SlideShare a Scribd company logo
Appreciative
Inquiry
A to Z
เรียนรู้ Appreciative Inquiry ศาสตร์สร้าง
การเปลี่ยนแปลงที่เน้นการค้นหาคำตอบเชิง
บวกกับทุกความท้าทาย ภายในสามสิบนาทีกับ
ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์
ผู้ก่อตั้งเครือข่าย AI Thailand
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
A=Appreciative Inquiry
การสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิง
บวก ผ่านกระบวนการการ
ค้นหาสิ่งดีๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ใน
ตัว คน ระบบ องค์กร สิ่ง
แวดล้อม เมื่อค้นพบแล้วก็นำ
ไปขยายผลสร้างการ
เปลี่ยนแปลง(David Cooperrider)
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
ถ่ายกับศาสตราจารย์เดวิด ผู้คิดค้น Appreciative Inquiry
B=Belief
Appreciative Inquiry อยู่บนความเชื่อ
หรือ สมมติฐานที่ ว่า”ทุกคน ทุกระบบ ทุก
องค์กรล้วนแล้วมีสิ่งดีๆ ซ่อนเร้น รอการ
ค้นพบอยู่” ถามว่าจริงไหม ในฐานะที่
ทำมามาก เจอมาจริงๆครับ จะใหญ่เล็ก
แค่ไหนเงินมากเงินน้อยมีปัญหาแค่ไหนก็
ยังมีเรื่องดีซ่อนเร้นอยู่ครับ เพียงเพราะ
ไม่มีใครถามเท่านั้นเอง เลยไม่ค่อยเจอ
ครับ เราชินกับการค้นหาปัญหาเอามา
ปลงกันมากกว่า แต่ปลดไม่ได้ เพราะไม่
หาคำตอบด้วย หรือหมดแรง หมดกำลัง
ใจหาไปก่อน คำตอบก็มาจากเรื่องดีๆ ที่
มีในองค์กรนั่นเอง ถ้าไม่มีก็ไปหาจาก
ข้างนอก ในสิ่งแวดล้อมก็จะมีแน่นอน
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
กับอาจารย์ที่ปรึกษา Dr. Rita
ตอนเรียนป.เอกทำ Thesis เรื่อง Appreciative Inquiry
C=Constructionist
เป็นหลักการสำคัญ คือ “เรากำหนด
ชะตากรรมเราเองได้ เราสร้าง และร่วม
สร้างหนทางใหม่ให้ตนเองได้” ตัวนี้
สำคัญมาก ถ้าเริ่มจากการค้นพบอะไร
ที่เป็นบวก สร้างฝันวิสัยทัศน์จากข้อมูล
เชิงบวก หรือจุดแข็ง เราจะ
เปลี่ยนแปลงอะไรก็ได้ นี่เป็นทัศนคติ
สำคัญมากๆ ที่จะค้นพบระหว่างทำ
Appreciatieve Inquiry เพราะ
คำถามเชิงบวก จะทำให้เจอเรื่องดีๆ ที่
ผู้ถามจะได้แนวทางเอาไปแก้ปัญหา
หรือสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆได้เอง และ
จะอยากทำด้วย
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
D= 4D Process
ขั้นตอนการทำ Appreciative Inquiry ขั้นพื้น
ฐานทำเป็นวงจรเรียกว่า 4D คือ
1. Discovery ตรงนี้ออกแบบคำถามเชิงบวก
แล้วถามกับกลุ่มเป้าหมาย อยากเปลี่ยนใคร
ถามคนนั้น อยากเปลี่ยนลูกค้าถามลูกค้า อยาก
เปลี่ยนคนในองค์กรถามคนในองค์กร
2. Dream นำข้อมูลที่ได้มาสรุปแล้ววาดฝันร่วม
กัน
3. Design มาออกแบบโครงการ กลยุทธ์เพื่อ
ทำฝันให้เป็นจริง
4. Destiny เลือกคน วิธีวัดผล กำหนดการและ
วิธีการทบทวน Change Commitee รวมทั้ง
ร่วมกันค้นหากลยุทธ์ลดแรงต้านก่อนลงสนาม
จริง
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
Source: http://www.tmiaust.com.au/what_we_do/appreciative_inquiry.htm
tm
E = Evidence-based
สิ่งที่ Appreciative Inquiry ต่างจาก
การคิดบวกคือ การเน้นที่การสืบค้นหา
หลักฐานเชิงบวก คือสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจริง
แล้วค่อยนำมาสร้างฝัน แผนการ ซึ่งคือ
การขยายผลนั่นเอง Appreciative
Inquiry จึงไม่ใช่การคิดบวกเท่านั้น
หรือชื่นชมเฉยๆ ต้องหาหลักฐานมา
ประกอบด้วย เช่นผมชอบสมาคม Thai
Coach เพราะเป็นสมาคมที่ทุกคนมาแชร์
ความรู้แบบไม่หวงมากๆ นี่คือ
Discovery เรื่องนี้เอาไปขยายผลได้
อยากทำให้สมาคมใดขยายตัว ต้อง
สร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
F= Frequency
ต้องเกิดบ่อยแค่ไหน ถึงจะนับว่าเป็น
เรื่องดีๆ ...คำตอบคือ แค่เคยเกิด
ขึ้นครั้งเดียวเมื่อนานมาแล้ว 50 ปี
ก่อน ก็ถือเป็นเรื่องดีๆ นำมาขยาย
ผลได้ ลูกศิษย์ผมไปเจอว่าคุณแม่ที่
เคยเป็นครูสอนภาษาไทย รู้สึกสอน
แล้วเด็กอ่านภาษาไทยได้เร็ว ก็เลย
เอาเทคนิกเมื่อ 30 ปีก่อนมาขยายผล
ปรากฏตอนนี้สามารถพัฒนา
หลักสูตรภาษาไทยสอนเด็กรุ่นใหม่
ได้ดีมากๆ จนขยายการสอนทำเป็น
Franchise ไปได้หลายแห่ง
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
G= Gauge
วัดผลอย่างไรเวลาทำ Appreciative
Inquiry วัดง่ายๆด้วย Kirkpatrik
Model คือเวลาทำๆไปต้องดู Reaction
ก่อนว่าคนตอบรับดีไหม ดูมีความสุขไหม
จากนั้นไม่พอต้องดูว่า Learning ไหมคือมี
การสอบถามเพื่อนำเอาไปใช้ไหม จากนั้น
ดูว่ามีการเปลี่ยนพฤติกรรมไหม
(Behavioral Change) และสุดท้ายดูว่า
KPI (Organisation Performacne) ดีชึ้น
ไหม ถ้าทุกอย่างไปในทางเดียวกัน การ
เปลี่ยนแปลงจะยั่งยืนกว่า ถ้าไม่เช่น KPI
ได้ แต่ไม่มีใครมาถามเพื่อนำไปใช้งานต่อ
(Learning) แสดงว่าต้องคิดใหม่ วางแผน
ปรับเปลี่ยนกระบวนการแล้ว
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
H= Happiness
เป็นโจทย์หนึ่งในการทำ Appreciative
Inquiry โดยเฉพาะการพัฒนา Happy
Workplace โดยเน้นการตั้งคำถามหา
ประสบการณ์เชิงบวกของคนในองค์กรผ่าน
มุมมองความสุขในเรื่องต่างๆ เช่น Happy
Brain ซึ่งเป็นเรื่องการพัฒนาตนเอง Happy
Family ความสุขกับครอบครัว Happy
Body เช่นผมเองแกว่งแขวนแบบคนจีน แล้ว
ดีมากๆ เพราะทำให้ยืนสอนได้นาน และ
นอนหลับดี ตรงนี้คนในองค์กรเมื่อรู้สึกว่าดี
