราฟฟิก การสร้างฉากเสมือน การสร้างภาพด้วยเทคนิคพิเศษ และงานแอนนิเมชั่นเบื้องต้น วท.๓๑๕ วิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ๓(๒-๒-๖) BC.315 STREAMING PROGRAM กระบวนการผลิตรายการต่างๆบนอินเตอร์เน็ตทั้งรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์ ปฎิบัติการผลิตรายการ วิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคนิคการตัดต่อสําหรับนําไปใช้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม การใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการบริหารสถานีออนไลน์ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องรายการให้เป็นที่รู้จัก การนําไปประยุกต์ใช้ร่วมกับงานอื่นๆอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งศึกษากฏหมายลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องและจริยธรรมในงาน วิทยุโทรทัศน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วท.๓๑๖ การประยุกต์งานวิจัยในงานวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.316 APPLIED RESEARCH IN BROADCASTING เรียนรู้การค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล เพื่อนํามาประยุกต์เป็นโครงสร้าง รายการ ที่เน้นการนําความรู้เชิงทฤษฎีมาผลิตเป็นรายการที่ง่ายต่อความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งการ วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ชมรายการ การวิเคราะห์ช่องทางการออกอากาศ การประเมินผลสําเร็จของรายการเพื่อให้ การสร้างสรรค์รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัลประสบความสําเร็จตรงต่อความต้องการของผู้ชมรายการมากที่สุด วท.๓๑๗ การสื่อข่าวและเขียนข่าววิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.317 BROADCAST AND DIGITAL MEDIA NEWS REPORTING AND WRITING ทฤษฎีและหลักการในการสื่อข่าว เขียนข่าววิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล โดยศึกษากระบวนการแสวงหาข่าว การประเมินคุณค่า การกําหนดประเด็นข่าว การเขียนข่าวประเภทต่างๆ การรายงานข่าวทางวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ จริยธรรมและแนวปฏิบัติ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อข่าวและเขียนข่าว และการวิเคราะห์ ผลกระทบและคุณค่าของข่าวที่มีต่อสังคม วท.๔๑๑ การวิเคราะห์และวิจารณ์รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล ๓(๓-๐-๖) BC.411 ANALYSIS AND CRITICISM OF BROADCAST AND DIGITAL MEDIA PROGRAM การวิเคราะห์และวิจารณ์รายการวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประเด็นที่สําคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อใช้ในการผลิตรายการในยุคดิจิทัลให้ประสบ