SlideShare a Scribd company logo
ร
รุ่นสาว-รุ่นหนุ่มร
เที่ยวเพลิน เลิร์นรอบโลก
ณราดา ดิษยบุตร
๓๐๖
ร
ร้อยดาว นวมินทร์
บ้านอื่นอาจเที่ยวเอาเพลิน แต่บ้าน
นี้ขอเที่ยวเพื่อ Learn การเดินทาง
ไปประเทศเนปาล อันเป็นจุดเริ่มต้น
ของหนังสือ ‘แผ่นดินสะท้าน หัวใจ
สะเทือน’ของ ‘แปม-ณราดา ดิษยบุตร’
ขณะเธออายุเพียง ๑๕ ปีเล่มนี้ จุด
เริ่มต้นอันแท้จริงเกิดขึ้นเมื่อ ๒๐ ปี
ที่แล้ว
	 ปีพ.ศ.๒๕๓๙ คุณพ่อและคุณแม่
ของเธอ ‘นรรัตน์-ธนิดา ดิษยบุตร’ ซึ่ง
ยังไม่ได้รับสถานะคุณพ่อคุณแม่ ทั้งคู่
เดินทางไปเที่ยวประเทศเนปาลด้วยกัน
ในฐานะคนรัก แน่นอนว่าเขาทั้งคู่ตกหลุม
รักเนปาลเต็มหัวใจ
	 เพราะในเวลานั้นต่างทำ�งานในฐานะ
สื่อมวลชนทั้งคู่ คุณธนิดาเลือกที่จะบันทึก
ความประทับใจนั้น ผ่านบทความ ประ
กอบกับภาพถ่ายฝีมือคุณนรรัตน์ ใน
ฐานะช่างภาพมืออาชีพ ตีพิมพ์ลงนิตยสาร
ฉบับหนึ่ง เขาตั้งนามปากการ่วมกันว่า
‘ณราดา’
	 ไม่นาน นามปากกานั้นก็กลายเป็น
ลูกสาวคนโตของครอบครัวคนนี้ โดยมี
สนธิสัญญาระหว่างเราว่า จะต้องพาลูก
ณราดากลับไปเยือนเนปาลที่รักให้จงได้
วันเวลาผ่านไป ทำ�ให้สมาชิกเพิ่มอีกสอง
คือน้องสาวฝาแฝด ‘ปุ้น-นลัท และปั้น-
นภัส ดิษยบุตร’
	 ปัจจุบัน คุณนรรัตน์ ดิษยบุตร
ทำ�งานเป็นหัวหน้าทีมช่างภาพ หนังสือ
พิมพ์ผู้จัดการ ส่วนคุณธนิดา ดิษยบุตร
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมและการ
บริหารจัดการแรงงาน
	 การเดินทางไปเนปาลของ ๕ คน
พ่อแม่ลูกตลอด ๑๓ วันในครั้งนี้ แม้
เจ้าบ้านจะไม่งดงามดังเดิม แต่ความ
เมตตาจิตในใจกลับงดงามยิ่งกว่า เพราะ
เจตนารมณ์หลักคือการทำ�หนังสือ‘แผ่นดิน
สะท้าน หัวใจสะเทือน’ บันทึกเรื่องราว
ของเนปาลหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่
เขียนโดยเด็กสาววัย ๑๕ ปี
	 ด้วยเป็นจิตกุศลขออุทิศรายได้
ส่วนหนึ่งบริจาคเพื่อบูรณะพระมหาเจดีย์
โพธินาถ ศาสนสถานที่สำ�คัญของพุทธ
ศาสนิกชนเนปาล ที่เสียหายจากเหตุการณ์
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อปีที่ผ่านมา(พ.ศ.
๒๕๕๘)
	 “คุณพ่อกับคุณแม่ชอบเนปาลมาก
แล้วคุณแม่มีเพื่อนอยู่ที่นั่น เราวางแผน
จะไปเที่ยวที่นั่นพอดี แต่เกิดเหตุการณ์
แผ่นดินไหวเสียก่อน เราเลยต้องรอก่อน
พอเหตุการณ์สงบ แล้วเรายืนยันเดินทาง
ไปกันเหมือนเดิม เพราะถ้าหลังจากนี้
อาจจะไม่ว่างแล้ว
	 ...ตั้งแต่ก่อนเดินทาง คุณแม่ก็
ชวนแปมทำ�หนังสือเกี่ยวกับเนปาลไหม
ตอนนั้นก็ขี้เกียจนะคะ เพราะคิดว่าการ
ทำ�หนังสือจะต้องเขียนเยอะแน่ๆ คุณแม่
ก็ให้ตัดสินใจเอง สรุปก็ทำ�ค่ะ
	 ...แปมก็เลยใช้วิธีเขียนบันทึกเรื่อง
ราวในสมุด ตอนแรกจะเขียนตอนกลับ
ไปถึงที่พักแล้ว แล้วปรากฏว่าเยอะมาก
เขียนจนไม่ได้เอาเวลาไปทำ�อะไร ก็เลย
เปลี่ยนมาเป็นบันทึกในช่วงเวลานั้นๆเลย
จะได้ละเอียด สดทุกเหตุการณ์
	 ...เนื้อหาหลักๆก็เป็นเรื่องบรรยา
กาศมากกว่าค่ะ เพราะพอเราเข้าไปใน
พื้นที่แล้วเห็นความเสียหาย ก็รู้สึกเศร้า
นะคะ เมื่อเรารู้สึกแล้วก็ต้องเขียนเลย
จะง่ายกว่ามานั่งเขียนทีหลัง ก็เลยเดินไป
เขียนไป
	 ...แล้วก็ให้น้องๆกับคุณพ่อเป็นคน
ถ่ายรูปให้ค่ะ ส่วนคุณแม่ก็เป็นคนนำ�ทาง
ตอนทำ�รูปเล่ม เนื้อหาแปมเป็นคนเขียน
เองก่อน แบ่งตอนตามลำ�ดับเวลา ใช้
กิจกรรมหรือสถานที่สำ�คัญในวันนั้นเป็น
ชื่อเรื่อง แล้วคุณพ่อก็ช่วยเกลาคำ�นำ�
หน่อย ตรวจคำ�ผิด วางเลย์เอาท์ และ
ลำ�ดับหน้าค่ะ
	 ...ในหุบเขากาฐมาณฑุ จะมี ๓
เขตค่ะ เขตปาตัน(Patan) เขตกาฐมาณฑุ
และก็เขตปักตะปูร์(Bhaktapur) ได้ดู
รูปตอนที่คุณพ่อคุณแม่ไปเที่ยวเมื่อ ๒๐
ปีที่แล้ว สวยมากๆค่ะ แต่พอมาเห็น
ตอนนี้คือเสียหายหมดเลย เมืองใหญ่มาก
แต่ร้าง ไม่มีคนเลยค่ะ
	 ...แล้วก็ได้มีโอกาสไปพบกุมารี
(Living God) ของปักตะปูร์ องค์ก่อน
ปัจจุบันด้วยค่ะ ตอนนี้เขาอายุ ๑๘ ปีแล้ว
ก็เลยต้องเปลี่ยนคน คนนี้เขาได้เรียน
หนังสือ ไปไหนได้ทุกที่ ยกเว้นออกนอก
ประเทศ เขาเลยดูมีความสุข เหมือนเด็ก
ทั่วไป มีเพื่อน
	 ...แต่ถ้าเป็นกุมารีของกาฐมาณฑุ
กับปาตัน จะไม่ได้เรียนหนังสือ เท้าห้าม
แตะพื้น ห้ามไปไหน อยู่ในบ้านอย่าง
เดียวเป็นปีเลยค่ะ
	 ...แล้วเราก็ไปเดินป่าออกนอกเมือง
ด้วยค่ะ สักพักฝนตก เราก็เอาผ้าใบมา
กางกัน ๔ คน น้องปั้นหาย เราก็หากัน
ใหญ่ ปรากฏว่าไปอยู่กับร่มของคนข้าง
หน้า ไวมากค่ะ (หัวเราะ)
	 ...หลังจากบ้านเราไปเนปาลมาด้วย
กันแล้ว ก็คิดว่าจากนี้ไปเราคงไปประเทศ
ไหนด้วยกันก็ได้แล้วค่ะ(หัวเราะ) เพราะ
เนปาลลำ�บากมากค่ะ ต้องเดินเยอะมาก
น้ำ�มันขาดแคลน ค่าแท็กซี่ก็จะแพงมาก
เขาคิดราคาเองเลยค่ะ ถูกสุดคือ ๕๐๐
บาท วันที่ต้องเดินทางไกลๆเราก็เหมารถ
ตู้ไป ก็คุ้มหน่อยค่ะ”
	 การเดินทางพาเธอมาจนถึงพระ
มหาเจดีย์โพธินาถ ที่ได้รับความเสียหาย
พอสมควร เหมือนกำ�ลังใจของเหล่าชาว
พุทธที่เนปาลแหลกละเอียดไปด้วย เรา
จะช่วยพวกเขาได้อย่างไรบ้าง นี่เป็นคำ�
ถามที่อยู่ในใจของเด็กสาวตลอดการเดิน
ทาง
	 เมื่อความตั้งใจแต่แรกในการทำ�
หนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งแล้ว ด้วยความรัก
ที่มีต่อเนปาล ความรักนี่เองคือสิ่งที่ช่วย
๓๐๗
ร
สมานหัวใจผู้คน ตลอดจนย้อนกลับมา
ช่วยบูรณะสิ่งปลูกสร้างอันสำ�คัญต่อพุทธ
ศาสนานี้ไว้ได้ ด้วยการนำ�รายได้ส่วน
หนึ่งจากการจำ�หน่ายหนังสือมาร่วมบูรณะ
อีกแรง
	 “ที่พระมหาเจดีย์โพธินาถนี้ แปม