ก็อยากขยายผลทำตาม ส่งผลให้คนใน
องค์กรลดความเครียดลง ทำงานได้ผลมาก
ขึ้น Happiness เป็นโจทย์ที่เอามาทำเรื่อง
การสร้างความผูกพันธ์ (Engagement) ได้
ด้วย)
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
I= Inclusion
การมีส่วนร่วมสำคัญมาก เน้น
คำว่า “ต้องได้ยินทุกเสียง หรือ
Every Voice is Heard” ทุก
คน ไม่ว่าจะเป็นคนในองค์กร
ลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย จะมีส่วน
ร่วมมาสร้างความสำเร็จที่
ยั่งยืนให้องค์กร
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
J=Joyfulness
การสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วย
Appreciative Inquiry ไม่ว่า
จะเป็นระดับเล็กๆ เช่น
Coachign จนถึง Large
Group (กลุ่มใหญ่ๆ เช่นทั้ง
องค์กร) จะดูว่ามาถูกทางหรือ
ไม่ก็ดูว่าขณะทำมีความสุขไหม
ถ้าไม่มีแสดงว่าผิดทาง
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
K= Knowledge Management
KM พูดถึงความรู้สองเรื่องคือ
Tacit Knowledge ความรู้จาก
ประสบการณ์ โดยเป็นกระบวน
การที่ดึง Tacit Knowledge มา
จัดเก็บแล้วเอามาใช้..
Appreciative Inquiry
เป็นการตั้งคำถามที่ช่วยดึง
Tacit ได้ดีมากๆ ดังนั้นเอา
Appreciative Inquiry มาใช้
ในช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เลย
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
L=Learning
Organisation
Appreciative Inquiry นำมาประยุกต์
สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ โดยช่วย
เปลี่ยน Mental Model สร้าง Shared
Vision และทำให้เกิด Systemic
Thinking ได้ เวลาถามเชิงบวก คน
ถามมักเกิดมุมมองใหม่ๆที่ต่างไปจาก
เดิม เคยให้เล่าประสบการณ์ที่ดีที่สุด มี
ลูกศิษย์เล่าเรื่องการไปต่างประเทศ
ทั้งๆที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ เลยทำให้
นักศึกษาอีกคนเกิดแรงบันดาลใจเกิด
มุมมองกล้าไปต่างประเทศ เพราะเดิม
เชื่อว่าตัวเองไม่มีวันทำได้
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
M=Management
การบริหารโครงการ Appreciative Inquiry
เรื่องนี้ก่อนทำโครงการต้องค้นหาสภาพที่
เหมาะสมก่อน พูดง่ายๆปลูกพืชต้องเตรียมดิน
ก่อน เพราะคนจะชอบคิดถึงปัญหาก่อน พอ
บอกให้หาเรื่องดีๆ บางที่ Anti แต่ต้น ก็ต้อง
ถามก่อนว่าถ้าจะเริ่มเปลี่ยนแปลงองค์กรเป้า
หมายควรเริ่มจากไหน เช่นองค์กรแห่งหนึ่ง
ชอบทำเรื่อง Talent Development ไม่เอา
เรื่องอื่น เราก็เอา Appreciative Inquiry ไป
เป็นกระบวนการหนึ่งในโครงการดังกล่าวโดย
ไม่พูดถึงว่ามันคือ Appreciative Inquiry แต่
แรก ที่สุดคนในองค์กรก็สนใจวิธีการนี้เอง
แล้วเรียกร้องให้ทำ เรื่องนี้ตรงๆ บางทีผู้บริหาร
ชอบงบประมาณมีตัวเลข เราก็จะผูกตัวเลข
เข้าไป เรียกว่าเตรียมตัวดีๆ ก็มีชัยแต่ต้นครับ
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
N=Number
ทำ Appreciative Inquiry ต้อง
ถามกี่คน ...ถามทุกคนครับ ถาม
ทุกคนที่เต็มใจจะให้ถาม จึงนับ
เป็นจำนวนไม่ได้ เพราะบาง
โครงการถามใครไม่ได้ก็ถามตัว
เองครับ คนเดียว แม้กระทั่งใน
ระดับป.เอก ที่เคยทำน้อยที่สุดก็
15 คนครับ เพราะมีเท่านั้น ไม่
ต้องเป็น 100 คนนะครับ ผมทำ 9
เดือน 30 คนนี่ก็มากแล้วครับ
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
O= Optimisation
ศาสตร์เดียวไม่พอครับ คนทำ
Appreciative Inquiry ควรศึกษา
ศาสตร์หลายๆ ศาสตร์ จะเกิดแนวคิด
ใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ จะทำให้การทำ
Appreciative Inquiry ของคุณ
กลมกล่อมมากขึ้น ศาสตร์ที่แนะนำได้แก่
จิตวิทยาบวก (Positive Psychology)
และศาสตร์อะไรก็ตามที่ลูกค้าคุณใช้อยู่
เช่นการตลาด การขายก็ต้องไปศึกษา
หาความรู้เพิ่มเติม คุณจะแตกฉานมาก
ขึ้น ผมเองก็ไปต่อด้านจิตวิทยาบวกมา
ทำให้เปิดมุมมอง เปิดตลาดใหม่ๆได้
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
P= Positive Deviance
วิธีการทำ Appreciative Inquiry
แบบหนึ่ง คือเวลาเจอปัญหา ให้
มองหาด้านตรงข้ามเลย โดยมัก
เป็นประเด็นเรื่องคน เช่นคนงาน
ทำงานช้า ก็ถามว่าใครทำงานได้
เร็วๆ ไปเจอในโรงงานตะเกียบ
พนักงานคนหนึ่งทำตะเกียบปริมาณ
เท่ากันเสร็จภายในบ่ายสอง ขณะที่
คนอื่นทำเสร็จ 5 โมงเย็น เราก็เอา
คนนี้ไปสอน เอาไปยกระดับการ
ทำงานของคนที่เหลือ
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
Q=Quality
จะดูว่าการทำ Appreciative Inquiry ของคุณให้มี
คุณภาพเชื่อถือได้หรือไม่ ใช้เกณฑ์ง่ายๆครับ
1. คนที่เราไปเชิญเข้ามาในโครงการรับรู้ความเป็นมา และ
เต็มใจไหม (Democratic Validity)
2. มีการวัดผลหลายทางไหม เช่นอาจสัมภาษณ์ก่อนหลัง
กับดู KPI หรือสังเกตร่วมไปด้วย (Process Validity)
3. เน้นการขยายผล ไม่ใช่ทำเป็นข้อเสนออย่างเดียว จะได้
สร้างการเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ไปในตัว (Outcome
Validity)
4. คนทำต้องหมั่นใคร่ครวญเรียนรู้ว่าอะไรที่ทำไปมีจุดอ่อน
จุดแข็งอย่างไร จะได้ปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น
(Catalytic Validty)
5. หมั่นสอบถามให้เพื่อน ผู้รู้ช่วยดูงานให้จะได้ไม่อคติ
ตีความเกินจริงไป (Dialogic Validty)
Ref: Action Research Dissertation
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
R=Resources
1. แหล่งเรียนรู้สำคัญในไทยดูได้ที่
www.aithailand.org
2. สถาบันการศึกษามีที่ทำมากๆ ที่ MBA
มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ Organisation
Development Programme (สอนป.โท
ป.เอกด้าน OD) ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
3. ถ้าเป็น Appreciative Coaching ไปที่
สมาคม Thai Coach Association
4. อีกที่ที่ Appreciative Inquiry Institute
หาใน Facebook จะเจอครับ
5. ในเอเชียที่เจ๋งๆ มีที่ SAIDI ของฟิลิปปินส์
นี่ก็ต้นตำหรับในเอเชียดีมากๆ
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
ถ่ายกับ Dr. Perla ผู้บุกเบิกศาสตร์ OD ในเอเชีย
อาจารย์เป็นที่ปรึกษาที่น่ารักมากตอนทำป.เอก
เป็นคนแนะนำให้ผมรู้จัก Appreciative Inquiry
S=SOAR Analysis
เป็นเครื่องมือพัฒนากลยุทธ์ที่ต่อยอด
มาจาก Appreciative Inquiry
ประกอบด้วยการร่วมกันค้นหา
Strengths จุดแข็ง Opportunities
โอกาส Aspiration วิสัยทัศน์
กลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน และ
Results (ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น วัด
ได้เป็นรูปธรรม) ตอนนี้เอามาทำโค้ช
ชิ่งก็ได้ พัฒนากลยุทธ์ก็ดีมากๆ
หน่วยงานที่ผมเริ่มเอาไปใช้ได้แก่
พระจอมเกล้า ลาดกระบัง KMITL
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
ถ่ายกับอาจารย์ Stravos ผู้คิดค้น SOAR Analysis
T=Time
ทำ Appreciative Inquiry ใช้เวลา
เท่าไหร่ ที่สั้นที่สุดก็ 10 วันครับ คือ
ค้นเจอเรื่องดีแล้วขยายผลเลย ไม่
ต้องพิธีการมาก สูตรนี้ผมพัฒนาขึ้น
มา Discovery แล้ว ขยายผลเลย
ไม่ต้องผ่านวงจร 4-D ก็ได้ แต่ยาวๆ
หลายปีก็มี เพราะคนทำนี่พอถามเชิง
บวกเป็น คราวนี้เลยกลายเป็นนิสัย
ไปเลย จะทำอะไรก็ค้นหาเรื่องดีมา
ทำ กลายเป็นนิสัยติดตัวไปเลย แต่
ถ้าเป็นทางการหน่อยผมแนะนำ
ประมาณ 6 เดือนครับ จะชัดมากๆ
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
U=Uniqueness
คำตอบที่ได้จากการถามมักเป็นประสบ
การร์เฉพาะตัว เอาไปใช้เลยจะได้หรือ
คำตอบคือ ได้ครับ เช่นไปหาหมอฟัน
คนไหนแล้วเจ็บน้อยมากๆ พอผมไป
บอกคนอื่นก็ได้ประสบการณ์คล้ายๆกัน
แต่หากถามด้วยจำนวนมากพอ เช่น 30
คนขึ้น หลายๆคำตอบจะกลายเป็นคำ
ตอบที่มีลักษณะร่วมจนสรุปเช่น ร้านที่
คนชอบตอนนี้ทำมาหลายพันคน จะ
ตอบเหมือนกันว่า “เอาใจใส่” เหมือนๆ
กัน ถ้าเจออะไรที่เหมือนๆ กันตรงนี้เอา
มาต่อยอดทำวิสัยทัศน์ ค่านิยมองค์กร
และพันธกิจได้
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
V= Voice
พยายามมองหาเสียงที่คนปรกติไม่
ได้ยิน เช่นความลำบากของลูกค้า
ในวัยต่างๆ หรือความลำบากคน
ของคนในองค์กร เช่นพนักงานใน
บริษัทหนึ่งสงสารเพื่อนที่ต้องยกถัง
แก๊สบ่อยครับจนหลังมีปัญหา เลย
เอามาเป็นโจทย์ แล้วมาค้นหาว่าที่
ไหนมีวิธีการที่ทำให้ไม่เจ็บหลังบ้าง
เลยไปเจอวิธีการในโรงงานเอง
ทำให้ลดการยกถังแก๊สขึ้นลงไป
8,000 ครั้งต่อไป
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
W= What’s the World
Calling for?
เวลาเราขยายผลในระดับวิสัย
ทัศน์ไม่ใช่สร้างฝันว่าองค์กรจะ
เป็นที่หนึ่งหรือองค์กรจะเอาอะไร
ให้เน้นว่าองค์กรของเราจะมอบส่ิ
งดีๆ อะไรให้โลกใบนี้ เน้นการให้
มากกว่ารับ
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
X=Exclusion
ใครที่ไม่ควรทำ Appreciative Inquiry คำ
ตอบคือคนที่ยังไม่พร้อม ถ้าเขาไม่พร้อมก็ไม่
ต้องบังคับ ทุกคนมีหนทางของตัวเอง หรือ
เช่นมีคำถามว่าถ้าตอนคนกำลังป่วยหนัก
ต้องให้ผ่าตัดหรือทำ Appreciative
Inquiry (เจอถามจริง) คำตอบก็ต้องเป็น
ผ่าตัด แต่หมอกับพยาบาลสามารถมานั่งคุย
กันเพื่อค้นหาวิธการดูแลคนไข้ที่ดีที่สุดได้
เพื่อนำมาพัฒนาระบบการดูแลคนไข้ที่ได้ผล
ดีกว่า ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า หรือเอาไปเป็น
เครื่องมือช่วยทำ KM ให้โรงพยาบาลได้
กลมกล่อมมากขึ้น (ปีที่แล้วไปมากว่า 8 โรง
พยาบาล รวมทั้งสมาคมแพทย์สตรี) มีช่อง
ทางใช้ Apprecitive Inquiry มากครับ
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
Y= Why
การถามคำถามแบบ
Appreciative Inquiry
พยายามหลีกเลี่ยงคำว่า
“ทำไม” เพราะเราเน้นหา
ประสบการณ์ตรง ไม่ใช่เหตุผล
เพราะพอถามเหตุผลก่อนมักจะ
ได้คำตอบที่เจืออคติมา จนเอา
ไปขยายผลไม่ได้ ให้บอกให้
คนเล่าเล่าละเอียดเป็นฉากๆ ดี
กว่าจะได้ประสบการณ์ตรง
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
Z= Zero
การที่ไม่มีใครบ่น ไม่มีใครพูดอาจไม่ได้
หมายถึงว่าไม่มีปัญหา เช่นมีลูกศิษย์ผมลอง
ถามโดยเริ่มที่ Dream ว่าฝันอยากได้อะไร
พนักงานบอกว่าอยากกลับบ้านเร็วขึ้น
เพราะตอนนี้เลิกงานสองทุ่มทุกวัน ที่สุดก็เอา
มาเป็นโจทย์ ก็ค้นพบว่าในงานบางงานมีคน
ทำได้เร็ว ได้ดีกว่า ก็นำมาขยายผล จนลด
ขั้นตอนได้ใน 4 เดือน แล้วสามารถกลับบ้าน
ได้ไม่เกิน 5 โมงเย็นได้จริงๆ เพราะฉะนั้น
เราไม่ได้สอนให้หนีปัญหา ปัญหาคือโจทย์
แต่ไม่ใช่คำตอบ เพราะฉะนั้นได้โจทย์มาก็
อย่าเพิ่งมาคิดมากว่าทำไมถึงเกิดปัญหา
ที่สุดจะโทษกันจนวงแตก เราจะเอามาตั้ง
โจทย์ค้นหาประสบการณ์เชิงบวก เพื่อแก้
ปัญหาเลย เปลี่ยนปัญหาเป็นปัญญา
© โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org