กับน้องๆได้ไปเรียนวาดรูปศิลปะ ที่เรียก
ว่า‘ทังก้า’ อยู่ ๔-๕ วัน มองเจดีย์ทุกวัน
เขากำ�ลังบูรณะอยู่ เพราะยอดเจดีย์แตก
หักหายไป เขาก็มีตู้รับบริจาคเงินด้วย เรา
ก็บริจาคไปส่วนหนึ่งแล้ว คิดว่าเงินของเรา
เมื่อเอามาทำ�บุญแบบนี้ก็น่าจะมีประโยชน์
กว่าเอาไว้ใช้เอง
	 ...เราไปที่นั่นมาแล้ว เราเลยมา
คิดต่อยอดว่า หนังสือที่เราจะทำ�นี้จะขาย
แล้วนำ�เงินส่วนหนึ่งมาช่วยในการบูรณะ
ด้วย ก็เลยตกลงว่า จะนำ�มาบริจาคใน
ส่วนนี้ด้วย แล้วก็ได้ฝากคุณน้าที่จะเดิน
ทางไปเนปาลให้นำ�ไปบริจาคเรียบร้อยแล้ว
ค่ะ (ยิ้ม)
	 ...หนูอยากกลับไปเนปาลอีกครั้ง
เพื่อบริจาคเงินด้วยตัวเองค่ะ และก็อยาก
ไปเที่ยวด้วย อยากไปนากาก็อต ไปดู
หิมาลัย แล้วก็ไปเทร็กกิ้ง
	 ...แต่ตอนไปวันแรกๆอยากกลับ
บ้านมากค่ะ ซูเปอร์มาร์เก็ตเขานี่เหมือน
ร้านขายของหน้าบ้านเลยค่ะ เนปาลถึงแม้
จะไม่ใช่ประเทศที่สะดวกสบาย สะอาด
เหมือนอเมริกา แต่ก็มีวัฒนธรรมที่น่า
สนใจมาก ชอบมาก
	 ...ก่อนหน้านี้ไปออสเตรเลียมา ก็
ชอบมากค่ะ ส่วนใหญ่จะไปเที่ยวธรรม
ชาติ และก็ไม่ได้ซึมซับวัฒนธรรมเหมือน
เนปาล จริงๆทุกที่มีเสน่ห์ของตัวเองนะคะ
(ยิ้ม)”
	 เธอออกเดินทางจนเกิดเป็นหนังสือ
๑ เล่ม และหนังสือเล่มนี้ก็พาเธอเดิน
ทางไปเจอประสบการณ์เกิดคาดและเกิน
อายุอีกหลายแง่มุม
	 “ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเขียนหนังสือ
ได้ เพราะคิดว่าต้องเป็นคนดังเท่านั้น
แต่พอทำ�ออกมาได้สำ�เร็จแล้ว ก็รู้สึกว่า
คนเราถ้าคิดจะทำ�อะไร ถ้าตั้งใจจริง หา
ข้อมูล ก็สามารถทำ�ได้นะคะ
	 ...เพื่อนของคุณแม่แนะนำ�ให้แปม
ได้คุยกับนักเขียนอาวุโส ที่มีหน้าที่ดูแล
หนังสือหายากที่หอสมุดแห่งชาติ เขาใจดี
มากค่ะ แนะนำ�ว่าถ้าจะส่งประกวดสารคดี
เยาวชนต้องทำ�อย่างไรบ้าง เป็นประโยชน์
มากค่ะ
	 ...แล้วคุณแม่ก็ชวนแปมให้ไปพูด
แบ่งปันประสบการณ์ตอนไปเนปาลให้กับ
เพื่อนๆพี่ๆที่บ้านเมตตาฟังด้วยค่ะ เห็น
พี่ๆเขาตั้งใจฟัง สนใจเรื่องที่แปมเล่า ก็
รู้สึกว่าอยากให้เขามีโอกาสได้ไปอย่าง
แปมบ้าง
	 ...อีกประสบการณ์คือ แปมได้
มีโอกาสเข้าพบท่านทูตเนปาล และกลุ่ม
คนไทยที่รักเนปาล เพื่อพูดคุยถึงหนังสือ
ที่แปมทำ� และเรื่องการจัดงานเปิดตัวหนัง
สือเล่มนี้ด้วยค่ะ”
	 ทำ�ไมเธอจึงมีโอกาสมากมายเหล่านี้
อาจจะต้องย้อนไปถึงเมื่อครั้งที่ครอบครัว
ตัดสินใจทำ�บ้านเรียน หรือโฮมสกูล เมื่อ
๓ ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันเธอคือนักเรียน
ในโครงการบ้านเรียนรุ่งอรุณ ชั้นม.๔
	 โดยเธอปูทางด้วยการการเริ่มต้น
เรียนโรงเรียนทางเลือกตอนป.๑ จนถึง
ชั้นม.๑ ที่โรงเรียนเพลินพัฒนาก่อน จึง
ก้าวสู่การตัดสินใจครั้งสำ�คัญ ในการเข้า
สู่โฮมสกูลเต็มรูปแบบทั้งครอบครัว ตอน
ม.๒
	 นอกจากประสบการณ์รอบลูก
และรอบโลก ที่มีเวลามากพอแก่การทุ่มเท
อย่างเต็มกำ�ลังแล้ว ในเชิงวิชาการเธอก็
ไม่ชะล่าใจ เธอตัดสินใจเรียนหลักสูตร
Pre-Degree คณะศึกษาศาสตร์ เอก
จิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง ควบคู่
ไปด้วย​โดยขณะนี้อยู่ชั้นปีที่ ๑ และจะจบ
ปริญญาตรีหลังจากจบม.๖ ไปแล้ว ๑ ปี
	 “คุณแม่ตั้งใจอยากทำ�โฮมสกูล
ตั้งแต่พวกเรายังไม่เข้าโรงเรียนแล้วค่ะ
แต่ยังไม่สะดวก จนทุกอย่างลงตัวก็เลย
ออกมาตอนม.๒
	 ...เราคุยกันหลายรอบมากค่ะ คุณ
พ่อคุณแม่ให้เหตุผลทั้งสองทางให้ฟังแล้ว
ให้แปมตัดสินใจเอง ซึ่งก็ยากค่ะ โฮมสกูล
ก็น่าสนใจ ทำ�ให้เราได้ออกไปเรียนรู้โลก
ภายนอก แล้วถ้าหลังจากนี้ก็จะช้าไปแล้ว
แต่หนูก็ติดเพื่อนด้วย แล้วก็ยังนึกภาพ
ไม่ออกว่าเรียนโฮมสกูลเป็นยังไง
	 ...แต่สุดท้ายก็เลือกออกมาทำ�โฮม
สกูลจริงจัง เพราะเอาจริงๆเหตุผลที่เรา
เลือกที่เดิมเพราะเพื่อนข้อเดียวเลย ส่วน
เรื่องวิชาการเราไม่ได้สนใจเรื่องพวกนั้น
เท่าไหร่ เรียนไม่เก่งด้วยค่ะ โดยเฉพาะ
เลขกับวิทยาศาสตร์ ตกตลอดเลยค่ะ
(หัวเราะ)
	 ...แต่ชอบภาษาอังกฤษ ศิลปะ กีฬา
ก็เลยออกมาทำ�โฮมสกูลทั้งสามคนพี่น้อง
น้องอยากออกมากค่ะ ไม่ให้ออกก็จะออก
เลยออกมาพร้อมกันเลย แล้วออกมาก็
ดูไม่เสียใจอะไรด้วยค่ะ (หัวเราะ)
	 ...วันแรกตื่นเช้ามางงเลยค่ะ อยู่
บ้านกัน ไม่ต้องไปโรงเรียน เลยไม่รู้จะ
ทำ�อะไร เป็นอย่างนี้อยู่ประมาณเดือนหนึ่ง
ถึงจะปรับตัวได้ แต่ถ้าแบบไม่คิดอยาก
กลับไปโรงเรียนอีก ก็ประมาณปีหนึ่งค่ะ
ช่วงแรกมีร้องไห้อยากกลับไปเรียนที่เดิม
เหมือนกันนะคะ แต่ก็ไม่อยากทิ้งโอกาส
นี้”
	 โฮมสกูล สร้างการเปลี่ยนแปลง
ในบ้านหลังนี้ในทันที สิ่งที่ฉายภาพชัดเจน
มาก่อนใคร ก็คือความสัมพันธ์ภายใน
บ้าน เมื่อพ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง รวม ๕
ชีวิตต้องมาอยู่ร่วมกันตลอด ๒๔ ชั่วโมง
ความอลหม่านก็บังเกิด
	 “จากที่คุณพ่อคุณแม่จะดูแลเรา
ใกล้ชิด เข้มงวดเรื่องการอ่านการเขียน
พอมาเป็นโฮมสกูลก็เข้มงวดมากขึ้น เรา
สนใจเรื่องไหน คุณพ่อคุณแม่ก็หาคนที่มี
ความรู้เรื่องนั้นๆมาสอน น้องปุ้นน้องปั้น
ก็ทะเลาะกันมากขึ้น (หัวเราะ) แต่เขาก็รัก
๓๐๘
ร
กันมากขึ้น คุณแม่เข้าใจเรามากขึ้น เวลา
มีปัญหาอะไรก็สบายใจที่จะบอกแม่ได้
เพราะหันไปหันมาก็เจอแม่ (ยิ้ม)
	 ...ส่วนเพื่อนๆที่โรงเรียนเก่าเราก็
ยังติดต่อกัน นัดเจอกันเหมือนเดิมค่ะ
เพื่อนๆในกลุ่มก็แยกย้ายกันไปเรียนต่าง
ที่กันหมดแล้ว แล้วมีเพื่อนคนหนึ่งปีนผา
ด้วยกันด้วย ก็เลยเจอกันเกือบทุกวัน