More Related Content

Similar to Appreciative Inquiry A-Z

รายงานทฤษฎีการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดองค์การโดยใช้หลักการการจ...
รายงานทฤษฎีการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดองค์การโดยใช้หลักการการจ...รายงานทฤษฎีการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดองค์การโดยใช้หลักการการจ...
รายงานทฤษฎีการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดองค์การโดยใช้หลักการการจ...นิพ พิทา
 
H aforum21
H aforum21H aforum21
H aforum21
Pattie Pattie
 
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการCh1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
Nittaya Intarat
 
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้Tawanat Ruamphan
 
เล่ม 2 ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นการทดลองทางวิทยาศาสตร์
เล่ม 2 ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นการทดลองทางวิทยาศาสตร์เล่ม 2 ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นการทดลองทางวิทยาศาสตร์
เล่ม 2 ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นการทดลองทางวิทยาศาสตร์Ausa Suradech
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Rorsed Mardra
 
ทฤษฎีของเฟียเจท์ 1
ทฤษฎีของเฟียเจท์ 1ทฤษฎีของเฟียเจท์ 1
ทฤษฎีของเฟียเจท์ 1NusaiMath
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Rorsed Mardra
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1ya035
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1ya035
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1pattamasatun
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Yee022
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1Rorsed Mardra
 
เฟ ยเจท 1
เฟ ยเจท  1เฟ ยเจท  1
เฟ ยเจท 1ya035
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1New Born
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1ya035
 
คิดอย่างฉลาด Get smart
 คิดอย่างฉลาด Get smart คิดอย่างฉลาด Get smart
คิดอย่างฉลาด Get smart
maruay songtanin
 
ทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ Innovator’s way
ทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ Innovator’s way ทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ Innovator’s way
ทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ Innovator’s way
maruay songtanin
 
ทรรศนะ2
ทรรศนะ2ทรรศนะ2
ทรรศนะ2krubuatoom
 

Similar to Appreciative Inquiry A-Z (20)

รายงานทฤษฎีการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดองค์การโดยใช้หลักการการจ...
รายงานทฤษฎีการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดองค์การโดยใช้หลักการการจ...รายงานทฤษฎีการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดองค์การโดยใช้หลักการการจ...
รายงานทฤษฎีการบริหาร องค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดองค์การโดยใช้หลักการการจ...
 
H aforum21
H aforum21H aforum21
H aforum21
 
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการCh1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
Ch1 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการ
 
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้และทฤษฎีการเรียนรู้
 
เล่ม 2 ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นการทดลองทางวิทยาศาสตร์
เล่ม 2 ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นการทดลองทางวิทยาศาสตร์เล่ม 2 ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นการทดลองทางวิทยาศาสตร์
เล่ม 2 ตอนที่ 1 ความรู้เบื้องต้นการทดลองทางวิทยาศาสตร์
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
ทฤษฎีของเฟียเจท์ 1
ทฤษฎีของเฟียเจท์ 1ทฤษฎีของเฟียเจท์ 1
ทฤษฎีของเฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟ ยเจท 1
เฟ ยเจท  1เฟ ยเจท  1
เฟ ยเจท 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
คิดอย่างฉลาด Get smart
 คิดอย่างฉลาด Get smart คิดอย่างฉลาด Get smart
คิดอย่างฉลาด Get smart
 
ทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ Innovator’s way
ทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ Innovator’s way ทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ Innovator’s way
ทำนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ Innovator’s way
 
ทรรศนะ2
ทรรศนะ2ทรรศนะ2
ทรรศนะ2
 

Appreciative Inquiry A-Z

  • 1. Appreciative Inquiry A to Z เรียนรู้ Appreciative Inquiry ศาสตร์สร้าง การเปลี่ยนแปลงที่เน้นการค้นหาคำตอบเชิง บวกกับทุกความท้าทาย ภายในสามสิบนาทีกับ ดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ ผู้ก่อตั้งเครือข่าย AI Thailand © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 2. A=Appreciative Inquiry การสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิง บวก ผ่านกระบวนการการ ค้นหาสิ่งดีๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ใน ตัว คน ระบบ องค์กร สิ่ง แวดล้อม เมื่อค้นพบแล้วก็นำ ไปขยายผลสร้างการ เปลี่ยนแปลง(David Cooperrider) © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org ถ่ายกับศาสตราจารย์เดวิด ผู้คิดค้น Appreciative Inquiry
  • 3. B=Belief Appreciative Inquiry อยู่บนความเชื่อ หรือ สมมติฐานที่ ว่า”ทุกคน ทุกระบบ ทุก องค์กรล้วนแล้วมีสิ่งดีๆ ซ่อนเร้น รอการ ค้นพบอยู่” ถามว่าจริงไหม ในฐานะที่ ทำมามาก เจอมาจริงๆครับ จะใหญ่เล็ก แค่ไหนเงินมากเงินน้อยมีปัญหาแค่ไหนก็ ยังมีเรื่องดีซ่อนเร้นอยู่ครับ เพียงเพราะ ไม่มีใครถามเท่านั้นเอง เลยไม่ค่อยเจอ ครับ เราชินกับการค้นหาปัญหาเอามา ปลงกันมากกว่า แต่ปลดไม่ได้ เพราะไม่ หาคำตอบด้วย หรือหมดแรง หมดกำลัง ใจหาไปก่อน คำตอบก็มาจากเรื่องดีๆ ที่ มีในองค์กรนั่นเอง ถ้าไม่มีก็ไปหาจาก ข้างนอก ในสิ่งแวดล้อมก็จะมีแน่นอน © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org กับอาจารย์ที่ปรึกษา Dr. Rita ตอนเรียนป.เอกทำ Thesis เรื่อง Appreciative Inquiry
  • 4. C=Constructionist เป็นหลักการสำคัญ คือ “เรากำหนด ชะตากรรมเราเองได้ เราสร้าง และร่วม สร้างหนทางใหม่ให้ตนเองได้” ตัวนี้ สำคัญมาก ถ้าเริ่มจากการค้นพบอะไร ที่เป็นบวก สร้างฝันวิสัยทัศน์จากข้อมูล เชิงบวก หรือจุดแข็ง เราจะ เปลี่ยนแปลงอะไรก็ได้ นี่เป็นทัศนคติ สำคัญมากๆ ที่จะค้นพบระหว่างทำ Appreciatieve Inquiry เพราะ คำถามเชิงบวก จะทำให้เจอเรื่องดีๆ ที่ ผู้ถามจะได้แนวทางเอาไปแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆได้เอง และ จะอยากทำด้วย © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 5. D= 4D Process ขั้นตอนการทำ Appreciative Inquiry ขั้นพื้น ฐานทำเป็นวงจรเรียกว่า 4D คือ 1. Discovery ตรงนี้ออกแบบคำถามเชิงบวก แล้วถามกับกลุ่มเป้าหมาย อยากเปลี่ยนใคร ถามคนนั้น อยากเปลี่ยนลูกค้าถามลูกค้า อยาก เปลี่ยนคนในองค์กรถามคนในองค์กร 2. Dream นำข้อมูลที่ได้มาสรุปแล้ววาดฝันร่วม กัน 3. Design มาออกแบบโครงการ กลยุทธ์เพื่อ ทำฝันให้เป็นจริง 4. Destiny เลือกคน วิธีวัดผล กำหนดการและ วิธีการทบทวน Change Commitee รวมทั้ง ร่วมกันค้นหากลยุทธ์ลดแรงต้านก่อนลงสนาม จริง © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org Source: http://www.tmiaust.com.au/what_we_do/appreciative_inquiry.htm tm