	 ...เพื่อนที่ยังเรียนในระบบเขาเรียน
สายวิทย์ เพราะอยากเรียนวิศวะนาโน แต่
เขาก็สนใจปีนผาด้วย เขาก็เลยจะหนัก
หน่อย ต้องแบ่งเวลา แล้วโรงเรียนที่เขา
เรียนวิชาการก็ไม่ได้เข้มมาก ก็กังวลเหมือน
กันว่าจะสอบเข้าได้ไหม นี่ก็คือข้อแตก
ต่างระหว่างเด็กในระบบกับนอกระบบ”
	 น้องณราดา เรียนโฮมสกูลโดย
จดทะเบียนกับโรงเรียนรุ่งอรุณ คุณพ่อ
คุณแม่ก็ต้องเขียนแผนการเรียนไปเสนอ
แล้วก็ประเมินร่วมกันทั้งคุณพ่อคุณแม่
และทางโรงเรียน โดยประเมินผ่านกระ
บวนการทำ�งานเป็นหลัก เราก็จะต้องจด
บันทึกแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด มีการ
สัมภาษณ์ และนำ�เสนอโครงงานสำ�หรับ
เด็กมัธยมปลาย
	 “เรียนโฮมสกูลช่วงแรกจะเหมือน
การเรียนในโรงเรียน แค่ย้ายมาอยู่บ้าน
พอช่วงหลังๆก็เริ่มเลือกทำ�กิจกรรมในสิ่ง
ที่เราสนใจ หรือการออกไปท่องเที่ยว
	 ...เดิมคุณพ่อคุณแม่ชอบพาไปเที่ยว
ธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ค่ะ ต่างประเทศ
ก็ไปญี่ปุ่นค่ะ หลังจากเรามาเรียนโฮมสกูล
เราก็มีเวลาเดินทางออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
	 ...ด้านดนตรีแปมก็ได้มีโอกาสเรียน
เปียโน กู่เจิ้ง จริงๆเรียนมาตั้งแต่เด็กแล้ว
แต่เลิกไป ก็รู้สึกเสียดาย โอกาสมาแล้ว
ก็เลยกลับมาเรียนอีกครั้ง
	 ...กีฬาที่ชอบมากก็คือ ปีนหน้าผา
คุณพ่อคุณแม่ก็หาโค้ชมาช่วยฝึกซ้อมให้
เต็มที่เลยค่ะ พอเราเรียนโฮมสกูลก็ทำ�ให้
เราโฟกัสกับสิ่งที่เราชอบจริงๆได้เต็มที่ ตอน
นี้แปมก็เป็นนักกีฬาทีมชาติไทยแล้ว ก็
ต้องซ้อมหนัก แล้วเดินทางไปแข่งต่าง
ประเทศด้วย ก็รู้สึกดีมากที่เรียนโฮมสกูล
เพราะปีนผาเป็นกิจกรรมอันดับ ๑ ที่แปม
ชอบค่ะ”
	 ต้นไม้ที่ชื่อ‘หัวใจนักสู้’ ค่อยๆเติบ
โต ผลิดอก จากการพร่ำ�พรมของ ‘น้ำ�ใจ
นักกีฬา’ การเป็นนักเรียนโฮมสกูล ทำ�
ให้เธอเลือกสิ่งที่เธอพร้อมจะทุ่มเทอย่าง
จริงจังได้เร็วกว่าระบบปรกติ นั่นคือการ
ปีนหน้าผา
	 น้องณราดารู้จักกับกีฬาปีนหน้าผา
ตั้งแต่ตอนม.๑ จากการเรียนวิชาปีนหน้า
ผาที่โรงเรียนเพลินพัฒนา ทำ�ให้เธอค้น
พบสิ่งที่เธอรัก ขนาดที่ทำ�ให้เธอฝึกซ้อม
และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง จนสมัคร
เข้าชมรมปีนผาของโรงเรียน เป็นนักกีฬา
โรงเรียนออกไปแข่งขันในงานต่างๆ และ
ถึงวันนี้ ได้เป็นหนึ่งในทีมนักกีฬาปีนหน้า
ผารุ่นเยาวชนของประเทศไทย
	 โดยความฝันของเธอคือ การได้
เป็นนักกีฬาทีมชาติไทยไปรับใช้ชาติในกีฬา
โอลิมปิก
	 “ในตอนแรก ในฐานะเยาวชนทีม
ชาติไทย แปมยังไม่ภูมิใจเท่าไหร่นะคะ
๓๐๙
ร
เพราะคิดว่าฝีมือเรายังไม่เก่งมากขนาดนั้น
เวลาออกไปแข่งขันต่างประเทศ นักกีฬา
ชาติอื่นเขาเก่งมาก แล้วถ้าเราไปในนาม
นักกีฬาประเทศไทย แล้วฝีมือเราไม่ดีพอ
ก็ไม่อยากให้ต่างชาติมองว่าเราไม่เก่ง ก็
เลยต้องพยายามฝึกฝนให้มากกว่านี้ค่ะ
	 ...แปมซ้อมปีนผาอยู่ตลอดค่ะ
เพราะได้ไปแข่งขันอยู่เรื่อยๆ เรียกง่ายๆ
ว่าไปแข่งทุกครั้งที่มี จำ�ได้ว่าอีเวนท์แรก
ที่อัสสัมชัญ แข่งกีฬาภายในเพลินพัฒนา
การแข่งขันต่างประเทศครั้งแรกไปที่ฮ่องกง
เพิ่งเล่นได้ไม่นาน อันดับน่าเกลียดมากค่ะ
ได้อันดับ ๖ จาก ๘ (หัวเราะ)
	 ...ปีที่แล้วได้ไปแข่งกีฬาชิงแชมป์
ประเทศไทย แล้วก็ไปแข่งกีฬาชิงแชมป์
เอเชีย รุ่นเยาวชน ๒๐๑๕ ที่ประเทศ
มาเลเซีย อันนี้ไปในนามทีมชาติไทยค่ะ
ต่อไปก็ไปแข่งชิงแชมป์ที่สิงคโปร์ค่ะ เขา
เชิญเราไปร่วมแข่ง เราได้ที่ ๒ ค่ะ ล่าสุด
ก็การแข่งกีฬาชิงแชมป์เอเชีย รุ่นเยาวชน
๒๐๑๖ ที่ประเทศอิหร่านค่ะ
	 ...การปีนผามี ๓ แบบค่ะ แบบ
สปีด ก็คือแข่งทำ�ความเร็ว แบบโบลเดอร์
ริ่ง คือการปีนให้สูงที่สุดและจำ�นวนรอบ
น้อยที่สุด และการปีนแบบลีด คือปีนสูง
แล้วเอาเชือกขึ้น
	 ...น้องสาวฝาแฝด น้องปุ้นน้องปั้น
เขาก็ชอบปีนผาด้วยเหมือนกันค่ะ น้องเขา
ปีนเก่งค่ะ เขาชอบปีนสปีดมาก คุณพ่อ
คุณแม่เลยทำ�สนามฝึกปีนผาไว้ที่บ้านเลย
ค่ะ ชวนเพื่อนๆและโค้ชมาซ้อมกันที่บ้าน
เลย”
	 อีกบทเรียนชีวิตจริงของนักกีฬาที่
ฝึกจิตใจของเธอคือ การแพ้
	 “มีการแข่งขันรายการหนึ่ง เป็น
รายการเล็กๆ จัดที่แฟชั่นไอส์แลนด์ แปม
เลือกแข่งรุ่นเดียวกับน้อง แล้วปรากฏว่า
เป็นน้องจบรอบแรกได้ก่อน พอตัวเอง
แข่งก็เลยกดดันค่ะ แล้วก็พลาดจริงๆค่ะ
แปมได้ที่ ๒ น้องได้ที่ ๑ ก็เซ็งๆ แพ้
น้อง แต่ก็โอ.เค.ค่ะ ก็ได้เรียนรู้ว่าอย่าแข่ง
กับน้อง (หัวเราะ)”
	 นักกีฬาปีนผา นอกจากจะต้องมี
ร่างกายที่แข็งแรง แกร่งไปจนถึงข้อสุด
ท้ายของนิ้วมือแล้ว ต้องบวกกับเทคนิค
การปีนด้วย
	 “อีกอย่างคือเรื่องของใจค่ะ แปม
เป็นคนกลัวความสูงค่ะ เลยกลัวการปีน
แบบลีดมาก กลัวตก แล้วถ้าปีนผาจริง
ก็กลัวค่ะ แต่ก็เคยไปปีนที่กระบี่ แล้วก็
ที่น้ำ�ผาป่าใหญ่ สระบุรี พยายามฝึกปีน
ลีดเพื่อเอาความกลัวออกไป แต่ก็ไม่หมด
เสียที (หัวเราะ)
	 ...ความกลัวสำ�คัญมากนะคะ อย่าง
พอแปมไปปีนเอาท์ดอร์มา ระยะก้าวมัน
ไกลกว่าอินดอร์มาก แล้วนั่นก็หิน นั่นก็
ต้นไม้ เราก็กลัว พอกลับมาซ้อมอินดอร์
ปีนดีขึ้นเยอะเลยค่ะ เพราะเซฟกว่าเยอะ
เพราะเราไม่กลัวแล้ว ยิ่งเวลาแข่งแปมไม่
เคยกลัวเลยนะคะ หล่นก็หล่น เพราะ
ตอนนั้นคิดแต่ว่าจะต้องทำ�ให้สำ�เร็จให้ได้
(ยิ้ม)”
	 หัวใจที่แกร่ง พละกำ�ลังที่สุดแรง
เมื่อติดสรรพาวุธแห่งชีวิตที่ผ่านการเลือก
ด้วยหัวใจ ก็ไม่มีความฝันไหนที่ไกลเกิน
คำ�ว่าสำ�เร็จ
๓๑๐

More Related Content

What's hot

Librarian 12 zodiac
Librarian 12 zodiacLibrarian 12 zodiac
Librarian 12 zodiacKKU Library
 
พิพิธภัณฑ์ บ้านจ๊างนัก ศิวา
พิพิธภัณฑ์ บ้านจ๊างนัก ศิวาพิพิธภัณฑ์ บ้านจ๊างนัก ศิวา
พิพิธภัณฑ์ บ้านจ๊างนัก ศิวาmoowhanza
 
PowerPoint Presentation
PowerPoint PresentationPowerPoint Presentation
PowerPoint PresentationVisualBee.com
 
สุดปลายฝัน
สุดปลายฝันสุดปลายฝัน
สุดปลายฝันB'Ben Rattanarat
 
สรุปหัวใจชายหนุ่ม
สรุปหัวใจชายหนุ่มสรุปหัวใจชายหนุ่ม
สรุปหัวใจชายหนุ่ม
Nattha-aoy Unchai
 
เศษซากที่ไม่จางหาย
เศษซากที่ไม่จางหายเศษซากที่ไม่จางหาย
เศษซากที่ไม่จางหายPanda Jing
 
สองพี่น้อง
สองพี่น้องสองพี่น้อง
สองพี่น้องPanda Jing
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
campzzz
 
แรงดึงดูด ฉุดฉันที
แรงดึงดูด ฉุดฉันทีแรงดึงดูด ฉุดฉันที
แรงดึงดูด ฉุดฉันที
Sutawari タン
 
อิเหนาตอนศึกท้าวกระหมังกุหนิง
อิเหนาตอนศึกท้าวกระหมังกุหนิงอิเหนาตอนศึกท้าวกระหมังกุหนิง
อิเหนาตอนศึกท้าวกระหมังกุหนิง
ณรงค์ศักดิ์ กาหลง
 

What's hot (13)

Librarian 12 zodiac
Librarian 12 zodiacLibrarian 12 zodiac
Librarian 12 zodiac
 
พิพิธภัณฑ์ บ้านจ๊างนัก ศิวา
พิพิธภัณฑ์ บ้านจ๊างนัก ศิวาพิพิธภัณฑ์ บ้านจ๊างนัก ศิวา
พิพิธภัณฑ์ บ้านจ๊างนัก ศิวา
 
PowerPoint Presentation
PowerPoint PresentationPowerPoint Presentation
PowerPoint Presentation
 
สุดปลายฝัน
สุดปลายฝันสุดปลายฝัน
สุดปลายฝัน
 
สรุปหัวใจชายหนุ่ม
สรุปหัวใจชายหนุ่มสรุปหัวใจชายหนุ่ม
สรุปหัวใจชายหนุ่ม
 
เศษซากที่ไม่จางหาย
เศษซากที่ไม่จางหายเศษซากที่ไม่จางหาย
เศษซากที่ไม่จางหาย
 
สองพี่น้อง
สองพี่น้องสองพี่น้อง
สองพี่น้อง
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
Communude
CommunudeCommunude
Communude
 
แรงดึงดูด ฉุดฉันที
แรงดึงดูด ฉุดฉันทีแรงดึงดูด ฉุดฉันที
แรงดึงดูด ฉุดฉันที
 
7 2
7 27 2
7 2
 
อิเหนาตอนศึกท้าวกระหมังกุหนิง
อิเหนาตอนศึกท้าวกระหมังกุหนิงอิเหนาตอนศึกท้าวกระหมังกุหนิง
อิเหนาตอนศึกท้าวกระหมังกุหนิง
 
อิเหนา
อิเหนาอิเหนา
อิเหนา
 

Viewers also liked

Knowledge Management and Libraries
Knowledge Management and LibrariesKnowledge Management and Libraries
Knowledge Management and Libraries
farajpahlou
 
Konsumen pribadi atau perorangan dan purna jual
Konsumen pribadi atau perorangan dan purna jualKonsumen pribadi atau perorangan dan purna jual
Konsumen pribadi atau perorangan dan purna jual
INDAHMAWARNI1
 
Didactica Sesion 1
Didactica Sesion 1Didactica Sesion 1
Didactica Sesion 1
Victor Arévalo Castro
 
Create_an_Active_Lifestyle
Create_an_Active_LifestyleCreate_an_Active_Lifestyle
Create_an_Active_LifestyleTayla Lambright
 
Pensamiento criticos
Pensamiento criticosPensamiento criticos
Pensamiento criticos
pcrojas6
 
RAO MUHAMMAD TANVEER HUSSAIN PIYA: +92 300 8852066: +92 345 8852066: +92 313 ...
RAO MUHAMMAD TANVEER HUSSAIN PIYA: +92 300 8852066: +92 345 8852066: +92 313 ...RAO MUHAMMAD TANVEER HUSSAIN PIYA: +92 300 8852066: +92 345 8852066: +92 313 ...
RAO MUHAMMAD TANVEER HUSSAIN PIYA: +92 300 8852066: +92 345 8852066: +92 313 ...
PPS
 
Monitoring dan Evaluasi Kinerja Pembangunan
Monitoring dan Evaluasi Kinerja PembangunanMonitoring dan Evaluasi Kinerja Pembangunan
Monitoring dan Evaluasi Kinerja Pembangunan
Dadang Solihin
 
Penyusunan, Pengendalian dan Evaluasi Rencana Pembangunan Daerah
Penyusunan, Pengendalian dan Evaluasi Rencana Pembangunan DaerahPenyusunan, Pengendalian dan Evaluasi Rencana Pembangunan Daerah
Penyusunan, Pengendalian dan Evaluasi Rencana Pembangunan Daerah
Dadang Solihin
 
Materi : Struktur Data (2 Array)
Materi : Struktur Data (2 Array)Materi : Struktur Data (2 Array)
Materi : Struktur Data (2 Array)
eka pandu cynthia
 
Presentasi Kode kehormatan Pramuka
Presentasi Kode kehormatan PramukaPresentasi Kode kehormatan Pramuka
Presentasi Kode kehormatan Pramuka
Risma Putri Ardhana
 
Buletin Erzis Edisi 1
Buletin Erzis Edisi 1Buletin Erzis Edisi 1
Buletin Erzis Edisi 1
rumahzis
 