  • 6. E = Evidence-based สิ่งที่ Appreciative Inquiry ต่างจาก การคิดบวกคือ การเน้นที่การสืบค้นหา หลักฐานเชิงบวก คือสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจริง แล้วค่อยนำมาสร้างฝัน แผนการ ซึ่งคือ การขยายผลนั่นเอง Appreciative Inquiry จึงไม่ใช่การคิดบวกเท่านั้น หรือชื่นชมเฉยๆ ต้องหาหลักฐานมา ประกอบด้วย เช่นผมชอบสมาคม Thai Coach เพราะเป็นสมาคมที่ทุกคนมาแชร์ ความรู้แบบไม่หวงมากๆ นี่คือ Discovery เรื่องนี้เอาไปขยายผลได้ อยากทำให้สมาคมใดขยายตัว ต้อง สร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้ © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 7. F= Frequency ต้องเกิดบ่อยแค่ไหน ถึงจะนับว่าเป็น เรื่องดีๆ ...คำตอบคือ แค่เคยเกิด ขึ้นครั้งเดียวเมื่อนานมาแล้ว 50 ปี ก่อน ก็ถือเป็นเรื่องดีๆ นำมาขยาย ผลได้ ลูกศิษย์ผมไปเจอว่าคุณแม่ที่ เคยเป็นครูสอนภาษาไทย รู้สึกสอน แล้วเด็กอ่านภาษาไทยได้เร็ว ก็เลย เอาเทคนิกเมื่อ 30 ปีก่อนมาขยายผล ปรากฏตอนนี้สามารถพัฒนา หลักสูตรภาษาไทยสอนเด็กรุ่นใหม่ ได้ดีมากๆ จนขยายการสอนทำเป็น Franchise ไปได้หลายแห่ง © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 8. G= Gauge วัดผลอย่างไรเวลาทำ Appreciative Inquiry วัดง่ายๆด้วย Kirkpatrik Model คือเวลาทำๆไปต้องดู Reaction ก่อนว่าคนตอบรับดีไหม ดูมีความสุขไหม จากนั้นไม่พอต้องดูว่า Learning ไหมคือมี การสอบถามเพื่อนำเอาไปใช้ไหม จากนั้น ดูว่ามีการเปลี่ยนพฤติกรรมไหม (Behavioral Change) และสุดท้ายดูว่า KPI (Organisation Performacne) ดีชึ้น ไหม ถ้าทุกอย่างไปในทางเดียวกัน การ เปลี่ยนแปลงจะยั่งยืนกว่า ถ้าไม่เช่น KPI ได้ แต่ไม่มีใครมาถามเพื่อนำไปใช้งานต่อ (Learning) แสดงว่าต้องคิดใหม่ วางแผน ปรับเปลี่ยนกระบวนการแล้ว © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 9. H= Happiness เป็นโจทย์หนึ่งในการทำ Appreciative Inquiry โดยเฉพาะการพัฒนา Happy Workplace โดยเน้นการตั้งคำถามหา ประสบการณ์เชิงบวกของคนในองค์กรผ่าน มุมมองความสุขในเรื่องต่างๆ เช่น Happy Brain ซึ่งเป็นเรื่องการพัฒนาตนเอง Happy Family ความสุขกับครอบครัว Happy Body เช่นผมเองแกว่งแขวนแบบคนจีน แล้ว ดีมากๆ เพราะทำให้ยืนสอนได้นาน และ นอนหลับดี ตรงนี้คนในองค์กรเมื่อรู้สึกว่าดี ก็อยากขยายผลทำตาม ส่งผลให้คนใน องค์กรลดความเครียดลง ทำงานได้ผลมาก ขึ้น Happiness เป็นโจทย์ที่เอามาทำเรื่อง การสร้างความผูกพันธ์ (Engagement) ได้ ด้วย) © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 10. I= Inclusion การมีส่วนร่วมสำคัญมาก เน้น คำว่า “ต้องได้ยินทุกเสียง หรือ Every Voice is Heard” ทุก คน ไม่ว่าจะเป็นคนในองค์กร ลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย จะมีส่วน ร่วมมาสร้างความสำเร็จที่ ยั่งยืนให้องค์กร © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 11. J=Joyfulness การสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วย Appreciative Inquiry ไม่ว่า จะเป็นระดับเล็กๆ เช่น Coachign จนถึง Large Group (กลุ่มใหญ่ๆ เช่นทั้ง องค์กร) จะดูว่ามาถูกทางหรือ ไม่ก็ดูว่าขณะทำมีความสุขไหม ถ้าไม่มีแสดงว่าผิดทาง © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 12. K= Knowledge Management KM พูดถึงความรู้สองเรื่องคือ Tacit Knowledge ความรู้จาก ประสบการณ์ โดยเป็นกระบวน การที่ดึง Tacit Knowledge มา จัดเก็บแล้วเอามาใช้.. Appreciative Inquiry เป็นการตั้งคำถามที่ช่วยดึง Tacit ได้ดีมากๆ ดังนั้นเอา Appreciative Inquiry มาใช้ ในช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เลย © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 13. L=Learning Organisation Appreciative Inquiry นำมาประยุกต์ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ โดยช่วย เปลี่ยน Mental Model สร้าง Shared Vision และทำให้เกิด Systemic Thinking ได้ เวลาถามเชิงบวก คน ถามมักเกิดมุมมองใหม่ๆที่ต่างไปจาก เดิม เคยให้เล่าประสบการณ์ที่ดีที่สุด มี ลูกศิษย์เล่าเรื่องการไปต่างประเทศ ทั้งๆที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ เลยทำให้ นักศึกษาอีกคนเกิดแรงบันดาลใจเกิด มุมมองกล้าไปต่างประเทศ เพราะเดิม เชื่อว่าตัวเองไม่มีวันทำได้ © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 14. M=Management การบริหารโครงการ Appreciative Inquiry เรื่องนี้ก่อนทำโครงการต้องค้นหาสภาพที่ เหมาะสมก่อน พูดง่ายๆปลูกพืชต้องเตรียมดิน ก่อน เพราะคนจะชอบคิดถึงปัญหาก่อน พอ บอกให้หาเรื่องดีๆ บางที่ Anti แต่ต้น ก็ต้อง ถามก่อนว่าถ้าจะเริ่มเปลี่ยนแปลงองค์กรเป้า หมายควรเริ่มจากไหน เช่นองค์กรแห่งหนึ่ง ชอบทำเรื่อง Talent Development ไม่เอา เรื่องอื่น เราก็เอา Appreciative Inquiry ไป เป็นกระบวนการหนึ่งในโครงการดังกล่าวโดย ไม่พูดถึงว่ามันคือ Appreciative Inquiry แต่ แรก ที่สุดคนในองค์กรก็สนใจวิธีการนี้เอง แล้วเรียกร้องให้ทำ เรื่องนี้ตรงๆ บางทีผู้บริหาร ชอบงบประมาณมีตัวเลข เราก็จะผูกตัวเลข เข้าไป เรียกว่าเตรียมตัวดีๆ ก็มีชัยแต่ต้นครับ © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 15. N=Number ทำ Appreciative Inquiry ต้อง ถามกี่คน ...ถามทุกคนครับ ถาม ทุกคนที่เต็มใจจะให้ถาม จึงนับ เป็นจำนวนไม่ได้ เพราะบาง โครงการถามใครไม่ได้ก็ถามตัว เองครับ คนเดียว แม้กระทั่งใน ระดับป.เอก ที่เคยทำน้อยที่สุดก็ 15 คนครับ เพราะมีเท่านั้น ไม่ ต้องเป็น 100 คนนะครับ ผมทำ 9 เดือน 30 คนนี่ก็มากแล้วครับ © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 16. O= Optimisation ศาสตร์เดียวไม่พอครับ คนทำ Appreciative Inquiry ควรศึกษา ศาสตร์หลายๆ ศาสตร์ จะเกิดแนวคิด ใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ จะทำให้การทำ Appreciative Inquiry ของคุณ กลมกล่อมมากขึ้น ศาสตร์ที่แนะนำได้แก่ จิตวิทยาบวก (Positive Psychology) และศาสตร์อะไรก็ตามที่ลูกค้าคุณใช้อยู่ เช่นการตลาด การขายก็ต้องไปศึกษา หาความรู้เพิ่มเติม คุณจะแตกฉานมาก ขึ้น ผมเองก็ไปต่อด้านจิตวิทยาบวกมา ทำให้เปิดมุมมอง เปิดตลาดใหม่ๆได้ © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 17. P= Positive Deviance วิธีการทำ Appreciative Inquiry แบบหนึ่ง คือเวลาเจอปัญหา ให้ มองหาด้านตรงข้ามเลย โดยมัก เป็นประเด็นเรื่องคน เช่นคนงาน ทำงานช้า ก็ถามว่าใครทำงานได้ เร็วๆ ไปเจอในโรงงานตะเกียบ พนักงานคนหนึ่งทำตะเกียบปริมาณ เท่ากันเสร็จภายในบ่ายสอง ขณะที่ คนอื่นทำเสร็จ 5 โมงเย็น เราก็เอา คนนี้ไปสอน เอาไปยกระดับการ ทำงานของคนที่เหลือ © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 18. Q=Quality จะดูว่าการทำ Appreciative Inquiry ของคุณให้มี คุณภาพเชื่อถือได้หรือไม่ ใช้เกณฑ์ง่ายๆครับ 1. คนที่เราไปเชิญเข้ามาในโครงการรับรู้ความเป็นมา และ เต็มใจไหม (Democratic Validity) 2. มีการวัดผลหลายทางไหม เช่นอาจสัมภาษณ์ก่อนหลัง กับดู KPI หรือสังเกตร่วมไปด้วย (Process Validity) 3. เน้นการขยายผล ไม่ใช่ทำเป็นข้อเสนออย่างเดียว จะได้ สร้างการเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ไปในตัว (Outcome Validity) 4. คนทำต้องหมั่นใคร่ครวญเรียนรู้ว่าอะไรที่ทำไปมีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร จะได้ปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น (Catalytic Validty) 5. หมั่นสอบถามให้เพื่อน ผู้รู้ช่วยดูงานให้จะได้ไม่อคติ ตีความเกินจริงไป (Dialogic Validty) Ref: Action Research Dissertation © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 19. R=Resources 1. แหล่งเรียนรู้สำคัญในไทยดูได้ที่ www.aithailand.org 2. สถาบันการศึกษามีที่ทำมากๆ ที่ MBA มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ Organisation Development Programme (สอนป.โท ป.เอกด้าน OD) ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 3. ถ้าเป็น Appreciative Coaching ไปที่ สมาคม Thai Coach Association 4. อีกที่ที่ Appreciative Inquiry Institute หาใน Facebook จะเจอครับ 5. ในเอเชียที่เจ๋งๆ มีที่ SAIDI ของฟิลิปปินส์ นี่ก็ต้นตำหรับในเอเชียดีมากๆ © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org ถ่ายกับ Dr. Perla ผู้บุกเบิกศาสตร์ OD ในเอเชีย อาจารย์เป็นที่ปรึกษาที่น่ารักมากตอนทำป.เอก เป็นคนแนะนำให้ผมรู้จัก Appreciative Inquiry