Brochure Inspiration: Spring 2016 Community Education & Public Schools
Brochure Inspiration: Spring 2016 Community Education & Public SchoolsBrochure Inspiration: Spring 2016 Community Education & Public Schools
Brochure Inspiration: Spring 2016 Community Education & Public Schools
Kathryn Lynch-Morin
 
HSL & HSV colour models
HSL & HSV colour modelsHSL & HSV colour models
HSL & HSV colour models
Vishnu RC Vijayan
 
Skb kelompok 4
Skb kelompok 4Skb kelompok 4
Skb kelompok 4
Indra Abdam Muwakhid
 
The History of Precision investment casting
The History of Precision investment castingThe History of Precision investment casting
The History of Precision investment casting
Jagdish Technocast
 
Panduan Penyelesaian SKU Penggalang
Panduan Penyelesaian SKU PenggalangPanduan Penyelesaian SKU Penggalang
Panduan Penyelesaian SKU Penggalang
astozone
 
Import - Export Policy of India (EXIM POLICY)
Import - Export Policy of  India(EXIM POLICY)Import - Export Policy of  India(EXIM POLICY)
Import - Export Policy of India (EXIM POLICY)
Sandip Besra
 

Viewers also liked (20)

Knowledge Management and Libraries
Knowledge Management and LibrariesKnowledge Management and Libraries
Knowledge Management and Libraries
 
Konsumen pribadi atau perorangan dan purna jual
Konsumen pribadi atau perorangan dan purna jualKonsumen pribadi atau perorangan dan purna jual
Konsumen pribadi atau perorangan dan purna jual
 
Didactica Sesion 1
Didactica Sesion 1Didactica Sesion 1
Didactica Sesion 1
 
Create_an_Active_Lifestyle
Create_an_Active_LifestyleCreate_an_Active_Lifestyle
Create_an_Active_Lifestyle
 
Pensamiento criticos
Pensamiento criticosPensamiento criticos
Pensamiento criticos
 
RAO MUHAMMAD TANVEER HUSSAIN PIYA: +92 300 8852066: +92 345 8852066: +92 313 ...
RAO MUHAMMAD TANVEER HUSSAIN PIYA: +92 300 8852066: +92 345 8852066: +92 313 ...RAO MUHAMMAD TANVEER HUSSAIN PIYA: +92 300 8852066: +92 345 8852066: +92 313 ...
RAO MUHAMMAD TANVEER HUSSAIN PIYA: +92 300 8852066: +92 345 8852066: +92 313 ...
 
Monitoring dan Evaluasi Kinerja Pembangunan
Monitoring dan Evaluasi Kinerja PembangunanMonitoring dan Evaluasi Kinerja Pembangunan
Monitoring dan Evaluasi Kinerja Pembangunan
 
Penyusunan, Pengendalian dan Evaluasi Rencana Pembangunan Daerah
Penyusunan, Pengendalian dan Evaluasi Rencana Pembangunan DaerahPenyusunan, Pengendalian dan Evaluasi Rencana Pembangunan Daerah
Penyusunan, Pengendalian dan Evaluasi Rencana Pembangunan Daerah
 
Materi : Struktur Data (2 Array)
Materi : Struktur Data (2 Array)Materi : Struktur Data (2 Array)
Materi : Struktur Data (2 Array)
 
Presentasi Kode kehormatan Pramuka
Presentasi Kode kehormatan PramukaPresentasi Kode kehormatan Pramuka
Presentasi Kode kehormatan Pramuka
 
Buletin Erzis Edisi 1
Buletin Erzis Edisi 1Buletin Erzis Edisi 1
Buletin Erzis Edisi 1
 
Brochure Inspiration: Spring 2016 Community Education & Public Schools
Brochure Inspiration: Spring 2016 Community Education & Public SchoolsBrochure Inspiration: Spring 2016 Community Education & Public Schools
Brochure Inspiration: Spring 2016 Community Education & Public Schools
 
HSL & HSV colour models
HSL & HSV colour modelsHSL & HSV colour models
HSL & HSV colour models
 
Plants don't go to Coto
Plants don't go to CotoPlants don't go to Coto
Plants don't go to Coto
 
Mitosis meiosis mine
Mitosis meiosis mineMitosis meiosis mine
Mitosis meiosis mine
 
Skb kelompok 4
Skb kelompok 4Skb kelompok 4
Skb kelompok 4
 
The History of Precision investment casting
The History of Precision investment castingThe History of Precision investment casting
The History of Precision investment casting
 
Panduan Penyelesaian SKU Penggalang
Panduan Penyelesaian SKU PenggalangPanduan Penyelesaian SKU Penggalang
Panduan Penyelesaian SKU Penggalang
 
Import - Export Policy of India (EXIM POLICY)
Import - Export Policy of  India(EXIM POLICY)Import - Export Policy of  India(EXIM POLICY)
Import - Export Policy of India (EXIM POLICY)
 
Plant structure function and transport
Plant structure function and transportPlant structure function and transport
Plant structure function and transport
 

More from Cheewarat Janchuklin

480 ท่องเที่ยว สเปน
480 ท่องเที่ยว สเปน480 ท่องเที่ยว สเปน
480 ท่องเที่ยว สเปนCheewarat Janchuklin
 
594 ร้านโปรด ร้านโรสแมนคลับ ภาวดี
594 ร้านโปรด ร้านโรสแมนคลับ ภาวดี594 ร้านโปรด ร้านโรสแมนคลับ ภาวดี
594 ร้านโปรด ร้านโรสแมนคลับ ภาวดีCheewarat Janchuklin
 
586 ให้ด้วยรัก เสาวคนธ์
586 ให้ด้วยรัก เสาวคนธ์586 ให้ด้วยรัก เสาวคนธ์
586 ให้ด้วยรัก เสาวคนธ์Cheewarat Janchuklin
 
553ชื่อ-พลอยแกมเพชร
553ชื่อ-พลอยแกมเพชร553ชื่อ-พลอยแกมเพชร
553ชื่อ-พลอยแกมเพชรCheewarat Janchuklin
 
548 เจ้าสาว รินทร์ลภัส
548 เจ้าสาว รินทร์ลภัส548 เจ้าสาว รินทร์ลภัส
548 เจ้าสาว รินทร์ลภัสCheewarat Janchuklin
 
581เจอะเจอ-ทนง
581เจอะเจอ-ทนง581เจอะเจอ-ทนง
581เจอะเจอ-ทนงCheewarat Janchuklin
 

More from Cheewarat Janchuklin (6)

480 ท่องเที่ยว สเปน
480 ท่องเที่ยว สเปน480 ท่องเที่ยว สเปน
480 ท่องเที่ยว สเปน
 
594 ร้านโปรด ร้านโรสแมนคลับ ภาวดี
594 ร้านโปรด ร้านโรสแมนคลับ ภาวดี594 ร้านโปรด ร้านโรสแมนคลับ ภาวดี
594 ร้านโปรด ร้านโรสแมนคลับ ภาวดี
 
586 ให้ด้วยรัก เสาวคนธ์
586 ให้ด้วยรัก เสาวคนธ์586 ให้ด้วยรัก เสาวคนธ์
586 ให้ด้วยรัก เสาวคนธ์
 
553ชื่อ-พลอยแกมเพชร
553ชื่อ-พลอยแกมเพชร553ชื่อ-พลอยแกมเพชร
553ชื่อ-พลอยแกมเพชร
 
548 เจ้าสาว รินทร์ลภัส
548 เจ้าสาว รินทร์ลภัส548 เจ้าสาว รินทร์ลภัส
548 เจ้าสาว รินทร์ลภัส
 
581เจอะเจอ-ทนง
581เจอะเจอ-ทนง581เจอะเจอ-ทนง
581เจอะเจอ-ทนง
 

598 รุ่นสาว-ณราดา

  • 2. ร ร้อยดาว นวมินทร์ บ้านอื่นอาจเที่ยวเอาเพลิน แต่บ้าน นี้ขอเที่ยวเพื่อ Learn การเดินทาง ไปประเทศเนปาล อันเป็นจุดเริ่มต้น ของหนังสือ ‘แผ่นดินสะท้าน หัวใจ สะเทือน’ของ ‘แปม-ณราดา ดิษยบุตร’ ขณะเธออายุเพียง ๑๕ ปีเล่มนี้ จุด เริ่มต้นอันแท้จริงเกิดขึ้นเมื่อ ๒๐ ปี ที่แล้ว ปีพ.ศ.๒๕๓๙ คุณพ่อและคุณแม่ ของเธอ ‘นรรัตน์-ธนิดา ดิษยบุตร’ ซึ่ง ยังไม่ได้รับสถานะคุณพ่อคุณแม่ ทั้งคู่ เดินทางไปเที่ยวประเทศเนปาลด้วยกัน ในฐานะคนรัก แน่นอนว่าเขาทั้งคู่ตกหลุม รักเนปาลเต็มหัวใจ เพราะในเวลานั้นต่างทำ�งานในฐานะ สื่อมวลชนทั้งคู่ คุณธนิดาเลือกที่จะบันทึก ความประทับใจนั้น ผ่านบทความ ประ กอบกับภาพถ่ายฝีมือคุณนรรัตน์ ใน ฐานะช่างภาพมืออาชีพ ตีพิมพ์ลงนิตยสาร ฉบับหนึ่ง เขาตั้งนามปากการ่วมกันว่า ‘ณราดา’ ไม่นาน นามปากกานั้นก็กลายเป็น ลูกสาวคนโตของครอบครัวคนนี้ โดยมี สนธิสัญญาระหว่างเราว่า จะต้องพาลูก ณราดากลับไปเยือนเนปาลที่รักให้จงได้ วันเวลาผ่านไป ทำ�ให้สมาชิกเพิ่มอีกสอง คือน้องสาวฝาแฝด ‘ปุ้น-นลัท และปั้น- นภัส ดิษยบุตร’ ปัจจุบัน คุณนรรัตน์ ดิษยบุตร ทำ�งานเป็นหัวหน้าทีมช่างภาพ หนังสือ พิมพ์ผู้จัดการ ส่วนคุณธนิดา ดิษยบุตร เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมและการ บริหารจัดการแรงงาน การเดินทางไปเนปาลของ ๕ คน พ่อแม่ลูกตลอด ๑๓ วันในครั้งนี้ แม้ เจ้าบ้านจะไม่งดงามดังเดิม แต่ความ เมตตาจิตในใจกลับงดงามยิ่งกว่า เพราะ เจตนารมณ์หลักคือการทำ�หนังสือ‘แผ่นดิน สะท้าน หัวใจสะเทือน’ บันทึกเรื่องราว ของเนปาลหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่ เขียนโดยเด็กสาววัย ๑๕ ปี ด้วยเป็นจิตกุศลขออุทิศรายได้ ส่วนหนึ่งบริจาคเพื่อบูรณะพระมหาเจดีย์ โพธินาถ ศาสนสถานที่สำ�คัญของพุทธ ศาสนิกชนเนปาล ที่เสียหายจากเหตุการณ์ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อปีที่ผ่านมา(พ.ศ. ๒๕๕๘) “คุณพ่อกับคุณแม่ชอบเนปาลมาก แล้วคุณแม่มีเพื่อนอยู่ที่นั่น เราวางแผน จะไปเที่ยวที่นั่นพอดี แต่เกิดเหตุการณ์ แผ่นดินไหวเสียก่อน เราเลยต้องรอก่อน พอเหตุการณ์สงบ แล้วเรายืนยันเดินทาง ไปกันเหมือนเดิม เพราะถ้าหลังจากนี้ อาจจะไม่ว่างแล้ว ...ตั้งแต่ก่อนเดินทาง คุณแม่ก็ ชวนแปมทำ�หนังสือเกี่ยวกับเนปาลไหม ตอนนั้นก็ขี้เกียจนะคะ เพราะคิดว่าการ ทำ�หนังสือจะต้องเขียนเยอะแน่ๆ คุณแม่ ก็ให้ตัดสินใจเอง สรุปก็ทำ�ค่ะ ...แปมก็เลยใช้วิธีเขียนบันทึกเรื่อง ราวในสมุด ตอนแรกจะเขียนตอนกลับ ไปถึงที่พักแล้ว แล้วปรากฏว่าเยอะมาก เขียนจนไม่ได้เอาเวลาไปทำ�อะไร ก็เลย เปลี่ยนมาเป็นบันทึกในช่วงเวลานั้นๆเลย จะได้ละเอียด สดทุกเหตุการณ์ ...เนื้อหาหลักๆก็เป็นเรื่องบรรยา กาศมากกว่าค่ะ เพราะพอเราเข้าไปใน พื้นที่แล้วเห็นความเสียหาย ก็รู้สึกเศร้า นะคะ เมื่อเรารู้สึกแล้วก็ต้องเขียนเลย จะง่ายกว่ามานั่งเขียนทีหลัง ก็เลยเดินไป เขียนไป ...แล้วก็ให้น้องๆกับคุณพ่อเป็นคน ถ่ายรูปให้ค่ะ ส่วนคุณแม่ก็เป็นคนนำ�ทาง ตอนทำ�รูปเล่ม เนื้อหาแปมเป็นคนเขียน เองก่อน แบ่งตอนตามลำ�ดับเวลา ใช้ กิจกรรมหรือสถานที่สำ�คัญในวันนั้นเป็น ชื่อเรื่อง แล้วคุณพ่อก็ช่วยเกลาคำ�นำ� หน่อย ตรวจคำ�ผิด วางเลย์เอาท์ และ ลำ�ดับหน้าค่ะ ...ในหุบเขากาฐมาณฑุ จะมี ๓ เขตค่ะ เขตปาตัน(Patan) เขตกาฐมาณฑุ และก็เขตปักตะปูร์(Bhaktapur) ได้ดู รูปตอนที่คุณพ่อคุณแม่ไปเที่ยวเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว สวยมากๆค่ะ แต่พอมาเห็น ตอนนี้คือเสียหายหมดเลย เมืองใหญ่มาก แต่ร้าง ไม่มีคนเลยค่ะ ...แล้วก็ได้มีโอกาสไปพบกุมารี (Living God) ของปักตะปูร์ องค์ก่อน ปัจจุบันด้วยค่ะ ตอนนี้เขาอายุ ๑๘ ปีแล้ว ก็เลยต้องเปลี่ยนคน คนนี้เขาได้เรียน หนังสือ ไปไหนได้ทุกที่ ยกเว้นออกนอก ประเทศ เขาเลยดูมีความสุข เหมือนเด็ก ทั่วไป มีเพื่อน ...แต่ถ้าเป็นกุมารีของกาฐมาณฑุ กับปาตัน จะไม่ได้เรียนหนังสือ เท้าห้าม แตะพื้น ห้ามไปไหน อยู่ในบ้านอย่าง เดียวเป็นปีเลยค่ะ ...แล้วเราก็ไปเดินป่าออกนอกเมือง ด้วยค่ะ สักพักฝนตก เราก็เอาผ้าใบมา กางกัน ๔ คน น้องปั้นหาย เราก็หากัน ใหญ่ ปรากฏว่าไปอยู่กับร่มของคนข้าง หน้า ไวมากค่ะ (หัวเราะ) ...หลังจากบ้านเราไปเนปาลมาด้วย กันแล้ว ก็คิดว่าจากนี้ไปเราคงไปประเทศ ไหนด้วยกันก็ได้แล้วค่ะ(หัวเราะ) เพราะ เนปาลลำ�บากมากค่ะ ต้องเดินเยอะมาก น้ำ�มันขาดแคลน ค่าแท็กซี่ก็จะแพงมาก เขาคิดราคาเองเลยค่ะ ถูกสุดคือ ๕๐๐ บาท วันที่ต้องเดินทางไกลๆเราก็เหมารถ ตู้ไป ก็คุ้มหน่อยค่ะ” การเดินทางพาเธอมาจนถึงพระ มหาเจดีย์โพธินาถ ที่ได้รับความเสียหาย พอสมควร เหมือนกำ�ลังใจของเหล่าชาว พุทธที่เนปาลแหลกละเอียดไปด้วย เรา จะช่วยพวกเขาได้อย่างไรบ้าง นี่เป็นคำ� ถามที่อยู่ในใจของเด็กสาวตลอดการเดิน ทาง เมื่อความตั้งใจแต่แรกในการทำ� หนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งแล้ว ด้วยความรัก ที่มีต่อเนปาล ความรักนี่เองคือสิ่งที่ช่วย ๓๐๗