  • 20. S=SOAR Analysis เป็นเครื่องมือพัฒนากลยุทธ์ที่ต่อยอด มาจาก Appreciative Inquiry ประกอบด้วยการร่วมกันค้นหา Strengths จุดแข็ง Opportunities โอกาส Aspiration วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน และ Results (ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น วัด ได้เป็นรูปธรรม) ตอนนี้เอามาทำโค้ช ชิ่งก็ได้ พัฒนากลยุทธ์ก็ดีมากๆ หน่วยงานที่ผมเริ่มเอาไปใช้ได้แก่ พระจอมเกล้า ลาดกระบัง KMITL © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org ถ่ายกับอาจารย์ Stravos ผู้คิดค้น SOAR Analysis
  • 21. T=Time ทำ Appreciative Inquiry ใช้เวลา เท่าไหร่ ที่สั้นที่สุดก็ 10 วันครับ คือ ค้นเจอเรื่องดีแล้วขยายผลเลย ไม่ ต้องพิธีการมาก สูตรนี้ผมพัฒนาขึ้น มา Discovery แล้ว ขยายผลเลย ไม่ต้องผ่านวงจร 4-D ก็ได้ แต่ยาวๆ หลายปีก็มี เพราะคนทำนี่พอถามเชิง บวกเป็น คราวนี้เลยกลายเป็นนิสัย ไปเลย จะทำอะไรก็ค้นหาเรื่องดีมา ทำ กลายเป็นนิสัยติดตัวไปเลย แต่ ถ้าเป็นทางการหน่อยผมแนะนำ ประมาณ 6 เดือนครับ จะชัดมากๆ © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 22. U=Uniqueness คำตอบที่ได้จากการถามมักเป็นประสบ การร์เฉพาะตัว เอาไปใช้เลยจะได้หรือ คำตอบคือ ได้ครับ เช่นไปหาหมอฟัน คนไหนแล้วเจ็บน้อยมากๆ พอผมไป บอกคนอื่นก็ได้ประสบการณ์คล้ายๆกัน แต่หากถามด้วยจำนวนมากพอ เช่น 30 คนขึ้น หลายๆคำตอบจะกลายเป็นคำ ตอบที่มีลักษณะร่วมจนสรุปเช่น ร้านที่ คนชอบตอนนี้ทำมาหลายพันคน จะ ตอบเหมือนกันว่า “เอาใจใส่” เหมือนๆ กัน ถ้าเจออะไรที่เหมือนๆ กันตรงนี้เอา มาต่อยอดทำวิสัยทัศน์ ค่านิยมองค์กร และพันธกิจได้ © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 23. V= Voice พยายามมองหาเสียงที่คนปรกติไม่ ได้ยิน เช่นความลำบากของลูกค้า ในวัยต่างๆ หรือความลำบากคน ของคนในองค์กร เช่นพนักงานใน บริษัทหนึ่งสงสารเพื่อนที่ต้องยกถัง แก๊สบ่อยครับจนหลังมีปัญหา เลย เอามาเป็นโจทย์ แล้วมาค้นหาว่าที่ ไหนมีวิธีการที่ทำให้ไม่เจ็บหลังบ้าง เลยไปเจอวิธีการในโรงงานเอง ทำให้ลดการยกถังแก๊สขึ้นลงไป 8,000 ครั้งต่อไป © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 24. W= What’s the World Calling for? เวลาเราขยายผลในระดับวิสัย ทัศน์ไม่ใช่สร้างฝันว่าองค์กรจะ เป็นที่หนึ่งหรือองค์กรจะเอาอะไร ให้เน้นว่าองค์กรของเราจะมอบส่ิ งดีๆ อะไรให้โลกใบนี้ เน้นการให้ มากกว่ารับ © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 25. X=Exclusion ใครที่ไม่ควรทำ Appreciative Inquiry คำ ตอบคือคนที่ยังไม่พร้อม ถ้าเขาไม่พร้อมก็ไม่ ต้องบังคับ ทุกคนมีหนทางของตัวเอง หรือ เช่นมีคำถามว่าถ้าตอนคนกำลังป่วยหนัก ต้องให้ผ่าตัดหรือทำ Appreciative Inquiry (เจอถามจริง) คำตอบก็ต้องเป็น ผ่าตัด แต่หมอกับพยาบาลสามารถมานั่งคุย กันเพื่อค้นหาวิธการดูแลคนไข้ที่ดีที่สุดได้ เพื่อนำมาพัฒนาระบบการดูแลคนไข้ที่ได้ผล ดีกว่า ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า หรือเอาไปเป็น เครื่องมือช่วยทำ KM ให้โรงพยาบาลได้ กลมกล่อมมากขึ้น (ปีที่แล้วไปมากว่า 8 โรง พยาบาล รวมทั้งสมาคมแพทย์สตรี) มีช่อง ทางใช้ Apprecitive Inquiry มากครับ © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 26. Y= Why การถามคำถามแบบ Appreciative Inquiry พยายามหลีกเลี่ยงคำว่า “ทำไม” เพราะเราเน้นหา ประสบการณ์ตรง ไม่ใช่เหตุผล เพราะพอถามเหตุผลก่อนมักจะ ได้คำตอบที่เจืออคติมา จนเอา ไปขยายผลไม่ได้ ให้บอกให้ คนเล่าเล่าละเอียดเป็นฉากๆ ดี กว่าจะได้ประสบการณ์ตรง © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org
  • 27. Z= Zero การที่ไม่มีใครบ่น ไม่มีใครพูดอาจไม่ได้ หมายถึงว่าไม่มีปัญหา เช่นมีลูกศิษย์ผมลอง ถามโดยเริ่มที่ Dream ว่าฝันอยากได้อะไร พนักงานบอกว่าอยากกลับบ้านเร็วขึ้น เพราะตอนนี้เลิกงานสองทุ่มทุกวัน ที่สุดก็เอา มาเป็นโจทย์ ก็ค้นพบว่าในงานบางงานมีคน ทำได้เร็ว ได้ดีกว่า ก็นำมาขยายผล จนลด ขั้นตอนได้ใน 4 เดือน แล้วสามารถกลับบ้าน ได้ไม่เกิน 5 โมงเย็นได้จริงๆ เพราะฉะนั้น เราไม่ได้สอนให้หนีปัญหา ปัญหาคือโจทย์ แต่ไม่ใช่คำตอบ เพราะฉะนั้นได้โจทย์มาก็ อย่าเพิ่งมาคิดมากว่าทำไมถึงเกิดปัญหา ที่สุดจะโทษกันจนวงแตก เราจะเอามาตั้ง โจทย์ค้นหาประสบการณ์เชิงบวก เพื่อแก้ ปัญหาเลย เปลี่ยนปัญหาเป็นปัญญา © โดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์ www.aithailand.org