  • 3. ร สมานหัวใจผู้คน ตลอดจนย้อนกลับมา ช่วยบูรณะสิ่งปลูกสร้างอันสำ�คัญต่อพุทธ ศาสนานี้ไว้ได้ ด้วยการนำ�รายได้ส่วน หนึ่งจากการจำ�หน่ายหนังสือมาร่วมบูรณะ อีกแรง “ที่พระมหาเจดีย์โพธินาถนี้ แปม กับน้องๆได้ไปเรียนวาดรูปศิลปะ ที่เรียก ว่า‘ทังก้า’ อยู่ ๔-๕ วัน มองเจดีย์ทุกวัน เขากำ�ลังบูรณะอยู่ เพราะยอดเจดีย์แตก หักหายไป เขาก็มีตู้รับบริจาคเงินด้วย เรา ก็บริจาคไปส่วนหนึ่งแล้ว คิดว่าเงินของเรา เมื่อเอามาทำ�บุญแบบนี้ก็น่าจะมีประโยชน์ กว่าเอาไว้ใช้เอง ...เราไปที่นั่นมาแล้ว เราเลยมา คิดต่อยอดว่า หนังสือที่เราจะทำ�นี้จะขาย แล้วนำ�เงินส่วนหนึ่งมาช่วยในการบูรณะ ด้วย ก็เลยตกลงว่า จะนำ�มาบริจาคใน ส่วนนี้ด้วย แล้วก็ได้ฝากคุณน้าที่จะเดิน ทางไปเนปาลให้นำ�ไปบริจาคเรียบร้อยแล้ว ค่ะ (ยิ้ม) ...หนูอยากกลับไปเนปาลอีกครั้ง เพื่อบริจาคเงินด้วยตัวเองค่ะ และก็อยาก ไปเที่ยวด้วย อยากไปนากาก็อต ไปดู หิมาลัย แล้วก็ไปเทร็กกิ้ง ...แต่ตอนไปวันแรกๆอยากกลับ บ้านมากค่ะ ซูเปอร์มาร์เก็ตเขานี่เหมือน ร้านขายของหน้าบ้านเลยค่ะ เนปาลถึงแม้ จะไม่ใช่ประเทศที่สะดวกสบาย สะอาด เหมือนอเมริกา แต่ก็มีวัฒนธรรมที่น่า สนใจมาก ชอบมาก ...ก่อนหน้านี้ไปออสเตรเลียมา ก็ ชอบมากค่ะ ส่วนใหญ่จะไปเที่ยวธรรม ชาติ และก็ไม่ได้ซึมซับวัฒนธรรมเหมือน เนปาล จริงๆทุกที่มีเสน่ห์ของตัวเองนะคะ (ยิ้ม)” เธอออกเดินทางจนเกิดเป็นหนังสือ ๑ เล่ม และหนังสือเล่มนี้ก็พาเธอเดิน ทางไปเจอประสบการณ์เกิดคาดและเกิน อายุอีกหลายแง่มุม “ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเขียนหนังสือ ได้ เพราะคิดว่าต้องเป็นคนดังเท่านั้น แต่พอทำ�ออกมาได้สำ�เร็จแล้ว ก็รู้สึกว่า คนเราถ้าคิดจะทำ�อะไร ถ้าตั้งใจจริง หา ข้อมูล ก็สามารถทำ�ได้นะคะ ...เพื่อนของคุณแม่แนะนำ�ให้แปม ได้คุยกับนักเขียนอาวุโส ที่มีหน้าที่ดูแล หนังสือหายากที่หอสมุดแห่งชาติ เขาใจดี มากค่ะ แนะนำ�ว่าถ้าจะส่งประกวดสารคดี เยาวชนต้องทำ�อย่างไรบ้าง เป็นประโยชน์ มากค่ะ ...แล้วคุณแม่ก็ชวนแปมให้ไปพูด แบ่งปันประสบการณ์ตอนไปเนปาลให้กับ เพื่อนๆพี่ๆที่บ้านเมตตาฟังด้วยค่ะ เห็น พี่ๆเขาตั้งใจฟัง สนใจเรื่องที่แปมเล่า ก็ รู้สึกว่าอยากให้เขามีโอกาสได้ไปอย่าง แปมบ้าง ...อีกประสบการณ์คือ แปมได้ มีโอกาสเข้าพบท่านทูตเนปาล และกลุ่ม คนไทยที่รักเนปาล เพื่อพูดคุยถึงหนังสือ ที่แปมทำ� และเรื่องการจัดงานเปิดตัวหนัง สือเล่มนี้ด้วยค่ะ” ทำ�ไมเธอจึงมีโอกาสมากมายเหล่านี้ อาจจะต้องย้อนไปถึงเมื่อครั้งที่ครอบครัว ตัดสินใจทำ�บ้านเรียน หรือโฮมสกูล เมื่อ ๓ ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันเธอคือนักเรียน ในโครงการบ้านเรียนรุ่งอรุณ ชั้นม.๔ โดยเธอปูทางด้วยการการเริ่มต้น เรียนโรงเรียนทางเลือกตอนป.๑ จนถึง ชั้นม.๑ ที่โรงเรียนเพลินพัฒนาก่อน จึง ก้าวสู่การตัดสินใจครั้งสำ�คัญ ในการเข้า สู่โฮมสกูลเต็มรูปแบบทั้งครอบครัว ตอน ม.๒ นอกจากประสบการณ์รอบลูก และรอบโลก ที่มีเวลามากพอแก่การทุ่มเท อย่างเต็มกำ�ลังแล้ว ในเชิงวิชาการเธอก็ ไม่ชะล่าใจ เธอตัดสินใจเรียนหลักสูตร Pre-Degree คณะศึกษาศาสตร์ เอก จิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง ควบคู่ ไปด้วย​โดยขณะนี้อยู่ชั้นปีที่ ๑ และจะจบ ปริญญาตรีหลังจากจบม.๖ ไปแล้ว ๑ ปี “คุณแม่ตั้งใจอยากทำ�โฮมสกูล ตั้งแต่พวกเรายังไม่เข้าโรงเรียนแล้วค่ะ แต่ยังไม่สะดวก จนทุกอย่างลงตัวก็เลย ออกมาตอนม.๒ ...เราคุยกันหลายรอบมากค่ะ คุณ พ่อคุณแม่ให้เหตุผลทั้งสองทางให้ฟังแล้ว ให้แปมตัดสินใจเอง ซึ่งก็ยากค่ะ โฮมสกูล ก็น่าสนใจ ทำ�ให้เราได้ออกไปเรียนรู้โลก ภายนอก แล้วถ้าหลังจากนี้ก็จะช้าไปแล้ว แต่หนูก็ติดเพื่อนด้วย แล้วก็ยังนึกภาพ ไม่ออกว่าเรียนโฮมสกูลเป็นยังไง ...แต่สุดท้ายก็เลือกออกมาทำ�โฮม สกูลจริงจัง เพราะเอาจริงๆเหตุผลที่เรา เลือกที่เดิมเพราะเพื่อนข้อเดียวเลย ส่วน เรื่องวิชาการเราไม่ได้สนใจเรื่องพวกนั้น เท่าไหร่ เรียนไม่เก่งด้วยค่ะ โดยเฉพาะ เลขกับวิทยาศาสตร์ ตกตลอดเลยค่ะ (หัวเราะ) ...แต่ชอบภาษาอังกฤษ ศิลปะ กีฬา ก็เลยออกมาทำ�โฮมสกูลทั้งสามคนพี่น้อง น้องอยากออกมากค่ะ ไม่ให้ออกก็จะออก เลยออกมาพร้อมกันเลย แล้วออกมาก็ ดูไม่เสียใจอะไรด้วยค่ะ (หัวเราะ) ...วันแรกตื่นเช้ามางงเลยค่ะ อยู่ บ้านกัน ไม่ต้องไปโรงเรียน เลยไม่รู้จะ ทำ�อะไร เป็นอย่างนี้อยู่ประมาณเดือนหนึ่ง ถึงจะปรับตัวได้ แต่ถ้าแบบไม่คิดอยาก กลับไปโรงเรียนอีก ก็ประมาณปีหนึ่งค่ะ ช่วงแรกมีร้องไห้อยากกลับไปเรียนที่เดิม เหมือนกันนะคะ แต่ก็ไม่อยากทิ้งโอกาส นี้” โฮมสกูล สร้างการเปลี่ยนแปลง ในบ้านหลังนี้ในทันที สิ่งที่ฉายภาพชัดเจน มาก่อนใคร ก็คือความสัมพันธ์ภายใน บ้าน เมื่อพ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง รวม ๕ ชีวิตต้องมาอยู่ร่วมกันตลอด ๒๔ ชั่วโมง ความอลหม่านก็บังเกิด “จากที่คุณพ่อคุณแม่จะดูแลเรา ใกล้ชิด เข้มงวดเรื่องการอ่านการเขียน พอมาเป็นโฮมสกูลก็เข้มงวดมากขึ้น เรา สนใจเรื่องไหน คุณพ่อคุณแม่ก็หาคนที่มี ความรู้เรื่องนั้นๆมาสอน น้องปุ้นน้องปั้น ก็ทะเลาะกันมากขึ้น (หัวเราะ) แต่เขาก็รัก ๓๐๘
  • 4. ร กันมากขึ้น คุณแม่เข้าใจเรามากขึ้น เวลา มีปัญหาอะไรก็สบายใจที่จะบอกแม่ได้ เพราะหันไปหันมาก็เจอแม่ (ยิ้ม) ...ส่วนเพื่อนๆที่โรงเรียนเก่าเราก็ ยังติดต่อกัน นัดเจอกันเหมือนเดิมค่ะ เพื่อนๆในกลุ่มก็แยกย้ายกันไปเรียนต่าง ที่กันหมดแล้ว แล้วมีเพื่อนคนหนึ่งปีนผา ด้วยกันด้วย ก็เลยเจอกันเกือบทุกวัน ...เพื่อนที่ยังเรียนในระบบเขาเรียน สายวิทย์ เพราะอยากเรียนวิศวะนาโน แต่ เขาก็สนใจปีนผาด้วย เขาก็เลยจะหนัก หน่อย ต้องแบ่งเวลา แล้วโรงเรียนที่เขา เรียนวิชาการก็ไม่ได้เข้มมาก ก็กังวลเหมือน กันว่าจะสอบเข้าได้ไหม นี่ก็คือข้อแตก ต่างระหว่างเด็กในระบบกับนอกระบบ” น้องณราดา เรียนโฮมสกูลโดย จดทะเบียนกับโรงเรียนรุ่งอรุณ คุณพ่อ คุณแม่ก็ต้องเขียนแผนการเรียนไปเสนอ แล้วก็ประเมินร่วมกันทั้งคุณพ่อคุณแม่ และทางโรงเรียน โดยประเมินผ่านกระ บวนการทำ�งานเป็นหลัก เราก็จะต้องจด บันทึกแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด มีการ สัมภาษณ์ และนำ�เสนอโครงงานสำ�หรับ เด็กมัธยมปลาย “เรียนโฮมสกูลช่วงแรกจะเหมือน การเรียนในโรงเรียน แค่ย้ายมาอยู่บ้าน พอช่วงหลังๆก็เริ่มเลือกทำ�กิจกรรมในสิ่ง ที่เราสนใจ หรือการออกไปท่องเที่ยว ...เดิมคุณพ่อคุณแม่ชอบพาไปเที่ยว ธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ค่ะ ต่างประเทศ ก็ไปญี่ปุ่นค่ะ หลังจากเรามาเรียนโฮมสกูล เราก็มีเวลาเดินทางออกไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ...ด้านดนตรีแปมก็ได้มีโอกาสเรียน เปียโน กู่เจิ้ง จริงๆเรียนมาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่เลิกไป ก็รู้สึกเสียดาย โอกาสมาแล้ว ก็เลยกลับมาเรียนอีกครั้ง ...กีฬาที่ชอบมากก็คือ ปีนหน้าผา คุณพ่อคุณแม่ก็หาโค้ชมาช่วยฝึกซ้อมให้ เต็มที่เลยค่ะ พอเราเรียนโฮมสกูลก็ทำ�ให้ เราโฟกัสกับสิ่งที่เราชอบจริงๆได้เต็มที่ ตอน นี้แปมก็เป็นนักกีฬาทีมชาติไทยแล้ว ก็ ต้องซ้อมหนัก แล้วเดินทางไปแข่งต่าง ประเทศด้วย ก็รู้สึกดีมากที่เรียนโฮมสกูล เพราะปีนผาเป็นกิจกรรมอันดับ ๑ ที่แปม ชอบค่ะ” ต้นไม้ที่ชื่อ‘หัวใจนักสู้’ ค่อยๆเติบ โต ผลิดอก จากการพร่ำ�พรมของ ‘น้ำ�ใจ นักกีฬา’ การเป็นนักเรียนโฮมสกูล ทำ� ให้เธอเลือกสิ่งที่เธอพร้อมจะทุ่มเทอย่าง จริงจังได้เร็วกว่าระบบปรกติ นั่นคือการ ปีนหน้าผา น้องณราดารู้จักกับกีฬาปีนหน้าผา ตั้งแต่ตอนม.๑ จากการเรียนวิชาปีนหน้า ผาที่โรงเรียนเพลินพัฒนา ทำ�ให้เธอค้น พบสิ่งที่เธอรัก ขนาดที่ทำ�ให้เธอฝึกซ้อม และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง จนสมัคร เข้าชมรมปีนผาของโรงเรียน เป็นนักกีฬา โรงเรียนออกไปแข่งขันในงานต่างๆ และ ถึงวันนี้ ได้เป็นหนึ่งในทีมนักกีฬาปีนหน้า ผารุ่นเยาวชนของประเทศไทย โดยความฝันของเธอคือ การได้ เป็นนักกีฬาทีมชาติไทยไปรับใช้ชาติในกีฬา โอลิมปิก “ในตอนแรก ในฐานะเยาวชนทีม ชาติไทย แปมยังไม่ภูมิใจเท่าไหร่นะคะ ๓๐๙
  • 5. ร เพราะคิดว่าฝีมือเรายังไม่เก่งมากขนาดนั้น เวลาออกไปแข่งขันต่างประเทศ นักกีฬา ชาติอื่นเขาเก่งมาก แล้วถ้าเราไปในนาม นักกีฬาประเทศไทย แล้วฝีมือเราไม่ดีพอ ก็ไม่อยากให้ต่างชาติมองว่าเราไม่เก่ง ก็ เลยต้องพยายามฝึกฝนให้มากกว่านี้ค่ะ ...แปมซ้อมปีนผาอยู่ตลอดค่ะ เพราะได้ไปแข่งขันอยู่เรื่อยๆ เรียกง่ายๆ ว่าไปแข่งทุกครั้งที่มี จำ�ได้ว่าอีเวนท์แรก ที่อัสสัมชัญ แข่งกีฬาภายในเพลินพัฒนา การแข่งขันต่างประเทศครั้งแรกไปที่ฮ่องกง เพิ่งเล่นได้ไม่นาน อันดับน่าเกลียดมากค่ะ ได้อันดับ ๖ จาก ๘ (หัวเราะ) ...ปีที่แล้วได้ไปแข่งกีฬาชิงแชมป์ ประเทศไทย แล้วก็ไปแข่งกีฬาชิงแชมป์ เอเชีย รุ่นเยาวชน ๒๐๑๕ ที่ประเทศ มาเลเซีย อันนี้ไปในนามทีมชาติไทยค่ะ ต่อไปก็ไปแข่งชิงแชมป์ที่สิงคโปร์ค่ะ เขา เชิญเราไปร่วมแข่ง เราได้ที่ ๒ ค่ะ ล่าสุด ก็การแข่งกีฬาชิงแชมป์เอเชีย รุ่นเยาวชน ๒๐๑๖ ที่ประเทศอิหร่านค่ะ ...การปีนผามี ๓ แบบค่ะ แบบ สปีด ก็คือแข่งทำ�ความเร็ว แบบโบลเดอร์ ริ่ง คือการปีนให้สูงที่สุดและจำ�นวนรอบ น้อยที่สุด และการปีนแบบลีด คือปีนสูง แล้วเอาเชือกขึ้น ...น้องสาวฝาแฝด น้องปุ้นน้องปั้น เขาก็ชอบปีนผาด้วยเหมือนกันค่ะ น้องเขา ปีนเก่งค่ะ เขาชอบปีนสปีดมาก คุณพ่อ คุณแม่เลยทำ�สนามฝึกปีนผาไว้ที่บ้านเลย ค่ะ ชวนเพื่อนๆและโค้ชมาซ้อมกันที่บ้าน เลย” อีกบทเรียนชีวิตจริงของนักกีฬาที่ ฝึกจิตใจของเธอคือ การแพ้ “มีการแข่งขันรายการหนึ่ง เป็น รายการเล็กๆ จัดที่แฟชั่นไอส์แลนด์ แปม เลือกแข่งรุ่นเดียวกับน้อง แล้วปรากฏว่า เป็นน้องจบรอบแรกได้ก่อน พอตัวเอง แข่งก็เลยกดดันค่ะ แล้วก็พลาดจริงๆค่ะ แปมได้ที่ ๒ น้องได้ที่ ๑ ก็เซ็งๆ แพ้ น้อง แต่ก็โอ.เค.ค่ะ ก็ได้เรียนรู้ว่าอย่าแข่ง กับน้อง (หัวเราะ)” นักกีฬาปีนผา นอกจากจะต้องมี ร่างกายที่แข็งแรง แกร่งไปจนถึงข้อสุด ท้ายของนิ้วมือแล้ว ต้องบวกกับเทคนิค การปีนด้วย “อีกอย่างคือเรื่องของใจค่ะ แปม เป็นคนกลัวความสูงค่ะ เลยกลัวการปีน แบบลีดมาก กลัวตก แล้วถ้าปีนผาจริง ก็กลัวค่ะ แต่ก็เคยไปปีนที่กระบี่ แล้วก็ ที่น้ำ�ผาป่าใหญ่ สระบุรี พยายามฝึกปีน ลีดเพื่อเอาความกลัวออกไป แต่ก็ไม่หมด เสียที (หัวเราะ) ...ความกลัวสำ�คัญมากนะคะ อย่าง พอแปมไปปีนเอาท์ดอร์มา ระยะก้าวมัน ไกลกว่าอินดอร์มาก แล้วนั่นก็หิน นั่นก็ ต้นไม้ เราก็กลัว พอกลับมาซ้อมอินดอร์ ปีนดีขึ้นเยอะเลยค่ะ เพราะเซฟกว่าเยอะ เพราะเราไม่กลัวแล้ว ยิ่งเวลาแข่งแปมไม่ เคยกลัวเลยนะคะ หล่นก็หล่น เพราะ ตอนนั้นคิดแต่ว่าจะต้องทำ�ให้สำ�เร็จให้ได้ (ยิ้ม)” หัวใจที่แกร่ง พละกำ�ลังที่สุดแรง เมื่อติดสรรพาวุธแห่งชีวิตที่ผ่านการเลือก ด้วยหัวใจ ก็ไม่มีความฝันไหนที่ไกลเกิน คำ�ว่าสำ�เร็จ ๓๑๐